แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ทราบเรื่องกันนะ พระพุทธเจ้าท่านเป็นอยู่อย่างไร เอ้อ, จนชั้นเรื่องหลับนอน เรื่องนุ่งห่ม เรื่องเดินทาง ไม่มียานพาหนะ ไม่ปรากฏว่าพระพุทธเจ้าท่านใช้ยานพาหนะ จะมีบ้างครั้งหนึ่งก็เรือ แต่มันไม่มีในบาลี ไม่เคยพบในบาลี อยู่นอกบาลี ในอรรถกถา ข้ามแม่น้ำ คงจะมี ไอ้ ไอ้ข้อนี้ แต่การจะใช้เกวียน ใช้นี้ไม่มี รองเท้าไม่มี ร่มไม่มี คิดดูเถอะ รองเท้าก็ไม่มี ร่มก็ไม่มี มุ้งก็ไม่มี ช้อนส้อมก็ไม่มี และก็เหมือนๆ กันแหละ ทุกๆลัทธิ ไม่เฉพาะพระพุทธเจ้า พวกอาจารย์ ศาสดาเหล่านี้เขาไม่มี หนักขึ้นไปก็พวกชัยนะ จีวรก็ไม่มี บาตรก็ไม่มี สนุกกันใหญ่ (นาทีที่ 01:22 มีผู้ถาม ไม่ทราบว่าไว้พระเมาลีหรือเปล่า ท่านพุทธทาสตอบ) เรื่องนี้เป็นเรื่องยังเถียงกันอยู่ แต่ผมขยุกขยิกนี้เป็นได้ อ้า, ส่วนที่เรียกว่าพระเกศาทั่วไป ไอ้เมาลีตรงนี้จะเป็นเรื่องทำทีหลัง เป็นสัญลักษณ์ของผู้มีปัญญา และก็มีเกตุมาลาเป็นเปลวไฟบนนั้นกันอีกที นี่แหละเมืองไทย นี่เป็นเรื่องของเมืองไทย ไอ้เมาลีโป่งๆนี้เข้าใจว่าเขาทำขึ้นเพื่อแสดงว่าเป็นผู้มีปัญญา เป็นนักปราชญ์ นี่ผมวนๆ ขยุกขยิกนี่ก็คือผมมันตัดสั้น โกนสั้น (นาทีที่ 02:19 มีผู้ถาม ) รุ่นหลัง รุ่นหลัง ตัวแทน แทนไฟ แทนดวงไฟ เพราะว่าถ้าเป็นภาพเขียนก็เขียนเป็นวงรัศมี เรียกว่าเป็นภาพสั้นลอยตัว แบบนี้ไม่ทราบจะทำอย่างไร ให้รู้เองว่ามีดวงไฟอยู่ที่นี่ และมันก็ต้องซ่านออกรอบตัวเป็นรัศมี มันก็เรื่องศิลปะ ความจำเป็นทางศิลปะ (นาที่ที่03:04) เมื่ออยากจะพูดต่อออกไปอีกถึงเรื่องธรรมศาสตร์ในพุทธธรรม ความหมาย ทั้งนี้ก็อยากจะพูดมาถึงการปฏิบัติธรรม คำว่า ปฏิบัติธรรม นี้รู้สึกว่ายังเข้าใจผิดกันอยู่มาก ไปมองในแง่เดียว ด้านเดียว ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญธรรม บำเพ็ญอะไรอย่างนี้ละก็จะหมายถึงแต่ว่า พระภิกษุปฏิบัติกัมมัฏฐาน หรือพวกอุบาสก อุบาสิกาที่หลีกออกไปปฏิบัติ กรรมฐานในบางครั้งบางคราว นี้ไม่ถูกตามที่เป็นจริง ก็เหมือนอย่างที่ได้พูดแล้วเมื่อวานว่า ธรรมะคือหน้าที่ ถ้าทำหน้าที่ถูกต้องละก็เรียกว่าปฏิบัติธรรม ทั้งนั้นแหละ คำว่า ธรรม แปลว่า หน้าที่ แปลว่าอะไรได้อีกหลายสิบอย่าง แต่ว่า ความหมายเดิม แท้จริงโดยทั่วไปแล้วมันแปลว่า หน้าที่ ฉะนั้นใครทำหน้าที่ถูกต้อง คนนั้นเรียกว่าปฏิบัติธรรม ก็เพราะไม่ปฏิบัติธรรม หรือทำหน้าที่ไม่ถูกต้องน่ะมันจึงเกิดปัญหาขึ้นในมนุษย์ มีความเดือดร้อน หรือการเบียดเบียนกัน จนกระทั่งถึงว่าเบียดเบียนตัวเองล้วนๆ ก็เพราะปฏิบัติหน้าที่ต่อตัวเองนั้นไม่ถูก หน้าที่มันก็มีทั้งปฏิบัติต่อสังคมและปฏิบัติต่อตัวเองล้วนๆ ปฏิบัติต่อตัวเองล้วนๆ ก็ยังต้องแยกเป็นว่า เกี่ยวกับร่างกาย เกี่ยวกับจิตใจ เกี่ยวกับสติปัญญา มันยังมีอย่างนั้น มันต้องทำถูกหมดจึงจะเรียกว่า ปฏิบัติธรรม ข้อนี้เป็นข้อที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องให้ครบถ้วนให้เป็นพื้นฐาน แล้วจะเข้าใจสิ่งต่างๆ เรื่องต่างๆ ในทางธรรม ทางศาสนาได้ดีขึ้น ธรรม มันแปลว่า หน้าที่ ซึ่งมีความหมายว่าต้องมีหน้าที่จึงจะมีชีวิตรอดอยู่ได้ คือ ทรงตัวอยู่ได้ มันก็ดีขึ้นๆ คือสูงขึ้นๆ จนทรงตัวอยู่ได้ในลักษณะที่สูงสุด ที่เรียกกันว่า เป็นพระอรหันต์ คำว่า พระอรหันต์ นี้ต้องมีใช้มาแล้ว ตั้งแต่ก่อนที่มนุษย์ไม่ได้รู้จักอะไรมากนัก เพราะคำว่าพระอรหันต์นี้มันมีความหมายว่า เลิศ สุดยอด อะไรทำนองนั้น คนเขารู้จักว่า เลิศ สุดยอดเท่าไร เพียงไหน เขาก็ทึกทักเอาอันนั่นละสุดยอด เท่านั้นละก็เรียกว่า พระอรหันต์ แล้วมันก็ค่อยๆเลื่อนมาตามลำดับ ตามลำดับ คือรู้จักไอ้ความเลิศสุดยอดนี้ถูกต้องยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น จนมาเป็นพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสอย่างในพุทธศาสนา คำว่าอรหันต์นี่มีใช้มาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล นานไกลทีเดียว ตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้ รู้จักแสวงหาไอ้สิ่งที่ดี สุดยอด ใครคิดได้เท่าไรก็บอกว่า นี่ละคือความเป็นพระอรหันต์เท่านี้ ก็เชื่อกันไปพักหนึ่ง จนกว่าจะมีคนอื่นมาพิสูจน์นี่ว่ายังไม่สุดยอด เอ้า, ก็คิดกันต่อไปอีก ก็แสดงในสิ่งที่ดีกว่า สุดยอดกว่า คนก็รับเชื่อกันไปพักหนึ่งอีก คงกินเวลาเอ้อ, หลายพันปี จนกระทั่งเกิดพระพุทธเจ้า แสดงความเป็นพระอรหันต์อย่างนี้ และก็ไม่ปรากฏว่าใครมาพิสูจน์ความเป็นพระอรหันต์ที่ดีกว่านี้ยิ่งขึ้นไปอีกได้ ก็เลยยุติกัน ฉะนั้นการเป็นพระอรหันต์ บรรลุสุดยอดก็คือจุดหมายปลายทางของมนุษย์ ถ้าจะอ้างหลักพระบาลีเอ่อ, ในพุทธศาสนาก็มีไว้ชัด ว่าไว้ชัด โยนิ จะสะ อารัททา อาสวานังคะยายะ การเกิดของเขา เป็นอันเขาปรารภดีแล้ว เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ นี่เป็นคำที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเอง เมื่อทุกคนปฏิบัติถูกต้องหมดแล้วก็มีผลคืออย่างที่ว่านี้ โยนิ แปลว่า การกำเนิด หรือ การเกิด จะสะ ของเขา อารัททา เขาปรารภดีแล้ว อาสะวานังคะยายะ เพื่อสิ้นไปแห่งอาสวะ คือเป็นพระอรหันต์ ถ้าเราปรับปรุงทุกอย่าง เอ่อ, ดีถึงที่สุดแล้วจะเป็นไปเพื่อถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ หน้าที่สูงสุด ปลายสุดก็คือ ทำให้มันเป็นผู้สิ้นอาสวะ จะเรียกเป็นพระอรหันต์ก็ได้ ถ้าเพ่งเล็งเอาผลของมันก็คือได้รับความสุขถึงที่สุดก็ได้ในหน้าที่สูงสุด เรียกว่า ธรรมะสูงสุด นี้หน้าที่ต่ำๆก็ต่ำลงไปจนกระทั่งว่าต้องหาอาหารกิน ลดลงไปถึงสัตว์เดรัจฉาน มันก็ต้องหาอาหารกิน มันเป็นหน้าที่หรือเป็นธรรมะของสัตว์นั้น แม้แต่พืชพันธุ์ทั้งหลายมันก็มีต้องมีหน้าที่หาอาหารกิน เป็นธรรมะของต้น ต้นไม้ ทำหน้าที่ให้อยู่รอด แล้วไปจนถึงที่สุดที่จะเป็นไปได้ นั้นคือธรรมะ แปลว่า หน้าที่ ฉะนั้นขอให้ถือหลักอย่างนี้เป็นหลักพื้นฐาน เมื่อทำอะไรถูกต้องมันก็เป็นการประพฤติธรรมะ หมดทั้งนั้นแหละ ถ้าสำหรับมนุษย์นี่ก็ตั้งแต่เกิดมา ต้องเป็นเด็กที่ดี เป็นบุตรที่ดีของบิดามารดา เป็นศิษย์ที่ดีของครูบาอาจารย์ เป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม ชาติ ประเทศ เป็นพุทธบริษัทที่ดีของพระพุทธเจ้า นี้ใช้เป็นหลักสำหรับสอนทุกคน แม้แต่เด็กๆ ต้องดีขึ้นมาตามลำดับจึงจะเรียกว่ามีธรรมะ ประพฤติธรรมะ นี้ก็ควรจะสอบอยู่เสมอ ทดสอบอยู่เสมอว่ามัน มัน มันถูกหรือยัง มันดีหรือยัง มันถูกหรือยัง แล้วอีกทีหนึ่งก็มันสมบูรณ์หรือยัง มันถูกแต่ยังไม่สมบูรณ์ ยังเหลืออยู่อีก ไม่สมบูรณ์ จะต้องทั้งถูกต้องและสมบูรณ์ ปฏิบัติ ตามที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติ อยู่กันเป็นผาสุก ทั้งส่วนตัวและส่วนสังคม เรื่องปัจจัยยังชีพ เรื่องอาหารนี้แหละจะสำคัญมาก ดูจะเป็นปัจจัยของตัณหา ปัจจัยแห่งความวุ่นวายของสังคม ส่วนไอ้เรื่องเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยาแก้โรคนี่มันไม่ยุ่งยากมากเท่ากับเรื่อง เรื่องอาหาร เป็นปัจจัยตั้งต้น ที่คนเขาสนใจเอ้อ, ดูกันมาก แต่ในที่สุดมันก็เนื่องกันแหละ สิ่งที่ให้ความสนุกสนาน สะดวกสบายนั้นล่ะ เป็นสิ่งที่ต้องการ หลักธรรมะมันก็มีเอ้อ, ไว้ชัดเจนว่า เอาแต่พอดี หลักธรรมะที่เป็นหัวใจพุทธศาสนาก็มีว่า เอาแต่พอดี มัชฌิมาปฏิปทา เรียกว่า การปฏิบัติ การเป็นอยู่ที่เป็นมัชฌิมา ที่เป็นกลางๆ เป็นอยู่ตรงกลาง ไม่เอียงข้างโน้น ไม่เอียงข้างนี้ คำว่ากลางๆ ไม่เอียงข้างโน้น ไม่เอียงข้างนี้ ใช้ได้ทุกระดับ มันเป็นมาก อ้า, เรียกได้มากคู่ เช่น คู่ว่า มากเกินไป น้อยเกินไป นี้คู่หนึ่ง คู่ว่า ฟุ่มเฟือยเกินไป เอ้อ, ขาดแคลนเกินไป อย่างนี้ก็คู่หนึ่ง หรือเปียกชุ่มเกินไป แห้งแล้งเกินไปอย่างนี้ กามะสุขัลลิกานุโยค อัตตะกิละมะถานุโยค ทุกคู่ขอให้ไปคิดเอาเอง อย่าให้มันสุดเหวี่ยงไปทางโน้นหรือทางนี้ ให้มันอยู่ตรงกลางคือ พอดี เสร็จแล้วก็อย่าลืมว่าที่ได้เคยบอกมาแล้วว่า ธรรมะนี่มันลำบากตรงที่ภาษามันไม่.. (นาทีที่ 12:37) ไม่พอ ภาษามันกำกวม ใช้ถ้อยคำที่กำกวมแก่กันและกันก็เลยทำยุ่ง เป็นอย่างไรก็รักษาเอาไว้ว่า ให้เข้าใจคำว่า ตรงกลาง หรือพอดีนี้ให้ถูกต้อง อยู่ดี กินดี กับกินอยู่แต่พอดี อาตมาเคยเตือนกันอยู่เสมอว่าคอยระวังให้ดี ความหมายไม่ค่อยเหมือนกัน