แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
๑๖ มกราคม ๒๕๑๖ (นาทีที่ ๐๐:๒๓ – ๐๑:๐๔) ในโอกาสนี้ เป็นโอกาสสุดท้าย ที่จะพูดเกี่ยวกับให้ศีลให้พร ซึ่งเป็นธรรมดาของคนไทย เป็นเรื่องให้ศีลให้พรด้วยเหตุนั้นเหตุนี้กันอยู่บ่อยๆ เพื่อให้มีความเจริญ ก็ควรรู้จักคำนี้กันบ้าง ให้ศีล ๑ คำ ให้พร ๑ คำ บางคนคิดว่า ให้ศีลเป็นการรดน้ำ ก็คล้ายกับให้พร ให้ศีล – ให้ศีละ มากกว่า แล้วก็ให้พร จะพูดถึงเรื่องให้ศีลก่อน เพราะมีความหมายสำคัญกว่า ถ้าหากว่าให้ศีลแล้วเอาศีลไปได้ ก็ย่อมจะเป็นพรแก่ตัวเอง ให้พรคือ ให้สิ่งที่ประเสริฐ แต่จะประเสริฐเฉยๆ โดยที่ไม่ต้องทำอะไรไม่ได้ จะต้องมีศีล ให้ศีล มีศีล เมื่อมีศีลย่อมจะต้องมีสิ่งที่ประเสริฐอยู่ในตัว
คำว่า “ศีล” หรือ “ศีละ” ในภาษาบาลี เป็นระเบียบสำหรับปฏิบัติเก่าแก่มาก เพราะเรื่องที่ตอนพุทธกาล กับบางตอนก่อนพุทธกาลเขียนไว้ก็มีเรื่องศีล รู้จักศีล ในพระพุทธเจ้าก่อนๆ ภิกษุก็มีศีล เป็นที่รู้จักกันอยู่แล้ว สมัยที่เป็นเพียงพระโพธิสัตว์ ท่องเที่ยวอยู่ ก็มีเรื่องมีศีล ต้องมีความผูกพันอย่างสำคัญที่สุดสำหรับมนุษย์ทุกยุคทุกสมัย ยุคที่มีพระพุทธเจ้าก็ดี กำลังว่างพระพุทธเจ้าก็ดี (นาทีที่ ๔:๓๓) ก็ต้องการสิ่งนี้กันทั้งนั้น เมื่อสิ่งนี้มันสำคัญเกี่ยวกับสังคม ไม่มีศีลก็คือว่าไม่มีระเบียบ สังคมที่ไม่มีระเบียบ นอกจากจะดูว่ามันไม่เรียบร้อยแล้ว มันจะยังเป็นการเบียดเบียนกันให้ลำบากด้วย จะมีความทุกข์ มีความลำบาก ถ้าดูก็ไม่เรียบร้อย ไม่ราบรื่นเรียบร้อย ก็จะนึกถึงข้อที่ว่า ศีลมีขึ้นมาในโลกได้อย่างไร ก็เป็นเรื่องในพระคัมภีร์ซึ่งมีอยู่ แม้ในพระบาลี พระไตรปิฏกก็มี ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ศีลเกิดขึ้นในโลกได้อย่างไร ก็เล่าไปถึงเมื่อแรกมนุษย์เกิดขึ้นในโลก คนที่เรียกว่าคนป่า จนมาถึงคนธรรมดา ไม่เช่นนั้นก็ยังไม่มีอะไรมาก ก็มีคนน้อย หาของกินตามที่เกิดอยู่เองในป่า เป็นผลไม้หรือเป็นหน่อไม้ รากไม้ เผือก มัน แม้กระทั่งเป็นหญ้า สารของหญ้า พวกข้าวทั้งหลาย ข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ข้าวที่คล้ายๆ หญ้า ไม่มีใครมียุ้งฉางอย่างที่เคยเล่าไว้ ก็เก็บมากินวันๆ หนึ่ง ไม่มีใครเอาที่เกินมา เพราะมันยังพอกินกันอยู่ ต่อมาคนเกิดเห็นแก่ตัว ไปเก็บเอามามากเกินกว่าที่จะใช้ในวันหนึ่งๆ ก็คือมียุ้งมีฉาง เก็บส่วนที่ยังไม่ใช้วันนี้ เป็นส่วนเกินมา เห็นแก่ตัว ทำกันหนักเข้ามันก็ลำบาก ไม่พอ ทุกคนก็มากขึ้นต้องเพาะปลูก เพาะปลูกแล้วก็ยังมีคนที่นอกคอกออกไป ไม่ได้ปลูกเอง ขโมยของคนอื่นให้มีการทะเลาะวิวาท ต้องต่อสู้ ต้องระมัดระวังมากขึ้น มันไม่มีความสุขเลย มูลเหตุที่จะทำให้เกิดระเบียบ คิดออกว่าจะต้องมีคนควบคุม จึงสมมติให้คนที่มีลักษณะท่าทางจะเป็นผู้ควบคุมได้ แข็งแรง มีสติปัญญาเห็นกันอยู่ ให้คนนี้เป็นผู้ควบคุม สมมติให้ว่ามีอำนาจเป็นผู้ควบคุมให้มีความสงบ จะได้รักษาระเบียบ และลงโทษผู้ที่ควรลงโทษ ก็เลยมีระเบียบวินัย มีผู้รักษาระเบียบวินัย คล้ายๆ กฏหมายขึ้นมา ในชั้นแรกๆ สิ่งที่เรียกว่า “ศีล” ในลักษณะข้อบังคับหรือระเบียบคล้ายๆ กฏหมายก็เกิดขึ้นมา ซึ่งต่อมาก็เกิดอุปกรณ์สิ่งเหล่านี้ขึ้น จึงทำให้มีศีลอยู่ได้ นั่นคือ “ธรรม” เป็นเครื่องสนับสนุนให้มีศีล ได้แก่สิ่งที่เรียกว่า “หิริ และ โอตัปปะ” มีความละอายกลัวต่อความชั่ว แม้ว่าจะมีกฏระเบียบที่ทำให้คนประพฤติปฏิบัติตาม เมื่อไม่มีคนเห็นก็ไม่ปฏิบัติตาม ก็ยังไม่กำเนิดประโยชน์ ทีนี้ก็มีระเบียบทางธรรมเกิดขึ้น ตำหนิติเตียนหรือทำให้เกิดกลัว หรือว่าทำให้เกิดความกลัวละอายขึ้นมาในตัวเอง ศีลระเบียบต่างๆ อยู่ได้ ทั้งต่อหน้าและลับหลังคน คือทั้งที่มีคนเห็นและไม่มีคนเห็น ก็เพราะมี “หิริ และ โอตัปปะ” คือละอาย เดี๋ยวนี้ลองคิดดู ถ้าเกิดไม่มีความละอายขึ้นมา ก็มีการฝืนระเบียบ เขียนว่า “อย่าเดินตัดสนามหญ้า” ก็ยังไม่ละอาย ก็ยังเดินตัดสนามหญ้า เคยเห็นด้วยตาว่า บางแห่งสนามหญ้าเขียนว่า “ทางสุนัขเดิน ไม่ใช่ ทางคนเดิน” สัตว์เดินตัดสนามหญ้า ก็ยังมีคนที่ไม่ละอายเดิน เห็นได้ชัดว่าความไม่ละอายจะเกิดการไม่ทำตามระเบียบ ไม่มีศีล ไม่มีระเบียบขึ้นมา “อย่าเก็บดอกไม้เหล่านี้” ก็ยังเก็บกัน ไม่ละอาย แกล้งทำไม่รู้ไม่ชี้ไม่เห็น เพราะไม่ละอายและไม่กลัว ไม่กลัวความละอาย ไม่กลัวใครจะนินทาด่าว่าก็ไม่กลัวไม่อะไรทั้งนั้น ถ้ามีความละอายความกลัว ระเบียบก็อยู่ได้ ศีล ระเบียบ กฏหมาย ต่างๆ ก็อยู่ได้ เมื่อไม่มีศีล ก็ไม่ละอายและไม่กลัว ทำไมจึงไม่ละอายและไม่กลัว ถ้ามองดูต่อไปอีกนิดหนึ่งว่า ก็มันมี “กิเลส” ชนิดหนึ่ง ความอยากจะได้ หรือความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัวที่อยู่ในรูปความอยากมากเกินไป จนควบคุมไม่อยู่ สำหรับคนนั้นควบคุมไม่อยู่ สำหรับคนอื่นอาจจะควบคุมได้ง่ายหรือ (นาทีที่ ๑๑:๕๓) ต้องควบคุม เพราะเขาไม่มีความเห็นแก่ตัวมากจนถึงกับอยากชนิดรุนแรงจนไม่ละอาย จนไม่กลัว จนทำผิดระเบียบ ขอให้คิดดูว่าแม้แต่เดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นแบบนี้ อย่าว่าแต่สมัยดึกดำบรรพ์โน้น อยากจะเล่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ฟัง อย่าคิดว่าเป็นเรื่องปรำปราโง่เง่าเต่าตุ่น เขาเรียกว่า “เทวธรรม” ความละอายและความกลัว