แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
กังสลกะ... (นาทีที่ 0.00) จะเป็นตัวอะไรก็ไม่ทราบ แต่เรื่องราวของมันว่ามันออกเที่ยวหาของสกปรกกินเวลากลางคืน เช่นอุจจาระของคน หรือสัตว์เน่า หรืออะไรนั่นน่ะ รูปร่างของมันก็ตั้งแต่ ฟังดูตามตัวหนังสือน่ะ คงคล้ายกับตัวเหี้ยหรือตัวแย้อะไรทำนองนี้ คือเค้าไม่ได้อธิบายนี่ ฟังดูเรื่องราว จะมีหางหรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่กลางคืนออกไปหาอุจจาระ หาอะไรที่เค้าไปถ่ายไปอะไรอย่างนี้ เหมือนกับเหล่าภิกษุที่ตะกละ ในใจคิดอยู่ว่าอร่อย แล้วก็อยากจะอร่อย อยากจะมีมาก นี่ก็จึงคิดว่าเดี๋ยวนี้เรากำลังฉัน บิณฑบาต โภชนประณีต ที่นายกอุปัฏฐากเค้าจัดให้ ภาชนะที่กำลังฉันอยู่นี่เป็นหนี้เค้ามากมายเต็มบาตรล้นบาตร นี่ก็จะเอากลับไปในวัดอีกเต็มบาตรล้นบาตร ทั้งทายกทายิกาอุปัฏฐากก็ปวารณาว่าเมื่อไหร่ต้องการอะไรเมื่อไหร่อีกก็ได้ นี่เค้าก็เลยรู้สึกตัวเองมีบุญมาก มีวาสนา มีบุญมาก ร่ำรวยด้วยลาภ ส่วนภิกษุอื่นมันมีบุญน้อย มีวาสนาน้อย จะฉันไม่พอท้องในวันหนึ่ง ๆ ทีนี้พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสว่าภิกษุองค์นี้มันเหมือนกับตัวกังสลกะ คิดว่าอุจจาระที่เรากินเข้าไปแล้วก็เต็มท้อง ป่องอยู่แล้ว ไอ้อุจจาระกองหน้า กองข้างหน้าเรานี่ ... (3.00) แล้วก็ยังมีที่โน่น ๆ อีก เรานี่โชคดี เรามีลาภมาก ไอ้ตัวกังสลกะมันคิดในใจอย่างนั้นเหมือนกับภิกษุนั้น ตักกันนิดเดียวอย่างเดียวก็ได้ ไม่ต้องตักหมดตักมาก ภิกษุบางองค์คิดอย่างนั้นจริง ๆ ด้วย จะดีใจว่าของได้มาก กินเข้าไปจนไม่รู้จะกินยังไงแล้ว ยังมีอีกแยะแล้วก็ยังปวารณาอีก นี่คือภิกษุเปรียบด้วยกังสลกะ เป็นสัตว์ในประเทศอินเดียในสมัยโบราณ ฟังดูเสียงมันคล้าย ๆ ไอ้ตัวสกั๊งค์ของฝรั่ง จะใช่อย่างเดียวกันหรือไม่ก็ไม่รู้
มันก็มีภิกษุบางองค์มีโชคดี มีลาภมาก ฉันไม่หวาดไหว เป็นมหาเปรียญ ฉันไม่หวาดไหว นี่ก็ยังปวารณาไปอีกมากมาย ผู้อื่นไม่มีลาภ ไม่มีบุญ ก็คิดอย่างนั้น ก็ต้องระวังให้ดี อย่าให้เกิดไอ้ความคิดเป็นตัวกังสลกะอย่างในบาลี พวกที่มาจากตระกูลที่ยากจนมักจะคิดอย่างนั้นได้จริงด้วย ที่มาบวชจากตระกูลที่ยากจน อาจจะมีความรู้สึกอย่างนั้น ให้สังเกตเห็นท่าทางมันจะมีอย่างนั้น เพราะมันมุ่งแต่จะเรื่องลาภ ใครไม่นิมนต์ก็โกรธ ไม่ถูกจัดให้ไปรับนิมนต์นี่ก็โกรธ นี่มันก็เรื่องนึง เรียกจำง่าย ๆ ก็ไอ้ตัวสกั๊งค์ นี่ของลดความอ้วน ใบไม้เปรี้ยว ๆ ต้อง ... (6.00) โผล่ขึ้นมาในจิตใจ กว่าจะเคยชิน กว่าจะมีความเคยชิน วันแรก ๆ ยังไม่เคยชินก็อุตสาห์นั่นหน่อย ไม่ควรทำบาปเพราะเหตุแห่งการกิน ... (6.50) อย่าทำบาปเพราะเหตุแห่งการกิน นี่จะมาทำให้เราเป็นตัวกังสลกะ พวกชาวบ้านเค้ารู้แต่ว่าให้พระฉันมาก ๆ ยิ่งดี ... (8.08) เนี่ยทำให้เรากลายเป็นตัวกังสลกะล่ะ
ไม่ใช่เรื่องเล่น เรื่องฉันอาหารนี่ไม่ใช่เรื่องเล่น ผมสังเกตเห็นเองว่ามันมีอะไรแปลกอยู่อย่างหนึ่ง คือเมื่อพูดถึงปัจจัยสี่ ตามปกติทั่วไปจะมีจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัช จีวรมาก่อน แล้วก็บิณฑบาตอาหาร แล้วก็เสนาสนะที่อยู่อาศัย เภสัชยาแก้โรค อย่างนั้นทั้งนั้นในบาลีไหน มันไม่มีผิดลำดับอยู่แห่งเดียวในการบอกอนุศาสน์เมื่อวันบวช ถ้าบอกอาหารก่อน บอกอนุศาสน์ข้อหนึ่งเป็นเรื่องอาหารก่อนแล้วค่อยจีวร เสนาสนะ เภสัช คล้าย ๆ กับว่าพระพุทธเจ้าท่านจะบัญญัติไว้หรือว่าอาจารย์ทั้งหลายจะแต่งตั้งขึ้น ให้พูดถึงเรื่องกินก่อนสำหรับผู้บวชใหม่หยก ๆ ระวังให้ดี ระวังอย่าให้อาหารไหม้คอ ไหม้กระเพาะ
ในสมัยที่มันไม่มีการศึกษาทั้งในชนบทบ้านนอก สมัยที่ยังไม่มีการศึกษา พระเณรเค้าสนใจเรื่องลาภสักการะมาก แต่พวกเราไม่ค่อยมีปัญหาอย่างนั้นน่ะ พวกเรามีกินมีใช้สบาย ๆ บางทีอุตสาห์เดินไปหลายชั่วโมง ไปบังสุกุล เราก็ได้ห้าสิบสตางค์ การเล่าเรียน ไม่รู้ ไม่ได้เรียนอะไรมากไปกว่าการสวดมนต์ หายใจเป็นบังสุกุล เรียนสวดมนต์ เรียนมาติกา หายใจ บังสุกลุ
พระเถระที่ชอบสะสมเครื่องลายคราม เครื่องเจียระไน เครื่องลายทองอะไรต่าง ๆ ก็ไม่พ้นไปจากไอ้กังสลกะ ผมเองก็เป็นกังสลกะกับเค้าบ้างก็คงจะเป็นเรื่องหนังสือ ยังตะกละหนังสืออยู่ อยากอ่านหนังสือไม่สิ้นสุด
ใครไม่รู้จักหอยราก รู้จักมั้ยหอยราก กรุงเทพคงไม่มี เค้าเรียกว่าหอยรากเพราะมันมีราก รากของมันเหยียดออกยาวศอกหนึ่ง แต่มันหดได้เหมือนกัน มันหย่อนอยู่ในดิน แล้วมันก็หดกล้ามเนื้อ ข้างล่างเกาะไว้ หดกล้ามเนื้อ รากของมัน ตัวมันก็พรวด ดำลงไป ... (16.50) คนก็ใช้เครื่องมือดัก แทนดักไว้ หดลงไปไม่ทัน ดึงตัวขึ้นมาทั้งราก
กินอุจจาระจนท้องป่อง แล้วก็ดีใจว่ากองนี้ก็ยังใหญ่อยู่ และที่อื่นก็ยังมีอีก เรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัสเฉพาะพระ แต่มันอาจจะขยายไปได้ถึงฆราวาสที่โลภมากเกินไปจนเป็นโรคเส้นประสาท ฆราวาสที่งกเงิน งกอะไรมากเกินไปจนเป็นโรคเส้นประสาทเนี่ยเป็นโรคกังสลกะนี่ มีคนพูดว่าแม่บ้านบางคนนั่งนับเงินจนเป็นโรคเส้นประสาท มันหมายถึงความกระหยิ่ม กระหยิ่มใจที่ว่ามันอิ่มแล้ว มันยังมีเหลืออีกเยอะแยะ มันมีหวังที่จะได้อีก ไม่มีขอบเขต อย่างพวกฝรั่งที่เค้ารวยจนไม่รู้จะรวยยังไงแล้วก็ยังไม่รู้จักพอ ไอ้ความคิดส่วนที่เป็นกิเลสมันเป็นอย่างนั้นจริง ต้องมีการศึกษา (21.35) ว่าไม่ต้องมีความคิดอย่างนั้น มีมากก็คิดช่วยผู้อื่น หรือมีมากก็ไม่ต้องคิดอย่างนั้นก็ได้ แล้วมันก็ไม่รู้ว่าจะเอาไปทำอะไรเอง มันก็คิดทำประโยชน์ช่วยผู้อื่น นี่คิดอย่างกังสลกะมันคิดจะกินคนเดียว คิดอย่างกังสลกะเนี่ยคิดจะกินคนเดียว
เค้าไม่ได้ห้ามว่าไม่ให้มีมาก หลักธรรมะคือพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ตรัสว่า ไม่ได้ห้ามว่าอย่าหา หรืออย่าแสวงหา มันก็หาก็ดี ไอ้คนที่สามารถมากแม้หามากก็เท่ากับหาน้อย คนไม่สามารถแม้หาน้อยมันก็เท่ากับหามาก อยู่ที่จิตใจ ที่ได้ผลมาแล้วกูจะกินคนเดียว (23.50)
ในโลกนี้คนมันจะจนมากขึ้น จะลำบากมากขึ้นในอนาคต ถ้าหาเผื่อคนจนก็ไม่เป็นกังสลกะ เพราะว่าไอ้ลัทธิกังสลกะมันเจริญ มันจึงเกิดไอ้ลัทธิคอมมิวนิสต์ขึ้น จะยื้อแย่ง สมัยพุทธกาลมันไม่มีไอ้ระบอบอย่างคอมมิวนิสต์ หรือว่าพวกคนมีมันรักคนจน ได้บุญ มันรักคนจน ไอ้ที่มันผูกค้าผูกขาดนี่มันไม่ทำ ต่างคนต่างทำ และสติปัญญามันก็พอ ๆ กัน เดี๋ยวนี้คนพวกนึงเค้ามีสติปัญญา มีทุน มีกำลัง มีพวกพ้อง มีเครื่องมือ เอาแต่มาก นี่มันแบบกังสลกะ ไม่รู้สึกตัว เรื่องนี้ปฏิบัติตามคำของพระเยซูถูกละ คืออย่าพะวงว่าพรุ่งนี้จะกินอะไร