แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เมื่อวานนี้เราพูดกันถึงเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมแล้วก็ในแง่ของธรรมะ ไม่ใช่ในแง่ของการเมือง ก็ได้แยกกันเด็ดขาดแล้วว่าเรื่องการเมืองนั้นก็เอาไปไว้กับพวกนักการเมือง หรือภาษาการเมืองซึ่งบางทีมันก็ไม่ค่อยจะตรงกันกับภาษาธรรมะ ฉะนั้นวันนี้ก็จะพูดเรื่องการรับใช้สังคมและก็ในแง่ของธรรมะ โดยเจตนารมณ์ของธรรมะอีกนั่นเองไม่ใช่ในรูปการเมืองหรือภาษาการเมืองหรือเจตนารมณ์ทางการเมือง เพราะว่าพูดไม่เป็น เพราะว่าไม่อยากจะเป็นนักการเมือง ถ้าว่ากันในทางธรรมะ การรับใช้สังคมนี้ก็ต้องถือว่าเป็นธรรมะอย่างยิ่ง ในบางศาสนาเขาถือเป็นหลักเลยว่าการรับใช้ผู้อื่นคือรับใช้พระเจ้า รับใช้ผู้อื่นคือรับใช้พระเป็นเจ้า ถ้ารับใช้ตัวเองมันก็หมายความว่ารับใช้พญามาร คือ กิเลส แต่แล้วก็อย่าเอาไปปนกันจนยุ่งไปหมดว่าเราจะไม่ต้องนึกถึงตัวเอง ไม่ทำความหลุดพ้นให้แก่ตัวเอง เมื่อวานก็ได้พูดแล้วว่าการทำประโยชน์ผู้อื่นนั้นแหละ มันกลับเป็นประโยชน์ตนเองอย่างยิ่ง เพราะว่าเรามันต้องเสียสละ ต้องประกอบไปด้วยธรรมะ จึงจะรับใช้ผู้อื่นได้ จึงจะเห็นแก่ผู้อื่นได้ ทีนี้จะพูดให้ชัดกันในแง่นี้ ถ้าพูดว่ารับใช้ตัวเองก็คือรับใช้กิเลส กิเลสต้องการอย่างไรก็ทำไปอย่างนั้น ทางธรรมะก็แสดงอยู่แล้วว่ามีตัวอันแท้จริง นี่ขอให้ทุกคนศึกษากันในข้อนี้ก่อนว่าโดยทางธรรมะแล้วตัวตนอันแท้จริงมันไม่มี จะรับใช้ตัวตนอันแท้จริงได้ที่ตรงไหน ตัวตนนั้นเป็นของปลอมเป็นตัณหาอุปาทาน ทำให้รู้สึกว่าเป็นตัวกู รับใช้ตัวกูอย่างนี้ก็คือรับใช้ผี รับใช้กิเลส ฉะนั้นเราจะต้องดูให้ดี เป็นอันแน่นอนว่าหลักเกณฑ์อันนี้มันถูกต้อง รับใช้ผู้อื่นน่ะคือรับใช้ธรรมะหรือรับใช้พระธรรมหรือรับใช้พระเจ้า รับใช้ตัวเองคือตัวกูก็คือรับใช้กิเลส พวกที่อยู่ในวัดก็เคยได้ยินได้ฟังมามากแต่ว่าพวกที่ไม่ค่อยจะได้มาวัดอาจจะไม่ค่อยได้ยินได้ฟัง ฉะนั้นอยากจะพูดอีกสักครั้งหนึ่งว่า ไอ้ตัวกูนั้นน่ะมันคืออะไร พูดโดยสรุปความก่อนก็พูดว่าไอ้ตัวกู ตัวกูนั้น ตัวเรานั้นมันเป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น รู้สึกว่าตัวเรารู้สึกว่าตัวกูมันก็เป็นตัวกูขึ้นมาเป็นตัวเราขึ้นมา โดยเนื้อแท้แล้ว มันก็เป็นเพียงความรู้สึก อันที่สอง ความรู้สึกอันที่หนึ่งคือความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อน เช่นรู้สึกโกรธ รู้สึกเกลียด รู้สึกกลัว รู้สึกรัก รู้สึกอยาก รู้สึกอะไรก็ได้ นี่เป็นความรู้สึกอย่างนี้เกิดขึ้นมาก่อนในใจ เป็นความรู้สึกอยากเกิดขึ้นมา จึงจะเกิดความรู้สึกอันที่สองที่ว่าตัวกูผู้อยาก ขอให้นักศึกษาฟังดูให้ดีๆ ว่าความอยากนี่เกิดก่อน แล้วจึงเกิดตัวผู้อยาก นี่มันผิด logic ที่คุณเคยเรียนกันมาใช่ไหม ก็จะค้านว่าถ้าไม่มีตัวผู้อยากแล้วมันจะอยากได้อย่างไร นั่นมัน logic ของคนที่ไม่รู้เรื่องนี้ ไม่รู้ธรรมะ logic ของชาวบ้าน logic ของคนปุถุชนคนโง่ จะต้องถือว่ามีตัวผู้อยากก่อนแล้วมันจึงจะอยากได้ มันก็จริงไม่ใช่ไม่จริง มันก็จริงอย่างชาวบ้านจริงอย่างสมมติ จริงอย่างภาษาชาวบ้าน คือจริงอย่างแท้จริง คือจริงอย่างปรมัตถ์ตามคำแล้วมันก็ตรงกันข้าม มันมีความอยากเกิดขึ้น ปรุงแต่งเป็นความรู้สึกขึ้นในใจก่อน แล้วจึงจะเกิดความรู้สึกต่อจากนั้นออกไปเป็นตัวกูผู้อยาก จะเปรียบเทียบ logic ง่ายๆ ที่พอจะมองเห็นได้ เช่น อย่างภาษาชาวบ้านมันก็ต้องมีตัวคน คนหนึ่งก่อน แล้วมันจึงจะกินอะไร เขาก็ถือว่ามีตัวผู้กินก่อน แล้วจึงมีการกิน คนธรรมดาจะรู้สึกว่าอ้าวมันมีตัวผู้กินก่อนแล้วมันจึงมีการกิน แต่เราพูดว่าไม่ถูก ก็เขายังไม่ได้กิน จะเรียกเขาว่าผู้กินยังไม่ได้ เขาต้องมีการกินลงไปก่อนแล้ว จึงจะเรียกว่าเขาเป็นตัวผู้กิน นี่ของใครมันลึกกว่า คิดดูสิ การพูดอย่างนี้ใครมันลึกกว่า ก็เขายังไม่ได้ทำการกินสักที แล้วจะไปเรียกเขาว่าผู้กินได้อย่างไร ต้องมีการกินลงไปก่อนแล้วจึงจะเกิดตัวผู้กินขึ้นมาที่ทำการกินอยู่ ที่จะเห็นได้ว่า logic นี้ถูกกว่า หรือจริงกว่า ส่วนที่แรกก็พูดละเมอๆไปว่ามีตัวผู้กินก่อนแล้วจึงทำการกินอย่างนี้ มันพูดอย่างผิวเผินไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ถ้าเข้าใจข้อนี้ แล้วก็จะเข้าใจไอ้เรื่องทางจิตใจได้ เรื่องทางธรรมะต้องมีความอยากเกิดขึ้นในใจก่อนด้วยการปรุงแต่งตามธรรมชาติ ของสังขารร่างกายจิตใจเกิดเป็นรู้สึกอยากขึ้นมาก่อน แล้วจึงจะเกิดความรู้สึกเป็นตัวกูผู้อยากตามมา ถ้าว่าเคยฟังเรื่องปฏิจจสมุปบาทก็จะเข้าใจได้อยู่แล้วว่ามันมีผัสสะมีเวทนาแล้วก็มีตัณหาคือความอยากแล้วก็มีอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวตนผู้อยาก ตัวกูผู้อยาก ยิ่งดูให้ละเอียดในส่วนนี้ว่าเมื่อตามันเห็นไอ้ของที่น่ากิน นี่ตั้งต้นตั้งแต่ว่าตาเห็นรูป ตาเห็นสิ่งของที่น่ากิน ตากระทบเข้ากับสิ่งของที่น่ากินก็เกิดความเห็นในทางตาที่เรียกว่าจักษุวิญญาณ คือการเห็นทางตาเกิดขึ้นแล้ว นี่เรียกว่าผัสสะ ๓ อย่างนี้ คือลูกตากับสิ่งของนั้น กับจักษุวิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะสิ่งของนั้น ๓ อย่างนี้เรียกว่าผัสสะ คือการกระทบ ทีนี้ผัสสะนี้ก็ย่อมให้เกิดเวทนา คือความรู้สึกที่น่ากิน ของที่น่ากิน ชอบใจ น่ากิน ก็มีความหิว มีความโง่ รวมอยู่ด้วยในขณะนั้นแล้วก็ยิ่งดี มันจำได้ว่าของนี้น่ากิน นี่เป็นสัญญา สบายตาน่ากิน นี้เรียกว่าเป็นเวทนาที่ตา ฉุกคิดที่จะกิน นี่จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่าตัณหาขึ้นมา หรือความอยาก หมายถึงของนั้น ไม่ใช่อาหารตามธรรมดาหรอก เป็นของอร่อยถูกอกถูกใจอยากกิน เป็นของล่อให้กิน ก็เรียกว่าความอยากเกิดขึ้นโดยไม่ต้องมีตัวฉันสักที ตั้งต้นแต่มีตา มีสิ่งที่ตาเห็น มีการเห็นทางตา มีการสัมผัสของตากับรูปกับสิ่งเหล่านั้น เกิดความจำได้ หมายรู้ว่ามันเป็นอะไร แวบเดียวมันก็รู้อยากกินน้ำลายไหล มันเกิดความอยาก นี้มันอยากในฐานะที่อร่อย พอเกิดตัณหาอย่างนี้แล้วอยากเต็มที่แล้ว ความรู้สึกอันที่จะเกิดต่อจากนั้นตามธรรมชาตินั้นน่ะคือตัวกู ตัวกูจะกินให้ได้ นี่คืออาการที่ว่าตัวผู้อยากมันเพิ่งเกิดทีหลังความอยาก ทีนี้ไอ้ความอยากก็มันไม่ใช่ตัวตนเพราะมันปรุงขึ้นมาจากความรู้สึกโดยการเห็นทางตาเป็นต้น ทีนี้ความอยากนั้นน่ะมันปรุงให้เกิดเป็นความรู้สึกว่ากูจะต้องกินให้ได้ ไอ้ตัวกูตัวตนนั้นต้องไม่ใช่ตัวตนอีก เป็นมายา เป็นลมๆ แล้งๆ เป็นของมายา จึงไม่มีตัวตนอันแท้จริง จะเอารูปตาเป็นตัวตน หรือจะเอาจักษุวิญญาณเป็นตัวตนมันก็ไม่ได้เพราะมันเป็นของธรรมชาติแท้ๆ เมื่อตามีขึ้นประสาทมันเห็นมันก็มีการเห็น อันนั้นเรียกว่าจักษุวิญญาณจะเอาวิญญาณนี้เป็นตัวตนมันก็ไม่ได้ ทีนี้จะเอาสัญญาจำได้ว่านี้ของนี้อะไรแน่ จะเอาสัญญานั้นเป็นตัวตนก็ไม่ได้ เพราะสัญญาเกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ตามการปรุงแต่งของการเห็นของการกระทบ สัญญานั้นก็เป็นตัวตนไม่ได้ จะเอาเวทนารู้สึกพอใจอยากจะกินก็ไม่ได้ มันก็เป็นของรู้สึกตามธรรมชาติ ธรรมดาไปหมด ฉะนั้นตัณหาความอยากนั้นก็เป็นตัวตนไม่ได้ เพราะมันเป็นเพียงความอยาก ความรู้สึกว่าตัวกูผู้อยากจะกินให้ได้ นี้ก็เป็นความรู้สึกที่โง่ที่สุด ที่เพิ่งเกิดทีหลังเขา ฉะนั้นตัณหาก็ไม่ใช่ตัวตน อุปาทานก็ไม่ใช่ตัวตนแต่ทำให้มีความรู้สึกแน่นแฟ้นที่สุดว่าตัวตน ว่าตัวกูจะต้องกินให้ได้ นี่ตัวตนคือตัวกูและเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาในลักษณะอย่างนี้ เรียกว่าเป็นมายา เป็นเรื่องของอวิชชาความโง่ ปรุงกันเข้ากับการสัมผัสต่างๆ จึงเกิดเป็นความรู้สึกว่าตัวกู รู้จักตัวกูตัวตนไว้ลักษณะอย่างนี้ ถ้าไปรับใช้สิ่งนี้ก็จะเรียกว่าอะไรล่ะ ก็คือรับใช้ผี รับใช้กิเลส รับใช้พญามาร อย่าไปรับใช้ตัวตน ในทำนองอย่างนี้ ถ้าจะมีตัวตนต้องพูดกันอีกแบบหนึ่ง พูดกันอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ถ้าอยากจะมีตัวตนก็ต้องไปเอาไอ้ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี คือสิ่งที่เรียกว่าธรรมะนั้นน่ะ เป็นตัวตน ทีนี้ธรรมะก็เป็นตัวตนของใครไม่ได้ คือจะเป็นบุคคลไม่ได้ ธรรมะก็สักว่าธรรมะคือธรรมชาติประเภทหนึ่งซึ่งเราบัญญัติเรียกว่าธรรมะ ธรรมะโดยเนื้อแท้ก็ไม่ใช่ตัวตน หรือถ้าอยากจะมีตัวตนก็ให้เอาธรรมะนั้นแหละเป็นตัวตน ถ้ารับใช้ตัวตนอย่างนี้พอไปได้ ถือว่าดีทีเดียว รับใช้ธรรมะ ทีนี้ความรับผิดชอบชั่วดีมันบอกว่าอย่างไร มันบอกว่าอย่าเห็นแก่ตัวกู ตัวตนไอ้แบบตะกี้ เห็นแก่ธรรมะก็คือเห็นแก่ความถูกต้อง ไปเห็นแก่ความถูกต้องมันกลายเป็นจะต้องรับใช้ผู้อื่นแล้ว เพราะว่ารับใช้ตัวตนนี่มันเล็กเกินไป มันเป็นธรรมะ เด็กเล่น การเห็นแก่ตัวตนนี้มันเป็นธรรมะเด็กเล่น เห็นแก่ผู้อื่นมันใหญ่กว่า มากกว่า สูงกว่า วิเศษกว่าหรือเป็นธรรมะกว่า ถ้ารับใช้รับสนอง ธรรมะส่วนตัว เรื่องส่วนตัว ความต้องการส่วนตัวนี้ก็เรียกว่ามันเล็กเกินไป ตัวธรรมะคือสิ่งที่ใหญ่โตเต็มโลกเต็มจักรวาล เพราะฉะนั้นความคิดจึงออกไปกว้าง รับใช้ผู้อื่นนั่นแหละคือรับใช้ทุกสิ่ง รับใช้ทั้งหมด คำว่าผู้อื่นก็มีความหมายว่าทั้งหมด ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี มันบอกให้ทำอย่างไรก็ทำอย่างนั้น มันกว้างขวางอย่างนี้ ก็ลองคิดดู รับใช้ตัวเองกับรับใช้ผู้อื่นนั้นมันเป็นอย่างไร ทีนี้ภาษาทางการเมืองรับใช้สังคมน่ะมันคืออะไร กลัวว่าจะไม่ใช่ความรู้สึกอย่างนี้ อย่างนี้นี่คือเขาเรียกเป็นข้อผูกพัน เป็นการทวงสิทธิตามสัญญาของสังคมว่ามันจะต้องใช้หนี้ ทวงสิทธิให้แต่ละคนรับใช้สังคมเพื่ออยู่กันเป็นสุข มันก็ต้องเห็นแก่ตัวในรูปหนึ่ง เราจึงพูดกันเรื่องรับใช้สังคมที่ดีกว่านั้น ที่กว้างกว่านั้นคือรับใช้สิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเลย คำว่าสังคมกำลังขยายกว้างไปไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทย มันกลายเป็นสังคมโลก สังคมทั้งโลกก็ยังไม่พอ กลายเป็นทุกโลกเลย บรรดาสิ่งที่มีชีวิตจะเป็นโลกไหนก็ตามเรายินดีรับใช้ ฉะนั้นจึงยินดีรับใช้ตั้งแต่โลกสัตว์ โลกต้นไม้ไปเลย ต้นไม้นี่มีชีวิต ฉะนั้นโลกต้นไม้ก็คือพวกหมู่ไม้ทั้งหลาย เราก็ยินดีที่จะรับใช้ คิดถึงขึ้นมา โลกสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายทั้งหมดก็ยินดีที่จะรับใช้จะช่วยเหลือมัน ทีนี้มาถึงมนุษย์ทั้งหมด ยินดีที่จะรับใช้ เลยขึ้นไปถึงเทวดานี่ ถ้ามันมี อย่างที่เขากล่าวกันไว้ เขียนกันไว้ เล่ากันไว้ ถ้ามันมีอย่างนั้นอ้าว ก็รับใช้หมดอีก จะเป็นเทวดาชั้นกามาวจร ชั้นพรหม ชั้นอะไรก็สุดแท้รับใช้หมด บรรดาสิ่งที่มีความรู้สึกคิดนึกได้ คือมีความรู้สึก สุข รู้สึกทุกข์ได้ ก็รับใช้หมด นี่รับใช้สังคม ภาษาธรรม ทางศาสนามันเป็นอย่างนี้ ทีนี้มันเป็นเรื่องการเมืองก็เป็นเรื่องพวกมึงพวกกูประเทศของกูเท่านั้นน่ะ ที่กูจะรับผิดชอบ กูจะทำลายประโยชน์ของประเทศอื่นเพื่อประโยชน์แก่ประเทศของกูก็ได้ อย่างนี้ก็ยังเรียกว่ารับใช้สังคมในประเทศนั้นอยู่ นี่มันพูดกันไม่ได้แล้ว ถ้ามีความคิดอย่างนี้ก็แปลว่ามันไม่มีธรรมะแล้ว
