แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เวลาตอนนี้ เอ้อ, กำหนดไว้สำหรับจะพูดกันเรื่อง วิธีฝึกจิต ซึ่งจะได้ อา,พยายามพูดกันต่อไปเท่าที่เวลาจะอำนวย คำว่า ฝึกจิตก็คือ ทำจิตให้เจริญด้วยคุณสมบัติ ด้วยเอ้อ, สมรรถภาพ เพราะว่าทำให้ได้รับความสุข หรือผลอื่นๆ จากการที่มีจิตดีขึ้น สูงขึ้น เรียกว่าฝึกจิต กล่าวโดยทั่วๆ ไป ก็เหมือนกับที่ได้ เอ่อ, บอกให้ทราบแล้ว ในครั้งที่แล้วมาว่า ฝึกในชั้น แรกนี้มันเหมือนกับว่าเตรียม หรือ บุพภาค คือเตรียมจิตให้เหมาะสม ฝึกจิตในขั้นแรก ต่อมาใช้จิตที่เหมาะสมแล้วทำให้เกิดประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นเรื่องแสวงหาความสุข หรือว่าจะหาไอ้, ไอ้อิทธิปาฏิหารย์ แม้กระทั่งหาไอ้ ความสิ้นอาสวะ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี มีการฝึกจิตระบบหนึ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ เป็นระบบเดียวที่รวม หรือเชื่อมทั้งสองอย่างนี้ให้มันติดกันไปเลย ติดต่อกันไปเลย เพราะสะดวก คือระบบที่เรียกว่า อานาปานสติภาวนา การทำจิตให้เจริญโดยอาศัยลมหายใจออกและเข้าเป็นหลัก อย่างนี้หมายความว่าทำจิตให้เจริญทั้งในส่วนตระเตรียม ในส่วนที่เป็น และในส่วนที่เป็นเรื่องราวมุ่งหมายโดยตรง ทีนี้มันยังมีระบบอื่น เอ่อ, ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย แล้วก็ท่านทั้งหลายอาจจะเคยได้ยินได้ฟัง หรือ อาจจะเข้าใจผิดหรือสงสัยก็ได้ ระบบบางระบบมันเป็น ครึ่งเดียว คือเป็นแต่เตรียมจิตให้เหมาะสม เช่น สมถกรรมฐานทั้งหลาย เรียกว่ากรรมฐาน ๔๐ ๔๐ อย่าง มักจะไปในทางเตรียมจิตให้เหมาะสม เป็นพวกสมถะ ทีนี้บางทีก็เป็นระบบครึ่งท่อนเพื่อจะแก้ปัญหาบางอย่าง เช่นเราเป็นคนมีกิเลส ชนิดไหนแรง ก็จะเตรียมเพื่อแก้ไขกิเลสชนิดนั้นโดยเฉพาะเสียก่อนจึงค่อยมาฝึกในระบบที่ว่ากำหนดไว้ หรือมุ่งหมาย ยกตัวอย่างเช่น คนที่ขี้มักกำหนัดในทางกามารมณ์ หรือว่ามากเกินไปก็ได้รับการแนะนำให้ไปฝึกพวก อสุภกรรมฐาน เกี่ยวกับความไม่งาม เกี่ยวกับซากศพอะไรเหล่านี้ เป็นต้น ตามป่าช้า ตามอะไร ที่จะช่วยแก้ไขในส่วนนี้ก่อน หรือคนที่ขี้โมโหนัก ขี้โกรธนัก ก็ฝึกในเรื่องพรหมวิหาร เมตตา กรุณา มุทิตา กันให้พอสมควรก่อน อย่างนี้ เป็นต้น อย่างนี้ก็จะเรียกว่าระบบปลีกย่อยก็ได้ เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ดักอยู่ข้างหน้าก่อน หรือว่าเขาอาจจะโดยจะอาศัยระบบนั้นเลยไปเรื่อยๆ จนเป็นผลสุดท้ายของระบบนั้นๆ ซึ่งก็ไปได้ไกลบ้าง ไม่ไกลบ้าง ไม่สมบูรณ์ ที่เรียกว่า อสุภกรรมฐาน นั้นก็มุ่งหมายจะแก้ในส่วนที่จิตใจมักกำหนัด เพราะว่าเลยจากนั้นมันก็กลายเป็นเรื่องวิปัสสนา เป็นเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันไม่ใช่เรื่องของอสุภกรรมฐานแล้ว แม้ว่าจะได้ตั้งต้นมาด้วยอสุภกรรมฐาน หรือเรื่องเมตตา กรุณา พรหมวิหาร นี้ ในที่สุดมันก็ไปสู่ความสงบ เป็นณาณ เป็นสมาบัติ ไม่เกี่ยวกับปัญญา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ไปทางนั้น และก็มีพูดไว้ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้วว่าไปพรหมโลก ในพรหมวิหารสี่นี้ไปพรหมโลก มีก่อนพระพุทธเจ้าเกิดเสียอีก เขารู้กันในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นถ้าได้ยินคำว่า กรรมฐานนั้น กรรมฐานนี้มาก่อนละก็ ก็ต้องรู้ไว้ด้วยว่า บางอย่างไปถึงที่สุด บางอย่างไม่ถึงที่สุด บางอย่างเป็นเพียงทำจิตให้สงบระงับ แล้วก็พอกันทั้งนั้น มันก็ต้องเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ส่วนในระบบที่อยากจะแนะนี้ที่เรียกว่า อานาปานสติภาวนา นี้เป็นระบบที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้เอง ปฏิบัติเพียงระบบเดียวก็มีเป็นขั้นๆๆๆ ไปได้ตลอด ถึงที่สุดจนหมดกิเลส อาสวะ เป็นพระอรหันต์ และท่านยังตรัสไว้เองด้วยว่าเป็นอานิสงค์ของระบบนี้ ที่ดีกว่าระบบอื่น เช่นว่า มันไม่น่ากลัว การไปปฏิบัติอสุภกรรมฐาน ในป่าช้า หรือซากศพนี้มันน่ากลัว มันอาจจะไม่เหมาะแก่ทุกคนก็ได้ หรือว่า อานาปนสตินี้มันสะดวกเพราะคนเรามันก็มีการหายใจอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้วทุกคน มันจึงสะดวกไม่ต้องไปถึงป่าช้า หรือว่าไม่ต้องไปขนไอ้เครื่องบริขาร เครื่องวนสายสิญจน์ หรืออะไรเอามา ลุกไปนั่งที่ตรงไหนมันก็มีลมหายใจอยู่ที่นั่น สำหรับพิจารณากำหนด ก็เลยสะดวก นั้นมันอาจจะยังมีพิเศษไปถึงว่าระบบอานาปนสตินี้ช่วยในทางอนามัย ที่เรียกเป็น พลอยได้พิเศษก็ได้ จะทำให้ร่างกายสบาย เพราะมันมีการหายใจที่เป็นระเบียบ และยาวอย่างนี้ เป็นต้น อานิสงค์ปลีกย่อยมีอย่างนี้ เป็นการชักชวนให้ชอบระบบนี้อยู่มากเหมือนกัน เอาละ ทีนี้เป็นอันว่าในหลายๆ ระบบนั้น เราจะเลือกเอาระบบนี้ ที่พระพุทธเจ้า ท่านสรรเสริญของท่านไว้เอง เรียกว่า อานาปานสติภาวนา อานาปานสติ อานะ อาปานะ อานะ อาปานะ หายใจออก หายใจเข้า สติ ก็คือ สติ สติกำหนดธรรมะอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ทุกครั้งที่หายใจออกเข้า ต้องเข้าใจความหมายของคำๆ นี้ อย่างนี้ อย่าให้บิดเบือนได้ เดี๋ยวจะไปเข้าใจเสียว่า กำหนดลมหายใจนั้น ตะพึด ตะพึด (นาทีที่ 00:09:16) มันอาจจะมีการกำหนดลมหายใจด้วยเหมือนกัน ในครั้งแรกๆ ขั้นต่อๆ ไปมันไม่ได้กำหนดที่ลมหายใจ กำหนดที่ธรรมะ ข้อธรรม หรือข้อเท็จจริง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ทุกครั้งที่หายใจออก หรือหายใจเข้า อา เอ้อ, เชื่อว่าอ้า, หลายคนนี้จะเคยได้ยิน บางคนกล่าวว่า อานาปานสติ คือกำหนดลมหายใจออกเข้า อย่างนี้มันถูกน้อยนัก ผิดมากกว่า ไม่ใช่กำหนดลมหายใจออกเข้า มันกำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์อยู่ทุกครั้งที่หายใจออกเข้า แม้ตอนแรกจะกำหนดลมหายใจอยู่ทุกครั้งที่หายใจออกเข้า มันก็เกิดเป็นสองเรื่องตามตัวหนังสือ ทีนี้ขั้นต่อมามันก็กำหนดอย่างอื่นทั้งนั้นแหละ ไม่ได้กำหนดลมหายใจอยู่ด้วยซ้ำ ดังนั้นให้เข้าใจเสียถูกต้องตามตัวหนังสือนี้ว่า อานาปนสตินี้ สติกำหนดสิ่งที่ต้องกำหนด สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วแต่ปฏิบัติอยู่ในขั้นไหนนะ ถ้าเกิดกำหนดอยู่ทุกครั้งที่หายใจออกและเข้าจึงได้เรียกว่า อานาปานสติ คำว่า ภาวนา แปลว่า การเจริญ คือทำให้เจริญ ทำจิตให้เจริญ มีสติกำหนด สิ่งที่ต้องกำหนดอยู่ทุกครั้งที่หายใจออก เข้า นี่ความหมายของเอ้อ, การฝึกจิตในระบบนี้ ทีนี้ก็อา, ซ้อมความเข้าใจ หรือว่าเตือนความจำที่ว่า เคยพูดมาให้ฟังแล้วว่า การกำหนดจิต ฝึกจิต ในขั้นต้น ขั้นตระเตรียมนั้น คือทำจิตให้อยู่ในอำนาจ ดังนั้นต้องมีอะไรอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นอารมณ์ที่จะเอาจิต ไปติด ไปกำ อ้า, ไปผูกพันไว้ที่นั่น ผูกมัดไว้ที่นั่น อย่าให้มันหนีไปอื่น ตามธรรมดาจิตของคนเรานี้ ไม่เคยถูกควบคุม เราปล่อยไปตามสบาย มันอยากคิด อยากทำอะไร ก็ทำไปตามสบาย ไม่เคยถูกควบคุมให้อยู่ในระเบียบเรียบร้อยเอ่อ, เป็นเวลานาน มันคล้ายๆ กับเด็กๆ หรือลูกแมว ลูกสุนัข มัน มันอยู่นิ่งๆ ไม่ได้ เพราะไม่เคยถูกควบคุม มันก็ดิ้นรนเถลไถล เรื่อยเปื่อยไป พอจับให้นั่งนิ่งๆ เดี๋ยวมันก็ทำไม่ได้ ต้องฝึก ลักษณะของจิตก็เป็นอย่างนั้น พอฝึกครั้งแรก ก็เพื่อฝึกให้อยู่ในการควบคุม ถ้าฝึกช้าง ฝึกม้า ฝึกสัตว์ป่า เขาก็มีหลัก แล้วก็มีเชือกผูกสัตว์ ผูกสัตว์นั้นเข้ากับหลักนั้น เขาก็ทำการบังคับขู่เข็ญ เฆี่ยนตีไปตามเรื่องจนกว่ามันจะยอม นี่คืออุปมาที่ดีที่สุดที่ช่วยความจำ เดี๋ยวนี้ก็จิตมาเหมือนกับสัตว์ป่า ถ้าปฏิบัติในขั้นแรกที่สุดของอานาปานสติ ก็คือลมหายใจ ที่หายใจออกเข้าอยู่เป็นระเบียบนั่น นั่นแหละเป็นหลัก ทีนี้เชือกที่เราตัดมาผูกติดกับหลัก ก็คือสตินั่นเอง การควบคุมสติ การมีสติเหมือนกับเชือก ผูกจิตให้มันกำหนดอยู่ที่หลัก คือการหายใจที่เข้าออก เข้าออก เข้าออกอยู่อย่างเป็นระเบียบ นี้ก็เป็นอุปมาที่ควรจะเข้าใจ สำหรับการฝึกในขั้นต้นที่จะให้จิตมันอยู่ในอำนาจก่อน แล้วก็จะเกิดผลอะไรขึ้นมาตามลำดับ เราก็ฝึกต่อไป จนกว่าจะเอาไปใช้ในเรื่องของการเห็นแจ้งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อ้า, ทีนี้ก็สมมติว่าเราจะเริ่มการฝึก ในส่วนที่จะต้องตระเตรียมมีอะไรบ้าง ข้อแรกก็ต้องนึกถึงร่างกายที่ ที่ ที่ถูกต้อง ที่ปรกติ ร่างกายที่ปรกติ ไม่เจ็บป่วย ไม่มีอะไรที่ขัดข้องอยู่ นี้ก็เป็นร่าง ร่างกายที่จัดไว้พอเหมาะสม เช่นว่า เวลานั้นมันต้องไม่อึดอัด ต้องไม่ง่วงนอน ต้องไม่กินอาหารมาก ต้องไม่อะไรต่างๆ ที่ร่างกายจะไม่ปรกติ ทีนี้ก็ไปสู่ที่ที่มันเหมาะสม ถ้าว่าเป็นพระ เป็นเณรอยู่ในป่า มันก็ไปหาได้ง่ายที่เหมาะสมอยู่ในป่า ถ้าอยู่ที่บ้าน มันก็ต้องเลือกที่ที่พอเหมาะสมเท่าที่จะเลือกได้ ถ้าบ้านกว้างก็เลือกมุมบ้านที่สบาย มีต้นไม้ มีความเย็นพอ เดี๋ยวนี้ถ้าเป็นคนร่ำรวยเขาอาจจะใช้ในห้องปรับอากาศอะไรก็ได้ แต่ที่จริงมันก็ไม่ดีเท่ากับตามธรรมชาติ ให้นึกถึงตามธรรมชาติดีกว่า ถ้าบ้านเรามันหนวกหูนัก ก็อย่าไปสนใจมันสิ อย่าไปฟังมันสิ เมื่ออาตมาไปเที่ยวที่อินเดีย เอ่อ, ไปที่ชานกรุงเดลลี ที่ร้าง เอ้อ, ของพวกอิสลามเป็นทำนองโบราณสถาน คนไปเที่ยวกันว่อนเลย ยังมีคนไปนั่งฝึกเอ่อ, สมาธิ ทำสมาธิอยู่ตรงนั้นแหละ คนก็เดินเฉียดหลัง แกก็ไม่สนใจ ได้ยินเสียงหายใจ วี้ วี้ วี้ อยู่ตามหลังจนกว่าแกจะเสร็จของแก นี่ก็เพื่อแสดงว่ามันทำได้ ไม่ได้ทำ ทำไม่ได้ ถ้าเราตั้งใจจะทำจริงๆ ก็ทำได้ เลยขอเอ้อ, แนะเป็นเรื่องแถมพกไปอีกอย่างว่า เออ, เราหัดพิเศษอีกอันหนึ่งที่ซึ่งไม่เกี่ยวกับไอ้, ไอ้ตัวระบบภาวนานั้น ฝึกที่จะแก้ปัญหาในส่วนที่บ้านเรามันหนวกหู เรื่องนี้เคยทดลองมา แล้ว ก็เคยแนะให้คนบางคนลองทำดู เขาก็ว่าได้ ทำได้ ก็ได้ผล มันมีเคล็ดที่ว่า เราจะฟังเสียงที่เล็กกว่า คือเราตั้ง ตั้งบทเรียนขึ้นมาให้ตัวเราเองว่า เดี๋ยวนี้เราจะฟังให้ได้ยินแต่เสียงที่เล็กกว่า คือเสียงที่มันใหญ่ที่ดังที่สุด ที่ดังกว่านั้นเราจะไม่ฟัง นี้ต้องหัดอยู่ไม่กี่ครั้งมันก็จะทำได้ เช่นแมลงตัวนั้นร้องดังมากทางขวามือนี่ เราจะไม่ฟัง เราจะฟังตัวที่ดัง ดังน้อยกว่า ดังเบากว่า เช่นตัวนี้ เป็นต้น ฉะนั้นฟังตัวนี้ จนได้ยินตัวนั้น เราว่าถ้าตัวนี้ยังดังนัก ก็ฟังตัวอื่นที่เบากว่า ไล่มาอย่างนี้ อย่างนี้ เอ้อ,เรื่อยไป มันปรับปรุงของมันเอง มันจะไม่ได้ยินเสียงที่ดังกว่า มันได้ยินเสียงที่เล็กกว่า เล็กกว่า เพราะเราตั้งใจอยากจะฟังเสียงที่เล็กกว่าอยู่เรื่อย มันก็ไม่ได้ยินเสียงอึกทึกรบกวน หนวกหู เพราะได้ยินอยู่ข้างในเรื่อยเข้ามา เรื่อยเข้ามาจนว่าได้ยินเสียงหายใจ ได้ยิน เสียงหัวใจเต้น ที่มันดังเบาที่สุด ถ้าฝึกได้อย่างนี้ หรือเกือบๆ จะได้อย่างนี้ เอ่อ, ก็จะแก้ปัญหาว่าบ้านเรามันอึกทึกครึกโครมไปด้วยเสียงรถยนต์ เสียงคึกคักอะไรต่างๆ เราไม่ฟัง เราจะฟังแต่เสียงเล็กกว่าเรื่อย เล็กกว่าเรื่อย เล็กกว่าเรื่อย เดี๋ยวจิตมันเปลี่ยนมารวมอยู่ที่ตรงไอ้ที่เล็กกว่า ที่ข้างใน ที่ดังข้างใน ถ้าว่ามันเสียงรถยนต์ดังลั่นไปหมด ก็เอานาฬิกา ติ๊ก ติ๊ก มาวางข้างๆ เพื่อจะฟังแต่เสียงนาฬิกา ไม่ให้ได้ยินไอ้เสียงนั้นที่ครืดคราด โครมครามอยู่นั้น เราจะตั้งนาฬิกาให้ห่างออกไปก็ได้ เพื่อที่จะได้ยินเสียงนาฬิกาที่ดังน้อย หรือนาฬิกาข้อมือที่มันดังเอ้อ, เบากว่านาฬิกาปลุก นี้เรียกว่าทำกันเสียใหม่ หัดกันเสียใหม่เกี่ยวกับจิต เพื่อจะแก้ปัญหา เอ้อ, บาง บางเรื่องเฉพาะหน้า เรียกว่า ให้ฟังเสียงที่มันน้อยกว่าเรื่อยไป เราก็จะสามารถขจัดอุปสรรคเอ่อ, ต่างๆได้มาก แล้วเสียงถ้ามันเป็นระเบียบ มันก็ไม่ เอ้อ, ไม่ อุปสรรค ไม่เป็นอุปสรรคอะไรนัก อย่า อย่าไปคิด ยึดมั่น ถือมั่นว่าเสียงนี่รำคาญ แล้วก็ไม่ ทำไม่ได้ อย่าไปคิด อย่าไปคิดอย่างนั้น เสียงที่เป็นระเบียบ สม่ำเสมอ เช่นเสียงนาฬิกา เสียงคลื่น เสียงนี้ไม่ ไม่ ไม่เป็นข้าศึกอะไรนัก เสียงไม่เป็น ไม่เป็นระเบียบโครมคราม กระโชกกระชากนี้อาจจะรบกวนมาก ก็เป็นอันว่าเราหัดโดยวิธีนี้ ก็ฟังเสียงข้างในไว้เรื่อยแล้วกัน กระทั่ง ถ้าไม่มีอะไรจริงๆ ก็ ฟังเสียงที่หายใจ จะแก้ปัญหาได้ หายใจให้ดังจนได้ยินเสียงฟี้ ฟี้ เอ่อ, ขึ้นมาด้วย ไม่เพียงแต่กำหนดเฉยๆ ฟังเสียงมันด้วย มันจะแก้ปัญหาว่าเราจะหาที่สงบสงัดได้ที่ไหน ถ้าเราอยู่ที่บ้าน อย่างที่กรุงเทพ ถึงแม้จะอยู่ในป่าก็ลองคิดดูเอา เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะไปนั่งสมาธิที่โคนไม้ไหน ก็มีเสียงแมลงร้องอยู่หลายๆ ชนิด ก็ต้องแก้ปัญหาโดยวิธีเดียวกัน จนกระทั่งว่า ให้เรือบิน บินมาก็ไม่ได้ยิน หรือรถไฟผ่านมาก็ไม่ได้ยินเพราะจิตของเราจัด เอ่อ, รับการฝึกดีมากในส่วนนี้ ทีนี้เราก็หาที่สงัดพอสมควรได้แล้ว มีร่างกายเหมาะสมแล้ว เวลาก็มีแล้วก็ไปสู่ที่สงัด แล้วก็นั่ง โดยวิธีหรือโดยท่าทางที่มันจะมั่นคง เขาจึงเรียกว่า นั่งขัดสมาธิ ขัดสมาธิ เรียกว่าขัด-สะ-หมาด ที่มาจากคำว่า สมาธิ คำนี้แปลว่า มั่นคง นั่งให้มั่นคง เรานั่งพับเพียบก็ไม่มั่นคง นั่งยองๆ ยิ่งไม่มั่นคง นั่ง นั่ง นั่ง นั่งขัดสมาธิด้วยวิธีที่มั่นคง เอ้อ, สม สมดุลทุกทาง แล้วมันก็จะทรงตัวอยู่ได้ ไม่ล้มไม่เอียง ไม่อะไร แม้ว่าจิตจะสงบระงับ ลงไปเรื่อยๆ ถึงขนาดที่เรียกว่า .. (นาทีที่ 00:21:10) มันก็ไม่ล้มของมัน มันนั่งอยู่ได้ เอ่อ, ตลอดไป จึง จึงใช้คำว่า ต้องนั่งแบบนั้น นั่งแบบอื่นไม่มีผลดีอย่างนี้ ไม่ใช่คนบางคนว่า นั่งอย่างใดก็ได้ นั้นมันว่าเอาเอง ไม่เคยเห็นมีเลยในตำรับ ตำรา ในพระคัมภรี์นี้ ใน ในบาลีก็มีว่า นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบเป็นบัลลังก์ อัน อ่า,อัน อันแน่นแฟ้น คือ นั่งสมาธิ ที่ว่านั่งเก้าอี้ หรือว่าจะเป็นนอนเก้าอี้ เดี๋ยวก็หลับเลย แล้วไม่เป็นผลดีเท่ากับการนั่ง ที่เรียกว่า นั่งสมาธิ นี่ว่ากันโดยตัวหนังสือ ทฤษฎีไปก่อน นั่งให้ตัวมันตรง ให้มันบาลานซ์พอที่จะทรงตัวอยู่ได้ ให้สันหลังตรงเพื่อให้มีการหายใจดีที่สุด แล้วก็จึงเริ่มกำหนดลมหายใจ ทีนี้จะย่นย่อเอาแต่หัวข้อสั้นๆ ให้ผู้ฟังที่นี่เข้าใจง่ายๆ ด้วยเวลาที่มันมีจำกัด ก็ลองฟังให้ดี ฉะนั้นคุณจะไม่ได้นะ ไม่เห็นคุณจด อันแรกที่สุด ข้อหนึ่ง หรือบทที่หนึ่งจะเรียกว่า วิ่งตาม หนึ่งคือ วิ่งตาม มันก็พอจะเข้าใจได้ว่าวิ่งตามอะไร ก็วิ่งตามลม เพราะว่าเราเอ้อ, รู้สึกอยู่ว่าลมนี่ มันจะหายใจออก หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า เราสมมติว่ามันเหมือนกับอะไรอันหนึ่ง ที่มันวิ่งออก วิ่งเข้า วิ่งออก วิ่งเข้า ให้หลอดท่อที่ลมมันเดินนะเป็นทางเดิน ทีนี้ลมมันเข้าไปอย่างไร ลมมันออกมาอย่างไร เราก็จะกำหนดให้เป็นจุดข้างนอก จุดข้างในขึ้น จุดข้างนอกก็เอา ให้เอากันง่ายๆ ที่ตรงจะงอยจมูก ถ้าเราหายใจแรงๆ มันกระทบจะงอยจมูกที่ไหน ก็เอาจุดนั้น สมมติตรงนั้น คือ หายใจ หายใจลึกเข้าไป ลึกเข้าไปมันจะไปสุดของความสะเทือนที่ไหน มันก็สมมติเอาที่ตรงนั้น โดยมากก็ถือเอาที่สะดือ เป็นจุดข้างใน เป็นจุดที่สะดือ แล้วก็จะกลับออกมา โดยสมมติให้มันกำหนดให้มันง่ายเข้า ทีนี้ก็มีการหายใจตามปรกติก่อน เพื่อจะปรับการหายใจให้มันดีเสียก่อน เพื่อจะวิ่งตามได้สะดวก ถ้าจมูกมันไม่ดี อ้า, มันคัดจมูกก็ไปแก้ไขเสียก่อน ถ้าจมูกข้างหนึ่งไม่ดีเท่ากับอีกข้างหนึ่งก็ไปแก้ไขเสียก่อน ใช้วิธีใดวิธีหนึ่งให้มันหายใจสะดวกให้คล่องเพื่อมันจะไม่เกิดความรำคาญขึ้นมา พวกโยคีเขาใช้น้ำใส่ลงไปในใจกลางมือ แล้วก็สูดเข้าไปแล้วก็สั่งออกมาอย่างสั่งขี้มูกแรงๆ ส่วนนั้นมันก็จะโล่ง จะโล่งเหมือนกันทั้งสองๆๆ สองข้างจมูก อย่างนี้เป็นต้น นี่เป็นข้อปลีกย่อย เราต้องการการหายใจที่รู้สึกว่าคล่องดี และก็เป็นระเบียบดี และง่าย นั่นแหละที่หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้าอยู่นี่ก็เรียกว่า วิ่งตาม เหมือนกับว่า หายใจมาถึงนี้แล้วทีนี้ก็ออกหมดแล้ว จิตจะรู้สึกอยู่ออกหมดแล้ว พอกลับเข้าไปอีก ก็เริ่มกลับเข้าไปอีกก็เหมือนกับว่า ลูกอะไรลูกหนึ่งมันกลิ้งเข้าออก เข้าออกอยู่ที่ท่อ ทางเดินของลมหายใจ เข้าไป เข้าไป เข้าไป มันออกมา ออกมา ออกมาอย่าให้มีระยะว่างที่ไม่ได้กำหนด ข้อแรกต้องทำอย่างนี้ ขั้นแรกต้องทำอย่างนี้ มัน ที่มัน มันจะต้องฝึก ฝึกให้ได้ก่อน ถ้ามันเกิดว่างก็หมายความว่ามัน ตอนนั้นไม่ได้กำหนด จิตหนีไปคิดเรื่องอื่นไปที่อื่น ถ้าฝึกได้ก็หมายความว่าจิตจะอยู่กับลมหายใจ เข้าไปสุดแล้วออกมาสุด แล้วเข้าไปสุด แล้วออกมาสุด มีลักษณะเหมือนกับวิ่งตาม นี่อันแรก อา, ที่จะต้องทำให้ได้ ก็แล้วแต่บุคคลที่มันเป็นคนเอ่อ, มี มีพื้นเพของจิต ของระบบประสาท ของอะไรต่างๆ ดีหรือไม่ดี บางคนก็ทำได้ในระยะเวลาอันสั้น บางคนก็ต้องนานหน่อย ไม่แน่ว่าจะกี่ชั่วโมง หรือกี่นาทีที่จะทำได้ หรือว่ากี่วันจนจะทำได้ นี่เรียกว่า วิ่งตาม พยายามให้มันมีจุดข้างในที่สะดือเกิดขึ้นชัดเจน โดย โดย โดยการสมมติ โดยความรู้สึก จุดข้างนอกโดยชัดเจนที่จงอยจมูก คนไทยเป็นคนที่จมูกปรกติอย่างนี้ก็ว่า ที่จงอยจมูกด้านใน ใช้ได้ เว้นแต่เขาจะเป็นคนพันธุ์ เผ่าพันธุ์อื่น ซึ่งจมูกมันเชิดหรืออะไรก็ค่อยว่ากันไปอีกเรื่องหนึ่ง มันอาจจะมาอยู่บนริมฝีปากบนก็ได้ พวก อย่างนิโกรที่จมูกเชิด ก็เป็นว่าเขาต้องหาได้จุดหนึ่งละที่จะจุดข้างนอก จุดข้างในก็เอาเป็นที่สะดือ พอจุดกันที่สะดือ จะหายใจสั้นหรือจะหายใจยาว เราก็วิ่งตามได้ทั้งนั้นแหละ บางเวลา บางครั้งเราหายใจสั้น บางครั้งเราหายใจยาว ก็ทำให้ ยาว มันก็ยาว สั้นก็สั้น ก็วิ่งตามอยู่อย่างนี้ มันก็รู้ ทีนี้หายใจสั้นไปหน่อย ทีนี้หายใจยาวหน่อย จนมันได้ผลตามที่เราต้องการ ตัวจิตไม่เคยหนีไปแม้แต่แว่บเดียว มีลักษณะเหมือนกับผูกติดกันอยู่ เอาสัตว์ป่ามาผูกเข้ากับหลักด้วยเชือก เมื่อเชือกมันไม่ขาด สัตว์นั้นมันก็ติดอยู่กับหลัก ไปด้วยกันหมุนไปไหน จะหมุนไปทางไหน ก็หมุนอยู่ที่หลัก นี่เรียกว่า ขั้นวิ่งตาม หายใจยาวก็รู้ว่ายาว หายใจสั้นก็รู้ว่าสั้น เพราะมันวิ่งตามอยู่ตลอดเวลา ทีนี้ก็พยายามให้มันยาวขึ้น จนรู้ว่ายาว มันยาวได้เท่านี้ ถ้าเมื่อสั้น มันสั้นได้เท่านี้ เมื่อเราหายใจสั้น หายใจยาวต่างกันอย่างไร นี้เป็นความรู้พิเศษ รู้ๆ ไว้ด้วย แต่ในชั้นแรกยังไม่รู้ก็ได้ รู้ทีหลังก็ได้ เอาแต่เป็นว่า วิ่งตามก็แล้วกัน หายใจยาวก็ได้ หายใจสั้นก็ได้ หรือยาวตลอดทั้งหมดก็ได้ เรียกว่าเราทำบทเรียนขั้นที่หนึ่งได้ ในขั้นวิ่งตาม ทีนี้บทเรียนที่สอง เอ่อ, เรียกว่า เฝ้าดูอยู่ที่จุดๆ หนึ่ง มันก็ต่างกัน ไม่ได้วิ่งตาม เพราะว่าวิ่งตามทำได้ดีแน่ เป็นอันว่าไม่หนีแน่ ทีนี้เฝ้าดูอยู่ที่จุดๆ หนึ่ง จุดที่เหมาะที่สุดที่จะแนะนำให้ คือ จมูก ที่จงอยจมูก ที่ว่ามันหายใจออก มันจะรู้สึกตรงนั้น สูดหายใจเข้าจะรู้สึกว่ามันตั้งต้นอยู่ตรงนั้น ทำความรู้สึกว่าตรงนั้นมันเป็นจุดๆ หนึ่ง ที่มันจะต้องกระทบทั้งเข้าและทั้งออก ในบทเรียนที่สองที่ว่า ไม่ เฝ้าดูอยู่ที่จุดๆ หนึ่ง คือไม่วิ่งตาม มันจะเข้าก็เข้า ไม่สนใจ คอยเฝ้านิ่งๆ ไอ้ตรงที่ไอ้ จงอยจมูก สมมติว่าเป็นประตู แล้วมันกลับออกมาอีก มันก็ผ่านที่ตรงนั้น เราจะกำหนดเองว่ามันผ่านที่ตรงนั้น ทั้งเมื่อเข้าก็ตาม เมื่อออกก็ตาม เมื่อออกมามันก็ผ่านที่ตรงนั้น ก็จะหมดไป มันจะเข้า มันก็ผ่านที่ตรงนั้นมันก็จะหมดไป จิต อ้า,หรือสติจะไม่วิ่งตามละ จะเฝ้าดูอยู่ที่ตรงนั้นอย่างแน่วแน่ แน่วแน่ แน่วแน่ให้ละเอียด ให้ละออ ละเอียดละออยิ่งขึ้น มันก็ชัดมากขึ้น ก็ชัดมากขึ้น ถ้าเราทำบทที่หนึ่งไม่ได้ บทที่สองนี้ก็จะทำไม่ได้ เพราะมันมีช่องว่างให้วิ่งหนีมากนัก คล้ายๆว่าผ่อนสายเชือกมันยาวแล้วกัน เพราะเราเฝ้าอยู่แต่ที่จมูก สติมันอยู่แต่ที่นั่น แล้วมันเกิดมี ผ่านเข้าไปแล้วมันมีเวลาที่จะวิ่ง จิตวิ่งไปที่อื่น หรืออกไปสุดแล้วก่อนจะกลับเข้ามา มันมีเวลาจะวิ่งไปที่อื่นได้ง่าย ง่ายขึ้น แต่ถ้าเราทำบทที่หนึ่งมาดีแล้ว บทที่สองก็ทำได้ คือเฝ้าดูอยู่อย่างนั้น ลมหายใจหยาบ หรือลมหายใจละเอียด ลมหายใจยาว หรือลมหายใจสั้น มันก็ยังแสดงอาการให้รู้อยู่ได้ ทีนี้สมมติว่าทำได้ เฝ้าดู บทที่สามก็เรียกว่า สร้างมโนภาพขึ้นที่จุดนั้น จุดที่เฝ้าดู ตอนนี้มันเป็นลมจริงๆ ไปกระทบกับที่นั่น เข้าออก เข้าออก อย่างนี้เรียกว่า จะทำให้ละเอียด ประณีต ลึกซึ้งขึ้นไปไม่ ไม่ ไม่มีความรู้สึกว่าลมจริงๆ สมมติเป็นมโนภาพว่าเกิดที่จุดนั้น เป็นมโนภาพ ฟังให้ดีๆ มโนภาพ คือภาพที่เห็นด้วยมโนคติ เป็น เอ้อ, imagine เป็น imagination vision อะไรขึ้นมาอันหนึ่ง กริยาอาการนี้ มัน มันบังคับ หรือแกล้งทำให้เห็น จะเป็น visualization เรา เรา สร้างมโนภาพให้เห็นอยู่ในตาใน ว่าที่ตรงนั้นนะที่เป็นจุดที่มันกระทบเข้าออก เข้าออก เกิดภาพอะไรขึ้นมา อย่างว่า สมมติว่าเป็นภาพดวงขาวๆ ใสเหมือนดวงแก้ว ถ้ามันทำให้เกิดขึ้นมาได้โดยง่ายก็เอานั่นเลย ทีนี้ก็เลยการกำหนด สงบ รำงับ ละเอียด ประณีต สุขุม ยิ่งๆ ขึ้นไป ถ้าว่าจิตมันยอมสงบมากกว่าเดิมมาก มันจึงจะรักษาภาพที่เห็นนั้นไว้ได้ บางคนอาจจะเห็นภาพอย่างอื่น เอ่อ, เป็นดวงเขียว ดวงเหลือง ดวงแดง หรือบางคนอาจจะเห็นเป็นเหมือนกับว่าก้อนเมฆ เอ้อ, ปุยนุ่นอะไรอยู่ที่นั่น ในคัมภีร์เขาก็ให้ตัวอย่างเอาไว้มากเหมือนกัน บางคนเห็นเหมือนว่าเพชร หรือว่าหยดน้ำค้างกลางแสงแดด วาวๆ อยู่ตรงนั้น อย่างนี้ก็แปลว่าลืมอื่นหมดล่ะ ลืมลืม ลืมหมดทั้งโลกเลย จิตเอ้อ, เหลืออยู่แต่การเห็นที่นั่น ให้มันอยู่ที่นั่น นี่คือเอ่อ, สร้างมโนภาพขึ้นมา ทีนี้การหายใจก็ยังคงหายใจอยู่ คนนั้นก็ยังรู้สึกว่า ตัวยังมีการหายใจอยู่ พร้อมกับเห็นภาพนั้นชัดเจนอยู่ นี่มัน มันละเอียดขึ้นมา คือมันยากขึ้นมา บางคนไม่เคยทำอาจจะคิดว่า ถ้าเห็นภาพนั้นอยู่แล้วจะไปรู้ว่ามีการหายใจอยู่ได้อย่างไร นี่ยืนยันได้เลยว่า เรามีความรู้สึกได้สองอย่างหรือสามอย่าง หรือมากกว่าสามอย่าง พร้อมกันไปได้ถ้าเราทำ ทำจิตเป็น ตั้งจิตเป็น การเห็นมโนภาพนั้น ก็เห็นอยู่ ความรู้สึกว่าหายใจออก หรือหายใจเข้าก็อยู่ มัน มันจะต้องถ่วงกันไว้ พอดี มิเช่นนั้นมันจะเกินไป ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง คำว่าหายใจออกอยู่ หายใจเข้าอยู่นี่ จะต้องมีอยู่ทุกขั้น ตั้งสิบหกขั้น จนไปเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ความรู้สึกว่าหายใจออกอยู่ หายใจเข้าอยู่ จะต้องมีอยู่เสมอ คือต้องรู้สึกได้เสมอ ถ้าไม่ ถ้าไม่ได้ ต้องทำให้ได้ ให้รู้สึกว่าเรามีการหายใจออกอยู่ และหายใจเข้าอยู่ ให้มีวิธีเห็น นั้นก็เห็นอยู่ นี่ตอนนี้ มันหัดทีแรก ทีแรกก็หายใจออกอยู่ หายใจเข้าอยู่คือวิ่งตาม ขั้นที่หนึ่ง มันวิ่งตาม ทำให้ ชำนาญมากมันจะเป็นอัตโนมัติ หรือว่าเป็น subconscious ก็ได้ มันจะรู้ไปเอง ออก เข้าอยู่ ออกอยู่ รู้ได้โดยอัตโนมัติ ทีนี้พอมาถึงเฝ้าดู (นาทีที่ 00:53 :41) มันก็ยังรู้ในการหายใจออก หายใจเข้าอยู่ รู้สึกว่าหายใจออกอยู่ หายใจเข้าอยู่ มาในบทที่สามเห็นไอ้จุดมโนภาพนั้นอยู่ที่นั่น ชัดเจนอยู่ใน ในลูกตาข้างใน มโนภาพนั้นก็ยังรู้ว่าหายใจออกอยู่ หายใจเข้าอยู่ หายใจออกอยู่ หายใจเข้าอยู่ ทีนี้บทเรียนที่สี่ มันก็จะยากขึ้นไป เรียกว่าไอ้มโนภาพที่เห็นนั้นจะถูกบังคับ ถูกน้อมนำไปให้เปลี่ยนรูปเปลี่ยนร่าง เปลี่ยนสี เปลี่ยนอิริยาบทตาม ตามใจเราทุกอย่าง นี่คือเราชนะ ชนะจิต ขั้นที่สี่นี้เรียกว่า เปลี่ยน เปลี่ยนแปลงมโนภาพนั้น ตามความประสงค์ ขั้นที่สาม บทเรียนที่สาม สร้างมโนภาพขึ้นมา แต่มันนิ่ง มันอยู่นิ่ง ทีนี้พอบทที่สี่ ก็ทำให้เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง ตามความประสงค์ น้อมจิตไปอย่างไร ให้นิมิตนั้นที่เห็นกับตาเปลี่ยนไปตามนั้น เห็น สมมติว่าเห็นจุดขาว เหมือนกับปุยฝ้าย หรือเหมือนกับน้ำค้างกลางแสงแดดอะไรก็ตาม แล้วแต่จะทำได้ ทีนี้ให้มันเปลี่ยนสี ก็ได้ตามต้องการ ให้มันเปลี่ยนขนาดใหญ่เล็กได้ตามต้องการ ให้มันเคลื่อนไปได้ตามต้องการ ให้มันเห็นกลับมาตามต้องการ หรือว่าแล้วแต่เราจะน้อมจิตไปอย่างไร ให้ภาพนั้นมันเป็นอย่างนั้น พอมาถึงตอนนี้ก็อย่าไปเข้าใจผิดว่านี่เป็นเรื่องจริง นี่เป็นของจริง นี่วิเศษ วิโส มันเป็นแต่เพียงว่า เดี๋ยวนี้เราบังคับจิตได้มากถึงขนาดนี้ ถ้าเราบังคับจิตได้มากถึงขนาดนี้แล้ว ให้มันเห็นอะไรก็ได้ หรือให้มันเห็นเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ได้ สิ่งนั้นไม่ต้องเป็นของจริง แล้วเราก็อย่าเพ่อไปหลงไอ้สิ่งนั้น ว่าเป็นดีวิเศษ หรือว่าใช้ในทางฝึกอิทธิปาฏิหารย์ อย่าเพ่อ อย่าเอามาปนกันเข้า เดี๋ยวจะล้มละลายหมด นี้จะเป็นเพียงพิสูจน์ทดลองว่า การบังคับจิตได้อย่างใจแล้ว แล้วมันคงจะยากที่ว่า บังคับให้นิมิตนั้นมันเป็นไป เปลี่ยนแปลงอย่างไร การรู้สึกว่าหายใจออกอยู่ หายใจเข้าอยู่ เดี๋ยวนี้ก็ยังมีอยู่ มันก็ยากขึ้นเหมือนกัน ถ้าถึงขนาดนี้แล้วก็เรียกว่า การบังคับจิตนั่น อยู่ในกำมือ ที่จะเป็นความสำเร็จ (นาทีที่ 00:38:38) เหลือต่อไปนี้ก็จะบังคับความรู้สึกให้เกิดขึ้น จากการที่ประสบความสำเร็จอันนี้ เดี๋ยวนี้ก็ อ้า, ขั้น ขั้นต่อไปนี้ ก็จะเรียกว่า ขั้นที่ห้า ทำองค์ฌานให้เกิดขึ้น นี่ถ้าคุณไม่จด คุณต้องจำให้ได้นะ มิฉะนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร ขั้นที่หนึ่ง วิ่งตาม ขั้นที่สอง เฝ้าดูที่จุดหนึ่ง ขั้นที่สาม สร้างมโนภาพขึ้นมาที่จุดนั้น ขั้นที่สี่ เปลี่ยนแปลงมโนภาพั้นได้ตามชอบใจ พอมาถึงขั้นที่ห้า สร้างความรู้สึกที่เป็นองค์ฌานให้เกิดขึ้น นี่หมายความว่า รักษาไอ้มโนภาพนั้นไว้ในสภาพที่รักษาได้ง่าย แล้วก็อยู่นิ่งๆ ไม่ต้องเคลื่อนไหว หายใจออกอยู่ ก็ต้องอยู่เสมอ ต้องรู้สึกอยู่เสมอว่าหายใจออกอยู่ หายใจเข้าอยู่ และการเห็นมโนภาพนั้นก็เห็นอยู่ นี่ก็ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น เป็นความรู้สึกที่ชัดว่า อ้าว, เดี๋ยวนี้ก็ เรามีการกำหนดอยู่ที่ จิตกำหนดอยู่ที่อารมณ์นั้น อารมณ์ที่เห็นไปตาม นั่นมันก็หลัก ว่าเอาเป็นหลัก จิตกำหนดอยู่ที่อารมณ์นั้นอย่างแน่วแน่ อย่าง อย่างสำเร็จ กำหนดได้สำเร็จเรียกว่า องค์ฌานอันหนึ่ง ที่เรียกว่าวิตก กำหนดอารมณ์นั้นอยู่ได้ รู้สึกว่าจิต เอ่อ,ซึมซาบดีต่ออารมณ์นั้น เขาเรียกว่าวิจาร องค์ที่สองเรียกว่า วิจาร องค์ที่หนึ่งเรียกว่า วิตก กำหนดอยู่ วิจาร คือ ซึมซาบอยู่ องค์ที่สามเรียกว่า ปีติ รู้สึกพอใจอยู่ ความรู้สึกพอใจเกิดขึ้น เป็นความรู้สึก ก็เรียกว่าปีติ ตอนนี้จะขลุกขลักบ้าง ถ้าว่าไปเกิดพอใจ เกิดความพอใจมากจนตื่นเต้น และอื่นๆ อาจจะหายไปพักหนึ่ง ต้องตั้งต้นกันใหม่ก็ได้ ถ้าเกิดความพอใจ เอ่อ, รู้ตัวว่าพอใจ เมื่อ อ้า, พอใจซาบซ่านไปทั้งตัว นี้ก็อย่าไปเผลอมากไปจนว่าอย่างอื่นล้มละลายหมด ไอ้เรื่องของปีติ นี่เขาเขียนไว้มาก ซู่ซ่าโลดโผนเอ้อ, จนทำให้ล้มละลายไปหมดต้องตั้งต้นกันใหม่ นี้ ก็มีอยู่มาก แต่เรารู้แล้วก็ไม่เป็นไร เพียงแต่มันห่วงความรู้สึกว่าเรารู้สึกปีติ พอใจในความสำเร็จ ซาบซ่านอยู่ ทีนี้องค์ที่สี่ก็เรียกว่า ความสุข รู้สึกสบาย พอใจกับสบายมันไม่เหมือนกัน พอใจเป็นความรู้สึกเกิดขึ้น เพราะรู้สึกว่ามันสำเร็จ นี่คือปีติ พอใจ มันรู้สึกสบายเหลือเกิน อันที่ องค์ที่ห้าเขาเรียกว่า อุเบกขา เอ้ย, เอกัคคตาความที่จิตมีอารมณ์อยู่ สุดยอดอยู่ที่นี่ สูงสุดอยู่ที่นี่ สุดยอดอยู่ที่นี่ เอกัคคตา เรารู้สึกอยู่เหมือนกันว่าจิตสุดยอดอยู่ที่นี่นี่ก็เลยเป็นห้าแล้ว วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ถ้าความรู้สึกทั้งห้านี้มันปรากฏอยู่แก่จิต นิมิตนั้นก็เห็นอยู่ หายใจออกเข้าก็รู้อยู่ นี่คือความสำเร็จขั้นที่เขาเรียกว่า ปฐมฌาน ฌานทีแรกที่มนุษย์จะบรรลุถึงได้ อันนี้ก็ต้องเรียกว่า รูปฌาน นะ เพราะว่าเราเอาไอ้สิ่งที่เห็นด้วยตานั้นเป็นหลัก หรือว่าเอารูปธรรมเป็นหลัก เช่น ลมหายใจนี้ก็เป็นรูปธรรม หรือ นิมิตที่เห็น เอ้อ, มโนภาพนั้นก็เป็นรูปธรรม ก็เลยเรียกว่า รูปฌาน อยู่ในพวกรูปฌาน ทฤษฎี เอ่อ, ทฤษฎีมันเป็นอย่างนี้ มาอย่างนี้ จะมากไปหรือจะน้อยไปก็ ไปนั่นเอาเอง เดี๋ยวนี้บอกให้ทราบแนว คือ ทิฏฐิ เอ้อ, ที่มันจะต้องเป็นไป จะต้องเป็นอย่างนี้ นี่ถ้าว่าต่อไปอีกมันก็เป็นเรื่องฌานที่สอง ฌานที่สาม ฌานที่สี่ ถ้าสนใจจะฝึกให้ละเอียดถี่ถ้วนจริงๆ มันก็ฝึกไปได้ ฌานที่สอง ก็คือว่า ระงับ สงบยิ่งไปกว่านั้น ก็ปลดไอ้ความรู้สึกที่เรียกว่า วิตก วิจารออกไปเสีย เหลือแต่ ปีติ กับสุข เอกัคคตา เดี๋ยวนี้ก็ยังอยากนัก เอา เอา เอาให้ลดลงไปอีก เอาปีติออกไปเสีย มันก็เหลือ สุข กับเอกัคคตา พอถึงอันที่สี่ ก็ให้เปลี่ยนสุข สุขให้มันเป็นกลางๆ เป็นอุเบกขาเสีย ก็เหลือแต่ อุเบกขากับ เอกัคคตา นี่จะสงบ รำงับถึงที่สุด ของไอ้ ประเภทรูปฌาน ไม่มีอะไรสูงไปกว่านี้ นี้รูปฌานอันนี้ ชนิดนี้ ในขั้นที่สี่นี้เคยเข้าใจผิดว่าเป็นนิพพาน เป็นความสำเร็จสูงสุด เป็นพระอรหันต์กัน มาก่อนพุทธกาลโน้น เพราะมันเข้าถึงความสงบ รำงับ สบายที่สุด แปลกประหลาดที่สุด มนุษย์ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็หลงกันไปพักหนึ่ง ถ้ามาถึงขั้นนี้ก็ต้องหมายความว่า ไอ้การบังคับจิตนั้นเป็นไปได้ สูงสุดหรือพอแล้ว สำหรับผู้ที่จะฝึกในทางทำลายกิเลสให้หมดไป เว้นไว้แต่เขามุ่งหมายอย่างอื่น หรือว่าเพียงแต่จะทำกิเลสให้หมดไป ไม่ต้องมาให้ถึงขั้นที่สี่นี่ก็ได้ ถึงขั้นที่หนึ่งก็ยังพอ หรือว่าถ้าทำไม่สำเร็จแม้แต่ขั้นที่หนึ่ง ก็เอาพอว่ามัน มันก็ผิดได้ตามสมควรในชั้นที่ว่า วิ่งตาม หรือเฝ้าดู หรือว่าหยุดดู สร้างมโนภาพขึ้นมาได้นี้ก็พอเหมือนกัน เพราะบางคนมันไม่อาจจะทำได้ ไปจนถึง ไกลไปกว่านั้น แม้แต่เพียงว่าเรา ฝึกในขั้นวิ่งตามได้สำเร็จ นี้ ก็เรียกว่าเดี๋ยวนี้เราสามารถควบคุมจิตของเราได้มากกว่าธรรมดาอยู่แล้ว อาจจะเอาไป เอ่อ, ใช้เพื่อพิจารณาธรรมที่เห็นแจ้งนั้นก็ได้เหมือนกัน ฆราวาสก็อาจจะเป็นอย่างนั้นมากกว่า ถ้าเป็นไอ้พวกนักบวช พวกอิสระ อยู่ในป่าในดงมันก็ทำได้มาก โอกาสมันก็มีมากก็ทำได้มาก จะไปถึง จตุตฌาน ได้ ถ้าต้องการจะให้หมดกิเลส แค่จตุตฌานแล้วก็ รีบมุ่งไปทางที่จะพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เถิด แต่ก่อนนี้ เอ่อ,เรียกว่า เพราะไม่รู้เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็จะหาแต่ความสงบให้ยิ่งขึ้นไปอีก มันก็เลยเปลี่ยนเป็น อรูปฌาน เมื่อได้ จตุตฌานในฝ่ายรูปฌานแล้ว ก็เปลี่ยนเป็นฝ่ายอรูปฌาน ซึ่งมีอยู่อีกสี่ชั้นอีกเหมือนกัน นั่นนะก็ได้ค้นพบกันแล้วก่อนพระพุทธเจ้าเกิด ก็ว่าเป็นนิพพานอีกเหมือนกัน ในพวกหนึ่ง หรือในยุคหนึ่ง นี่เราก็ไม่ต้อง ไม่ต้องศึกษาก็ได้ แต่อาจจะพูดสรุปความได้เลยว่า เอาสิ่งที่ไม่มีรูปมาพิจารณา เอามากำหนดเป็นอารมณ์ จิตก็ มันก็ละเอียด สงบ รำงับยิ่งกว่าเดิม ถ้าเราเอาสิ่งที่มีรูปมาเป็นอารมณ์ มันก็สงบตามแบบของสิ่งที่มีรูปเป็นอารมณ์ สงบที่สุดก็ได้เพียงชนิดเดียวคือ มีรูปเป็นอารมณ์ แต่พอเอาไอ้ สิ่งที่ไม่มีรูปมาเป็นอารมณ์ ถ้ามันสงบถึงขนาดของมันแล้วมันก็ละเอียดกว่า กว่าที่มีรูปเป็นอารมณ์ ก็เลยเรียกว่า อรูปฌาน มีชั้นหนึ่ง ชั้นสอง ชั้นสาม ชั้นสี่ ด้วยเหมือนกัน นั่นเป็นขั้นสูงสุดในฝ่ายสมาธิ เลยหลงเป็นนิพพาน ต่อมาพระพุทธเจ้าท่านไม่ต้องการอันนั้น ท่านต้องการว่าพอมันเป็นสมาธิ พอสมควรที่จะพิจารณาธรรม ได้แล้วก็มาพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามลำดับ ก็เกิดความรู้สึกที่เบื่อหน่ายคลายกำหนัด ไม่ยึดมั่น ถือมั่น เกิดความหลุดพ้นของจิตจากสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เคยยึดมั่น ถือมั่น นี่เรียกว่า บรรลุมรรคผลนิพพานส่วนนี้ ฝึกจิตเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานก็มาทางนี้ ส่วนที่เขาทำกันได้มาแต่โบรง โบราณ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ นั้นก็ไม่ผิดอะไร เอาไว้เป็นเครื่องพักผ่อน หย่อนใจ แม้เป็นพระอรหันต์แล้ว แล้วก็อยากจะพักผ่อนหย่อนใจที่สุด ก็ทำไอ้, การเข้าไปอยู่ รูปฌาน หรืออรูปฌานนั้น เรียกว่าเข้าสมาบัติ มันสบาย ฆ่าเวลา ฆ่าเวลาไปตามสบายที่สุด ระงับที่สุด ประณีตที่สุด แต่นี่ไม่ใช่ตัวธรรมะ ไม่ใช่ตัวพุทธศาสนา ผู้ที่บรรลุ หมดกิเลสแล้วอาจจะพักผ่อนอยู่ใน สิ่งชนิดนั้นได้ ถ้าต้องการพักผ่อนอย่างแท้จริง อย่างนั้นเขาเรียกว่า สมาบัติ เข้าไปหยุดอยู่ในฌานใดฌานหนึ่งตามที่ตัวประสงค์เป็นเวลานาน นิ่งเงียบอยู่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทีนี้เราย้อนมาถึงเรื่องของเราดีกว่าว่า เข้าไปสู่ที่สงัดแล้วนั่ง แล้วกำหนดลมหายใจอยู่ เรียกว่า วิ่งตาม บทเรียนที่หนึ่ง บทเรียนที่สอง เฝ้าดูอยู่ที่จุดหนึ่ง บทเรียนที่สาม สร้างมโนคติ เอ่อ, ภาพขึ้นมาที่นั่น ทำได้เพียงเท่านี้ก็เรียกว่าบังคับจิตได้พอสมควร นี้ถ้ายังจะทำได้ถึงว่าเปลี่ยนมโนภาพได้ด้วย ทำองค์ฌานเกิดขึ้นได้ด้วยเป็นชุดแรกก็ยังดี คือ ปฐมฌานเท่านั้น อย่างนี้ก็เรียกว่า อานาปานสติ เป็นไปได้สี่ขั้น รู้ลมหายใจยาว รู้ลมหายใจสั้น รู้ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับลมหายใจ แล้วก็ทำลมหายใจให้สงบ รำงับ ด้วยอำนาจของฌานนั้น ทีนี้เพราะว่าเรา ไม่ชอบมากเรื่องก็ใช้จิตชนิดนี้ ที่ฝึกดีแล้วอย่างนี้ พิจารณาความไม่เที่ยงก็ได้ นี่เราจะข้ามทั้งสองหมวด ทั้งหมวดเวทนา หมวดจิตตา จะข้ามหมวดละสี่ชั้นที่จะข้าม เราไม่มีเวลามากพอที่จะไปทำกันมากมายทุกขั้น ก็ข้ามไปไอ้หมวดสุดท้ายนี่เรียกว่า ธรรมา พิจารณาอนิจจัง อนิจจังของอะไร เราก็เริ่มตั้งต้นใหม่ เอ่อ, เริ่มตั้งต้นใหม่ คือหาย หาย หายใจเข้าออก หายใจเข้าออก ก็เห็นอนิจจังของลมหายใจ ทำไว้ตลอดเวลา ให้เห็นในแง่ที่ว่ามันเป็นอนิจจัง จิตที่วิ่งตามลมอยู่ก็เห็นว่าจิตนั้นมันก็เป็นอนิจจัง ตั้งว่าอะไรมันเกิดขึ้นในขั้นที่วิ่งตาม ในขั้นเฝ้าดูให้เห็นอนิจจัง พยายามให้เห็นอนิจจัง อย่างว่ามโนภาพเกิดขึ้น สร้างขึ้นมาเดี๋ยวนี้ก็ มันก็เห็นอนิจจัง เมื่อตะกี้นี้มันไม่มี เดี๋ยวนี้มันทำให้มีขึ้นมา เป็นการทำอย่างนั้น อย่างนี อย่างนั้นมั้นก็ล้วนเป็นอนิจจังเปลี่ยนมา เปลี่ยนมา จนกระทั่งทุกภาพ ทุกมโนภาพที่เห็นก็เป็นอนิจจัง หายใจเข้าออกอยู่ก็เป็นอนิจจัง กระทั่งว่าไอ้วิตกเกิดขึ้นก็เป็นอนิจจัง วิจารเกิดขึ้นก็เป็นอนิจจัง ปีติ หรือความสุขเกิดขึ้น นี่ก็ยิ่งอนิจจัง นี่ก็เป็นเวทนา พิจารณาเวทนาอยู่ในตัวในฐานะเป็นอนิจจัง แต่ไม่มุ่งหมายที่จะพิจารณาเวทนา เพียงแต่ว่าให้มันโผล่มา จะเห็นอนิจจังในสิ่งนั้น ความสุขเหลือประมาณในขณะนี้เกิดขึ้นแล้วก็เห็นเป็นอนิจจัง จนมันเห็นเป็นอนิจจังได้กว้างขวาง นึกแล้วก็อย่าลืมว่าเมื่อเห็น รู้สึกว่าเห็นเป็นอนิจจังอยู่อย่างนี้ก็ยังกำหนดการหายใจออกเข้าอยู่ รู้สึกว่าเราหายใจออกหายใจเข้าอยู่เสมอ เดี๋ยวจะเป็นอนิจจังจนไม่ เอ้อ, ไม่มีความรู้สึกเรื่องลมหายใจออกเข้าจะผิดหลักอานาปนสติ อาจจะผิดมากต่อไปอีกจนเสียหมดก็ได้ คือจะเลอะ จะเลือน จะลืม สติจะฟั่นเฟือนไปเลยก็ได้ แต่ถ้ายังมีการกำหนดออกเข้า ออกเข้าอยู่เป็นการรับประกันได้ว่า ไม่มีฟั่นเฟือน ทีนี้มันก็ซึมซาบอยู่แต่เรื่องเห็นอนิจจัง จะน้อมจิตไปทางไหนก็อนิจจังได้ ได้ทั้งนั้น เพราะว่าเรามีเรื่องของเราก็เพียงเรื่องสุข เรื่องทุกข์ ความทุกข์ก็อนิจจัง ความสุขก็อนิจจัง