แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ธรรมปาฎิโมกข์เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวกูของกูไปตามเดิม และก็มีความตั้งใจที่จะพูดอันเป็นเรื่องที่เนื่องๆ กันไป ในครั้งที่แล้วมาเราพูดเรื่อง อาวุธสำหรับฆ่าตัวกูของกู เกี่ยวกับเรื่องฆ่าตัวกูของกูนี้มันยังมี แง่ที่ยังต้องมีการทำความเข้าใจกัน อีกหลายแง่ เพราะว่าเรื่องๆหนึ่งมันมี มีแง่หลายๆแง่ งั้นต้องเอาไปปะติดปะต่อกันให้ดี ให้มันได้เรื่องที่สมบูรณ์ขึ้น ในวันนี้อยากจะพูดโดยหัวข้อว่า ไอ้ฆ่าตัวกูของกูนี่มันเหมือน กับฆ่าผี การฆ่าตัวกูของกูคือการฆ่าผี หมายความว่ามันมิได้มีอยู่จริง แต่ว่าแม้มันจะมีอยู่อย่างหลอกๆ นั้นนะ มันมี ปัญหามากคือทำให้มี ความทุกข์ งั้นการฆ่าผี คือการฆ่าไอ้สิ่งที่จะทำให้เป็นทุกข์ ทั้งที่ตัวจริงมันมิได้มี นี่หัวข้อใจความสำคัญมันมีอยู่อย่างนี้
ตัวกูของกูมันก็คือกิเลส ประเภทอุปาทาน เกิดขึ้นทุกคราวที่มันได้อารมณ์ สำหรับจะเกิด แล้วก็มีอวิชาเข้าไป สัมผัสอารมณ์นั้น การได้อัตถภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง นั้น เรียกว่า เป็นการเกิดของ ตัวกู หรือ ของกู หรือผี ชนิดที่กล่าวนั้น ครั้งหนึ่งๆ เรียกว่าการได้อัตถภาพนี่ ตามภาษาชาวบ้านธรรมดาก็หมายถึงตายแล้ว เข้าโลงไปแล้ว ไปเกิดใหม่ได้อัตถภาพอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ว่าภาษาธรรมะของพระพุทธเจ้า มันเป็นอย่างอื่น ที่มันได้อัตถภาพที่นี่ ในชีวิตประจำวันนี่ เดี๋ยวมันได้ อัตถ-ภาพ อย่างนั้น เดี๋ยวได้อัตถภาพอย่างนี้ ตายจากอัตถภาพอย่างนี้ ซะแล้วเดี๋ยวก็ได้อัตถภาพอย่างอื่น ในวันหนึ่งวันหนึ่งก็ได้หลายชนิด ของอัตถภาพ คือได้หลายอัตถภาพนั่นเอง ขอให้สังเกตุข้อนี้ให้เข้าใจ ว่าการเกิดอัตถภาพทางภาษาทางพุทธศาสนาหมายถึงอย่างนี้ แล้วอัตถภาพหนึ่งๆ นั้นแหละคือผีชนิดหนึ่งๆ หรือ คราวหนึ่งๆ ร่างกายนี้มันก็มีอยู่ตามธรรมชาติของร่างกายเป็นวัตถุ เป็น วัตถุธาตุ ก็เป็นที่ตั้งที่อาศัยแห่งจิต จิตเปลี่ยนไปอย่างไร มันก็ได้อัตถภาพอันใหม่ โดยร่างกายนี้มันยังคงอยู่ เป็นเครื่องรองรับการได้อัตถภาพนั้น เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสการ ได้อัตถภาพใหม่ ทุกคราว ที่ได้สัมผัสอารมณ์ ใดอารมณ์หนึ่ง ด้วย อวิชา ถ้าจะจำง่ายก็เรียกชื่อเสีย ควบกันเลย ว่า อวิชาสัมผัส เมื่อใดได้อวิชาสัมผัส คือ มี อวิชาสัมผัส เมื่อนั้นมีการได้อัตถภาพ ทางตา ก็ได้ ทางหู ก็ได้ จมูก ลิ้น