การรับใช้สังคมของพุทธบริษัทมีความหมายที่ไม่จำกัด ต้องเติมคำว่าพุทธบริษัท การรับใช้สังคมของพุทธบริษัท มีความมุ่งหมายอย่างนี้ ถ้าพูดว่ารับใช้สังคมเฉยๆ มันก็เป็นภาษาการเมือง ขอบเขตมันก็ไปอยู่ในขอบเขตทางการเมือง เดี๋ยวมันก็แคบเหลือแต่พวกตัวเท่านั้นแหละ เราไม่พูดกันในเรื่องนั้น พูดถึงสังคมที่พุทธบริษัททั้งหลายจะต้องรับผิดชอบ และจะต้องรับใช้ รับผิดชอบก็หมายความว่ารับผิดชอบว่าเรามีหน้าที่ที่จะต้องทำด้วย ก็คือหน้าที่ของการรับใช้ รับใช้ก็คือให้มันมีประโยชน์เกิดขึ้นมาเป็นความสงบสุข ก็พอจะพูดได้ว่าสังคมไหนก็ตามมันล้วนแต่ต้องการความสงบสุข ช่วยกันทำให้สังคมมีความสงบสุข ก็เรียกว่ารับใช้สังคม นึกถึงการรับใช้สังคมอย่างพุทธบริษัทกันก่อน แล้วก็ทำให้ได้อย่างนั้นก่อนแล้วมันก็เป็นการรับใช้สังคมในทางฝ่ายการเมือง ฝ่ายแคบๆ นี้อยู่ในตัวเอง แล้วก็ถูกต้องด้วย คือไม่เฉไปในทางของกิเลสด้วย ถ้าเราตั้งต้นรับใช้สังคมในแง่ของการเมืองแล้วมันจะมีตัวกูมีพวกของกูมีแต่อะไรที่เป็นพวกของกูนี้มันแคบแล้วมันก็กลายเป็นเห็นแก่ตัวมันก็ผิดได้ แล้วก็เลยไม่รับใช้สังคมที่กว้างขวางอย่างที่ว่า การตั้งต้นอย่างนั้นมันจะแคบ จะเห็นแก่ตัวเรื่อยไป มันต้องตั้งต้นโดยวิธีที่ดีกว่า กว้างกว่าแล้วไม่ไปในทางเห็นแก่ตัว ถ้าเรามีจิตใจอย่างพุทธบริษัทตั้งใจจะรับใช้สังคมทั้งหมดอย่างพุทธบริษัท ไม่ได้เป็นการรับใช้สังคมแคบๆ ภายในความหมายจำกัดของคนหมู่นั้น ขณะนั้นหรือเพียงประเทศนั้นได้ดีอยู่ในตัวมันเอง นี่เราพูดแยกกันออกไปให้ชัดอย่างนี้ ที่ว่ารับใช้สังคม ต้องหมายถึงรับใช้ผู้อื่นและรับใช้ผู้อื่นมันก็ผู้อื่นหมดที่ไม่ได้แบ่งเป็นพวกเราพวกเขา ไม่มีพวกเรา พวกเขา ถ้ารับใช้ผู้อื่นอย่างนี้คือรับใช้ธรรมะ รับใช้พระธรรมะ เพราะพระธรรมมีหลักเกณฑ์อย่างนี้ รับใช้พระธรรมก็คือรับใช้พระเจ้า เมื่อเราพูดกับพระเจ้าก็พูดอย่างสมมติอย่างบุคลาธิษฐานพูดอย่างภาษาคน เราพูดว่าพระธรรมนี่พูดอย่างธรรมาธิษฐาน พูดอย่างภาษาธรรมให้เป็นสิ่งเดียวกันได้ เอาความหมายกันตรงที่ว่าพระเจ้านี่คือสิ่งสูงสุด สิ่งที่ดีที่สุด ที่ถูกที่สุด ที่ยุติธรรมที่สุดหรือที่อะไรๆ ที่สุดทั้งนั้นน่ะ เรียกว่าพระเจ้า พระเจ้าที่แท้จริง ไม่ใช่พระเจ้าปลอม คนในโลกนี้รู้จักกันแต่พระเจ้าปลอม ว่าเอาเองหรือบัญญัติไว้อย่างโง่เขลาหรือบัญญัติไว้อย่างถูกต้องก็แปลความหมายไปอย่างโง่เขลา คือแปลให้พระเจ้าเป็นบุคคลมีความรู้สึกอย่างบุคคล รักโกรธเกลียดกลัวอะไรได้นั้นน่ะผิดหมด นั้นน่ะไม่ใช่พระเจ้า นั้นน่ะเป็นผี อย่างดีที่สุดที่จะเป็นได้ พระเจ้าความหมายที่แท้จริงไม่ใช่บุคคลไม่รักไม่โกรธไม่เกลียด มีแต่กฎเกณฑ์ว่าทำอย่างนี้ลงไปเป็นอย่างนี้ ทำอย่างนี้ลงไปเป็นอย่างนี้ เป็นกฎเกณฑ์ของอิทัปปจจยตาในพระพุทธศาสนาเป็นต้น นั้นน่ะคือพระเจ้าที่แท้จริง สร้างอะไรก็สร้างได้หมดโดยกฎเกณฑ์อันนี้ ควบคุมอะไรก็ควบคุมได้หมดโดยกฎเกณฑ์อันนี้ หรือจะทำลายอะไรก็ทำลายลงไปโดยกฎเกณฑ์อันนี้ นี่มีอยู่ในที่ทั่วไปทุกหนทุกแห่งแล้วก็ยุติธรรมที่สุด ลองทำลงไปอย่างนี้สิ ปฏิกิริยาต้องเกิดขึ้นอย่างนี้ อย่างนี้ยุติธรรมที่สุด นี่คือพระเจ้าจริง เป็นอันเดียวกันกับที่เราเรียกว่าพระธรรม พระธรรมจริง พระเจ้าจริงก็จะต้องเป็นอันเดียวกันเพราะมันมีความหมายเหมือนกัน ว่าเป็นที่ออกมาแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ก็ธรรมะที่เรียกว่าพระธรรมน่ะคือธรรมชาติเป็นที่ออกมาแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ก็สร้างสิ่งทั้งปวงก็ถูกแล้วเพราะเป็นกฎ เป็นกฎที่มีอำนาจ เป็นกฎธรรมชาติที่มีอำนาจ ก็สร้างสิ่งทั้งปวง ความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายนี้เปลี่ยนแปลงไปตามกฎเกณฑ์แห่งอิทัปปจจยตา สร้างสิ่งทั้งปวง ควบคุมสิ่งทั้งปวงหรือทำลายล้างสิ่งทั้งปวง รู้จักพระเจ้าอย่างนี้แล้วจะรู้สึกว่าแหมนี่พระเจ้าจริงสู้ไม่ได้ต้องยอมแพ้ เราต้องยอมแพ้ คือสู้ไม่ได้ ฝืนไม่ไหว อย่าไปฝืน พระเจ้าอย่างนี้ฝืนไม่ไหว จะไป ต่อสู้ก็ไม่ไหว จะต่อสู้อะไร ก็เป็นผู้ที่สร้างสิ่งทั้งปวงออกมา สิ่งทั้งปวงจะไปต่อสู้อะไรไหว ก็เลยต้องเรียกว่ารับใช้พระเจ้าหรือรับใช้พระธรรม นี่ถ้าว่าจะถือตามหลักของพระธรรมมันก็ต้องให้มันเป็นธรรม ถ้าเป็นธรรมต้องไม่เห็นแก่ตัว พอเห็นแก่ตัวไม่เป็นธรรม เพราะว่าตัวมันเป็นของปลอม เป็นกิเลส เป็นมายา อย่างที่ว่าแล้วเมื่อกี้นี้ ถ้าเห็นแก่ตัว แก่ตัวกูยิ่งปลอมใหญ่ เห็นแก่ตัวก็คือของไม่จริง ของปลอม เรียกว่ากิเลสก็ได้ เรียกว่าความโง่ ความหลงก็ได้ เรียกว่ามายาก็ได้ มขึ้นว่าถ้าอย่างนั้นไม่ต้องปรนนิบัติตัวเองไม่ต้องฟูมฟักรักษาห็นแก่ตัวก็คือของไม่จริง ของปลอมบใช้พระธรรมอย่างนีจะไปรับใช้ไหวเหรอ ทีนี้ก็จะมีปัญหาถามขึ้นว่าถ้าอย่างนั้นไม่ต้องปรนนิบัติตัวเอง ไม่ต้องฟูมฟักรักษาตัวเองอะไรปฏิบัติตัวเอง ก็ตอบว่าจริง มันก็ต้องปฏิบัติฟูมฟักรักษาสังขารร่างกายตัวเองแต่ไม่ใช่เพราะเห็นแก่ตัวถ้ามันเป็นคนที่ดีจริง เป็นพุทธบริษัทที่ดีจริงมันไม่เห็นแก่ตัว ฉะนั้นการที่มีชิวิตอยู่นี้มันก็มีชีวิตอยู่เพื่อผู้อื่น แม้ว่าจะกินอาหาร จะฟูมฟักรักษาให้สังขารร่างกายนี้มันอยู่ มันก็อยู่เพื่อธรรมะ อยู่เพื่อผู้อื่น ไม่ใช่อยู่เพื่อตัวกูที่เป็นผี ถ้าร่างกายมันต้องการอาหาร ร่างกายมันก็ต้องดิ้นรนเคลื่อนไหวไปหากินเองได้โดยไม่ต้องมีความเห็นแก่ตัว จะหากินนี่ หาใส่ปากใส่ท้องนี่ ทำได้โดยไม่ต้องมีความรู้สึกชนิดที่เห็นแก่ตัว คือทำได้โดยความรู้สึกชนิดที่เห็นแก่ความถูกต้อง ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความเหมาะสม ความสมควร ฉะนั้นจึงเรียกว่าไม่ได้เห็นแก่ตัว แล้วก็ไม่ได้ผิดธรรมะ ที่ร่างกายนี้ หรือว่าจิตใจด้วยก็ได้ ตามธรรมชาตินี้มันต้องการอาหาร มันก็ต้องหาอาหารต้องประกอบอาชีพ ตลอดเวลามันทำทำไม ไม่ด้วยอะไรก็ต้องด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดี อย่าด้วยความรู้สึกเห็นแก่ตัว ถ้าด้วยความรู้สึกเห็นแก่ตัวเป็นความรู้สึกที่เลวไม่สมควรแก่มนุษย์ เอากันง่ายๆ เหมือนว่าต้นไม้นี่มันก็หาอาหารกินออกรากไปหาน้ำกิน ส่งใบออกไปเพื่อรับแสงแดด ให้มากที่สุดอย่างนี้มันก็ไปตามกฎเกณฑ์ที่ถูกต้องที่มันจะต้องเป็นอย่างนั้น ไม่ต้องมีความรู้สึกว่าเห็นแก่ตัวกูอะไรกัน คนก็ควรจะเป็นอย่างนั้นจึงจะไม่มีความทุกข์ เพราะถ้าไปมีเห็นแก่ตัวกู ตัวกู อะไรก็ตัวกูของกูอย่างนี้ก็จะต้องมีความทุกข์ตั้งแต่แรกเริ่ม สักแต่ว่าคิดเท่านั้นก็มีความทุกข์ พอไปทำเข้าแล้วยิ่งมีความทุกข์ใหญ่ มันต้องมีความคิดที่ถูกต้องมีการกระทำที่ถูกต้อง คือให้เป็นธรรมไว้เสมอ เป็นธรรมะไว้เสมอ ถ้าเป็นธรรมะไว้เสมอมันก็ไม่มีส่วนที่จะเห็นแก่ตัว ฉะนั้นเราจึงกินอาหารเข้าไปด้วยเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ ไปหาอาหารมากินเข้าไป หล่อเลี้ยงร่างกายอยู่นี้เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เพราะว่าถ้าเรายังไม่ตาย เราก็เคลื่อนไหวไปในลักษณะที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น คือเพื่อพระเจ้า เพื่อพระธรรม เพื่อหน้าที่ หาอาหารมากินนี่เป็นหน้าที่ กินเพื่อทำหน้าที่ เพื่อมีชีวิตอยู่เพื่อทำหน้าที่ ถ้าอย่างนี้เรียกว่าไม่ใช่เห็นแก่ตัวแล้ว เพื่อหน้าที่ เพื่อเห็นแก่หน้าที่ ตัวหน้าที่คือตัวธรรมะ นี้เคยอธิบายไว้มากมายแล้ว หลายสิบครั้งแล้ว ที่พิมพ์อยู่ในหนังสือก็หลายเล่มเต็มทีแล้ว ที่แนะให้รู้ว่าคำว่าธรรมะ ในความหมายทั่วไปมันแปลว่าหน้าที่ หรือสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ
เอ้า ทบทวนกันอีกทีหนึ่งก็ได้เสียเวลาไปอีกนาทีหนึ่งว่าไอ้สิ่งที่เรียกว่าธรรมะนั้น แบ่งออกได้เป็น ๔ ส่วน ส่วนที่หนึ่ง๑9รวจทานถึง เคลื่อนไหว ถ้ามีชิวิขารร่างเรียกว่าสภาวธรรมคือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นรูปเป็นนามเป็นปรากฏการณ์อยู่ทั่วไปหมดนี่เรียกว่าธรรม ในความหมายที่เป็นสภาวธรรม ทีนี้ความหมายที่สองเรียกว่าสัจจะธรรมหรือความจริงหรือกฎแห่งความจริงที่มีอยู่ในสิ่งทั้งปวงนั้น บรรดาสิ่งทั้งหลายทั้งปวงต้องมีกฎแห่งความจริงอยู่ในสิ่งนั้น อย่างน้อยที่สุดก็ความจริงเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีอยู่ในสิ่งนั้น แต่ที่สำคัญที่สุดคือความจริงเรื่องอิทัปปจจยตา เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น อย่างนี้เรื่อยไปในสิ่งทั้งปวงมีกฎความจริงอันนี้ นี้ก็เรียกว่าสัจจะธรรมเป็นธรรมะเป็นธรรมในความหมายที่สอง ความหมายที่สามก็เรียกว่าปฏิบัติธรรมคือหน้าที่ เมื่อมันมีความจริงอยู่อย่างนี้มันก็มีหน้าที่ที่สิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตามมันต้องเคลื่อนไหว ถ้ามีชีวิตมันก็มีความรู้สึก รู้สึกผิดชอบมันก็เคลื่อนไหวให้ถูกต้อง ตามหน้าที่ คือหน้าที่ ไม่มีใครไม่มีสิ่งใดที่จะมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ทำหน้าที่ ต้นไม้นี่ก็ต้องทำหน้าที่ มันจึงรอดชีวิตอยู่ได้ หาอาหารกิน ต่อสู้ สืบพันธุ์อะไรก็ตามหน้าที่ของมัน ไอ้สัตว์เดรัจฉานก็ต้องทำหน้าที่ ตามเรื่องสัตว์เดรัจฉานมันจึงรอดชีวิตอยู่ได้ เหลือพืชพันธุ์อยู่ได้ ทีนี้คนเราก็ต้องทำหน้าที่ ทุกอย่างที่ควรจะทำ ที่ต้องทำหรือควรทำก็ตาม จะต้องกินอาหาร ทีนี้กินอาหารก็จะต้องกินให้ถูกต้อง ถ้ากินผิดมันก็ตาย มันมีอะไรอีกมากมาย จะต้องอาบน้ำ จะต้องถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ จะต้องทำทุกอย่างที่เป็นหน้าที่ที่เกี่ยวกับร่างกาย เรื่องที่จะต้องทำหน้าที่หาเลี้ยงชีวิต ประกอบอาชีพ ทำหน้าที่ป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บ หน้าที่ทุกอย่างจะต้องทำ นั้นเป็นส่วนส่วนที่มีชีวิตรอดอยู่ ทีนี้ทางจิตใจก็มีหน้าที่ที่จะทำอย่าให้เกิดความทุกข์ อย่าให้เกิดกิเลส ให้มีหน้าที่ที่จะต้องไปนิพพานได้ หน้าที่ของมันคืออย่างนั้น นั้นน่ะคือตัวธรรม เขาเรียกว่าทำเพื่อหน้าที่ ทีนี้ความหมายที่สี่คือเรียกว่าปฏิเวธธรรม คือผลที่มันเกิดขึ้นจากหน้าที่ นี้ไม่ต้องพูดก็ได้ ถ้าทำหน้าที่ถูกต้องแล้วผลมันก็เกิดขึ้นลักษณะที่น่าปรารถนาเป็นความสุข ธรรมะมีสี่ความหมายอย่างนี้ หนึ่งคือ ธรรมชาติทั้งปวง สองคือกฎธรรมชาติทั้งปวง สามคือหน้าที่ตามกฎธรรมชาติทั้งปวง สี่คือผลที่จะได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่นั้น นี่คือตัวธรรมชาติที่เรียกว่าธรรม ความที่ต้องเป็นไปตามธรรมชาตินี้ก็เรียกว่าธรรมดานั้นล่ะคือธรรม คือพระธรรม คือตัวธรรม ที่เราจะต้องสนใจต้องรู้แล้วก็ปฏิบัติธรรมให้มันถูกต้องกับธรรมชาติหรือธรรมดา โดยเหตุนี้เราจึงกล่าวได้ว่า เราแสวงหาอาหารมากินเข้าไปแต่ไม่ใช่เพื่อตัวเราแต่มันเพื่อหน้าที่ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ก็คือเพื่อธรรม ก็เลยไม่บาปไม่กรรมไม่น่ารังเกียจอะไร นับเป็นความถูกต้อง คือความไม่เห็นแก่ตัว นี่เป็นความลึกลับสุขุมละเอียดของการที่เรียกว่ารับใช้สังคม เราไปหาอาหารกิน ใส่ปากเรากลายเป็นการรับใช้สังคมเพราะเหตุว่ากินให้มีชีวิตอยู่ ตามหน้าที่ที่จะต้องประพฤติต่อสังคม คนเห็นแก่ตัวไม่มองอย่างนี้ เป็นเรื่องของกู กูกิน กูอร่อย กูจะกินให้มาก มันคิดไปอย่างนี้ทั้งนั้น แต่สำหรับภิกษุ สามเณรและพระพุทธเจ้าท่านบัญญัติไว้ว่าจะเอาอะไรมากินเข้าไปต้องพิจารณาจะต้องปัจเวก ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะ
มานัง เป็นสังฆาโยนิโสบ้าง (นาทีที่ 32.57) มันล้วนจะต้องนึกว่าไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ไม่ใช่ตัวกูไม่ใช่ของกู มันเป็นธรรมชาติ แล้วก็เป็นไปตามธรรมชาติ ตัวผู้กินก็ดี ตัวสิ่งที่ถูกกินก็ดี ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรากินนี้เพื่อให้ร่างกายนี้มันอยู่ได้ ไม่ใช่เพื่อให้ตัวกูอยู่ได้ พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ตรัสเพื่อให้ตัวกูอยู่ได้ แต่เพื่อให้ร่างกายนี้อยู่ได้ เพื่อทำหน้าที่ของร่างกายนี้ได้ เพื่ออัตภาพนี้เป็นไปได้ในการทำหน้าที่ของมัน การกินอาหารอย่างพุทธบริษัทต้องทำอย่างนี้ บังคับไว้สำหรับภิกษุสามเณร แต่แม้อุบาสกอุบาสิกาก็ทำได้ไม่เห็นเสียหายอะไร หรือชาวบ้านทั่วไปก็ทำได้ คือไปหาอะไรมาหรือจะกินอะไรลงไปต้องนึกอย่างนี้ก่อน นี้เป็นไปตามธรรมชาติเป็นเรื่องของตัวธรรมชาติไปตามหน้าที่ตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ อย่ากล้ามีตัวกูที่เอร็ดอร่อยเลย มันจะเป็นความโง่เป็นกิเลสขึ้นมา แล้วมันจะทำเลยเถิดเตลิดเปิดเปิงไปเป็นความชั่วได้ คนส่วนมากทำความชั่วเพราะการกิน นี่มีพุทธภาษิตหรือมีธรรมภาษิตว่าอยู่อย่างนี้ก็มี ทำบาปเพราะการกิน ข้อแรกก่อน ก็ทำบาปมากกว่านั้นเพราะกาม แล้วอาจจะทำบาปเพราะเกียรติ ระวังให้ดี เรื่องกิน เรื่องกามเรื่องเกียรติ สามอย่างนี้เป็นเหตุให้ทำบาปได้ อยากมีหน้ามีตามันก็ทำการตบตา หาเกียรติหาชื่อเสียงได้ เพราะมันตามลำพัง โดยแท้จริงมันหาไม่ได้ มันเป็นคนเลว มันก็ตบตาหาเกียรติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงไอ้พวกการเมืองระวังให้ดี มันล้วนแต่ตบตาหาเกียรติทั้งนั้น ระวังเรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรตินี้ให้ดีๆ มันเป็นโอกาสให้ทำชั่ว เพื่อเห็นแก่ตัวเอง แล้วก็อย่าให้เป็นอย่างนั้น คือพิจารณาให้เห็นโดยความเป็นธรรมชาติ ปรุงแต่งกันไปอย่างนี้เรื่อยอย่าให้เกิดความเห็นแก่ตัวขึ้นมา แล้วก็หาอาหารกินได้ กินก็ได้ ถ่ายก็ได้ ให้ก็ได้ทำไปตามที่จะต้องทำตามธรรมชาติแล้วก็ไม่มีความทุกข์ นี้มันเป็นเคล็ดลับที่ว่าจะต้องไม่มีความทุกข์ ถ้าจะไม่ให้มีความทุกข์ ต้องอย่ามีไอ้ความรู้สึกเป็นตัวกูของกู พอมันรู้สึกเป็นตัวกูของกูจะต้องมีความทุกข์ ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ไม่อย่างหยาบก็อย่างละเอียด ไม่อย่างโดยตรงก็ต้องเป็นอย่างโดยอ้อม ฉะนั้นการเป็นอยู่เฉยๆ โดยไม่ต้องมีตัวกู มันก็ทำหน้าที่ไปตามธรรมชาติตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติได้ เพราะว่าธรรมชาติมันสร้างมาให้อย่างนั้น เดี๋ยวนี้สัตว์มันเอามากกว่านั้น มันไปเพิ่มความรู้สึกว่าตัวกูเข้ามา ก็เลยได้มีความทุกข์ ก็เลยไปถึงได้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน พอมีตัวกูก็ต้องมีตัวสู คือมีตัวมึง ถ้าไม่มีตัวกูตัวมึงจะมีได้อย่างไร คิดดู พอมีของกูมันก็ต้องมีของมึง มันก็เกิดเป็นคู่ต่อสู้ คู่ทำลายล้างขึ้นมาให้อยู่กันโดยไม่ต้องมีตัวกู ตัวมึง มันก็ไม่มีทางที่ทำอันตรายอะไรกันได้ การส่งเสริมให้ธรรมชาติ ส่งเสริมธรรมะตามธรรมชาติ อยู่ตลอดเวลา เป็นผาสุกทุกทิวาราตรีกันไปได้ เป็นโลกพระศรีอาริย์อย่างที่พูดแล้วเมื่อวานนี้ นี่ขอให้พิจารณาดูเถอะว่าการรับใช้สังคมตามสำนวนโวหาร หรือความหมายพุทธบริษัทนี้มันลึกซึ้งเท่าไหร่ ลึกซึ้งกี่มากน้อย ลึกซึ้งอย่างไร อยู่เฉยๆ ก็เป็นการรับใช้สังคม เพราะว่าเรามีชีวิตอยู่เพื่อทำประโยชน์ การที่เรามีเราอยู่คนหนึ่งในโลกนี้มันมีประโยชน์ ใครทำได้บ้าง ขอให้ลองคิดดู ถ้าทำได้ก็นับว่าพอแล้ว คือทำให้กล่าวได้ว่าการที่เรามีอยู่คนหนึ่งในโลกนี้มันมีประโยชน์แก่โลก เพราะเป็นการรับใช้สังคมอยู่ในตัว ถ้าเรามีชิวิตอยู่ในโลกนี้เป็นเครื่องทำลาย เป็นเครื่องทำให้โลกลำบากเดือดร้อนเราก็ไม่มีค่า ไม่มีการรับใช้สังคม ทะนุบำรุงโลกนี้ให้มันมีค่า จึงสรุปความวิธีว่าอยู่อย่างถูกต้องตามแบบของพุทธบริษัทเถิดจะเป็นการรับใช้สังคมอย่างสูงสุดอยู่ในตัวมันเอง อยู่อย่างถูกต้องตามแบบของพุทธบริษัทเถิด ทำมาหากินประกอบอาชีพอยู่อย่างถูกต้อง นี่เป็นข้อแรก มีการพูดจาถูกต้อง กระทำถูกต้อง รวมทั้งไอ้อุปกรณ์อื่นๆ เช่นมีความพากเพียรถูกต้อง มีจิตใจถูกต้อง มีสมาธิถูกต้อง สัมมาทิฐิถูกต้อง นี่มันก็เป็นความถูกต้องในการเป็นอยู่อย่างถูกต้องเรียกว่าการเป็นอยู่อย่างถูกต้องหมด นั่นคือการเป็นอยู่ที่รับใช้สังคมอย่างถูกต้องเป็นบุญเป็นกุศลอยู่ในตัวมันเอง โดยไม่ต้องพยายามอะไรให้ยากไปกว่านั้น ขอให้พยายามเพียงเป็นอยู่ให้ถูกต้องก็จะเป็นการทำให้โลกนี้มีค่ามีความสุขมีประโยชน์อยู่ในตัวมันเอง เป็นการรับใช้สังคมที่ไม่เป็นพิษไม่เป็นอันตรายอะไรเลย ถ้ามีตัวกูของกูแล้วไม่ต้องสงสัยมันก็ทำเพื่อตัวกูเพื่อพวกพ้องของกู มันก็รับใช้ไปในแบบที่จะเป็นประโยชน์แก่ตัวกู แก่พวกพ้องของกู เป็นเรื่องคดโกงตลอดเวลา นี่คือความมีตัวกู มีของกูแล้วก็มีความเห็นแก่ตัว ฉะนั้นเราจึงพูดออกมาสั้นๆ ว่ารับใช้สังคมก็อย่ามีตัวกู อย่ามีตัวกูคำเดียว ทั้งเนื้อทั้งตัวมันจะเป็นการรับใช้สังคมไปหมด ไอ้กูของกูจริงซะสิ เป็นของโลกของสากลจักรวาล ของพระเจ้าของพระธรรม ของผู้อื่นก็แล้วกัน ไม่มีตัวกู
นี่ชีวิตของเราก็เป็นของพระเจ้า ของพระธรรม หน้าที่การงานของเราก็เป็นของพระเจ้าเป็นของพระธรรม นี่พวกที่เขาถือพระเจ้าอย่างถูกต้อง เขาถือกันอย่างนี้แต่เดี๋ยวนี้มันถือพระเจ้าผิดๆ และยิ่งกว่านั้นพวกฝรั่งมันถือว่าพระเจ้าตายแล้ว พระเจ้าไม่มีแล้ว มันก็ไม่มีหลักที่จะต้องถือ ที่เกี่ยวกับพระเจ้า แต่สำหรับชาวพุทธเราพระเจ้ายังไม่ตาย พระธรรมยังไม่ตาย กฎเกณฑ์อันนี้ยังไม่ตาย ยังอยู่ตลอดกาลนิรันดร เลยต้องประพฤติถูกต้อง กฎเกณฑ์อันนี้คือไม่มีตัวกูมีแต่พระเจ้ามีแต่พระธรรม มีแต่ธรรมชาติก็ได้ ถ้าเรียกอย่างไม่สมมติก็เรียกว่ามีแต่ธรรมชาติกับกฎของธรรมชาติ ถ้าเรียกอย่างสมมติก็มีพระธรรม ใส่พระเข้ามาหน่อย ถ้าสมมติมากขึ้นไปอีกก็มีพระเจ้า มีแต่พระเจ้า เป็นสมบัติของพระเจ้า อะไรอะไรของพระเจ้า ทุกคนต้องทำตามประสงค์ของพระเจ้า นี่พูดอย่างสมมติ ที่สุดแล้ว ไม่สมมติก็พูดว่าเป็นไปตามธรรม เป็นของพระธรรม ประพฤติให้ถูกธรรม นี่ก็น่ากลัวอยู่เหมือนกัน ทีนี้พูดให้มันจริงกว่านั้น โอ๊ยไม่มีอ่ะมีแต่ธรรมชาติ นี้เป็นธรรมชาติแท้ๆ เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์ไม่มีอะไรนอกจากธรรมชาติแท้ๆ เป็นไป มีบาลีว่าไม่มีอะไรจะเป็นตัวตน มีแต่ธรรมชาติล้วนๆ เป็นไป
ที่ว่าธรรมชาตินี้ยังแบ่งเป็นสองธรรมชาติ คือธรรมชาติที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ก็เปลี่ยนแปลงไป นี่ก็ธรรมชาติหนึ่ง และธรรมชาติที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง มันก็ไม่เปลี่ยนแปลง คือไม่เกิดขึ้น ไม่ได้ตั้งอยู่ ไม่ได้ดับไป มันมีแต่อยู่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่อย่างอนันตกาล อย่างนี้ก็ไม่ได้เรียกว่าอยู่อย่างที่ควรอยู่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อย่างนี้ไม่ใช่อยู่ คือเปลี่ยนแปลงเรื่อย ธรรมชาติมีสองชนิด ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปคือการเปลี่ยนแปลงเรื่อย เช่นเนื้อหนังร่างกายของเรา ความรู้สึกคิดนึก จิตใจของเรา นี้ก็เปลี่ยนแปลงเรื่อย มีเหตุปัจจัยเปลี่ยนแปลงเรื่อย ทีนี้ธรรมชาติอันหนึ่งซึ่งตรงกันข้ามนั้นคือธรรมชาติที่ไม่เปลี่ยนแปลง ถ้ารู้จักว่าความเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเรื่องทรมานเป็นเรื่องเป็นทุกข์และจิตมันน้อมไปหาสิ่งที่ไม่รู้จักเปลี่ยนแปลง แม้จะไม่เคยเห็นตัว มันก็อยาก มันก็น้อมไปว่าอย่าเปลี่ยนแปลงเลย อย่างนี้ทนไม่ไหวแล้ว ขอให้มันตรงกันข้ามเถิด นี่จิตมันน้อมไปยังฝ่ายตรงกันข้ามคือฝ่ายที่ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะเรียกว่านิพพานหรือเรียกว่าอะไรก็ตามใจแต่ว่าจิตมันถึงได้ คือว่าจิตมันไม่ยึดถือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงมันละสิ่งที่เปลี่ยนแปลงนี้หมด มันเป็นอิสระไม่ได้ยึดถืออะไรนั้นน่ะ คือมันเข้าไปอยู่ในฝ่ายสิ่งโน้น ฝ่ายที่ไม่เปลี่ยนแปลง คือฝ่ายอสังขตะ ฝ่ายโลกุตระ ฝ่ายนิพพาน ธรรมชาติมีอยู่สองชนิดอย่างนี้ อย่างหนึ่งเปลี่ยนแปลง อย่างหนึ่งไม่เปลี่ยนแปลง และมีแต่ธรรมชาติเท่านั้น ไม่มีอะไร ถ้าเราเกี่ยวข้องกันอยู่กับธรรมชาติส่วนไหนก็ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติส่วนนั้น ไอ้เรื่องรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ห้าอย่างนี้มันเป็นธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง แล้วก็ทำให้มันถูกเรื่องกันกับธรรมชาติที่มันเปลี่ยนแปลง ทีนี้ที่ไม่ใช่สิ่งเหล่านี้ ที่เป็นที่สุด ที่ดับ ที่หยุด ที่ระงับความหมายหรือคุณค่าของสิ่งเหล่านี้ก็เรียกว่าธรรมชาติที่ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอสังขตะ เป็นวิสังขารเป็นนิพพานชื่อเรียกยากฟังก็ยาก ฟังไม่ถูกด้วยซ้ำไป นั้นน่ะจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นให้ถูกต้องด้วยเหมือนกัน สิ่งเหล่านั้นจึงจะปรากฏแก่จิตใจ คือจิตใจสลัดสิ่งเหล่านี้หมด สลัดสิ่งเหล่านี้หมดนะ ฟังให้ดีๆ ไอ้เรื่องรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สลัดหมด สลัดหมด แล้วจะเหลืออะไร มันต้องเหลือว่างคือตรงกันข้ามจากสิ่งเหล่านี้ ว่างจากสิ่งนี้ สิ่งนั้นก็ต้องไม่เปลี่ยนแปลง จิตรู้รสของความว่าง ความไม่เปลี่ยนแปลง ความไม่ ไม่มีความทุกข์เลย นี่ธรรมชาติที่สองที่เราปฏิบัติให้ถูกต้อง รวมความว่าปฏิบัติให้ถูกต้องทั้งสองธรรมชาติ ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงมันก็อย่างนี้ มันอยู่ในตัวมันเอง มันเป็นไปได้โดยตัวมันเอง ร่างกายจิตใจขันธ์ห้านี้ มันก็แสวงหาอาหารกินได้ อะไรได้ ทำไปตามเรื่องของมัน อย่ามีความรู้สึกคิดนึกขึ้นในนั้นว่าเป็นตัวเราเป็นของเรา ถ้าว่าถูกต้องก็ในขันธ์ห้านั้นแหละมันได้รับการอบรมดี มันไม่เกิดความรู้สึกว่าตัวกูว่าของกู ทีนี้การปฏิบัติธรรมะ การทำวิปัสสนา กรรมฐาน ทำอะไรที่เรียกๆ กันยากๆ นั้นก็คือฝึกฝนจิตใจนี้อย่าให้มันโง่ ไปเที่ยวยึดมั่นถือมั่นนั่นนี่ว่าเป็นตัวกูว่าเป็นของกู นี้เรียกว่าปฏิบัติถูกต่อธรรมชาติส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะที่ปฏิบัติถูกต่อสิ่งเหล่านี้ มันก็ถึงสิ่งที่ตรงกันข้ามคือปรากฏออกมา นี้ก็ปฏิบัติให้ถูกคือรักษาไว้ ไอ้การที่มีจิตใจหลุดพ้นแล้วน่ะมันหลุดพ้นอยู่เรื่อยไปกว่าจะตายตัวกว่าจะเด็ดขาด ก็ปฏิบัติถูกต้องทั้งสองฝ่ายของธรรมชาติก็ไม่มีความทุกข์เลย แปลว่าเรามีอยู่ มีเราอยู่คนหนึ่งในโลกนี้ เพื่อไม่มีความทุกข์เลย ก็แปลว่าเพื่อทำให้โลกนี้ไม่มีความทุกข์เลย ฉะนั้นการเป็นอยู่ของเราจึงเป็นประโยชน์แก่โลก เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าการเกิดขึ้นแก่ตถาคตเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก เทวะโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ทั้งหลาย เทวดา มนุษย์ และสมณะพราหมณ์นี่แล้วท่านก็สอนสิ่งเหล่านี้ให้แก่สาวก ให้สาวกปฏิบัติตามนั้นหรือการเกิดขึ้นแก่สาวกนั้น ก็จะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายอย่างเดียวกัน ฉะนั้นขอให้เราทำตาม นี่ในฐานะที่ว่าเป็นผู้เชื่อฟังพระพุทธเจ้า และเป็นผู้ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า ก็ได้ชื่อว่าเป็นพุทธบริษัท เมื่อมีชิวิตอยู่ตามแบบของพุทธบริษัท ย่อมเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวงอยู่ในตัวมันเอง นี่คืออาการที่เราจะเรียกว่าการรับใช้สังคมของพุทธบริษัท คนทั่วไปอาจจะรู้สึกว่า แหม มันกว้างเกินไป มันสูงเกินไป มันมากเกินไป อะไรก็ได้ ตามใจเขา แต่เรามีอย่างนี้ มีความเป็นพุทธบริษัทที่ถูกต้องอยู่ในตัวเองแล้ว ย่อมเป็นการรับใช้โลกทุกโลกให้มีความสุขทั่วกันหมด นี่เรียกว่ารับใช้พระเจ้า รับใช้พระธรรม พูดให้เป็นวิทยาศาสตร์ก็เรียกว่ารับใช้ความถูกต้องของธรรมชาติ รับใช้ธรรมชาติที่ถูกต้อง หรือรับใช้ความถูกต้องของธรรมชาติคือช่วยกันประพฤติความถูกต้องของธรรมชาติ คือการรับใช้สิ่งทั้งปวง เว้นตัวกูของกูเสีย พอมีตัวกูของกูมันก็ไม่ไปรับใช้สิ่งทั้งปวง มันมารับใช้ปากท้อง เนื้อหนังตัวเอง แสวงหาความสุข สนุกสนานเรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรติ เรื่องตัวเองหมด อย่างนี้รับใช้กิเลส รับใช้ผี รับใช้พญามาร เป็นเสนียดต่อสังคม ก็ไปดูตัวมันสิ หมายหน้าว่าคนไหนมันทำอย่างไรเป็นเสนียดต่อสังคมหรือไม่ เพราะว่าคนที่เห็นแก่กิน แก่กาม