แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันที่ ๒๗ ก.ค. ๒๕๑๘ ได้ตั้งใจไว้ว่าจะพูดจะพูดบทใหม่ในพรรษานี้ โดยคิดว่าจะให้การบวชนี้ได้สำเร็จประโยชน์มากที่สุด จึงขอให้ตั้งใจฟังให้ดี ถ้าว่าบวชมาทีหนึ่งก็ไม่ได้สำเร็จประโยชน์ตามที่ตั้งใจไว้ก็เป็นที่น่าเสียดาย ท่านจึงคิดว่าจะพยายามทำความเข้าใจในข้อนี้ บางคนก็บวชตามที่ยังไม่เคยบวชอายุมากแล้ว บางคนก็บวชตามประเพณีอายุพอครบบวช ไม่ได้แตกต่างกันในข้อนี้ก็ไม่เป็นไร อาจจะทำให้ไปด้วยกันได้ ถ้าหากว่า รู้จักความมุ่งหมายของการบวช และรู้จักไอ้สิ่งที่เรียกว่าบวช หรือจะไม่พูดกันอย่างสอนตอนนาคบวชใหม่ ตอนนาคที่กำลังจะบวช จะพูดกันอย่างผู้ที่บวชแล้ว ว่าชีวิตของมนุษย์นี่เขาเคยแบ่งไว้เป็น ๒ ประเภทมาแต่โบราณการณ์ คือประเภทที่มีบ้านเรือน เนื่องด้วยบ้านเรือน กับพวกที่ไม่เนื่องด้วยบ้านเรือน ภาษาบาลีเขาเรียก อนาคาริก เนื่องด้วยบ้านเรือน กับอนาคาริก ไม่เนื่องด้วยบ้านเรือน ทางฝ่ายฝรั่งก็มีคำเรียก A house whom live เนื่องด้วยบ้านเรือน, Whom live life ไม่เนื่องด้วยบ้านเรือน ดูจะเป็นที่เข้าใจกันทุกภาษา ทุกชาติ ทุกภาษา ตามธรรมดาถ้าปล่อยไปตามธรรมชาติ คนเขาจะอยู่ในวิสัยการครองเรือนก่อน จนผ่านไปผ่านไป เบื่อเข้าจึงออกไปสู่ความไม่มีเรือนไปตามธรรมชาติ คือคนเบื่อด้วยเรือนแล้วก็จะออกไปสู่ชีวิตที่ไม่มีเรือน เป็นอิสระ โดยมากก็คือบั้นปลายของชีวิตออกไปหาชีวิตที่เป็นอิสระจากบ้านเรือน ที่เดี๋ยวนี้เรายังอยู่ในบ้านเรือน แล้วก็มาลองบวชดูพรรษาหนึ่ง แล้วก็กลับไปสู่ชีวิตแบบบ้านเรือนอีก มันจะมีประโยชน์อย่างไร ข้อนี้มันแล้วแต่ว่าจะฉลาดมองหรือไม่ฉลาดมอง คือว่าถ้าจะมอง ในแง่ว่าจะครองเรือนได้ดี โดยที่รู้จักไอ้ชีวิตที่ไม่ครองเรือนมาเป็นเครื่องเทียบเคียงหรือประกอบการพิจารณา งานนี้ก็นับว่าถูกที่ออกมาอยู่อย่างไม่มีเรือน ไม่เกี่ยวกับบ้านเรือนเสียระยะหนึ่งจนรู้ว่ามันเป็นอย่างไร เสียงหาย (นาทีที่ 08:24) ถ้าทำได้ดีในส่วนนี้ มันก็คงจะพอหรือว่าคุ้มค่าของการบวช หรือถ้าทำได้ดีจริงก็อาจจะเกินค่าของการที่เสียเวลามาบวชสัก ๓ เดือน เอาเป็นว่าเมื่อมาบวชสู่ความไม่มีเรือนมันก็ต้องทำให้ถูกต้องและให้สมบูรณ์ตามแบบของแบบที่ไม่มีเรือน คืออนาคาริก ขอให้จำคำว่าถูกต้องและสมบูรณ์ไว้ด้วย มีถูกต้องแต่มันไม่ตลอดไม่สมบูรณ์ก็มี ความถูกต้องนี้ต้องเต็มที่ต้องสมบูรณ์ต้องตลอดไปด้วย พอรู้แนว พอเข้ามาในแนว นี้ก็เรียกว่าถูกต้อง ต้องให้ตลอดไป ตลอดเวลาที่เราจะต้องทำ ก็พอจะเรียกว่าสมบูรณ์ได้ ถ้ามากไปกว่านั้นอีกก็ไม่สึกเท่านั้น เรื่องที่จะต้องศึกษาคือว่าเจตนารมณ์ หรือความหมายอันแท้จริง หรือหัวใจของเรื่องเป็นอย่างไร คำว่า ครองเรือนนั้นมันก็มีความหมาย หรือว่ามีทรัพย์สมบัติ มีเรือน มีบุตร ภรรยา มีครอบครัว นี่เรียกว่าครองเรือน ประโยชน์ที่มุ่งหมายก็เพียงแต่ว่ามีทรัพย์สมบัติ มีเกียติยศชื่อเสียง มีความสะดวกสบาย การเป็นอยู่ในเรือน ที่ไม่ครองเรือนนั้นคือไม่เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ เมื่อเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นที่น่าเอือมระอาแล้ว หรือว่าโดยเห็นว่าไม่ครองเรือนนี้ไปได้ไกลกว่า ศึกษาได้ไกลกว่า ทำประโยชน์ผู้อื่นได้ไกลกว่า ส่วนตัวก็ไปได้ไกลกว่า ส่วนผู้อื่นก็ไปได้ไกลกว่า เขาจึงไม่ครองเรือน นี่ก็เลยเกิดแบบการเป็นอยู่ มีชีวิตเป็นอยู่ หรือกินอยู่ที่มันต่างกันขึ้นมา ที่ครองเรือนแล้วก็ร่ำรวย นี้มันก็คงจะต้องไปตามเหตุปัจจัยเท่านั้น คือกินอร่อย อยู่สบาย สรุปแล้วก็คือว่าตามใจปาก ตามใจท้อง ตามใจกิเลส นั่นแหละความหมายของไอ้คำว่า เรือน พอมาแบบที่ไม่มีเรือนเป็นอนาคาริก นี่ไม่มีอย่างนั้น ถึงแม้แต่เรือนก็ไม่มีจะอยู่ ทรัพย์สมบัติก็ไม่ต้องมี ถ้าเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนานี้ บาตรกับจีวรเท่านั้นเอง ก็เป็นอันว่าไม่มีที่จะกิน จะอยู่หรือว่าจะใช้สอยให้มันตามพอใจของกิเลสได้ ตรงกันข้ามคือตรงนี้ อันหนึ่งปล่อยไปตามกิเลสเรื่อยๆไป ส่วนอันนี้จะทำอย่างนั้นไม่ได้ จะรู้ว่าอะไรเป็นกิเลส อะไรคือความเกินจำเป็น ก็จะไม่เอากับมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็เรื่องปัจจัย ๔ เช่นอาหารการกิน เรื่องเครื่องนุ่งห่ม เรื่องที่อยู่อาศัย เรื่องวิธีการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บมันต่างกันหมด ดังนั้นขอให้เป็นอยู่ด้วยการบริโภคปัจจัย ๔ นี้อย่างแบบนักบวชแบบอนาคาริก ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะไม่ถึงความเป็นอนาคาริกบุคคลคือนักบวช ที่นี้จะเกิดเรื่องอื่นตามมาอีกมากมาย คือเมื่อไม่ได้กิน ไม่ได้ใช้ ไม่ได้อะไรอย่างพอใจ มันก็เกิดโทสะ เกิดความกลัดกลุ้ม แล้วก็พาลที่จะโกรธคนอื่น มีจิตใจที่ไม่อดกลั้น ก็ฉุดเฉียว มันก็มีเรื่องกระทบกระทั่งกับผู้อื่น นี่มันไปซะอย่างนี้ มันไปไกลออกไปอย่างนี้ ได้เกิดการทะเลาะวิวาทแม้ในหมู่บรรพชิต คอยสังเกตให้ดีๆ ถ้ามันอยู่ไม่ถูกแบบไม่เข้ารูปของบรรพชิตแล้วมันก็จะมีอะไรแทรกเข้ามา ที่มันเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ภาษาบาลีเขาเรียกว่า อุบัตถว ภาษาไทยหรือจะเรียกว่า อุบาทว์ ภาษาบาลีมัน อุบัตถว ฟังดูก็น่าตกใจ ถ้าทำผิดวิธีการผิดหลักการแล้วมันก็จะมีอุบัตถวเกิดขึ้น แม้ในหมู่ภิกษุนี้ ไม่น่าดู ไม่งดงาม แล้วก็เสียหายแก่ตนเอง แก่ผู้อื่น แก่พระศาสนา ดังนั้นขอให้ปักใจเสียว่าเราจะเป็นนักบวช บรรพชิต หรือภิกษุที่ถูกต้อง คือที่ดี ก็ขอให้กินอยู่ ใช้สอยในภายนอกนี้อย่างภิกษุที่ถูกต้อง ตลอดถึงการพูดจาโดยถูกต้องตามแบบของผู้บวช เราต้องมีความคิดที่ตั้งไว้อย่างเหมาะสมหรือถูกต้องสำหรับผู้บวช อย่าไปคิดอย่างฆราวาสอยู่เลย แม้ว่าจะสึกออกไปอีกก็อย่าเพิ่งคิดไว้ เอาไว้ค่อยสึกก่อนค่อยกลับไปคิดอย่างฆราวาส เดี๋ยวนี้ก็คิดอย่างนักบวชจะพูดจาอย่างนักบวช จะกระทำทางกายก็ต้องอย่างนักบวช
นี้ก็พูดกันการกระทำทางกายก่อน ข้อความใจความสำคัญมันอยู่ที่การบังคับตัวเอง ถ้ามีการบังคับตัวเองได้การกระทำทางกายทั้งหมดจะถูกต้อง จะเป็นไปอย่างถูกต้อง อย่าปล่อยตามกิเลส อย่าเอาตามสบายของกิเลส หรือตามความเคยชินเมื่อเรายังเป็นฆราวาส อย่าให้ความเคยชินเมื่อเป็นฆราวาสมันติดมา ถือว่ามาตั้งต้นใหม่กันดีกว่า นับหนึ่งกันไปใหม่ตามแบบของบรรพชิต จะพูดเรื่องอะไรดีถ้าเอาตามลำดับปัจจัย ๔ ก็ต้องพูดเรื่องอาหารนี้ก่อน กินอาหารอย่างบรรพชิต ไหนจะพูดกันว่ากินอย่างกินเนื้อลูกกลางทะเลทราย กินอย่างน้ำมันหยอดเพลารถบ้าง คือพออยู่ได้ ข้ามทะเลทรายที่แสนจะกันดาร รูปกายลง หลงทางออกไม่ได้ พ่อแม่ก็จำเป็นต้องกินเนื้อลูกของตัวพอปะทังชีวิตให้ออกมาจากทะเลทราย นี้ก็กินพอที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ ดังนั้นไม่ต้องพูดถึงความเอร็ดอร่อย มันแทบจะกินไม่ลงมันแทบจะตายเสียเอง กินไม่ลง นี่เขาเปรียบไว้ให้พอ สังเกตเอาเองได้เท่าที่จะประทั่งชีวิต แต่อย่างลืมว่ามันจะมากไปจนถึงกับเสียสุขภาพ ดังนั้นกินตามที่รู้อยู่ที่ไม่เสียสุขภาพ จงพอประทั่งชีวิต อย่าให้มันเกิดปัญหาขึ้นมา ไม่อร่อยบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง ไม่มีเกียรติบ้าง ทำนองนั้น ดังนั้นเราก็มีการกิน แล้วก็มีแต่การเลี้ยง การขบฉันที่มันตรงตามหลักเกณฑ์ข้อนี้ ถ้ามันไม่อร่อย เอามาพิจารณาดูแล้วอันนี้ไม่อร่อยหรือว่ายากที่จะกินได้ก็ตาม รู้จักเตือนตัวเองว่าเดี๋ยวนี้เราไม่ใช่คนก่อน ไม่ใช่คนก่อนแล้วที่เคยกินอร่อย หรือกินอาหารตามที่พระพุทธเจ้าท่านมีให้ ที่จะให้ภิกษุเป็นอยู่อย่างไร เมื่อได้อาหารมาโดยวิธีนั้นแล้ว มันก็ต้องกินไปตามนั้น นี้กินอาหารที่พระพุทธเจ้าท่านให้ไม่ใช่ที่ มัคคทายก (นาทีที่ 21:51) อัยกายเขาถวาย อันนั้นมันพูดจนนอก กินอาหารเท่าที่พระพุทธเจ้าท่านอนุญาต หรือท่านได้ว่างหลักไว้สำหรับว่ามันจะต้องเป็นไปอย่างนั้น ดังนั้นเราจึงได้อ่านพบเรื่องที่บางครั้งบางคราวพระพุทธเจ้าเองก็ไม่มีอะไรจะฉันท์ ก็เคยมีอด ไม่มีอะไรจะฉันท์ ต้องฉันท์ข้าวตากเลี้ยงม้าที่เขาปันให้ก็มี บางมื้อบางเวลาก็ฉันท์กับผักดองเป็นของธรรมดาในประเทศอินเดีย น้ำผักดองด้วยซ้ำไปไม่ใช่เนื้อผัก ที่จะมีอาหารอย่างเป็นแกงกับนั้นหายาก เพราะประเทศอินเดียเขาเป็นแบบนั้นเอง เป็นนักบวชเหล่านี้ก็ไม่สนใจกับเรื่องอย่างนี้ คอยหาอาหารตามที่มันจะมีได้อย่างไรในหมู่คนธรรมดาสามัญ ถ้าไปรับบิณฑบาตในหมู่บ้านคนร่ำรวยมั่งมี มันเป็นอีกเรื่องหนึ่งนานๆครั้ง แล้วก็ต้องยังคงฉันท์อย่างน้ำมันหยอดเพลาเกวียน หรืออย่างกินเนื้อลูกกลางทะเลทราย นี่พิจารณาดูเอาเองว่าเราจะเอาอย่างไร จะทำอย่างไรจึงจะเข้ากันได้กับหลักเกณฑ์อันนี้ จะฉันท์เพลก็ได้ แต่อย่าให้มันเลยเที่ยงไป แต่ว่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสในทำนองว่าขอให้มีอาหารหนเดียว แสดงอนิสงค์ไว้มากในทางจิตใจ การฉันท์อาหารในวันหนึ่งเพียงครั้งเดียวนั้นมีอานิสงค์ทางจิตใจมาก