แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
การบรรยายเกี่ยวกับสมาธิภาวนา หรืออธิจิตตาโยคธรรมในวันนี้จะได้กล่าวอธิบายเกี่ยวกับถ้อยคำและวิธีปฏิบัติตามแนวที่ได้กล่าวเป็นรูปโครงแล้วเมื่อวานนี้ ให้เป็นที่เข้าใจละเอียดออกไป ข้อความที่กล่าวแล้วเมื่อวันก่อนกระทั่งวานนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวอีก นั้นขอให้ทบทวนเอามาเอง
สำหรับวันนี้ไม่มีหัวข้อที่จะเรียกได้ว่าอะไร นอกจากจะเรียกว่า คำอธิบายโดยละเอียด เกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ ที่ได้กล่าวแล้วเมื่อวานนี้ ทีนี้ก็จะได้กล่าวไปทีละอย่าง
ในส่วนกายวิเวก เรามีหัวข้อที่กล่าวแล้ว ว่า ไปสู่ที่สงัด แล้วก็นั่งให้ถูกวิธี แล้วก็มีสติกำหนดการหายใจ เป็น ๓ หัวข้อ ด้วยกันดังนี้ คำว่า ไปสู่ที่สงัด หรือป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่าง นาๆ หลายๆ ชนิด คำว่า สู่ที่สงัดก็คือ ปราศจากการรบกวน คำว่า ปราศจากการรบกวน มันมีมากมาย จะมากล่าวโดยรายละเอียดให้ครบถ้วนก็ไม่จำเป็น เอาแต่ว่า ไม่มีการรบกวน จากสัตว์หรือบุคคล หรือเสียงที่มันเป็นวิสภาค (นาทีที่ 3.46) คือไม่ถูกกัน แล้วก็รวมความถึงไอ้ที่ส่งเสริมความสบายด้วย ไอ้ส่วนที่ไม่สบายนั้น คือรบกวน ต้องไม่ให้รบกวน แล้วก็ให้มีความสะดวกสบายเท่าที่จะทำได้ นี่หมายความว่าถ้าเลือกได้ ทีนี่ถ้าทำอย่างไรก็เลือกไม่ได้ มันก็เอาเท่าที่จะหาได้ แล้วก็ยังมีอย่างจำเป็นที่ว่าเราจะทำในบ้านในเรือน ในที่อยู่ตามปกติ ก็หลีกเลี่ยงไปเท่าที่จะทำได้ ในการหลีกเลี่ยง รบกวนเช่นว่านั่งตรงนี้ เป็นที่เขามาทำอะไรกันบางอย่าง หรือว่าในป่าก็เป็นที่เก็บผักหักฟืนของคน หรือไปนั่งในที่ที่มันมีผลไม้ มีดอกไม้ ที่คนเขาจะต้องการ เขาไปเก็บผัก เก็บอาหาร เหล่านี้เรียกว่าไม่สงัด ก็หลีกเลี่ยงเสีย เท่าที่จะหลีกเลี่ยงได้ ที่ส่งเสริมความสบายก็คือว่า อากาศดี วิวดี เป็นต้น เพราะว่าข้อนี้มันก็ช่วยได้มากเหมือนกัน นั้นจึงมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าท่านเลือกที่ที่จะทำความเพียร ถ้อยคำเหล่านั้นหมายถึงความสะดวก สบายเท่าที่จะหาได้จากธรรมชาติ และสะดวกในการเป็นอยู่ ด้วยบิณฑบาต เป็นต้น แต่สำหรับวิวดี อากาศดีนี่ช่วยได้มาก อย่างนี้เรียกว่าที่สงัด ที่ปราศจากการรบกวน แล้วก็ส่งเสริมการกระทำของเรา
นี้ข้อที่ ๒ ที่ว่านั่งให้ถูกวิธี คู้ขาเข้ามาโดยรอบเรียกว่า บัลลังก์ แล้วก็ตั้งกายตรง อุชุงกายัง แล้วก็ดำรงสติรอบด้าน ปริมฺขัง ถ้าว่านั่งถูกวิธี ในข้อว่าคู้ขาเข้ามาโดยรอบนั่น ก็หมายความว่าเป็นท่านั่งที่ต้องการความมั่นคง ทำไมจึงคู้ขาเข้ามาโดยรอบล่ะ ถ้าเรานั่งอย่างเหยียดขาไปทางนั้น ทางนี้ มันไม่มีความมั่งคง บัลลังกัง นี้หมายความว่า คู้เข้ามาโดยรอบ ปริอังกะ (นาทีที่ 7.22) อะไรทำนองนั้น แล้วก็เหยียดขาไปแล้วก็คู้เข้ามาโดยรอบ นั่งอย่างนี้ คู้เข้ามาโดยรอบคืออย่างนี้ นั้นจึงอยู่ในท่าที่เขาเรียกว่า ที่เราเรียกกันว่าขัดสมาด ขัดสมาธิ พวกจีนเรียกท่านี้ว่า ท่านั่งของชาวอินเดีย เพราะพวกจีนไม่ประสีประสาต่อท่านั่งอย่างนี้ อย่างในประเทศจีนก็ใช้คำว่า จงนั่งด้วยท่านั่งของชาวอินเดีย ก็หมายความว่าขอให้นั่งด้วยท่าสมาธิ ไปนั่งเก้าอี้ หรือนั่งบนของรองเตี้ยๆ ห้อยเท้าบ้าง อะไรบ้าง ทำนองนี้ ไม่ ไม่ใช่ท่านั่งของชาวอินเดีย ท่านั่งของชาวอินเดียคือนั่งขัดสมาธิ ตรงกับคำว่า บัลลังกัง อาปูชิตวา ขอให้เข้าใจถึงความมุ่งหมายในท่านั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบนี่ คุณดูผมนั่ง นี่มันก็มีลักษณะเป็นปิรามิด คือข้างล่างมันกว้าง แล้วข้างบนมันเล็กสอบเข้าไป นี่เรียกว่า ปิรามิด นี่น้ำหนักมันก็อยู่ตรงศูนย์กลาง มันก็เลยมีความมั่นคงกว่าท่าอย่างอื่นหมด เมื่อจิตเป็นสมาธิถึงขนาดที่ไม่มีไอ้ความสำนึกเต็มที่ คือไม่มี conscious เต็มที่ มี subconscious มันก็อยู่ของมันได้ ทีนี้ก็มีข้อปลีกย่อยที่ว่า เราจะนั่งนาน ก็ต้องไม่ขัดเชิง ขัดท่ากันกับที่เลือดลมมันจะเดิน แล้วก็ไม่เจ็บด้วย นั้นท่านั่งที่ถูกวิธีก็คือ มัดกล้ามเนื้อมันลงไปรองหมดเลย เช่นอย่างนี้ นี่จะเห็นว่ามัดกล้ามเนื้อ ไม่ ไม่ ไม่มีกระดูกที่ถูกพื้น ดู ดู ที่ผมนั่งนี่สิ มีส่วนไหนที่เป็นกระดูกที่ถูกพื้น กล้ามเนื้อตะโพก กล้ามเนื้อขานี่ ไม่มีส่วนไหนที่เป็นกระดูกที่ถูกพื้น ตาตุ่มมันขึ้นมาอยู่บนนี้หมด นี่มันก็มีลักษณะปิรามิด อย่างนี้อีกก็เลยเป็นปิรามิด ๑๐๐ เปอร์เซนต์ ล้มไม่ได้ ล้มข้างหน้าก็ไม่ได้ ล้มข้างหลังก็ไม่ได้ ข้างๆ ก็ไม่ได้ พวกโยคีแบบฉบับ คือไม่เกี่ยวกับทางพุทธหรือทางไหน เขานั่งกันอย่างนี้ทั้งนั้น มันเป็นปิรามิดโดยสมบูรณ์ ล้มทางนี้ก็ไม่ได้ ทางนี้ก็ไม่ได้ ทางหน้าก็ไม่ได้ ทางหลังก็ไม่ได้ นั้นมาถึงขนาด subconscious มันก็อยู่เหมือนกับก้อนหิน นี่ถ้าไม่เคยนั่งก็ต้องหัดกันบ้าง นั้นคุณลองนั่งดูซิ นั่งอย่างนี้ดูก่อน นั่งไม่ให้มีกระดูกถูกพื้นนี่ มันเข้าขึ้นให้หมดสิ นั่นตาตุ่มถูกพื้นนั่น มันต้องขึ้นมาบนนี้ให้หมดสิ เขาเรียก ขัดสมาดเพชร อย่างนั้นตาตุ่มไปถูกพื้น ต้องเอาขึ้นมาบนนี้หมด นี่ดูสิ นี่ดูสิไอ้เท้ามันอยู่บนนี้หมด ไม่มีส่วนที่เป็นกระดูกถูกพื้นเลย นี้ถ้าเพื่อมันแน่นหนาก็คือ เหยียดแขนออกไปนี้ ครั้งแรกก็ฝืนหน่อย ตอนหลังก็สบาย นี่ก็ดูกระดูกสันหลังยืดเต็มที่ มันเป็นกายที่ตรง ถ้าเราทำข้อนี้ กระดูกสันหลังมันงอ เลือดลมไม่สะดวก การหายใจก็ไม่สะดวก ได้ผลคือว่า กระดูกสันหลังตรง การหายใจสะดวกหรือเหมาะที่จะใช้สำหรับเป็นอารมณ์ แล้วก็ล้มไม่ได้อยู่เป็นชั่วโมงๆ ก็ได้ ไอ้อย่างนี้มันยังดีน้อยไป คือมันยัง..ไม่ได้ ถ้าอย่างนี้ก็เป็นอันว่านั่นเลย แล้วใช้เครื่องนุ่งห่มแต่น้อย นี่เรียกว่าคู้ขาเข้ามาโดยรอบอย่างนี้ แล้วก็มานั่นกันไว้ในลักษณะที่จะไม่เจ็บตาตุ่ม หรือไม่เจ็บกระดูกเข่าอะไรหมด ถ้าทำอย่างนี้ไอ้ตรงเข่านี่มันก็ไม่ถูกพื้น กล้ามเนื้อทั้งนั้นเลยที่รองอยู่ข้างล่าง
ตั้งกายตรง ธำรงสติโดยรอบด้าน ก็คือว่า ท่านั่งที่มันให้ความสะดวกสบาย เสร็จแล้วก็รวบรวมความรู้สึกที่เป็นสตินั่น มาอยู่ตรงที่เราจะใช้เป็นอารมณ์ ถ้าใช้วงกสิณ มันก็วางตรงหน้า หรืออสุภก็วางอยู่ตรงหน้า นี่เรียกว่าอารมณ์ข้างนอก ทีนี้เราไม่ได้ใช้อารมณ์ข้างนอก เพราะเป็นเรื่องของอานาปานสติ เป็นอารมณ์ข้างใน คือลมหายใจ นี้ก็มีสติ หายใจออก-เข้า ข้อนี้หมายความว่า ไอ้การหายใจออก-เข้านี่มันหายใจอยู่แล้ว เพียงแต่เราไปกำหนดเข้าที่ลมหายใจที่มันออก-เข้า เพื่อรู้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับการหายใจออก-เข้า นี้มันก็หมดไปตอนหนึ่งแล้ว คือว่าตอนปุพพภาคที่ตระเตรียมอย่างนั้นอย่างนี้
ที่นี้ก็เริ่มการปฏิบัติที่เป็นขั้น ขั้นๆๆ ไป ๑๖ ขั้น ตอนนี้ขอทบทวนความเข้าใจว่า อานาปานสติ ๑๖ ขั้น มีอยู่ ๒ ขั้นแรกเท่านั้น ที่กำหนดลมหายใจนั้นเองเป็นนิมิตหรืออารมณ์อยู่ทุกครั้งที่หายใจออก-เข้า เหลือนอกนั้น ๑๔ ขั้น มันกำหนดที่สภาวธรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง เปลี่ยนไปตามลำดับจนกว่าจะครบ ๑๖ ขั้น
ทีนี้ที่ใช้ลมหายใจเป็นอารมณ์มันก็ไม่ใช่เหมือนกัน อยู่ ๒ ขั้น อันหนึ่งก็ว่า ลมหายใจยาว อันหนึ่งก็ลมหายใจสั้น นี้เราพูดเรื่องการหายใจกันเสียก่อน ให้รู้เรื่องเกี่ยวกับลมหายใจ โอ้, เดี๋ยวผมยังสงสัยอยู่ว่า ไอ้เรื่องรายละเอียดต่างๆ จะพูดกันถึงขนาดไหน อย่างว่านั่งนี่จะมีอะไรรอง หรือไม่อย่างนี้เป็นต้น บางทียังไม่ต้องพูดกระมัง ก็ไปนึกเอาเองแล้วกันว่า เมื่อต้องการนั่งนานก็มีของรองนั่งที่เหมาะสม อย่างพระพุทธเจ้าจะนั่งโคนต้นโพธิ์ ก็มีหญ้าคารองอย่างนี้ ไอ้เราก็มีสิ่งที่รองตามสมควร ที่จะหาได้ คือว่าเพื่อให้มัน มัน นั่งได้นานยิ่งขึ้นไปอีก ถ้าของนั้นมันเป็นของนุ่มอยู่บ้าง เช่นหญ้า ก็หมายความว่ามันมีสปริงที่ทำให้มันนั่งมันนุ่ม แล้วถ้ามีอะไรสงสัยก็ถามได้ตอนนี้ เผื่อผมลืมไป นี่ถามว่าตา ลืมหรือหลับ ถ้าเป็นนักเลงแท้ๆ เขาลืมตา ถ้าเป็นโยคีสมบูรณ์แบบเท่าที่ได้สอบสวนมาหลายต่อหลายคนแล้ว ถ้าทำอย่างนักเลงเต็มที่แล้วไม่หลับตา เขาลืมตา แต่ว่าเป็นการลืมตาอย่างที่มองไม่เห็นอะไร คือมองไปที่ปลายจมูกเฉยๆ จนไม่เห็นอะไร วิธีอย่างนี้ มันเป็นเรื่องก่อนพุทธกาล แล้วก็รับ ใช้ต่อๆ กันมา จนพุทธกาล