กาย ทั้ง 5 อย่างนี้ก็ได้ หรือ แม้แต่ทางใจก็ได้ เมื่อตาเห็นรูป เมื่อหูฟังเสียง เมื่อจมูกได้กลิ่น อะไรก็ตาม ในหกอย่างนั้นนะ พอมีโอกาสแห่งการกระทบทางอายตนะเหล่านั้นเป็นอารมณ์ขึ้นมา แล้วจิตรู้สึกนึกไปตามอารมณ์นั้น แล้วสำเร็จ ความเป็นอยู่ของจิตอยู่ในอารมณ์นั้น แล้วก็ หยั่งลงสู่อารมณ์นั้น อย่างนี้จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกกันว่าวิญญาณในความหมายหนึ่ง ในความหมายอีกความหมายหนึ่ง คือวิญญาณ นั่น จะไปเกิดเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเอง คือจะได้ภาวะใหม่แก่จิต
ที่เราเรียนในโรงเรียน มันยังไม่แน่ว่าวิญญาณไหน มันกำกวมในความยาก เมื่อตากระทบรูปเป็นต้นนี่ ยกตัวอย่างเรื่องทางตา ตากระทบรูปเป็นต้น เกิดจักษุวิญญาณ วิญญาณ นี่ ชนิดนะ อย่างเพิ่งเป็นอะไรก่อน มันยังไม่เป็นอะไร เมื่อตากระทบรูปเป็นต้น เกิดจักษุวิญญาณขึ้นมา นี้ความประจวบแห่งธรรม 3 ประการนั้น ชื่อว่าผัสสะ นี่ ผัสสะ นี้ ยังเป็นเฉยๆ ยังเป็นกลางอยู่ ถ้ามันแน่ชัดลงไปแล้วว่าผัสสะนั้นประกอบอยู่ด้วยอวิชา คือการที่ตาเห็นรูปเกิดจักษุวิญญาณนั้น เป็นการสัมผัสขึ้นมาและการสัมผัสนั้นประกอบอยู่ในอวิชา คือในขณะนั้นโง่ ไม่รู้ ปราศจากความรู้ ปราศจากสติ ในขณะนั้น สัมผัสนั้น เรียกว่า อวิชาสัมผัส นี่คุณช่วยจำคำแปลกๆใหม่ๆที่ ที่ผมอุตส่าห์ขุดค้นเอามาพูดให้ได้ยิน นี่เมื่อคุณเรียนนักธรรมจนชั้นเอก ชั้นอะไรแล้วก็ตาม จะไม่เคยได้ยินคำว่า อวิชาสัมผัส นี้เป็นต้น แต่นี้ เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัส เป็นพุทธภาษิต มีอยู่มากมายหลายแห่งในพระไตรปิฎก คำว่าอวิชาสัมผัสนั่นนะเป็นคำที่พิเศษน่าสนใจควรสนใจ เพราะว่าถ้าไม่มี อวิชาสัมผัส แล้ว เรื่องไม่มี ความทุกข์ไม่มี ไม่ได้อัตตภาพอะไร ไม่มีปฏิจสมุปบาท และเมื่อใด เวลาใด ที่ไหนมี อวิชาสัมผัส เมื่อนั้น เป็นมีเรื่อง คือมันจะเกิดตัวกูของกู ในที่สุด นี่จะต้องทบทวนอีกทีว่า พอตาเห็นรูป เกิดจักษุวิญญาณ ขึ้นมาในขณะนั้น ความประจวบแห่งธรรม 3 ประการนี้ เรียกว่า ผัสสะ นี้ในขณะนั้นเป็นผัสสะที่ประกอบอยู่ด้วยอวิชา คือในขณะนั้นมันไม่มีความรู้ไม่มีสติ นั่นก็ให้เกิดเวทนา แบบที่มาจาก อวิชาสัมผัส คือเวทนาที่จะเป็นที่ตั้งแห่งความหลง เกิดเวทนานี้แล้ว ก็ย่อมเกิดตัณหา แสดงชัดเลยเพราะมันเป็นกิเลสแล้ว พอมีตัณหาแล้วก็ต้องมี อุปาทาน นี่เป็นตัวกูของกูเต็มที่แล้ว มีอัตถภาพ ใหม่กันที่ตรงนี้ ร่างกายคงเดิม ชั่วเวลาแว๊ปเดียวนี้ ร่างกายมันก็ยังคงเดิมไม่ทันจะเปลี่ยนอะไร แต่ในภายในนั้นเปลี่ยนเป็นอัตถภาพอย่าง อื่น เป็น ชาติ หรือ ความเกิดอย่างอื่นเสียแล้ว นี้ต้องจำไว้เข้าใจไว้เพื่อเป็นหลักสำหรับพูดเรื่องทุกเรื่องในพุทธศาสนา เพราะเรื่องทุกเรื่องในพุทธศาสนาจะต้องตั้งรากฐานอยู่บนเรื่องนี้ คือเรื่อง อวิชา สัมผัส นี่ ถ้าว่าขณะนั้นมันไม่ประกอบอยู่ด้วยอวิชา ก็เห็นอะไรได้ เหลียวไปทางไหนก็เห็นอะไรได้ มันก็ไม่เกิด เวทนา ตัณหา อุปาทาน หรือถ้าเราตั้งสติให้ดีเราจะดูอะไร จะ พิจารณา อะไร ก็ดูได้ ก็เกิด อะไรได้ เกิด ญาณ เกิดความรู้ ได้ มันไม่เป็นอวิชาสัมผัส เพราะอวิชาไม่มีทางจะเกิด การเข้าไปรู้สิ่งเหล่านั้นเลยกลายเป็นญาณ เป็นวิชา เป็นปัญญาไปหมด เวทนานั่นก็ไม่ปรุง ตัณหาไม่ปรุง อุปาทาน ภพ ชาติ เดี๋ยว (นาทีที่ 10.13) นี้โดยรายละเอียดลงไปอีหน่อยก็มีว่าพอตากระทบกับรูป เกิดจักษุวิญญาณขึ้น อันนี้เป็นเพียง จักษุวิญญาณ จักขุวิญญาณ เท่านั้น นี้ สัมผัสนี้เผอิญในเวลานั้นปราศจากสติ คือมีอวิชาก็เลยกลายเป็นอวิชาสัมผัสจากอวิชาสัมผัสนั้น ก็คลอดเวทนามาทันที นี่เวทนานั้นรู้สึกด้วยใจ รู้สึกด้วยจิต รู้สึกด้วยใจละไม่ใช่จักษุวิญญาณแล้ว ถ้าเรียกก็เรียกเป็นมโนวิญญาณเท่านั้นเอง มโนวิญญาณ รู้สึกต่อเวทนานั้น ถ้าเรียกภาษาธรรมดาคือ จิต จิตรู้สึกต่อเวทนานั้น ใช้คำว่า เจเจติ(นาทีที่ 11.04) คิดไปตามอารมณ์ นั้น ปะกะปะติ(นาทีที่11.07) สำเร็จ สำเร็จ ตัวเองอยู่ได้ด้วยอารมณ์นั้น อะนุเสติ(นาทีที่11.12) เข้าไปนอนในอารมณ์ นั้น มันมีอยู่ 3 คำ คือ คิด รู้สึกต่ออารมณ์นั้น แล้วก็ ปรุงความคิด ปรุงตัวมันเอง ตัวจิตเอง ขึ้นด้วยอารมณ์นั้น แล้วจิตก็นอนฝังอยู่ในอารมณ์นั้น เมื่อครบ 3 อย่างนี้ จิตนั้นจะได้วิญญาณ ชนิดที่จะสร้างอัตถภาพใหม่ มันเป็นวิญญาณอีกคำหนึ่ง แล้วก็เป็นมโนวิญญาณมากกว่า คือมันจะรู้สึกเป็นฉันเป็น.. มันจะรู้สึกชนิดที่เรียกว่าเป็นตัวกูขึ้นมา ไอ้วิญญาณทีหลังนี่ ไม่ใช่จักษุวิญญาณ คือวิญญาณที่เขามักจะเรียกกันว่าปฏิสนธิวิญญาณ คือวิญญาณที่จะสร้างภพ สร้างชาติ สร้างอัตถภาพใหม่ หมายความว่ามีเวทนา ที่เกิด ที่เขามาจากอวิชาสัมผัสแล้ว มันก็สร้างวิญญาณนี้ ที่จะสร้างภพใหม่ คือสร้างตัณหา สร้างอุปาทาน สร้างภพ สร้างชาติ ไปโดยรายละเอียด งั้นการได้อัตถภาพก็เริ่ม เริ่ม มีได้ตรงนี้ คือวิญญาณอันหลังนี้ ตั้งตัวขึ้นมาได้เมื่อไรก็เรียกว่ามีปฏิสนธิวิญญาณ ซึ่งจะก่ออัตถภาพ เป็น อัตถภาพอันใหม่ ด้วยร่างกายนี้แต่มีจิตใจอย่างอื่น