แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ธรรมะปาฏิโมกข์ของเราที่นี่เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวกูของกู วันนี้จะพูดโดยหัวข้อว่า สิ่งที่เรียกว่าตัวกูของกู ก็เป็นเพียงอิทัปปจยตา อิทัปปัจจยตา อ อ่าง สระอิ ทอ ทหาร ไม้ผัด ปอ แล้วก็ ปอไม้ผัด จอ จอ ยอ ตอ สระอา อ่านว่าอิทัปปัจจะยะตา สำหรับคนที่ไม่เคยได้ยินคำนี้ ไม่เข้าใจคำนี้ มันก็ไม่รู้ว่าอะไร แล้วมันก็ตื่นเต้นแล้วก็เกิดความรู้สึกท้อแท้ที่จะเข้าใจอย่างนี้เป็นต้น นั่นแหละคือความที่เรามันไม่รู้ ในเรื่องที่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ มันก็โทษใครไม่ได้ ที่ว่าทำไมไม่เอาคำนี้มาพูดกันให้เป็นที่เข้าใจ คำว่า อิทัปปัจจยตา ทั้งที่มันเป็นเรื่อง กอ ขอ กอ กา คือเป็นที่ตั้งต้นของทุกๆ เรื่อง เป็นหัวใจของพุทธศาสนา เป็นตัวทั้งหมดของพุทธศาสนา แล้วมันเป็นอะไรที่ทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก งั้นควรจะเข้าใจไว้เป็นพื้นฐาน เช่นเดียวกับเรารู้ กอ ขอ กอ กา เนี่ย ไว้สำหรับอ่านหนังสือทั้งหมด คราวนี้มันไม่เคยได้ยิน คราวนี้จะทำยังไง เนี่ยถ้าถามว่าอะไรเป็นหัวใจของพุทธศาสนาหรือเป็นทั้งหมดของพุทธศาสนาสอนเรื่องอะไรคำตอบก็ยังตอบว่าสอน เรื่องอิทัปปัจจยตา จากคำๆ นี้ขยายความออกไปเป็นคำทั้งหลายทั้งหมดทั้งสิ้นทุกคำ อิทัปปัจจยตา คำนี้แปลว่าความที่มีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย ความที่มีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัยหรือแม้แต่จะแปลว่าความที่มีปัจจัยเป็นสิ่งนี้ๆ ก็ได้เหมือนกัน มันถูกเท่ากัน ความมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย มันก็มีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย หรือมีปัจจัยเป็นสิ่งนี้ๆ มันก็มีปัจจัยเป็นสิ่งนี้ๆ ความเหมือนกัน ตัวหนังสือต่างกัน เนี่ยคือสิ่งที่ต้องรู้ว่าอะไร ว่ามันเป็นอะไร ที่คำแทนของคำๆ นี้ก็มีมาก ถ้าเราอ่านหนังสือฝ่ายมหายาน ไอ้คำที่สำคัญมากคำหนึ่งที่พบบ่อยที่สุดก็คือคำว่า ตถตา ตถตา ถ ถุง แล้วคนโง่ คนไม่รู้ คนอวดดี มันก็ว่านั่นเป็นฝ่ายมหายาน เพราะมันอ่านพบคำนี้แต่ในหนังสือฝ่ายมหายาน ที่จริงในพระไตรปิฎกของเราก็มี มีคำว่า ตถตา เนี่ยบาลีตอนนี้มันมี อวิชชา ปัจจยา ภิกขะเว สังขารา อิติโค่ ภิกขะเว ยา ตัดตะระ ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา อิทัปปัจจยตา ก็หมายความว่า คำว่า ตถตานั่นมีอยู่แต่ในบาลี ในพระไตรปิฎก พวกสงฆ์ยุทธนิกายเนี่ย เล่ม 16 หน้า 31 ถ้าไม่เชื่อไปเปิดดู นี่ถ้าไม่มีพระไตรปิฎกบาลี มีแต่พระไตรปิฎกไทย ก็ต้องไปเปิดที่ฉบับ 61 ทีนี้คนแปลพระไตรปิฎกไทยจะแปลถูกหรือไม่ถูกก็ไม่รู้ มันก็ไม่มีโอกาสจะใส่คำว่า ตถตา ไว้ในพระไตรปิฎกแปล เพราะมันแปลเป็นไทยไปแล้ว มันคงจะแปลว่าความเป็นอย่างนั้นความเป็นอย่างนี้อะไรตามเรื่องของมัน ผมก็ไม่ทราบไม่เคยเปิดดู เดี๋ยวนี้บอกให้รู้ว่าคำว่าตถตาที่เต็มพราวไปหมดในหนังสือพวกมหายานนั้นในพระไตรปิฎก เถรวาทนี้ก็มีอย่างน้อยก็ตรงนี้ ยกตัวอย่างมาให้เห็นก็หมายความว่า ตถตานั้นก็คือ อิทัปปัจจยตา แม้ตัวหนังสือต่างกัน ใจความเหมือนกัน มีคำแทนกันอยู่ 4 คำ ตถตา แปลว่าความเป็นอย่างนั้น อวิตถตา ความไม่เป็นอย่างอื่นไปจากความเป็นอย่างนั้น อนัญญตถตา นี้ก็เหมือนกัน ความไม่เป็นอย่างอื่น อิทัปปัจจยตา ความที่มีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย 3 คำข้างต้นไม่มีปัญหา ไม่มีความสำคัญอะไรนัก มันเป็นบทประกอบของคำหลัง ที่ว่าความที่มีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัยนั้นเราเรียกว่า ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นผิดไปจากความเป็นอย่างนั้นหรือความไม่เป็นอย่างอื่น 3 คำนั้นไม่มี ไม่ได้แสดงความหมาย เป็นเครื่องยืนยันในคำหลังที่ว่า ความที่มีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย ความที่มีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย นั้นเรียกว่า อิทัปปัจจยตา นั้น ขอให้เข้าใจคำนี้คำเดียวพอ แล้วก็จะเข้าใจทั้งหมดได้ทีหลังโดยง่ายเพราะว่าไม่มีอะไรเลยที่จะไม่เป็น อิทัปปัจจยตา ยกเว้นแต่พระนิพพานอย่างเดียว แต่ถึงแม้พระนิพพานก็ยังเป็นอันสุดหรือเงื่อนสุดท้ายปลายสายของ อิทัปปัจจยตา พูดเป็นบาลียุ่งๆ เลยไม่ต้องฟังกัน มันก็ไม่รู้ว่าอะไร ถ้างั้นต้องแบ่งมาพูดทีละเรื่องทีละตอนให้รู้ว่า อิทัปปัจจยตา นั้นคืออะไร แล้วผมขอร้องนะขอร้องเป็นหลักฐานที่นี่เดี๋ยวนี้ว่าให้ทุกคนทั้งพระทั้งเณรจำคำๆ นี้ไว้ให้แม่นยำให้มันติดปากก่อนให้มันติดตา ติดใจ ติดหู แล้วก็ไปศึกษาหาคำอธิบายมันจะได้ง่ายขึ้น เพราะว่าถ้าเพียงแต่ตัวคำพูดคำเดียวก็จำไม่ได้เสียแล้ว มันก็จะไปติดตามหาคำอธิบายได้อย่างไร