แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในครั้งแรกที่สุด เมื่อพูดกันถึงเรื่องหลักธรรมะที่ทุกคนควรทราบ และหน้าที่ หน้าที่ในระดับต่างๆ กัน (นาทีที่1:51) ครั้งแรกที่สุดจนกระทั่งวิวัฒนาการจนถึงสุด มีหน้าที่ทางจิตใจทางธรรม และก็พูดถึงเรื่องตัวเองที่คนอื่นควรจะรู้จักในครั้งต่อมา เพื่อจะให้เข้าใจถึงในความรู้สึกว่า ตัวตนที่มันจะต้องเกิดขึ้นเองตามสัญชาตญาณของสิ่งที่มีชีวิต และก็มาพูดถึงอาหารที่ทุกคนจะต้องรู้จักเลือก รู้จักกินนั้น มันไม่ใช่มีแต่เพียงข้าวปลาอาหาร ยังมีอาหารแบบอื่นๆ ที่จัดขึ้น ตามหลักธรรมะในพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า นี่ก็แสดงว่าท่านมองกันอย่างกว้างขวางในความหมายของคำว่าอาหาร
ในครั้งนี้ก็จะพูดถึงอันตรายที่ต้องรู้จักอีกเหมือนกัน ทั้งนี้ก็เพื่อว่าให้มันมีความรู้ (นาทีที่ 4:03) อย่างที่กลมกลืนกันไปกับสิ่งที่เรียกกันว่าสัญชาตญาณ มีความรู้ที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แต่มันเป็นชั้นพื้นฐานที่สุด มันไม่ได้พัฒนา (นาทีที่ 4:28) ไม่ได้ทำให้เจริญมากมายอะไร แต่มันก็ยังคงมีอยู่ในฐานะเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐาน ขอให้นึกถึงสัญชาตญาณทั้งหลายที่เป็นหลักๆ สัญชาตญาณแห่งการมีตัว (นาทีที่ 4:46) มีสัญชาตญาณแห่งการกินอาหาร มีสัญชาตญาณแห่งการหนีอันตราย หรือหนีภัย กระทั่งถึงสัญชาตญาณแห่งการที่จะต้องสืบพันธุ์ไว้ ในที่สุด ว่ามันรู้จุดว่าจะต้องตายไป มีสัญชาตญาณพึ่งพาเหล่านี้ รู้จักปรับปรุงให้ดีจะกลายเป็นความรู้ (นาทีที่ 5:30) สมบูรณ์เต็มที่ ไม่เพียงแต่เป็นสัญชาตญาณ เป็นเสมือนหนึ่งพืชพันธุ์ที่เราจะเอามาเพาะวางปลูก ให้มันเจริญงอกงามเต็มที่ที่จะพูดถึงเรื่องตัวตน ถึงเรื่องอาหาร ที่จะพูดถึงเรื่องการหนีอันตราย อันตรายที่ทุกคนจะต้องรู้จักกลัว เพื่อว่ามันจะได้มีความเหมาะสมในระหว่างความรู้อย่างสัญชาตญาณ กับความรู้ที่ทำให้เราเจริญก้าวหน้าถึงสุด
เรื่องความเหมาะสมนี่สำคัญมาก ท่านให้จำคำว่าเหมาะสม ทั้งทางโลก ทั้งทางธรรมะ (นาทีที่ 6:49) อยู่ที่ความเหมาะสม นั้นหมายความถูกต้องและข้อดี ไม่มากไม่น้อยไม่เกินไม่ขาด แต่ที่เขาพูดคำว่าเหมาะสมก็มักจะเห็นเป็นเรื่องธรรมดา น่าจะเป็นของเด็กๆ (นาทีที่ 7:18) ก็ไม่คำนึงถึงความเหมาะสมอย่างเป็นชีวิตจิตใจ ได้เรียนรู้อะไรซักหน่อยมันก็อวดดีซะแล้ว เพราะอาจขาดความเหมาะ สมไปโดยไม่รู้สึกตัว และมันก็จะขาดยิ่งขึ้นๆ ขอให้ระวังให้ดี เราเรียนมากขึ้นยิ่งขาดความเหมาะสม (นาทีที่ 7:46) ตามธรรมชาติมากขึ้น (นาทีที่ 7:52) ไอ้ความรู้ที่เรียนมาด้วยความประมาท แล้วมันก็ทำให้ (นาทีที่ 7:59) อย่าเห็นว่าไอ้ความเหมาะสมมันเป็นคำพูดตั้งแต่เด็กๆ หรือเป็นคำพูดสำหรับเรื่องธรรมดาเล็กๆ น้อยๆ แม้แต่สูงสุดในทางธรรม ยังต้องการความหมายของคำๆ นี้นี่เอง บางทีเราก็ใช้คำว่าสมดุล ถ้าทุกอย่างสมดุลมันก็เป็นอันว่าสำเร็จ ถ้ามันขาด ขาดดุลไปแต่บางอย่างมันก็ ไม่สำเร็จ ไม่สำเร็จก็ไม่ดีในเรื่องทางจิตวิทยาหรือชีววิทยา ลงมาตามลำดับ เขาก็พูดถึงความเหมาะสมว่าเป็นความสำคัญอย่างยิ่ง มันมีหลักวางไว้ว่า ที่เหมาะสมที่สุดคือที่จะรอดอยู่ ที่เหมาะสมที่สุดเท่านั้นที่จะรอดชีวิตอยู่ หรือว่ารอดจากกิเลสอันตรายทางจิตใจอะไรอยู่ และถ้าเป็นภาษาทางชีววิทยาก็หมายถึงรอดชีวิตอยู่ ชีวิตตั้งต้นมาเป็นล้านๆ ปีมาแล้ว ใช้ชีวิตแบบไหนรูปไหนมันเหมาะสมที่สุด ชีวิตนั้นจะรอดอยู่ และก็มีพัฒนาการ (นาทีที่ 9:53) ก็จำไว้สำหรับใช้ในทุกกรณี สิ่งใดเหมาะสมสิ่งนั้นก็คงอยู่ คือไม่ตายไม่ทำลาย ทีนี้การศึกษาจึงจัดขึ้น
