แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ท่านพุทธทาส : ก็อย่าเผลอ//
ผู้ถาม :มันอดเผลอไม่ได้ ทีนี้จะทำวิธีไหน อยากจะให้หลวงพ่อแนะนำว่าวิธีไหนที่ว่า..โดยที่ไม่ต้องระวัง//
ท่านพุทธทาส : ไม่ต้องระวัง จะทำอย่างไรได้//
ผู้ถาม : คือตอนนี้ หาวิธีปฏิบัติในแง่ไหน มีไหมค่ะที่ไม่ต้องระวัง//
ท่านพุทธทาส : ต้องเป็นพระอรหันต์เสียก่อน จึงไม่ต้องระวัง เป็นพระอรหันต์แล้วไม่ต้องระวัง/ เป็นพระอรหันต์แล้วไม่ต้องระวัง ถ้ายังไม่เป็นพระอรหันต์ ยังต้องระวังอยู่//
ผู้ถาม : ระวังกันเรื่อยไปหรือค่ะ//
ท่านพุทธทาส : ถ้ากิเลสมันยังมีอยู่ ก็ต้องระวังกันเรื่อยไป ถ้าหมดกิเลสแล้วก็ไม่ต้องระวัง//
ผู้ถาม : เรื่องนี้ เรายังไม่มีกำหนดหรือค่ะ//
ท่านพุทธทาส : ถ้ายังไม่หมด ก็ต้องระวังกันต่อไป/ ก็ต้องระวังต่อไปแหละถ้ายังไม่หมด ต้องระวังต่อไป/ ทีนี้ก็เหลืออยู่แต่ระวัง อย่าเผลอให้มันเกิดเรา เกิดเขา//
ผู้ถาม : มันอดเผลอไม่ได้ //
ท่านพุทธทาส : ถ้าเกิด มันก็เป็นทุกข์//
ผู้ถาม : ดิฉันก็อยากจะหาวิธีให้หลวงพ่อช่วยแนะนำว่า จะปฏิบัติอย่างไร ให้มันเป็นการโดยที่ไม่ต้องระวัง//
ท่านพุทธทาส: อ้าว,ถ้ากิเลสยังมี ก็ต้องระวังอยู่แหละ//
ผู้ถาม : ที่ว่ามันเห็นสักแต่ว่าเห็น รู้สึกแต่ว่ารู้ ให้มันเป็นโดยอัตโนมัติของมันเอง อย่างนั้นแหละค่ะ แล้วก็รู้ได้แล้ว ก็ให้เข้าใจที่ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งหมดนี้ มันอยู่ในอำนาจของพระไตรลักษณ์ โดยที่ว่าไม่ต้องระวังและมันก็รู้ด้วย อยากจะหาวิธีหลักปฏิบัติ//
ท่านพุทธทาส : ไม่ได้หรอก/ ที่ว่าเห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยินนั้น นั่นแหละคือระวัง คือระวังอย่าให้เป็นอย่างนั้น ต้องระวัง ที่จะไม่ให้ระวังมันทำไม่ได้ ต้องมีสติระวัง และมีปัญญาที่รู้//
ผู้ถาม : อยากจะหาวิธีแก้ไม่ให้มันเผลอ ให้มันเป็นตัวของมันเอง//
ท่านพุทธทาส : เป็นตัวของอะไร เป็นตัวของอะไร//
ผู้ถาม : ของสติ ค่ะ//
ท่านพุทธทาส : อ้าว, ถ้าเป็นตัวสติ ก็ต้องระวังแหละ/ ถ้าสติ ก็ต้องระวังแหละ จะให้มีสติต้องระวัง ต้องระวังให้เก่งขึ้นกว่าเดิมแหละ//
ผู้ถาม : อยากจะหาวิธีว่า รวมอารมณ์ให้เราอยู่ในความสงบได้//
ท่านพุทธทาส : มันก็ระวังเหมือนกันแหละ//
ผู้ถาม : ต้องใช้ระวังอย่างเดียวหรือคะ//
ท่านพุทธทาส : นั่นมันก็คือระวังชนิดหนึ่ง คือมันคอยนึกอยู่แต่สิ่งที่ถูกต้อง มันคอยนึกอยู่แต่สิ่งที่ถูกต้อง ถ้าเผลอ สิ่งที่ไม่ถูกต้องก็เกิดขึ้นในจิตใจ//
ผู้ถาม : ฉะนั้นก็ให้ใช้สติ//
ท่านพุทธทาส : เหมือนกันนั่นแหละ ถ้ามีปฏิบัติแล้ว ต้องมีสติแหละ//
ผู้ถาม : ปฏิบัติต้องใช้สติทุกเวลา/ ทีนี้มาถามหลวงพ่อว่าจะใช้วิธีไหนที่นอกเหนือจากการระวัง โดยให้มันเป็นไปโดยอัตโนมัติของมันเอง คือว่าให้มันเป็นตัวสติเลย คือไม่ต้องระวัง ให้มันเป็นตัวของตัวเอง อย่างนี้ค่ะ จะหาวิธีไหนลัดที่สุดที่จะทำได้ ดิฉันอยากจะให้หลวงพ่อแนะนำ แล้วจะได้เอาไปปฏิบัติ//
ท่านพุทธทาส : มันไม่พ้นไปจากสติหรอก //
ผู้ถาม : ระวังนี้ มันอดเผลอไม่ได้ พอเผลอมันลืมสติทุกที//
ท่านพุทธทาส : นั่นแหละ มันจะวิธีไหน อย่างไหน ลัดอย่างไร ก็ไม่พ้นไปจากสติ สติให้มันถูกต้องอยู่ หรือเรื่องสติปัฏฐานก็ได้ หรือเรื่องไตรลักษณ์ก็เหมือนกัน เมื่อยังมีกิเลสอยู่ มันยังต้องระวังอยู่ ไม่มีทางอื่น สติเป็นเรื่องที่ต้องใช้//
ผู้ถาม : อยากให้สติ ตัวเหนือโลกนี้ ให้มันเหนือโลกเสียที//
ท่านพุทธทาส : ให้เหนือโลก มันก็ต้องหมดกิเลสแหละ/
ผู้ถาม : ก็ถูกแล้ว จึงอยากจะถามหลวงพ่อดูว่าจะให้ทำอย่างไร คืออยากจะหาวิธีลัด//
ท่านพุทธทาส : ก็ทำให้หมดกิเลสเสียสิ//
ผู้ถาม : ทำอย่างไร คือจะหาวิธีสักข้อหนึ่ง//
ท่านพุทธทาส : ก็ต้องมีสติ มีสติอยู่ตลอดเวลา//
ผู้เถาม : ขอความเห็นหน่อยค่ะ ว่าจะทำอย่างไร ให้สติ มันเป็นตัวสติ//
ท่านพุทธทาส : อ้าว,ก็ทำอยู่ตลอดเวลานั่นไง/ มีสติอยู่ตลอดเวลา ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา ต้องเข้าใจอย่างนี้ก่อน ถ้าเผลอ ก็มา นี่สำหรับที่ยังมีกิเลส ถ้าหมดกิเลสแล้วไม่มีเผลอหรอก ถ้าหมดกิเลสแล้วมันก็ไม่มีเผลอ เพราะมันไม่มีอะไรมา ถ้ายังไม่หมดกิเลส มันก็ต้องตั้งสติ เพื่อให้กิเลสไม่ได้เหยื่อ ไม่ได้อาหารหล่อเลี้ยง นานเข้ามันก็ตายไปเอง ฉะนั้นอยู่อย่างมีสติสิ กิเลสมันก็จะค่อยๆ จางไป/ พอโลภทีหนึ่ง ก็ให้อาหารแก่กิเลสทีหนึ่ง เขาเรียกว่าราคานุสัย พอโกรธทีหนึ่ง ก็ให้อาหารแก่กิเลส เขาเรียกปฏิฆานุสัย พอหลงทีหนึ่ง ก็ให้อวิชชานุสัย ก็อย่างนั้นแหละมันให้อาหารแก่กิเลสไว้เรื่อย กิเลสมันก็อ้วนมากขึ้น ก็ละยากระวังยากขึ้น/ ต้องสังเกตดูให้ดี พอเราโลภทีหนึ่ง มันก็เพิ่มอนุสัยที่เรียกว่าราคานุสัย คือจะโลภเก่งขึ้นนั่นเอง พอโกรธทีหนึ่ง ก็เพิ่มปฏิฆานุสัย ก็คือจะโกรธเก่งขึ้นอีก พอหลงทีหนึ่ง ก็เพิ่มอวิชชานุสัย ก็จะมีอวิชชาเก่งขึ้นอีก ทีนี้เราไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง นี่คือไม่เผลอ ระวังอยู่เรื่อย ทีนี้มันก็ไม่เพิ่มที่ว่านั้น ไม่เพิ่มราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย มันมีแต่จางไปๆ นานเข้ามันถึงเวลาที่มันหมด/ นี้ก็พูดไว้อีกทีหนึ่งว่า เมื่อเสวยสุข เสวยสุขอย่างนี้ธรรมดาอย่างนี้ ก็เพิ่มราคานุสัย เสวยทุกข์ก็เพิ่มปฏิฆานุสัย ไม่สุขไม่ทุกข์ก็เพิ่มอวิชชานุสัย มีการระวังเมื่อได้สุขได้ทุกข์ อย่าให้มันเพิ่มอนุสัย อย่าให้มันเกิดโลภ เกิดหลง มันเพิ่มอนุสัย ทีนี้เมื่อไม่เกิดอนุสัยอยู่ตลอดเวลา ความเคยชินของกิเลสก็ลดลงๆ จนถึงวันหนึ่งคืนหนึ่งเมื่อไหร่ก็ไม่รู้แหละ มันแล้วแต่การปฏิบัติ มันขาดสูญไปสำหรับกิเลส ก็เรียกว่าเป็นพระอรหันต์ ตอนนี้ไม่ต้องระวังแล้ว//
ผู้ถาม : กิเลสมันจะขาดสูญไป เมื่อมีการระวังสติ อย่างนั้นหรือคะ//
ท่านพุทธทาส : นั่นแหละคือหลัก หลักทั่วไปมันเป็นอย่างนั้น ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา ทีนี้ถ้าว่าจะให้เร็วเข้า ก็ต้องพิจารณาเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พร้อมๆ กันไปด้วย สติก็มีอยู่//
ผู้ถาม : นี่แหละค่ะ อยากจะให้มันรู้ด้วย และก็ให้เห็นแจ้งในอนิจจังว่า โลกทั้งหลายนี้อยู่ในอำนาจของพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้รู้แจ้งแล้วแทงทะลุไปเลย ให้รู้จริงเลย นี่อยากจะรู้ตรงนี้ให้มันจริงสักที//