อย่าทะเยอทะยานให้มันมากนักในทางกินดีอยู่ดี พยายามเตือนตนว่า กินอยู่แต่พอดี แล้วก็นี่ปลอดภัย ขอให้จำคำนี้ไว้ว่าเป็นหลักของพุทธศาสนาอย่างยิ่ง คือความพอดีในทุกๆ เอ้อ, ทุกๆอย่างที่เกี่ยวกับมนุษย์ ในขั้นนี้อยากจะให้นึกกันถึงไอ้ความไม่พอดีอันหนึ่งซึ่งเป็นภัยร้ายกาจมากมาตั้งแต่ทีแรกจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ความไม่พอดีมัน มันมาก มันมักจะมากไปข้างฝ่ายหนึ่ง แล้วก็จะไปน้อยเกินไปข้างฝ่ายหนึ่ง มนุษย์เราทีแรกก็อยู่อย่างธรรมชาติ เหมือนคนป่า หรือสัตว์ป่า คนป่า มันมีความพอดีเอ้อ, มากและก็สม่ำเสมอกันด้วย ถ้าเราดูนกในป่า สัตว์ในป่าทั้งหลายนี้มันจะหากิน พออิ่มแล้วก็พอ หยุด หิวก็หาใหม่ อิ่มแล้วก็หยุด สัตว์ใดก็ตาม นกก็ตาม กระรอกก็ตาม ทุกอย่างกระทั่งว่าเป็นลิงเป็นค่าง เป็นวัวควาย อ้า, กระทั่งเป็นคนป่าอย่างนี้ ต่อให้เป็นคนป่า ถ้าถือตามในบาลีก็เป็นอันว่าเขาเก็บอาหารกินอ้า, จากที่มีอยู่ในป่าเท่าที่จำเป็น ไม่มีใครเอามาตุนไว้ ในชั้นแรกๆ พอปาก พอท้องไปวันหนึ่งๆ ปัญหาก็ไม่เกิด ถ้าเราจะเรียนวิชาเศรษฐกิจ กระทั่งเรียนวิชาการเมือง เพื่อสะสางปัญหาของมนุษย์ในโลกแล้วจะต้องนึกถึงข้อนี้ ตัวข้อที่ในสมัยเมื่อยังเป็นอยู่กันแต่พอดี ไม่มีใครเอาส่วนเกินมา ยังมีความสงบสุข ปัญหาของมนุษย์ตั้งต้นเมื่อเกิดคนที่เอาเปรียบ กอบโกยเอ้อ, ส่วนเกิน ก็มีเขียนอยู่ในบาลีเหมือนกันว่ามัน ต่อมา ต่อมาอีกมันเกิดมนุษย์คนหนึ่งคิดว่า เราไปเก็บเอาไว้มากๆ เอามาไว้ที่ที่อยู่ของเรา เกินกว่าที่เราจะกินวันหนึ่งๆ นี่เอาส่วนเกินมาอย่างนี้ ในป่ามันก็หมดเร็ว จนไม่พอ มันก็เลยเกิดคนที่ไม่ได้ขึ้นมา คนที่ได้มากเกินไปขึ้นมา เกิด เกิดมีคนมั่งมี กับคนขาดแคลนขึ้นมาแล้ว ต่อมาคนบางคนมันฉลาด มีอำนาจ มีกำลัง มันบังคับให้คนที่มีกำลังน้อยหรือเป็นฝ่ายแพ้นั้นให้มาทำงานให้คนที่แข็งแรง พืชผลอะไรเกิดขึ้นมาเป็นส่วนเกินมากเขาก็เก็บเอาเป็นของเขา เขาก็เป็นคนรวยมากขึ้น อีกทางหนึ่งก็เป็นคนจนอยู่ตามเดิม หรือจนยิ่งขึ้น กระทั่งถูกกดขี่ นั้นเขา ยุคหนึ่งเขาเกิดฉลาดถึงประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องทุ่นแรง เช่นไถไถนานี้ เขารู้จักใช้ไถไถนา อ่า, เขาก็ทำให้พืชผลเกิดขึ้นมามากกว่าคนอื่น เขาก็รวยกว่าคนอื่น คนที่ทำไม่ได้ ทำไม่เป็นหรืออะไรก็มันก็จนหนักขึ้นไปอีก ทีนี้ความที่ส่วนเกินมันเกิดขึ้น ก็ทำให้คนต่างกัน และปัญหามันก็เกิดขึ้น ก่อนนี้ไม่มีปัญหาที่มนุษย์จะต้องแย่งกันหรืออะไร ไม่มีใครทำอะไรกัน นี้มันเกิดการมีส่วนเกินมากขึ้นแก่คนพวกหนึ่ง ทีนี้คนก็มากขึ้น จำนวนคนก็มากขึ้น ปัญหามันก็มากขึ้น คนจนก็มากขึ้น คนอ้า, รวยก็มากขึ้น ก็เลยเป็นปัญหาไอ้ทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ทางการเมืองอะไรขึ้นมาตั้งแต่สมัยนู้นนะ สมัยหิน สมัยแรกเลี้ยงสัตว์ ทำนา ทำไร่ทำนา ถ้าทุกคนจะไม่เอาส่วนเกิน ตามคำแนะนำสั่งสอนของผู้ที่เป็นครูบาอาจารย์ ปัญหาก็ไม่เกิด เดี๋ยวนี้ไม่มีใครเชื่อฟัง ทุกคนก็อยากจะเอาส่วนเกินให้มากเข้าไว้ทั้งนั้น ก็เกิดสิ่งที่เรียกว่า บาป ขึ้นมา ก่อนนี้ไม่มีบาป ไม่มีใครละโมบเอาส่วนเกิน ไม่มีใครเห็นแก่ตัวถึงขนาดนั้น บาปมันยังไม่มีในโลก เพราะยังไม่มีใครเห็นแก่ตัว ไม่เห็นต้องเอาเปรียบคนอื่น ฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจได้โดยเหตุผลนี้ว่าไอ้การบัญญัติ บาป ทีแรกก็จะตรงตามพระพุทธภาษิตที่ว่า อะติโลโภ ติ ปาปะโก อะติโลโภ แปลว่า โลภเกิน ผู้ที่โลภเกิน ปาปะโก เป็นคนบาป ยังมีอยู่ในพระบาลี ในพระไตรปิฎก อะติโลโภ ติ ปาปะโก ว่าจริงทีเดียว ผู้ที่มีความโลภเกินเป็นคนบาป พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ ไม่ว่าพระโพธิสัตว์หรือใครก็ตามที่เป็นผู้สอนธรรมก็ตรัสอย่างนี้ กล่าวอย่างนี้ทั้งนั้น ไปดูศาสนาอื่นก็จับใจความได้อย่างนี้ทั้งนั้น ใครเอาไว้เกินกว่าจำเป็น มีไว้เกินกว่าจำเป็น บริโภคเกินกว่าจำเป็นคนนั้นเป็นคนบาป บาปเพราะว่าทีแรกที่คิดที่จะไปเอามา มันก็คิดผิดแล้ว มันกบฏต่อสังคมแล้ว ที่มากินมาใช้อยู่มันก็ไม่ถูก มันเกินจำเป็นมันก็เป็นบาปแล้ว และที่บาปเอ้อ, ยิ่งขึ้นไป คือเห็นแก่ตัวหนักเข้า เห็นแก่ตัวหนักเข้า คนเราพอได้หลงใหลในความเอร็ดอร่อย ความมั่งมีศรีสุขอันมากเข้าแล้วก็จะเห็นแก่ตัวมากขึ้น เห็นแก่ตัวมากขึ้น มันก็โลภมากขึ้น เอ่อ, โกรธง่ายขึ้น หลงง่ายขึ้นนี่ โลภ โกรธ หลง มันก็มีมากขึ้น ฉะนั้นขอให้เข้าใจหลักเหล่านี้ไว้เพื่อจะเข้าใจเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย ตั้งต้นขึ้นที่ว่ามันเอาส่วนเกินมา ทำให้เกิดความโลภ เกินกว่าความที่ควรจะได้ ควรจะมี หรือควรจะปรารถนา ถ้าเราปรารถนา เอ่อ,พอดีก็เรียกว่าไม่โลภเกิน ก็ไม่บาป พอปรารถนาเกินก็คือโง่ โง่ก็คือบาป บาปก็คือทำไปตามนั้น มันก็ยิ่งบาป นี่ขอให้คิดดูว่าเป็นกฎธรรมชาติหรือเปล่า ถ้ามองเห็นเอ้อ, เต็มที่ลึกซึ้งถึงที่สุด จะเห็นว่ามันเป็นกฎของธรรมชาติ เพราะว่าถ้าใครเอามาเกิน ไอ้คนอีกฝ่ายหนึ่งต้องขาด อย่างคนป่าพวกหนึ่งไปเอามาไว้เสียหมด ไอ้คนป่าอีกพวกหนึ่งก็ขาด เพราะในป่ามันมีเท่านั้น ยิ่งคนมันมากขึ้น คนที่เป็นห่วง ไอ้ตัว ส่วนตัวก็ไปเอามาไว้มากเกิน มากขึ้น ไอ้คนนั้นก็ยิ่งขาดมากขึ้น จนกระทั่งคนมีสติปัญญาก็ได้เปรียบคนยากจน ก็มีการเกินแก่ฝ่ายหนึ่งมากขึ้น มีการขาดแก่อีกฝ่ายหนึ่งมากขึ้น ปัญหาตั้งต้นเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง ศาสดาแรกๆ ก็สอนอย่างนั้น ทั้งนั้น อย่าไปเอาส่วนเกิน บาป แต่เดี๋ยวนี้เขาก็คิดว่ามันไม่ถูกแล้ว ใครมือยาว สาวเอา ไม่ต้องสันโดษ ถ้าสันโดษก็ผิด หรือโง่ไปเสีย ปัญหาใครจะ ใครจะแก้ได้ หรือใครจะรับผิดชอบในข้อนี้ แต่ว่าเราก็อาจจะเห็นได้นะว่า ถ้าอย่าเอาส่วนเกินกันละก็ มันปัญหายังไม่มีมากเท่านี้ คนที่มีอำนาจ มีสติปัญญา มีกำลัง มีอะไรก็เอาเกินมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น อย่างที่เรียกว่า คนมั่งมี ก็มาเป็นนายทุน และเป็นนายทุนใหญ่หลวง เขาจะมีมาก ไม่มีที่สิ้นสุด อีกพวกหนึ่งก็ยังจน จนลงไปอีก ยิ่งจนลงไปอีก ในโลกประกอบด้วยคนที่แตกต่างหรือเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันอยู่อย่างนี้ ปัญหาก็มีขึ้นอย่างที่เราก็เห็นๆกันอยู่ว่า เรื่องนายทุน กับเรื่องชนกรรมาชีพ มันยิ่งแรงขึ้นๆ ที่แท้มันตั้งเค้าก่อหวอดมาตั้งแต่ครั้งก่อนนู้นแล้ว หลายหมื่นปี หรือหลายพันปีแล้ว ความเป็นคนมั่งมี ความเป็นคนยากจนมันได้ก่อหวอดขึ้น มีปัญหาทางสังคมมาอย่างนี้ ศาสนาก็พยายามจะแก้ไข มันก็แก้ไขได้บ้างละ แต่แล้วบางยุคบางสมัยมันแก้ไขไม่ได้ หรือมันยิ่งแก้ไขไม่ได้ เช่นเดี๋ยวนี้เรารู้สึกว่ามันเหลือที่จะแก้ไข มีความแตกต่างกันถึงขนาดนี้แล้ว ฝ่ายโน้นก็ไม่ยอมลด ฝ่ายนี้ก็ยังจะแย่งชิง พวกกรรมกรก็ยังจะแย่งชิง เพราะว่าพวกกรรมกรเอง พวกลัทธิสังคมนิยมคอมมิวนิสต์อะไรก็ตาม มันก็ต้องการจะมั่งมีเหมือนกับนายทุนด้วยเหมือนกัน ก็เลยเป็นเรื่องแย่งชิงในส่วนเกิน ทีนี้โลกก็อยู่ในสภาพระส่ำระสายถาวร วิกฤติการณ์ถาวรเกิดขึ้น นี่เรียกว่า ไม่ประพฤติธรรมที่พอดี ไม่มีความพอดี หรือไม่มี มัชฌิมาปฏิปทาที่พอดี ได้เกิดขึ้นในหมู่มนุษย์ มนุษย์พวกหนึ่งก็เอียงสุดไปในทางเกิน มนุษย์หนึ่ง พวกหนึ่งเอียงสุดไปในทางขาดยิ่งขึ้น มันก็เลยมีการระส่ำระสาย ไม่มีความสงบสุข เพราะว่าปฏิบัติผิดธรรมะ ทำหน้าที่ของมนุษย์ผิด จะไปโทษใครนั้น มันโทษไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องของธรรมชาติ มนุษย์ไปทำผิดธรรมชาติ มนุษย์นี่ก็ต้องโทษตัวเอง ต้องรับบาปของตัวเอง อาตมาคิดว่าถ้ามนุษย์เราไม่เข้าใจเรื่องนี้ ไม่พยายามจะสะสางปัญหาเรื่องนี้แล้ว ป่วยการที่จะพูดกันถึงสันติภาพ จะตั้งสำนักงานสหประชาชาติอีกสักสิบหน่วย ร้อยหน่วยก็แก้ปัญหานี้ไม่ได้ เพราะไปส่งเสริม หรือว่าเปิดโอกาสให้มันมีการส่วนเกินและส่วนขาดกันอยู่อย่างนี้เรื่อย ฉะนั้นผู้ที่จะทำโลกให้สงบสุขหรือว่าสหประชาชาติอะไรก็ตาม จะต้องหยิบปัญหานี้ขึ้นไปพิจารณา คือ การปฏิบัติธรรมให้ถูกต้อง ให้มนุษย์มีการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง โลกก็จะมีสันติภาพ เดี๋ยวนี้ไปส่งเสริมส่วนเกินยิ่งขึ้นไปอีก ที่ให้เรียนก็ให้เรียนในส่วนเกิน ไปคิดดูเถิด ส่วนที่จำเป็นยังไม่ได้เรียนเลยก็มี ส่งเสริมเศรษฐกิจ ส่งเสริมอะไรหลายๆ อย่าง ก็ไปทำให้เกินมากที่นั่น ขาดมากที่นี่ อยู่กันแต่อย่างนี้ ไม่มีหวังที่ว่าโลกจะมีสันติภาพ เพราะว่าคนผู้จัดผู้ทำนั้นมองไม่เห็นในเรื่องอันตรายที่เกิดมาจากส่วนเกิน แม้ที่สุดแต่ว่ามีอนามัยดี มันก็เกิดออกมาเร็วมาก จนพลเมืองมันมากเกิน อย่างนี้ เป็นต้น ก็ลองคิดดูเถิดว่าเป็นความโง่หรือความฉลาด ก่อนนี้ธรรมชาติเขาควบคุมเอง มากนักก็ให้ตายไปบ้างด้วยโรคภัยไข้เจ็บออดแอดอย่างนี้ เดี๋ยวนี้มันก็แก้ไขได้มาก คนก็มีชีวิตมาก ล้นโลกเร็ว มันก็มีการเกินอะไรอย่างหนึ่ง มีขาดอะไรอย่างหนึ่ง ไขว้กันไปไขว้กันมา ถ้าเรียกตามแบบศาสนาก็เรียกว่าไม่ปฏิบัติธรรมะที่ถูกต้อง ที่พอดี มันมีขาด มีเกินอยู่เรื่อย การศึกษาของคนในโลกนี้ก็เกิน เหวี่ยงไปสุด เหวี่ยงเกินไปทางหนึ่ง และขาดอีกทางหนึ่ง แม้กระทั่งการศึกษาของเด็กๆเล็กๆ ชั้นอนุบาล ชั้นประถมนี่ก็เกิน สุดโต่งไปทางหนึ่ง ขาดอย่างยิ่งอีกทางหนึ่ง ไปดูที่เขาให้เด็กๆเรียนให้ท่องจำนี่ ฮื้อ เข้าใจไม่ได้ ทำไมต้องไปเรียนเรื่องเมืองอื่นบ้านอื่น แม่น้ำบ้านอื่น เมืองหลวงประเทศอื่นนี่ ทั้งที่ในบ้านตัวก็ไม่รู้ บุญคุณของพ่อแม่ก็ไม่รู้ ความซื่อสัตย์กตัญญูกตเวทีเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ แต่ไปท่องไอ้เรื่องต่างๆ ในต่างประเทศ เรื่องโลกพระจันทร์ เรื่องอะไรไปอย่างนั้นเพราะคิดว่าเด็กมันจะฉลาด อย่างนี้อาตมาเห็นว่าไม่ถูก ไม่ใช่เรื่อง มันเป็นเรื่องเกิน ฝรั่งเขาทำเกินไว้แล้ว ไทยเราก็ไปตามก้นเขา มันก็เกิน เกิน กันไป ความรู้มันก็เรียนไปแต่ส่วนเกินส่วนหนึ่งซึ่งเกินมากไป ส่วนหนึ่งมันยังขาดอยู่ ดังนั้นเด็กๆของเราจึงไม่มีธรรมะ ไม่เคารพบิดามารดา ครูบาอาจารย์ยิ่งขึ้นทุกที มันก็ผิดหลักพระพุทธศาสนา มันก็อยู่ในพวกที่ว่าโทษใครไม่ได้ มันเป็นกรรมของมนุษย์ทั้ง เอ่อ, ทั้งหมด เป็นส่วนรวมที่มันเดินมาในลักษณะอย่างนี้ จนกว่าเมื่อไหร่มันจะมี มีบุญ หรือมีโชคดีที่เกิดมองเห็นกันเข้า รู้สึกกันเข้า ช่วยกันแก้ไขได้ มันคงจะเป็นเรื่องของไอ้ การรับผลกรรม เจ็บปวดมากเข้า อะไรมากเข้า ก็เลยนึกได้ขึ้นมา ค่อยๆ นึกได้ขึ้นมา บางทีจะเป็นพวกฝรั่งอีกก็ได้ เอ้อ, ที่จะเป็นผู้นึกได้ขึ้นมาในทางที่ตรงกันข้าม แล้วพวกไทยเราก็ตามก้นตามเคย ทั้งที่เราเคยนำหน้าในเรื่องแสงสว่างทางวิญญาณ ทางศาสนามาก่อน นี่ไปตามก้นพวกฝรั่งทางวัตถุมาก เขาก็เกินเราก็ตามไปจนเกิน พอเขาจะเริ่มลืมหูลืมตาขึ้นมาไม่ให้เกินเราก็จะตามเขา นี่ ที่เขาพูดว่าฝรั่งจะมาสอนธรรมะสอนพุทธศาสนา มันก็มีส่วนจริงอยู่บ้างในลักษณะอย่างนี้ ขอให้เอาไปคิดด้วย เรื่องปฏิบัติธรรมะนี่มันอยู่ที่ไม่ให้เกิดส่วนเกิน ถ้าเกินแล้วมันต้องขาดละ เกินทางหนึ่งก็ต้องขาดทางหนึ่ง มีเรื่อง อ้า, มากทีเดียวในพระคัมภีร์ กระทั่งในอรรถกถาที่คนสมัยนี้อ่านแล้วหัวเราะเยาะ หรือขนาดแลบลิ้นหลอก ว่าเป็นข้อความความที่เหลวไหล เป็นความโง่เขลาเบาปัญญาของคนผู้กล่าวไว้ มีมากเรื่อง ไอ้เรื่องที่น่าเอามานึกก่อนก็เช่น เรื่องที่พระพุทธะ เขากล่าวไว้ในรูปพุทธภาษิต อยู่ในตัวพระไตรปิฎก มนุษย์ทีแรกก็มีอายุแปดหมื่นปี ยุคหนึ่งนะมนุษย์เคยมีอายุแปดหมื่นปี แล้วเคย แล้วก็ทำ ทำบาป ทำชั่วด้วยเรื่องส่วนเกินนี่ เช่น โลภเกิน เป็นต้นนี้มากขึ้นๆ มนุษย์ก็เลยมีอายุลดลงเหลือเจ็ดหมื่นปี หกหมื่นปี กระทั่งหมื่นปี กระทั่งอ้า, เก้าพันปี แปดพันปี กระทั่งพันปี มนุษย์ก็มีอายุลดลงๆๆ เพราะว่าเขาได้ทำบาป จนกระทั่งเหลือเก้าร้อยปี แปดร้อยปี เจ็ดร้อยปี จนกระทั่งหนึ่งร้อยปี อย่างๆๆ อย่างสมัยปัจจุบันนี้ก็ถือว่าราวหนึ่งร้อยปี และมนุษย์ก็จะทำบาปต่อไปอีก อายุเลยลดลงเหลือ เก้าสิบปี แปดสิบปี เจ็ดสิบปี ถึงห้าร้อยปี จนถึงอายุสิบปี เมื่อมนุษย์มีอายุสิบปีก็คิดดูเถอะว่าจะต้องแต่งงานกันตั้งแต่อายุสองสามปี อยู่ได้สิบปีก็ตาย ตอนนี้บาปของมนุษย์ ถึงที่สุด สูงสุด เหลือประมาณ ไม่มีศีลธรรม ความเห็นแก่ตัวสูงสุด การเอาเปรียบกันสูงสุด ไอ้ส่วนเกินของฝ่ายหนึ่งกับอีกฝ่ายหนึ่งมันต่างกันสูงสุด ก็ถึงจุดที่มนุษย์จะกระทำแก่กันด้วยการเผด็จปัญหาต่างๆด้วยอาวุธ เรียกว่า พระขรรค์กัลป์กัปป์ คือเป็นยุคที่มนุษย์จะอาวุธหรือศาสตรานี้เป็นเครื่องแก้ปัญหา และมนุษย์ก็ได้ฆ่ากัน เหมือนกับการฆ่าเนื้อ ฆ่าปลานี่ก็เลยเรียกว่า ยุคมิคสัญญี คำนี้ก็แพร่หลาย มิคสัญญี ยุคที่สมัยหนึ่ง มนุษย์ฆ่ากันเองเหมือนกับฆ่าเนื้อ ฆ่าปลา มนุษย์บาปมากขนาดนั้น ฆ่ากันด้วยความบาปนั้นจนเหลือไม่กี่คน เพราะว่ามันมีบางคนที่ยังดีอยู่มันก็มีในหมู่มนุษย์เหล่านั้น คิดว่า เราไม่ฆ่าเขา เราฆ่าเขาไม่ได้ และ และเขาก็อยากฆ่าเราด้วย ก็จึงหนีไปเสีย ไปอยู่เสียที่อื่น ไม่ ไม่ ไม่มาร่วมหมู่การแข่งขันฆ่าฟันกัน ทีนี้พวกนี้ก็ฆ่าฟันกันตายหมด พวกที่ไปซ่อนเสีย เอ้อ, กลับมาเห็นก็สังเวช เขาตั้งต้นใหม่ เอ้อ, ละบาปกรรม กลัวบาป กลัวกรรม ทำให้มันดี ให้มันถูกตามธรรมยิ่งขึ้น มนุษย์ก็มีอายุยาวกลับมาอีก คือถอยหลังกลับมาอีก ประพฤติธรรมมากขึ้นเท่าไร อายุก็เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น จนมนุษย์มีอายุถึงร้อยปี หลายร้อยปี หลายพันปี กระทั้งแปดหมื่นปีอีกครั้งหนึ่ง จนเรียกว่าพระพุทธเจ้าชื่อ ศรีอาริยะเมตตรัยเกิดขึ้น โลกเวลานั้น มนุษย์อายุแปดหมื่นปี พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้แต่เพียงใจความอย่างนี้ แต่ข้อที่ว่าใน ใน ในโลกของพระศรีอารย์มีอะไร เป็นรายละเอียดอย่างไรนั้นเป็นเรื่องอรรถกถา ก็แต่ ก็ล้วนแต่น่าฟัง หรือสมเหตุสมผลอยู่เหมือนกัน แต่มันกล่าวไว้ในรูปปริศนาอีกนั่นแหละ ใน ใน ในยุคพระศรีอารย์ที่ว่ามีกัลปพฤกษ์สี่มุมเมือง ใครต้องการอะไรไม่มีขาด ไปเอาได้ และไม่มีคนจน ไม่มีคนมี ไม่มีคนเกิน ไม่มีคนขาด และทำแปลกๆ เช่นว่า พอเราลงจากบ้านเรือนของเราเดินไปตามถนนตามที่ต่างๆ จำไม่ได้ว่าใครเป็นใคร เหมือนกันไปหมดจนจำไม่ได้ว่าใครเป็นใคร จนกว่าจะกลับไปที่บ้านอีก นี่อย่างนี้มีมาก มีมากเหลือเกิน ก็อ้า, ก็น่าจะคิดน่ะ คือมันดีเหมือนกันหมด จนไม่มีคนชั่ว นี่เรียกเหมือน ดีเหมือนกันไปหมดจนจำกันไม่ได้ ไอ้ที่เรียกว่าไม่มีใครจน ไม่มีใครรวยนี่มัน มันมีต้นกัลปพฤกษ์ที่ทำให้คนมีได้เสมอกัน ที่พวกคอมมิวนิสต์เขาชอบเอาไปอ้างเรื่องพระศรีอารย์ตรงนี้ แต่ไม่ แต่มันไม่ถูกกับเรื่อง คือว่าไม่ใช่เพราะประพฤติธรรม จึงเป็นอย่างนั้น เขาจะใช้การเมืองผิดวัตถุให้มันเป็นอย่างนั้น ทีนี้เรื่องที่น่าสนใจที่สุดก็คือที่มนุษย์อายุแปดหมื่นปีแล้วลด ลด ลดลงมาจนเหลือสิบปี แล้วกลับลงไปเรื่อยๆ จนแปดหมื่นปีอีก นี่กลัวว่าเอ้อ, คนส่วนมากจะมองเห็นเป็นเรื่องบ้าๆบอๆ เป็นคัมภีร์โง่ๆ หรือทำให้คนโง่ เป็นคัมภีร์โง่ๆนี่ไม่ถูก แต่ว่าเป็นคัมภีร์ที่ทำให้คนชั้นหลังโง่นี่ถูก ถ้าคนชั้นหลังไม่รู้เรื่องนี้ก็เลยโง่จริงๆด้วย ก็อาจจะเป็นพวกเราเดี๋ยวนี้ก็ได้ อาตมาเชื่อเหลือเกินว่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสอย่างนั้นนั่นท่านหมายความว่า ถ้ามีบาปมากก็มีความอยากความต้องการ เห็นแก่ตัวมาก เวลามันก็สั้น ถ้าทุกคนมีธรรมะ ไม่มีบาป ไม่มีความอยาก กิเลส ตันหา วันคืนก็เหมือนกับมิได้ล่วงไป เพราะฉะนั้นวันหนึ่งคืนหนึ่งของเขาจึงมีค่าเท่ากับ ตั้งพันเท่า หมื่นเท่าของวันธรรมดา พอเราอยากแล้วจะรู้สึกว่าเวลามันสั้น พอเราไม่อยาก เวลามัน ก็รู้สึกว่ามันยาว อาจจะต่างกันเป็นหมื่นๆเท่า เพราะฉะนั้นบาปมากขึ้นเท่าไร เวลาจะสั้นเข้าเท่านั้น จริงที่สุด คือ ตัณหา โลภะ มากขึ้นเท่าไร วันคืนจะรู้สึกว่าสั้นเข้าเท่านั้น นี่เพราะว่าเรามิได้ประพฤติธรรมเพื่อควบคุมกิเลสตัณหา มันก็มีมากจนเรารู้สึกว่ามัน สั้น สั้น สั้น สั้น ทีนี้ไม่ทันแก่ใจ แก่ความต้องการ มันก็ต้องฆ่ากัน คือใช้อาวุธเป็นเครื่องเผด็จปัญหา นี่มนุษย์กำลังใช้อาวุธเป็นเผด็จ เป็นเครื่องเผด็จปัญหากันมากขึ้นๆจนกว่าจะถึงยุคที่มันสูงสุด แล้วมันก็จะถอยหลังกลับอีกที เพราะมันไม่มีทางไปแล้ว ไอ้พวกที่คิดได้ พวกที่กลับตัวได้ก็จะมีขึ้น หมุนกลับกันมาใหม่จนอายุยาว คือมากไปด้วยเมตตากรุณาต่อกันและกัน ต้องการแต่ที่จำเป็น ถ้าเหลือก็ให้แก่สังคม ไหนๆพูดมาแล้วก็อยากจะพูดให้หมด เพราะว่าครูบาอาจารย์เหล่านี้ก็อาจจะเกี่ยวข้องกันอยู่กับปัญหาสังคม เราจะสมมติเอาก็ได้ว่า ถ้าใครอยากเอาส่วนเกิน เราควรจะมีเท่าไร เรามี จะต้องมีกินมีใช้เท่าไร เรากำหนดไว้ให้พอ เหลือเท่าไรเราช่วยสังคม คือผู้อื่น แล้วโลกจะเปลี่ยนอย่างที่เรียกว่าเปลี่ยนอย่างกลับหลังหันได้ นี่เอาไปนึกดูเถิดว่า ถ้าว่านายทุนทั้งหลายจะเอาไว้เท่าที่จำเป็นแก่การเป็นอยู่ เหลือนอกนั้นทิ้งให้สังคม มันก็ มันก็โลกนี้ก็เปลี่ยนอย่างที่เรียกว่าหน้ามือเป็นหลังมือ คือมันกระโดดไปยังครั้งพุทธกาลหรือครั้งก่อนพุทธกาล ที่เขาถือหลักว่า เอาไว้ มีไว้ แสวงหาไว้เกินกว่าที่จำเป็นนั้นเป็นบาป โลกมันจึงอยู่กันใน ในสภาพที่ไม่เหลื่อมล้ำต่ำสูงกันนัก คล้ายๆว่าทั้งโลกนี้มันเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกัน มันก็อุ้มชูกันไป อยากจะบอกเป็นส่วนพิเศษขอแทรกตรงนี้อีกหน่อยหนึ่งว่า ไอ้คำพูดนั้นละมันทำยุ่ง อืม์, ถ้าคุณได้ยินคำว่า เศรษฐี อย่างนี้ คุณอย่าคิดว่าเศรษฐีเดี๋ยวนี้กับเศรษฐีครั้งพุทธกาล เป็นต้น จะเหมือนกัน เศรษฐีหรือมหาเศรษฐีอย่างสมัยปัจจุบันนี้เป็นนายทุน เขาจะเอาของเขาไว้ให้มากที่สุด และก็เอา เอาอำนาจ อิทธิพล เงินหรืออะไรก็ตาม ให้คนอื่นทำงานให้เขารวยมากขึ้นไปอีก นี่เป็นเสียอย่างนั้น และเขาเป็น ผู้เจ้าของ ก็เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี หรือบรมมหาเศรษฐีอะไรของสมัยนี้ แต่ถ้าเป็นครั้งพุทธกาล คำว่าเศรษฐี ไม่ใช่อย่างนั้น มีความหมายเหมือนกับ พ่อเลี้ยงชนิดหนึ่ง เขาจะจัดให้คนที่เป็นบ่าวไพร่ กรรมกรนั้นทำงานแล้วก็เลี้ยงดูเจือจานเหมือนกันราวกับว่าเป็นคนของตัว เป็นลูกหลานของตัว ถ้ายังเหลืออีก ก็ทิ้งให้สังคมโดยผ่านทางพระศาสนา เพราะฉะนั้นเศรษฐีพอเหลือ เงินเหลือใช้ก็สร้างวัด สร้างวา เชตวนาราม อารามอะไรก็ตามเถอะเป็นเรื่องของเศรษฐีสร้าง นี่ทำประโยชน์แก่สังคมโดยผ่านทางศาสนา หรือว่าโดยตรงก็คือโรงทาน อาสวบิณฑะนี่ เป็นก้อนข้าวของคนอนาถา เศรษฐีจะมีโรงทานของตัวเลี้ยงคนจน คนที่หากินไม่ได้ คนทุพพลภาพ อะไรต่างๆ แม้แต่ภิกษุ ด้วยโรงทานนี้จะเป็นเครื่องประกวดประขันกันระหว่างเศรษฐีต่อเศรษฐี เศรษฐีคนไหนจะมีโรงทานเช่นนี้มากกว่ากัน ถ้าใครมีมากก็เศรษฐีคนนั้นเป็นที่ยกย่อง คือยอมแพ้ของเศรษฐีอื่นๆ ฉะนั้นนคำว่า เศรษฐีในครั้งพุทธกาลกับเศรษฐีเดี๋ยวนี้มันไกลกันลิบ เศรษฐีครั้งพุทธกาลมันไม่รู้ว่าจะเอาไปทำอะไร ส่วนที่เกินของตัวแล้วก็เป็นให้ผู้อื่น จะเรียกว่า สังคมนิยม หรือเรียกอะไรก็สุดแท้ แต่คงไม่ใช่สังคมนิยมอย่างคอมมิวนิสต์แน่ แต่มุ่งหมายสังคมเป็นใหญ่ก่อน เช่นเดียวกับพุทธศาสนา มุ่งหมายสังคมสันติ การปฏิบัติก็คือทุกคนอย่าเอาส่วนเกิน โดยให้ถือเสียว่าเมื่อเราเอาไว้พอกินพอใช้แล้วส่วนใดช่วยผู้อื่นก็เป็นบุญกุศล แล้วก็ของผู้นั้นอีกนั่นแหละ มันไม่ใช่ว่าไปเป็นของคนอื่นเสีย ไอ้บุญกุศลที่ทำขึ้นมามันก็เป็นของผู้นั้นอีกแหละ นี่ก็สอนอย่างนี้ เอ้อ, มันจึงจะพอรับกันได้ ถ้าให้ผู้อื่นเสียโดย โดย ส่วนเดียวโดยเด็ดขาดเป็นของผู้อื่นไปหมด ก็คงจะไม่มีใครเอาสักกี่คน นี่ถ้าว่าเดี๋ยวนี้จะทำได้ไหม ถ้าประชาชนทุกคนจะเอาไว้แต่เท่าที่จำเป็นตาม ตามสัด ตามส่วน ตามฐานะของตนๆ เจียดให้มีส่วนเกินเหลือออกมาเพื่อผู้อื่นให้จนได้ อย่างว่าเด็กๆ หรือเป็นเด็กนักเรียน เขาได้เงินจากพ่อแม่มาวันละหนึ่งบาทนี่ ก็จะพยายามเจียดให้มันเป็นส่วนเกินเสียสิบสตางค์ เอาไปช่วยผู้อื่นเสีย เก้าสิบสตางค์กินเอง มันก็จะเข้ารูปนี้ ให้ทุกคนมี มี มีส่วนที่เจียดออกไปให้ผู้อื่นได้ เรียกว่าเป็นส่วนเกินสำหรับตัว นี่คือ ปฏิบัติธรรม ตามหลักของธรรมชาติที่ว่าจะป้องกันไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันขึ้นมา เข้าใจว่าทีแรกก็เป็นกันอย่างนี้ และเป็นกันได้ง่ายๆ แต่พอความเจริญแผนวัตถุนิยมมาแล้วมันก็ลบล้างไอ้สิ่งนี้ไปทีละนิดๆ จนสูญหายไป แล้วมันก็เหลือซากให้ดูให้เห็นได้อยู่ที่บ้านนอกคอกนา ใน ในป่า ในเขา ถ้าคุณเป็นนักศึกษา ไอ้สังคมศาสตร์อะไรทำนองนั้น ก็ต้องมาศึกษาให้รู้ว่า คนจนๆ แถวนี้ละ ใกล้วัดนี้ทำงานอย่าง ๆ อาบ อาบเหงื่อต่างน้ำ แล้วก็บ้านเรือนก็ยังไม่นั่น ไม่ค่อยว่าสวยงามอะไร แต่เขาก็เจียดส่วนเกินออกมาได้มากที่จะทำบุญ วัดนี้มีพระถึงหก ๖๐ รูป ข้าวสุกนี่ไม่ต้อง ไม่เคยมีปัญหา เขาใส่บาตรพอสำหรับพระ ๖๐ รูป ล้วนแต่เป็นบ้านยากจน เจียดออกมาได้ ไม่ใช่ใครบังคับหรือขอร้อง เขาทำมาตามขนบธรรมเนียมประเพณี ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วไปเทียบกับไอ้พวกเมืองฝรั่งมังค่าแล้วจะน่าใจหายแหละ มันคล้ายๆ ว่าพวกนี้เขาทำบุญประมาณ ๓๐ เปอร์เซนต์ของรายได้ทั้งหมด พวกฝรั่งที่เมืองนอกอาจจะทำบุญไม่ถึง ๑ เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมดก็ได้ ขอให้ไปดูตามบ้านเรือนคนยากจนเหล่านี้ พระไปบิณฑบาตสังเกตดูเห็น บางทีบ้านก็เป็นกระต๊อบ แต่ก็ยังใส่บาตรทุกวัน เจียดส่วนเกินออกมาจนได้สำหรับเพื่อผู้อื่น แต่มันก็เป็นอย่างที่ว่า เอ้อ, หน่อย ที่เขาหวังบุญกุศล เป็นของเขาอีกทีหนึ่ง ทีนี้ถ้าเกิดไม่เชื่อบุญ ไม่เชื่อกุศล ไม่เชื่อพระเจ้าขึ้นมาก็ไม่มีใครทำ นี่ พวกฝรั่งเขาว่า พระเจ้าตายแล้ว ศาสนาไม่จำเป็น ทีนี้การช่วยผู้อื่นในรูปนี้ก็ไม่มี ก็พลอยสูญหายไปด้วย อันไหนมันจะดี อันไหนจะทำโลกให้มีสันติ ก็ไปคิดเอาเอง ผู้ที่เป็นนักศึกษาสังคมศาสตร์ ที่พูดนี้มาเป็นตัวอย่างสำหรับการปฏิบัติธรรม จะชี้ให้เห็นว่าการปฏิบัติธรรมนี้ยังเหลืออยู่ในเอ้อ, ทุ่งนาป่าเขา ในหมู่ชนที่ยังไม่ได้รับอารยธรรมวัตถุนิยมแผนใหม่ แต่แล้วเขาก็กำลังค่อยเป็น ค่อยเป็น ค่อยเป็นไปเหมือนกัน ไม่ใช่ว่ามันจะแน่นอนว่าคงที่อยู่อย่างนี้ คนที่ไม่เคยนิยมวัตถุนิยมอารยธรรมนี้ก็กำลังเปลี่ยนไป เปลี่ยนไป ไปชอบดูหนัง ดูละคร ไปกิน ไปเล่น ไปหัว ไปอะไรมากขึ้น แต่ยังไม่หมด เทียบกับใน ในกรุงกับบ้านนอก ก็บ้านนอกนี้ยังเหลืออยู่มาก จะด้วยอะไรก็ตาม การที่ยึดเอาส่วนเกินเข้าเป็นของตัวนั้นที่บ้านนอกยังมีอยู่น้อย เหมือนกับสมัยโบราณดึกดำบรรพ์มา นี้เรียกว่า ความพอดี ที่ว่าเอาไว้เท่าไร เอ้อ, ช่วยเหลือผู้อื่นเท่าไร ให้ทำให้พอดี โลกนี้ก็จะไม่เป็นไฟ ถ้าต่างคนต่างเอา ไม่มีใครรับผิดชอบว่าไอ้ส่วนนั้นมันจะอยู่กันอย่างไร โลกนี้ก็ต้องลุกเป็นไฟ อย่างที่กำลังลุกมาแล้วและกำลังลุกอยู่ต่อไป โลกกำลังลุกเป็นไฟเพราะแข่งขัน แย่งชิงกันกอบโกยส่วนเกิน ทีนี้จะพูดให้ลึกไปอีกหน่อย มัน มันคล้ายๆ ว่าเป็นปรัชญามากไปก็ได้ ที่เราจะพูดว่าไอ้ส่วนเกินนี้มันเป็นของใคร ถ้าพูดว่าของสังคม มันก็เป็นพูดอย่างธรรมดา พูดอย่างปรัชญาก็ต้องพูดว่า ของธรรมชาติ พูดอย่างสมมติขึ้นไปอีกก็ของพระเจ้า สมบัติทั้งหลายในจักรวาล ในสากลจักรวาลเป็นของพระเจ้า ถ้าเราไม่อยากเรียกพระเจ้าเราเรียกว่า ธรรมชาติ ของธรรมชาติ ถ้าเราเห็นแก่ตัวเราก็เรียกของมนุษย์เป็นส่วนรวม นี่มนุษย์นี่เกิดแย่งเอาของส่วนเกินของมนุษย์ด้วยกันไว้มากเกินไป ก็บาป ก็ถูกลงโทษ ต้องถูกเดือดร้อน ยิ่งถ้าไปเอาของธรรมชาติมามากเกินไปก็บาป นะ โดยธรรมชาตินั้นลงโทษให้เดือดร้อน อย่างมนุษย์ไปขุดเอาน้ำมัน เอาสินแร่อะไรต่างๆจากธรรมชาติขึ้นมาถลุงเสียให้หมดเพื่อฆ่ากัน เอาเปรียบกัน แย่งชิงกันนี่ธรรมชาติก็ลงโทษให้เดือดร้อน กระทั่งว่าจะไม่มีน้ำกิน เป็นต้นต่อไป แต่พูดอย่างนี้คนสมัยโบราณเขาไม่ ไม่ค่อยเชื่อ เพราะความเชื่อเขาเป็นอีกอย่างหนึ่ง ก็ต้องพูดว่าของพระเจ้า เป็นการทำลายสมบัติของพระเจ้า ดื้อดึงต่อพระเจ้า พระเจ้าก็จะลงโทษให้มนุษย์เดือดร้อนแสนสาหัส มนุษย์อย่าทำอย่างนั้น มันจะบาป เขากลัวบาปเขาก็ไม่กล้าทำอย่างนั้น ทีนี้ถ้าเรามองกันในแง่ของปรัชญาก็ว่า ข้อเท็จจริง ตามความเป็นจริง ตามกฏเกณฑ์ของธรรมชาติที่แท้จริงมันก็ต้องเป็นอย่างนั้น เรายิ่งเอามาเท่าไหร่มันก็ยิ่งหมดไปเท่านั้น นั่นไม่เท่าไหร่ ไม่ๆ ไม่ร้ายแรงเท่าไหร่ มันร้ายแรงตรงที่ว่าเราไปเอามาเท่าไหร่เราก็ยิ่งเห็นแก่ตัวมากขึ้นเท่านั้น เรามีบาปมากขึ้นเท่านั้น และในที่สุดเราก็จะฆ่ากันได้อย่างมิคสัญญี ทีนี้ถ้าเรายอมรับไอ้หลักการอันใหญ่อันนี้แล้วก็เราอาจจะช่วยกันนะ ไม่ใช่คนเดียวทำได้ ช่วยกันกันจัดโลกนี้ให้เป็นไปในทางที่หวังได้ในสันติสุขหรือสันติภาพ ถ้าองค์การอย่างสหประชาชาติเขามองกันในแง่นี้ และป้องกันควบคุมขยับขยายกันให้ถูกเรื่องของเรื่องนี้ โลกก็จะดีกว่านี้ เดี๋ยวนี้มันยังทำกันในลักษณะที่ให้มนุษย์กอบโกยส่วนเกินอยู่นั่นแหละ ไม่มีหลักการที่จะให้มนุษย์ยอมสละส่วนเกิน