แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
อย่างวันนี้ที่นี่ ที่แล้วๆมา เอ่อ,เราบรรยายกันในหัวข้อที่เรียกว่า ธรรมปาฏิโมกข์ วันนี้ก็ถือว่าเป็นวันเริ่มแรก เอ่อ,การบรรยายเรื่อง ธรรมปาฏิโมกข์ สำหรับปีนี้ก็ได้หยุดว่างเว้นมาเสียหลายเดือน ก็ประจวบเหมาะกับที่มีผู้บวชใหม่ เอ่อ,มาเพิ่มอีกหลายสิบรูป มันก็มีเหตุผลสมควรที่จะพูดโดยหัวข้อนี้ สำหรับคำว่า ธรรมปาฏิโมกข์ บางคนก็จะยังไม่ทราบว่าหมายถึงอะไร คำว่า ปาฏิโมกข์ หมายถึง เอ่อ,คำสอน เอ่อ,ที่เป็นหลัก เอ่อ,เป็นประธานคือเป็นหัวข้อที่สรุปรวมความ ชั้นที่เป็นหลัก เอ่อ,ที่เป็นประธานซึ่งจะเฝือไม่ได้ ถ้ามันเฝือไปในส่วนที่เป็นหลักนั้นมันก็เอาอะไรไม่ได้ ฉะนั้นเราจะพูดเป็นการซักซ้อมกันอยู่เสมอ อย่าให้มันเฝือได้ นี่คือความมุ่งหมายของการบรรยายที่เรียกว่าชุดธรรมปาฏิโมกข์ ได้เคยบรรยายมาหลายปีแล้วในโอกาสเช่นวันนี้ สำหรับวันนี้ก็อยากจะพูดในส่วนที่ว่า ธรรมะหรือพระพุทธศาสนานี้มันมีหลักอย่างไรกันแน่เกี่ยวกับ เอ่อ,คำว่า ตัวตน หรือ มิใช่ตัวตน ถ้าตั้งคำหา (นาทีที่ 3.05)คำถามอย่างนี้ก็ตอบได้ว่า พระพุทธวจนะทั้งหมด พอจะแบ่งแยกออกไปได้เป็น 2 ส่วน คือพระพุทธวัจนะส่วนหนึ่งตรัสไปในรูปที่มุ่งหมาย เอ่อ,สำหรับผู้ที่ยังมีความรู้สึกว่า ตัวตน คือคนธรรมดาสามัญที่ต้องมีรู้สึกว่าตัวตน ถอนตัวตนไม่ได้ อย่างนี้ก็ต้องตรัสไปในรูปที่ว่ามันมีตัวตน ซึ่งเป็นผู้ทำดี ทำชั่ว แล้วก็จะได้รับผลดี ผลชั่ว ตามสมควรแก่การกระทำ จนถึงกับสรุปว่า เอ่อ, อัตตาหิ อัตตโน นาโถ ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแก่ตน มันจะเป็นตนสมมติหรือว่าตนจริง ค่อยพูดกันทีหลัง เอ่อ, มันยุ่งยาก แต่ในชั้นนี้หรือว่าในระบบส่วนนี้แล้วก็จะต้องพูดอย่างมีตัวตน ให้รักตน ให้สงวนตน ให้ทำดีเพื่อจะได้รับผลดีแก่ตน ถ้าหากว่าเป็นอีกระบบหนึ่งตรงกันข้าม มันก็มีอยู่มากเหมือนกัน ก็เรียกว่า ไม่มีตัวตน หรือจะได้ตรัสไว้ เอ่อ, อย่างที่เรียกว่าไม่มีตัวตน มีแต่ธรรมชาติ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์แห่งสิ่งนั้นๆ ไม่ ไม่ ไม่ควรจะเรียกส่วนไหนหรือทั้งหมดนั้นว่าตัวตน อันนี้ก็มีมากหรือมากกว่าเสียอีก ที่จะแสดงเป็น ว่า ว่าเป็นเพียง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นไปตามกฏแห่งอิทัปปัจจยตา จึงมีคำพูดที่พูดขึ้นมาอย่างตรงกันข้าม ว่า อัตตาหิ อัตตโน นัตถิ เมื่อตนของตนก็ไม่มีแล้ว พุทธา พุทโธ พุทธา ถะนัง รูปจะมีมาแต่ไหน ทรัพย์สมบัติจะมีมาแต่ไหน ที่เป็นของตน ที่เอา ที่ต้องเอาข้อนี้มาพูด ก็เพราะว่า ฟังดู สังเกตดู แล้วก็คนยังไม่เข้าใจ คือพูดไปโดยส่วนเดียว พระพุทธศาสนาไม่มีเรื่องตน หรือ คนที่เขาพูด เอ่อ,โดยส่วนเดียวที่ตรงกันข้ามว่า มีตน เพราะว่าสอนว่าตายแล้วก็เกิดอีก ไปเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เรื่อยไป กว่าจะหมดกรรม ว่าจะมีตัวตนไป นี่ผมเข้าใจว่าท่านทั้งหลาย เอ่อ, ก่อนแต่ที่จะบวชมาก็ต้องได้ยินได้ฟังมามากไอ้เรื่องตนบ้าง ไม่ตนบ้าง ไม่ ไม่ใช่ตนบ้าง สับสนยุ่งกันไปหมด และทีนี้เมื่อมาอ่านหนังสือเข้า อ่านพระคัมภีร์โดยตรง นี่ถึงกับอ่านพระไตรปิฎกโดยตรง ก็จะพบข้อความทั้งสองประเภทนี้ สูตรบางสูตรน่ะพูดอย่างมีตัวตน แต่สูตรบางสูตรไม่มีตัวตนเลย ก็ยังยืนยันอยู่ตลอดเวลาว่า ไม่มีตัวตน ทีนี้ปัญหาสำคัญนั้นมันมีอยู่ว่า เราจะถือว่าอย่างไร จะรับถือว่าอย่างไร หรือว่าเราจะขจัด เอ่อ, ไอ้ ไอ้คำพูดที่มันขัดแย้งกันนี้อย่างไร ก็ลอง เอ่อ, ก็จงทำความเข้าใจอย่างที่พูดมาแล้ว แล้วก็พูดสำหรับที่จะมีตัวตนกันแล้วก็พูดอย่างมีตัวตน ตามความรู้สึกของทุกคนที่รู้สึกว่ามีตัวตน ก็ลองศึกษา เอ่อ,เรื่องข้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีตัวตนแล้วก็ปฏิบัติไป แล้วก็อาจจะสรุปความได้อย่างนี้ว่า ถ้าไม่มีตัวตนก็ดีไปเสียทีหนึ่ง มันไม่มีความทุกข์แน่ ถ้าในจิตใจของเรารู้สึกจริงๆ มองไม่เห็นว่าเป็นตัวตนจริงๆ มันก็เป็นพระอรหันต์เท่านั้นน่ะ มันก็ไม่มีความทุกข์แน่ แต่ถ้ายังมีความรู้สึกว่าตัวตนนั้นน่ะ จะต้องปฏิบัติอย่างไร ก็คือปฏิบัติในหลักที่ว่า ไม่เห็นแก่ตน นี่มันจะใกล้เข้าไปใน ใน ในระหว่างกลาง เอ่อ, เข้าไปอยู่ตรงกลางระหว่าง มีตน กับไม่มีตัวตน คือถ้ารู้สึกว่ามีตัวตน ก็อย่าเห็นแก่ตน มันก็คล้ายๆกับว่า ไม่มีตัวตนอยู่โดยปริยาย นี่เรียกว่ามันอยู่ตรงกลางระหว่างมีตัวตนกับไม่มีตัวตน เพราะฉะนั้นคำสอนเรื่องนี้จึงสอนได้ทั่วไป แม้ในประชาชนชาวบ้าน ชั้นที่เรียกว่าเป็นปุถุชนที่สุด ให้ปุถุชนเหล่านั้นเริ่มรู้ เอ่อ, ว่า แม้จะมีตัวตนอย่างไรก็อย่าเห็นแก่ตนนั่นแหละ นี่ถ้าไม่เห็นแก่ตน ให้เห็นแก่อะไร เอ่อ, ให้เห็นแก่ความจริงหรือธรรมะ หรือพระธรรม เอ้า, ถ้ายังไม่ไหวอีกก็ต่อรองกันลงมาว่า ถ้ามีตัวตนก็ขอให้มีตัวตนอย่างดี จะมีตัวตนที่ดีได้อย่างไร ก็ ก็ ก็ ตอบอยู่แล้วว่าอย่ามีตัวตนอย่างเลว ตัวตนอย่างเลวคือตัวตนที่มีความเห็นแก่ตนจนเกิดกิเลสนะแหละ ความเห็นแก่ตนนั่นแหละคือตัวกิเลส กิเลสชั้นหยาบๆก็ออกมาเป็น โลภะ โทสะ โมหะ ถ้าเป็นกิเลสชั้นดีมันก็ยึดใน เอ่อ, ความดีจนต้องเป็นทุกข์เพราะความดี คือได้เวียนว่ายตายเกิดไปตามความดีมันหยุดไม่ได้ มันก็เหน็ดเหนื่อยเหมือนกันน่ะ แม้จะเป็นไปอย่างดี มันก็ต้องเรียกว่าเหน็ดเหนื่อยเหมือนกัน ต้องไม่เวียนว่าย ต้องไม่มีเกิดดับแห่งตัวกู ของกู นี่จึงจะเรียกว่า ไม่มีความทุกข์เลย ก็สรุปความกันได้ว่าในชั้นต้นที่สุดก็ขอให้มีตัวตนอย่างดี แล้วก็ เอ่อ, หรืออีกทีหนึ่งก็ว่าอย่าเห็นแก่ตนด้วยอำนาจของกิเลส เดี๋ยวนี้ในภาษาไทยมันก็เห็นได้ เราอาจจะเห็นได้ชัดในภาษาไทยว่า เห็นแก่ตนนั้นหมาย เอ่อ, หมายความว่า ความว่า เลวนั่นแหละ เห็นแก่ตนแล้วก็จะทำดีเพื่อเห็นแก่ตนนั้นมันอีกความหมายหนึ่ง แต่ในภาษาไทยไม่ได้หมายอย่างนั้น ภาษาไทยนี้จะหมาย ถ้าเห็นแก่ตนแล้วคือ เห็นแก่ตัว เห็นแก่ประโยชน์ของตัว ไม่เห็นแก่ผู้อื่น นี่ควรจะพูดกันเสียใหม่ให้ถูกต้อง ว่าพุทธศาสนาในระดับที่มีตัวตนก็ให้มีตัวตนอย่างดี อย่าเห็นแก่ตน จนเกิดกิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะ มันก็ตรงกับหลักทั่วไปที่เขาสอนกันอยู่ให้ชาวบ้าน ประชาชนทั้งหลายตั้งตนอยู่อย่างดี ไม่เห็นแก่ตน เอ่อ, ระวัง บรรเทาความโลภ ความโกรธ ความหลงได้ ทีนี้ก็มองดูให้สูงขึ้นไปอีก ก็จะเห็นว่า ไอ้ความเห็นแก่ตน รู้สึกเป็นของ เอ่อ,เป็นตัว ตัวตน หรือของตนนั้นน่ะมันเป็นความทุกข์ ไม่มากก็น้อย ไม่อย่างโดยตรงก็โดยอ้อม โดยละเอียดอย่างมองไม่ค่อยเห็น ฉะนั้นจิตของคนเรา ของทุกคนมันมีอยู่สองประเภทนะ ความรู้สึก เอ่อ, คือมีความรู้สึกเป็นตัวตนจัด นี่ประเภทหนึ่งเวลาหนึ่ง แล้วก็ที่กำลังไม่มีตัวตนกำลังว่างจากความรู้สึกชนิดนี้ เขาเรียกว่า ว่างจากตัวตน ความรู้สึกนั้นว่างจากตัวตน นี่ก็อีกประเภทหนึ่งมันตรงกันข้าม นี้ต้องศึกษาโดยตรงจากจิตนั้นเอง จากคำพูดแม้ที่ผมกำลังพูดนี้มันก็ไม่พอ ต้องไปทบทวนดูความรู้สึกที่มันเคยเกิดแก่เรามาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้ และที่มันกำลังเกิดอยู่บัดนี้หรือมันจะเกิดต่อไปก็ตาม มันจะแยกเป็น ๒ ชนิดได้ ชนิดหนึ่งก็ไปตามธรรมชาติไม่มีความหมายแห่งตัวตนซึ่งจะเป็น เอ่อ,อย่างนั้นแหละโดยมาก ทีนี้บางเวลามันมีอะไรเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่เขา ที่เขาเรียกว่ามันมาปรุงแต่งจิต จิตจะมีความรู้สึกในความหมายแห่งตัวตนหรือของตน จะเกิดมาจากปัจจัยภายนอกเวลานั้นก็ได้ เช่นเห็นอะไรเข้า หรือได้ยินอะไรเข้า ได้กลิ่นอะไรเข้า ได้ชิมอะไรเข้า ได้สัมผัสอะไรเข้าก็ ก็ได้นี่ ๕ อย่างนี้มันเป็นภายนอก หรือมันจะจากภายในโดยตรงคือจิตมันคิดขึ้นมาโดยเอาเรื่อง เอ่อ, แต่หนหลังที่มันยังจำได้อยู่มาคิด เรื่องนี้มันมาจากภายใน คือมาโดยทางใจเขาเรียกว่าภายใน ถ้ามาโดยทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นี้เขาเรียกว่า โดยทางภายนอก ได้เห็นอะไรแล้วมันทำให้เกิดความคิดประเภทมีตัวตน เวลานั้นก็มีตัวตนไประยะหนึ่งก่อนจะมันสิ้นสุดลง คือได้เห็นของที่น่ารัก หรือน่าเกลียด ความคิดจำจะปรุงขึ้นมาเป็นรูปตัวตน คือถ้าชอบหรือรักแล้วมันก็มีตัวตน ที่ชอบหรือรักนั่นเอง ก่อนนี้ไม่รู้สึกว่ามีตัวเราชอบหรือตัวเรารัก แต่พอเห็นสิ่งที่น่ารักมันก็เลยเกิดความรู้สึกว่าชอบหรือรัก เรื่องนี้เป็นเรื่องชั้นลึกจะพูดอย่างนี้ก็ได้ พูดตั้งแต่ชั้นต้นๆ เอาความรู้สึกรักน่ะมาก่อนแล้วตัวคนที่รู้สึกรักน่ะมาทีหลัง นี้ก็น่าหัว มันฝืนแล้วจิตของคนธรรมดา ต้องมีคน เอ่อ,ตามธรรมดาต้องพูดว่ามีคนก่อน หรือมีคนหยาบและมันจึงจะมีความหยาบเกิดขึ้น นั่นมันพูดอย่างไม่รู้ พูดอย่างตามธรรมดาสามัญหรือตามสมมติ ถ้าตามเรื่องแท้จริงของจิตแล้วมันจิตนี้มันถูกปรุงขึ้นมาเป็นความรักความชอบก่อน แล้วมันจึงหมายมั่นลงไปในสิ่งที่มันรักหรือมันชอบ ตอนนี้จึงเป็นรู้ เป็นความรู้สึกว่าเป็นผู้ ผู้รัก ผู้ชอบ เป็นบุคคลผู้รัก ผู้ชอบขึ้นมา ถ้ามันเป็นเรื่องน่าเกลียด น่าชัง น่า เอ่อ,น่าโกรธ มันก็เกิดความโกรธขึ้นมา แล้วก็มีตัวผู้โกรธขึ้นมา เพราะฉะนั้นจะรักก็ดี จะชังก็ดี เรียกว่าตัวตนทั้งนั้น นี่ตัวอย่างเป็นทางตา ทางหูก็เหมือนกัน ได้ยินไอ้เสียงของสัตว์ สังขาร อะไรก็ตามที่น่า เอ่อ,น่ารักน่าชัง นี้ก็เป็นได้อย่างเดียวกัน ทางจมูกก็มีส่วนที่เป็นได้แต่มันน้อย มันน้อยกว่าทางตา ทางลิ้น เอ่อ, นี้ก็หมายถึงรู้รสในการกินอาหาร