แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๑๕ เหมือนจะสาธิตว่ามีสิ่ง มีการกระทำ มีอะไรที่จะแสดงได้ ขณะนั้น ฉันอาหารต้องนั่งขัดสมาธิ (ออกเสียงเป็น ขัด-สะ-หมาด : ผู้ตรวจทาน) เป็นธรรมเนียมของพระไทย ฉันอาหารก็นั่งขัดสมาธิ (ออกเสียงเป็น ขัด-สะ-หมาด : ผู้ตรวจทาน) ขัดสมาธิ (ออกเสียงเป็น ขัด-สะ-มา-ธิ : ผู้ตรวจทาน) ถ้าเรียกอย่างถูกต้อง ต้องเรียกว่านั่ง ขัด-สะ-มา-ธิ แล้วทำไมชาวบ้านจึงไปเรียกเป็นขัด-ตะ-หมาด ใครตอบได้ ไม่มี ไม่มีนะ สอบถามแล้ว ศึกษา คุณคิดว่าทำไมมันถึงเรียกว่าขัด-ตะ-หมาด ในเมื่อตัวเดิมแท้ๆ มัน ขัด ขัด-สะ-มา-ธิ ทีนี่มันเป็น ขัด-ตะ โน่น ขัด-ตะ-หมาด ซึ่งชาวบ้านบางที่ก็พูดกันว่าขัด-ตะ-หมาด ที่พูดว่าขัด-สะ-หมาด นี่มันน้อยนักน้อยหนาที่จะพูดว่าขัดสมาธิ (ออกเสียงเป็น ขัด-สะ-หมาด : ผู้ตรวจทาน) เข้าใจว่า ผมเข้าใจเอาเองว่า มันเนื่องมาแต่ภาษาพม่า คงจะผ่านมาทางพม่า เลียนแบบมาทางพม่า พม่าเขาออกเสียง ส เป็น ต นะ ถ้าที่บาลีออกเสียงเป็น ส-เสือ แล้วพม่าออกเสียงเป็น ต-เต่า ตัวเต่าเองกลับออกเสียงเป็น ถ-ถุง ถ้าพม่านะ ตัว ส ออกเสียงเป็นตัว ต พอทีตัว ต ออกเสียงเป็นตัว ถ
เรื่องฉันอาหารนี้ ถึงอย่างไรๆ ก็อย่าลืมนะ คำสองคำนั้นที่พูดมาเรื่อยๆ บางคนก็ยังไม่ทันจะมาฟัง พอมานั่งลงอย่างนี้ก็นึกถึงสองคำนั้นแหละ สองคำที่พูดมาหลายหนหลายครั้งนะ อะไรละ คุณคงจำได้แหละ สองคำอะไร อะไร สองคำอะไร (นาทีที่ 02.35 – เสียงโยมตอบมาไกลๆ ไม่ได้ยิน : ผู้ตรวจทาน) อืม, นั่นแหละ ในส่วนรสของอาหารนั้นให้เหมือนกินเนื้อลูกกลางทะเลทราย ในส่วนปริมาณของอาหารนั้น ให้เหมือนกับน้ำมันหยอดเพลาเกวียน นี่เป็นพุทธภาษิต ที่แนะไว้อย่างนี้ ที่ใน คัมภีร์วิสุทธิมรรค คัมภีร์ชั้นหลังๆ นี้ เขาว่าเว้นเสียสักสี่ห้าคำ ตอนท้ายๆ อย่ากิน กินน้ำให้อิ่ม เห็นจะได้ก็คงจะตรงกับอันนั้น ก็มีว่าอย่าพอใจในรสอร่อย ถ้าพิจารณาอยู่ในข้อที่ว่า ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ, เนวะ ทวายะนะ มะทายะ นะ มัณฑะนายะ นะ วิภูสะนายะ, นั่นแหละ หยอดเพลาเกวียนนะ หรือว่าเนื้อลูกกลางทะเลทราย เขาว่าไม่ได้กินเพื่ออะไรมากไปกว่าเพื่อรอดชีวิตอยู่ได้ คนจำเป็นต้องกินเนื้อลูกของตัวจะกินได้เท่าไรเล่า เมื่อไปบิณฑบาต เขาพิจารณา ยะถาปัจจะยัง ให้เป็นธาตุ เป็นธาตุหรือเป็นปฏิกูล ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลไปก่อน พอมานั่งฉันนั่งเคี้ยวอยู่นี้มันก็พิจารณาอย่าง อ้าว, นิมนต์ทำไปพลางสิ นี่ก็ร้องเพลงไม่เป็นไรฉันอาหาร มันก็จะฉันอย่าง สักว่ากินเนื้อลูกกลางทะเลทราย แล้วใช้ได้จนตลอดชีวิตนะ แม้สึกออกไปมันก็ใช้ได้หลักอันนี้ กินอย่างกินเนื้อลูกกลางทะเลทรายคือพอมีชีวิตอยู่ได้ ฉะนั้นไม่ต้องขับรถยนต์ไปตามเชลล์ชวนชิม พอถึงกลางวันก็ไปเชลล์ชวนชิม ผมก็อ่านของเขาแหละเรื่องเชลล์ชวนชิม เห็นแล้วไร้สาระที่สุดเลย จะเป็นการปลูกนิสัยให้เด็กๆ หลงใหลในการกินยิ่งๆ ขึ้นไปอีกก็ได้ มันผิดหลักของพุทธบริษัท ที่บูชารสอาหารขนาดนั้น แต่เมื่อเขาไม่ถือก็ไม่มีใครว่า ถ้าเราจะเป็นพุทธบริษัทจะต้องถืออยู่อย่างนี้ กินอาหารให้เหมือนกินเนื้อลูกกลางทะเลทรายในปริมาณเหมือนกับหยอดน้ำมันเพลารถ ถ้าสึกออกไปก็เพิ่มได้นิดหน่อย แต่ในความหมายเดิม อยู่เป็นพระนี่ ในความหมายมาตรฐานพระ ลูกสะตอนี่หมอเขาแนะนำหลายคนนะว่า มันช่วยอะไรบางอย่าง กระทั่งบางคนพูดมากไปถึงว่าจะช่วยป้องกันโรคเบาหวาน จริงหรือเปล่าล่ะคุณอุดม
(คุณอุดมตอบ : จริง)
