แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๑๔ สำหรับพวกเราที่นี่ ได้ล่วงมาถึงเวลา ๔.๓๐ น. แล้ว ในครั้งที่ ๗ ของการบรรยายนี้ จะได้กล่าวโดยหัวข้อ ว่าสภาพจิต ที่เหมาะสมแก่การงาน ในทุกกรณี นับว่าเป็น เรื่องที่ ๓ ของสิ่งที่ เป็นการเยียวยารักษาโรค ทำไมถึงได้พูดเรื่องนี้ โดยหัวข้อนี้ ความมุ่งหมายก็คือ จะให้สิ่งที่เรียกว่า การนับถือศาสนานั้น เป็นจริงเป็นจังยิ่งขึ้นไปอีก เกี่ยวกับการรับนับถือศาสนานั้น เรื่องแรกเราก็ได้พูดถึง เรื่องสรณะคมน์ เรื่องที่ ๒ ได้พูดถึงเรื่องศีล เรื่องที่ ๓ นี้ก็คือเรื่อง สมาธิ นักศึกษายังไม่รู้จัก หรือยังไม่ค่อยจะรู้จัก หรือถึงกับยังเข้าใจผิดอยู่ ในเรื่องอันเกี่ยวกับสมาธิ นี้ก็เป็นข้อหนึ่งในเหตุผล ที่เราจะต้องพูดกันถึงเรื่องนี้
สมาธินั้นมันจำเป็นแก่ทุกคน ในทุกกรณี แม้ว่าคนเหล่านั้น จะไม่รู้สึก หรือไม่รู้จักสิ่งเหล่านี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องพูด ให้เป็นที่เข้าใจ นักศึกษาบางคน พอได้ยินคำว่า สมาธิ ก็มีความรู้สึก ว่าเป็นเรื่องในวัดในวา ครึคระไปอีกตามเคย มันมีมูลเหตุมาจากความไม่เข้าใจของมันเอง ดังนั้นขอให้เข้าใจเสียให้ถูกต้อง ก็คือเลิกทำจมูกย่น กับเรื่องเหล่านี้
ขอให้นึกถึงคำว่า จำเป็นแก่ทุกคน ในทุกกรณี มีไว้ให้เสมอ และในฐานะเป็นเครื่องเยียวยา รักษาโรคนั้น เราจะต้องไหว้ครูไว้เสมอ คือระลึกนึกถึง หรือท่องบ่นมนตรา นี่ว่าสัพพัญญู สัพพะ ทัสสาวี ชิโณอาจรีโย มะมะ มหากรุณิโก สัตถา สัพพะโลกะ เตกิจฉะโก (นาทีที่ 4.24) นี้ไว้เป็นประจำ ว่าอาจารย์ของเรานั้น เป็นผู้เห็นสิ่งทั้งปวง อ่า, เป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง เป็นผู้ชนะมารแล้ว เป็นผู้สั่งสอนที่มีกรุณาใหญ่ เป็นผู้แก้ไขเยียวยาโรค ของสัตว์โลกทั้งปวงดังนี้
พระพุทธเจ้า คือ นายแพทย์ใหญ่ผู้นี้ แล้วก็เป็นบรมครู ของบุคคลทุกคนที่จะตั้งตัวเป็น แพทย์ เออ, เหมือนพวกคุณทุกคน ที่เป็นนักเรียนแพทย์อยู่ ก็ต้องรู้จักเยียวยารักษาโรค ของโรค ทั้งทางกาย และทางจิต และทางวิญญาณ จึงจะปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ผลดี เพราะฉะนั้นเราจะได้ พูดกันถึงเรื่อง สิ่งที่เรียกว่า สมาธิ โดยเรียกชื่อมัน ว่าสภาพของจิตที่เหมาะสมแก่การงาน ของคนทุกคน ในทุกกรณี ที่เราเรียกอย่างนี้ เราเรียกโดยเอาผลของมันเป็นหลัก ประโยชน์อานิสงส์ ของมันมาเป็นหลัก แล้วก็ตั้งชื่อให้เป็นบทนิยาม ที่ฟังรู้เรื่อง แล้วก็ชวนให้สนใจ ชวนให้เลื่อมใส และชวนให้อยากจะปฏิบัติ ว่าสมาธินั่นคือ สภาพของจิตที่เหมาะสมแก่การงาน ของคนทุกคน ในทุกกรณี
สำหรับสิ่งที่เรียกว่า สมาธินั้น หมายถึง ภาวะของจิต หรือสภาพของจิต ที่อยู่ในลักษณะ ที่เรียกว่า เป็นสมาธิ นี้พวกคุณบางคน อาจจะมีความรู้สึกนึกไปทางว่า มันนั่งนิ่งตัวแข็งไป หรือเป็นจิตที่หยุดนิ่งอยู่ที่อารมณ์ หรือความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ถ้ามีความรู้สึกอย่างนี้ ความเข้าใจอย่างนี้ ก็เรียกว่ามันยังถูกนิดเดียว ถูกน้อยเกินไป ดังนั้นจงจดจำให้แม่นยำ ว่าคุณลักษณะ ของจิต ที่เป็นสมาธินั้นมีอยู่ ๓ ประการด้วยกัน คือ ปาริสุทโธ จิตนั้นกำลังสะอาดหมดจด จากสิ่งที่ สกปรกเศร้าหมอง ซึ่งรบกวน แล้วก็ ๒ สมาธิโต จิตนั้นตั้งมั่นแน่วแน่มั่นคง ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ มีกำลังมาก แล้วก็ ๓ กัมมนีโย (นาทีที่ 07:54) จิตนั้นมีลักษณะว่องไว แคล่วคล่อง เหมาะสมแก่ หน้าที่การงาน ที่จะต้องทำ
นี่ลองพิจารณาดูเถอะว่า มันจะนั่งตัวแข็งอยู่ได้อย่างไร หรือว่าไม่รู้สึกคิดนึกอะไรบ้าง อย่างไร ในเมื่อมันมีความบริสุทธิ์สะอาด มีความตั้งมั่น แล้วก็มีความว่องไวในหน้าที่ นี่เป็นบทบัญญัติในภาษาบาลี ที่มีอยู่อย่างนี้ แล้วเขาไปเข้าใจว่า มันหยุดนิ่งตัวแข็งไป นั้นมันก็ว่าเอาเอง จริงอยู่ การอยู่ในสมาธิบางอย่าง บางคราว หรือด้วยความมุ่งหมายบางอย่างนั้น เขาอยู่ในลักษณะที่สงบนิ่ง เหมือนก้อนหินก็มีเหมือนกัน ถ้าต้องการอย่างนั้น เพื่อประโยชน์อะไร บางสิ่งบางอย่าง แต่ว่าในความหมายทั่วไปนั้น สมาธินั้น คือ จิตที่เหมาะสมแก่การงาน เขาจะเรียก อย่างเดียว ว่าจิตที่เหมาะสมแก่การงาน ของคนทุกคน แล้วก็ในทุกกรณีด้วย
นั้นอย่า อย่า อย่าลืมไปว่า คำว่าทุกกรณีนั้น แม้ในกรณีที่ผิด ที่ทุจริตของพวกโจร หรือของ พวกคนพาล อ่า, เขาก็ใช้สิ่งที่เรียกว่า สมาธินี้เหมือนกัน พวกยักษ์ พวกมาร จะเหาะเหินเดินอากาศ หรือแสดงฤทธิ์ปาฏิหาริย์ได้ มันก็ต้องใช้ไอ้ฤทธิ์ ที่มาจากสมาธินี้เหมือนกัน ไม่กล่าวถึงสิ่งซึ่งสุจริต ถูกต้อง หรือเป็นธรรม ก็แปลว่าสมาธินี้มันใช้ได้ในทุกกรณีอย่างนี้ แก่บุคคลทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพาล หรือจะเป็นบัณฑิต แต่ถ้าเป็นสมาธิ ที่เราใช้อย่างเป็นพาล นั้นเขาก็เรียก มิจฉาสมาธิ ถ้าใช้ให้ถูกต้อง เพื่อประโยชน์แก่คนทุกคน แล้วก็เรียกว่า สัมมาสมาธิ ซึ่งในอริยมรรคมีองค์ ๘ จึงระบุ สัมมาสมาธิ เป็นองค์สำคัญ เป็นองค์สุดท้าย ยังมีคำว่า สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธินี่ มีคำว่า สัมมากำกับอยู่ เดี๋ยวนี้เมื่อเราพูดถึง สมาธิเฉย ๆ ในกรณีอย่างนี้ ก็หมายถึง สัมมาสมาธิ ไม่ใช่มิจฉาสมาธิ แต่เอามาพูดให้ฟังให้รู้ว่า มันจำเป็นแก่ทุกคน ในทุกกรณี ในหน้าที่การงาน ดังนั้นขอให้เข้าใจสมาธิ ในความหมายอย่างนี้ แล้วก็จะถูกต้องหมด