เห็นอนิจจังได้ด้วยจิตที่มันเป็นสมาธิ เพราะการพิจารณาก็ทำให้เห็นได้ เพราะจิตที่เป็นสมาธิแล้วมันแรงมาก มันเห็นของมันได้ ตามธรรมชาติได้ เพราะมันมีกำลังมาก ก็เลยหายใจออกเข้าอยู่ด้วยการเห็นอนิจจัง ทีนี้เห็นอนิจจังนะ เป็นไปหนักขึ้น หนักขึ้นๆ จนเขาเรียกว่า เปลี่ยนความรู้สึก เกิดเป็นความรู้สึกจางหรือคลาย จากที่เราเคยหมายมั่นปั้นมือในเรื่องของสวยของงาม ของสุข ของอะไรก็ตาม เขาเรียกว่า วิราคะ คือคลาย คลายความยึดมั่นถือมั่น ไอ้ที่เราเคยยึดมั่นถือมั่นด้วยวาจาอะไรต่างๆ มาแต่เดิม มันจะเริ่มคลายออกที่ตรงนี้ ที่ขั้นนี้ เราจะเห็นความคลายออก จิตคลายออก จากที่เราเคยยึดมั่น ถือมั่น มั่นหมายอะไรก็ ก็สุดแท้ เราจะยกเอาไอ้เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เราเคยมั่นหมายขึ้นมาพิจารณาก็ได้ เห็นความ จิต เห็นความที่จิตคลายความยึดมั่นถือมั่นอยู่ตลอดเวลา ขั้นหนึ่ง ต่อไปอีกขั้นหนึ่งก็เรียกว่า มันหยุด มัน มันหยุดที่จะวุ่นวาย หรือที่จะเป็นทุกข์ หรือที่จะปรุงแต่งเป็นกิเลส เป็นอะไร มันหยุด เรียกว่า นิโรธ นิโรธะ เห็นความหยุดของไอ้การ เอ้อ, ของการเกิดกิเลส การปรุงแต่งอะไรต่างๆ คือหยุด เอ่อ, ความทุกข์ ดับของความทุกข์ มันเห็นด้วยปัญญาไป ไปทุกขั้น ไอ้กลุ่มชุดแรกนั้นเป็นเรื่องสมาธิ มันไม่ใช่ปัญญา เห็นตามที่มันปรากฏให้เห็น เอ่อ, เดี๋ยวนี้มันพิจารณาเห็น พิจารณาเห็น พิจารณาเห็น เห็นมากขึ้นไปอีก อันสุดท้ายก็เรียกว่า ปฏินิสสัคคะ รู้ว่าเดี๋ยวนี้เป็นอิสระ สิ่งต่างๆ ที่เคยยึดมั่นถือมั่นออกไปหมดแล้ว มันก็สลัดคืนออกไปหมดแล้ว เราไปยึดมั่นถือมั่นเอามาไว้อ่า, อยู่กับเรา มันเป็นความโง่ของเรา แต่เดี๋ยวนี้มันเกิดฉลาดแล้ว มันโดนสลัดคืนออกไปแล้ว รู้ว่าเรา เราดับทุกข์แล้ว ก็ยังรู้ว่าเราคืนไอ้ความยึดมั่นถือมั่นไปด้วย เรื่องมันก็จบเท่านี้ เรียกว่าฝึกจิต เมื่อเห็นอนิจจัง มันก็เตรียมพร้อมที่จะเบื่อหน่ายคลายกำหนัด เบื่อหน่ายคลายกำหนัดนี่มันเป็นเรื่องของมรรค ของอริยมรรค ที่จะตัดความยึดมั่นถือมั่นให้มันคลายออก พอมาถึงนิโรธ นี่คือผลของมัน ดับลงไปทั้งกิเลส ทั้งความทุกข์ เราก็รู้ว่าดับกิเลสและความทุกข์แล้ว และก็รู้แล้วว่ามันสลัดออกไปแล้ว ก็เรื่องก็จบเท่านี้สำหรับการฝึกจิตตั้งแต่ต้น จนบรรลุมรรคผล บรรลุนิพพาน เอาเป็นว่าไอ้เรื่องบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น จะไม่พูดกันโดยละเอียด ไม่มีเวลาแล้ว ย้อนกลับมาตรงไอ้ที่นี่ ตรงที่ทำอย่างไรจะบังคับจิตได้ตามสมควร ในขั้นที่เรียกว่า สมาธิ หรือ สมถะ คือเพียงแค่ว่า สร้างมโนภาพขึ้นมาได้ ให้รู้เปลี่ยนมโนภาพได้ หรือว่าทำให้องค์ฌานทั้งห้าปรากฏขึ้นมาได้ เท่านี้ก็พอ ก็เป็นนายเหนือ เหนือ เหนือจิตเหลือประมาณแล้ว ทีเหลือคนธรรมดาจะทำได้แล้ว เขาจัดเป็น อุตริมนุสธรรม คือที่ยิ่งกว่าคนธรรมดาจะทำได้ คุณก็จำให้มันแม่น บทที่หนึ่ง วิ่งตาม คือ วิ่งตามกำหนดลมหายใจเข้าออก ที่กำหนดอยู่ทุกครั้งที่หายใจออกเข้า สั้นยาวให้รู้หมด ทีนี้ก็เอ้อ, เฝ้าดู อยู่ในจุดที่เรากำหนดไว้ให้เราเฝ้าดู สติหรือจิต จิตที่เป็นผู้กำหนด เรียกว่าสตินั่นแหละ มันไปกำหนดจิตที่ทำหน้าที่รู้สึกอยู่ตรงที่จงอยจมูก เฝ้าดู หนักเข้า หนักเข้า ก็สามารถจะทำให้เกิดภาพอะไรใหม่ๆ ขึ้นมาตรงนั้น ตอนนี้มันเริ่มเป็น subconcious ไม่เป็น concious ไม่เช่นนั้นมันเห็นภาพนี้ไม่ได้ เราเพียงได้ ทำได้เพียงเท่านั้น มันก็เรียกว่า เป็นผู้ เป็นนายเหนือจิต บังคับจิตได้มากมายทีเดียว อะไรจะเปลี่ยนหมด ไอ้ความฟุ้งซ่าน ไอ้ความขี้มักฟุ้งซ่าน ความขี้มักไอ้, เกิดกิเลสอะไรนี่มันก็ค่อยๆลดลงเหมือนกัน ความมีสติสัมปชัญญะ ก็จะมากขึ้น พอเรามีสติมาตั้งแต่ต้น บางครั้ง อ่า, ที่จะควบคุมการหายใจ กำหนดลมหายใจนี่มันเป็นตัวสติสัมปชัญญะ มาตั้งแต่ต้น และก็มากขึ้น มากขึ้น เดี๋ยวนี้เราก็มี สติสัมปชัญญะดีขึ้น มีจิตที่อยู่ในระเบียบมากขึ้น มีอนามัยดีขึ้นเกี่ยวกับการหายใจ เท่านี้ก็เอาให้ ให้ได้ไว้ก่อน ถ้าเผื่อว่าเราอยากจะหนี พออยู่ในโลกนี้เราก็ทำได้ทันที เหมือนกับว่าเรากลุ้มอกกลุ้มใจ หัวเสียในออฟฟิศ หรือในสังคมอะไรก็ตาม เราจะเปลี่ยนปั้บมาอยู่ในโลกนี้ โลกของจิต เอ้อ, โลกของความสงบที่เป็นอย่างนี้ ก็ได้ก็ทำได้ทันที เราก็ได้เปรียบสิ เราก็ไม่ต้องไปเสียเวลา หัวเสีย ปวดหัวหรือไปทำอะไรที่บ้าๆ บอๆ ไปกินเหล้าแก้กลุ้มนี้ ไม่ต้องมี เพราะเราแก้มันได้โดยการวิ่งมาอยู่ในโลกนี้ โลกของความสงบ จนกระทั่งว่าแม้ที่โต๊ะ ที่ทำงาน ที่ออฟฟิศ มันก็ทำได้ ไม่ต้องวิ่งไปในป่า เพราะเราหัดมาจนเรามีอำนาจเหนือจิต เป็นนายเหนือจิต เหมือนกับแขกคนนั้นเขานั่งทำตรงที่คนเดินเฉียดหลังไปมาแกก็ทำของแกได้ ฉะนั้นเราก็ได้ผล ชั้นที่เรียกว่าเกินนิสัยธรรมดามนุษย์อยู่แล้ว พอเขากลุ้ม เราไม่กลุ้ม เขาจะเป็นบ้าแล้ว เรายังสงบอยู่ได้ จำไว้ว่า ถ้าตัวหนังสือกันลืมว่า หนึ่ง วิ่งตาม สอง เฝ้าดู สาม สร้างมโนภาพขึ้น สี่ ควบคุมเปลี่ยนแปลงมโนภาพตามความประสงค์ ห้า ทำความรู้สึกองค์ฌานห้าอย่างให้เกิดขึ้น สมาธิถึงที่สุดแล้ว เป็นอัปปนาสมาธิถึงที่สุด คนที่มีจิตใจฝึกได้อย่างนี้แล้ว จิตใจนั้นเอาไปใช้อะไรก็ได้ ใช้หาความสุขก็ได้ ใช้ฝึกทางปาฏิหาริย์ก็ได้ สติสัมปชัญญะก็ดี เตรียมพร้อมเพื่อจะค่อยๆ เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ทีนี้เวลาที่กำหนดไว้ก็หมด นี้ก็อยากจะเหลือไว้นิดหนึ่ง เอ้อ, เป็นตอนที่สาธิต (ตั้งแต่นาทีที่ 01:01:16 - 01:04:25 ท่านอาจารย์ สอนสาธิต) เอ้า, คุณนี่นั่งขัดสมาธิดูสิ เป็นไหม สองคนข้างหน้านี่นั่งขัดสมาธิ ขัดสมาธิตามสบาย คือว่าไม่แน่น ไม่แน่นตามความหมายว่า สมาธ หรือสมาธิ มัน เอ่อ, เหยียดขาไปตรงๆ ข้างหน้าก็เอาขาเหยียดทื่อๆ ก่อน เหยียด ทื่อๆ ก่อนนะขา ทีนี้คุณดึงข้างซ้ายเข้ามาก่อน นี่มันต้องอยู่บนนี้สิ อันนี้เอามาไว้อย่างนี้ อ้า, ยกอันนี้ขึ้นมาบนนั้น นี่ อย่างนี้มันล้มไม่ได้ เห็นไหม มันล้มไม่ได้ พอมืออย่างนี้ มันล้มไม่ได้ นี่นั่งไม่ได้ หลังยังคด ก็ยืด ก็ดัดหลังให้มันตรง ทำแขนให้ตรงสิ นี่ทำแขนให้ตรง หลังจะได้ เหยียดออก อืม์, นี่ อย่างนี้ อย่างนี้ อย่างนี้ หลังยังไม่เหยียดหมด ยังไม่เหยียดหมด หลังของคุณยังไม่เหยียดหมด อ้า, อย่างนี้เรียกว่า compact เหมือนกับพิรามิด ล้มไม่ได้ เข้าใจไหม มันเป็น compact อัด ควั่นกันอยู่ในตัว แน่น แล้วก็ล้มไม่ได้ นี่ดู มันล้มข้างหน้าก็ไม่ได้ ล้มข้างหลังก็ไม่ได้ ล้มข้างๆ ก็ไม่ได้ ครั้งแรกก็ฝืนหน่อย เพราะเพิ่งทำวันนี้ ที่เดี๋ยวนี้ (นาทีที่ 1:03:10) แต่ก็ให้รู้ว่า เดี๋ยวนี้มันมีการนั่งที่เป็นสมาธิ แล้วไม่มีกระดูกกระทบพื้นใช่ไหม จะรู้สึกว่าไม่มีกระดูกกระทบพื้น อันนั้นอย่าเอาลง เอาขึ้นมาไว้บนนี้สิ ให้ให้ เท้ามันหงาย บน บน บนหลังนี้หมด นั้นมันคงซ่อนไปแล้ว เอาขึ้นมาใหม่ ให้เท้ามันหงาย หงายอยู่บนนี้ ให้ฝ่าเท้ามันหงายอยู่อย่างนี้ บอกให้ฝรังเขานั่งนี้ เขาก็ยอมแพ้ ฝรั่งทุกคนยอมแพ้ พวกจีนก็ยอมแพ้ พวกอินเดียนี่แหละเป็นเจ้าของการนั่งวิธีนี้ เอ้า, ฝืนๆ หน่อยก็ได้ คุณนี่มันก็กระดูกสันหลังตรงพอใช้ได้ คนนี้ยังก้มๆ อยู่ ยังใช้ไม่ได้ต้องการกระดูกสันหลังที่ตรงนะ ตั้งตัวตรง คือกระดูกสันหลังตรง การหายใจดี นี่เอ้อ, มันสามารถจะนั่งเป็นชั่วโมงๆ ถ้ามันเมื่อยนัก มันก็ทำอย่างนี้ได้ เดี๋ยวก็หายเมื่อย แขนต้องตรงอยู่ จะเอนไปทางไหนก็แขนต้องตรงอยู่เรื่อย มันก็จะแก้เมื่อย แขนอย่างอเป็นอันขาด เอามาทางนี้ก็ได้ แก้เมื่อย ถ้าจะก้มไปข้างหน้าก็อย่างอ ข้างหลังก็อย่างอแขน อยู่กันเป็นชั่วโมงได้ พวกนั่งโต๊ะก็ต้องนั่งแบบนี้ เป็นชั่วโมงหรือ ๒๔ ชั่วโมง ทีนี้ก็มีการหายใจ เอ้า, บางคนก็มีถามว่า ตาเอาไว้อย่างไร ถ้าตาหลับเอ่อ, ไม่ ไม่ ไม่ ไม่นักเลง ถ้าเป็นนักเลงจริงอย่าเพิ่งหลับตา พยายามจะมองดูที่จมูก อย่าไปมองดูหูทั้งหลาย ก็พยายามจะมองดูที่จมูก คือเพ่งให้ตามันจ้องไปยังที่จมูก ลืมครึ่งเดียว นี่จะป้องกันง่วงนอน หรือป้องกันตาร้อน ถ้าเราหลับตา ตามันร้อนก่อน ถ้าเราให้ลมมันผ่านตาบ้าง ตามันยังเย็นอยู่เรื่อย แล้วถ้าตามันลืม พยายามขึงตา จะมองที่จมูก มันป้องกันการง่วงนอน คุณสังเกตุดูเถอะพวกแขก แขกอินเดีย ตามันแหลมลึก ตามันแหลมเหมือนกับจะเจาะอะไรได้ ก็มัน มันเพ่งกันอย่างนี้มาหลายสิบชั่วคน ปู่ย่า ตายายหลายสิบชั่วคน มันมีลูกตาอย่างนี้ คือเพ่ง มันเพ่งจนทะลุ พวกโยคีเขาทำต่อๆ กันมา ก็จะเพ่งที่จมูกนี้ จนกว่าจะมันไปอยู่ในฌานที่มั่น ที่ลึกเข้าไปแล้วมันหลับของมันเองได้ ไม่ต้องกลัว เราอย่าไปบังคับมัน ในชั้นนี้ก็เอาเพียงว่า อ้า, ไม่ง่วงนอนและตาเย็น ทีนี้ก็เริ่มหายใจ เอ้อ, อย่างเข้า เอ้อ, อย่างยาวที่สุดก่อนดีกว่า ทำตามชอบใจ ตามสบายใจยาว ที่หายใจให้มีเสียงนี้มีประโยชน์ เพราะหูมันจะได้ช่วยอีกแรงหนึ่ง มันก็หนีไปทางอื่นยาก เพราะต้องคอยฟังเสียงอยู่ด้วย และกำหนดที่เข้าออกอยู่ด้วย ไปหายใจไม่มีเสียงมันทำให้ลำบากขึ้น ฉะนั้นจึงแนะในชั้นแรกให้หายใจดังวี๊ดไปเลย วี๊ดเข้า วี๊ดออก วี๊ดเข้า วี๊ดออก ก็เลยเป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น คือจิตวิ่งตามได้ง่ายขึ้นเพราะเสียงมันช่วย ความรู้สึกทางเนื้อหนังมันก็บอก เสียงมันก็ช่วย หายใจ วี๊ดเข้า วี๊ดออก วี๊ดเข้า วี๊ดออก จน จนเราก็รู้ว่ามันไม่หนี จิตนี้มันไม่หนีไปไหน มันก็สำเร็จบทเรียนที่หนึ่ง คือ พูดแบบนี้มันก็ง่าย พอทำคงจะหลายที แล้วยังมีปัญหาปลีกย่อยที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นอีกก็มี แต่ไม่ ไม่ ไม่เหลือวิสัย อาจจะแก้ไขได้ วิ่งตาม ถ้าหายใจยาวมากๆ จะรู้สึกว่าหน้าอกนี้มันใหญ่ขึ้น ๆ กลางท้องมันจะแฟบลง ผิดกับที่เขาจะพูดกันเอาตามนั้นว่า พอหายใจเข้าท้องป่อง นั้นมันมันตอนแรก พอหายใจมากเข้า มากเข้าจริงๆมันจะป่องที่ส่วนบนท้องข้างล่างมันจะแฟบ เพราะมันมาป่องที่ส่วนบน ที่นี้ เรา เรา เราไปพูดว่าหายใจเข้าเต็มที่ท้องป่อง เอ่อ, ท้องแฟบเขาไม่เชื่อ ก็ต้องลองดูนะ ถ้าเข้ามาก ยาว เข้ามากที่สุด มันจะพองส่วนหน้าอกที่ปอดนี่ ข้างล่างก็จะแฟบเข้ามาๆ ไม่เช่นนั้นหน้าอกมันพองไม่ได้ และเมื่อให้ เมื่อหายใจออกให้หมดส่วนบนมันจะแฟบ ไม่ไปพองข้างล่างได้ หรือมันจะรู้สึกว่ามันพองก็ได้ นี่เรียกว่า เข้ามากที่สุด ออกมากที่สุด แต่ถ้าหายใจสั้นๆ ไม่เป็นอย่างนั้น หายใจสั้นๆ นั้นย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าอารมณ์ไม่ปรกติ หายใจยาวอารมณ์ปรกติ ถ้ายาวเกินนั้นคือเราบังคับมัน บังคับให้มันเอียงไปทางปรกติ ยาวไว้ก่อน ตอนหลังมันยาวพอดีของมันเองได้ นี่เรียกว่า ปรับปรุงในชั้นแรก หายใจยาว แล้วปล่อยไปตามสบาย นั่งหายใจวี๊ด วี๊ด วี๊ด หายใจเอ้อ, หายใจอย่างมีเสียง ช่วยให้กำหนดง่ายขึ้น บทเรียนนี้มันก็มีเท่านี้ บทเรียนที่สองก็ จะยากขึ้น จะยากขึ้นเพราะว่าเราจะกำหนดไปตรงกระทบที่จมูก การหายใจก็รู้อยู่ว่าเข้า หรือออก แต่การระดมไอ้ concentrate ของ ความรู้สึกไปอยู่ที่จงอยจมูกจนทำได้ นี้มันไม่เกี่ยวกับท่าทาง เกี่ยวกับข้างใน ทำหนักเข้า หนักเข้า มันก็จะเปลี่ยนความรู้สึกที่เป็นครึ่งสำนึก ถ้าเราจะให้เห็นภาพอะไรขึ้นมาก็นั่นที่ตรงนั้น เหมือนว่าเป็นเดือยงอกออกมา ความรู้สึกอ่อนไหวตรงนั้นมีมาก เกิดรู้สึก คือรวมจุดอยู่ตรงนั้น คล้ายๆ กับจะเป็นแผลหรือเป็นอะไรก็ตามใจ แล้วแต่ว่าเราจะทำได้อย่างไร เพื่อให้มันมีอะไร เอ้อ , เป็นมโนภาพขึ้นมาที่ตรงนั้น ถ้ามัน ถ้าว่าเคยฝึกแบบที่จะใช้เพ่งหลอดไฟฟ้านี้มาอย่างชินแล้ว หลับตาเห็นแล้ว เราเอานั้นมาใส่ทันทีเลยก็ได้ ถ้าใครเคยเล่นอย่างนั้นมาแล้ว เอาไอ้ที่เคยทำได้อย่างนั้นมาใส่แทนตรงนี้ทันทีได้เลย แต่ว่าใส่ไว้ตรงที่จมูกที่ว่านี้ นี่คือบทเรียนที่ ที่สี่ วิ่งตาม เฝ้าดู สร้างมโนภาพขึ้นมา ที่สาม ที่บังคับภาพนั้น เดี๋ยวนี้ไอ้ความละเอียด ประณีต สุขุม ว่องไว นี่มันมันมากแล้ว ของจิต ของประสาทอะไรก็ตาม น้อมจิตให้ภาพที่เห็นนั้นเปลี่ยนๆๆ ตามความประสงค์ กินเวลาไม่กี่วันก็จะคล่องแคล่วได้ จนไปถึงไอ้ที่ว่า ทำองค์ฌานให้เกิดเป็นความรู้สึกขึ้นมา น้อมให้เห็นความรู้สึก ให้รู้สึก น้อมให้เกิดความรู้สึกในองค์ฌานทั้งห้าขึ้นมา วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา จำเท่านี้ก็พอ ทีนี้ เอ่อ,ก็รู้ว่า เมื่อ เมื่อเราฝึกสมาธิได้ถึงขนาดนี้แล้ว ข้อเท็จจริงมันมีอยู่ว่า มิใช่ว่าพอเราเลิกทำสมาธิแล้วอะไรมันจะกลับไปสู่สภาพเดิมโน้น ไม่ใช่ ก่อนนี้เราเป็นคนขี้ลืม เป็นคนขี้โมโห เอ้อ, หรือว่าอ่อนแอ เดี๋ยวนี้จิตพอถูกฝึกขนาดนี้แล้ว แม้ว่าเราจะไม่ได้นั่งสมาธิอยู่ที่นี่ เราลุกเดินไป มัน มันก็มี คุณสมบัติของร่างกายและจิตใจเปลี่ยน จากที่เคยเป็นแต่ก่อนฝึก เราก็มีความคิดดี มีความจำดี มีการตัดสินใจดี ทำบังคับตัวได้ดี ไม่ใช่ว่าเราจะมานั่งทำอย่างนี้อยู่ด้วย มันก็ยิ่งทำได้ดี ถ้าเราสู้ไม่ไหว นี่ในสังคม เราก็มานั่งทำอย่างนี้ของเราต่อไปอีก มันคล้ายๆ กับว่า ชาร์จแบตเตอร์รี่ให้มันดีไปเรื่อย แล้วเราจะไปทำงานก็ตาม สู้ความวุ่นวายสังคมอะไรก็ตาม ถือตามหลักในพุทธศาสนาว่าไม่มีอะไรที่จะดี หรือจำเป็นยิ่งไปกว่าการฝึกจิต และจิตนี่ก็เหมือนกัน ไม่มีอะไรที่จะมีประโยชน์สูงสุด เท่ากับจิตที่ฝึกดีแล้ว ก็ว่าอย่างนั้น คุณจะนั่งอย่างนี้ก็ได้ คือมันสบายหน่อย ไม่ เขาเรียกว่าขัดสมาธิราบ ขัดสมาธิราบ ถ้าอันนี้มัน เขาเรียกสมาธิเพชร diamond seat อย่างนี้เขาเรียกว่า diamond seat (นาทีที่ 01:14:15) ถ้าอย่างนี้มันก็เป็นเพียงว่า ดอกบัว นี่ ดอกบัว lotus seat เพื่อว่ามันจะได้มี มี มี สมดุล อ่า, ไม่ ๆๆ ไม่ล้ม ไม่โยก ไม่โคลง แม้แต่ว่า อยู่ในฌาน ยิ่งกว่าหลับมันก็ไม่ ๆๆ ไม่เอียง ไม่ล้ม และวิธีนี้มันทำให้เหมือนกับนั่งบนเบาะ เพราะว่าตาตุ่มมันไม่ถูกกับพื้น ไม่มีส่วนไหนที่เป็นกระดูกถูกพื้น แหม่มคนนั้นเขา muscle cushion (นาทีที่ 01:15:04) เขานั่งอย่างนี้ muscle cushion คือว่านั่งอยู่บนกล้ามเนื้อ ไม่มีกระดูก เอ้อ, ถูกพื้น มันก็ไม่เจ็บสิ นั่งที่อื่นมันมีกระดูกถูกพื้น ตาตุ่มถูกพื้น หรือว่ากระดูกถูกพื้น ถ้านั่งอย่างนี้มันเป็นเนื้อรองอยู่หมด