แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในวันนี้นะ วันนี้ตั้งใจจะพูดเรื่อง อานาปานสติภาวนา แต่ก็ต้องขอทบทวน เรื่องตอนต้น สักเล็กน้อย เพื่อให้ติดต่อกัน อยากจะขอให้ทำความเข้าใจประโยคนี้ให้ดีที่สุดอยู่เสมอว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับสิ่ง สิ่งเดียวคือจิต ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้มากเท่าไร เราจะรู้เรื่องพุทธศาสนาและการปฏิบัติมากเท่านั้น ต้องกระทำจนกระทั่งว่ายิ่งกว่าหลับตาเห็นว่าทุกสิ่งขึ้นอยู่กับสิ่ง สิ่งเดียว คือ จิต
ขอให้นึกถึงว่า ในโลกเราทีแรกนั้นมันไม่มีสิ่งที่มีชีวิต ตามที่เราเรียนรู้กันมา จะกระเด็นออกมาจากดวงอาทิตย์ หรือว่าจะประกอบขึ้นโดย Nebula อะไรต่างๆก็ตาม มันก็ไม่มีจิต ไม่มีชีวิต แล้วต่อมามันมีสิ่งที่มีชีวิต กี่ล้าน ล้านปีก็ตาม มันมีสิ่งที่มีชีวิต มันเอาชีวิตมาแต่ไหน มันเอาสิ่งที่เรียกว่าจิตในชีวิตนั้น มาแต่ไหน นั่นเราจะต้องนึกถึงข้อที่ว่า ในสากล สากลจักรวาลนี้ มันต้องมีธาตุ ๓ ธาตุนี้อยู่เสมอ คือรูปธาตุ matter อรูปธาตุ mind แล้วก็นิโรธธาตุ ซึ่งเป็นธาตุที่แปลก เป็น extinction of matter and mind รูปธาตุหรือ matter มันก็อย่างว่าดวงอาทิตย์อย่างนี้ มันก็เต็มไปด้วย matter เพราะว่าใน matter จะต้องมีพลังงาน หรือว่ามี energy ฉะนั้น รูปกับอรูปนี้ ไม่เคยแยกกัน หรือถ้าพิจารณาอีกทางหนึ่ง เป็นสิ่งเดียวกันก็ได้ สสารกับพลังงานนี้ เพราะสิ่งที่เรียกว่าอรูปธาตุหรือนามธาตุ มันมีอยู่คู่กันกับรูปธาตุ หรือวัตถุ เมื่อวัตถุมันเหมาะสม เมื่อวัตถุมันมีความเหมาะสม สิ่งที่เรียกว่านาม หรือจิตนั้น มันก็แสดงตัวออกมาได้ เพราะว่ามันเป็นธาตุที่มีอยู่ด้วยกัน นี่เราจะต้องถือว่ามันมีธาตุจิต หรือที่เรียกว่าวิญญาณธาตุนี้ อยู่ด้วยในสิ่งที่เรียกว่าวัตถุธาตุ ทีนี้ ลำพังวัตถุธาตุมันไม่มีปัญหา มันไม่มีความหมาย ต่อเมื่อมีชีวิต มีจิต มันจึงจะมีความหมาย หรือจะมีปัญหาเกิดขึ้น เราจึงเห็นว่ามันตั้งต้นปัญหา หรือว่าตั้งต้นมีโลกขึ้นมา เมื่อมันมีสิ่งที่เรียกว่าจิต ถ้าอย่ามีสิ่งนี้ มันก็ไม่มีอะไร เพราะมีจิตอย่างเดียว มันจึงมีชีวิต มีโลก มีมนุษย์ มีปัญหาของมนุษย์ ฉะนั้น การเคลื่อนไหวของร่างกายนี้มันก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียกว่าจิต เรียกว่าทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับจิต เรารู้สึกเป็นสุข รู้สึกเป็นทุกข์ก็เพราะจิต ฉะนั้น ปัญหาเกิดขึ้นเพราะมีจิต จะแก้ปัญหาต่างๆได้ถ้าจัดการถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องจิต
ทีนี้ คนเราคนหนึ่งมันประกอบอยู่ด้วยนี่ รูปกับอรูป คือ กายกับจิต mind matter matter mind เอารวมกันเป็นอย่างเดียวเสีย และโดยที่มัน โดยเหตุที่มันเกิดเป็นคราว คราว ต่อเมื่อมันมีตากับรูปเป็นต้น กระทบกัน มันจึงมีความดับอยู่เป็นคราว คราว ถ้าจะเข้าใจพุทธศาสนา ต้องเข้าใจว่า ชีวิตนี่เหมือนกับสิ่งที่ เกิดดับอยู่ตลอดเวลา จิตเกิดเป็นขณะ ขณะ ขณะอยู่ แล้วก็มีขณะที่ดับอยู่ ฉะนั้น element ของความดับนี้มันก็มีอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดจิตมิได้ทำหน้าที่ของจิต เมื่อนั้นถือว่ามันดับอยู่ เมื่อตาไม่ได้เห็นรูป ไม่ได้เกิดอาการเหล่านี้ มันเหมือนกับดับอยู่ พอเดี๋ยวมันก็เกิดมาอีก เดี๋ยวมันก็ดับอีก เดี๋ยวมันเกิดอีก ดับอีก นี่คือตัวสิ่งที่เรียกว่า ชีวิต ปัญหาทั้งหมดมันจึงรวมอยู่ที่สิ่ง สิ่งเดียวคือ จิต เพราะฉะนั้นเราจะต้องรู้เรื่องจิต และหลักพื้นฐานของจิตนี่ มันเกิดต่อเมื่ออย่างนี้เสมอ นี่ นี่คือหลักพื้นฐานที่ถ้าไม่เข้าใจแล้ว จะไม่เข้าใจพุทธศาสนา และถ้าเข้าใจอันนี้ผิดแล้วจะเข้าใจพุทธศาสนาผิด นักเขียนฝรั่งโดยมากเข้าใจเรื่องนี้ผิด ก็เขียนพุทธศาสนาผิด โดยเฉพาะเรื่องปฎิจจสมุปบาท เรื่อง karma and rebirth นั้นนะ ฝรั่งเขียนผิดๆทั้งนั้น ไม่ถูกตามหลักของพุทธศาสนา กลายเป็นมีตัวตนอย่างศาสนาฮินดูไป ถ้าเป็นอย่างพุทธศาสนาต้องไม่มีตัวตนอย่างนี้ คือว่าตากับรูป ทำให้เกิดการเห็นทางตา การเห็นทางตานี้เรียกว่า contact หรือผัสสะ ระหว่างของสามสิ่งนี้ แล้วก็เกิดเวทนา หรือ feeling เกิด concept เป็น desire attachment เรียกว่าตัณหา อุปาทาน นี่คือเกิด ตรงนี้ คือเกิด รูป กับ อรูป ทำหน้าที่ด้วยกันแล้วเกิด เป็นตัวคน เป็น egoistic conception อะไรขึ้นมาทีนี้ เป็น egoism มีตัวกู มีของกูที่นี่ และอย่างนี้จะต้องมีความทุกข์ ก็มีความคิดไปด้วยความอยาก คือตัณหา ยึดมั่นในอุปาทานก็มีความทุกข์ นี่จิตมันเดินมาผิดในทางที่จะเป็นทุกข์ ถ้ามันเกิดมามันไม่รู้ อยู่ในท้องแม่มันก็มีความรู้ เกิดมามันก็ไม่ทันจะรู้ มันก็ถูกเขาทำให้เข้าใจผิด พอเกิดมาในโลกนี้ มันก็ถูกโลกนี้ สิ่งแวดล้อมทั้งหลายทำให้เกิดความเข้าใจผิด ไปรักสิ่งที่น่ารัก ไปเกลียดสิ่งที่น่าเกลียด ไปโง่ในสิ่งที่มาทำให้โง่ ไปเที่ยวกลัว เที่ยวสงสัย เที่ยวหวัง นั้นมันจึงผิดและมีความทุกข์ ถ้ามีความรู้ถูกต้องมันก็ไม่ไปรักที่น่ารัก ไม่เกลียดที่น่าเกลียด ไม่โง่ที่น่าโง่ แต่มันรู้ว่าควรจะทำอย่างไรกับสิ่งใด หรือว่าทำถูก เพราะฉะนั้นไม่เกิดความทุกข์ นี่ โง่ทีหนึ่งมันจะโง่มากขึ้น รักหรือชอบทีหนึ่ง มันก็จะรักมากขึ้น โกรธหรือเกลียดทีหนึ่ง มันจะยิ่งโกรธมากขึ้น จนเป็น habit เกิดเป็นนิสัย เป็นอนุสัย นี่คือเรียกว่าความเคยชิน จนพอเห็นน่ารักก็รัก เห็นน่าเกลียดก็เกลียด น่ากลัวก็กลัว อันนี้มันเป็นนิสัยไป ทีแรกมันไม่มีอย่างนั้น