และยกไอ้ส่วนที่ขาดขึ้นมา ไม่มีคำพูดว่าเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกัน ทั้งที่ใช้คำว่า สหประชาชาติ ไม่มีคำใช้ว่า เพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกัน ฉะนั้นมนุษย์ยังจะต้องตายในรูปนี้ไปอีกนาน คือต่างคนต่างแย่งชิง กอบโกยส่วนเกินเอามาเป็นตัวกู ของกู นี่ไม่ปฏิบัติธรรม ไม่ ไม่เป็น ถูกตามเรื่องการปฏิบัติธรรม เพราะมันเกิน เกินฝ่ายโน้น แล้วเกินฝ่ายนี้ เกินฝ่ายมั่งมี เกินฝ่ายยากจน มันไม่อยู่ตรงกลาง ไม่ใช่มัชฌิมาปฏิปทา ผิดหลักธรรมะแล้วมันก็ต้องเกิดเป็น อธรรมะ ขึ้นมา อธรรมะก็เป็นธรรมอย่างหนึ่งเหมือนกัน คือธรรมที่ผิด เพราะไม่มีอะไรที่จะไม่ใช่ธรรมะ เดี๋ยวมันเกิดเป็นธรรมะที่เป็นอธรรม คือธรรมที่ผิด ที่ไม่ใช่ ไม่ใช่ธรรมจริง คือเป็นธรรมปลอมขึ้นมา เราอยู่กันอย่างหลับหูหลับตา มุ่งหมายแต่ทางหนึ่ง ไม่ ไม่เห็นอันตรายที่จะเกิดขึ้นมา จากการกระทำอันนั้นอย่างลึกซึ้ง นี่คือไม่ ไม่มีธรรมะ ไม่มีสัมมาทิฏฐิ ไม่มีสัมมาสังกัปโป ไม่มีสัมมาวาจา กัมมันโต อาชีโว วายาโม สติ สมาธิ อย่าดูถูก ขอให้ไปช่วยท่องกันไว้ด้วย โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา ครูบาอาจารย์ นี้ถ้าจะสนใจธรรมะในพุทธศาสนาละอย่าลืมไอ้คำว่า พอดี อยู่ตรงกลาง แตกเป็น ความคิดเห็นถูกต้อง ความปรารถนาถูกต้อง พูดจาถูกต้อง ทำการงานถูกต้อง เลี้ยงชีวิตถูกต้อง พากเพียรถูกต้อง สติถูกต้อง สมาธิถูกต้อง จะช่วยให้เกิดความพอดี หรือเป็นกลาง นั่นก็คือหลักพุทธศาสนา อย่าๆ อย่าเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย อย่าดูถูกว่าเป็นเรื่องของคนโง่ แต่เป็นเรื่องของคนฉลาดที่สุด เขากล่าวไว้สำหรับให้คนอวดดีกลายเป็นคนโง่ เช่นเรื่องมนุษย์อายุแปดพัน เอ้อ แปดหมื่นปีลดเหลือสิบปีแล้วก็ไปแปดพันปี แปดหมื่นปีอีกนี่อย่าไปคิดว่าเขาเป็นคนโง่พูด แต่เขาพูดไว้สำหรับให้เราบัดนี้กลายเป็นคนโง่ คือเราไม่เข้าใจของเขา เราเป็นคนโง่เอง ขอให้ยอมรับว่า สมัยหนึ่ง ครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคพระพุทธเจ้านั้นน่ะ เขาคิดกันสุดเหวี่ยงแล้ว ยุคนั้นเรียกว่า ยุคอุปนิษัท ไม่มียุคไหนในโลกเท่าที่ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ แต่หมายความว่าต้องสนใจศึกษาให้ดีนะ จึงจะเข้าใจได้ ว่าเท่าที่เรารู้กันมาในประวัติศาสตร์นี่ไม่มียุคไหนในโลกที่เป็นยุคแห่งเอ้อ, นั่งคิด นอนคิด เรียกว่า ยุคอุปนิษัทโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอินเดีย ประเมินให้ว่าราวห้า เอ้อ, ห้าร้อยปีก็แล้วกัน ยุคนั้น ก่อนพุทธกาลสองพันห้าร้อยปี หลังพุทธกาลเอ้อ, สองร้อยห้าสิบปี หลังพุทธกาลก็สองร้อยห้าสิบปี เป็นห้าร้อยปียุคนั้น เอา เอา เอาพระพุทธเจ้าเป็นจุดกลาง ก่อนท่านสองร้อยห้าสิบปี หลังท่านสองร้อยห้าสิบปี อินเดียเขาเรียกว่ายุคอุปนิษัท เรียกว่ายุคนั่งคิดนอนคิด ข้างใน คำว่าคิดก็น้อมไปข้างใน ก่อนหน้านั้นมันน้อมไปข้างนอก ก่อนหน้านั้นมันน้อมไปข้างนอก คือไปหาเทวดา ผีสาง โชคลาง ดวงดาว พิธีรีตองอะไรข้างนอกนั้น พอถึงเริ่มยุคอุปนิษัท คนก็เริ่มเอ่อ, หมุนเข้าไปมองข้างใน คิดข้างใน คือในใจ อุปนิษัท ก็แปลว่า นั่งคิดนอนคิดนั่นแหละ ษัท นั้นก็แปลว่า นั่ง นั่งคิดนอนคิดกันออกเรื่องของมนุษย์ขึ้นมาตามลำดับจนเกิดพระพุทธเจ้ารู้ว่าไอ้สูงสุดดับทุกข์สิ้นเชิง คือนิพพานเป็นอย่างนี้ ทีนี้เขาจะพบในเบื้องต้นตรงๆกันหมดแทบจะทุกลัทธิ คือ กิเลสนี้ใช้ไม่ได้ ความเห็นแก่ตัวกู ของกูนี้ใช้ไม่ได้ ข้อนี้เห็นได้ง่ายที่สุดว่าในบรรดาลัทธิที่ดีที่ถูกต้องของฮินดู กระทั่งถึงพระพุทธเจ้านี้จะมีคำว่า ต้องทำลายอหังการ มมังการ พุทธศาสนา หรือไม่ใช่พุทธศาสนาล้วนแต่สอนให้ทำลายอหังการ มมังการเสียก่อนทั้งนั้น หลังจากนั้นจะว่าอย่างไรก็ค่อยว่ากันไป จะเรียกชื่อต่างๆกันก็ได้ เช่นทำลายอหังการ มมังการได้แล้วไปเป็นพรหมอยู่ถาวรก็ได้ แต่ในพุทธศาสนานี่ถ้าทำลายอหังการ มมังการได้แล้วก็นิพพาน คือ หมดตัวฉัน หมดของฉัน เป็นจิตที่บริสุทธิ์หลุดพ้น ตอนนี้ไม่เป็นไร จะเรียกอย่างไร ต่างกันอย่างไรก็ไม่สำคัญ แต่มันเหมือนกันตรงที่ว่า ต้องทำลายอหังการ มมังการ อหังการ แปลว่า การกระทำความสำนึกสำคัญว่าตัวกู อหัง เรา มมังการ การทำความสำนึกมั่นหมายว่า ของเรา ผลของยุคอุปนิษัท ทั้งยุค สรุปความแล้ว มันพบไอ้เรื่องมองข้างใน พบว่า ไอ้ตัวนี้น่ะร้ายกาจ ไอ้ตัวกู ของกูนี่ร้ายกาจ มันจะไปหาส่วนเกิน จะไปเอาเข้าข้างตัวเรื่อย ต้องควบคุมให้ได้ ทำลายให้ได้ จึงจะเป็นธรรมะขึ้นมา เราจะพบว่ายุคนี้เอ่อ, เป็นยุคสูงสุด ที่เรียกว่ายุคทอง ยุคอะไรก็ตามของความคิดของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอินเดีย เรียกว่ายุคอุปนิษัท ที่นี้ถ้าเหลือบมองไปทางอื่นบ้างมันก็เรียกว่ารับสมอ้างกันไปหมด มาทางตะวันออกสุดนี่เป็นยุคเหลาจื๊อ ขงจื๊อ เหลาจื๊อพ้อง พ้องสมัยกับพระพุทธเจ้า ขงจื๊อคลาดกันสักแปดปี คำสอนของเหลาจื๊อก็เป็นไปสูงสุดถึงว่าไอ้ ๆ ไอ้โลกนี้เป็นมายาเหมือนกัน ที่เรารู้ เราเห็น เราเข้าใจ เรารัก เราปรารถนานั้นเป็นมายา ต้องรู้อะไรที่จริงกว่านั้นน่ะเราจึงฟังคำพูดของเหลาจื๊อไม่ค่อยจะถูก ก็เรียกว่าเป็นอยู่ในยุคอุปนิษัท ของอินเดียด้วยเหมือนกัน พ้องสมัยกัน ในทางประเทศกรีกก็เคยฉลาดถึงขนาดสอนเรื่องลัทธิแพนธาเล (นาทีที่ 56:41) แพนธะ ทุกอย่าง เล ไหล ทุกอย่างไหล ก็คือไม่เที่ยง เป็นชื่อที่ เฮรัสติคัส (นาทีที่ 56:49) ถ้าไปเปิดปทานุกรมคำนี้จะพบว่าเขาสอนลัทธิอันหนึ่งว่า ทุกอย่างไหลเรื่อย จะไปเอาเป็นตัวตนของตนที่ไหนไม่ได้ ก็เป็นเรื่องอหังการ มมังการเหมือนกัน (นาทีที่ 56:41) แต่ว่ามันจะไม่ได้ใช้คำพูดอย่างนี้ ก็น่าหัวที่นักศึกษา นักปรัชญาสมัยปัจจุบันไม่เข้าใจคำสอนเรื่องแพนธาเล ของเฮรัสติคัส กลับหาว่า เฮรัสติคัส เป็นคนบ้าคนบอ เรียกว่า obscure ลึกลับจนไม่มีอะไร เอ้อ, ไม่มีประโยชน์อะไรไปเสีย ไปดู ไปดู ปีก็จะพบว่าพ้องสมัยกันกับพระพุทธเจ้า ผิดกันไม่ถึงห้าสิบปี นายคนนี้ ก็ ก็ต้องถือว่าเขาสอนเรื่องอนิจจังอะไรกันมาแล้ว ได้ดีแล้ว ใน ในยุคอ้า, ยุคนั้น ต่อมาไอ้พวกกรีกยุคหลังจึงมาทางปรัชญาเพ้อเจ้อ ร่ำสุราเมรัย สตรี นีมาทีหลังอีก ที่พูดนี้ก็ให้เพื่อเพียงว่า มนุษย์เรานี่เคยสว่างไสวทางวิญญาณ ทางจิตใจ ถึงกับว่า เห็นทุกอย่างไม่ ไม่ควรจะไปยึดมั่นเป็นตัวเรา เป็นของเรา คือทำลายอหังการ มมังการด้วยกันทั้งนั้น ในอินเดียใช้คำพูดนี้ตรงๆ ที่อื่นเอ่อ, มันก็ใช้คำอย่างอื่นแต่ความหมายเหมือนกัน ที่ว่าทุกอย่างไม่เที่ยง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ส่วนทางอียิปต์ เป็นต้น แม้ว่าไม่ค่อยได้สอบดู มันก็คงจะอย่างเดียวกันก็ได้ มันถ่ายเทกันได้ ทีนี้เอาเป็นว่าทางตะวันตก เอ่อ, โน้นคือพวกคริสตัง ตรงกลางคืออินเดีย ทางตะวันออกคือจีนนี้ เขารู้เรื่องความจริงของธรรมชาติที่ไม่ควรเป็นตัวกู ของกูมาแล้ว ถ้าเห็นความจริงข้อนี้มันก็มีกิเลสไม่ได้ เอาส่วนเกินไม่ได้ จะเอาเท่าที่จำเป็นแก่ความเป็นอยู่ นอกนั้นก็ปล่อยให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น โลกก็จะสงบได้โดยอัตโนมัติ แสงสว่างอันนี้เลือนไป เลือนไป เลือนไปเพราะว่าหมุนมาหาไอ้วัตถุ วัตถุนิยม ซึ่งพอกพูนความเห็นแก่ตัวจนเดี๋ยวนี้ไม่มีใครอยากจะสนใจคำสอนของพระพุทธเจ้าในส่วนนี้ ที่ว่านับถือพุทธศาสนาหรือชอบพุทธศาสนา มันก็ชอบในส่วนอื่นที่ไม่ใช่อย่างนี้ ที่ว่าอย่างดีก็ว่ามันเป็นทฤษฎีที่ตกหลักวิทยาศาสตร์ ฝรั่งก็เห่อๆไปอย่างนั้นเอง ไม่เข้าถึงใจความอันนี้แล้วปฏิบัติให้ได้ นี้ที่พวกเราพุทธบริษัทมาตั้ง ถ้าถือตามนั้นก็ต้องสองพันกว่าปี พระเจ้าอโศกให้คนเอามาให้ถึงบ้านเราที่นี่ก็มันพ.ศ.สองร้อยเศษนะ ก็แปลว่า สองพันสามร้อยปีมาแล้ว คนไทยเราหรือใครก็ตามที่อยู่ในดินแดนแถวนี้ได้รับพุทธศาสนา มันคงจะเคยฝังรากลงไปในจิตใจ เอ้อ, สันดานอะไรของคนที่นี่จนแทบจะไม่มีตัวกู ของกู เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พอเหลือกินก็เทให้ผู้อื่น มันจึงมีการสร้างวัดสร้างวาอะไรมากมายเหลือเกิน กิจการที่เป็นทางศาสนามันจึงมีมาก ไม่มีใครอยากจะเหลือเอาไว้เป็นส่วนเกิน เอาไปให้ผู้อื่นโดยผ่านทางศาสนาอย่างที่ว่ามาแล้ว มันคงจะเป็นยุคที่มีสันติภาพมากที่สุด ถึงไม่ๆๆ ไม่เท่ากันร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ใกล้ๆกันไป อย่างที่กล่าวในบาลีว่า ไม่มีความทุกข์ร้อนเลย มารดา อ้า, ให้ลูกน้อยๆ เต้นรำอยู่บนอก นี้ไม่ได้ว่าเอาเอง ตัวหนังสือเป็นอย่างนี้ คุณก็นึกภาพพจน์เอาสิ ไม่มีความทุกร้อนอะไรเลย แม่ก็ให้แต่ไอ้ลูกน้อยๆเต้นรำอยู่บนอก หมายความว่าลูกยังเดินไม่ได้นะ กลิ้งเกลือกอยู่บนอกของแม่ ไม่มีความทุกข์ร้อนอะไรที่เป็นวิตกกังวล นี่ก็ข้อหนึ่ง และก็ไม่ต้องเอ้อ, ปิดประตูเรือน ทำเรือนไม่มีประตูก็ได้ หรือแม้จะมีประตู ไม่ต้องปิดประตูเรือนก็ได้ มันไม่มีใครที่จะขโมยใคร อันนี้ไม่ต้องถึงชั้นสองพันปีที่แล้วมาหรอก เมื่ออาตมาเด็กๆแถวนี้ยังมองเห็น ประตูบ้านไม่ต้องใส่กุญแจ ไม่ต้องปิด ไปไร่ไปนาไปได้ สั่งฝากเอ่อ, คนบ้านเรือนข้างเคียงว่าช่วยดูด้วยมันก็ได้แล้ว หรือไม่สั่งก็ได้ ก็ไปไร่ไปนาได้ ไม่มีใครขึ้นไปขโมยของบนเรือน นอนตรงไหนก็ได้ กลางคืนนอนใต้ถุนก็ได้ ไม่มีใครมายิงตายเหมือนสมัยนี้ ชั่วไม่ถึงร้อยปีนี่มันเปลี่ยนขนาดนี้ สมัยโน้นคงจะไม่มียิ่งไปกว่านี้อีก เรื่องฆ่าฟันอะไรกัน ประโยคสุดท้ายก็มองกันด้วยสายตาแห่งความเป็นมิตร เข้ากันสนิท เหมือนน้ำกับน้ำนม คนทุกคนมองกันด้วยสายตาที่เข้ากันสนิทเหมือนกับน้ำกับนม นี่เป็นสำนวนที่เขียนไว้ชัด ประเทศแหลมทองทั้งหมดนี้หรือสุวรรณภูมิทั้งหมดนี้จะต้องเคยเป็นอย่างนี้มาแล้ว จนกระทั่งว่า กล่อมลูกให้นอนก็มีข้อความถึงนิพพานอย่างเรื่องมะพร้าวนาฬิเก สนใจก็ไปถ่ายรูปต้นมะพร้าวกับไอ้ตัวหนังสือที่จารึกไว้ที่ริมสระมะพร้าว เป็นบทกล่อมลูกให้นอนแท้ๆ เรื่องนิพพาน การปฏิบัติธรรมเอ้อ, อยู่ในสายโลหิต กลายเป็นวัฒนธรรม ขอให้นึกถึงข้อนี้ด้วยที่ว่าจะตั้งกลุ่มพุทธศาสตร์ประเพณีอะไรขึ้นในมหาวิทยาลัยนั้น วิทยาลัยนี้ ดูจะเป็นเรื่องเล่นละคร ถ้ามองให้ซึ้งแล้ว มันก็เป็นเรื่องที่ว่า พุทธศาสนาที่แท้จริงนั้นมันไปอยู่ในตัววัฒนธรรมประจำบ้านเรือน ทุกคนจะรักเพื่อนบ้าน อย่างน้อยก็เท่ากับตัว หวั่นไหวในความทุกข์ร้อนของเพื่อนบ้านเท่ากับความทุกข์ของตัว เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แล้วก็ให้ทาน และก็ไม่กล้าทำบาป กลัวบาปเหลือประมาณ ยิ่งกว่ากลัวเสือกลัวผี ฉะนั้นขอให้ไปศึกษาร่องรอยของวัฒนธรรมโบราณ ว่ามีอย่างไรบ้างที่มันยังเหลืออยู่ให้เห็นนี่ มันก็ล้วนแต่ว่าลึกซึ้งในทางธรรม ทางศาสนาทั้งนั้น ก็หมายความว่าเขาปฏิบัติธรรมะจนซึมเข้าไปในสายเลือด จนกลายเป็นวัฒนธรรมประจำบ้านเรือนไป ไม่เรียกว่าศาสนา แต่ที่แท้คือศาสนาที่มันไปอยู่ในวัฒนธรรมประจำบ้านเรือน เดี๋ยวนี้กำลังจะละลายไป จางไป จางไป จะไปสู่วัตถุนิยมครองโลก ไอ้ปฏิบัติธรรมเขาก็ต้องหายไป วัตถุนิยมเข้ามาเท่าไรปฏิบัติธรรมก็หายไป คือมันเป็นปฏิบัติธรรมอย่างอื่นไปแล้ว อย่างวัตถุนิยมไปแล้ว อย่างที่ว่าไม่เป็นธรรมในศาสนา รวมความแล้วก็เกินอีกนั่นแหละ เกินไปทางวัตถุ ขาดทางจิต แล้วนี้ก็เห็นว่า ให้เห็นได้สักทีแล้วว่าเดี๋ยวนี้เรากำลังเกินไปทางวัตถุ กำลังขาดไปทางจิต ถ้าใครหัวเราะเยาะก็ตามใจเพราะอาตมาไม่มีทางที่จะพูดอย่างอื่นเพราะมันมองเห็นอย่างนี้ ยิ่งมองยิ่งเห็นอย่างนี้ ยิ่งมองยิ่งเห็นอย่างนี้ เลยพูดอย่างอื่นไม่เป็น ว่าเรากำลังเกินในทางฝ่ายวัตถุนิยม materialism แล้วเราก็เป็นคอมมิวนิสต์โดยไม่ทันรู้ตัว เป็นเอง เป็นเลย เป็นหมดร้อยเปอร์เซ็นต์โดยไม่ทันรู้ตัว เพราะไปหลงใหลวัตถุนิยม โดยคิดว่าถ้าวัตถุเต็มที่แล้วคนเราก็หมดปัญหาและมีความสุข อืม์, คอมมิวนิสต์ก็ถือหลักอย่างนั้นนะ พยายามพิสูจน์อย่างแบบ dialectic ให้เห็นว่ามันอยู่กับวัตถุเรื่อยไป ไม่มีอะไรนอกจากวัตถุ ต้องจัดวัตถุให้เต็มพอดี แต่พุทธศาสนาเห็นว่านั้นก็เกินไป ให้อยู่ตรงกลาง จิตใจล้วนๆก็ไม่ได้ เป็นเรื่อง spiritualism ล้วนๆ ก็ไม่ได้ เป็นเรื่องวัตถุนิยม materialism ล้วนๆ ก็ไม่ได้ มันต้องยู่ตรงกลาง คือคาบเกี่ยวกันระหว่างจิตใจกับวัตถุที่พอดี อย่างนั้นละคือการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง ถ้าว่าใครจะช่วยกันจัดโลกให้หมุนมาตามแนวนี้ได้ นั่นละผู้ที่จะสร้างสันติภาพแก่โลก เดี๋ยวนี้สหประชาชาติ สันนิบาตชาติที่เคยทำกันมาแล้วมันเป็นเรื่องแก้ปัญหาชั่วขณะ มีอิทธิพลอื่นครอบงำ มันไม่ได้ถือธรรมะ ไม่ได้ถือพระเจ้า ไม่มีคำว่าพระเจ้าที่แท้จริง มีแต่เอามาออกชื่อหลอกกันเล่น วัตถุนิยมก็ยังคงครองโลก ไม่มีการปฏิบัติธรรม ที่พอดีอยู่ระหว่างกลางระหว่างวัตถุนิยมกับไอ้มโนนิยม ถ้าจะเอากันแต่อย่างเดียว มโนนิยมปลอดภัยกว่า หรือว่าเราจะขยับขยายให้คำว่ามโนนิยมเป็นคำที่ถูกต้องโดยส่วนเดียวก็ได้เหมือนกัน แต่ถ้าพูดตามหลักพุทธศาสนาแล้วก็อยู่ตรงกลาง แล้วก็มีไอ้มโนนิยมนี่มันนำหน้า หรือมันควบคุมไอ้วัตถุนิยมให้สติปัญญาที่ถูกต้องมันควบคุมวัตถุ อย่าให้จิตใจมันไปหลงใหลเป็นทาสของวัตถุ เหมือนกับพวกฝรั่งที่กำลังนำหน้า เป็นตัวอย่างนำหน้า ใครๆก็หาว่าอาตมาด่าฝรั่งทั้งวันทั้งคืน แต่ก็ไม่ได้ด่าฝรั่งเค้าหรอก ด่าคนที่หลงใหลในวัตถุนิยม จะเป็นฝรั่งก็ได้ ไทยก็ได้ หรืออะไรก็ได้ อย่าให้มันเกินไป ให้อยู่ระหว่างกลาง ระหว่างไอ้วัตถุกับจิตใจนี่พอดีๆไปด้วยกันได้ ไม่ต้องแยกเป็นสองเรื่อง ข้อนี้คนที่สะเพร่าก็เข้าใจเอาเอง เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าท่านแยกเป็น เรื่องรูปอย่างหนึ่ง เรื่องนามอย่างหนึ่ง คือเรื่องกายเรื่องหนึ่ง เรื่องใจเรื่องหนึ่ง นี่ผิดทั้งเพ มันเป็นเรื่องที่แฝดกันอย่างที่ไม่แยกกัน เรียกว่ากายใจ ใจกาย อะไรก็ได้ หรือนามรูป รูปนามก็ได้ อย่าแยกกันเป็นอันขาด จึงจะพอดี ไอ้รูปก็พอดีไปตามเรื่องของรูป ไอ้ๆ ใจก็ถูกต้องไปตามเรื่องของใจ มารวมกันเป็นของสิ่งเดียว ประกอบอยู่ด้วยสองฝาหรือสองซีก แล้วมันก็ถูกต้อง เป็นปฏิบัติธรรมะที่ถูกต้อง จะไม่เกิดส่วนเกินขึ้นมา ฝ่ายไหนหมด ฝ่ายกายก็ไม่เกิน ฝ่ายใจก็ไม่เกิน มันก็พร้อมที่จะหยุด จะสงบ จะไม่กระวนกระวาย เย็นเป็นนิพพาน ที่พูดนี่ก็เพื่อว่าท่านที่เป็นนักศึกษาธรรมะทั้งหลายจะได้เอาไปคิดดู เพราะว่าเท่าที่อาตมาได้พยายามสังเกตศึกษา สังเกตมาตลอดเวลาสิบๆปีนี่มันพบอย่างนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหลักในพระพุทธศาสนา ดังนั้นพอถูกขอร้องให้พูดถูกเกณฑ์ให้พูดก็พูดอย่างอื่นไม่เป็น นอกจากจะพูดไปตามไอ้ที่ได้สังเกตมาเรื่อยๆจนบัดนี้ ว่ามนุษย์มาอย่างไรใน ใน ในแง่ของศีลธรรม จริยธรรมและศาสนา มาอยู่ในบัดนี้เอ้อ, ในสภาพอย่างไร ก็พูดในเชิงที่ว่าเป็นความคิดเห็นก็ได้ แต่ถ้าว่าอาตมาเองนั้นไม่ใช่ความคิดเห็นแล้ว แต่เป็นความเชื่อโดยสมบูรณ์ เป็นความเห็นแจ้งโดยเชื่อลงไปโดยสมบูรณ์ ว่าต้องทำให้ถูก ถูกต้องโดยกฎเกณฑ์อันนี้เราจึงจะมีความสงบสุข ทั้งโดยส่วนตัวเราและส่วนสังคมด้วย คนหนึ่งจะไม่มีกิเลสเกิดในวันหนึ่งๆก็เพราะมีความเข้าใจอย่างนี้ถูกต้อง และสังคมก็จะพลอยเป็นสุขเพราะว่าคนที่มีความเข้าใจถูกต้องนั้นมันเบียดเบียนกันไม่ได้ และนี่คือข้อสรุปที่ว่าการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาอยู่ที่ความเป็นกลางระหว่างความสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง จะซ้ายหรือขวา หน้าหรือหลัง บนหรือล่าง อะไรไม่เอาทั้งนั้น ให้มันอยู่ตรงกลางที่พอดี จะไม่เกิดส่วนเกินขึ้นทางฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา มากเกินหรือขาดเกิน แล้วก็จะเป็นสมดุล เมื่อใดขาดความสมดุลจะเกิดความปั่นป่วน ไม่ว่าทางวัตถุหรือทางจิตใจ ไปคิดเอาเองได้ในข้อนี้ เพราะไม่สมดุลทางวัตถุก็วุ่นวายทางวัตถุ เพราะไม่สมดุล สมดุลทางจิตใจก็วุ่นวายทางจิตใจ ให้ความสมดุลนั้นคือ มัชฌิมาปฏิปทา จำคำนี้ไว้สำหรับหลักการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา จะหาเงินก็ให้พอดี จะใช้เงินก็ให้พอดี จะกินก็ให้พอดี จะอาบจะถ่าย จะอะไรก็ให้พอดี อย่าให้มัน มันเผลอไปเป็นเกินได้ ก็เรียกว่าปฏิบัติธรรมอยู่ทุกกระเบียดนิ้ว ทุกลมหายใจเข้าออก เดี๋ยวนี้กลัวว่าจะหวังกัน ก็เกินไปแล้ว เพียงแต่หวังก็เกินไปแล้ว พอไปทำเข้าก็ยิ่งเกิน เกิน เกิน เลยตกนรกทั้งเป็นอยู่ตลอดเวลา เร่าร้อนกระวนกระวายด้วยความหวังที่มันเกิน ไม่ต้องทำอย่างนั้น ให้ถูกต้องให้พอดีเรื่อยๆไปมันก็ไปของมันเองได้ ก็ไม่ ไม่ ไม่มีความทุกข์เลย นี่คือการปฏิบัติในพุทธศาสนา ที่ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา ความดำเนินไปเอ่อ, ในความเป็นกลาง ให้มีความเป็นกลางเป็นหลัก ขอให้เอาไปพินิจพิจารณาสำหรับตัวเองจะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ และอาจจะใช้บอกกล่าวแก่ผู้อื่นให้เป็นประโยชน์ต่อไปในฐานะที่เป็นครูบาอาจารย์ด้วย ขอยุติไว้แต่เพียงนี้สำหรับวันนี้