ป้องกันโรคเบาหวาน พิสูจน์ได้อย่างไร (นาทีที่ 05.59 คุณอุดมตอบ เสียงอยู่ไกลมาก ฟังไม่ออก “พิสูจน์ได้โดย...” : ผู้ตรวจทาน) นั่นสิ ถึงมีคนชอบกินกันมากขึ้น นี่เดี๋ยวนี้มันเป็นฤดูของสะตอ ก็รีบฉันกันเยอะๆ ไม่เท่าไรมันก็หมดแล้ว นี่มันของหวานนะ อ้าว, นิมนต์ฉันพลางสิ ไม่ต้องพูดนี่ คุณไม่ต้องพูดนี่ ฉันเลย ฉันเรื่อยเลย
คำที่คงจะฟังไม่ถูกอยู่บางคำ เช่นว่า อาหารนี้ก็ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ชีวะอัตตา คงจะฟังไม่ถูก ภาษาบาลีเขามีความหมายลึกและ แม้แต่ก้อนหินนี้มันอาจจะเกิดความรู้สึกเป็นตัวตนแก่บุคคลผู้โง่เขลาได้ คล้ายกับว่ามันเป็นฝ่ายหนึ่งหรือคนหนึ่งหรืออะไรอย่างนี้ เมื่อเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้ เขาก็จะเรียกว่าตัวตนได้ เพราะถ้าสิ่งใดเราพอใจมันได้หรือเกลียดมันได้ สิ่งนั้นมี มีลักษณะที่จะเป็นตัวตนได้ แม้แต่เสาเรือนหรือประตู
อยู่สวนโมกข์โบราณแห่งแรกเรามา มาทำหน้าที่ แบ่งหน้าที่กันทำ เลือกก้างอะไรออกให้หมดแล้วคลุกเป็นกะละมังใหญ่ ใส่น้ำปลา น้ำตาลอะไร คล้ายข้าวยำโรยใบโหระพา แล้วก็แบ่งกันคนละส่วนๆ เอาไปนั่งฉัน ไม่มีกับแล้วตอนนี้มันเป็น รวมอยู่กับข้าว เป็นอาหารล้วนๆ หลับตาฉันก็ยังได้ ไม่ก้างปลา ไม่มีส่วนที่ต้องเอาออกทิ้ง ใครจะลองทำอย่างนั้นดูบ้างก็ได้ วันหลังๆ ของตนเองคนเดียวก็ทำได้ นี่รวมกันสี่ห้าองค์ทำเพียงองค์เดียว อีกสี่ห้าองค์ไปทำอย่างอื่นก็ได้ พอมาถึงก็ฉันเลย ตอนเช้าโดยมาก กวาด เหมือนกับเวรกัน ให้มีหน้าที่ปรุงอาหารเป็นเวรกันไป ถ้าอยู่ที่นั่นอยู่ อย่างที่เรียกว่าตามบุญตามกรรมยิ่งกว่านี้ ไม่มีใครเอาใจใส่ว่ามันจะมีกับข้าวหรือว่าไม่มีกับข้าว ฉะนั้นบางวันต้องฉันข้าว เอ่อ, กับของหวาน และของหวานก็ไม่ใช่วิเศษอะไร ลูกข้าวต้มมัดๆ บางคราวผมแนะว่า ข้าวที่คลุกน้ำปลา น้ำส้ม น้ำตาลนั้นนะเป็นกับข้าว ถ้ากินกับข้าวที่เปล่าๆ ไม่ได้คลุกอะไร อย่างนี้ก็มี อย่างนี้ไม่ใช่แกล้งทำ มันบังเอิญ จำเป็นที่ให้ต้องทำอย่างนั้น ในวัน วันที่ว่าทำบุญพิเศษนักขัตฤกษ์ วันออกพรรษา เข้าพรรษาอย่างนี้ คนที่เขาเดินทางผ่านตรงนั้นเขามาขายของ แล้วก็ดักใส่เสียก่อน ก่อนที่เราจะเข้าไปถึงหมู่บ้านเลยมีแต่ของหวาน เป็นข้าวต้ม เป็นข้าวต้มมัดโดยมาก กับขนม ขนมแห้งๆ มั่ง แล้วมันเต็ม เต็มบาตร ไปบิณฑบาตอีกไม่ได้ต้องกลับเข้าไปในวัด แล้วก็ใส่ได้แค่ประตูวัด วันอย่างนี้ต้องฉันข้าวกับของหวาน มีอยู่บ่อยๆ แก้ปัญหาโดยคลุกน้ำปลาเสียสักส่วน ใส่พริก ใส่อะไร เท่าที่มันจะมี ข้าวส่วนนั้น กับข้าวแล้วไปกิน ฉันรวมกับข้าวเฉยๆ
เรื่องฉันอาหารของพระ ยังมีอีกเยอะที่อยู่ในพระไตรปิฎกที่ไม่ได้เอามาพูด ถ้าใบแรก หน้าแรกของพระไตรปิฎกเล่ม๑ ก็คือพระพุทธเจ้าฉันข้าวตากสำหรับเลี้ยงม้า ไม่มีแกง ไม่มีกับ ฟังดู ตลอดพรรษา พรรษานั้นเมืองเวรัญชา เผอิญเป็นเวลาที่ ปีที่ข้าวยากหมากแพงด้วย คนที่ขอร้องให้พระพุทธเจ้าจำพรรษาในเมืองนั้นก็มิได้เอาใจใส่ด้วยเหตุอะไร ทีนี้ไปบิณฑบาตก็ไม่ได้ มีพ่อค้าเลี้ยงม้าขาย เขาพาม้าไปขาย มีข้าวตากสำหรับเลี้ยงม้า ก็เลยแบ่งใส่ให้ในบาตร องค์ละฝ่ายมือ ข้าวตากแห้ง ก็ต้องเอามาทำให้เปียกด้วยน้ำ ขยำ หรือคลุก หรือโขลกอะไรตามใจ พอให้มันเปียกหน่อย คำนั้นผมสอบสวนดูแล้ว ผมแปลว่าข้าวตากแห้ง นักศึกษาบางคนไปแปลว่า ข้าวกล้อง ไม่ถูก ทำให้เปียกแล้วก็ฉัน ไม่มีกับข้าว จนตลอดพรรษา ในพระไตรปิฎกเล่ม ๑ หน้าแรก
พระอานนท์ยังไม่เป็นพระอรหันต์ พระอานนท์ซึ่งเป็นพระอรหันต์เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว พระอานนท์ทูลพระพุทธเจ้าว่าไป ไปเถอะ ไปทั้งในพรรษา พระอานนท์จะไปทั้งในพรรษา พระพุทธเจ้าไม่ยอม ไม่ยอมไป ทีนี้พระเถระบางองค์ที่มีฤทธิ์ เป็นพระโมคคัลลานะ จะขออาสาทำปาฏิหาริย์บิณฑบาตจากทวีปอื่นมาถวายฉันกัน เข้าใจว่าห้ามขาด ห้ามฉันอาหารที่มาด้วยการทำปาฏิหาริย์โดยประการทั้งปวง ก็เลยฉันข้าวตากเลี้ยงม้ากันตลอดพรรษา สาวกของพระพุทธเจ้าสมัยนี้มันสบายมาก