ท่านพุทธทาส : ก็ต้องขยันพิจารณา/ มันไม่ได้หรอก มันบอกได้แต่วิธี ทีนี้ก็ต้องไปทำเองสิตลอดเวลา วิธีก็คืออย่างนี้แหละ คือว่าตามธรรมดานี้ให้พิจารณา คือให้เห็นอยู่ว่าดูนั่นดูนี่ ดูให้เห็นว่ามันไม่เที่ยง หรือมันยึดถือไม่ได้ มันไม่ควรยึดถือ นั่นแหละขยันดูบ่อยๆ นี่เรียกว่าเรื่องปัญญา ต้องทำสติ อย่าให้มันเผลอไป ไปยึดถือเข้า อันนี้เรียกว่าสติเมื่ออยู่อย่างนี้ทุกวันๆ / ถ้าทำถูกก็ได้ผลดี ถ้าทำไม่ถูก ก็ไม่เคยได้ผล//
ผู้ถาม : แล้ววิธีที่ถูกมันทำอย่างไร//
ท่านพุทธทาส : อ้าว, ก็นั่นแหละ ศึกษาวิธีไหน ก็ทำวิธีนั้นแหละ ทำให้ถูก จะใช้วิธีไหนก็ได้//
ผู้ถาม : ทำให้อารมณ์ว่างๆ เฉยๆ หรือกำหนดลมหายใจหรือว่าจะต้องมีหลักอะไร//
ท่านพุทธทาส : มันก็ต้องเลือกเอาแบบใดแบบหนึ่ง มันใช้ได้กันทุกแบบ//
ผู้ถาม : ดิฉันอยากจะให้หลวงแนะนำหลักที่มันได้ผล//
ท่านพุทธทาส : ก็เรื่องอานาปานสติ ไปหาอ่านดูให้เข้าใจให้แจ่มแจ้ง อานาปานสติ//
ผู้ถาม : ๔๐ ข้อนี้หรือคะ//
ท่านพุทธทาส : นั่นไม่ใช่ นั่นไม่ใช่/ นั่นเขาเรียกว่าสมถกัมมัฏฐาน ๔๐ //
ผู้ถาม : เหรอคะ//
ท่านพุทธทาส : นั่นก็มีสอนกันอยู่ ซึ่ง ๔๐ ข้อนั้นมันเรื่องสมถกัมมัฏฐาน/ ส่วนอันนี้เขารวมกันหมด ทั้งสมถะทั้งวิปัสสนา ทั้งมรรคผลนิพพานนั้น รวมอยู่ในอานาปานสติ ๑๖ ข้อ ๑๖ ขั้นนั่นแหละ//
ผู้ถาม : แล้วอานาปานสตินี้ ที่เขาบอกว่ากำหนดลมหายใจเข้าออกนี้ มันจริงไหมคะ//
ท่านพุทธทาส : จริงอย่างไร ไม่จริงอย่างไร//
ผู้ถาม : ดิฉันไม่ทราบค่ะ ต้องถามหลวงพ่อ//
ท่านพุทธทาส : โอ้,ก็ไปกำหนดกันดูสิ//
ผู้ถาม : อานาปานสตินี้ เป็นเรื่องกำหนดลมหายใจ บางคนเขาว่าไม่ใช่ ทีนี้ดิฉันก็สงสัย ก็เลยมาถามหลวงพ่อว่ามันใช่หรือเปล่า//
ท่านพุทธทาส : อานาปานสติ ก็แปลว่ากำหนดข้อธรรมะข้อใดข้อหนึ่งอยู่ทุกครั้งที่หายใจออกและหายใจเข้า/ กำหนดที่ธรรมะข้อใดข้อหนึ่งอยู่//
ผู้ถาม : แล้วธรรมะข้อใดข้อหนึ่งนี้ มันจะกำหนดอย่างไร/
ท่านพุทธทาส : ทีแรกก็ลมหายใจยาว ต่อมาก็ลมหายใจสั้น ต่อมาก็รู้หน้าที่ของลมหายใจ ต่อมากำหนดความระงับแห่งลมหายใจ ต่อมากำหนดปีติ ต่อมากำหนดเวทนา ต่อมากำหนดความที่ปีติสุขนั้นปรุงแต่งจิต ต่อมากำหนดความที่ปีติและสุขไม่ค่อยจะปรุงแต่งจิต แล้วก็กำหนดตัวจิตเองว่าจิตเป็นอย่างนั้นๆ แล้วกำหนดความที่เราทำจิตให้บันเทิง การทำจิตให้ตั้งมั่น การทำจิตให้ปล่อยสิ่งที่มารบกวนจิต แล้วกำหนดอนิจจัง แล้วก็กำหนดวิราคะ แล้วกำหนดนิโรธะ แล้วกำหนดปฏินิสสัคคะ สองอันหลังนี้เป็นมรรคผล ๑๖ขั้นนี้ไปอ่านดูในหนังสือ เขาเขียนไว้ชัดมาก อย่างนี้เรียกว่าอานาปานสติแบบนี้ แบบอื่นก็มี ที่เขาสอนกันแบบอื่นก็มี นี่แบบที่มีอยู่ในบาลีเป็นอย่างนี้/ ๑๖ ขั้นแบ่งเป็นสี่หมวด หมวดละสี่ขั้น หมวดหนึ่งเรียกว่ากายานุปัสสนา หมวดสองเรียกว่าเวทนานุปัสสนา หมวดสามเรียกว่าจิตตานุปัสสนา หมวดสี่เรียกว่าธัมมานุปัสสนา ก็คือสติปัฏฐาน ๔ เมื่อเจริญอยู่ทั้งสิบหกขั้นก็คือสติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔บริบูรณ์ ก็โพชฌงค์ทั้ง ๗ ก็บริบูรณ์ โพชฌงค์ทั้ง ๗ บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตติก็เกิดขึ้น คือการสิ้นกิเลสสิ้นทุกข์/ ถ้าชอบแบบอานาปานสติ ก็ต้องศึกษาอย่างนี้//
ผู้ถาม : ค่ะ ต้องศึกษาถามท่านผู้รู้ เราจึงจะทำถูก/ คือถ้ามามัวแต่พูดแล้วไม่ทำ มันก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร//
ท่านพุทธทาส : นั่นแหละมันต้องทำ นั้นแน่นอน/ นี่ก็เป็นรู้หลักสำหรับไปทำ ศึกษาหลักไปสำหรับจะทำ ทีนี้ทำแล้วมันก็ยังไม่รู้ว่าทำเป็นหรือไม่เป็น ทำได้หรือไม่ได้//
ผู้ถาม : นี่ก็กลัวว่าเป็นหรือไม่เป็น ก็เลยต้องมาถามหลวงพ่อ ก็กลัวว่าทำผิดน่ะสิ//
ท่านพุทธทาส : ก็ต้องทำเรื่อยไปแหละ จิตมันสอนมันเองในตัว//
ผู้ถาม : ก็กลัวจะทำไม่เป็น ก็เลยมาถามหลวงพ่อให้ช่วยแนะนำวิธีทำ//
ท่านพุทธทาส : เหมือนสอนให้เด็กเดิน ไม่ต้องสอน มันค่อยๆ นั่นของมันไป มันเดินได้ในที่สุด/ เหมือนกับเด็กเล็กๆ ตอนเดิน จะไปทำอย่างไรได้ มันก็ต้องแนะวิธีให้ แล้วมันก็ค่อยๆ เดินเป็น พอพลาดไปมันก็สอนให้ทีหนึ่งว่าอย่างนี้มันพลาด อย่าทำ เดี๋ยวก็ไปทางที่ถูก มันก็ไปได้ มันโตขึ้นทุกวัน โตขึ้นทุกวันนี้เขาก็เรียกว่าภาวนา ภาวนาแปลว่าเติบโตขึ้นทุกวันคือความเจริญนั่นแหละ คำว่าภาวนาแปลว่าความเจริญเติบโตขึ้นทุกวัน ทีนี้ปฏิบัติให้ถูก ปฏิบัติให้ถูก แล้วสติปัญญามันเจริญเติบโตขึ้นทุกวันๆ มันทันกับที่จะระวังกิเลสหรือว่ากำจัดกิเลสหรือว่าตามที่เราต้องการจะไม่ให้มีกิเลส ถ้าสนใจมันก็ต้องศึกษาจริงสิ ถ้าสนใจอานาปานสติก็ต้องไปเอาแบบแผนมาศึกษากันจริงๆ มันจำไม่ได้หรอก คุณจำได้หรือ บอกให้ ๑๖ ข้อ จำไม่ได้ อาตมาจำได้ สี่ข้อแรกนี้ กำหนดลมหายใจยาว กำหนดลมหายใจสั้น กำหนดลมหายใจปรุงแต่งกาย กำหนดความที่ลมหายใจระงับลงๆ กายระงับลง นี่สี่ข้อ เขาเรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทีนี้หมวดที่ ๒ มีสี่ข้อ ก็คือว่าอันสุดท้ายนี้ที่ว่า กายระงับลงนี้มันให้เกิดปีติขึ้นมา กำหนดปีติและเกิดสุข แล้วกำหนดสองอย่างนี้มันปรุงแต่งจิต แล้วกำหนดที่มันปรุงแต่งน้อยจนจิตมันสงบลงๆ สี่ข้อนี้เขาเรียกว่าเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน อีกสี่ข้อ ทีนี้หมวดที่ ๓ กำหนดจิต ขั้นที่หนึ่งกำหนดจิต จิตอย่างไร จิตกำหนดเป็นอย่างไร มีราคะหรือไม่มีราคะ มีโทสะหรือไม่มีโทสะ อันที่สอง กำหนดว่าเราทำจิตให้ปราโมทย์บันเทิงดูซิ ได้ไหม มันก็ได้ ก็กำหนดความที่มันปราโมทย์บันเทิง ข้อที่สามคืออันนี้ เอ้า,ทำให้มันหยุดอยู่นิ่งๆ ตั้งมั่นก็ได้ ทีนี้ให้มันปล่อย ให้มันปล่อยสิ่งที่มารบกวนจิตก็ได้ สี่นี้เขาเรียกว่าจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน อีกสี่ เป็น ๑๒ แล้วนะ ทีนี้อันสุดท้ายก็ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน กำหนดอนิจจัง อนิจจังในทุกสิ่ง ลมหายใจยาวก็อนิจจัง ลมหายใจสั้นอนิจจัง อะไรที่แล้วมาแต่หลังนั้นก็ล้วนอนิจจังทั้งนั้นแหละ ไม่ต้องเอาข้างนอกหรอก เอาข้างในนี่แหละ ที่เรารู้สึกอนิจจัง เห็นอนิจจังชัด มันก็เกิดวิราคะ กำหนดวิราคะ คือมันจางลง มันเพลาลง มันอ่อนลงของกิเลสนี้ ทีนี้ก็เลื่อนไปอันที่ ๑๕ นิโรธ ที่สิ้นดับแห่งกิเลสหรือทุกข์ อันสุดท้ายปฏินิสสัคคะ กำหนดว่าเดี๋ยวนี้ทุกข์ออกไปหมด สลัดออกไปหมด นี่อีกสี่ขั้นในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน รวมกันมันก็เป็น ๑๖ คุณจำได้หรือ//
ผู้ถาม : ยังจำไม่ได้//