ถ้ามันไม่ถูกปาก มันเกิดความรู้สึกชนิดหนึ่งขึ้นมาคือไม่ชอบ และถ้ารู้สึกว่ากูไม่ชอบ มันจะเกิดขึ้นมาทีหลัง ถ้ามันอร่อยมันก็เพลินไป มันก็กูชอบกูอยากจะได้อีก สัมผัสผิวหนังก็อย่างเดียวกัน ที่พูดนี้ก็ต้องการให้สังเกตดูให้ดีว่า จิตของคนเรานั้นบางเวลาว่างจากตัวตน คือว่างจากความรู้สึกประเภทที่รู้สึกว่ามีตัวตนหรือของตนนั้นน่ะเป็นอยู่มีอยู่มากตอนนี้ มันจึงสบาย ส่วนความรู้สึกประเภทมีตัวตนหรือของตนนี้มาเป็นครั้งเป็นคราว ยังน้อยกว่าคือพอทนได้ ก็ถ้าตัวตนของตนเข้ามาทีไรเป็นร้อนเป็นไฟทั้งนั้นนะ ไฟราคะบ้าง ไฟโทสะบ้าง ไฟโมหะบ้าง จึงสรุปความได้ว่า ความ ความรู้สึกว่าตัวตนเกิดขึ้นแล้วก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่มีความรู้สึกว่าตัวตนเกิดขึ้นเรายังไม่มีความทุกข์ นี่ขอให้เข้าใจหลักธรรมปาฏิโมกข์ เอ่อ, ที่สำคัญที่สุดข้อนี้ และความรู้สึกเป็นตัวตนเกิดขึ้นเรามีความทุกข์ทันทีตามมากตามน้อย ถ้าไม่มีความรู้สึกเป็นตัวตนเราจะยังไม่มีความทุกข์เลย นี้ รู้สึกเป็นตัวตนนี้มันก็มาจากอารมณ์ที่เป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึก ให้รัก หรือให้ไม่รัก นี้เป็นหลักพื้นฐานทั่วไป ถ้าเรามีจิตสองชนิดอยู่เป็นประจำ ให้ไปสังเกตเอาเอง จึงจะสามารถตั้งต้นการศึกษาให้ เอ่อ, ก้าวหน้าเป็นลำดับไปได้ ถ้าไม่รู้จักของทั้งสองอย่างนี้ เอ่อ,โดยแท้จริงแล้วมันก็เป็นเรื่องลำบากมากนะที่จะเข้าใจพระธรรม มันก็ได้แต่เรียนไปอย่างเล่าเรียน เรียนนักธรรมอย่างนี้ อะไรก็ตามน่ะ เรียนไปเถอะก็เรียนมันก็ไม่รู้ ทั้งที่เรียนเรื่องเดียวกัน เรียนนักธรรม ในโรงเรียนก็เรียนเรื่องนี้ แต่ก็ไม่รู้จัก เอ่อ,เรื่องนี้ได้ เว้นไว้แต่จะมาเรียนจาก ไอ้ ตัวจริงของมันน่ะ เป็นจิตที่กำลังรู้สึกอยู่จริง ว่าความทุกข์เกิดขึ้นเพราะความรู้สึกประเภทที่เป็นตัวตนหรือของตน ถ้าในหนังสือเล่าเรียนเขาก็จะมีพูดว่า ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา คือเบญจขันธ์ในเวลานั้นมันถูกยึดถือขึ้นเป็นตัวตนหรือเป็นของตน มันก็เป็นทุกข์ ก็ฟังไม่ถูกอีก เมื่อผมเรียนนักธรรมตรี นักธรรมโท ผมก็ฟังไม่ถูกว่า ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา นั้นมันเป็นอย่างไร แต่ก็จำได้และก็พูดได้ และก็เทศน์ได้ เทศน์ว่าอย่างนั้นน่ะมันเทศน์ได้ ทีนี้ต่อมามันค่อยศึกษาได้ เอ่อ,ข้างในมากขึ้น ศึกษาจากจิตใจจากความรู้สึกโดยตรงจึงรู้จักสิ่งนั้นลงไปโดยตรง ไม่ใช่เพียงแต่ได้ยินได้ฟังหรือจำได้ ความรู้สึกของเราบางเวลาคือความรู้สึกที่เจือด้วยความหมายแห่งตัวตนหรือของตนนั้นน่ะเกิดจาก ปัญจุปาทานักขันธ์ มันก็เป็นทุกข์ทันที เพราะมันไปจับฉวยเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งมายึดถือไว้แล้วมันก็หนักก็เป็นทุกข์ เกิดความรักก่อน ความรู้สึกชอบก่อน เกิดความรักเกิดความรู้สึกหมายมั่นกัน เรารัก นี่คือยึดถือจิตหรือกายนั้นก็ได้ว่า ว่าเป็นเรา ทีนี้ของอะไรที่เข้ามานั้นมันก็มาเป็นของๆ เราที่เรารัก ถ้าเรารู้สึกอร่อยในความรักนั้น มันก็มีการยึดถือว่าไอ้ความอร่อยนั้นน่ะคือสุขเวทนานั้น เป็นเวทนาของเรา เราสำคัญมั่นหมายอันนี้ของรักของเรา สัญญาอันนั้นมันก็เป็นสัญญาที่ถูกยึดถือ ยึดถือสัญญานั้นว่าเป็นของเราหรือเป็นเราก็ได้แล้วแต่ความมั่นหมายว่า ว่าเราหรือว่าของเรา ทีนี้ความคิดเกิดขึ้นมาด้วยเรื่องนั้น มันก็ยึดถืออยู่ในตัวมัน คิดว่าเราจะเอาอย่างนั้น เราจะเอาอย่างนี้ จะรักษาไว้อย่างนั้น จะมีไว้อย่างนี้มันก็เป็นสังขาร สังขารขันธ์ที่ถูกยึดถือด้วยวาจา มันก็เป็นทุกข์ ทีนี้วิญญาณ เอ่อ, ถ้าเป็นทางตา มันก็ยึดถือเป็นตาของเราแต่นี้ไม่ค่อย ไม่ค่อย ไม่ค่อยมีน้ำหนัก ส่วนใหญ่ก็เป็นทางใจ ใจยึดถือรู้สึกหรืออะไรก็ตาม ไอ้จิตนั้นมันจะถูกยึดถือว่าเป็นเรา มันก็เกิดมีความทุกข์ขึ้นมาทันที เรามีอยู่ เราทำอย่างนั้น เราทำอย่างนี้ มีปัญหาอย่างนั้น มีปัญหาอย่างนี้ นี่ทั้ง ทั้ง ๕ ขันธ์ ทั้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ถูกยึดถือ ว่าเป็นเราบ้างว่าเป็นของเราบ้างแล้วแต่เรื่องของมัน ตอนนั้นแหละเป็นทุกข์ ของทั้ง ๕ นั้นกลายเป็นของหนักให้เราแบกให้เราวิตกกังวล แม้แต่ให้เราหลงรักแล้วมันก็เป็นทุกข์อยู่ในตัวความหลงรักนั้น นี่คือบทสวดมนต์ที่คุณก็สวดอยู่ทุกเช้า มันมีในบททำวัตรเช้า สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา คืออย่างนี้ ทีนี้ก็สวดได้ จำได้ แปลความได้ บางทีก็ไปพูดไปเทศน์ได้ แต่ไม่รู้ ไม่รู้จักตัวจริง มันก็เลยละคล้ายๆกับละเมอๆ นี่เอา ยกเอามาเป็นตัวอย่างให้ฟังว่าเราต้องรู้จักตัวเราเอง เมื่อใช้คำว่าตัวเราเองนี้ก็หมายความว่ากลุ่มนี้คือร่างกายและจิตใจนี้ ซึ่งโดยความหมายลึกซึ้งแล้วมันไม่ใช่ตัวเรา มันไม่ใช่ตัว แต่ถ้าพูดตามธรรมดาสามัญก็ต้องว่าตัว ว่าตัวเรา คือร่างกายจิตใจนี้คือตัวเรา บางเวลามีความรู้สึกยึดถืออะไรก็ตามว่าตัวตนและของตน เวลานั้นตัวเราก็เป็นทุกข์ ถ้าเวลาที่ไม่ได้ยึดถืออะไรเลย อันนั้นตัวเราก็ไม่เป็นทุกข์ เช่นว่าเวลาเรานอนหลับมันก็ไม่เป็นทุกข์เพราะมันยึดถือไม่ได้นี่เรานอนหลับ แต่ถ้าเรานอนไม่หลับก็ไม่หลับเพราะความยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่งก็นอนกระสับกระส่ายอยู่บนที่นอน นี่คือตัวเราที่มันยึดถือ มันก็หลับไม่ลง มันก็เป็นทุกข์ เพียงแต่จะพูดให้เห็นว่าตัวเราหรือจิตใจของเรามีอยู่เป็น ๒ อย่าง บางเวลามันก็มีกิเลส คือมีความยึดถือและเป็นทุกข์ บางเวลามันว่างโดย โดย โดยเหตุอะไรก็ตาม ว่างจากกิเลสจากความยึดถือ มัน มันก็ไม่มีความทุกข์ ทีนี้ปัญหาต่อไปมันก็มีว่า เราก็ชอบฝ่ายที่ไม่มีความทุกข์ และทำอย่างไรเราจึงจะเป็นอย่างนั้นได้ตลอดเวลา นี่คือปัญหาที่กำลังเป็นอยู่จริง ทำให้ฟัง เอ่อ,คำสอนไม่รู้เรื่อง คือคำสอนที่ว่าให้ทำอะไรโดยที่จิตไม่ต้องยึดถือ ให้พูดอะไรโดยจิตไม่ต้องยึดถือ หรือคิดอะไรโดยที่จิตไม่ต้องยึดถือ มีอะไรโดยที่จิตไม่ต้องยึดถือ ใช้สอยอะไรโดยที่จิตไม่ต้องยึดถือ มันทำไม่ได้ เขาจะปฏิเสธเสียเลยว่าถ้าไม่ยึดถือแล้วมันก็ไม่ทำอะไรเลย นี่ก็ต้องจัดไว้เป็นปุถุชนชั้นเลวมาก คือไม่รู้เรื่องทุกข์ เอ่อ,หรือเรื่องไม่ทุกข์เสียเลย หมายมั่นปั้นมืออย่างเดียวว่าเราจะต้องยึดถือ เราจึงจะทำอะไรได้ เช่นว่าจะทำนา จะค้าขาย จะทำราชการ ทำอะไรก็ตามที่เป็นการงานนั้น ก็ทำโดยไม่ต้องยึดถือและไม่ต้องหนักอกหนักใจ ไม่ต้องเป็นทุกข์อีก เขาว่าทำไม่ได้ เขาก็ไม่เข้าใจผม ผมก็ไม่เข้าใจเขา บางทีก็ไม่อยากพูดอะไรกันต่อไปอีก นี่ก็เลิกกัน เดี๋ยวนี้มันมี เอ่อ,ข้อเท็จจริงที่สำคัญอยู่ข้อหนึ่งซึ่งจะต้องรู้ ว่าถ้ามันทำไม่ได้โดยทำอะไรโดยไม่ต้องยึดถือนี้ทำไม่ได้แล้วก็ พุทธศาสนาก็ไม่มีประโยชน์อะไร เอาไปทิ้งเสียเลยก็ได้ ไม่ ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะพระพุทธศาสนานี้โดยหลักก็คือจะสอนแต่เรื่องไม่ให้ยึดถือและอย่าให้เป็นทุกข์ แต่พร้อมกันนั้นก็ไม่ได้สอนหรือไม่ได้ห้ามว่าอย่าทำงาน หรือว่าอย่าทำอะไร ก็ ก็ไม่ได้ห้ามให้ทำอะไรไปตามที่จะต้องทำ นี่ให้ทำโดยไม่ต้องมีความทุกข์เหมือนกับที่เขาทำๆกัน เพราะว่าเราทำโดยจิตที่ไม่มีความยึดถือ มีแต่สติปัญญาที่จะรู้ว่าจะต้องทำอย่างไร เราศึกษาหรือเรา เอ่อ,ค้นคว้าหรืออะไรก็ทำได้โดยไม่ต้องยึดถือ เราก็มีความรู้มีสติปัญญาว่าเราจะต้องทำอะไร เรามีแต่ว่า เอ่อ,รู้ว่าต้องทำอย่างไรแล้วทำให้ดีที่สุด ถ้าไปเกิดยึดถือกันเช่น เอ่อ,รู้สึกว่ามันจะสำเร็จ มันจะไม่สำเร็จ มันจะได้ มันจะเสีย มันจะละอายเขาอย่างนี้เป็นต้น อันนี้คือมันยึดถือไปพลางทำไปพลาง มันทำไม่ได้ดีกันหรอก จิตมันไม่ได้เป็นจิตที่ปกติ แต่มันเป็นจิตที่หวั่นไหว มืดมัว หนักอึ้ง มืด เอ่อ,กระสับกระส่ายอยู่อย่างนั้น ก็เป็นทุกข์ด้วย ทำงานไม่สำเร็จด้วย ถ้าสำเร็จก็โดยบังเอิญ และมันไม่ควร จะ จะเป็นอย่างนั้น คือเราไม่ควรจะเป็นทุกข์ในการทำงาน คือหลังจากนั้นก็ไม่ควรจะเป็นทุกข์ ในเมื่อได้เสวยผลงานเก็บรักษาสะสมไว้ก็ตาม ตรงนี้ขอให้จับใจความเป็นไป ให้สรุปความให้ได้ว่า ธรรมะหรือพระพุทธศาสนานี้มีไว้สำหรับให้เราทำงานโดยไม่ต้องเป็นทุกข์ ฆราวาสก็ทำงานของฆราวาสโดยไม่ต้องเป็นทุกข์ ก็ทำเรื่อยไปจนตลอดชีวิตคือจนกว่าจะพอ เป็นพระก็ทำหน้าที่ของพระ ทำงานของพระ เอ่อ,เรื่อยไปโดยไม่ต้องเป็นทุกข์อย่างเดียวกัน เราก็ได้กำไรอยู่ในตัวคือไม่ ไม่เป็นทุกข์ สนุกสนานไปเลยในการทำงาน เอ่อ,ผลงานก็เกิดขึ้นและใครจะใช้ประโยชน์อะไรก็ใช้ไป ไม่ได้ใช้ผลงานนี้ เอ่อ,ก็ไม่ยึดถืออีกเหมือนกัน ก็ต้องไม่หนักอกหนักใจ ฉะนั้นฆราวาสก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมะได้ ฆราวาสก็บรรลุมรรคผลได้ เป็นพระโสดาบันได้ เป็นพระสกิทาคามีได้ ถึงกับเป็นพระอนาคามีก็ได้ หรือจะเป็นพระอรหันต์ก็ได้แต่มันจะต้องเปลี่ยนแบบแห่งการเป็นอยู่เท่านั้นเอง เป็นอันว่าเราเข้าใจในข้อนี้ว่าธรรมะนี้มีไว้สำหรับทุกคน ในการทำหน้าที่ของตนของตน เอ่อ,โดยไม่ต้องมีความทุกข์ นี้เป็นหลักพื้นฐานว่าไม่ต้องมีความทุกข์ ถ้าการงานสำเร็จก็ใช้ประโยชน์ไปตามเรื่องที่มันควรจะเป็นและก็ไม่ต้องเป็นทุกข์และก็เป็นประโยชน์แก่ทุกคน ถ้าเผอิญ เอ่อ,การงานนั้นไม่สำเร็จ ถ้าเผอิญว่าการนั้นพลั้งพลาดล้มเหลวขาดทุนหรืออะไรก็ตาม คนโง่เท่านั้นแหละที่จะเป็นทุกข์ ผู้มีธรรมะก็ไม่ต้องเป็นทุกข์อีก ก็ดูต่อไปว่าทำไมมันจึงพลาด ที่ถูกมันควรทำอย่างไร คือความพลาดมันกลายเป็นของมีประโยชน์ไป คือกลายเป็นการศึกษาไป เป็นเหตุให้ฉลาดขึ้นกว่าเดิม ฉะนั้นความผิดพลาดนั้นน่ะ มันก็มีประโยชน์มาก มองกันแล้วบางทีจะทำให้ ให้ใกล้นิพพานเร็วกว่าไอ้ความสมหวังเสียอีก ความสมหวังก็ทำให้หลงระเริงไป ไม่ต้องคิดอะไรก็ได้นอกจากจะหลงระเริงไป ส่วนความผิดพลาดนั้นถ้าคนโง่ผิดพลาดมันก็เป็นทุกข์มันก็ตกนรก ทีนี้ถ้าคนที่มีธรรมะเป็นพุทธบริษัทผิดพลาด ไอ้ความผิดพลาดนั้นกลับเป็นการศึกษาเป็นครูบาอาจารย์สอนให้รู้ความถูกต้อง เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่มีความทุกข์เพราะการงานผิดพลาดกล่าวคือ (นาทีที่ 35.23) และเขาก็ได้ความรู้ใหม่เพิ่มเติมจากความผิดพลาดนั้น ต่อไปมันก็ไม่ผิดพลาดอีก นี่เรียกว่ามันไม่ยึดถือโดยประการทั้งปวง ทำงานสำเร็จก็ไม่ได้ยึดถือ ทำงานผิดพลาดก็ไม่ได้ยึดถือ ไม่เกิดความทุกข์ขึ้นในปริยายไหนทั้งหมด ถ้ายึดถือก็พูดได้เลยว่าจะมีความทุกข์ทั้งหมดเหมือนกัน คือสมหวังหลงระเริง พอใจโง่ลงไป นี่เป็นความแบกของรักของพอใจไว้อย่างลึกซึ้ง การทุกข์อย่างลึกซึ้งมองไม่เห็น จนถึงกับมีบาลีว่า มีบุตรก็ทุกข์เพราะบุตร มีภรรยาก็ทุกข์เพราะภรรยา มีทรัพย์สมบัติก็เป็นทุกข์เพราะทรัพย์สมบัติ มีเกียรติยศชื่อเสียงก็เป็นทุกข์เพราะเกียรติยศชื่อเสียง มันโง่ แม้ได้สมหวังมันก็ยังเป็นทุกข์ ก็มันมีไม่เป็น เรียกว่ามันได้สำเร็จประโยชน์ตามที่มันต้องการมันก็ยังเป็นทุกข์ ถ้าไม่ได้ ไม่ได้ตามที่หวังก็ยิ่งเป็นทุกข์ใหญ่ คนโง่มันก็เป็น มี เอ่อ, เป็นคนมีความทุกข์ทั้งขึ้นทั้งล่อง พูดภาษาธรรมดาทำสำเร็จก็เป็นทุกข์ ทำไม่สำเร็จก็เป็นทุกข์ ส่วนผู้ที่เป็นพุทธบริษัทมีธรรมะ ก็ไม่เป็นทุกข์ เอ่อ,ทั้งขึ้นทั้งล่องเหมือนกัน สำเร็จก็ไม่ได้ยึดถือให้เป็นของที่มารัดรึงหัวใจ กดทับจิตใจ ไม่วิตกกังวล ไม่สำเร็จ ผิดพลาดเพราะไม่ยึดถือและก็ไม่เป็นทุกข์ และก็ถือเป็นการศึกษา นี่คือประโยชน์ของธรรมะ ถ้าพวกคุณไม่ต้องการประโยชน์อันนี้จากธรรมะ ผมก็ไม่มีอะไรจะพูด แล้ว แล้วธรรมะก็จะเป็นหมัน เอ่อ,หรือว่าพระพุทธเจ้าก็จะเป็นหมัน ถ้าคุณ ถ้า ถ้าคุณไม่ต้องการอย่างนี้ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็คือรู้วิธีที่จะทำให้ไม่เป็นทุกข์โดยประการทั้งปวง สรุปแล้วคือความไม่ยึดถือ ฉะนั้นพระองค์จึงย้ำแล้วย้ำอีกเรื่อยไป สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ขันธ์ทั้ง ๕ ที่ถูกยึดถือนั้นเป็นความทุกข์ คำว่าขันธ์ทั้ง ๕ ในกรณีนี้หมายถึงขันธ์ทั้ง ๕ ที่กำลังสวยงาม อร่อยเป็นที่พอใจก็ได้ ขันธ์ทั้ง ๕ ที่กำลังเป็นที่ เอ่อ,ไม่สวยงาม ไม่เอร็ดอร่อย ไม่พอใจก็ได้ ถ้ามันเป็นทุกข์เท่ากัน เราบวช แล้วคิดดูเราต้องลงทุนกี่มากน้อยในการบวช กระทั่งการมาอยู่ที่นี่ จะต้องทำอะไรทุกอย่างที่เป็นการลงทุน ลงทุนไหว้พระสวดมนต์ ตื่นแต่ดึก กินอยู่อย่างที่เรียกว่า คนขอทานอันนี่ เรียกว่าการ เอ่อ,ทั้งหมดนี้เป็นการลงทุนทั้งนั้น ก็ได้อะไร มันก็ได้ไอ้ที่ว่านี้อย่างเดียว ได้ความรู้เข้าใจเรื่องที่จะเป็นอยู่โดยไม่ต้องยึดถือ แต่มันแวดล้อมเข้ามาจากทุกด้านไม่ใช่รู้ทีเดียวได้หมดทันที ฉะนั้นเรา เพราะฉะนั้นเราต้อง เอ่อ,สังเกตต้องอุตส่าห์ศึกษาและสังเกตดูให้ดีๆ แล้วเดี๋ยวนี้เราอุตส่าห์หนีมา หลีกมา ไม่ใช่พ่ายแพ้นะหลีกมา เอ่อ,เราหลีกมาเพื่อจะศึกษาให้มันดีกว่าที่อยู่ที่บ้าน หรือไม่ได้บวช เมื่อพบอะไรเข้าเราต้องศึกษาโดยวิธีใหม่ คือวิธีที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ ขอให้มีสติจับฉวยในความรู้สึกที่มันเกิดขึ้น ถ้ามันพอใจเป็นอย่างไร ถ้ามันไม่พอใจเป็นอย่างไร เรามีเวลามีโอกาสที่ทำการศึกษานี้อย่างประณีต อย่างละเอียด สุขุม ลึกซึ้ง สมกับที่เป็นบรรพชิต ไอ้ระเบียบวินัยทั้งหลายที่ต้องปฏิบัติมากมายนั้นก็ ก็เพื่อว่าเตรียม ตัวเรานี่ เตรียมกาย วาจา ใจของเรานี่ให้เหมาะให้พร้อมที่จะเป็นผู้ศึกษาธรรมะอย่างที่ว่ามา ฉะนั้นคุณก็ศึกษาในส่วนวินัย ปฏิบัติในส่วนวินัยให้พร้อมเพรียง และมันก็ปรับปรุงเรา จิตใจของเราให้อยู่ในฐานะที่จะศึกษาธรรมะลึกซึ้ง ให้จับฉวยไอ้ธรรมะอันลึกซึ้งนี้ได้โดยง่าย เอ่อ,จากจิตใจของเราเอง คือทุกขณะที่มันเกิดขึ้น รู้ว่ามันเปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างเช่นว่าเมื่อก่อนนี้อยู่ที่บ้านถ้าไม่ชอบก็ชกต่อยมันนั่นน่ะ เดี๋ยวนี้มันทำอย่างนั้นไม่ได้ ถ้าเกิดอะไรไม่ชอบขึ้นมาจะเป็นบุคคลหรือสิ่งของก็ตาม มันต้อง ต้องทำอย่างอื่นไม่ใช่ไปทุบมันเสีย หรือว่าไปชกต่อยมันเข้า ถ้าอย่างนั้นมันเป็นสัตว์ป่าเลวยิ่งกว่าไม่ได้บวชเสียอีก พระเณรองค์ไหนเกิดไม่ชอบใจขึ้นมาก็ทุบมันเสีย ชกต่อยมันเสีย ท้าต่อยท้าตีมันเสียอย่างนี้ มันก็ไม่ใช่พระสิ มันก็เลวไป เป็นสัตว์ป่าไปเลย