แก่เกียรติและเป็นเสนียดแก่สังคมนั้นแหละ ต้องเห็นแก่ความถูกต้อง นี่ก็ไม่ได้ทำเพื่อความหมายอย่างนั้น หล่อเลี้ยงชีวิต ตามหน้าที่ที่ธรรมชาติกำหนดไว้ว่าสิ่งมีชีวิตต้องหาเลี้ยงชีวิตให้ชีวิตเป็นอยู่ เป็นอยู่นี้เป็นอยู่เพื่อความถูกต้องคือการกระทำที่ถูกต้องแล้วก็ไม่มีใครมีความทุกข์ โลกนี้ก็เป็นโลกพระศรีอาริย์ได้ในพริบตาเดียวอีกเหมือนกัน อุบายที่จะทำโลกนี้ให้เป็นโลกพระศรีอาริย์ในพริบตาเดียวนี้มีอยู่มาก แต่ใจความเหมือนกันหมด คืออย่าเห็นแก่ตัวอย่างเดียวเท่านั้นน่ะ อย่าเห็นแก่ตัวอย่างเดียวเท่านั้นน่ะ จะอธิบายกันในรูปไหนก็ตามใจ ถ้าไอ้หน่วยสมาชิกในโลกนี้มันไม่เห็นแก่ตัวแล้ว โลกนี้ก็เป็นโลกพระศรีอาริย์ขึ้นมาในพริบตาเดียว นี่คือผลของการที่รับใช้สังคม ตามวิถีทางของพุทธบริษัท ถ้าพูดว่าตามวิถีทางของพุทธบริษัทก็หมายความว่าถูกต้อง ไม่ต้องใช้คำว่าถูกต้องมันก็หมายความว่าถูกต้องอยู่เอง นี่ขอให้เราศึกษากันให้มาก เกี่ยวกับเรื่องตัวกูเรื่องของกู ถ้าตัวกูของกูเข้ามาแล้วก็ธรรมะก็ไม่อยู่แล้ว ตัดตัวกู ของกูออกไปธรรมะก็เกิดขึ้นทันที มันเป็นของที่ตรงกันข้าม ที่ต้องกลับกันอยู่คนละที จิตใจของเรานี้เหมือนกับเรือนร้าง เรือนว่าง ร่างกายหรือจิตใจรวมกันเรียกว่าเรือนว่าง ถ้าตัวกูของกูเข้ามาอยู่ ธรรมะออกไป ธรรมะเข้ามา ตัวกูของกูออกไป นี่ไอ้โครงร่างของมนุษย์นี่มันเป็นอย่างนี้ ทีนี้ก็รู้จักทำให้มันมีแต่เรื่องธรรมะนั่นแหละ ทีนี้ปัญหามันจะเกิดขึ้นว่าใครเป็นผู้ทำ เมื่อตัวกูของกูมันทำซะแล้ว มันก็ทำเพื่อตัวกูของกู แล้วธรรมะมันจะทำอย่างไรได้ เพราะธรรมะมันไม่ใช่ตัวกูของกู นี่ต้องถือว่ามันต้องให้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ให้ตนบ้าๆ บอๆ ทำมันเสียให้ถูก ช่วยให้ตน ตัวกู นี่มันไม่เจ็บปวดเป็นทุกข์เพราะทำผิดมากเข้าๆ มันก็รู้จักระอา รู้จักเปลี่ยนแปลง หมายความว่าตัวกูนี่มันเกิดความรู้สึกว่าโอ๊ยไม่ไหวแล้ว เปลี่ยนแล้ว ต้องเปลี่ยนแล้ว นี่มันจะกลายเป็นธรรมที่พึ่งแก่ตัวกูได้รับความทุกข์มากเข้าๆ บ่อยเข้า ซ้ำเข้า ความคิดมันก็ค่อยๆ เกิดหรือ ฉลาดขึ้นทีละน้อย ไอ้ตัวกูของกิเลสนี่มันค่อยๆ มาเป็นตัวกูของธรรมะขึ้นทีละน้อยๆ จนกว่าจะเป็นตัวกูโดยสมบูรณ์ เมื่อพูดถึงข้อนี้ก็ต้องถือว่าธรรมชาติอีกนั่นแหละ ธรรมชาติมันจะเป็นผู้รู้สึก ธรรมชาติมันจะเป็นผู้เปลี่ยนแปลง ไอ้ตัวธรรมชาตินั้นแหละมันจะรับใช้สังคมอย่างถูกต้องหรือจะเรียกใหม่ว่าตัวเราว่าพวกเราว่าพวกพุทธบริษัท อย่างนี้ก็ต้องเอาไอ้สังขารร่างกายชีวิตจิตใจที่ประกอบอยู่ด้วยธรรม ประกอบอยู่ด้วยธรรมะ อย่าประกอบอยู่ด้วยตัวกูของกู ชีวิตจิตใจนี้ทำให้ดีมันจะประกอบอยู่ด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ถูกต้อง คือประกอบอยู่ด้วยธรรมะ มิได้ประกอบอยู่ด้วยกิเลสที่เรียกว่าตัวกูของกู นี่ก็แปลว่าธรรมะนี่มันเข้ายึดครองเอาจิตใจนี้อยู่ประจำไปเลย จิตใจมีธรรมะอยู่เป็นประจำ พอจะเรียกได้ว่าตัวตนโดยสมมติ ตัวตนที่ดี ตัวตนที่จะเป็นที่พึ่งแก่ตนได้โดยสมมติ บางทีพระพุทธเจ้าพูดบางประโยคพระพุทธเจ้าท่านตรัสอย่างสมมติบางประโยคท่านตรัสอย่างไม่สมมติ เช่น ทุกสิ่งเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน นี่ตรัสอย่างพูดจริงพูดไม่สมมติ แต่ถ้าพูดว่าอัตตาเป็นที่พึ่งแก่อัตตาอย่างนี้เรียกว่าพูดโดยสมมติ ให้คนที่มันติดอัตตาให้ไปคิดดู ให้ใช้แบบหนามยอกเอาหนามบ่มรู้จักเข็ด รู้จักหลาบ ก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงเสีย จึงมีคำพูดเกิดขึ้นว่าเราต้องเป็นที่พึ่งแก่ตัวเรา เราต้องทำที่พึ่งแก่ตัวเรา โดยทำเราให้เป็นธรรมะ และให้ธรรมะเข้ามาเป็นเรา พอธรรมะเข้ามาเป็นเรา เราก็เป็นที่พึ่งแก่ตัวเรา พอเราเป็นกิเลส เป็นตัวกูของกู เราก็ไม่เป็นที่พึ่งแก่ตัวเรา นี่มันก็มีวิธีที่เห็นชัดอยู่แล้วจะทำที่พึ่งแก่ตัวเราได้อย่างไร ทำตัวเราให้มันหมดความหมายตัวเราเสียให้เป็นธรรมะเสียเอาธรรมะเป็นตัวเราเสีย ก็แปลว่ากาย วาจา ใจ นี่มันเป็นธรรมะไปหมด การเป็นอยู่เคลื่อนไหวทุกสิ่งทุกอย่างทุกประการเป็นธรรมะไปหมด นับตั้งแต่การทำมาหากิน การเป็นอยู่ ในประจำวัน การทำอะไรต่างๆ ให้มันเป็นธรรมะไปเสียหมด การกระทำเป็นธรรมะการพูดจาเป็นธรรมะ การคิดนึกเป็นธรรมะ เป็นธรรมะหมดทั้งนั้น เป็นอยู่อย่างนั้น ชื่อว่าเป็นอยู่อย่างถูกต้องให้โลกนี้ไม่ว่างจากพระอรหันต์เพราะว่ามันมีการเป็นอยู่อย่างถูกต้อง แม้ไม่เป็นอรหันต์หรือยังไม่เป็นพระอรหันต์ก็ยังเป็นการช่วยกันทำโลกนี้ให้มีสันติสุข นี่เรียกว่าการรับใช้สังคมตามความหมายของพุทธบริษัทในพระพุทธศาสนา แล้วเมื่อวานเราพูดกันเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม วันนี้ก็พูดกันเรื่องการรับใช้สังคมให้มันชัดเจนลงไป ในความรับผิดชอบของเรา ก็พอกันที
(เสียงอุบาสก) อ้าว นี่เขาเขากลัวแล้วเขาก็คิดว่าจะมีข้อปฏิบัติอะไร สำหรับคฤหัสต์ ฆราวาสาฆ่ากันเหมือนกับเนื้อนั้นเป็นแน่นอน ผู้ถามเขากลัวความเป็นอย่างนถามว่าโลกนี้มันแสดงอยู่ในตัวแล้วว่ามันจะมีแต่ผู้ที่เห็นแก่ตัวมากขึ้นทุกที มากขึ้นทุกที อย่างที่ป้องกันไว้ไม่ได้ แล้วก็จะต้องถึงยุคที่เรียกว่ากลียุคถึงที่สุดคือมิคสัญญีอย่างที่ว่าฆ่ากันเหมือนกับเนื้อนั้นเป็นแน่นอน นี่ผู้ถามเขากลัวความเป็นอย่างนั้น เขากลัวแล้วเขาก็คิดว่าจะมีข้อปฏิบัติอะไร สำหรับคฤหัสถ์ ฆราวาส ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อป้องกันความเป็นอย่างนั้น หรือว่าเพื่อเป็นประโยชน์ที่สุดแล้วก็ขอร้องว่าอย่าให้มันสูงถึงขนาดที่ไม่มีตัวกูของกู นี่คำถามเขามีอย่างนี้ ทีนี้ก็ตอบว่าทางอื่นไม่มี มีแต่เรื่องความไม่มีตัวกูของกูเพราะเหตุว่าปัญหานี้หรือเสนียดจัญไรอันนี้มันเกิดขึ้นจากตัวกูของกู นี่คิดดูสิ ไอ้ตัวปัญหามันเกิดขึ้นมาจากตัวกูของกูเรื่อยมาๆๆ ทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่อายุแปดหมื่นปี จนเดี๋ยวนี้อายุสิบปี มันมาจากตัวกูทั้งนั้นน่ะ ฉะนั้นของแก้ที่แท้จริงโดยตรงของมันก็คือการไม่มีตัวกูของกู ทีนี้เราทำไม่ได้มากก็ทำเท่าที่เราจะทำได้ แต่ที่เห็นเดี๋ยวนี้ก็พูดอยู่แล้วว่าโลกมันต้องเป็นอย่างนี้แน่ แล้วเราจะต้องทำอย่างไร เราจะหลีกออกมาเสียได้อย่างไร ถ้าว่าตั้งคำถามว่าเราจะหลีกออกมาได้อย่างไร จากพวกนั้นก็ต้องเอาไม่มีตัวกูของกูอีกแหละ ไม่มีตัวกูของกูคือมันหลีกออกมาเสียได้ เราจะไม่รู้สึกว่านั้นคือความทุกข์ ความตาย นี่ก็ไม่มีความหมายอะไร ความตายนี่มันเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติไม่มีความหมายอะไร หลีกออกมาซะได้ ก็เราจะไม่รู้สึกว่านัเขาทุกข์ร้อน เขากลัวเขาอะไรกัน เราก็ไม่กลัว เพราะว่าเราไม่มีตัวกูของกู ฉะนั้นเราจึงมีจิตใจที่แยกออกมาเสียได้จากสังคมที่มันกำลังเป็นบ้า มันจะเป็นอะไรเราก็ไม่ทุกข์ร้อนกับมันนี่คือผลของการที่ไม่มีตัวกูของกู หรือมันจะฆ่ากันอย่างไรแล้วมันมีปฏิกิริยาเป็นอะไรมาถึงเราอย่างไรเราไม่ทุกข์ไม่ร้อนกับมัน ไอ้ข้อที่เราจะไม่ทุกข์ไม่ร้อนกับมันก็คือเราทำความรู้ที่ถูกต้องที่ว่ามันไม่มีตัวกู มันจึงไม่มีความทุกข์ความร้อน ทางอื่นมันไม่มี มันมีทางนี้แล้วมันจริงด้วย เมื่อโลกเขาเป็นทุกข์กันเราต้องไม่เป็นทุกข์ เราไม่เป็นทุกข์ ก็เพราะมองหนทางนี้ทางเดียว ฉะนั้นขอให้ถือว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนธรรมะอันนี้ไว้ก็เพื่อว่าให้ทุกคนรู้จักเอาไปใช้เมื่อมันไม่มีทางอื่นจะช่วยได้เมื่อโลกมันจะถึงยุค มิคสัญญีเราก็มีธรรมะนี้ช่วยเราไม่ให้ต้องเป็นทุกข์ นี่เรียกว่าเราจะไม่ต้องถูกฆ่าหรือเราจะไม่ฆ่าใครก็ได้ ทางกายเราหลีกหนีได้ แต่ถ้าว่ามันไม่พอไม่พ้นการหลีกหนีทางกาย หรือว่าเราไม่ทันหลีกหนีมัน ลูกระเบิดมันลงโครมมาแล้วจะหนีอย่างไร หรือว่าหนีได้เอ้าหนีไป มันก็เป็นเรื่องทางกาย ยังทุกข์อยู่ก็ได้ พอเริ่มหนีก็คือหนีด้วยการมีจิตใจที่ไม่มีตัวกูของกู อย่ายึดมั่น เป็นตัวกูของกูแล้วร่างกายนี้มันก็เดินไปเองไปหาที่ปลอดภัยเองใจก็ไม่เป็นทุกข์ ร่างกายก็ทำถูก เกี่ยวกับเรื่องนี้เรามีคำพูดที่ลัด ที่สรุปความ พูดลัดไปคำหนึ่ง ว่าให้ตายเสียก่อนตาย คุณเอาเหรอ เอาไหม ตายเสียก่อนตาย คงเป็นไปไม่ได้ หรือว่าไม่เอา ไม่จริง ไม่เอา ไม่ยอมรับเป็นไปไม่ได้ ตายเสียก่อนตาย นี่เป็นไปได้ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือให้ตัวกูของกูมันตายหมดเสียก่อนแต่ร่างกายมิตาย เพราะว่าไอ้ปัญหาสำคัญมันอยู่ที่ตัวกูของกูที่จะเป็นทุกข์มันอยู่ที่นั่น ที่จิตที่ยึดมั่นถือมั่น ฉะนั้นจิตชนิดนั้นถูกทำลายเสียให้มันตายเสียก่อนที่ร่างกายนี้จะตายตามธรรมดาตามธรรมชาติ ตายทางกิเลสเสีย ก่อนที่จะตายทางร่างกาย นี่คือหลักธรรมะ ให้ตัวกูของกูหมดเสียตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ทีนี้ใครจะฆ่าใครมันก็ไม่มีความทุกข์ ใครจะมาเชือดเนื้อเถือหนังมันก็เป็นเรื่องร่างกายไม่ใช่เรื่องตัวกู ก็เป็นความเจ็บปวดล้วนๆ ไม่ใช่ความเจ็บปวดของตัวกู ความทุกข์เกิดเพราะความยึดถือว่าของกูว่าตัวกู เอานี้ออกไปเสียมันก็ไม่เป็นทุกข์มีความเจ็บปวดตามธรรมดา ถ้าเข้าใจเรื่องตายเสียก่อนตายนี่จะช่วยได้มากคือช่วยให้ไม่ทุกข์ร้อนไม่ให้วิตกกังวลหรือทุกข์ร้อน นั้นน่ะอุบายที่จะแก้ปัญหาอย่างที่คุณว่า ไอ้โลกนี้มันเป็นมิคสัญญีแล้วมันต้องทำกันอย่างกลียุคแล้ว เรามาต่อสู้ด้วยการตายเสียก่อนตาย ฟังไม่ถูกก็เอาไปคิดสักสามปี ค่อยคิดออก ก็ฟังถูก
เอ้า มีปัญหาอะไรอีก (เสียงอุบาสก) คุณถามว่าอย่างไรว่าขันธ์ทั้งห้าส่วนไหนขันธ์ไหนที่ทำให้เกิดโมหะเกิดกิเลส (เสียงอุบาสก) แล้วไม่ถามว่าส่วนไหนที่ทำให้เกิดปัญญาเกิดโพธิบ้างเหรอ (เสียงอุบาสก) เรื่องนี้มันกินเวลามากแน่ เพราะว่าคนถามก็ยังไม่รู้ว่าขันธ์ห้าคืออะไรอยู่ที่ไหน เกิดเมื่อไหร่ และเกิดอย่างไร ได้ยินมาแต่ตัวหนังสือว่ามันมีขันธ์ห้า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แล้วตัวจริงของมันคืออะไร เกิดอย่างไร เกิดเมื่อไร ก็ยังไม่รู้ มันต้องศึกษากัน ส่วนที่เรียกว่าขันธ์ห้าให้รู้จักเสียก่อน แล้วจึงจะรู้ส่วนที่ว่าเมื่อไรมันเกิดเป็นโมหะเมื่อไรมันไม่เป็นโมหะ เดี๋ยวนี้คุณมีขันธ์ห้าไหม คุณผู้ถามน่ะ เดี๋ยวนี้เวลานี้คุณมีขันธ์ห้าไหม แสดงว่ามี ทำไมต้องใช้คำว่าเข้าใจว่า เอาเปรียบนะ เข้าใจว่ามี ต้องว่ามีสิ มีอย่างไรว่ามาดูสิ ถ้าอย่างนี้ไหนเอาเวทนามาดูสิ อ้าว มันไม่มีเห็นไหม นี่เขาเรียกว่ามันยังไม่รู้เรื่องขันธ์ห้า เอาสัญญามาดูสิเอาอะไรมาดูสิ มันยังไม่มี นี่ก็พูดสำหรับทุกคนอีกว่าขันธ์ห้า ฉะนั้นอย่าเอาไปปนกับคำว่าอุปาทานขันธ์ห้า นี่มันคนละอัน แม้แต่ขันธ์ห้าแท้ๆ นี่มันจะมีได้เฉพาะบางเวลาไม่ใช่จะมีอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าเขาสอนเขาถือว่ามีอยู่ตลอดเวลา พูดเป็นสรุปความก็ต้องพูดว่าขันธ์ห้าจะมีก็ต่อเมื่อมันมีการทำหน้าที่ทางตา หรือว่าทางหู หรือว่าทางจมูกหรือว่าทางลิ้น ใน ๖ อย่างนั้นน่ะเมื่อใดอย่างใดอย่างหนึ่งทำหน้าที่เข้าแล้วก็เมื่อนั้นแหละขันธ์ห้าจะมี ถ้าไม่มีการทำหน้าที่ของตา เป็นต้นแล้วก็ไม่มีขันธ์ห้า มันว่างก็คุณคิดดูขันธ์ห้ามันคือรูป เอาล่ะ ย่อให้ว่าร่างกาย ทีนี้เวทนารู้สึกสุขหรือทุกข์ เวลานี้คุณก็ไม่มี ไอ้เวทนาคุณก็ไม่มี จนกว่าจะถึงเวลาที่มันจะมี สัญญามันก็ยังไม่ต้องจำอะไร เว้นว่าแต่เจตนาจะจำ จบ ะนึกมันถึงจะมี สังขารก็ไม่ได้คิดนึกอะไร ทีนี้วิญญาณก็ตา หู เป็นต้นไม่ทำหน้าที่แล้ววิญญาณยังไม่มี จนกว่าจะมีรูปมาให้ตาพบกันก็เกิดวิญญาณคือจักขุวิญญาณ นี่เรียกว่าวิญญาณขันธ์มี ทีนี้เมื่อตามันเห็นรูปเข้าแล้วมันว่ารูปอะไร นี่สัญญาเกิดขึ้นว่ารูปอะไร เวลานั้นเท่านั้นน่ะ สัญญาขันธ์มี เวลานั้นเท่านั้นน่ะสัญญาขันธ์มี ทีนี้มันก็เกิดเวทนาต่อมาว่าสวยหรือไม่สวย