ในคำขอบรรพชาอุปสมบท มีคำว่าเราบวชอุทิศ มันมีความหมายว่าเราบวชอุทิศพระพุทธเจ้า บวชเป็นสาวกเพื่อเป็นผู้ทำตามคำสอน นี่ก็ลืมไป กินดีอยู่ดี อยู่ตึก อยู่ราม มีเก้าอี้นวม มีโทรทัศน์นี่แหละมันเลยผิดฝาผิดตัว ถ้าบวชมันก็ต้องเอาให้มันคล้ายพระพุทธเจ้าเข้าไว้แหละ เท่าที่ทำได้ ผมถึงพูดวันแรกว่า พระองค์ไหนต้องสั่งปิ่นโตมาฉันล่ะก็ เป็นคนตะกละแล้ว ไม่ทำอย่าง ไม่ทำตามอย่าง อริยวังสปฏิปทา คำนี้คงจะจำยาก อริยวังสปฏิปทา อริยวงศ์ คือ วงศ์พระอริยะ ปฏิปทา คือ การปฏิบัติ ตามพระอริยะวงศ์ ตามวงศ์ของพระอริยะ ก็คือเป็นอยู่ด้วยปัจจัย ๔ อย่างนี้ เท่าที่จำเป็นอย่างนี้ (นาทีที่ 18:28 คุยภาษาใต้กับญาติโยม : ผู้ตรวจทาน)
ถ้าว่าพิจารณาอย่างที่ตรัสไว้ มันก็ไม่ทำอย่างนั้นแน่ ถ้าว่าฉันโดยตัณหา ด้วยความอยาก ด้วยอะไรคล้ายๆ ว่า ฉันก้อนเหล็กที่ร้อนเป็นไฟเข้าไป ทำไม่ถูกตามวงศ์ของพระอริยเจ้า แล้วก็ทำตามกิเลสตัณหา ได้มาจากประชาชนที่เขาเลื่อมใส อย่างนี้เขาเรียกว่ากินก้อนเหล็กร้อนๆ เข้าไป ใช้คำว่าอย่างนี้ ที่เป็นพุทธภาษิตก็มี ที่กรุงเทพ บางวัดได้ยินว่า พระบวชใหม่ฉันกันสนุกสนานรื่นเริงครึกครื้น โดยญาติมิตรช่วยกันไปเลี้ยง เลี้ยงเพล เลี้ยงอะไรครึกครื้น ดีกว่าเมื่ออยู่ที่บ้านเสียอีก ดีกว่าอยู่ที่บ้านเสียอีก ไม่รู้สิ้นสุดจนออกพรรษาไปเลย นี่มันอธิบายยาก เขาไป เขาเกิดไปอวดกันว่าใครมีพวกพ้องมาก มีวาสนาบารมีมาก
ที่เราคลุกเป็นเนื้อเดียวนี่มันได้เปรียบมากตรงที่ว่า มันไม่ต้องระวังการฉัน จิตมันเลยพิจารณาได้ดี พิจารณาแต่ว่าอาหาร อาหารที่ฉันนี่ คืออย่างนั้นๆ แล้วมันยังไปไกลกว่านั้นว่า ไม่มีการฉันผัก ฉันเนื้อ ไม่มี ไม่เป็นที่ตั้งของความยึดถือว่านี่ผักหรือเนื้อ มันละเอียดปนกันไปหมด คนที่ยังไม่เคยรู้เรื่องก็ไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าท่านไม่ถือว่าฉันผักหรือฉันเนื้อ มันไม่ควรทั้งนั้นแหละ ผักก็ไม่ควรเนื้อก็ไม่ควร ถ้ายึดถือลงไปแล้ว ต้องฉันอาหารที่ถูกต้อง ทีนี้ที่ถูกต้องมันมีความหมายในตัวมันเองนี่ เนื้อที่เขาทำมาไม่บริสุทธิ์หรือแม้แต่ผัก ถ้าทำมาไม่บริสุทธิ์ก็ไม่ควร ไม่ถูกต้อง ระบุให้เก็บผักมาให้ฉันอย่างนี้ ก็เรียกว่าผักนั้นไม่ถูกต้อง ไม่สมควร เป็นเรื่องของการอย่างอื่น มันเป็นเรื่องของการไม่มีธรรมะ เนื้อที่เขาฆ่าเจตนาจะให้เราฉันนี้ ฉันไม่ได้ เนื้อที่สัตบุรุษประชาชน สุภาพบุรุษทั้งหลายไม่ ไม่รับประทานกัน ก็ไม่ควรฉัน เนื้อเสือ เนื้อหมี เนื้อสุนัข เนื้ออะไรก็ ๗-๘ อย่างนั้น ผมก็ไม่ค่อยจำด้วยได้ แต่ว่ามัน มันอยู่ในเนื้อที่เราไม่ฉันนะ อยู่ในพวกที่เราไม่ฉันทั้งนั้นแหละ เนื้องู เนื้อสุนัข เนื้อหมู เอ้ย, เนื้อหมี เนื้อเสือ เนื้ออะไรต่างๆ นี้
ตรงนี้มีความสำคัญที่จะบอกให้ทราบว่า อย่าไปถืออย่างเถรตรงหลับหูหลับตาตามตัวหนังสือ หรือตามจำนวนที่เขาระบุไว้ในบาลี เราต้องจับความหมาย ความมุ่งหมายให้ได้ ทำไมถึงห้ามเนื้อเหล่านั้น พอได้ความหมายแล้ว เราไปนั่นเอาเองได้ เนื้ออื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในบาลี ก็เป็นอันว่าไม่ควรทั้งนั้นแหละ เช่นว่าไม่ฉันเนื้อเสือ เนื้องู แต่ก็ไม่ได้ระบุว่าไม่ให้ฉันเนื้อปลาฉลามอย่างนี้เป็นต้น นี่ถ้าประชาชนเขารังเกลียดปลาฉลาม เท่ากับเนื้องู เนื้ออะไรก็ไม่ควรทั้งนั้นแหละ ปลาฉลามก็ไม่ควรไป เพราะในประเทศอินเดียในแผ่นดินผืนใหญ่นั้นมันไม่รู้จักปลาฉลาม