แม้ในวงพุทธศาสนา เราก็ใช้ของดั้งเดิมนั่นแหละ ของดั้งเดิมที่มีอยู่ก่อนพุทธกาล เพราะของอย่างนี้ เขาถือว่าสากล ไม่ ไม่เป็นของใคร การทำจิตให้เป็นสมาธินี่ มันเป็นวิชาที่รู้กันมาก่อนพุทธกาล ไอ้ของเบ็ดเตล็ด เช่นนั่ง เช่นอะไร ทำนองนี้มันก็แล้วแต่ความชอบ หรือความพอใจ ไอ้ลืมตานี้มันมีประโยชน์มาก คือว่ามันไม่แสบตา มันประหลาดไหม ไอ้ลืมตานี่ไม่แสบตา แล้วไม่ชวนให้ง่วง หรือหลับ ถ้าหลับตานั้นน่ะ มันจะชวนให้ง่วง หรือมันจะหลับเสียง่าย แล้วมันร้อน มันร้อนที่ตา ถ้าลืมตาอยู่ตามปกติ เหมือนที่เราลืมอยู่ตามปกติ ทั่วๆ ไปนี้ ไม่ร้อน ตาไม่ร้อน ทีนี้ไอ้พวกหนึ่งเขาก็แย้งว่า ถ้าลืมตาเขาเห็นนั่น เห็นนี่ ทำจิตให้เป็นสมาธิไม่ได้ ไอ้นั่นมันเด็กเกินไป คือว่ามันไม่เป็นโยคี ที่มีจิตใจเข้มแข็ง ไอ้โยคีที่มีจิตใจเข้มแข็ง บังคับได้ ไอ้ตานี้มองแต่ปลายจมูกเท่านั้น มันไม่เห็นอะไร นี่ลองทำดู ให้เข้าใจเสียเลย นั่งให้ตรง แล้วก็มองที่ปลายจมูกอย่างแรง เพ่งปลายจมูกอย่างแรง มันก็ไม่เห็นอะไร มันก็ต้องอาศัยไอ้ ไอ้ความสามารถเบ็ดเตล็ดอย่างนี้ด้วยเหมือนกัน ถ้าเป็นคนที่อ่อนแอ แม้แต่จะเพียงบังคับไอ้ลูกตาให้มองที่ปลายจมูกก็ไม่ได้นี่ก็ มันก็เรียกอ่อนแอเกินไป นั้นเขาอาจจะต้องใช้หลับตา หลับอะไรก็ไปตามเรื่องของเขา แต่เมื่อพูดถึงไอ้สมบูรณ์แบบที่มีมาแต่โบราณ ที่พวกโยคีแท้จริงเขาใช้กันอยู่แล้ว ลืมตาทั้งนั้น นี้ตามันค่อยๆ หลับไปเองทีหลัง เมื่อจิตมันเต็มที่แล้ว มันหลับของมันเองได้ ทีนี้เมื่อลงมือบังคับ ตอนแรกนี้ลืมตา เป็นการบังคับอันหนึ่งด้วย บังคับให้ตาลืม แล้วบังคับให้ดูอยู่ที่ปลายจมูก นี่เขาเรียกว่าอายามะ(นาทีที่ 20.14) อย่างหนึ่ง หนึ่งๆ ในหลายๆ อย่าง เช่นกำหนดลม เอ้อ กำหนดสติ บังคับสติกำหนดที่ลมหายใจ นี้มันก็เป็นอายามะ อายามะนี้แปลว่าการบังคับ หรือจะเรียกว่า สำรวมหรืออะไรกันได้ทั้งนั้น มันเต็มไปด้วยการบังคับ แม้ว่าที่เราจะต้องนั่งอย่างนี้ มันก็เป็นการบังคับ คือไม่ให้นั่งตามสบายใจ ต้องนั่งขัดสมาดอย่างนี้ เป็นการบังคับล่ะ ขัดสมาดมันก็มีอยู่หลายชั้น ปล่อยตามสบายอย่างนี้ก็มี นี่ นี่ ดูสิ หมายความว่าตาตุ่มทั้ง ๒ อยู่ที่พื้น ก็ตามสบายเลย อย่างนี้มันไม่ลำบากนี่ ก็คือไม่บังคับ ที่บังคับอย่างยกอันนี้ขึ้นมา นี่บังคับ ถ้าเอาอันนี้ขึ้นมาบนนี้ ก็บังคับมากขึ้น อย่างนี้อีก ก็ยิ่งบังคับมากขึ้น ก็เป็นอายามะ หลายๆ อย่างทางร่างกาย ทางลมหายใจ ทางตา ทางจมูก มันเป็นเรื่องบังคับ เข้ามาสู่ความเข้มแข็ง นั้นต้องยินดีที่ให้มันเป็นการบังคับ ไอ้หลวมๆ อย่างนี้ เรียกอะไร ขัดสมาดอะไร ก็ลืมแล้ว ถ้าข้างเดียวอย่างนี้เขาเรียก ดอกบัว ปัทมาสนะ ดอกบัว ถ้าขึ้นมาอย่างนี้เป็นเพชร วัชระ หรือวัชชิรา คือการบังคับที่มากขึ้นตามลำดับ ไอ้ดอกบัวนี้คือปล่อยตามสบายอย่างนี้ แต่ชื่อนี้ไม่สำคัญแล้ว มันเรียกไม่ค่อยเหมือนกันเสียด้วย แต่ถ้าวัชราสนะ วัช-ชะ-ระ ที่แปลว่า เพชร นั่น นั่งในท่าเพชร คือที่เราเรียกกันว่าขัดสมาดเพชร พระพุทธเจ้าทำสมาธิก็นั่งขัดสมาดเพชร นั้นพระแท่นนั่นเลยเรียกว่า วัชรอาสน์ มาจนบัดนี้ ที่โคนต้นโพธิ ที่อินเดีย แท่นนั้นได้ชื่อว่าวัชรอาสน์
นี่ให้เห็นว่า เต็มไปด้วยการบังคับ ในชั้น ชั้นแรกนี้ พวกฝรั่ง พวกออสเตรเลีย มานั่งลากขาตัวเองกันอยู่ร้องโอย โอย น้ำตาไหล ที่ประเทศพม่า ผมไปเห็น มันนั่งขัดสมาดไม่ได้ ขามันแข็ง อาทิตย์หนึ่งก็ยังนั่งไม่ได้ ดึงขาเข้ามาที่ก้นนี่ มันนั่งไม่ได้ นี่อาจารย์เขาก็ไม่ยอม บอกว่า ทำอย่างนี้ไม่ได้ จะทำอะไรได้ ทั้งผู้หญิง ผู้ชายมานั่งอย่างนี้ หัดลากขาเข้ามาซ้อนอย่างนี้เป็นอาทิตย์ๆ นี่เรียกว่า ไทยเราก็ได้เปรียบที่เรานั่งขัดสมาดเป็นมาแต่เล็กแต่น้อย ตั้งแต่เด็กๆ ฝรั่งไม่เคยนั่ง นั่งแต่เก้าอี้เรื่อยมา ขาแข็งหมด แม้แต่ข้อนี้ถ้าไปเผยแผ่ที่ต่างประเทศ มันก็ยังเป็นปัญหา ที่เขานั่งไม่ได้ เราจะบังคับให้เขานั่งให้ได้ก็จะมีปัญหา นี่ถ้าไปใช้นั่งเก้าอี้ ไอ้พวกอาร์มแชร์นั้น มันก็เลย มันไม่มีไอ้ความแข็ง แบบปิรามิด(นาทีที่ 23.45) เลยแล้วมันหลับง่าย แล้วมันอะไรทุกอย่าง มันไม่มีการบังคับเขา ผลมันก็น้อยกว่า นี้เรื่องนั่ง รวมทั้งหลับตา หรือไม่หลับตา เพ่งอะไร นี้ก็เป็นเรื่องที่ เลือกให้ดีที่สุดก็แล้วกัน ถ้าตามันเพ่งอยู่ที่ปลายจมูกแรง มันก็ไม่เห็นอะไร แล้วหูก็พลอยไม่ได้ยินอะไรไปเอง ก็อย่าไปถือให้มันเคร่งครัด หยุมหยิมนัก อย่างเสียง อย่างนี้นา ที่ไหนๆ มันก็ต้องมีเสียงบ้าง เสียงนก เสียงหนู เสียงแมลง เสียงอะไรต่างๆ มันก็ต้องมี อย่างนั่งตรงนี้ลองหลับตา แล้วหูลองฟังเสียงดู มีเสียงเยอะแยะ เสียงนก เสียงแมลงหลายๆ ชนิด อ้อ, ตรงนี้ขอแถมพกไอ้พิเศษว่า เกี่ยวกับทางหูนี่ ถ้ามันรำคาญด้วยเสียง ได้ที่ปรากฏอยู่ เช่นเสียงนกร้อง โก๊ก โก๊กอยู่อย่างนี้เป็นต้น มันมีวิธีหนี คือเราตั้งใจที่จะฟังเสียงที่เล็กกว่า เสียงเบากว่า เราทำความพยายามที่จะฟังเสียงที่เบากว่า เสียงนกดังกว่า หูจะพยายามฟังเสียงที่ดังน้อยกว่า ก็คือ เสียงจิ้งหรีดที่ดังอยู่นี้ เสียงจิ้งหรีดได้ยิน เมื่อเราพยายามจะฟังเสียงที่เบากว่า จะไม่ได้ยินเสียงที่ดังกว่า นี่ไม่น่าเชื่อ นี้เรากำลังจะฟังเสียงที่น้อยกว่า น้อยกว่า ๆๆ ลงไป อันนี้ก็ควรจะฝึกได้ จนได้ยินเสียงที่เล็กที่สุด ก็ต้องได้ยินเสียงหายใจของตัวเอง กระทั่งได้ยินเสียงหัวใจที่เต้นอยู่ข้างในซึ่งตามธรรมดาไม่ได้ยิน ไม่มีใครได้ยินเสียงหัวใจของตัวเองที่เต้นอยู่ข้างใน เว้นไว้แต่ฝึกตามวิธีนี้ นี่คืออุบายอย่างยิ่งที่จะหลีกจากเสียงที่ที่รู้สึกว่ารบกวน ถ้าเราไปนั่งริมทะเลฟังเสียงคลื่น ก็พยายามฟังเสียงที่เล็กกว่าเสียงคลื่น จนไม่ได้ยินเสียงคลื่น อย่างนี้เป็นต้น ถ้ามีเสียงอะไรที่เล็กกว่า ก็พยายามอย่างนั้น ลงไปอีก ไปอีก จนได้ยินหัวใจของตัวเองเต้น โดยไม่ได้ยินเสียงคลื่น ตูม ตูม นี่ทางหู ถ้าฝึกมันก็มีได้ถึงอย่างนี้ นั้นพวกนี้เขาไม่มีปัญหาหรอกที่ว่าจะมีเสียงนก เสียงอะไรก็ตาม มัน เมื่อมันหลีกไม่ได้ มันก็ต้องหาวิธีที่จะไม่ได้ยินมันเท่านั้น คือทำอย่างที่ว่านี้ ทีนี้ สำหรับเสียงมันก็มี ๒ ประเภทคือ เสียงที่มีความหมาย กับเสียงที่ไม่มีความหมาย ไอ้เสียงมีความหมายเช่น เสียงมนุษย์ แล้วเป็นเสียงเพศตรงกันข้ามแล้วยิ่งมีความหมาย เสียงอย่างนี้รบกวนมากเพราะเป็นเสียงมีความหมาย ถ้าเสียงไม่มีความหมาย เช่น เสียงคลี่นอย่างนี้ มันก็รบกวนน้อยหรือเกือบจะไม่รบกวน ถ้าเสียงตามธรรมชาติ เช่น เสียงนกอย่างนี้จะไม่รบกวน ถ้าเสียงตามธรรมชาติเช่นเสียงนกอย่างนี้ ถ้าเราเป็นคนชอบนก มันก็ลำบากเหมือนกัน แล้วเสียงนกบางชนิดมันก็ชวนให้เกิดความหมาย คือความไพเราะของมัน นั้นเราก็มีหลักที่ว่า เสียงให้เกิดความหมายนั้น เราพยายามหลีกเลี่ยงเท่าที่จะหลีกเลี่ยงได้ ส่วนเสียงที่ไม่มีความหมาย ไม่เกิดความหมาย ไม่ต้องหลีกเลี่ยง เพราะว่าถ้ามัน ถ้ามันไปเพ่งอยู่ที่อารมณ์ของสมาธิแล้ว ไอ้หู ไอ้ตาอย่างนี่มันไม่ทำงานเอง ก็ไม่ได้ยิน แต่เสียงที่มีความหมายหนัก คือเสียงเพศตรงกันข้ามนี่มันยาก มันยากที่จะไม่ได้ยิน เพราะว่าจิตในภายในมันต้องการจะรับ เราก็ยังเป็นผู้บังคับจิตไม่ได้อยู่เดี๋ยวนี้ นั้นเสียงชนิดนี้มีความหมาย คือมีการรบกวนอย่างยิ่ง ก็หลีกไปเสียก่อน นั้นทำสมาธิในป่ามันสะดวกกว่าทำในบ้านในเมือง มีอะไรก็ถามได้ วันนี้พิเศษนะ คือไม่ได้เป็นบรรยายล้วนๆ การอธิบายโดยรายละเอียดออกไปอย่างนี้
ถาม ในการกำหนดลมหายใจนี่ นานเท่าใด
ตอบ นั่น ยังไม่ถึงนี่ พูดถึงนั่งนี่ให้เสร็จเสียก่อน เดี๋ยวก็จะถึงไอ้ที่คุณถาม เรื่องเกี่ยวกับ ไปสู่ที่สงัดแล้วก็ไปนั่งอย่างนั้นๆ แล้วก็ดำรงสติอย่างนั้นๆ ถ้าไม่มีผ่านไป อ้าว, ทีนี้ถือว่า ไอ้ปุพพภาคเขต(นาทีที่ 29.39) นั้นหมดกันที ก็มาถึงตัวการปฏิบัติขั้นที่ ๑ มีลมหายใจยาวเป็นอารมณ์ ขั้นที่ ๒ มีลมหายใจสั้นเป็นอารมณ์ ขั้นที่ ๓ มีกายทั้งปวง คือเรื่องเกี่ยวกับลมหายใจทั้งปวงเป็นอารมณ์ ขั้นที่ ๔ ทำกายสังขารให้ระงับอยู่เป็นอารมณ์ เมื่อวานพูดไว้แล้วจดไว้แล้ว จดทำไมอีกหล่ะ
