แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๑๔ สำหรับพวกเราที่นี่ ล่วงมาถึงเวลา ๔.๓๐ น. แล้ว เป็นครั้งที่ ๙ ของการบรรยาย เป็นเรื่องที่ ๕ ของสิ่งที่จะเป็นเครื่องเยียวยารักษาโรคของโลก ซึ่งวันนี้จะได้พูดโดยหัวข้อว่า เครื่องมือวิเศษสำหรับคนทุกคน ในครั้งที่แล้วมา เออ, เราได้พูดถึงการเดินทางของชีวิต อื้ม, หรือชีวิตเป็น การเดินทาง แล้วก็แสดงหนทางของชีวิตนั้น อื้ม, พอเป็นที่เข้าใจได้ ว่าเดินกันอย่างไร ในทาง อือ, วัตถุ แล้วทางเท้า แล้วก็ทางวิญญาณ
ทีนี้เนื่องจาก เออ, การกระทำทุกอย่าง มันก็ต้องมีเครื่องมือ อื้ม, คำว่า เครื่องมือนี่ อาจจะยังเข้าใจ กันแคบไปก็ได้ อื้ม, คือคนธรรมดาจะรู้จักเครื่องมือ แต่เพียงสิ่งที่เราเรียกมันว่าเครื่องมือ โดยเฉพาะเด็ก ๆ จะรู้จักเครื่องมือ แต่สิ่งที่ผู้ใหญ่เขาเรียกว่าเครื่องมือ อื้ม, ส่วนสิ่งที่เป็นเครื่องมืออย่างยิ่ง แต่ไม่ได้เรียกว่า เครื่องมือนั้น ก็ไม่รู้จัก อื้ม, สิ่งที่เป็นเครื่องมืออย่างยิ่ง แล้วก็ไม่ได้เรียกว่าเครื่องมือนี้ มีทั้งทางฝ่ายวัตถุ และก็ฝ่ายวิญญาณ เช่น เท้า มีไว้สำหรับเดิน พูดตามหลักของภาษา เท้าก็เป็นเครื่องมือ อื้ม, เครื่องมือสำหรับเดิน
ไอ้คำว่า เครื่องมือ มันหมาย เออ, ตัวหนังสือมันหมายถึง สิ่งที่จะใช้ด้วยมือ แต่โดยความหมาย มันไม่ใช่อย่างนั้น มันจะใช้ด้วยอะไรก็ได้ แต่ให้มันสำเร็จประโยชน์ เขาก็เรียกว่า เครื่องมือ ทีนี้โดยมาก โดยทั่วไป ที่ธรรมดาเห็นๆ กันอยู่นี้ มันใช้ด้วยมือ ก็เอาคำว่า มือ มาเป็นหลัก ก็เลยเรียกว่า เครื่องมือ อื้ม, ดังเรือสำหรับขี่ไปไหน มาไหนนี้ ไม่มีใครเรียกว่า เครื่องมือ อื้ม, แต่โดยความหมาย มันก็เป็นเครื่องมือ คือ เครื่องให้สำเร็จประโยชน์ แก่การงานนั้น คือ การไป นี่รถก็เหมือนกัน รถเป็นเครื่องมือ
จะต้องเข้าใจความหมายของคำว่า เครื่องมือ อื้ม, ที่กว้างอย่างนี้ จึงจะเข้าใจธรรมะ ในฐานะที่เป็น เครื่องมือได้ อื้ม, ธรรมะในฐานะที่เป็นเครื่องมือ ก็หมายถึง เครื่องมือทางจิต ทางวิญญาณ ทางฝ่ายวิญญาณ เป็นเครื่องมือ อ่า, สำหรับไปนิพพานโดยสมมุติ อื้ม, โดยเนื้อแท้ก็คือ สำหรับดับทุกข์ให้สิ้นเชิง ดับทุกข์สิ้นเชิงนั่นแหละ คือ นิพพาน นี้เราพูดอย่างสมมุติ พูด เออ, เป็นไอ้ทำนอง ให้มันภาษาชาวบ้านหน่อย ก็ว่า ไปนิพพาน อื้ม, แต่เนื้อแท้ คือ ดับทุกข์ ดับกิเลสสิ้นเชิง อื้ม, พอได้ยินคำว่า ไปนิพพาน หรือได้นิพพาน นี้มันก็รู้สึกทึ่ง หรือสนใจ เพราะมันมีลักษณะ หรือความหมายของไอ้การโฆษณาชวนเชื่อ แต่พอทีพูดว่า ดับกิเลส ดับทุกข์ให้สิ้นไป หรือความสิ้นไปแห่งกิเลสและทุกข์ อย่างนี้มันก็ ไม่นึกสนุกเท่ากับว่าไปนิพพาน
ทีนี้ธรรมะนี้ มันเป็นเครื่องมือ ให้ถึงนิพพาน หรือว่าดับกิเลส และความทุกข์ได้ อื้ม, เครื่องมือ ทางวัตถุ ก็เช่น เครื่องมือ เออ, ที่ใช้ด้วยมือ กระทั่ง เออ, รถ เรือ อื้ม, กระทั่งเท้าก็มีสำหรับเดินอย่างนี้ เครื่องมือสำหรับเดิน หยูกยา อาหาร มันเครื่องมือสำหรับที่จะแก้โรคในทางกายนี้ ธรรมะก็เป็นเครื่องมือ ที่จะแก้โรคในทางจิต อื้ม, ที่แล้วมาเคยเข้าใจ คำว่า เครื่องมือในวงแคบอย่างไร และเดี๋ยวนี้ก็มาเข้าใจคำว่า เครื่องมือ อ่า, ในขอบเขต ที่มันกว้างขวางอย่างนี้ เพื่อศึกษาธรรมะ อื้ม,
การงานทุกอย่าง ต้องมีเครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางวัตถุ หรือทางร่างกาย หรือว่าทางวิญญาณ โรคทางวิญญาณ นักเรียนควรมีธรรมะประเภทเครื่องมือนี้ เพราะถ้าเรามีเครื่องมือทางวิญญาณดีแล้ว เราก็จะใช้เครื่องมือทางร่างกายได้ดีด้วย มันมีประโยชน์ซ้อนกันอยู่อย่างนี้ ถ้าเรามีธรรมะดี เราก็จะมีร่างกายดี มีวัตถุดี อื้ม, เมื่อพูดว่า ธรรมะในฐานะเป็นเครื่องมือ เออ, และธรรมะเป็นเครื่องมือนี้ ก็แปลก ไปจากที่เคย ได้ยิน เขาเรียกว่า แปลกหู แม้แต่พวกนักศึกษาอย่างพวกคุณ เพราะว่าไม่เคยได้ยิน หรือได้สังเกตเห็น ด้วยตนเอง ว่าธรรมะเป็นเครื่องมือ อื้ม, ต่อเมื่อมาคุ้นเคยกับภาษาวัด มาเรียนภาษาบาลีนี้ อื้ม, จึงจะมองเห็น ไอ้ความหมายคำว่า เครื่องมือ อื้ม, ในภาษาบาลี ความหมายของวิคตปัจจัยบางตัว นั้นมันแสดงอย่างนี้ เป็นที่ หรือเป็นเหตุ หรือเป็นแดน หรือว่าเป็นเครื่องมือ เหมือนกันหมด เขาเรียกว่า กาลนสาธารณะ(นาทีที่ 08:15) คือ ในกรณีที่มันเป็นเครื่องมือ นี้ชีวิตมันเดินทาง งานของชีวิต คือ การเดินทาง การงานทุกอย่าง ต้องมีเครื่องมือ อื้ม, ดังนั้นการเดินทางของชีวิต ก็ต้องมีเครื่องมือ
ทีนี้คำว่าธรรมะ เออ, นี้มันแปลกประหลาดมาก อยากจะพูดอีก หรือพูดบ่อย ๆ ว่า คำว่าธรรมะนี้ มันประ เออ, แปลกประหลาดมาก อื้ม, มันกินความกว้าง คือ หมายถึงทุกสิ่ง เป็นอะไรก็ได้ นี้เราแยกออกมา เฉพาะที่เป็นเครื่องมือ มาพูดกันในวันนี้ แต่ให้รู้ไว้ว่า สิ่งที่เรียกว่า ธรรม หรือธรรมะนี้ มันเป็นทุกสิ่ง ไม่ว่าอะไร ไปดูความหมายของธรรมะ ไอ้ความหมาย ๔ อย่าง ที่อธิบายไว้ในที่บางแห่ง ธรรมะในฐานะ เป็นธรรมชาติทุกอย่าง ธรรมะในฐานะเป็นกฏของธรรมชาติทุกอย่าง ธรรมะในฐานะเป็นหน้าที่ ที่มนุษย์ จะต้องกระทำ ตามกฏของธรรมชาตินั้นทุกอย่าง
ถ้าธรรมะ คือ ผลที่เกิดขึ้นมาจากการทำหน้าที่นั้นทุกอย่าง มันเลยไม่ยกเว้นอะไร ธรรมชาติทั้งหลาย รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย จิตใจนี่ก็เป็นธรรมชาติ นี่เราเรียกว่า ธรรม ในภาษาบาลี นี้กฏเกณฑ์ต่างๆ ที่อยู่ ในนั้น เรียกว่า ธรรม ในภาษาบาลี นี้หน้าที่ที่มนุษย์ต้องทำตามกฏนั้น ๆ ไม่ทำไม่ได้ อื้ม, นี้ก็เรียกว่า ธรรม ในภาษาบาลี ได้ผลอะไรมาก็เรียกว่า ธรรม ในภาษาบาลีคำว่า ธรรม มันหมายถึง ทุกสิ่งอย่างนี้ เป็นเหตุก็ได้ เป็นผลก็ได้ แต่ในที่นี้เราจะพูดถึงเฉพาะ เออ, เครื่องมือ ถ้าพูดให้หมด ก็พูดได้ว่า ธรรมะในฐานะเป็นวิชาการ ธรรมะในฐานะ เป็นเครื่องมือที่จะใช้ อื้ม, ธรรมะในฐานะเป็นทัปปะสัมภาระ (นาทีที่ 10:45) คือ Material ที่เราจะเอามาใช้ในการงาน และธรรมะในฐานะเป็นการทำงานก็ได้ ธรรมะในฐานะเป็นผลงานก็ได้
