แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ที่อินเดียไปดูเถอะพื้นดิน บนเขาคิชฌกูฏก็พื้นดิน ที่เทชอนก็พื้นดิน เพราะฉะนั้นนั่งกลางดินสักห้านาทีเถอะเพื่อเป็นที่ระลึกแก่พระพุทธเจ้า ว่าท่านเกิดกลางดิน ท่านตรัสรู้กลางดิน ท่านนิพพานกลางดิน พระสูตรทั้งหลายมากมายเกิดกันกลางดิน ที่นี้ระลึกถึงพระพุทธเจ้ามากไปแล้ว
ถาม คือในหมู่ที่มานี่ ฝ่ายหนึ่งก็มาศึกษาพระธรรม... อีกฝ่ายหนึ่งก็...
ท่านพุทธทาส พวกปฏิบัติก็มี พวกความรู้ก็มี….
ถาม ...
ท่านพุทธทาส ธรรมชาติช่วย ธรรมชาติช่วย ช่วยรับไปหน่อย
ถาม มีปัญหาต่างๆ ...
ท่านพุทธทาส ปัญหา ขอให้เนื่องอยู่กันกับเรื่อง ปัญหานี่ขอให้เนื่องกันอยู่กับเรื่องที่กำลังพูด มีปัญหาก็ถามมาได้ พูดมาได้ อาตมาตอบได้ก็จะตอบ ตอบไม่ได้ก็ยอมแพ้
ถาม มีคำถามตั้งหลายคำถามจะถามพระคุณเจ้า ประการแรก ขอถามในที่ประชุม การใช้คำว่าวิญญาณ ....วิญญาณ ขันธ์ห้า
ท่านพุทธทาส คนละคำ Spiritual นึกถึง Spiritual ภาษาสากลทางปรัชญา คือ วิญญาณ คำว่าวิญญาณในภาษาบาลีมีความหมายมาก วิญญาณอย่างในขันธ์ห้าก็มี วิญญาณธาตุก็มี มิหนำซ้ำไอ้วิญญาณนี่คำหนึ่งมันป็นรูปกรรตุวาจก คือ Passive Voice วิญญาณคำนี้หมายถึงพระนิพพานเลย โดยว่านิพพานคือสิ่งที่คนต้องรู้แจ้ง พระนิพพานก็เรียกว่าวิญญาณอย่างนี้ก็มี ทีนี้วิญญาณผีสาง วิญญาณเจตภูติก็มี มันยุ่งไปหมด เพราะฉะนั้นเมื่ออาตมาพูดถึงวิญญาณนี้หมายถึงทาง Spiritual ทาง Moral ไม่เกี่ยวกับเนื้อหนัง
ถาม เท่าที่ฟังดู รู้สึกพระคุณเจ้าหมายถึงสัมมาทิฐิ
ท่านพุทธทาส อ้าว รวมอยู่ในนั้นนะ มันเป็นเรื่องของสัมมาทิฐิ เป็นเรื่องของทิฐิ ถ้าเป็นมิจฉาทิฐิก็ผิดทางวิญญาณ ถ้าสัมมาทิฐิก็ถูกทางวิญญาณ คือเรื่องสติปัญญา ความคิด ความเห็น ความเชื่อ
ถาม มีการเบี่ยงเบน คำว่าวิญญาณมีความหมายกลับไปทาง วิญญาณหมายถึงค่านิยมในสังคม ใช้คำเดียวกันไหม
ท่านพุทธทาส ก็ ความหมายต่างกันนะ คำเดียวกันแต่ความหมายต่างกัน แม้แต่บาลีก็อย่างนั้น วิญญาณตัวหนังสือเหมือนกันทุกตัว กลายเป็นความหมายต่าง ก็คำว่า Spirit ก็เหมือนกันน่ะ มันใช้เป็นเหล้าก็ได้ ใช้เป็นวิญญาณผีก็ได้ แต่เดี๋ยวนี้เขารู้กันแล้วว่า spiritual หมายถึงทางฝ่ายสติปัญญา มีความสุขทางฝ่ายเนื้อหนัง กับมีความสุขทางสติ Spiritual นี่รู้กันได้
คำถาม คำถามต่อไปคือที่เกี่ยวข้องกับคำว่าวิญญาณ ที่พระคุณเจ้าบอกว่าคนเป็นโรควิญญาณนี่...คือคนเป็นโรคทางวิญญาณ ทีนี้มันก็ขัดกับทางแพทย์เรา
ท่านพุทธทาส ว่ายังไง
คำถาม คือทางแพทย์เรานี่ถ้ากระผมมีไตอยู่สองข้างเหมือนคนอื่นๆ ... แต่กระผมมีไต...ทีนี้การที่พระคุณเจ้าบอกว่า คนเป็นโรคทางวิญญาณ คนเป็นแล้วมีความจำเป็นในการรักษาไม่มีในทางแพทย์
ท่านพุทธทาส อ้อนี่หมายความว่ามีโรคทางวิญญาณ คือยังไม่มีสติปัญญาถูกต้องถึงที่สุด ยังไม่มีสัมมาทิฐิถึงที่สุด ถ้าพูดชัดๆ ก็ยังมีความโลภ ความโกรธ ความหลง ถ้ายังมีความโลภ ความโกรธ ความหลงในระดับใดก็ตาม ยังเรียกว่ามีโรคทางวิญญาณ หมายถึงเท่านี้ ไม่เกี่ยวกับร่างกาย ยังมีกิเลสอยู่ เป็นโรคทางวิญญาณ ทางวิญญาณในที่นี้นะ ทางวิญญาณที่อาตมาบัญญัติ พูดในที่นี้