มันก็เลยไม่ได้มีพูดถึงปลาฉลามอะไรทำนองนั้น และถ้าหมู่บ้านนี้ หมู่บ้านแถวนี้ไชยา โดยเฉพาะพุมเรียงนะ ไชยาไม่เป็นนะ เกลียดปลาฉลามทั้งนั้น ขายทั้งนั้นแหละไม่กินนะ ทีนี้บางคนยืนยันว่าแม้กินโดยไม่รู้ก็ขึ้นอะไรที่ปากนี่ ขึ้นเป็นที่เขาเรียกว่าขี้กลาก ขี้กลาก เรียกว่าเอิม ที่ปาก ที่นี้เราก็ควรจะรู้ว่าเราไปกินปลาฉลามเข้าไปแล้วอะไรอย่างนี้ ผมก็พลอยขยะแขยงกับเขาไปด้วย ปลาฉลามถ้าเห็นอยู่ลิบๆ นั้น ไม่นั่นหรอก แล้วรสก็มันก็ประหลาดนะฉันเข้าไปนี่รู้ทันที เห็นไหมว่าบาลีมันมีแต่เนื้อเสือ เนื้องู เนื้อสัตว์ร้ายๆ นะ สัตว์ที่เขาประนาม แต่ไม่มีปลาฉลามหรือจระเข้อะไร เพราะในอินเดียที่แถวนั้นมันไม่มี จึงถือความหมายอย่างนี้
คำว่าฆ่าสัตว์ พระพุทธเจ้าใช้คำว่า ทำสัตว์ที่มีปาณะให้ตกล่วงจากปาณะ นี่มันกว้างหมดเลย เดี๋ยวนี้มาแปลว่าฆ่า ฆ่าด้วยมีด ด้วยอะไรอย่างนี้มันทำให้แคบ โดยวิธีใดก็ตามทำสัตว์มีชีวิตให้มันหมดจากชีวิตเราก็เรียกว่า ฆ่า ทีนี้มันยังมีเรื่องเกี่ยวข้องอย่างอื่นอีกถึงอาหาร เช่นว่าอาหารที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ นี้ควรจะเว้นเอาเองได้ เฉพาะคน เช่นกินเข้าไปแล้วส่งเสริมความรู้สึกทางเพศ หรือกินเข้าไปแล้วทำให้ง่วง ให้อยากนอน อย่ากินเข้าไปเพราะเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
ครูบาอาจารย์รุ่นก่อนๆ ที่เคร่ง บางคนถึงกับเอาน้ำเติมล่วงหน้า ก็ไม่เห็นมันอร่อยนักนะ เอาน้ำเติมไป แกง ในแกง เขาเปรียบเทียบว่าอันนั้นมันอร่อย อันนี้มันไม่อร่อย กินอย่างที่ไม่อร่อย ทีนี้บางองค์ถึงกับเติมไว้ก่อนเลย คือเพื่อจะไม่ต้องทานให้เกิดความรู้สึกอร่อย ไปเป็นข้าศึก เกิดความรู้สึก Conflict กันอยู่เสียเวลา เดี๋ยวนี้พวกเราไม่ทำ คอยแต่จะเรียกหาพริกไทย หาน้ำปลา มาใส่ มาโรยเข้าไปอีก
ทีนี้ไปดูงานเลี้ยงที่มีเกียรติ นึกเศร้า เศร้าก็เศร้า นึกขันก็ขัน เขาเลี้ยงพระอย่างมีเกียรติ ใช้ขันโตกประดับมุก ใช้อาหารอย่างดี ภาชนะอย่างดี มีหม้อที่มีถ่านไฟอยู่ข้างใต้ สำหรับบางอย่างเพื่อให้พระฉัน นี่มันหลับหูหลับตาทั้ง ๒ ฝ่าย และที่กรุงเทพ มีที่กรุงเทพโดยเฉพาะ และก็โดยเฉพาะยิ่งไปอีกคือชั้นเจ้านายชั้นสูง ชั้นขุนนางชั้นสูงนะ นี้ทำผิด ต้องประนามว่าอย่างโง่เขลาที่สุดเลย อย่างพอนิมนต์พระเถระผู้มีเกียรติผู้หลักผู้ใหญ่มานั่งฉัน พอประเคนเสร็จเอาเก้าอี้มาตัว นั่งนี้คน นั่งนี้คน นั่งนั่นคน คอยถามเรื่อย ผมไม่ได้ฉันเลย เพราะเรากว่าจะตอบคำถามเสร็จ จะมีโอกาสฉันสักคำหนึ่งก็ยังยาก ถามเรื่อย มันผิดวินัย มันเป็นเรื่องทำให้พระผิดวินัย ต้องพูดทั้งที่เคี้ยวข้าวอยู่เต็มแก้ม แต่เขาก็ไม่ถือกัน ทีนี้พระทั้งหลายก็เลยต้องผิดวินัยทั้งหมดนั้นแหละ ก็เจ้าของบ้านเขาต้องการอย่างนั้น เขาก็ทำให้พระฉันได้ สบายใจ ใช้กันเลยว่าไปคุยกับท่านที ไปคุยกับท่านที ท่านจะได้ฉันมากๆ ได้ยินว่าอย่างนี้ ไม่มีใครพูดว่าจะทำให้ท่านผิดวินัย ไม่มี แล้วก็มานั่งคุย ถามนั่นถามนี่เรื่อยไม่ใช่ถามธรรมมะนะ นี่ต้องถือว่าที่กรุงเทพนั้นเอง ยังป่าเถื่อนล้าหลังในทางธรรม ทางวินัยเกี่ยวกับพระ บ้านนอกไม่ทำหรอก ฉะนั้นว่าอย่าเอาอย่างกรุงเทพนะ ทีนี้จำๆ นะ ถ้าข้าวอยู่ในปาก พูดแล้วรู้ว่าข้าวอยู่ในปากแล้วก็อย่าพูด เพราะว่ามันมีวินัยห้ามไว้ ควรจะช่วยกันรักษาไว้ นานๆ จะรู้กันไปเองแหละ อย่ามากวนเวลาฉัน