คำพูดของพระเยซูก็เหมือนคำพูดของพระพุทธเจ้าแหละ คือว่าไว้รุนแรงถึงขีดสุดเกินไป คนฟังไม่ถูกก็เลยเห็นเป็นผิด ให้ตั้งจิตให้ถูก คำว่าพรุ่งนี้มันหมายถึงอนาคต อนาคตไม่รู้สิ้นสุด (27.50) ก็เลยไม่รู้ที่สิ้นสุด ถ้าเรานึกถึงจะกินสิ่งนี้ คิดถึงอนาคต เราก็ไม่ต้องมีจิตนึกถึงพระเจ้าแล้ว เพราะพรุ่งนี้มันมีเรื่อย ไม่อยากนึกถึงพรุ่งนี้ก็คือนึกถึงพระเจ้า นึกถึงธรรมะ พรุ่งนี้ต้องมีกินแน่นอน เหมือนนกกระจิบ พรุ่งนี้ก็ไปหากินได้
พระพุทธเจ้าสอนว่า ... นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ (29.45) ไม่พะวงอนาคต ทำให้ถูกให้ดีที่สุดเดี๋ยวนี้ พยายามเอาชนะไอ้ความอยาก อร่อย ความอยากอร่อยต้องเอาชนะมันให้ได้ ก็ยังอยากจะบอกเสีย เจอตลอดกาลแหละว่าไอ้ฟังพระพุทธภาษิต หรืออุปมาในพระพุทธภาษิตในชาดกนั้นน่ะ ไม่ใช่ตรงตามนั้น คือไม่ต้องถือตรงตามตัวหนังสือ อย่าไอ้ตัวกังสลกะคิดอย่างนั้น ๆ มันไม่คิดก็ได้ ให้ตัดจริง ๆ มันไม่คิดก็ได้ แต่ทีนี้พระพุทธเจ้าท่านเอาไอ้นี่มาเปรียบ มาสอน มาด่า เพราะว่าไอ้สัตว์ตัวนี้มันมักจะขึ้นไปอยู่บนกองอุจจาระ ไปคร่อม ไปยืนคร่อมกองอุจจาระอยู่เรื่อย มันเหมือนกับว่ามันจะหวง จะยึดครอง จะตะกละ ให้เราจึงตัด ตัดตามธรรมดา ไม่มีความคิดมาก แม้แต่สุนัขเนี่ยมันก็กินอิ่มแล้วมันก็ไม่คิดมาก คนแหละคิด ไอ้สัตว์ที่หวงกินจนถึงกับคายข้าวไปกัดเนี่ยไม่ค่อยมี ไอ้คนนี่แหละ หวงของกินที่มีอยู่ เค้าเรียกว่าหวง ก็ไม่เป็นไร ไอ้ห่วงอำนาจร้ายกาจนัก ไอ้ห่วงเลยจนกระทั่งว่ามันจะมากินของเรา หรือขัดขวางเรา ทำลายของเราจนต้องฆ่ามัน อย่างการสงคราม ลัทธิเดี๋ยวนี้ ที่มันฆ่ากันนี้ ที่กำลังฆ่ากันนี้เพราะมันห่วง ห่วงอำนาจ มันจะเป็นอันตรายแก่ประโยชน์ของเราหรือ ถ้าอเมริกันเป็นกังสลกะน้อยหน่อยก็คงไม่รบกันมากขนาดนี้ ไอ้พวกป้องกันตัวก็เหมือนกัน มันเป็นห่วง มันต้องสู้ตาย ถ้ายิ่งเกลียดเข้ามาด้วยก็ยิ่งสู้ตายเลย ประโยชน์อย่างเดียวก็ยังไม่เท่าไหร่ ถ้าเกลียดมันบวกกับประโยชน์นะมันสู้ตายเลย ที่จริงเกลียดมันก็ขึ้นกับประโยชน์ อันนี้เกลียดมันคู่กับประโยชน์ ไอ้ที่อยากเป็นเจ้าโลกมันก็มีความหมายเดียวกับไอ้ตัวกังสลกะ อยากเป็นเจ้าโลก ทีนี้ต่างฝ่ายต่างอยากเป็นเจ้าโลกคืออยากเป็นกังสลกะบนอุจจาระกองนี้คือโลก ถ้าเราไปเรียกไอ้โลกนี้ว่ากองอุจจาระ พวกฝรั่งก็หัวเราะเยาะเราอีก ฟังไม่ถูก แล้วคนไทยที่ตามก้นฝรั่งก็เลยฟังไม่ถูกไปด้วย ก็ตามก้นฝรั่งก็ฟังไม่ถูกเหมือนฝรั่ง จึงฟังธรรมะไม่ออก ต่อเมื่อเรามีไว้เพื่อบำรุงกิเลสตัณหาของเรานี่ถึงจะเรียกว่าเป็นกิเลส แต่ถ้ามีไว้เพื่อทำประโยชน์ทางสติปัญญามันไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่เหยื่อของกิเลส นี่ก็คือว่าไอ้จูงเศรษฐีนายทุนมาหาศาสนานี่ก็เหมือนกับจูงอูฐรอดรูเข็ม (38.10) ประโยคนี้ผมสะดุดมาตั้งแต่ก่อนบวช จูงพวกร่ำรวยเศรษฐีนายทุนมาหาศาสนาเหมือนจูงอูฐรอดรูเข็ม นี่มันเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่ตอนโน้นแล้ว ศาสนาทั้งหลายอยู่ได้เพราะคนจนทั้งนั้น ตอนเช้าเมื่อคุณไปบิณฑบาต พยายามสังเกตฐานะอันแท้จริงของผู้ใส่บาตรบางบ้านดู ถึงแม้ว่าเขาจะทำบุญด้วยหวังว่าบุญจะช่วยเขา ทำอย่างที่น่าสงสาร ถึงไอ้คนรวยมันก็ทำบุญอย่างนี้ หวังบุญจะช่วย แต่มันรวยไปแล้วมันเลยไม่ตั้งใจจะหวังพึ่งบุญ ในที่กรุงเทพเฉลี่ยแล้วศาสนาอยู่ได้เพราะคนจน แต่ยังไม่เท่าบ้านนอกอย่างนี้ พวกหาเช้ากินค่ำแท้ ๆ ก็ใส่บาตร อย่างเรี่ยไรก็ทำทุกปี ไอ้การเรี่ยไรมันไปเรี่ยไรจากคนจนไม่เคยเว้น การขอแรงทำงานในวัดนี่ก็คนจนมามากกว่า บางทีอาจจะอธิบายไปได้ว่าคนจนเค้าทำบุญแบบว่าให้บุญช่วย ฝากธนาคารไว้ ธนาคารบุญ ชาติหน้าค่อยได้รับ อย่างนี้มันก็จะได้เหมือนกัน แต่พฤติการณ์แท้จริงเค้าก็ได้ทำ เฉลี่ยแล้วก็หลายสิบเปอร์เซ็นต์ สามสี่สิบเปอร์เซ็นต์ของรายได้ของแต่ละคนจนทำบุญ นี่ก็คนมหาเศรษฐีทำบุญได้ซักห้าเปอร์เซ็นต์ก็ยังไม่ถึง คนจนจะทำบุญก็สามสิบ ยี่สิบ สามสิบ สี่สิบเปอร์เซ็นต์ของรายได้
คนที่เป็นต้นตระกูล ต้นกำเนิดไอ้เศรษฐี ... (41.40) เค้าเขียนเล่าเรื่องว่างกจนจะเป็นโรคประสาทจนจะตายอยู่แล้วอยู่รอมร่อ จนกว่าจะมีใครคนหนึ่งจะแก้ไขให้ลืมความคิดอันนี้แล้วก็ค่อยหาย นี่ก็วิญญาณแห่งสัตว์ชื่อกังสลกะนี่ก็ระบาดทั่วโลก ถ้าเราฟังถูก ก็เข้าใจดี ปฏิบัติถูก มันก็มีอะไรมากมายจนไม่ต้องเป็นกังสลกะ มีมากมายแต่ว่าไม่ต้องเป็นกังสลกะ มันก็ยังทำได้อยู่ เข้าใจกันให้ดี ๆ ในเรื่องพระพุทธศาสนา
ถ้ามีสมบัติมาก เรามีอย่างนก อย่างต้นไม้ต้นนี้มันมีลูกดก อย่างลูกหมากเม่า ไอ้ลูก (45.06) มันชอบที่สุดเลย มันก้มมามันก็กิน สนุกใหญ่นะ มันร้องพลาง กินพลาง ถ่ายพลาง เสร็จแล้วก็ไป ไม่ได้คิดอย่างกังสลกะ มีภาระแต่ปีกบินไป ... (45.36) แต่ดูเหมือนว่าไม่ได้ยึดครอง เป็นเรื่องของสนุก โชคดีชั่วครู่ แบบนั้นไม่เป็นโรคเส้นประสาท มีทรัพย์สมบัติอย่างนกก็นั่งดู นั่งสะสม ... (46.45) มีทรัพย์สมบัติอย่างนก วิเศษนัก เหมือนกับพระแหละ เหมือนกับพระร้อยเปอร์เซ็นต์ มากินลูกหมากเม่า เวลาชั่วโมงกลับไป ปลายชั่วโมงมาอีก ไม่มีสมบัติอย่างนก
ผมแกล้งปลูกไว้ ต้นหมากเม่านี่ผมแกล้งปลูกไว้ให้มันเจริญ ให้ใกล้กุฏิใกล้หน้าต่างไว้ดูแล มีลูกนกมา มันก็ไม่รู้สึกอร่อย กินอย่าง .. (48.18) กินอิ่ม ๆ ก็ไป อร่อยก็ไป ไอ้ลูกไม้บางชนิดเรากินไม่ได้ มันไม่มีรสชาติ ไม่หวาน ไม่หอม เหม็น ๆ แล้วก็เป็นเมือกล้วน ๆ เป็นเมือก ๆ ยังกินกันเต็มที่
นี่แค่ปลาดุก ในบรรดาปลาเนี่ย ปลาดุกชอบกินข้าวตอกมากกว่าปลาอะไร
วันนี้เรียกว่าวันพระ วันอุโบสถ วันธรรมสวณะ ให้ทำอะไรดีเป็นพิเศษ ตอนเย็นมีประชุม บรรยาย น่าจะถึงห้าโมงเย็น
เรื่องที่จะต้องพูดกันสำหรับผู้แรกบวชก็คือเรื่องอย่างนี้ สัปดาห์ สองสัปดาห์ก็จะพูดกันเรื่องตัวธรรมะอะไรกันจริง ๆ จัง ๆ เรื่องวินัย... (51.20) วินัยนี่มันมีอยู่ชัดแล้ว ไม่ต้องการคำอธิบาย อย่าลืมว่าให้ถือความมุ่งหมาย ถือแต่เพียงตัวหนังสือไม่พอ บางทีก็ผิดได้ จับความมุ่งหมายได้ก็ถือความมุ่งหมาย ตัวหนังสือมันผิดมาสองปีสามปีแล้ว จะยกตัวอย่างบทสิกขาบทหนึ่ง พุทธเก หษเม ปาจิตติยัง (52.14) ตัวหนังสือว่าอย่างนั้น ตามตัวหนังสือแท้ ๆ ต้องแปลว่าเป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะการหัวเราะในน้ำ พุทธเกในน้ำ หษเมเพราะการหัวเราะ ปาจิตติยังเป็นปาจิตตีย์ นี่ตัวหนังสือแท้ ๆ นี้ในโอวาทที่คุณจะอ่านพบก็เพี้ยนไปว่า ภิกษุว่ายน้ำเล่นเป็นปาจิตตีย์ มันไม่หมด ไม่ต้องว่ายน้ำเล่น ไปหยอกไปอะไรกันในน้ำ ไปทำตัวสนุกสนานกันในน้ำ เล่นหัวกันในน้ำ ชนิดไหนกันก็ตามใจ ก็เรียกว่าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ อย่างนี้มันลำบากนะ เพราะคนแปลคนแรกแปลแคบไปนิดนึง ถ้าแปลไปตามตัวหนังสือจะดีกว่า ปาจิตตีย์เพราะว่ายน้ำเล่น ทีนี้มันก็ไม่ว่ายน้ำเล่นสิ มันทำอย่างอื่น ไปหยอกกันในน้ำแล้วก็เข้าใจว่ามันไม่เป็นอาบัติ ต้องถือว่าไปเล่นสนุกกันในน้ำวิธีใดก็ตามเป็นอาบัติ และคำว่าในน้ำนั่นควรจะขยายขึ้นมาอีก แม้ว่าริมน้ำก็ไม่ถูกต้องเหมือนกัน ก็มันเนื่องด้วยการไปที่น้ำ ก็บริเวณน้ำเหมือนกัน ให้ถือหลักว่าความหมายหมายความเหมือนกัน ตัวหนังสือไม่แน่นอน ต้องถือตามความหมาย ไม่ใช่ถือตามตัวหนังสือ นี่คำว่าการหัวเราะในน้ำนั่นน่ะมันไม่เฉพาะแต่ว่าหัวเราะ สนุกในชนิดที่ไม่ต้องหัวเราะก็ไม่ได้ ก็ห้ามเหมือนกัน ถ้าแปลว่าร่าเริงถึงจะถูกกว่า คำว่า หะษะ (54.20) มันคือคำว่าหรรษาในภาษาไทยเรา ถ้าเป็นสันกฤตก็เป็นหะษะ เป็นหรรษาในภาษาไทย ถ้าแปลตามตัวแท้ ๆ ก็แปลว่าเป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะหรรษากันในน้ำ จะว่ายหรือไม่ว่าย จะทำอะไรก็ตามใจ ไปหาเรื่องหรรษากันในน้ำหรือริมน้ำนี่ก็ต้องเรียกว่าเป็นอาบัติ อย่างนี้มันก็ไม่มี ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะไปนั่งหัวเราะกันอยู่ที่ริมลำธาร หรือที่อาบน้ำ ทำไม่ได้ เรื่องนี้มันอย่าไปโทษใครเลย ไอ้หนังสือหนังหา ไอ้คำแปลคำอะไรต่าง ๆ อย่าไปคิดโทษคนอื่นคนนี้ ก็พยายามเอาความหมาย เข้าหาความหมายถูกต้องแล้วถือให้ครบถ้วน มันไม่มีที่ .. (55.10) น่ะ คนแปลก็แปลไปอย่างงั้น ๆ น่ะ ยุคสมัยมันก็เป็นอย่างนั้นด้วย แต่อย่างน้อยเค้าก็ทำไว้พอให้เป็นหลักได้ว่าเราจะไม่ว่ายน้ำเล่น แต่ถ้าว่ายน้ำจริง ไม่ใช่เพื่อการหัวเราะ มันก็ไม่เป็นไร ไม่ได้ว่ายน้ำเล่น ถ้าว่ายน้ำจริง เพื่อประโยชน์อย่างอื่นมันก็ไม่เป็นไร ว่ายเพื่อออกกำลังก็ได้ ว่ายน้ำเพื่อเอาตัวรอดก็ได้ ถ้าถือตามตัวหนังสือเป็นปาจิตตีย์ก็หังษธรรม หรรษาธรรม (55.50) ในน้ำ คือการกระทำที่สนุกสนานร่าเริงในน้ำ
ทีนี้สิกขาบทอื่นก็เหมือนกัน อย่าถือแบบเป็นทนายความแก้ตัวให้ตัวเอง มันต้องถืออย่างที่เรียกว่าความหมายมันมุ่งหมายอย่างไร มันก็ให้เป็นตามความหมาย แล้วความหมายของกลุ่มก็มีสิกขาบทมากมาย รวมกันแล้วเป็นกลุ่ม ๆ หนึ่งหรือมุ่งหมายเพียงว่าอย่าสะเพร่า อย่าสะเพร่า ถ้าเราไม่สะเพร่าซะอย่างเดียว มันก็คลุมได้หมด เช่นสะเพร่าวางบาตรไว้ในที่ตกได้ หรือสะเพร่าทำให้บาตรมันถลอก ไม่มีอะไรคุ้มครอง บาตรสมัยโบราณ สมัยพุทธกาลมันทำด้วยดิน ถ้าสะเพร่ามันแตกแน่ มันจึงมีสิกขาบทกระทั่งว่าการที่จะเอาบาตรเก็บไว้ใต้เตียงต้องให้เอามือควานดูก่อนแล้วจึงเอาบาตรใส่เข้าไป ละเอียดลออถึงอย่างนี้ เราต้องรับผิดชอบ สมมุติว่าเราเอาแก้ววางไว้ขอบหน้าต่าง ลมมันพัด บานหน้าต่างก็ตีตกแตกกระเด็นไปอย่างนี้ ต้องรับผิดชอบ ตามความมุ่งหมายของวินัยต้องถือว่าเป็นอาบัติ จะไปโทษลมโทษหน้าต่างไม่ได้ มันเป็นความสะเพร่าของเรา มันจึงมีมากหลายสิบข้อ สรุปความแล้วมันเรื่องไม่ให้สะเพร่าอย่างเดียว ข้อแรกเช่นอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้คืนหนึ่ง ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ มันเรื่องสะเพร่า ข้อต่อ ๆ ไปก็ดู มันมีอีกแยะ เมื่อรู้ความมุ่งหมายของหมวด มันก็ไม่สะเพร่า นี่เรียกว่าความมุ่งหมายของหมวด ทีนี้ความมุ่งหมายของสิกขาบทแต่ละข้อ ๆ มันยังมีอีก นี่ถ้าเป็นพระกันจริง ๆ นี่น่าดูบ้าง น่าไหว้บ้าง น่านับถือบ้าง แม้แต่เทวดาก็ยังยอมนับถือ ยอมไหว้ มันเป็นพระกันจริง ๆ ลองไปสังเกตดู เป็นอย่างนั้นจริง ๆ อย่างที่สังเกตมั้ย ลองไปศึกษาคำนวนดูจากสิกขาบทต่าง ๆ ที่ห้ามไว้ บรรพชา ... (59.00)
มันมีสิกขาบทห้ามภิกษุขุดดิน ทำดินให้เป็นรูเป็นอะไรลงไป ซึ่งครูบาอาจารย์ของเราเค้าถือกันดีมาก แม้แต่บ้วนปากแล้วทำให้ดินมันเป็นรูก็ถือว่าผิดแล้ว มันจึงไม่กล้าบ้วนปากลงบนดินให้ดินมันเป็นรู ถือกันมากอย่างนั้น จะเกินไปก็ได้ แต่ว่าดี รู้ความหมาย ถือความหมายเด่นชัด ตรงไหนจะบ้วนปากจะล้างหน้าต้องเอาอิฐหน้าวัวอิฐอะไรมารองไว้ก่อนที่ล้างหน้าของท่าน มันเลยได้ผลหลายอย่างแหละ มันทำให้ไม่ผิดวินัย ไม่มีทางจะผิดวินัย แน่ใจได้ว่าเราไม่ผิดวินัยสบายใจที่สุด และมันไม่ทำให้พื้นที่เสียนะ คิดดูสิ มันไม่ทำให้พื้นที่เป็นรูแล้วมันน่าเกลียดทีหลัง ดูน่าเกลียด ไอ้ตรงที่น้ำตกแรง ๆ มันเป็นหลุมเป็นบ่อมันน่าเกลียด คนสมัยนี้จะเห็นว่าเรื่องเล็กน้อย ไม่มีสาระ ไม่เอาใจใส่ มันจึงหยาบ มันก็ทำอะไรหยาบ ๆ ต่อไปอีกจนไม่น่าดู จนฆ่าฟันกัน เมื่อจิตมันละเอียด มันก็เป็นไปไม่ได้ มันเป็นมิตรได้ ไม่ต้องมีเดือดร้อน ไปทางที่ว่าอยู่เป็นสุข
ทำกันมาแล้วทุกองค์ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ๆ ตามโรงเรียน หรือไม่เคย หรือกรุงเทพไม่ทำ เด็กกรุงเทพอาจจะไม่ทำก็ได้เพราะว่าเมืองทำมานานแล้ว เด็กนักเรียน ... (1.1.35) พุทธมามกะในวันเข้าพรรษาตอนต้น ๆ แต่นั่นแหละ มันก็ทำอย่างพิธี ว่าบาลีสองสามคำแล้วก็กลับไป ถามว่าพุทธมามกะแปลว่าอะไรก็คงจะไม่รู้ เด็กที่นี่ ผมให้ท่อง ท่องได้แล้วก็ลืมอีก พุทธมามกะแปลว่าอะไร แปลว่าผู้ปฏิญญาว่าพระพุทธเจ้าเป็นของข้าพเจ้าครับ มันก็คงไม่รู้แต่มันท่องได้ ตามตัวหนังสือแปลว่าผู้ที่ปฏิญญา ยืนยัน หรือร้องตะโกนว่าพระพุทธเจ้าเป็นของฉัน นั่นคือคำว่าพุทธมามกะ มาม (มา-มะ) แปลว่าของฉัน ประกาศความเป็นของฉันแก่พระพุทธเจ้า ถ้าเด็กเค้าเข้าใจยิ่งมีประโยชน์ที่สุด เพราะเค้าจะไม่ทำอะไรผิดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพราะถ้าเค้าทำผิดมันก็ไม่เป็นพุทธมามกะ เดี๋ยวนี้คนจะไปเมืองนอกเมืองนาเค้าให้ทำพิธีพุทธมามกะกันก่อนว่าจะคุ้มครองได้ ทีนี้มันคุ้มครองไม่ได้ เยอะแยะไปหมด เพราะมันไม่รู้ว่าทำทำไม คืออะไร หมายความว่ายังไง ไม่นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน ถ้าใครเป็นพุทธมามกะแล้ว ก่อนจะทำอะไรลงไป คิดพูดทำก็ตาม ก็ต้องนึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน ถ้าหากว่าเราเป็นพุทธมามกะจะทำอะไรลงไปที่มันสะดุดแก่อารมณ์ หรือใหม่ขึ้นมา แปลกขึ้นมา หรือฝืนความรู้สึกก็ตาม ก็ต้องนึกถึงพระพุทธเจ้าก่อนว่าพระพุทธเจ้าท่านจะว่าอย่างไร เช่นเราจะขโมยของที่น่าขโมยสักทีหนึ่ง ก็ต้องนึกถึงพระพุทธเจ้าก่อนว่าท่านจะว่าอย่างไร นี่มันก็ไม่ขโมย จะทำผิดประเพณีไทย จะทำลามกอนาจารก็นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน เป็นพุทธมามกะต้องทำอย่างนั้น จะทำอะไรต้องนึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน ทีนี้พอไปเมืองนอกก็เห็นฝรั่งก็เลยเข้าผสมเตลิดเปิดเปิงไป เดือนหนึ่งก็ไม่เคยนึกถึงพระพุทธเจ้าสักครั้งหนึ่ง ปี ๆ หนึ่งก็ไม่เคยนึก มันก็ไปกันใหญ่ การทำพิธีพุทธมามกะให้แก่คนที่จะเดินทางไปเมืองนอกมันก็ไร้ความหมาย นี่ถ้าพ่อแม่เค้าอารมณ์ดีอยู่แล้วเป็นปกติมันก็ไปอย่างหนึ่ง นี่ผมพูดอย่างที่ว่าที่โรงเรียนเค้าจัดเค้าทำไม่ได้ผลตามที่ต้องการ มันยาก เพราะว่าเด็ก ๆ ส่วนมากมันอยู่กันอย่างนี้ มาอยู่กับเราอย่างนี้ ช่วงเวลานิดหน่อย นาน ๆ ครั้ง
นี่ถึงว่าเป็นพระ เป็นภิกษุ สามเณรแล้วมันก็ยังคงรวมอยู่ในคำว่าพุทธมามกะ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี่มันเป็นความหมายยิ่งไปว่าพุทธมามกะ คือมันต้องเป็นพุทธมามกะด้วยโดยพื้นฐาน แล้วมันยังมอบอะไรมากกว่านั้น ยิ่งไปประกาศตัวเป็นอุบาสก อุบาสิกายิ่งไปกว่านั้นอีก ยิ่งกว่าพุทธมามกะอีก คือเป็นผู้ที่ถึงแล้วจริงๆ ถึงด้วยชีวิตจิตใจจริง ๆ นี่อุบาสก อุบาสิกา นี่พุทธมามกะนี่ก็เป็นพื้นฐานทั่วไปนับตั้งแต่เด็ก ๆ ขึ้นมา ให้ถือพระพุทธเจ้าเป็นของข้าพเจ้า ซึ่งข้าพเจ้าจะต้องทำตลอดด้วยอย่างนั้นอย่างนี้ นี่คือคำว่านับถือพระพุทธเจ้า เป็นพระเป็นเณรหรือเป็นอะไรก็เรียกว่าเป็นพุทธมามกะระดับที่ยิ่งขึ้นไป ๆ จนกระทั่งว่าเป็นเหมือนพระพุทธเจ้า คือเป็นพระอรหันต์เหมือนพระพุทธเจ้ายิ่งมีความหมาย อีกความหมายหนึ่งก็ ผมบอกให้เห็นว่า อธิบายให้เข้าใจว่าเป็นพระพุทธเจ้าซะเอง มีจิตใจอย่างพระพุทธเจ้าหรือเป็นพระพุทธเจ้าซะเองชนิดหนึ่ง แม้ไม่ใช่ ... (1.06.56) พระพุทธเจ้าก็เป็นพระพุทธเจ้าชนิดหนึ่งเหมือนกัน รู้อย่างเดียวกับที่พระพุทธเจ้ารู้ เพียงแต่ว่ามันมากเท่า หรือไม่ละเอียดลออเท่า หรือว่าไม่ได้รู้ด้วยตนเอง แต่ก็เป็นพระพุทธเจ้าชนิดหนึ่งเหมือนกัน พุทธะในระดับพื้นฐานทั่วไปนี้มีอยู่ในทุกคน ควรมีไว้ทุกคน พวกเซ็นเค้าใช้คำว่าเชื้อแห่งความเป็นพุทธะมีอยู่ในทุกคน ให้ทุกคนหวังที่จะเป็นพระพุทธเจ้า บางทีเรียกว่าธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ Buddha nature (1.08.00) มีในทุกคน ของบางคนไม่ได้เพาะ ไม่ได้บำรุงซะเลย แล้วบางคนมันเพาะหว่านไปแล้ว งอกหน่อแล้ว มันกำลังเจริญอยู่ มันคล้าย ๆ กับว่าถ้ามันมีชีวิตแล้วมันก็มีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ไม่ว่าใคร
เดี๋ยวนี้เราภิกษุไม่ได้ตายตัว บัญญัติไม่ได้ตายตัว อะไรเรียกว่าชีวิต ก้อนหินมีชีวิตหรือเปล่า บางพวกมันก็ถือว่ามีชีวิตอีกแบบหนึ่ง แต่ต้นไม้แต่สัตว์เดรัจฉานนี่ต้องมีแน่ มีชีวิตแน่ มีความรู้สึกคิดนึก มันยังอ่อนอยู่ ยังหลับอยู่ ยังไม่เหมือนคน ไอ้คนนี่มันมีชีวิต วิญญาณ คือความเป็นพุทธะนี่มันงอกเป็นต้น เป็นอะไรขึ้นมาแล้ว มันเหลือแต่ว่ามันจะเป็นลูกเป็นดอก เป็นดอกเป็นลูก มีการบรรลุมรรคผลนิพพานนี่ถือว่าเป็นดอกเป็นลูก นี่ถึงที่สุดคือการบรรลุนิพพาน