คำถาม ที่นี้มันจะ ที่พระคุณเจ้าพูดเรื่องความวิตกกังวล
ท่านพุทธทาส นี่ก็เหมือนกัน มันเป็นอาการของโรคทางวิญญาณ หรือเป็นจุดตั้งตนของโรคทางวิญญาณ เพราะว่าไอ้ความวิตกกังวลต้องจากความโลภ หรือความโกรธ หรือความหลง แต่ส่วนใหญ่ก็มาจากความหลง มาจากโมหะ จึงเอามาวิตกกังวลอยู่ไม่รู้จักสิ้นสุด
คำถาม ที่นี้เนื่องจากกระผมเป็นแพทย์ ก็เลยต้องเอาไปเทียบกับทางแพทย์ ทีนี้ทางแพทย์เรา วิตกกังวลตามปกติ เช่นกำลังจะสอบไล่
ท่านพุทธทาส โอ อย่างนี้ไม่เรียกวิตกกังวล แต่ว่าภาษาไทยไปเรียกว่าวิตกกังวล ความที่ ที่เรา อยาก จะทำอะไรโดยถูกต้องนี่เขาไม่เรียกว่ากิเลส ไม่เรียกว่าความโลภ ความโลภคือมันอยากที่มันไม่ถูกต้อง ถ้ามันอยากถูกต้องไม่เรียกว่าความโลภ หรือว่าเราตั้งใจจะทำหน้าที่ของเราอย่างนี้ โดยสติปัญญาอย่างนี้ ก็ไม่เรียกว่าความเห็นแก่ตัว ไม่เรียกว่าความเห็นแก่ตัว ไอ้ความเห็นแก่ตัวนี่มันก็ทำยุ่งเหมือนกันนะ ไอ้ทางที่ถูกมันก็ต้องเห็นแก่ตัว เพื่อให้ช่วยตัว แต่อีกทางหนึ่งความเห็นแก่ตัวก็คือกิเลส เพราะฉะนั้นเมื่อเราพูดเรื่องความเห็นแก่ตัว เราหมายถึงกิเลส ถ้าจะต้องการช่วยตัวให้ถูกต้องนี่เราต้องใช้คำอื่น เช่นคำวิตกกังวลนี่ ถ้าวิตกกังวลต้องเป็นทุกข์ มันขาดทุนตั้งแต่ทีแรกแล้ว เพราะไม่ควรแล้ว ต้องใช้คำอื่น ใช้คำว่าเอาใจใส่หรือคำว่าตั้งใจที่ทำให้ดี ระมัดระวัง อย่าใช้คำว่าวิตกกังวล วิตกกังวลต้องเป็นเรื่องมาจากความโลภ ความโกรธ ความหลง และมาทรมานอยู่ให้เป็นทุกข์ โดยไม่มีความ ไม่จำเป็นเลย ไม่ใช่หน้าที่เลยที่จะต้องวิตกกังวล ที่นี่ เราบอกทุกคนที่มาถามว่าเมื่อไรเสร็จ บอกว่าที่นี่เสร็จทุกวัน บางคนฟังถูก บางคนฟังไม่ถูก เสร็จทุกวัน ไอ้สร้างนี่ สร้างตึกนี่ อาตมาบอกเสร็จทุกวัน คุณไม่ดูหรือ มันเสร็จทุกวัน พอใจทุกวัน นอนหลับสนิท นี้ถ้าว่าไม่เสร็จมันกังวลอยู่ พอโบทถ์เสร็จสมภารตาย มีหลายรายแล้ว พอโบทถ์เสร็จสมภารตาย คือเป็นวัณโรคตายเป็นอะไรตาย เพราะแกมานอนวิตกกังวลทุกวัน ไปหาเงินที่ไหน ไปอะไรที่ไหน ล้วนแต่วิตกกังวล กว่าโบทถ์จะเสร็จสี่ห้าปี พอโบทถ์เสร็จตายพอดี ไอ้ของเรารับรองได้ว่าไม่ตายแน่ เพราะมันเสร็จทุกวัน มันไม่มีวิตกกังวลเรื่องอะไรหมด เรื่องการเงินก็ดี การงานก็ดี อะไรก็ดี ไม่มีเรื่องวิตกกังวล มีแต่อิ่มใจเพิ่มขึ้นทุกวัน มันเสร็จทุกวัน นี่สันโดษที่มีความหมายถูกต้องต้องเป็นอย่างนี้ อย่าเอาสันโดษชนิดที่ใครว่าคราวก่อนแล้วห้ามไม่ให้คนสันโดษ นั่นแหละจะตาย จะตาย จะบ้า จะเป็นบ้าเพราะมันวิตกกังวลเรื่อย เสร็จทุกวัน พอใจทุกวัน นอนหลับทุกวัน เพราะทำไปได้ทุกวันและเหมือนกับไม่ได้ทำ ถือเสียว่าเหมือนกับไม่ได้มีตัวฉันและทำ แต่ว่ามันเคลื่อนไหว ปัญญามันทำ นี่จิตว่าง
คำถาม ทีนี่เรื่องภาษา...พระคุณเจ้าพยายามเน้นเรื่องวิญญาณ...