คือมีจิตใจที่เป็นอุปาทานคือตัวกูของกู ก็แล้วแต่ว่ามันกำลังเป็นในลักษณะเช่นไร เป็นตัวกูที่กำลังร้อนใจอย่างเปรตก็ได้ กำลังหลงระเริงอย่างเทวดาก็ได้ ยังวิตกกังวลอย่างมนุษย์ก็ได้ เมื่อมีแยกออกไปได้โดยรายละเอียดอีกหลายๆอย่าง การได้อัตถภาพใหม่ได้ที่ตรงนี้ ตัวกูเกิดใหม่เกิดที่ตรงนี้ นี่ตัวกูก็เกิดมาในชั่วแว๊ปเดียวนี้ ตัวกูในลักษณะอย่างนี้เป็นทุกข์ ทั้งนั้น เหมือนกับบทที่เราท่องจำกันไว้ว่าการเกิดทุกทีเป็นทุกข์ทุกที คือการเกิดของไอ้ตัวกูชนิดนี้ โดยปฏิสนธิวิญญาณชนิดนี้ นี้ทางตาเกิดได้อย่างไร ทางหูก็เกิดได้อย่านั้น ทางจมูกก็เกิดได้อย่างนั้น ทางลิ้นก็เกิดได้อย่างนั้น ทางผิวหนังก็เกิดได้อย่างนั้น แม้ทางใจเองมันก็เกิดได้อย่างนั้น นี้ทางใจเองนี้ มันต้อง ต้องเล็งถึงว่า เราไม่ได้ใช้ตา หู จมูก ลิ้น กาย อะไร แต่ว่าจิต มันน้อมไปถึงไอ้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ซึ่ง ซึ่ง ซึ่งต้องเป็น เป็นอารมณ์ในอดีตเป็นธรรมดา คือเรื่องในอดีต เรื่องในอนาคต นั้น น้อยนัก น้อยหนา แต่ด้วยดีว่าเรื่องในอนาคตมันก็ต้องตั้งรากฐานอยู่บน อารมณ์ในอดีตทั้งนั้นแหละ ไม่งั้นอนาคต คิดไปไม่ถูก ถ้าไม่มีเรื่องอดีตเป็นรากฐาน เอ้าจิต ไปนึกถึงเรื่องอะไรเข้าเรื่องหนึ่ง นี่ก็เรียกว่า มโน นี่ ภพกับชาติ ก็ ธรรมารมณ์ ก็เกิด มโนวิญญาณขึ้น เช่นเดียว ตาพบกับ รูป ก็เกิด จักษุวิญญาณ ขึ้น แต่นี่ มโน กับ ธรรมารมณ์ พบกันก็เกิด มโนวิญญาณขึ้น เป็นความรู้สึกแบบมโนวิญญาณธรรมดา นี่ ธรรม 3 ประการ นี้ เรียกว่า ผัสสะ ผัสสะ ทางมโนสัมผัส มโนสัมผัส นั้นประกอบไปด้วยอวิชาอยู่ มันเลยเป็นอวิชาสัมผัส เวทนาที่เกิดจาก อวิชาสัมผัส ถือเป็นที่ตั้งแห่ง กิเลส คือ ความยึดถือ เกิดเป็นตัณหา เกิดอุปาทาน มันก็อย่างเดียวกันอีก แม้ว่าอารมณ์ จะ ต่างกัน 6 อย่าง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่กริยาอาการ ที่ เป็นไปนั้นมันเหมือนกัน มีวิญญาณทีแรก ทำให้เกิดผัสสะ มีอวิชาเข้าไปเจือเรียกว่า อวิชาสัมผัส อวิชาสัมผัสให้เกิดเวทนา เวทนานี้เจืออยู่ด้วยอวิชาน่ะ มันก็เกิดตัณหา เกิดอุปาทาน เกิดภพ เกิดชาติ แล้ว เป็น ทุกข์ ขอร้องให้เข้าใจให้ดี เรื่องสองสามคำนี้จะต้องจำไว้เป็นรากฐานสำหรับเข้าใจเรื่องอื่นๆ อีกหลายสิบเรื่อง ถ้าพูดว่าเกิดใหม่ก็คืออย่างนี้ เกิดเพราะตาเห็นรูป พูดให้ชัดช่วยจำไว้ว่า เกิดเมื่อมีอวิชชาสัมผัส เมื่อใดมีอวิชชาสัมผัสเมื่อนั้นจะมีการเกิดใหม่ เป็นคนอีกคนหนึ่ง