ทีนี้ก็อยากจะชี้ให้ดู ถึงลักษณะของสมาธิ ที่มันซ้อนเร้นอยู่บางอย่าง โดยจะแบ่งสมาธิ ออกเป็น อ่า, ๒ ประเภท คือ สมาธิที่เป็นไปเองตามธรรมชาติ และสมาธิที่เราอบรม หรือฝึกฝน ให้มันเกิดขึ้นมา สมาธิที่เป็นไปเองตามธรรมชาตินี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สมาธิที่อาภัพอับโชค คือ คนไม่ค่อยเห็นมัน ไม่ค่อยรู้จักมัน ไม่ค่อยให้คุณค่าแก่มัน เขาเรียกคนอาภัพมีความดี มีความชอบมาก แต่ไม่ค่อยมีใครเห็น ไม่มีใครรู้จัก ไม่มีใครยกย่อง นี่คือ สมาธิตามธรรมชาติ มีเองตามธรรมชาติ ถ้าเราไม่มีสมาธิตามธรรมชาติ เราก็จะเป็นคนเคลิ้ม ๆ เป็นคนเลื่อนลอย คือ เป็นคนที่ทำอะไร เหมือนศพ ไม่มีสติสมปฤดีอย่างนั้น
ทีนี้สมาธิตามธรรมชาตินี้มันมีอยู่ เพราะฉะนั้นเราจึงมีความจำ มีความตั้งใจ มีความคิด ที่รุนแรงอะไรได้ พอเราตั้งใจจะทำอะไร สมาธิก็เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ในสัดส่วนที่สมควรกัน ไม่มาก ไม่น้อย ถ้าใครมีดี มีสมาธิดี ก็ทำได้ดี เด็กลูกเล็ก ๆ ของเราได้เรียน ก. ข. ก. กา ถ้าเด็กสมัยนี้ มีสมาธิดีเป็นพิเศษตามธรรมชาติ มันก็จำได้เร็ว บอกทีเดียวก็จำได้ แล้วเด็กลูกเล็ก ๆ ของเรามาเรียน เลข มาคิดเลข เด็กสมัยนี้สมาธิดี มันก็คิดได้ดี แล้วลูกเด็ก ๆ สมัยหนึ่ง ที่ยิงหนังสติ๊ก ถ้ามันมีสมาธิดี ตามธรรมชาติ มันยิงกันแม่น กว่าไอ้เด็กที่มันไม่มีสมาธิ ตามธรรมชาติมากพอ อย่างผู้ใหญ่จะยิงปืน หรือว่าจะทำอะไร มันก็เหมือนกันอีก หรือว่าการที่เป็นผู้ใหญ่มาก มีหน้าที่รับผิดชอบมาก จะคิดนึก ตัดสินใจ วิ วิพากษ์ หรืออะไรออกไป มันก็ ถ้ามีสมาธิดี มันก็ทำได้ดี คนเหล่านี้ไม่เคยมานั่งฝึกหัด สมาธิอย่างโยคี อย่างมุนี เขาใช้สมาธิที่เกิดอยู่ตามธรรมชาติ ในเรียน ใน Office ที่ไหนก็ได้ใช้ มีจิตมั่นคง มีจิตว่องไว เออ, เหมาะสมแก่การงานตัวเอง ตามมาก ตามน้อย ตามสัดส่วน ที่เขามีสมาธิชนิดนี้ มากน้อยเท่าไหร่
แล้วอีกอย่างหนึ่ง ขอให้รู้ว่า เมื่อเรากำลังตั้งใจจะทำอะไรอยู่ เวลานั้นจิตไม่มีกิเลสด้วย เหมือนกัน ถ้าจิตไปมีกิเลสอยู่ มันก็ไม่เป็นสมาธิหรอก ปุถุชนคนธรรมดาชาวบ้านนี่ เมื่อลองตั้งใจ คิด จะนึกอะไร ตอนนั้นกิเลสไม่เกิด ถ้ากิเลสเกิด มันคิดไม่ได้ มันตั้งใจไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันต้องมา คนละทีเสมอ มาพร้อมกันไม่ได้ แม้ว่าการงานนั้น ตั้งใจจะทำด้วยอำนาจของกิเลส แต่เมื่อลงมือทำ ก็จริง สมาธิมามันอยู่แทน ก็จะทำการงานนั้นอย่างมุ่งมั่น เหมือนเราคิดจะไปฆ่าเขา นี่ก็เป็นกิเลส ความเลว เป็นอกุศลพวกนี้ แต่พอจะไปเล็งปืน ยิงปืนนี่ มันก็ทำด้วยสมาธิ จะสมาธิ สัมมาทิฐิ สัมมาสมาธิ หรือมิจฉาสมาธิก็ตามใจ ถ้ามันยิงปืนนั้น ต้องยิงด้วยสมาธิตามธรรมชาติ อย่างนี้เรา เรียกว่า สมาธิที่เป็นเองตามธรรมชาติ มีอยู่ตามสัดส่วน ของบุคคลที่เขามีอุปนิสัยอย่างไร มีสันดาน อย่างไร มีอินทรีย์อย่างไร มีบุญมาก บุญน้อยอย่างไร
ฉะนั้นสมาธิชนิดนี้ คนไม่ค่อยรู้สึก แล้วก็ไม่ค่อย ไม่รู้จัก แล้วก็ไม่ให้ เออ, ความหมาย ให้ ไม่ให้คุณค่า หรือความหมายแก่มัน เรียกว่ามันอาภัพ แต่ถ้าเขาจะรู้จัก และฝึกฝนให้ดี ก็กลายเป็น คนที่มีสมรรถภาพมาก เป็นมหาบุรุษ โดยไม่ได้มาเป็นโยคี ฝึกสมาธิในป่าเสียก่อน ก็ยังทำได้ ยังมีได้
ทีนี้สมาธิอย่างที่ ๒ คือ สมาธิที่เกิดจากการฝึกฝนอบรม ที่เราเรียกกันภาษาวัด ๆ นี่ว่า เจริญภาวนา นี้เป็นสมาธิที่ทำพิเศษ เออ, จนกระทั่งว่า ภาวนา ภาวนา คำนี้แปลว่า ทำให้มันมีขึ้น แล้วเจริญสมบูรณ์ อย่าง development หรือว่าไอ้ cultivation นี้ เขาก็ทำกับต้นไม้ หรือว่าทำกับ สิ่งของ หรืออะไร ทำให้มันพัฒนาขึ้นมา เดี๋ยวนี้มันทำกับจิต สมาธิที่มีอยู่น้อย มันก็กลายเป็นมีมาก เออ, มีเต็มที่ขึ้นมา นี่คือวิธีปฏิบัติฝึกฝนสมาธิ ที่เขามีกันอยู่เป็นระบบ ๆ เป็นเรื่อง ๆ เป็นอย่าง ๆ ไป แต่ว่าเมื่อทำให้เป็นสมาธิขึ้นมาได้แล้ว มันมีประโยชน์ทั้งนั้น คือจะใช้ได้ทั่วไป ในทุกกรณี แก่ทุกคน ในทุกหน้าที่การงาน ยิ่งขึ้นไปอีก ถึงจะเป็นแบบที่มีอยู่ ตามธรรมชาติ นี้เราเจตนาทำขึ้น เป็น Direct เป็น cultivate เออ, อย่างเต็มที่ ที่มนุษย์จะรู้สึก หรือรู้จัก มันเป็นวัฒนธรรม เป็นอารยธรรมทางจิต ทางวิญญาณ ที่มนุษย์แต่โบราณเขาค้นพบ และก็ทำให้มันมีขึ้น แล้วก็มุ่งหมายไปในทางสูง ที่จะดับทุกข์ ดับความทุกข์ ในทางวิญญาณ
เดี๋ยวนี้เราพัฒนากัน ไปเรื่องทางร่างกาย เห็นวัตถุเป็นสำคัญ ก็เลยไม่ค่อยเข้าใจสิ่งเหล่านี้ พอได้ยินได้ฟังก็ รู้สึกว่าคล้าย ๆ มันเป็นเรื่องครึคระไปตามเคย ของคนโบราณ ดังนั้นขอให้เข้าใจว่า เรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่ไม่เก่าแก่ ไม่คร่ำคร่า แต่เป็นเรื่องที่ใหม่เอี่ยมอยู่เสมอ คือจำเป็นต่อมนุษย์ทุกคน อยู่เสมอ เราจะต้องอยู่กับมันให้ดี ๆ (นาทีที่18.10) อย่างพวกคุณนี่ เป็นแพทย์ในอนาคต ผมว่าต้องใช้มากที่สุด เพราะต้องไปทำกับสิ่งที่น่าเกลียด หรือว่าสกปรก หรือว่าน่าเศร้าน่าสลด เช่น จะไปผ่าตัดอย่างนี้ ไปกระทำแก่คนที่รู้จักรักใคร่อย่างนี้ ถ้าไม่มีสมาธิพอ มันก็ทำไม่ได้ หรือทำได้ไม่ดี ดังนั้นต้องหาโอกาสฝึกฝนอบรม ให้มันมีพอสมควร สมาธิที่เป็นไปถึงที่สุดแล้ว เราจะเรียกได้ว่า มันมีจิตว่าง ว่างจากตัวกู ว่างจากของกู ด้วยสติปัญญา นี้เรียกว่ามันมีสมาธิอยู่ ๒ อย่าง คือ เป็นเองตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง แล้วอบรมให้มันมีสมบูรณ์ขึ้นมาอย่างหนึ่ง
นี้สมาธิอีก ๒ อย่าง ที่อยากจะแนะให้สังเกต ก็คือ สติสมาธิที่ไม่ถูกใช้งาน กับสมาธิที่ถูก ใช้งาน จะพูดถึงสมาธิที่ถูกใช้งานก่อนดีกว่า เพราะคือสมาธิที่เป็นตามธรรมชาติ มีเท่าไหร่ มันใช้งานหมด เพราะว่าสมาธินี้ มันเกิดขึ้นโดยสัดส่วนที่พอดี พอเหมาะ กับการใช้งานนั้น ๆ เช่น เราจะยิงปืนอย่างนี้ ถ้ามันเป็นสมาธิ มันก็จะเกิดขึ้นมาเต็มที่ เท่าที่จะใช้ในการยิงปืน นี่สมาธิที่ถูกใช้งาน สมาธิที่ไม่ถูกใช้งาน มันก็มีแก่บุคคลที่ ตั้งหน้าตั้งตาฝึกสมาธิเสียกันยกใหญ่ แล้วกำลังไม่ใช้งานอะไรก็มี
ในบางคราว คุณอาจจะเข้าใจได้ทันที ถ้าเรามีอุปมา อุปมาก็เปรียบ เหมือนกับเครื่องยนต์ ที่มีกำลังมาก ฟิตเต็มที่ เดินดี หมุนดี มีกำลังมาก แต่ว่าเครื่องยนต์นั้น ไม่ได้ทำโหลดอะไร หรือไม่ได้ ใช้งานอะไร ให้มันเดินเฉย ๆ อย่างนั้น แล้วทีนี้จิตตัวนี้ มันก็คือ เครื่องยนต์ที่มีโหลด ให้ทำงานอะไร อยู่เต็มที่ ตามเรื่องตามราวของมัน ไม่ได้เดินอยู่เฉย ๆ นี่มันต่างกันเท่าไร ก็ไปเปรียบเทียบดู ก็จะเข้าใจไอ้สิ่งที่เรียกว่า สมาธิที่กำลังใช้งาน กับสมาธิที่ไม่ถูกใช้งาน หรือแม้แต่มอเตอร์ไฟฟ้า ไดนาโมก็ตามใจ มันหมุนอยู่เฉย ๆ ไม่ใช้งานอะไร มันก็มีแรงมาก มีแรงล้นเหลือ แต่ไม่ถูกใช้งาน มันก็เป็นหมัน นี้ไดนาโมที่มีโหลดเอาไปใช้งาน มันก็มีแสงสว่าง มีกำลังงาน ทำการงาน ไปตามเรื่อง ตามราวของมัน สมาธิที่ไม่ถูกใช้งาน ก็หมายถึงว่า ตั้งหน้าตั้งตาประพฤติสมาธิ มีแต่สมาธิ แล้วก็ไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างใดเลย เป็นสมาธิที่ไม่ถูกใช้ให้เป็นประโยชน์
ทีนี้ก็อยากจะ แนะถึงประโยชน์ของสมาธิ ให้เห็นต่อไปอีก แต่ว่าก่อนที่จะไปแนะถึง ประโยชน์นี้ ก็จะต้องพูดกันถึงการงานก่อน แล้วเราจะรู้ว่า มันเป็นประโยชน์อย่างไร การงานของ มนุษย์ ถ้าจะพูดไปกันเป็นอย่าง ๆ แล้วก็ไม่ใชอะไร มันพูดไม่ไหว ไม่รู้กี่ร้อย กี่หมื่น กี่พัน กี่แสน กี่ล้านอย่าง ถึงได้แบ่งเป็นประเภท เพื่อที่จะให้มันครอบคลุมไปหมด ว่าการงานนั้น เรียกว่า เป็นการงานอย่างคดีโลก เป็นการงานของชาวบ้าน เป็นการงานทางร่างกาย ทางวัตถุ เสียมากกว่า นี่เรียกว่า การงานทางคดีโลก เรียกว่า งานบ้าน แล้วอีกทีหนึ่งก็งานทางคดีธรรม เช่น งานวัด เป็นงานทางจิต ทางวิญญาณ
ทีนี้คุณก็ชักจะงง ๆ ว่าทางจิต ทางวิญญาณ ทำไมเรียกว่า การงาน เพราะเขาถือว่าเป็นหน้าที่ ถ้าเป็นหน้าที่แล้วก็เป็นการงาน จงนึกถึงคำว่า กรรมฐาน ทำกรรมฐาน ทำวิปัสสนา กรรมฐานตัวนั้น แปลว่า ที่ตั้งแห่งการงาน กรรมะ แปลว่า การงาน ฐานะ แปลว่า ที่ตั้ง กรรมฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่ง การงาน ภิกษุ สามเณรทำกรรมฐานนี้ ทำสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการงาน แต่ว่ามันเป็นการงานทางจิต ทางวิญญาณ คือ ฝึกฝนจิตให้ได้ดี แล้วให้มันทำงาน ตามหน้าที่ของจิต กำจัดกิเลสให้หมดไป นั่นแหละคือ ยอดของการงาน เพื่อจะดับความทุกข์ทั้งหลาย นี้การงานทางบ้าน การงาน เออ, งานบ้าน งานของชาวโลกนี้ ก็การศึกษาเล่าเรียน ทำมาหากิน เหงื่อไหลไคลย้อย ไปตามเรื่อง มันก็ยังต้องใช้สมาธิอยู่นั่นแหละ ฉะนั้นการงานในโลกก็จะมีแต่เพียงเท่านี้ การงานทางวัตถุ หรือทางร่างกายอย่างหนึ่ง ทางจิต หรือทางวิญญาณอย่างหนึ่ง รวมเป็น ๒ อย่าง
ทีนี้ในการงานทั้ง ๒ อย่างนั้น เราจะแจกรายละเอียดออกไปว่า ของงานเด็กก็ดี งานของ ผู้ใหญ่ก็ดี งานของคนแก่ชราก็ดี คุณต้องฝึกสังเกต แล้วก็จดจำไว้บ้าง ที่เราได้แบ่งเป็น เด็กก็พวกหนึ่ง เป็นผู้ใหญ่ก็พวกหนึ่ง เป็นคนแก่ชราก็อีกพวกหนึ่งนั้น เพราะมันไม่เหมือนกัน เลยทีเดียว เราอย่าทำเล่นกับสิ่งเหล่านี้ เพราะ Situation พวกนี้ (นาทีที่ 24:30) ไม่ถูกต้องแล้ว เราจะไม่เข้าใจอะไรอีกมากมาย การงานอย่างเด็ก ๆ ก็ต้องการสมาธิ การงานอย่างผู้ใหญ่ก็ต้องการ สมาธิ การงานอย่างคนแก่หง่อมจะเข้าโลงอยู่แล้ว ก็ยังต้องการสมาธิ สิ่งต่าง ๆ จึงจะเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เต็มที่ของมัน
พวกเด็กก็ต้องการสมาธินี้ ก็ขอให้สังเกต แม้แต่เด็กอมมือ มันก็จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า สมาธิ ใช้อยู่เหมือนกัน ไม่อย่างนั้นมันจะจำอะไรได้ หรือจะทำอะไรได้ มันป้ำ ๆ เป๋อ ๆ มันเคลิ้ม ๆ มัน เออ, เลอะ ๆ เลือน ๆ เสีย นี้เป็นเด็กรุ่นหนึ่ง ก็ต้องมีการศึกษาเล่าเรียน มันก็ยิ่งต้องการสมาธิ คนหนุ่ม คนสาวมันก็ยิ่งต้องการสมาธิ เพื่อการบังคับจิตใจที่ดี นี่เรียกว่า เด็กทั้งหมดต้องมีสมาธิ มาใช้ในชีวิต นี้ผู้ใหญ่เป็นพ่อแม่ ยิ่งทำงานหนัก ก็ยิ่งต้องการใช้สมาธิ หรือคนแก่ถ้าไม่มีสมาธิ มันก็จะฟั่นเฟือน เหมือนคนแก่ กินว่าไม่ได้กินนะ กลางวันหรือกลางคืนก็ไม่รู้เป็น มันเป็นคนแก่ที่หลงใหลไป เพราะมันขาดสมาธิ ในสภาพที่น่าทุเรศที่สุดนะ คนที่ฟั่นเฟือนหลงใหลไปเพราะอายุมากนี้ มันขาดสมาธิ ถ้าเป็นผู้ที่มีใจคอปกติ เป็นสมา เป็นนักสมาธิมาแต่แรกแล้ว มันไม่เป็น มันไม่มี อาการอย่างนั้น นี่มันจำเป็นอย่างยิ่ง แก่ความเป็นมนุษย์ถึงขนาดนี้