นี้เรา พูดตัวอย่างที่ว่า เราต้องรักษาระเบียบครั้งพุทธกาลไว้หรือเรียกว่าทำไว้ ทีนี้ทางหนึ่ง ตรงกันข้าม ว่าเราอย่าทำอย่างครั้งพุทธกาลเลย บางอย่างบางชนิดที่มัน มันเป็นปัญหา ผมพยายามสังเกต พยายามค้นคว้าหรือพยายามศึกษา บางอย่างมัน มันแสดงว่ามัน มันจะต้องซดจากบาตร ถ้าเป็นข้าวต้มมันจะต้องดื่มจากบาตร อย่างนี้สมัยนี้เราไม่ควรทำ ถึงแม้ว่ามันจะมีกันในครั้งพุทธกาล มันไม่คำที่พูดถึงช้อนเช่นนี้ แต่มันมีแค่คำว่าดื่มข้าวต้ม ยาคู ดื่มยาคูหรือข้าวที่ต้มเหลว น่าจะสงสัย สงสัยหรือว่าเชื่อได้ว่าจะต้องดื่มจากบาตร เมื่อเขาถวายยาคู แต่เวลาที่เขาถวายยาคู มันอีกเวลาหนึ่งต่างหาก แต่บาตรครั้งพุทธกาลมันคล้ายขันน้ำ มันก็พอจะดื่มได้ หรือว่าเรื่องฉันด้วยมือนี้ ถ้าว่า มันในที่ประชุมที่ที่เขามีเกียรติก็ควรจะเว้นเสียบ้าง แต่ว่าอาจารย์ของเราที่ตายไปแล้ว อย่างเช่น เจ้าคุณชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ เจ้าคณะเมืองไชยานี้ไม่รู้ ไม่รู้ไม่ชี้ ต่อหน้ารัชกาลที่ ๕ ท่านก็ทำอย่างนี้ คำใหญ่ๆ ทั้งนั้นเลย ก็ทำดีเรียบร้อย ที่ไปตามที่กรุงเทพก็ตาม ในวังก็ตาม เขาไม่ประจบสังคม เป็นอิสระแก่ตัว
กระผมเคยไปหลายๆ แห่ง เห็น เห็นปัญหาเหล่านี้ ไปที่อินเดียก็ฉันข้าวด้วยมือ แต่แบบนั้นผมก็สู้ไม่ได้ ก็เลยขอฉันตามธรรมดาที่ว่าพระไทย ฉันด้วยมืออย่างลังกา อย่างอินเดียสู้ไม่ได้ มันขยำ ขยำเหมือนกับทำเล่น เหมือนกับทำบ้าๆ บอๆ มันทำมาแต่เล็กแต่เด็กๆ นะ ประเพณี วัฒนธรรมไม่ห้ามหรือส่งเสริม ขยำอย่างนี้ จนขึ้นมาทางนี้ อาหารที่เลี้ยงพระแพงๆ แล้วมัน มันเละนะ ไม่มีเนื้อ เนื้อผัก เนื้อสัตว์ เขาทำให้จนเละละเอียด แปลงถั่วแปลงมัน แปลง สำคัญมันทำแบบ เป็นเละๆ นะ ไม่มีธรรมเนียมซดน้ำแกง ขยำกับข้าว ฉันว่าเลี้ยงซุปอย่างฝรั่ง ทำกันอย่างไรไม่ทราบไม่เคยเห็น นี่เลี้ยงอย่างมีเกียรติ เลี้ยงคราวมีงานประชุม คราวที่เขาเรียกว่ามีเกียรติ พระเถระก็ชั้นมีเกียรติสูงสุด พระลังกา ๒ องค์ แล้วก็พระอินเดียบ้าง แล้วก็นอกนั้นก็พระธรรมดาบ้าง ผมนี่แปลกเป็นพิเศษ พระลังกา ๒ องค์คือพระพุทธทัตตะ มีชื่อเสียงมากนะ ที่แปลงหนังสือบาลีเป็นภาษาอังกฤษเยอะแยะไปหมดเลย ทีนี้แล้วก็อีกองค์หนึ่งก็ นารทะ มีชื่อเสียงมาก คล้ายๆ กับธรรมยุตนะ มีชื่อเสียงทางเคร่งครัด ทางรู้ ทางรอบรู้แตกฉาน ฉันข้าวอย่างนั้นทั้งนั้น เราสู้ไม่ไหวต้องฉันอย่างช้อน ส้อมที่มีไป เขาเหลือบมองแล้วเขาเมิน เราคงจะไปทำให้เขาเสียพิธี นึกที่หลังก็ นึก นึกนั่นอยู่เหมือนกัน เขาอยากจะทำอย่างนั้นเสมอหน้ากันหมดก็ได้ เขาทำทุกองค์ นอกจากองค์ ๒ องค์ที่ไปด้วยกัน พระไทย เห็นได้ชัดว่าเป็นพิธี เพราะว่าถาดที่เขาเอามาใส่ให้ฉันมัน มันเหมือนกันหมดทุกใบ ถาดเท่านี้ ขอบสูงๆ ขอบกลมๆ เท่านี้ ถาดเป็นถาดเก่าคร่ำ เป็นถาดพิธี เอาข้าวใส่ไป ไม่ได้ใช้ ไม่ได้ใช้บาตร ใช้ถาด ถาดเท่านี้ แล้วแกงหยอดลงบนข้าว ทีนี้คนอื่นมาก็ทำอย่างนั้นอีก คนอื่นมาก็ทำอย่างนั้นอีก เดียวมันก็เต็มถาด กองนี้มันหยอดแกงนี้ แกก็ขยำ ขยำ ขยำ ฉันเข้าไป แล้วก็มาขยำกองนี้แกงอื่นอีก นี่ของอร่อยที่สุด ก็มากขึ้นๆ จนพูนถาด น่า ถ้าบ้านเราก็น่าเสียดายคือคงไม่มีใครกินน่ะเอาไปเท แต่ที่นั่นมันเอาไปกินหมดแหละ เพราะว่าเขากินกันอย่างนั้น ชาวบ้านลูกศิษย์เอาไปกินหมดไม่ต้องเท เป็นข้าวคลุกอยู่เป็นส่วนๆ ส่วนๆ ไป กับแกงต่างๆ นั้น เราก็เชื่อว่าครั้งพุทธกาลก็ไม่ใช่อย่างนี้ ใช้ถาดแทนบาตร ถ้าใช้บาตรไว้เป็นส่วนตัว หรือเคร่ง หรือเป็นธุดงค์ ฉันอย่างธรรมดา อย่างไม่เคร่ง อย่างฉลองศรัทธา ใส่ถาด