อื้ม, คุณลองสังเกตดูให้ดีว่า ในการทำงานอย่างหนึ่ง มันมีอะไรกี่อย่าง อื้ม, ไม่ว่าจะทำงาน อือ, ทาง ทางวัตถุ หรือทางธรรมะ ขึ้นชื่อว่าทำงานแล้ว มันก็ต้องมีอะไรหลาย ๆ อย่าง ถ้าไม่มองให้เห็น มันก็ ก็งมงาย เท่านั้นแหละ ยกตัวอย่าง อื้ม, ธรรมะในการทำงานนี้ จะต้องมีธรรมะ คือ วิชาการ หรือความรู้ที่เราจะทำ ก็มีธรรมะ คือ เครื่องมือ ที่จะใช้ทำ ก็ต้องมีสัม อ่า, สัมภาระ คือ สิ่งของต่าง ๆ เป็นวัตถุต่าง ๆ ที่จะเอามา กระทำ หรือประกอบกันเข้า จะต้องมีการกระทำ แล้วก็ต้องมีผลของการกระทำ ทั้งหมดนี้มันเรียกว่า ธรรมะ อย่างน้อยก็มีตั้ง ๕ อย่าง ๕ แง่ ๕ มุม อื้ม, ในการทำงานอย่างหนึ่งนี้ มันมีธรรมะมี ๕ แง่ ๕ มุม และในมุม หนึ่งนั้น มันมีคำว่า เครื่องมือในฐานะที่เป็นเครื่องมือ เราจะต้องรู้จักธรรมะให้ดี ๆ ในทุกแง่ ในทุกมุม และวันนี้ หรือเลือกเอามาแต่มุม ที่มันเรียกว่า เครื่องมือ อื้ม, ดังนั้นจะใช้เครื่องมือ อ่า, สำหรับเดินทาง ของชีวิต มันก็ต้องมีต้นตอมาจาก อื้ม, พระศาสดาของเรา
เพราะฉะนั้นขอให้ไหว้ครูอยู่เสมอ แม้จะหยิบเครื่องมือมาใช้สักอันนี้ เราก็ต้องไหว้ครูอยู่เสมอ สัพพัญญู สัพพะทัตสาวี ชิโนอาจะริโย มะมะ มหาการุณิโก สัตถา สัพพะโลกะจีกิจจาโก (นาทีที่ 13:09) อาจารย์ของเรานั้น เป็นผู้ อื้ม, รู้สิ่งทั้งปวง เป็นผู้เห็นสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ชนะมาแล้ว เป็นผู้สั่งสอนที่ประกอบ ด้วยกรุณาใหญ่ เป็นนายแพทย์ เป็นผู้เยียวยารักษาโรค ของสัตว์โลกทั้งปวง ดังนี้ นี้คือ คำไหว้ครู อื้ม, ทุกอย่างสำเร็จ ออกมาจากพระบรมครูองค์นี้ คนไหว้ครู คือ คนกตัญญูกตเวที อื้ม, คือ คนที่เคารพต่อ ครูบาอาจารย์ อื้ม, คนที่มีจิตใจจดจ่อ อื้ม, ต่อคำสั่งสอน หรือความเมตตากรุณา ของครูบาอาจารย์ นี้เขาเรียกว่า ไหว้ครู สวดแต่คำสวดเฉย ๆ มันก็ไหว้ครูอย่างนกแก้วนกขุนทอง ถ้าว่าไปด้วยความรู้สึกจูงใจ ไปด้วยความรู้สึก มันก็เป็นไหว้ครูที่แท้จริง แล้วสิ่งต่าง ๆ มันจะ อื้ม, ง่าย อื้ม, จะพรักพร้อม และจะจริงจัง แล้วมันจะง่าย
ขอให้พิจารณาดูให้ดี ๆ กันทุกคน อื้ม, เราไหว้ครู ทุกครั้งที่จะหยิบเครื่องมือมาใช้ อื้ม, คุณทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น นั้นก็ไหว้ครูเหมือนกัน แต่ไหว้ครูเมื่อไม่ทำการงาน อื้ม, พอจะลงมือ อื้ม, ทำการงานต้องไหว้ครู เป็นพิเศษอย่างยิ่ง พวกที่เคร่งครัด เขาก็หยิบอะไรขึ้นมาจะทำจะใช้ เขาก็ยกมือไหว้หลับตานิด นึกถึง เออ, ครูบาอาจารย์ นึกถึงอะไร ที่เขาอยากจะนึก พวกมโนราห์พอหยิบ ไอ้เทริดออกมาจะสวมนี้ มันก็วางอยู่ ตรงหน้ามันก็ไหว้ มันก็ต้องสำรวมจิต อื้ม, เพื่อจะปฏิบัติงานนี้ให้ดีที่สุด โดยเอาพระคุณของครู อื้ม, มาเป็น เครื่องสนับสนุนกำลังใจ หรือคุ้มครอง
นี่พวกคุณจะไม่ทำอย่างนั้น เห็นวิชาความรู้นี่ มันเป็นเศษอะไร ที่อยู่ในอำนาจของเรา ก็ทำมันอย่างที่ เรียกว่า เป็นของที่ต่ำกว่าเรา ถ้าเป็นอย่างสมัยโบราณ พอหยิบกระดานชนวน มาจะเรียนหนังสือก็ต้องไหว้ เพราะฉะนั้นเขาจึงมีจิตใจต่างกัน ดังนั้นในห้องเรียนก็เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีความเคารพบูชา ครูบาอาจารย์ เข้ามาก็เคารพบูชา หนังสือหนังหาก็ข้ามไม่ได้ เดี๋ยวนี้พวกคุณอาจจะเอาเท้าเขี่ยหนังสือก็ได้ ถ้ามันสะดวก ขึ้นมา ฉะนั้นจึงมีจิตใจต่างกัน คือ เราดูถูกเครื่องมือ อื้ม,
เอาละทีนี้ เออ, เราก็จะพูดกันถึง สิ่งที่เรียกว่า เครื่องมือ อื้ม, เดี๋ยวนี้เรากำลังพูดถึงการเดินทาง การเดินทาง ก็คือ การทำงาน การทำงานต้องมีเครื่องมือ นี่เป็นหัวข้อ อื้ม, การเดินทาง อ่า, เป็นการทำงาน โดยตรง ของชีวิตฝ่ายวิญญาณ อื้ม, เครื่องมือและเครื่องมือโดยตรง เครื่องมือโดยตรงของชีวิต เครื่องมือโดยตรงของชีวิตฝ่ายวิญญาณ เพราะว่าเรามีชีวิตฝ่ายวัตถุ อื้ม, ทาง Biology, Biological Life ตัวนี่ ไปเรียน Biology คุณก็รู้ชีวิตมันคืออะไร เพียงแต่ความสดชื่นของ Protoplasm ที่มีอยู่ในเซลล์ ๆ หนึ่ง ก็เรียกว่า ชีวิต อย่างนี้ไม่ใช่ในกรณี ที่เรากำลังจะพูดกัน เพราะเราจะพูดถึง ไอ้ชีวิตฝ่ายวิญญาณ ซึ่งมองด้วย ตาไม่เห็น มองด้วยกล้องจุลทรรศน์ก็ไม่เห็น ด้วยอะไรก็ไม่เห็น ฮื้ม, มันต้องมองด้วยธรรมจักษุ จึงจะมองเห็น
การงานโดยตรงของชีวิตฝ่ายวิญญาณนี้ Definition เออ, ที่จะ ต้องจดจำไว้ให้ดี ๆ การงานโดยอ้อม มันก็มี การงานของชีวิตโดยอ้อมมีมากอย่าง แต่การงานโดยตรงของมัน คือ เดิน ไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง แล้วให้วิญญาณนั้นแหละเดินไป อื้ม, ชีวิตฝ่ายวัตถุ ยังมิใช่ชีวิต ช่วยจดจำให้ดี ๆ ว่าชีวิตฝ่ายวัตถุนั้น ยังไม่ใช่ชีวิต ชีวิตทาง Biology ทางอะไร ที่คุณรู้จักกันดี นั้นยังไม่ใช่ชีวิต อึ้ม, ฉะนั้นขอให้รู้จักชีวิตให้ดี ๆ ให้ถูกต้อง มันต้องเป็นชีวิตทางวิญญาณ อื้ม, ชีวิตทางวัตถุ มันเป็นเรื่องที่จะไม่ เออ, ช่วยอะไรให้แจ่มแจ้งได้ ไม่เข้าถึงส่วนลึก หรือส่วนหัวใจของไอ้ตัวชีวิต มันเป็นชีวิตเปลือก นั้นร่างกายนี่มันเป็นเปลือก จิตใจมันเป็น เนื้อใน ชีวิตทางร่างกาย มันก็น่าหัว น่าสงสาร ชีวิตทางจิตใจทางภายในนั่นแหละ มันเป็นตัวเป็นชีวิตจริง
นี่เลยไปถึงที่สุด มันก็เป็นเรื่องของสติปัญญา ของความ อือ, ดับทุกข์ประเสริฐสูงสุด ที่มีอยู่ใน สติปัญญา ที่มีอยู่ในตัวชีวิต นั่นแหละคือ ชีวิตจริง อื้ม, คำสอนในศาสนาคริสเตียน ในคัมภีร์ไบเบิ้ลที่พระเยซู สอน ตอนหลังนี้ก็ว่า จงสละชีวิต แล้วก็จะได้ชีวิต เอ้อ, นี่พวกคุณพูดว่า โอ้ย, บ้าแล้ว พูดผิด Logic แล้ว สละชีวิต แล้วก็จะได้ชีวิต อย่างนี้คนก็ว่ามันผิด Logic เออ, ผิดคณิตศาสตร์ ผิดอะไรไปหมด อื้ม, เดี๋ยวก็ขอพูด ภาษาวิญญาณ แล้วมันถูกที่สุด สละชีวิตง่าย ๆ โง่ ๆ ที่คนธรรมดารู้จักนั่นเสีย แล้วก็จะได้ชีวิตที่แท้จริง ที่เป็นความมุ่งหมายของพระเจ้า หรือของศาสนา อื้ม, สละชีวิตฝ่ายวัตถุฝ่ายร่างกายนี้ อย่าไปบำรุงบำเรอมัน อย่าไปบำรุงบำเรอเนื้อหนัง หรือไอ้กามารมณ์ หรือเรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรติ ซึ่งเป็นชีวิตของฝ่ายวัตถุนั้น ให้สละเสีย แล้วมันจะได้ชีวิตฝ่ายวิญญาณ อื้ม, ที่มีความสุขจริง มีอะไรจริง ๆ กว่านั้น นี่จำคำ เออ, นี้ไว้คิด ไปนึกดูว่า ให้สละชีวิต แล้วก็จะได้ชีวิต แล้วอธิบายยังไงไม่ผิด Logic ไม่ผิดไอ้คำนวณของคณิตศาสตร์ หรือสังขยศาสตร์ (นาทีที่ 22:23) ของปรัชญา ถ้าไม่อย่างนั้น เราจะโง่กว่าพวกคริสเตียน อื้ม, สละชีวิตเสีย แล้วจะได้ชีวิต เข้าใจไหม