ท่านพุทธทาส ไม่เป็นโรคทางวิญญาณ
คำถาม โรคทางวิญญาณคือ...ทีนี้โรคทางจิต มันก็อันเดียวกันไหม เป็นโรคทางวิญญาณ อย่างเช่น ....
ท่านพุทธทาส ก็ได้ ถ้ามันเป็นโรคอันเดียวกัน ก็เรียกว่าเป็นโรคทางวิญญาณได้
คำถาม อย่างเช่น... ทั้งสองอย่างก็เต็มไปด้วยความโลภ โกรธ หลง แล้วจะไปแยก...
ท่านพุทธทาส คือมันอยาก ... คือให้มองในแง่ที่ว่า มันยังเนื่องกันอยู่กับระบบประสาทหรือมันสมองมากอยู่ ส่วนทางวิญญาณนั้นเราจะกันออกไปให้ไกลลิบไปเลย ว่าคนสบายดี ใจคอปกติดี แต่ยังยึดมั่นถือมั่น ยังมีความยึดมั่นถือมั่น ทรัพย์สมบัติหรือเกียรติยศชื่อเสียง หรือแม้แต่บุญกุศล แม้แต่ยึดมั่นในสวรรค์ ในบุญกุศล อย่างนี้ เขาเรียกว่ากิเลสชั้นละเอียดน่ะ ถ้าจะพูดให้ชัดก็ต้องว่าชั้นละเอียด ถ้าโลภ โกรธ หลงชั้นหยาบนี่มาอยู่ที่โรคระบบประสาท หรือว่าจิตชั้นหยาบนี่ก็ได้ ในบาลีมีคำว่า อนุสัย มีสังโยชน์ มันเป็นแต่เพียงความเคยชินที่จะโลภ ความเคยชินที่จะโกรธ ความเคยชินที่จะหลง อันนี้น่ะเป็นโรคทางวิญญาณที่เหลืออยู่ ยังไม่เป็นพระโสดาบันก็ละกิเลสได้พอสมควรแล้ว แต่ยังถือว่ายังเป็นโรคทางวิญญาณเหลืออยู่ คือยังมีสังโยชน์เหลืออยู่อีกตั้ง 7 อย่าง ให้เข้าใจคำว่าวิญญาณนี้ให้ไกลไปอีก ให้ไปไกลกว่าอีก จนไม่เกี่ยวกับระบบประสาทหรือมันสมองที่เป็นไปตามสิ่งแวดล้อม ประจำวัน ให้เป็นเรื่องของทิฐิ ความคิดเห็น อะไรล้วนๆ ไปเลย ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็มีหลายระดับ ระดับออกมาเป็นการตี การฆ่า การด่าอะไรกัน
คำถาม ... (ค่อยมากฟังไม่ได้)
ท่านพุทธทาส เป็นเรื่องของหลุดพ้นทางวิญญาณ ทีนี้เราก็เพื่อจะใช้พูดกับพวกคนทั้งหลาย ฝรั่งอะไรได้ ให้แยกคำว่า Physical ออกไปจาก mental แยกคำว่า mental ออกไปจาก Spiritual เพื่อให้เข้าถึงตัวพุทธศาสนานี่โดยส่วนใหญ่มุ่งหมายจะแก้ปัญหาทาง Spiritual ทาง Physical ทาง mental นี่มีไว้ให้...
คำถาม หมายความว่าทางคริสตศาสนาไม่มี...