ทีนี้ก็จะมีคนแย้งว่า อิทัปปัจจยตา ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยมีใครพูด จะไปหาคำอธิบายที่ไหน งั้นก็เพราะมันไม่รู้ว่าคำว่า อิทัปปัจจยตา คืออะไร วันนี้เราก็พูดกันพอให้รู้ เข้าเงื่อนแล้ววันหลังก็ไปพูดให้มันพิสดารออกไป หัวข้อของเราว่า แม้สิ่งที่เรียกว่าตัวกูของกู ก็เป็นเพียง อิทัปปัจจยตา ไม่เป็นอะไรอื่นมากไปกว่านั้น ก็หมายความว่าไอ้สิ่งที่เรียกว่าตัวกูของกูนี่ ก็คือความที่มันมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัยด้วยเหมือนกัน ตัวกูของกูเป็นอุปาทานเป็นความรู้สึก นี้อธิบายกันมามากมายเต็มทีแล้ว นี้ก็รู้ว่า อุปาทานว่า ตัวกูของกูเนี่ยมันเกิดมาจากเหตุ เกิดมาจากปัจจัย อย่างใดอย่างหนึ่ง รวมอยู่ในคำว่าสิ่งนี้ๆ เพราะมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น คำว่า อิทัปปัจจยตา ถ้าเราจะแปลให้เต็มความหมายก็ต้องแปลว่าความที่มีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น มันยาวเห็นไหม ความที่มีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัยและสิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น เรียกอีกอย่างหนึ่งเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท แต่คำว่าว่าปฏิจจสมุปบาท มันไม่กว้างขวางเท่ากับคำว่า อิทัปปัจจยตา ความที่สิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น ก็ไปคิดเอาเองว่ามันมีอะไรบ้างที่มันจะไม่เป็นอย่างนี้ ที่เป็นรูปธรรมก็เหมือนกัน เป็นดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นวัตถุแท้ๆ มันก็ต้องมีปัจจัยอย่างนั้นๆๆๆ สำหรับจะทำให้มันเกิดขึ้น นับตั้งแต่ก้อนหิน ก้อนดิน ต้นไม้ ต้นไร่ อะไรขึ้นมามันก็ต้องมีปัจจัย อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ทำให้มันเกิดขึ้นปรากฏขึ้น ตั้งอยู่ เปลี่ยนแปลงไปไม่มีที่สิ้นสุด นี่คือคำว่าเพราะว่ามีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น นี้มาดูถึงสัตว์เดรัจฉานก็เหมือนกันอีก จะมี ช้าง ม้า วัว ควาย สุนัข แมว ขึ้นมาในโลกนี้ มันมีปัจจัย นั่นนี่ เพราะมันจึงเกิดสัตว์ขึ้นมา ไอ้คนนี่ก็เหมือนกันอีก มันก็มีปัจจัยอย่างนั้นๆ สำหรับคน ที่คนจะเกิดมา นี้เรียกว่าส่วนใหญ่ นี้ส่วนย่อยเช่นร่างกายของคน มันก็ต้องมีปัจจัยอย่างนั้นๆๆ เช่นข้าวสุก เป็นต้น นี้บาลีก็มีอยู่ชัด อาศัยบิดามารดาเป็นแรงเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุก นมสด อะไรก็ว่าไป ปัจจัยส่วนร่างกาย นี้ส่วนจิตใจก็มีปัจจัยมันจึงเกิดเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมานี่ไม่แปลกนี้เคยอธิบายมากแล้ว นี้จึงได้รู้ว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เนี่ย มันก็มีปัจจัยของมันโดยเฉพาะอย่างนั้นๆ มันจึงเกิดขึ้นมาในขณะนั้นๆ ตั้งอยู่ชั่วขณะหนึ่งแล้วก็เปลี่ยนไปสู่ความเป็นอย่างอื่น เพราะปัจจัยนั้นมันเปลี่ยน มันเปลี่ยนไปสู่ความเป็นอย่างอื่นหมุนไปสู่ความเป็นอย่างอื่นเรื่อยไป แต่คำว่าเพราะปัจจัยนี้เพราะมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น นี้มันใช้ได้เรื่อย ใช้ได้ตลอดเวลา ใช้ได้ตลอดนิรันดร ใช้ได้แก่ทุกสิ่ง ความจริงข้อนี้เป็นสิ่งที่ต้องมองให้เห็นว่า อิทัปปัจจยตา ความที่สิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้นนั่นแหละคือตัวอะไรทั้งหมดที่เราต้องรู้ เรื่องทุกข์ก็ตาม เรื่องดับทุกข์ก็ตาม นี้ผมคิดว่าสักปีสองปีหรือสามปีข้างหน้าคำว่า อิทัปปัจจยตา ก็จะเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายและมันก็จะง่ายขึ้นในการพูดจาเกี่ยวกับพระธรรม ทุกสิ่งไม่พ้นจากความเป็น อิทัปปัจจยตา อย่างนี้มันกว้างขวางมากกว่าที่จะพูดว่าทุกสิ่งเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา พูดอย่างนั้นมันไม่หมด มันยังมีแง่อื่นที่เหลืออยู่และถ้าพูดว่าทุกสิ่งเป็น อิทัปปัจจยตา มันคลุมหมดทั้งข้างหน้า ทั้งข้างหลัง ทั้งที่เป็นเหตุ ทั้งที่เป็นผล ทั้งที่อะไรทั้งหมด ทุกอย่างมันเป็น อิทัปปัจจยตา อย่างนี้ นี้ถ้าเข้าใจคำนี้พอสมควรแล้วก็เข้าใจได้ว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตว่าตัวกู ว่าของกูนั้นมันก็มีเหตุมีปัจจัยตามนัยยะที่เราพูดถึงกันอยู่เสมอโดยหลักแห่ง ปฏิจจสมุปบาท ตากับรูป ตากับรูปอาศัยเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบแห่งธรรม 3 ประการนี้เรียกว่า ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมี เวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหาเพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทานๆ นั้นคือสิ่งที่เรียกว่าตัวกูว่าของกู เมื่อมีปาทานก็มี “พบ” คือความเต็มที่ของตัวกูของกูที่จะคลอดออกมาเป็นชาติเป็นชรามรณะ เป็นอันว่าตัวกูของกูนี้คืออุปาทาน มีปัจจัยคือตัณหาๆ มีปัจจัยคือเวทนาๆ มีปัจจัยคือผัสสะๆ มีปัจจัยคือการประจวบกันเข้ากับตาและรูปและจักษุวิญญาณ พูดถึงทางตา พูดถึงทางหูก็เหมือนกันอีก เสียงกับหูประจวบกันเข้าเกิดโสตะวิญญาณ 3 ประการเรียกว่า ผัสสะ โสตะสัมผัส จมูก กลิ่น พบกันเข้าทำให้เกิด ฆานวิญญาณ ประจวบแห่งธรรม 3 ประการนี้เรียกว่าผัสสะคือพาหนะสัมผัสเป็นอย่างนี้เรื่อยไปทั้ง 6 อายตนะ เป็นอันว่าตัวกูของกูซึ่งเป็นเพียงอุปาทานนั้น มันก็เกิดจากปัจจัยอย่างนี้ เพราะความที่เกิดจากปัจจัยอย่างนี้จึงได้เรียกมันว่า อิทัปปัจจยตา นั้นสิ่งใดก็ตามถ้าเกิดจากปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งในลักษณะที่ปรุงแต่งอย่างนี้สิ่งนั้นเรียกว่า อิทัปปัจจยตา หมดเลย แต่ว่าจำกัดความไว้หน่อยว่าที่มันถูกยึดถือด้วยอุปาทาน สิ่งใดถ้ายังไม่ถูกยึดถือหรือโดยอุปาทานถือว่าสิ่งนั้นยังไม่เกิด นี้ผมพูดได้เลยว่าผมได้พูดอธิบายหลายครั้งแล้วเอาเปรียบกันไม่ได้ถ้าใครไม่เข้าใจตรงนี้คนนั้นเหลวไหล หลอกลวงตัวเอง ไม่จำ ไม่พยายามจำที่พูดแล้วเพราะถ้าสิ่งใดยังไม่ประกอบอยู่ในความยึดถือยังไม่ถือว่าสิ่งนั้นมีเช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรานี้ นี้ตามปกติถือว่ามิได้มีอยู่ ต่อเมื่อได้ถูกยึดถือเมื่อมันทำหน้าที่ จึงจะเรียกว่ามี ไอ้สิ่งที่เรียกว่าคน คนนี้ก็เหมือนกันธรรมดาไม่ได้มีอยู่หรือว่าดับอยู่ แต่พอมันเกิดมีความยึดถือขึ้นในคนนั้น เรียกว่าคนมีขึ้นมาทันที คนเกิดขึ้นมาทันที นี่คือลักษณะของ อิทัปปัจจยตา เพราะมีความยึดถืออย่างนี้คนจึงมีทันที พอสิ้นความรู้สึกที่เป็นความยึดถือคนก็ตายไปอีกดับไปอีกจนกว่าจะมีความยึดถือใหม่อีกวันหนึ่งกี่ครั้งกี่สิบครั้งก็ตามใจและ อิทัปปัจจยตา ทำหน้าที่ด้วยอุปาทานเต็มที่ประกอบไปด้วยอุปาทานเรียกว่ามีสิ่งนั้นมีสิ่งนั้นๆ ตามชื่อของมัน ทีนี้ว่าปัจจัยอะไรที่เป็นต้นเหตุแห่งปัจจัยทั้งหลายมันก็คืออวิชชา ปัจจัยทั้งหมดจะไปรวมสุดอยู่ที่อวิชชา อย่างคนๆ หนึ่งก็คือเบญจขรรค์ที่ประกอบอยู่ในอุปาทานว่าเราว่าของเราไล่ไปมันก็ไปถึงตัณหาถึงเวทนา ถึงผัสสะ ถึงอายตนะถึงนามรูปวิญญาณ ถึงอวิชชาเพราะว่าถ้าอวิชชามันมีเสียแล้วความรู้สึกเหล่านี้มันไม่เกิด นี้อวิชชามันมี มันเกิดขึ้นพร้อมกับไอ้ความรู้สึกหรือการกระทบนั้นๆ จึงมีความเข้าใจผิดเป็นนั่นๆๆๆ ขึ้นมาจนกระทั่งเป็นตัวกู เป็นของกู นั้นคำใหม่ที่สุดคือคำว่า อิทัปปัจจยตา สำหรับพวกคุณหรือว่าคนทั้งประเทศ กล้าท้าอย่างนี้เลย ทั้งประเทศท้าอย่างนี้เลย ประเทศอื่นๆ ซึ่งไม่สนใจกับคำว่า อิทัปปัจจยตา เพราะว่าในหนังสือทั้งหลายก็ไม่ค่อยเอามาเขียน ที่โชคร้ายที่สุดก็คือไม่สนใจกับคำว่าอวิชชาสัมผัส ที่มันคู่กันกับ อิทัปปัจจยตา อวิชชา สัมผัส มันต้องมีชัดๆ อย่างนั้น ผัสสะนั้นประกอบด้วยอวิชชาถึงจะเรียกว่าอวิชชาสัมผัส สัมผัสชนิดนี้เท่านั้นที่จะทำให้เกิดเวทนา ตัณหา อุปาทานที่เป็นทุกข์ ถ้าสัมผัสที่ไม่ได้ประกอบอยู่ด้วยอวิชชามันไม่ทำหน้าที่อย่างนี้มันทำหน้าที่อย่างอื่น นั้นมันจึงไม่ได้ปรุงให้เกิดทุกข์ เมื่อสัมผัสถูกเรียกว่าอวิชชาสัมผัส เวทนาที่เกิดมาจากสัมผัสนั้นก็พลอยมีชื่ออย่างนั้นไปด้วย นั่นในบาลีเราจึงพบคำว่า “อวิชชาสัมผัสสชาเวทนา” ให้จำไว้อีกคำหนึ่งเมื่อจำคำว่าอวิชชาสัมผัส ไว้ได้แล้วก็ต้องจำคำว่า “อวิชชาสัมผัสสชาเวทนา” แปลว่าเวทนาที่เกิดจากอวิชชาสัมผัส อย่าเอาไปปนกันนะ อวิชชาสัมผัสคือตัวสัมผัส สัมผัสทางตา ทางหู ทางจมูก ทางไหนก็ได้ ในขณะนั้นจิตประกอบอยู่ด้วยอวิชชาเพราะฉนั้นสัมผัสอันนั้นชื่อว่าอวิชชาสัมผัส คือการสัมผัสในขณะที่จิตประกอบอยู่ด้วยอวิชชา นี้พอมีสัมผัสชนิดนี้แล้วมันจะมีเวทนา นั้นเวทนานั้นจึงได้ชื่อว่าอวิชชาสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดมาจากอวิชชาสัมผัส เวทนาชนิดนี้เท่านั้นแหละที่จะปรุงให้เกิดตัณหา เกิดอุปาทานกระทั่งเกิดตัวกู ถ้าการสัมผัสมิได้ประกอบอยู่ด้วยอวิชชามันก็ไม่พึงเวทนาชนิดนี้ ไม่พึงตัณหาอุปาทานหรือตัวกูได้ งั้นเรื่องของเราที่จะต้องระวังก็คือระวังอย่าให้เกิดสัมผัสชนิดที่ประกอบอยู่ด้วยอวิชชา ให้มันเกิดสัมผัสที่ประกอบอยู่ด้วยวิชชา จะสัมผัสอะไร ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ให้ประกอบอยู่ด้วยวิชชา นับตั้งแต่มีสติ มีสัมปชัญญะ แล้วก็มีปัญญารู้ว่าอะไรเป็นอะไร ถ้าอย่างงี้เรียกว่ามีวิชชา สัมผัสนั้นสัมผัสด้วยวิชชา เรียกว่าวิชชาสัมผัสตรงข้ามเรียกว่าอวิชชาสัมผัส เพราะมันปราศจากวิชชามันจึงเป็นอวิชชา เพราะงั้นถ้าใครดูอะไรด้วยอวิชชา เห็นฟังอะไรด้วยอวิชชา ดมอะไรด้วยอวิชชา ลิ้มรสอะไรด้วยอวิชชา มันก็เป็นอวิชชาสัมผัสไปหมดแล้วต้องมีความทุกข์แน่ คือมันจะเกิดความรักหรือความเกลียดขึ้นเพื่อเป็นเวทนาเพราะมันมีอวิชชา