ขั้นที่ ๑ มีลมหายใจยาวเป็นอารมณ์ เมื่อตะกี้ก็พึงสังเกตว่า ลมหายใจนั้นมันมีหลายอย่าง นั้นเราหัดรู้จักมันเสียให้ทุกอย่าง ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ลมหายใจยาว ลมหายใจสั้น ลมหายใจเร็ว ลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียด นี่ไม่ต้องจดก็ได้ หรือจดก็ตามใจ มันเป็นคู่ๆ คู่ๆ อย่างนี้ ให้เรารู้จัก ไอ้ที่เรียกว่ายาว สั้น หยาบ ละเอียด ช้า เร็ว แล้วเราก็จะตั้งต้นการกำหนดเฉพาะที่ลมหายใจยาว พยายามจะค้นหาความหมาย ยาวให้ได้ จนรู้ว่าอย่างนี้เรียกว่า ยาว ไอ้ตรงกันข้ามก็เรียกว่า สั้น ตามปกติเราหายใจ เราไม่ได้ไปสนใจว่า มันจะยาวหรือจะสั้น นี่เป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่ง ทีนี้ข้อเท็จจริงอันต่อไปมันก็มีว่า ถ้าอารมณ์มันดี ใจคอมันดี ปกติดี มันก็หายใจยาวกว่าเมื่ออารมณ์มันร้าย เมื่ออารมณ์มันร้ายด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลงอะไรก็ตาม มีอารมณ์ร้ายนี่ ลมหายใจมันก็สั้น แล้วมันก็หยาบด้วย มันก็กินเวลาน้อยด้วย นี้เมื่อใจคอ หรืออารมณ์ปกติดี ร่างกายปกติดี มันก็ยาวตามธรรมชาติของมัน นี่ก็รู้ข้อเท็จจริงอย่างแล้วว่า อารมณ์ดีทำให้ลมหายใจยาว หรือลมหายใจยาวทำให้อารมณ์ดี พออารมณ์ของเราไม่ดี เราก็ถอนใจใหญ่ โดยธรรมชาติ โดยไม่รู้สึกตัว หมายความว่า ลมหายใจมันสั้นๆๆๆ มาจนไม่พอใช้แล้วก็ถอนใจ ถอนใจใหญ่ ซึ่งธรรมชาติมันบังคับให้ทำเอง มันก็เริ่มยาว ยาวกว่า นั้นการถอนใจใหญ่ ถอนหายใจใหญ่มันก็คือ การฟื้นกลับมาหาความยาว ทำให้โล่งไปทีหนึ่ง ร่างกายก็สบายกว่าเดิม เพราะการหายใจยาวนั้น นี้ นี้ เป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ให้สังเกตให้เข้าใจกันก่อน ว่าร่างกายปกติ ใจคอปกติ ลมหายใจยาว ถ้าผิดปกติลมหายใจสั้น ถ้าสั้นมันก็หยาบ เสียงฉุดฉิดๆ ฉุฉิๆ เพราะว่ามันผิดปกติ มันก็หยาบ มันก็เร็ว มันสั้น ถ้ายาวมันก็ช้ากว่า นานกว่า ละเอียดกว่า มันถูกขยายให้มันยาว มันจึงละเอียดกว่า
ที่เราลองพยายามศึกษาให้รู้ว่ายาว สั้น ได้เท่าไร เอาข้างยาวกันก่อน หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว มีเครื่องสังเกต มีอยู่ ๓ ชนิด คือยาวตามปกติ ซึ่งเราไม่ได้กำหนดมัน ยาวตามปกตินี่มันก็อย่างหนึ่ง มันยาวพอประมาณเท่านั้น นี้พอไปบังคับเข้า ยกตัวอย่างการหายใจเข้านี้ หายใจเข้ายาวกว่าธรรมดา ไปบังคับเข้า มันก็รู้สึกพองออก ในส่วนช่วงนี้ ช่วงที่เป็นหน้าอกและท้องนี่ แต่ถ้าเราบังคับให้ยาวยิ่งกว่านั้นอีก ยาวให้สุดเหวี่ยง สุดจะขาดใจนี่ ไอ้ปอดมันขยายไปเรื่อย ๆๆๆ ดึงเนื้อที่ส่วนท้องแฟบเข้าไป แฟบเข้าไป คุณลองหายใจให้ยาว ยาวเกินนะ จะรู้สึกว่าไอ้ส่วนท้องแฟบเข้าไปเพราะมันมาออกส่วนบน คือส่วนปอด ยาวตามธรรมชาตินี่ไม่รู้สึกอะไร ไอ้ยาวเรียกว่ายาวเต็มที่ ส่วนนี้พองออก แล้วก็ยาวเกิน ก็คือว่าส่วนท้องจะยุบเข้าไป ไปนั่งทำดู หายใจเข้าสุดเหวี่ยงมันจะบานส่วนหนึ่ง แล้วส่วนล่างจะแฟบ เช่นยาวเกิน ส่วนออกก็เหมือนกันแหละ ไอ้ส่วนบนนี่มันจะแฟบแล้วส่วนล่างจะพองออกไป นี่ยาวเกินนา คือเกิน เกินปกติ เพราะเราไปบังคับมันเข้า นั้นพูดไม่ได้ว่าไอ้ท้องป่องหรือท้องแฟบ หายใจเข้าตามธรรมดา ยาวตามธรรมดามันก็ป่องได้ แต่พอยาวเกินกลับแฟบ ส่วนท้อง เพราะมันมี ไอ้ส่วนสำคัญอยู่ที่ปอด ถ้ามันขยายตัวออกไปมาก ขยายตัวออกไป ไอ้ท้องก็รู้สึกแฟบเข้าไป นี่เป็นข้อเท็จจริง แต่ไม่ค่อยมีใครเชื่อ นั้นไปทดลองเอาเอง ให้มันยาวที่สุด เอ๊ะ, ทำไมเวลามันเร็ว ยาว นี่ว่าเรื่องยาว เอาให้สั้นที่สุด ให้สั้นๆๆๆๆ ที่สุดอีก ตอนนี้เป็นการทดลองเท่านั้น ไม่ใช่ลงมือทำสมาธิ ยังไม่ได้ลงมือทำสมาธิ เป็นการทดลองให้รู้จักคำว่ายาว คำว่าสั้น นี่เรารู้ว่ายาวมาก บังคับเป็นอย่างนั้น แล้วก็บังคับที่สุดเป็นอย่างนั้น ที่ร่างกายมันรู้พอดีของมันเอง คือเราลองให้มันทำยาวสุดดู แล้วก็สั้นสุดดู แล้วมันจะไปอยู่ของมันพอดีโดยธรรมชาติได้ ทีนี้ทำให้สั้นนี่ ก็รู้อยู่ทีแรกว่า ถ้าอารมณ์ ใจคอไม่ปกติ ลมหายใจมันสั้น ทีนี้เรามาทำเมื่อใจคอปกติ นี้เราจะทำให้มันสั้นด้วยการบังคับ นี้บังคับด้วยหลายๆ วิธี วิธีสะดวกก็คือนับ ก็ใช้การนับเป็นควบคุม สมมติว่าเราหายใจยาว ที่เราเป็นที่พอใจแล้ว ยาวนี่ ๒๐ วินาที แล้วเราก็นับได้ ๒๐ เราพยายามนับให้เข้ารูปของธรรมชาติ คือว่า ๑ ๒ ๓ ให้มันตรง ๑ วินาที ต่อนับ ๑ ครั้งนี่ อย่างนี้มันจะทำง่าย นี้เราก็ลดจำนวนนับให้มันน้อยเข้า มันก็ ไอ้ระยะหายใจมันก็สั้นเข้า นี่ทางหนึ่ง แล้วอีกอันหนึ่งเราก็นับให้มันเร็วเข้า แทนที่ ๒๐ วินาทีนับได้ ๒๐ ครั้งก็นับให้มันเร็วเข้า เร็วเข้า ก็พอดีหายใจสิ้นสุดครั้งหนึ่ง อย่างนี้จะทำให้ลมหายใจสั้นเข้า คือว่าลดไอ้ตัวเลขนับลงก็ได้ หรือว่าเราจะนับให้เร็วเข้าก็ได้ บังคับไอ้ลมหายใจให้ลงจังหวะสั้นเท่านั้น สั้นเท่านี้ ตามที่เราต้องการ เหล่านี้เป็นเรื่องฝึกหรือเป็นเรื่องทดสอบให้รู้ว่าลมหายใจสั้นหรือยาว ยังไม่ใช่ลงมือทำสมาธิขั้นที่ ๑ เลย แต่เราปรับไอ้ร่างกายให้ดี ปรับลมหายใจให้ดี ให้รู้ว่าอย่างไร เป็นอย่างไร กันเสียก่อน จะทำง่าย จะทำได้ง่ายในขั้นต่อไป ถ้าจมูกไม่ดีก็ไปแก้ไขจมูกเสียก่อน คุณไม่รู้หรอกว่าจมูกมันไม่ดี เพราะมันไม่เคยทดสอบนี่ แล้วไปทดสอบ ถ้าอุดไว้ข้างหนึ่งแล้วก็หายใจดู แล้วอุดไว้ข้างหนึ่งแล้วหายใจดู มันไม่เท่ากันหรอก ข้างหนึ่งหายใจลำบากกว่า ลองดูเดี๋ยวนี้ก็ได้ หายใจยาวๆ แล้วอุดไว้ทางนี้ รู้สึกคล่อง ตอนนี้ลองทางนี้ คล่องกว่าหรือว่าบางทีก็คล่องน้อยกว่า นี่แสดงว่าเรามีจมูกที่ไม่เท่ากัน แก้ไขได้โดยไปล้าง หรือไปสั่งขี้มูกไอ้ข้างที่มันไม่ค่อยคล่อง ให้มันคล่อง โดยวิธีง่ายๆ ที่เขาทำกันมาแต่บรมโบราณ คือสูดเอาน้ำเข้าไป โดยรูข้างที่มันไม่ค่อยจะคล่อง แล้วก็สั่งอย่างสั่งขี้มูกให้น้ำกลับออกมา ทำบ่อยๆ เข้า ไม่กี่วัน มันมีการหายใจที่เท่ากันดีทั้ง ๒ ข้าง นี่เป็นเรื่องปรับปรุงร่างกาย ปรับปรุงจมูก ปรับปรุงอะไรต่างๆ ในเบื้องต้น ให้เรามีจมูกคือมีการหายใจที่สะดวกที่จะทำอานาปานสติ แล้วอาจจะทำสำเร็จได้ภายใน ๒ – ๓ วันหรืออีกกี่วัน ครั้งแรกก็อย่าไปเอาอะไรมาก หัดนั่งโดยไม่รู้สึก คล่อง หัดนั่งให้หลังตรงเพราะมันเคยแต่หลังงอ โดยเฉพาะคนชาวบ้านเขานั่งหลังงอ ถ้าจะเป็นนักสมาธิ เป็นนักโยคี ต้องหัดนั่งหลังตรง ไม่ตะแคง ไม่ก้ม ไม่หงาย ไม่อะไร ให้ตรงเป็นรูป ปิรามิดนี้ ยังมีอะไรอีกล่ะที่เกี่ยวกับปรับปรุงอวัยวะการหายใจ ปรับปรุงร่างกาย ตั้งข้อสังเกต รู้จักไอ้ความสั้น ความยาวที่ไปตามธรรมชาติ ความสั้น ความยาวที่เราบังคับ แล้วความสั้น ความยาว ที่เราบังคับเกินกว่าเหตุ มีอยู่อย่างนี้
บังคับธรรมดามันก็อย่างหนึ่ง บังคับเกินกว่าเหตุมันก็กลับเป็นอีกอย่างหนึ่ง บังคับเกินกว่าเหตุ หายใจเข้าท้องกลับแฟบ แล้วมาบานส่วนข้างบน หายใจออกเกินกว่าเหตุมันก็แฟบข้างบน ไปพองข้างล่าง นี่มันฝืนกันอยู่กับที่เหตุผลทางธรรมดาสามัญจะคิดได้ เว้นไว้จะไปทดลองดูเท่านั้น
อ้าว, ทีนี้เราก็เริ่มการปฏิบัติขั้นที่ ๑ ที่ลมหายใจยาว ในพระบาลีนั้น ในภิกขุนั้นหายใจออก-เข้า ก็เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ทั่วถึงว่าหายใจออกยาว เมื่อเราหายใจเข้ายาว รู้ทั่วถึงว่าเราหายใจเข้ายาว สูตรมันอย่างนั้น เมื่อหายใจออกยาว รู้ว่าเราหายใจออกยาว คำว่ารู้นี้ มันใช้คำว่า ปชาติ มันรู้ทั่วถึง หมายความว่ารู้อย่างรอบคอบ ไม่ใช่สักว่ารู้ ก็คืออย่างที่ว่ามาแล้ว ยาว เมื่อหายใจออกยาวอยู่อย่างนี้ เรารู้สึกว่าไอ้ยาวมันคือยังไง แล้วมันจะพลอยรู้สึกไปถึงไอ้สิ่งอื่นๆ ที่มันเนื่องกับความยาวเหล่านั้นได้ นี่คืออิทธิพลของความยาว มันมีความรู้สึกที่ส่วนร่างกายอื่นๆ อย่างไร นี้ก็นับรวมอยู่ในส่วน ปชานาติ
ขั้นที่ ๑ มีแต่เรื่องยาว ยาวธรรมดา ยาวออกไปอีก ยาวที่สุดอะไร ก็ให้ มัน จะตั้งข้อสังเกตแต่เรื่องยาว เกี่ยวกับความยาว จนแตกฉานในเรื่องความยาวของลมหายใจ ถ้ามันจะฝึกกินเวลาเท่าไรก็ตามใจ จนรู้คำว่า ยาว ดีที่สุด