และ เมื่อนั้นนะเรียกว่าได้อัตถภาพใหม่ เป็นอัตถภาพอีกชนิดหนึ่ง หรือเมื่อนั้นจะเรียกว่าโลกก็เกิดขึ้นเป็นโลกใหม่สำหรับบุคคลนั้น อะไรๆก็เพิ่งเกิดตอนอวิชาสัมผัสนี้ทั้งนั้น แม้แต่ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งหลายที่ชวนกันหลับอยู่ ก็ลุกขึ้นมาพร้อมกันในขณะนี้ทั้งนั้น งั้นจะเรียกว่า เกิด เกิด เกิด ละก็ คืออันนี้เกิด เมื่อเกิด ก็ ก็ ต้องเรียกว่าใหม่ เพราะว่ามันเพิ่งเกิดเดี๋ยวนี้ ก็ต้องเรียกว่าใหม่ คือเกิดใหม่ เกิดอีก จนกว่าจะหมดอำนาจปรุงแต่งมันจึงจะหยุดลงและดับไป และก็ว่างไปชั่วขณะหนึ่งจนกว่าจะพบ ทางตา ทางหู ทางอะไรใหม่ นี่ งั้นช่วงระยะที่มันว่างลงครั้งหนึ่งนั้นนะ เรียกว่ามันตาย งั้นจึง มีเกิดมีดับ มีเกิดมีดับ มีเกิดมีดับ แห่งชาติต่างๆ แห่งอัตถภาพต่างๆ ที่เราเรียกตามภาษาของเราที่นี่ว่า ตัวกู ว่า ของกู นี่ ตัวกูของกู เกิดอย่างนี้ นั้นจึงมีลักษณะเหมือนผีหลอก ถ้าพูดให้รวมทีเดียวทั้งหกก็ว่า เมื่ออายตนะภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับ อายตนะภายนอกคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อายตนะภายในกับภายนอก พบกันเข้า คือ อาศัย กัน เท่านั้น ก็ เกิด วิญญาณขึ้นมา เกิดกลุ่มวิญญาณ ความประจวบแห่ง สามอย่างนี้เรียกว่าผัสสะ คือ การกระทบ เมื่ออวิชาเข้าไปเจือเรียกว่า อวิชาสัมผัส ก็เกิดเวทนาที่เป็นเหยื่อของตัณหา พอเกิดตัณหาก็คือเกิดกิเลส นี่ตัวกู ตั้งปฏิสนธิ เมื่อมันมีความรู้สึกที่เป็นตัณหานี่ ที่มาจาก อวิชานี่ ก็คลอดเป็นตัวกูเต็มที่ เมื่อมีอุปาทาน และมันแก่จัดเมื่อมีอุปาทาน มันคลอดออกมาเมื่อมีภพมีชาติ งั้นวันหนึ่งเรามีอวิชาอันนี้ ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ นี่หลายๆ ครั้ง หลายๆซ้ำ เกิดทุกที เป็นทุกข์ ทุกที เกิดแห่งตัวกูทุกที เป็นทุกข์ ทุกที นี่ เกิดแห่งตัวกูนี้คือเกิดแห่งผี หมายความว่ามิได้มีอยู่จริง ถ้ามีคำถามที่ไม่รู้จักจบก็ถามไปเรื่อยว่ามาจากไหน ถ้ามิได้มีอยู่จริง มันจะมาจากไหน นี่ นี่ไม่พูดละ ถ้าถามอย่างนี้ไม่พูดละ มันจะเพ้อเจ้อ เป็นอภิธรรม เป็นอภิธรรมเฟ้อไปแล้ว จะยกตัวอย่างให้ฟังซักเรื่องหนึ่ง ที่เข้าใจเรื่องนี้ เช่น เอา หิน เอ้ย เอา เอาเหล็ก แท่ง แท่งเหล็ก เหล็กกล้าโดยเฉพาะนะ ฟาดลงไปที่หิน ตีเหล็กไฟ เอาเหล็กสำหรับตีที่หินเหล็กไฟ มาตีกันเข้าฉาดหนึ่งก็เป็นประกายไฟขึ้นมา นี่คุณลองเปรียบเทียบดู สมมุติว่าหินนี้เป็นเหมือนกับรูป ไอ้เหล็กกล้านี่เหมือนกะ ตา ตากระทบรูป ฉาดลงไป ก็มี จักษุวิญญาณเกิดขึ้น คือไฟหิน แล๊ป ออกมา เมื่อหินมันฉาดเอา เอ้ย เมื่อ เมื่อเหล็กมัน ฟาดลงไปบนหินเหล็กไฟนี่ เราก็ควรจะคิดว่าไอ้ไฟนี้เพิ่งเกิด ก็ถ้าใครจะไปเถียงว่า เอ้าไฟมันเกิดอยู่ก่อนแล้ว ต่อเมื่อเอาหิน เอาเหล็กไปฟาดหินจึงจะปรากฎให้เห็น ที่แท้มันเกิดอยู่ก่อน นั้นมันก็ถูก แต่มันเป็นเพียงธาตุชนิดหนึ่ง ซี่งยังไม่เรียกว่าเกิดได้ ยังไม่เรียกว่า เป็นการเกิด ที่สมบูรณ์ได้ และก็ดูให้ดีว่าเมื่อเราเอาเหล็กตีที่หินเหล็กไฟ มันมีประกายออกมานั้น ไอ้ประกายนั้นก็ไม่ใช่ไฟ ไอ้ไฟมันคือความร้อนอันหนึ่ง ซึ่งมันไม่ ไม่ต้องมี ไม่ต้องมีประกายก็ได้ แต่ความร้อนที่มันเกิดขึ้นเพราะว่าเหล็กมันถูกับหินนี้มันเป็นประกายออกมา มันเผาอณูน้อยๆของอะไรก็ได้เป็นประกายออกมา งั้นตัวไฟก็ยังไม่เห็นอยู่ตามเดิม ก็คือความร้อน เมื่อเอาหินเอ้ย เอาเหล็กไปฟาดเข้ากับหินเหล็กไฟ ความร้อนเกิด จะเรียกว่าความร้อนนี้เพิ่งเกิด หรือความร้อนมีอยู่ก่อนนั่นนะ ก็เถียงกันตาย ถ้าถือตามหลักที่พระพุทธเจ้าตรัสก็ถือว่ามันเพิ่งเกิด ไอ้สิ่งที่เรียกว่าความร้อนนั่นนะ เพราะฉะนั้นไอ้ถู ไอ้ๆ เอาหินไปตี เอาเหล็กไปตี เอา เอาเหล็กไปตีเข้าที่หินนั้นนะ มันทำให้ความร้อนเกิด เช่นเดียวกับว่าตามันไปกระทบเข้ากับรูปนี่ มันทำให้จักษุวิญญาณเกิด อย่าได้เข้าใจว่าจักษุวิญญาณนั้นเป็นตัวตนที่เกิดอยู่ก่อน รออยู่ก่อน ไอ้นี่มันจะเป็นสัสสตทิฐิ เป็น มิจฉาทิฐิ มันไม่เป็นอิทัปปัจจยตา ในหลักพุทธศาสนา ที่ว่าเพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เกิดขึ้นใหม่ๆล้วนๆเลย แต่ตอนนี้ยังไม่ใช่เกิดตัวกูของกูนะ เกิดปรากฎการณ์นี้เท่านั้น เอาหิน เอาเหล็กตีหิน เกิดความร้อนขึ้นมา ความร้อนนี้ต้องถือว่าเพิ่งเกิดหยกๆและเป็นของใหม่ด้วย อย่างเดียวกัน เมื่อตากระทบรูปเกิดจักษุวิญญาณพรวดออกมา นี้ไอ้ความที่สามอย่างนี้มันได้กระทบกัน เป็นโอกาสแห่ง อวิชา พระพุทธเจ้าตรัสเรียกอวิชาว่าเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ตรงนี้พวกนักธรรมเขาไม่เคยได้ยิน พวกนักธรรมเอกก็ไม่เคยได้ยินว่าอวิชาก็เป็นธาตุชนิดหนึ่ง เขาเรียกว่า อ-วิชา-ธา-ตุ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ นิโรคธาตุ สังกัตธาตุ อสังกัตธาตุ นับไม่ไหวอะ แล้วก็มีอวิชาธาตุอยู่คำหนึ่งด้วย เมื่อมันประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ คือ อายตนภายใน อายตนภายนอก และ วิญญาณ แล้ว นั่นนะโอกาสของ อวิชาธาตุจะเข้าแสดงบทบาทเพื่อจะก่อรูปเป็นอวิชาขึ้นมา อวิชาที่ยังเป็นเพียงธาตุนี่มันทำอะไรไม่ได้ มันจะต้องได้ ไอ้ พื้นที่ ได้ ไอ้ ปัจจัยอะไรที่มันจะ แสดงบทบาทมันจึงจะเป็นอวิชา นั้น เมื่อมีผัสสะอย่างนี้ แล้วเผลอสติ อวิชาธาตุก็ได้โอกาส เข้าผสม ให้สัมผัสนั้น กลายเป็นอวิชาสัมผัส นี่จากอวิชาสัมผัสนี้ ก็เป็นเวทนาอย่างที่ว่า ก็เกิดตัญหา เกิดอุปาทาน เกิดภพ เกิดชาติ นี่ คือเกิดตัวกูของกูเต็มที่ แล้วก็เป็นทุกข์ ทุกข์ ด้วยเรื่อง ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความ โศกะเทวะ ทุกกะ โทรมนะ ตะปายะ...(นาทีที่ 23.57) อะไรก็ตามใจ มันทุกข์ด้วยสิ่งนั้นนะ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วโดยมากมันก็ทุกข์เพราะไอ้เนื่องกันกับเวทนาที่มันได้รับ ถ้าเกิดสุขเวทนา มันก็รักก็หวงในสุขเวทนานั้น มันก็เลยมีความทุกข์เพราะการหวงยึดถือยึดมั่นในเวทนานั้น และไอ้สิ่งที่เรียกว่าผัสสะนั้น สำคัญที่สุด เป็นจุดตั้งต้นของสิ่งทั้งปวง ที่เป็นเรื่องเป็นราวที่จะมีทุกข์ มีอะไรก็ตามใจ เรื่องนี้เคยพูดหลายหนแล้ว ขอร้องให้จำไว้หลายหนแล้ว ว่าสิ่งที่เรียกว่าผัสสะนั่นนะ เป็นจุดตั้งต้นของทุกอย่าง ถ้ามันเป็นอวิชาสัมผัส คือผัสสะที่ประกอบอยู่ใน อวิชาแล้ว มันก็จะเป็นที่ตั้งต้นของทุกอย่างหรือทุกเรื่องที่เป็นความทุกข์ แต่ถ้ามันเป็นผัสสะเฉยๆ ผัสสะธรรมดาไม่เนื่องด้วยอวิชา มันก็ไม่มีอะไรมันก็เลิกกัน มันก็ดู ก็เห็น ก็รู้สึกอะไร ก็เลิกกัน มีเท่านั้นนะ ไม่เกิดกิเลส ถ้าเราเกิดกิเลสทุกคราวที่ตาเห็นรูปเราก็เป็นบ้าตาย ไม่ได้มารอดชีวิตอยู่อย่างนี้ นี่ผม ลืมตาก็เห็นรูปแล้ว แต่ไม่ได้เกิดผัสสะที่เป็น อวิชา แล้วก็เกิดเวทนาแบบนั้น มันไม่ได้เหมือนกับไปเห็นอะไร ที่มันเป็นอารมณ์ ของ กิเลส ไปเห็นรูป ที่มันทำให้รัก ทำให้โกรธ ทำให้อะไรเหล่านั้น แล้วมัน วันหนึ่งมันไม่กี่ครั้ง ที่ได้ยินเสียงคนที่ไม่ชอบ ได้กลิ่นสิ่งที่ไม่ชอบ แต่แล้วมันก็ไม่มากมาย เหมือนกับว่า ได้เห็นรูปที่มัน ฝังจิตฝังใจมากๆ กระทั่งได้คิดนึกไอ้สิ่งที่มันจับจิตจับใจมากๆ เอาละเรามาพูดกันที่ตรงว่ามันเกิดเมื่อไร ให้ชัดเจน ตัวกูของกูเกิดเมื่อไร ไอ้ผีตัวนั้นมันเกิดเมื่อไร หรือจะพูดอย่างสุภาพธรรมดาว่า อัตถภาพ ได้ อัตถภาพใหม่เมื่อไร มีการเกิดใหม่เมื่อไร ก็เมื่อมีอวิชาสัมผัส เป็นจุดตั้งต้น มันเหมือนกับว่า ตีเหล็กไฟเกิดประกายไฟขึ้นมา มันก็เป็นความร้อน ที่มันจะเผาเชื้อเพลิง ทำให้ไฟไหม้โลกก็ได้ ไฟไหม้ป่า