ท่านพุทธทาส : จำไม่ได้ก็ต้องไปจำสิ ก็ต้องไปศึกษาสิ มันจะได้ปฏิบัติไปอย่างนั้นอย่างไรเล่า/ จำได้แต่คำว่าอานาปานสติคำเดียวแล้วมันจะทำถูกหรือ/ มันก็มีสี่หมวด หมวดละสี่ข้อ เป็น ๑๖ ข้อ หรือ ๑๖ ขั้น นี่ถ้าสนใจแบบนี้ก็ศึกษาแต่แบบนี้แหละ มันก็ครบบริบูรณ์เหมือนกัน มันเป็นศีลอยู่ในนั้น เพราะว่าเราตั้งใจพยายามที่จะบังคับจิตนั่นแหละ มันเป็นเจตนาที่เป็นศีล คือบังคับสำรวมอยู่ในนั้น แล้วพอเป็นสมาธิ ก็เป็นสมาธิอยู่ในนั้น พิจารณาลมหายใจอยู่มันเป็นปัญญาอยู่ในนั้น เป็นศีล สมาธิ ปัญญา/
ผู้ถาม : แล้วสมาธิอย่างนี้ได้ผลไหมค่ะ คือวิธีทำอย่างนี้น่ะค่ะ คือเรารวมอารมณ์ทั้งหมด หรือตัวรู้ทั้งหมด//
ท่านพุทธทาส : รู้ไม่ใช่สมาธิ ถ้ารู้ก็เป็นปัญญาแหละ//
ผู้ถาม : ไม่ใช่ค่ะ รู้เฉพาะสิ่งเดียวนี้ค่ะ ถ้าทำอย่างนี้ได้ผลไหมค่ะ//
ท่านพุทธทาส : อ้าว,แล้วคุณทำ ทำไมคุณไม่รู้ล่ะ ได้ผลหรือไม่ได้ผล//
ผู้ถาม : คือว่าเดี๋ยวนี้เราทำนิดหน่อย แต่ว่าผลที่จะได้มันเป็นอย่างไร//
ท่านพุทธทาส : อ้าว,มันก็ได้นิดหน่อยอย่างไงเล่า/ ข้อนี้มันต้องไปลองดู ต้องไปลองดู ถ้าเห็นว่ามันดี ก็ใช้ได้เลย เอาได้เลย แต่ในบาลีเขาก็วางไว้อย่างนี้แหละ อย่างที่ว่าไว้ให้ฟังนี้แหละ คือมันเป็นคราวเดียวกันหมด ศีลสมาธิ ปัญญา มรรค ผล นิพพาน ๑๖ ขั้นนี้มีหมดอยู่ในนั้น ทั้งศีล ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา ทั้งมรรคผลนิพพาน รวมอยู่ในนั้น แยกให้เป็น ๑๖ ขั้น ทำเรื่องเดียวก็พอ ไม่ต้องทำหลายเรื่อง//
ผู้ถาม : เอาเรื่องไหนดีค่ะ//
ท่านพุทธทาส : ก็ ๑๖ ขั้นนี้แหละ เรื่อง ๑๖ ขั้นนี้ เรื่องอานาปานสตินี้ นั่นแหละคือหมดแล้ว หมดไม่มีอะไรเหลือ คือเขียนให้อ่านง่ายๆ เล่มที่เรียกว่าอานาปานสติสำหรับนิสิตนั้น เล่มนั้นจะอ่านง่ายกว่าเพื่อน อย่างละเอียดก็มี อย่างย่อๆ ก็มี คือว่าต้องรู้สึกอยู่ทุกครั้งที่หายใจเข้าออกในเรื่องที่กำลังทำนั้น ทำอะไรอยู่ต้องรู้จักรู้สึกสิ่งนั้นอยู่ทุกครั้งที่หายใจเข้าออก ไม่ใช่ว่ากำหนดลมเฉยๆ กำหนดธรรมะข้อใดข้อหนึ่งอยู่ทุกครั้ง ทีนี้ก็ทำให้แน่นแฟ้นสิ ที่เราทำเราทำไม่แน่นแฟ้น ที่จริงก็ทำแต่ปากด้วย ที่ทำจริงๆ มันก็ไม่แน่นแฟ้น ทีนี้ต้องทำให้แน่นแฟ้น ทำให้แน่นแฟ้น //
ผู้ถาม : ทีนี้บางคนนะครับ ที่พูดว่าสมาธินี้ไม่ควรกระทำ ควรจะใช้อารมณ์ที่มันเกิด คุมอายตนะ ผัสสะ //
ท่านพุทธทาส : คุมนั้น ไม่ใช่สมาธิ//
ผู้ถาม : ทีนี้จิตมันจะไวได้ถึงขนาดนั้นหรือครับ ถ้ามันไม่มีการฝึกสมาธิ ผมยังข้องใจอันนี้//
ท่านพุทธทาส : อู้,พูดไขว้ไปไขว้มา ถ้าจิตมันไปกำหนดอะไร มันก็เป็นสมาธิแล้ว แม้แต่เราคิดนึกอะไร มันก็เป็นสมาธิอยู่ด้วยตัวมันเอง เรียกว่าสมาธิที่พอเหมาะพอดีมันมีอยู่เอง เช่นไปพิจารณาอนิจจังไม่เที่ยงนี้ นั่นแหละมันเป็นสมาธิอยู่ที่มันไปกำหนดที่อนิจจัง มันเป็นปัญญาเมื่อไปพิจารณาว่าอนิจจังเป็นอย่างไร แล้วความที่ตั้งอกตั้งใจทำนี้มันเป็นศีล เช่นว่าคุณพิจารณาเรื่องอนิจจังนี้ มันก็เป็นทั้งศีล ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา ถ้าเกิดเห็นแจ้งเข้ามาด้วย มันก็เกิดเป็นมรรคผลขึ้นมา ที่พูดว่าไม่มีสมาธินั้นมันไม่ได้หรอก มันพูดได้แต่เพียงว่ามันออกหน้ากว่ากัน บางทีสมาธิออกหน้าปัญญา บางทีปัญญาออกหน้าสมาธิ คนที่มันมีหัวสมองชอบคิดมาแต่กำเนิดนี้ มันก็เอาปัญญามาออกหน้าสมาธิ คนที่มันชอบหนักแน่นบึกบึนมาแต่กำเนิดนี้ สมาธิมันก็ออกหน้าปัญญา แต่แล้วมันมีทั้งปัญญาทั้งสมาธิ แล้วศีลมันมีทันทีเมื่อเราตั้งใจจะทำอะไร ก็เรียกว่าเจตนาที่จะบังคับตัวเอง จะบังคับกายวาจาใจอะไรให้มันทำอันนี้ให้ได้ นี้เป็นศีล ทีนี้คนเขาไม่มอง แต่พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ หรือคัมภีร์ไหนๆ ก็อธิบายอย่างนี้แหละ เจตนาจะกำหนดลมหายใจนั้นมันเป็นศีล แล้วการที่กำหนดเข้าไปที่ลมหายใจนั้นมันเป็นสมาธิ แล้วมันรู้เรื่องลมหายใจนั้นมันเป็นปัญญา ก็ทำอย่างนี้เรื่อยไป มันก็แรงขึ้น ทั้งศีล ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา ไม่ต้องทำหลายพรรคหลายฝ่ายหรอก นี้อธิบายกันมากจนทำไม่ไหว แต่ในบาลีไม่มีอย่างนั้น//
ผู้ถาม : บางทีตัดเลย ตัดสมาธิออกเลย ไม่ต้องไปทำพิธีการนั่งเนิ่งอะไร//
ท่านพุทธทาส : นั่นแหละมันพูดไม่ถูก/ พอไปกำหนดอะไรเข้ามันเป็นสมาธิทันที จะไปกำหนดเรื่องนั้นสำหรับพิจารณา มันก็เป็นสมาธิอยู่ส่วนหนึ่ง เป็นปัญญาอยู่ส่วนหนึ่ง//
ผู้ถาม : เขาจะเอาใช้แบบสมาธิที่มันเกิดตามธรรมชาติ//
ท่านพุทธทาส : นั่นมันฝึกเฉพาะสมาธิอย่างรุนแรง มันก็มีเหมือนกัน ให้เกิดฌานเกิดอะไรก็อย่างรุนแรง แต่ในพร้อมกันนั้นมันต้องมีศีลมีปัญญาเจืออยู่ด้วยเสมอ มันแยกกันไม่ได้ เช่นว่าทำให้เป็นฌานนี้ มันก็ต้องมีปัญญารู้อารมณ์ รู้นิมิต รู้อะไรต่างๆ นี้มันเป็นส่วนของปัญญา แต่ไม่ได้ดูอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเท่านั้นเอง ฉะนั้นสามอันนี้ต้องไปด้วยกัน//
ผู้ถาม : ความเข้าใจของผมว่า ถ้าสมมติเราไม่มีการฝึกเสียบ้างนี่ มันจะให้มันไวต่ออารมณ์ มันไม่มีทางหรอก//
ท่านพุทธทาส : ไวต่ออารมณ์ทำไม//
ผู้ถาม : อารมณ์ที่มันกระทบแล้วดึงสติให้อยู่กับสมาธิครับ//
ท่านพุทธทาส : อ๋อ,ไวต่ออารมณ์ ก็คือไวต่อสติ//
ผู้ถาม : ที่จะดึงสติไม่ให้มันเกิดโง่ไป//
ท่านพุทธทาส : ให้สติมันไวในการรับอารมณ์ ก็ได้//
ผู้ถาม : ความเข้าใจของผมว่าคงจะมีส่วนช่วยได้//
ท่านพุทธทาส : มันก็คือนั่นแหละ คือตัวปฏิบัติ คืออย่างนั้นแหละ ไม่ใช่ส่วนช่วยอะไร นั่นแหละคือตัวมัน นั่นแหละคือตัวของมันที่จะต้องเป็นผู้มีปรกติไม่ให้อารมณ์มันหลอกได้/ เอาล่ะ,วันนี้ก็จะพูดเรื่องนี้แหละ คุณคอยฟังให้ดีก็แล้วกัน ถึงรอบเขาแล้ว ถึงหัวข้อที่วางไว้//
ผู้ถาม : ผมใคร่ขอความกรุณาให้ท่านอาจารย์อธิบายคำว่าโมหะ เพราะมีหลายท่านที่เข้าใจว่าความว่างของท่านอาจารย์เป็นโมหะ อย่างเช่นนอนหลับอย่างนี้ ก็เป็นโมหะ มันว่างแบบโมหะ//
ท่านพุทธทาส : มันเนื่องจากคำพูดนั่นแหละ มันมีความหมายหลายชั้น ถ้าอย่างนั้นก็แปลว่าคนเราอยู่ด้วยโมหะตลอดเวลาสิ เว้นแต่เวลาโลภหรือโกรธ อย่างนั้นสิ//
ผู้ถาม : ครับ มันจะเป็นคล้ายๆ นอนไม่หลับ//
ท่านพุทธทาส : อ้าว,คุณพูดให้ชัดสิ ตามที่พูดนั้นก็หมายความว่าเว้นแต่เวลาที่โลภและโกรธ นอกนั้นก็เป็นโมหะอยู่ตลอดเวลา อย่างนั้นก็พูดไปแบบนี้ ถ้าตามแบบของพระพุทธเจ้า โลภะก็เพิ่งเกิด โทสะก็เพิ่งเกิด โมหะก็เพิ่งเกิด ต่อเมื่อมันมีอารมณ์มาให้เกิด แต่ที่เรามีโมหะอยู่ตลอดเวลานั้น ไม่ได้//
ผู้ถาม : เกิดเป็นขณิกะหรือเปล่าครับ//