แต่ถ้าเราไม่ปรับปรุงจิตใจให้เข้ารูปให้ลงรอยซะก่อนแล้วอาจจะไม่มีผล อาจจะกระวนกระวาย อาจจะหิวอย่างหลอกตัวเองก็ได้ เพราะจิตมันไม่ยอม หรือเมื่อมันจะฉันท์ทีแรกมันก็ไม่ฉันท์ให้เพียงพอ มันไม่เต็มใจจะฉันท์ ดูแล้วมันก็ไม่พอ ที่นี้ไม่มีธรรมะเข้ามาช่วยแทรกแซงระงับความหิวมันก็เกิดโมโห มาทำอะไรเปะๆปะๆ ตามเรื่องของคนที่ขัดใจโมโห มันต้องทำการปรองดองกันให้ดีดี ในเรื่องของการฉันท์อาหาร ระหว่างเรากับกิเลสปรองดองกันให้ดีๆ ถ้าใครอยากจะฉันท์เพลก็เหลือไว้ฉันท์เพลก็ได้ เหลือไว้ในบาตรหรือจะมาโดยวิธีอื่นก็ตามใจ สุดแท้ก็ไม่ได้ห้าม ที่นี่ก็ไม่ได้ห้าม บางองค์อาจจะไปสั่งให้จัดมาพิเศษด้วยกำลังอะไรของตัวก็ได้ ลองดูว่าใครจะได้อะไรมากกว่าใคร ดูปัญหาอย่างนี้กันดีกว่า ถ้าคนที่จะเอาความสบายในเรื่องอาหาร เราควรที่จะเอาตามที่มันตรงตามทำตามวินัย ตามความขูดเกลาหรือขัดเกลาแบบพรหมจันทร์ ข้อสอง คนนี้คนไหนจะได้อะไร จะได้อะไรมากกว่ากัน ที่ดีกว่ากัน บิณฑบาตฉันท์เขาเรียกว่า อะริววังปฏิสภา (นาทีที่ 26:15) เมื่อเป็นนักบวชก็ต้องเป็นอยู่ด้วยอยู่ผู้อื่น แล้วก็ไปขอทานอย่างนี้พูดตรงๆ แต่มันผิดกับขอทานธรรมดามาก คือมันเป็นขอทานที่มีสติปัญญา ขอทานที่มีพระนิพานเป็นที่มุ่งหมาย ไม่ใช่เหมือนคนขอทานกลางถนนที่จะเอาไปให้ลูกให้เมียอะไรทำนองนั้น เพราะเป็นขอทานที่มุ่งหมายจะทำประโยชน์ผู้อื่นยิ่งกว่าตัวเอง บรรพชิตที่ถูกต้องนั้นต้องมุ่งประโยชน์ผู้อื่นด้วย แล้วก็ทำประโยชน์ผู้อื่นอยู่แล้วด้วย เขาก็เลยไม่ใช่ขอทานอย่างขอทานกลางถนน เพราะทำประโยชน์ให้ผู้อื่นโดยการสืบอายุพระศาสนา ดังนั้นจะบวช ๓ เดือน ก็ขอให้เป็นการสืบอายุพระศาสนาตลอดเวลา ๓ เดือน อย่าให้มีการทำลายพระศาสนาแทรกแซงเข้ามาในระหว่างบวช ๓ เดือน แล้วก็ถ้าทำผิด ผิดเรื่องผิดหลักก็คือทำลายศาสนา ไม่มากก็น้อย โดยตรงก็มีโดยอ้อมก็มี ก็อย่าทำให้มันผิดหลัก นี้เราสึกแล้วคนอื่นเขาก็รับช่วงต่อไปอีก แต่ระหว่างที่เราบวชอยู่นี้เป็นการสืบอายุพระศาสนา ในการสืบอายุพระศาสนานั้นมีค่ามากกว่าอาหารที่เราไปรับมาจากชาวบ้านฉันท์ตลอดพรรษา ตีราคากันแล้วมันก็สู้ประโยชน์ที่เราทำให้แก่ศาสนานี้ไม่ได้ ดังนั้นนั้นจึงไม่เป็นหนี้ ไม่เป็นหนี้สิน นี้มันต่างกับคนขอทานกลางถนนอย่างนี้ ไม่ได้ขอไปเลี้ยงลูกเลี้ยงเมีย ไม่ได้ขอไปเพื่อทำความร่ำรวยให้แก่ตน แต่ขอแค่ประทั่งชีวิตไปวันหนึ่งวันหนึ่งเพื่อทำประโยชน์สูงสุดในพระพุทธศาสนาเพื่อตนเองด้วยเพื่อผู้อื่นด้วย ขอให้มันแจ่มชัดอยู่ในใจอย่างนี้ ช่วงบวชนี้เพื่อที่จะทำอย่างนี้ มันชัดเจนอยู่ในใจ แล้วมันก็จะเกิดอาหารที่เป็นทิพย์หรืออาหารที่เป็นธรรมะขึ้นมา เสียงหาย (นาทีที่ 29:17) เพราะฉะนั้นการกินอาหารในบาตรนี้เพียงแต่หล่อเลี้ยงส่วนร่างกายไว้บ้างให้พอดีๆ ส่วนจิตใจมันเลี้ยงไว้ด้วยความรู้สึกอีกชนิดหนึ่ง เสียงหาย (นาทีที่ 30:04) อย่างนี้ท่านเรียกมันว่าเป็นไฟ เป็นไฟ เหล็กก้อนเหล็กแดงบ้าง เป็นอะไรบ้างชนิดที่ทำอันตรายผู้กินผู้บริโภคนั้น รายละเอียดมันยังมีมาก นี้พูดแต่ใจความว่าเรื่องอาหารการกินก็กินอย่างพระ ด้วยจิตที่เป็นพระ มันก็กินอาหารก็กินอย่างพระ ถ้าได้จิตที่เป็นฆราวาสกินอาหารก็กินอย่างฆราวาส นี้มันมีอยู่ที่จะต้องระวังหรือสำรวมให้ดีๆ ทีนี้มาถึงเรื่องเครื่องนุ่งห่มนี้ก็จะไม่มีปัญหาอะไรนัก เพราะมันยั่วกิเลสน้อย อยากเอาให้มันสวย ให้ มันงาม มันก็สวยงามไม่ได้อยู่แล้ว ให้มันพอสะดวกสบายเหมาะสม นุ่งห่มเรียบร้อย ช่วงบวช ๓ เดือนนี้ก็ไม่ค่อยมีปัญหาอะไร มันใช้ไปได้ ก็คิดว่าไม่มีอะไรจะพูดนัก ที่อยู่ที่อาศัยนั้น คอยรู้ว่ามันดี วิเศษยิ่งกว่าสมัยพุทธกาลอย่างที่เปรียบกันไม่ได้ นี่ก็จะพูดซะเลยว่ามัน มันดีกว่าครั้งพุทธกาลไปเสียทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่อาหารการกินอย่างกินอย่างกินอย่างนักโทษอย่างพวกทหารเลวอย่างวัดเรานี้ก็ยังดีกว่าครั้งพุทธกาล ถึงภิกษุทั้งหลายมีอาหารฉันท์เลวกว่านี้มาก ที่พึ่งจีวรเครื่องนุ่งห่มนี้ ครั้งกระโน้นก็ยากที่จะได้นุ่งห่มผ้าที่เขานุ่งห่มกันอยู่นี่ คือผ้าที่บางที่สบายแก่เนื้อหนัง ครั้งโน้นมันต้องนุ่งผ้าห่มผ้าที่ทอด้วยมือ เสียงหาย (นาทีที่ 34:08) เดี๋ยวนี้เราได้ใช้ผ้าชั้นดีวิเศษทุกองค์ ถ้าไปเทียบกับภิกษุครั้งพุทธกาลใช้ผ้าเนื้อหยาบ จะใช้ผ้าเก่าขาดปะดาม ที่อยู่อาศัยก็เหมือนกันอีก มันดี วิเศษกว่าครั้งพุทธกาลซึ่งไม่มีกุฏิอย่างวัดเรานี้มันก็ต้องเรียกว่าอย่างเลว