ถ้าเล่าก็เล่าให้หมดว่า บางอย่างเอาอย่างไม่ได้ คือมันเกี่ยวกับธรรมเนียม วัฒนธรรมหรือธรรมเนียม พุทธไทย พุทธลังกา พุทธพม่า มันไม่เหมือนกัน ก็ต้องรักษาธรรมเนียมไทย เช่น ต้องประเคนนี้ต้อง ก็ต้องรักษาไว้ อย่าไปอ้างผู้อื่นแล้วไม่ต้องประเคน เช่น นิมนต์ฉัน นิมนต์ฉัน ก็ไปนั่งกันโครมแล้วก็ฉันกันเลย ไม่ต้องประเคน ทีนี้การประเคนมันก็หมายถึงเอาวางไว้ตรงหน้า นี่อย่างพม่าเขาไม่นั่นหรอก ไม่ต้องประเคนอย่างเรา เหมือนฉันก็นั่งล้อมก็ฉันเลย แล้วก็ไม่ต้องนั่งเรียบร้อย ไม่ต้องนั่งขัดสมาธิก็ได้ นั่งขัดสมาธิก็ได้ นั่งพับเพียบก็ได้ นั่งชันเข่าข้างหนึ่งก็ได้ นั่งยองๆ ก็ได้ รวมโต๊ะกันนี้ แถมว่าลุกไปฉันโต๊ะนั้นนอีกก็ได้ ในพิธีนะทำถึงขนาดนั้น แต่พระลังกาไม่ทำ แต่พระลังกามีอะไรเลยเถิดอยู่อย่างว่า มันเข้าข้างหน้า เข้าไม่จุแล้วต้องเข้าทางหลังนี่ เรานั่งฉันอยู่อย่างนี้เขาใส่มาทางนี้ ตักข้าวตักแกงใส่ข้ามบ่ามาหย่อนลงไปในถาดนี่ ข้างหน้าเข้าไม่จุ ทีนี้ผู้หญิงผู้ชายก็ไม่รู้ ผมเห็นแล้วก็รำคาญ ยายแก่ทำอย่างนั้นกัน ชายผ้ายายแก่ลากหัวพระเลย ที่จะเอาข้าวใส่ถาดตรงหน้า ไม่ถือกันนะ ไม่มีใครถือ พระก็ไม่รู้ไม่ชี้ ผู้หญิงก็ใส่บาตรจากทางหลัง ข้ามบ่ามานะมาอยู่ตรงนี้ แต่ชายผ้ารุ่มร่าม ส่าหรีแดงๆ แบบลังกา มันลากไปลากมาบนหลังพระอย่างนี้ อย่างนี้ อย่างนี้ไม่เอาอย่าง ผมยังบอกว่าวัด เราถ้าว่าเป็นผู้หญิง โดยเฉพาะประเภท เพศหญิงถ้าเข้ามาใกล้ มาใส่บาตรใกล้ๆ ให้ห่มคลุมห่มคลุมเถอะ วัดอื่นเขาไม่ทำหรอกหรือบางวัดเขาถือว่าผิดเสียด้วย ห่มคลุมในวัด เรื่องนี้วินัยมันไม่มีเป็นตัวลายลักษณ์อักษรหรอก เรามีเหตุผลของเราว่าถ้าผู้หญิงเข้ามาใกล้ขนาดจะหัวจะชนกัน หรือจะหายใจรดนี้ ต้องห่มคลุมแล้ว
เรื่องนี้พวกธรรมยุตเคร่งที่สุดเลย เรื่องไม่ห่มคลุมในวัด มันเข้าใจวัดผิดไป ห่มเปิดอยู่ที่ ที่ประชุมที่ถ้ำ ภาษาคูหาอะไรแปลกเพื่อน แล้วมีขนรักแร้ยาวด้วยพอดีกัน มันก็อวดขนรักแร้ พระตั้งสามพันกว่ารูป มีธรรมยุตสิบกว่ารูปนะที่ห่มแบบอย่างนี้ นอกนั้นเขาก็ห่มคลุมกันหมด พระมหานิกายไทยก็ห่มคลุมคือไม่ทำตามธรรมยุต เขาแยกกันที่พม่า พม่าเขาถืออย่างนั้น จะเข้าที่ประชุมนุ่งห่มเรียบร้อยคือห่มคลุมแล้วก็ถ้าเกี่ยวข้องกับฆราวาสยิ่งห่มคลุม อยู่ในวัดส่วนตัว Private ถึงจะห่มแบบนั้นคือแบบเปิดไหล่ วินัยมันมีแต่เพียงว่าเข้าไปในบ้านต้องห่มให้เรียบร้อย นุ่งห่มให้เรียบร้อย ถ้าถือเถรตรงว่าเฉพาะเข้าไปในบ้านในเรือน มันก็ทำแต่ที่โน่น เดี๋ยวนี้เราถือว่าถ้าฆราวาสเข้ามาถึงตัวนี่ เขาพาบ้านมาด้วย ต้องปกปิดให้เรียบร้อยให้มิดชิดแม้ในวัดนะ
ทีนี้คำว่าพุทธะ คือพระพุทธเจ้านั้น ต้องไม่งมงาย ต้องไม่มีอะไรงมงาย ทำอย่างนี้มันก็เหมือนเข้าโรงเรียนไปพลางแรกๆ แรกๆ ตอนแรกๆ ต่อไปต้องรู้ รู้จักนั่งฉันคนเดียว องค์เดียว ไม่พูดอะไร พิจารณาอยู่ข้างใน เกี่ยวกับเรื่องนี้ มันมี มีความลับให้อยู่บ้าง ความคิดของเรา การพิจารณาของเรานี่ มันเนื่องกับสิ่งแวดล้อม ของบางอย่างพิจารณาเมื่อมันมีอะไรอยู่ ถึงจะพิจารณาออก พิจารณาได้ดี ถ้าไปอยู่ในสภาพอย่างอื่น กลับพิจารณาไม่ค่อยออก เช่น มาอยู่โคนไม้นี่ พิจารณาได้ออกดี ถ้าอยู่ที่อื่นพิจารณาไม่ออก แต่ในบางทีมันก็กลับกัน บางทีสิ่งที่เราจะพิจารณาได้ดีเมื่อเห็นอาหารอยู่นะ ทีนี้จะไปพิจารณาในเวลาเมื่อไม่มีอาหารอยู่เฉพาะหน้านี่มันพิจารณาไม่ออกก็มี ฉะนั้นมันมีหลักว่า ต้องพิจารณาทุกอิริยาบท เพราะฉะนั้นมันมีอะไรที่เป็นเครื่องช่วยให้พิจารณา เราก็พิจารณา เพราะอย่างน้อยมันก็มีความสงบ สงัด เงียบ หรือว่ามันเป็นสมาธิตามธรรมชาติ แม้ที่สุด กำลังนั่งอยู่บนส้วม นั่งส้วมอยู่ ก็เป็นเวลาที่จะคิดอะไรบางอย่างออก ซึ่งไปคิดที่อื่นอาจจะไม่ออก หรือไม่ออกง่ายหรือไม่ออกเข้าก็มี ถึงแม้นั่งอยู่ในส้วม นั่งอยู่บนโถส้วมก็ตาม อย่าให้มันเสียประโยชน์ บางทีมันคิดออกมากดีด้วยอีก อย่างนี้ก็เคยมาแล้วก็ต้องเขียนไม่อย่างนั้นลืม แล้วที่กำลังเดินนั้นน่ะดีเหมือนกัน