ท่านพุทธทาส : มันก็แล้วแต่จะเกิด เกิดสั้นเกิดนานเกิดอะไรนี้ แล้วทุกอย่างก็เป็นขณิกะทั้งนั้น กิเลสทั้งหลายเป็นขณิกะ เกิดเป็นขณะๆ หมดเรื่องก็ดับไป ไม่มีอะไรที่จะทื่อเป็นอันเดียวกันได้ อย่างนั้นมันเป็นสัสสตทิฏฐิ คนที่พูดว่ามีอวิชชาอยู่ตลอดเวลานั้น พูดผิด นี่เป็นสัสสตทิฏฐิ อวิชชาก็เพิ่งเกิด พูดกันคนละแบบทั้งนั้นแหละ เราว่าอวิชชานี้เพิ่งเกิดต่อเมื่อมีอารมณ์มาทำให้เกิด ส่วนคนนั้นก็จะพูดว่าอวิชชาเกิดอยู่ในสันดานตลอดเวลาไม่มีว่างเว้น อย่างนี้เป็นสัสสตทิฏฐิ นี่ต้องจำความที่แตกต่างตรงกันข้ามเอาไว้//
ผู้ถาม : แล้วภาวะที่เป็นสันตติ ล่ะครับ//
ท่านพุทธทาส : สันตติ นั้น ก็ต่อกันๆ มันก็มีจิต มีลักษณะของจิต จิตมันต้องเกิดต่อกันอย่างนี้มันจึงจะเป็นความคิดนึกได้ ถ้าอย่างนั้นคนเราก็จะไม่รู้สึกอะไร เพราะว่าจิตเกิดดับ เกิดดับ อยู่เสมอ ทีนี้มันก็ต้องต่อกันได้ การเกิดครั้งก่อนกับการเกิดครั้งหลังต้องต่อกันได้ มันจึงจะเป็นเรื่อง ความคิดจึงจะเป็นเรื่อง ชีวิตจึงจะยังคงอยู่ อย่างนี้เรียกว่าสันตติ สันตติไม่ได้เกี่ยวถึงกิเลส มันเกี่ยวกับความต่อ มันต่อกันไม่ว่าง เขาเปรียบว่าเหมือนกับดวงไฟฟ้านั่นแหละ ที่จริงมันเป็นการเกิดดับ เกิดดับ ของกระแสไฟฟ้าที่เกิดในเครื่องส่งไฟฟ้านั่นแหละ แต่ความต่อมันต่อกันเนื่อง มันต่อเนื่องกันจนดูเหมือนกับว่ามันเกิดอยู่เรื่อย มันเหมือนเกิดอยู่เรื่อย อาการที่มันต่อเนื่องกันจนคนไม่รู้สึกนั้นเขาเรียกว่าสันตติ ถ้ามันทำช้าๆ ลง คนก็เห็น ถ้าเห็นก็เลยไม่เรียกว่าสันตติ นี้มันต่อเนื่องกันจนมองไม่เห็นเรียกว่าสันตติ//
ผู้ถาม : อย่างที่เมื่อคืนวันที่ ๑ มกราคมนั้น ที่ท่านอาจารย์พูดว่า ชีวิตก็เพิ่งเกิด อะไรๆ ก็เพิ่งเกิด หรือจะหมายถึงอย่างนี้กระมัง//
ท่านพุทธทาส : นั่นแหละ หมายถึงเมื่อเราไปรู้สึกเข้า ถ้าไม่ไปรู้สึกเข้า และโดยเฉพาะไม่ไปยึดถือเข้า เรียกว่ายังไม่มี รูปก็ยังไม่มี เวทนาก็ยังไม่มี สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ยังไม่มี แต่พวกนั้นก็จะพูดว่ามีอยู่ตลอดเวลา มันไม่พูดภาษาดับทุกข์ ไม่พูดภาษาเกี่ยวกับความทุกข์ รูปเมื่อทำหน้าที่ของรูป จึงจะเรียกว่ามันเกิด เวทนาก็เหมือนกัน เมื่อมันเกิดขึ้นในใจจึงจะเรียกว่าเวทนามี สัญญา สังขาร วิญญาณก็เหมือนกัน เมื่อมันทำหน้าที่ของมัน จึงจะเรียกว่ามันเกิดหรือมันมีอยู่ชั่วขณะนั้นแล้วมันก็ดับไปอีก ฉะนั้นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้จะเกิดดับอยู่เรื่อย ถ้าใครคิดว่ามันเกิดอยู่ตลอดเวลานี้ เขาเป็นสัสสตทิฏฐิ คือว่าเอาเอง และโง่ที่สุด//
ผู้ถาม : แต่ผัสสะครั้งแรกนี้มันก็ไม่เป็นปัญหาใช่ไหมครับ ต้องผัสสะครั้งที่สอง//
ท่านพุทธทาส : นั่นแหละ ผัสสะที่ใจ ไปรู้สึกต่อผลของการกระทบทีแรก กระทบทีแรกมันยังไม่เกี่ยวกับกิเลสหรือไม่เกี่ยวกับอวิชชา อวิชชาเรื่องตาเห็นรูปอย่างนี้ อย่างนี้ก็เรียกว่าผัสสะได้เหมือนกัน//
ผู้ถาม : ตอนนี้ช่วงนี้เขาเรียกว่าอะไรครับ บางท่านเขาเรียกว่าโมหะ มันจะถูกต้องไหม//
ท่านพุทธทาส : ยังไม่เป็นโมหะ ยังไม่เกี่ยวกับโมหะ มันต้องตาเห็นรูปเป็นต้น หรือหูได้ยินเสียง ตอนนี้ก็จะสัมผัส//
ผู้ถาม : อันนี้ผมก็บอกว่า ถ้าคุณไปจัดเป็นโมหะ มันก็เป็นกิเลสประเภทหนึ่งแล้ว พอจัดแบบนี้แล้ว ปภัสสระมันเลยใช้ไม่ได้//
ท่านพุทธทาส : มันยังไม่ถึง มันยังไม่ถึงกิเลส//
ผู้ถาม : เขาก็พยายามจัดช่วงว่างนี้เป็นโมหะอยู่เรื่อย ทีนี้ก็ไม่รู้จะปฏิบัติกันอย่างไรถูก//
ท่านพุทธทาส : อ้าว,ก็ตามถามเขาสิ//
ผู้ถาม : ...เสียงขาดหายไป (นาทีที่ 30:23) ..เป็นโมหะอย่างนั้น ช่วงว่างของปุถุชน//
ท่านพุทธทาส : ทีนี้เราไม่พูดอย่างนั้น//
ผู้ถาม : ครับ,อันนี้ผมก็บอกว่า ท่านก็บอกแล้วว่า ระยะอันนั้นมันเป็นอัพยากฤต อย่าไปตั้งมันเป็นอะไรเข้า ผมก็บอกว่าถูกแล้ว ถ้าไปตั้งเป็นโมหะ มันก็เป็นกิเลสฝ่ายหนึ่งแหละ ตกลง... เสียงไม่ชัดเจน (นาทีที่ 30:52)//
ท่านพุทธทาส : เราถือหลักว่า ถ้าเมื่อไหร่ไม่ได้เกิดความรู้สึกประเภทตัวกู-ของกู ให้ถือว่าว่าง คือว่างจากความรู้สึกว่าตัวกู-ของกู จะโดยนอนหลับอยู่ หรือจะโดยอะไรก็ตาม มันมีว่างหลายๆ แบบ ไม่ใช่ว่างชนิดที่เรียกว่าหมดกิเลส//
ผู้ถาม : ตอนนี้สิครับ เขาถึงจัดว่าเป็นโมหะ เขาบอกว่ามันยังไม่เด็ดขาด//
ท่านพุทธทาส : โมหะมันต้องเพิ่งเกิด ไม่เคยมีให้โมหะเกิด มันจึงจะเกิดโมหะ//
ผู้ถาม : ภาวะนั้นมันไม่มีการเดือดร้อนอะไรนี่ครับ มันไม่มีความทุกข์ใดๆ จะไปเป็นโมหะอะไรไม่ได้//
ท่านพุทธทาส : มันไม่ได้เกี่ยวกับกิเลสสักที/ แล้วโลภะแล้วโทสะเอาไปไว้ที่ไหน ถ้าเป็นโมหะเสียหมด//
ผู้ถาม : นั่นสิครับ ผมถึงบอกว่า จิตประภัสสรเลยใช้ไม่ได้ ก็เลยขัดกันไปยุ่ง / แล้วคำนี้อีกครับ อุปาทาน/ ของท่านแปลว่าอะไรครับ อุปาทานคำนี้//
ท่านพุทธทาส : ก็แปลว่ายึดมั่นถือมั่น//
ผู้ถาม : ความสำคัญผิดนี้ มันจะแปลว่าเป็นอุปาทานได้ไหมครับ//
ท่านพุทธทาส : มันก็ได้เหมือนกัน เพราะอุปาทานมีตั้งสี่อย่าง อย่างนั้นมันเป็นทิฏฐุปาทาน/ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน//
ผู้ถาม : ทีนี้เขาบอกว่า พอระหว่างอายตนะผัสสะปุ๊ป มันต้องมีอุปาทานเลย มันไม่เป็นตัณหา//
ท่านพุทธทาส : มันก็แล้วแต่มีสติหรือไม่มีสติ//
ผู้ถาม : เขาจัดเอาอุปาทานมาก่อนตัณหา//
ท่านพุทธทาส : ถ้ามีสติ มันก็ไม่เกิดอุปาทาน ไม่เกิดตัณหาอุปาทาน ถ้าไม่มีสติ มันเกิดตัณหาอุปาทานหลังจากผัสสะ แล้วผัสสะนั้นต้องเป็นผัสสะด้วยอวิชชา ถ้าผัสสะด้วยสติมันก็ไม่เป็น/ มันเหลวไหล ไม่เรียนคำพูดเหล่านี้ให้ละเอียดลออถูกต้อง มันจึงไม่เข้าใจอะไรได้//
ผู้ถาม : ผมถึงบอกว่า ถ้าไปเป็นความยึดมั่นถือมั่นแล้ว มันจะเป็นความเห็นผิดไปไม่ได้// มันเลยไปขั้นหนึ่งแล้ว อันนั้นเป็นยึดถือไปแล้ว แต่ถ้าเป็นความสำคัญผิด มันน่าจะเป็นตัวอวิชชามากกว่า//
ท่านพุทธทาส : อ้าว,ก็ทุกอย่างนั้นมันมาจากอวิชชา มันขึ้นต้นด้วยอวิชชา มันจึงสัมผัสด้วยอวิชชา มันจึงเกิดเวทนาอย่างอวิชชา มีตัณหาอุปาทานอย่างอวิชชา/ เรื่องนี้ก็พูดละเอียดในการบรรยายครั้งใดครั้งหนึ่งที่แล้วมา พอตาเห็นรูป คือว่าอายตนะข้างในอายตนะข้างนอกพบกันนี้ มันก็มีวิญญาณชื่อนั้นแหละ เช่นจักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ประจวบแห่ง ๓ ประการนี้ชื่อว่าผัสสะ มันถูกหรือ ยกตัวอย่างนะ ตาและรูป เกิดเนื่องกันอยู่นั่นแหละ มันก็เกิดจักษุวิญญาณ คือตาเห็นรูปนั่นแหละ ตอนนี้มีกิเลสหรือยัง//
ผู้ถาม : ยังครับ/ เพราะมันยังไม่ได้ประจบกับผัสสะ/