มันโง่ แล้วถ้ามันมีวิชชาปรากฎอยู่ประกอบอยู่ มันก็ไม่เกิดความรักหรือความเกลียดในสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน ได้ดู มันเกิดวิชชา ต่อไปว่าจะทำอย่างไรกับสิ่งนั้นดีเราไม่ต้องไปยินดียินร้ายโดยไม่ต้องไปรักเข้าเมื่อน่ารัก โดยไม่ต้องไปเกลียดเข้าเมื่อน่าเกลียด ในความยินดียินร้ายคือผลของอวิชชา ทีนี้เห็นแล้วไม่ต้องยินดียินร้ายแต่มีความรู้ว่าควรทำอย่างไร ก็ทำสิไม่ต้องยินดียินร้าย ถ้าไม่ต้องทำอะไรก็เฉยเสียสิ ในการสัมผัสนั้นมันเป็นวิชชาสัมผัส ทีนี้เราอยู่ในโลกนี้ ไม่มีทางจะหลีกพ้น เมื่ออยู่ในโลกนี้ ยังมีชีวิตอยู่ ยังไม่ตาย ไม่มีทางหลีกพ้นจากการสัมผัส เดี๋ยวมีสัมผัสทางตา เดี๋ยวก็มีทางหู เดี๋ยวมีทางจมูก เดี๋ยวมีทางลิ้น เดี๋ยวมีทางผิวหนัง เดี๋ยวมีทางจิตใจ มันเป็น 6 สัมผัส นั้นจึงไม่มีทางหลีกเลี่ยงที่จะไม่เกิดสัมผัส อายตนะข้างในมีทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่มันจะครบอายตนะข้างนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส อกพะธรรมารมณ์ (24.40) นี้มันไม่มีทางหลีกเลี่ยงอย่างนี้แล้วมันก็ต้องมีความปฏิบัติที่ปลอดภัย ที่ว่าสัมผัสกันอย่างไรจึงจะไม่เกิดทุกข์ ก็คือสัมผัสด้วยวิชชา อย่าสัมผัสด้วยอวิชชา พูดนี้ง่ายแต่ทำยากเพราะว่าเรามันเผลอสติกันเสียเรื่อย พอเห็นที่น่ารักก็รักเสียแล้ว พอเห็นสิ่งที่น่าเกลียดก็เกลียดเสียแล้ว สติสัมปัชญะไม่รู้อยู่ที่ไหน มาไม่ทัน เพราะฉนั้นสัมผัสนั้นๆ มันเลยเป็นอวิชชาสัมผัสไปหมด มันก็เกิดอวิชชาสัมผัสสชาเวทนาขึ้นมาแล้วก็ปรุงเป็น ตัณหา อุปาทาน ภพชาติ เป็นตัวกู ของกูดิ้นเล่าๆ อยู่ ซึ่งเป็นความทุกข์ เนี่ยเหตุการณ์ปัจจุบัน ประจำวัน เป็นอยู่อย่างนี้ นั่นคือตัว อิทัปปัจจยตา ทั้งหมดนั้นก็ดี แต่ละสิ่งๆ ก็ดีเรียกว่า อิทัปปัจจยตา ความที่สิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น แค่นี้เอง นั้นเราอยู่ด้วย อิทัปปัจจยตา จนกระทั่งตาย แม้แต่ตายก็เป็น อิทัปปัจจยตา เป็นไปตามปัจจัยของความตาย เราเลยไม่มีทางหลีกเลี่ยง ที่จะหลีกได้พ้นจากสิ่งที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา เพราะว่าเราต้องมีสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่เสมอ นี้เรียกว่าเป็นเรื่องราวที่นี้แม้แต่ที่ไม่เป็นเรื่องเป็นราว เช่นตาของเราเนี่ย มันก็มีลักษณะเป็น อิทัปปัจจยตา ตามันไม่บอดมันดีอยู่ได้ มันมีปัจจัย ส่องแสงอะไรตามเรื่องของมัน หู จมูก ลิ้น กาย แต่ละอย่าง มีปัจจัยของมันโดยเฉพาะมันจึงตั้งอยู่ได้ แม้อย่างนี้ก็เรียกว่า อิทัปปัจจยตา เมื่อมันไม่ทำงานอะไร ไม่มีกิเลสอะไร เกิดขึ้นทางตา ทางหู มันก็ยังเป็น อิทัปปัจจยตา พอมันทำงานมีกิเลสเกิดขึ้นทางตา ทางหู มันก็เป็น อิทัปปัจจยตา ถึงแม้มันจะมีวิชชามันก็ยังอยู่ใน อิทัปปัจจยตา แต่มันเป็นปัจจัยฝ่ายวิชชา ฝ่ายให้รู้ ฝ่ายที่ให้ทำถูกคือไม่ทำผิด แต่เดี๋ยวนี้ส่วนมากมันมีปัจจัยปล่อยให้ไม่รู้ ปล่อยให้ทำผิดคือฝ่ายอวิชชา เราจึงถือว่าฝ่ายถูกก็ตามฝ่ายผิดก็ตามมันเป็นไปตามปัจจัยทั้งนั้น นั้นความเป็นไปตามปัจจัยนั้นคือ อิทัปปัจจยตา คำนี้เราโดยเฉพาะผมได้รับการสั่งสอนตั้งแต่วันแรกเข้าไปอยู่วัดเพื่อจะบวช ถ้าใครที่เข้าไปอยู่วัดไหนเพื่อจะบวช วันแรกเขาจะให้เรียน ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง ยะทิทัง จีวะรังฯ ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล นั้นคือ อิทัปปัจจยตา ยืดยาวเป็นบทๆ สรุปแล้วเหลือคำเดียว อิทัปปัจจยตา จีวรนั้นก็เป็น ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง คือเป็น อิทัปปัจจยตา บุคคลผู้ใช้สอยจีวรนั้นก็เป็น ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน เรา เขา เพราะว่าเป็นเพียง อิทัปปัจจยตา สมัยใหม่นี้มันอวดดี คนมาอยู่วัดไม่ให้เริ่มเรียนสิ่งนี้ซึ่งเป็นหัวใจของพุทธศาสนาโลกมันจึงเลวลง การบวชพระบวชเณรมันจึงเลวลงเพราะมันไม่ให้เรียนหัวใจของพุทธศาสนาตั้งแต่วันแรกเข้ามาอยู่วัด นั้นถ้าวัดไหนใครเข้าแรกเพื่ออยู่วัดจะบวชจะให้เรียน ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง นั่นคือถูกต้องที่สุดคือให้เรียนหัวใจของพุทธศาสนาหรือ อิทัปปัจจยตา ก่อน แต่โชคมันไม่ดี ทั้งคนบอกให้เรียนทั้งคนเรียนมันโง่ มันไม่รู้ว่านั้นคืออะไรแม้แต่ ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง นั้นมันก็ไม่รู้ว่าอะไร เราก็ต้องแปลให้ฟังเอามาสวดกันรู้ว่ายะถาปัจจะยัง ว่าอะไร แต่แล้วคุณก็ไม่รู้ว่านั้นคือ อิทัปปัจจยตา ซึ่งพระพุทธเจ้าใช้เป็นคำพูดคำเดียวสั้นๆ เรียกทุกสิ่งเลย ใช้ได้ในทุกๆ บทของธรรมะ เพราะมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น จีวรเราห่มอยู่นี้ก็มีอะไรเป็นปัจจัยของมัน