ในโลกนี้ก็มีนักการศึกษาที่ผมบูชา (นาทีที่ 10:22) ใครก็ไม่รู้ และก็มีนักศึกษาที่พูดว่าการ ศึกษาจะช่วยให้เกิดความเหมาะสมสำหรับคน สำหรับมนุษย์นี่มันจะเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า ที่พูดว่าการศึกษาเพื่อประชาธิปไตย การศึกษาเพื่อไอ้อย่างนี้ยังไม่ ไม่ถูก เท่ากับว่าการศึกษานี่จัดเพื่อให้เกิดความเหมาะสมของวิชาความรู้ และเหมาะสมของการจัดทำ เหมาะสมทุกอย่างที่มันจะชีวิตอยู่แล้วเจริญก้าวหน้า และความรู้สึกของเด็กๆ ที่ศึกษาที่เป็นนักเรียน นักศึกษามันก็ว่าเพื่ออาชีพ เพื่อเงิน เพื่ออะไรต่างๆ เพื่อกิน เพื่อกาม เพื่อเกียรติเป็นอย่างมากนั้น กิเลสมันเริ่มแตะต้องแล้ว ถ้าหากว่ามันรู้ลึกไปถึงส่วนลึก รู้ว่าการศึกษาเพื่อให้กระทำถูกต้องความเหมาะสม แล้วถ้าเป็นเรื่องธรรมะที่สูงไปกว่าเรื่องร่างกาย มันก็มีความเหมาะสมที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน ที่จะดับทุกข์สิ้นเชิงได้นั่นเอง ชาวบ้านก็ดับทุกข์ทางร่างกาย ปัญหาทางกาย เรื่องธรรมะก็ดับทุกข์ทางจิตใจ ที่เรียกว่าบรรลุมรรคผลนิพพาน (นาทีที่ 12:12) แม้ว่าจุดมุ่งหมายจะคนละชั้นคนละระดับ (นาทีที่ 12:19) สัญชาตญาณก็เหมือนกัน ถ้าคุณดูดีๆ มันจะมุ่งหมายไปในทางที่จะที่สุด ถ้าไม่อย่างนั้นมันไม่มีวิวัฒนาการ (นาทีที่ 12:36) มันก็จะมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัวอย่างหนึ่ง ก็จะต้องไปให้ถึงที่สุด ถ้าอันไหนไปไม่ถึงก็จะสลายตัวตายไป เพราะความไม่เหมาะสมอันนั้น ถ้าอันไหนมันเหมาะสมมันก็ไปเรื่อย จนกระทั่งว่าเป็นมนุษย์ที่มีสติปัญญา รู้ธรรมะในด้านสูงสุด ก็ต้องรู้นิพพานที่เป็นชั้นสุดยอด (นาทีที่ 13:14) หรือที่เรียกว่าเป็นวิวัฒนาการทางจิตทางวิญญาณถึงสูงสุด ทีนี้ก็มีสิ่งที่ต้องนึกถึงก็คือว่า อันตรายที่เกิดมาจากความไม่เหมาะสม กระทำไม่ถูกต้องตามเรื่องราวนั้นๆ และก็มีอันตรายก็เกิดขึ้น ถ้าไม่ถูกทางกายก็ (นาทีที่13:45) ถ้าไม่ถูกในทางวิญญาณ ก็จะเกิดอันตรายทางวิญญาณนั่น อันตรายทางกายมันก็จะเกี่ยวกับกาย หรือว่าถูกสิ่งของที่ไม่ได้เกี่ยวกับกาย เรียกว่าระบบฟิสิกส์ก็แล้วกัน ถ้าเป็นเรื่องทางจิตก็จะหมายถึง (นาทีที่ 14:17) ระบบความรู้สึกที่เกี่ยวกันอยู่กับร่างกาย ที่เราเรียกว่ า menthol menthol system เมื่อสูงสุดไปมากกว่านั้นอีกก็เป็นระบบ (นาทีที่ 14:33) ซึ่งก็ไม่รู้จะแปลเป็นภาษา ไทยว่าอะไรดี ผมก็เรียกวิญญาณไว้ก่อน ระบบวิญญาณมันก็จะมีอันตรายทั้งนั้น ซึ่งถ้าทำไม่ถูกก็เกิดอันตราย ถ้าเกิดอันตรายก็คือทำไม่ถูก ทางกาย ทางจิตหรือทางวิญญาณ
เราก็มาพูดถึงเรื่องอันตรายกันบ้าง รู้จักป้องกันอันตรายหรือภัยอันตรายที่กำลังเกิดอยู่ ถ้าว่าจะพูดอย่างสัญชาตญาณแห่งการหนีภัยมัน มันก็เป็นเรื่องหนีภัยที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายนะ และถ้าพูดถึงเรื่อง (นาทีที่ 15:38) ความรู้ที่เราได้อบรมดีแล้วนี่ (นาทีที่ 15:46) วิมุตติ วิโมกข์ ซึ่งเป็นความมุ่งหมายของทุกๆ ศาสนา ถ้าคุณจะศึกษาศาสนาทุกศาสนา มันก็จะพบความแปลกประหลาด จุดมุ่งหมายของความรอด ซึ่งเรียกชื่อต่างๆ กันของภาษานั้นๆ แต่ความหมายแท้จริงของคำนั้นคือความรอด เป็นสิ่งที่ศาสนาคงตั้งรากฐานขึ้นมาจากความกลัว (นาทีที่ 16:30) กลัวสิ่งที่มันทำให้ตาย หรือสิ่งที่ทำให้ยุ่งยากลำบาก เราจึงต้องการความรอดออกไปจากสิ่งเหล่านี้ ยิ่งความรู้สึกทางสัญชาตญาณมันทำให้รอดได้ในสิ่งรอดตาย หรือรอดทางกาย ทางชีวิต อีกทั้งรอดทางกายไปแล้วมันยังมีอันตรายอะไรเหลืออยู่อีก มันเลยเป็นเรื่องอันตรายที่อยู่เหนือความรู้สึกของสัญชาตญาณ สัญชาตญาณจะรู้ สึกกลัวตาย หรือเรื่องที่มาทำให้ตาย หรือให้เกือบตาย เป็นอันตรายและรู้สึกได้เพียงเท่านั้น เห็นกันง่ายๆ ในสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งมีสัญชาตญาณเดิมๆ ยังคงอยู่เท่าเดิม มันก็ต้องการจะรอดตาย หรือรอดการเกือบตายนั่นก็คือการเจ็บป่วย ทีนี้มันไม่ตายแล้ว มันยังมีอันตรายที่ยังเหลืออยู่ มันก็เลยเป็นเรื่องทางจิตใจ คือทางวิญญาณ หรือทางจิตหรือทางกายที่สูงไปกว่าระดับสัญชาตญาณ เป็นนั่นเป็นนี่ เดี๋ยวนี้มันมีความก้าวหน้าเป็นวัฒนาการ ปัญหาทางร่างกายมันก็สูงขึ้นมาเหมือนกัน สูงเกินกว่าที่ระดับสัญชาตญาณ (นาทีที่ 18:21) เรื่องทางวิญญาณ ทางจิต ทางกายควรจะแจ่มแจ้งกันทุกคน โดยเรียกขึ้นไปจากข้างล่างทางกาย ทางจิต ทางวิญญาณ เพราะมันเป็นรากฐานมันอยู่ที่ร่าง กายขึ้นไปตามลำดับ แต่จะเรียกอีกนัยยะหนึ่งเรียกลงมา มันก็เรียกทางวิญญาณ ทางจิต ทางกาย อย่างนี้ก็เพราะว่าทางวิญญาณมันสำคัญที่สุด มันเป็นสุดยอดของมันที่สุด (นาทีที่ 19:00) ซึ่งมันคลุม ๒ อย่างข้างล่าง ๒ อย่างข้างล่างมันขึ้นอยู่กับวิญญาณ เรื่องทางวิญญาณ แล้วแต่เราจะมองกันในแง่ไหน จะเลือกทางกาย ทางจิต ทางวิญญาณก็ถูกอีก จะเรียงลำดับ ทางวิญญาณ ทางจิต ทางกายก็ถูกอีก ถ้ามองกันทั้งละเอียดทั้งประณีต ก็จะไปสนใจกันอยู่แต่เรื่องทางวิญญาณ เพราะมันสำคัญที่ สุด มันจะมีความเหมาะสมระหว่าง ๓ อย่างนี้ได้อย่างไร จนกระทั่งขจัดปัญหา ขจัดอันตรายออกไปเสียได้จากสิ่งทั้ง ๓ นี้
ทีนี้ก็จะพูดกันถึงเรื่องทั้ง ๓ นี้ ทางกาย ทางจิต ทางวิญญาณ ล้วนแต่มีอันตราย เมื่อพูดให้กว้างขวางให้ครอบคลุมทั้งหมด สิ่งที่เรียกว่าอันตรายนั้นแยกได้ออกมาเป็น ๒ ประเภท มีอันตรายภายนอกกับอันตรายภายใน แต่ว่าภายนอกในทางธรรมะนี่หมายถึงนอกไปจากตัวเรา ภายในก็ที่มันเงื่อนกันอยู่กับตัวเราทางกาย วาจา ใจ นี่ภายในนี่เรียกว่าภายใน เรื่องภายนอกมันก็เป็นเรื่องผู้อื่นหรือสิ่งอื่นที่มันแวดล้อมเราอยู่ และเมื่อมาเปรียบกันระหว่างสองฝ่ายภายในกับภายนอกแล้ว เรื่องภายนอกเป็นเรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องขี้ปะติ๋ว พูดนิดหน่อยก็ได้ มันจะได้ (นาทีที่ 21:50) สักทีว่าเรื่องภาย นอกมันเป็นอะไร ที่เป็นส่วนใหญ่ที่สุดนั่นก็คือการที่สังคมมันเสื่อมศีลธรรม มันไร้สันติภาพ มันก็เป็นอันตรายเกิดขึ้น สับสนพัวพันยุ่งยากไปหมด เมื่อสังคมมันเสื่อมศีลธรรม มันไร้สันติภาพแล้วมันก็มาเบียดเบียนกัน ก็อยู่ในโลกนี้ร่วมกันก็ได้รับภัยอันนี้ จากสังคมที่มันเสื่อมศีลธรรม แล้วทำไมถึงพูดเป็นเรื่องเล็กน้อย ก็เพราะว่าการเสื่อมศีลธรรมของสังคม มันมาจากบุคคลแต่ละคนๆ มันไร้ศีลธรรม อันตรายมันได้ย่ำยีศีลธรรมของบุคคลนั้นหมดแล้ว มันก็เหลือแต่บุคคลที่ไร้ศีลธรรมรวมกันเป็นสังคม ก็เลยเป็นสังคมที่อันตราย แล้วถ้าแต่ละคนๆ ในภายในของแต่ละคนมันมีศีลธรรมก็ไม่มีอันตรายแล้วนั้น สังคมมันก็ดีเอง (นาทีที่ 23:17) อย่างเดียวที่พูดกันมาก มันก็คนเมาพูด ที่เรียกว่าอันตรายของเสรีภาพ ไม่มีประชาธิปไตยอะไรต่างๆ มันก็หลับตาพูด มันไม่รู้ว่าอันไหน อันตราย หรือวิกฤตการณ์ต่างๆ มันมาจากอะไร ถ้ารู้จริงมันก็มาจากแต่ละบุคคลในภายในมันไม่มีคุณธรรม (นาทีที่ 24:00) ของกาย วาจา ใจได้ นี่มาพูดกันแต่ปลายเหตุ ดูที่เปลือกที่ผิวนอก มันจึงแก้ไขไม่ได้ ก็แก้ไขกันอยู่อย่างนี้ กี่ร้อยปีพันปีมันก็แก้ไม่ได้ มันก็เป็นอย่างนี้อยู่เรื่อยไป เพราะเขาไม่ได้แก้ไขอันตรายอันแท้จริง อันตรายข้างใน สนใจกันแต่เปลือกปลายเหตุ ในเรื่องอันตรายภาย นอก พูดวันนี้มันก็ไม่จบแน่