ทีนี้ สิ่งที่เรียกว่าเวทนานี้ ทำให้เกิดรักบ้าง เกิดโกรธบ้าง เกิดสงสัยบ้าง ถ้าโง่ตอนนี้ก็เพราะว่าไร้สติ เมื่อไร้สติก็ต้องมีกิเลสทั้งหลายเหล่านี้ และเกิดทุกข์ ฉะนั้นแก้ได้ด้วยการมีสติ พอมีสติแล้วอวิชชาก็ไม่มาทำให้เกิด ไม่ปรุงเวทนาให้กลายเป็นตัณหา อุปาทาน ภพชาติ มันจึงไปในทางไม่มีความทุกข์ ถ้ามีความรู้ที่ถูกต้อง ก็ทำไปตามความรู้ที่ถูกต้อง แล้วเราก็อยู่สบาย ข้อแรกคือไม่มีความทุกข์ เมื่อเราทำทุกอย่างถูกต้อง ประโยชน์ก็เกิดขึ้น โดยที่เราไม่ต้องมีความทุกข์ เพราะฉะนั้น เราจะเห็นได้ว่ามันมีความทุกข์ ก็เพราะทำผิดในเรื่องเกี่ยวกับจิต เพราะทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับจิต เราจะไม่มีความทุกข์ ก็เพราะเราทำถูกเกี่ยวกับเรื่องจิต มันมีเท่านั้นเอง เพราะนั้นเราจึงต้องจัดการกับสิ่ง สิ่งเดียวคือ จิต นี้ให้ถูกต้อง การกระทำอย่างนั้นเรียกว่า จิตภาวนา เรียกว่า mind development ทีนี้ จิตภาวนา คือ การกระทำแก่จิตนั้นมีอยู่หลายอย่าง อย่างน้อยก็อย่างที่เป็นสำคัญใหญ่ๆ มีอยู่สี่อย่าง เราไม่มุ่งหมายทุกอย่าง เราจะมุ่งหมายแต่บางอย่าง อย่างนี้เรียกว่า มีความสุขทันที นี่ถ้าต้องการก็ทำจิตให้เป็นสมาธิ ถ้าเป็นสมาธิก็เป็นสุขทันที แต่แล้วมันไม่ถาวร เดี๋ยวมันก็กลับเป็นทุกข์อีก เพราะนั้นจึงยังไม่พอ เว้นว่าจะต้องการชั่วขณะ เพราะอันนี้ยังไม่พอ เป็นสุขทันที เดี๋ยวมันก็กลับเป็นทุกข์ได้อีก ทีนี้ถ้าเราอบรมไปอีกวิธีหนึ่ง ให้เกิดหูทิพย์ ตาทิพย์ magic powerโดยวิธีนี้ นี้เราก็ไม่ต้องการ เพราะว่ามันเป็นเรื่องหลอกลวง ทีนี้อันที่สาม ทำให้มีสติสมบูรณ์ mindfulness attentiveness อันนี้ให้สมบูรณ์ที่สุด นี่เราต้องการ เพราะว่าเราจะมีความมีสติเต็มที่ นี่ เราต้องการมีสติเต็มที่ เราต้องการความมีสติเต็มที่ จะให้ถูกกับสิ่งนี้ ก็ต้องฝึกกันอย่างนี้ ให้มีสติสมบูรณ์ ถ้ามีสติสมบูรณ์อยู่เรื่อยๆ มันจะไปถึงอันนี้ คือสิ้นกิเลส final goal ของมันอยู่ที่สิ้นกิเลส นี่ ก็จะบรรลุมรรคผลนิพพาน นี่เรื่องย่อๆ ที่เราจะต้องรู้ก่อนว่าทุกอย่างมันตั้งต้นที่จิต ปัญหาก็เกิดขึ้นเพราะจิต จะแก้ปัญหาก็ต้องแก้ที่จิต ดังนั้นเราจึงต้องอบรม จิตภาวนา ในแนวที่จะทำให้มีสติสมบูรณ์ แล้วก็สิ้นกิเลสในที่สุด สองอย่างนี้เราจะไม่นึกถึง
ทีนี้เราดู อานาปานะนี้ หายใจออกเข้า สติ แปลว่าสติ mindfulness ภาวนานี้แปลว่าทำให้เจริญ หรือ development “development by need of mindfulness on something at every stroke of breathing in or out ” การทำสติในธรรมะอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ทุกการหายใจออกเข้า เราเคยได้รับคำบอก คำสอนที่ผิดๆว่า กำหนดลมหายใจออกเข้า นั้นมันไม่ถูก มันกำหนดอยู่ที่ข้อเท็จจริงบางอย่างซึ่งมีตั้ง ๑๖ อย่าง แต่ละอย่าง ละอย่าง กำหนดอยู่ทุกครั้งที่หายใจออกเข้า ดังนั้นการกระทำนั้นจึงได้ชื่อว่า อานาปานสติภาวนา ทำจิตให้เจริญด้วยสติ ที่กำหนดอยู่ในธรรม ข้อใดข้อหนึ่งทุกครั้งที่หายใจออกเข้า ทำจิตให้เจริญนี่อันหนึ่งละ ด้วยสติ ในธรรม อันนี้ ไม่มีตัวเห็นนะ อย่างใดอย่างหนึ่งทุกครั้งที่หายใจออกเข้า ถ้าพูดว่ากำหนดลมหายใจออกเข้าเฉยๆนี่มันผิด ผิดเรื่อง เป็นคำพูดที่ผิด คำเรียกที่ผิด ต้องกำหนดอยู่ในธรรม คือลักษณะหรือภาวะ หรือความจริงอันใดอันหนึ่ง อยู่ทุกครั้งที่มีการหายใจออกเข้า ทำอย่างนี้เรียกว่า อานาปานสติ หมด ทีนี้เรื่องอานาปานสตินี้ มีอยู่ ๑๖ อย่าง จิตภาวนา มีมากแบบ มีหลายแบบ แบบที่พระพุทธเจ้าท่านแนะนำ ท่านสรรเสริญ ท่านขอร้องให้ทำ ให้สนใจ คือแบบนี้ แบบที่เรียกว่า อานาปานสติภาวนา มันมีใจความสำคัญอยู่ว่า ต้องมีสติ ต้องมีสติ ต้องด้วยสติ จะทำให้จิตเจริญได้ด้วยการทำสติ มีสติอยู่ในข้อเท็จจริง หรือวัตถุที่เป็นที่ตั้งแห่งข้อเท็จจริงก็ตาม กำหนดสิ่งนั้นอยู่ ให้ชัดเจนอยู่ทุกครั้งที่หายใจออกและเข้า นี่เรียกว่า อานาปานสติภาวนา ถ้าเราทำได้ตามลำดับ เราจะมีสติ มีสิ่งที่เรียกว่าสตินี่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น เมื่อเราจะทำไม่ให้เกิดความทุกข์ ตามนัยยะแห่งปฏิจจสมุปบาทที่ได้
ผู้ถาม : อานาปานสติภาวนาตามความหมายของท่านอาจารย์ที่กล่าวมานี้มันคล้ายๆในรูปวิปัสสนาไหม
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อานาปานสติมีอยู่ ๑๖ ขั้น ขั้นแรกๆก็เป็นสมถะเต็มตัว ขั้นกลางๆก็เป็นเจือกันทั้งสมถะ และ วิปัสสนา ขั้นสุดท้ายก็เป็นวิปัสสนาเต็มตัว แต่ว่าทั้งหมดนี้ เขาเรียกตามภาษาชาวบ้านว่าทำวิปัสสนา จึงทำให้คุณหลงไป นี่เราก็จะเขียนให้เป็นพวกๆ
หนึ่ง กายานุปัสสนา นี่เป็นไปในกาย
สอง เวทนานุปัสสนา เป็นไปในความรู้สึกของจิต ความรู้สึกของจิต ความรู้สึกของจิต
สาม จิตตานุปัสสนา เป็นไปในตัวจิตเอง ในจิตเอง ในจิต ในตัวจิตนั้นเอง
สี่ ธรรมานุปัสสนา เป็นไปในสติปัญญา ในธรรมดีกว่า ในสิ่งดีกว่า ในสิ่งที่จิตควรรู้ ที่จิตควรรู้แจ้ง
นี่ เขาจะแบ่งเป็นสี่กลุ่มอย่างนี้ กลุ่มที่หนึ่งสติเป็นไปในร่างกายนั่นเอง ต้องรู้เรื่องร่างกาย ต้องจัดแจงกับร่างกาย ทำร่างกายให้เหมาะสม ที่มันจะทำหน้าที่ของมัน เสร็จแล้วจึงมาปฏิบัติให้สตินี้เป็นไปในความรู้สึกของจิต นี่คือไม่ใช่ตัวจิต นี่เขาเรียกว่าเวทนา feeling ของจิต หรือสิ่งที่จิตอาจจะ feel ได้ อันนี้มันในจิตเอง นี่ นี่ นี่ในจิตที่จิตควรจะรู้แจ้ง มันจึงแบ่งเป็นสี่หมวด นี่เรียกว่าสติปัฏฐานสี่ อย่างนี้ถ้าเรียกเต็มที่เขาเรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ทีนี้เราก็จะอธิบายให้เห็นว่า สติเป็นไปในกายนี้เป็นอย่างไร เป็นไปในความรู้สึกของจิตนี้เป็นอย่างไร เป็นไปในตัวจิตเองเป็นอย่างไร นี้ในครั้งแรกก็ต้องอธิบายอย่างนี้ก่อน สติเป็นไปในกายนี้ หนึ่ง เมื่อหายใจยาว สอง เมื่อหายใจสั้น สาม รู้ จะใช้คำว่ารู้สักตัวหนึ่ง รู้เรื่องทั้งหมดของลมหายใจ แล้วก็สี่ ทำลมหายใจให้ระงับ นี่ มีอยู่สี่ขั้น หนึ่งมีสติ มีสติรู้ลมหายใจยาว มีสติรู้ลมหายใจสั้น มีสติรู้เรื่องทั้งหมด ลักษณะ เช่นหน้าที่ เช่นอิทธิพล เช่นอะไรของลมหายใจนี้ ขั้นที่สี่รู้จักทำ รู้การทำลมหายใจนี้ให้ระงับลง ระงับลง ระงับลง ต้องเข้าใจให้ดีนะ มันไม่เหมือนกันนะ เราไปนั่งสมาธิ ลงมือนั่งในที่เหมาะสม นั่งให้เหมาะสม กำหนดลมหายใจยาว รู้ว่าลมหายใจยาวเป็นอย่างไร อย่างไรเรียกว่ายาว ยาวคืออย่างไร ยาวแค่ไหน หัดกำหนดเรื่องยาว พร้อมทั้งรู้ว่าผลที่จะเกิดขึ้นเพราะการหายใจยาวเป็นต้นด้วย เช่นว่าร่างกายสบายดี นี่ลมหายใจก็ยาว อย่างนี้เป็นต้น ทีนี้รู้เมื่อลมหายใจมันสั้น มันเป็นอย่างไร เมื่อไรคนเราหายใจยาว เมื่อไรคนเราหายใจสั้น และต้องรู้ความลับถึงใจคอเราปกตินี้ มันหายใจตามธรรมดา ถ้าใจคอเราไม่นิ่ง มันหายใจสั้น ถ้าเราขยับขยายให้ดีมันจะหายใจยาว ยาวกว่าธรรมดา นี่ไปรู้เรื่องธรรมชาติ หรือ nature ของการหายใจยาวให้ครบทุกอย่าง รู้ nature ของการหายใจสั้น ลมหายใจสั้นให้ครบทุกอย่างก่อน เป็นข้อแรกก่อน แล้วต่อมาจึงรู้เรื่องทั้งหมดของลมหายใจ และข้อสำคัญที่สุดคือ หน้าที่ หน้าที่ของลมหายใจ ขั้นที่สาม พอขั้นที่สามฝึกในการที่จะรู้ รู้เรียกว่ารู้ด้วยความรู้จากใจ ไม่ใช่ฟัง ไม่ใช่อ่าน มันต้องมี experience search จริงๆ มันเป็น tuitive tuition กันจริงๆ ในเรื่องของลมหายใจ เป็นไปในกระทั่งรู้หน้าที่ของลมหายใจ ว่าลมหายใจนี้ปรุงแต่งร่างกาย บทสำคัญที่สุดก็คือ ลมหายใจเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งร่างกาย เลยเรียกลมหายใจว่า กายสังขาร กายสังขาร กายสังขาร condition นี่ตรงกับคำว่าสังขาร ทำพร้อมๆกันให้เกิดผลอันใดอันหนึ่งมา เรียกว่า condition of body body condition ลมหายใจนี่เป็น body condition ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงแนะว่าลมหายใจเขาเรียกว่า กาย ได้ ลมที่เราหายใจนี่ก็เรียกว่ากายได้ กายคือลมหายใจ เพราะมัน condition กาย body นี่อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ลมหายใจกับร่างกายนี่เป็นสิ่งที่ไปด้วยกัน ถ้าลมหายใจหยาบ ร่างกายก็จะหยาบ เช่นมีความร้อนสูง หรือมีความไม่ปกติ ถ้าลมหายใจละเอียด ร่างกายนี้ก็จะละเอียด เขาจึงเรียกว่าลมหายใจนี้เป็นตัวสังขารของร่างกาย เราต้องทำให้รู้สึกจนมองเห็นข้อนี้ ก็ไม่ต้องเชื่อคนอื่น ถ้าลมหายใจหยาบ ร่างกายหยาบ ถ้าลมหายใจละเอียด ร่างกายละเอียด ลมหายใจกระสับกระส่าย ร่างกายกระสับกระส่าย เพราะฉะนั้น เราจึงพบข้อเท็จจริงอันหนึ่งว่า เราสามารถบังคับร่างกายได้โดยทางลมหายใจ เราจะไปบังคับร่างกายโดยตรงเราทำไม่ได้ มันไม่มีทางจะทำได้ แต่เราจะสามารถบังคับร่างกายได้โดยทางลมหายใจ เราบังคับลมหายใจได้อย่างไร มันจะเป็นการบังคับร่างกายได้เท่านั้น เราจึงทำลมหายใจนี้ให้ละเอียดให้ระงับ ให้ cool หรือให้ calm ให้ระงับลงไปนี้โดยบังคับที่ลมหายใจ แล้วกายก็จะเป็นอย่างนั้น จนเรารู้ความจริงข้อนี้ ในขั้นที่สามนี้ ขั้นที่สี่เราจึงลงมือทำอย่างนั้น เพื่อทำให้ลมหายใจนี้มันระงับลง ละเอียด ละเอียด ละเอียด จนกระทั่งว่าไม่รู้สึกว่าหายใจอย่างนี้ก็ได้ ทีนี้ร่างกายมันก็จะเย็นลง มีอุณหภูมิต่ำ มี circulation ละเอียด อ่อน หรือช้า กระทั่งไม่มีการหายใจ circulation นี้ก็จะหยุดชั่วขณะ แต่ไม่ใช่ตาย ทีนี้เราก็มีบทเรียนที่ตรงนี้ ทำลมหายใจให้ระงับ นี่อานาปานสติ หมวดที่หนึ่ง มีอยู่สี่ขั้น เพราะฉะนั้น เราต้องจัดการกับลมหายใจ ให้มันอยู่ในธรรมะกับเรา นี่โดยย่อๆ อยากจะแสดงง่ายๆว่า เราจะลงมือควบคุม บังคับลมหายใจอย่างไร แล้วสมมติว่า ลมหายใจตั้งต้นที่ตรงนี้ แล้วมันมาที่ สมมติว่ามันหยุดที่สะดือ ไม่รู้จักสะดือ navel สมมตินะ เมื่อหายใจเข้าก็หยุดที่นี่ เมื่อหายใจออกตั้งต้นที่นี่ และก็มาสุดที่นี่ อย่างนี้เรียกว่ามีหลัก เป็นพื้นฐานอย่างนี้ก่อน ที่เราหายใจอยู่ตลอดเวลา อย่างนี้เรียกว่าหายใจเข้า อย่างนี้เรียกว่าหายใจออก เพราะฉะนั้นเราต้องมีสติทุกครั้งที่หายใจออก หายใจเข้า ฉะนั้น ขั้นที่หนึ่ง ขั้นที่หนึ่งวิธีที่ได้ไปฝึกนี้เขาเรียกว่า จะขอสมมติเรียกว่า วิ่งตาม เข้าใจวิ่งตามไหม chasing or hunting hunting หรือ chasing เมื่อลมหายใจมาอย่างนี้ สติ หรือ the mind นี่ก็วิ่งตาม chasing ทันที เมื่อมันออกมาอย่างนี้ มันก็วิ่งตาม มันจึงวิ่งตาม วิ่งตาม วิ่งตาม เป็นเรื่องเข้า ออก เข้า ออก นี่ทำนี้เขาเรียกวิ่งตาม นี่ต้องทำ เตรียมจมูกให้ดี หายใจให้ดี นั่งตัวให้ตรง ให้การหายใจปกติดีแล้วก็เริ่มหายใจ เราก็ฝึกมาแล้วเรื่องหายใจยาว เรื่องหายใจสั้น แล้วก็หายใจปกติ ทีนี้เราก็วิ่งตาม ตอนนี้มันจะว่างนิดหนึ่ง หยุด แล้วก็ออกมา แล้วมันก็หยุด แล้วก็กลับเข้าไปอีกอยู่อย่างนี้ ทำอย่างนี้จนสามารถทำได้ อย่างนี้เราสามารถควบคุม บังคับลมหายใจได้ขั้นหนึ่งก่อน โดยการที่ใช้จิตนี่วิ่งตาม เขาเรียกว่าเราบังคับจิตได้ด้วย เพราะมันบังคับลมหายใจได้ด้วย มันอาจจะกินเวลาหลายวันก็ได้ ที่ปฏิบัติอย่างขั้นนี้