มันจึงเกิดเป็นจีวรขึ้นมา แล้วคนที่จะห่มจีวรนั้นก็เหมือนกัน มันมีปัจจัยปรุงแต่งอยู่มันจึงเป็นรูปนามอย่างนี้อยู่ได้ แล้วมันห่มจีวรนี้ ซึ่งทั้งจีวรและคนใช้จีวรก็เป็นสักว่าธาตุ เป็นไปตามปัจจัย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล อัตตา จีโว (30.09) นี้บิณฑบาทก็เหมือนกัน ผู้บิณฑบาทและผู้ฉันบิณฑบาทนั้นก็อย่างนี้ เป็นอาสนะและผู้ใช้สอยเสนาสนะนั้นก็อย่างนี้ ยาแก้โรคและคนใช้ยาแก้โรคนั้นก็อย่างนี้คือเป็นสักว่าธาตุ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิตย์ นิสสัตโต ภิญโญ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ว่างจากตัวตนภิญโญ งั้นคุณจะต้องสังเกตุคำว่าภิญโญที่แปลว่า ว่าง นั้น เพราะมันเป็น อิทัปปัจจยตา มันจึงว่าง คำว่าภิญโญว่างนี้ ว่างตามความหมายในทางพุทธศาสนา ไม่ใช่ว่างตามภาษาคนทั่วไปที่ว่าว่างไม่มีอะไร ว่างภิญโญในที่นี้หมายถึง ว่างจากสัตโต จากชีโว จากอัตตา เพราะไม่มีอัตตาชีโว นี้จึงเรียกว่าว่าง นั้นคือ อิทัปปัจจยตา ถ้าสิ่งนี้มันเป็นตัวตนมั่นคง คือไม่เป็นไปตามปัจจัยแล้ว สิ่งนั้นไม่ว่างสิ่งนั้นจะเป็นตัวตน แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีสิ่งใดที่จะอยู่เป็นตัวตนเช่นนั้นได้เพราะต้องเป็นไปตามกฏของ อิทัปปัจจยตา คือเปลี่ยนเรื่อย ดังนั้นจึงถือว่าทุกสิ่งนั้นว่างจากตัวตน เห็นอย่างนี้ต่างหากจึงจะเรียกว่าเห็น อิทัปปัจจยตา โดยสมบูรณ์ มีแต่เปลี่ยนไปไหลไป สิ่งซึ่งเป็นเพียงสังขาร เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย นั้นคือความว่างแท้จริงและเราไม่รู้จะเรียกว่าอะไรดี พระพุทธเจ้าท่านฉลาดสามารถเรียกมันว่า อิทัปปัจจยตา ความที่มีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น มันยืดยาวอย่างนี้ แต่ภาษาบาลีมันคือ อิทัปปัจจยตา คำนี้คือความหมายของคำว่าสุญญตา อนัตตา ทาสุนัตเม เวตัง (32.25) หมดเลยรวมอยู่ในคำๆ นี้คำเดียว ทีนี้ไวพจน์ของมันคือคำที่แทนกันได้นั้นมี ตถตา ความเป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น อนัญถตาความไม่เป็นอย่างอื่น อวิตถตาคือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น มีอยู่ 3คำ แต่ว่าคำ ตถตา มันเรียกง่ายๆ กว่าคำอื่น ความเป็นอย่างนั้น นี้คุณยิ่งฟังไม่ถูกใช่ไหม ถ้าพูดว่าความที่มีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัยนี้พอจะฟังถูก นี้เขาย่นเหลือแต่ว่า ตถตา ความเป็นอย่างนั้น ความเป็นอย่างนั้น คือความที่มันมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้นนั่นแหละ ตถตามีเพียง 3 พยางค์ อย่าไปทำเล่น ความเป็นอย่างนั้นมันหมายความถึงความที่มันต้องเป็นไปตามปัจจัย ความที่มันต้องเป็นไปตามปัจจัยนั้นคือความที่มันมีปัจจัยนี้ๆๆ แล้วมันจะต้องเกิดนี้ๆๆๆ ขึ้นมาอีก นั้นถ้าเราเรียกให้สั้นที่สุดก็ยิ่งฟังไม่ถูกมากขึ้นอีกแต่เมื่อเราเข้าใจดีแล้ว รู้กันดีแล้วเราพูดได้คำสั้นๆ พอ มันสะดวก มันเร็ว มันรู้แล้ว นั้นพวกมหายานเขาจึงยึดเอาคำนี้ไปใช้ คือคำว่า ตถตา แล้วมีไหมที่เรียกผลของมันเลย ก็เรียกว่า สุญญาตาไปเลย คือว่างเพราะเมื่อมันไม่เป็นตัวมันเองได้ มันต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิตย์เรียกว่า อิทัปปัจจยตา แล้ว มันก็คือว่างจากตัวตนเรียกว่าสุญญตา คำว่าสุญญตาก็ดี ตถตาก็ดี มีอยู่ในพระบาลี พระไตรปิฎกของพวกเถรวาท นี้พวกเถรวาทในเมืองไทยเรา พวกเรานี้มันยังโง่มาก มันไม่สนใจกับคำเหล่านี้ ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก มันจึงหาว่าเป็นมหายาน พอใครพูดว่าตถตา สุญญตาว่ามหายาน แสดงความโง่ออกมา ความขี้เกียจ ไม่มองดูในพระไตรปิฎกหรือว่าเมื่อพระไตรปิฎกถูกแปลเป็นไทยไปเสียแล้ว มันก็หมดคำว่าตถตา ว่าสุญญตาเพราะแปลเป็นไทยไปเสียแล้ว เนี่ยเป็นเหตุอันหนึ่งซึ่งทำให้ไม่ได้ยินคำว่า ตถตา หรือ สุญญตา ในพระไตรปิฎกของเรา นี้การแปลนั้นมันโชคร้ายต่อไปอีกคือแปลผิดเช่นคำว่าสุญญตา พอแปลเป็นภาษาไทยก็แปลว่าสูญเปล่า นี้มันบ้าเลยก็มันยิ่งกว่าบ้าเลยเสียอีก การที่แปลว่าสุญญตาว่าสูญเปล่า มันต้องแปลว่าว่างจากตัวตนจึงจะตรงกับความหมายของคำว่าสุญญตา อะไรมันก็มีและก็ใช้ประโยชน์ได้ ไม่ใช่สูญเปล่าเสียเปล่า ไม่ใช่อะไรอย่างนั้น แต่ว่ามันไม่มีตัวตน มันไม่ใช่ตัวตนเพราะมันว่างจากตัวตน ยกตัวอย่างให้ดูคำหนึ่ง คำว่าสุญญตาในพระบาลีนั้นความหมายแท้จริงว่าว่างจากตัวตน แต่ในเมืองไทยเอามาแปลว่าสูญเปล่า แล้วพูดกันแต่ว่าสูญเปล่า สูญเปล่า แม้แต่คนที่อ้างตัวเป็นบัณฑิตนักปราชญ์ก็ยังแปลอย่างนี้ อย่าออกชื่อดีกว่า นั้นขอร้องว่าอย่าไปแปลสุญญตาว่าสูญเปล่า ให้แปลตามพระบาลีเดิมว่าว่างจากตัวตน มันมีอะไรเป็น อิทัปปัจจยตา อยู่นั้นแหละ คือสิ่งที่มีและปรุงแต่งสิ่งนี้ๆ มี และก็ปรุงแต่งสิ่งนี้ อันนี้มีแต่ว่าทั้งที่มีอยู่อย่างนี้มันไม่ใช่ตัวตน นั้นจึงถือว่างจากตัวตน สุญญตากับ อิทัปปัจจยตา เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ส่องความคนละที อันหนึ่งมันส่องความเป็นเหตุ อันหนึ่งมันส่องความเป็นผล สรุปท้ายว่าว่าง อันหนึ่งมันส่องความเป็นเหตุ กิริยาอาการว่ามันมีแต่ความเป็นไปตามปัจจัย เป็นไปตามปัจจัย เป็นไปตามปัจจัย สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี นี่เรายกตัวอย่างในคนเราคนหนึ่ง คนไหนก็ได้ทุกคน ไอ้การที่ต้องเป็นไปตามปัจจัยทั้งนามและรูป ร่างกายก็เป็นไปตามปัจจัยของร่างกาย จิตใจก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยของจิตใจ ว่าทั้งนามและทั้งรูปเป็นไปตามปัจจัยของมันเองทั้งนั้น นั้นเราเรียกว่าความเป็น อิทัปปัจจยตา ถึงเวลาไหลเชี่ยวเป็นเกลียวอยู่อย่างนี้ ไม่มีอะไรหยุดอยู่ที่ตรงไหนได้ ก็คือไม่มีตัวตน จึงเรียกว่าสุญญตาหรือว่างจากตัวตน นั้นอนิจจังคือไหลเชี่ยวเป็นเกลียวไป คือว่างจากตัวตน ทุกขังก็ไม่มีอะไรนอกจากสิ่งที่เป็นทุกข์มันก็ไม่มีตัวตน อนัตตาก็ไม่มีตัวตนอยู่แล้ว รวมอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าด้วยกันก็คือ สุญญตาหรือว่างจากตัวตน กิริยาอาการทั้งหมดนี้เรียกว่า อิทัปปัจจยตา ความที่สิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัยจึงเกิดสิ่งนี้ๆ ขึ้น เรื่อยไปเป็นสายไม่มีจุดตั้งต้นไม่มีจุดจบและถ้าจะพูดให้มีจุดจบ ก็มันก็หมายความว่ารู้สิ่งนี้ รู้นิพพาน มีความเป็นนิพพานเข้ามา อิทัปปัจจยตา จึงจะหยุดหรือจบ นี้ถามว่ามันตั้งต้นเมื่อไหร่ มันตั้งต้นแต่ความไม่รู้เพราะว่าเราไม่รู้ว่าความไม่รู้ตั้งต้นเมื่อไหร่ เราถือว่าเบื้องต้นมันเกิดขึ้นเมื่อไรเราไม่รู้และไม่อยากจะรู้ ไม่เสียเวลาไปรู้ว่าความโง่นี้เกิดขึ้นเมื่อไร รู้แต่ว่ามันเกิดขึ้นมาแล้ว มันเป็นอย่างนี้มันทำให้ไหลเรื่อยไป สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ งั้นทำให้มันสิ้นสุดเสียด้วยการเกิด วิชชา เกิดแสงสว่าง หยุดเสียได้เป็นนิพพาน นี้จบ จุดจบในเบื้องปลายเห็นได้ง่าย จุดจบในเบื้องต้นเห็นได้ยาก อย่าไปรู้มันดีกว่า เพราะเรามีแต่จะทำรุดไปข้างหน้าให้มันจบ ไอ้เรื่องถอยหลังนั้นไม่มีหน้าที่ๆ จะต้องทำ ในสมัยโบราณสมัยเดียวกับพระพุทธเจ้าราว 2,500 ปีมาแล้วเหมือนกัน ในศตวรรษ 25 ถอยหลัง ในประเทศกรี๊ก ก็มีศาสดาคนหนึ่งเจ้าของลัทธิเพนทาเล เพนทะสินธุแปลว่าไหล เป็นภาษากรีกนี้คือ อิทัปปัจจยตา ที่คนๆ นี้มันเห็น เรียกว่านักศึกษานักปราชญ์ นักปรัชญา นี่มองเห็นจึงเรียกว่าทุกสิ่งไหล ไม่มีอะไรที่ไม่ไหล มันก็น่าประหลาดที่ว่าไอ้คนๆ นี้ก็พร้อมกับสมัยพระพุทธเจ้าแต่อยู่ประเทศกรี๊กฝ่ายตะวันตกโน่น แต่เขาไม่ได้มีคำว่า อิทัปปัจจยตา ใช้หรอกเพราะว่าเขาอยู่ทางโน้น นี่เป็นภาษาบาลีภาษาของประเทศอินเดียที่ใช้ในประเทศอินเดีย แต่เรื่องนี่เรื่องเดียวกัน ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดสามารถมองเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเห็น ได้ยิน ได้ฟัง ได้รอบเราอยู่เนี่ยมันไหลเรื่อย ไม่มีหยุดไม่มีตัวเอง เขาเรียกคนนั้นเห็น อิทัปปัจจยตา ความที่มีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น นั้นแหละคือความไหลเรื่อยไม่มีหยุด แต่มันเป็นเรื่องทางนามธรรม มันมองไม่เห็นเหมือนเราไปนั่งมองน้ำในแม่น้ำไหล แต่เราไปนั่งดูที่ริมตลิ่ง เราเห็นแม่น้ำไหล น้ำในแม่น้ำไหลนี้เราเห็นง่ายเพราะมันเป็นทางรูปธรรม แต่ในฝ่ายนามธรรมก็ไหลอย่างนั้นแต่เราไม่เห็นและมันไม่มีอะไรจะเป็นตัวแม่น้ำที่แน่นอนด้วยเพราะตัวแม่น้ำก็เป็นตัวที่ไหลเสียด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็ไหล อากาศ วิญญาณก็ไหล รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันก็ไหล ความนึกคิดรู้สึกในนั้นมันก็ไหล มันชวนกันไหลหมดอย่างนี้ แต่ไม่มีใครจะมองเห็นว่าไหล ไหลยังไงมันนั่งทนโท่อยู่นี้ นั่งตะคุ่มๆ อยู่นี้ ไหลยังไง งั้นไม่รู้ว่าคนหนึ่งๆ ประกอบอยู่ด้วยธาตุ 6 ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุลม ธาตุอากาศ ธาตุวิญญาณและทุกธาตุไหล แต่เรามองไม่เห็นเพราะมันไม่ใช่รูปธรรม เหมือนกับไปดูแม่น้ำไหล งั้นจึงต้องดูด้วยปัญญา จักษุจักษุปัญญา เห็นว่าธาตุดินก็ไหล ธาตุน้ำก็ไหล ธาตุไฟก็ไหล ธาตุลมก็ไหล ธาตุอากาศก็ไหล ธาตุวิญญาณก็ไหล ถ้าเห็นได้อย่างนี้หมดแน่ จะเห็นว่าคนแต่ละคนนี้มีการไหล แต่นั้นไม่สำคัญเท่ากับสิ่งที่เรียกว่าตัวกูของกู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคน เป็นเพียงความรู้สึกของคน ยิ่งไหลอยู่เรื่อย งั้นเปลี่ยนเรื่อย ความเป็นตัวกู ความเป็นของกู เดี๋ยวเกิดเดี๋ยวดับๆ ไอ้ที่เกิดก็เปลี่ยนเรื่อย เปลี่ยนอย่างงั้น