ไม่กี่วันละ คุณก็นั่งได้ ที่ขาแข็งนี้มัน มันเปลี่ยนได้ แต่ถ้าฝรั่งก็ ๒ - ๓ เ ดือน ร้องโอ๊กๆ กันอยู่ ๒ - ๓ เ ดือนถึงจะนั่งได้ ที่ญี่ปุ่นนี่ มันก็จะร้องไห้น้ำตาไหล เอ้ย, ที่พม่า อาตมาไปเห็นที่พม่า ฝรั่งมาจากออสเตรเลีย (นาทีที่ 01:15:40) มันนั่งไม่ได้ มีนยอมแพ้ มันไม่ยอมนั่ง ให้นั่งอย่างนี้ก็ไม่เอา มันไม่ยอม ฝรั่งบางคนยอมแพ้ เลิกกลับไป คนที่จะทำ มันก็ทำจนได้ ๒ - ๓ เ ดือน ขามันแข็ง มันเคยนั่งแต่เก้าอี้ พวกจีนเขาเรียกนั่งแบบนี้ว่า นั่งแบบชาวอินเดีย ใครจะไปสอนให้พวกที่ไม่เคยนั่ง นั่งแบบนี้ เคยเห็นภาพหินสลักในหนังสืออียิปต์ รุ่นสามพัน สี่พันปี มีรูปหินสลัก เป็นพระ ท่านก็นั่งแบบนี้ นั่งแบบ (นาทีที่ 01:16:45-01:16:50) แต่ว่าอินเดียก็หลายพันปี จนกระทั่งแบบนี้ยังเป็น ก็ถูกแล้ว มันหงาย ฝ่าเท้ามันหงายขึ้น พระพุทธรูปแบบนี้ เขาเรียก สมาธิ ปางสมาธิ พวกโยคีเขา เขาสอนให้ทำอย่างนี้ ไว้ที่หัวเข่า ไม่มาวางตรงนี้ ทดลองดูแล้ว เอ่ย, มันเป็นธรรมชาติบังคับ ถ้าเราไว้อย่างนี้ มือไม่ร้อน ถ้ามาซ้อนอย่างนี้ มือจะร้อน แต่ว่าพระพุทธรูป จะทำมือซ้อนกันอย่างนี้ ถ้าไปที่อินเดีย พวกโยคีเขาจะไม่ให้ทำอย่างนี้ นั่งได้เป็นตุ๊กตาหินนะ มันบาลานซ์ เหมือนกับพิรามิด เอ่อ, compact (นาทีที่ 01:17:51) ก็ไปหัดหายใจเอาเอง หัดหายใจให้มีเสียงเอาเอง ให้กำหนดง่าย แล้วมันก็ค่อยๆ แผ่วลงไป ก็ยังกำหนดได้ กระทั่งเงียบสนิทก็ยังกำหนดได้ ครั้งแรกนี่แนะว่าให้หายใจให้แรง จะช่วยให้การกำหนดให้ง่าย ต้องยืดขามาก่อนสิ นี่ยืดขา เหยียดมาทางหน้าทั้งสองขาเลย ให้มันสุดก่อน ให้มันสุดก่อน ดัดหลัง ดัดอะไรให้ดีเสียก่อน ทำอย่างนี้ ลู่มาอย่างนี้ ลู่มาสิ ลู่มา ลู่มาสิ ก้มมาสิ ลู่มา ก้มมา แขนซื่อ ไม่ถึง ไม่ถึงปลายเท้า เอ้อ, ให้ถึงปลายเท้า เอ้อ, ก้มมา กระดูกมัน เอ้อ, ทำหลายๆ หน ทีนี้ก็ดึงขาเดียว ดึงขาซ้ายก่อน ดึงขาซ้ายก่อน พับขาซ้ายออกมาก่อน พับขาซ้ายออกมาไว้ แหงน หงายอยู่บนขวานั่น เอ้อ, กดเข่าลงไปสิ เอ่อ, นี่ดึงขานี่ขึ้นไป หงายอยู่บนโน้น ไม่เคยซะเลย ไม่เกินเจ็ดวัน ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ ภายในเจ็ดวัน แขนซื่อ แขนซื่อ เผื่อว่านั่งนานๆ จะได้บิดไป บิดมา แก้เมื่อยไปในตัว แขนอย่างอ แขนอย่างอ แขนอย่างอ ต่อเมื่อจะพักผ่อน เรียกว่าตามสบายหรืองอ (นาทีที่ 01:19:50 มีผู้ถามท่าน) ขัด นั่งขัดสมาธิเพชร สมาธิบัว สมาธิราบ ถ้าไม่ซ้อนกันเลยนั่นสิ จะเรียกว่า ราบน่ะสิ คือไม่ซ้อนกันเลย อย่างนี้เรียกว่าไม่ซ้อนกันเลย นี้ก็ซ้อนข้างหนึ่ง (นาทีที่ 01:20:15 มีผู้ถามท่านว่าซ้ายหรือขวาก็ได้ ?) ธรรมดาเขาก็ดึงซ้ายเข้ามาก่อน ขวาก็ทับซ้ายเอง เราดึงซ้ายมาก่อนนี่ ทีนี้เอาขวาทีหลัง ขวามันก็ทับข้างซ้ายเอง การ การบังคับร่างกาย ก็คือการบังคับจิต พร้อมกันไปในตัว เดี๋ยวนี้มันก็เริ่มบังคับทั้งจิต ทั้งกายอยู่ในตัว คนอ้วนๆ ทำยาก คนผอมๆ ทำง่าย ... มันก็เป็นการดับเส้นสายอยู่ดี ได้ประโยชน์อีกส่วนหนึ่ง นั่นแหละ... อา, คือว่าไอ้การที่ จะต้องมีความรู้สึกว่าหายใจเข้า หรือหายใจออกต้องมีอยู่ตลอดทุกขั้น ทุกขั้น ทุกขั้น ถ้าไม่อย่างนั้นมันก็จะเลือน ระบบไอ้การ สติหรือว่าอะไร มันจะเลือน มันจะเลือนเหมือนกับเว้งว้างไป มันจะเห็นแต่อย่างนี้ และก็ไม่มี ไม่มี governer (นาทีที่ 01:21:55) มันต้องมี governer ที่จะต้องหายใจออก หายใจเข้า หายใจออกอยู่ คือมัน มันจะเลือน ลอย จนไม่รู้ว่า ไอ้,ไอ้ความที่เป็นแกน แกนกลางมันอยู่ที่ไหน คือหายใจเข้า หายใจออก นี่คือเป็นหลักที่จะต้องมีอยู่เสมอ ตรงนี้อย่าลืมนะว่า ไอ้ส่วนที่รู้สึกว่าเราหายใจเข้า หรือหายใจออก ต้องมีอยู่เสมอ ไม่ว่าขั้นไหน ขั้นไหน ไม่ว่าจะขั้นสูงสุดไหน ต้องมีรู้สึกว่าเราหายใจเข้า เราหายใจออก หายใจเข้า หายใจออก อยู่เสมอ (นาทีที่ 01:22:38 มีผู้ถามท่าน) ตอนนั้นมันแรกๆ ที่เราเพียงแต่กำหนดจุด แรกๆ อาจออกหมดก็ได้ เข้าหมดก็ได้ แต่ตอนหลังๆ มานี้ เพียงแต่ว่าออก หรือเข้า รู้อยู่ก็แล้วกัน ไม่ๆๆ ไม่มากำหนดสะดือ หรือจมูกอีกแล้ว เพราะมันชินแล้ว ชำนาญแล้ว ตอนที่ยังไม่ชินไม่ชำนาญ มันมีจุด ทั้งจุด จุดภายใน ภายนอก หายใจเข้านี้จุดตั้งต้น นี้จุดสุด หายใจออกนี้จุดตั้งต้น นี้จุดสุด (นาทีที่ 01:23:19 มีผู้ถามท่าน) ก็ลองดู หลับตามันเดี๋ยวก็ อาจจะหลับจริง การบังคับน้อยกว่า การบังคับให้ลืมตา ที่แรงกว่าหรือดีกว่า อาตมารู้สึกว่า ตามันร้อน ไม่หลับตา ตามันจะร้อน รู้สึกร้อนแล้วรำคาญ ร้อนตา สู้ให้ตามันได้รับลมเย็นๆ อยู่บ้าง ก็อาจจะได้เหมือนกันแหละ แต่ว่ามันเป็นแบบของมันอีกแบบหนึ่ง ก็เรียกว่า (นาทีที่ 01:24:10 ) เป็นเรื่องลึกลับของจิต ที่ทำได้อย่างนั้น อย่างนี้ อย่างนี้ รู้สึกตัว เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเล่น เมื่อก่อนนี้เล่นกันมาก (นาทีที่ 01:24:18 มีผู้ถามท่าน ) ถ้าเขาตั้งใจจะทำสมาธิ แล้วมันสั่น อย่างนั้นมันก็เรียกว่า อุปสรรคแล้ว แต่ว่าที่เขาอยากจะปลุกตัว อีกพวกหนึ่ง ....ชั้นดี ชั้นดีสุดมันสั่น สั่นมากแล้วมันสั่นขึ้นอย่างนี้ จนมันกระโดด กระโดดไปอย่างนี้ มันไม่น่าเชื่อ เขาก็ทำได้ อย่างนี้มันสั่น มันก็เป็นไอ้,วิชา อ้า, วิชา ฝึกตัว ไป ไป เรื่องทางปาฏิหาริย์ ทางเรื่องอิทธิ มันสั่นจนขึ้นอย่างนี้ได้ ก็พอพ้นแล้วมันกระโดดได้ .... แน่น มันต้องแน่นปลุกตัวนี่ขยายออกไปเป็น เป็นหลายเรื่อง เป็นช้าง เป็นเสือ เป็นลิง เป็น เล่นกันสนุกสนาน ... คนที่ถูกทำนี้ไม่รู้สึกตัว มันก็เป็นวิธีฝึกจนไม่รู้สึกตัว ไม่เต็มใจ...แต่หูได้ยิน หรือว่ามันมีความรู้สึกทางหูอยู่ เหลืออยู่ ก็ไปร้องบ้าง ใครร้องช้าง มันก็ร้องช้าง ให้ ให้ร้องเพลงขึ้น มันก็รำได้ อย่างฝึกแม่ศรี มันก็ไม่ได้ ไม่ได้ สิ้นไปหมด มันถูกบังคับโดยคนที่ร้องๆ ไอ้คนนั้นมันก็มาร้องไม่เป็น รำก็ไม่เป็น แต่จิตของคนนั้นมันบังคับคนนี้ให้ร้อง ให้รำ คนที่รำไม่เป็นมันก็รำเป็น เหมือนกับว่ามันถูกบังคับด้วยกระแสจิตของคนที่ร้อง คนนั้นต้องร้องเป็น รำเป็น อย่างนี้ไม่อยู่ในชุดนี้ ไม่อยู่ในชุดที่ว่าทำสมาธิ ทำวิปัสสนา มันอยู่ชุดพวกที่ว่าทำปาฏิหาริย์ พวกไอ้จิตตานุภาพ กว่าจะใช้กันได้ กี่อย่าง กี่ทาง มันอยุ่ตรงนี้ เป็นของเก่า ก่อนพุทธกาลแล้ว ที่จะทำให้มันเป็นสมาธิชนิดที่เรียกว่า จิตบริสุทธิ์ เข้มแข็ง ว่องไว ต่อการพิจารณานี้เป็นเรื่องพุทธศาสนา ในทางบรรลุมรรคผล นิพพาน ไอ้นอกนั้นก็เป็นเรื่องนอกพุทธศาสนา เป็นวิชาหากิน พวกที่เขาเป็นโยคี สูงสุดเขาหากิน ก็ทำให้เห็นนั่น เห็นนี่ อย่างไม่เคยเห็น อย่างน่าตกใจ น่าอัศจรรย์ แสดงกล คนจะมาดูก็ได้สตางค์ (นาทีที่ 01:27:57 ท่านถาม สนทนาเรื่องอื่น ) พรุ่งนี้ไปตอนไหนล่ะ... มาอีกที จะได้เก็บตก เก็บตกไอ้คำถาม หรือ กี่โมง กี่โมงจากนี้ หัวค่ำจึงจะขึ้นรถ หรือรถสี่โมงเย็น ห้าโมงเย็น รถค่ำ หนึ่งทุ่ม ไม่ลำบาก มันมีรถห้าโมงเย็น อีกทีหนึ่ง อีกครั้งหนึ่ง แล้วก็มีรถ หนึ่งทุ่มเศษๆ แล้วก็มีรถ สามสี่ทุ่ม แล้วก็ตีหนึ่ง ไป ไปทางโน้น ..