ทีนี้เราจะเป็นพระที่แปลว่า ดี ว่าประเสริฐ มันก็ต้องดูสิว่ามันเป็นอย่างไร ดู ทั้งข้างนอกข้างในและดูทั้งสองฝ่าย ฝ่ายอารมณ์ข้างนอกนั้นก็ดู ฝ่ายจิตในภายในนี้ก็ดูว่ามันอะไรกันแน่ แต่ผมคิดว่ามันคงจะยากที่จะดูนี่ ในชั้นแรกๆคือเ มื่อศึกษายังไม่พอนี่ และสติมันก็ยังไม่พอด้วย ความรู้มันก็ยังไม่พอด้วย มันยากที่จะดู ในการที่จะยับยั้งไอ้ความพลุ่งขึ้นของกิเลส ของโทสะที่มันเคยชินเป็นนิสัยน่ะมันยาก แต่ก็ขอให้พยายาม ทำระเบียบวินัยก่อน ยับยั้งไว้ก่อน ตั้งตัวตั้งสติกันเสียแล้วก็ดูว่าอะไรกันเว้ย, จิตนี้เป็นอย่างไร ทำไมมันจึงเกิดความรู้สึกอย่างนี้ขึ้นมา อารมณ์หรือสิ่งข้างนอกหรือบุคคลหรือสิ่งของหรืออะไรก็ตามที่มันเข้ามากระทบจิตมันเป็นอย่างไร ดูไป เอ่อ,ตามสติปัญญาที่มี ตามการศึกษาที่มีในชั้นต้นนี้เอ่อ,คงจะดูยากเพราะเพิ่งบวช แต่มันก็ไม่เกินวิสัย อย่างน้อยมันก็ต้องดูว่า อ้าว,เดี๋ยวนี้มันโกรธแล้วเว้ย, มันบ้าแล้วเว้ย, มันไม่เหมือนกับเมื่อ เอ่อ,ก่อนนี้แล้ว นี่ เพียงเท่านี้มันก็จะเป็น เป็นจุดตั้งต้นที่เราจะดูให้ถูกต้องให้ลึกซึ้ง จนกระทั่งมันพบ ไอ้ขั้นตอนของความรู้สึกของจิตที่มันเปลี่ยนไปๆ เรียกชื่อต่างๆไปตามลำดับเช่นที่มีอยู่ในตำรา คัมภีร์ที่เราเรียน ตาเห็นรูปเกิดจักษุวิญญาณ นี่คือการเห็นทางตา กระทบกันระหว่างสิ่งทั้ง ๓ นี้ก็เรียกว่า ผัสสะ ถ้ามีผัสสะก็มีเวทนา รู้สึกรักหรือไม่รัก สวยหรือไม่สวย พอใจหรือไม่พอใจ ในเมื่อเกิดตัณหาอยากอย่างนั้นอยากอย่างนี้ตามไอ้ความรู้สึกนั้นตามลักษณะของเวทนานั้น ตัณหานี้คืออยาก เกิดขึ้นแล้วแต่ว่าเวทนามันน่ารักบางอย่าง บางอย่างเวทนามันไม่น่ารักก็ไปอีกอย่าง พอมันเกิดอยากอย่างนี้แล้วมันเกิดความรู้สึกอันดับต่อไปก็คือรู้สึกว่า กูอยาก ฉันอยาก นี้มี มีตัวตนเกิด เมื่อตะกี้ยังไม่มีตัวตน ตัวตนเพิ่งเกิดหลังจากความอยาก น่าหัวที่ว่าผู้อยากนี้เกิดทีหลังความอยากเพราะมันไม่ใช่เรื่องธรรมดาสามัญอย่างเรื่องวัตถุทั่วไป เรื่องทั่วไปมันต้องมีคนผู้อยากมันจึงจะเกิดความอยาก แต่เรื่องธรรมะนี้มันไม่มีคน มันมีแต่จิต จิตรู้สึกอยากมันจึงรู้สึกทับลงไปอีกทีว่ากูอยาก นี่ก็เรียกว่า อุปาทาน คือความยึดมั่น ถือมั่น อุปาทานนี้มีในสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นของหนักขึ้นมาทันที คนนั้นก็รู้สึกเป็นทุกข์ขึ้นมาทันที ตัวกูก็เป็นทุกข์ ไอ้ของที่กูอยากกูรักกูมีกูอะไรก็เป็นทุกข์ เอ่อ,ก็เป็นของหนักและเป็นทุกข์ เมื่อมีอุปาทานอย่างนี้แล้วมันก็ต้องเป็นทุกข์แน่ แล้วก็แบ่งไว้เป็นขั้นตอนคือ เอ่อ,อุปาทานให้เกิดภพ เป็นความมี ความเป็นตัวกูที่เต็มเปี่ยม ก็เกิดเป็นชาติออกมา เป็นกูอย่างนั้นเป็นกูอย่างนี้เต้นเร่าๆอยู่ ทีนี้ถ้าโดยทั่วไปจะใช้ได้ทุกกรณีเกี่ยวกับจิตที่ได้พบอารมณ์ ก็รู้ไว้เลยว่ามันเป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ พระพุทธเจ้าหรือใครก็บัญญัติกฎนี้ไม่ได้ จะตั้งกฎนี้ขึ้นมาไม่ได้ไม่มีอำนาจหรือไม่สามารถ มันเป็นกฎของธรรมชาติ เพียงแต่ว่าพระพุทธเจ้าท่านรู้กฎอันนี้ เพราะถ้าอย่างนี้แล้ว ท่านตรัสรู้แล้วสอน ฟังดูให้ดีๆท่านตรัสรู้คือรู้ไอ้กฎธรรมชาตินั้นโดยการค้นคว้าของท่านแล้วท่านก็มาสอน ท่านไม่ได้เป็นผู้ตั้งกฎอันนี้ อันนี้มันเป็นกฎธรรมชาติ ฉะนั้นพุทธศาสนาทั้งหมดนั้นขอให้รู้ รู้ว่าเป็นอย่างนี้ เป็นกฎของธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าท่านทรงค้นพบและก็นำมาสอนทุกเรื่องไป ที่ท่านบัญญัติตามพอพระทัยหรือตามอำนาจของท่านนั้นเป็นเรื่องวินัย ยึดผู้บัญญัติ(นาทีที่ 49.01)ว่าต้องทำอย่างนี้นะ ต้องทำอย่างนี้นะจึงจะเป็นภิกษุที่พร้อมหรือที่ง่ายที่จะรู้ธรรมะ แต่ก็ไม่ เอ่อ,ไม่พ้นไปจากการที่มันต้องเนื่องด้วยกฎของธรรมชาติอันเดิม เพราะบัญญัติวินัยเพื่อให้ธรรมะไปเป็นกฎธรรมชาติ ฉะนั้น วินัยนั้นจะบัญญัติว่าอย่างไร ถ้าไม่บัญญัติให้มันคล้อยแก่การที่จะรู้ธรรมะ คือกฎของธรรมชาติ ถ้าตัววินัยนี้บัญญัติให้เหมาะสมแก่บุคคลกาลเทศะและอีกประการหนึ่งท่านจะไม่บัญญัติก็ได้วินัยนี้ พระพุทธเจ้าว่าพระองค์ก็ไม่ได้บัญญัติวินัย ถ้าเกิดพระพุทธเจ้าไม่บัญญัติวินัยแต่สอนแต่ธรรมะล้วนๆ มันก็ยากน่ะที่ว่าคนมันจะรู้ธรรมะได้ ก็จะเป็นอยู่อย่างไม่เหมาะสมที่จะรู้ธรรมะนั่นเอง ปล่อยให้ไปตาม เอ่อ,ความพอใจของตนนี้มันยากหรือมันช้าที่จะเหมาะสำหรับรู้พระธรรม ฉะนั้นวินัยก็มีประโยชน์อย่างยิ่งที่ช่วยขูดหรือแต่งหรือกล่อมเกลาคนนั้นให้เหมาะสมที่จะรู้ธรรมะเร็วเข้า(นาที่ 50.36)ฉะนั้นเราก็ต้องเคารพวินัยต้องปฏิบัติวินัยคู่กันกับพระธรรม ก็ถือหลักธรรมวินัย ธรรมวินัย คู่แฝดกันมา วินัยนี้ทรงบัญญัติขึ้น ธรรมะนั้นคือกฎธรรมชาติที่ เอ่อ,ค้นพบแล้วนำมาสอน ฉะนั้นวินัย...