ท่านพุทธทาส มี ทุกศาสนาจะต้องเล็งทาง spiritual ทั้งนั้น แต่ความหมายอาจจะต่างกัน เช่นความเชื่อกับความไม่เชื่อนี้ เขาจะถือความไม่เชื่อว่าเป็นโรคทางวิญญาณ ไม่เชื่อศาสนา ไม่เชื่อพระเจ้า
คำถาม คือผมเลยไปนึกต่อเรื่องที่เคย...คริสเตียนนี่ยึดเอาพระเจ้า ... พุทธศาสนามุ่งเอาความหลุดพ้น...
ท่านพุทธทาส เป็นความหลุดพ้น ทีนี้วิธีที่จะทำให้เราหลุดพ้น มันใช้ต่างกัน เราจะใช้ความรู้ที่ทำให้ไม่ยึดมั่นถือมั่น พวกคริสเตียนเขาจะใช้ความเชื่อที่ยึดมั่นถือมั่นในพระเจ้า ถ้าอย่างนั้น มันก็ต้องตีความให้ถูก ถ้าตีความไม่ถูกเป็นไม่หลุดพ้นแน่ เชื่ออย่างหลับหูหลับตาเป็นไม่พ้นแน่ เดี๋ยวนี้พุทธบริษัทก็ไม่ใช่ว่าจะรู้จักใช้ปัญญาทำลายกิเลสไปเสียทั้งหมด มีพุทธบริษัทที่เอาแต่เชื่อนี่มากเหมือนกัน และคำว่าพระเจ้านี่ต้องตีความกันเสียใหม่อย่างที่ว่านี้ คือว่าสิ่งซึ่งทำหน้าที่สร้างหรือควบคุมมันมีอยู่ ก็จะเรียกว่าพระเจ้าหรืออะไรก็ตามใจ ถ้าคนมันโง่ มันโง่นักก็ต้องเรียกพระเจ้าแหละ และก็เขียนเป็นรูปคนเสียด้วย เป็นพระเจ้าคน ถ้ามันฉลาดแล้วก็เป็นอำนาจหรือว่ากฎที่ไม่มีรูปร่าง นั่นแหละคือผู้สร้าง ในภาษาพุทธศาสนาก็ต้องเรียกว่าธรรมะ ไปหมดแหละ ทุกอย่างเรียกธรรมะหมด ในที่นี้หมายถึงธรรมะที่เป็นกฎ เป็นอสังขตะ กฎ กฎเกณฑ์ทั้งหลายจัดไว้เป็นอสังขตธรรม เป็นธรรมะเหมือนกัน ประเภทอสังขตะ ทีนี้ส่วนสิ่งที่ต้องเป็นไปตามกฎนี้เรียกว่าสังขตธรรม ธรรมะคือพระเจ้า
คำถาม คือในส่วนนี้ ผมก็ยังสับสนอยู่...ที่พระคุณเจ้าบอกว่าจากความเชื่อในพระเจ้า ...ไปเชื่ออย่างนั้นไม่มีโอกาส... หมายความว่าสิ่งที่คนโตคจิตทำ...
ท่านพุทธทาส เขามีคำที่เหมือนกัน เช่น คำว่า Emancipation Salvation Emancipation นี่มันหมายถึงจึงหลุดพ้น ใช้คำว่า Escapation Emancipation คือรอด เรียกว่ารอดออกไปได้ มีเป็น Final Goal ของ Christianity แต่ทีนี้เขาไม่ปฏิบัติจนถึงกับหลุดพ้นได้ เพราะว่ามันไปเชื่อชนิดเชื่อมั่น เชื่อคน เชื่ออะไร มันอย่างเดียวกับพุทธศาสนาเหมือนกัน ถ้าแปลความผิดแล้วมันผิดเหมือนกัน ถ้าแปลความถูกแล้วมันวิเศษเหมือนกัน ศาสนาคริสเตียน เรื่อยมาอาตมาสังเกตดู พบเรื่อย แต่ก่อนนี้เราก็เข้าใจเขาผิด เพราะเรามองดูเขาในลักษณะที่ว่าโง่หรืออะไรทำนองนั้น แต่พอมาพิจารณาดูใหม่รู้สึกว่าไม่ใช่อย่างนั้น มันมาแนวเดียวกันหมด ไอ้เรื่องพระเจ้าอะไรนี้ไม่ใช่เรื่องโง่ เป็นเรื่องที่บอกว่ามีสิ่งๆ หนึ่งที่ทำหน้าที่อย่างนั้น แล้วเราก็ปฏิเสธไม่ได้ พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องสิ่งที่จะบันดาลสิ่งอื่นเกิดหรือควบคุมสิ่งอื่น ทีนี้คำที่มันเข้าใจยาก ที่ว่าต้องสละชีวิตเสียแล้วจะได้ชีวิต อย่างนี้มันไม่ใช่เรื่องเชื่อ จงสละชีวิตเสียจะได้ชีวิตใหม่นิรันดร