ทีนี้ขั้นที่ ๒ จึงค่อยมาสนใจไอ้คำว่า สั้น เมื่อหายใจออกสั้น รู้ทั่วถึงว่าหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ให้รู้ทั่วถึงว่าหายใจเข้าสั้น ไม่มีทางไหนดีกว่าไปนั่งสังเกตเอาเอง ว่ายาวเป็นยังไง สั้นเป็นอย่างไร เมื่อยาวอารมณ์เป็นอย่างไร เมื่อสั้นอารมณ์เป็นอย่างไร เรียกว่ารู้ทุกอย่างเกี่ยวกับลมหายใจ ที่มันมีอิทธิพลต่อร่างกาย แล้วก็รอบรู้ไปถึงว่าเมื่อไรเมื่อมีเหตุการณ์อย่างไร ร่างกายอยู่ในสถานะอย่างไร มันจึงยาว มันจึงสั้น นั้นในบาลีไม่ได้อธิบายอะไรละเอียด จนทำให้คนแรกเข้ามาอ่าน คิดว่านี่มันไม่มีเหตุผลอะไร หรือไม่มีความสำคัญอะไรที่ต้องรู้เรื่องยาว เรื่องสั้น ที่จริงมีความหมายมาก มีเหตุผลมากที่จะต้องรู้เรื่องยาว เรื่องสั้น แล้วเหตุผลที่ว่านั้นก็คือว่า ลมหายใจยาวมันมีอิทธิพลต่อร่างกายอย่างหนึ่ง ลมหายใจสั้น มันมีอิทธิพลต่อร่างกายอย่างหนึ่ง ถ้ากล่าวกับกันมันก็ คือว่า เมื่อร่างกายอยู่ในสภาพอย่างหนึ่งทำให้ลมหายใจยาว เมื่อร่างกายอยู่ในสภาพอย่างหนึ่งลมหายใจสั้น นั้นตอนแรกเรายังไม่รู้อะไรมาก รู้แต่เพียงว่ายาวเป็นอย่างไร สั้นเป็นอย่างไร แล้วผลของมันเมื่อมันยาว หรือมันสั้น มันเป็นอย่างไร
ทีนี้ไอ้เป็นสมาธิมันเริ่มมีตรงที่เรามีสติ สมมติว่าเรียกว่า สติ เป็นผู้คอยกำหนด ให้มันเหมือนกับวิ่งตามอยู่อย่างนั้น ลมหายใจออก-เข้า ไอ้สตินี่ก็วิ่งตาม เพราะนั้นมันต้องรู้ว่า ออกไปอย่างไรแล้วสิ้นสุดลงตรงไหน เข้าเป็นอย่างไร แล้วสิ้นสุดลงตรงไหน ใช้ความรู้สามัญสำนึก ก็พอจะเข้าใจได้ แต่ไม่ชัดเจนเท่ากับวิธีหรือระเบียบที่เขาแนะนำไว้ให้ โดยการสมมติว่าจุดข้างใน สมมติว่าที่สะดือ ความสะเทือนของการหายใจนี้ มีความสะเทือนให้รู้สึกได้ลงถึงที่ สะดือ ที่ท้อง นี่เรียกว่าสุดข้างใน แล้วสุดข้างนอก ก็ที่ปลายจมูก พอออกพ้นจมูกไปแล้วเราก็ไม่มีทางจะรู้สึกอะไรได้ มันก็เลยมีจุดข้างในคือสะดือ จุดข้างนอกคือที่สุดของจมูก มีข้อสังเกตนิดหน่อยว่า ลมมันกระทบที่ตรงไหน ที่จมูก เอาตรงนั้นเป็นจุดข้างนอก คนจมูกโง้ง มันก็กระทบที่สุดโง้งของจมูก แต่ถ้าคนจมูกเชิดมันไม่กระทบไอ้สุดของจมูก มันมากระทบที่ไอ้ริมฝีปากข้างบนได้ นี่มันจะได้มากถึงขนาดอย่างนี้ นี้เราก็สังเกตเอาเองว่าเราจะเอาไหนเป็นจุดที่มันกระทบ ก็ลองหายใจแรงๆ ดู มันกระทบ พอสมมติได้ว่า ตรงนี้ ตรงที่มันกระทั่งผนังนี่ เป็นจุดที่เราจะกำหนดได้ง่ายก็เอาตรงนั้น ถ้าเป็นไอ้คนพันธุ์จมูกมันโง้งมากๆ กำหนดได้ง่ายกว่า กว่าคนจมูกซื่อๆ สั้นๆ ถ้าเป็นคนนิโกร บางทีต้องเอาไอ้ริมฝีปากก็ได้ ไม่แน่ ลองถามเขาดู ว่าเขาสามารถกำหนดเอาตรงไหนเป็นจุดที่ลมหายใจกระทบตอนสุดท้ายของการที่มันหายใจออกมา พอพบจุดแล้วก็เอาตรงนั้น สมมติที่ตรงนั้นเป็นจุดอันหนึ่งข้างนอก แล้วสะดือนี้เป็นจุดข้างใน จากจุด ๒ จุดนี้ ถ้าใช้เวลานาน เราเรียกว่าลมหายใจยาว ใช้เวลาน้อยเราเรียกว่า ลมหายใจสั้น เราก็ทดลอง บางครั้งมันยาว บางครั้งมันสั้น จนเข้าใจคล่องแคล่วดี แล้วปล่อยตามปกติ แล้วถือว่านี่ระบบตามธรรมชาติ เมื่ออารมณ์ดีอย่างนั้นคือยาว อารมณ์ร้ายอย่างนั้นคือสั้น
พอมาถึงขั้นที่ ๓ นี่ ไม่กำหนดที่ลมมันยาว หรือลมมันสั้นแล้ว มากำหนดถึงความที่ลมหายใจเป็นกายสังขาร เราเคยเรียนบาลีมาแล้ว รู้ว่า กายสังขารแปลว่า สิ่งที่ปรุงแต่งร่างกาย ลมหายใจเป็นกายสังขาร เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งกาย นี่ขั้นที่ ๓ นี่จะตั้งข้อสังเกต ให้เข้าใจ ซึมทราบ แจ่มแจ้งเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ของไอ้ลมหายใจทั้งปวง นั้นในบาลีแท้ๆ จึงมีว่า สัพพะกายะ ปฏิสังขเวที รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง กายทั้งปวงนี่ คือลมหายใจทุกชนิด ลมหายใจชนิดไหนให้อิทธิพลแก่ร่างกายอย่างไร ก็รู้ได้เพราะข้อนี้ สรุปเป็นใจความว่า ลมหายใจนี่มันปรุงแต่งกาย แล้วก็ลมหายใจหยาบกายก็หยาบ ลมหายใจละเอียดกายก็ละเอียด ลมหายใจสงบระงับ กายก็สงบระงับ เป็นของที่ไปด้วยกันอย่างนี้เรื่อย นี้ก็ทดลองดูให้มันเห็นจริงตามนั้น เพราะคอยกำหนดอยู่ที่ตัวกายสังขาร ลมหายใจที่ปรุงแต่งกาย เป็นการปฏิบัติขั้นที่ ๓ ไม่ใช่ทำในวันเดียวนี้นา ขั้นที่ ๑ อาจทำตั้งหลายวัน ขั้นที่ ๒ อาจทำหลายวัน ขั้นที่ ๓ ก็หลายวัน แต่เมื่อเราทำไอ้ขั้นที่ ๓ ได้นี่ จึงได้ขั้นที่ ๓ แล้วไอ้ขั้นที่ ๑ ที่ ๒ มันก็ทำรวดเดียวมาถึงขั้นที่ ๓ นั้นในวันนี้เราจึงฝึกขั้นที่ ๓ โดยผ่านขั้นที่ ๑ ขั้นที่ ๒ มาตามเคย คือย้ำ ซ้ำไว้เรื่อยๆ ไม่ให้ลืมเลือน ในขั้นที่แล้วๆ มา คือขั้นต้นๆ