(นาทีที่ 51.02)แก่ธรรม เพราะไอ้การรู้ธรรมมันมีขึ้นโดยง่าย แต่ที่ทำนี่ก็เพื่อแก้ปัญหาของมนุษย์ ให้เป็นมนุษย์ที่ไม่รู้จักความทุกข์ ไม่ใช่โง่ไม่รู้จักความทุกข์ ไม่ใช่ คืออย่าให้พบไปกับความทุกข์ ไม่รู้จักทุกข์กันอีกต่อไปถ้ามีธรรมะถึงที่สุด จะไม่พบกันกับความทุกข์อีกต่อไป นี่เรียกว่า พ้นทุกข์ ดับทุกข์ คือรู้ธรรมะด้วยใจในภายในจนเกิดจิตชนิดที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรอีกต่อไป เป็นการเอ่อ,ไม่ยึดถืออะไรอีกต่อไป ก็ไม่ทุกข์ไม่มีความทุกข์อีกต่อไป ทีนี้อยากจะพูดย้อนไปอีกหน่อยว่า จะรับเอาได้เท่าไร หรือควรจะรับเอาได้สักเท่าไร แล้วบรรพชิตเอ่อ,ควรจะรับเอาได้สักเท่าไร ผมจะตอบว่าให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ฆราวาสก็ควรจะรับเอาธรรมะและมีธรรมมะให้มันมากที่สุดเท่าที่มันจะมากได้มันไม่เสียหายอะไร แต่อย่า อย่าลืมหลักที่พูดไว้ทีแรกว่า ไม่ได้ห้ามว่าอย่าทำอะไร ไม่ได้ห้ามว่าอย่ามีลูกอย่ามีเมีย ไม่ได้ห้ามว่าอย่าทำการงาน มีทรัพย์สมบัติ ไม่ได้ห้ามทั้งหมดที่แปลว่าจะต้องทำ ขอแต่เพียงว่าให้ทำด้วยจิตใจที่ประเสริฐคือจิตใจที่มันมีธรรมะอย่างนี้ แล้วมันจะไม่มีทางทุกข์ มันก็จะหาทรัพย์สมบัติได้โดยไม่ต้องมีความทุกข์ จะมีบุตรภรรยาได้โดยที่ไม่ต้องมีความทุกข์ มีเกียรติกับชื่อเสียงโดยไม่ต้องมีความทุกข์ ทีนี้มันเลื่อนชั้นของมันเองคือมันจะเบื่อของมันเองไปตามลำดับ ถ้าเดินมาถูกวิธีธรรมะมันจะเบื่อของมันเองตามลำดับ ถ้าไม่เดินมาอย่างถูกวิธีแล้วธรรมะมันจะไม่รู้จักเบื่อก็ได้ คือมันจะโง่จนตายก็ได้ มันจะจมอยู่ในโลกนั้นถึงตายก็ได้ โทษของการที่ไม่รู้ธรรมะ ก็หมายความว่ามันทุกข์จนตาย มันมีความทุกข์จนตาย คือถ้ามันมีธรรมะมันรู้ธรรมะมันก็เริ่มทำให้ไม่รู้จักทุกข์ หรือเป็นทุกข์น้อยกันเสียตั้งแต่เด็กๆ เด็กๆที่ได้รับ เอ่อ,การอบรมสั่งสอนธรรมะที่ดีมันก็จะมีทุกข์น้อยกว่าเด็กๆที่ไม่รู้ธรรมมะ ที่พอเขาเป็นหนุ่มเป็นสาวเขาก็เป็นคนที่ดี เป็นพ่อบ้านแม่เรือนที่ดีเป็นอะไรที่ดีไปตามลำดับ คือมีทุกข์น้อย ฉะนั้นในบาลีพูดไว้จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม พระอรหันต์อายุ ๗ ขวบก็มี ผมไม่เชื่อ มันต้องตีความหมายเป็นอย่างอื่น แต่พระอรหันต์อายุ ๕ ขวบนี่ก็ไม่ใช่อยากจะเชื่อ นี่เขาเป็นฆราวาสนะ และต่อมาก็จะเป็นพระทีหลัง แต่ว่าพระโสดา สกิทาคา เอ่อ,การเป็นฆราวาสนี่(นาทีที่ 54.48)เป็นของที่ไม่ต้องฝืน ไม่ต้องฝืนความรู้สึก คือเชื่อได้ มีได้ เป็นไปได้ เพราะว่าถ้ามี เอ่อ,เพราะว่าเขามีธรรมะเหล่านี้เพียงพอ คือมีการยึดถือน้อย มีความรู้ในการที่จะไม่ยึดถือแล้วมันก็มีความยึดถือน้อย และเป็นคนที่มีความทุกข์น้อย แต่มิได้หมายความว่าไม่มีความทุกข์เสียเลย มีน้อยจน เอ่อ,จนมองไม่ค่อยเห็น เพราะว่าถ้าไม่มีความทุกข์เลยนั้นมันมีแต่พระอรหันต์ประเภทเดียว อย่างพระโสดา สกิทาคา อนาคา มันก็มีความทุกข์ไปตามลดหลั่นแต่มันน้อยมาก มันน้อยจนเป็นที่น่าพอใจ มันน้อยมากเอ่อ, หลาย หลายพันเปอร์เซนต์ หลายหมื่นแสนเปอร์เซนต์ ไม่ก็มันผิดกันนิดหน่อยกับปุถุชน แม้เหล่าพระโสดาบันจะมีความทุกข์บ้าง แต่ว่าความแตกต่างกันกับปุถุชนตรงนั้นน่ะไกลกันมาก จนพระพุทธเจ้าท่านเปรียบ ratio ว่ามัน ว่าขี้ฝุ่นติดเล็บมือกับขี้ฝุ่นทั้งโลก มัน มันต่างกันไกล ขี้ฝุ่นที่ติดปลายเล็บกับขี้ฝุ่นทั้งโลกน่ะ มันต่างกันไกล ขี้ฝุ่นทั้งโลกก็คือมาตรฐานของไอ้ปุถุชนคนโง่ ขี้ฝุ่นที่ยังเหลือเพียงเล็บมือนี่คือพระโสดาบันก็ต่างกันแบบนี้ ก็เปรียบอะไรทำนองนี้อีกมาก นี่พอรู้ว่าการเป็นปุถุชนกับอริยบุคคลนั้นมันไกลกันมาก แต่นั้นเราก็ยังพูดได้ว่าพระอริยบุคคลชั้นต้นๆก็ยังมีความทุกข์อยู่เหลืออยู่อย่างแนบเนียน ทีนี้เรา เราลองมองไปในแง่ที่ว่ามันไม่มีความทุกข์ถึงกับทรมาน ก็ควรจะเป็นที่พอใจแล้ว มีเหย้ามีเรือนมีบุตรภรรยาสามี มีเกียรติยศชื่อเสียงมีหน้าที่การงานทำประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็มีความทุกข์ชนิดที่ เอ่อ,น้อยมาก นี่ก็คิดดูว่ามัน มันน่าสนใจไหมหรือว่ามันน่า น่าจะมีไหม ธรรมะในลักษณะที่จะรับประกันไม่ให้เกิดความทุกข์ขึ้นแม้ในเพศฆราวาส ถ้าเห็นว่ามัน มันมีค่าแล้วก็เราก็จะรู้ รู้คุณค่า รู้พระคุณของพระพุทธเจ้าว่าใหญ่โต ใหญ่หลวง แล้วก็มีพระคุณแก่สัตว์ทั้งหลายอันใหญ่หลวง การรู้ธรรมะนี้ทำให้เรารู้จักพระพุทธเจ้า หรือจะทำให้เรามีศรัทธามีอะไรในพระพุทธเจ้าอย่างแน่นแฟ้น อย่าง อย่างแท้จริง ที่เราจะว่าว่าเราศรัทธาเราถือเอาเป็นสรณะนี้มันก็ว่าแต่ปากเสียโดยมาก มันต้องเป็นความรู้สึกที่รู้สึกจริง เหมือนกับเรามาทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น