แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันที่ 28 มีนาคม 2516 พระวิปัสสนาจารย์ทั้งหลาย วันนี้เรามานั่งกันที่นี่ก็เพราะเห็นว่าจะได้ประโยชน์อะไรบางอย่างมาก หรือว่าพิเศษออกไป สำหรับเรื่องธรรมะนั้นก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษ เพราะเป็นเรื่องธรรมะ พิเศษก็ที่สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะภาพบางอย่างที่เห็นอยู่ตรงหน้าที่เป็นพิเศษ ก็ในความมุ่งหมายเป็น ๒ อย่าง คือว่าอย่างหนึ่งเมื่อได้สิ่งแวดล้อม เป็นภาพเป็นเครื่องจูงตาจูงใจ ทีจะเข้าใจอะไรมากขึ้น จึงได้มานั่งที่นี่ แล้วอีกอย่างหนึ่งก็อยากจะแนะให้รู้จักใช้ประโยชน์ของสิ่งที่เรียกว่าศิลปะ ในการที่จะสั่งสอนอบรมต่อไป สำหรับพระวิปัสสนาจารย์ทั้งหลาย เป็นที่แน่นอนว่าต้องสั่งสอนอบรมคนต่อไป ในการสั่งสอนอบรมนั้น ก็มีเคล็ดที่เรียกว่าศิลปะ ถ้ารู้จักใช้ สอนเขา ได้ผลดีกว่า ที่จะเรียนเอง สิ่งเหล่านี้ประกอบ เช่นเดียวกับที่เราจะเรียนเอง นี่ก็ได้ผลดีกว่าถ้ามีสิ่งเหล่านี้ประกอบ ดังที่เราจะเห็นจากตัวอย่างในพระบาลีนั้น ว่าพระพุทธเจ้าท่านอาศัยอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ เป็นบางคราวก็มี หรือไม่ได้อาศัยอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ ถือเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าก็มี ให้สิ่งนั้นปรากฏอยู่ตรงหน้าแล้วก็ได้แสดงธรรมะที่นั่นมีผลดีที่สุด โดยอาศัยสิ่งนั้นประกอบ ที่ต้องแสดงปาฏิหาริย์เช่นอย่างในอรรถคาถาธรรมบท หรือในที่บางแห่งทำให้มืดไปหมดจนเหมือน ลวดลายๆอย่างนั้นอย่างเดียว ก็ไม่ใช่ สิ่งใดทำให้เกิดการประทับใจ มีผลทางจิตใจ สำเร็จตามความมุ่งหมาย ก็เรียกว่าศิลปะได้ ในความหมายนี้ พูดตรงๆว่าอย่างที่พระพุทธองค์ทรงถือโอกาสนั้น ในเวลานั้นเห็นภาพอย่างนั้น ทรงแสดงเรื่องนั้น นี่ก็เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง แสดงว่าศิลปะสัพพัญญู หรือสัพพัญญูศิลปะก็ได้เหมือนกันก็ได้เหมือนกัน ก็เลยชวนมานั่งที่นี่ แต่ที่ยังร้อนไปหน่อย บรรยากาศไม่ค่อยดี แต่ก็ยังดีที่ก็ต้องแปลกไปบ้าง นี่พระองค์อาจจะไม่ทราบ เรื่องสระนี้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร พระองค์ก็ทราบแล้ว แต่ไม่ถูกต้องก็ได้ ไม่ถึงที่สุดก็ได้ สระนี้ไม่ใช่เป็นอยู่เอง เป็นสระที่ขุดขึ้น ไม่ใช่เกิดเองจะใช้คำอุโบสถสังคกรรมไม่ได้ ถ้ามันใหญ่พอ เราขุดขึ้นลงทุนขุดขึ้นเพื่อประโยชน์หลายอย่าง อย่างแรกที่มุ่งหมายเป็นข้อใหญ่ ก็คือจะรักษาบทกล่อมลูกที่มีความหมายเป็นเรื่องนิพพานของคนเมืองนี้ใช้กันมาตั้งหลายร้อยพันปีมาแล้ว ให้มันยังเหลืออยู่ ต่อไปจะไม่มีคนร้องบทกล่อมลูกบทนี้ เดี๋ยวนี้คนแก่ๆเท่านั้นที่ร้องได้ กำลังจะตายไปตายไป จึงสร้างสระนี้เอาไว้แล้วเขียนคำอธิบายกันไว้ อะไรไว้มันจะอยู่นานเป็นอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์ เป็นอนุสรณ์ความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาแล้วก็เป็นวัตถุอันหนึ่ง ภาพอันหนึ่งที่ช่วยให้เข้าใจธรรมะง่ายขึ้น มานั่งคุยธรรมะกันที่นี่ เย็นๆ แล้วทีนี้ที่ว่าทำไมบทกล่อมลูกที่มีความหมายเป็นเรื่องนิพพาน ให้เข้าใจว่าบ้านเมืองนี้ แผ่นดินนี้ได้เคยเจริญรุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนา บัณฑิต นักปราชญ์ในพุทธศาสนามาก มันถึงกับว่าแต่งบทร้อง บทกล่อมลูกให้นอนมีความหมายถึงนิพพาน มีอยู่ สอง สาม บท แต่บทที่มุ่งหมายนี้คือบทที่เรียกว่ามะพร้าวนาฬิเกร์ร์ ต้นเดียวโลเล กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง กลางทะเลขี้ผึ้ง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญเอย หรือถึงได้แต่ผู้มีบุญเอย หรือว่าต้นเดียวเดี่ยวลิงโลดเอย หรือว่ามะพร้าวนาเกร์เอย ร้องกันมาได้ตั้งแต่ หลังสวน ฉวี เรื่อยลงถึงนครศรีธรรมราช พัทลุง แต่เดี๋ยวนี้ชักจะหมดไป หมดไป ที่ไชยานี่ก็มีอยู่ประปราย หลังสวนนี่ก็มีอยู่ประปราย เป็นสิ่งที่น่าภูมิใจว่า ปู่ย่าตายายเคยฉลาด เคยใช้ประโยชน์ของศิลปะ ที่บทกล่อมลูกให้นอนนี่ก็เป็นศิลปะ ก็ใส่เรื่องราวธรรมะไว้ในบทกล่อมลูกให้นอน นี่ก็เลือกใช้ศิลปะ ไหนๆพูดแล้วก็พูดให้ได้ทราบกันไปเลยว่า บทกล่อมลูกให้นอนในเมืองนี้ เป็นกวีนิพนธ์ที่ใช้ได้ คือเป็นสุรางคนางค์ แล้วก็ไม่น้อยกว่า ห้าร้อยบท ที่ในห้าร้อยบทนี้ ครึ่งหนึ่งเป็นเรื่องเล่นหัว เกี๊ยวเลี้ยว ขบขำ แล้วเหลือ ๓๐% ที่เป็นเรื่องซ้อนจริยธรรม ซ้อนศีลธรรมง่ายๆ กระทั่งบอกประวัติศาสตร์เมืองนั้น เมืองนี้ ที่นั่น ที่นี่ แล้วสัก ๑๐% สอนธรรมะมากขึ้น มากขึ้น แล้วเหลือสัก ๒-๓% หรือ ๑% สุดแท้แต่ เพราะ๑% ก็เท่ากับ ๔-๕ บทอยู่แล้ว เรื่องนิพพาน หรือเรื่องการปฏิบัติใกล้ๆนิพพาน เรื่องนกอินทรี เรื่องกิเลส ลึกๆเกี่ยวข้องกับนิพพาน แต่ถือว่าบทสูงสุดกว่าเพื่อนคือเรื่อง มะพร้าวนาฬิเกร์ร์ ส่วนพิเศษอีกส่วนหนึ่งก็คือ ว่า อยู่ที่ภาคอื่น จังหวัดอื่นลองเอาไปเปรียบเทียบดูว่าบทกล่อมลูกให้นอน ต่างกันอย่างไร ภาคไหนนิยมว่ากันอย่างไร มีใจความว่าอย่างไร และเท่าที่ปรากฏแล้ว ได้เทียบดูแล้ว บทกล่อมลูกให้นอนของภาคกลาง คือที่กรุงเทพฯไม่เป็นเรื่องไม่เป็นรส ไม่รู้ว่าอะไรไม่มีประโยชน์ ไม่เป้นเรื่องไม่เป็นราวไม่เป็นรส สู้แถวนี้ไม่ได้ เป็นกวีนิพนธ์ด้วย และเป็นเรื่องราวมีประโยชน์ มาพูดกันถึงเรื่องความาหมายของมะพร้าวนาฬิเกร์ร์ ว่าแสดงถึงใจความของนิพพานว่าอย่างไร ว่าพิเศษที่ตรงไหน เรื่องนี้พิเศษตรงที่ว่า นิพพานกับวัฏสงสารอยู่ติดกันเลย เช่นเดียวกับมะพร้าวกับน้ำ เปรียบได้กับวัฏสงสารหรือทะเลขี้ผึ้ง และมะพร้าวคือนิพพาน ไม่ได้แยกไว้คนละทิศคนละทาง ข้างบนข้างล่าง ใต้โลกเหนือโลก เพราะความหมายของคำนี้มันดิ้นได้ มันพิเศษ ถ้าพูดว่าเหนือมันพลิกทีเดียวก็เป็นเหนือ เป็นใต้ เป็นบนเป็นล่าง ชั่วแค่พลิกฝ่ามือก็เป็นเหนือเป็นใต้แล้ว ก็มองเห็นมะพร้าวนาฬิเกร์ร์ กลางทะเลขี้ผึ้ง ทะเลขี้ผึ้งคือวัฏสงสาร ก็คือความทุกข์ ความทุกข์ที่วนอยู่เรื่อยไม่สิ้นไม่สุดนี้ เรียกว่าวัฏสงสาร หรือทะเลขี้ผึ้ง กลางทะเลขี้ผึ้งแต่ไม่ใช่ตัวทะเลขี้ผึ้งเอง เรียกว่ามะพร้าวนาฬิเกร์ร์ ในความหมายหนึ่งว่าต้นเดียวเปลี่ยวลิงโลดเอย ก็คือไม่มีอะไรที่จะเกี่ยวข้อง หรือเป็นคู่ หรือเป็นอะไร ต้นเดียวเปลี่ยวลิงโลดเอย ธรรมะที่เป็นหนึ่งล้วนๆ ไม่มีอะไรเข้าไปเจอปนเกี่ยวข้องด้วย ก็มีแต่อสังขตะ หรือนิพพาน คือว่าต้นเดียวเกี่ยวลิงโลดเอย ที่อยู่กับทะเลขี้ผึ้ง แปลว่าที่นั่นฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง แปลว่าความทุกข์แตะต้องไม่ได้ ที่มะพร้าวนาฬิเกร์ร์ ความทุกข์ที่แตะต้องเป็นประจำอยู่ในวัฏสงสาร คือในทะเลขี้ผึ้ง ในทะเลขี้ผึ้งเต็มไปด้วยความทุกข์ แต่ที่ต้นมะพร้าวนั้นความทุกข์แตะต้องไม่ได้ ให้คำจำกัดความว่าฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึงที่มะพร้าวนาฬิเกร์ร์นั้น ทะเลขี้ผึ้ง ผมก็ช่วยถามคนแก่ๆที่ร้องเพลงนี้ แกก็อธิบายไม่ได้ อธิบายไม่ได้ว่าทำไมต้องทะเลขี้ผึ้ง ผมก็คิดดูว่าทะเลขี้ผึ้งนี่มันก็บอกอยู่ในตัว ถ้าเราไปดูก้อนขี้ผึ้งแข็งๆว่าเป็นทะเลไปได้ มันเป็นทะเลได้อย่างไรมันเป็นก้อนแข็ง มันต้องมีเวลาที่ว่าขี้ผึ้งนี่ ถ้าร้อนก็เหลวละลายเป็นของเหลว เป็นน้ำ แล้วถ้ามากเข้าก็เป็นทะเล เป็นทะเลขี้ผึ้งได้ แล้วถ้าเย็นก็เป็นของแข็งไปได้ เป็นทะเล แข็งเดินไปได้ บางเวลาเป็นทะเลเหลวเดินไปก็จมตาย บางเวลาก็ร้อนเหลือประมาณ บางเวลาก็เย็นเหลือประมาณ เย็นขนาดที่ว่าขี้ผึ้งแข็งเป็นหินไปเลย เนียเปรียบกันได้กับสังขตะทั้งหลายก็ถูกจัดเป็นฝ่ายดี ฝ่ายชั่ว ฝ่ายบุญ ฝ่ายบาป ฝ่ายสุข ฝ่ายทุกข์ที่เป็นคู่ๆ ไม่ใช่เดี่ยว ไม่ใช่เดี่ยวลิงโลดเอย ไม่ใช่คนเดียวเดี่ยวลิงโลดเอย ต้องเป็นคู่ สิ่งนี้หลอกลวงสมมุติมีค่าขึ้นมาเพราะสิ่งนี้มีคู่เปรียบ เช่นว่าดีต้องมีชั่วเป็นคู่เปรียบ ไม่งั้นก็ไม่รู้ว่าจะดีอย่างไร ดีไปทางไหน แล้วก็ไม่มีความหมาย ถ้าไม่มีชั่วเป็นคู่เปรียบ ดีก็ไม่มีค่าอะไร ถ้าไม่มีดีเป็นคู่เปรียบ ชั่วก็ไม่น่ากลัว ไม่ร้ายกาจอะไร มันต้องมาด้วยกันทั้งคู่ ทั้งคู่เป็นเครื่องเทียบค่า บุญกับบาปเหมือนกัน พอเข้ามาเทียบค่ากันมันถึงจะเกิดว่าตรงกันข้ามหรือต่างกัน เป็นคู่กัน ความสุขความทุกข์เหมือนกัน ความได้ความเสีย ความแพ้ความชนะ มันขึ้นกับเหตุปัจจัยทั้งนั้น เป็นคู่ๆ คู่ๆล้วนแต่เรียกว่าอยู่ในทะเลขี้ผึ้งทั้งนั้น เป็นคู่ๆ คำว่าทะเลขี้ผึ้งหมายถึง ธรรมะประเภทสังขะตะ ที่ปรุงแต่งไปสุดเหวี่ยงไปฝ่ายโน้นที ฝ่ายนี้ที จนกระทั่งให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นให้เกิดความทุกข์ ยึดมั่นดี ยึดมั่นชั่ว ยึดมั่นสุข ยึดมั่นทุกข์ ที่เรียกว่าทะเลขี้ผึ้ง วัฎฎสงสาร มีเรื่องที่จะต้องปรึกษาเทียบเคียง หรือว่าจะวินิจฉัยว่าก็ตามใจว่าเมื่อมีความทุกข์อยู่ที่นี่ แล้วความดับทุกข์จะอยู่ที่ไหน ถ้าไปหาความดับทุกข์ที่อื่นแล้วจะดับทุกข์อย่างไร เพราะว่าอาการที่ทุกข์ดับไปต้องดับที่ทุกข์ ว่าทุกข์มันดับไปถึงจะเรียกว่าความดับทุกข์ อย่าเอาทุกข์ไว้ที่นี่ ดับทุกข์กันที่เมืองนอก หรือมีความทุกข์ปีนี้ไปดับอีกสิบปีข้างหน้า มันก็เป็นสิ่งที่ทุกคนก็พอมองเห็นได้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ ความทุกข์เกิดขึ้นที่ไหน มันก็ต้องดับทุกข์ที่ตรงนั้น เมื่อนั้น นี่เป็นเหตุให้เกิดคำพูดที่ว่า ทุกข์ที่ตรงไหนก็ดับทุกข์ที่ตรงนั้น มีคำของอาจารย์เก่าๆเค้าพูด เป็นทำนองปริศนาว่ามันขึ้นทางไหนก็ลงทางนั้น อย่างขึ้นต้นมะพร้าว หรือขึ้นต้นยาง ถ้าขึ้นทางไหนก็ต้องลงทางนั้น เป็นคำเปรียบไว้ให้คิด ถ้าลงทางอื่นก็ไม่ใช่เรื่องแน่ นี่คืออาการขอปฏิจจสมุปบาท จะเป็นสมุทัยขึ้นมาทางไหนมันก็เป็นอัตถังคมะทางนั้น ถอยหลังกลับไปทางนั้น จนมีหลักว่า ขึ้นทางนั้น ลงทางนั้น ตั้งขึ้นมาที่ไหนก็ดับลงไปที่นั่น วัฏสงสารคือความทุกข์ ที่ตั้งความทุกข์มาตรงที่วัฏสงสาร มันก็ต้องพบความดับทุกข์ที่ตรงความทุกข์นั่นเอง อย่างนี้เรียกว่ามันมีเหตุผล มันเป็นลอจิก มันเป็นเหตุผลทางลอจิก ทางตรรกวิทยา ที่เรียกว่าไม่ค้านได้ อย่างกับไฟลุกขึ้นที่ไหน ดับไฟก็ต้องสาดน้ำไปที่นั่น จะไปดับที่อื่นก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามเหตุผล ถ้าทุกข์เกิดจากตัณหา ต้องดับทุกข์ที่ตัณหา เพราะทุกข์เกิดจากตัณหา ที่มีพวกเซนในประเทศจีน พูดเตลิดไกลไปอีกให้มันอุปมาน่ากลัวขึ้นไปอีก ที่ว่าที่เย็นที่สุดอยู่กลางเตาหลอมเหล็ก ทีกำลังหลอมเหล็กที่ใหญ่ที่สุด เป็นเตาหลอมเหล็กก็ต้องแรงมาก ต้องร้อนแรงมาก เหล็กจึงละลาย และใหญ่ที่สุดด้วย จุดกลางเตาหลอมเหล็กที่กำลังหลอมเหล็กอยู่ คือจุดเย็นที่สุด หาให้พบสิ นี่ก็แสดงว่าพวกนั้นเคยคิดเรื่องนี้แล้วเหมือนกัน จึงได้พูดอย่างนี้ ถ้าหาพบก็หมายความว่าที่ตรงนั้นแหละจะพบที่ที่เย็นที่สุด ร้อนเท่าไรเวลาดับก็เย็นมากเท่านั้น เอาปริมาณเท่ากับเทียนตั้งขึ้นเท่าไรก็ดับลงไปเท่านั้น สมุทัยมีปริมาณมากเท่าไรอัตถังคมะมีเท่านั้น นี่คือความหมายของคำว่ามะพร้าวนาฬิเกร์ร์กลางทะเลขี้ผึ้ง แต่ถ้าเป็นผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้ศิลปะก็ไม่ค่อยมีความหมายอะไร อาจจะไม่เกิดความรู้สึกไรเลยก็เป็นได้ มานั่งดูภาพแบบนี้ ถ้าเค้าเป็นหัวศิลปิน ศิลปะดูในทางที่เดินแบบนี้ก็มีประโยชนฺ์ หรือเค้าอาจจะไปเห็นสิ่งอื่น แล้วสื่อความหมายออกมาก็ได้ ถึงอยากจะพูดว่า พระพุทธเจ้าเองก็มีลักษณะเป็นศิลปิน ศิลปะ ผู้มีศิลปะ ศิลปะในทางธรรมะก็ได้ก็มี ศิลปะในทางทั่วๆไปก็มี ดูให้ลึกไปกว่านั้น ก็ต้องพูดว่าตัวธรรมะนั้นเองก็เป็นศิลปะ ไม่ใช่ศิลปะหลอกลวงตลบแตลงมายา ศิลปะไม่ได้หมายความอย่างนั้น หมายความถึงวิธีที่ทำให้สำเร็จประโยชน์ได้อย่างงดงามที่สุด จนกล่าวได้เป็นหลักว่า ถ้าสิ่งใดเกิดความสำเร็จประโยชน์ โดยเอาความงามเป็นเครื่องมือ สิ่งนั้นต้องเรียกว่าศิลปะ เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์จึงทรงกำชับว่า เธอจงประกาศพรหมจรรย์ซึ่งทรงแสดงธรรมนี้ อธิกัลยาณังให้งามข้างต้น มัชเฌกัลยาณัง ให้งามตรงกลาง ปะริโยสานะกัลยาณัง ให้งามในชั้นสุดท้าย นี่เป็นลักษณะของศิลปะแท้ แม้สมัยนี้สมัยปัจจุบันนี้ศิลปะที่บริสุทธิ์ที่ว่ามีมาอย่างนี้ เมื่อสิ่งอื่นเค้าใช้ของอื่นเป็นเครื่องมือ เป็นกำลังให้สำเร็จประโยชน์แล้ว สิ่งที่เรียกว่าศิลปะเค้าใช้ความงาม ใช้ความงามเป็นเครื่องมือ เป็นกำลังให้สำเร็จประโยชน์ ประโยชน์นั้นก็เป็นประโยชน์ที่ถูกต้อง ไม่ใช่ประโยชน์คดโกง ก็เลยน่าดูขึ้น ประโยชน์ก็ได้ความงามก็ได้ ความสุขสบายก็ได้ ศิลปะวัตถุจึงเกิดขึ้นมากในพุทธศาสนา ในความงามทางวัตถุ ทางจิตใจ ทางความหมายไรต่างๆ เพราะว่าตัวธรรมะก็มีความงามแล้ว เป็นศิลปะอยู่ในตัวแล้ว นี่ไม่ใช่เล่นเพื่อมีประโยชน์ ถ้าใช้เป็น มันก็ใช้ยากไม่ใช่เล่นเหมือนกัน การที่พระวิปัสสนาจารย์จะเข้าถึงศิลปะนี้ และใช้ศิลปะนี้ได้ตามความประสงค์นี้ไม่ใช่เล่น ไม่ใช่ของเล่น บางองค์อาจจะทำไม่ได้ ขออภัยต้องพูดตรงๆ คือยังไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่าศิลปะ ต้องเล่นกันนานต้องเรียนกันนาน กว่าจะรู้จักที่เรียกกันว่าอธิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง แต่ถ้ารู้แล้วทำได้ แล้วสำเร็จประโยชน์เพราะเราต่อไปก็ต้องมีการเผยแผ่ ไม่ใช่จะมานั่งตัวคนเดียวอยู่เรื่อย ถ้ารู้จักใช้กัลยาณังนี้ก็ประโยชน์สำเร็จได้ง่ายกว่ามาก เสียงเพราะก็เป็นศิลปะ แต่พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้ต้องการ รูปงามก็เป็นศิลปะ แต่พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้ต้องการ เรื่องงามอย่างอื่นอีกที่เป็นเรื่องอยู่ในวัตถุ ส่งเสริมให้กระตุ้นความรู้สึก ก็ไม่ต้องการ ต้องการความงามที่ทำให้จิตใจของคนถูกดึงไปหาความสงบ ใช้ความงามอย่างนั้น ความพลุ่งพล่านด้วยตัวกูของกู ด้วยจิตโลภะ โทสะ โมหะอะไรก็ตาม ร้อนจี๋เป็นไฟ พระพุทธเจ้าให้หยุดลงไป สงบลงไปโดยอาศัยความงามของพระธรรม นี่คือสิ่งที่เราจะต้องสนใจกันบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางท่านอาจจะทำได้ จะใช้ศิลปะเป็นการช่วยให้ตัวเองเข้าใจธรรมะ เพราะธรรมะมีศิลปะอยู่ในตัว นี่อย่างหนึ่ง ใช้ศิลปะในการเข้าใจ คือสอนผู้อื่นด้วย นี่อีกอย่างหนึ่ง ก็เป็นสองอย่างก็พอแล้ว ท้ายที่สุดแม้แต่การเปรียบเทียบ ใช้อุปมาต่างๆก็ใช้ศิลปะ การเปรียบเทียบข้อธรรมะด้วยสิ่งนั้นสิ่งนี้ ด้วยวัตถุนั้นด้วยวัตถุนี้ มีทำกันมากในครั้งโบราณ น่าจะในพระไตรปิฎกเองก็มาก ในบาลีพระพุทธภาษิตเองก็มีไม่น้อย แต่ดูเหมือนจะสูงสุดในยุคที่แต่งหนังสือมิลินทปัญหา การเปรียบเทียบข้อธรรมะด้วยสิ่งนั้นสิ่งนี้ วัตถุนั้นวัตถุนี้ในแง่ของศิลปะนี้มีมากในมิลินทปัญหา มองดูแล้วก็รู้สึกว่าเก่ง และก็มีทางใช้เป็นประโยชน์ได้ เปรียบภิกษุเหมือนกับเสือ สุ่มอยู่ในป่าคือสติปัฏฐานสี่ คอยจับเอาเนื้อคือมรรคผลนิพพาน คิดดูถ้าใครมีความเข้าใจ ส่งใจตามความหมายนั้นได้ ก็ยังบรรลุธรรม หรือเห็นธรรมได้อย่างสนุกสนานด้วย ที่นี่เราพยายามที่จะมี วัตถุเกื้อกูลแก่การศึกษา การเข้าใจ การปฏิบัติธรรมะ หรือว่าสอนผู้อื่น สอนธรรมะแก่ผู้อื่น ทีนี้อยากจะพูดถึงคำว่าน้ำ น้ำในสระทะเลขี้ผึ้ง เดี๋ยวนี้เรามุ่งหมายเฉพาะที่เป็นทะเลขี้ผึ้ง เอาน้ำเป็นทะเลขี้ผึ้ง เป็นวัฏสงสาร แต่ที่จริงนั้นน้ำถูกใช้เป็นอุปมาเปรียบเทียบทุกฝ่าย ฝ่ายชั่่วเป็นทุกข์ก็มี ฝ่ายดีก็มี ฝ่ายดีนี้เปรียบเหมือนกับพระธรรม พระธรรมเปรียบเหมือนรหโทที่สระน้ำ หรือที่บึงน้ำที่มีน้ำขังไว้ใช้ประโยชน์ อย่างมีบาลีว่าธมฺโม รหโท อกทฺทโม ธรรมะเหมือนสระน้ำที่ไม่มีตม มีศีลเป็นท่าสำหรับลงอาบ ยืดยาวต่อไป อย่างนี้ก็เปรียบธรรมะด้วยน้ำ เอาน้ำเป็นอุปมาของสิ่งที่ดี ทีช่วยดับทุกข์ แต่ในที่ทั่วไปที่อ้างถึงมากกว่า เปรียบน้ำเป็นตัวร้าย เป็นสมุทร เป็นทะเลที่ต้องจม เป็นน้ำวน ในนี้มีสัตว์ร้ายมีรัฐสระ มีคหกะ (0:33:02) คือสัตว์ร้ายที่จะทำลายชีวิตคนที่จะลงไป จนเรียกว่าวัฏสงสาร ที่เป็นชื่อของกิเลสเรียกโอคะ โอกะก็มี น้ำในความหมายนี้เป็นอุปมาของความทุกข์ เดี๋ยวนี้เอามาเป็นชื่อของความทุกข์ คือวัฏสงสาร วนไปวนมาอยู่ที่ดีชั่วบุญบาปสุขทุกข์ วนอยู่ที่นี่เดี๋ยวขึ้นมาเดี๋ยวลงไป ก็คือลักษณะของการปรุงแต่งของสังขตะธรรม เดี๋ยวเกิดขึ้นเดี๋ยวตั้งอยู่เดี๋ยวดับไป อย่างนี้ก็เป็นวัฏ เมื่อเกิดขึ้นก็อย่างหนึ่ง เมื่อดับไปก็อย่างหนึ่ง เมื่อทุกข์เกิดขึ้นก็อย่างหนึ่ง เมื่อทุกข์ดับลงก็อย่างหนึ่ง แล้วก็ไม่มีอันไหนที่จะอยู่ โดยไม่มีเกิดขึ้น ตั้งอยุ่ ดับไปได้ ถ้าเป็นธรรมะฝ่ายสังขตะนี้ ทีนี้ใจความของเรื่องที่มันแปลอยุ่ตรงสำคัญที่ว่า มันเปลี่ยนได้อย่างกลับหน้ามือเป็นหลังมือ คือมีปฏิจจสมุปบาทอยู่ประเภทหนึ่ง ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดง มันกลับหลังหันได้ตรงที่เป็นปัญหา คือตรัสว่าตะกะโมปะทิกกะเว ทุกขะตะสมุททโย (0:34:58-0:35:01) อะไรเป็นแรงเกิดขึ้นแห่งทุกข์ แล้วก็ตรัสในรูปของปฏิจจสมุปบาท แปลว่า จะขุนจะ ปฏิจจะ รูเป จ อุปปชะติ วิญญาณะ(0:35:11) ต้องอาศัยรูปด้วยจักษุด้วย จักษุวิญญาณย่อมเกิดขึ้น ทินนัง ธัมมานัง สังฆาฏิ ผัสโส (0:35:20) ประจวบกันแห่งธรรม ๓ อย่างนี้เรียกว่าผัสสะ ผัสสะ ยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาปรัชญา ตัณหา ก็ถ้ายังไม่รู้สึกอีกก็เวทิกกส สมุทโย นี้เราเรียกว่าเกิดขึ้นแห่งทุกข์ คือตัณหา แสดงเลยไปถึงอุปาทาน ภพชาติก็ได้ แต่ลหุ ปัญหาเป็นทุกข์กับสมุทัย ที่ว่าทั้งทีแสดงอัตถาทัมมาว่า อัตถโมสังขเว อทิกผัสสะสังขโม อะไรเป็นอัตถังคมะแห่งทุกข์ ก็ขึ้นอย่างเดียวกันอีกแหละว่า จะ ขุนจะ ปกิจจะ รูเปจะ อุปปัจจติวิณญาณนั้น อาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย เกิดจักษุวิญญาณ ๓ ประการ ๓ ประการนี้เรียกว่าผัสสะ ผัสสะผัชญา เวทนา อาศัยผัสสะเป็นปัจจัยเกิดเวทนา เวทนาปรัชญา ตัณหา อาศัยเวทนาเป็นปัจจัยเกิดตัณหา และกลายเป็นว่า ผัสสาเยวะ ตัณหายะ อเสสะ วิราคะนิโรธา กลายเป็นภะวะนิโรโธ และความดับหรือความจำออกไกลออกโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นเทียว จึงเกิดภะวะนิโรโธ และทรงแจกด้วยหู จมูก ลิ้น กาย ใจทุกๆอายตนะในลักษณะอย่างที่เร๊ยกว่า พอมาถึงตัณหาและดับตัณหา พอพบแล้วก็ดับได้ อย่างนี้ไม่ค่อยพบ ไม่ค่อยผ่านสายตา แล้วไม่ค่อยเอามาสอนกัน ก็เลยคิดไปว่า เพราะว่าปฏิจจสมุทปบาทตั้งต้นแล้วก็จะไปถึงทุกข์เลย เพราะฉะนั้นไม่ต้องมีความทุกข์โดยส่วนเดียว การมีพระบาลีแสดงไว้อย่างนี้ ย่อมแสดงว่าสติสัมปชัญญะอาจจะเกิดขึ้น เหมือนจะหยุดกระแสแห่งตัณหาเสีย ก็เลยเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ กลายเป็นไม่เกิดทุกข์ หากทุกข์ดับไปเพราะตรงนี้ ปฏิจจสมุปบาทก่อตัณหาขึ้นมาแล้ว พร้อมที่จะเกิดทุกข์แล้ว ก็ดับตัณหาเสียด้วยสติสัมปชัญญะ ดับเพราะการทำให้จางไป ไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นเทียว นี่เป็นปฏิจจสมุทปบาทที่ประหลาดที่ไม่ค่อยเอามาสอนกันในโรงเรียน ถ้าเราจะทำมโนภาพเกี่ยวกับปฏิจจสมุทปบาทนี้ มันคล้ายๆกับว่าปฏิจจสมุทปบาทสายนี้ ครึ่งท่อนตั้งต้นมันดำ ครึ่งท่อนข้างหลังมันขาว หรือปฏิจจสมุทปบาทสายนี้ กรณีอย่างที่ว่านี้ครึ่งท่อนที่ว่ามันลุกๆๆขึ้นมาเป็นไฟ หรือกำลังจะลุกเป็นไฟโพลงถึงที่สุด แล้วกลายเป็นดับๆๆลงไปเสีย คือดับตัณหาเสีย กลายเป็นดับภพดับอุปาทาน ดับชาติและดับทุกข์ทั้งปวง ในกรณีแห่งตาหูจมูกลิ้นกายใจเป็นประจำวัน ตรงนี้ขอบอกให้ทราบเลยว่า ขอให้มองให้เห็นว่าเรื่องปฏิจจสมุทปบาทเป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน ที่ทรงแสดงไว้ชัดอย่างนี้มากมาย มากมายเหลือที่จะกล่าว ส่วนการที่จะเอาไปแสดงในแบบของศีลธรรม แบบเรื่องข้ามภพข้ามชาตินั้นก็ได้ ก็ไม่ได้ยกเลิก ก็ไม่ได้มีตรงไหนบอกว่าต้องยกเลิกในแบบของศีลธรรม สอนให้คนกลัวบาปกรรมชาติหน้าชาตินู้น ทำไว้เผื่อข้างหน้านู้น นั้นก็เป็นปฏิจจสมุทปบาทแบบศีลธรรม สอนให้คนมีศีลธรรม ประพฤติอย่างมีศีลธรรม แต่ถ้าปฏิจจสมุทปบาทอย่างปรมัตถธรรมโดยตรงก็ต้องที่นี่และเดี๋ยวนี้ และต้องทุกครั้งที่ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น เป็นต้น เพราะว่าตัดไวมาก เช่นว่าในวันหนึ่งก็มีได้มากถึงเท่านี้ เดี๋ยวตาเดี๋ยวหูเดี๋ยวจมูกก็เป็นทุกข์เป็นเรื่องๆไปก็ตามหลักของปฏิจจสมุทปบาททั้งนั้น นี่เรียกว่าปฏิจจสมุทปบาทตลอดสาย แสดงตลอดสายเป็นทุกข์ไป แต่ถ้าแสดงในลักษณะว่าเกรียนกลางครัน คือเกิดตัณหาขึ้นมาแล้ว ทำตัณหานั้นให้จางคลายไปไม่เหลือ นี่ก็กลายเป็นดับทุกข์ ก็มีภาพพจน์ที่จะต้องพิจารณาให้เห็นว่าปฏิจจสมุทปบาทสายหนึ่ง ครึ่งท่อนตั้งขึ้นเป็นครึ่งแห่งทุกข์ ครึ่งท่อนข้างหลังเป็นดับลงแห่งทุกข์ เพื่อจะชี้ให้เห็นว่ามะพร้าวนาฬิเกร์ร์กลางทะเลขี้ผึ้งมันอยู่ด้วยกันได้ ในลักษณะเดียวกับปฏิจจสมุทปบาทที่ตั้งต้นเป็้นวัฏสงสารแล้วมันกลายเป็นนิพพาน เป็นอัตถังคมะแห่งทุกข์ไปได้ ถ้าจะพูดธรรมะกันตรงๆก็คืออย่างนี้ มีหลักว่าปฏิจจสมุทปบาทนั้น เมื่อทำให้ถูกต้องให้แยบคายแล้วมันเรียนตรงกลางสายได้ จากการตั้งขึ้นแห่งทุกข์เป็นการดับลงแห่งทุกข์ได้ ยิ่งแสดงถนัดชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีกว่า มีความทุกข์ที่ไหนมีความดับทุกข์ที่นั่น มีความทุกข์ที่ไหนมีความดับทุกข์ที่นั่น ให้ยึดเป็นข้อมูลหรือสมมติฐานขึ้นมา แล้วเราจะพิสูจน์หาความจริงว่าจริงหรือไม่จริง เป็นสมมติฐานสำหรับการพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่จริง ในการที่จะสร้างสมมติฐานว่ามีความทุกข์ที่ไหนต้องดับทุกข์ที่นั่นเวลานั้น ทีนี้ภาพมะพร้าวนาฬิเกร์ร์กลางทะเลขี้ผึ้งเรามุ่งหมายแสดงความข้อนี้ ตรงที่วัฏสงสารให้หานิพพานให้พบ ให้หานิพพานให้พบที่ตรงกลางวัฏสงสาร แต่มันไม่ใช่ตัววัฏสงสาร มันอยู่ที่วัฏสงสาร ไม่ใช่ใจกลางวัฏสงสารด้วยซ้ำไป เราอาจจะใช้ต้นมะพร้าวนี้เป็นนิมิต ความหมายของนิพพาน น้ำคือวัฏสงสาร มันจะอยู่ด้วยกัน แต่มันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน มันตรงกันข้ามเสียด้วยไป เช่นเดียวกับสมุทัยกับอัตถังคมะ มันอยู่ในปฏิจจสมุทปบาทสายเดียวกันได้แต่มันไม่ต้องเป็นสิ่งเดียวกัน หรือถือกว้างออกไปว่าโลภะถ้าเกิดที่ไหนก็ดับที่นั่น โทสะเกิดที่ไหนก็ดับที่นั่น โมหะเกิดที่ไหนก็ดับที่นั่น หรือว่าจะตัดรากเหง้าของมันก็ต้องตัดรากเหง้าของมัน จะไปตัดที่ไหนได้ หรือจะไปตัดเวลาอื่นอย่างไรได้ ทุกอย่างมันมีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป ถ้าการจะดับก็ต้องดับที่กำลัเกิดขึ้นมา เราจึงจะเรียกว่าดับเป็นผู้ดับ มีการกระทำให้มันดับตามที่ประสงค์ ด้วยเหตุที่เข้าใจว่ายังเข้าใจกันไปคนละทิศคนละทางในเรื่องเกี่ยวกับปรมัตถธรรมเอาไปปนกับเรื่องของศีลธรรม ก็ทำให้เข้าใจไปได้ ในบางกรณีหรือบางสถานการณ์พระวิปัสสนาจารย์จะต้องสอนศีลธรรม แต่ในบางกรณีทำอย่างนั้นไม่ได้ขายขี้หน้า จะต้องสอนปรมัตถธรรม ยกตัวอย่างเช่นสัมมาทิฏฐิในบางกรณีจะสอนเรื่องไม่มีตัวไม่มีตนไม่ได้ ยิ่งแสดงถนัดชัดเจนไปอีกว่ามีความทุกข์ที่ไหน ต้องดับทุกข์ที่นั่น มีความทุกข์ที่ไหน ต้องดับทุกข์ที่นั่น ขอให้ยึดเป็นบท เขาเรียกว่าข้อมูล คือสมมติฐานขึ้นมา แล้วเราจะพิสูจน์หาความจริงว่าจริงหรือไม่จริง สมมติฐานสำหรับการพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่จริง ในการที่จะสร้างเป็นสมมติฐานขึ้นมาว่ามีความทุกข์ที่ใดต้องดับความทุกข์ที่นั่น และเวลานั้น ทีนี้ภาพมะพร้าวนาฬิเกร์ กลางทะเลขี้ผึ้ง เรามุ่งหมายแสดงความข้อนี้ เพราะที่ตรงวัฏสงสารนี้ จะให้หานิพพานให้พบ ให้หานิพพานให้พบที่ตรงกลางวัฏสงสาร ดังนั้นไม่ใช่ตัววัฏสงสาร แต่มันอยู่ที่วัฏสงสาร ไม่ใช่ใจกลางวัฏสงสารด้วยซ้ำไป เราอาจจะใช้ต้นมะพร้าวนี้เป็นนิมิตร ตามหมายของนิพพาน น้ำนี่คือวัฏสงสาร มันจะอยู่ด้วยกัน แต่มันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน มันตรงกันข้ามเสียเรื่อยไป เช่นเดียวกับสมุทัยกับอัตถังคมะ มันอยู่ในปฏิจจกสมุปบาท สายเดียวกันได้ แต่มันไม่ต้องเป็นสิ่งเดียวกัน ฉะนั้นให้ถือความหมายกว้างไปว่า โลภะเกิดที่ไหน ต้องดับที่นั่น โทสะเกิดที่ไหนต้องดับที่นั่น โมหะเกิดที่ไหนต้องดับที่นั่น หรือว่า จะตัดรากเหง้าของมันก็ต้องตัดที่รากเหง้าของมันนั่นแหละ จะไปตัดที่ไหนได้ และจะไปตัดเวลาอื่นอย่างไรได้ ทุกๆอย่างมันมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป การจะดับมันก็ต้องดับตอนที่มันเกิดขึ้นมา มันจึงจะเรียกว่าดับ เป็นผู้ดับ มีการกระทำให้มันดับตามที่ประสงค์