เรียก “หิริ” ละอายต่อบาป ต่อความชั่ว “โอตัปปะ” ละอายต่อบาป ต่อความชั่ว เลยเรียกกันว่า “หิริ–โอตัปปะ” อันนี้มีอยู่ในเรื่องชาดกที่เล่าเรื่องก่อนพุทธกาลระหว่างที่ไม่มีพระพุทธเจ้า มีปัญหาเกิดขึ้นว่า อะไรเป็นธรรมะที่ประเสริฐ จนเรียกว่า “เทวธรรม” เป็นธรรมะของเทวดา ธรรมะของผู้เป็นเทวดา อยากจะลองเดาก็ได้ สันนิษฐานก็ได้ว่าคนเหล่านี้ไม่ใช่เทวดา ก็อยากจะทราบว่าอะไรเป็นธรรมะของเทวดา ถามหาเทวธรรม ใครรู้แล้วก็จะได้เป็นเทวดา ใครที่มี “หิริ-โอตัปปะ” ก็ดี อย่างที่เรียกว่าเป็นสุภาพบุรุษน่ารักน่านับถือ ไม่มีอันตราย ก็เลยยกให้เป็นเทวดา ถ้าจะสมมติต่อไปอีกหรือว่าเดาต่อไปอีก พวกที่มาใหม่จากที่อื่น จากประเทศอินเดีย มาทีหลังมีความเจริญมาก เรียกว่าเทวดาก็ได้ มีเรื่องเล่าว่า เทวดารบกับอสูร อสูรเป็นเจ้าของบ้าน คนอยู่เดิม พวกดำๆ แดงๆ ชนชั้น ต่อมามีพวกขาวมาจากทางอื่น ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย เข้ามาในประเทศอินเดีย มีอะไรแปลกกว่า เจริญกว่าทางวัฒนธรรม ก็มาขับไล่พวกดำๆ ให้หนีไป รบกันอยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งบางคราวก็ยอมสัมพันธ์กัน บางคราวก็รบกัน เทวดารบกับอสูร ไม่จำเป็นว่าเทวดาคือพวกที่มันเจริญกว่า มีระเบียบวินัยดีกว่า น่าดูกว่า อะไรก็เป็นของเทวดาเข้ามาใหม่ เมื่อมาจากที่ไกลที่สูง น่าจะเรียกเทวดาว่าอย่างนั้น คนดำๆ คนเก่าๆ ในอินเดียก็ถูกจัดเป็นอสูร พ่ายแพ้แก่เทวดาอยู่เรื่อย ถอยร่นอยู่เรื่อยทางใต้และลงทะเลไป ก็มีระเบียบ ๒ ระเบียบ สำหรับคนทั่วไป ความเก่าก่อนที่ยังไม่เจริญ และพวกมาใหม่ พวกเทวดาหรือพวกเจริญ เมื่อไปถามอะไรเป็นธรรมะของเทวดา ธรรมะที่ถือกันเป็นปกติในพวกเทวดา (นาทีที่ ๑๕:๔๑) ระเบียบต่างๆ ที่ทำให้อยู่ได้ เขาก็เล่าเป็นนิทานสมมติ ไม่ใช่ของแท้ ว่า ๓ พี่น้องเป็นผู้ชาย ในนั้นมีพระโพธิสัตว์รวมอยู่ด้วย คือผู้ที่จะเป็นพระพุทธเจ้ารวมอยู่ด้วย ในอนาคตนะ ไม่ใช่เดี๋ยวนี้ เดินทางไกล ไปหยุดพัก ระหว่างทางอยากจะได้น้ำดื่ม ใช้น้องคนเล็กกว่าเพื่อนไปตักน้ำในสระที่มียักษ์ที่อยู่ในสระ เรียกว่า “รากษส” จับไว้ ถามว่า “รู้จักเทวธรรมไหม” บอก “ไม่รู้” ยักษ์จับไว้จะกิน ๒ คนเห็นว่านานนัก พี่ชายใช้น้องชายที่เหลืออีกคนตามไปอีก ยักษ์จับไว้ ไม่รู้เทวธรรมจะกิน ฉะนั้นพี่ชายที่เป็นพระโพธิสัตว์ต้องตามไปเอง ได้ฟังดังนั้น เมื่อยักษ์ถามว่า “รู้จักเทวธรรมไหม” ก็บอกว่า “รู้” เขาบอกให้นั่งให้เรียบร้อย ให้แสดงความเคารพก่อนที่จะพูดอะไรที่เป็นธรรมะ ก็บอกว่า “เทวธรรม คือ หิริ-โอตัปปะ” (นาทีที่ ๑๗:๑๕ ภาษาบาลี) บรรดาคนที่มีพร้อมด้วย “หิริ-โอตัปปะ” ประพฤติอยู่ในธรรมที่ถูกต้อง (นาทีที่ ๑๗:๒๙ ภาษาบาลี) สัตบุรุษผู้รู้ทั้งหลาย รู้ว่าคนนี้เป็นคนมีเทวธรรม ยักษ์เห็นด้วย ก็เลยปล่อยออกหมด นี่จะเรียกเป็นนิทานก็ได้ จำไว้เป็นนิทานก็ได้ มันจำง่ายดี รอดมาได้เพราะรู้เทวธรรม มีเทวธรรม ถ้าไม่เชื่อเรื่องยักษ์เทวดาผีสาง ต้องแปลความมาใส่ในรูปที่เปรียบเทียบอุปมา ถ้าว่าเป็นมนุษย์เราไม่มีเทวธรรม มนุษย์เดี๋ยวนี้ไม่มีเทวธรรม ยักษ์จะกินหมด มีความเห็นแก่ตัว เบียดเบียนกันอย่างไม่เหลือสักคนหนึ่ง เห็นว่าจะมีละอายอยู่บ้าง ไม่ใช่ว่าไม่ละอาย กลัวอยู่บ้าง ไม่ใช่ว่าไม่กลัว ถ้าลองไม่มี หิริ-โอตัปปะ ก็ไม่ละอายและไม่กลัว ก็ทำไปด้วยอำนาจแห่งกิเลส เบียดเบียนกันเรื่อย ฆ่ากันเรื่อยทั้งหมดไป นี่เรียกว่ายิ่งกว่ายักษ์กินอีก กินหมดเลย ในโลกนี้ถ้ามันเกิดมิกสัญญี ใช้อาวุธล้างผลาญกันทีเดียวหมด หรือว่าเกือบหมดเรียกว่ายักษ์กิน เพราะเหตุใด เพราะคนทั้งหลายเหล่านั้นไม่มีหิริ-โอตัปปะ ไม่ละอายในการที่จะเบียดเบียนกัน ไม่กลัวผลการเบียดเบียนกัน ไม่กลัวบาป เพราะอะไร เพราะเห็นแก่ตัวข้างเดียว จนไม่ดูอะไรเห็นหน้ามืดไปด้วยกิเลส เห็นแก่ตัว ไม่เห็นอะไรนอกจากจะเอาทั้งนั้น ไม่ได้ก็จะบังคับเอา จะขโมยเอา จะเบียดเบียนเอาวิธีใดวิธีหนึ่ง นี่มันจึงฆ่ากันลง ในเมื่อตัวเองก็ไม่อยากจะตาย ไม่อยากให้มาฆ่า เราก็ไปฆ่าคนอื่น ไม่ฆ่าเรา ขอให้สนใจในสิ่งที่เรียกว่า “หิริ-โอตัปปะ” อย่าได้เจตนาฆ่า เจตนาจะป้องกันตัว เอาชีวิตรอดนั้น มันก็มีอยู่อย่างหนึ่ง อย่างที่ยังยกให้หรือลดลงมา แต่เดี๋ยวนี้มันมากไปกว่านั้น ทั้ง ๒ ฝ่าย นิสัยที่ฆ่าสิ่งมีชีวิต โดยมีเหตุผลมา เรียกว่าไม่มีหิริ-โอตัปปะ โดยไม่รู้ตัว ซึ่งเด็กเล็กๆ เห็นอะไรตัวเล็กๆ มีชีวิตเดินมาก็มักจะฆ่า อยากฆ่าเพราะความกลัว ความเห็นแก่ตัว เอาชีวิตของเราไว้ เลยไปกระทืบสัตว์เล็กๆ แมลงเล็กๆ ไปก่อน อย่างนี้ก็ยังไม่รู้เรื่อง ต้องสอนให้รู้เรื่องว่ามันมีชีวิตเหมือนกัน ไม่มีเหตุผลอะไรจะไปฆ่ามันได้ เป็นเรื่องฆ่าโดยไม่มีความละอาย ความกลัว เรื่องต่อสู้ป้องกันตัวนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง หิริ-โอตัปปะ หมายถึงละอายบาป กลัวต่อบาป รู้อย่างนั้นเป็นบาปก็จะไม่ทำ ก็เป็นเหตุให้ศีลอยู่ได้ คนก็มีศีล ศีลมาจากความละอายและความกลัว ความละอาย ความกลัวมาจากความไม่เห็นแก่ตัว จนบางทีเราต้องสละตัวเราได้บางที ถ้าเป็นเรื่องขั้นสูงของพระโพธิสัตว์ก็ยอมสละตัว สละประโยชน์ของตัว สละชีวิตของตัวเพื่อผู้อื่นอยู่ เดี๋ยวนี้เราไม่ต้องการจะเป็นพระโพธิสัตว์ ไม่ต้องถึงขนาดนั้น ต้องมีความละอาย