น่าดูหรือไม่น่าดู น่ารัก เวทนาขันธ์จึงมี แล้วก็มาคิดอะไรเกี่ยวกับเรื่องนั้น สังขารขันธ์จึงมี เมื่อนั้นเรียกว่ารูปก็ขันธ์มี ร่างกายนี่มี เมื่อนั้น เมื่อ ๕ อย่าง เมื่อทำหน้าที่จึงจะเรียกว่าร่างกายนี้มี คือรูปขันธ์มี ถ้าจะใช้คำว่ารูปขันธ์ต้องมีต่อเมื่อมันทำหน้าที่ ถ้าไม่งั้นมันมีเป็นร่างกายเนื้อหนังเฉยๆ ตา หู ผม ขน เล็บ ขน ขน เล็ียกว่าร่างกายนี้มี คือเหนัง เฉยๆ อย่างนั้นน่ะหรือเป็นดินน้ำลมไฟเฉยๆ อย่างนี้ ขันธ์ห้ามีเป็นคราวๆ ต่อเมื่อมีการทำงานขึ้นทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น เมื่อมีครบห้าในกรณีนั้นๆ เรียกว่ามีขันธ์ห้า พอจะเรียกว่ามีตัวตนชนิดหนึ่งโดยสมมติ นี่คุณต้องรู้ว่าขันธ์ห้าคืออย่างนี้ก่อน อย่าคิดว่าขันธ์ห้ามีอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวพอเขาจะขอดูเวทนา เอ้าไม่มี ขอดูสัญญา ไม่มี มันต้องเมื่อมันมีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณพร้อมกับร่างกายที่กำลังเป็นเครื่องรองรับไอ้ความรู้สึกอันนั้น จึงจะเรียกว่ามีขันธ์ห้า นี่ถ้ามีขันธ์ห้านี้ก็เรียกว่ามีขันธ์เฉยๆ มีเบญจขันธ์เฉยๆ เดี๋ยวก็เกิดขึ้น เดี๋ยวก็ดับไป เดี๋ยวก็เกิดขึ้น เดี๋ยวก็ดับไป เดี๋ยวขันธ์ห้าชุดหนึ่งเกิดขึ้น เดี๋ยวขันธ์ห้าชุดหนึ่งดับไป เดี๋ยวขันธ์ห้าชุดหนึ่งเกิดขึ้น เดี๋ยวขันธ์ห้าชุดหนึ่งดับไป มิได้มีอยู่ตลอดเวลา ที่ว่าถ้ายังมีชีวิตอยู่แล้วก็ยังมีขันธ์ห้าอยู่มันพูดกำกวม มันไม่ชี้ระบุลงไปว่าเมื่อไร มันกลายเป็นมีตลอดเวลา อย่างนี้มันเป็นสัสสตทิฐิเป็นอะไรเตลิดเปิดเปิงไปหมดจะไม่มีเกิดไม่มีดับ ขันธ์ห้าเป็นสิ่งที่เกิดดับวอบแวบๆๆ อยู่ตลอดเวลาที่ตาเห็นรูปเรื่องหนึ่ง หูถึงเสียงเรื่องหนึ่ง หรือตาเห็นรูปครั้งที่สอง ตาเห็นรูปครั้งที่สาม นี่เรียกว่าขันธ์ห้าล้วนๆ นี่ยังไม่มีกิเลส ยังไม่มีโมหะ นี่เรียกว่าตามธรรมดา เราก็มีขันธ์ห้าล้วนๆ อย่างนี้ ยังไม่มีกิเลส ยังไม่มีโมหะ เพราะตาเรายังไม่บอด เราก็เหลียวไปถึงคนนี้ อ้าวนี่รูปนี้ รูปร่างน่าดูเว้ย ก็เลิกกัน จะไปคิดอะไรอีก ก็พอจะมีขันธ์ห้าได้ หรือว่าคิดก็ไม่ได้คิดเรื่องกิเลส ทีนี้ในบางโอกาสไม่ใช่ทั้งหมด แทบทั้งหมดเรามิได้เกิดกิเลสนี่ เห็นตาเห็นรูปนี้ก็ไม่ได้ปรุงเป็นอุปาทานอะไร จำได้ว่าต้นนี้ต้นขนุนหรือแม้จะคิดว่ามันเป็นอย่างไรบ้างก็มันไม่ได้เกิดกิเลส มันไม่มีเกิดเป็นต้นขนุนของเราหรืออะไรขึ้นมา หรือแม้จะเห็นสัตว์ก็เหมือนกันมันยังไม่เกิดกิเลส ในกรณีนี้ที่จะเกิดกิเลสซึ่งมันมีน้อยกว่าต้องเห็นสิ่งที่น่ารักหรือยั่วกิเลสหรือว่าไอ้สิ่งที่มันมีความสัมพันธ์กันมาก่อน ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าว่ามันมีคนที่เกลียดกันอยู่คนหนึ่งเป็นศัตรูคู่อาฆาต ถ้าพอไอ้คนนี้เดินมาแล้วก็นั่นน่ะมันจะเกิดขันธ์ห้าอีกชุดหนึ่ง ซึ่งมีอุปาทานยึดครอง เขาเรียกว่าปัญจุปาทานขันธ์หรือว่าอุปาทานขันธ์ไม่ใช่ขันธ์ห้าเฉยๆ ทีนี้ฟังให้ดีที่ว่ามันจะเกิดโมหะ อวิชชาอย่างไร ตาของเราก็มีอยู่ตามเดิมแล้ว ทีนี้ศัตรูคู่อาฆาตคนนั้นมันเดินมา ตาได้กระทบกับไอ้ภาพนั้น เกิดจักขุวิญญาณ อย่างนี้ก็เรียกว่าเกิดจักษุวิญญาณขึ้นมา ตาแล้วก็รูปเกิดจักษุวิญญาณเห็นไอ้ภาพนั้น ทีนี้สัญญาก็วิ่งมาอ้าว ไอ้หมอนี่ ไอ้ศัตรูคู่อาฆาตนั่น นั่นน่ะสัญญาขันธ์เกิด วิญญาณขันธ์เกิดแล้ว ที่เห็นด้วยจักษุนี้ สัญญาขันธ์ก็เกิด นี่คือมันแวบเดียว ไม่ต้องคิดแล้ว การที่เห็นหน้าคนเกลียด สัญญามันก็บอกทันทีว่าคนนั้น ทีนี้มันก็มีเวทนาและหลีกไม่พ้นแล้ว คือความเดือดใจเดือดอยู่ในใจเพราะเกลียด ความไม่สบายใจเพราะเห็นไอ้คนเกลียด นั่นก็เวทนาเกิดแล้ว เวทนานี้ก็ถูกยึดครองแล้วด้วยอุปาทาน ทีนี้ความคิดก็เกิด คิดทั้งนั้น คิดจะเตะหรือคิดจะตีตาย หรือคิดอะไรก็แล้วแต่จะคิด นี่สังขารขันธ์เกิดแล้ว ในขณะที่ตาเห็นรูปคนนั้นน่ะ เขาเรียกว่าร่างกายนี้เปลี่ยนสภาพเป็นรูปขันธ์เพื่อจะเป็นตัวกู เพื่อจะสนองรองรับไอ้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณด้วย ธรรมดาร่างกายนี้มันไม่ได้เป็นรูปขันธ์อยู่ เป็นกายหรือเป็นสามสิบสองเป็นดินน้ำลมไฟอยู่ตามเรื่องของมัน ต่อเมื่อมันไอ้ร่างกายนี้เป็นที่ตั้งแห่งตา ตานี้ก็ไปเห็นไอ้ศัตรูนั้นเข้า เมื่อเห็นศัตรูนั้นเข้า ไอ้สัญญาที่ว่าเป็นศัตรูก็เกิด สัญญาเกิด ตอนนี้ถ้าว่ามันมีสติสัมปชัญญะมันก็ไปอย่างหนึ่ง ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะมันก็ไปอย่างหนึ่ง ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะก็แปลว่าอวิชชานี้เข้ามาผสมโรงเพื่อจะคิดไปตามแนวของไอ้ความที่มันเป็นศัตรูคู่อาฆาตเพราะสัญญามันจำได้แล้วว่าคู่อาฆาต นี่อวิชชาก็ทำให้คิดไปในทางเป็นกิเลส ร้อนๆ ใจเดือดร้อนเพราะเห็นคู่อาฆาต แล้วทีนี้ก็คิดด้วยอวิชชา ด้วยกิเลสด้วยอวิชชาที่ทำให้คิดผิดจึงเป็นกิเลส คืออยากจะฆ่านี้เป็นต้น สังขารคือความอยากจะฆ่า ทีนี้ดูที่รูปก็เป็นรูปที่ว่ารูปของเรา ดูที่เวทนาก็เวทนาของเราเพราะมันเดือดอยู่เรื่อยไอ้ตัวกูอยู่แล้วตั้งแต่แรกสัญญามันเห็น ไอ้สัญญานั้นก็เป็นตัวเราขึ้นมาเหมือนกัน สัญญาที่ถูกคือเป็นตัวเราก็ทำให้จำได้ว่าไอ้นั้นมันศัตรูของเรา สัญญาก็เป็น มีอุปาทานเวทนาก็มีอุปาทาน สังขารก็มีอุปาทาน ไอ้วิญญาณที่เราเห็นทีแรกยังไม่มี อุปาทานก็พลอยเป็นไปด้วย เพราะว่ากลายเป็นการเห็นผู้ที่ถือว่าเป็นศัตรูของเรา นี่เกิดขันธ์ห้าครบ แต่ว่าไม่ใช่ขันธ์ห้าเฉยๆ เกิดขันธ์ห้าที่มีอุปาทาน ขันธ์ห้าอย่างนี้เขาเรียกว่าปัญจุปาทานขันธ์ ปัญจุปาทานขันธ์ ถ้าไอ้อย่างนี้เค้าเรียกปัญจขันธ์เฉยๆ ปัญจักขันธา รูปะขันโธ เวทนาขันโธ สัญญาขันโธ คือปัญจขันธ์เฉยๆ นี้ไม่มีกิเลส ไม่มีอุปาทานยึดครอง ส่วนอันนี้ก็มันบอกอยู่ในตัวแล้วมันไม่ได้เห็นไอ้ของธรรมดา มันไปเห็นไอ้ศัตรูเข้า มันก็เกิดขันธ์ห้าชนิดที่ยึดถือด้วอุปาทานเป็นปัญจุปาทานขันธ์ ทีนี้เราก็นึกถึงบทสวดมนต์สิ สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธาทุกขา ถ้าจะโดยสรุปแล้ว ขันธ์ที่ประกอบอยู่ในอุปาทานห้าอย่างนั่นล่ะเป็นตัวทุกข์ ถ้าไม่ได้ประกอบด้วยอุปาทาน มันไม่ทุกข์ เหมือนขันธ์ห้าชุดนี้มันไม่ทุกข์ มันก็มีอุปาทานเข้าไป นี่เหตุไรขันธ์ห้าจึงมิกิเลสมีอุปาทานเรียกว่าปัญจุปาทานขันธ์ ไอ้ยกตัวอย่างนี้มันยกให้ฟังง่ายๆ เพราะว่าเอาไอ้ตัวศัตรูคู่อาฆาตมาเป็นอารมณ์ทางตามันเห็นง่าย ถ้าว่าจะเอาต้นขนุนนี้เมื่อกี้เห็นต้นขนุนแล้วก็ไม่เป็นไร ถึงเดี๋ยวนี้ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าในกรณีที่เหตุมันจะเข้ามา เผอิญว่าเรานี้มันเป็นคนรักต้นขนุน พอเห็นต้นขนุนงามดี ก็ดีใจ ใช่ไหม เห็นต้นขนุนเป็นหนอนเป็นไอ้ตัวกิน มันก็ไม่ดี ไม่สบายใจแน่ หรือว่ามีคนขโมยมัน ขโมยลูกมัน มันก็คนละอย่างแล้ว ทีนี้เอาว่าเดี๋ยวนี้มาเป็นชาวสวน มันรักต้นไม้ เห็นต้นขนุนนี้เป็นรู หนอน มันไม่ใช่เห็นต้นขนุนธรรมดาอย่างเราเห็นเดี๋ยวนี้นะ ตามันเห็นต้นขนุน กระทบต้นขนุนเกิดจักษุวิญญาณเห็นรู หนอน สัญญา ทำหน้าที่ พอมันรู้ มันจะไปรู้ รูหนอนนี่คือหนอนอันตรายทำให้ต้นขนุนตาย แล้วมันก็มีการที่เปิดโอกาสให้กิเลสแก่อวิชชา พอเห็นรู หนอน สัญญาทำหน้าที่ว่ารูหนอนนะ ไอ้เวทนามันก็เกิด รำคาญหรือว่าเสียใจหรือว่าเสียดายและเป็นทุกข์เพราะเห็นรูหนอนว่าต้นไม้ที่รักของเราจะต้องตายนี่ เวทนาที่เป็นทุกข์มันเกิดขึ้น สัญญาก็เกิดแล้ว ที่ทำให้เสียใจ เพราะต้นขนุนมันเป็นรู เวทนาก็เกิดขึ้น ทำให้เป็นทุกข์เพราะต้นขนุนมันเป็นรู ทีนี้ความคิดมันก็คิดว่าจะต้องฆ่าหนอน สังขารมันก็เกิดขึ้น โดยอุปาทานมียึดครอง มันก็ต้องฆ่าหนอน มันก็ครบ ความคิดจะฆ่าหนอนมันก็ถือเป็นความทุกข์ชนิดหนึ่งไม่ปกติแล้ว แล้วเป็นความคิดที่เป็นกิเลสเพราะจะฆ่าหนอนก็เรียกว่าปัญจุปาทานขันธ์เกิดครบเพราะเห็นต้นขนุนในลักษณะอย่างนี้แต่เดี๋ยวนี้ไม่อย่างนั้น ดูสิดูสักกี่ครั้งมันไม่เกิดอุปาทานอะไร อย่างนี้มันเกิดขันธ์ห้าล้วนๆ เพราะอย่างไอ้รายที่มีหนอนมันเกิดปัญจุปาทานขันธ์ห้า คือไม่ใช่ขันธ์ห้าล้วน มันคือขันธ์ห้าที่มีอุปาทาน ทีนี้ถ้าว่าเป็นคนมีการศึกษาธรรมะเป็นอุบาสก พอเห็นรูหนอนที่ต้นขนุนนี่ ความเป็นอุบาสกมันมีมาก มันมีสติสัมปชัญญะ มันนึกได้ อ๋อ มันอย่างนี้เอง ขึ้นชื่อว่าต้นไม้มันอย่างนี้เองต้องอย่างนี้เอง ก็ไม่ต้องโกรธ ไม่ต้องเป็นทุกข์ไม่ต้องมีเวทนาที่เป็นทุกข์แม้สัญญานี้จะบอกว่าหนอน ก็ไม่ทำให้เกิดทุกขเวทนาเพราะมันมีสติ อันนี้มันต้องเป็นอย่างนี้เอง จะมีความคิด ว่าคิดไปในทางที่ถูกที่ควร ที่ว่าตัวเป็นอุบาสกจะจัดการกับหนอนอย่างไร หรือจะไม่จัดการ มันก็ไม่ทุกข์อีกแหละ มันก็เกิดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ครบห้า เกี่ยวกับต้นขนุนต้นนี้เป็นอารมณ์แต่ไม่มีอุปาทานเกิดขึ้น นี่เรียกว่าขันธ์ห้าล้วน แล้วก็ถ้าจะมองอีกทีหนี่งก็ไม่ใช่ขันธ์ห้าล้วนทีเดียว ขันธ์ห้าที่เป็นที่ตั้งแห่งวิชชาความรู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเรื่องหนอนนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานี่เป็นขันธ์ห้าที่ปราศจากอุปาทานแต่เป็นขันธ์ห้าที่ตั้งแห่งความรู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่ามันต้องเป็นอย่างนี้เองไปตามเหตุตามปัจจัยอย่างนี้ นี่ขันธ์ห้าที่มันจะเป็นปัจจัยของกิเลสตัณหาคืออย่างทีแรกอย่างปุถุชนที่ไม่เคยเรียนรู้อะไรมา นี่แค่ว่าขันธ์ห้าที่จะไม่เกิดอุปาทานแต่เกิดความเข้าใจถูกต้อง คิดถูกต้องก็คือสัตบุรุษหรือพระอริยะสาวกที่เคยสดับเคยอะไรมา สมมติว่าเป็นชาวสวนมันก็ไม่เกิดความทุกข์เพราะว่าต้นขนุนนั้นหนอนมันเจาะ นี่คุณแยกเอาเอง หรือว่าถ้าคนธรรมดาเห็นต้นขนุนก็ไม่มีความหมายอะไรเป็นขันธ์ห้าล้วน แต่พระพุทธเจ้าเห็นมันเป็นหนอนก็ยังจะเกิดปัญญาเกิดสติสัมปชัญญะแต่ถ้าปุถุชนเห็นมันก็จะเกิดกิเลสมันก็จะพาลหนอนจะฉีดให้หนอนตายไปตามเรื่องของมัน ทีนี้มองเห็นหรือยังว่าขันธ์ห้ามิได้มีอยู่ตลอดเวลา มีแต่ว่าตาหูเป็นต้น ทำงานจึงจะมีสิ่งที่เรียกว่าขันธ์ห้าแล้วขันธ์ห้าก็เกิดอยู่เป็นส่วนมากและแต่ว่าขันธ์ห้าที่จะกลายเป็นปัญจุปาทานขันธ์ยังมีน้อยกว่านั้นยังมีน้อยกว่านั้นมันจะเกิดปัญจุปาทานขันธ์ต่อเมื่อไอ้สิ่งนั้นมันยั่ว ยั่วกิเลส ยั่วอวิชชาแล้วเผลอสติ มันจึงจะเกิดความรู้สึกคิดนึกที่เป็นกิเลสหรือเลวหรือชั่วร้ายและเป็นทุกข์ ตาเราก็เห็น หูเราก็ได้ยิน จมูกเราก็ได้กลิ่นแต่เราไม่ได้เป็นทุกข์ เพราะมันไม่ได้เกิดขันธ์ห้าชนิดที่มีอุปาทาน