อย่างนี้ไม่ใช่เรื่องเชื่อ เรื่องปัญญา ถ้าอยากจะทราบพระพุทธศาสนาที่มีอยู่ในคัมภีร์ไบเบิ้ลก็ต้องไปอ่านในคำสอนของพวก Saint ที่เขาสรุปกันทีหลัง โดยเฉพาะ Saint Paul คำสอนของ Saint Paul ทุกอันเอามาดูจะพบหลักพุทธศาสนาแทบจะบรรทัดแต่ละบรรทัด แต่ต้องตีความให้ถูกต้อง และคำที่พูดว่ามีภรรยาก็จงเหมือนกับไม่มีภรรยา มีทรัพย์ก็จงเหมือนกับไม่มีทรัพย์ ก็เป็นคำของ Saint Paul สรุปคำสอนของพระเยซูมาบอกชาวบ้านหมู่บ้านนี้ว่าให้ปฏิบัติอย่างนี้ มันเป็นหัวใจ มันเร็ว คือของที่พระเจ้าให้มา นี่ไม่ใช่เรื่องเชื่อ มันเป็นเรื่องปัญญาอย่างยิ่ง แต่แล้วพวกคริสเตียนไม่สนใจกับคำสอนประเภทนี้ พวกพระสอนแต่เรื่องเชื่ออย่างเดียว ไอ้ตัวพระนี่ตัวร้ายกาจมาก โดยเฉพาะพระแบบโรมันคาทอลิกเน้นแต่เรื่องความเชื่อ ไม่เปิดอิสระ เชื่อให้ถูกคือเชื่อหลังจากมองเห็นแล้วล่ะก็ เชื่ออย่างนี้ไม่มีโทษ
คำถาม ทีนี้มีอีกข้อนึง ...ทีนี้ไอ้การรักษาโรคถ้าหากว่าเป็นคนธรรมดาทั่วๆ ไปแบบที่พระคุณเจ้าบอก...อย่างนี้เราก็สอนเขาได้ ...ทีนี้ไอ้บางประเภทเป็นน้อยๆ...หรือไปสอนเขา
ท่านพุทธทาส ทำไม่ได้เพราะมันป่วย มันป่วยมากเสียแล้ว
คำถาม แปลว่าในทางพุทธศาสนาเราในการทำสมาธิ หรือการศึกษานี่ไม่มีประโยชน์สำหรับคนเป็นโรคจิตอย่างนั้นหรือ
ท่านพุทธทาส มันก็ต้องแล้วแต่บุคคล แต่เดี๋ยวก่อนทีแรกต้องแยกออกเป็นสองส่วน ไอ้ที่จะใช้กำลังจิตรักษาโรค จะรักษาแก่ตัวเองนี้อย่างหนึ่ง และจะไปบังคับรักษาแก่ผู้อื่น ให้แก่ผู้อื่นนี้อีกอย่างหนึ่ง ที่จะรักษาแก่ตัวเองนี่มันก็มีปัญหาคนละอย่างกับที่จะไปรักษาให้แก่ผู้อื่น ไอ้รักษากับตัวเองนี่ก็ต้องทำเสียตั้งแต่ยังดีๆ อยู่ อย่าเพิ่งป่วย เป็นเรื่องป้องกันมากกว่า คือถ้ามันเกิดขึ้นเล็กน้อยละก็ใช้การสำรวมจิตขจัดออกไปได้ ทีนี้เราไปรักษาผู้อื่นนั้นมันต้องมีกำลังจิตเหนือกว่า มันจะเป็นโรคมากน้อยนี่ มันก็ต้องผู้รักษาจะต้องมีจิตเหนือกว่าตั้งแต่แรก แม้เป็นโรคอื่นนี่ รักษาเองอย่างหนึ่ง รักษาคนอื่นอย่างหนึ่ง เชื่อว่าถ้าเรามีกำลังจิตเหนือกว่าจะหยุดได้ บรรเทาได้ทางร่างกาย โรคที่เป็นทางร่างกาย คงดีกว่าไม่ถูกใช้เสียเลย
คำถาม ผมมีปัญหาเกี่ยววกับสมาธิ... ทำสมาธิแล้ว... เกิดปัญหาทำสมาธิ...
ท่านพุทธทาส นี่มันเป็นเครื่องวัดความเป็นสมาธิมาก สมาธิน้อย ที่จะไปเกี่ยวกับรักษาโรคนี่อีกเรื่องหนึ่งนะ นี่คือสมาธิอย่างนี้ก็หมายความว่า มัน จะใช้คำว่าดับก็ได้เหมือนกัน คือมันดับความรู้สึก มากขึ้นๆ
คำถาม คือในทางแพทย์ ในการที่คนเราจะคิดหรือว่าอะไรต่างๆ มันต้องมีอวัยวะภายนอก ...และก็หรือว่าขันธ์ต่างๆ …
ท่านพุทธทาส นั่นเมื่อเราจะมีสมาธิที่ทำงานใช่ไหม นี่มันคนละอันนะ
คำถาม ...มันจะดับได้อย่างไร คืออันแรกต้องมีอวัยวะที่รับ หรือมากระทบ เช่นแสงที่ตา ...