ทีนี้ที่สอง เมื่อเราทำได้อย่างนี้แล้วบทเรียนที่หนึ่ง lesson ที่หนึ่ง ทำอย่างนี้ ทีนี้มันก็ lesson ที่สอง เราก็เฝ้าดู มันเป็นแทนที่จะเป็น chasing เป็น hunting มันเป็น watching อยู่ที่จุดๆหนึ่ง ก็คือที่จุดตรงนี้ดีที่สุด เราไม่ต้องให้ความรู้สึก หรือจิตของเราวิ่งมานี่ เราหยุดอยู่แต่ที่นี่ เมื่อมันเข้ามาแล้วก็ช่างมัน จนกว่ามันจะออกไปอีก เราจึงมีที่ตรงนี้เหมือนกับประตู เราเฝ้าที่ประตูก็พอ แต่ก็ต้องทำนี่ได้เสียก่อน มิฉะนั้นเราเฝ้าไม่ได้ เพราะเรามัวเฝ้าอยู่ที่นี่ พอมาที่นี่ จิตมันหนีไปอื่นแล้ว แต่ถ้าเราทำวิ่งตามนี่ได้ดีแล้ว เราก็เปลี่ยนเป็นเฝ้าดูอยู่ที่ตรงนี้ นี่เรียกว่าเฝ้าดู ถือว่าตรงนี้ ตรงนี้ มีการกระทบของลมกับเนื้ออยู่ เลยเอาความรู้สึกตรงที่ลมกระทบเนื้อตรงนี้ เป็นจุด เป็น point ที่จะเฝ้าดู นี้มันก็ยากขึ้นไปอีก เพราะว่ามันมีเวลา ตอนนี้ มันมี gap ที่เราไม่ได้รู้ มันอาจจะหนีที่นี่ก็ได้แต่เมื่อเราทำได้ดีแล้วมันไม่หนีไปไหน เราคอยเฝ้าดูอยู่ว่าลมมันผ่านเรื่อย จนมันหยุดไปนิดหนึ่ง แล้วมันก็จะผ่านอีก กลับเข้า เข้าตรงนี้อีก จิตมานี่ จิตอยู่แต่ที่ตรงนี้
ผู้ถาม : ตอนนี้ จิตกับสติ เรียกยังไงครับ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เรียกแทนกันได้ เรียกว่าจิต นั่นแหละเป็นผู้กำหนด เรียกว่าจิต จิตเฉยๆ มันทำอะไรไม่ได้ มันต้องมีสติ ที่เรียกว่าเจตสิก ประกอบอยู่กับจิตจิตนั้นเป็นจิตที่มีสติ เพราะนั้นเราจะเรียกสติก็ได้ เรียกว่าจิตก็ได้ กำหนดอยู่ที่นี่ ฉะนั้น ต้องพยายามหายใจจนให้รู้ว่าจุดตรงไหนที่มันกระทบ ถ้าคุณมีจมูกโค้งมากจะกระทบตรงนี้ก็ได้ ถ้าคุณมีอย่างคนไทย จะอยู่ตรงนี้ก็ได้ ถ้าคุณเป็นนิโกรมันจะมาตรงนี้ก็ได้ เพราะว่าปากตรงนี้มันขึ้นมาง่ายกว่า เดี๋ยวนี้เราก็มาที่ตรงนี้ ที่มันเป็นจุดกระทบ
ผู้ถาม : ถ้าไว้ที่สะดือได้ไหมครับ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ไม่สะดวก และไม่แนะนำ ทำยากกว่า จะล้มละลายเสียมากกว่า เพราะตรงนี้มันง่ายกว่า สะดวกกว่า เข้ากับธรรมชาติ
ผู้ถาม : ถ้าไว้ที่จมูกนี่ ในกรณีที่เป็นหวัดนี่ เราจะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เราก็หยุดพัก หยุดจนกว่าจะหายเป็นหวัด ไม่มีปัญหานี่ เพราะว่าเราหายใจไม่ออก เราจึงเตรียมจมูกด้วย ก่อนจะทำอานาปานสติ เราลองทำดู อุดตรงนี้ ถ้ามันไม่เท่ากัน ข้างนี้มันหนืด มันอะไร ต้องแก้ไขให้มันเท่ากัน โดยสั่งข้างที่หนืดให้มันบ่อยๆ ให้มันโล่งเท่าๆกัน ถ้าลำพังลมแก้ไม่ได้ ก็น่าจะเอาน้ำใส่แล้วก็สูดน้ำเข้าไป แล้วสั่งออกมา ฝ่ายที่มันแน่นๆ มันจะโล่งเหมือนอีกฝ่าย พอเหมือนกัน เท่ากันก็ใช้ได้ ถ้ามันยังไม่ได้อีก คุณก็ไปหาหมอ
ทีนี้พอทำ watching หรือเฝ้าดูได้ ก็เปลี่ยนเป็นสร้างมโนภาพ สร้างมโนภาพ คือ imagine ภาพอะไรขึ้นที่ตรงนี้ ถ้าเป็นขั้นเฝ้าดูนี่ มันลมหายใจกระทบเนื้อ จะมาทำหนักเข้า หนักเข้า ทีนี้จะให้ละเอียดไปกว่านั้น ให้ดีไปกว่านั้น จะพยายามทำจิตจนให้ตรงนี้ เกิดความรู้สึก เหมือนกับมีอะไรเด่นอยู่ที่นั่น คุณเรียกว่ามโนภาพ imagination นี่สร้างขึ้นมาเป็นจุดขาว เหมือนกับเพชรพลอย หรือว่าเหมือนกับดวงอาทิตย์เล็กๆ หรือเหมือนกับพระจันทร์ดวงเล็กๆ หรือว่าปุยนุ่น ขาวเป็นปุย เป็นปุยอยู่ หรือว่าหยดน้ำค้างที่ใบไม้ หรือว่าจุดขาวๆที่ใยแมงมุมเมื่ออยู่กลางแสงแดดอย่างนี้เป็นต้น มันแล้วแต่ใครมันจะทำอะไรให้เกิดขึ้นมา มันไม่เหมือนกัน ถ้าทำไม่ได้ ในชั้นแรกนี่เราจะต้องหัดทำอย่างอื่นก่อนก็ได้ เช่นจะเพ่ง เพ่งอะไรที่มันง่ายๆ ที่มันติดตาอยู่ พอทำอย่างนั้นเป็น สะดวกแล้วก็มาทำตรงนี้ ให้จุด ให้จุดนะ ไม่ใช่ลมนะ ให้จุดที่เรากระทบนะแสดงรูปเป็น imaginative object ขึ้นมาที่ตรงนี้ นี่แสดงว่าการบังคับดีขึ้นมาก จิตละเอียดขึ้นมาก สงบระงับลงมาก สมมติว่าเราทำได้นะ imagination เป็นดวงขาวๆ เป็นดวงแก้วดวงหนึ่งเล็กๆอยู่ที่นี่ หายใจออกก็เห็นหายใจเข้าก็เห็น คือเห็นตลอดเวลา ก็เรียกว่าเราสร้างมโนภาพนี้สำเร็จ แต่ให้รู้ว่านี้นะไม่ใช่ของจริง มันเป็นเพียง imaginative product นั่นขึ้นมา แต่มันมีประโยชน์ที่จะทำให้การเจริญสมาธิเป็นไปต่อไปได้อีก
ทีนี้ขั้นที่สี่ เปลี่ยน เปลี่ยนมโนภาพนี้ตามชอบใจ อย่างเดี๋ยวนี้สมมติว่าเราเห็นดวงแก้วเล็กๆอยู่ที่นี่ หายใจออกเข้า เห็นอยู่ เห็นอยู่ เห็นอยู่ จนเราชำนาญที่สุด อยู่ในอำนาจเราที่สุด ถึงจะเลื่อนชั้น มาขั้นที่สี่ ก็คือว่าเปลี่ยนสิ่งที่เห็นด้วยการน้อมจิต ถ้าน้อมจิตไปนั้นก็จะเปลี่ยนถ้าทำถูก ทำเป็น ให้ดวงเล็กๆนี้มันใหญ่ขึ้นก็ได้ มันเล็กลงก็ได้ มันใหญ่ขึ้นก็ได้ หรือว่าให้มันเปลี่ยนสีก็ได้ แล้วแต่จิตมันน้อมไป เปลี่ยนขนาดก็ได้ เปลี่ยนสีก็ได้ ให้มันเปลี่ยนกิริยาก็ได้ คือให้มันลอยไปก็ได้ แล้วให้มันกลับมาอีกก็ได้ นี่แสดงว่าเรามี mastering เหนือจิตมากที่สุดเลย นี่เรียกว่าเปลี่ยนมโนภาพได้ตามใจชอบ แล้วก็อย่าลืมว่านี้เป็นเพียงมโนภาพ ไม่ใช่ของจริง ถ้าไปยึดถือเป็นของจริงแล้วมันจะบ้า รู้ไว้ด้วย มันเป็นเพียงผลการฝึกจิต ให้จิตอยู่ในอำนาจของเรา