ท่านพุทธทาส : แล้วทำไมเป็นโมหะเสียหมดล่ะ//
ผู้ถาม : เขาจัดกันอย่างนั้น และเขาสอนกันอย่างนั้น/ ผมก็ค้านหัวยันฝาว่ามันเป็นไปไม่ได้นะ//
ท่านพุทธทาส : ทีนี้มันก็เกิด ๓ อย่างแล้วใช่ไหม อะไรบ้าง//
ผู้ถาม : อายตนะ ผัสสะ ยังไม่เป็นปัญหา//
ท่านพุทธทาส : ไม่ใช่, นี้มันเกิด ๓ อย่างแล้วใช่ไหม อะไรบ้างที่ว่า ๓ อย่างนั้น//
ผู้ถาม : ตาเห็นรูป//
ท่านพุทธทาส : ตา รูป แล้วจักษุวิญญาณนั่น//
ผู้ถาม : ครับ ๓ อย่าง//
ท่านพุทธทาส : ต้องเข้าใจอย่างนั้น อย่าปนกันยุ่งหมด/ ตานั่น นั่นรูป พอถ้าเนื่องกันจะมีจักษุวิญญาณเกิดขึ้น เป็น ๓ แล้วใช่ไหม ตา รูป จักษุวิญญาณ/ แล้วก็ สงฺคติ นี้ แปลว่าทำมาด้วยกัน หรือความประจวบกันแห่งธรรมทั้ง ๓ นี้ เรียกว่าผัสสะ ติณณํ ธมฺมานํ สงฺคติ ผสฺโส เพราะความประจวบกันแห่ง ๓ อย่างนี้ เรียกว่าผัสสะ ผัสสะนี้เป็นกิเลสหรือยัง//
ผู้ถาม : ยังครับ//
ท่านพุทธทาส : อ้าว,มันยังว่างอยู่//
ผู้ถาม : ผมถึงบอกให้เขาคุมความว่างอันนี้ได้ มันก็ถึงจุดความว่างได้//
ท่านพุทธทาส : ทีนี้ผัสสะนี้ ต้องให้เกิดเวทนาแน่ เพราะมันยังไม่ตายนี่ คนมันยังเป็นๆ อยู่นี่ เมื่อมีผัสสะอย่างใดอย่างหนึ่ง มันก็ต้องมีเวทนา คือรู้สึกว่าผัสสะนั้นให้เกิดเวทนา ทีนี้ถูกใจ เรียกว่าสุข ไม่ถูกใจ เรียกว่าทุกข์ ทีนี้ก็ไม่นั่น ก็เรียกว่าไม่ทุกข์ไม่สุข ไม่เกิดเวทนา/ ทีนี้จิตจะรู้สึกต่อเวทนานี้ จิตจะรู้สึกต่อเวทนานี้ นี้ก็เรียกว่าผัสสะอีกทีหนึ่ง ผัสสะตอนนี้มันจะเกิดกิเลสแล้ว//
ผู้ถาม : ทีนี้ถ้าพอใจหรือไม่พอใจในเวทนา มันก็ต่อตัณหา//
ท่านพุทธทาส : นั่นแหละ ก็ต่อตัณหา/ ตอนนี้มันมีอยู่ว่า พอมาถึงตอนนี้ เรียกว่าจะมีสติหรือไม่มีสติ ถ้าไม่มีสติ มันก็เกิดตัณหาอุปาทานไปตามลำดับของปฏิจจสมุปบาท นี่ตอนนี้มันจะมีกิเลสแล้ว นี่จะโลภะหรือจะโทสะหรือจะโมหะก็ตอนนี้นะ,ตอนนี้นะ จะต้องอย่างใดอย่างหนึ่งแหละ คือจะเกิดโลภะ หรือจะเกิดโทสะ หรือจะเกิดโมหะ//
ผู้ถาม : ถ้ามีเจตนาระงับไม่อยู่ ก็ไม่ต้องแล้ว,หมด ทั้งสาย,เป็นไปทั้งสายปฏิจจสมุปบาท มันเดินตลอดเรื่องของมัน//
ท่านพุทธทาส : เขาอธิบายไว้ชัดเจนถูกต้องแล้วในพระคัมภีร์ แต่ว่าเราไม่ค่อยเอามาเรียนมาพูดกัน//
ผู้ถาม : โดยมากเอามากลับกันหมด เลยยุ่ง//
ท่านพุทธทาส : ว่าเอาเอง//
ผู้ถาม : แล้วบางทีพูดแล้วก็ไม่ฟังเสียด้วย//
ท่านพุทธทาส : ผัสสะทีแรก เช่นตากับรูป จักษุวิญญาณนี้ อย่างนี้เขาเรียกว่าผัสสะล้วนๆ เรียกว่าปฏิฆสัมผัส สัมผัสสักว่าการกระทบ ปฏิฆะแปลว่าการกระทบ พอผัสสะนี้แล้วมันจะมีความรู้สึกที่เป็นความรู้สึกที่เรียกว่าเวทนา ทีนี้จิตจะทำสัมผัสต่อเวทนา ตอนนี้จะเป็นสัมผัสอันที่สอง อันนี้เรียกว่าอธิวจนสัมผัส อันแรกเรียกว่าปฏิฆสัมผัส ของล้วนๆ ไม่ใช่เพียงแต่ว่าตามธรรมชาติ ตากระทบรูป เกิดจักษุวิญญาณ ๓ ประการนี้เรียกว่าผัสสะ นี้มันเป็นผัสสะล้วนๆ เป็นสัมผัสล้วนๆ เรียกว่าปฏิฆสัมผัส ซึ่งมาโขกกันอย่างนี้ เรียกว่ามันรู้สึกอะไรขึ้นมาเป็นเวทนา ทีนี้จิตเข้าไปรู้สึกต่อเวทนานั้น นี้ก็เรียกว่าสัมผัสอีกทีหนึ่ง เรียกว่าอธิวจนสัมผัส คือไม่ต้องมีของสัมผัส เป็นเพียงจิตรู้สึกต่อเวทนานั้น ทีนี้ถ้าว่าตอนนั้นประกอบอยู่ด้วยอวิชชา เรียกว่าอวิชชาสัมผัส เรียกทับลงไปอีกทีหนึ่งว่าอธิวจนอวิชชาสัมผัส อธิวจนสัมผัสที่ประกอบอยู่ด้วยอวิชชา ทีนี้เมื่อประกอบอยู่ด้วยอวิชชาแล้วมันก็จะต้องไม่โลภะก็โทสะ ไม่โทสะก็โมหะอย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นคือกิเลสแหละ มันจะต้องมีตัณหาคือตัวกูโลภ ตัวกูโกรธ ตัวกูหลง นั่นแหละในนั้นเป็นอุปาทานอยู่เสร็จ ถ้าอุปาทานแล้ว ก็มีภพ มีชาติ มีทุกข์ นี่เรื่องผัสสะมันมีอยู่อย่างนี้ ทีนี้ตอนนี้ตอนที่มีอวิชชาสัมผัส เกิดโลภ เกิดหลงนี้ ตอนนี้จะเกิดครบกันทั้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ครบ ที่จริงรูปทีแรกมันก็เมื่อทำหน้าที่ ตาทำหน้าที่ก็เรียกว่ารูปขันธ์ส่วนนี้เกิดแล้ว ทีนี้ก็วิญญาณส่วนที่เป็นสักว่าจักขุวิญญาณก็เกิดแล้ว แต่ยังไม่สำคัญหรอก ยังไม่ถึงเรื่องที่จะเกิดทุกข์ เพราะเพียงว่าตาเห็นรูป ทีนี้สัญญาก็มาว่ารูปอะไร ที่ตาเห็นนี้ ถ้าจำได้ว่ารูปต้นไม้ใบไม้ นี่ก็เรียกว่าสัญญามาแล้ว สัญญานี้ก็ไม่ทำอะไรหรอก ยังไม่ทำอันตรายใคร ทีนี้เวทนา,ทีนี้ก็เกิดเวทนา นี่ระวังเถิด พอเวทนาเกิดแล้ว นี่ระวังจิตจะสัมผัสอันนี้ด้วยอวิชชาหรือด้วยสติสัมปชัญญะ//
ผู้ถาม : ถ้ามีปัญญา มันก็ไม่ปรุงต่อ//
ท่านพุทธทาส : ถ้าเวลานั้นมีสติสัมปชัญญะมันก็ไปอีกทาง ปรุงไปอีกทาง มันปรุงไปอีกทางหนึ่ง ถ้าในเวลานั้นมันมีอวิชชา เวลานั้นมีอวิชชามันก็ปรุงไปอีกทาง คือจะไปเป็นโลภะ โทสะ โมหะ นี้ก็เรียกว่าสัญญาครั้งที่สองนี้ร้ายกาจแล้ว สัญญาที่หลังจากอธิวจนสัมผัสนี้ก็เรียกว่าสัญญาอย่างละเอียด สัญญาที่ว่ารู้ว่าอะไรนั้น สัญญานั้นมันเนื่องด้วยปฏิฆสัมผัส นี่เรียกว่าสัญญาหยาบโอฬาริกํ วา สญฺญา ตอนหลังนี้เขาเรียกว่าสุขุมสัญญา สัญญาละเอียด มันเป็นสัญญาชนิดให้เกิดเป็นตัวกู-ของกู สัญญาว่าสวย สัญญาว่าหอม สัญญาว่าอะไรชนิดที่เกิดเป็นตัวกู-ของกู นี่สัญญา ทีนี้สัญญานี้จะอยู่ต่อไปเป็นอนุสัย อนุสัยคือสัญญาชนิดหนึ่งเหมือนกัน แม้แต่คำว่าสัญญานี้ตั้ง ๓ ความหมาย แล้วคุณมาพูดเอาเองว่าส่งเดชไปเป็นสัญญาเดียว มันก็ผิดตายสิอย่างนั้น/ สัญญาที่รู้ว่านี้ก้อนหิน นี่มันอีกอย่างหนึ่ง แล้วสัญญาทีหลังที่ว่าจะสำคัญว่ามันเป็นก้อนหินที่ดีที่เลวที่อะไรนี้มันอีกทีหนึ่ง นี่เรียกว่าสัญญาละเอียดหลังจากอธิวจนสัมผัสด้วยอำนาจของอวิชชา ทีนี้ต่อมาอันนี้มันจะอยู่เป็นความเคยชิน ทีนี้อะไรก็จะออกมาว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ นี่ที่เขาเรียกว่าอนุสัย ก็คือสัญญาที่พร้อมที่จะออกมาเป็นสัญญาอย่างที่ว่า สัญญามี ๓ ชั้นอย่างนี้ สัญญาคือจำว่าอะไร สัญญาที่สำคัญว่าอะไร และสัญญาคือความยึดมั่นถือมั่นอยู่ตลอดเวลา ๓ สัญญา ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน และขึ้นชื่อว่ากิเลสจะชื่อว่าอะไรก็ตาม ต้องเกิดต่อเมื่อมีอารมณ์ จะให้มันเกิดอยู่ตลอดเวลามันเป็นบ้าแหละ คนนั้นก็เป็นบ้า/ เอาล่ะ,ก็อาจจะพูดเสียว่า ทั้งหมดมาจากอวิชชา ถึงแม้อวิชชาก็เพิ่งเกิด นี้ถ้าพูดตามพระพุทธเจ้าพูด บาลีก็พูดไว้ชัดอย่างนั้นแหละ เมื่อไปรู้ผิด แล้วโดยเฉพาะสัญญาที่สองนั้น ถ้าอวิชชาเข้ามา มันก็ทำให้อวิชชาเกิด ถ้าสติสัมปชัญญะเข้ามา อวิชชาก็ไม่ได้เกิด ถ้าเผลอไป อวิชชาเกิดแน่ นั่นแหละอวิชชาเกิด อวิชชาก็เพิ่งเกิดตรงนี้แหละตอนนี้แหละ และเดี๋ยวมันก็ดับไปอีก//