ท่านพุทธทาส อาตมาเข้าใจแล้ว เข้าใจปัญหาแล้ว
คำถาม ทีนี้เมื่อตารับแล้วมันเกิดเวทนา รัก ชอบหรืออะไรต่างๆ ทีนี้ปฏิกิริยา..
ท่านพุทธทาส อย่างนั้นมันอีกเรื่องหนึ่งแล้ว เอาไปปนกันแล้วไปฟังไม่ถูกแน่ มันอีกเรื่องหนึ่งอีก สามเรื่องแล้ว
คำถาม อย่างที่ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ยินเสียงฟ้าผ่า ก็จับตรงที่อวัยวะรับความรู้สึก ...หรือได้ยินแต่ว่าไม่แปลความหมาย
ท่านพุทธทาส ไม่ใช่ แปลว่ายังไม่เคยรู้เรื่องนี้เลย เดี๋ยวจะกลายเป็นสามเรื่องแล้ว เรื่องที่ว่าสมาธิคำหนึ่ง หมายถึงว่าเรามีสมาธิในการทำงาน อย่างนี้เขาเรียกว่าอนันตริกสมาธิ คือเราทำงานไปพลางมีสมาธิอยู่บ้าง นั้นน่ะ อย่าเอามาปนกันนั้นเรื่องหนึ่ง ทีนี้อีกเรื่องหนึ่ง เราจะมีสมาธิประเภทที่จะหยุดความรู้สึกที่เรียกว่าฌาน เข้าฌาน เพื่อจะเป็นสมาธิชนิดที่ไม่ไปทำอะไรนะ คือจะสงบระงับลงเป็นฌาน แล้วเป็นสมาบัติ อย่างนี้ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า Trance ถ้าอย่างนั้นเขาเรียกว่า Concentration นั่นไปทางนู้นไปเลย คุณไปศึกษาเรื่องฌานนี่เข้าใจแล้ว ที่ว่าทำลมหายใจนี่ก็ได้ แต่ในความรู้สึกมันน้อยลงทุกส่วน จนกระทั่งการหายใจละเอียดจนเหมือนกับไม่หายใจ จนโลหิตนี่เหมือนกับไม่ไหลเวียน จนอุณหภูมิลดลง มันเหมือนกับปิดเงียบลงมา เงียบลงมาๆ หูก็ไม่ได้ยิน ตาก็ไม่เห็น ไม่มีโอกาสที่จะมาทำความรู้สึกทางตา ทางหู ทางอะไรได้ อย่างนี้เขาเรียกสมาบัติ
คำถาม อยากจะถามว่า ไม่ได้ยินหรือว่าได้ยินแล้วไม่มี..
ท่านพุทธทาส อ้าวเขาปิดไว้ก่อน เขาต้องปิดมาก่อน ไม่ใช่ว่าฟ้าผ่าแล้วถึงเข้าฌาน ฝนตกติดฝนไปไหนไม่ได้ก็เลยฆ่าเวลาด้วยการเข้าฌานตามแบบของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ทีนี้มันก็ปิดลงๆ จนถึงเรียกว่าจตุถฌานซึ่งมีรายการว่าไม่หายใจ ไม่รู้สึก สัมผัสอะไรหมด
คำถาม ตั้งแต่แรก ประตูแรก
ท่านพุทธทาส คือมันลดลงมาตั้งแต่ฌานที่หนึ่ง ฌานที่สอง ฌานที่สาม ฌานที่สี่ นี่เพียงฌานที่สี่เท่านั้นแหละ มันไม่มีการหายใจ
คำถาม ที่นี้ที่ได้ยิน ไม่ได้ยิน...
ท่านพุทธทาส มันจะได้ยินอะไรล่ะ เพราะมันละไอ้ความรู้สึกไปเสียทุกทางแล้ว และยังไม่ใช่เพียงเท่านั้น มันยังมีไปอีกสี่จนถึงว่าเหมือนกับตายแล้วก็ไม่เชิง เป็นอยู่ก็ไม่ใช่ จึงจะเหมือนอย่างที่ว่า เพียงแต่ขั้นที่หนึ่งที่สองนี่ก็ยังปิดมากแล้ว แทบจะไม่ได้ยินอะไรอยู่แล้ว แต่ยังจะรู้สึก ยังจะถูกปลุกได้ง่ายกว่า พอมาถึงขั้นที่สี่นี่จะปลุกไม่ได้แล้ว พอไปขั้นที่แปดแล้วเหมือนกับตายแล้ว ที่ว่าฌานนี่มีอยู่ สี่กับสี่เป็นแปด เพียงสี่ตรงนี้มันไม่หายใจแล้ว ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารณ์ คือว่าคิดนึกอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงพูดไม่ได้หรือว่าไม่รู้สึก ตา หู จมูก ลิ้น กายนี่
คำถาม คนเขามาด่าเรา … ทีนี้พอคนเป็นสมาธิแล้วเขาไม่ได้ยินคนด่า...