อย่างง่าย อย่างธรรมดาสามัญที่สุด มันก็ยังดีกว่าครั้งพุทธกาลมันยากที่จะมีกุฏิอยู่เป็นส่วนตัวอย่างนี้ ไม่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง ออกพรรษาก็เที่ยวไปหมด ถึงแม้ว่าจะไปจำพรรษาที่หมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่งเขาจัดให้ ก็อย่างกับสมัยนี้ทำด้วยจากอย่างนั้นเอง เสียงหาย (นาทีที่ 35:32) พื้นดิน มุ้ง ใบไม้ ที่มุงกระเบื้องนี้หายาก ตามด้วยเรื่องราวปรากฏในพระคัมภีร์ อุโบสถก็ยังไม่มีอย่างเดี๋ยวนี้ เสียงหาย (นาทีที่ 35:53) ก็มาบอกให้ทราบยืนยันให้ทราบว่าทุกอย่างใน ๔ อย่างปัจจัย ๔ อย่างเรามีมาก ดีกว่า ประเสริฐกว่าครั้งพุทธกาลอย่างที่เปรียบกันไม่ได้ นี่ก็เป็นเหตุให้เรากำหนดมาตรฐานลงไปผิดๆ ว่าเราจะต้องทำอย่างไร กินอยู่อย่างไร หรือถือหลักว่า กินอยู่แต่พอดี ถ้าจะไม่รู้จักว่าพอดีนั้นคือเท่าไร เสียงหาย (นาทีที่ 37:48) ให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับว่ากินอยู่พอดีนั้นคืออย่างไร และมักจะมองไปในแง่ว่าอยู่กันอย่างแบบอยู่ป่านี้เป็นอัตตกิลมถานุโยค เป็นทางทรมานร่างกายผิดหลัก เสียงหาย (นาทีที่ 38:23) อุปโยคอย่างนี้ไปก็มี อย่างต่ำที่สุดอย่างนี้แล้ว ก็ยังมีผู้ถือธุดงค์อีก ถือธุดงค์มันยิ่งไปกว่านั้นอีก เสียงหาย (นาทีที่ 39:08) มันหลายอย่างอีก ฉันท์แต่ในภาชนะเดียวกัน ครั้งเดียว ฉันท์เฉพาะที่เขาใส่ให้มาเพียงเท่านั้นเท่านี้ เพื่อแสวงหาที่กำหนดไว้เพียงเท่านั้นเท่านี้ไม่ไปให้มาก ก็ไปหาให้ดี หรือห่มจีวรชนิดที่มาจากผ้าที่ทิ้งตามป่าช้า อยู่โค่นไม้ อยู่ถ้ำ อยู่แบบนี้ เมื่อมันยิ่งต่ำลงไปอีกกว่าระดับที่เราเข้าใจ นี้รู้ไว้เพื่อไม่ให้เราอึดอัดคับใจในการเป็นอยู่ ถ้ารู้ไว้เพื่อว่าเผื่อเราอยากจะเกิดทำตามอย่างพระพุทธเจ้าขึ้นมาเราก็จะได้รู้ว่าจะต้องทำกันอย่างไร จะได้ใกล้ชิดพระสาวกในครั้งพุทธกาลว่าจะต้องอยู่กันอย่างไร
สำหรับการบำบัดโรคนั้นมันใช้แบบธรรมชาติ ถ้าเป็นเรื่องบำบัดทางฟิสิกส์โดยมากกว่าที่จะใช้หยูกยาพิเศษอย่างสมัยนี้ อาหาร หยูกยานั้นก็ไปตามธรรมชาติที่เขารู้ที่เขารู้ขวนขวายกัน เพราะมันเนื่องจากไม่ค่อยกลัวตายจึงไม่ค่อยจะเรื่องมากเกี่ยวกับการบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เนื่องจากจิตใจมันดีจิตใจมันเข้มแข็งร่ายกายมันเข้มแข็งมันก็ไม่ค่อยเจ็บป่วย มันเจ็บป่วยก็ใช้แต่วิธีโบราณตามธรรมชาติ มันเป็นข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่ง ถ้าอยากรู้ อยากทราบ ก็ไปสนใจศึกษาหาอ่าน หารู้เถอะ แต่สรุปความได้ว่าเขาก็อยู่กันได้ อยู่กันมาได้โดยเฉพาะภิกษุนี้อยู่กันมาได้อย่างได้อย่างน่าประหลาด ทีนี้เรื่องเป็นอยู่ในปัจจัย ๔ ยังอยากให้มันเกิดเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสมา พอได้อย่างใจก็เกิดความโลภ เกิดความตระหนักยินดีในสิ่งเหล่านี้ ถ้าไม่ได้อย่างใจมันก็โกรธ คือโทสะ ถ้าตั้งใจมาอยู่ที่นี่ที่อยู่ที่สวนโมกข์นี้ก็ลองดู ตามแบบที่ได้พิจารณาแล้วว่ามันควรจะเป็นอย่างนี้มากกว่า ถ้ามันคงต่างกันมากกับที่กรุงเทพฯหรือที่ไหนที่เขาจะถือว่าการบวชนี้เป็นการพักผ่อน หาความสบายแล้วยังอยู่ดีกินดี ได้รับการแวดล้อมประคับประโหงมอย่างดียิ่งกว่าเป็นอยู่บ้านซะอีก คนนั้นก็อยากถวายให้ดีให้อร่อยให้สวยให้งามก็เลยไปกันอย่างไกลออกไป ไกลออกไป ไม่รู้จะไปทางทิศไหน เพราะฉะนั้นถ้ามาอยู่ที่นี่มันก็มีความมุ่งหมายให้มันใกล้ชิด คือเหมือนการเป็นอยู่ครั้งพุทธกาล หรือให้คล้ายพระพุทธเจ้ามากที่สุด อย่างที่ผมยืนยันตะโกนอยู่เสมอ ท่านเกิดกลางดิน ท่านก็ตรัสรู้กลางดิน ท่านสอนกลางดิน ท่านนิพพานกลางดิน ท่านอยู่กลางดินเพราะว่ากฏิมันพื้นดิน ทุกอย่างมันตามธรรมชาติ ไม่เคยพูดถึงแก้วน้ำ ช้อนส้อม หรือรองเท้า ไม่เคยพูดถึงเรื่องเหล่านี้สำหรับพระพุทธเจ้า ดังนั้นเราก็เอาเป็นว่าเท่าที่พอมีนี้มันจะมากกว่าครั้งพุทธกาลบ้าง ก็เอาไปก่อนก็แล้วกันคือมันไม่มากเกินไป อย่างไรก็ต้องใช้ช้อนส้อมฉันท์ข้าว ใช้แก้วฉันท์น้ำ ใช้อะไรต่าง ๆ ให้เรื่องนี้อย่ามีปัญหา มีปัญหาแต่เรื่องที่จะทำจิตใจอย่างไรจึงจะเป็นบรรพชิต ทำจิตใจดีให้ถูกก่อนเถอะแล้วทางวาจา ทางกาย มันจะถูกเองโดยอัตโนมัติ ถ้าดำรงจิตใจไว้ถูกแล้วมันจะเป็นไปในถูก ทางถูกหมดทางกาย ทางวาจา จิตใจมีธรรมะแล้วมันจะกินอาหาร คือนุ่งห่มหรืออยู่ใช้สอยอย่างถูกต้องตามธรรมะเสมอ แม้แต่การพูดจามันก็จะต้องถูกต้องเสมอ ถ้าจิตสงบอย่างน้อยกายมันก็สงบ ฉะนั้นวาจาจะกระทบกระแทกแดกดันกันมันก็ไม่มี ไม่ต้องพูดถึงที่จะด่ากัน ไม่เพียงแต่กระทบกันก็ไม่มี หยาบคายก็ไม่มี พูดเท็จก็ไม่จำเป็น ถ้าจิตใจมันสงบแล้วมันก็ไม่มีทางที่จะพูดให้เป็นอกุศลได้ ท่านทรงสนใจในเรื่องจิตใจให้มากขึ้นต่อไปยังจะมีเรื่องอีกมาก ตั้งต้นตั้งแต่ว่าเดี๋ยวนี้เราอุทิศแล้ว การบวชแม้ ๓ เดือน อุทิศพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ของการบวชนี้ คำว่าอุทิศพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ต้องทำให้คล้อยตามพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จะรีบศึกษาให้รู้ว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ท่านเป็นอย่างไร มันมีแต่ แต่ละเอียดประณีตสูงขึ้นไปโน่น อย่าลดให้มันต่ำเลย ทั้งจิตใจอย่างชาวบ้านอย่าให้มีเลย มันก็ไม่มีการพูดจาอย่างชาวบ้าน ไม่มีการด่ากัน กระทบกระทั่งกัน ก็เรียกว่าทิ่มแทงกันด้วยหอก คือปาก คือวาจา วาจาแห่งชาวบ้าน ถ้าเป็นพระก็ต้องไม่มีเรื่องอย่างนี้ ถ้าตั้งจิตอย่างไรมันจึงจะไปตามร่องรอยของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เข้าใจว่าเคยอ่านกันมาแล้วเป็นส่วนมาก เรื่องพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นอย่างไร สรุปแล้วพูดได้คำเดียวว่ามีจิตใจที่มันปราศจากความเห็นแก่ตัวหรือว่าปราศจากความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเห็นแก่ตัว ที่เราพูดผิดทำผิด โกรธใคร อะไรก็ตาม มันเป็นเรื่องยึดมั่นอะไรสักอย่างแล้วก็ไม่ยอมปล่อย แล้วก็เห็นแก่ตัว ก็มีการทะเลาะวิวาท แล้วลำพังตัวเองก็หงุดหงิด หงุดหงิด หงุดหงิดอยู่อย่างเป็นเหมือนกับไฟที่อับควันอยู่ข้างใน นี่เป็นตัวอย่างที่มันเกิดขึ้นแล้ว จงเสียใจให้มาก ละอายให้มาก แล้วมันจะเป็นเครื่องป้องกัน เดี๋ยวนี้ภิกษุ สามเณร ไม่รู้ แล้วมันไม่ละอายในการพูดจาอย่างนั้น กิริยาอย่างนั้น หรือทำอะไรอย่างนั้น มันไม่อาย มันไม่ละอาย มันก็ยิ่งทำมากขึ้นๆ ถ้าเป็นภิกษุที่ดีแม้แต่เพียงคิด ผิดไปแล้วมันก็ละอาย ถ้าถึงกับพูดจาออกไปเลว ๆ ทำกริยาออกไปเลวๆ มันก็ยิ่งอาย ไม่รู้จะเอาหน้าไปไว้ไหน ถ้าเพียงแต่คิดอยู่ในใจผิดๆ แล้วมันก็ละอายเท่านั้น มันก็ละอาย แต่ไม่รู้จะเอาหน้าไปไว้ไหน ไม่มีใครรู้ แต่เห็นว่าตัวเองรู้เห็นแล้วก็ไม่รู้ว่าจะซ่อนหน้าตัวเองจากตัวเองไว้ที่ไหน ถ้าถึงขนาดนี้ก็ใช้ได้ มันก็มีหิริ มีโอตะปะ ขอให้จำไว้ด้วย ๒ คำนี้คือ หิริ ละอายแก่ความชั่วแก่ตัวเอง โอตะปะ ก็กลัวแต่ความชั่วกลัวได้แต่ลำพังตัวเอง ไม่ต้องมีใครมาขู่ มาลงโทษ หิริโอตะปะ เป็นรากฐานของความดีงาม ตั้งแต่ขั้นศีลขึ้นไป ขั้นสมาธิ ปัญญาไปเรื่อย นี่ไปศึกษากันในส่วนนี้ อย่างไรเรียกว่าละอาย อย่างไรเรียกว่าควรละอาย แล้วเราควรละอายหรือไม่ควรละอาย ขออย่าได้เอาอย่างภิกษุเลวๆ ที่นี่ก็มีที่ไหนก็มี คือคนที่ไม่ละอาย ภิกษุสามเณรที่มันไม่ละอาย อย่าไปเอาอย่างมันแล้วก็อย่าไปทะเลาะกับมันด้วย มันจะเผลอขึ้นมาเป็นครั้งคราวก็มี ก็ต้องทำคืน แสดงอาบัติกลับตัวกลับใจ ที่วัดนี้มันเป็นที่เหมือนกับที่พักแรม ใครมาก็ได้ ใครไปก็ได้ มันก็มีทั้งเลวทั้งดี ก็รู้เองว่าใครเลวก็อย่าไปเอาอย่างมันก็มีเท่านั้นเอง แล้วอย่าไปโกรธมันให้เสียเวลา จะเป็นเหมือนกับที่เขาเรียกว่าเอาไม้สั้นไปรันขี้ เอาไม้ตีดุจาระมันก็กระเดนใส่คนที่ตี ดังนั้นอย่าไปยุ่งกับคนที่ไม่ละอาย ไม่มีศีล ไม่มีหิริโอตะปะ ถ้าเขามากระทบกระทั่งเราถ้าหากมีก็ต้องอดทน ต้องหัวเราะได้ แทนที่จะโกรธ หัวเราะได้ หรือสงสารได้ อยู่กันหลายๆ คนมันก็มีคนที่ไม่ดีบ้างเป็นธรรมดา เราสงสารอยู่ในใจ ถ้าถูกกระทำไปแล้วก็หัวเราะได้ สุนัขกัดเราเรายังไม่กัดสุนัขเลย ที่นี่ภิกษุบ้าๆบอที่จะมาทำอันตรายเรา เราก็อย่าไปยุ่งกับมันก็เท่านั้นเอง มันกิเลสต่างหาก มันไม่ใช่ไม่ใช่มนุษย์หรือคนมันกิเลส คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว อย่าไปเกี่ยวข้องกับกิเลส อย่าไปสังคมกับกิเลส สังคมกับจิต กับจิตที่มันไม่มีกิเลส คือเราไม่ได้เป็นพระอรหันต์แต่เวลาที่ว่างจากกิเลสมันก็มีอยู่มาก เวลาที่ไม่เกิดกิเลสมันมีอยู่มาก ไปสังเกตดูเอาเอง เวลาที่เราไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง ความโง่ มันก็มีอยู่ เวลานั้นไม่มีกิเลส เราเป็นพระที่ถูกต้อง พอเผลอกิเลสเกิดขึ้นก็หมดความเป็นพระไปพักหนึ่ง หรืออาจจะนานหน่อยก็ได้ แล้วแต่เหตุการณ์แล้วแต่บุคคล เกิดความโลภในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดกำหนัดในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ก็หมดความเป็นพระไปพักหนึ่ง เกิดความโกรธ เกิดความคิดประทุษร้าย เป็นอันธพาล เป็นอันธพาลหมดความเป็นพระอรหันต์ สำหรับโมหะนี้ระบุมันหลงจนไม่รู้จะไปทางไหน บวชเป็นพระเข้ามาแล้วก็ยังไม่รู้ว่าจะไปทางไหน หรือจะทำไปอย่างไร จะมีมาตรฐานสำหรับการประพฤติปฏิบัติอย่างไร ก็ขอให้ย้อนไปถึงขั้นต้นเมื่อสักครู่ที่ว่าเดี๋ยวนี้เราจะมาเป็นอนาคาริกดูสักระยะหนึ่ง นี่สำหรับผู้บวชแล้วสึก ก็อย่าลืมว่าเดี๋ยวจะเป็นอนาคาริก จะเป็นบรรชิต จะเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าในระดับภิกษุ ไม่ใช่ระดับอุบาสก อุบาสิกา มันจะได้ถอย จะได้ชะงักต่อการที่จะปล่อยไปตามอารมณ์ อย่าลืมว่าเดี๋ยวนี้เราเป็นบรรพชิตแล้ว เป็นภิกษุแล้ว เหมือนบทสวดปัจจะเวกเดี๋ยวนี้เราเป็นผู้มีวรรณะต่างจากคฤหัสถ์แล้ว นี้ก็เลยพูดถึงการทำวัตรสวดมนต์ซะบ้าง ว่าเป็นความดีที่จะช่วยให้เราจำอะไรได้ ช่วยให้เราระลึกอะไรได้ บางเวลาเราก็สวด ก็ว่าไป แต่บางเวลาเราสวดไม่ได้เราฟัง หลับตาฟังยังได้ประโยชน์ยิ่งกว่าคนสวดซะอีกเพราะเรามีโอกาสคิดนึกอะไรมากเพราะเราไม่ได้สวดก็ไม่ต้องใช้ แต่จิตไปทางอื่นฟังอย่างเดียว บทที่เลือกมาสำหรับสวดทำวัตร หรือ หรือสวดมนต์ นี่เลือกแล้ว เลือกอย่างยิ่งแล้วที่จะมีประโยชน์ที่สุด ขอให้พยายามสวด ในระยะแรกๆ นี้ให้พยายามสวด เพื่อเป็นหลักสำหรับเตือนตนเอง กันลืม อาจจะนึกได้เมื่อมาเราสวดขึ้น เมื่อเขาสวดขึ้นเราก็นึกได้อีก ถ้าเราลืมไปแล้ว มันมีตั้งแต่บทที่เป็นหลักของพระศาสนาของพรหมจรรย์ เรื่องอนิจัง ทุกขัง อนัตตา เรื่องเป็นทุกข์เพราะความยึดมั่นถือมั่น ไม่ยึดมั่นถือมั่นก็ไม่เป็นทุกข์ นี่บททำวัตรเช้า เป็นหลักธรรมะชั้นสูง ที่สวดมนต์ที่เลือกมาเฉพาะที่จะช่วยสนับสนุนการศึกษาด้วยการปฏิบัติด้วย นี่ก็มีประโยชน์ นี้ถ้าเอาให้ดีไปกว่านั้นอีกมาทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็น ให้ถือเสมือนหนึ่งว่ามันมาเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นประจำวัน เพราะว่าถ้าผู้ใดมันทำด้วยใจจริงให้ตรงตามคำสวดนั้น บททำวัตรเย็นก็ดี บททำวัตรเช้าก็ดี เหมือนมันจะมีคุณของพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในใจของบุคคลนั้น บุคคลนั้นได้ถึงพระพุทธเจ้าเหมือนว่าเห็นพระพุทธเจ้า จะทำที่กุฏิก็ได้ แต่มันไม่ค่อยจะชวนทำ หรือมันมักจะเหลวไหล หรือมันยังทำไม่เป็น มันจะนอนซะมากกว่า ดังนั้นระเบียบแห่งยุคปัจจุบันนี้ก็จึงมีเรียกว่าทำวัตรเช้าเย็นตามระเบียบมาตามเวลาแล้วมันก็จะเป็นการบังคับไม่ให้เหลวไหลได้ เฝ้าพระพุทธเจ้าทั้งเช้าทั้งเย็น ถ้าต้องการถึงขนาดนี้ ก็ต้องฟังให้ดี บทสวดพระพุทธคุณของพุทธานุสสติหรือพวกอานุสสติหรืออะไรก็ตาม (นาทีที่ 59:03) ฟังให้ดี จะมีการถึงพระรัตนตรัยเป็นพิเศษด้วยจิตใจ ถ้ามันแน่นอนกว่านั้นก็ต้องทำด้วยจิตที่เป็นสมาธิ ฟังก็ฟังด้วยสมาธิ สวดก็สวดด้วยสมาธิ ก็มีจิตที่เป็นสมาธิ จิตชนิดนี้มันถึงธรรม มันเข้าถึงธรรมที่แท้จริง ถ้าถึงธรรมที่แท้จริงก็คือถึงพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าที่แท้จริงมันคือธรรม ไม่ใช่องค์ องค์ที่เป็นร่างกายเป็นเนื้อหนัง ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม จะต้องทำให้ธรรมมันปรากฏแก่ใจ ใจมันจึงจะเห็นธรรม เป็นธรรมคือเห็นพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเห็นแจ่มแจ้งในเรื่องทุกข์ ในเรื่องความดับทุกข์ ที่มีหลักว่าผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาทผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นอนาคต ผู้ใดเห็นอนาคตผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท คือทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ทุกข์ดับลงไปอย่างไร ก็เลยได้เห็นพระพุทธเจ้าด้วยใจยิ่งขึ้นไปอีก ไม่ได้เพียงแต่สวดด้วยปาก เป็นอันว่าถ้าตั้งใจจริงทำได้ดีจริง การที่เพียงแต่ทำวัตรเช้าเย็นนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งซึ่งมีค่ามากสูงสุดสำหรับผู้บวชใหม่ คือเป็นการปฏิบัติหรือเป็นงานชิ้นเอกชิ้นหนึ่งทีเดียว ถ้าทำจริง เดี๋ยวนี้ก็ไม่ค่อยได้ทำจริง มาบ้างไม่มาบ้าง หรือว่ามาเพราะเกรงว่าเพื่อนจะว่าขี้เกียจ กลัวอาจารย์จะว่าขี้เกียจ ถ้าอย่างนี้จิตมันไม่ได้เป็นไป ไม่ต้องเป็นอย่างนั้น ด้วยความตั้งใจจะทำตามระเบียบเพื่อให้ถูกตามระเบียบที่เขาวางไว้ มุ่งหมายไว้ ว่ามันจะเป็นตามการทำเหมือนจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทั้งเช้าทั้งเย็น จะมีจิตเป็นสมาธิหรือมีจิตเป็นธรรมประกอบไปด้วยธรรม เป็นพระพุทธเจ้าน้อยๆ ขึ้นมาซะเอง ถึงอย่างไรก็ดีบทสวดนี้เป็นให้การศึกษา เป็นบทสำหรับศึกษา ใช้วิธีอย่างครั้งโบราณที่เขาไม่มีหนังสือใช้ สมัยพุทธกาลพระภิกษุก็ไม่มีหนังสือใช้ ไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่ได้ใช้หนังสือ อาศัยจำกันจากคนต่อคน ต่อคน จากปาก เพราะสมัยนั้นโลกมันไม่เจริญถึงขนาดมีหนังสือใช้ในประเทศอินเดีย มีก็เป็นส่วนน้อยที่สุด หนังสือชั้นหลังเขียนผิดๆ ว่าใช้จดหมายใช้อะไร ใช้คนไปบอก ไม่ใช่ว่าเขียนหนังสือ เดี๋ยวนี้เรามีหนังสือ มันสะดวก มันใช้ประโยชน์จากหนังสือให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ นี้เป็นระเบียบที่ว่าเราจะต้องทำพร้อมๆ กันเป็นหมู่เป็นคณะ เป็นระเบียบเรียบร้อยเช้าเย็น เวลานอกนั้นเป็นอิสระต่อตัวเอง ก็ทำอีกเหมือนกัน ไม่ใช่ไม่ทำ ทำให้ดีกว่าหรือยิ่งไปกว่าก็ได้ ไม่มีใครว่า นี้เป็นเรื่องทำวัตรสวดมนต์ เรื่องกิจวัตร ๑๐ ประการมีอยู่แล้ว ควรจะเอามาอ่านวันละ ๑๐ นาที ๑๕ นาทีให้เข้าใจ บิณฑบาต กวาดวัด ลงอาบัติ ทำวัตรสวดมนต์ ค้นคว้า ปัจจเวก ภาวนา อุปชา อาจารย์ บริหารกิจสงฆ์ของสงฆ์ ดำรงตนให้น่าไหว้ที่สุด เป็นกิจที่ทำวางไว้เป็นระเบียบสืบ ๆ กันมาเรียกว่ากิจวัตร หนังสือเล่มนี้ก็พอมีบ้าง มีคนเอามาถวายองค์ละเล่มเฉพาะผู้บวชใหม่ปีนี้ ที่นี้บางเรื่อง บางอย่างมันเบ็ดเตล็ดก็ขอให้ถือเอาจากตัวอย่าง ที่ภิกษุที่ดี ที่เป็นครูบาอาจารย์เขาทำอยู่ ก็มีอยู่ส่วนหนึ่ง คือเราไม่ได้ตราเป็นกฎหรือเป็นระเบียบอะไรไว้ เหมือนกับที่เขาเข้าใจกันโดยมาก พอมาถึงที่นี้ก็ถามว่ามีระเบียบอะไรบ้าง มีข้อบังคับอะไรบ้าง ก็บอกว่าที่นี่ไม่มี อยากเลวก็เลวไป อยากดีก็ดีไป เพราะฉะนั้นก็ดูเอาจากผู้ที่เขาประพฤติปฏิบัติกันอยู่ จะไม่ทำก็ได้ ไม่มีใครลงโทษ แต่มันคงเสียหายพินาศหมดในส่วนจิตใจของตัวเอง มันจึงมีส่วนที่ต้องดูเอาเองจากที่เขาทำกันอยู่ก่อน แล้วก็เลือกดูเป็นตัวอย่างเฉพาะองค์ที่ดีๆ อย่าไปดูตัวอย่างองค์ที่เลว ผู้บวชใหม่ก็พยายามใกล้ชิดกับตัวอย่างกันที่โรงฉันท์ พยายามฉันท์ที่โรงฉันท์เพื่อที่จะเห็นตัวอย่างว่าแม้แต่อะไรเขาทำอย่างไร บางทีก็ต้องพูดจาให้รู้ว่าต้องฉันท์อย่างไรจะพิจารณาอย่างไรด้วยซ้ำไป แม้แต่จะไปส้วม ไปฐานไปอาบน้ำก็ให้มันถูกต้องตามวินัย สงสัยก็ถามหรือว่าดูตัวอย่างที่เขาทำกันอยู่ วินัยบางอย่างก็เรียนจากเพื่อนทำให้ดู ไม่ได้เรียนจากหนังสือโดยตรง การรักษาความสะอาด การเป็นระเบียบเรียบร้อย ความประหยัด รักษาสมบัติของสงฆ์ นี่เป็นเรื่องที่ทำกันเป็นตัวอย่าง ตลอดถึงการบริหารร่างกายให้มีสุขภาพอนามัยก็อยู่ในเรื่องนี้เหมือนกัน ดูแล้วจะเห็นได้ว่าวินัยมากมายทรงบัญญัติไว้เพื่อเป็นผู้มีอนามัยดี มีสุขภาพอนามัยดี ก็เป็นวินัยเบื้องต้นที่หามาอ่านกันเสียบ้าง โดยเฉพาะอย่างหนังสือนวโกวาท เอามาสวดมนต์ เสียงหาย (นาทีที่ 1:08:17) เพราะมันต้องมีอะไรอย่างที่ว่ามันไม่ควรอย่างยิ่ง มันน่าเกลียดหรือว่านำเชื้อโรคมาติดต่อกันอะไรต่างๆ นี้ อย่างนี้มีอยู่ในวินัยนำมาอ่านฟังกันซะบ้าง วินัยอย่างนี้มีนับจำนวนร้อยข้อ วินัยสำคัญก็มีเพียงปาฎิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ แต่ละคนวิถีทางที่ปฏิบัติไปแล้วหลายข้อ ระเบียบเกี่ยวกับภิกษุณี เดี๋ยวนี้ไม่มีภิกษุณี คงพูดเท่าที่จะนึกได้ อาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บวชใหม่ที่ตั้งใจดี ตั้งใจจริง ควรจะทราบไว้ เพื่อจะทำให้มันได้รับผลดีจริง ใน ๓ เดือนนี้มันไม่ใช่ระยะยาวเราอาจจะทำให้บริสุทธิ์ผุดผ่องทั้ง ๓ เดือนได้ แม้จะผอมไปบ้างก็ไม่เป็นไร เคยสังเกตไว้ว่าผู้ที่ปฏิบัติอย่างเต็มที่ คือไม่เกียจคร้าน ทำให้น้ำหนักลดไป ๖ กิโล อย่างมาก ไม่มากหรอกนะ สอบถามกันดูแล้วหลายๆ คนน้ำหนักลดไป ๖ กิโล จากผู้เข้ามาบวช แก่ก็ยิ่งสบายดี คือสิ่งสุดท้ายที่ว่าจะต้องพูดหรือเน้นกันอีกข้อนั้นก็คือความอดทน ถ้าไม่อดทนก็ไม่มีทางสำเร็จอะไรเลย จะรักษาวินัยหรือว่าจะอะไรก็ตาม มันต้องมีรากฐานแห่งความอดทนที่เรียกว่า ขันติ อดกลั้น อดทน อดกลั้นข้างนอกหรืออดกลั้นต่อความร้อนหนาวต่างๆ ถ้าไม่อดทนมันก็ไม่มา ทำวัตรสวดมนต์หนาวๆได้ นี้อดทนข้างนอก อดทนต่อยุง ลม แดด หนาว ร้อน จนกระทั่งอดทนต่อความเจ็บไข้ได้ป่วย นี้ก็ต้องอดทน ทีนี้อดทนข้างใน คืออดทนต่อความบีบคั้นของกิเลส กิเลสบีบคั้นต้องอดทน ข้างนอกก็อดทนต่อสิ่งของต่อบุคคล คนบ้าคนบอมันก็แสดงอาการดูหมิ่นเหยียดหยามเป็นธรรมดา ไม่ไปถือไปสาต้องอดทน นี่อดทนข้างนอก ไม่อดทนข้างนอกแล้วหมดความเป็นพระกันเลย นี่รู้ไว้ทุกคนทั้งพระเป็นเณร พอไม่มีความอดทนก็หมดความเป็นพระ มันจะบันดานโทสะบ้าง จะคิดนึกอย่างต่ำทรามบ้าง บันดานโทสะบ้าง กระทั่งทะเลาะวิวาทกันบ้าง แล้วกิเลสก็ได้เปรียบ ถ้าเราอดทนต่อความบีบคั้นของกิเลส กิเลสมันก็เสียเปรียบคือมันจะถอยไป มันจะลดลง พอตามใจกิเลส กิเลสมันก็อ้วนพลี พอได้กินอาหารอ้วนพลีมันก็เข้มแข็งขึ้น ถ้าเราอดทนได้ กิเลสมันไม่ได้กินอาหาร กิเลสก็ผอมลงเอง ดังนั้นขอให้รัก รักความอดทน อย่าให้เป็นของเบื่อหน่าย น่าเกียจ น่าระอา แต่เป็นของน่ารัก ความเป็นพระอยู่ได้เพราะความอดทน ลองไม่อดทนเดี๋ยวก็จะอาบัติเข้ามาทุกทิศ ทุกทาง ทุกประตูเลย พอไม่อดทนมันก็ต้องทำผิด โดยเฉพาะวินัยจะทำผิดมากขึ้น ไปศึกษาวินัยดูจะรู้ว่า โอ้, นี่ถ้าไม่มีอดทน แล้วก็จะไม่ได้ กระทั่วอาบัติชั้นร้ายๆ จนอาบัติชั้นพิเศษ เป็นต้น ล้วนเกี่ยวกับความอดทนทั้งนั้น จึงถือว่าความอดทนนั้นเป็นกำลังของผู้บำเพ็ญพรต ขันตี พลัง วยจีนัง เมื่อก่อนเมื่อเขาสวดมนต์จบ เขาก็มีการบอกวัตร มันก็เตือนได้ทุกวัน ในบทบอกวัตรจะมีบทบอกขันทีตั้งหลายสิบข้อ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้สวดบทบอกวัตร เลิกๆกันไปเสีย จะเห็นว่าน่าจะเอากลับมาอีก มันจะเตือนบอกไว้ทุกวันว่า ขันตี พลัง วยจีนัง ขันตีเป็นกำลังของนักบวช รู้กันไว้แล้วกันว่าต้องต่อสู้ด้วยความอดทน คือขันตี อย่าโกรธ พอโกรธก็ต้องทำผิด อย่ายอมแพ้ ถ้ายอมแพ้ก็ต้องทำผิด ถูกทำแล้วมันเหมือนกับนักรบชนิดหนึ่ง โยโถ แปลว่า นักรบหรือผู้ทำสงคราม ภิกษุนี่เป็นผู้ทำสงครามกับทำชั่ว สงครามกับกิเลสมันเป็นนักรบชนิดหนึ่ง ก็ขอให้มันรบให้ชนะ ให้มันยันไว้ได้ อย่าแพ้ถอยหลัง ถ้าดีก็ชนะรุกไปข้างหน้าเรื่อยไปๆ กิเลสหลายอย่าง ก็จะละได้ก่อนลาสิขาบวช นี้คือข้อที่ผมอยากจะพูดกับผู้บวชใหม่ ตามเวลา ตามโอกาสที่จะมี บางวัน บางเวลาโอกาสมันก็ไม่อำนวย ผมไม่ค่อยสบายเดี๋ยวนี้ ถูกอากาศชื้นหนาวก็ไม่ได้ ฝนตกก็มีอาการไม่ค่อยสบาย ตอนไหนอากาศดีอย่างนี้ก็มาพูดกันอีก ขอให้สนองความประสงค์อันนี้ที่ว่าฟังให้ดี ศึกษาให้ดี ให้การบวช ๓ เดือนนั้นมีประโยชน์เต็มที่ตามที่มันจะเป็นได้ ตามที่มันจะมีได้ แล้วเราก็ปรับปรุงขั้นพื้นฐานนี้ เรื่องกิน เรื่องอยู่ เรื่องนุ่งห่ม เรื่องอะไรต่าง ๆ ค่อยๆ สูงขึ้นไปตามลำดับ จนรู้จักทำสมาธิภาวนา ทางจิต ทางใจ ให้สูงขึ้นไป ในชั้นนี้ขอให้ปรับปรุงพื้นฐานให้ดี ให้เตรียมตัวให้ดี มีความอดกลั้นอดทน อย่าไปเกี่ยวข้องกับผู้อันธพาล มันจะทำให้เสียหายหมด บันดาลโทสะแล้วก็ทำอะไรได้ทั้งนั้น คนเราถ้าเกิดบันดาลโทษะก็ทำอะไรได้ทั้งนั้นแหละ ซึ่งตามตำราทำไม่ได้ ฉะนั้นวันนี้ก็พอกันที ขอสรุปความที่ว่า บวชเป็นอนาคาริกก็เป็นอนาคาริกตลอดเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ๓ เดือนเป็นต้น ให้ตรงกันข้ามกับอนาคาริก อย่างที่อยู่บ้านอยู่เรือนคราวก่อนโน้น เป็นอนาคาริกคนละโลก อย่างอยู่กันคนละโลก มีการกินอยู่นุ่งห่มใช้สอยกันอย่างแบบของสาวกของพระพุทธเจ้า ทั้งนี้ก็มอบอะไรทุกอย่างแก่พระพุทธเจ้า หรือว่าเมื่อไม่บวชมันจะมอบอะไรน้อยเกินไป เดี๋ยวนี้ต้องมอบกันหมดเลย ถ้ากลัวว่าแม้แต่มันจะต้องตายก็ให้มันตายไปซะดีกว่า กลัวจะทำตามที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้ ในที่สุดมันไม่ตายหรอก มันยิ่งไม่ตายซะอีก ไม่ตายก็ทางกาย ไม่ตายก็ทางจิตใจ เพราะว่าเราก็พูดในบททำวัตรอยู่ทุกวันแล้ว พุทธัสสาหัสมิ ทาโส วะ พุทโธ พระพุทธเจ้ามอบชีวิตนี้แก่พระพุทธเจ้าแก่พระธรรม แก่พระสงฆ์ ทุกคราวทำวัตรเย็นมันมีอย่างนั้น มีหิริโอตะปะ ละอายได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องมีใครมารู้เห็น กลัวได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีใครมาลงโทษ มีขันติเป็นเครื่องมือสำหรับต่อสู้ สำหรับข้าศึกศัตรู ต้องใช้ขันติเป็นอาวุธต่อสู้ ทั้งภายนอกและภายใน ข้าศึกข้างนอกก็สู้ด้วยขันติ ข้าศึกข้างในก็สู้ด้วยขันติ พอกันทีสำหรับวันนี้ ขอถวายหนังสือองค์ละเล่ม