ทีนี้มาดูอันตรายภายในกันดีกว่า อันตรายภายใน ถ้าบังคับหรือว่ามีเวลาให้พูดเพียง ๒-๓ คำก็พูดได้ (นาทีที่ 25:03) จิตที่ตั้งไว้ผิด จิตที่ตั้งไว้ผิด ๕ พยางค์เท่านั้น จิตที่ตั้งไว้ผิด อันตรายทั้งหลายจะไปรวมอยู่ที่นั่น ไปรวมอยู่ที่จิตที่ตั้งไว้ผิด แม้อันตรายทางภายนอกเรื่องสังคมทั้งหลายนี่ มันก็จะมาจากจิตที่ตั้งไว้ผิดของสมาชิกแห่งสังคมนั้นๆ มันก็เป็นภายในแต่ละคนๆ อันตรายทางกาย ทางจิต ทางวิญญาณก็ดี มันก็จากจิตที่ตั้งไว้ผิด (นาทีที่ 25:55) หรือว่ารู้สึกถึงคำว่าจิตที่ตั้งไว้ผิด พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่าจิตที่ตั้งไว้ผิดเป็นอันตราย ทำให้ได้รับทุกข์ อันตรายยิ่งกว่าที่ศัตรูอันร้ายกาจหรือโจรอันร้ายกาจเป็นต้น จะทำให้ได้ คนเราจะมีศัตรูหมายความว่า เขาเป็นคนคิดร้ายกับเราทุกอย่างทุกทาง ต้องการทำลายเราทุกอย่างทุกทาง เขาจะทำอันตรายแก่เรา หรือถ้าหากโจรมันต้องการทรัพย์ มันก็ต้องทำอันตรายเจ้าทรัพย์ อย่างอันตรายที่โจรหรือศัตรูคู่อาฆาตจะทำให้ได้นั้นง่าย เป็นของขี้ปะติ๋ว นิดเดียว ที่อันตรายมากที่สุดนั้นก็คือ จิตของตนเองในภายในที่ตั้งไว้ผิด มิจฉาปณิหิตตัง จิตที่ตั้งไว้ผิด แล้วคำว่าจิตที่ตั้งไว้ผิดนี่ มันก็ขยายความออกไปได้เป็นร้อยเรื่องพันเรื่อง เป็นรายละเอียด แต่รวมความแล้วจิตที่ตั้งไว้ผิด พอจิตตั้งไว้ถูกคำเดียวนั้นปัญหาก็หมดไป มันเลยเป็นคู่กันไปจิตที่ตั้งไว้ผิด จิตที่ตั้งไว้ถูก จิตที่ตั้งไว้ผิดมันก็ทำให้กาย ให้วาจาผิดไปตาม เพราะผิดหมดทั้งกายทั้งวาจาทั้งใจ ถ้าจิตตั้งไว้ถูกมันก็ถูกหมดทั้งกายทั้งวาจาทั้งใจ อย่างนี้คือเราทำผิดทางนอก ทางกาย ทางวาจา นั้นก็คิดดู มันก็เรื่องจิตมาจากข้างใน พูดหยาบ พูดเลว อะไรต่างๆ มันก็จากจิตตั้งไว้ผิด มันถึงพูดออกมาอย่างนั้น หรือว่าความสะเพร่า ขาดสติสัมปชัญญะ หรือเรียกมันว่าไปไวกว่าอีก ก็มาจากจิตที่ตั้งไว้ผิด ถ้าจิตตั้งไว้ถูกมันก็ไม่ขาดสติสัมปชัญญะ การทำผิดก็ดี การขาดสติสัมปชัญญะในการกระทำนั้นก็ดี มันมาจากจิตที่ตั้งไว้ผิดทั้งนั้น มันก็พูดถึงเรื่องนี้ทำให้มากเป็นพิเศษ
ฉะนั้นผมจะพูดอย่างหนึ่งเรียกว่า มองดูมาจากข้างบน ไม่พูดเรื่องวิญญาณ ไม่พูดเรื่องจิต พูดเรื่องกายยังดีกว่า เพราะมันมองเห็นถนัดชัดเจนกว่า อันตรายที่มันเป็นอันตรายทางวิญญาณ ในทางของธรรมอยู่จิตที่ตั้งไว้ผิดตามพุทธสุภาษิตนั้นๆ จิตที่ตั้งไว้ผิดนี่มันออกมาอยู่ในรูปนิรนาม ชื่อมาอยู่ในรูปในชื่อสมัญญาต่างๆ กัน เช่นว่า มิจฉาทิฏฐิ คำว่าทิฏฐิ ผิด ความเห็นผิด นั่นมันก็แสดงว่าผิดมันตั้งว่าผิด มันจึงมีมิจฉาทิฏฐิ ผิด มีความเห็นผิด หรือจะเรียกว่าอวิชชา ปราศจากความรู้ที่ควรจะรู้ ก็คือจิตมันตั้งไว้ผิด อาการที่ตั้งไว้ผิดนี่คือมันไม่เป็นวิชชา ไม่มีวิชชา จะเรียกว่าอวิชชาก็ได้ จิตที่ตั้งไว้ผิด ที่เรามันก็มีการยึดมั่นถือมั่นในลัทธิอันใดอันหนึ่ง ถ้าเรียกให้มันไพเราะมันก็คงจะเรียกของมันว่าอุดมคติ นี่คือสิ่งที่เรียกว่าลัทธิทั้งหลาย และมันติดมาแต่เดิมอย่างไรแล้วมันก็เป็นการตั้งไว้จิตตลอดกาล เดี๋ยวนี้เขาเรียกว่า ism ism คือเอาไปต่อท้ายคำนั่นคำนี่ เป็นภาษา อังกฤษ ism ทั้งหลายนี่มันหมายถึงอย่างอื่นที่ได้ทำจนชิน เป็นสถาบันในจิต แล้วที่เห็นชัดเลยมี (นาทีที่ 31:07) ism พวกลัทธิ พวกศาสนา ให้เกิดขึ้นมา เจริญขึ้นมาในลัทธิหรือศาสนาอันไหน อันนั้นก็แน่นแฟ้นมาก จะผิดหรือจะถูกก็อยู่ที่คนนั่น ถ้ามันเป็นผิดแล้วมันก็ผิด บางคนอยากมีศาสนาของตน ไม่นับถือพระพุทธศาสนา ไม่นับถืออย่างนั้น มันก็มี ism ของมันเอง ถ้ามันถูกก็ดีไป แต่ถ้ามันผิดก็พินาศ ใน ism ทั้งหลายก็คือ จิตที่ตั้งไว้ผิด หรือมิฉะนั้นก็ตั้งไว้ถูก