ท่านพุทธทาส อย่างนั้นไม่ใช่สมาธิ ถ้าเขาทำสมาธิอยู่ก่อนมันไม่ได้ยินนี่ จะมีปัญหาอะไร ไม่ได้ยินเสียเลย ทีนี้อาตมาฟังว่าได้ยินแล้ว มันก็มีปัญหาว่าเป็นคนชนิดไหน ถ้าคนธรรมดามันก็โกรธ ถ้าคนที่มีสมาธิอ่อนมันก็ยังโกรธ เพราะมันยังได้ยิน แล้วมันก็ต้องเป็นคนที่ฝึกมาดีแล้วในเรื่องที่เขาเรียกว่า สติ หรือสัมปชัญญะ นี้อีกเรื่องหนึ่งไม่ใช่เรื่องสมาธิ เป็นเรื่องความฉลาดที่มาทันท่วงที แล้วเขาเห็นเป็นเรื่องธรรมดาแล้วก็ไม่โกรธอย่างนี้ อย่างผู้ที่ไม่เป็นพระอรหันต์แต่ว่าฝึกดีในทางนี้ มีสติทันท่วงที ว่าเสียงที่หูได้ยินไม่ใช่เรื่องที่จะต้องยินดีหรือยินร้าย นี่เขาฝึกไว้ดี อย่างนี้ไม่เกี่ยว ไม่เข้าสมาธิอะไรด้วย นี่เขาใช้
คำถาม ที่ว่าเข้าสมาธิถึงระดับหนึ่งแล้วจะไม่ได้ยิน
ท่านพุทธทาส นั่นไม่ได้ยิน ไม่ได้ยินแม้แต่เสียงฟ้าผ่า ทีนี้รายหนึ่งที่ไม่ได้เสียงเกวียนนั่นเขาว่าเก่งที่สุดแล้ว นี่รายนี้เสนอว่านี่ถึงขนาดฟ้าผ่าก็ไม่ได้ยิน นี่อยู่ในฌาน เข้ามาที่หนึ่ง ที่สอง ที่สามเข้ามาเรื่อย เลยไปถึงที่แปด เขาสามารถจะเข้าออกได้ในเวลาอันวิ้บเดียว เพราะว่าเขาชำนาญ นี่เรียกว่าเล่นทางจิตหรือทางสมาธิ ไม่เกี่ยวกับปัญญา ทีนี้พระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์บางองค์นี่เก่งทุกทาง แต่ว่าถ้าทางอย่างที่ว่านี่ เช่น เห็นรูปหรือเขาด่านี่ คนธรรมดาก็ต้องฝึก ไม่งั้นจะแย่ ต้องพิจารณาให้เข้าใจเสียก่อน เข้าใจดีแล้ว ฝึกสติคอยควบคุม พอเสียงด่า นึกได้แล้วก็ไม่รับเอา แล้วไม่โกรธ จะโต้ตอบอย่างไรก็โต้ตอบด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดี นี่เป็นหลักคำสอนอีกฝ่ายหนึ่ง มันคนละเรื่อง
คำถาม คือคล้ายๆ ในขณะที่นั่งสมาธิ…
ท่านพุทธทาส ถ้าสมาธิสำเร็จ ไม่ได้ยิน ถ้าสมาธิสำเร็จถึงขนาดที่จะ classify ได้ว่าอยู่ในสมาธินั้นต้องไม่ได้ยิน เพราะมันได้ยินหัวใจเต้น ไม่ได้ยินข้างนอก มันได้ยินแต่สิ่งที่กำหนด เพราะฉะนั้นเราลองดูบ้างก็ได้ ที่ห้อง นอนห้องไหน เราหัดฟังเสียงที่เล็กกว่า มันจะช่วยเป็นสมาธิง่ายๆ สนุกๆ หาเสียงที่เล็กกว่ากำหนดอยู่ในใจเรื่อยๆ มันก็ไม่ได้ยินเสียงกลอง เสียงรถหรืออะไรของมันเอง
คำถาม เสียงอะไร
ท่านพุทธทาส สุดแท้ ถ้าเสียงรถยนต์ดังอยู่นี่ เสียงอะไรที่มันเล็กกว่าเสียงรถยนต์ ถ้าพบเสียงนาฬิกาเดิน เอาเสียงที่เล็กกว่านาฬิกาเดิน จนกระทั่งว่าจะหาให้พบเสียงไอ้ที่เล็กที่สุด มันอาจจะได้ยินเสียงชีพจรก็ได้ มันก็ไม่ได้ยินเสียงทั้งหลายที่ดังอยู่
คำถาม เวลากำหนดลมหายใจเข้าออก…