อือ, จะทบทวนไว้อีกทีหนึ่งว่า ไอ้ชีวิตนี่มันหลายชั้น ชีวิตของพืช ต้นหญ้า ต้นบอน พืชพันธุ์นี้ มันก็มีชีวิต ชีวิตของพืช แล้วก็ชีวิตของสัตว์ เช่นสุนัข เช่นแมว เช่นนก เช่นอะไรต่าง ๆ ก็เป็นชีวิตของสัตว์ อื้ม, แล้วมาก็ถึงชีวิตของคน คนโง่ ๆ แล้วก็มีชีวิตของมนุษย์ ก็คือ คนที่มีใจสูง มีสติปัญญา อื้ม, นี้ก็ยังไม่ใช่ ชีวิตที่น่าสเน่หา ชีวิตอันสุดท้าย คือ ชีวิตของธรรม ชีวิตของพระธรรม หรือตัวพระธรรมนั่นแหละ เป็นชีวิต ไหนก็พูดถึงเรื่องคริสเตียนกันแล้ว ก็อยากจะพูดอีกเรื่องหนึ่ง ไอ้รูปภาพที่วางอยู่ตรงโน้น ไปดูกันเสีย นั้นแสดงชีวิตที่ดี ตามเรื่องในคัมภีร์ไบเบิ้ล เมื่อพระเยซูไปทำความเพียรอยู่ในที่สงัด ไม่ได้รับประทานอาหาร มานานหลายวัน หลาย ๑๐ วัน มารก็เข้ามาบอกพระเยซูว่า อ้าว, คุณเป็นบุตรพระเจ้าทั้งที ก็ต้องเสกก้อนหิน เหล่านี้ ให้มันเป็นอาหารขึ้นมาสิ เป็นขนมปัง พระเยซูก็ตอบว่า ชีวิตมิได้อยู่ด้วยขนมปัง ขนมปัง หมายถึง ข้าวปลาอาหาร แต่ชีวิตอยู่ได้ด้วยพระธรรมของพระเจ้า อื้ม, มันมองคนละแง่
ไอ้ความรู้สึกฝ่ายต่ำ มันมองข้าวปลาอาหาร เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต อื้ม, ชีวิตฝ่ายวิญญาณฝ่ายสูง มันมองธรรมะในฐานะ เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต คุณเป็นพวกไหน เออ, อื้ม, หรือว่ากำลังอยากจะมuชีวิต ชนิดไหน ก็ลองถามตัวเองดู ทดสอบตัวเองดู เรานี้ยังมีชีวิตสูงสุดที่กำลังจะพูดกันนี่ คือ ชีวิตของธรรม หรือมีธรรมะเป็น ชีวิต มีธรรมะเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต อะไรก็เกี่ยวกับธรรม อื้ม, ในทางฝ่ายจิต ฝ่ายวิญญาณทั้งนั้น
นี่ดูให้ดีอีกนิด ก็จะเห็นว่า อื้ม, การทำให้มีชีวิตนั่นแหละ คือ การงาน การทำให้มีชีวิตชนิดที่ว่านี้ นั่นแหละ คือ การงาน คือ การงานของชีวิต อื้ม, เลยพูดได้โดยหลักทั่วไป โดยหลักทั่วไปว่า ชีวิตมันคือ การงาน การงานนั้นคือ ชีวิต ถ้าปราศจากการงานแล้วชีวิตไม่มี ชีวิตทางโลก ๆ ก็มีการงานอย่างโลก ๆ อื้ม, ชีวิตสูงสุดทางวิญญาณ ก็มีการงานทางวิญญาณ เออ, ก็มีการงานทั้งอย่างต่ำ และอย่างสูง ทั้งอย่างวัตถุ และอย่างนามธรรม ทั้งทางกาย เออ, ทั้งอย่างทางกาย ทั้งอย่างทางจิต หรือวิญญาณ ชีวิต คือ การงาน เป็นอย่างนี้
นี้เครื่องมือ ที่จะวิเศษประเสริฐที่สุด มันก็คือ ชีวิต เอ้ย, ก็คือเครื่องมือที่ทำให้ การมีชีวิตของเรานี้ สมบูรณ์ เครื่องมือที่จะทำให้การมีชีวิตของเราสมบูรณ์ คือ ไปถึงจุดหมายปลายทาง อื้อ, มัน มันโดยเป็น เครื่องมือพิเศษ ที่ต้องสนใจกันให้ดี เมื่อพูดถึงเครื่องมือใน เออ, ที่นี้ เราหมายถึง สิ่งที่จะทำให้ชีวิตสมบูรณ์ อื้ม, การมีชีวิตสมบูรณ์นั้น คือ ยอดสุดของงาน ชีวิตที่สมบูรณ์ ให้บทนิยามว่า ถึงจุดหมายปลายทาง ของความรู้และการงาน อื้ม, คือ มันไปถึงจุดหมายปลายทาง ของวิชาความรู้ และการงาน นี่ก็คือ นิพพาน อื้ม, เลิกเข้าใจนิพพาน ว่าเป็นของครึคระกันเสียที
เออ, เลิกเข้าใจนิพพาน ว่าเป็นของอยู่ไกลสุดเอื้อม ไม่อยู่ในวิสัยที่เราจะพึงได้ กันเสียที อื้ม, รู้จักนิพพาน ในฐานะที่ว่า มันเป็นจุดหมายปลายทาง ของความรู้ และการงาน อื้ม, พวกคุณเป็นนักศึกษา ในมหาวิทยาลัยนี้ มันก็คลุกคลีระคนอยู่ด้วยความรู้ อื้ม, แต่เมื่อไรถึงที่สุดแห่งความรู้ทั้งหลายของมนุษย์ แล้วเมื่อนั้นถึงนิพพาน มันถึง อือ, ที่สุดของความรู้ ที่ปรุงเป็นการงาน มันก็เนื่องจากความรู้ พูดว่าความรู้ ก็พอ เพราะความรู้เพื่อการงานต่อไป การงานก็เพื่อผลของการงาน ที่สุดของความรู้ มันก็ไปอยู่ที่ที่สุดของ เออ, การงาน ก็คือผลของการงาน ในที่นี้เราเรียกว่า นิพพาน ภาวะที่ปราศจากความทุกข์ โดยประการทั้งปวง อื้อ, เป็นมนุษย์ผู้ถึงที่สุด ที่มนุษย์ควรจะไปให้ถึง เป็นมนุษย์ที่ได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ที่มนุษย์ควรจะได้รับ เครื่องมือวิเศษ มันทำให้มนุษย์เป็นอย่างนี้ รู้จักเครื่องมือ อ่า, ในลักษณะอย่างนี้
อื้ม, ทีนี้ก็ได้พูดมาแล้ว ตามลำดับ ว่าเราต้องการเครื่องมือ เครื่องมือนั้น เป็นเครื่องมือทางวิญญาณ เครื่องมือทางวิญญาณนั้น ก็คือ พระธรรม อื้ม, พระพุทธเจ้าเป็นผู้มอบให้ ซึ่งเครื่องมือนี้ เออ, แล้วเราจึงมี เป็นคู่มือ อื้อ, แล้วก็ฟันฝ่าไป ให้ถึงจุดหมายปลายทาง พระพุทธเจ้าเป็นผู้ให้เครื่องมือ เครื่องมือ คือ พระธรรม ผู้ใช้เครื่องมือ คือ พระสงฆ์ เป็นพระสงฆ์ที่กำลังใช้เครื่องมืออยู่ก็มี ใช้เครื่องมือสำเร็จแล้ว เสร็จเรื่องหน้าที่การงานไปแล้วก็มี สมมุติสงฆ์ เราเรียกกันอย่างนั้น น่าละอายมาก คือ กำลังไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เกี่ยวกับเครื่องมือ ใช้ก็ไม่เป็น เป็นสมมุติสงฆ์ สมมุติให้แต่เพียงว่าเป็นพระสงฆ์ เขาเรียกกันมาแต่เดิมอย่างนี้ มันมีเหตุผลที่จะเรียกอย่างนั้น อื้อ, ทีนี้ถ้าใช้เครื่องมือถูกต้อง อยู่จนกระทั่งใช้เครื่องมือสำเร็จแล้ว ก็เป็นพระอริยสงฆ์นี่ อื้ม, นี่ก็สมมุติสงฆ์ คือ พระสงฆ์ดิบ ๆ Raw Material ยังทำอะไรไม่ได้ เพราะมันผลิต เป็นไอ้ของสำเร็จ ทำความประสงค์ขึ้นมาแล้ว ก็เป็นพระอริยสงฆ์ ดังนั้นธรรมะนี้ มันก็จะผลิตคนที่ไม่เป็น พระสงฆ์ ให้เป็นพระสงฆ์ คนที่ไม่ดับทุกข์ให้มันดับทุกข์
นึกถึงพระรัตนตรัยในลักษณะอย่างนี้ สำหรับเรื่องที่เรากำลังพูด พระพุทธเจ้าเป็นผู้มอบให้ ซึ่งเครื่องมือ เพราะเครื่องมือ คือ พระธรรม พระธรรมเป็นเครื่องมือทำลายกิเลส และความทุกข์ เราทุกคนเป็นพระสงฆ์ รับเครื่องมือนั้นมา เพื่อจะใช้ ตามวัตถุประสงค์อันนั้น อื้ม, ถ้าเหลวไหล มันก็ไม่เป็น พระสงฆ์ แล้วก็ไม่มีพระพุทธเจ้า แล้วก็ไม่มีพระธรรม ก็เสียเวลาที่จะพูด ทำวัตรสวดมนต์อยู่ทุกเช้า ทุกเย็น ถึงพระพุทธ ถึงพระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งเราไม่มี และไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยเลย พูดแต่ปาก หลับตาพูดไปก็ได้ อื้ม, เหมือนกับนกแก้วนกขุนทอง เหมือนกับจานเสียง เปิดขึ้นก็ดังอย่างนี้
อื้ม, ทีนี้พระธรรมในฐานะเป็นเครื่องมือ เมื่อย้อนระลึกไปถึง ไอ้ที่พูดแล้ว่า ธรรมะมีหลายแง่ หลายมุม เดี๋ยวนี้เราจะพูดในมุมที่เป็นเครื่องมือ อื้ม, พระธรรมในฐานะเป็นปริยัติ มีตั้ง ๘๔,๐๐๐ ข้อ ไม่ใช่ ไม่ใช่น้อยนะ ๘๔,๐๐๐ ข้อ อื้อ, หรือ ๔,๐๐๐ ประเด็น ๔,๐๐๐ เอ้อ, ๘๔,๐๐๐ ความหมาย เราเลือกออกมาอัน แต่ที่เป็นเครื่องมือ ระบุชื่อเป็นธรรมะที่มีชื่อว่า พละ หรืออินทรีย์ ธรรมะที่มีชื่อว่า อิทธิบาท ธรรมะที่มีชื่อว่า เป็นโพชฌงค์ เป็นต้น ธรรมะที่เรียกว่า อินทรีย์ นี้คงจะแปลกหูสำหรับพวกคุณตามเคย ธรรมะที่มีชื่อว่า อิทธิบาท บางทีจะเคยได้ยิน ได้ฟังมาบ้างแล้ว ในวิชาศีลธรรม อื้ม, ส่วนธรรมะที่มีชื่อเรียกว่า โพชฌงค์ นั้นะ เห็นจะยังอยู่เลย พวกครูบาอาจารย์ชั้น เออ, ที่สมมุติว่าเป็นนักปราชญ์ยังพูดว่า โพชฌงค์นี้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับ ชาวบ้าน ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ธรรมดา อื้ม, นั่นเพราะไม่รู้จักโพชฌงค์ ในฐานะที่เป็นเครื่องมือ สำหรับคนทุกคน แม้แต่ชาวบ้าน แม้แต่จะทำไร่ทำนา จะได้เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย นั้นเราจะได้พิจารณากันต่อไป
อื้ม, ธรรมะที่ชื่อว่า พละ หรืออินทรีย์ ชื่อเป็นภาษาต่างประเทศ สำหรับคุณ มีอยู่ ๕ อย่าง คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา นี่ชื่อภาษาต่างประเทศ คือ ภาษาอินเดีย หรือภาษาบาลี นี่เรามาทำให้เป็นภาษาไทย ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ พละ แปลว่า กำลัง อินทรีย์ แปลว่า สิ่งสำคัญ หรือเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญ พละ แปลว่า กำลัง พละกำลัง หรืออินทรีย์ เรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญนี้ มีอยู่ ๕ ๕ ข้อ ศรัทธา ความเชื่อ, วิริยะ ความเพียร, สติ มีความระลึกได,้ สมาธิ ความเป็นสมาธิ, ปัญญา คือ ความรอบรู้, นี่เขาก็พูดกันอย่างนี้ เขาก็สอนกันอย่างนี้ ในโรงเรียนนักธรรมนั้น เขาให้ท่องไว้ ให้จำไว้ เสียมากกว่า ที่จะมองให้เห็นตัวจริงของมัน อื้ม,
ถ้าเราจะรู้จักไอ้สิ่งเหล่านี้ดี เราก็ต้องมองไปตัว เราจะต้องการเดินทางของชีวิต แล้วเอาอะไร จะเอาอะไรเป็นกำลัง เออ, สำหรับเดินทาง นี่เราจะเอาศรัทธา คือ ความแน่ใจ อือ, แล้วก็เอาไอ้วิริยะ คือ ความกล้าหาญ เอาสติ คือ ความที่รู้สึกตัว ลืมหูลืมตาอยู่เสมอ เอาสมาธิ คือ ความทรหด หนักแน่นมั่นคง แล้วเอาปัญญา คือ ความรอบรู้ ในเรื่องที่เรากำลังจะทำอยู่ อื้อ, คำแปลเหล่านี้ แปลโดยความหมาย ไม่ใช่แปล โดยตัวหนังสือ แปลโดยความหมายโดยตรง เพื่อให้พวกคุณเข้าใจได้ง่าย ๆ ทันที แล้วถูกตรงตัวจริงของมัน ว่าเพราะศรัทธา เออ, คือ ความแน่ใจ เชื่อตัวเอง ไว้ใจตัวเอง ที่เราเรียกสั้น ๆ ว่า ความแน่ใจ เราก็มีศรัทธาก่อน ก่อนที่จะทำอะไร จะเรียนหนังสือ หรือจะทำการงาน หรือจะทำอะไรก็ตาม โดยเฉพาะที่จะเดินทางไกล ต้องมีความแน่ใจ คือ ศรัทธา อือ,
แล้วต้องมีความเพียรกล้า มีความกล้า วิริยะนี่มันมีความหมายเป็นความกล้า อือ, ก็มีความเพียรที่กล้า กล้าหาญ ถ้าไม่กล้าแล้ว เรา เราจะทำอะไรได้ จะทำอะไรสัก อะไรก็ตาม เราต้องมีความกล้า ที่จะทำสิ่งนั้น ยิ่งเดินทางไกลในป่าในดง แล้วถ้าขี้ขลาดแล้วจะเดินไป อย่างไรได้ เราก็ต้องมี เออ, ความรู้สึกที่รอบคอบ ไม่สะเพร่า หรือที่เรียกว่า สติ ความรู้สึกตัว ความรู้สึกสุขุม รอบคอบ ไม่สะเพร่าอยู่เสมอ นี่เขาเรียกว่า สติ อื่อม เช่น ถ้าเราจะเดินไปในป่า ในดง ในทางไกลนี่ ต้องไม่ลืมตัว หรือเรียกว่าลืมตาอยู่เสมอก็ได้ คือ มันดูอะไรเห็นชัด รอบคอบอยู่เสมอ ไม่เผลอ ไม่โง่ ไม่ เออ, ฟั่นเฟือน นี้สมาธิ คือ ความทรหด อดทน ในทางใจ จิตเป็นสมาธิตั้งมั่น มีความทรหด เออ, ในความต่อสู้ ในการบากบั่น อย่างนี้เขา เรียกว่า สมาธิ ซึ่งการเดินทางไกลนี้ มันต้องทรหด หมายความว่า มีกำลังจิต สมบูรณ์เต็มที่ และอันสุดท้าย ก็คือ ปัญญา ฉลาดรอบรู้ ไม่ฉลาดก็ไปตายเสียตรงนั้น ตายเสียตรงกลางทางเดิน มันก็จะไปตายเสียมากที่นั่น ถูกหลอกลวงบ้าง หรือว่าถูกทำอันตรายบ้าง เขาฆ่าตายเสียบ้าง อือ, เพราะมันไม่มีปัญญา
ถ้าสมมุติว่า คุณจะเล่าเรียนให้จบปริญญามหาวิทยาลัย มันก็เหมือนการเดินทางชนิดหนึ่ง จะเป็น ทางกาย หรือทางวิญญาณ ก็คิดดูเองแล้วกัน แล้วการเล่าเรียนให้ถึงที่สุด ของหลักสูตรที่เราต้องการเรียน ก็เหมือนกับการเดินทาง นั่นคุณก็ต้องมีกำลัง ๕ อย่างนี้เป็นสิ่งสำคัญ มีความแน่ใจ มีความกล้าหาญ เออ, มีความสำนึกตนอยู่เสมอ ก็มีความทรหด ก็มีความรอบรู้ เกี่ยวกับการเรียน เกี่ยวกับวิธีเรียน เกี่ยวกับการ แก้ไขอุปสรรค เกี่ยวกับการเรียนโดยตรง มันก็สำเร็จนะ นี่เครื่องมือ ในฐานะที่เป็นกำลัง ผลักดันไปให้สำเร็จ ได้ ๕ อย่างนี้ ก็เรียกว่า กำลัง หรืออินทรีย์ อินทรีย์ แปลว่า เรื่องสำคัญหรือเรื่องใหญ่ พละ แปลว่า กำลัง
เรามีไอ้กำลังสำคัญ ครบทั้ง ๕ ประการแล้ว มันก็เรียนสำเร็จ การเรียนให้ได้รับปริญญานี้ มันก็เป็น ของง่าย ๆ กลัว กลัวแต่ว่าจะไปเหลวไหล อือ, แล้วไม่มีกำลังเหล่านี้ มันก็ยาก แล้วก็สอบตกแล้วตกอีก เพราะไม่มีกำลัง หรือเครื่องมือ ที่พระพุทธเจ้าได้ประทานไว้ อือ, นี่ลองไปปรับปรุงแก้ไขกันเสียใหม่ ในเรื่องส่วนการศึกษาเล่าเรียน อื้อ, แล้วก็เอาไปปรับปรุง สำหรับใช้ให้เต็มที่ ในเมื่อชีวิตนี้ มันจะเดินทาง ไปถึงจุดหมายปลายทางที่สุด ที่มนุษย์ควรจะไปให้ถึงได้ เป็นเรื่องทางจิตทางวิญญาณ อือ, นี่เรียกว่า กำลังเพื่อการเดินทาง เรียกว่า พละ หรืออินทรีย์ เป็นธรรมะ หมวด ๑ คือ กำลัง