.... (1.10.00) มันก็จะมีหลักว่ารดน้ำพรวนดินไอ้เนี่ย ไอ้สิ่งที่เรียกว่าธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะให้มันโล่งลงมา วิธีเค้าจึงไม่มีมาก ใช้วิธีปลูกแรง ๆ คล้าย ๆ กับพรวดเดียวต้นไม้โตขึ้นมาเป็นดอกเป็นลูกเลย ไอ้เรานี่ค่อยเป็นค่อยไป เหมือนกันรดน้ำบ้าง ไม่รดบ้าง ใส่ปุ๋ยบ้าง ไม่ใส่ปุ๋ยบ้าง มันเจริญช้าเหลือเกิน ตายซะก่อน ทนไม่ได้ การรดน้ำพรวนดินเค้าเรียกว่าเหตุปัจจัย อันนี้สำคัญมาก เหตุปัจจัยไม่เหมาะสมแล้วมันก็ไม่เจริญ มันตาย
เอ้า คุณดูสิ นี่ผมไม่ได้หลอก ต้นไม้ต้นนั้นมีอยู่เดิม ต้นมังคุดน่ะ ต้นเล็กนี่มีอยู่เดิม แต่ต้นไม้ต้นนี้น่ะมาจากทีหลังกว่า เพิ่งปลูกเร็ว ๆ นี้ ไอ้การปลูกนี้มันปลูกด้วยเหตุปัจจัย มันขุดหลุม มันใส่ปัจจัย มันโตเร็วกว่า ต้นไม้ที่เราปลูกนี้มันโตกว่าต้นไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เพราะมันขุดหลุม อย่างต้นจำปีนี้ โตไม่น่าเชื่อ 4-5 ปี เพราะมันขุดหลุม ใส่ปุ๋ยคือปัจจัย ขุดหลุมท่วมหัว ใส่พืชผุ ๆ ลงไปเต็มหลุมแล้วจึงปลูก มันก็โตเหมือนอย่างกับวิ่ง ส่วนที่มันงอกของมันเอง ดินมันแข็ง รากมันไม่ลงได้ ไม่มีปุ๋ยด้วย โตช้ากว่ากัน 10 เท่า 20 เท่า นี่หมายถึงไม้อย่างเดียวกัน ต้นไม้ชนิดเดียวกัน ต้นมะพร้าวก็ดี ที่เราขุดหลุมท่วมศีรษะไป ใส่พืชผุพังเน่าเปื่อยเต็ม เราปลูกน่ะ แล้วก็อีกลูกหนึ่ง ไอ้มะพร้าวที่มีหน่อเหมือนกันวางไว้เฉย ๆ บนดิน มันจะโตเร็วกว่ากัน 20 เท่า นี่อย่าทำเล่นกับเหตุปัจจัย
ทุกคนมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะมาเท่ากัน เมื่อคนหนึ่งเต็มไปด้วยอุปสรรคขัดขวาง มันก็ไม่ไหว ตายเลย คนหนึ่งมันไม่ได้ใส่ปุ๋ยบำรุงเป็นพิเศษมันก็เลย คนหนึ่งมันใส่ปุ๋ยถูกวิธีมันก็ไปเร็ว นี่มันเป็นหลักกลาง ๆเท่านั้นแหละ มันยังมีไอ้เหตุแทรกซ้อนอย่างอื่นซึ่งทำให้สับสนอีกมาก
เราดูโดยหลักส่วนใหญ่ทั่วไปทั้งโลก ทั้งหมดด้วยกันทั้งสิ้นแล้ว มันไม่มีความมุ่งหมายที่จะให้ไอ้เชื่อความเป็นพุทธะนี่เจริญ มันไม่มีความมุ่งหมายในการศึกษา ในประเทศไหน ชาติไหน ภาษาไหนมันไม่มี ก็การศึกษามุ่งแต่จะหาใส่ปากใส่ท้อง หรือว่าจะให้เจริญด้วยสติปัญญาก็เจริญสติปัญญาเพื่อปากเพื่อท้อง อย่างนี้มันเลยไม่เป็นเชื้อ ไม่เป็นการบำรุงเชื้อแห่งความเป็นพุทธะให้เจริญ แม้ฉลาดมันก็ฉลาดไปทางอื่น หาเงินเก่ง หาอะไรเก่งมันก็ฉลาด แต่มันไม่พบไอ้ความที่มนุษย์จะมีจิตใจอยู่เหนือความทุกข์ได้ มันต้องเดินถูกทางของไอ้ความเป็นพุทธะเนี่ย จิตใจจะอยู่เหนือความทุกข์โดยประการทั้งปวง นี่ไปทำอะไรก็ได้ ไม่มีความทุกข์เลย นี่ผมเรียกว่าเพราะว่าคนทั้งหมดในโลกนี้ไม่รู้ว่าตัวเกิดมาทำไม เกิดมาเพื่ออะไร เกิดมาทำไมไม่รู้ จึงทำผิดวิธี เลยเดินไปทางอื่นหมด ถ้าเค้ารู้ว่ามันเกิดมาเพื่อถึงที่สุดของความเป็นมนุษย์คือเป็นพุทธะนี่ก็ มันก็ง่ายนี่ เชิญกันมีหลักสูตรการศึกษาชนิดที่ทำให้คนเรามีหูตาสว่างในทางจิตใจ ในทางวิญญาณ ทางความทุกข์เกี่ยวกับจิตใจ ให้ได้ไอ้ความไม่มีทุกข์นี่เสียก่อน แล้วต่อจากนั้นจะทำมาหากิน จะเป็นอะไรก็ได้ ล้วนแต่ถูกไปหมด มีเงินมากก็ไม่เป็นตัวกังสลกะ คนอื่นพลอยได้รับประโยชน์ มีความสุขกันไปหมด เดี๋ยวนี้มันขาดความรู้ข้อนี้ มีเงินมาก มีอำนาจ มีวาสนามากก็เป็นกังสลกะ ก็เลยน่าเศร้า
บวช 90 วันนี่ ศึกษาให้มันเข้ารูปเข้าเรื่องเข้าจังหวะหน่อย 90 วันนี่จะได้ความรู้พอตัว มันก็สมควรแก่เวลาแล้วที่ปิดประชุม จะไปทำอะไรหรือว่าจะอยู่ดูพุทธมามกะเด็ก ๆ ก็ได้ มานั่งที่นี่แถวนี้