ถนนที่จากตลาดไปถึงพุมเรียงสวนโมกข์น่ะ ที่ไปทำวัตรกันก็เห็น ถนนเส้นนั้นตรงนั้นมันเป็นทุ่งโล่งตั้ง ๒ กิโลทางขวาตรงนั้น ฉะนั้นเรื่องอะไรที่ผมมาเขียนให้คนอ่านกันทั้งประเทศนะ คิดออกแถวนั้นมากที่สุดเลย เดินๆ อยู่ก็คิดได้แล้ว เดินคนเดียวนะ คิดไปก็รีบ รีบเขียนหัวข้อใส่ฝ่ามือ แล้วก็ค่อยไปเรียบเรียงไปเขียน ไปพูด ไปเทศน์ ในที่เดินจงกรมบางทีคิดไม่ออกก็มี จะคิดออกเมื่อเดินอยู่ที่ทุ่งนา เงียบๆ ไม่ค่อยมีคน ก่อนนี้ไม่ค่อยมีคนนะ รถยนต์ไม่มีสักคัน เดินตั้ง จากตรงนั้นมาตรงนี้ไม่ ไม่สวนทางกับใครกี่ กี่คนเลย ความโล่งโถ่งของทุ่ง วิวที่มันสวยงามของภูเขาอะไรต่างๆ ช่วยให้คิดออก แทบจะไม่ต้องคิดมันไหลออกมาเอง
อันนี้หมีชอบกิน ไงต่อ ฉะนั้นเวลานั่งฉันอาหารอยู่ต้องพิจารณาบางอย่าง มันจะออกดีกว่าเวลาอย่างอื่น เพราะมันคนละเรื่อง คนละแบบ อย่าไปมัวคุยกันเสียเวลาฉันอาหาร แยกไปฉันที แห่งละคนๆ ไปนั่งคุยกับอาหารนะ มันเป็นโอกาสที่มันสมองหรืออะไรก็ตามแต่ มันรวมของมันแบบหนึ่ง แล้วมันก็ออกไปแบบหนึ่ง ที่อื่นก็ไปแบบอื่น ที่อื่นก็ไปแบบอื่น ตามหลักปฏิบัติถือว่าต้องสำรวมพิจารณาอยู่ทุกอิริยาบท แล้วว่าแต่อยู่ในอิริยาบทอะไร
ความคิดที่มีประโยชน์เกิดเวลาที่เราอ่านหนังสือมากๆ นะ อ่านหนังสือมันมีแง่คิด แล้วเราคิดเตลิดเปิดเปิงไปตามแบบของเรา ไม่ใช่เอาตามตัวหนังสือ คือคิดอย่างตรงกันข้าม บางทีคิดได้ดีกว่าออกไปอีกทางหนึ่ง อ่านหนังสือพิมพ์การเมืองก็ทำให้เกิดในแง่ธรรมะ อ่านเรื่องความบ้าหลังของมนุษย์สมัยนี้ แล้วความคิดมันเกิดในแง่ของธรรมะ ที่เป็นความสลดสังเวช สังเวชในความที่มันไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม มันทำกันอย่างไม่น่าทำ มันเนื่องๆ เนื่องๆ กันไปหมดความไม่น่าทำ มันเนื่องๆ จนต้องทำจนเป็นเหตุต้องให้ทำ เดี๋ยวนี้มาบวชแล้วมันก็เป็นอิสระที่สุด จะคิดอะไรก็ได้ จะทำอะไรก็ได้ ได้ใช้ให้มันเป็นประโยชน์เถอะ
ถ้าเรารู้ว่าเกิดมาทำไม เราจะทำถูกไปหมด แม้แต่กินอาหารนี้ก็จะกินถูก ถ้าเรารู้ว่าเราเกิดมาทำไม เกิดมาเพื่อกินหรือว่าเกิดมาเพื่อทำอะไร ทีนี้ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม จึงทำสิ่งที่ไม่น่าทำ อย่างร้ายแรงก็มี เห็นแต่ความรู้สึกวูบวาบส่วนตัวไม่บังคับ นี่ของผมเลี้ยงหมี เลี้ยงสุนัข เลี้ยงปลา เลี้ยงแมว บาตรนี้ ฉัน เลี้ยงกันหลายชีวิต หลายปาก แอปเปิ้ลนี่หมีชอบกิน ทุเรียนมันก็กิน แต่หมาไม่กิน หมีกิน หมาไม่กิน คิดดูสิ ฉะนั้นอย่าหาว่าหมีกับหมาอย่างเดียวกันนะ นี่ถ้าเก็บไว้เดือนหนึ่งไปขายได้หลายสตางค์ ถ้าทิ้งก็ทิ้งไป ถ้าเก็บไว้ก็เยอะแยะเลย ปีหนึ่งผมเก็บไม้กลัดได้ตั้งกระป๋องหนึ่ง
ฉันแล้วแสดงอาบัติ พวกที่ถือแบบโบราณ ฉันแล้วต้องแสดงอาบัติ ทุกวัน อาบัติมีหรือไม่มี ไม่รู้แสดงมันทุกวัน จนคล่องนะ อย่างที่อาตมาอธิบายให้ฟังแล้วว่าถ้าเราไม่รู้ เราก็แสดงแบบว่าฝึก ฝึกแสดงอาบัติ ถ้ามีอาบัติจริงก็แสดงจริง ถ้าไม่มีแสดงอาบัติก็ฝึกการแสดงอาบัติให้คล่อง ให้มีนิสัยไม่ผิดอาบัติ แต่มันถูกประนามว่าโง่เขลางมงาย คนสมัยใหม่เขาประนามอย่างนั้น ว่าโง่เขลางมงายแล้วก็เลยไม่แสดงกันเลย ฉะนั้นพระรุ่นหลังๆ นี้จะไม่แสดงอาบัติกันเลย มันเกิดการ........