ทีนี้ก็มาถึงหมวด อิทธิบาท มีชื่อว่าอิทธิบาท นี้เป็นเครื่องมือให้เกิดฤทธิ์ แปลตามตัวมันว่าอย่างนั้น อิทธิ มันแปลว่า ฤทธิ์ บาท มันแปลว่า รากฐาน หรือเครื่องให้งอกงามขึ้นมา อิทธิบาท แปลว่า เครื่องมือให้ เกิดฤทธิ์ขึ้นมา ฤทธิ์นี่คือ ความสำเร็จ หรือเครื่องให้เป็น ให้ถึงความสำเร็จ เรียกว่า ฤทธิ์ อิทธิบาท คือ ฤทธิบาท ฤทธิบาทแปลว่า รากฐานของความสำเร็จ เป็นเครื่องมือให้เกิดความสำเร็จ มีอยู่ ๔ อย่าง ก็คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ๔ คำนี้ ค่อยคุ้นหู เออ, หน่อย แล้วพูดกันอยู่บ่อย ๆ เราก็มีโอกาสที่จะได้ยิน แต่ว่าอาจจะยังไม่เข้าใจถึงที่สุด อือ, แม้แต่ความหมายของคำว่า อิทธิบาท เพื่อให้เกิดฤทธิ์ ความสำเร็จมาจาก อิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ฉันทะ แปลกันว่า พอใจ วิริยะ แปลว่า ความเพียร จิตตะ แปลว่า ความเอาใจใส่ วิมังสาก็ สอดส่อง ในโรงเรียนนักธรรม เขาแปลอย่างนี้ ก็ยังเป็นภาษา ที่ต้องการ อ่า, คำอธิบายอยู่อย่างนี้
นี่ผมจะแปลให้พวกคุณ ให้เป็นภาษาไทยมากกว่านั้น อือ, ฉันทะ แปลว่า ความสมัครจะทำ วิริยะ แปลว่า ความเพียรกล้า พยายามกล้า จิตตะ แปลว่า จดจ่อ วิมังสา แปลว่า วิจัย เพราะคำว่าวิจัย มันคุ้นหู พวกคุณในสมัยนี้มากอยู่แล้ว ใช้คำว่า วิจัย ก็แล้วกัน มันก็ตรงตามศัพท์ในภาษาบาลีด้วย วิมังสาในที่นี้ หมายถึง วิจัย ว่ากันอีกหนึ่งทีว่า ฉันทะมีความสมัครจะทำ วิริยะมีความเพียรกล้า จิตตะมีความจดจ่อ วิมังสา คือ มีการวิจัย อื้อ, ทีนี้ให้สังเกตว่า เดี๋ยวนี้เอาวิจัย มาไว้ข้างหลังสุดท้าย อาจจะมีคนค้านว่า โอ้, เดี๋ยวนี้เขาต้อง วิจัยก่อน เขาถึงจะทำ นั่นแหละ คือ ความไม่สำเร็จ ในหลักธรรมะนี้เราอยากจะพูดว่า ต้องมีวิจัยอยู่ตลอดเวลา วิจัยล่วงหน้า อื้อ, ครั้งเดียวนั้นยังโง่มาก ถ้าวิจัยสำหรับวางโครงการณ์แล้วได้ แต่ว่าเมื่อทำไปตามโครงการ กำลังทำอยู่ ก็ต้องวิจัยอยู่เรื่อย เพราะมีอุปสรรคอะไรเกิดขึ้นมา เรื่อยไปเลยตลอดเวลาเลย ดังนั้นวิจัยควรจะ ทำอยู่ตลอดเวลา และควรจะอยู่รั้งท้ายเสมอไป มันก็ต้องแก้ไขอุปสรรค ที่พบ เออ, ผุดขึ้นมาเป็นออก ดอกเห็ดนี้ เรื่อยไป
ครั้งแรกก็มีความสมัครจะทำ รักที่จะทำ รักการงานเป็นชีวิตจิตใจ ก็รักสิ่งที่จะต้องทำเดี๋ยวนี้ เป็นชีวิตจิตใจ อย่างนี้เรียกว่า ฉันทะ แปลล่า ความพอใจ ยิ่งกว่ารักกิน รักกาม รักเกียรติ พูดกันอย่างนี้ดีกว่า มีฉันทะ พอใจในสิ่งที่จะกระทำ และมีวิริยะ มีความกล้าหาญในการทำ คือ บากบั่น รุกหน้าเรื่อย แล้วมีจิตตะ จิตตะนี่ แปลว่า คิด คือ จดจ่อ คิดถึงอยู่เรื่อย เออ, ให้ ให้จิตมันกำหนดอยู่ที่นั่นอยู่เรื่อย เป็นการกำหนดจิต อยู่ที่นั่น แล้วก็มีการวิจัยอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราสมัครจะทำ ไอ้ ไอ้งานยากก็เป็นงานง่าย อือ, เดี๋ยวนี้รู้สึกอะไร มันจะยากไปหมด เพราะใจมันไม่สมัคร ใจมันขี้เกียจ ใจอยากมันจะเหลวไหล มันอยากจะไปเล่น ไปพักผ่อน แต่ใจพร้อมกันนั้น ใจก็อยากจะได้เงิน มันเป็น Conflict ที่ขัดขวางกันอยู่ในตัวเอง คนขี้เกียจ แสนจะขี้เกียจ มันก็ยังอยากได้เงิน แม้มันอยากได้เงิน มันก็ยังขี้เกียจ นี่คือ สิ่งที่ได้มีอยู่จริง
แม้ในหมู่นักเรียน นักศึกษา โดยเฉพาะที่มันบังคับตัวเองไม่ได้ นี้มันไม่มีฉันทะ คือ อิทธิบาทอันแรก มันมีแต่ปาก มีแต่หลอกพ่อแม่ว่าอยากเรียน แต่ใจจริงมันอยากเล่น อยากเป็นเจ้าชู้ อยาก อ่า, สำรวยสำราญ อะไรต่าง ๆ นี่ขาดฉันทะไปตั้งแต่ทีแรก เรื่องง่ายก็กลายเป็นเรื่องยาก เรื่องเล็กน้อยก็กลายเป็นเรื่องภูเขาเลากา เห็นว่าเรียน ๔ ปีนี่ ลำบากจะตายโหงอยู่แล้ว อือ, ถ้ามีอิทธิบาทแล้ว เรียน ๑๐ ปี ๒๐ ปีก็ของเล็กนิดเดียว อื้อ, ดังนั้นขอให้มีฉันทะ ให้ถูกต้องตามความหมาย ก็พูดได้ว่างานนั้นสำเร็จไปแล้วตั้งครึ่ง ถ้ามีความพอใจแท้จริง งานนั้นสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว ยังไม่ได้ลงมือทำเสียที อื้อ,
อ้าว, ทีนี่กล้า กล้าทำ พยายามทำด้วยวิริยะ นี้ เออ, มันก็หล่อเลี้ยงซึ่งกันละกัน ถ้ามีฉันทะ มันจะมี วิริยะ ฉันทะมันจะหล่อเลี้ยงวิริยะ ให้สนุกกับการทำ หรือกล้าในการทำ เดี๋ยวนี้เราไม่สนุกในการทำ ถ้าทำด้วย เออ, ความจำใจ หรือว่าไม่รู้จะทำอะไร ไอ้ความอยากได้เงินนั่นแหละ มัน มันจูงใจให้ทำ ไม่ใช่มัน รักการ รักงาน รักหน้าที่ แล้วจูงใจให้ทำ เพราะว่าเขาเป็นคนทำงานเพื่อเงิน ไม่ใช่ทำงานเพื่องาน ฉันทะ วิริยะมันมีอย่างหลอกลวง อย่างของกิเลส ไม่ใช่อย่างของพระธรรม เมื่อมีฉันทะอย่าง อ่า, เป็นธรรม อย่างวิริยะ อย่างเป็นธรรม มันก็ทำงานเพื่องาน นี่ความจดจ่อนี้มันก็สำคัญมาก อย่าดูถูกว่าเราเป็นผู้จดจ่อ เรามันยังเหลวไหลอยู่ หรือไม่จริง เรียนตามสบาย เออ, เรียนตามสะดวก หรือว่าทำไปตามสบาย ตามสบาย การจดจ่อมันมีน้อย น้อยคนที่จะมีความจดจ่อโดยนิสัยสันดาน เพราะมันยังทำได้จริงอีก มากกว่านั้นอีกมาก เท่าที่เราจริงอยู่แล้วนี่ยังน้อย ยังจริงได้ อ่า, มากกว่านั้นอีกมาก อื้อ, ไปวิจารณ์ตัวเอง ในเรื่องความจดจ่อนี่ ให้มันดูให้ดี
นี่ก็มาถึงวิจัย วิจารณ์วิจัยนี่ก็อย่างเดียวกัน วิจัยฉันทะ วิจัยวิริยะ วิจัยจิตตะของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ว่ามันจริงหรือยัง อือ, แล้วก็มาวิจัยอุปสรรคต่าง ๆ ที่มันเกิดขึ้น ทุกขณะที่เราทำ จะแก้ไขให้มันลุล่วงไป ได้อย่างไร ดังนั้นการที่เอาวิจัยมาอยู่ข้างหลัง ผมว่าถูกที่สุดแล้ว สมกับที่ว่า ครูของเราเป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง เห็นสิ่งทั้งปวง เอาวิจัยมาลากไว้ข้างท้าย หมายความว่า ต้องมีตั้งแต่ต้นจนปลาย คนเดี๋ยวนี้เขาจะวิจัยกัน ประเดี๋ยวประด๋าว เพื่อวางโครงการเท่านั้น แล้วก็ไม่มีวิจัยอีก นั่นแหละคือ ทางของความล้มละลาย อื้อ,
วิมังสา มันแปลว่า สอดส่องก็จริง กริยาก็คือว่า วิจารณ์ วิจัย ให้มันแจ่มแจ้ง ให้มันปราศจากความ เออ, คลุมเคลือ ปราศจากปัญหา ปราศจากอะไรอยู่เสมอ มันก็เหมือนกับผู้มีหน้าที่ แก้ไขอุปสรรคตลอดการ ตลอดเวลา ทำได้อย่างนี้ก็เรียกว่า มีหวังที่จะสำเร็จ สิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาทนี้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ต้องการ อะไรก็ได้ อย่าว่าแต่ไปโลกพระจันทร์ ต้องการความไม่ เออ, ไม่ตาย เออ, ตามกำหนดเวลา ที่มีชีวิตอยู่ สักกัปสักกัลป์หนึ่งก็ได้ จะพูดกันความหมายอย่างไรก็คิดดู แต่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้อย่างนั้น ถ้าใครคนหนึ่ง เกิดต้องการจะมีชีวิตอยู่สักกัป ๑ ก็ใช้เครื่องมือนี้ ที่เรียกว่า อิทธิบาท ทำให้มันถูก ทำให้มันเต็มที่ ทำให้มัน ให้มันถึงขนาดนั้น แล้วมันก็จะอยู่ได้ อือ, การค้นคว้า การแก้ไข การอะไรต่าง ๆ นี้ ทำให้มีชีวิตอยู่ได้ตั้งกัป ๑
แต่เดี๋ยวนี้เราไม่สามารถจะใช้อิทธิบาทนี้ เพราะฉะนั้นมันก็เลยอยู่ มี มี มีขึ้นไม่ได้ หรือว่ากัป ๑ กัลป์ ๑ จะมีความหมายทำนองว่า ทำประโยชน์ได้มากเท่ากับมีชีวิตอยู่กัป ๑ กัลป์ ๑ ก็ได้เหมือนกัน เรามีชีวิตอยู่อย่างมาก ๑๐๐ ปี แต่เราจะทำชีวิตนี้ให้มีค่า มีประโยชน์มาก เท่ากับว่าเรามีชีวิตอยู่ตั้งกัปตั้งกัลป์ ๑ ก็ได้ ด้วยอาศัยอิทธิบาทนี้ มันจะทำให้ทำอะไรมาก มากกว่าธรรมดา หลายร้อยเท่า หลายพันเท่า หลายหมื่นเท่า หลายแสนเท่า นี่คือ มีชีวิตอยู่ตั้งกัปตั้งกัลป์ อือ, ดูจากอิทธิบาทกันเสียบ้าง แล้วก็อย่าทำเล่น กับอิทธิบาท ที่แล้วมามันโลเล มันเหลาะแหละ เหลวไหล ทำเล่นกับอิทธิบาท เพราะฉะนั้นการเรียน ก็ไม่สำเร็จ การอะไรก็ไม่สำเร็จ การเดินทางของชีวิต ก็ไม่สำเร็จเพราะเหตุนี้ นี้เรียกว่า กลุ่มอิทธิบาท เครื่องมือให้เกิด ฤทธิ์ คือ ความสำเร็จ
ทีนี้เอามาอีกกลุ่มหนึ่ง กลุ่มที่ออกชื่อว่า โพชฌงค์ นี่ได้ยินว่าเป็น ภุชงค์ แปลว่า พญานาค โพชฌงค์ แปลว่า องค์แห่งโพชฌะ โพชฌะ (นาทีที่ 53:54) คือ เออ, ความรู้ หรือการตรัสรู้ ความรู้ที่ถึงขั้นสูงสุด เขาเรียกว่า การตรัสรู้ ไอ้ความรู้เด็กเล่น ความรู้อม เด็กอมมือ และครึ่ง ๆกลาง ๆ อย่างอย่างนี้ ไม่เรียกว่า โพชฌงค์ ไม่เรียกว่าโพชฌะ (นาทีที่ 54:13) ไม่เรียกว่าโพธิ โพธิ คือ โพชฌะ โพชฌะ (นาทีที่ 54:17) คือโพธิ โพชฌงค์องค์แห่งโพธิ นั่นคือ องค์แห่งความสำเร็จ สำเร็จ คือ มรรคผล มรรคผล คือ สำเร็จ สำเร็จมรรคผล สำเร็จโพธิญาณ อือ, นี่เราก็พูด ทำอะไร ให้สำเร็จ เป็นมรรค เป็นผล มรรคผลในที่นี้ก็คือ ความสำเร็จ นั่นเอง
ดังนั้นโพชฌงค์ ก็องค์แห่งความสำเร็จ สำเร็จของมรรคผล สำเร็จโพธิญาณ สำเร็จไปแต่ต้นจน ปลายเลย อือ, ที่ตรัสไว้ในพระคัมภีร์ พระบาลีโดยตรงนี่ สำเร็จโพธิญาณ สำเร็จมรรคผล แต่เดี๋ยวนี้เราเอา เอามรรคผล คำว่า มรรคผลนี้ มาใช้แม้แต่การงานทั่วไป ทำงานก็ทำให้เป็นมรรคเป็นผล ค้าขายก็ให้ เป็นมรรคเป็นผล ให้พรลูกหลาน ก็ทำอะไรให้เป็นมรรคเป็นผล หมายความว่า ให้มันสำเร็จ เมื่อต้องเอา มรรคผล มาเป็นสำเร็จ ทุก ทุกอันดับอย่างนี้ โพชฌงค์ก็ใช้ได้ทุกอันดับ เช่นเดียวกับเรื่องอิทธิบาทนั่นแหละ ใช้ทำนาก็ได้ ค้าขายก็ได้ ไปนิพพานก็ได้ เพราะฉะนั้นโพชฌงค์ก็เหมือนกันอีก ใช้ได้ทุกเรื่องทุกราว ดังนั้นธรรมะเหล่านี้ ที่ออกชื่อมานี่ พละก็ดี อินทรีย์ก็ อิทธิบาทก็ดี โพชฌงค์ก็ดี ใช้ได้ทุกกรณีของมนุษย์ นับตั้งแต่เรื่องปากเรื่องท้องจนไป จนถึงเรื่องจิต เรื่องทางวิญญาณ เรื่องมรรคผล นิพพาน ขอให้ฟัง ให้เข้าใจด้วย
โพชฌงค์องค์แห่งความสำเร็จ มีอยู่ตั้ง ๗ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา อ่า, ถ้ายังไม่เคยฟังเลย ก็ต้องจดต้องจำหัวข้อนี้ไว้ให้ดีว่า สติ แล้วก็ธัมมวิจยะ แล้วก็วิริยะ แล้วปัสสัทธิ เอ้อ, แล้วก็ปีติ ปีติแล้วก็ปัสสัทธิ แล้วก็สมาธิ แล้วก็อุเบกขา รวมเป็น ๗ ที่เขาแปลแล้ว สอนกันในโรงเรียนว่า สติ ความระลึกได้, ธัมมวิจยะ ความเลือกเฟ้นธรรม, วิริยะ ความเพียร, ปีติ ความอิ่มใจ, ปัสสัทธิ ความสงบ หรือความระงับ, สมาธิ ความเป็นสมาธิ, อุเบกขา ความวางเฉย, แปลออกมาตามตัวอย่างนี้ คุณก็จะงงไปหมด ว่าหมายถึงอะไรกันแน่ แล้วเกี่ยวข้องกันอย่างไร นี่ก็จะงง ๆ ไปหมด
นี่ผมจะแปลให้ใหม่ ค่อยฟังให้ดี ๆ จะว่าคำแปล ในลักษณะที่มันเกี่ยวข้อง หรือสัมพันธ์กันก่อน สติ บัญญัติคำแปลว่า รวบรู้ รวบรู้ คือ รวบรวมความรู้ทุกอย่าง มาระลึกนึกถึง มาทุกอย่างเลย ในบรรดาแง่ ของวิชาการ แง่ของความรู้ ลึกระลึกนึกมาให้หมด นี่เรียกว่า สติ ประหยัดถ้อยคำ ประหยัดเวลา ว่าให้รวบรู้ หรือรวบเอาความรู้มา แล้วธัมมวิจยะนี้ ก็แปลว่า เลือกเฟ้น คือ เลือกเฟ้นเอาแต่อันที่ เราจะใช้ประโยชน์ให้ได้ หรือว่าถ้ามันเกี่ยวข้องกันหลายอย่าง ก็เลือกว่าเราจะเอาอันนี้มาเป็นอะไร เอาอันนี้มาเป็นอะไร เอาอันนี้มาเป็นอะไรนี่
เพราะเมื่อก่อนนี้ได้พูดแล้วว่า ฮือ, ธรรมะทั้งหลาย นั่นเป็นวิชาความรู้ก็มี เป็นเครื่องมือก็มี เป็นทัพตะสัม ภาระ (นาทีที่ 59:10) Material ก็มี เป็นตัวการการทำงานก็มี เป็นผลงานก็มี เมื่อสติมันรวบรู้ รวบเอาความรู้มาหมดแล้ว ก็มาเลือกว่าอะไรเป็นอะไรตัว สัมภาระ ตัวอะไร อะไรเป็นตัวเครื่องมือ อะไรเป็น ตัววิธีทำ นี่ก็คือธรรมวิจัย (นาทีที่ 59:33) เลือกเฟ้นมา จัดมอบหมายหน้าที่ให้ ว่าอันนี้มันเป็นหน้าที่อันนี้ อันนี้มันเป็นหน้าที่อันนี้ แล้วก็เลือกหน้าที่ที่มันสำคัญที่สุด เลือกเรื่องที่เราจะทำ แล้วก็เลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ เครื่องมือต่าง ๆ ที่จะเอามาใช้ อื้อ,
ทีนี้ก็ถึง วิริยะ แล้วก็คือ ลงมือทำ ทำจริง มีความกล้าทำ มีความพยายามพากเพียร บากบั่นทำนี้ ที่ทำจริงนี้ เออ, มันทำระยะยาว มันทำยาก มันลำบาก มันต้องมีสิ่งหล่อเลี้ยง อื้อ, ให้มันทำไปได้ อันนี้ก็คือ ปีติ เรียกอีกทีว่า ความอิ่ม ความอิ่ม หมายถึง สันโดษ ดังนั้นทำได้เท่าไรมันอิ่มใจเท่านั้น ทำได้เท่าไรมันอิ่มใจ เท่านั้น นี่คือ ปีติ มันก็หล่อเลี้ยงความเหน็ดเหนื่อย ไม่ให้เหน็ดเหนื่อย เออ, หล่อเลี้ยงความเหลวไหล อ่า, หล่อเลี้ยงอะไรไว้เรื่อย คือ หล่อเลี้ยงวิริยะนั่นเอง เอ้า, พูดซ้ำอีกทีหนึ่ง ว่าผมอยู่ที่นี้ ใครมาถามว่า เมื่อไรตึกนี้ จะเสร็จ ผมบอกว่า มันเสร็จทุกวัน คุณไม่เห็นนี่ อือ, มันเสร็จทุกวัน เสร็จเป็นประจำวัน วันนี้เราต้องการทำ เท่านี้ก็ทำเท่านี้ เสร็จแล้วก็อิ่มอกอิ่มใจ มีกำลังใจสำหรับจะทำวันรุ่งขึ้น วันรุ่งขึ้นก็เสร็จอีก มันก็อิ่มอกอิ่มใจ สำหรับที่จะหล่อเลี้ยงจิตใจทำวันรุ่งขึ้น นี้มันอิ่มทุกวัน มันเสร็จทุกวัน นี่คือปีติ หรือสันโดษ ที่เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงวิริยะ
ที่คุณจะเรียนหลักสูตร ๔ ปี เมื่อคุณไม่รู้จักอิ่มทุกวัน คุณก็หิวเป็นเปรต คือ หิวต้องการสอบไล่ได้ นี่หิวอย่างเปรต แต่ถ้าคุณว่า ถ้าคุณรู้ความจริง ว่าเดี๋ยวนี้เรียนได้เท่านี้ วันนี้มันก็ได้เท่านี้ มันก็พอใจเพิ่มขึ้น ทุกวัน สำเร็จทุกวัน มันมีปีติทุกวัน มันก็เรียนไปด้วยความอิ่มอกอิ่มใจ ไม่มีความหิว ไม่มีความกระหาย ไม่มีวิตกกังวล ที่ทำให้นอนไม่หลับ ปีติ คือ ความอิ่ม อิ่มอะไรก็ตามนะ เรียกว่า เรียกว่า ปีติ ได้ทั้งนั้นแหละ แต่ในที่นี้ หมายถึง อิ่มใจ หล่อเลี้ยงวิริยะ ด้วยความพากเพียร ความกล้าหาญ นี้พอมาถึงขั้นนี้แล้วก็ เรียกว่า มันมี ความระงับ คือมันเข้ารูปเข้ารอย เมื่อก่อนมันยังเกะกะเก้งก้างกันอยู่ การงาน การกระทำ สติปัญญา วิชาอะไร มันเกะกะเก้งก้างขัดขวางกันอยู่ ถ้าคุณทำได้มาถึงขั้นนี้ คือ ขั้นที่ ๕ ที่เรียกว่า ปัสสัทธิ คือ มันเข้ารูป มันไม่ฟูฟุ้ง กระจัดกระจายอะไร มันเข้ารูป เข้ารูปแล้ว มันมีลักษณะอาการ เหมือนกับยุบลง เมื่อมันเข้ารูป เอาของเกะกะ ๆ หลาย ๆ อย่าง มาใส่กันลงไป เขย่าเข้า มันก็เกะกะ ๆ จนกว่ามันจะเข้ารูป มันก็ยุบลงไป นี่เขาเรียกว่า ปัสสัทธิ ความสงบระงับ นี่มันระงับเพราะมันเข้ารูป เข้ารอย เมื่อได้พยายามมาถึง ขนาดนี้แล้ว การเรียน หรือการงาน มันก็เข้ารูปเข้ารอย คือ มันพร้อมที่จะไปของมันเอง เรียกว่า ปัสสัทธิ
อื้อ, ทีนี้พอเข้ารูปอย่างนี้แล้ว เราก็ระดมกำลังอันสุดท้าย ที่เรียกว่า สมาธิ กำลังจิตอันมหาศาลนี้ ทุ่มลงไปเลย อย่าทุ่มที่ก่อนมันเข้ารูป อือ, มันยังไม่เข้ารูปไปทุ่ม มันก็แหลกละเอียด อ่า, เสียหายฉิบหายหมด เหมือนว่าเราจะ จะขับรถอย่างนี้ เมื่อ เมื่อว่าทุกอย่างมันเข้ารูปเข้ารอยแล้ว เราจึงจะเร่งน้ำมัน หรือเร่งอะไร มันถึงขนาด ให้มันไปเร็ว ๆ อือ, อย่าไปเร่งมันก่อน ก่อนวินาทีที่ควรจะเร่ง อื้อ, นี่เห็นไหม ว่าเอาสมาธิมาไว้ เกือบรั้งท้ายอย่างนี้ คนอาจ อ่า, คนโดยมาก อาจจะคิดว่าเอา ตั้งต้นด้วยสมาธิ โว้ย, นี่มันตรัสรู้ดีกว่า พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านเอาสมาธิมาไว้รั้งท้ายเลย ใน ๗ อย่างนี้ สมาธิมาอยู่ที่ ๖ พอระดมทุ่มเทกำลัง หมดเต็มที่แล้ว
เอ้า, ทีนี้ก็ถึง อุเบกขา คือ เฉย ทีนี้คำว่า เฉยนี้ มีความเข้าใจผิดกันลิบลับเลย ยิ่งไม่เคยเรียนบาลี ไม่เคยเรียนนักธรรม มักจะเข้าใจคำว่า อุเบกขานี่ผิด คือไปเข้าใจเสียว่า เฉยไม่ทำอะไร คล้ายจะ คล้ายจะเลิกกันอย่างนั้น คำว่า เฉย ในที่นี้ก็หมายความว่า เมื่อทุกอย่างมันเข้ารูป แล้วเราก็ใช้กำลังลงไป หมดแล้ว ก็รอดูอยู่เฉย ๆ มันเดินไปเรื่อย เมื่อเรานั่งดูอยู่เฉย ๆ มันเดินไปเรื่อย เราจะทำอะไรดีกว่านั้นได้ เพราะมันต้องการเวลา ทุกอย่างต้องการเวลา คุณจับรูปของการศึกษาเล่าเรียนให้เข้ารูป และทุ่มเทกำลัง ทั้งหมดแล้ว มันก็ปล่อยมันไปทั้งอย่างนั้นแหละ คือ ทำไปอย่างนั้นนั่นแหละ คือเรียกว่า เฉย เมื่อทุกอย่าง เออ, เข้ารูปเข้ารอยแล้ว
ถ้าเป็นตัวอย่าง ของการขับรถ ในตอนนี้นะ เมื่อถนนมันก็เข้ารูปเข้ารอยแล้ว ไอ้รถของเราก็เข้ารูป เข้ารอยกัน จัดกันทำกัน ควบคุมรถก็เข้ารูปเข้ารอยแล้ว มันก็ถือเชือก คือ ถือพวงมาลัยเฉย ๆ สมัยก่อนเขาใช้ รถม้าไม่มีรถยนต์ เมื่อม้าก็เข้ารูปแล้ว ถนนก็เข้ารูปแล้ว รถก็เข้ารูปแล้ว อะไรก็เข้ารูปกันแล้ว สารถีก็เพียงแต่ ถือเชือกเฉย ๆ ม้าก็พารถไป นี่ก็เหมือนกัน ชีวิตนี้มันเหมือนกับรถ เมื่อทุกอย่างเข้ารูปแล้ว ก็ถือเชือกเฉย ๆ ไอ้ชีวิตก็เป็นอย่างตัวมันเอง เราเกือบไม่ต้องทำอะไรแล้ว เพราะทำมามากแล้ว ทำมาจนถูกต้องแล้ว อื้อ, นี้องค์แห่งความสำเร็จ อันสุดท้าย คือ เฉย ฟังดูน่าประหลาด แต่มันเฉยเมื่อถูกต้องหมดแล้ว ก็ปล่อยให้ไป ตามความต้องการเวลา ทุกอย่างต้องการเวลา
นี่พูดด้วยอุปมา มันก็เป็นอย่างนี้ อุปมา คือ เรื่องเอามาเปรียบเทียบ อุปไมย คือ ตัวเรื่องจริง เรื่องจริง ของเรา คือ จะให้ชีวิตเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทาง นี้เขาเรียกว่า ตัวเรื่อง คือ อุปไมย อุปไมย คือ เรื่องที่ควรจะอุปมา นี้ตัวอุปมา นั้นเอาไอ้ของมาเปรียบเทียบให้ดูเป็นตัวอย่าง นี่เราจะไปนิพพานอย่างนี้ อุปมาเหมือนกับการขับรถไปก็ได้ ทีนี้อุปมาเหมือนการทำนาก็ได้ อุปมาเหมือนการค้าขายก็ได้ อุปมาเหมือน ปีนยอดเขา อุปมาเหมือนรักษาโรคก็ได้ คุณเป็นหมอคงจะเข้าใจดี รักษาโรคทางกาย อือ, แล้วในที่สุดอุปไมย ก็คือ การรักษาโรคทางวิญญาณ ก็จะเป็นไปได้ เข้าใจได้ อื้อ, ถ้าเราจะขับรถม้า หรือรถยนต์ก็ตามเถอะ มันเหมือน ๆ กันนะในส่วนนี้ โพชฌงค์ ๗ ในการที่จะขับรถนี้ มันก็คือว่า นึกดูให้ดี สติ เลือกดูให้ดี ให้รอบคอบ จะใช้ม้าอย่างไร ใช้รถ ใช้วิธีการอย่างไร มานึกให้รอบคอบเสียก่อน นี่มันเป็นสติ แล้วธัมมวิจยะ ก็เลือกเอาที่ดี ที่ ที่ถูก แล้ววิริยะ ก็คือ ทำมันลงไป คือ เรื่องการขับรถนี้ อื้อ, มันก็มีความพอใจในการกระทำ ปลุกปล้ำกันไป เดี๋ยวมันก็เข้ารูปเข้ารอยกันกับถนน กับไอ้ทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วก็เฆี่ยนม้าให้มันวิ่งเต็มที่ หรือว่าต้องเร่งน้ำมันรถยนต์ ให้มันวิ่งให้เต็มที่ พอปล่อยเฉย เดี๋ยวมันก็ถึงตามเวลา
อื้อ, นี่ถ้าเปรียบกับการทำนา พ่อแม่ของเราชาวนา เรานึกถึงพ่อแม่ของเรา ก็นึกถึงการทำนา สติมันก็ เลือก เลือกที่นา เลือกพันธุ์ข้าว เลือกเวลา เลือกฤดู เลือกอะไรต่าง ๆ มารวบรวมมาดู มารวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ มาดู นี้เป็นหน้าที่ของสติ อื้อ, แล้วก็วิริยะมันก็เลือก เพราะมันรวบมา แล้วนี่มันก็เลือกเอาที่ถูกต้องที่สุด ที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด แล้วก็ทำ คือ วิริยะ แล้วก็ปีติ คือ อิ่มอกอิ่มใจอยู่ทุกนาที ในการที่ได้ทำ ไม่เบื่อหน่าย ไม่ระอา เดี๋ยวมันก็เข้ารูป เป็นปัสสัทธิ นี้ก็ระดมทุ่มเทกำลังทั้งหมด แล้วก็ปล่อยเฉย กว่าต้นข้าวจะออกรวง ทำอย่างนั้นอยู่เสมอ คือนี้เรียกว่า เฉย จนกว่าต้นข้าวจะออกรวง จะเก็บจะเกี่ยว นี่จะถ้าค้าขายก็อย่างเดียวกัน อีกนั่นแหละ มันต้องเลือก ต้องคิด ว่าจะค้าขายอะไรที่ไหน เวลาอะไร อุบายอย่างไร มันมีกี่อย่าง เป็นข้อมูล ต่าง ๆ แล้วก็มาเลือก เลือกแล้วก็ทำ อยู่ด้วยความอิ่มอกอิ่มใจ มันก็ค่อย ๆ เข้ารูป ไม่กี่เดือนไม่กี่ปี การค้าของเราก็จะเข้ารูป เพราะว่าระดม ทุ่มเท ทุน ทุนรอนอันสุดท้ายก็ลงไปแล้ว แล้วก็ปล่อยมันไปเรื่อย มันก็เป็นเศรษฐีได้ อื้อ, นี่เรียกว่า ใช้โพชฌงค์ในการ อ่า, การทำการค้า อื้อ,