ผู้ถาม : สิ่งนี้เรียกว่ามโนมยิทธิหรือเปล่าครับ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ไม่ใช่ ยังไม่ใช่ ยังคนละเรื่อง ต้องไปอีกทางหนึ่ง ที่จะทำให้ลมหายใจระงับ ทีนี้พอเราทำได้แล้ว อันที่ห้า อันสุดท้ายก็คือ ทำตรงฌาน ตรงฌาน ให้เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น ในขณะที่เราสามารถที่จะควบคุมเปลี่ยนแปลงมโนภาพได้ตามต้องการนี้ เราได้มีจิตที่น้อมไปให้เกิดความรู้สึกต่ออะไรที่มันมีอยู่ในขณะนี้ เช่นเราจะทำความรู้สึกว่า เดี๋ยวนี้จิตของเรากำหนดอยู่ที่นี่ จิตของเรามี contact สัมผัสอยู่ที่นี่ อย่างนี้เขาเรียกว่าวิตก ที่จิตของเรารู้ทั่วถึงอยู่ที่นี่ อย่างนี้เขาเรียกว่าวิจารณ์ เดี๋ยวนี้เรากำลังรู้สึกพอใจ พอใจที่เราทำได้สำเร็จนี่ ความรู้สึกพอใจนี้เราก็รู้สึกอยู่ด้วย คำว่ารู้สึกนี่ มันก็รู้สึกอยู่ตลอดเวลาที่หายใจออก เข้า การหายใจออกเข้ามีอยู่เรื่อย แล้วก็รู้สึกอะไร ก็รู้สึกอยู่ตลอดเวลาที่หายใจออก เข้า เดี๋ยวนี้เรารู้สึกพอใจ เขาเรียกว่า ปีติ pleasure อะไรนี่ มันก็เรียกว่าปีติ ที่เค้าว่าเรามี affection นี่เรารู้สึก happy เป็นสุข เขาเรียกว่าความสุขนี่มันแล้วเรารู้สึกว่าเดี๋ยวนี้จิตของเรานี่ได้ไปที่ไหนเลยเขาเรียกว่าเอกัคคตา เอกัคคตา วิตก วิจารณ์ นี่เป็นภาษาเฉพาะ ในกรณีนี้ ไม่ใช่คิดโดยตรง ไม่ใช่พิจารณาโดยตรงแต่ว่ามันกำหนดอยู่ที่นั่น รู้ทั่วถึงอยู่ที่นั่น คำนี้แปลยากที่สุด ที่แปลเป็นภาษาต่างประเทศ คำนี้ธรรมดา นี่พอใจ นี่เป็นสุข นี่จิตอยู่ที่นั่น เขาเรียกว่า one pointedness one pointedness ความที่มีจิตอยู่ที่สิ่งนั้นเพียงสิ่งเดียว นี่ห้านะนี่ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า นี่เขาเรียกว่าองค์ ๕ five factors หรือองค์ ๕ ของฌานที่แรก ปฐมฌาน first ห้านะ ปฐมฌาน ประกอบอยู่ด้วย factor ๕ อันนี้ ทีนี้เวลามันมี การทำลมหายใจให้ระงับถึงขนาดทีเดียว ถึงขนาดสมบูรณ์ทีเดียว เพียงเท่านี้ก็เรียกว่าทำลมหายใจให้ระงับ ขั้นหนึ่งก่อน แล้วมียิ่งขึ้นไปอีก แล้วมียิ่งขึ้นไปอีก แล้วมียิ่งขึ้นไปอีก แล้วก็สุดท้ายแค่นี้ ทำลมหายใจให้ระงับจนเกิดปฐมฌาน นี่ ปฐมฌาน เรียกว่าฌานที่หนึ่ง มีจิตที่รู้สึกในสิ่งทั้งห้านี้อยู่อย่างชัดเจนที่สุด แล้วก็หายใจออก หายใจเข้าอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าปฐมฌาน ฌานที่แรก แล้วก็มีฌานที่สอง ฌานที่สาม ฌานที่สี่ ฌานที่สองก็เว้นในความรู้สึกสองอันนี้เสีย นี่ เว้นเสียสำหรับฌานที่สอง ให้เหลือแต่ความรู้สึกสามอันนี้ ทีนี้พอฌานที่สามก็เว้นอันนี้เสีย ให้รู้สึกแต่เพียงสองอันนี้ พอฌานที่สี่ก็เปลี่ยนอันนี้ให้มันเป็นเฉยๆเสีย เป็น infinity ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์เสีย อันนี้ต้องมีอยู่ตลอดเวลา นี้ต้องมีอยู่ตลอดเวลา ทุกฌาน
ก็หมดเท่านี้แหละ เรื่องของการทำจิต ไอ้ทำลมหายใจให้ระงับนี่ ถ้ามาถึงฌานที่สี่ ให้มันระงับจนไม่ปรากฏการหายใจ เสมือนกับว่าไม่หายใจ เสมือนกับว่าเลือดลมหยุด หยุดกันไปหมด คือไม่มีความรู้สึกคิดนึก ไม่มีอะไร ถ้ามันเป็นถึงขั้นที่สี่นะ นี่ ขั้นที่หนึ่ง ขั้นที่สอง ขั้นที่สาม ขั้นที่สี่ นั้นจึงเห็นได้ว่า การทำลมหายใจให้ระงับนี่มันไม่มีอะไรมากไปกว่าจตุตถฌาน ถ้าสามารถทำได้ ก็ทำมาจนถึงจตุตถฌาน ถ้าไม่สามารถทำได้ ก็ทำแค่ปฐมฌาน ถ้าไม่สามารถจะทำได้อีก ก็ทำแค่เฉียดๆ ปฐมฌานก็พอ เฉียดๆของปฐมฌาน เฉียดๆปฐมฌาน แล้วก็สามารถจะปฏิบัติขั้นต่อไปได้
นี่ วันแรกนี้อยากจะอธิบายแต่อันนี้ ถ้าอธิบายหมดทั้งสามนี้คงจะ จะไม่ทันเข้าใจ แล้วจะงง และจะเฝือ ฉะนั้น คุณจะต้องซักไซ้ หรือ หรืออะไรก็ตามใจแต่เฉพาะเกี่ยวกับตรงนี้ จะทบทวนอีกทีหนึ่ง เราไปสู่ที่ที่เหมาะสมเท่าที่เราจะหาได้ หลังจากที่เราปรับปรุงร่างกายพอดี คือว่าไม่อึดอัด ไม่อ่อนเพลีย ไม่อะไรต่างๆ ฉะนั้นเราต้องรู้จักกินอาหารแต่พอดี รู้จักอะไรให้ร่างกายมันเหมาะสม ก็ไปสู่ที่ที่เหมาะสม เท่าที่จะหาได้ เราก็ได้ปรับปรุงจมูก ปรับปรุงอะไรให้ดีแล้ว เราก็หัดนั่งตัวตรง ด้วยกระดูกสันหลังตรง ด้วยการหายใจมันดี แล้วมันจึงไปนั่งฝึก train training อันแรก กำหนดความยาวหรือลมหายใจที่ยาว จนเรารู้ว่าอย่างไรมันยาว และเราสามารถควบคุมความยาวได้สม่ำเสมอด้วย นี่ ขั้นแรก ทีนี้ขั้นที่สอง เราจะหันมาควบคุมชนิดสั้น สั้นเพราะจิตไม่ปกติ หรือว่าสั้นเพราะว่าเรามันทำให้สั้น บางทีเราใช้การนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ เพียงสิบเท่านั้นเป็นอย่างมากเพื่อบังคับลมหายใจ ถ้าเรานับช้า ลมหายใจมันก็ยาว ถ้าเรานับถี่ ลมหายใจมันก็ต้องสั้น เพราะเราต้องการให้นับเพียงหนึ่งถึง สิบเท่านั้น เพื่อหายใจออกจนหมด หรือ หายใจเข้าจนหมด ถ้าเราแกล้งนับให้ช้า เราก็แกล้งบังคับให้มันยาว ถ้าเรานับให้เร็วเข้า คือบังคับให้มันสั้นเข้า ไม่เท่าไรเราก็เป็นผู้เชี่ยวชาญ คล่องแคล่ว well work ในการหายใจยาว หายใจสั้น อาจจะไปตอนนี้
ทีนี้เรามากำหนดแต่ข้อเท็จจริง เรียกว่า fact เรียกว่า truthของลมหายใจที่มันเนื่องกันอยู่กับร่างกาย ถ้ากายหยาบ ลมหยาบ ลมหยาบ กายหยาบ ฉะนั้น เราจึงแน่ใจว่าเราสามารถบังคับกายโดยทางลมหายใจ เพราะมันเป็นของติดเนื่องกัน นี่จึงเปลี่ยนเป็นขั้นที่ว่าบังคับมันโดยตรงเลย โดยวิธีห้าขั้นนี้ นี่ วิ่งตาม ให้มันได้เสียก่อน อย่าไปรีบอย่างนี้ จะต้องให้มันไปทีละขั้น ทีละขั้น ถ้าใจร้อนหรืออะไรแล้วล่ะก็มันก็คงจะล้มละลาย แม้แต่เพียงวิ่งตามนี้ มันก็มีเทคนิคโดยเฉพาะของมัน ถ้าจะทำให้ดีที่สุดก็บังคับให้มันวิ่งตามได้อยู่เสมอกี่วันหรือกี่ชั่วโมงก็แล้วแต่ ทีนี้ว่าได้แล้วจึงเฝ้าดู จิตหรือสตินี่จะไม่วิ่งตามละ จะไม่วิ่งตามลม ลมมันคงเป็นลมอยู่อย่างนั้น มันเป็นหลักอย่างนี้ หายใจออก เข้า หายใจออก เข้าอย่างสม่ำเสมอ พอดี เพราะว่าเราฝึกมาดี ก็เฝ้าดู จนเราเฝ้าดูทีนี้มันก็ไม่หนีไปไหน ก็อยู่นั่น นิ่ง แนบเข้า แนบเข้า แนบเข้า เราทำเหมือนกับชักคันชัก พอรู้สึกขึ้นคันชักแล้วก็เราสามารถจะทำมโนภาพขึ้นได้ที่ตรงนี้เรียกว่า สร้างมโนภาพขึ้นมา
ผู้ถาม : ขณะที่กำหนดลมหายใจจะต้องนึกคำว่าพุท โธ พุท โธ หรือไม่ครับ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ไม่นึก ไม่เกี่ยวกัน ถ้าทำก็ทำแต่ทีแรก เมื่อทำยาว ทำสั้น ตอนนี้ไม่มีพุทโธ พุทธาอะไรแล้ว มันคนละแบบกัน ถ้าเรากำหนดพุทโธเป็นพุทถัง พุทธีอะไรก็ตามใจ นี่เราจะหายใจเท่านั้น