อย่างที่ทำอยู่นี้เมื่อเราว่าอะไรออกไปเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ แล้วเรากราบลงไปอย่างนี้ ขอให้นึกถึงข้อนี้ อย่า อย่าทำ อย่า อย่า อย่า อย่าทำเพียงกิริยาอาการเพ้อๆละเมอเพ้อฝัน นี่เรียกเอ่อ, เรียกว่า เข้า เข้าใกล้หรือรู้จักพระพุทธเจ้ายิ่งขึ้นทุกที ยิ่งขึ้นทุกที ไม่ใช่เท่าเดิม เรายิ่งขึ้นทุกที ยิ่งขึ้นทุกที ที่เราทำวัตรสวดมนต์ ปากพร่ำถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า ถึงคุณของพระธรรม ถึงคุณของพระสงฆ์ นี่เป็นอุบายอยู่ในตัวที่จะให้รู้จักธรรมะ เข้าถึงธรรมะมากขึ้น ถ้าเรากราบลงไปครั้งหนึ่งก็กราบพระพุทธเจ้านี่ ขอให้เรามองเห็นคุณของพระพุทธเจ้า คือผู้รู้ธรรมะที่ประเสริฐสุดที่ทำให้มนุษย์ไม่ต้องเป็นทุกข์อย่างที่ได้ว่ามาแล้วนี้ เมื่อกราบพระธรรมก็เหมือนกันแหละตัวนี้คือตัวสิ่งนี้ตัวที่จะทำให้คนไม่เป็นทุกข์ ทีนี้ถ้ากราบพระสงฆ์นี่หมายความว่าผู้ที่ปฏิบัติได้อย่างนี้มันน่าจะกราบไหว้ แล้วยังแถมมีมากเสียอีกเป็นหมู่คณะใหญ่ มันก็ควรจะกราบไหว้ ทำวัตรเช้าทำวัตรเย็น ขอให้ทำด้วยจิตใจอย่างนี้ ถ้าทำได้อย่างนี้ มันก็เป็นที่แน่นอนว่าไม่เท่าไรหรอกจะเจริญงอกงามในทางของพระธรรม คือจะมีพระธรรมและก็ดับทุกข์ได้จริง และช่วงเวลาสามเดือนนี้คงจะได้อะไรมากผมเชื่ออย่างนี้ ถ้าคุณทำอย่างถูกวิธีช่วงสามเดือนนี้จะได้อะไรมาก ถ้าไม่ถูกวิธีคุณก็จะไม่ได้อะไรเลย ได้แต่พิธี ได้แต่ตามพิธี พอเป็นพิธี ว่าสักว่าได้บวชแล้ว ได้สวดมนต์แล้วได้อะไร สรุปความวันนี้ คือหัวข้อของธรรมะที่เป็นหลักเป็นประธาน เรียกว่า ธรรมปาฏิโมกข์ ให้รู้ว่าธรรมะนี้มีเพื่อให้คนเอาชนะความทุกข์ได้ โดยระบุลงไปที่คนมันมีความรู้สึกอยู่ ๒ ประเภท ความรู้สึกประเภทหนึ่งทำให้คนเป็นทุกข์ ความรู้สึกอีกประเภทหนึ่งไม่ทำให้คนเป็นทุกข์ ถ้าเรามีธรรมะเราจะมีแต่ความรู้สึกประเภทที่ไม่ทำให้เราเป็นทุกข์ นี่คือพระธรรม เราต้องตั้งต้นมาด้วย เอ่อ,มาจากการรู้จักจิตใจ เอ่อ,ตัวเองน่ะเสียก่อน เรียกว่ารู้จักตัวเองก่อน บทเรียนมันจึงจะตั้งต้นได้ เพียงแต่อ่านหนังสือเล่าเรียนในโรงเรียนนั้นบทเรียนอันแท้จริงยังไม่ตั้งต้น หรือตั้งต้นมันก็ตั้งต้นเรียนอย่างปริยัติคือความรู้ จำได้ก็ได้ เดี๋ยวก็ลืมเดี๋ยวก็ไม่รู้ทิศเหนือทิศใต้อะไรนัก มันเพียงแต่ท่องได้มากขึ้น จำได้มากขึ้น หรือว่าอย่างดีที่สุดก็เป็นเรื่องรู้จักใช้เหตุผลพูดจา ทีนี้เอ่อ,ในทางภายในนี้แม้แต่ว่า แม้จะไม่ได้เรียนปริยัติอะไรนัก ไม่ได้รู้อะไรมากนักทางตัวหนังสือแต่ก็รู้มากในทางตัวจริงหรือของจริงคือตัวธรรมชาติ คือร่างกาย จิตใจ ความรู้สึกของจิตใจ ซึ่งสรุปความแล้วก็ต้องพูดว่าเรียนธรรมะนี้ต้องเรียนจากภายใน ต้องเรียนจากความรู้สึกของจิตใจอยู่ตลอดเวลา เช่นพบว่าความรู้สึกอย่างนี้เป็นทุกข์ ความรู้สึกอย่างนี้ไม่เป็นทุกข์ ถ้าพลาดเผลออย่างไรมันจะเกิดความรู้สึกชนิดนี้คือเป็นทุกข์ ถ้าเรารู้ว่าเราควบคุมไว้ดีหรือถูกต้องอย่างไรมันก็ไม่เป็นทุกข์ มันเท่านั้นเอง ผมกลัวว่าจะอ่านหนังสือกันมากมายแต่ก็จับใจความไม่ได้ คือไม่ คือไม่สามารถเอามาปฏิบัติโดยตรงได้ มันจะเป็นประโยชน์..(นาทีที่ 1.04.12) หนังสืออันนี้มันมากนะเฉพาะที่ผมพูดๆเขียนๆนั้นมันก็มากแล้ว มากแล้วยังมีคนอื่นอีกตั้งหลายคน มันก็มาก มันก็จะเวียนหัวแล้ว ถ้าจับใจความไม่ได้ ฉะนั้นถ้าหนังสือนั้นมันถูกต้องมันก็แสดงแต่อย่างนี้ทั้งนั้น แสดงว่าอย่างไรเป็นทุกข์ อย่างไรไม่เป็นทุกข์เท่านั้นเอง ฉะนั้นถ้าอ่านหนังสือก็คอยรู้จักอ่านให้จับใจความได้ จับใจความได้ก็จะมีความรู้หรือรู้สึกมันตรงกับเรื่องจริงหรือเรื่องจริงในจิตใจของเราจริงนี่ นี่ก็เรียกว่าจับใจความจากหนังสือที่อ่านได้ ก็ควรอ่านเหมือนกัน ก็ควรอ่านหนังสือชนิดที่มันจะช่วยให้เข้าใจอย่างนี้เร็วเข้า หนังสืออื่นๆที่ไม่จำเป็นก็เว้นเสียดีกว่า หนังสือที่จำเป็นเอ่อ,มันก็คือหนังสือเรื่องที่จะทำให้รู้ข้อนี้ ฉะนั้นระหว่างที่บวชนี้ใช้ ใช้เวลาให้ดีที่สุด ให้มันเข้าถึงธรรมะเสียที และมันก็จะอยู่ตลอดไปจนตลอดชีวิต เข้าถึงธรรมะในลักษณะนี้มันไม่ลืมและมันไม่เลือนและมันไม่เฝือได้ และมันเข้าถึงด้วยความรู้สึกอย่างแท้จริงจนไม่ต้องใช้เหตุผลกันอีกต่อไป จนไม่ต้องใช้ความจำอะไรกันอีกต่อไป เป็นธรรมะแท้จริงอยู่กับเนื้อกับตัวจริงก็คุ้มครองผู้ปฏิบัติได้จริง สมตามที่ท่านตรัสไว้ว่า ธรรมะนี้จะทรงบุคคลผู้ปฏิบัติไว้ไม่ให้ตกลงไปในกองทุกข์ เอาละเป็นอันว่าวันนี้เราพูดกันเป็นวันประเดิมเริ่มแรกให้รู้จักสังเกตจิตใจโดยลักษณะ ๒ อย่างและเราก็จะพยายามอย่างดีที่สุดที่จะดำรงจิตใจไว้แต่ในลักษณะที่น่าพอใจคือไม่เป็นทุกข์นั่นเอง ขอยุติธรรมปาฏิโมกข์วันนี้ไว้เพียงเท่านี้