สมมติเราฝึกขั้นที่ ๓ อยู่ วันนี้บทเรียนของเราขั้นที่ ๓ เพราะเราได้ฝึกมาหลายวันแล้ว พอลงมือฝึกขั้นที่ ๓ ต้องไปย้อนยาวอย่างนั้น สั้นอย่างนั้น แล้วอิทธิพลของมันก็คืออย่างนั้น คือ ย้ำหรือซ้ำอยู่ในข้อเท็จจริงนั้นให้แจ่มแจ้ง ในความรู้สึก จึงมาดูในแง่ที่ว่า มันปรุงแต่งร่างกายอย่างนี้ อย่างนี้ ก็ดูลมหายใจยาวร่างกายระงับ ก็นั่งดูมันอย่างนั้น ถ้าเผอิญเวลานั้นร่างกายมันระงับ ลมหายใจมันยาว ทีนี้ถ้ามันเกิดอารมณ์หงุดหงิด หรือแทรกแซงอะไรขึ้นมา มันสั้น แล้วร่างกายมันกระสับกระส่ายนิดหนึ่งก็รู้ จนรู้ดี ไม่ต้องมีใครบอก ไม่ต้องเชื่อตัวหนังสือ ไม่ต้องเชื่อตำรา เดี๋ยวนี้เป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่ง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกายทั้งปวง หรือลมหายใจทั้งปวง ว่ามันสัมพันธ์กันอย่างไร สรุปแล้วเป็นคำสั้นๆ คำเดียวว่า ลมหายใจนี้เป็นกายสังขาร ปรุงแต่งกาย แล้วมันเนื่องกันอยู่อย่างที่เรียกว่าไม่แยกกัน นั้นถ้าไปบังคับอันนี้เข้า อันนี้จะถูกบังคับด้วย ถ้าไปบังคับลมเข้า ร่างกายจะถูกบังคับด้วย ถ้าไปบังคับร่างกายเข้า ก็เท่ากับไปบังคับลมด้วย นี้เราจะบังคับกายโดยผ่านทางลม เพราะลมเป็นสิ่งที่บังคับได้ง่าย นั้นเราจึงบังคับลมหายใจให้เป็นอย่างไร มีผลไปถึงร่างกายจะเป็นอย่างนั้น
ทีนี้ ขั้นที่ ๔ ต่อไปเราจะบังคับลมหายใจให้ละเอียด ให้ระงับ ถ้าเราฝึกในขั้นที่ ๓ จนชัดเจน แจ่มแจ้งดีแล้ว เราก็ฝึกในขั้นที่ ๔ ว่า ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ว่าเราทำกายสังขาร คือลมหายใจนั้น ให้ระงับอยู่ๆ หายใจออก ทำกายสังขารให้ระงับอยู่ ระงับอยู่ หายใจเข้า นี้บทเรียน ๔ พอเมื่อเราหายใจครั้งใดก็ตาม เราจะทำโดยวิธีที่ให้ลมหายใจนั้นมันละเอียดขึ้น สงบ ระงับยิ่งขึ้น เราไม่ต้องพะวงถึงร่างกายล่ะ เราบังคับที่ลมหายใจนี้ มันจะไปถึงร่างกายเอง แล้วมันไปถึงจิตด้วย จิตส่วนที่เป็นสติ เป็นผู้รู้ลมหายใจ เป็นผู้กำหนดลมหายใจ เป็นผู้ทำอะไรอย่างหนึ่งซึ่งเป็นการบังคับลมหายใจให้ละเอียด ละเอียดๆๆ คือประณีต ละเอียด แล้วก็ยาวพอควร เมื่อทำอยู่อย่างนั้น ไอ้ร่างกายจะค่อยระงับลง ระงับลง การไหลเวียนของโลหิต การอะไรต่างๆ อุณหภูมิในร่างกายต่างๆ มันจะระงับลงๆๆ จนมีร่างกายระงับลงไปอยู่ในสภาพอย่างหนึ่งที่พอจะเรียกได้ว่า ระงับ ก็อยู่ด้วยสภาพอย่างนี้ หายใจออกอยู่ หายใจเข้าอยู่ หายใจออกอยู่ หายใจเข้าอยู่อย่างละเอียด ตลอดเวลา นี่การฝึกขั้นที่ ๔
การฝึกทำกายสังขาร คือลมหายใจระงับอยู่ๆๆ มันลงไปเรื่อยๆๆ ถึงขนาด เขาก็เรียกว่า สมาธิอย่างนั้น สมาธิที่สูงขึ้นไป จนกระทั่งถึง ฌาน อรูปฌานที่ ๑ อรูปฌานที่ ๒ อรูปฌานที่ ๓ อรูปฌานที่ ๔ ของมันอยู่อย่างนี้ เดี๋ยวนี้เราจะไม่พูดกันถึงรายละเอียดส่วนนี้ จะบอกทีเดียวทั้ง ๔ ว่าเมื่อช่วงฝึกขั้นที่ ๑ กำหนดลมหายใจยาว พอได้ดีแล้วกี่วันก็ตาม กำหนดลมหายใจสั้นให้ได้ดีแล้ว กี่วันก็ตามนี่ ก็ฝึกดูไอ้ที่ลมหายใจนี้ปรุงแต่งกาย กำหนดข้อเท็จจริงอันนี้ กี่วันก็ตามฝึกได้แล้วก็ ฝึกปรับปรุงลมหายใจให้ละเอียด ให้ประณีต ให้ละเอียด ให้ประณีต นี่ร่างกายก็ละเอียด ประณีต ระงับ จิตใจก็ละเอียด ประณีต ระงับ นี่คือสิ่งที่เรียกว่า สมาธิ มีเป็นบริกรรมสมาธิ อย่างแรกๆ อุปปจารสมาธิ ที่ดีขึ้นไป อัปปนาสมาธิ ที่ดีถึงที่สุด ถึงขนาดที่เรียกว่า ปฐมฌาน แล้วก็ทำให้ดีกว่านั้น ถึงขนาดที่เรียกว่า ทุติยฌาน ให้ดีกว่านั้นขึ้นไปอีก ถึงขนาดที่เรียกว่า ตติยฌาน ให้ดีกว่านั้นอีก ถึงขนาดที่เรียกว่า จตุตถฌาน แล้วก็พอกันทีสำหรับการปฏิบัติขั้นที่ ๔ ทำกายสังขารให้ระงับอยู่ รายละเอียดมันเป็นอย่างไรจะพูดกันวันหลัง ไม่มีเวลาพอ
สำหรับวันนี้ ให้เข้าใจแต่เพียงว่าในหมวดที่ ๑ นี้ กำหนดเกี่ยวกับลมหายใจ เพราะลมหายใจนี้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสเองว่า เป็นกายอันหนึ่งในกายทั้งหลาย นั้นทั้ง ๔ ขั้นนี้ก็คือ การทำลงไปที่สิ่งที่เรียกว่ากาย เพราะฉะนั้นมันจึงได้ชื่อว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีการฝึกแบ่งซอยออกไปเป็น ๔ ขั้น วันหลังเราจะได้พูดกันถึงไอ้การฝึกโดยละเอียดของขั้นที่ ๔ ที่ว่าจะทำให้กายระงับถึงขั้น เป็นสมาธิและฌาน ได้อย่างไร
วันนี้ก็หมดเวลาแล้ว