ทีนี้เราจะแยกให้ละเอียดลงไปอีก ว่าเด็กก็ดี ผู้ใหญ่ก็ดี ทำการงานนั้น มันมีเป็นระยะ ๆ ในโลกนี้ การงานของมนุษย์มันมี แม้ท่านที่เล่าเรียน เรียนวิชา เรียนหลักวิชาพื้นฐานทั่วไป แล้วก็มา ถึงขั้นพิสูจน์ ค้นคว้า พวก Research ต่าง ๆ แล้วก็มาถึงขึ้นที่ลงมือทำ ลงมือจริง ๆ ตามผลแห่งการ ค้นคว้า จนกระทั่งที่มันได้ผล แม้แต่บริโภคผล เก็บเกี่ยวผลของการงานอยู่ ก็นับเนื่องในการงานนะ ในขั้นเรียนก็ดี ในขั้นค้นคว้าก็ดี ในขั้นกระทำก็ดี ในขั้นได้รับผลก็ดี ต้องมีสมาธิ ไม่อย่างนั้น จะยุ่งยาก จะลำบาก หรือจะถึงกับเสียหาย นี่พูดให้เห็นชัด ว่าในการงานทุกระบบ ทุกกรณีนี้ มันต้องการสิ่งที่เรียกว่า สมาธิ สมาธินั้นจึงได้ชื่อว่า กรรมฐาน คือ ฐานะเป็นที่ตั้งของการงาน ไม่ว่าการงานชนิดไหนหมด ในบทบาลีจึงใช้คำว่า กัมมนีโย (นาทีที่ 27:34) แปลว่า สมควรแก่การงาน
ทีนี้ก็จะพูดโดยหัวข้อว่า ความเหมาะสมคืออย่างไร แล้วก็ให้นึกไปถึงคำพูดทีแรกว่า สมาธิ คือ สภาพของจิต ที่มีความเหมาะสม แก่การงาน ทุกกรณีของทุกคน สภาพที่เป็นความเหมาะสม แก่การงานนี้ เราจะดูเฉพาะที่คำว่า เหมาะสม สมาธิเหมาะสม แก่การงานอย่างไร เราจะต้องรู้จัก ไอ้คุณสมบัติ ของสิ่งที่เรียกว่า สมาธิ ที่เขาเรียกกันว่า ประสิทธิภาพ มี Qualification คือ ทำให้เกิด คุณสมบัติ แล้วก็มี Efficiency ซึ่งเป็นประสิทธิภาพ และหน้าที่ของมัน อันนั้นแหละ จะเหมาะแก่การงาน
สิ่งที่เรียกว่าสมาธินั้น มีความเหมาะสมแก่การงานตรงที่ว่า ในเวลานั้นมีกำลังจิตสูงสุด คุณฟังให้ดีเถอะ มันมีกำลังจิตสูงสุด แล้วมันก็มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีสติสัมปชัญญะ ที่จำเป็น แก่การงานนั้นแหละ สมบูรณ์ยิ่ง เมื่อมีความแน่วแน่ มั่นคงแห่งจิตใจ ในการงานนั้น แล้วมันก็มี ความทรหดอดทน เหลือประมาณ แล้วมันก็มีความกล้าหาญเต็มที่ แล้วมันก็มีความว่องไว เฉียบแหลมเหลือเกิน เพียงเท่านี้ก็พอแล้ว คุณสมบัติเพียง ๖ อย่างนี้ก็พอแล้ว
เมื่อมีสมาธินั้น จิตมีกำลังสูงสุด สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความแน่วแน่ อ่า, มั่นคง มีความ ทรหดอดทน มีความกล้าหาญ มีความเฉียบแหลมว่องไว ไอ้ส่วนที่เราปล่อยไปตามธรรมชาตินี้ มันก็มีเหมือนกัน แต่มันมีน้อย พอเราไปฝึกฝน ให้มันเป็นสมาธิเต็มที่ มันมีไอ้สิ่งเหล่านี้เต็มที่ คือ ความเหมาะสม หรือพร้อมที่จะทำการงานนี้ มันมีเต็มที่ เรียกว่า ประโยชน์ในขั้นที่เป็นพื้นฐาน หรือเป็นเครื่องมือ มันก็มีอยู่อย่างนี้
แต่ทีนี้เราจะพูดถึง ประโยชน์โดยตรง ที่เรียกว่าเป็นผลสุดท้าย เรียกว่า ประโยชน์ของสมาธิ กำหนดจดจำให้ดี โดยมีพระบาลี เป็นพระพุทธภาษิตตรัสไว้ ว่าประโยชน์ที่พึ่งได้จากการเจริญสมาธิ นั้น มีอยู่ ๔ อย่าง
๑ จะได้รับความสุข ทันตาเห็น ทันอกทันใจ หมายความว่า เมื่อเรามีจิตเป็นสมาธิ เมื่อนั้น เรามีความสุข นี่พูด พูดชัด ๆ ต้องพูดอย่างนี้ ในขณะที่จิตเป็นสมาธิ เมื่อนั้นเรารู้สึกมีความสุข คือถ้าเราไปมุ่ง จะทำให้มันมีความสุขโดยเฉพาะ มันก็มีความสุขมาก เต็มที่ คือเจริญสมาธิชนิดที่ ให้เกิดความสุข ให้เต็มที่ นี้ก็ไม่ตายเปล่านะสิ ได้รับความสุขชนิดที่แท้จริง ที่ไม่ได้ความสุขอย่างโลก โลกนะ หรือความสุขที่เกิดมาจาก จิตว่างจากกิเลสนี่ชั่วคราว ด้วยอำนาจของสมาธิ ได้รับความสุข เป็นนิพพานชิมลอง ชั่วขณะ ชั่วคราว ทุก ๆ คราว ที่ว่ามีสมาธิ กีดกัน เกียดกัน(นาทีที่32:03) หรือกำจัดกิเลส ออกไปได้ชั่วคราว เราก็ไม่เสียชาติเกิด เกิดมาทีก็ได้ชิม ได้ลอง รสของพระนิพพานนี้ เรียกว่า ความสุขในปัจจุบันทันตาเห็น
นี้ ๒ จะมีอำนาจที่เป็นทิพย์ นี่เขาพูดไว้ให้เรื่อง เออ, พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ให้เกลี้ยงเกลา หมดจดสิ้นเชิง ก็พูดไปถึง เออ, อำนาจทิพย์ จะใช้คำให้มันสั้นหน่อย ก็เรียกว่า จะมีอำนาจทิพย์ อำนาจที่เป็นทิพย์ เขาเรียกกันว่า หูทิพย์ ตาทิพย์ อะไรทิพย์นี่ คือ หู ตา ที่มันมีสมรรถภาพ ยิ่งกว่าธรรมดา หลายร้อย หลายพันเท่า นี้มันออกจะนอกเรื่อง แต่มันก็เป็นสิ่งที่ทำได้ คือ ถ้า ถ้าเจริญสมาธิ ชนิดที่จะทำให้หูดีกว่าธรรมดา มันก็มีวิธีเจริญเฉพาะ หรือว่าจะมีตาทิพย์ คือเห็นอะไร ได้ไกล ได้ดี ได้ลึกกว่าธรรมดา นี่ก็มีวิธีเจริญเฉพาะ จะได้ยินเสียง หรือเห็นสิ่งที่หูตาตามธรรมดา มองไม่เห็น นี่เป็นตัวอย่างของอำนาจทิพย์ แล้วก็มีอื่น ๆ อีกมากมาย ล้วนแต่เป็นปาฏิหาริย์ทั้งนั้น
นี้อย่างที่ ๓ ก็คือ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ นี่ประกอบด้วยธรรมะ หรือเป็นธรรมะ เข้ามาแล้ว ตรงนี้เอง คนเราตามปกตินั้น มันมีสติสัมปชัญญะลุ่ม ๆ ดอน ๆ คุณไปสังเกตตัวเอง ให้มากหน่อย ทุกคนกำลังมีสติสัมปชัญญะลุ่ม ๆ ดอน ๆ บางทีก็มี บางทีก็ไม่มี มีีก็ไม่สมบูรณ์ ถ้าฝึกสมาธิถูกวิธี แล้วจะเป็นคนมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ จะคิดอะไรเก่ง จะจำอะไรเก่ง จะระลึก อะไรได้เก่ง จะตัดสินใจอะไรได้เก่ง จะมีปฏิภาณ เฉียบแหลม ว่องไว รวดเร็ว นี่คือ สติสัมปชัญญะ มันสมบูรณ์ แต่ความมุ่งหมายส่วนใหญ่ ต้องการจะให้มีสติสัมปชัญญะ ในการประพฤติปฏิบัติธรรม สติสัมปชัญญะนั้น มันมีประโยชน์มหาศาล ไปทุกทิศทุกทาง ป้องกันอันตรายไม่ให้เกิดขึ้น หรือว่า อยู่โดยปลอดภัยนี้ ทำอะไรไม่ให้ติด จำอะไรไม่ให้ติด นี้มันเพียงชั้นธรรมดา แต่ถ้าสติสัมปชัญญะ ชั้นสูง ก็จะมีเรื่อง มีสติสัมปชัญญะในธรรมะ ในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือในอะไรก็สุดแท้