(นาทีที่ 1:12:11 ท่านสนทนาถาม-ตอบ) แต่ว่าในแง่ที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยตรงน่ะคงจะยาก คงจะลึก จะไม่ค่อยเห็น ก็พยายามให้เข้าใจในแง่ที่พระพุทธเจ้าทำไมเกิดในที่อย่างนั้น ทำไมไอ้สถานที่นั้นจึงเปลี่ยนเป็นอย่างปัจจุบันนี้ และอีกเรื่องหนึ่งไม่รู้เรื่องอะไร (นาทีที่ 1:12:45 มีผู้สนทนา) ทั้งสองตอน สวนโมกข์ต้องการจะให้ความสะดวก ช่วยให้เกิดความง่ายดายในการที่จะเข้าใจธรรมะ ที่เรียกว่า สวนโมกขพลาราม พละแปลว่ากำลัง โมกขะ แปลว่า โมกข์ (คือ เกลี้ยง) โมกขพละ กำลังแห่งโมกข์ คือทำโมกข์ให้มันง่ายเข้า ในระหว่างที่อยู่ที่นี่ก็ขอให้พยายามใช้ให้สวนโมกข์ช่วยให้เกิดความง่ายดายในการที่จะโมกข์ พ้น พ้นความทุกข์ สวนโมกข์ต้องเป็นโรงหนัง เอ้อ, โรงมหรสพทางวิญญาณ ให้คนเพลิดเพลินจากธรรมะ มีความเพลิดเพลินจากธรรมะ จึงจะตรงตามความมุ่งหมาย ให้ความเพลิดเพลินในการเข้าใจธรรมะ ให้ความสะดวกที่สุดในการเข้าใจธรรมะ ความง่ายดายในการเข้าใจธรรมะ จึงจัด จัด จัดภูมิประเทศอย่างนี้ จัดตึกอย่างนี้ๆ สร้างสระนาฬิเกอย่างนั้น ออกหนังสือโฆษณาอย่างนั้น รวมๆๆกันหมดแล้วก็เป็น ทำเพื่อให้เกิดความง่ายในการดับทุกข์ จึงขอให้รีบถือเอาโอกาสนี้ใช้เสียให้เป็นประโยชน์ เต็มที่ในระหว่างที่พักอยู่ที่นี่ กี่วันก็ช่าง สองสามวันก็ได้ สี่ห้าวันก็ได้ ถ้าทำได้ถึงที่สุดจะได้ยินก้อนหินพูด นี่เราถือเป็นหลัก ต้นไม้พูด ก้อนหินพูด เอ้า ถามมา (นาทีที่ 1:14:56 มีผู้ถาม ท่านตอบ) เดี๋ยวนี้มันเกิดอายุสั้น น้อย ตายเสียก่อนถึงเวลา นั่นอีกปัญหาหนึ่ง ที่กล่าวว่าในคัมภีร์อายุยืนแล้วก็สั้นลงๆ เพียรฆ่ากันแล้วกลับไปยืนอีกนั่นก็หมายถึงเรื่องจิตใจ ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องร่างกาย เขาจะอยู่ในยุคที่คนอายุขัยกี่ปีก็ตามใจเถิด ถ้าเขามีกิเลสน้อย มีความอยากน้อย ต้องการน้อยมันมีค่าเท่ากับว่าอายุเขานั้นยาวถึงแปดหมื่นปี อย่าง อย่างต้นไม้นี่มันไม่ต้องการอะไร ไปเทียบในจิตใจของมันก็จะรู้สึกว่ามากปี ถ้าเป็นเทวดาเขาไม่ทุกข์ร้อนอะไร หรือไม่ต้องการอะไร คล้ายๆกับมีอายุมาก มากปี เหมือนพวกพรหมที่มีอายุว่าเป็นกัปป์ กัปป์ ยิ่งกว่าแปดหมื่นปีเสียอีก เพราะเขาหยุดอยู่ ไม่ต้องการอะไร วันคืนเหมือนกับไม่ได้ล่วงไป คือล่วงไปช้ามาก นี่เรื่องจิตใจก่อนเรื่องหนึ่งต่างหาก อย่าเอามาปนกัน ทีนี้มาถึงเรื่องร่างกาย ถ้าเรามีกิเลสมาก ตัณหามาก ก็จะเป็นโรคเส้นประสาท เป็นโรคจิต เป็นโรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคความดันสูงก็ตายเร็ว นี้เรื่องกายนะ ไม่ใช่เรื่องจิตที่ว่าแปดหมื่นปี ถ้ามนุษย์จะมีความกระวนกระวายจิตใจน้อย อายุก็จะยืน เช่นว่าจะถึงร้อยปี ร้อยยี่สิบปีก็ได้ เคยอ่านประวัติมนุษย์บางคนเวลานี้ ในปัจจุบันนี้ที่ทางการโฆษณา อนามัย เขามาโฆษณากันบ่อยๆ ว่ามีคนอายุยืนถึงร้อยสามสิบปีบ้าง ร้อยยี่สิบปีบ้าง หนังสือพิมพ์ลงบ่อยๆ ไปลองสังเกตดูแล้ว อ้าว, นี่มันก็อยู่อย่างเรียกว่าวันคืนไม่ได้ล่วงไป อายุมันยืน ลองกระหายจัด ต้องการจัด ปวดหัวมาก วันหนึ่งวันหนึ่งเดี๋ยวก็ตายแล้ว ตายไม่ถึงเจ็ดสิบปี หกสิบปีหรอก เส้นโลหิตแตกตายบ้าง อะไรตายบ้าง (นาทีที่ 1:17:26) นี้เรื่องร่างกาย มีกิเลสมาก ตัณหามาก ร่างกายก็ชำรุดเร็ว นี่ส่วนหนึ่ง ไอ้ส่วนจิตนั่นน่ะ ถ้ามีกิเลสมากวันคืนก็สั้น ถ้ามีกิเลสน้อยวันคืนก็ยาว ถ้าหยุดกิเลสเสียได้ วันคืนก็เป็นนิรันดร ไม่สิ้นสุด เป็นอมตะ อย่าไปปนกัน เรื่องร่างกายกับเรื่องจิตและก็เรื่องธรรมะ เอ้อ, สติปัญญา เรื่องวิญญาณ (นาทีที่ 1:18:01 มีผู้ถาม) มีอะไรอีกก็ได้ (นาทีที่ 1:18:11 มีผู้ถาม) อ้าว, เป็นหน้าที่ของคุณที่ต้องเข้าใจ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้บอก สวยที่สุด เหมือนที่สุด ไปนั่งพิจารณา พระพุทธรูปองค์นี้จะเหมือนพระพุทธเจ้าที่สุด แล้วก็สวยที่สุด งามตามแบบของพระพุทธเจ้าที่สุด ไม่มองเห็นแต่อย่างนี้ (นาทีที่ 1:18:41 มีผู้ถาม) เรื่องนี้มันอย่าถามให้จำกัดอย่างนั้น คนตอบจะตอบได้ก็เพียงว่า พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้เองว่า ถ้ามีการเป็นอยู่ชอบ โลกไม่ว่างจากพระอรหันต์ เข้าใจคำว่า”ชอบ”ของท่านให้ดีๆ คือท่านจวนจะปรินิพพานอยู่ในไม่กี่นาทีนั้นน่ะ จึงตรัสประโยคนี้ ว่า สะเจ สะเจ ภิกขะเว สะเจ อิเม ภิกขะเว ภิกขู สะเจ อิเม ภิกขะเว ภิกขู ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าภิกษุเหล่านี้ ถ้าว่าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ สัมมา วิหะเรยยุง พึงเป็นอยู่โดยชอบไซร้ อะสัญโญ อะสุญโญ โลโก อะระหันเตหิธัสสะ โลกนี้ก็จะไม่เป็นโลกที่ว่างจากพระอรหันต์ แล้วเดี๋ยวก็ท่านก็นิพพานไป ก็เป็นอยู่โดยชอบ โลกไม่ ไม่ว่างจากที่มีพระอรหันต์ ที่เป็นอยู่ชอบนี่ไม่ๆๆ ไม่มีอะไรนอกไปจากไอ้ที่ว่าเมื่อตะกี้ มรรคมีองค์แปดประการ เป็นอยู่ชอบ ถ้าเป็นอยู่ได้ชอบ ถึง ถึงมาตรฐานของมรรคมีองค์แปดประการ โลกนี้ไม่ว่างจากพระอรหันต์ อย่าไประบุบุคคลหรือว่าเป็นอะไรที่สถานที่อะไรขึ้นมา ให้เป็นเรื่อง เอ้อ, ส่วนตัว ให้เป็นเรื่องของอรหันต์ ถ้าเราจะไปเที่ยววิจารณ์คนนั้น คนนี้เป็นหรือไม่เป็นนั้นน่ะ มันมีทาง ผิด น่าหัวมากกว่า ถ้าเราจะทำตามอย่างเขาก็ดูว่าเขาประพฤติตรงตามพระพุทธเจ้าสอนหรือไม่ หรือว่าเราไปประพฤติตาม ตรงตามพระพุทธเจ้าสอนจะดีกว่า สัมมา วิหะเรยยุง ความเห็นชอบ ดำริชอบ พูดจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ พยายามชอบ สติชอบ ระลึกชอบ สมาธิชอบ อย่างนี้ละจะทำให้โลกไม่ว่างจากพระอรหันต์ เพราะว่าถ้าเป็นอยู่อย่างนั้น กิเลสไม่อาจจะเกิด นานๆ เข้ากิเลสก็ไม่อาจจะเกิดเด็ดขาดลงไป อย่างอื่นไม่แน่ ที่เขาเล่าลือกันว่า คนนั้น คนนี้เป็นพระอรหันต์นั้นไม่แน่ และก็ไม่จำเป็นด้วยที่ต้องไปรู้ ไปนั่นกับเขา เอาแต่ว่าพระพุทธเจ้าท่านวางหลักไว้อย่างไร ถ้าคนนั้นทำอย่างนั้น ก็เรียกว่าเดินทางถูก ปฏิบัติถูก เป็นเรื่องส่วนตัวบุคคลเกินไปที่จะระบุว่า คนนั้นคนนี้เป็นพระอรหันต์หรือไม่ และก็ไม่ควรจะไปนั่นด้วย ใครอยากปฏิบัติก็ปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าท่านสอน อยู่ตรงกลางไว้เสมอ กิเลสเกิดไม่ได้ มัชฌิมาปฏิปทา (นาทีที่ 1:21:45 ปุจฉา ขอบเขตของมัชฌิมาปฏิปทาเหมือนกันทุกคนไหม) มันหลักเหมือนกัน แต่ว่าจะเท่ากันทุกคนนั้นคงไม่ได้ ก็รู้สึกต่างกัน มีอะไรต่างกัน มีความกิเลส ตัณหา ปรารถนาต่างกัน สติปัญญาต่างกัน แต่ถ้ามันอยู่ตรงกลางได้เอ้อ, จริงก็จะเรียกว่าเหมือนกันทุกคนก็ได้ มันอยู่ตรงกลางนี่(นาทีที่ 1:22:14 ปุจฉา ของคนเดียวจะอยู่กับที่หรือ ) อ้อ, นั่นเกี่ยวกับว่าเขาทำให้เป็นปกติเสมออยู่ได้หรือไม่ ถ้ายิ่งเป็นคนธรรมดาเท่าไรก็ยิ่งไม่ได้ ลุ่มๆดอนๆ ขึ้นๆลงๆ เกิดๆดับๆอยู่เรื่อย แล้วมันก็ค่อยมากขึ้นๆ จนถึงกับว่า เด็ดขาดละ ไม่ๆๆ ไม่เกิดเอียงซ้ายเอียงขวา ถ้าอย่างนี้ก็เป็นพระอรหันต์ คือถึงชั้นสูงสุด (นาทีที่ 1:22:47 ปุจฉา ในระหว่างมัชฌิมาปฏิปทา ยังมีแยกย่อยอีกไหม) คือไม่จำเป็นจะต้องมีแยกย่อยก็ได้ เช่นว่า ทางฝ่ายกามนี่ กามมาก กามน้อย กามสุขัลลิกานุโยค หรือฝ่ายทางอัตตกิลมถานุโยค คือฝ่ายแห้งหรือขาดแคลน หลายๆ ชั้น ก็ใช้ไม่ได้ ที่เราได้ยินว่า กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค ฝ่ายนี้พัวพันในกามเกิน ฝ่ายนี้ทำร่างกายให้ลำบากเกิน อีกคู่หนึ่งก็คือสิ่งเดียวกันนี้ เรียกว่า อาคาฬหปฏิปท เปียกชุ่มเกิน ปะนินิชชาปฏิปทา แห้งแล้งเกิน อย่าเปียกชุ่มเกิน อย่าแห้งแล้งเกิน (นาทีที่ 1:23:39 ปุจฉา แล้วเปียกหรือแห้งสังเกตจากอะไร) เปียกก็คือ ตามใจกิเลส ตามใจกิเลสอย่างที่เรียกว่า มีกิเลสมากในทางกามา กามารมณ์ ในแห้งแล้งเกินนี้ทำไปอย่างหลับหูหลับตา ทำลายอวัยวะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้เสียไปเปล่าๆ ไม่มีประโยชน์อะไร มันมากเกินไป ก็คิดว่าการเป็นอยู่อย่างนี้มันสบายเกิน กิเลสเกิด ก็เลยไม่ ไม่ เอาอย่างนี้ (นาทีที่ 1:24:17 ปุจฉา...) โอ้, อย่างนี้ ใครว่าแห้งเกินไป เขาคนนั้นก็วางมาตรฐานเอาเอง ไอ้,มันยังจะเปียกเกินไปก็ได้ ถ้ามันยัง ยังได้ตามใจอยู่มากเกินไปก็กลายเป็นเปียก เปียกชุ่มอยู่ก็ได้ เดี๋ยวนี้ไม่ใช่เวลาจะแกล้งพูด เท่าที่ศึกษาดูแล้วรู้สึกว่า พระพุทธเจ้าเอง หรือพระสาวกทั้งหลายในครั้งพุทธกาลนั้นถ้าพูดถึงการเป็นอยู่ที่แห้งแล้งกว่าที่นี่มาก อาหารที่ฉันวันหนึ่ง วันหนึ่ง กระทั่งที่นั่งที่นอนในวันหนึ่ง วันหนึ่ง ไอ้เราที่นี่ยังจะ ยังจะ ดีเกิน ยังสบาย สบายกว่า นี้ตามที่ปรากฏอยู่ในพระบาลี เครื่องนุ่งห่มก็ดี ที่อยู่ก็ดี อาหารการกินก็ดี ยาแก้โรคก็ดี เรายังอยู่ในฐานะเป็นผู้ประมาทอยู่ ตัวค่อนข้างจะชุ่ม สด สดหรือชุ่มไป แต่ว่ามีพวกอื่น ในครั้งพุทธกาลเขาอยู่แห้งยังกะจะเป็น ลุกเป็นไฟก็มี อย่างพระพุทธเจ้านี่ เรียกว่า พอดี กินอยู่พอดี ไอ้พวกที่มันชุ่มเกินไปกว่านั้น พวกชาวบ้านบางพวกบางชนิด หรือว่าพวกนักบวชบางประเภทที่ยังคลุกคลีด้วยกามารมณ์ก็มี พวกชฏิลพวกอะไรต่างๆ (นาทีที่ 1:25:58 ปุจฉา ....) ไอ้ความรู้สึกทางอายตนะย่อมเกี่ยวกับกาลเวลาหรือเนื้อที่ทั้งนั้น ทีนี้เราเอาตรงที่ว่า ถ้ามันส่งเสริมให้เกิดราคะ โลภะ ในความเอร็ดอร่อย อัสสาทะ นี่ก็เรียกว่ามันชุ่ม มันเกิดกิเลสประเภท ราคะ โลภะ จะเอา แต่ถ้าในทางแห้งแล้วมันก็ทำให้ ให้แห้งไปเสียจนไม่มีประโยชน์อะไร แล้วอาจจะอยู่ในรูปของ ปฏิฆะ หรือ โทสะ ก็ได้ เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจ ให้ระมัดระวังให้ดีๆ ให้ถูกต้อง เพราะ เพราะท่านก็ได้กล่าวไว้แต่เพียงว่าถูกต้อง หรือว่าชอบเท่านั้น ไม่ได้ให้รายละเอียด แต่ไปให้รายละเอียดโดยอ้อมว่า ถ้ามันส่งเสริมเกิดกิเลสแล้วก็เรียกว่า ผิดละ ไม่ชอบ ไม่ถูก ถ้ามันควบคุมกิเลสไว้ หรือทำกิเลสให้หดแห้ง เหือดแห้งไปก็เรียกว่า ถูก หรือชอบ สัมมา ถ้าส่งเสริมกิเลส ให้โอกาสแก่กิเลสก็เรียกว่า มิจฉา ให้ๆๆ ให้หลักเกณฑ์ไว้เท่านั้น ไม่ได้แจกในรายละเอียด ทีนี้จะเอาการเป็นอยู่เป็นหลักมันก็ต่างประเทศ ต่างกาละ ต่างเวลา คงจะเหมือนกันไม่ได้ อย่างไปประเทศหนาวไปที่ไหนมันก็ต้องเปลี่ยนบ้าง หรือว่าเวลามันล่วงมาถึงขนาดนี้แล้วมันก็ต้องเปลี่ยนบ้าง จีวรอย่างนี้เรียกว่าดีเกินไป ครั้งพุทธกาลใช้จีวรหยาบ เลว สาก หนา อะไรมัน อย่างนี้มันสำอางไปแล้ว ใช้จีวรบางๆเนื้อนิ่มอย่างนี้ ก็ต้อง adjust ตัวหนังสือไม่มีให้ แต่รวมความได้ว่า ถ้าเราพอใจ พอเอามาห่มเข้าแล้วสบายใจยินดีนี่แย่แล้วก็เรียกว่ากิเลสแล้ว ต้องคอยระวัง อย่าไปยินดีว่าผ้ามันอ่อนนุ่ม มันสบาย มันอุ่นดี มันเป็นผู้แพ้แล้ว ตอนนั้นเป็นทาสของสิ่งนั้น เป็นผู้แพ้ ไอ้ร่างกายนี้ มันก็เรียกว่า กายสิทธิ์ นั่นแหละ มัน ปรับปรุงของมันได้ (นาทีที่ 1:28:25) กระทั่งเขาไม่นุ่งไม่ห่มกันเลยก็ได้ ก็มีอยู่เหมือนกัน เขาก็พอดีของเขาเหมือนกันตรงนั้น ที่นั่นก็มีรูป รูปถ่ายถ่ายมารูปหนึ่ง ชัยนะ นักบวชนิกาย ชัยนะ ออกเสียงว่า ชัยนะ หรือ เชน (นาทีที่ 1:28:55 ..) อืม์, อย่าออก เชน เขาเรียกเขาว่า ชัยนะ jai นั้น ไช ai ไช ai ไช อาย ชาย ชัยนะ ถูกแล้ว ชินะ ชัยนะ เอ้อ, บาลี ชินะ สันสกฤต ชัยนะ ชินะ ชัยนะ นั่นละแปลว่า ความชนะหรือผู้ชนะ มันชนะจนไม่เอา บ้านเรือนก็ไม่มี ผ้านุ่งก็ไม่มี บาตรก็ไม่มี มีดโกนก็ไม่มี อะไรก็ไม่มี (นาทีที่ 1:29:32 ปุจฉา ความต้องการทุกอย่าง เราจะเรียกว่าเป็นกิเลส...) ถ้าต้องการด้วยความโง่เรียกว่า กิเลส ถ้าต้องการด้วยสติปัญญา เรียกว่า ความปรารถนา หรือ ความตั้งใจที่ถูกต้อง ไม่ใช่กิเลส นี่ว่าที่นี่นะ พวกครูบาอาจารย์ที่กรุงเทพจะ อาจจะสอนว่าถ้าต้องการแล้วเป็นกิเลสทั้งนั้น อย่าไปปนนะ (นาทีที่ 1:29:53 ปุจฉา แล้วจะกันอย่างไรครับ) ต้องการด้วยความโง่ ด้วยอวิชชาเรียกว่า กิเลส นิดหนึ่งก็เรียกว่า กิเลส เป็นความโลภหรือเป็นตัณหา แต่ถ้าต้องการด้วยสติปัญญา รู้จักผิดชอบชั่วดี อะไรควรมี ควรได้ ควรทำอย่างไร ต้องการสิ่งนั้นๆ ไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่ตัณหา ไม่ใช่โลภะ (นาทีที่ 1:30:16) ก็ต้องนำสืบด้วยความรู้สึกที่ถูกต้องหรือว่าด้วยความหลง ด้วยอวิชชา ด้วยเอ้อ, เห็นแก่เงิน การที่เราจะคิดว่าเราต้องทำความดี ความดีนี้ทำให้มากก็ได้ อย่างนี้ไม่เรียกว่าโลภเพราะว่ามันมาจากความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง คือ วิชชา ถ้ามาจากอวิชชา งมงาย เพราะเห็นแก่ได้ เห็นแก่เอร็ดอร่อย อย่างนี้ก็เรียกว่าโลภ หรือตัณหา ก็เรียก โลภะ ก็เรียก ทำความดีเป็นสิ่งที่ทำแล้วก็ทำที่เรียกว่าตามหน้าที่ดีกว่า ทำมากเท่าไรก็ได้มากเท่านั้น และให้เงินเดือนอะไรนี่ให้เป็นผลพลอยได้ เป็นปฏิกิริยาเสียเลยดีกว่า อย่าเรียกว่าผลอะไร ก็สบาย ถึงแม้เราจะมากินมาใช้ก็อย่าให้มันเป็นเรื่องเป็นราว เป็นตัวกู ของกู เป็นเรื่องที่หน้าที่ที่เราจะต้องกินอาหาร จะต้องบริหาร ก็ต้องมี นี้ถ้าจะต้องช่วยลูกช่วยหลานก็ต้องทำด้วยวิชชา เลี้ยงลูกเลี้ยงหลานด้วยวิชชา ด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดี อย่าด้วยอวิชชา คือหลงรัก หลงรักลูก หลงรักหลานนั้นก็เป็นอวิชชา เพราะทำผิดหมด ก็คู่นี้ละ นี้วิชชา นี้อวิชชา ฝ่ายนี้ก็กิเลส ฝ่ายนี้ก็โพธิปัญญา จะทำอะไรก็ตามให้ทำด้วยวิชชาหรือโพธิ ไม่ ไม่เป็นกิเลส ตัวนี้ก็อวิชชาก็เป็นกิเลส แต่มีอยู่ว่า แม้ว่าจะเป็นวิชชา เป็นโพธิ ก็อย่าไปยึดถือเป็นตัวกู ของกูเข้า พอเป็นตัวกูของกูมันกลายเป็นอวิชชาไปทันที (นาทีที่ 1:32:14 ปุจฉา ที่ท่านพูดถึงเรื่องคุมกำเนิด ท่านไม่ได้บอกว่ามันเป็นบาปหรือเปล่า) มันก็ทำด้วย วิชชา หรือ อวิชชา (นาทีที่ 1:32:26) มันก็ต้องสืบกันไปถึงว่ามันเป็นความถูกต้องอย่างไร มันเสียหายอย่างไร หรือมันได้ผลอย่างไร ถ้าคุมกำเนิดด้วยสติปัญญา ด้วยกำลังจิตใจอย่างนี้ก็ดูว่าจะไม่ค่อยเป็นอันตราย เพราะมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีมันก็คุมจริง เดี๋ยวนี้มันคุมหลอก มันคุมแต่เพียงไม่ให้มีบุตร แต่มันสำมะเลเทเมาในเรื่องเซ็กส์ เรื่องกามารมณ์นี่มันคุมหลอก ถ้ามันคุมจริงมันก็ต้องไม่มี ควบคุมด้วยการบังคับจิต ด้วยสติปัญญา รู้ว่ามันไม่ไหว มัน มันบ้าหลังหรืออะไร คุมอย่างนี้ เขาเคยใช้กันมาแล้วตั้งแต่ครั้งพุทธกาลโบรมโบราณ เขาคุมได้เพราะเขาเข้มแข็งพอ เดี๋ยวนี้ทำไม่ได้ก็เลยใช้คุมโดยวัตถุ เพียงแต่ว่าจะไม่มีบุตร แต่ยังหลงรักในเรื่องเซ็กส์ เรื่อง over sex ก็ไม่ถูกในส่วนนั้น และอาจจะทำให้เด็กๆ นี้ได้โอกาสที่จะประพฤติล่วงในทางนี้กันมากขึ้น นี่ก็เริ่มเป็นส่วนเสีย มันแพร่หลายไปในบ้านเรือนแล้วมันก็เลยทำอะไรลับหลังศีลธรรม แต่อย่าลืมหลักที่ว่า ถ้ามันมีเหตุผล มันเป็นไปด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดี แล้วมันถูก ถ้าเป็นด้วยความหลงความเข้าใจผิดแล้วก็ผิด ทีนี้เราพูดกันอีกมุมหนึ่งถึงพวกที่ถือหลักธรรมชาติหรือถือพระเจ้ากันดีกว่า ไอ้คราวที่เกิดขึ้นใหม่ๆ นั้น ทางพวก church คริสเตียนทั้งหลาย เขา เขา เขาต่อต้านเพราะว่าผิดความประสงค์ของพระเป็นเจ้า การควบคุมกำเนิด ทีนี้เราไม่พูดอย่างพระเจ้า เราพูดว่าธรรมชาติต้องการอย่างไร ธรรมชาติต้องการให้แก้ปัญหาตามธรรมชาติ นั่นก็คือการใช้ยา การใช้เครื่องมือคุมกำเนิดนี่ก็ผิดหลักธรรมชาติ ผิดประสงค์พระเจ้า เขาไม่เห็นด้วย เขาไม่อนุญาตให้คริสเตียนทำ ก็แปลว่าให้คุมด้วยจิตใจ คุมกันทางจิตใจ ถ้าว่าเรา สมมติว่าเราจะไปถามพระพุทธเจ้าเรื่องนี้ ท่านก็คงจะหันมาทางคุมกันด้วยจิตใจมากกว่าที่จะคุมด้วยวัตถุเพราะมันล่อแหลมกับอันตรายทาง แต่ถ้าเรายอมรับว่าโลกสมัยนี้มันไม่ไหวแล้ว มันเป็นโลกอีกระดับหนึ่งแล้ว การคุมทางวัตถุก็เอาพอ พอ ขอไปทีได้ เพื่อจะแก้ปัญหาล้นโลก หรือปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ แต่ในที่สุดก็ขอให้ดูไปก่อนก็แล้วกัน คือรอดูไปก่อนก็แล้วกันว่าผลอะไรจะเกิดขึ้น จะได้ผลตามที่ฝันกันหรือไม่ หรือจะมีอะไรที่ร้ายกว่าเข้ามาแทนที่ พยายามคุมกำเนิดด้วยการบังคับตัวเอง ไม่ต้องถึงตัวศาสนา ถ้าจะเอาศาสนามาคุมกำเนิด ต้องเอาการบังคับตัวเองมาคุม เดี๋ยวนี้โลกกำลังจะฉิบหายเพราะทุกคนไม่บังคับตัวเอง อยากจะทำอะไรก็ทำเลย กระทั่งทำในที่สาธารณะ ประเจิดประเจ้อก็ทำ จะพูด จะทำในที่เปิดเผย มันมาเองโดยไม่รู้สึกตัว เราก็โทษใครไม่ได้ คำพูดที่ไม่ควรพูด