ที่ว่าชั่วนั้นบาปก็อย่าทำ ที่กลางแจ้งที่เห็นไม่กล้าทำเพราะละอายเพื่อนโห่เพื่อนฮา หรือว่าละอายถูกจับไปลงโทษ ติดคุกติดตาราง หรือในชั้นถ้าครูจับไปลงโทษหน้าชั้น ก็เลยเกิดความละอาย ก็เลยกลัว พอเกิดความไม่ละอายขึ้นมา ก็ไม่มีอะไรเหลือ เพื่อนจะโห่ หรือว่าจะถูกลงโทษก็ไม่กลัว ก็เลยเรียกคนไม่ละอายว่า คนเก้อยาก ภาษาบาลีเรียกว่า “เก้อยาก” คือคนที่ละอายยาก ภาษาบ้านเราเดี๋ยวนี้เรียกว่า “คนหน้าด้าน” ก็เลยไม่ต้องมีอะไรต้องพูดกัน ต้องนึกถึงใจความสำคัญคือ ความละอายและความกลัว เป็นรากฐานของศีลธรรมให้ออกมาเป็นศีลเป็นระเบียบ ระเบียบจะมีอยู่ได้ ไม่ใช่ว่าการลงโทษอย่างเดียว ระเบียบจะมีอยู่ได้ด้วยการลงโทษหรือกลัวอย่างนี้ หรือความละอายภายนอกนั้นมันยังไม่ลึกซึ้ง เพราะว่าไม่มีใครเห็นเขาก็ทำอีก เขาทำในสิ่งที่ไม่มีใครเห็นเข้า เขาก็ไม่ละอายหนัก ถ้าเขาจะมาทำให้คนเห็น มันก็มีส่วนลึกความละอายตัวเอง ความละอายแก่ใจตนเอง ถ้าใครมีอันนี้จะรับประกันได้ว่า “ธรรมะคุ้ม” ยิ่งกว่าอะไรๆ คุ้ม ยิ่งกว่าเครื่องรางคุ้ม ยิ่งกว่าอะไรๆ คุ้มหมด มีความละอายแก่ใจเอง ก็ไม่มีการทำผิดเกิดเรื่องเกิดราว หรือทำผิดจนมีอันตราย อย่างนี้เรียกว่า “พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่แท้จริงคุ้ม” ถ้าเขาจะเรียกว่า เทวดาคุ้ม มันก็ความหมายอื่น ไม่ใช่ผีสางอย่างที่คิด เป็นผู้ที่มีเทวธรรม หรือ “เทวธรรมคุ้ม” ไม่ทำชั่วไม่ทำบาป ก็คุ้มหมดนั่นเอง แขวนเครื่องรางหรือแขวนพระพุทธรูปเล็กๆ ที่คอ ลองไม่ละอาย ลองไปทำบาปทำชั่ว มีผลตรงกันข้ามคือคุ้มไม่ได้ และมีอีกเรื่องหนึ่ง เรื่องชาดกทำนองนี้ (นาทีที่ ๒๔:๑๐) พระโพธิสัตว์อีกเหมือนกันเป็นเจ้าหน้าที่นับเงิน รักษาเงินของพระราชา เป็นคนดีมาก คนนับถือ คนรัก แม้กระทั่งพระราชาเองก็รักนับถือ วันหนึ่งอยากจะทดลองทบทวน เลยคิดขึ้นว่าเขานับถือเราเพราะอะไร ก็เลยอยากทดลอง เขารักเราเพราะเรามีดี มีความซื่อตรง ซื่อสัตย์ มีศีล หรือเขารักเราเพราะเขารักเราในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่ง ก็เลยแกล้งทำให้เงินหายไปในลักษณะที่เรียกว่าเหมือนกับฉ้อโกง พอรู้ถึงหูพระราชา พระราชาก็จัดการไปตามเรื่อง (นาทีที่ ๒๕:๑๕) พระโพธิสัตว์รู้แน่แล้วว่าเขารักเราเพราะมีศีลธรรม มีความจริง มีความซื่อตรง ก็แสดงให้ดูว่าเงินที่หายไปนั้น มันอยู่ตรงตัวเงิน (นาทีที่ ๒๕:๓๐ – ) ในที่สุดพระโพธิสัตว์เองและทุกคนก็อมรับว่า รักนับถืออยู่ได้เพราะมีดี มีจริง มีศีล ให้ทุกคนถือเป็นหลักอย่างเดียวกันหมด เลยว่าคนที่จะเป็นคนที่เป็นที่รัก ที่นับถือ เพราะมีศีล จะดีอย่างไร จะฉลาดอย่างไรก็อย่าอวดดี อย่าคิดว่าเรียนมาก รู้มาก ฉลาดมาก หรือมีความสามารถมาก ไปทำอะไรผิดๆ ได้ก็จะไม่มีคนถือโทษ ยกโทษให้ เอาความรู้เอาอะไรอย่างนี้เข้าไปข่ม มันไม่ได้ มันต้องมีดีด้วย การที่คนมีความรู้จะได้รับการยกโทษให้ได้บ้างเมื่อทำผิด เป็นส่วนน้อย ไม่จริงเพราะคนที่ไม่ถือธรรมเป็นหลัก นิยมคนที่ถือธรรมเป็นหลัก ถือระเบียบเป็นหลัก มีชื่อเสียงอยู่ในประวัติศาสตร์มากมาย แม้ในเมืองไทยเอง เด็กๆ รู้เรื่องพันท้ายนรสิงห์ ถือความดี ความจริง ความตรง ความมีระเบียบเคร่งครัดนี้เป็นหลัก บ้านเมืองจึงจะอยู่ได้ คนมันจึงจะอยู่ได้ มีศีล จะเรียกว่า “มีสัตย์หรือมีศีล” ก็เหมือนกัน ให้ตรงให้ถูกต้องตามระเบียบ เดี๋ยวนี้เราชักจะไม่ค่อยถืออย่างนี้กันมากขึ้น แล้วก็จะลำบาก ที่ไหนมีอย่างนี้จะลำบาก ถ้าในโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งไม่ถืออย่างนี้ คอยดูเถอะ จะยุ่งไปหมด และผู้ไม่ถือจะเดือดร้อนเหมือนกัน ทุกคนจะเดือดร้อน ไม่มีระเบียบวินัย เมื่อเกิดผ่อนผันเรื่องนี้มากเข้าๆ ยึดออกไปให้ทำอย่างชิน อย่างนี้ได้ มันก็เลยไปไม่มีที่สิ้นสุด จนจะแก้กฏเกณฑ์หรือแก้หลักเรื่องศีลเรื่องอะไรใหม่ ทุกคนมีกิเลสมาก ในโลกนี้เราเกิดสร้างความนิยมอย่างนั้นไม่ผิดศีล อย่างนี้ไม่ลามกอนาจารขึ้นมาแล้ว สมัยก่อนถือว่าเป็นเรื่องลามกอนาจารอย่างยิ่ง ไม่กล้าพูดให้ใครได้ยิน ไม่แสดงท่าทางอะไรให้ใครดู เดี๋ยวนี้ก็พูดสิ่งที่เราเรียกว่าไม่น่าพูด ควรจะพูดในที่คนอื่นอยู่ กลายเป็นดัดแปลงเป็นบทละครไปแสดงทางวิทยุ ได้ยินเสียงกันทั้งเมืองทั้งประเทศ ยิ่งศีลธรรมเสื่อมทรามไปหมด และการแต่งกายของสตรีที่เปลี่ยนไปในทาง เมื่อก่อนเรียกว่าลามกอนาจาร เป็นนิยม เป็นลามกอนาจาร ถามว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดกิเลสแก่สังคมขึ้นก็เลยได้รับโทษเอง เป็นที่ตั้งแห่งอาชญากรรมทางเพศทางอะไร ไม่มีศีล ไม่มีสัตย์ ไม่รักษาความละอายความกลัว โลกกำลังเป็นอย่างนี้ ถ้าเราเป็นพุทธบริษัท ก็ต้องเป็นพุทธบริษัท ถ้าเป็นไทย ก็ต้องเป็นไทย อย่าเป็นทาสทางวัฒนธรรมเลวๆ ให้คนเหล่านั้นรับเอา รักษาความเป็นพุทธบริษัท ก็คือมีสิ่งที่มีหิริ-โอตัปปะ เมื่อประเทศอื่นเขาทำ ก็ไม่จำเป็นว่าประเทศเราต้องทำ ในเมื่อเขาไม่ได้เป็นพุทธบริษัท เขาก็ทำไปตามแบบของเขา เมื่อเราเป็นพุทธบริษัท ก็ต้องทำตามแบบของพุทธบริษัท ปกปิดสิ่งที่ทำให้สูญเสียหิริ-โอตัปปะ และพิจารณาการนุ่งห่มของภิกษุก็มีปกปิดสิ่ที่ทำให้หิริ-โอตัปปะ ให้กระจัดกระจายไปเสีย คือไม่ละอาย ไม่นุ่งห่มให้เรียบร้อย ไม่ปกปิดสิ่งที่จะทำให้เกิดความไม่ละอาย (นาทีที่ ๓๐:๒๗ ภาษาบาลี) ภาษาบาลีว่าอย่างนั้น ภิกษุสามเณรต้องพิจารณาเอาจีวรมาห่ม หลักของพุทธบริษัทมีอย่างนี้ จะต้องไม่กระทำสิ่งที่กระทำให้หิริ-โอตัปปะสูญเสียไป เดี๋ยวนี้มาเป็นคนหน้าด้าน เอามาประกวดกันกลางเวที มันก็ไม่มีหิริ-โอตัปปะ เหลืออยู่ในจิตใจ มันเป็นคนหน้าด้านมากทุกทีๆ เรามองไปในแง่ที่เรียกว่า เป็นการประกวดคนหน้าด้าน นางสาวหน้าด้าน ไม่ใช่นางงาม คนที่มีจิตคิดอย่างนั้นก็เรียกว่าโสเภณีทางวิญญาณ หรือทางจิตใจ ยั่วยวนคนให้ลุ่มหลงในตัวเขา จะให้ประโยชน์แก่เขาในกาลข้างหน้า นี่วัฒนธรรมใหม่บอกให้รู้ว่าทำลายเสียด้วยหิริ-โอตัปปะเรื่อยๆ ไปจนเกิดอาชญากรรมระหว่างเพศ เต็มไปหมด ในบางประเทศที่ใหญ่โตที่เจริญ ที่นำหน้านั่นนี่ อย่าเอาชื่อเขา ว่ามีอาชญากรรมทางเพศ เกี่ยวกับเพศไม่อย่างนั้ก็อย่างนี้ทุกๆ ๗ วินาที แสดงว่านาทีเดียวก็หลายหน เกิดอาชญากรรมเกี่ยวกับเรื่องทางเพศที่นั่นที่นี่ที่โน่นมาทั่วประเทศ เฉลี่ยแล้ว ๗ วินาทีต่อเรื่อง ทั้งเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ใดก็ตาม มันคือความไม่มีหิริ-โอตัปปะ ไม่ได้ทำให้คนที่เป็นอาชญากรทำได้โดยไม่ต้องกลัว ไม่มากก็น้อย ความไม่มีหิริ-โอตัปปะ ก็จะทำให้โลกฉิบหายในวันหนึ่ง ไม่มีระเบียบ ไม่มีความละอายต่อบาปต่อความชั่ว นี่ก็ตรงกันข้าม ก่อนที่จะมีความละอาย ความกลัว ความอะไรขึ้นมา ก็รักษาให้ดี ศีลธรรมดีที่เรียกว่า ศีลจะต้องมีหิริ-โอตัปปะ จำเป็นแก่มนุษย์ ที่จะเป็นมนุษย์ ไม่เช่นนั้นก็เป็นสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์ แม้รูปร่างอย่างมนุษย์ แล้วทีนี้จะมีศีลกันอย่างไร ในรูปร่างอย่างไร มีศีลได้ก็ต้องนึกถึงทีแรก คนอื่นปลูกไว้ คนหนึ่งไม่อยากทำ ขี้เกียจ ก็ไปขโมยมา นี่เรียกว่ามันละเมิด ใช้คำว่า “ละเมิด” ประโยชน์ของผู้อื่น ล่วงละเมิดต่อประโยชน์ของผู้อื่น เป็นการประทุษร้าย พอมีการประทุษร้ายทางใดทางหนึ่ง เรียกว่า ไม่มีศีล เพราะศีลเป็นขั้นแรก เป็นรากฐานที่สำคัญที่สุด มี ๕ อย่าง ซึ่งก็คงจะท่องกันได้แล้วทุกคน “ปาณาติปาตา เวระมะณี” จนถึง “สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานะ เวระมะณี” ใจความอาจจะถือเอาหมดได้หรือยังไม่แน่ ควรจะจดหรือควรจะจำให้มันแน่ไปว่า
ศีลข้อที่ ๑ “ปาณาติปาตา” : ไม่ล่วงละเมิดในชีวิต ร่างกายของผู้อื่น ไปทำเขาตายหรือหมดชีวิต ทำเขาเจ็บปวด ละเมิดส่วนของร่างกาย จะต้องไม่ละเมิด จะไม่ประทุษร้ายร่างกายและชีวิต ทั้งผู้อื่น สัตว์อื่น ทั้งที่เจตนาประทุษร้าย จะฆ่าจะฟัน ทำอะไรที่ไหนก็ตามใจ มันทำให้หมดศีล เป็นการประทุษร้ายชีวิตเขา และร่างกายเขา ผิดศีลข้อ ๑ เต็มที่ หรือครึ่งหนึ่ง หรือโดยส่วนใดส่วนหนึ่ง
ศีลข้อที่ ๒ “อะทินนาทานา” : จะไม่ประทุษร้ายทรัพย์สมบัติของเขาทั้งหมดทั้งนั้น จะเป็นลักหรือขโมยครั้งหนึ่ง หรือทำลายแล้วเอามาเอง ใช้เอง กินเอง หรือว่าทำลายเล่นสนุกๆ มันเรียกว่าประทุษร้ายทรัพย์สมบัติของเขา ถือเพียงไม่ประทุษร้ายทรัพย์สมบัติที่เป็นของผู้ใด ก็เรียกว่าข้อนี้ “อะทินนาทานา” ไม่ต้องหาทางออกแก้ตัวอย่างนั้นอย่างนี้ ทีนี้หาทางออกแก้ตัวจนไม่จริงไปหมด นี่เราเรียกว่าพูดกันอย่างศีลธรรมในพระพุทธศาสนา ไม่ต้องอาศัยพยานเห็นๆ ถ้ากฏหมายจับตัวไปลงโทษต้องมีพยาน บางทีมีพยานพอ ลักจริงขโมยจริงต้องไปลงโทษ ถ้าเป็นเรื่องศีลธรรม เรื่องศาสนา ไม่ต้องมีพยาน หรือว่าเห็นไม่เห็นก็ตามถ้าลงประทุษร้ายทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ก็เรียกว่า “ขาดศีล”
ศีลข้อที่ ๓ “กาเมสุมิจฉาจารา” : มุ่งหมายจะไม่ประทุษร้ายของรักของผู้อื่น มันมีสั้นๆ อย่างนี้ แม้แต่เด็กเล็กๆ ก็ต้องถือ ไม่ใช่เรื่องชู้สาว ไม่ใช่เรื่องเพศโดยตรง ก็ต้องถือว่าถ้ามันเป็นของรักของผู้อื่นละก็ ต้องไม่ประทุษร้าย ใน “อะทินนาทานา” ประทุษร้ายแก่ทรัพย์โดยตรงในฐานะที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งของความรัก ละเมิดเจ้าของเอาประโยชน์มาใช้ ประทุษร้ายของรัก ไม่ว่าจะเอามาหรือไม่ก็ตาม ทำให้เขาชอกช้ำน้ำใจ เพราะเป็นสิ่งที่เขารัก เรียกว่าผิดศีลข้อนี้ ข้อ ๓ ไม่ประทุษร้ายของรักของผู้อื่น ต้องถือทั้งหมด ทั้งผู้ใหญ่ เด็ก ผู้หญิง ผู้ชาย แม้แต่เด็กเล็กๆ เห็นว่าสิ่งนี้เขารัก เขาไม่อยากให้ใครแตะต้องเลย เขาหวง กำไว้ไม่ยอมปล่อย ก็อย่าไปแตะต้อง จะเป็นตุ๊กตาที่เขารัก หรือว่าจะเป็นวัตถุใช้สอยเล็กๆ น้อยๆ แม้กระทั่งดินสอ ปากกา มันสวย ที่น่ารัก ก็ไม่ควรจะไปทำให้เขาชอกช้ำใจ ในเมื่อเขาไม่อยากให้ใครแตะต้อง หรือทำให้สกปรก อะไรทำนองนี้
ศีลข้อที่ ๔ “มุสาวาทา” : ไม่ประทุษร้ายสิทธิที่เป็นของผู้อื่นด้วยวาจา ต้องใช้คำว่า “ด้วยวาจา” หรือ “สิ่งใช้แทนวาจา” เราไปโกหก หมายถึงใช้วาจา ปากพูดก็ได้ ใช้หนังสือเขียนก็ได้ ใช้ท่าทางก็ได้ ซึ่งมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ประโยชน์ของผู้ใดผู้หนึ่งเสียไป สิทธิอันชอบธรรมเขาเสียไป ทำเพื่อตัวเองก็ได้ เพื่อผู้อื่นก็ได้ ต้องมีคนเสียประโยชน์ เสียสิทธิ อะไรต่างๆ นี้เป็นคนโกหก ทำคนนั้นคนนี้คนโน้น ให้เสียประโยชน์ เสียสิทธิอันชอบธรรมด้วยใช้วาจา ในรูปวาจา หนังสือ หรือท่าทาง หรืออะไรที่เป็นวาจา เพราะแสดงความหมายออกมา