มันก็มีมันก็แสดงให้เห็นว่ารกรากรากฐานอันแท้จริงคือจิตที่ตั้งไว้ผิด ที่เป็นอันตรายทางวิญญาณ มันก็ออกมาตามลำดับเป็นจิตตั้งไว้ผิด มันออกมาเป็นกิเลส ซึ่งเราเรียกง่ายๆ ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันเป็นกิเลส เรียกชื่อว่ากิเลส มันเป็นผลทางจิตที่ตั้งไว้ผิด จิตที่ตั้งไว้ผิดอันตรายอย่างยิ่งเท่าไหร่ กิเลสก็คืออันตรายอย่างยิ่งเท่านั้น ก็มันออกมาจากจิตที่ตั้งไว้ผิด ที่เป็นด้านวิญญาณด้านลึกของจิตใจนั่น มันก็ทำให้เศร้าหมอง สกปรกเหลือประมาณ เป็นความสกปรกตามธรรมดานี่ไม่เท่า ทำให้ร้อนเหมือนไฟเผาเหลือประมาณ เหมือนตามความหมายของคำว่า อัถธิ (นาทีที่ 33:05) หรือไฟคือกิเลส หรือนั้นคือแปลว่ามันทำให้ท่วมเหมือนน้ำท่วมอย่างหายใจไม่ออก มันก็ไม่มีอะไรจะยิ่งไปกว่ากิเลส มีตัวมารทำนองนี้หลายอย่างต่างๆ กัน แต่รวมความแล้วมันก็เป็นเรื่องของกิเลสที่ทำอันตรายแก่ แก่ แก่มนุษย์ ในด้านวิญญาณนั้นเกิดโลภะ โทสะ โมหะ จริงมันมี มันมีปฏิกิริยาหรืออะไรอย่างไรนั้นก็ไปดูเอาเอง ใครๆ ก็มีและก็เกิดอยู่ รู้เพียงแต่ว่าสนใจกันหน่อยนะ อย่าฟุ้งเฟ้ออวดดีไปตลอดวัน ตลอดวัน จนไม่ดูอะไร ไม่เห็นอะไร ถ้าเราสังเกตไม่มีการสำรวม สงบเสงี่ยม สังเกตจะมองเห็นโลภะ โทสะ โมหะ เกิดอย่างไรวันหนึ่งกี่ครั้ง แล้วมีอะไรเป็นผลอย่างนั้นต่อไปอีก
ทีนี้เรื่องของกิเลส ก็เป็นอันตราย เรียกว่า อันตรายคือกิเลส ทีนี้ลึกเข้าไปกว่ากิเลส ก็เรียก ว่า อนุสัย คือความเคยชินของกิเลส เช่น เราโลภที่มีก็มันก็มีความเคยชินที่จะโลภเพิ่มขึ้นครั้งหนึ่ง โกรธที่เหมือนมีความเคยชินที่จะโกรธง่ายขึ้นไปอีกเพิ่มขึ้นไป คนโง่ที่เหมือนจะมีความเคยชินที่จะโง่ง่ายขึ้นไปอีก อีกครั้งหนึ่ง ส่วนจะเป็นความเคยชินที่จะเป็นอย่างนั้น มากขึ้นในส่วนนี้เขาเรียกว่า อนุสัย ที่มีความเคยชินที่มันจะคอยติดตามให้มันเกิดง่ายในกิเลสที่นั้นๆ นี่ก็เป็นอันตรายอย่างละเอียดกว่านี้ คือมันซ่อนอยู่ที่ตรงไหนก็ไม่รู้ คุณจะตอบได้ไหมว่าความเคยชินของเรา เราเก็บไว้ที่ไหน ก็ต้องตอบอย่างผ่าซาก กำปั้นทุบดิน เก็บไว้ในใจก็ถูกนะ ถึงแม้แต่ใจคืออะไรก็ไม่รู้ ใจมันก็คือสิ่งที่เกิดดับ เกิดดับ คือมันเปลี่ยนได้ ถ้าไม่อย่างนั้นมันเปลี่ยนไม่ได้ มันก็ตาย ก็แข็งทื่อ ถึงในใจจะเกิดดับเกิดดับอยู่เสมอ มันเก็บความเคยชินเอาไว้ที่ไหน มันก็ยิ่งยากยิ่งละเอียดมากขึ้นทุกที ถ้าพูดไปอีกก็คงเป็นเรื่องอภิธรรม หยุมหยิมไปเลย ก็ไม่ต้องพูดกันมาก ถ้าจะให้เรารู้ตามที่เรารู้สึกได้ว่า ความเคยชินมันจะเป็นอย่างไร มันมีมากขึ้นทุกที ที่เราทำอย่างนั้นลงไปทีนึง นี่ก็เป็นอันตรายแล้วก็เป็นอันตรายที่ยิ่งละเอียด ยิ่งไปกว่านี้ยิ่งหาตัวไม่พบ ฉะนั้นเรามีศัตรูคู่อาฆาตที่เราหาตัวไม่พบมันลำบาก เรียกว่าอนุสัยที่เป็นอันตราย นี่ถ้าดูให้ละเอียดต่อไปอีกหน่อย ก็จะพบถึงความสะสมที่เรียกเป็นภาษาบาลีว่า อาสวะ อาสวะ คำนี้แปลว่าหมัก หรือ ดอง ที่เราดองของให้มันอยู่หมักเอาไว้ จนมาทำอาสวะ มันมีความหมายต่างไปจากอนุสัยก็ตรงที่ว่า มันสะสมเอาไว้ อนุสัยมันคือเคยชิน อย่างนี้มันเป็นการสะสมเอาไว้ หมักเอาไว้ ซึ่งคงจะได้ผลมากขึ้นเป็นหลายเท่า ของที่เราหมักดองเป็นอาหาร คอยสังเกตกันหน่อยนึงว่า มันมีผลมากขึ้น เช่น เราเอาข้าวสาร หรืออะไรเป็นเชื้อของการบูดเปรี้ยวนิดหน่อยเท่านั้น เอามาหมักดองเข้ามันเกิดการบูดเปรี้ยวที่มากมายมหาศาล ที่การหมักให้เกิดน้ำตาลนั้นเกิดความหวานมันมีเชื้อนิดหน่อย แต่หมักแล้วมันจะเกิดความหวานมาก เป็นข้าวหมาก เชื้อมันก็นิดเดียว เสร็จแล้วมันก็เกิดความหวานมาก ด้วยวิธีหมักดอง