เปลี่ยนอย่างงี้ เปลี่ยนอย่างงั้น เรียกว่ามันไหลเรื่อย ทุกอย่างเป็น อิทัปปัจจยตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวกูของกูนั้น ยิ่งเป็น อิทัปปัจจยตา บ้าเต็มทีมันเหมือนกับเดือดพล่าน สิ่งอื่นที่มันไหลก็มันยังไม่ไหลอย่างเดือดพล่าน เชี่ยวเป็นเกลียวเหมือนกับว่าไอ้ตัวกูของกู ความรู้สึกที่ว่าเป็นตัวกูของกู เกิดทีไรตัวนั้นจะเดือดพล่านรุนแรงรวดเร็วที่สุดเพราะประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งมาจากอวิชชา มันจึงแนะให้สังเกตุเป็นพิเศษว่า อิทัปปัจจยตา ที่รุนแรงเลวร้ายน่าอันตรายที่สุดก็คือตัวกูของกู ดังนั้นในวันนี้เราพูดกันในหัวข้อว่า ไอ้ตัวกูของกูคือ อิทัปปัจจยตา เพื่อให้รู้จักทั้งสองอย่างนี้ดีขึ้น เพื่อให้รู้จักตัวกูของกูดีขึ้นแล้วก็จะรู้จัก อิทัปปัจจยตา ดีขึ้นมาพร้อมๆ กันทั้งสองอย่าง ก่อนนี้เราก็ไม่รู้จักดีทั้งสองอย่าง แล้วค่อยๆ ทำให้รู้จักดีขึ้นมา ดีขึ้นมา พร้อมๆ กันทั้งสองอย่าง ว่าตัวกูนั่นแหละคือ อิทัปปัจจยตา อิทัปปัจจยตา นั่นแหละคือตัวกูแล้วแต่เราจะไปมองมันในแง่ไหน ที่นี้เกี่ยวกับหลักทั่วไปสำหรับใช้สังเกตุเรื่อง อิทัปปัจจยตา ดีขึ้น ก็พอจะแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ อิทัปปัจจยตา ส่วนที่เป็นปัจจัย อิทัปปัจจยตา ส่วนที่เป็น ปฏิจจสมุปณธรรม 44.56 แล้วก็ อิทัปปัจจยตา ส่วนที่เป็นปฏิจสมุปบาท ส่วนที่หนึ่งเราเรียกว่าปัจจัย ส่วนที่สองเรียกว่า ปฏิจจสมุปณธรรม ส่วนที่สามเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท 3 ส่วนนี้เนื่องกันไปด้วยกันคือเป็น อิทัปปัจจยตา ด้วยกัน ปัจจัยเราเล็งถึงความที่สิ่งหนึ่งๆ ตามที่มีอยู่นั่นแหละมันไม่มีสิ่งใดที่จะไม่เป็นปัจจัย สังขารธรรมทั้งหลาย สังฆธรรมทั้งหลาย สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นรูปหรือเป็นนามเป็นอะไรก็ตามที่เรียกมันได้ว่าสิ่งหนึ่ง มันต้องเป็นปัจจัยทั้งนั้น นั้นไปศึกษาเรื่องปัจจัยซึ่งมีนัยยะกว้างขวางยืดยาว พูดกันเป็นเดือนๆ ก็ได้ คัมภีร์อภิธรรมปิฎก 7 คัมภีร์ๆ ที่ใหญ่ที่สุดเรียกว่าคัมภีร์ ปัฎฐานะ คัมภีร์ ปัฎฐานะ ทั้งคัมภีร์ พูดถึงเรื่องปัจจัยอย่างเดียวไม่มีพูดเรื่องอื่น จนเพ้อจนยิ่งกว่าเพ้อจนเราเรียนไม่ไหว เขาพูดแต่คำว่าปัจจัยอย่างเดียวในคัมภีร์นั้น แยกปัจจัยออกเป็น 24 อย่าง คุณไปสวดเอาสตางค์เขามาไม่รู้เท่าไหร่แล้ว เมื่อผีตาย เหตุปัจจะโย อารัมมะณะปัจจะโย คุณว่ามาไม่รู้กี่ร้อยครั้ง คุณเอาสตางค์เยอะแยะแล้วคุณก็ไม่รู้ว่าอะไรใช่ไหม ไม่รู้ว่าปัจจัยนี้คืออะไร เมื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งบรรดาที่มันมีอยู่ มีรูปธรรม ไม่มีรูปธรรม มันเป็นปัจจัยทั้งนั้น เช่นสมภารนอนอยู่ตรงนี้ มันก็เป็นปัจจัยให้ปูนตรงนี้อุ่น นี่คลำดูซิเพราะนอนอยู่ตรงนี้ ปูนตรงนี้อุ่น แล้วเพราะว่ามานอนอยู่ตรงนี้ สิ่งอื่นก็มาอยู่ตรงนี้ไม่ได้หรือเพราะว่าตรงนี้มันว่างเป็นปัจจัยให้สมภารมานอนตรงนี้ได้ นี้พูดแต่เรื่องสมภารนอนตรงนี้จะได้คำว่าปัจจัยๆ ไม่รู้กี่คำต่อกี่คำ นี่เรื่องนี้มันไม่สำคัญ เรื่องในคนนั่นแหละมันสำคัญเพราะมันมีดิน มีน้ำ มีไฟ มีลม มันจึงเกิดตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ของคนและฟันดำ 47.41 หรืออะไรก็ตามแต่ เราหยิบขึ้นมาพิจารณาเนื่องเรื่องเดียวว่า เส้นผมมันมีปัจจัยมันจึงมีเส้นผม มีปัจจัยหล่อเลี้ยงเกิดเส้นผม มีปัจจัยให้มันเจริญงอกงาม มีปัจจัยที่เป็นที่ตั้งให้มันงอก มันมีปัจจัยมากมายก่ายกอง นั้นมันมีปัจจัยตรงแต่งผม แล้วผมมันมีหน้าที่ปรุงแต่งสิ่งอื่น เนี่ยผมมันเป็นปัจจัยให้หัวเย็นอย่างนี้เป็นต้น มีปัจจัยสำหรับป้องกันฝุ่นละอองบนหัวหรือเพราะมีผมใครตีหัวทีหนึ่งมันก็ไม่แตกมากเพราะมันเป็นปัจจัยของสิ่งอื่นไปอีกมาก เส้นผมอย่างเดียวเราก็ดูความเป็นปัจจัยย้อนหน้าย้อนหลังมันก็เห็นได้มาก งั้นสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ล้วนแต่มีลักษณะแห่งความเป็นปัจจัย เช่นว่าเรามีสวนโมกข์ขึ้นมา ก็เป็นปัจจัยให้คนหลายคนมาที่นี่ ถ้าไม่มีสวนโมกข์คนก็ไม่มาที่นี่ เพราะมีสวนโมกข์จึงเป็นปัจจัยให้คนมาที่นี่ คนมาที่นี่คนก็ต้องเสียค่ารถ ก็ต้องเสียค่ารถมันก็เป็นเหตุให้ต้องหาเงิน มันไปกันยืดยาวเพราะมีลักษณะของความเป็นปัจจัยอยู่ในทุกสิ่งๆ งั้นสิ่งนี้เมื่อทำหน้าที่อย่างนี้เราเรียกสิ่งนี้ๆ ว่าปัจจัย เมื่อมันทำหน้าที่ปรุงแต่งสิ่งอื่นเราเรียกว่าปัจจัย ทีนี้มันถูกทำขึ้นมาเสร็จแล้วเราเรียกว่า ปฏิจจสมุปณธรรม (49.24) เมื่อปัจจัยปรุงแต่งแล้วในระยะนั้นเรียกว่า ปฏิจจสมุปณธรรมเมื่อมันทำหน้าที่ปรุงแต่งเรียกว่าปัจจัย งั้นทุกสิ่งมันจะเป็นทั้งปัจจัยและเป็นทั้ง ปฏิจจสมุปณธรรมเช่นว่าร่างกายของเรานี้เป็นปฏิจจสมุปณธรรม