นี้ประโยชน์อันสุดท้าย ก็เรียกว่า กระทำอาสวะให้สิ้นไป คือจะทำกิเลสให้สิ้นไปได้ ในการเจริญสมาธิ ประเภทที่ เห็นไอ้ความจริงของธรรมชาติ อยู่อย่างลึกซึ้งตลอดเวลา เช่น เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่ตลอดเวลานี้ มันก็ทำให้กิเลสอาสวะ ก็จะเหือดแห้งไป เป็นประโยชน์สูงสุด เป็นประโยชน์มหาศาลอยู่นี่นั้น ทบทวนสั้น ๆ ก็ว่าประโยชน์มีอยู่ ๔ อย่าง มีความสุขอย่างพระนิพพานนะทันตาเห็น ชิมลองก่อน แล้วจะมีอำนาจทิพย์ตามที่ต้องการ ถ้าต้องการ แล้วก็มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เป็นครื่องมือสารพัดนึก แล้วก็มีความเป็นกิเลส เป็นผลสุดท้าย นี้จึงเห็นได้ว่า มันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง และครบถ้วน เท่าที่มนุษย์จะมีได้ หรือว่าจะเอาได้
นี้ใน ๔ อย่างนี้ ถ้าเราสรุปกันอีกทีหนึ่งก็ว่า สมาธิมีประโยชน์ ให้มีความสุข ไปตั้งแต่ขั้นต้น แล้วก็ให้มีความเหมาะสมแก่หน้าที่การงาน อ่า, มีสมรรถภาพเหมาะสมแก่หน้าที่การงานเรื่อย ๆ ไป แล้วก็จะดับความทุกข์ได้ อ่า, ในขั้นสุดท้าย เดี๋ยวนี้ก็มีความสุขไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวนี้ก็มีตัวตน ที่มีสมรรถภาพ เหมาะสมกับการงานไปเรื่อย ๆ นี่ในวาระสุดท้าย จะหมดกิเลส ดับทุกข์ได้สิ้นเชิง นี่คืออานิสงค์ของสมาธิ หรือที่จะต้องทราบไว้
แล้วทีนี้ข้อสุดท้าย เราก็จะพูดถึง วิธีทำให้มีสมาธินะ คือ การฝึกสมาธิ เรื่องการฝึกสมาธิ นี้มันต้องพูดกันเป็นหลายชั่วโมง หรือหลายสิบชั่วโมง ถ้าพูดโดยรายละเอียด เพราะฉะนั้นใน ชั่วโมงนี้ เราพูดได้แต่ หลักเกณฑ์ของมันเท่านั้น แต่อย่า อย่า อย่า อย่าวิตกอะไร ถ้ารู้หลักเกณฑ์แล้ว จะทำได้ โดยรายละเอียด ที่ขยายออกไป เออ, ได้เป็นการบรรยายตั้งหลายชั่วโมง
ไอ้การทำสมาธินี่ อือ, ถ้าเราไปแยก ให้ตามประโยชน์ ตามอานิสงส์ ก็มีอยู่ ๔ แบบ ๔ วิธี ที่ว่ามาแล้ว เพื่อให้เกิดความสุขทางใจ เพื่อให้มีอำนาจทิพย์ เพื่อให้มี เออ, สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ให้สิ้นอาสวะนี้ มันก็มุ่งทำไปตามแบบนั้น ๆ เป็น ๔ แขนง หรือ ๔ สายนี้ แต่ไอ้ตัวที่เป็นสมาธินั้น มันเหมือนกัน เหมือนกับว่าเรามี เออ, กำลังงานจากเครื่องยนต์ หรือจากไดนาโมอย่างนี้ เราจะแยก ไปใช้อะไรก็ได้ จากกำลังอันเดียวกันนั้น ใช้ทำไฟฟ้าก็ได้ ใช้หมุนอะไรก็ได้ ใช้อิเล็กทรอนิกส์ ใช้อะไร ใช้ไป แล้วแต่มันจะมุ่งหมาย
นี้สมาธินั้น เมื่อ แม้จะต้องการอานิสงส์ ๔ อย่าง ก็มุ่งไปทาง ๔ อย่างนั้น แต่ตัวการเจริญ สมาธินี้ มันสิ่งเดียวกัน ทำอย่างเดียวกัน เช่น จะเจริญอานาปานัสสติ เราก็จะมุ่งให้มีความสุข ในปัจจุบันนี้ก็ได้ มุ่งให้มีตาทิพย์ หูทิพย์ ก็ได้ มุ่งให้มี สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ก็ได้ มุ่งให้สิ้น อาสวะก็ได้ เมื่อเป็นสมาธิแล้ว มันก็แก้ไขดัดแปลง ไอ้จุดมุ่งหมายนั้น ไปตาม ตามที่ประสงค์ เพราะฉะนั้นตัวการตัวงาน ตัวต้นตอนั้น มันอยู่ที่ความเป็นสมาธิ นี้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำ สมาธิชนิดไหน โอ้ย, ขอบอก เออ, ตัดบทไปเสียเลยว่า ถ้าเรื่องอานาปานัสสติภาวนา หรือการเจริญ สมาธิแบบอานาปานัสสติแล้ว หนังสือธรรมบรรยาย ปีที่แล้วมา ที่เรียกว่า ชุดบรมทาน เล่ม ๓ ทั้งเล่ม พูดถึงเรื่องอานาปานัสสติภาวนา ถ้าคุณมีแล้วก็อ่านเอาเอง ไม่มีก็ควรจะหามาอ่าน
แต่ทีนี้กำลังจะพูด หลักเกณฑ์ของมัน ให้เป็นที่กระจ่าง ให้หนังสือทั้งเล่มนั้นนะ มาอยู่ใน คำพูดเพียงไม่กี่คำได้ หลักการของการทำสมาธิ จะมีอยู่เป็นชั้น ๆ ชั้นแรกที่สุด มีอารมณ์ของสมาธิ หรือนิมิตรของสมาธิ ก็แล้วแต่จะเรียก อารมณ์ แล้วที่เหมาะสม แล้วก็เพ่งอยู่ในที่ ๆ สมควร นี่ผมพูดอย่าง Definition ตัวหนังสือน้อย แต่ความหมายมากนะ ทบทวนอีกทีว่า มีอารมณ์ของสมาธิ มันแล้วที่เหมาะสม แล้วเพ่งมันอยู่ในที่ที่สมควร อารมณ์ของสมาธินั้น มันแล้วแต่จะเลือก แต่ที่ดีที่สุด ก็คือ ลมหายใจนี้ ที่ว่า ที่เหมาะสมแก่ทุกคน แก่ทุกเวลา ทุกหนทุกแห่ง คือ เพ่งลมหายใจ เรียกว่า อารมณ์ที่เหมาะสม เราเพ่งมันอยู่ กำหนดอยู่ที่ลมหายใจนี้อยู่ แล้วก็ในที่ที่สมควร ก็คือ ไม่มีอะไรรบกวนพอสมควรนะ ในป่า หรือว่าในถ้ำ หรือว่าในที่ เออ, เงียบสงัด นี่อันแรกว่า เพ่ง มีอารมณ์ที่เหมาะสม เพ่งอยู่ในที่ที่สมควร
ทีนี้ก็มาถึงไอ้ ขั้นที่ ๒ นี้ คือว่า หน่วงเอา เดี๋ยวก่อน จะพูดให้เป็นลำดับดีที่สุด ก็คือว่า มีอารมณ์ หรือมี มี เออ, มีนิมิตนั้นนะ ที่ปรับปรุงไปตามลำดับ นิมิต หรืออารมณ์นั้น มีอยู่ ๓ พวก ๑ คือ นิมิตเดิม แล้วก็นิมิตที่สร้างขึ้นมาใหม่ด้วยมโนภาพ แล้วก็นิมิตที่แปรรูปไปตามความต้องการ นิมิตมโนภาพที่แปรรูปไปตามความต้องการ นิมิตเดิม หรืออารมณ์เดิม ก็คือ สิ่งที่เราเอามากำหนด เช่น ถ้าเจริญกสิณก็เอาดวง เขียว ๆ แดง ๆ มาเป็นอารมณ์ มาเป็นนิมิตสำหรับตาเพ่ง หรือถ้าจะ เจริญอสุภกรรมฐาน ก็ไปนั่งดูซากศพที่ป่าช้า
แต่เดี๋ยวนี้ เราจะยกตัวอย่าง อานาปานัสสติ ก็คือ ลมหายใจที่กำลังหายใจเข้า และออกอยู่นะ เป็นนิมิตเดิม จิตกำหนดที่นิมิตนี้ ก็เรียกว่า กำหนดที่นิมิตเดิม ในลักษณะที่ว่าเราวิ่งตาม ลมที่หายใจ เข้า-ออกอยู่ เข้า-ออกอยู่ กระทั่งเปลี่ยนเป็นกำหนดอยู่แต่ที่ จุดใด จุดหนึ่ง เช่น ที่จะงอยของจมูก หรือจุดของจมูกอย่างนี้ นี่เรียกกว่า กำหนดลงไปที่นิมิตเดิม
แล้วต่อมาก็สร้างนิมิตในมโนภาพ ที่ตรง จุดที่เรากำหนดอยู่นี้ เช่น ที่จะงอยจมูก เป็นต้นนี้ สร้างมโนภาพให้เกิดเป็นความรู้สึก หรือเห็นภาพ เห็นดวง เห็นอะไรขึ้นมาได้ ก็เรียกว่า นิมิตในมโนภาพที่สร้างขึ้นมา ตรงไหนลมกระทบ หนักเข้า ๆๆ ก็ให้จิตเป็นไปตามการกำหนดนั้น มีอาการเหมือนจะเป็นกึ่งสำนึก เพราะว่าไม่กำหนด ไอ้ตัวนิมิตเดิม คือ ลมหายใจ กำหนดแต่ที่ ที่มันถูกกระทบ แต่การกระทบนั้น มันก็ต้องมีลมมาถูกอยู่ด้วย มันก็กำหนดลมพร้อมกันไปอย่างนี้ ให้จุด ๆ นั้น มันมีความรู้สึก เป็นมโนภาพเกิดขึ้น เป็นตำแหน่ง ที่มีสีขาว หรือว่ามีดวง มีแสงอะไร ขึ้นได้ แล้วแต่มันจะเกิดขึ้นเอง ตามความเหมาะสมของบุคคล ที่มันไม่เหมือนกัน เรียกว่า นิมิตในมโนภาพเกิดขึ้น