นี่โดยเหตุที่ผมรู้สึกว่ายังเข้าใจกันไปคนละทิศคนละทางในเรื่องเกี่ยวกับ ปรมัตถธรรม เอาไปปนกับเรื่องของศีลธรรม เพราะจะให้เข้าใจไม่ได้ ในบางกรณี หรือว่าบางสถานการณ์นี่ พระวิปัสสนาจารย์จะต้องสอนศีลธรรม แต่ในบางกรณีทำอย่างนั้นไม่ได้ ขายขี้หน้า จะต้องสอนปรมัตถธรรม ยกตัวอย่าง เช่นเรื่องสัมมาทิฏฐิ ในบางกรณีจะไปสอนเรื่องไม่มีตัวไม่มีตนมันไม่ได้ มันต้องสอนเรื่องทำดีๆ ทำชั่วๆ มีนรกมีสวรรค์ มีบุญมีบาป มีบิดามารดา มีโอปปาติกะ ซึ่งเป็นลักษณะของสัมมาทิฏฐิ ในกุศลกรรมบท ถ้าผู้ฟังเป็นชาวบ้านในอันดับพื้นฐานแล้ว จะไปสอนเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรื่องทุกเข ญาณัง ทุกขะ สะมุทะเย ญาณัง อันนี้ก็ไม่ไหว หรือไปสอนเรื่องปฏิจจกสมุปบาทที่เป็นตัวสัมมาทิฏฐิที่แท้ๆแล้ว ก็จะไม่สำเร็จประโยชน์ แต่ถ้าในบางกรณีเราไปพบกับผู้ฟังมีสติปัญญาหรืออะไรมาพอสมควรแล้ว เบื่อการเวียนว่ายตายเกิดอยู่แล้ว มันก็ต้องสอนเรื่องดับ ดับไม่ให้เหลือ ไปมัวสอนเรื่องทำดีๆ ทำชั่วๆ มันก็หัวเราะเอาสิ จะหัวเราะผู้สอนเอา เพราะเขาเบื่อที่จะเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว กำลังหาทางที่จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะไม่อยากให้เกิดแม้ในสวรรค์ ไม่อยากแบกหามกุศล ไม่อยากจะแบกหามมหากุศลอะไรไปอีก มันต้องการจะดับจะหยุด มันต้องสอนเรื่องอนัตตา เรื่องสูญญตา นี่จะถึงขนาดที่เรียกว่าสอนให้เห็นว่า นิพพานอยู่กลางวัฏสงสารได้ ถ้าไม่อย่างนั้น มันก็ไม่ได้ มันไม่เข้าใจได้ ถ้าไม่ถึงขนาดนั้น มันก็เข้าใจไม่ได้ เพราะเขาเอานิพพานไว้ต่ออีกกี่แสนกี่หมื่นชาติก็ไม่ทราบ อนาคตกาลนานไกลโน่น นี่เพื่อจะบอกว่ามีความทุกข์ตรงไหน มีความนิพพานตรงนั้น นี่เรียกเป็นปรมัตถธรรม เมื่อสอนคนที่ยังเข้าใจไม่ได้ เขาเชื่อกันมาอย่างนั้นว่า ตายไปเกิดไปไม่รู้กี่แสนกี่หมื่นชาติแล้วค่อยนิพพานในอนาคตกาลโน้นเทอญ เขาก็สอนไปอย่างสัมมาทิฐิ แบบที่เรียกกันใหม่เอาเองว่า โลกียะ สัมมาทิฐิ
นี่สัมมาทิฏฐิที่จะพูดว่านิพพานตรงนี้ แห่งเดียวกันกับวัฏสงสารนี้ นี่มันเคือเรื่องที่คนนั้นจะต้องเห็นอะไรมากเแล้ว ฉะนั้นพระวิปัสสนาจารย์ เพื่อประโยชน์แก่ตนเองก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นก็ดี จะได้รู้จักว่ามันมีอยู่อย่างไร จะเข้าใจกันได้อย่างไร ไปบอกกับบางคนว่านิพพานอยู่ท่ามกลางวัฏสงสาร ไม่ก็เชื่อ เขาคิดว่าตลกข้น เปิดหนีไปเลยถ้าคนมันฉลาด เข้าใจปฏิจจกสมุปบาทอย่างที่ว่า หรือว่ามีสติปัญญาพอจะคิดตามเหตุผล มันก็พยายามฟังและสนใจ อาจจะทำให้เกิดผลอย่างเดียวกับอยู่ตรงนั้นแหละ อาจจะพลิกขึ้นจากหน้าเป็นหลัง ขึ้นหลังเป็นหน้า ปฎิจจกสมุปบาทตั้งต้นขึ้นมาอย่างนี้ก็พลิกมันกลับขึ้นเป็นปฏิจจกสมุปบาทไป อัตถังคมะหรือนิโรธะไป สมุทัยก็หยุด มันกลายเป็นอัตถังคมะนิโรธะไป แม้ว่าจะไม่ได้ขาด ไม่ได้เป็นสมุจเฉทปหาน มันยังดับทุกข์อยู่ได้แหละ ดับทุกข์ได้อยู่แหละ มันดับทุกข์ตามแบบชั่วคราว ฉะนั้น การที่ลงทุนสร้างสระนี้ขึ้นมาก็เพื่อช่วย ช่วยย่นให้มันสั้นเข้า เพื่อให้เกิดภาพที่จะคิดได้ เพื่อจะย่นหนทางให้สั้นเข้าว่าต้องดับทุกข์ที่ความทุกข์ นี่สั้น...... (49:26) ต้องดับทุกข์ในที่ๆมีความทุกข์และในเวลา ในขณะที่มีความทุกข์ แบบไปตั้งพิธีรีตรองมันยืดยาวนัก จะมีประโยชน์ก็ตรงนี้แหละ คือมันย่นให้มันสั้นเข้ามา เพราะฉะนั้นขอให้เข้าใจไว้ว่ามันมีเรื่องทางศีลธรรม กับเรื่องทางปรมัตถธรรม อยู่กันสองอย่าง สองเรื่อง สลับกันไปไม่ว่าเรื่องอะไร ถ้าเรื่องทางศีลธรรมก็ไปทางกรรม ถ้าเรื่องปรมัติธรรมก็จะอยู่เหนือกรรม จะทำลายกรรมจะสิ้นกรรม ก็จะสอนผู้ฟังคนหนึ่งในฝ่ายไหนก็ไปคิดเอาเอง เพราะการสอนให้ทำกรรมดีใช้กรรมดีมันก็คือการสอนวัฏสงสารนั้นแหละ ได้เวียนว่ายเป็นวัฏสงสารนั่นเอง แต่เป็นวัฏสงสารฝ่ายดี คือถ้าเป็นขี้ผึ้งฝ่ายที่มันไม่ร้อน ทำดี ดี ทำชั่ว ชั่ว มันก็ทำแต่ดี มีแต่เรื่องศีลธรรม
ถ้าเป็นเรื่องปรมัตถธรรม ก็ต้องทำกรรม ที่จะยึดเสียทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว จะทำลายทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ก็คือเรื่องอริยมรรค เรื่องเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรื่องไม่ยึดมั่นถือมันสิ่งใดโดยเป็นตัวตนของตัน นั่นแหละคือกรรม อริยมรรค ที่จะทำลายกรรมเสีย ซึ่งกรรมวัฏสงสาร เพราะฉะนั้นถ้าเราเห็น วัฏสงสาร คือน้ำทะเลที่ขึ้นตรงหน้า ถ้าเราเห็นต้นมะพร้าว กรรม กรรมอริยมรรค จะทำลายกรรมวัฏสงสารเสีย เราต้องหาภพในที่แห่งเดียวกัน เพื่อมันจะได้ไม่เหลือวิสัย เพื่อมันจะได้ง่ายเข้า นี่เราพิจารณในหลักการณ์ ในหลักเกณฑ์ที่ มีอยู่ในอริยบทของยุคนี้กันอีกทีหนึ่ง มันน่าสนใจอยู่ ไอ้อย่างต่ำทีแรก แต่อย่างต่ำที่สุดก็คือ บทว่า ถึงได้แก่ผู้มีบุญ นี่เพราะคิดว่า คนทั่วไปตอนหลังนี่ อาจจะว่า จะนึกเอาเองก็ได้ว่า มันต้องได้แก่ผู้มีบุญ นิพพาน แต่คนที่ยังร้องถูกอยู่ มันก็ร้องว่า ถึงได้แก่ผู้พ้นบุญ แล้วก็พ้นบาป แล้วก็พ้นบุญ แล้วก็พ้นจริงๆ จึงจะเป็นนิพพานฉะนั้นการร้องว่าถึงได้แก่ผู้พ้นบุญ ถูกตามหลักเกณฑ์ ถ้าไปติดอยู่ที่บุญ ก็ถึงนิพพานไม่ได้ ทีนี้บางคนบางแห่งไม่ร้องอย่างนั้น ไม่ร้องถึงได้แต่ผู้พ้นบุญหรือผู้มีบุญ กลับไปร้องต้นเดียวเปลี่ยวลิงโลดเอย นี่มันแสดงปรมัตถธรรมหนักขึ้นไปอีก คือ ไม่เรื่องบุญเรื่องอะไรแล้ว คือให้รู้นี่เป็นสัจจะที่สุด คือเป็นอสังขตะ ไม่มีอื่นมาเกี่ยวข้อง เป็นธรรมอันเอก อันเอกหมายความว่าเดี่่ยว เดี่ยวคือคู่ไม่ได้ ไม่เป็นเหตุไม่เป็นผล ไม่นั่นไม่นี่กับใครจึงเป็นเอกและเป็นเดี่ยว ต้นเดียวเปลี่ยวลิงโลดเอย ของเดี๋ยวนี้เป็นของจริง เป็นสัจจะ เป็นเดี่ยว สัจจะจะมีคู่ไม่ได้ มันก็เลยฉายให้เห็นภาพพจน์ว่า ต้นเดียวเปลี่ยวลิงโลดเอย ทีนี้บางคนบางพวกเขาร้องบทสุดท้ายนี้ว่า กินแต่พร้าว นาเกเอย นี่เป็นเรื่องสอน เขามองเป็นแล้ว ต้นมะพร้าว นาฬิเกร์ เขามองเห็นแล้ว เห็นในสายตาของการเพ่ง พิจารณาแต่เข้าถึงไม่ได้ ก็เลยได้แต่คำนึงถึง แต่มะพร้าว นาฬิเกร์ เท่านั้น คือมีนิพพานอย่างเดียวเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีอย่างอื่นเป็นอารมณ์ ไม่หอบหิ้วอะไร เหตุเกิดที่นั่นที่นี่ อย่างนั้นอีกแล้ว แต่ความดับไม่เหลือเท่านั้นแหละเป็นอารมณ์ นี่มีนิพพานอย่างเดียวเป็นอารมณ์ คำนึงถึงนาเกเอย ล้วนแต่มีความหมายถูกทั้งสี่อย่าง แต่กล่าวกันคนละอย่าง อย่างต่ำก็ถึงได้แก่ผู้มีบุญ นี้ก็ถูกไม่ใช่ว่าไม่ถูก แต่มันถูกขั้นต้น เพราะว่าเราก็ได้ยินว่า ได้บุญนี้เหมือนกับบันได เรือแพบ้างที่จะไปแห่งใดแห่งหนึ่ง ถึงจะขึ้นไปพ้นไป ถึงได้แต่ผู้มีบุญ เพราะผู้มีบุญก็มีเรือมีแพ ขี่ไปให้ไปถึงที่นั่น เสร็จแล้วก็ทิ้งบุญนั้นไป ทิ้งเรือนั้นไป ก็ไปถึงนิพพาน ไม่ใช่ว่าไปหิ้วกันบุญด้วยกันกับนิพพานอย่างนี้เ จะเห็นนิพพานเป็นบุญอย่างนี้ก็ทำไม่ได้
ขอให้รู้จักวิธีสักวิธีหนึ่งเพื่อว่าจะอาศัยศิลปะ วัตถุก็ได้ ศิลปะแห่งกระทำการพูดจา วิธี พิธีการ อะไรก็ได้ เพื่อช่วยให้การศึกษา หรือการปฏิบัติ หรือการเผยแผ่สั่งสอนได้ผลดีด้วย เร็วด้วย และสนุกด้วย มีคนดีคือ เติมเต็มตามความหมายที่เราจะได้อย่างไร ไม่น่าเบื่อด้วย นี้คือสนุก มันก็เลยทำได้ง่ายกับสังคม สมัยนี้ เพราะสังคมสมัยนี้ ผิดกับสังคมสมัยพุทธกาลมากนัก เป็นสังคมของคนที่ตามใจตัวเองมากขึ้น ต้องมีอะไรที่ให้เขาพอ ต่อรองได้ ให้เขาต่อรองได้ เขาใช้วิธีที่เรียกว่าศิลปะนั่นแหละ แก้ปัญหานี้ไป จะอธิบายคำสอนอะไรก็ให้มันมีศิลปะของการที่ งามในเบื้องต้น งานในท่ามกลาง งามในเบื้องปลาย นี่วันนี้ก็อุตส่าห์ให้ขนเคลื่อนกลงมาจนถึงที่นี่ เพื่อจะประโยชน์อย่างหนึ่งแปลกออกไป อย่างที่ว่ามาแล้ว ส่วนการที่จะไปพินิจพิจารณาโดยเฉพาะเป็นส่วนตัวมองเห็นข้อเท็จจริงอันนี้ก็ต้องคราวอื่น ไม่ใช่คราวมานั่งกันมากๆอย่างนี้ มันต้องคราวนั่งคนเดียวหรือนั่งด้วยจิตใจที่สงบเสงี่ยมลึกซึ้งกว่านี้ หาให้พบนิพพานท่ามกลางวัฏสงสาร ในการเปลี่ยนปฏิจจกสมุุปบาท สมุทยวารครึ่งท่อนให้กลายเป็นนิโรธวาร เหมือนกับว่าหาจุดเย็นที่สุดพบได้ที่กลางเตาหลอมเหล็ก หรือบางที่ก็ว่า หาเพชรอันวิเศษได้ในหัวของคางคก ซึ่งแสนจะน่าเกลียด ไม่มีใคร หรือที่บางพวกพูดว่ามันมีอยู่ที่หน้าผากแล้ว คลำไม่เห็น พอคลำก็เห็น พอเห็นก็พบ ก็มีอยู่แล้ว ตัวอนิตตามีอยู่ที่วัฏสงสารแล้ว อยู่ตัวทุกข์นั่นแล้ว เมื่อมันเกิดทุกข์ขึ้น ต้อนรับให้มันถูกต้องนะ จะกลายเป็นดับทุกข์ขึ้นมา นี่เขาเรียกว่าในหัวคางคกมีเพชร ในความทุกข์นั้นมีความดับทุกข์ ถ้าสิ่งนี้อยู่ตลอดเวลา เหมือนกับคนมีเพชรที่หน้าผาก แล้วก็มองไม่เห็น ขอให้เป็นอันว่าความหมายของมะพร้าวนาฬิเกร์ กลางทะเลขี้ผึ้งคืออย่างนี้ คือนิพพานที่อาจจะหาพบในวัฏสงสาร จึงจะพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เป็นธรรมะปริยายหนึ่ง คือลักษณะหนึ่งที่จะต้องเข้าใจอีกด้วย ถ้าช่วยประหยัดให้มันง่ายเข้าให้มันสั้นเข้า พอกันทีสำหรับวันนี้ ตามเวลา