นี่คือกอขอกอกาสำหรับธรรมะ ขอให้ทุกคนรู้ไว้ ถ้าไม่เข้าใจเรื่องนี้แล้วก็ไม่มีทางรู้ธรรมะ เพราะนี่มันเป็นกอขอกอกาของธรรมมะ เมื่อเรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำหรับจะปะทะกันเข้ากับรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมมารมณ์ พอมันปะทะกันเข้ามันจะเกิดสิ่งที่เรียกว่าวิญญาณ ถ้าทางตาก็เรียกจักษุวิญญาณ ทางหูก็เรียกว่าโสตะวิญญาณ สามประการนี้เรียกว่าผัสสะ คือตาอย่างหนึ่งกับรูปอย่างหนึ่งกับวิญญาณอย่างหนึ่ง รวมกันแล้วก็เรียกว่าผัสสะ ถ้าผัสสะนี้มันเป็นโอกาสของอวิชชามันก็ปรุงไปในทางเกิดกิเลสตัณหา ถ้าผัสสะนี้มันเป็นโอกาสของวิชชาหรือสติสัมปชัญญะมันก็ปรุงไปในทางที่ไม่ใช่กิเลสตัณหา ถ้าว่านี้มันไม่มีความยั่วยวนมากเกินไป มันก็ปรุงกันไปแต่เพียงเป็นขันธ์ห้าเฉยๆ คือมีผัสสะแล้วก็มีเวทนาหน่อยหนึ่งแล้วก็มีความคิดนิดหน่อยไม่ถึงกับเป็นกิเลสแล้วก็ดับไปก็เลิกกัน เหมือนกับคุณมองไปเห็นดอกไม้ มันไม่ได้เกิดกิเลสตัณหา ในกรณีธรรมดา เห็นดอกไม้มันก็สบายตานิดหน่อยแล้วก็ไม่คิดอะไรมากกว่านั้น คิดว่าเออดีๆ ก็เลิกกัน เป็นขันธ์ห้าล้วนๆ แต่ถ้ามันมีความหมายมากกว่านั้น มันยั่วยวนมันอยากจะได้หรือมันเสียหายลงไป มันไม่ใช่ขันธ์ห้าล้วน เช่น คนที่เขาไปรักต้นกุหลาบ เห็นต้นกุหลาบมันเป็นหนอนมันก็อย่างว่า แต่ถ้าคนอื่นเห็นดอกกุหลาบ ไม่ใช่เจ้าของ ก็ไม่เกิดกิเลสตัณหาอะไร หรือสุนัขกับแมวเห็นดอกกุหลาบนี่ก็ไม่มีความหมายอะไร มันก็เห็นไม่ใช่ไม่เห็น แล้วมันก็อาจจะมีความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งได้เหมือนกัน สุนัขเห็นดอกกุหลาบนี่แต่มันไม่ใช่เรื่องของปัญจุปาทานขันธ์ ทีนี้คนเราส่วนใหญ่ก็ทำไม่เป็น ถ้าเราเป็นปัญจุปาทานขันธ์คือมีปัญจุปาทานขันธ์ทุกคราวที่ตาเห็นรูปหรือหูได้ฟังเสียง จมูกได้กลิ่นแล้วมันตายแล้ว มันตายแล้วไม่ใช่มานั่งอยู่นี่ มันเกิดอุปาทานขันธ์เป็นความทุกข์เสียเรื่อย ทางตา ทางหู ทางจมูกไม่หยุด วันเดียวมันก็บ้า สองวันก็ตาย เดี๋ยวนี้ที่มันเห็นอยู่เยอะแยะนี่มันไม่เกิด ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น นั่งอยู่ตรงนี้ก็เห็น เสียงก็ได้ยิน นกร้อง บางทีจมูกก็ได้กลิ่นดอกไม้นั่น แต่มันไม่ถึงกับเกิดอุปาทาน ไม่เรียกว่าอุปาทานขันธ์ มันก็จะมีความพักผ่อนอยู่ตลอดเวลา หรืออาจจะเป็น exercise ด้วยก็ได้ ตา หู จมูกนี่มัน exercise ของมันอยู่ปกติดีสบายดี แต่ในกรณีที่มันเกิดอุปาทานมันเป็นทุกข์เป็นนรกที่นั่นน่ะ นี่คุณรู้กอขอกอกาอย่างนี้นะ เรื่องตา หู จมูกลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะธรรมารมณ์ วิญญาณทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ รวมกันเรียกว่าผัสสะ ผัสสะแล้วเกิดเวทนา ก่อนที่จะเกิดเวทนาต้องมีสัญญามาช่วยก่อนจึงจะเกิดเวทนาได้ พอเวทนาแล้วก็ต้องเกิดสังขารความคิดความนึก เป็นตัณหาอุปาทานเรื่อยไป ทำไม่เป็น เป็นปุถุชนเกินไปโง่เกินไปพอมีอะไรมากระทบก็รักหรือโกรธหรือเกลียดไปเลยมันก็มีความทุกข์สิ อย่างว่านักเลงรักต้นกุหลาบอย่างนี้ เป็นนักเลงใหม่ๆ ไม่ใช่นักเลงเก่า พอเห็นต้นกุหลาบเป็นหนอน แหมมันทุกข์ เพราะเห็นต้นกุหลาบมันเป็นหนอน มันไม่สบายใจเป็นทุกข์เป็นร้อนมากๆ ทีเดียว คนมันเลือกเล่น นี่มันตกนรก พระพุทธเจ้าท่านตรัสเองว่านรกมันอยู่ที่ตา หู จมูกลิ้น กาย ใจ สวรรค์มันอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ การเห็นความเสียหายนั้นเป็นทุกข์มันก็เรียกว่านรก หรือว่าถ้าไปทำอะไรถูกต้องให้ได้รับความพอใจ สบายใจก็เรียกว่าสวรรค์ นี่ก็เรียกว่าผัสสายตนิกะนรก ผัสสายตนิกะสวรรค์เป็นพุทธภาษิต ตรัสแบ่งสวรรค์นรกไว้ ๒ อย่างแล้วก็อยู่ที่ผัสสายตนะ ผัสสายตนะนั้นคืออายตนะเป็นเรื่องสัมผัส อายตนะคือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ข้างในกับรูป เสียงกลิ่น รส โผฎฐัพพะข้างนอก นี่เรียกว่าผัสสายตนะอันนี้เป็นนรกเมื่อไรก็ได้ เป็นสวรรค์เมื่อไรก็ได้ ถ้าทำให้จิตใจเป็นไฟก็เป็นนรก ถ้าเพราะการเห็นก็เป็นนรกที่ตา ถ้าเพราะการฟังก็เป็นนรกที่หู แต่ถ้าทำถูกหรือวิธีมันตรงกันข้ามมันทำให้สบายใจพอใจมันก็เป็นสวรรค์ สวรรค์ที่ตาสวรรค์ที่หูสวรรค์ที่จมูก มีจริงไหม นรกสวรรค์มีจริงไหม เออ หรือคุณจะเอาแต่ตายแล้วก็ตามใจ แต่นรกสวรรค์ต่อตายแล้วน่ะเราไม่พูดเราไม่กล้าพูดเพราะว่าเราไม่รู้เราไม่เห็น เราไม่บ้าพูดสิ่งที่เราไม่รู้ไม่เห็น เราว่าอย่าเพิ่งพูด อย่าเพิ่งพูด มาพูดสิ่งที่มันเห็นๆ ที่พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสไว้ ว่าผัสสายตนิกะนรกมีอยู่ ผัสสายตนิกะสวรรค์ก็มีอยู่ ก็มีอยู่จริงๆ ทำไมไม่เชื่อ ทำไมไม่สนใจ จะไปพูดถึงเรื่องว่าสวรรค์ก็ตายแล้วนรกก็ตายแล้ว อาตมาก็บอกอย่างนี้ว่าอย่าไปนึกเลย สวรรค์ก็ตายแล้ว ถ้ามันไม่จริง มันไม่แน่ เอาที่แน่ก่อนดีกว่า มันแน่ มันแน่ ทำเอาได้ สวรรค์ก็ได้ นรกก็ได้ ที่นี่เดี๋ยวนี้ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย และพระพุทธเจ้าก็ตรัสอย่างนี้ นี่คนเหล่านั้นมันหาเรื่อง มันหาว่าอาตมาพูดว่าตายแล้วไม่เกิด ยังไม่ได้พูดสักทีตายแล้วเกิดหรือไม่เกิด ยังไม่ได้พูดสักทีว่าตายแล้วเกิดหรือไม่เกิด พูดแต่เพียงว่าถ้าตายแล้วอย่าไปสนใจมันเลย เรื่องอะไรต่างๆ ต่อตายแล้วที่เขาพูดกันชาวบ้านเขาพูดกันอย่าสนใจเลย สนใจแต่ที่มันเห็นอยู่เดี๋ยวนี้ เท่ากับพูดว่า อาตมานี่พูดว่าตายแล้วไม่เกิด ในหนังสือพิมพ์มันเอาไปลง หนังสือพิมพ์เมื่อไม่กี่วันนี้ก็ยังมี อาจารย์อาจองพูดว่าตายแล้วเกิด ท่านพุทธทาสกับท่านปัญญาพูดว่าตายแล้วไม่เกิด ไม่เคยพูดสักทีที่ไหนก็ไม่เคยพูด มีแต่พูดว่าอย่าไปสนใจกับเรื่องหลังจากตายแล้วเลย มันไม่จำเป็นสนใจแต่เรื่องเดี๋ยวนี้ อย่าให้นรกเกิดที่นี่ ให้มีแต่สวรรค์เกิดที่นี่แล้วก็รับรองได้ รับรองได้ว่าถ้าตายไปแล้วน่ะจะต้องเป็นอย่างนั้น ถ้าเราทำให้สวรรค์เกิดที่นี่ได้ ตายไปแล้ว ถ้ามีนะ มันก็เกิด มันก็มีสวรรค์แน่ ถ้าเราทำนรกอยู่ที่นี่ทั้งวันทั้งทางตา ทางหู จมูก อยู่ทุกวัน ตายแล้วก็ไปนรกแน่แหละ เช่นนั้นน่ะ แต่ว่าทางโน้นยังไม่ต้องสนใจ สนใจที่นี่ที่มันแน่นอนที่เราทำได้ ที่เราจัดการได้ ควบคุมได้ ทำได้ ให้รู้ไว้ว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นกอขอกอกาของวิชาธรรมะของปรมัตถธรรม คือว่าถ้าไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วไม่มีเรื่อง เรื่องทั้งหลายไม่มี ชีวิตก็ไม่มี โลกก็ไม่มี อะไรก็ไม่มี คุณลองสิอย่ามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจสิมันจะมีอะไรเหรอ มันก็ไม่มีอะไรจริงๆ ด้วย ฉะนั้นจึงถือเอาตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจข้างในกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะข้างนอกนี่ว่าเป็นกอขอกอกาของบทเรียนธรรมะ ฉะนั้นก็จะมีวิญญาณเกิดขึ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีผัสสะ มีเวทนา เกิดขึ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีตัณหาอุปาทานเกิดขึ้นที่รูป เสียง กลิ่น รสโผฎฐัพพะธรรมารมณ์นี่มันเห็นกันชัดๆ แต่ไม่ค่อยศึกษากันมันคิดกันอย่างไรก็ไม่ทราบ ไอ้เรื่องสำคัญนี้ไม่ศึกษา หรือจะเห็นว่าเป็นเรื่องกอขอกอกาเกินไปไม่ศึกษา แต่ถ้าไม่รู้เรื่องนี้แล้วก็รู้กันไม่ได้ ที่จะพูดว่าเราตลอดเวลาประกอบอยู่ด้วยขันธ์ห้านี่เป็นสัสสตทิฐิ แล้วมันไม่จริงด้วย เอาเวทนามาดูสิ คุณก็ให้ไม่ได้ แต่รูปนี้ก็ไม่ได้ทำหน้าที่ของรูป มิได้มีค่าอย่างรูปมันก็เป็นร่างกายเฉยๆ เป็นเนื้อหนังเฉยๆ เป็นขุมขนแล้วก็หนังเฉยๆ ยังไม่ใช่รูปขันธ์สักที จะเป็นรูปขันธ์ต่อเมื่อมันทำหน้าที่ให้เป็นที่ตั้งเป็นตา หู จมูก ลิ้น กาย ทำหน้าที่ให้เกิดเวทนาจึงจะเรียกว่ารูปขันธ์ นี่ขันธ์ห้าเป็นอย่างนี้ มันจะเกิดเป็นตามโอกาสที่ตาเห็นรูป หูฟังเสียงเป็นต้น แล้วเดี๋ยวมันก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ทั้งชุดทั้ง ๕ นี่เกิดขึ้นมาครบ ๕ แล้วก็ดับ ในกรณีอย่างนี้ไม่มีโมหะไม่มีอวิชชาไม่มีความทุกข์ ต่อเมื่อเผลอสติไปหลงรักหลงเกลียดหลงอะไรเข้า เป็นอย่างที่ว่ายกตัวอย่างนั้นน่ะ ขันธ์ห้าจึงจะเปลี่ยนรูปเป็นปัญจุปาทานขันธ์แล้วเป็นทุกข์ แต่เดี๋ยวมันก็ดับอีก สุดท้ายมันก็ต้องดับเหมือนกัน แต่ว่าก่อนจะดับนี่มันเล่นงานบอบช้ำ จึงเรียกว่าเป็นทุกข์ ถ้าทำดีก็มีสติสัมปชัญญะ ไอ้ขันธ์ห้านี่กลายเป็นโรงเรียนที่สั่งสอนที่ดีให้เราฉลาดยิ่งขึ้นทุกวัน นี่ก็เป็นทางเกิดแห่งวิชชา แห่งโพธิ แห่งการบรรลุมรรคผล มันก็ตั้งต้นบนนี้ บนขันธ์ห้านี้ ที่จะเป็นไปตามทางของวิชชา มรรคผลนิพพานหรือว่าจะลงนรก มันก็ที่นี้ (นาทีที่ 1:30:38 ) ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมเป็นขันธ์ห้านี้ นี่ตอบได้อย่างนี้ เมื่อไรเป็นอวิชชาเป็นโมหะก็เมื่อเผลอสติ ขันธ์ห้ากลายเป็นปัญจุปาทานขันธ์ ทีนี้เมื่อไรจะเป็นวิชชาก็เมื่อว่ามันเกิดขึ้นแล้วสติมันมีพิจารณาเห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อนี้ขันธ์ห้าเป็นที่ตั้งแห่งวิชชา
นี่อะไรกันปัญหาอะไร “ผมติดตามรายการบรรยายธรรมทางวิทยุกระจายเสียงของพระคุณท่านเสมอมา” เราไม่มี เราไม่มีสถานีวิทยุ “รู้สึกว่าขาดหายไปเสียเฉยๆ เป็นเวลาเกือบปีแล้ว ไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลอย่างใด ผมมีปัญหาข้องใจจะเรียนถามดังนี้ คนถึงธรรม ธรรมถึงคน ดลจิตว่าง คำว่าจิตว่างมีความหมายแค่ไหน ว่างจากอารมณ์ทั้งหมดหรือว่างจากอะไรบางส่วน” นี่เขาพูดกัน จนไม่รู้จะพูดอย่างไรแล้ว คนนี้มันไม่เคยอ่านไม่เคยได้ยิน คุณไปบอกให้เขาหาหนังสืออ่านหรือฟังเทปม้วนไหน เขาอธิบายดี สอง คำว่ามัชฌิมาจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะได้ชื่อว่ามัชฌิมาปฏิปทา แย่แล้วแค่นี้มันก็ไม่รู้แล้ว เขาว่าอย่าเอาส่วนเกิน บอกพระองค์นั้นว่าอย่าเอาส่วนเกินเอาแต่พอดีๆ เขาเรียกมัชฌิมาปฏิปทา คำว่าอรูปภพ ภพที่ไม่มีรูปนั้น ขันธ์สี่ซึ่งเป็นนามธรรมจะอาศัยอะไรจึงจะอยู่ได้ นี่ดูสิมันเป็นปัญหาที่จริงน่ะ เป็นปัญหาที่จริง เป็นปัญหาที่เกิดมาจากการสอนผิดๆ ขันธ์สี่คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีรูปแล้วมันจะอาศัยอะไรอยู่ได้ มันก็จริง เพราะว่าเขาสอนกันว่าที่ภพ รูปพรหม รูปภพมันมีกันแต่ขันธ์สี่ ไม่มีรูป นี่มันสอนอย่างนี้ มันสอนเป็นบุคลาธิษฐานผิดๆ มันต้องอธิบายกันใหม่หมดว่าไอ้กามภพ รูปภพ อรูปภพ เทวโลก มารโลก อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่พระพุทธเจ้าท่านว่า ถ้าจะศึกษากันให้ละเอียดลออจริง คุณก็ไปอ่านพระไตรปิฎกเอาเองที่แปลไทยมันก็มี ไปเปิดไอ้หมวดของสังยุตตนิกายและหมวดย่อยเขาเรียกว่าอายตนะสังยุตก็จะพบข้อความนี้ว่าตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจนี้มันเป็นสมมติ คือทะเล ที่โลกมนุษย์ เทวโลก มารโลก พรหมโลกมันจมอยู่ในสมุทรนั้น อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เทวโลก มารโลก พรหมโลก อะไรโลกๆ นั้น มันอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันไม่ได้อยู่ที่ไหน ที่ภพไหน ที่เขาว่ากันก็ไม่รู้ และเราก็ไม่คัดค้านเขา แต่เราบอกพระพุทธเจ้าท่านว่ามันอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทีนี้เมื่อใดเราไม่ไปสนใจกับเรื่องไอ้รูปขันธ์ บางคน บางเวลา บางกรณี มันไม่สนใจกับเรื่องรูปขันธ์คือร่างกาย มันไปสนใจแต่ความรู้สึกทางจิต ซึ่งมีอยู่ ๔ อย่าง ไอ้คนๆ นั้นก็เรียกว่ามันเป็นไม่มีรูป มันไม่มีรูป มันมีแต่นาม เพราะจิตมันไม่สนใจสิ่งที่เรียกว่ารูป ก็ที่นี่แหละ ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ร่างกายนี้มันมีอยู่แต่จิตมันไม่สนใจแก่ร่างกาย พูดกันสองคำมันไม่รู้เรื่องหรอก เรื่องมันยากเกิน มันต้องไปศึกษาเอาเองให้เข้าใจคำว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นอะไรทุกอย่างอยู่ที่นั่น นรกสวรรค์ที่นั่นอะไรที่นั่น ทั้งนั้นน่ะ รูปภพ อรูปภพ กามภพอยู่ที่นั้นน่ะ อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แม้แต่นรกก็อยู่ที่นั่น ที่เมื่อเขาเอาไว้ใต้ดินจะพูดกันรู้เรื่องเหรอ นรกอยู่ใต้ดิน เราพูดว่าอยู่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจมันก็พูดกันไม่รู้เรื่อง เขาก็ว่าเราบ้า เพราะว่าเราพูดคนเดียว คนทั้งเมืองเขาพูดกันอย่างโน้น เราก็ต้องเป็นคนบ้า เราก็ไม่รู้จะพูดอย่างไร เราก็ต้องยอมเป็นคนบ้า แต่เรามีที่อ้าง พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ ว่านรกมันอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไม่ได้อยู่ใต้ดิน ทีนี้ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนอยู่ใต้ดิน มันลำบากมันอึดอัดมันเป็นทุกข์ สวรรค์อยู่ข้างบนคือไม่อึดอัดไม่เป็นทุกข์ ทีนี้ถ้าเกิดปัญหาอย่างนึ้ขึ้นแล้วก็ขอให้ทุกคนมีหลักว่าให้ไปแปลเสียใหม่ ไอ้คำพูดที่เขาพูดกันอยู่ ให้ไปแปลเสียใหม่ คำว่าใต้ดินแปลว่าอะไร คำว่าบนฟ้าแปลว่าอะไร คำว่านรกมีความหมายว่าอย่างไร แล้วสวรรค์มีความหมายว่าอย่างไร ถ้าร้อนเป็นไฟคือนรกแน่ ถ้าสบาย พอใจเป็นสวรรค์แน่ มันก็อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (เทปเงียบตั้งแต่นาทีที่ 1.36.23 - 1.36.50) บอกว่าต้องไปตั้งต้นศึกษากันเสียใหม่เรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไม่อย่างนั้นฟังไม่ถูก เรื่องจิตว่างก็ควรฟังดูมันว่างหลายแบบ เอาไปปนกันยุ่งก็เลยฟังกันไม่รู้เรื่อง ไอ้จิตว่างแบบธรรมะนั่นคือว่าจิตมันไม่มีความรู้สึกประเภทตัวกูของกูเท่านั้นแหละ มันมีความรู้สึกอย่างอื่นได้ ที่ไม่ใช่ตัวกูของกู เมื่อนั้นเราจึงสบายเพราะจิตว่างจากความรู้สึกประเภทตัวกูของกูเราก็สบาย จะทำอะไรก็สนุกจะกินอะไรก็อร่อย เมื่อจิตว่างจากตัวกูของกูจะกินอะไรก็อร่อย ลองจิตเต็มอัดอยู่ด้วยเรื่องตัวกูของกูมันกินไม่ลง มันเสียใจบ้าง มันรักบ้าง อะไรบ้าง มันกินไม่ลง ต้องจิตว่างจากความหมายแห่งตัวกูของกู นอนก็หลับสนิท กินอะไรก็อร่อย ตลอดเวลาก็สบายดี สนใจความว่างชนิดนี้ ไอ้ว่างไม่คิดนึกอะไรนั้นมันความหมายอื่นไม่ใช่ความหมายนี้ แล้วใครจะอยู่ได้โดยไม่คิดนึกอะไร บางทีก็ว่างแกล้งว่าง ว่างอันธพาล ทำอะไรร้ายๆ แล้วก็ว่าไม่รู้ ไม่รับผิดชอบ นี่มันว่างอันธพาล คืนนี้ตกลงกับท่านโตแล้ว ว่าทำอะไรบ้าง (เสียงอุบาสกสนทนา) เอาไว้คืนหลังบ้างสิ นั่นแหละคืนนั้นเราต้องอยู่กันถึงเที่ยงคืนอยู่แล้ว คืนวันที่ ๓๑ มันต้องอยู่กันถึงเที่ยงคืนอยู่แล้ว จะพูดอะไรทำอะไรก็ได้ ก็อย่างน้อยมันก็ต้องช่วยกันตีระฆัง ตีปี๊บ ขึ้นปีใหม่ ตี ๒๔.