ผู้ถาม : แล้วเช่นถึงตอนที่ท่านอาจารย์พูดนี้ ทำอย่างไรเราจึงจะมีสติ//
ท่านพุทธทาส : นั่นแหละคุณก็พยายามเข้าใจให้ชัดไปสิว่ามันมาอย่างไร แล้วจะได้ชัดลงไปว่ามันจะระวังสติกันตรงไหน เห็นได้ชัดว่าที่ยังไม่ให้เราลืมตานั้น มันเป็นไปไม่ได้ใช่ไหม ตามันต้องลืม ตาลืมมันก็ต้องเห็นรูป นี่เราห้ามมันไม่ได้ และตาเห็นรูปเข้าแล้วว่ารูปอะไร ทีนี้หลังจากเห็นว่ารูปอะไรแล้วนี้มันจะให้เกิดความรู้สึกอย่างไร นี่ต้องมีสติสัมปชัญญะอะไรกันตรงนี้แหละ ถ้าไม่อย่างนั้นมันก็จะเกิดกิเลส//
ผู้ถาม : ทีนี้ที่ท่านอาจารย์พูดปฏิจจสมุปบาทมันก็ชัดอยู่แล้ว เหตุกับผลมันก็ต้องคู่กันอย่างนั้น/ ทีนี้ผู้สอนบางคนก็เลยจัดลำดับเสียใหม่ บอกว่าของท่านอาจารย์นี้อาจจะเป็นการข้ามภพข้ามชาติ ก็เลยจัดเอาอวิชชานั้นทำให้เกิดสังขาร สังขารทำให้เกิดวิญญาณ มันเป็นอย่างนั้นไปแล้ว สังขารทำให้เกิดนามรูป เพราะความเข้าใจของเขา กลัวเอาจะวิญญาณไว้หน้านี้มันจะพานามรูปนี้ไปเกิดอีก ทีนี้เกิดในที่นี้มันไม่ใช่เกิดเหตุของทุกข์ มันจะไปเกิดรูปอันนี้//
ท่านพุทธทาส : เราไม่พูดเรื่องนั้น เราพูดเรื่องเกิดทุกข์//
ผู้ถาม : นั่นสิครับ คนคนนั้นเขาเข้าใจอย่างนั้น เขาก็พยายามไปจัดปฏิจจสมุปบาทแบบนี้//
ท่านพุทธทาส : เขาก็เข้าใจตามแบบของเขาสิ ทีนี้เราก็เข้าใจตามแบบของเรา//
ผู้ถาม : แต่ว่าของท่านอาจารย์ก็ฟังชัดอยู่แล้ว//
ท่านพุทธทาส : คือปฏิจจสมุปบาทของเขามันคร่อมภพคร่อมชาติ ของเรามันไม่ต้องคร่อมภพคร่อมชาติ//
ผู้ถาม : แต่ที่ฟังความเข้าใจของเขา เขาหาว่าของท่านอาจารย์นี้คร่อมภพคร่อมชาติ/ เขาเอาวิญญาณนั้นก่อนนามรูป/ ประเภทข้ามภพข้ามชาติ มันต้องเอาวิญญาณไว้ก่อนนามรูป/ แต่ความเข้าใจของเขานี้ วิญญาณที่ไปเกิดนามรูปนี้ ความเห็นของผมเขาคงเข้าใจว่า จะพานามรูปอันนี้ไปเกิดอีก กลัวว่าอย่างนั้นครับ แกถึงมาจัดของท่านใหม่//
ท่านพุทธทาส : อันนี้จัดตามพุทธภาษิตนั่นแหละ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารปจฺจยา วิญญาณํ วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ//
ผู้ถาม : ผู้ที่ฟังของท่านอาจารย์ไปจัดแบบนี้ บอกว่าคงจะเป็นอย่างนี้ ความเห็นของเขานะครับ//
ท่านพุทธทาส : จะจัดอะไรได้ พระพุทธเจ้าวางไว้ตายตัวอยู่แล้ว ใครไปจัดมันได้ล่ะ/ คุณจำได้หรือ ปฏิจจสมุปบาทนั้น//
ผู้ถาม : จำได้ครับ//
ท่านพุทธทาส : ว่าซิ//
ผู้ถาม : อวิชชาทำให้เกิดสังขาร สังขารทำให้เกิดวิญญาณ วิญญาณทำให้เกิดนามรูป นามรูปทำให้เกิดอายตนะ อายตนะทำให้เกิดผัสสะ ผัสสะทำให้เกิดเวทนา เวทนาทำให้เกิดตัณหา ตัณหาทำให้เกิดอุปาทาน อุปาทานทำให้เกิดภพ ชาติ ชรา มรณะ//
ท่านพุทธทาส : นี่ ใครจัดไว้อย่างนี้, ใครจัดไว้อย่างนี้//
ผู้ถาม : ของพระพุทธเจ้า ครับ//
ท่านพุทธทาส : นี่พระพุทธเจ้าจัดไว้อย่างนี้ ไม่ใช่เราว่า/ ทีนี้ก็อธิบายสิว่ามันเป็นอย่างไร อวิชชาให้เกิดสังขาร สังขารให้เกิดวิญญาณ มันเป็นอย่างไร เมื่อไหร่ ก็ให้เขาว่าให้มันชัดสิ แล้วก็ป้องกันเสียตรงที่ว่า เวทนานั้นอย่าให้เกิดตัณหา //
ผู้ถาม : สายนี้มันเป็นสายของการเกิดทุกข์ทั้งนั้น ไม่ต้องพูดถึงชีวิต//
ท่านพุทธทาส : ปฏิจจสมุปบาทนี้เขาพูดไว้สำหรับการเกิดทุกข์//
ผู้ถาม : ความเข้าใจของเขาก็กลัวว่าอันนี้จะไปเกิดอีก//
ท่านพุทธทาส : อะไรไปเกิด //
ผู้ถาม : นามรูปอันนี้/ เขาเป็นห่วงอย่างเดียวว่านามรูปนี้จะไปเกิด ชีวิตนี้จะไปเกิดอีก กลัวจะไปคร่อม ๓ ภพ ๓ ชาติ เข้า เลยมาจัดเอาสังขารนี้ ไม่จัดเอาวิญญาณ//
ท่านพุทธทาส : มันจะเกิดอะไรได้ ตามันยังไม่ได้เห็นรูปสักที มันจะเกิดอะไรได้//
ผู้ถาม : ก็นั่นสิ ครับ/ ผมฟังๆ ดูแล้วมันก็ชอบกล//
ท่านพุทธทาส : มันพูดคนละแบบนี่ คุณพูดอย่างข้ามภพข้ามชาติ/ เมื่อตาเห็นรูป เมื่อหูได้ยินเสียง ต่างหากเล่า/ เมื่อตาเห็นรูป เมื่อหูได้ฟังเสียง เมื่อจมูกได้กลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้น เมื่อนั้นจึงจะมีการเกิด แล้วจะไปพูดอะไรต่อตายแล้ว มันก็ทุกคราวที่ว่าสัมผัสอายตนะแล้วก็มีอวิชชา มีอวิชชามันก็มีเกิดเท่านั้นแหละ/ ถ้าจะเอาภพเอาชาติกัน ก็หมายความว่าภพชาตินี้ที่เห็นทางรูปธรรมอะไรนี้ เดี๋ยวก็เห็นรูปทีหลัง เดี๋ยวก็ฟังเสียงทีหลัง ไม่ได้ข้ามภพข้ามชาติอะไร อยู่ที่ตรงนี้แหละ//
ผู้ถาม : แต่บางคนกลัวจะไปเป็นในรูปนั้น ก็เลยพยายามแปลเสียใหม่//
ท่านพุทธทาส : อ้าว,ก็ในพระบาลีกล่าวไว้อย่างนี้/ ทีนี้เราจะพิมพ์ออกมันก็พิมพ์ไม่ทัน มันต้องตรวจสอบมากมาย สูตรทุกสูตรที่แสดงความเป็นอย่างนี้ เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท ที่อธิบายจากพระโอษฐ์เองนั้น ถ้าหนังสือเดี๋ยวนี้ออกมา แล้วคนที่มีสติปัญญาอ่านด้วยจิตใจที่เป็นเที่ยงตรง ก็จะเข้าใจได้ ไม่ต้องเถียงเรื่องนี้กันต่อ//
ผู้ถาม : มันจะเหมือนที่ท่านบรรยายไปสองครั้งแล้ว//
ท่านพุทธทาส : มันก็เหมือนนั้นแหละ เหมือนทุกครั้งที่บรรยายมา แต่อันนั้นเราไม่ได้อ้างหลักฐาน อ้างหลักสูตร อ้างที่มา เพราะมันมาก อ้างไม่ไหว//
ผู้ถาม : แต่อันนั้นชัดมาก //
ท่านพุทธทาส : ที่พิมพ์ไปแล้วตอนนั้น คุณไม่เห็นหรือ/
ผู้ถาม : ผมมีเทปอยู่แล้ว ผมฟังตลอด//
ท่านพุทธทาส : ที่คุณวิโรจน์เขาพิมพ์นั้น//
ผู้ถาม :มีครับ ผมเอามาจากคุณวิโรจน์//
ผู้ถาม : สมมติว่าในนั้น จะไม่พูดเรื่องเกิดในตัวตนอะไรขึ้นมา มันมีคำว่าชรามรณะติดเข้ามาด้วย ซึ่งอันนี้ตามความเข้าใจของผมหมายความว่าชรามรณะยึดเอาว่ามี มีความชรามรณะแล้วก็มีตัวทุกข์ ทีนี้ปฏิจจสมุปบาทนี้ก็มีตัวความชรามรณะเข้ามา ถ้าอย่างนั้นคนเลย...//
ท่านพุทธทาส : มันไปตัดกันแค่ชาตินั่นแหละ เพราะมีชาติ คือเกิดตัวกู-ของกู/
ผู้ถาม : มันไม่ควรจะมีตัวนั้นพ่วงเข้ามาด้วย//
ท่านพุทธทาส : อ้าว,ถ้ารู้สึกว่ามีตัวเรา มันก็จะต้องมีปัญหาเรื่องความแก่ของเรา ความตายของเรา/ ความแก่ความตาย ความเจ็บไข้มันเป็นของธรรมชาติใช่ไหม มันเป็นของธรรมชาติ ไม่ต้องมีเราก็ได้ เป็นของธรรมชาติ ทีนี้จิตมันไปเกิดว่ามีตัวฉันเสียแล้ว เมื่อคำว่าชาติ ภพ,ชาติ อุปาทาน ภพชาติ พอมันเกิดมีตัวฉันแล้ว ความแก่ของฉัน ความตายของฉัน ความเจ็บไข้ของฉัน เขาจึงว่ามันมีขึ้นมา มันมีขึ้นมา ก็เป็นตัวทุกข์/ เดี๋ยวนี้มันเอาไปปนกันยุ่ง คนนั้นอธิบายอย่างหนึ่ง คนนี้อธิบายอย่างหนึ่ง แล้วไปเอามาปนกันยุ่ง แล้วมันก็อธิบายไม่ได้หรอก พอเอามาปนกันยุ่ง/ แบบไหนก็ว่าไปแบบนั้นดีกว่า// (ว่าอย่างไรกัน ว.อ.ล อะไรของคุณนั้น มาหรือเปล่า/ จะมาวันไหนล่ะ/เดี๋ยวนี้อยู่ไหนล่ะ/แล้วจะมานี่เมื่อไหร่/อ้าวอย่างนั้นก็ดีจะได้ให้บ้านเสียเลย,บ้านอนามัย ครอบครัวหนึ่ง,ถ้าจะพักกันรวมครอบครัวทั้งหญิงทั้งชายต้องไปทางโน้น/แล้วมีใครช่วยมาดูแลบ้างเรื่องกินอยู่ / ช่วยดูแลเรื่องกินอยู่ที่นอนที่อะไร/ ว.อ.ล. ถูกไหม/ ว.วิศวกร อ.อำนวยการ ล.ลากเลื่อน)