เพราะมันถูกปรุงแต่งจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งมันจึงมาเป็นคนอยู่ได้มากมาย ทีนี้เมื่อเรามาเป็นคนอยู่แล้วได้นี้มันก็ปรุงแต่งสิ่งอื่น กระทั่งปรุงแต่งความคิด ปรุงแต่งการกระทำ อย่างสร้างสวนโมกข์ขึ้นมาเนี่ยมันเป็นปัจจัยให้เกิดสิ่งขั้นต่อไป แล้วสิ่งที่ถูกทำให้เกิดนั้นก็เป็นปฏิจจสมุปณธรรมต่อไป ที่นี้เราไม่มองดูสิ่งนั้นที่เป็นเหตุและเป็นผล เรามองดูแต่อาการในระหว่างสิ่งที่เป็นเหตุและเป็นผล อาการที่มันทำอาการปรุงแต่งนี้เราเรียว่า ปฏิจจสมุปบาทคือ 2 สิ่งมันเกิดเนื่องกัน เข้าคือปัจจัยกับผลของปัจจัย เกิดเนื่องกันเข้าไม่ได้แยกกันอยู่ เนื่องกันเข้าเพราะการปรุงแต่งกัน การที่มันเนื่องกันด้วยการปรุงแต่งกัน อย่างนี้เราเรียก ปฎิจจสมุทบาท ถ้ามันแยกกันอยู่เป็นฝ่ายเหตุเรียกว่าปัจจัย แยกอยู่ฝ่ายผลเรียกว่า ปฏิจจสมุปณธรรม แล้วก็ดูความเชื่อมระหว่างสองสิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ทั้ง 3 อาการนี้เรียกว่า อิทัปปัจจยตา นั้นจึงมี อิทัปปัจจยตา ในฐานะเป็นปัจจัย อิทัปปัจจยตา ในฐานะเป็น ปฏิจจสมุปณธรรม อิทัปปัจจยตา ในฐานะเป็น ปฏิจจสมุปบาท แต่เมื่อเราพูดกันจริงๆ เรามักจะรวมทั้งหมดว่า ปฏิจจสมุปบาท แต่ถ้าเราแยกให้ละเอียดเห็นชัดต้องแยกเป็น 3 อย่าง แต่ว่าเราจะแยกหรือไม่แยกก็ตามทั้ง 3 อย่างนี้เป็น อิทัปปัจจยตา คือมันเป็นสิ่งที่เป็นไปตามปัจจัย ถ้าเข้าใจเรื่องนี้ก็จะเห็นได้ว่าไม่มีอะไรที่เป็นตัวตน ว่างจากตัวตน ไหลไปเรื่อย ตามกฏแห่ง อิทัปปัจจยตา เพราะฉะนั้น อิทัปปัจจยตา นั้นแหละ คือพระเจ้าๆ ผู้สร้างโลก พระเจ้าผู้คุ้มครองโลก ผู้คุมโลก ผู้ทำลายโลก นั้นแหละคือพระเจ้า คือ อิทัปปัจจยตา เนี่ยพูดเป็นหัวข้อย่อยๆ ไว้อย่างนี้ ไว้ไปพูดให้ละเอียดในคราวอื่นๆ มันพูดไม่ไหว คราวเดียวจะพูดไม่จบ สิ่งที่มีอำนาจทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น เราเรียกว่าพระเจ้าใช่ไหม พระเจ้าสร้างโลก พระเจ้าสร้างอะไรก็ตามใจแต่ถ้าเรียกกันตามภาษาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ท่านเรียกว่า อิทัปปัจจยตา คือกฏแห่งความที่สิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย แล้วสิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น เพราะมันยากนัก เข้าใจไม่ได้ เขาเรียกว่าพระเจ้าแล้วกัน แล้วก็เชื่อง่ายๆ ว่า พระเจ้าเนี่ยสร้างทุกสิ่งขึ้นมาแล้วมันจริงที่สุด ถ้าเราไม่รู้จักเราก็เชื่อไปว่าพระเจ้าสร้าง ถ้าเรารู้จักก็เห็นว่า อิทัปปัจจยตา เป็นตัวสร้างหรือบันดาลหรืออะไรก็ตามให้สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วเป็นไปเปลี่ยนแปลงไปไม่หยุดอยู่กับที่ ที่เรียกว่าตถตาบ้าง อวิตถตาบ้าง อนัญญถตาบ้าง อิทัปปจจยตาบ้าง สุญญตาบ้าง อนัตตาบ้างแล้วแต่ ล้วนแล้วแต่มีคำว่า ตาๆๆ อยู่ข้างหลังนั้น คำว่าตานี้แปลว่าความ หรือ ภาวะ ในฐานะที่เป็นกฏเกณฑ์ อนัตตาความไม่มีตัวตน สุญญตาความว่าง อิทัปปัจจยตา ความที่เป็นไปตามปัจจัย อนัญตาความไม่เป็นอย่างอื่น อวิตถตา ความไม่ผิดไปจากอย่างนั้น ตถตาความเป็นอย่างนั้นรวมกันแล้วก็มีคำใดคำหนึ่งใช้คำเดียวก็พอ แล้วแต่ใครจะชอบใช้คำไหน ถ้ารู้กันดีแล้วเข้าใจกันดีแล้ว ใช้คำว่าตถตาก็พอ ความเป็นอย่างนั้น นั่นนะเป็นพระเจ้าสร้างโลก ทำลายโลก คุมโลกอะไรก็ได้ งั้นก็ไม่มีอะไรที่จะไม่เป็นตถตา แม้แต่ตัวพระเจ้าเองก็เป็นตถตา สิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นก็เป็นตถตาหรือ อิทัปปัจจยตา แล้วแต่จะเรียก นี่ผมอุตสาห์ทนเหนื่อยพูดภาษาแขกให้มันคุ้นหูมากขึ้นๆ เพราะถ้าไม่พูดไม่รู้ว่าใครจะพูดอีก 4-5 ปี ผมก็คงจะตายเพราะมันเหนื่อยหรือเพราะมันอ่อนเพลียลงทุกปีๆ ก็เลยรีบพูดแข่งกับความตาย งั้นคุณอดทนหน่อยฟังคำที่มันแปลกๆ ก็คุณคิดดูมันไม่มีใครเอามาพูดเพราะผมก็ต้องเอามาพูด แล้วก็พูดขวางเขาที่เขาพูดกันอยู่ เป็นอันว่าในวันนี้เราพูดคำว่า อิทัปปัจจยตา เป็นพิเศษให้เข้าใจเป็นพิเศษแล้วมันมีอะไรอีกหลายตา ค่อยๆ เข้าใจมากขึ้น สิ่งนี้คือ ปฏิจจสมุปบาท คำเรียกกันง่ายๆ แปลว่าการอาศัยการเกิดขึ้น ปฏิจะ แปลว่าอาศัย อุปาทะแปลว่าเกิดขึ้น ปฏิจสมุปาทะแปลว่าการอาศัยการเกิดขึ้น ลำพังตัวเองเกิดไม่ได้ งั้นสังฆกรรม สังขารธรรมทั้งหลายต้องอาศัยสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วเกิดขึ้น นั้นเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ถ้าแยกก็เป็นปัจจัย บ้างเป็นปฏิจจสมุปณธรรมบ้าง เป็น ปฏิจจสมุปบาทบ้าง หรือ ปัจยาการบ้าง หมดนี้เรียกว่า อิทัปปัจจยตา นี่เป็นเพียงหัวข้อ แต่ละคำๆ ต้องอธิบายกันอีกมาก แต่อย่าลืมว่าสิ่งที่เรียกว่าตัวกูของกูนั้นก็คือ อิทัปปัจจยตา ชนิดหนึ่งเท่านั้น นั้นจึงพูดว่าตัวกูของกูก็คือ อิทัปปัจจยตา ตามหัวข้อที่ได้ตั้งไว้ข้างต้นแล้ว แล้วพอกันที