ทีีนี้ต่อไปก็ นิมิตอันนั้นก็จะถูก บังคับด้วยจิตที่มัน เออ, ไร้สิ่งสำนึกนะ ให้มันเปลี่ยนรูป เปลี่ยนสี เปลี่ยน เออ, อาการไปได้ นี้เรียกว่ามัน เออ, นิมิตที่แปรรูปไป นิมิตเดิม คือ ของจริง ของ...(นาทีที่ 45:22) อันเดิมนั้นนะ มันก็เป็นนิมิตที่เอามากำหนดแต่เดิม แล้วสร้างมโนภาพ ทับลงไป แม้หลับตาก็เห็น แม้ไม่มีอะไรสิ่งนั้นมา เราก็ยัง เออ, มองเห็น หรือรู้สึกเป็นนิมิต ในมโนภาพ มิต นิมิตมโนภาพ ถูกทำให้แปรไปต่าง ๆ
จะยกตัวอย่างที่ง่ายที่สุด ทาง ที่ที่มีลักษณะเป็นทางวัตถุ หรือทางกสิณก็ตามใจ มันเลือกได้ ทั้งนั้น เช่น เราจะเพ่งหลอดไฟฟ้า ถ้าหลอดไฟฟ้าที่เอามาว่าง อ่า, ที่ ที่เอาใช้เพ่งทีแรกนั้น มันคือ นิมิตเดิม คือ ตัวหลอดไฟฟ้าจริง ๆ นี้เราเพ่งจนสร้างมโนภาพได้ คือ หลับตาเสีย เราก็ยังเห็น ไอ้หลอดไฟฟ้านั้นอยู่ นี้ใครดับสวิตช์เสีย ไม่มีนี่ เราก็ยังมองเห็นไอ้ดวงไฟฟ้านั้นอยู่ ชัดเหมือนเดิม อย่างนี้ อย่างนี้เราเรียกว่า มนิต เออ, นิมิตโนภาพ มันฝังแน่นลงไปใน เออ, ความรู้สึก ไอ้หลอดนิมิต เอะเออ, นิมิตในมโนภาพ ที่เป็นหลอดไฟฟ้าเหมือนเดิมนั้นนะ แต่ว่าของจริงไม่ได้มีอยู่แล้วเวลานี้ คือว่าหลับตาเสีย หรือว่าใครจะดับสวิตช์ไปแล้ว เป็นต้น แต่เราก็ยังนั่งเห็นอยู่ อันนี้ จะทำให้มัน เปลี่ยนรูปเป็นอย่างอื่น เปลี่ยนรูป เปลี่ยนสี เปลี่ยนอาการเป็นอย่างอื่น ที่เป็นดวง ที่มันขยายใหญ่ ออกไปได้ เล็กเข้ามาก็ได้ เปลี่ยนเป็นสีเขียว สีแดงก็ได้ ให้มันลอยไปก็ได้ ให้ลอยมาก็ได้ ให้หยุดอยู่ ที่ไกลลิบโน้นก็ได้ ให้มาอยู่ในตักเราก็ได้ อย่างนี้ อย่างนี้เรียกว่ามัน นิมิตแปรรูป
นิมิตเดิม นิมิตมโนภาพ และนิมิตมโนภาพที่แปรรูป มีอยู่ ๓ อย่าง อย่างนี้ ที่ลมหายใจ ก็เหมือนกัน ลมหายใจเป็นนิมิตเดิม แล้วต่อมาไอ้ตรงที่กำหนดลมหายใจ เกิดนิมิตมโนภาพ สมมุติว่าเป็นดวงขาว ทีนี้นะมิตมโนภาพ นิมิตมโนภาพก็แปรรูปเป็น อ่า, ดวงเขียว ดวงแดง ดวงเล็ก ดวงใหญ่ หรือว่าลอยไปตรงสุดโลกทางโน้น แล้วกลับมาที่นี้ อย่างนี้มันก็เป็นนิมิตทั้งนั้น ไม่ใช่ ของจริง เออ, ในทาง.. (นาทีที่ 47:45) แต่ว่าเป็นความจริง ในทางมโนภาพ ที่มันเห็นอยู่จริง รู้สึกอยู่จริง
ทั้งหมดนี้ไม่ใช่อะไรอื่น มันเพียงแต่ว่า เราบังคับจิตได้เท่านั้นนะ อย่าไปหวังอะไร ให้มากกว่านั้น เดี๋ยวจะบ้า ว่าเป็นของจริงอะไรขึ้นมา นั้นมันอีกเรื่องหนึ่ง มันเป็นเรื่องทาง อิทธิปาฏิหาริย์ มันมีเทคนิคมาก ทำจิตบ้า แต่ถ้าเราทำเพียง ให้เกิดนิมิต เพราะเรากำหนดตรงจิต แล้วไม่บ้า เอาผลแต่เพียงว่า เดี๋ยวนี้เราสามารถบังคับจิต หรือบังคับความรู้สึกของจิตนี้ ได้ตามต้องการ จิตแท้เราแล้ว จิตอยู่ในอำนาจของเราแล้ว เราเป็นฝ่ายชนะมันแล้ว เราเป็นผู้มีอำนาจ เหนือมันแล้ว
นี้ความเป็นผู้มีอำนาจเหนือจิต อย่างนี้เราเรียกว่า วสี ว. แหวน ส. เสือ สระอี วสี แปลว่า ผู้มีอำนาจ ความมีอำนาจ เดี๋ยวนี้เรามีอำนาจเหนือจิต เรียกว่า เรามีวสี มีความเจนจัด มีความสามารถ มีอะไรแล้ว ที่อยู่เหนือจิต บังคับจิตได้ ทีนี้เราต้องจัดการกับวสี หมายความว่า ทำได้ครั้งแรกแล้ว ไม่พอ เดี๋ยวมันหนีเตลิดเปิดเปิงไปไหน กลายเป็นไม่ได้ นั้นได้อะไรมาเท่าไหร่ ต้องซ้ำ ต้องย้ำ ต้อง เออ, ซักซ้อม ทำวสี เหมือนกับคุณเล่นแบดมินตัน ตีลูกทีแรกได้อย่างประหลาด อย่างน่าอัศจรรย์ แล้วคุณลองไม่ซักซ้อมสิ มันก็หายไปได้
ทีนี้เราก็ซักซ้อม ให้อยู่ในอำนาจของเรา ทำอย่างไร เมื่อใดก็ได้ นี่เขาเรียกว่า วสี จะแปลว่า ความชำนาญก็ได้ ตามภาษาธรรมดา แต่ตัวหนังสือมันแปลว่า ความมีอำนาจเหนือ เราเป็น Master เหนือสิ่งนั้น เขาเรียกว่า มีวสีเหนือสิ่งนั้น นี้เกี่ยวกับวสีนี่ มันก็ฝึกซ้ำ ๆ ซาก ๆ ให้ จะฝึกอย่างไร ก็ฝึกอย่างนั้น ซ้ำ ๆ ซาก ๆ จนอยู่ในกำมือของเรา ที่เกี่ยวกับสมาธินั้น โดยหลักใหญ่ ๆ แล้วก็มี ฝึกเข้าสมาธิ แล้วก็ฝึกหยุดอยู่ในสมาธิ แล้วก็ฝึกออกมาจากสมาธิ ๓ อย่างนี้ ที่เป็นหลักใหญ่
ฝึกเข้าสมาธิได้รวดเร็ว ทันที ทันควัน ตามต้องการ ไม่ถึง เออ, ไม่ถึงวินาที หรือชั่วกระพริบตา เราก็เข้าไปอยู่ในสมาธิแล้ว ถ้าชำนาญนะ ทีนี้ก็ฝึกอยู่ในสมาธิ นานเท่าไหร่ก็ได้ ตามต้องการ ถ้าเป็นสมาธิแล้ว ใครจะมาปลุกเรา เราต้องมีกำหนดเอาเองว่า จะมีสมาธิ กี่นาที กี่ชั่วโมง หรือกี่วัน ทำได้ตามต้องการ นี่มีวสีในการอยู่ในสมาธิ ถ้าฝึกได้ถึงขนาดนั้น มันจะตรงเผง แม้แต่นาที หรือวินาที เช่นเดียวกับเรา มีสมาธิในการหลับนี้ ถ้าเราจะหลับ ๓๐ นาที นี้มันก็หลับ ได้จริง ๓๐ นาที ตื่นขึ้นมาตรงเผงเลย นี้เข้าสมาธิ เข้าสมาบัติก็เหมือนกันนะ จะเข้าสมาธิ สมาบัติ หยุดนิ่งไปนี้ ๑ ชั่วโมง ๒ ชั่วโมง หรือแม้แต่ ๑๕ นาที มันก็ได้ตามต้องการ เพราะมีวสีในเรื่องนี้