ศีลข้อที่ ๕ “สุราเมระยะมัชชะปะมาทะฐานา” : ถ้าคือทางบาลีก็ไม่มีทางยกเว้น สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เช่น สุรา เมรัย เป็นต้น สุราก็เมา เมรัยก็เมา มัชชะก็แปลว่าเมา “สุราเมระยะมัชชะ” จะเว้นจากมัชชะ เช่น สุราเมรัยเป็นต้น มัชชะก็ของเมา “ปะมาทะฐานา” ซึ่งเป็นที่ตั้งของความประมาท ถ้าทางบาลีไม่มีทางแก้ตัวหรือยกเว้น “เวระมะณี” เป็นเครื่องเว้น “ปะมาทะฐานา” จากสิ่งหรืออะไรก็ตามเป็นที่ตั้งของความประมาท เท่ากับคือน้ำเมา เช่นสุราเมรัย เป็นต้น ซึ่งแปลตัวจริงตัวท้าย “ปะทาทะฐานา” สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ความประมาทที่นี้คือสูญเสียความรู้สึกผิดชอบชั่วดี กระทั่งสูญเสียความรู้สึกตามปกติ ถ้าเราไม่เมา เราก็รู้อะไรเป็นอะไร ถูกต้องตามรู้อยู่ พอเมาเข้าก็ไม่รู้ ไม่รู้จักแม้แต่ตาย (นาทีที่ ๔๐:๑๗) ไม่รู้จักกลางวันกลางคืน เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือว่าเหลวไหล (นาทีที่ ๔๐:๒๕) อยากจำกัดความว่า ไม่ประทุษร้ายต่อสติสมประดีของเราเอง ศีลข้อที่ ๕ ควรจะจำกัดความว่าจะไม่ประทุษร้ายต่อสติสมประดีของเราเอง จะเรียกว่าสติสัมปชัญญะก็ได้ ภาษาบาลีใช้คำว่า “สติสมประดี” (นาทีที่ ๔๑:๐๙ ภาษาบาลี) ไม่ประทุษร้ายต่อสติสมประดีหรือสติสัปชัญญะ แล้วแต่จะชอบคำไหน ของเราเอง อะไรที่กินเข้าไป ที่สูบเข้าไป ที่ดื่ม ที่ทา ที่ลูบที่ไล้ก็ตาม ทำให้สติสัมปชัญญะสูญเสียไป เป็นหมดเลย ไม่ใช่เพียงแต่ดื่มทางปาก เช่น สุราเมรัย แม้แต่จะดื่มทางจมูก ทางผิวหนัง ทางทา ทางฉีด ทางอะไรก็สุดแท้ ที่มันซึมเข้าไปในร่างกาย ก็เรียกสิ่งนี้ทั้งนั้น เมื่อดื่มเสพของเมานี้ ก็คือประทุษร้ายต่อสติสมประดีของเรา เป็นเหตุให้ทำอะไรผิดหมด เพราะมันไม่มีสติสมประดีแล้ว ยิ่งกว่านั้นจะทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม คือกิเลสประเภทหนึ่งยังไม่สูญเสียไป มันยังอยู่ก็ทำไปตามกิเลสนั้น สติสัมประดีที่จะช่วยห้ามช่วยหยุดไว้ไม่มีเสียแล้ว จึงทำอะไรที่เป็นบาปเป็นกรรมในทุกอย่างชั้นต้นนั้นได้ เพราะดื่มสิ่งที่ทำให้เกิดเสียสติสมประดี หรืออยากจะแนะอีกทีหนึ่งว่า สติสมประดีสูญเสียไปเรื่องทางวัตถุจริงๆ ก็มี เรื่องทางจิตก็มี เครื่องมึนเมาทางวัตถุเช่น กินเข้าไป สูดเข้าไป ลูบทาเข้าไป ฉีดเข้าไป ต่างๆ นี่เป็นวัตถุที่ทำการดื่ม สูบเสพเข้าไป ทำให้เกิดสูญเสียสติสมประดี ทีนี้ยังมีวัตถุที่แสดงภาพให้เห็นเรื่อยๆ ดื่มเข้าไปทางตา ทางหู พวกนี้ก็มี เช่นเราไปดูละคร ลิเก ที่ลามกอนาจาร หรือที่ส่งเสริมความรู้สึกผิดๆ ก็เพราะเราดื่มอะไรเข้าไปทางตา ก็ทำให้เราสูญเสียสติสัมปชัญญะ โดยมากก็เป็นเรื่องกามารมณ์ หรือแม้แต่เราฟังเพลง แม้ว่าเป็นเพลงวิทยุก็มีอยู่มาก ที่ดื่มฟังเข้าไปตามหู ก็ทำให้จิตใจเสียความถูกต้อง เสียความทรงตัวแห่งจิต ที่เป็นความถูกต้อง พอจิตที่เสียแห่งความถูกต้องในการทรงตัว ก็เหมือนกับของเมาทางจิต ทางวิญญาณ ฉะนั้นต้องระวังเพราะนี่เป็นของเมา ได้เห็นทางตา ได้ฟังทางหู ทางที่ไม่ใช่ของแท้ๆ ที่จะต้องเข้าไป แต่ความหมายอันใดอันหนึ่งเข้าไป ก็ทำให้สูญเสียสติสัมปชัญญะได้มากกว่าเห็น และเป็นอันตรายกว่า ได้เห็นวัตถุที่ยั่วกิเลส ยั่วความกำหนัด ก็เลยต้องเผลอตัวทำไปตามนั้น ที่จะเห็นว่าดื่มของเมา เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เสื่อมเสียหาย ขอให้เข้าใจว่า แม้แต่ศีล ๕ น่าจะมีขอบเขตกว้าง ไม่ใช่แค่ดื่มเหล้าเมาเอะอะ มันก็ของเมาทุกอย่าง ทางวัตถุก็ดี ทางวิญญาณก็ดี นี่ลองทบทวนดูว่าศีล ๕ ข้อ มันจำเป็นไหม มากน้อยเท่าไร
ข้อ ๑ : ไม่ประทุษร้ายในชีวิตและร่างกายของผู้อื่น
ข้อ ๒ : ไม่ประทุษร้ายทรัพย์สมบัติของเขา
ข้อ ๓ : ไม่ประทุษร้ายของรักของเขา
ข้อ ๔ : ไม่ใช้วาจาประทุษร้ายสิทธิโดยชอบธรรมของเขา
ข้อ ๕ : ไม่ประทุษร้ายสติสัมประดีของตัวเอง
เพียง ๕ ข้อทั้งหมดไม่ต้องถืออย่างอื่นยังได้ ข้อ ๕ มันมีมาก เมื่อมีสติสมประดี ไม่ประมาทอยู่แล้ว เว้นอย่างอื่นไปหมด ศีล ๕ ข้อนั้นถูกจัดไว้เป็นแม่บทของศีลทั้งหลาย ที่จะแตกไปเป็น ๒๐ – ๓๐ มันออกจาก ๕ ข้อนี้ เพราะอย่างน้อยที่สุดมันก็รวมมาจากศีลข้อ ๕ นี้ ดังนั้นขอให้ทุกคนสนใจที่จะมีศีล ฉะนั้น “ให้ศีล” ก็หมายความว่า ให้ระบบศีลไปปฏิบัติ แล้วก็ “ให้พร” ที่จะคุ้มครองต่อมา คุ้มครองผู้ปฏิบัติขึ้นมายิ่งเป็นธรรม ก็อยากจะ “ให้ศีล ให้พร” ทำนองนี้ ซึ่งไม่เป็นการให้แต่ปาก แบบพิธีรีตรอง เป็นการบอกให้รู้ว่ามนุษย์ที่มีชีวิตอยู่อย่างมนุษย์ต้องมีสิ่งนี้ เหมือนว่าเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ ขาดแล้วต้องสูญเสียความเป็นมนุษย์คือตายนี่เอง เช่นเดียวกับทางร่างกาย ถ้าไม่ได้กินข้าวกินปลาอาหาร ก็ต้องตายในส่วนของร่างกาย ส่วนร่างกายมีอาหารอยู่ได้ไม่ตาย ส่วนจิตใจมันจะตายถ้าไม่ได้อาหารที่ถูกต้องกิน มันจะเป็นจิตที่ตายจากจิตมนุษย์ เป็นจิตที่ไม่ใช่มนุษย์ มันทำอะไรชนิดที่ทำลายตัวเองและผู้อื่น ดังนั้นจิตต้องได้ศีล ได้ธรรมะและพรต่างๆ ไปหล่อเลี้ยงด้วย เรียกว่าเป็นจิตที่ถูกต้อง ไม่ตาย อยู่ได้ก็เลยมีชีวิตทั้งจิตและทั้งกายคู่กันไปด้วยดี อย่าคิดแต่ว่าจะหาเงินมีทองมีทรัพย์สมบัติที่สนุกสนาน โดยไม่คำนึงถึงนั่นถึงนี่ จะฆ่าตัวเอง หาเงินมาซื้อสิ่งที่ฆ่าตัวเองให้ตายจากมนุษย์ หมดความเป็นมนุษย์ไม่ทันไร ดังนั้นจึงควรจะเรียนเรื่องศีลคู่กันไปกับเรื่องการศึกษาและอาชีพ มีความรู้และมีอาชีพ ส่วนร่างกายก็รอดตัวไป แต่ส่วนจิตยังไม่ปลอดภัย ก็ต้องเรียนเรื่องศีลเรื่องธรรมไปด้วย เดี๋ยวนี้มนุษย์ไม่ค่อยสนใจส่วนนี้ ตารางสอนก็ไม่ได้ลงเรียนหรือทั่วๆ ทั้งโลก สักนิดก็ไม่มี บางแห่งได้ยินว่าหลักการสอนการศึกษาสากลไปไกลถึงกับว่า เรื่องศาสนาเรื่องศีลเรื่องธรรมนี้ไม่ใช่เรื่องของโรงเรียน ไม่ใช่เรื่องการศึกษาอยางที่จะจัดโดยโรงเรียน ที่จะไปลงเรียนโดยกระทรวงศึกษาธิการ จะไว้เป็นเรื่องส่วนบุคคล ใครอยากได้ไปหาเอาที่โบสถ์ที่วัด วันอาทิตย์ก็ไปโบสถ์ไปวัด ฝรั่งไปหาเอาเอง โรงเรียนไม่มีหน้าที่ นี้ไปไกลมาก แล้วจะวินาศฉิบหาย เพราะว่าไม่มีใครอยากเข้าไปในเรื่องศีลเรื่องธรรมหรอก มีแต่ทางนี้มันยั่วมันล่อไป มันก็ไปแต่ทางนี้ โบสถ์ก็ร้างไปเอง ศาสนาก็เป็นหมัน พระเจ้าก็ตายแล้ว พวกฝรั่งส่วนมากเค้าว่ากันแบบนี้ ฝรั่งมาที่นี่มักจะบอกว่าผมไม่มีศาสนา เราถามว่าถือศาสนาอะไร เขาบอกว่าไม่มีศาสนา เราก็ตกใจ ไม่เคยได้ยินทีแรกและมันไม่จริง คนจะไม่มีศาสนาไม่ได้ คนจะมีอะไรอันใดอันหนึ่งที่ทำให้จิตใจพอใจหรือหยุด หยุดความกลัว ถ้าเค้าใช้ศาสนาเหล้า ให้เป็นเครื่องหยุดความกลัวก็ได้เหมือนกัน ก็กินเหล้าให้ระงับปัญหาต่างๆ ถ้ามีเหล้าเป็นศาสนา หรือเขามีเงินมาก เพราะหวังพึ่งเงินหมด พระเจ้าไม่รู้ไม่ชี้ ธรรมะไม่รู้ไม่ชี้ เขาก็ถือศาสนาในเงิน จะมีอะไร ที่เขาพูดว่าไม่มีศาสนานั้นโกหก ไม่จริง เขาถืออะไรเป็นที่รัก นับถือ เป็นที่เคารพ เป็นความหวัง เป็นที่พึ่ง เขามีสิ่งนั้นเป็นศาสนา ถ้าเขาถือเงินเป็นที่พึ่ง เขาถือศาสนาเงิน มันไม่ปลอดภัย ถือศาสนาเงินเป็นอันว่าไม่ได้แน่ เพราะมันมีใช้เนื้อหนังร่างกายได้ แต่ใช้กับจิตใจไม่ได้ ต้องมีอย่างอื่นมาอีกส่วนหนึ่งทางจิตใจที่จะควบคุมเงิน อย่าใช้เงินไปในทางผิดๆ ไม่ใช้เงินไปในการฆ่าตัวเอง ศาสนาที่แท้จริงก็ยังสอนว่าอย่าเอาไว้ให้เกิน ถ้าสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาให้เอาไปใช้ประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือสังคม หลักธรรมะของศาสนาแท้ๆ ก็เป็นเรื่องสังคมนิยมอยู่แล้วนี้ คนมันโง่มันมองไม่เห็น มันเห็นเป็นภาพที่สังคมนิยมว่าเป็นเห็นแก่ตัว คนมันโง่เอง ศาสนาทุกศาสนาจะสอนให้เอาไว้แต่พอดี ที่ส่วนเหลือส่วนเกินเอาไปทำประโยชน์ต่อสังคมทั้งนั้น ผลิตออกมามากเท่าไรก็ได้ เอาส่วนเกินไปใช้เพื่อประโยชน์ เพื่อมนุษย์ทั้งโลกเลย มันเป็นเรื่องของศาสนา เป็นหลักที่ถูกต้อง ใช้กับสังคมเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้วนี้มองไม่เห็น เราเห็นศาสนาเป็นภาพสังคมนิยมไป เป็นตัวตนเฉพาะคนไป นี่คือเรื่องศีลที่ควบคุมโลกหรือมนุษย์ให้ปกติ ให้เยือกเย็น ถ้าจะช่วยให้จำง่าย เอาคำว่า “ศีล” ซึ่งเป็นคำเดียวกับคำว่า “ศิลา” หรือก้อนหิน มันหยุดและมันสงบ ตรงหน้าเราก็มีก้อนหินเยอะ หยุด เย็น สงบ ความหมายนั้น เอามาใช้ในคำว่า “ศีล” ถ้าทุกคนตั้งอยู่ในศีลจะมีความสงบ มีความเย็น พอผิดศีลก็ร้อนวุ่นวายเป็นไฟ เดือดร้อนกันไปหมด ตัวหนังสือก็คล้ายกันด้วย เป็นตัวเดียวกันหรือออกมา ไม่รับรอง ความหมายถือเป็นได้ ให้หยุด ให้เย็น อย่าเบียดเบียนกัน อย่างก้อนหินนี่ไม่ลุกขึ้นมาชนกันเลย มันไม่เบียดเบียน เย็น หยุด คำว่าศีลจะต้องมุ่งหมายอย่างนั้นก่อน อยู่กันด้วยความสงบ ถ้าเป็นโลกที่สงบ เมื่อมีศีลแล้วเป็นของประเสริฐ เพราะ “พร” แปลว่าประเสริฐ “วร” หรือ “พร” ก็ตาม แปลว่าประเสริฐ เพราะ “พระ” หรือ “วร” แปลว่าประเสริฐ เพราะว่ามีศีลที่ประเสริฐ มีศีลคืออะไร มีความสงบ มีความถูกต้อง ปกติคำว่าหยุดแปลว่าปกติ ไม่ผิดปกติ ถ้าปกติมันก็ไม่เบียดเบียน ขอให้เข้าใจศีล-พร อย่างนี้แล้วพาไปติดกับเนื้อกับตัวทุกหนทุกแห่ง จะคุ้มที่บ้าน ที่ไหนก็ตาม ที่บ้าน ที่โรงเรียน ที่ออฟฟิศ ทุกหนทุกแห่ง มีศีลมีระเบียบที่ดี เมื่อรับประทานอาหาร เมื่อไปอาบน้ำ เมื่ออยู่ห้องน้ำ จะต้องมีศีลหมด คือมีศีลมีธรรม ประพฤติให้มันถูกต้อง ก็เรียกว่ามีศีลมีธรรม ศีลทำให้ปกติ “ธรรมะ” แปลว่า ทรงไว้ ละในความชั่ว นี่เรียกว่า “ธรรม” “ธร” แปลว่าทรงไว้ “ธรรมะ” มาจากคำว่า “ธร” แปลว่าทรงไว้อย่าให้ล้มลงไป ล้มลงไปก็หมายความว่าผิดแล้ว ในความตกต่ำ เป็นชั่วเป็นทุกข์ มีศีล มีระเบียบปฏิบัติที่ดี ที่จะกลายเป็นธรรมทรงคนให้มั่นไว้ ไม่ให้พลัดลงไปในทางที่เสื่อม แล้วก็เป็นพรในตัว ได้สิ่งที่ประเสริฐที่ดีที่สุด ที่มนุษย์เราควรจะได้ ให้ถือศีลก็ดี ธรรมก็ดี พรก็ดี มันจะต้องแยกกันไม่ได้ มีความประพฤติจะทำที่ถูกต้อง เป็นศีลทางกาย ทางวาจา ก็ดี มีธรรมะ (นาทีที่ ๕๔:๕๐) กาย วาจา เป็นข้างนอกแสดงออกมา ส่วนในใจก็มีธรรม ธรรมะคือ “หิริ-โอตัปปะ” ออกมาเป็นศีลติดเนื้อติดตัว ให้คนอื่นเห็น เป็นพรที่จะทำให้อยู่เป็นผาสุกทุกคน ในครอบครัวก็ดี ในโรงเรียนก็ดี ในหมู่บ้าน ทั่วประเทศ ทั่วโลก ก็ดี ก็เลยเรียกว่าได้ดีอย่างกับเป็นเทวดา สมัยหนึ่งยกคำว่าเทวดาเป็นหลัก เพราะดีกว่าธรรมดา จึงเรียกว่าดีอย่างเทวดา หรือว่าเทวดามีความหมายอย่างอื่นก็จะไม่เอา ความหมายสงบ นิ่ง ธรรมะนี้ความถูกต้อง จึงจะเรียกว่าเทวดา ขอให้รับเอาสิ่งนี้ไปเป็นความรู้ เพราะเป็นเครื่องปฏิบัติอยู่ที่เนื้อที่ตัว ก็จะเป็นเครื่องรางคุ้มครองอย่างยิ่ง ไม่มีสิ่งใดจะคุ้มครองได้เท่า ถ้าจะแขวนสัญลักษณ์ของห้อยไว้ที่คอ เช่นเครื่องรางพระเครื่อง ก็อย่าลืมนึกถึงพระพุทธเจ้า อย่าลืมเรื่องนี้ เกิดทุกข์ขึ้นมาก็นึกถึงพระพุทธเจ้า ก็มีรูปของท่านแขวนอยู่ที่คอ ก็จะได้ไม่เป็นทุกข์ รู้จักสลัดออกไปตามที่ว่ามันจะต้องเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย ตามกรรม ถ้ามันเผลอ มันจะร่าเริง เพลิดเพลินเกินไป ก็นึกถึงพระพุทธเจ้าว่า ท่านห้ามไว้ไม่ให้เกินไป ให้อยู่ในความถูกต้อง พอดีเสมอ เหมือนพระพุทธเจ้านั่นเอง ที่เอารูปเล็กๆ ของท่านมาแขวนที่คอ เดี๋ยวนี้ก็ใช้กันอย่างนี้ก็ได้ แต่อย่าเป็นไปในทางเข้าใจผิด เป็นขลัง เป็นศักดิ์สิทธิ์ (นาทีที่ ๕๗:๐๖) งมงาย ไม่มีเหตุผล ก็เป็นอันทุกอย่างถูกต้องแล้ว เมื่อมีหลักเกณฑ์อย่างนี้ก็รอดตัว ในทางโลกก็รอดตัว คือไม่ยากจน ไม่เจ็บไข้ มีอะไรเหมาะสม เป็นอนามัยที่ดี ในทางจิตใจก็มีความไม่เจ็บไข้ ไม่มีกิเลส ไม่มีความทุกข์ มีอนามัยที่ดี ทางกายก็ดี ทางจิตก็ดี ก็พอแล้วสำหรับความเป็นมนุษย์ ขอให้อย่าประมาทเลย เมื่อพระพุทธเจ้าท่านจะนิพพานอยู่ในไม่กี่นาทีนี้แล้ว ยังสั่งคำสุดท้ายว่า “อย่าประมาทเลย” แล้วท่านก็เงียบไป นิพพานไป ขอให้ทุกคนถือว่าคำสั่งหรือพินัยกรรมของพระพุทธเจ้า ความประสงค์อย่างยิ่งของพระพุทธเจ้าฝากไว้กับทุกคนว่า “อย่าประมาทเลย” เพราะประมาทก็คือตาย ไม่ประมาทก็คือไม่ตาย สิ่งต่างๆ มันเปลี่ยนแปลงเรื่อย (นาทีที่ ๕๘:๒๕ ภาษาบาลี) สังขารสิ่งต่างๆ มันเปลี่ยนแปลงเรื่อย อย่าไปทำเล่นๆ กับมัน อย่าได้ประมาทเลย ท่านก็เงียบไป นิพพานไป ถ้าเอาพระเครื่องมาแขวนไว้ที่คอ เพื่อกันไม่ให้ลืมประโยคนี้ มันก็พอแล้วสำหรับจะรอดตัว
ก็แสดงความหวังว่า ทุกคนจะเอาคำแนะนำนี้ไปทำตาม เอาไปแล้วปฏิบัติ แล้วก็ “ได้ศีลได้พร” อยู่ตลอดเวลา ให้มีความสุขความเจริญ ขออธิษฐานให้มีความสุข ความเจริญงอกงาม ก้าวหน้าในทางแห่งพระพุทธศาสนา ด้วยความมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างที่ได้อธิบายมาแล้วเป็นหลักเกณฑ์สำหรับยึดถือในการปฏิบัติอยู่ทุกทิวาราตรีการเทอญ
เรื่องเบ็ดเตล็ดปลีกย่อยเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี ดอกไม้ ธูปเทียน ก็ควรจะหัดกันไป เวลาไม่พอแล้ว มีแบบฉบับหนังสือหนังหาตำรับตำรา ของกรมการศาสนาก็มี ของ (นาทีที่ xxx) ถี่ถ้วนมากด้วย หนังสือพิธีต่างๆ ก็มีอย่างที่ว่าจะต้องจัดการอย่างไร ทำอย่างไรมีความหมาย จัดดอกไม้ จุดธูป จุดเทียนให้มีความหมาย อย่าให้เขลา อย่าให้มันผิด ไม่ได้ถือในทางศักดิ์สิทธิ์ เทียนต้อง ๒ เล่ม ธูปต้อง ๓ ดอก ไม่ใช่เพื่อศักดิ์สิทธิ์ อย่างมงาย ไอ้ ๓ มันคืออะไร ก็ให้รู้ไว้ ๒ คืออะไร ให้รู้ไว้ คือให้นึกถึง “พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์” “ศีล สมาธิ ปัญญา” หรือแสงสว่าง ๒ ดวงคือ ทางโลกดวงหนึ่ง ทางธรรมดวงหนึ่ง และทางใจ ถ้าทำตามธรรมเนียมถูกต้องแล้วคงมีความหมายที่ดี เกี่ยวกับการนั่งวันก่อน นั่งเอนไม่ถูก มันไม่ถูกทั้งทางวัตถุและไม่ถูกทั้งทางจิตใจ ไม่ถูกทั้งทางธรรมศาสนา เขาต้องการให้ตรงโดยธรรมชาติ เหมือนต้นไม้ ถ้าไม่มีอะไรมาเกี่ยวข้องแทรกแซง มันจะขึ้นตรง ไม่มีต้นไม้ต้นไหนขึ้นเอน มันต้องเป็นตามจุดศูนย์ถ่วงของน้ำหนักของโลกดึงดูด เรานั่งเอนเราต้องคลอนส่วนนั้นไว้ เหนื่อยเปล่าๆ ฉะนั้นนั่งให้ตรงดีกว่า อย่างนั่งสมาธิก็ต้องตรงดีกว่า สมดุลกัน การหายใจก็ดี กำหนดลมหายใจก็ใช้ได้ ถ้าไปนั่งเอน เดี๋ยวหายใจไม่ค่อยออก เหมือนคนที่เป็นนักสมาธิ ต้องนั่งตรง ถ้าจะพับเพียบก็ต้องนั่งตรงเพื่อให้สมดุลเท่ากัน มาทางนี้เท่ากัน ต้องหัดหน่อย ถ้าหัดเข้ามาทางนี้ มันก็แบ่งนี่ครึ่ง นี่ครึ่งก็ตรงได้ ถ้าไปทำอย่างอื่นมันก็ไม่ตรง มันคลอน จะหัวเราะเยาะได้ ถ้าจะนั่งก็น่าสงสารแล้ว ถ้าไปสอนฝรั่งที่เขาเจริญด้วยเหตุผล ยาก ทำไม่ได้ ฝรั่งนั่นไม่ได้จริง นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิต้องนั่งตรง มันแน่น เป็นไทย ฝรั่งเขานับถืออยู่อย่างหนึ่ง หัดนั่งขัดสมาธิมาตั้งแต่เล็กเลยนั่งได้ พวกฝรั่งนั่งไม่ได้ ขาแข้งไม่เคยคู้มาขนาดนี้ เคยนั่งแต่เก้าอี้ พอให้นั่งขัดสมาธิแย่ทุกคน ร้องลั่น ขาไม่เข้ามา คนไทยเรานั่งมาแต่เล็ก เด็กเล็กๆ ถูกสอนนั่งขัดสมาธิ จึงนั่งได้เรียบร้อย ก็เป็นวัฒนธรรมอินเดียอยู่เหมือนกัน นั่งขัดสมาธิ วัฒนธรรมพระพุทธศาสนาจากอินเดีย เป็นท่านั่งที่มีการรับน้ำหนักได้ดี พักผ่อนได้ดี อยู่ได้นาน ชาวอินเดียนั่งอย่างนี้ไม่ค่อยเป็น เขาก็นั่งขัดสมาธิ ที่เราเรียกนั่งขัดสมาธิอย่างนี้เป็นต้น มันก็ตรงดี ถ้าขัดเข้าไปอีก ให้มันแน่นอีก ต้องเอานี่ขึ้นมาบนนี้ มันก็เลยแน่น ขัดจริงๆ อย่างนี้ แล้วมันก็ล้มไม่ได้ ล้มทางนี้ก็ไม่ได้ ทางนี้ก็ไม่ได้ คนไทยก็จะหัด ถ้าแขนต้องตรงด้วยก็ยิ่งเป็นปิรามิด กระดูกหลังคดไม่ได้ หายใจก็สะดวกเหมาะสำหรับทำสมาธิ อย่างนี้ไม่มีกระดูกถูกพื้น นั่งบนพื้นกระดานแข็งก็ไม่มีกระดูกถูกพื้น กระดูกเข่าก็ไม่ถูก กระดูกตาตุ่มก็ไม่ถูก กระดูกสะโพกก็ไม่ถูก เหมือนกับนั่งเบาะนวม ฝรั่งเขาเรียกอย่างนั้น “Muscle Cushion” ทำอย่างไรได้ เอากล้ามเนื้อที่รองอยู่เป็น Cushion เป็นนวม ก็ไม่เจ็บ ถ้าเอามาลงตาตุ่มนี้จะถูกพื้น พื้นแข็งก็เจ็บ ตาตุ่มก็จะด้าน ขัดสมาธิที่แท้จริงต้องเอาขึ้นมาหมด มีแต่เนื้อรองทั่วไป ก็มั่นคงเหมือนปิรามิด ล้มไม่ได้ อย่างนี้เรียกว่านั่งสมาธิ ทำสมาธิ ถ้านั่งแสดงความเคารพต้องนั่งพับเพียบ เคารพที่สุดต้องเอามาอยู่ตรงๆ ทั้งหมด ไม่ได้อยู่ข้างๆ ต้องนั่งทับส้นของตัวเอง สำหรับผู้หญิงก็นั่งกดๆ ไว้ ผู้ชายก็นั่งคู้ เท้าสลับปลายเท้าทำแบบนี้ นี่มันเคารพที่สุด เคารพพระพุทธรูป เคารพเจ้านายสูงสุดก็ทำแบบนี้ ไม่สูงสุดก็เอาไว้ข้างๆ พับเพียบอยู่ข้างๆ ถ้าสูงสุดต้องอยู่ตรงนี้หมด จะยกขึ้นมาหรือพับลงไปก็ตามใจ อย่างนี้ต้องศึกษา ระเบียบมันจะตรงๆ ทำถูกวิธี ถ้าเขามีทำอย่างอื่นก็ให้ทำถูกวิธี พิธีมีท่าที่ถูกต้อง ถ้าเกี่ยวกับศาสนาในวัดในโบสถ์ก็ต้องให้ถูกวิธีพระศาสนาก็จะถูกไปหมด เรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีก่อนนี้มันไม่ยาก เพราะเมื่อเกิดมาตอนเล็กๆ เขาก็สอนให้เด็กจึงนั่งขัดสมาธิ เป็นมาตั้งแต่เล็ก ยังจำได้ว่า เด็กๆ เคยถูกสอนให้นั่งขัดสมาธิ รับประทานอาหารเป็นเด็กตัวเล็กๆ จนกระทั่งบวชพระบวชเณรก็นั่งเรื่อยมาจนเป็นของธรรมดา ฝรั่งไม่เคยนั่ง นั่งไม่ได้ มาที่นี่ทุกคนถามดูว่านั่งไม่ได้ ให้นั่งไม่ไหว ร้องโอ้ยๆ จะดึงขาออกมาก็ไม่ได้ นี่ก็เป็นเรื่องอันหนึ่งที่ควรจะสนใจว่า วัฒนธรรมของชาวพุทธ ชาวไทย มีอะไรบ้าง ต้องทำได้ จะไหว้จะกราบ จะต้องทำอย่างไร ทำอย่างไรจะเรียกว่ากราบถึงที่สุด เคารพที่สุด เรียกว่า “เบญจางคประดิษฐ์” ถึงสมัยแล้วที่ควรจะทำถูก การศึกษาก็แพร่หลายไปเรื่อย เคารพด้วยการแสดงท่ายืนนี้มาแต่โบราณ มาแต่พุทธกาล ในพุทธกาลก็ถือว่ายืนคือเคารพ จะนั่งก็หมายความว่ายืนไม่ไหว มันนานนักก็ต้องนั่ง มีอธิบายในพระคัมภีร์จะต้องเข้ามาเคารพโดยการเวียนประทักษิณโดยมืออยู่ทางขวา คนที่เราจะเคารพโดยเป็นพระพุทธเจ้ ต้องอย่างนี้ ให้ของอยู่ทางนี้แล้วเดินไปอย่างนี้ แสดงความเคารพอย่างยิ่ง เอามือขวาไว้ที่ผู้ที่จะต้องมีความเคารพเสมอ ผู้แสดงความเคารพต้องเอาข้างขวาออกตัวให้ผู้ที่เคารพ เป็นการเวียนขวา เรียกประทักษิณเวียนเทียน ไหนเล่าแล้วก็เล่าให้หมดว่ามาเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อออกไปแล้วก็ต้องออกไปทางขวา เวียนเทียนเวียนขวา เอาข้างขวาให้จนกว่าจะลับสายตา ไม่ใช่ลุกขึ้นแล้วหันหลังสะบัดก้นให้ ไม่ใช่นะ ไม่เกี่ยวกัน ในเรื่องของพุทธศาสนาและพุทธบริษัท จะต้องถอยออกไปให้พอสมควร ตามที่มีอยู่เรื่องราว เรื่องบาลี ต้องถอยหลังออกไปพอสมควร แล้วก็ต้องบิดตัวข้างขวา และเดินออกไปจนเขาหันหน้าทางนี้ พอหมดสายตาแล้วก็จะทำอะไรก็ได้ ไม่นิยมไปทางนี้ ก็เข้าหลักประเภทว่า เข้ามาทางหนึ่งออกไปทางหนึ่ง ไม่ชนกัน ทุกคนลุกขึ้นยืนขวาหัน แล้วเดินไปทางนี้ ไม่ชนกัน ถ้าไม่มีระเบียบ คนนั้นออกทางนี้ก็ชนกัน น่าเกลียด และยังมีว่า ไม่นั่งใกล้เกิน ไม่นั่งไกลกิน ไม่นั่งข้างเกิน และไม่นั่งตรงกลางเกิน นั่งข้างนี่พูดยาก ตรงหน้าก็เป็นจ่อหน้า เรียกว่าไม่ถูกวิธี ไม่ตรงเกินและไม่ข้างเกิน ไม่ใกล้เกินและไม่ไกลเกิน กระทั่งว่าไม่นั่งเหนือลม เพราะฆารวาสเขาทาน้ำหอมทาอะไรๆ อย่าไปนั่งเหนือลมต่อพระพุทธเจ้า หรือเทวดก็อาจจะทาน้ำหอมเหมือนกัน ก็ไม่นั่งเหนือลม นี่มันเป็นข้อความอย่างนี้อธิบาย ไม่ใช่ว่าพูดเอาเอง ก็ต้องดูทิศทางลม นี่คือผู้ที่ไม่ประมาท แท้จริงเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวนี้ก็ไม่ค่อยสนใจเท่าไร ควรจะยืนก็ยืนควรจะนั่งก็นั่ง เป็นการแสดงความเคารพ ก่อนที่จะพูดจะถามเสมอ อย่างน้อยก็พนมมือเมื่อจะถามจะพูด ตามธรรมดานั่งอยู่ ให้เป็นการแสดงความเคารพอย่างใดอย่างหนึ่ง ก่อนที่จะถาม อย่างพระภิกษุนั่งอยู่ จะถามต้องคุกเข่าหรือว่าคุกเข่าข้างหนึ่ง แล้วก็พนมมือ ทำจีวรเรียบร้อย แล้วพนมมือถามพระพุทธเจ้า มันเป็นระเบียบที่น่าดู อย่างนี้ เดี๋ยวนี้เราก็ยังมีระเบียบนั้นเหลืออยู่ติดมา ยกมือขึ้นขออนุญาตถาม ก็อนุญาตให้ถามก็ยืนขึ้นถาม แสดงความเคารพอย่างใดอย่างหนึ่ง ในการที่ถามอยู่นี้ เรียกว่า “ระเบียบของอารยชน” คำนี้ยืมมาจากภาษาอินเดีย “อาริยชน อารยชน” คือพวกเทวดาที่มาจากทางไหนไม่รู้ ดีกว่าพวกที่อยู่เจ้าถิ่นเดิม เรียก “อารยธรรม อารยชน” ถ่ายทอดกันมาจนถึงบัดนี้ พุทธศาสนาไปถึงไหน วัฒนธรรมนี้ก็ติดไปด้วย ทำให้ถูกต้อง ยิ่งๆ ทุกที นี่ก็เป็นเรื่องลาวันนี้ด้วย ลากันตรงนี้ ไม่ต้องลำบากไปพบหรือลาอีกที และต้องให้ศีลให้พร และจะออกไป จะไปไหนบ้าง ไปวัดพระธาตุหรือเปล่า ๘ โมงต้องไปรอตรงโน้น ทัน (นาทีที่ ๑:๑๓:๓๙) นี่เดินไป ไปดูหนังเรื่องธรรมทูตหรือเปล่า ไม่ได้ดูเหรอ อยู่กรุงเทพฯ พาพระเดินมาจากสถานีมากมาย อันนี้ทำให้แข็งแรง ฝรั่งคนหนึ่งมาเมื่อวานนี้ ทิ้งของไว้ที่สถานี เข้ามาที่นี่ พูดกันจนค่ำ บอกว่าไม่ได้คิดว่าจะพักที่นี่ อยากพักที่นี่ ของก็อยู่สถานี ค่ำแล้วจะทำอย่างไร เดินไหวไหม เขาเลยหัวเราะว่า สำหรับเขาไม่มีความหมาย ๓-๔ กิโลเมตร ไม่มีความหมาย ก็เดินออกไปเอาของมา ก็เดินกลับมา เป็นครูบาอาจารย์อยู่ที่ศิลปากร นี่จะเก่งกว่าเราแล้ว เขาเดินเก่ง ๔ กิโลเมตรไม่มีความหมาย นี่มัน ๓ กิโลเมตรเศษ ควรจะแข็งแรง คนไทยเราเด็กรุ่นๆ ขึ้นไป หัดให้เข้มแข็งกับการเดิน อย่าคิดแต่จะขึ้นรถ ถ้าเดินด็ก็เดิน ไอ้ข้างหลังที่เขาเอามาแต่ละคน เกินกว่า ๓๐ กิโลกรัม อยู่บนหลังยังเดิน ฉะนั้นก็เป็นว่าปิดประชุม อย่าลืมที่พูด ในคำอธิบายคำนั้งคือน้ำมนต์ รดน้ำมนต์น้ำพรแล้ว