มันต้องมีอะไรขยายตัวมากอย่างนี้ อย่างนี้ก็อาสวะ เป็นการหมักดอง ก็เลยอันตรายอย่างยิ่ง แล้วยิ่งลึก ยิ่งลึกละเอียด ยิ่งเห็นตัวยากอย่างยิ่ง อาสวะนี่เป็นเหมือนปัญหาอย่างสุดท้ายแล้ว ที่เป็นอันตรายที่ละเอียดอย่างยิ่ง เป็นมากอย่างยิ่ง ละยากอย่างยิ่ง นี่ถ้าละอันนี้คือละได้หมด มันเป็นไอ้ส่วนที่เป็นเชื้อหมัก เราจะเห็นพุทธภาษิตทั้งหลาย ที่กล่าวถึงท่อนสุดท้ายที่จะตัดปัญหาต่างๆ ได้ ที่จะพูดว่า สิ้นอาสวะ เป็นไปโดยสิ้นอาสวะ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ พอขึ้นอาสวะแล้วเรื่องมันจบกัน คำนี้ถึงใช้ท่อนสุดท้าย ทิฏฐาสวะ พระอรหันต์เป็นทิฏฐาสวะ คือ สิ้นอาสวะ เขาเรียกเป็นไทยๆ ว่า พระขีณาสพ
เรามาพูดถึงอาสวะ เป็นผู้สิ้นเชื้อหมักดองแห่งอันตรายที่สะสมไว้ในสันดาน สิ้นอาสวะนี่อันตรายที่มันเป็นความสำคัญและซ่อนเล้นลึกซึ่งอยู่ที่อาสวะ ที่อยู่ในส่วนลึกที่สุดของจิต ของสันดาน มันไม่ใช่วัตถุ ดังนั้นผมก็ชี้หรือหยิบมาดู หยิบมันมาให้ดูไม่ได้ ซึ่งคุณก็ไม่อาจจะไปหยิบมันดูได้ มันทำได้แค่เพียงสังเกต ศึกษาด้วยความรู้สึก จะได้รู้ว่ามันมีกิเลส ไม่มีความเคยชินแห่งกิเลสเรียกว่าอนุสัย ถ้าเรามีการหมักดองสะสมอันนี้ไว้เรื่อยๆ ก็เรียกว่าอาสวะ รู้ได้ด้วยโดย โดย โดยความสำนึกรู้สึกได้ ถ้าจะไปจับตัวมันดูไม่ได้ เราเข้าใจได้ นี่อันตรายอย่างยิ่งที่ทุกคนควรรู้จักกลัวอย่างนี้ คนทั้งหลายในโลกนี้ ปัจจุบันนี้ยิ่งไม่รู้จักกลัวอันตราย ก็ไปกลัวอันตรายอย่างเด็กเล่น ไม่มีอะไรจะกิน หรือว่าอย่างดีก็ว่ามันจะตาย อย่างเลวมันก็จะไม่ได้สนุกสนาน มันจะไม่มีความเอร็ดอร่อยทางเนื้อทางหนัง ก็ไปกลัวอย่างนั้น อันที่จริงมันก็ไม่ใช่อันตราย จึงไม่ได้เอร็ดอร่อยทางเนื้อหนัง มันก็ไม่ได้อันตรายอะไรแต่พอกลับไปทำแล้วกลับอันตราย คือไปได้มันเข้านั่นแหละ ไปหลงมันเข้ามันกลายเป็นอันตราย ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้เสียกลับดีกว่าคือไม่เป็นอันตราย คนสมัยนี้ก็ไม่รู้ จักกลัวอันตรายอันแท้จริง คือกิเลส หรืออนุสัย หรืออาสวะ ไม่ค่อยมีใครสนใจที่จะรู้เรื่องนี้และละกิเลสหรืออาสวะเลย ผมจึงยกเรื่องนี้มาพูดก่อน อันตรายที่ทุกคนควรรู้จักกลัว เพราะอันนี้มันเป็นแม่บทแห่งอันตรายทั้งหลาย ในส่วนลึกที่สุด ไปอยู่ที่ไหนก็หยิบให้ดูไม่ได้ ส่วนลึกที่สุดละเอียดที่สุด เข้าใจยากอย่างยิ่งสำหรับคนธรรมดาสามัญ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา นักสังเกต มันก็จำเอาไปสังเกต ถ้าส่วนนี้ไม่มีก็เป็นพระอรหันต์ อันตรายยังไงก็ไม่มีเลย ที่อันตรายที่ต่ำลงมาอีก คืออันตรายทางจิต พอไปเทียบกันแล้วมันก็เป็นของนิดเดียว เมื่อไปเทียบกับของที่ใหญ่โตมโหฬาร อันตรายทางจิตรบกวนจิต สำหรับกิเลสประเภทรบกวนจิต เช่น นิวรณ์ ทางขึ้นไปในทางกามอารมณ์ ทางขึ้นไปในความอึดอัดขัดใจ เมื่อความละเหี่ยที่มันขึ้น ความขี้เกียจ ความละเหี่ย (นาทีที่ 43:34) มันพุ่งนำทางพุ่งๆ ขึ้นไป แล้วมันแฟบลง แล้วมันฟูขึ้นอีกข้างก็แฟบลงอีกพักมันก็ฟูขึ้น วิจิกิจฉาความลังเล ไม่มีความแน่ใจในอะไรทั้งสิ้น นี่เขาเรียกว่านิวรณ์ เพราะมันเล็งถึงส่วนที่มันมารบกวนจิตผิวๆ อยู่ข้างนอก ไม่จัดเป็นกิเลสเป็นพวก แต่มันออกมาจากกิเลสรอ วันหนึ่งๆ มันมักจะ มักจะก้าวหรือว่ามืดมัวหม่นหมองดูด้วยเรียกว่านิวรณ์ เพราะมันมาง่าย มันมีง่าย จนถึงกลับว่าไม่มีอะไรเข้ามายั่ว มานั่นมานี่ มันก็ขึ้นเกิดได้จากภายใน จากจิตใต้สำนึกออกมาก็ไม่มีเหตุผล มันค่อยแต่จะวิตกเป็นทางกาม ทางกามอารมณ์ (นาทีที่ 44:56) นี่ก็เรียกว่าเป็นอันตรายที่เบียดเบียนจิต เป็นแมลงวันมาตอมให้รำคาญ แล้วเราก็จะรู้สึกเป็นความทุกข์ มันไม่ใช่เหมือนกับตัวต่อมาต่อย แต่เพียงแมลงวันมาตอมให้รำคาญแล้วก็กวน หรือแมลงหวี่มาตอมให้รำคาญ บางทีก็ไปในทางกามอารมณ์ บางทีใน ทางที่ตรงกันข้ามที่ไม่ละ (นาทีที่ 45:32) เป็นความรู้สึกที่เหมือนค้างอยู่มารบกวนเรื่อยๆ บางทีก็ละเหี่ยละห้อย เศร้า บางทีก็ฟุ้งเฟ้อ บางทีก็โลเลลังเล นี่อันตรายทางจิต ซึ่งเรียกว่ามีอยู่เป็นประจำก็ได้ ก็มีมูลมาจากจิตที่ตั้งไว้ผิด เดี๋ยวนี้ก็มาอยู่ในลักษณะที่การควรอนามัยทางจิต เสื่อมอนามัยทางจิต (นาทีที่ 46:20) ก็เพราะจิตมันไม่ได้ ไม่ได้อยู่ในความสดชื่นแจ่มใส ไม่มีกำลังวังชา เสื่อมอนามัยทางจิต (นาทีที่ 46:28) บางทีมันก็มาจากข้างนอกนะ สิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวนี่มันรบกวน มันหลอก ลวง มันยั่วยวน แต่แล้วก็เอาไปไม่ได้ทั้งหมด เสร็จแล้วมันก็เป็นความไม่สบายใจ เป็นจิตที่ถูกรบ กวน อันตรายนี้มันอยู่แค่ตรงจิต มันไม่ถึงวิญญาณทางนั้นที่มันเกี่ยวกับส่วนลึกของความผิด ความถูกของสติปัญญา นี่เรารู้จักอันตรายที่เรากำลังทำอันตรายแก่จิตอย่างนี้
ทีนี้ก็มาถึงอันตรายทางกาย อันตรายทางกายทีนี้มันอยู่กับสัญชาตญาณ มันหมายถึงความตายเหนือความเจ็บปวดทางร่างกาย ที่มันจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เหมือนกันหมด ทั่วกันหมด ทีนี้มาถึงสมัยนี้มันมีความก้าวหน้ามากทางร่างกาย ทีนี้อันตรายทางร่างกายมันก็เปลี่ยนเหมือนกัน คือมันก้าวหน้าเหมือนกัน โรคภัยไข้เจ็บ โรคตลาดๆ ตามยุคตามสมัย ซึ่งไม่เคยมีมาแต่ก่อน มันก็มีขึ้น มา นี่โรคภัยไข้เจ็บที่มันเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของการดำรงชีวิตเป็นอยู่ เช่นว่า ถ้าเราไม่มีไฟ ฟ้าใช้ ตาของเราก็ไม่ ไม่ ไม่ถูกกระทบกระเทือนมาก เหมือนอย่างยุคที่เรามีไฟฟ้าใช้ ถือว่าเรามีอะไรที่เป็นเครื่องสำราญมากขึ้น ทางกายมันก็เปลี่ยนแปลง บางคนมันก็จะด้าน มันเสื่อมสมรรถ ภาพทางกาย เสื่อมสุขภาพทางกาย ที่จริงมันมีอันตรายทางกายใหม่ๆ เกิดขึ้นตามความเจริญ ทีนี้มองอีกทีหนึ่ง อันตรายที่เกิดขึ้นทางร่างกายก็ขาดสติสัมปชัญญะ มีผลเจ็บปวดขึ้นมาทางกาย ทีนี้ก็เรียก ว่าทางกายได้ ก็ถ้าเริ่มด้วยทางจิต ก็เป็นทางจิตได้ (นาทีที่ 49:17) ขาดสติสัมปชัญญะ ทีนี้การขาดสติสัมปชัญญะนี่มันก็มาจากจิตที่ตั้งไว้ผิด มันเลยทำให้เห็นได้เลยว่าอันตรายทางไหนก็ตาม เกิดมาจากจิตที่ตั้งไว้ผิดทั้งนั้น ที่เราโง่ไปเป็นอวิชชา เป็นไม่รู้ตามที่เป็นจริงมันก็เพราะจิตที่ตั้งไว้ผิด หรือตัวจิตตั้งไว้ผิด มันเป็นตัวอวิชชา และถัดลงมาที่มันเป็นนิวรณ์ขึ้นบนจิต หรือว่าจิตที่ตั้งไว้ผิด หรือกระทั่งว่ามันเกิดอันตรายทางกายขึ้น เพราะการขาดสติสัมปชัญญะ หรือว่ามันความหลงใหลในเรื่องความเจริญทางเนื้อหนังแสนใหม่ก็ตามนี่ มันก็มาจากการที่จิตมันตั้งไว้ผิด นั้นมันให้มันดู ดูกันให้ดีว่าจิตตั้งไว้ผิดคำเดียวนี่ พอเกิดอันตรายทางวิญญาณ ทางกาย ทางจิต และทางกายขึ้นมา มันก็เกิดเป็น ๓ ทางอย่างนี้แล้ว การแก้มันก็ต้องแก้กันไปให้ถูกให้ตรงตามรูปนั้นๆ แต่ว่าจะต้องแก้เป็นส่วน รวมทั้งหมดทั้งสิ้น ก็คือตั้งจิตไว้เสียให้ถูก อันตรายที่หนึ่งคือจิตตั้งไว้ผิด ก็แก้ด้วยการตั้งจิตให้ถูก (นาทีที่ 50:48) ที่ถูกต้องหรือปัญญาที่ได้อบรมขึ้นมา จะเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ เมื่อตะกี้มันเป็นมิจฉา ทิฏฐิ (นาทีที่ 50:58) และก็มีสัมมาทิฏฐิขึ้นมามันก็แก้ได้ ที่เรียกว่า อวิชชา มันก็มีวิชชาขึ้นมามันก็แก้ได้ อย่างที่เด็กตัวเล็กๆ มันบรรยายวันเสาร์บ่อยๆ ว่า เอาตัว อ ออกเสีย ง่ายนิดเดียว เอาตัว อ ออกเสีย