เช่นเดียวกับนอนหลับ ไม่มีใครมาปลุกเรา เราตื่นได้เอง แล้วก็ตรงเวลาที่ตั้งใจไว้ ว่าหลับ ๑๕ นาที ตื่นขึ้นมาตรงเผง คนธรรมดาทำไม่ได้ กว่าจะหลับมันก็ไม่หลับ หลับแล้วมันบังคับไม่ได้ ไม่รู้จะตื่นเมื่อไร แต่คนที่จิตเป็นสมาธิ มันบังคับได้ แม้กระทั่งเพิ่งจะนอนหลับอย่างนี้ ต้องฝึกกัน นานหน่อย นักสมาธิจะหลับได้ ๓๐ นาที ๑ ชั่วโมง ตาม ตามต้องการตรงเผง ที่นักสมาธิจะเข้าสมาธิ หรือเข้าฌาน หรือเข้าสมาบัติ ได้ ๑๕ นาที ๓๐ นาที ๑ ชั่วโมงตรงเผงเหมือนกัน แม้แต่ว่าหลับ ทางกายก็หลับได้ตรงเผง หลับทางจิตก็หลับได้ตรงเผง นี่เรียกว่า หยุดอยู่ในสมาธินั่น เอ่อ, จนเรามีความชำนาญ มีอำนาจเหนือแล้ว ที่นี่การออกจากสมาธิ เราออกเมื่อไหร่ก็ได้ ออกได้อย่างดี ออกได้อย่างเร็ว ออกได้อย่างไม่ครืดคราด (นาทีที่ 52:25) นี้ต้องเรียกได้ว่า เข้าสมาธิ หยุดอยู่ในสมาธิ ออกจากสมาธิ ๓ อย่างนี้แล้ว คล่องแคล่วเสียก่อน
ทีนี้จึงจะไปถึงขั้นที่ เราจะใช้สมาธิ สำหรับพิจารณาธรรม ก็ทำได้คล่องแคล่วต่อไปอีก อย่างนี้เรามีวสี มีความมีอำนาจอยู่เหนือจิต เดี๋ยวนี้ เออ, เราจะทำอย่างนี้ได้ เออ, เราจะต้องรู้จัก ทำมาเป็นตามลำดับนะ คอยฟังให้ดีนะ เมื่อเรามีสมาธิเดิมกำหนด แล้วเรามีสมาธิมโนภาพ ที่สร้างขึ้น แล้วเรามีสมาธิมโนภาพที่แปรรูปไปได้ นี้เป็นอันแรก ทีนี้ในขณะที่เรามี เออ, นิมิตมโนภาพที่แปรรูปได้นี่ เราเลือกเอาอันใด อันหนึ่ง สำหรับหยุดนิ่งอยู่ที่นั่น จิตมีความรู้สึก อย่างไร กำหนดละเอียดลงไป ละเอียดลงไป ละเอียดลงไป ตอนนี้ก็สำหรับความรู้สึก ที่เป็นองค์ฌาน ที่มันจะค่อย ๆ เกิดขึ้น ค่อย ๆ เกิดขึ้น วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตานี้ ไปอ่านดู ในหนังสือมีรายละเอียด นี้จะบอกแต่ว่าหลัก หรือว่าความลับของธรรมชาติ
เมื่อเรากำหนดสมาธิ ลักษณะที่มีนิมิตอย่างดีแล้วนะ ก็ค่อยกำหนดให้รู้ ไอ้วิตก คือ ความที่จิต มันไปเกาะอยู่ที่อารมณ์ หรือนิมิตนั้น เรียกว่า วิตก แล้วก็กำหนดวิจาร ที่จิตมันทั่วถึง ซึมซาบต่ออารมณ์นั้น แล้วความรู้สึกที่เป็นสุข รู้สึกเป็นสุขแปลก ๆ อะไรเกิดขึ้นมานี้ ก็กำหนด ไอ้ความสุขนั้น ให้มันชัดเจนแจ่มใสขึ้น นี้ปีติต่อความรู้สึกพอใจที่ทำได้สำเร็จ นี้มันมีปีติ ก็กำหนดปีตินี้แรงขึ้น หลังจากนั้นก็มีความรู้สึกเป็นสุข นี่ก็กำหนดไอ้รสชาติของความสุข นี้ให้เต็มที่ขึ้น แล้วก็รู้พร้อมคราวเดียวกันหมด ที่ว่า อ้าว, นี่จิต มีความเป็นยอด เออ, สุดอยู่ที่ อารมณ์ของสมาธิ เอกัคคตา เขาแปลว่า มียอด ๆ เดียว
ก่อนนี้มันมีจิต เออ, จิตมียอดหลายยอด มันนับไม่ไหว เป็นรัศมีซ่านออกรอบตัวนี้ เป็น Radiusion นี้ มียอดนับไม่ไหว รอบตัว เดี๋ยวนี้มันรวมเป็นยอดเดียว คือ ไม่ซ่านออกไปรอบตัว มันก็รวมอยู่ที่อารมณ์ ที่ใช้เป็นเครื่องกำหนด อย่างนี้เขาเรียกว่า เอกัคคตา ความรู้สึกต่อองค์ฌานนะ มีอยู่อย่างนี้ องค์ฌานที่ ๑ คือ รู้สึกเกาะอยู่ที่อารมณ์ หรือนิมิต องค์ฌานที่ ๒ รู้สึก ที่มันซึมซาบ อยู่ทั่วนิมิตนั้น อารมณ์ที่ ๓ คือ ความพอใจที่เกิดขึ้น เพราะว่าเราทำได้สำเร็จ อารมณ์ที่ ๔ รู้สึกเป็นสุข อารมณ์ที่ ๕ รู้สึกภาวะที่เดี๋ยวนี้ จิตมียอดเดียว เรียกว่า เอกัคคตา ความรู้สึกทั้ง ๕ นี้ จะค่อยเกิดขึ้น เกิดขึ้นไปตาม เออ, ที่มีความ การกำหนด การกำหนด การกำหนดมากขึ้น พอครบ ทั้ง ๕ ปรากฏอยู่อย่างกลมกลืนกัน ทั้ง ๕ อย่างนี้ ก็เรียกว่า เป็นการบรรลุฌาน
ทีแรกคือ ปฐมฌาน เป็นสมาธิเต็มตัวในอันดับแรก นี้ไปทำวสีในฌาน ในปฐมฌานนี้ ให้ชำนาญเถอะ เพื่อประโยชน์แก่การสืบเนื่องกันไปสู่ ทุติยฌาน ตติยฌาน นี่รายละเอียดมีใน หนังสือเล่มใหญ่นั้น เดี๋ยวนี้เรามีสมาธิ หรือฌานเกิดขึ้น แล้วเราทำวสี ให้เรามีอำนาจเหนือสิ่งนี้ เราก็สามารถจะอยู่ใน สามารถที่จะเข้าไปในฌานไหน หยุดอยู่ในฌานไหน แล้วออกมาจากฌานไหน ได้คล่อง อย่างนี้เรียกว่า มีสมาธิเต็มที่แล้ว
ทีนี้ขั้นต่อไป ถ้าต้องการ ก็คือ การหยุดอยู่ในสมาธิอย่างแน่วแน่ ในลักษณะที่เป็นสมาบัติ เขาเรียกว่า สมาบัตินี่ แทนที่จะเรียกสมาธิ เราเรียกสมาบัติ คือ หยุดอยู่ในสมาธินั้นอย่างแน่วแน่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นเวลานานพอ เขาเรียกว่า สมาบัติ เช่น ทำความรู้สึกที่เป็นปฐมฌาน ให้เกิดขึ้นได้แล้ว และคล่องแคล่วที่จะบังคับมัน ก็ใช้วสีนั้นแหละ เป็นเครื่องบังคับมัน ว่าเราจะเข้า สมาบัติ ด้วยปฐมฌาน ๖ ชั่วโมงนี่ เราก็ทำได้ เพราะความชำนาญ ระยะ ๖ ชั่วโมงนั้น เรียกว่า อยู่ในสมาบัตินี่ แล้วเขาก็ไม่ไปฝึกทีเดียวอยู่๖ ชั่วโมงหรอก เขาจะฝึกในระยะสั้น ๆ ก่อน ๑๐ นาที ๑๕ นาที ได้ดีแล้วก็ฝีก ๑ ชั่วโมง ได้ดีแล้วก็ฝึกชั่วโมง ๒ ชั่วโมง ๓ ชั่วโมง จนหลายชั่วโมง จนหลายวันในที่สุด การอยู่ในสมาบัตินั้น อาจจะอยู่ได้หลายวัน ฝึกมาตั้งแต่อยู่เพียง ๑๕ นาทีได้ ๑ ชั่วโมงได้ ไล่ไปตามลำดับ ไม่มีการกระโดดข้าม เดี๋ยวนี้เราก็สามารถจะมีสมาบัติ หรืออยู่ในสมาบัติ นี่ก็ว่าบทเรียนมันจบแค่นี้ เกี่ยวกับสมาธิ
นี่ทบทวนดูใหม่ คุณคอยฟังให้ดี ที่คุณจดนั้นถูกหรือผิด หลักการ หรือแนวสังเกตของ หลักการที่จะเจริญสมาธินั้น ต้องหาอารมณ์ หรือนิมิตมา เป็นนิมิตที่เหมาะสม แล้วก็เพ่งนิมิตนั้น อยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม นิมิตทีแรก เรียกว่า นิมิตเดิม ที่เอามานั้น แล้วนิมิตต่อมา คือ นิมิตในมโนภาพ ที่ถอดรูปออกมาจากนิมิตเดิม แล้วเราก็มีนิมิตมโนภาพนั้น ที่แปรรูปไปตาม ที่เราบังคับ นี้ในขณะแห่งนิมิตที่แปรรูปนี่ จิตละเอียดมาก อยู่ในอำนาจเรามาก แล้วหน่วงให้เกิด ความรู้สึก ที่เป็นองค์ฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ค่อย ๆ เกิดขึ้น ค่อย ๆ เกิดขึ้น มันล้มลุกคลุกคลานไปบ้าง แต่ในที่สุดก็ทำได้สำเร็จ มีองค์ฌานสมบูรณ์