ผู้ถาม : ผมอยากจะเรียนถามถึงเกี่ยวกับข้อปฏิบัติบางอย่าง คืออย่างสมมติว่าเราบอกว่าเราจะพยายามระวัง ทีนี้อย่างตาเรามองไปที่ต้นไม้นี้ เราจำเป็นจะต้องทำความรู้สึกอะไรไหม หรือว่าก็สักแต่ว่าเป็นต้นไม้ หรือว่าต้องระวังว่าอย่าให้มันมีสิ่งที่ดึงดูดจิตใจเราเข้าไป หรือว่าสิ่งที่ผลักใจเราออกมา หรือว่าเฉยๆ แล้วทำเป็นไม่รู้เรื่อง//
ท่านพุทธทาส : คือเขาไม่ได้พูดระบุเป็นสิ่ง พูดว่า เมื่อตาเห็นรูปแล้วนะ อย่าให้เกิดความคิดที่ปรุงขึ้นมาเป็นความคิดประเภทกิเลส ถ้าปรุงไปในทางความรู้ก็ได้ ตาเห็นรูปได้ความรู้เป็นเรื่องความรู้ เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องอะไรก็ได้//
ผู้ถาม : ตอนที่ปรุงเป็นความรู้นี่ ก็ปรุงเหมือนกัน//
ท่านพุทธทาส : ก็ปรุงเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ปรุงกิเลส//
ผู้ถาม : ซึ่งไม่เกิดทุกข์//
ท่านพุทธทาส : ยัง,ยังไม่เกิดทุกข์/ มันไม่เกี่ยวกับตัวกูนี่ แต่เว้นไว้แต่มันเลยเถิดไปจนวกไปเป็นตัวกู//
ผู้ถาม : ทีนี้พอมันเกิดเป็นความอยากรู้ขึ้นมา//
ท่านพุทธทาส : อยากรู้ก็ได้ อยากรู้ ต้องการจะรู้ ต้องการจะดับทุกข์ ต้องการที่จะชนะ อยากอย่างนี้ยังไม่เนื่องด้วยอวิชชา ความอยากชนิดนี้ไม่ได้เนื่องด้วยอวิชชา//
ผู้ถาม : แต่มันทำให้จิตใจเป็นทุกข์//
ท่านพุทธทาส : ถ้าอย่างนั้นอวิชชา/ ให้เข้าใจความอยากนั้นว่าเป็นอวิชชา คุณมองไม่เห็น/
ผู้ถาม : คืออยากจะปฏิบัติ//
ท่านพุทธทาส : ก็ได้ เป็นอวิชชาก็ได้ ด้วยอวิชชาก็ได้ อยากไปนิพพานด้วยอวิชชาก็ได้//
ผู้ถาม : เพราะฉะนั้น คำว่าอยากก็มีความหมายสองแง่//
ท่านพุทธทาส : สองอย่าง สองแง่ ด้วยโพธิ หรือว่าด้วยกิเลส/ เราพูดตามภาษาธรรมดา เราไม่แยก แต่ว่าภาษาบาลีเขาแยก ถ้าตัณหา ต้องมาจากอวิชชาเสมอ อยากที่มาจากอวิชชาจึงจะเรียกว่าตัณหาตามปรกติ ถ้าต้องการจะรู้ เรียกว่าอะไรก็ได้ แต่ว่ามันไม่ใช่ด้วยเกี่ยวกับตัณหา เช่นอยากจะรู้หรืออยากจะปฏิบัติธรรมหรือว่าอยากจะพ้นทุกข์อย่างนี้ เขาไม่เรียกว่าตัณหาหรอก อยากไปนิพพานตามๆ เขา เขาว่าดี นี่อย่างนี้มันอยากด้วยอวิชชา อยากไปนิพพานด้วยอวิชชา อย่างนี้ก็ต้องเป็นทุกข์แหละ บ้าๆ บอๆ ไปตามเรื่องของมัน แต่ถ้าว่าเห็นทุกข์แล้ว เห็นทุกข์แล้ว อยากจะดับทุกข์นั้น เห็นทุกข์แล้วนะ เห็นทุกข์จริงๆ นะ แล้วอยากจะดับทุกข์ นั่นแหละคืออยากจะนิพพาน อยากจะดับทุกข์นั่นแหละคืออยากจะนิพพาน อย่างนี้มันไม่ใช่ด้วยอวิชชา และอยากอย่างนี้ไม่ใช่ตัณหา และไม่ใช่ต้องละเสีย//
ผู้ถาม : พอคิดอยากจะละ มันก็...//
ท่านพุทธทาส : เป็นปรุงทั้งนั้น ถ้ามันเป็นเหตุปัจจัยแก่และกันแล้วก็เรียกว่าปรุงทั้งนั้น//
ผู้ถาม : พอมันปรุง มันก็...//
ท่านพุทธทาส : อ้าว,คุณก็ถามว่าปรุงด้วยวิชชาหรือว่าปรุงด้วยอวิชชา อวิชชาก็ปรุง วิชชาก็ปรุง/
ผู้ถาม : คือพอตอนที่มันปรุง มันก็เลยถูกที่จะเกิดอวิชชาหรืออะไรขึ้นมา..//
ท่านพุทธทาส : มันปรุงด้วยวิชชา หรือว่าปรุงด้วยอวิชชา ความคิดนี้เกิดขึ้นไปตามปัจจัยที่มาแวดล้อมนี้ ปัจจัยนั้นมันประกอบอยู่ด้วยวิชชาหรือว่าประกอบอยู่ด้วยอวิชชา/ คำว่าปรุงนี้ใช้ได้ทั้งสองอย่าง//
ผู้ถาม : ตามหนังสือที่เกี่ยวกับพวกปฏิเสธของคู่ในโลก อย่างพวกเซ็น ที่ท่านอาจารย์แปลไว้ตั้งหลายเล่ม คือหมายความว่าเราปัดทั้งรับทั้งปฏิเสธไปหมด เพราะฉะนั้นอย่างวิชชา อวิชชาอะไรแบบนี้ มันก็ยัง...//
ท่านพุทธทาส : คือว่าต้องมองให้เห็นว่า อวิชชานั้นมันชวนให้เข้าไปยึดของคู่ ทีนี้ส่วนวิชชาที่แท้จริงนั้นมันทำให้เห็นว่าไม่ควรยึดไม่น่ายึดทั้งคู่ ถ้ามีวิชชาจริงๆ ญาณทัสสนะจริงๆ มันจะมองเห็นว่า ทั้งคู่นั้นเหมือนกันหรือว่ายึดไม่ได้ด้วยกัน ฉะนั้นมันจึงปรุงไปในทางที่จะให้เกิดปัญญาเรื่อยไป ปัญญาหลายๆ ชั้นซ้อนกันไป อวิชชาทำให้หลงในของเป็นคู่ ทีนี้คำพูดทำสับสน คู่ชนิดที่มันไม่อยู่ในชุดคู่ให้หลงมันก็มี เช่นว่า ทุกข์กับดับทุกข์ อย่างนี้มันไม่ได้เป็นคู่ ถ้าจะเป็นคู่ มันก็ต้องดับทุกข์สมมติอีกแหละ ดับทุกข์ตามๆ กันไป อย่างนี้มันก็เกิดเป็นอยู่ในพวกคู่ของคู่ที่ทำให้เกิดกิเลส เพราะเราอยากจะดับทุกข์ทั้งที่ไม่รู้ว่าอะไร อยากด้วยอวิชชา
ทีนี้เรื่องอัตตาเรื่องอนัตตาอีกคู่หนึ่ง ที่แท้มันก็ควรจะไม่เอามาเป็นคู่ แต่ถ้าว่ามันมาด้วยความยึดถือแล้ว มันก็เป็นคู่นั่นแหละ อนัตตาเพียงแต่ให้ตรงข้ามจากอัตตา อย่างนี้ก็เป็นของคู่ได้ คือมันโง่ได้ทั้งสอง โง่ได้ทั้งอัตตาและทั้งอนัตตา แต่ถ้าว่าเข้าใจอนัตตาถูกต้อง มันไม่ไปเป็นคู่กับอัตตาหรอก คือมันกลายเป็นที่เรียกว่าอิทัปปัจจยตาไป ถ้าคุณจะใช้คู่นี้นะ อัตตากับอนัตตานี้ ระวังให้ดี มันอาจจะเป็นของคู่สำหรับยึดถือก็ได้ ยึดถืออัตตายึดถืออนัตตาก็ได้ แต่ถ้าใช้คำว่าอิทัปปัจจยตาอยู่ตรงกลางแล้ว ไม่เป็นอะไร ปลอดภัย แต่ถ้าคุณใช้อนัตตา คุณต้องให้มันเป็นอิทัปปัจจยตา อย่าเป็นคู่แข่งกับอัตตา ฉะนั้นที่พูดว่าอนัตตาอย่างสมมติก็มีมาก อย่างบาลีอนัตตลักขณสูตร รูปํ อนตฺตา เวทนา อนตฺตา นี้ ทีแรกเราฟังคิดว่าเป็นปรมัตถ์ ที่จริงเป็นเพียงสมมติ เพื่อจะคู่ตรงข้ามกับอัตตาเท่านั้น แต่ถ้าพูดเป็นอิทัปปัจจยตาอย่างนี้ถูก ไม่เป็นอัตตาและไม่เป็นอนัตตา แต่ว่าคนทั่วไปเขาฟังไม่ถูกอีกแหละ//
ผู้ถาม : ทีนี้บางคนไปแปลคำว่าอิทัปปัจจยตานี้เป็นความเปลี่ยนแปลง มันจะถูกต้องไหม//
ท่านพุทธทาส : มันก็ถูกแล้ว อาการมันก็คือเปลี่ยนแปลง//
ผู้ถาม : แต่ถูกมุมเดียวใช่ไหมครับ//
ท่านพุทธทาส : คำแปลของอิทัปปัจจยตา แปลว่าเพราะมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น มันแสดงความเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว เช่น มีก็เรียกว่ายึดถือ ไม่มีก็คือยึดถือ มันต้องอิทัปปัจจยตามันจึงจะอยู่ตรงกลาง แต่เราคิดว่าตรงกันข้ามอยู่แล้ว ไม่มีอะไรอีก/ เรื่องของคู่นี้ เข้าใจยากเหมือนกันแหละ แต่ถ้าคู่ธรรมดาๆ เข้าใจง่าย หญิง-ชาย ดี-ชั่ว สูง-ต่ำ แพ้-ชนะ นี่คู่อย่างนี้โกยทิ้งได้เลยทั้งคู่ แต่พอมาถึงคำว่าทุกข์กับดับทุกข์ หรือว่าอัตตากับอนัตตา ระวังให้ดี ถ้าทำไปด้วยยึดถือ มันก็เป็นคู่ที่ต้องโกยทิ้ง ถ้าไม่ยึดถือมันโผล่เป็นอิทัปปัจจยตา ฝ่ายดับทุกข์มันก็เป็นสิ่งที่ควรทำ ควรเอา ควรได้ ควรถึง หรือว่าอนัตตานั้นก็ควรรู้หรือถือว่าเป็นของจริง ถ้ามันอนัตตาเพียงเหตุสักแต่ว่าตรงกันข้ามกับอัตตาที่สมมติแล้วก็มันเป็นนัตถิกทิฏฐิ เป็นสุญญตาเป็นอนัตตาประเภทนัตถิกทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิเหมือนกัน คือมันไม่อิทัปปัจจยตานั่นเอง ยังอีกนานนะ จะต้องเข้าใจต้องศึกษาอิทัปปัจจยตากันอีกนาน คุณไสว พูดเพ้อๆ ไปอย่างนั้นแหละ ผิดบ้าง ถูกบ้าง //