๐๐ น. น่าหัว พูดอะไรกันก็ได้ คืนนี้ก็ดูหนัง ดู…. (นาทีที่ 1:39:35) ทำอะไรก็ไปตามเรื่องหรือเปิดเทปฟังก็ได้ ไอ้เทปบางเทปบางเรื่องยังไม่เคยฟัง ให้ท่านโตเปิดให้ฟัง บางเทปมันก็น่าฟัง เทปรุ่นหลังๆ นี่ (เสียงอุบาสกสนทนา) เรื่องไม่ควรสอนโลกุตตระ …เราก็ไม่ได้คัดค้าน ไปตอบโต้มันก็ป่วยการอีกเหมือนกัน เรามีอะไรก็ว่าไปอย่าไปตอบโต้ อย่าไปตอบโต้กับบุคคล มีอะไรก็ว่าไป พูดไป ไม่ต้องออกชื่อบุคคล คุณกุลน่ะ (นาทีที่ 1:40:35) เขาเป็นคนโทสะร้าย เป็นคนที่มีกิเลสเสียเอง มันจะไปปราบกิเลสได้อย่างไร มันมีกิเลสเสียเอง จะไปปราบกิเลส บ้าชัดๆ (เสียงอุบาสกสนทนา) ก็มีอวิชชาเสียเองแล้วมันจะไปแก้อวิชชาได้อย่างไร จะไม่มีใครฟังด้วย เขาพูดด้วยอารมณ์มันมีแต่ผิด พลาด พูดด้วยอารมณ์ (เสียงอุบาสกสอบถาม) ไม่พบ แต่ว่าใจความมันไม่ขัด ไม่ขัดกับพุทธภาษิต ถือเอาได้โดยหลักมหาประเทศเมื่อสิ่งใดมันลงกันได้กับที่ตถาคตตรัสไว้ให้ถือว่านั้นเป็นธรรมนั้นเป็นวินัย ก็มี ที่เป็นพุทธภาษิตก็มี บทอิติปิโสนี่เข้าใจว่าเก่าก่อนพระพุทธเจ้า คือฝ่ายอื่นเขาใช้กันอยู่ก่อน พระศาสดาที่ไม่ถึงขนาด ก็ใช้อิติปิโสนี้ เข้าใจว่าของเก่าก่อนพระพุทธเจ้า ทีนี้พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมันก็ใช้ได้แต่มันเปลี่ยนความหมายเสียใหม่ เช่นเดียวกับคำว่านิพพานมันเก่าก่อนพระพุทธเจ้า เขาว่าอย่างนั้น นิพพาน อย่างนั้นนิพพาน กามารมณ์สมบูรณ์เป็นนิพพาน จตุตถฌานเป็นนิพพาน พระพุทธเจ้าว่าไม่ใช่ไม่เอาไม่ยอมรับ เรียกว่าสัญญานา สัญญาสนะ (นาทีที่ 1:42:09) ก็ไม่ใช่นิพพาน จึงมาหานิพพานใหม่คือว่าหมดอุปาทาน จิตหลุดพ้นจากอุปาทานเรียกว่านิพพาน ชื่อเดียวกัน (เสียงอุบาสกสอบถาม) อ้าว นั้นภาษาชาวบ้าน นั้นภาษาชาวบ้าน ภาษาชาวบ้านเรียกได้ หมดพยศก็คือนิพพาน หมดร้อนก็คือนิพพาน ภาษาชาวบ้าน (เสียงอุบาสก) นิพพานแบบนั้น ถ้านิพพานแบบนี้ก็ตาย อย่างนี้มันโง่ถนัดแล้ว กามารมณ์ก็ไม่ใช่นิพพาน จตุตถฌานก็ไม่ใช่นิพพาน ความหมดพยศของเดรัจฉานก็ไม่ใช่นิพพาน อย่างของพระพุทธเจ้า มันนิพพานอย่างสัตว์เดรัจฉานหรือของพวกนั้นๆ ภาษานิพพานในครัวของร้อนๆ เย็นก็นิพพาน ถ่านไฟก็นิพพาน ข้าวต้มก็นิพพาน เขาใช้คำว่านิพพานเหมือนกัน คุณไม่อ่าน ปรินิพพายติ ใช้คำว่าปรินิพพายติ ย่อมปรินิพพาน ข้าวต้มปรินิพพานกินได้ ยังไม่ทันปรินิพพานกินเข้าไปปากพอง นี่ภาษาในครัวอย่างนี้ ทีนี้สัตว์เดรัจฉาน ไอ้อะไรก็ตาม หมาแมวมาใหม่ๆ มันกัดตะพึดเลย มันมีพยศร้าย แม้แต่นกก็ตัวหนึ่ง ก็ต้องมาฝึก มาอะไรกับนกหรือสัตว์ หรือสัตว์อะไรก็ตามมันไม่มีพยศ ไม่มีอันตราย จึงว่ามันนิพพาน คือมันเย็นลงแล้ว โดยเฉพาะช้างป่าจับมาใหม่ๆ เอากับมัน ต้องมาทำจนมันนิพพาน จนมันเย็น มันรู้เรื่อง ก็ต้องพูดกันให้มันชัดลงว่านิพพานในความหมายไหน (เสียงอุบาสกสอบถาม) ถ้ามีความรู้สึกคิดนึกก็มี มีครบ ถ้ามีความรู้สึกคิดนึกครบเหมือนมนุษย์ก็มีเหมือนมนุษย์ ผมไม่ทราบว่ามันมีหรือไม่มี แต่ถ้ามันมีครบเหมือนมนุษย์แล้วมันก็มีขันธ์ห้าแหละ ถ้ามันมีความรู้สึกครบเหมือนมนุษย์ แต่เข้าใจว่ามันจะต้องมี ในระดับน้อยๆ สมมติว่าหนอนอย่างนี้มีความรู้สึก จำได้ จำอะไรได้ มันก็มีความรู้สึกเจ็บปวดแล้วมันก็กลัวตาย แล้วมันต้องคิดนึก เช่นมันมีความหิว เป็นความคิดนึก มันจะต้องหาอาหารกินนี่ หนอนก็มีความคิดนึก คือสังขารขันธ์ มีจำอะไรได้ ว่านี่กินได้หรือไม่ได้มันก็ต้องจำได้สิ เดี๋ยวก็กินสิ่งที่กินไม่ได้เข้าไปเท่านั้น โดยสัญชาตญาณมันก็มีได้แน่ไอ้ขันธ์ห้า ทีนี้เกี่ยวกับคำพูดบางทีใช้คำว่าจิตบางทีใช้คำว่าวิญญาณ บางทีมันใช้แทน ใช้แทนกันจนไม่มีการจำกัดอะไร แต่ถ้าอยากจะจำกัด อยากจะจำกัดเพื่อเป็นหลักกันบ้าง จะจำไว้สักสามคำ มันก็มีธาตุชนิดหนึ่ง เรียกว่ามีธาตุชนิดหนึ่ง ถ้าธาตุชนิดนั้น ทำหน้าที่รู้เราเรียกว่ามะโน ธาตุชนิดนั้นทำหน้าที่คิดเราเรียกว่าจิต ถ้าธาตุชนิดนั้นทำหน้าที่ รับสัมผัสทางตา หู จมูก เป็นต้น เราเรียกว่าวิญญาณ เข้าใจไหม มะโนแปลว่ารู้ จิตแปลว่าคิด วิญญาณแปลว่ารู้แจ้งทางสัมผัส มีธาตุอยู่ธาตุหนึ่งเรียกว่ามะโนธาตุวิญญาณธาตุอะไรก็ตามใจ มีเป็นธาตุธรรมดา ธรรมชาติ อาศัยร่างกาย ได้ทำหน้าที่รู้อะไร รู้นั่น รู้นี้ รู้อะไรก็เรียกว่ามะโน ภาษาบาลีเรียกว่ามะโนหรือใจ แต่ถ้ามันทำหน้าที่คิดและคิด มันคิดนี่ ไม่ใช่รู้เฉยๆ ก็เรียกมันว่าจิต นี่แปลว่าก่อหรือว่าคิด ถ้าทำหน้าที่รับอารมณ์สัมผัสทางตา หู เป็นต้น เพื่อรู้อะไร อย่างนี้ก็เรียกว่าวิญญาณ จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ มันก็ต่างกันอย่างนี้ แต่ที่แท้ก็คือธาตุนั้น ธาตุมะโนธาตุ วิญญาณธาตุ บางเวลาจึงเรียกว่ามะโน บางเวลาจึงเรียกว่าจิต บางเวลาจึงเรียกว่าวิญญาณ และยังมีคำแทนชื่ออีกหลายคำ ที่สำคัญมีอยู่สามคำ (เสียงอุบาสก) เป็นคำพูดที่หลายความหมาย หลายชั้น หลายระดับ กำกวม แม้แต่สุขนี้มันก็มีสุขจริง สุขไม่จริง หรือที่แท้แล้วมันไม่มีความสุขอะไร ถ้าพูดว่าสุขว่าทุกข์ตามภาษาชาวบ้านนั้นแหละ จึงจะเรียกว่าพอจะมี มีจริง ถ้ามันทนยากก็เรียกว่าทุกข์ ถ้าไม่ต้องทนสนุกไปเลยก็เรียกว่าสุข แต่นี้มันเป็นของไม่จริงเสมอกัน แล้วก็เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือเสมอกัน ทุกข์ก็ยึดถือสำหรับโกรธ สุขก็ยึดถือสำหรับรัก ก็เรียกว่าทั้งสุขทั้งทุกข์นี้มันไม่ไหว ก็เรียกว่าเป็นสังสารวัฏ คือจมน้ำ อยู่ในความสุขก็เหมือนจมน้ำ อยู่ในความทุกข์ก็เหมือนจมน้ำ มันขึ้นมาเสีย ขึ้นมาเสียเหนือความสุข ความทุกข์ไม่ต้องจมน้ำ แล้วก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรทีนี้ ย้อนกลับไปเรียกสุขอีก ตอนนี้ไม่ควรจะเรียกว่าสุขก็เรียกว่าที่สุดแห่งความทุกข์หรือว่าเหนือสุขเหนือทุกข์แล้วก็สมมติเรียกว่านิพพาน เอ้า สมมติเรียกว่านิพพานก็ดี ทีนี้ก็มีคำพูดบางแห่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง เข้าไปอีก บางแห่งก็มีพูดนิพพานไม่สุขไม่ทุกข์ คนฟังก็เวียนหัว เล่มนี้ว่าไอ้คัมภีร์ตอนนี้ว่านิพพานไม่สุขไม่ทุกข์ เหนือสุขเหนือทุกข์ คัมภีร์เล่มนั้นน่ะ นิพพานคือสุขอย่างยิ่ง สุขอย่างยิ่งแบบนี้คุณต้องรู้ว่าอยู่เหนือสุขเหนือทุกข์อย่างที่ชาวบ้านเขารู้สึกกัน สุขทุกข์ประเภทเวทนานั้นมันไม่ไหว แต่ว่าถ้าไม่รู้สึกทางเวทนามันก็ไม่ใช่สุขอีกนั่นแหละ แม้เราจะได้รับความสุขเพราะอาศัยพระนิพพานนี้ มันก็เป็นเวทนาชนิดหนึ่งในจิตใจ ฉะนั้นขึ้นชื่อว่าความสุขหรือความทุกข์มันก็ต้องเป็นเวทนาอยู่ดี อย่างน้อยมันก็เป็นเวทนาทางจิตใจ เมื่อจิตพ้นจากอุปาทานหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง จิตก็รู้สึกความสุขชนิดหนึ่ง มันก็ต้องจัดเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง แต่เป็นเวทนาที่เย็น เวทนาอย่างนี้ในบาลีกิตติวุฒกะ(นาทีที่ 1:50:22) เรียกว่าเวทนาที่เย็น ส่วนเวทนาอื่นร้อน แม้สุขเวทนาก็ร้อน ทุกขเวทนาก็ร้อน ทางตา ทางหูก็ร้อนหมด เวทนาทั้งหลายของคนที่ไม่หลุดพ้น ร้อน พอหลุดพ้นไม่มีกิเลสไม่มีตัณหาอุปาทาน เวทนาเย็นหมด ไม่มีเรื่องอันไหนจะร้อนได้ แต่ทำอะไรที่เป็นเวทนาขึ้นมามันก็เย็นหมด รวมความว่ามันอยู่ที่คำพูดกำกวม เราต้องไต่สวนกันไปให้คำพูดนั้นไม่กำกวมเสียก่อน จึงจะตอบอะไรลงไปได้ ว่าสุขมันเป็นสุขชนิดไหนเล่า สุขก็เป็นเวทนาแล้วก็ไม่เที่ยงแล้วความที่มันไม่เที่ยงน่ะมันน่าเกลียด จึงไม่ถือว่าแม้สุขที่อาศัยพระนิพพาน มันก็เป็นความสุขที่ไม่เที่ยง ฉะนั้นอย่าไปเรียกสุขดีกว่า (เสียงอุบาสกสอบถาม) ไม่มีไม่เคยเห็น ข้อความนี้ไม่เคยเห็นในพระไตรปิฎก ไม่ทราบ ไม่ทราบ ไม่ใช่เราทำนี่ เราทำชั้นตรี ข้อไหนผมไม่เห็น ชั้นตรีตรงไหนกัน พุทธประวัติตรงไหน จะเป็นคำอธิบายของคนอื่นกระมัง ไม่ใช่พุทธประวัติที่เป็นหลักสูตรนักธรรม นี้เป็นภาษาชาวบ้าน ชาวบ้านพูด อาจจะมีในอรรถคาถา ฎีกาอะไรเล็กๆ น้อยๆ ซ่อนไว้อยู่ที่ไหนก็ได้ ไอ้บาลีแท้ๆ ไม่มี เช่นเรื่องพุทธประวัติว่าพระยศบรรลุพระอรหันต์แล้วก็กลับบ้านไม่ได้ กลับบ้านไม่ได้ ถ้ากลับบ้านแล้วมันจะตาย อย่างนี้เป็นต้น คงจะอธิบายสอดแทรกกันตรงนี้ มันก็ถูกแล้ว เมื่อเป็นพระอรหันต์กันแล้ว แต่ว่าผ้านุ่งยังไม่ได้เปลี่ยน นี่ก็ไปหาผ้านุ่งเปลี่ยนซะสิ จะได้เข้าฝูงนี้ได้เหมือนๆ กันมันก็มีเท่านี้ เป็นเรื่องวินัยมากกว่า ว่าต้องมีการนุ่งห่มอะไรที่มันเหมือนๆ กัน ยังไม่มีจีวร ก็ไปหาจีวร เรื่องเบ็ดเตล็ดอย่างนี้มันไม่จำเป็นแล้ว สนใจว่าทำอย่างไรจึงจะเป็นพระอรหันต์ดีกว่า (เสียงอุบาสกสอบถาม) ก็จิตถ้ามันรู้สึกว่าเป็นสุขก็จิต คนอื่นไม่รู้ จิตที่หลุดพ้นแล้วจากอุปาทาน รู้สึกว่าเป็นสุข ไม่มีทุกข์ รู้สึกว่าไม่มีทุกข์ เวทนาเป็นของเย็น ก็มีเท่านั้น เวทนาเย็นยังไม่ทันก็มี ยังไม่ทันเย็นก็มี เป็นพระอรหันต์ใหม่ๆ เวทนาเย็นยังไม่ทันก็มี (เสียงอุบาสก) นิพพานัง ปรมัง สุญญัง ไม่ใช่พุทธภาษิต นี่คาถาที่แต่งใหม่สมัยพระจอมเกล้าฯ นิพพานัง ปรมัง สุขขัง ไม่ใช่พุทธภาษิต (เสียงอุบาสก) อะไร ไม่มี ในพระไตรปิฎกมันมีอย่างอื่นมีรูปอื่น มีข้อความที่แสดงให้เห็นว่านิพพานนี่ว่างจากกิเลสว่างจากความทุกข์ไอ้อย่างนั้นมี แต่ที่พูดไปตรงๆ ว่านิพพานัง ปรมัง สุญญัง นี้มันไม่มี ทีนี้พระจอมเกล้าฯ ท่านจะเห็นว่าอ้าวนี้มันคือว่างที่สุดแล้วมาแต่งขึ้นใหม่เป็นประโยค นิพพานัง ปรมัง สุญญัง อย่างนี้ก็ไม่ผิดก็ถูก จะต้องอธิบายให้ถูก อธิบายสุญญังให้ถูก ว่างจากอะไร ว่างจากกิเลส ว่างจากความทุกข์ ว่างจากอุปาทาน ทีนี้ชาวบ้านน่ะเขาว่าสุญญังนี้แปลว่าสูญเปล่า เราหมดท่าที่จะเถียง สุญญังแปลว่าสูญเปล่านิพพานสูญเปล่า อะไรก็สูญเปล่า สูญเปล่า แต่เราต้องการจะแปลว่าว่าง ว่างจากความทุกข์ ว่างจากกิเลส ไม่มีเหลือแต่เข้าใจว่านิพพานสูญเปล่าไม่รู้จะเอาอะไรกัน (เสียงอุบาสก) ได้ๆๆ สุขมิจฉาทิฐิ สวรรค์มิจฉาทิฐิ มีเขามีไว้ให้ ที่จริงสวรรค์มันก็ไม่ใช่ของวิเศษอะไรอย่างนั้น ซึ่งสวรรค์จริงๆ ของสัมมาทิฐิก็ไม่ใช่ของวิเศษ ของลุ่มหลง หรือคุณไม่เห็นว่าของลุ่มหลง สวรรค์อย่างดี สวรรค์อย่างแท้จริง ทำบุญทำกุศล มันก็เป็นของลุ่มหลง ความลุ่มหลง (เสียงอุบาสก) มันก็เขียนให้ชัดอย่างนี้ว่านรกอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สวรรค์อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ อย่างนี้เป็นหลักทั่วไปที่ว่ามีมาก ส่วนที่นรกในทำนองอุปมาแบบว่านรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้าเหมือนที่ภาพเขียนผนังโบสถ์นั้นจะมีสักสูตรสองสูตรและอยู่ในลักษณะที่กำกวม คือแสดงให้เห็นว่าเป็นอุปมาไม่ใช่จริง คำว่านั้นน่ะมีมาก คำว่า “ทุกคติง อัปปายัง วินิปาตัง” (นาทีที่ 1:57:02) คำนั้นน่ะมีมาก แต่มันไม่ได้หมายความอย่างที่เขาว่า ที่คุณว่ามีมากน่ะคุณพูดให้ดีๆ นะ ไอ้เรื่องนรกพระมาลัยนั้นไม่ค่อยหา หาไม่ค่อยพบในพระไตรปิฎก แต่ถ้า “อัปปายัง วิปะ ทุกคติง วินิปาตัง (นาทีที่ 1:57:20) นี่มีมากจริง พอพูดอย่างชั่วแล้วก็เอาใช้คำนี้ พูดฝ่ายดีก็ใช้คำว่า “สุขะ อัตคัง” สวรรค์ (นาทีที่ 1:57:29) (เสียงอุบาสก) เอ้อ ก็ไปถามคนแต่ง มาถามผม ไม่มี ปาฎิหาริย์ พุทธประวัติมีในอรรถคาถา มีในอรรถคาถาของพระไตรปิฎก อย่างที่จะมีก็ในพระไตรปิฎก ก็มีกล่าวเป็นคำของพระสังฆีติกาจารย์ไม่ใช่คำพุทธภาษิต (เสียงอุบาสก) พุทธภาษิตหมายความว่าคำที่พูดที่อยู่ในสำนวน พระพุทธเจ้าท่านตรัสเอง เช่นว่ารูปไม่เที่ยงอะไรไม่เที่ยงนี่พุทธภาษิต (เสียงอุบาสก) ไอ้คาถาธรรมบทบางคาถาเป็นพุทธภาษิต แต่คาถาที่อยู่ในระหว่างไม่ใช่พุทธภาษิตหรือเป็นพุทธภาษิตก็มี เช่น ในธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร ก็อ่านธรรมจักรกัปปวัตนสูตรดู ที่ว่าของ ๒ อย่างนี้ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง กามสุขขัง นิกามยุต (นาทีที่ 1:58:37) นี้คือพุทธภาษิต แต่พอไปพอไปตอนท้ายพอถึงข้อความที่ว่าพอพระพุทธเจ้าได้ตรัสไวยากรณ์นี้จบลงแผ่นดินได้ไหวใหญ่ อย่างนี้ นี้มันไม่ใช่พุทธภาษิต ใช่ไหม แล้วคุณจะไปถือทำไม มันมีคนเขียนต่อท้ายพอพระพุทธเจ้าได้ตรัสข้อความนี้จบลงแผ่นดินไหว อะไรอย่างนี้ มันก็จะไปหาเอาพุทธภาษิตอย่างไร แม้ว่ามันมีในพระไตรปิฎก มันเป็นหยอดท้ายเรื่อง เล่าเรื่อง อย่างนี้มันมี ในพระไตรปิฎกมันมีคำอย่างนี้ แต่ถ้าอธิบายนรกสวรรค์อย่างละเอียดเหมือนภาพพระมาลัยนั้นมันไม่มี หรือจะมีก็พูดถึงกรรมกรที่เขาใช้ลงโทษคนทำผิดในสมัยโบราณอย่างนั้นๆ คล้ายๆ กับในพระมาลัยมันก็มีบ้างแห่งสองแห่ง คล้ายๆ กับว่าพูดเปรียบเทียบไว้ แต่ที่มันแน่นอน ที่พระเจ้าท่านยืนยันแน่นอนมันอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นรกก็ที่นั้น สวรรค์ก็ที่นั้น (เสียงอุบาสก) อ้าวนั้นก็อีกปัญหาหนึ่ง ถ้าคุณไม่เชื่อ มันก็ไม่รู้จะพูดอย่างไร นี่เราก็มีหลักที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ว่าถ้ามันเกิดปัญหาขึ้นมาว่าไอ้ข้อความนี้ในพระไตรปิฎกหรือในคัมภีร์นี้มันจะเป็นของจริงหรือของปลอมก็ให้ใช้หลักมหาประเทศอย่างนั้น ก็ไปศึกษาหลักมหาประเทศ ๔ ในธรรมเสีย ในวินัยเสีย ในธรรมก็อยู่ที่มหาปรินิพพานสูตรในวินัยก็อยู่ในพวกขันธกะ มหาประเทศ ๔ เครื่องตัดสินวันนี้เป็นพุทธภาษิตหรือไม่เป็น ถ้ามันไม่เข้าหลักนั้นก็ถือว่าไม่ใช่พุทธภาษิตแม้ใครจะยืนยันว่าพุทธภาษิตมันก็ไม่ใช่ มันต้องเข้าหลักที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ทั่วไปเป็นอย่างนั้นๆ อย่างผมนี่ผมจะพูดเลยพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า นรกอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สวรรค์อยู่ที่ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถืออันนี้เป็นหลัก พอใครมาบอกว่านรกอยู่ใต้ดิน ผมก็ไม่เชื่อสิ หรือว่านรกกับสวรรค์อยู่บนฟ้าก็ไม่เชื่อสิ เพราะท่านตรัสว่ามันอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะถือว่าที่พูดนั้นมันผิด หรือถ้าไม่ผิดเพราะมันเป็นคำพูดเปรียบเทียบอุปมา ที่เถียงกันว่าตายแล้วเกิดหรือตายแล้วไม่เกิดมันมีพุทธภาษิตชัดๆ ว่ามันเป็นอันธกายกับทิฐิ (นาทีที่ 2:01:12) ถ้าพูดว่าตายแล้วเกิดเป็นสัสสตทิฐิตายแล้วสูญเป็น เฉตะทิฐิ (นาทีที่ 2:01:15) มันมีอยู่ชัดๆ อย่างนี้ทำไมจะต้องมาเถียงกันอีกเล่า ฉะนั้นถ้ามันมีข้อความที่ใครเขียนไว้ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสไว้ว่า ฉันตายแล้วเกิดอย่างนี้ ฉันตายแล้วเกิดอย่างนี้ ก็เรียกว่ามันผิด หรือถ้าจะไม่ให้มันผิดก็ต้องแปลว่าเป็นคำที่ต้องตีความกันเสียใหม่ ให้มันว่าหมายถึงอะไรก็ต้องอย่างนั้น เช่นในบาลีเกี่ยวกับปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปุพพูปตาตญาณ (นาทีที่ 2:01:43) มันพูดทำนองอย่างนี้ เดี๋ยวขัดกับพระพุทธเจ้าตรัสไว้อันนี้ไม่ใช่ อันนี้มาใส่ทีหลังก็ได้ มีสิทธิที่จะทำอย่างนั้นเพราะมันขัดกับหลักที่ตรัสไว้ในที่ทั่วไปในสูตรในวินัย ตรัสว่าถ้ามันเกิดปัญหาขึ้นให้เอาไปเปรียบเทียบดูในสูตรทั้งหลายไปสอบดูในวินัยทั้งหลาย ถ้ามันเข้ากันได้กับไอ้ทั้งหลายนั้นก็เรียกว่าใช้ได้ถ้ามันเข้าไม่ได้ตัดออก เขาจำมาผิด เขาคัดลอกมาผิด เขาบอกกันมาผิดหรือสอนกันมาผิด เขาก็ใช้กันอย่างนี้ชัดเจนอย่างนี้ (เสียงอุบาสก) ไปถามคนที่เขามีอำนาจ ผมไม่มีอำนาจที่จะไปเปลี่ยนแปลงหรืออะไรมัน คุณต้องไปถามคนที่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงสิ เราไปเปลี่ยนแปลงเขาได้หรือ (เสียงอุบาสก) ก็สอนให้สอบไล่ได้ สอนอย่างไรนักเรียนสอบไล่ได้ คุณสอนอย่างนั้นแหละ อย่าสอนอย่างอื่นเลย เพราะคุณรับจ้างเป็นครูนี่ ผมก็เคยสอนเคยเป็นครู เขามีว่าอย่างไรก็สอนอย่างนั้น สอนสอบได้หมดเลย ทุกคนเลย อาตมาสอนปีนั้นสอบได้หมดเลย ตกคนหนึ่งเพราะว่าใบสอบมันหาย คนนั้นที่มันตก มันคงจะมีใครแกล้ง มันเป็นนักเรียนที่เรียนดีเก่งกว่าเพื่อนอยู่ในชั้น เขาก็ทิ้งมันตก พอไปถาม ใบสอบมันหายหาไม่พบ ชั้นตรีว่าไปที่จังหวัด ไปต่อว่าทำไมคนนี้ตก พอไปดูที่ไหนก็ไม่มี มีใบสอบอยู่สองวิชาหรือวิชาหนึ่งมันก็เลยไม่ได้ นอกนั้นมันได้หมด เพราะว่าเราไม่สอนตามความรู้ของเรา เราสอนตามหลักสูตรที่เขาวางไว้ (เสียงอุบาสก) ก็ตกหมดแหละ สอนนักเรียนก็สอบตกหมด นักเรียนเวียนหัวเรียน ๒ อย่างพร้อมกัน อย่าเพิ่งก่อนสิ พระเณรที่นี่เราก็บอกเหมือนกันว่ารีบเรียนเสียให้ได้นักธรรมเอกเสียก่อนแล้วฉันจะสอนให้ใหม่ ถ้าเอาที่เราสอนไปปนกันไปตอบปัญหานี่มันตกแน่ กรรมการเขาไม่ให้ ก็เลยถือว่าไอ้นักธรรมเอกนี่เป็นปฐมภาค เป็นชั้นเตรียมเรียนเสียก่อน แล้วค่อยมาเรียนไอ้แบบนี้ว่ามันถูกค้านหรือไม่มีใครเห็นด้วย (เสียงอุบาสก) นั่นแหละบาลีเขามุ่งหมายคล้ายๆ นั้น แต่ไม่ใช่เฉพาะเพียงโลก แผ่นดิน ก็หมายถึงรูปเสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะธรรมารมณ์ ๖ อย่างนี้สวยงาม ทีนี้ท่านก็เริ่มขึ้นมาในโลกแผ่นดินที่มันน่าอยู่ ก็เป็นแบบกวีนิพนธ์ก็ไม่ผิดอะไร (เสียงเทปเงียบไป ตั้งแต่นาทีที่ 2:05:26 -2:05:40) เดี๋ยวก่อนๆมัน ๒ เรื่อง เรื่องละ ๑ เล่มต่อคนแล้วก็เหลือก็เก็บไว้ให้พวกที่จะมาทีหลัง ให้ได้คนละ ๒ เล่มไม่เหมือนกัน คือว่าอยากจะพูดนิดหน่อย จะได้บอกกันต่อๆ ไป ว่าการมาที่นี่นั้นถ้ามาอย่างทัศนาจร มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร มันไม่มีอะไรที่จะมาสนุกสนาน ฉะนั้นการมาที่นี่ก็ต้องมาเพื่อศึกษา ส่วนที่ศึกษาได้จากหนังสือหรือบุคคลก็ศึกษากันได้ที่กรุงเทพฯ ไม่ต้องมาที่นี่ ที่เหลือนอกนั้นที่จะต้องศึกษาจากธรรมชาติจากภายในจึงจะมาศึกษาที่นี่ เพราะว่าธรรมชาติที่นี่ไม่เหมือนกับที่กรุงเทพฯ มันก็สอนให้เองน่ะมาอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติแบบนี้ เรียกว่ามันอยู่อย่างง่ายเหมือนกับการพักแรมอยู่ตลอดเวลา พระเณรที่อยู่เป็นปีๆ หลายๆ ปีก็มีหลักว่าจะต้องอยู่เหมือนอย่างพักแรม ชั่วขณะ อยู่ตลอดเวลา การกินการอยู่ก็จัดไปแบบนั้น เหมือนกับพักแรมอยู่ตลอดเวลา ก็มีบ้างไม่มีบ้าง ได้ตามต้องการบ้าง ไม่ได้บ้างอย่างนั้นน่ะ เป็นการพักแรม นอกนั้นก็มีที่มันแปลก บรรยากาศที่มันแปลกออกไป บรรยากาศตามธรรมชาตีนี้มันช่วยให้จิตใจน้อมไปเอง ในทางความสงบ พอเราเข้ามาในที่อย่างนี้จิตใจมันก็เริ่มสงบ นั้นน่ะคือการศึกษา การศึกษาอยู่ที่นั่น ไอ้คำว่าความสงบนี่มันอ่านเอาไม่ได้จากหนังสือถึงบอกกันก็ไม่รู้ มันต้องสงบจริงๆ ด้วยจิตใจแล้วมันก็รู้ว่าอ้าวสงบเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวนี้ยังไม่ใช่สงบจริง สงบตัวอย่าง ถ้ามาในสถานที่อย่างนี้ก็ได้ชิมความสงบแบบตัวอย่างก็ยังดีกว่าไม่ได้ชิมซะเลย ธรรมชาติมันบีบบังคับให้มันหยุดเองให้มันสงบเองให้มันเย็นเอง แต่ว่าคนโง่ๆ มันมาเจี๊ยวจ๊าวกันเสียหนวกหูไม่มีประโยชน์อะไร นี่มันพวกคนโง่ ไม่มารับรสของธรรมชาติไม่มาศึกษาจากธรรมชาติ มันก็เลยไม่ได้อะไร ที่จะคุ้มค่ามา ฉะนั้นถ้าเรามาในที่อย่างนี้ก็ต้องมาให้ธรรมชาติมันให้อะไร ฉะนั้นอย่าเอาไอ้แบบที่กรุงเทพฯ มาใช้ที่นี่ มันจะไม่ได้รับอะไร ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับธรรมชาติแล้วธรรมชาติมันก็จะให้อะไรมากทีเดียว รู้ว่าความเย็นใจเป็นอย่างไร ความสงบเป็นอย่างไร ความว่าง จากตัวกูของกูเป็นอย่างไร มันรู้ได้ บรรยากาศนั้นมันบังคับให้จิตว่างจากตัวกูของกูไปชั่วขณะหนึ่ง ให้ลืมแม้แต่ชีวิตของตัวเองมันก็ลืมได้ นั้นน่ะคือการศึกษาที่แท้จริง ศึกษาจากจิตใจข้างในโดยการบีบบังคับของธรรมชาติก็เลยชิมรสสิ่งเหล่านี้ นี่คือการศึกษาที่แท้จริง ซึ่งพูดกันไม่ได้ด้วยตัวหนังสือ ถ้าใครได้สิ่งเหล่านี้มันก็ฉลาดลึก ตามแบบของธรรมะ
ส่วนนอกนั้นใครจะฝึกหัดอะไรเป็นพิเศษก็ได้ จะหัดไหว้พระสวดมนต์ก็ได้ จะหัดเว้นรับประทานอาหารตอนเย็นเสียก็ได้ หรือจะเป็นอยู่อย่างง่ายๆ อื่นๆ อีกก็ได้มันจะได้ฉลาดขึ้นว่ามันไม่ตาย ให้อยู่อย่างพระมันก็ไม่ตาย ให้ยิ่งไปกว่านี้มันก็ยังไม่ตาย มันจะได้หายเข้าใจผิด ฉะนั้นขอให้ทุกคนที่มาที่นี่ บอกกล่าวกันให้รู้ว่ามันต้องมาเพื่อสิ่งนี้ ถ้าไม่อย่างนั้นก็อย่ามาเลย แม้ว่าการถามปัญหามันก็ดูจะไม่จำเป็นที่จะต้องมาถามถึงที่นี่ ที่กรุงเทพฯ ก็พอจะถามกันได้ แต่ถ้าว่าไหนๆ ก็มาแล้วจะถามปัญหาบางอย่างก็ได้ก็เป็นเรื่องพิเศษ ส่วนเรื่องที่สำคัญที่แท้จริง ที่จะศึกษาจากธรรมชาติล้วนๆ ธรรมชาติแท้ๆ หรือว่าศึกษาอีกวิธีหนึ่งจากภายในจากจิตใจ เช่น ศึกษาจากรูปภาพที่เขียนไว้ในตึกนั้น เป็นต้น มีวิธีให้ไปนั่งเพ่งให้มันเกิดความรู้สึกแจ่มแจ้ง ลึกซึ้ง เห็นว่ามันเป็นอยู่แก่ตัวเรา แต่เดี๋ยวนี้คนส่วนมากหรือแทบทั้งหมดน่ะ เขาดูรูปภาพอย่างผิวเผินผ่านไปๆๆ ไม่ได้รับประโยชน์ ยังไม่ได้รับประโยชน์ เราก็ยังไม่ได้บุญพอกับที่ลงทุนเสียสละเขียนมันขึ้น เพราะเหตุว่าคนดูเขาไม่รู้ไม่ชี้เขาไม่ปรบมือ คนดูอย่างผาดๆ เผินๆ แล้วก็รำคาญตา รูปบางรูป แต่นี้มันกินเวลามากคงทำยาก เอาล่ะเป็นอันว่าสรุปความได้ ถ้าจะมาทัศนาจรแล้วจะไม่คุ้มค่าแต่ถ้ามาทัศนาจรอย่างธรรมะหรือมาศึกษาธรรมชาติหรือมาศึกษาอย่างครึ่งธรรมชาติ อย่างนี้คุ้มค่า มาหัดบังคับตัวเอง มาหัดที่เรียกกันว่าทรมานตัวเองเสียบ้าง ที่จริงแล้วไม่ได้ถึงกับทรมานนะ คนขี้ขลาดว่าทรมาน แต่โดยแท้แล้วไม่ได้ทรมาน ยังสบายมากเกินไปด้วยซ้ำ นี่คือประโยชน์จากการมาที่นี่ ขอให้ได้รับออกไป ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แล้วก็ให้บอกกล่าวเพื่อนฝูงกันด้วยว่าถ้ามาที่นี่ต้องมาด้วยความมุ่งหมายอย่างนี้จึงจะมีประโยชน์ อย่างที่หาเอาได้จากกรุงเทพฯ ก็หาจากกรุงเทพฯ ที่หาไม่ได้ก็มาหาที่นี่ บวกกันเข้ามันก็สมบูรณ์ได้ง่ายขึ้น ฉะนั้นขอให้ทุกๆ คนที่ตั้งใจจะมาศึกษาธรรมชาติ หรือศึกษาอย่างครึ่งธรรมชาติ ให้รู้ธรรมะ ชนิดที่ศึกษาจากภายในหรือจากธรรมชาติ ซึ่งมันจริงหรือมันตรงตามพระพุทธประสงค์ให้ได้รับความสว่างไสวจากภายใน แล้วก็ขอให้ ขออวยพรให้มีความสุขความเจริญ งอกงามก้าวหน้า ตามหนทางของธรรมะในพระพุทธศาสนา โดยการปฏิบัติอย่างถูกต้องในทำนองนี้อยู่ทุกทิพาราตรีกาลเทอญ