ท่านพุทธทาส ตอนนี้เราไม่ได้มุ่งที่เล็กหรือใหญ่ แต่ว่าจะกำหนดให้ประณีตเข้า ประณีตเข้า มันจะพร้อมกัน คือลมหายใจนั้นจะละเอียดเข้า ถ้าทำถูกวิธีมันจะละเอียดเข้า แล้วพร้อมกันนั้นเนื้อหนังนี่มันจะเย็นลง นี้มันเลยทำให้กำหนดได้เก่งขึ้นอีก มันก็เลยทำลมหายใจให้ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก มันก็เลยเป็นเรื่องที่เรียกว่าลดลงๆ กันพร้อมกันไป ทั้งลมหายใจและความรู้สึกของร่างกาย มันมีมาก มีรายละเอียดมากไอ้เรื่องทำสมาธินี่แล้วแต่จะอย่างไหน แม้แต่อย่างกำหนดลมหายใจนี่ก็ยังมีถึง 4 หมวด 4 ระยะ ระยะหนึ่งก็มี หมวดหนึ่งก็มีหลายขั้น ทั้งหมดเป็น 16 ขั้น แต่ถ้าเราจะให้เข้าใจง่ายแก่คนทั่วไปที่เขาไม่สนใจในเรื่องนี้ก็ว่า จิตเรากำหนดเข้าที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วสิ่งนั้นมันสามารถจะทำให้มันละเอียดลงได้ ละอียดลงได้ ที่ทำง่ายนี่ก็ลมหายใจ เมื่อหายใจมันละเอียดเข้า การกำหนดก็ต้องละเอียดลงไปตาม ไม่งั้นมันกำหนดไม่ได้ ศึกษาอย่างวิทยาศาสตร์บ้างสิ อย่าเป็นเรื่องธรรมะนัก จะศึกษาอะไรก็ตาม ศึกษาเรื่องสมาธิ เรื่องฌานอะไรก็ตาม เราทำตัวอย่างว่าเป็นนักศึกษาธรรมชาติ อย่างวิทยาศาสตร์ นั่นล่ะจะง่ายแล้วจะเร็ว อย่ามีความยึดมั่นถือมั่น เป็นเรื่องแบบพิธีหรือว่าศักดิ์สิทธิ์หรือว่า มันทำไปอย่างเหมือนกับว่าทำวัตถุวิทยาศาสตร์ พบด้วยความที่จิต ด้วยความรู้สึกนี่มันละเอียดลง ละเอียดลง มันเย็นลง จนหยุดลงจนมันเหมือนกับหลับชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในฌานน่ะมันเหมือนกับหลับชนิดหนึ่ง แสดงว่ามันหลับชนิดที่บังคับ อยู่ได้ มันจะเรียกอย่างนั้นก็ถูก หรือจะเรียกว่ากำหนดสติไว้ให้มันทำโดยอัตโนมัติก็ได้ มันจะออกมาตรงเผงสิบนาที สิบห้านาที แบบเดียวกับการตื่นนอน คนธรรมดาหัดตื่นนอนให้ตรงเผงไม่พลาดสักห้านาทีก็ทำได้ ไม่ต้องอย่างวิธีสมาธิ ลองหัดเถอะ อาตมาเคยหัด ตื่นนอนนี่ให้มันตรงเผง ผิดไม่ไป ไม่ถึงห้านาทีนี่ก็ทำได้ ทีนี้การเข้าสมาธินั้นมันก็ไม่มีใครถูกต้อง เพราะมันต้องหัดตั้งแต่ทีแรก ตั้งใจว่าจะอยู่นานเท่าไรและออก ออกได้ ไม่ใช่ปล่อยให้มันออกมาเอง นั่นมันยุ่งยาก เรียกว่าทำไม่สำเร็จ มันต้องตั้งแต่ทีแรก ทีแรกนี่หัดนี่สมาธิยังไม่เกี่ยว จะอยู่ในสมาธินานเท่าไรนี่ถึงหัดอีกทีหนึ่ง จะเข้าไปอย่างไรและจะถอยออกมาอย่างไรก็ยังต้องหัดอีกทีหนึ่ง จนกว่ามันจะชำนาญ ชำนาญแล้วจึงจะได้ตามต้องการ หนึ่งวันสองวันอย่างนี้ มันจะต้องทำตั้งแต่หนึ่งชั่วโมงสองชั่วโมงก่อน ทีละหนึ่งวันมันไม่ได้ อันดับสุดท้ายมันจะได้ถึงเจ็ดวัน อย่างนี้เป็นต้น