เสียงขาดหายไป(นาทีที่ 1:01:10-1:02:42) ... มันพูดไม่ได้นะเจ้านี้ ต้องแสดงอาบัติทุกอย่าง เผื่อจะมีอาบัติประเภท อจิตตกะ คือ ต้องอาบัติโดยที่ไม่รู้ตัว ผมอยู่ที่สวนโมกข์ที่พุมเรียง ผมไปนั่งฉันที่ริมสระกับปลา กับเต่าเยอะแยะไปหมดเลย เต่าสิบกว่าตัวกินข้าวเป็นเมื่อไรก็ไม่รู้ มาถึงมันก็กินเป็นแล้ว เต่านี่มันก็กินข้าวเป็นเลย มีปลา เยอะแยะ ปลาเป็นพวก มันเป็นพวกปลา ปลา ซิว ฝาบาตรของเราไม่ต้องล้าง หย่อนลงไปในน้ำ ที่ริมนั่นแหล่ะมันตอดกินกันหมดเกลี้ยงเลย มาอยู่ในฝาบาตรเต็ม น่าดู ดูไป ดูไป กลายเป็นพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ที่โง่เขลาเหมือนกับปลา นมก็แปลกเหมือนกัน เต่าก็กินเป็น ทั้งที่มันไม่เคยกินนะ มันกิน เต่านะ เต่าตัวเล็กนะ นมข้น นมกระป๋อง เต่ากินเป็น ไม่เคยรู้เรื่องมันก็กิน มันเป็นของพิเศษ นม เช่นเดียวกับลูกน้ำ ปลาทุกชนิดมันกินลูกน้ำ ไม่มีใครสอน ครั้งแรกมันก็กินเป็นแล้ว ไม่ต้องสอน บาปกรรมของลูกน้ำยังไงก็ไม่รู้ ปลาทุกชนิดจะกินลูกน้ำ ปลาตัวโตหรืออะไรอย่างนี้ มันก็อุตส่าห์ดูดอะไรเข้าไปจนหมด ปลาออสก้า ปลาแรด ปลาตัวโตๆ นี้มันก็ยังอุตส่าห์กินลูกน้ำ นมนี่ รสชาติของมันคล้ายๆ มันฟ้องหรือมันบอกตัวเองว่า นี่อร่อยที่สุด จิ้งจกก็กิน ยุงก็กิน อะไรก็กิน แม้แต่เต่าก็กิน ครั้งแรกมันก็กิน ไม่เคยกินมันก็กิน มันดมแล้วมันกิน สนุก ไปอยู่เป็นเพื่อนกับสัตว์เหล่านี้ หลายๆ วัน ได้เห็นปลาตะเพียนชนกัน ปลานี้กัดกันอย่างวิธีชนกันดัง ปุ้ง! เลย วิ่งไปที่ไกล ชน น้อย น้อยคนจะได้เห็น เห็นแต่ที่มันไม่ยอม ไม่ยอมเบียดเบียนกันนะ ปลาตะเพียนนี้ มันธรรมดาไม่มีเบียดเบียนกัน มันก็ต้องพิเศษมั่ง วิ่งชน
สัปดาห์แรกๆ นี้ อุตส่าห์สนใจเรื่องวินัยเบื้องต้นให้หมดเสีย จะได้พูดเรื่องอื่นกันต่อไป นวโกวาท เรื่องผ่านมาลืมเสียให้หมด รู้วินัยเบื้องต้นอย่าทำผิด สรุปความแล้วจะเป็นคนที่มีการบังคับตัวเองดีมาก ความระลึก ความจำ ความสติ สติสัมปชัญญะจะดีขึ้นมาก ถ้าเราถือวินัย วินัยก็บัญญัติไว้เพื่ออย่างนี้ ถ้าเผลอมีผิดวินัยแน่ ถ้าไม่เผลอ ไม่ผิดวินัยก็คือไม่เผลอ หรือไม่เผลอก็ไม่ผิดวินัย ฉะนั้นการปฏิบัติวินัยนี้ ทำให้ไม่เผลอ ใน ใน ระดับพื้นฐาน ฉะนั้นอย่าทำเล่นกับวินัยแม้แต่เล็กๆ น้อยๆ ตามพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าจะเห็นเป็นโทษ อันตราย แม้ในโทษที่มีประมาณน้อยนิดเดียว ไม่เห็นเป็นของน้อย ทำข้าวหกจากบาตรสักเม็ดหนึ่ง ก็คงคิดจะว่าน้อยมาก แล้วไม่เอาใจใส่ ต่อไปมันก็จะหลายเม็ดเข้า หลายเม็ดเข้า จนกระทั่งไม่มีขอบเขต เล็กน้อยนะสำคัญ ทางธรรมะเขาก็มีหลักอย่างนั้น ทางวินัยเขาก็มีหลักอย่างนั้น นิดหนึ่งก็แสดงอาบัติ ทางธรรมะเขาว่านิดหนึ่งก็ไม่ประมาท ทางธรรมะมีหลักตรัสว่า น้ำฝนทีละเม็ดเต็มโอ่งได้ ในทางธรรม ทางวินัยท่านตรัสไว้ตรงๆ ว่าให้เห็นว่าเป็นภัย คือ อันตราย แม้ในโทษที่มีปริมาณนิดเดียว เป็นอาบัติที่เล็กสุด ก็เห็นว่าเป็นอันตราย ลองทำให้ดีสิ ตลอด ๓ เดือนนี้ คงเปลี่ยนแปลงมากในบุคคล คนหนึ่งๆ จะเปลี่ยนแปลงมาก
นี่มาบอกให้เขาเปลี่ยนกระบอกทองเหลืองทีนะ นั่นแหละ กระบอกทองเหลืองนี้ผมจะรักษาไว้เป็นอนุสาวรีย์ สอนธรรมะอยู่ในตัว Bomb กลายเป็น Bell ลูกบอมบ์ที่เขาทิ้งที่อุดรธานี เอามาตัดทำระฆัง นี้ก็ลูกปืน ลูกปืนใหญ่บ้าง ฮาวไอเซอร์ (นาทีที่ 1:09:30 ไม่แน่ใจ ดูใน Google น่าจะเป็นคำนี้ที่ใกล้เคียงที่สุด ประโยคหลังๆ เป็นภาษาใต้ฟังไม่ชัด รบกวนช่วยตรวจสอบอีกครั้งด้วย : ผู้ตรวจทาน) บ้าง แล้วคืนเมื่อไร อันหนาอัน ขอคืน ใครเอาสูญไปไหน อยู่บ้านน้าย่อม ขอคืนไปดูแล้วให้ครบ กระบอกทองเหลืองขอเอากลับครบหมด ไม่ทิ้งไว้ที่นี่ นี่ของไม่ใช้นะจะทิ้งก็เอาไปเถอะ ขโมยก็เอาไปเถอะ แล้วนี่จะเก็บไว้เป็นที่ระลึกสงคราม สงครามญี่ปุ่น แล้วนิมนต์ปิดประชุม ไปอ่านหนังสือไปทำอะไรที่มีประโยชน์ อย่านอนเสีย อย่าไปคุยกันเสีย ถ้าคุยต้องพูดธรรมะ ถ้าไม่พูดธรรมมะเขาก็ว่าให้นอนเสีย ทั้งที่นอนนั้นยังใช้ไม่ได้ การนอนใช้ไม่ได้ แต่ถ้าไม่พูดธรรมะก็ไปนอนเสียดีกว่า