ทีนี้จะเปรียบไปอีกทางว่าปีนยอดเขา นี้มันเป็นเทคนิคอีกอย่างหนึ่ง คือ ว่ามันจะ เออ, ต้องใช้ อ่า, ความพยายามมาก เพราะว่ามัน มันฝืนธรรมชาติ ธรรมชาติมันดึงดูดลง ไอ้เรามันต้องการจะขึ้นไปข้างบน ฝืนธรรมชาติ มันก็ยิ่งต้องการเทคนิคมาก มันก็ต้องอย่างเดียวกันอีกนั่นแหละ เลือก เออ, เลือกว่า ด้านไหน ทิศไหน เวลาไหน อะไร ๆ ได้กี่อย่าง แล้วก็มาเลือกเอาอย่างดีที่สุด แล้วก็ปีนอย่างนั้น เหงื่อไหลไคลย้อยอยู่ ก็อิ่มอกอิ่มใจอยู่ ทำมันอย่างนี้ จนกว่ามันจะเข้ารูป เป็นของง่ายแล้วก็ เอาใหญ่ละ ปีนไปเรื่อย มันก็จะถึง
ทีนี้เป็นหมอรักษาโรค โรคทางร่างกาย ทางฟิสิกส์อย่างนี้ มันก็สติ คนไข้นี้มาแล้ว มันก็มีสติที่จะ ประมวลข้อมูลต่าง ๆ ดู แล้วก็เลือก แล้วก็ลงมือทำ แล้วพอใจ คือ มีใจคอปกติ และพอใจอยู่เสมอ อย่าขลาด อย่ากลัว อย่างก ๆ เงิ่น ๆ อย่าอวดดี อย่าประมาท อะไรต่าง ๆ เดี๋ยวมันก็มีความพอใจอยู่เรื่อย เดี๋ยวก็มันเข้า อ่า, เข้ารูปเข้ารอย การรักษาโรคนั้น มันจะเข้ารูปเข้ารอย ก็ทำให้มันเต็มที่ สุดที่จะทำได้ รอไปกว่าโรคจะหาย ไม่รู้กินเวลากี่ชั่วโมง กี่วัน มันก็รอได้ คอยได้
นี้โรคทางวิญญาณก็เหมือนกันแหละ อื้อ, ก็ใช้โพชฌงค์ ๗ แก้ไขโรคทางวิญญาณ ของตัวเองก็ตาม ของเพื่อนของตาม นี้อย่าเป็นคนใจแคบ อย่านึกถึงแต่ตัวเอง นึกถึงเพื่อนมนุษย์ทั้งหมดด้วย การรักษาโรค ทางวิญญาณนี้ มันไม่ต้องใช้วัตถุอะไรมากมาย มันนึกถึงได้ มันช่วยเขาได้ จะแก้ไขโรคทางวิญญาณของเรา หรือของเพื่อน มันใช้หลักการอันเดียวกัน เมื่อเรารู้จักแก้ไขของเราแล้ว เราก็ช่วยแก้ไขของเพื่อนได้ โดยอาศัย หลักโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ สติระลึกถึงธรรมทั้งหลายทั้งปวงมา เหมือนกับข้อมูลทั้งสิ้น ธัมมวิจยะ ก็เลือก ส่วนที่มันถูกต้องกับเรื่อง เป็นกรณี ๆ ไป แล้วก็ระดมความพากเพียร ความพยายาม ความกล้าหาญ แล้วหล่อเลี้ยงมันไว้ด้วยปีติหรือสันโดษ ก็อิ่มอกอิ่มใจ ส่วนที่ทำได้ขึ้นมา ทำได้ขึ้นมาทีละนิด ๆ จนมันเข้ารูป แล้วก็ทุ่มเทกำลังจิต คือสมาธิหนักขึ้น ๆๆ ก็ปล่อยความเป็นอย่างนั้น ให้มันเป็นไปในตัวมันเอง ก็บรรลุมรรคผล นิพพาน คือ ความไม่มีในโรคทางวิญญาณ ตัวเราทำอย่างไร ทำได้สำเร็จแล้ว ก็แนะนำผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่นให้เขาทำของเขาเอง อื้อ, นี่อุปไมย คือ เรื่องที่เรา เออ, เอาเป็นตัวเรื่อง เข้าใจได้ด้วยอุปมา เหมือนอย่างว่า ขับรถ หรือทำนา หรือค้าขาย หรือปีนภูเขา มันใช้ระบบเทคนิคนี้ ใช้พละ ๕ อินทรีย์ ๕ เป็นตัวกำลัง ใช้อิทธิบาทเป็นเครื่องมือ ให้เกิดฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ใช้โพชฌงค์ อ่า, ให้เป็นองค์แห่งความสำเร็จ ธรรมะเพียง ๓ หมวด อื้อ, ก็ถมไปแล้วสำหรับที่จะเดินทาง
นี่สรุปความว่า เรามีเครื่องมือวิเศษ ได้รับมาจากพระศาสดาของเรา เพื่อใช้ในทุกหน้าที่การงาน แล้วแต่ใครจะมีหน้าที่การงานอะไร ก็ของทุกคน ทุกชนิด ทุกระดับ และทุกโรค ภาวนาถึงพระศาสดาของเรา เป็นนายแพทย์ผู้เยียวยารักษาโรคของสัตว์โลกทั้งปวง คือ ทุกโรค เรื่องโรคนี้อะไร มีกี่โรค ก็อธิบายกันแล้ว วันก่อน เครื่องมือนี้ใช้แก่ทุกโรค ใช้ในทุกโรคและในทุกระดับ ในทุกชนิด ในทุกบุคคล ในทุกหน้าที่การงาน เรียกมันสั้น ๆ ที่สุด คอยฟังให้ดีว่า ธรรมที่สมควรแก่ทำ เครื่องรางที่ศักดิ์สิทธิ์ ธรรมะที่สมควรแก่ทำ ไอ้คนมันสะเพร่า มันอวดดี มันประมาท พูดว่า ธรรม ธรรม ธรรมเฉย ๆ แล้วเอามามากมาย แล้วก็ใช้อะไร ไม่ได้ มันไม่เข้ารูปกัน มันไม่สมควรแก่ธรรม (นาทีที่ 01:16:15 )
อื้อ, คุณควรจะนึกถึงคำว่า เทคนิค กับเทคนิค เทคนิค คือ วิชาการ เทคนิค คือ วิธีการ (นาทีที่ 01:16:45) วิชาการกับวิธีการมันไม่เหมือนกัน ไอ้วิชาการเราเลือกมาให้มากก็ได้ แต่วิธีการมันเหลืออันเดียว ต้องสมบูรณ์ด้วย วิชาการและวิธีการ เหมือนพระพุทธเจ้า สมบูรณ์ด้วยวิชา และจรณะ วิชาคือมันเทคนิค (นาทีที่ 01:17:20) คือวิชาการ จรณะ คือ เทคนิค(นาทีที่ 01:17:22) คือ วิธีการที่ทำมันลงไป เรามีวิธีการ เอ้อ, วิชาการมากมาย หลายชนิด เพื่อความครบถ้วนในฝ่ายวิชาการ แล้วก็มีเทคนิคเฉพาะอันเดียว อันเดียว อย่างเดียว เรื่องเดียว อย่างเดียวนี้ ที่จะทำให้สำเร็จ นี่ธรรมะที่สมควรแก่ทำ
เดี๋ยวนี้คนมันอวดดี มันไม่ดูตาม้าตาเรือ มันได้ธรรมะที่ไม่สมควรแก่ทำ สมควรแก่ทำนั้นมันคือ สมควรแก่เรื่องนั้น และสมควรแต่บุคคลนั้น เราได้ธรรมะที่เป็นเครื่องมือมา แต่ไม่เหมาะสมแก่เรา หรือได้ธรรมะมาเฟ้อไปหมด ซ่า เออ, พร่าไปหมด ไม่สมควรแก่ทำ ดังนั้นเราต้องมี เออ, วิชาการ ที่ถูกต้อง แก่วิธีการ มีวิชาที่ถูกต้องแก่วิธี แล้วมันถึงจะเป็นเทคนิค มีทั้งวิชาการมีทั้งวิธีการ แล้วก็ทำไอ้วิชาการ ให้มันถูกตรงกับวิธีการ เรื่องเดียว อย่างเดียวที่เราจะทำ นี่เขาเรียกว่า ธรรมานุธรรม สติปัฏฏิ ธรรมานุธรรม สติปัฏฏิ (นาทีที่ 01:18:44) สติปัฏฏิ แปลว่า การกระทำ ธรรมะ แปลว่า ทำ อนุธรรมะ แปลว่า สมควรแก่ทำ ธรรมานุธรรม สติปัฏฏิ(นาทีที่ 01:18:57) ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ทำ นี่คือเครื่องมือ
ลองปฏิบัติ อ่า, พละ อินทรีย์ อิทธิบาท โพชฌงค์ให้ถูกต้องตาม อือ, เทคนิค มันก็จะเป็น การปฏิบัติธรรม ที่สมควรแก่ทำขึ้นมาทันที ถ้าถามว่าเครื่องมือคืออะไร โว้ย, ก็บอกว่า ธรรมที่สมควรแก่ทำ นี่คือเครื่องมือ เรามีเครื่องมือมาก มีขวาน มีพร้า มีสิ่ว มีฆ้อน มีอะไรมาก แต่อันไหนมันสมควรแก่การงาน อื้อ, นี่เรามีเทคนิค มาก แต่อันไหนที่เป็นเทคนิคโดยเฉพาะ นั่นและคือธรรมที่สมควรแก่การทำ และเป็น เครื่องมือให้สำเร็จ โดยง่ายที่สุด โดยเร็วสุด ประเสริฐที่สุด ในพระพุทธศาสนา ที่จะรักษาโรคทางวิญญาณ ของตัวเองและผู้อื่น เดินตามรอยพระศาสดา ซึ่งเป็นอาจารย์ของเรา เครื่องมือวิเศษสำหรับทุกคน คือ ธรรมะที่สมควรแก่ทำ อย่างที่ได้อธิบายมานี้ นาฬิกาก็คงหยุดนะ แต่นกมันบอกว่าหมดเวลา