ผู้ถาม : แล้วในอิริยาบถอื่น นอกจากนั่งแล้ว เราจะกำหนดทำอานาปานสติภาวนาได้หรือเปล่า
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คือเรายังไม่นึกถึง ทำอิริยาบถนั่งนี้ให้ได้เสียก่อน ถ้ามิฉะนั้นเราจะทำไม่ได้เลย เพราะมันทำยากกว่าอิริยาบถอื่น คือ อิริยาบถอื่นมันทำยากกว่านี้ เราทำอิริยาบถนั่งนี้ให้ได้ ถ้ามันได้ความรู้สึกอะไรขึ้นแล้ว เราจะรักษาความรู้สึกนั้นไว้ได้ทุกอิริยาบถ เช่นที่เรารู้สึกเป็นสุขอยู่นี้ เราจะรู้สึกเป็นสุขได้ทุกอิริยาบถ แต่เมื่อฝึกนี่ เราต้องฝึกด้วยอิริยาบถนั่ง พอถึงเวลาที่เราจะต้องลุกไปแล้ว เราก็กำหนดความรู้สึกที่เรารู้สึกแล้ว รู้สึกได้นั้นไปด้วย นั้นมันเป็นเรื่องรักษา ไม่ใช่เรื่องปฏิบัติ เราพยายามรักษา พยายามป้องกันไว้ให้ดี ไม่ให้มันหายไปเสีย มันจะต้องรักษาให้ตลอด
ทีนี้มโนภาพที่เกิดขึ้นนี้ มันล้มลุกคลุกคลาน มันต้องทำจริงๆจังๆ ไม่ใช่ทำแต่ปาก มันทำไม่ได้หรอก มันล้มเหลว มันต้องอุทิศเวลา อุทิศอะไรมากอยู่ เราจะปล่อยให้มันปรากฏเองตามสะดวก ถ้ามันจะเห็นดวงแดง ดวงเขียว ก็ปล่อยให้มันเห็น หรือว่าจะเห็นเป็นรูปดวงแก้ว หรือดวงอาทิตย์ หรือใยแมงมุม หรือปุยฝ้าย หรือเมฆอะไรก็ตามใจเธอ ให้มันสะดวกที่มันจะเป็นของมันเองแล้วเราก็ยึดอันนั้น อันเดียวพอ เรียกว่ามโนภาพซึ่งตั้งขึ้นมาได้ ทีนี้ทำให้ได้ดีเสียก่อนจะได้เป็นประทับ ค่อยๆน้อมจิตให้มันเปลี่ยนตามที่เราต้องการ เปลี่ยนขนาดก็ได้ เปลี่ยนสีก็ได้ เปลี่ยนอิริยาบถให้มันลอยไปลอยมา กลับมาอีกก็ได้ พอน้อมจิตไปอย่างไร ภาพที่เห็นก็เปลี่ยนไปอย่างนั้น ทีนี้เมื่อทำได้อย่างนี้แล้ว จิตนี้เหมาะแล้ว เมื่อเห็นนิมิต มโนภาพ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เป็นที่พอใจแล้วก็ค่อยน้อมจิตไปสังเกตความรู้สึกว่าจิตเกาะอยู่ที่นั่น จิตเคล้าเคลีย ซึมซาบอยู่ที่นั่น แล้วก็ เป็นวิตก วิจารณ์นะ คิดพอใจ นี่เป็นปีติละ จิตอยู่ที่นี่จุดเดียวเท่านั้น ไม่มีจุดอื่นเป็นเอกัคคตา วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา มีองค์ฌานทั้ง 5 เกิดขึ้น ทีแรกก็ล้มลุกคลุกคลาน เดี๋ยวรู้สึกอันนี้ เดี๋ยวก็รู้สึกอันนี้ เดี๋ยวก็ไม่รู้สึกอันนี้ จนทำจนกว่ามันจะรู้สึกได้ง่ายๆครบทั้งห้าอย่างก็เรียกว่ามีองค์ห้าของปฐมฌานครบถ้วน ถ้ารู้สึกว่านี้ก็ยังอยากอยู่ ถ้ามีความรู้สึกว่านี้ก็ยังอยากอยู่ ให้ลองเว้นนี้เสีย เหลือเท่านี้มันก็ละเอียดกว่า เว้นนี้เสียมันก็ยิ่งละเอียดกว่า เว้นความรู้สึกที่เป็นสุขเสียมันก็ยิ่งระงับกว่า อันนี้มันเป็น equanimity ก็เอกัคคตา นี่มันจึงจะหยุดหรือนิ่ง เรียกว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
ผู้ถาม : ที่ว่าเว้นวิตก วิจารณ์ นี่เว้นเองโดยอัตโนมัติ หรือเราจะต้องเจริญไปเรื่อยๆครับ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คืออะไร
ผู้ถาม : ทำจิตภาวนา
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ทำยังไงที่ให้มันไป คือว่าเราไม่สนใจกับมัน ไม่สนใจความรู้สึกที่เป็นวิตก วิจารณ์ สนใจแต่ความรู้สึกที่เป็นปีติกับสุข นี่ว่าเว้นไปเฉยๆ นี่ หากเข้าใจว่าเจริญก็คือพยายามเข้าไปเจริญ เว้น เจริญลืมเสีย ไม่สนใจเสีย
ผู้ถาม : สำหรับการสร้างมโนภาพหรือนิมิตให้เกิดขึ้นนี่ ผมเคยทดลองแล้ว บางครั้งปรากฏว่าแทนที่จะเห็นนิมิต กลับเห็นเป็นภาพความหลังเก่าๆ โดยเฉพาะตอนหนุ่มๆ นี่จะมีอย่างนี้มาก อยากจะเรียนถามท่านอาจารย์ว่า เราจะมีกุศโลบายอย่างไร ในการจะจับภาพต่างๆที่เราได้กระทำมาแล้ว
ท่านพุทธทาสภิกขุ : นั้นมันปัญหาปลีกย่อย หรือว่าปัญหาที่เฉพาะตน นี่มันเป็นหลักทั่วไป หรือแนวทั่วไปที่เราจะต้องรู้ก่อน อย่างนั้นก็ต้องแก้ปัญหาเฉพาะคนไป โดยเราหรือผู้ควบคุมช่วยเหลือเรา แต่โดยหลักใหญ่ๆที่เขาวางไว้คือว่า ทำในใจให้มันแรงขึ้น จนอันนั้นมันเบากว่า มันถอยกว่ามันก็ไม่เข้ามา เช่นเราเพ่งอันนี้ให้มันแรงขึ้น เพ่งอันนี้ให้มันแรงขึ้น เพ่งอันนี้ให้มันแรงขึ้น เพิ่มกำลังความรู้สึกอันนี้ให้มันแรงขึ้น จนอันนั้นมันแพ้ไป
ผู้ถาม : ขณะที่ไปนั่งกำหนดลมหายใจนี่ต้องปิดตาด้วยไหมครับ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ไปนั่งนั้น บางคนก็ชอบลืมตา คนที่เป็นนักเลงแท้ๆ เขาชอบลืมตา แต่เขามักจะสอนให้หลับตา ถ้าเป็นนักเลงแท้ๆ อย่างพวกโยคีแท้ๆเขาจะลืมตา แล้วตามันค่อยๆหลับไปเองตอนหลัง เขาพยายามจะดูที่ปลายจมูก มันก็ไม่เห็นอะไรเหมือนกัน แต่ถ้าตาดูที่นั่น ที่นี่ มันก็ฟุ้งซ่าน ก็ลืมตาอย่าเขม็ง อย่างดูปลายจมูก เขาอธิบายว่าการลืมตานี่มีประโยชน์ มันเพ่งได้แรงกว่าหลับตา แล้วมันง่วงนอนยาก มันง่วงนอนได้ยาก จะเกิดถีนมิทธะยาก เราจึงลืมตา ถ้าว่ามันมาถึงขนาดนี้แล้วมันค่อยๆหลับของมันเองได้ ถ้าเราหลับตาแต่ทีแรก มันมีผลทางร่างกาย คือตามันร้อน ถ้าเราหลับตาแล้วเพ่งนี่ ตามันร้อน ถ้าเราหลับตา ตามันร้อน ถ้าเราลืมอย่างนี้มันไม่ร้อน แล้วมันดีที่ว่าลืมตานี่มันเพ่งมากกว่าหลับตา ฉะนั้น เราจะต้องหัดลืมตาชนิดที่ไม่เห็นอะไร คุณทำให้ดู ลืมตาชนิดที่มองไม่เห็นอะไร มันมุ่งจะมองแต่จมูกนี่ก็ได้ แล้วมันไม่เห็นอะไร นี่เรื่องหลับตา เรื่องลืมตา ชอบหลับตานะมันเอาเปรียบ มันจะนอน แล้วมันก็หลับซะจริงๆด้วย เดี๋ยวมันก็โงกเลย ถ้าเคยถามพวกโยคี กระทั่งว่าเคยเห็นการฝึกของพวกโยคี มันลืมตาเขม็ง เอ้า มีอะไรอีก เฉพาะหมวดนี้นะ