ผู้ถาม : ผมก็อุตส่าห์เปิดไว้ตอนเช้าของท่านตลอดเวลา//
ท่านพุทธทาส : ก็มีผิดบ้าง ถูกบ้าง พูดตามอารมณ์ชั่วขณะๆ //
ผู้ถาม : ตามที่พูดกันทั่วไป เขาไม่พยายามที่จะ คือเขาไม่รับปฏิเสธอะไรทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นอย่างเราบอกว่าเราดูต้นไม้นี้ก็ดูไปแล้วก็อย่างนั้น ถ้าเป็นแบบนี้จะใช้เป็นการปฏิบัติที่ถูกหรือไม่//
ท่านพุทธทาส : นั่นแหละคืออิทัปปัจจยตา คือไม่รับและไม่ปฏิเสธ//
ผู้ถาม : คือขณะที่ผมฟังท่านอาจารย์ ในหัวผมเกิดรู้สึกอยากจะนั่งฟัง อยากจะพอใจ หรืออีกอย่างหนึ่งมันก็มีตรงข้าม ไม่อยากนั่งฟัง ไม่อยากพอใจ ทีนี้ยังมีอีกอย่างหนึ่งคือว่า นั่งฟังไปแล้วหลับไป แล้วก็ปล่อยให้ไปตามเรื่อง//
ท่านพุทธทาส :ไม่ต้องพอใจ หรือไม่ต้องไม่พอใจ/ นั่นแหละคือการศึกษา นั่นแหละคือไม่ปรุงประเภทที่จะให้เกิดทุกข์ ก็แปลว่าอวิชชาไม่มาเกี่ยวข้อง ถ้าพอใจหรือไม่พอใจนี้มันไม่เกี่ยวข้องด้วยอวิชชา นี้มันเกี่ยวข้องด้วยปัญญาด้วยวิชชา มันก็เพียงแต่ว่า อ้าว,ถ้ามันมีประโยชน์น่าสนใจ ควรฟัง ก็ฟังไป แล้วจะต้องไปพอใจหรือไม่พอใจใครทำไม มันไม่เป็นเรื่องความจริง เขาพูดว่าความจริงอย่างนี้ๆ ถ้าเราไม่เห็นด้วยก็แล้วไป ก็จะต้องไม่พอใจทำไม ถ้าเราอยากจะค้าน เราก็ค้านสิ โดยที่ไม่ต้องพอใจหรือไม่พอใจก็ตาม คือว่าส่วนตัวเรานั้นอย่าให้เป็นทุกข์ไว้ก่อน จะพูด จะคิด จะทำอะไรก็ตามใจ อย่าให้เป็นทุกข์ไว้ก่อนนั่นแหละดี/ เรื่องอิทัปปัจจยตาไม่ใช่จะพูดได้พล่อยๆ ง่ายๆ ต้องระมัดระวังมาก เพราะว่าเดี๋ยวเผลอมันจะไปเป็นข้างใดข้างหนึ่งไม่ทันรู้ เช่น เป็นอนัตตาอย่างนี้ แต่เป็นอนัตตาของนัตถิกทิฏฐิ อย่างนี้ไม่ใช่อิทัปปัจจยตา อิทัปปัจจยตาคุณจำไว้ว่ามันอยู่ระหว่างกลาง ระหว่างมีกับไม่มี ถ้าไม่หลงอันนี้แล้วก็ใช้ได้แหละ//
ผู้ถาม :ไม่เอียงไปทางไหนหมด//
ท่านพุทธทาส : ไม่เอาทางว่ามีหรือไม่มี คือไม่ทางปฏิเสธและรับ ไม่ปฏิเสธและไม่รับ มันจึงจะเป็นของว่าง คือเป็นอิทัปปัจจยตา//
ผู้ถาม : ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติอย่างที่ผมเรียนถามเมื่อตะกี้นี้ คือเราไม่พยายามไปพิจารณาว่าต้นไม้นี้มันจะต้องแตกดับหรือว่าเปลี่ยนแปลงไป//
ท่านพุทธทาส : อ้าว,ถ้าเราไม่จำเป็นจะต้องดู ไม่ต้องพิจารณาหรอก/ คือว่าดูอย่างนี้มันเหมือนกับไม่ดู คือมันดูอย่างที่ว่าผ่านสายตาอย่างนั้นแหละ แต่บางทีเราก็ใช้เป็นภาพที่ทำให้สบายใจก็ได้ โดยไม่ต้องลงทุนอะไร ไม่ต้องยึดถือ/ ถ้ามันสวยงาม มันทำให้เกิดความรู้สึกพอใจ ก็ต้องระวังอย่าให้ความพอใจนั้นเป็นถูกยึดถือ//
ผู้ถาม : แต่ว่ามี ที่บอกว่าพยายามให้รู้ว่ามันมีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่แตกดับ หมายความว่ามันมีอนิจจังอะไรเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ //
ท่านพุทธทาส : นั้นเราเจตนาที่จะศึกษาอิทัปปัจจยตาจากสิ่งที่เห็นนั้น มันก็เป็นเวลาที่ศึกษา เป็นเวลาที่เราจะต้องศึกษา หรือเราเห็นว่าควรศึกษา ตาหูอะไรนี้เราใช้เพื่อการศึกษา ต้องสังเกตให้ดีเป็นชั้นๆ ว่าการที่ให้ตาหรือหูหรือจมูกทำหน้าที่นั้น มันมีเป็นชั้นๆ ฉะนั้นอันใดที่เพียงแต่ว่าเห็นเฉยๆ ก็ได้ เดี๋ยวนี้เราเห็นเฉยๆ ใช่ไหม คุณเหลือบตาไปดู มันเฉยทั้งนั้นแหละ แล้วต่อเมื่อไหร่มันจึงจะเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา ต่อเมื่อไปเห็นอะไรที่มันมีความหมายแก่กิเลสนั่น เห็นผลไม้ที่กินได้หรือน่ากินนี้ มันก็เป็นเรื่องแล้ว หรือว่าเห็นเสือเห็นสัตว์อะไรอยู่ที่นั่น มันต้องมีมากกว่าที่เห็นเฉยๆ ฉะนั้นการเห็นที่ยังไม่ปรุงกับการเห็นที่มันปรุงนั้นมันต่างกันแล้ว/ อ้าว,ทีนี้เมื่อเห็นแล้วจะต้องปรุง แล้วจะให้มันปรุงด้วยอะไร ปรุงด้วยอวิชชา มันก็โลภ โกรธ หลง เกลียด กลัวอะไรไปตามเรื่อง ถ้าปรุงด้วยวิชชา มันก็รู้ เช่นมันรู้อนิจจัง รู้อนัตตา รู้อะไรอีกแยะเลย มันเป็นไปให้เกิดญาณ ให้เกิดความรู้ ส่วนอีกฝ่ายตรงกันข้ามก็ให้เกิดกิเลส ตอนนี้เราสมมตินี้ เราจะต้องแยกว่ากิเลสกับโพธินี้มันตรงกันข้ามนะ กิเลสนั้นหมายความว่าให้เกิดความทุกข์ โพธินี้จะเป็นเกื้อกูลแก่ความดับทุกข์ ฉะนั้นเมื่อตาไปเห็นอะไรเข้า ถ้ามันไม่เป็นเครื่องช่วยให้เกื้อกูลกับความดับทุกข์นี้ ก็เห็นเฉยๆ ก็แล้วกัน,เห็นเฉยๆ อย่าต้องไปโลภ ไปโกรธ ไปหลง ไปเกลียด ไปกลัว ไปอะไรให้มันเสียเวลา แต่ความจริงธรรมชาติแท้ๆ มันไม่ชวนหรอก คุณดูสิ คุณมานั่งอยู่ที่นี่ ตาหูจมูกลิ้นกาย มันไม่ถูกชวนให้ไปเกิดกิเลสหรอก นี่ประโยชน์ของธรรมชาติ แต่ถ้าในบ้าน ในเรือน ในตลาด ในอะไร มันไม่อย่างนี้นี่ มันต้องให้คิดปรุงไปเพื่อนั่นเพื่อนี่//
ผู้ถาม : แต่ว่าการอย่างมานั่งอะไรที่นี่ มันสร้างความพอใจที่จะมานั่งตรงนี้//
ท่านพุทธทาส : อันนั้นอีกเรื่องหนึ่ง มันไม่ต้องเฉพาะแต่นั่งที่นี่ แม้แต่สมาธิ ความสุขเกิดแต่สมาธิ เหมือนกันแหละ มันดึงดูดใจให้จมเลย ให้รักให้ฝังไปเลย//
ผู้ถาม : แย่เหมือนกัน//
ท่านพุทธทาส : นี้ก็ยังไม่แย่เท่าความสุขที่เกิดแต่สมาธิ ความสุขเกิดแต่ธรรมชาติธรรมดาล้วนๆ อย่างนี้ก็ดึงดูดใจเหมือนกัน ให้หลงให้พอใจได้เหมือนกัน แต่ยังไม่มากเท่าความสุขที่เกิดจากสมาธิคือหมดกิเลสชั่วคราวนั้น ก็แปลว่าหลงอะไรไม่ได้ทั้งนั้นแหละ หลงอะไรก็ไม่ได้ มันเป็นอารมณ์อ่อนๆ มีความหมายอ่อนๆ ก็ไม่ค่อยจะอะไร//
ผู้ถาม : สมมติว่าอยากจะสร้างอารมณ์อย่างไร อย่างอยู่ในลักษณะแบบนี้ มันไม่เกิดความเดือดร้อนหรือว่ากลุ้มหรือว่าทุกข์/ แต่ว่าพอเข้าไปในเมืองหรือว่าในที่เขาวุ่นวายอะไรนี่ สมมติว่าให้ดูไปแล้วนี่ มันเริ่มหลงแล้ว มันก็เสียลักษณะแบบนี้//
ท่านพุทธทาส : แบบนี้อย่างไร,แบบนี้อย่างไร/ คือไม่มีความหมายอะไร//
ผู้ถาม : คือว่า สมมติว่า ลักษณะที่นั่งอยู่อย่างนี้ใช่ไหม มันเกิดความพอใจหรือมีอารมณ์ที่ไม่มีความทุกข์อะไรขึ้นมา ไม่เดือดร้อน/ ทีนี้พอไปเจอสิ่งแวดล้อมอย่างอื่นเข้า //
ท่านพุทธทาส : มันก็เปลี่ยนไง//
ผู้ถาม : แต่ว่าจะซัดฝ่าอารมณ์อันนี้ไป