อวิชชามันก็กลายเป็นวิชชา มันพูดง่ายๆ นะแต่มันทำยาก มีปัญญา มีวิชชา มีสัมมาทิฏฐิ เป็นเครื่องแก้อันตรายทางวิญญาณ ทีนี้อันตรายทางจิต แก้ด้วยการตั้งจิตให้ถูกเสีย แต่ว่าในกรณีที่มันมีอยู่ในเฉพาะหน้าอย่างนี้แก้ไม่ทัน มันก็ต้องแก้ด้วยอันอื่นที่จะทันแก่เวลา เช่น การเจริญสมาธิ การมีสมาธิมันก็แก้พวกนิวรณ์ได้คือ จิตมันไม่แจ่ม ไม่สดใสมัวหมอง ทำสมาธิแล้วจิตนี่มันก็สะอาดขึ้น มั่นคง แล้วก็สงบเย็นขึ้น แก้โรคเฉพาะหน้าในทางจิตนี้ได้ ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับว่ามัน มัน (นาทีที่ 52:28) ซึ่งมันมีมูลมากจากอาหารในกระเพาะมันบูดมันเสีย เราจะไปแก้อย่างนั้นโดยตรงคือกินยาถ่าย หรือแก้อาหารส่วนนั้นมันช้าไป มันทนปวดไม่ไหว มันก็ต้องแก้อย่างเฉพาะหน้าวิธีก่อนคือกินยาแก้ปวด ถ้ามันหายปวดแล้วก็มาถึงกินยาที่ทะลุในท้อง ที่เป็นต้นเหตุให้ปวดอีกทีนึง นั่นอันตรายมันเกิดในระบบจิตเป็นสำนึก แล้วควรอย่างนี้ก็ทำด้วยจิตเป็นสำนึกแก้ กันด้วยสมาธิให้นิวรณ์หาย ไป ก็ถึงแก้ส่วนลึกที่แก้กันเป็นประจำก็คือตั้งจิตไว้ให้ถูกด้วยปัญญา ด้วยวิชชา
ทีนี้มาถึงเรื่องทางกาย อันตรายทางกาย มันก็ต้องแก้กันโดยตรงด้วยปัญญา ให้ตรงกับปัญหานั้นๆ ตั้งกายดำรงกายด้วยวาจาว่าให้ถูกต้อง มันก็เป็นเรื่องศีล เรื่องระเบียบ เรื่องมรรยาทอะไรต่างๆ ให้มันถูกต้อง มันเรียกว่าเรื่องศีล การกระทำให้ถูกต้อง ทางกาย ทางวาจา ก็ช่วยแก้อันตรายทางกาย ทางภายนอกได้ จากนั้นมันก็มี (นาทีที่ 54:07) มาจากจิตที่ตั้งไว้ถูก รู้ว่าอะไรเป็นอะไร มันจึงจะประพฤติศีล ทำศีลให้มีเป็นประโยชน์ เป็นอานิสงฆ์ขึ้นมาได้ รวมความแล้ว ก็แต่รวมความได้ว่า อันตรายทุกชนิดต้องแก้ด้วยการตั้งจิตไว้ให้ถูกต้อง จะเป็นอันตรายภายนอกถูก (นาทีที่ 54:39) ด้วยสังคมก็ดี หรือเป็นกันทั้งโลกก็ดี อันตรายภายนอกอย่างนี้ก็ต้องแก้ไปตามทางที่ถูกต้อง ในมูล ใน ในชั้นมูลฐานคือจิต เป็นภายในของบุคคลแต่ละคนละคนก็ดี มันก็ต้องแก้ให้ถูก ต้อง การตั้งจิตไว้ให้ถูก แก้อันตรายทางวิญญาณ ทางจิต ทางกาย เห็นไหมว่าไม่มี ไม่ข้อยกเว้น ไม่มีอะไรเหลือแล้วที่จะไม่ ไม่ ไม่แก้ด้วยการตั้งจิตไว้ให้ถูกต้อง นั่นเราจะต้องสนใจกับคำๆ นี้ให้สมกับที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ ให้จิตที่ตั้งไว้ผิด มันทำอันตรายยิ่งกว่าที่ศัตรูคู่อาฆาต หรือว่าโจรที่ต้องการทรัพย์ มันจะเข้ามาทำอันตรายแก่เรา แล้วในบรรดาอันตรายที่เกิดแต่บุคคล เกิดแต่ (นาทีที่ 55:52) มันไม่มากเท่ากับอันตรายที่เกิดจากจิตที่ตั้งไว้ผิด ในทางตรงกันข้ามคือจิตที่ตั้งไว้ถูก มันก็นำประโยชน์ ความสุข ความเกษมมาให้ ยิ่งกว่าที่บิดามารดาอันเป็นที่รัก หรือมิตรสหายอันเป็นที่รักจะช่วยทำให้แก่เราบ้าง คนโกรธ คนเกลียดก็ทำอันตรายเท่าที่จิตที่ตั้งไว้ผิด คนรัก คนชอบเราก็ไม่ทำประโยชน์อะไรให้เราได้มากไปกว่าจิตที่ตั้งไว้ถูก ก็ขอให้สนใจคำว่าอันตราย ซึ่งโดยแท้ จริงแล้วมันรวมอยู่ที่จิตที่ตั้งไว้ผิด สำหรับทุกคน สำหรับทุกวัย สำหรับทุกยุคทุกสมัย ทุกสถาน การณ์ของมนุษย์ ของโลก เรียกว่าอันตรายที่ทุกคนควรจะรู้จัก ถ้ายังไม่รู้จักมันก็น่าสงสารที่สุดแล้ว ที่มาบวชเป็นพระ เป็นเณร (นาทีที่ 57:21) อย่างนี้ แล้วยังไม่รู้จักสิ่งนี้ มันก็ป่วยการ มันเป็นบวชเพ้อๆ เห่อๆ ต่างๆ นานา ไม่ตรงจุดมุ่งหมายของการบวช ที่จะไม่รู้จักอันตรายที่แท้จริง ที่ทุกคนควรรู้จัก ตลอดถึงรู้วิธีที่จะป้องกันอันตรายนี้ หรือว่าจะทำอันตรายนี้ให้มันค่อยๆ สูญสิ้นเชื้อ สิ้นซากไปจาก จากสันดาน จากจิตใจ แล้วเวลาของการบรรยายก็หมด ขอยุติการบรรยายไว้แต่เพียงเท่านี้