สติ เป็นไปในกาย ที่กำหนดแต่เรื่องกาย คำว่ากาย คือ ลมหายใจก็ได้ คือ เนื้อหนังก็ได้ สิ่งเดียวกัน ถ้ามันหยาบก็หยาบด้วยกัน ถ้าละเอียดก็ละเอียดด้วยกัน ถ้ากำเริบก็กำเริบด้วยกัน ถ้าระงับก็ระงับด้วยกัน นี้มันเปลี่ยนเป็นคำที่สองมันไม่ใช่กาย มันความรู้สึกของจิต อันนี้คือเจตสิก กำหนดความเป็นไปของเจตสิกเช่น เวทนา เป็นต้น ที่กำหนดตัวจิตโดยตรงเป็นอย่างไร ที่จะกำหนดข้อเท็จจริง สังขารทั้งปวง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นอยู่ที่นี่ อันนี้กำหนดกาย อันนี้กำหนดความรู้สึกของจิต อันนี้กำหนดจิต นี้กำหนดธรรมที่จิตจะต้องบรรลุ
ผู้ถาม : ท่านอาจารย์ครับ ในปฐมฌานนั้นครับ ขณะที่ยังมี วิตก วิจารณ์นั้นก็แปลว่า ยังพิจารณามโนภาพนั้นอยู่
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เลิกไปแล้ว คือมันพิจารณากันตรงนี้จนว่าไม่ต้องพิจารณาก็เห็นอยู่แล้ว ที่ว่าเราต้องการเพียงว่า เราต้องฝึกจิตจนเห็นขนาดนี้ก่อน เราจึงจะสามารถทำความรู้สึกที่เป็นวิตก วิจารณ์ ปีติ เอกัคคตาพร้อมๆกันได้ ถ้าไม่ถึงขนาดนี้บางทีมันจะได้เป็นวิตก วิจารณ์ที่มันไม่ขึ้น หรือมันไม่ขึ้นพร้อมกันก็ได้ คือมันไม่ adjust พอดี
ผู้ถาม : แล้วถ้าองค์ฌานเกิดขึ้นแล้วนี่ มโนภาพจะยังอยู่หรือ เรียกว่ามีหรือไม่มีครับ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : นี่เขาเรียกว่า การหายใจก็ยังมีอยู่ ความรู้สึกออกเข้าก็ยังมีอยู่ ทีนี้มโนภาพนั้นเปลี่ยนเป็นอันนี้หมด คือว่าจิตมันอยู่ที่นี่ นี้เป็นองค์ฌานนิมิต
ผู้ถาม : ถ้าในขณะนั้นรู้สึกว่า มีตัวเพ่งอยู่ หรือไม่มีตัวเพ่งอยู่
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ไม่ต้องมีความรู้สึกเป็นตัว จิตหรือสติมันทำหน้าที่ของมันเอง เราจะต้องไม่ปล่อยให้มันเป็นความรู้สึกเป็นตัวกู เป็นของกู ที่เราจะต้องรู้ความแตกต่างว่า ตอนนี้นะ วิ่งตามนี่ เมื่อวิ่งตามนี่ เรามีลมนั้นเองเป็น object พอถึงขั้นสองเฝ้าดูนี่เรามีที่ หรือจุด ที่เป็นนิมิต เป็น object พอถึงอันนี้ เรามีมโนภาพเป็น object ไม่ใช่ลม ไม่ใช่ที่ เป็นมโนภาพที่เห็นด้วย imagine พอมาถึงนี่เราก็มี มโนภาพที่มันเปลี่ยนนั่นล่ะเป็น object ความเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเป็น object พอมาถึงนี่มันมีองค์ฌานทั้งห้าเป็น object
ผู้ถาม : เพราะฉะนั้น ที่จริงนะ ขั้นหนึ่งกับสองนะก็ยังเป็นคล้ายๆว่า เป็นรูปนะฮะ เป็น object รูป
ท่านพุทธทาสภิกขุ : นี่ นี่ นี่ concrete object นี่ concrete นี่ concrete
ผู้ถาม : พอ สาม สี่ ก็เป็นอิมเมจแล้ว
ท่านพุทธทาสภิกขุ : นี่ อันนี้ สาม สี่ นี่เป็นอิมเมจ นี้เป็น concrete นี่เป็น feeling
ผู้ถาม : พอเป็นห้า มันก็เป็นธรรมา
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เป็น feeling เป็น feeling ยังไม่ใช่พิจารณาแบบนั้น คนละวิธี เอ่อ รู้สึก ความรู้สึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรู้สึกปีติ รู้สึกเป็นสุข การรู้สึกที่รู้สึกนั่นล่ะเป็น object ของอันที่ห้า
ผู้ถาม : อันห้านั้นก็คือนามธรรมแล้ว
ท่านพุทธทาสภิกขุ : นี่เป็นนามธรรม ไอ้อันนี้ก็ต้องเรียกว่า จะเป็นนามธรรมก็ยังไม่เชิง มันกำลังจะเป็นนามธรรม เป็นภาพ มโนภาพ ตัวนี้เป็นตัววัตถุแท้ๆ อันนี้เป็นตัวความรู้สึกเท่านั้น มันต่างกันอย่างนี้ ขั้นที่หนึ่ง ขั้นที่สอง ขั้นที่สาม ขั้นที่สี่ ขั้นที่ห้า ที่มีตัวลม ที่มีสถานที่หรือจุดที่ลมกระทบ นี่เป็น tactic imagination นี่เป็น dynamic imagination นี่เป็น feeling ล้วนๆ
ผู้ถาม : แต่พอขั้นสาม ขั้นสี่นั่น โลกภายนอกทางอายตนะก็ไม่มีแล้วสิครับ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : มันต้องเริ่มไม่มีตั้งแต่นี่แล้ว มันต้องเริ่มให้ไม่มีมาตั้งแต่นี่แล้ว คือเราไม่สนใจ โลกภายนอก เวลานี้กลายเป็นกำหนดลมหายใจ หู จมูกอะไรมันก็ไม่มี ไม่ทำหน้าที่ ไม่สนใจ ไม่ทำหน้าที่ จิตมันมาอยู่แต่ที่จะกำหนดอะไรเท่านั้น นี่ถ้าว่าถึงจตุตถฌานนี่ก็ว่ากันว่า ไม่คิด ไม่นึก หรือพูดไม่ได้ หรือไม่หายใจ ฟ้าผ่าไม่ได้ยิน
ผู้ถาม : กายานุปัสสนาสติปัฏฐานนี่ ไปได้แค่จตุตถฌานเท่านั้นหรือครับ หรือยังไปอรูปฌาน
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อ้าว ถ้าอรูปมันก็ไม่ใช่กาย มันก็คือกาย ถ้าคำว่ากาย ก็คือร่างกาย ที่เนื่องกันอยู่กับร่างกาย ทำกายให้ระงับ ถึงขนาดนี้ จิตก็ระงับด้วย ลมหายใจระงับ กายระงับจิตก็พลอยระงับด้วย ถ้าจะทำไปต่อไปให้เป็นอรูปฌาน มันยังไปอีก คือเพิกถอนความรู้สึกเหล่านี้เสีย ให้เอาที่ว่าง เอาความว่างเป็นอารมณ์แทน ถ้าให้ละเอียดกว่านั้นก็เลิกเอาความว่างเสีย เอาวิญญาณธาตุเป็นอารมณ์แทน ถ้าให้ละเอียดกว่านั้นก็เลิกญาณธาตุเสีย เอาความไม่มีอะไรแทน ทีนี้อันสุดท้ายก็เป็น เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย ทั้งเวทนา ทั้งสัญญา นั้นก็เรียกว่าอรูปฌาน เราไม่ต้องการ แค่รูปฌานนี้ ราก็ไม่ต้องการมากจนถึงจตุตถฌานเพราะว่ามันจะเสียเวลามาก เพียงเท่านี้ก็พอแล้ว เพียงปฐมฌาน หรือ เฉียดๆ ปฐมฌานนี้ก็พอแล้ว สำหรับที่จะปฏิบัติหมวดที่สอง หมวดที่สามต่อไปได้ เพราะว่าอย่างน้อยเราต้องการเพียง มีปีติและสุขก่อน จะเอาอันนี้ไปใช้ ที่หนึ่งที่สอง เราจึงต้องการแต่เพียงว่าให้มันมีปีติและสุขขึ้นมาบ้างพอสมควรเถอะ
ผู้ถาม : ท่านอาจารย์ครับ สภาวะที่เกิดขึ้นเหล่านี้นะเป็นสภาวะที่แต่ละบุคคลรู้ด้วยตัวเองใช่ไหมครับ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อ้าว แน่นอนล่ะ ไม่ต้องจำ ไม่ใช่เพียงแต่จำมา มันต้องเกิดขึ้นจริงๆ และรู้สึกจริงๆ แม้แต่ลมหายใจยาวนี้ มันต้องมีความรู้สึกลงไปในลมหายใจนั้นจริงๆ
ผู้ถาม : ที่กระผมจะเรียนถามก็คือว่า คนอื่นนั้นมารู้ได้ไหมครับว่าคนอื่นถึงขั้นไหน ขั้นไหน
ท่านพุทธทาสภิกขุ : โอ้ อย่างนี้มันคนละปัญหาแล้ว มันเป็นปัญหาของผู้รู้ ผู้ที่ชำนาญ ถ้าว่ามันมีคนที่เขาชำนาญที่สุดในเรื่องนี้นะเขานั่งดูอยู่ เขากำหนดอยู่ เขาอาจจะรู้ได้ว่าคนนี้กำลังกำหนดขั้นไหน แต่มันต้องเป็นปรมาจารย์ต้องเป็นพิเศษแล้วมันก็ไม่เกี่ยวกัน เราอย่าไปนึกถึงดีกว่า เราทำอย่างนี้ไปตามลำดับให้ได้ ในคัมภีร์ก็มี พระอรหันต์ที่มีความเชี่ยวชาญมากจนรู้ว่าผู้อื่น กำลังอยู่ มีจิตใจอยู่ในภาวะอย่างไร
นี่ กำหนดให้ดี ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสิ่ง สิ่งเดียวคือจิต การแก้ปัญหาทุกชนิด จะต้องจัดการที่จิต ถ้าเป็นเกี่ยวกับความทุกข์ และความสุข ก็ต้องอบรมจิต ในขั้นแรก ให้มันอยู่ในอำนาจของเราก่อน นี่เราจะทำกาย หรือจิตที่เนื่องกับกาย ให้อยู่ในอำนาจของเรา แล้วเราก็เอาสิ่งที่คนหลงใหลกันทั้งโลกคือ สุขเวทนานี่ มาใช้ศึกษาในหมวดนี้ พอมาถึงนี้แล้ว จิตมันรู้เรื่องเหล่านี้ดีแล้ว มันเปลี่ยน ให้เรารู้จักจิตหลายๆแบบ รู้จักทำจิตให้เปลี่ยนได้ตามต้องการ ในหมวดนี้ ทีนี้เราใช้จิตที่อยู่ในอำนาจเราร้อยเปอร์เซนต์แล้วดูสิ่งทั้งปวง ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วเราจะเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด นิพพิทา นิราคะ วิมุตติ นิพพาน นี้ที่เป็นหลักใหญ่ๆที่เดียวกับพระพุทธเจ้าตรัสว่า ทำอานาปานสติภาวนาแบบนี้ ทั้งสิบหกขั้นนี้ เมื่อทำสิบหกขั้นนี้แล้ว สติปัฏฐานทั้งสี่ จะสมบูรณ์ สติปัฏฐานทั้งสี่ สมบูรณ์ แล้ว โพชฌงค์ทั้งเจ็ดจะสมบูรณ์ โพชฌงค์ทั้งเจ็ดสมบูรณ์แล้ว วิชชา และวิมุตติจะสมบูรณ์ ก็หมดเท่านั้น เรื่องด่วนทั้งนั้น มีปัญหาอะไรอีกเฉพาะหมวดที่หนึ่งนี้ ไม่เห็นคุณ discuss กันเองเลย คล้ายๆว่าเข้าใจหมด
ผู้ถาม : เมื่อมี เบื้องต้นเมื่อเริ่มนะฮะ ต้องพยายามคิดถึงอะไร หรือให้ความคิดมา คือว่าไม่ต้องคิดถึง
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ไม่คิดถึงอะไรนอกจากลมหายใจ เอาลมหายใจเป็น object สติกำหนดอยู่ที่นั่นแล้วก็วิ่งตาม มันไม่มีทางอื่นแล้ว เพราะมันมากำหนดอยู่ที่นี่ ไม่เรียกว่าคิด เรียกว่ากำหนด keep the mind on the object ไปด้วยกัน
ผู้ถาม : วิ่งตามใช่ไหมครับ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เรียกว่าวิ่งตาม เรียกว่าวิ่งตาม เราสมมติให้เข้าใจง่าย กำหนดลมหายใจที่เข้าอยู่ ออกอยู่ เราเรียกสั้นๆว่าวิ่งตาม แล้วเราจึงหยุดอยู่ที่ตรงนี้ เฝ้าดู ไม่ใช่ไปคิด ไปพิจารณานะ เพียงแต่เฝ้าดูเฉยๆ เขาเรียกกำหนด ภาษาไทยเรียกกำหนด keep the mind upon the object ไม่ think คือไม่ considerไม่อะไรทุกอย่าง เพียงแต่ keep the mind upon the object
ผู้ถาม : ขณะที่วิ่งตามดูระหว่างจมูกกับสะดือนี่ จะเป็น ทางขาวหรือทางนั้น ถูกไหมครับ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : จะ imagination อย่างนั้นก็ได้เหมือนกัน จะทำให้รู้สึกเป็นทางเหมือนกับว่าเป็นถนนมันก็ได้เหมือนกัน มันเป็นเรื่องที่
ผู้ถาม : มันไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือครับ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ไม่ได้เกิด คือว่าตามปกติจะไม่เกิด แต่ถ้ามันเกิดก็ได้ ไม่เสียหายอะไร มันก็ยิ่งง่ายขึ้น ทีนี้เราเป็นทางขาววิ่งอยู่ ทีนี้ก็หยุด หยุดทางขาวเสียอยู่ที่จุดนี้ ถ้าเขาไม่เรียก คล้ายๆกับว่านี่มัน sensitive มาก เป็นว่าลมมันถูกแล้วมันเจ็บได้มันก็ยิ่งดี มันง่ายขึ้น
ผู้ถาม : เราจะทราบว่าควรจะเปลี่ยนเป็นหายใจสั้น อันนั้นคือจะทราบเอง
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ทีแรกเราจะศึกษาให้รู้เรื่องหายใจยาว หายใจสั้น มันมี nature อย่างไร มี influent อย่างไร มี effect อย่างไร ทีนี้เราก็ปล่อยให้มันพอดีได้ ถ้ามันเกิดสั้น ก็ให้รู้ว่าสั้น ถ้ามันยาวไปก็ให้รู้ว่ายาวไป แล้วจะทำให้มันพอดีได้ มาตอนนี้เราปล่อยให้มันเป็นไปตามพอดี รู้แต่ว่าออกหรือเข้า ยาวหรือสั้นนี้จะไม่มีละ จะไม่มีปัญหาละ จะมีแต่ทีแรก ที่ว่าเราหายใจเฉยๆอยู่เดี๋ยวนี้ เราก็ไม่ได้รู้ว่ายาวหรือสั้น ที่จริงมันไม่ได้ยาวหรอก มันก็มักจะสั้น พอเราไปกำหนดเข้าจึงอาจจะรู้สึกว่ามันสั้นไปหน่อย เราจึงถอนหายใจ จึงจะยาว เราควรจะลองดูว่ายาวที่สุดเท่าไหร่ สั้นที่สุดเท่าไหร่ และที่พอดีๆ ที่ควรจะมีนั้นเป็นอย่างไร แล้วก็รักษาให้ดีไว้ เป็นมาตรฐาน
ผู้ถาม : แล้วเวลาจิตละเอียดมากๆเข้านี่ เราจะสามารถได้ยินเสียงลมหายใจด้วยหรือเปล่า
ท่านพุทธทาสภิกขุ : แล้วถ้าเรากำหนดมากเข้า มากเข้านี่ มันจะถึงกับว่า ได้ยินเสียงของลมหายใจ คือหูนี่มันจะไม่รับอารมณ์อื่น จิตทั้งหมดมันมาอยู่แต่ที่นี่ และบางทีเราก็ต้องการเสียงช่วย ถ้ามันกำหนดยากนัก เราหายใจให้แรงจนมีเสียงสูดเข้า สูดออก สูดเข้า สูดออกนี้มันก็ช่วยได้ในเบื้องต้น แล้วก็ปล่อยไป จนมันไม่มีเสียง หรือกระทั่งไม่มีความรู้สึก เพราะว่าในขั้นจตุตถฌานอันนี้มันจะไม่มีความรู้สึกที่ว่า หายใจออก หรือหายใจเข้า แต่มันคงจะหายใจอยู่บ้าง เราเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน จะไม่หายใจเลยก็คงจะเป็นไปไม่ได้ แต่มันน้อยมากจนอะไรมันน้อยไปหมด ความร้อนมันลด circulation ของเลือดก็เอื่อย ลด จนเกือบจะหยุด แต่ทางโยคีเขาถือว่ามันหยุด มันหยุดเลย จนกว่าจะเรียกกลับมาใหม่ แต่เราก็ไม่เคยคิดดูกันทางวิทยาศาสตร์โดยตรง มันเป็นเพียงตำรา
เอาละพรุ่งนี้จึงจะค่อยพูด ชุดนี้ ชุดนี้ วันนี้พอกันที เมื่อยแล้ว