ทีนี้ก็ซักซ้อม ไอ้การเข้าฌาน การหยุดอยู่ในฌาน การออกจากฌาณนี้ ให้อยู่ในอำนาจที่สุด เรียกว่า มีวสี แล้วก็กลายเป็น ผู้ที่ได้ฌานโดยแท้จริง ก่อนมีวสี เราได้ฌานอย่างล้มลุกคลุกคลาน พอเรามีวสีสมบูรณ์ เราก็มีการได้ฌานอย่างแท้จริง ที่อยู่ในอำนาจเรา ทีนี้เราก็จะเข้าสมาบัติ คือ หยุดอยู่ในฌานนั้น นานตามที่เราต้องการ นี่หลักสูตร หรือบทเรียนมันมีเท่านี้ เรื่องที่เกี่ยวกับสมาธิ
ทีนี้เราก็ เออ, ดู ว่าจิตใจที่อยู่ในสภาพอย่างนี้นะ มันประกอบด้วยคุณสมบัติ ๓ อย่าง ที่ว่ามาแล้วข้างต้นหรือไม่ คือ ว่าเป็นจิตสะอาด แล้วก็เป็นจิตที่ตั้งมั่น แล้วก็เป็นจิตที่เหมาะสม แก่การทำงานนะ ถ้าฝึกมาได้ถึงขั้นนี้จริง คล่องแคล่วอย่างนี้ นี่ เป็น เป็นนายเหนือจิตอย่างนี้ แล้วมันพอได้ ปาริสุทโธ สะอาดบริสุทธิ์ สมาธิโต ตั้งมั่นแน่นแฟ้นมั่นคง กัมมนีโย เป็น Achieve (นาทีที่ 01:00:47) ที่สุด แล้วผลที่เราต้องการ ปรารถนากันอย่างยิ่ง นี้คือความเป็น Achieve Achieveness (นาทีที่ 01:00:56) ของจิตนี่ มันมีถึงที่สุดแล้ว ไอ้เรื่องบริสุทธิ์ หรือไอ้เรื่อง เออ, ตั้งมั่นนั้น มันไม่ มันไม่จำเป็นเท่าไร เออ เออ, ความควรแก่การทำงาน คือ Achieve (นาทีที่ 01:01:10) ไอ้บริสุทธิ์ หรือตั้งมั่นนั้น มันก็เป็นความสุข แบบเงียบ ๆ เงียบไป มันไม่เกี่ยวกับ การทำงาน แต่แล้วมันก็ต้อง เป็นพื้นฐานของจิตที่จะว่องไว ต่อการงาน ก็เอาไอ้ความว่องไว ต่อการงาน ไปใช้ประโยชน์ในทุกกรณี
แม้แต่เรียนหนังสือ แม้แต่การค้นคว้า แม้แต่การปฏิบัติงาน แม้แต่การผ่าตัด เออ, ที่คุณจะต้องเผชิญอย่างนี้ มันกลายเป็นว่า เราไม่ได้หยุดอยู่ในสมาธิ นั่งแข็งเป็นตอไม้ ความจริงมันมี แต่เพียงว่า เราฝึกฝนจิต จนเป็นเครื่องมือที่วิเศษ ทุกอย่างทุกประการ ที่จะใช้ในงานทำงาน ถ้าคุณต้องการเพียงเท่านั้น เรื่องมันก็จบเพียงเท่านั้น
แต่เดี๋ยวนี้ก็อยากจะ ให้ได้สมบูรณ์ ว่ามีความสุข อย่างชนิด รสของพระนิพพานชิมลอง ก็ทำได้ ด้วยการหยุดในสมาบัติ ตามต้องการ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ ก็น้อมไป เออ, เพื่อจะให้หูนี้ ได้ยินเสียงที่ไกลออกไป หรือตาเห็นสิ่งที่ไกลออกไป ฝึกต่อพิเศษไป สติสัมปชัญญะ มันก็สมบูรณ์ มากแล้ว ใน ใน ใน ในเวลานี้ แล้วก็ฝึกให้มันชำนาญ ทีนี้ก็เหลืออันสุดท้าย ที่จะฝึกให้หมดกิเลสนี้ ก็ต้องใช้จิต ที่มีคุณสมบัติอย่างนี้ ไปพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
แล้วเราจะสรุปความได้ว่า เมื่อมีจิตเป็นสมาธิแล้ว จะทำอะไรก็ได้ เรื่องโลกก็ได้ เรื่องธรรมก็ได้ เรื่องทุจริตก็ได้ เรื่องสุจริตก็ได้ เรื่องไปนิพพานก็ได้ ในที่สุด เราเดี๋ยวนี้ก็ ใช้สมาธิ เพิ่งหาวิธีที่จะทำให้กิเลสหมดสิ้นไป จนกว่ามันจะหมดสิ้นไป ทีนี้เป็นสมาธิอัตโนมัติเอง ตลอดกาลนิรันดร ถ้ากิเลสไม่มีแล้ว จิตเป็นสมาธิอย่างสมบูรณ์เอง ตลอดกาลนิรันดร เป็นอัตโนมัติ
ในที่สุดก็อยากจะบอกความลับอีกอันหนึ่ง อือ, ขอให้ฟังให้ดี ๆ ว่าเราจะต้องมีจิตที่ เหมาะสมแก่การงานอย่างนี้อยู่เสมอ อย่าให้จิตหม่นหมองด้วยนิวรณ์ เรื่องกามารมณ์ เรื่องโกรธ เรื่องเกลียด เรื่องง่วงเหงา เรื่องหาวนอน เรื่อง เออ, สงสัย เรื่องลังเลอะไรต่าง ๆ อันนั้นเป็นนิวรณ์ ของสมาธิ เป็นอุปสรรคของสมาธิ พอเราฝึกสมาธิได้ สิ่งเหล่านั้นหายไป แล้วก็จะมีจิตชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความเหมาะสมแก่การงาน นี้ปัญหาต่าง ๆ จะถูกขจัดไปโดยอัตโนมัติ จงเตรียมตัวสำหรับจะใช้ ประโยชน์จากอันนี้ ก็คือว่า เราจงอยู่ด้วยจิตชนิดนี้อยู่ตลอดเวลา อย่าขี้รัก อย่าขี้โกรธ อย่าขี้เกลียด อย่าขี้กลัว อย่าขี้อิจฉาริษยา อย่าขี้อะไรต่าง ๆ นี่ แล้วก็มี เออ, จิตตั้งไว้ชอบ เป็นสัมมาสมาธิ อยู่ตลอดกาล อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้า ท่านตรัสว่า ถ้าท่านภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ จักเป็นอยู่โดยชอบไซร้ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ (นาทีที่ 01:04:15) เป็นอย่างไรบ้าง เป็นอยู่โดยชอบ โลกไม่ว่างจาก พระอรหันต์ นี้เป็นอยู่โดยชอบ ก็คือ การเป็นอยู่ด้วยจิตอย่างนี้ ด้วยจิตที่มีความหมายแห่งสมาธินี้ คือ Achieveness (นาทีที่ 01:04:25)นี้ ทางกายและทางจิตอยู่เสมอ นั่นนะคือ ตั้งอยู่ ไว้ ตั้งจิตไว้ชอบ
พอตั้งจิตไว้ชอบอย่างนี้แล้ว เออ, การเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริงนี้ จะมาเมื่อไหร่ ก็ได้ ถ้าคุณปรับปรุงร่างกาย จิตใจให้สบายดีเถอะ ไอ้ปัญหาหรือข้อข้องใจต่าง ๆ มันตอบมันเอง บางทีตื่นนอนขึ้นมาอย่างนี้ มันก็ตอบปัญหาได้เอง หรือบางทีฝันไป ตอบปัญหาได้เอง เพราะจิตที่ ตั้งไว้ชอบนี่ นั้นขอให้มีปัญหา เออ, มี มีตัวปัญหาที่ชัดเจนแน่นอน อยู่เป็นประจำ พอเราอยากรู้อะไร เราอยากจะแก้ปัญหาอะไรอย่างนี้ เราก็พยายามปรับปรุงร่างกายให้ดี ปรับปรุงจิตใจเป็นสมาธิได้ดี คำตอบนั้นจะผุดออกมาเอง เมื่อไรก็ได้ ฝันไปก็ได้ ตื่นนอนขึ้นมารู้เองก็ได้ หรือเดินไปเดินมา คิดไปคิดมา มันออกมาเองก็ได้ แต่ต้องในขณะที่จิตเป็นอย่างนี้ ที่จิตมีความเหมาะสม แก่การงาน ด้วยอำนาจของสมาธิ ที่ทำไว้จนชิน เราก็ได้เปรียบผู้อื่น ได้เปรียบผู้ที่ไม่เคยฝึกสมาธิ เราเป็นผู้อยู่ใน วิสัย ที่จะเอาตัวรอดได้ อย่างนี้
นี่คือ เรื่องของสมาธิเป็นอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร จะเจริญมันได้อย่างไร มันก็มี หลักการเพียงเท่านี้ อธิบายโดยรายละเอียด ก็เป็นหนังสือ ๓ เล่มใหญ่ ๆ นี่พูดโดยหัวข้อ ก็ชั่วโมงเดียวจบ นกก็บอกว่า หมดเวลาแล้ว ก็ยุติ เออ, การบรรยายวันนี้ ไว้เท่านี้