ไหม้อะไรก็ได้ ถือว่าจุดตั้งต้นมัน มันแท้จริง รกรากแท้จริงมันอยู่ที่อวิชาสัมผัส แต่คำพูดในภาษาศาสนานี้ เขาใช้วิธีพูดอีกอย่าง ซึ่งฟังยากสำหรับคนทั่วไป คือไปพูดเสียว่าต่อเมื่อมีอวิชาสัมผัสนี้เท่านั้น จึงจะถือว่า มีตา มีจมูก มีลิ้น อะไรเกิดขึ้นมา ก่อนหน้านี้ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ มีอย่างธรรมชาติไม่ทำอะไรได้ เหมือนกะหินที่มันมิได้ตี เหล็กที่มันมิได้ตี พอมันทำหน้าที่ของมันแล้วจึงจะเรียกว่าตัวมันมี งั้นจึงว่าเมื่อมีอวิชาสัมผัสเมื่อไร เมื่อนั้น มีตา หรือว่ามีหู หรือว่ามีจมูก หรือว่ามีรูป หรือว่ามีเสียง หรือว่ามีกลิ่น หรือว่ามีอะไรขึ้นมาทันที ที่เวลาที่สุดก็ว่ามีโลกขึ้นมา ภาษาพระพุทธเจ้ามันเป็นอย่างนี้ เพราะว่าเวลานี้โลกมิได้มี โลกในตามความหมายของพระพุทธเจ้านั้น มิได้มีแก่เรา ไม่ได้มีสำหรับเรา ในโลกแผ่นดินนี้ไม่ใช่ คนละโลกไม่พูดถึง แต่พูดถึงโลก อีกชนิดหนึ่งซึ่งมันก็ มันต่อเนื่องกับโลกแผ่นดินนี้ คือหมายถึงสิ่งที่มีอยู่ในโลกแผ่นดินนี้ ที่มันเป็นอารมณ์ของ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ งั้นพอ อายตนะพบกันเกิด อวิชาสัมผัสเมื่อใด โลกก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น เกิดขึ้นสำหรับเรานะ โลกนี้ตัดไว้เป็นความทุกข์เลย โลกคือทุกข์ เหตุให้เกิดโลกคือเหตุให้เกิดทุกข์ ความดับสนิทของโลกคือความดับสนิทของทุกข์ หนทางให้ถึงดับความสนิทของโลกคือหนทางให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์ คือ อริยสัจสี่ ก็แปลว่าความทุกข์ ก็เพิ่งเกิด เมื่อมี อวิชาสัมผัส โลกก็เพิ่งเกิดเมื่อมีอวิชาสัมผัส คนก็เพิ่งเกิดเมื่อมีอวิชาสัมผัส อัตถภาพใหม่ก็เพิ่งเกิดเมื่อมีอวิชาสัมผัส ตัวกูของกูก็เพิ่งเกิดเมื่อมีอวิชาสัมผัส เนี่ยมันเป็นเรื่องอย่างนี้ ถ้าไม่เข้าใจก็จะไม่เข้าใจ จะเห็นเป็นเรื่องบ้าๆบอๆ ไปเลย ถ้าเข้าใจ ก็จะเห็นเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ที่แท้จริงอย่างนึง ไม่ใช่เรื่องว่าเรื่องเหมาเรื่องเดา มันเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง อย่างนึง แต่เป็นเรื่องทางจิตใจหรือนามธรรม นี่หลักธรรมะหรือตัวพุทธศาสนามันมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นลักษณะอย่างนี้ ผมตั้งใจไว้ว่าไอ้งวดวันเสาร์ที่จะถึง เดือนมกรานี้จะพูดเรื่องนี้ตลอด เรื่องพุทธศาสนาในฐานะวิทยาศาสตร์ของพระพุทธเจ้านี่ มีเรื่องมากมายยืดยาว แต่เมื่อพูดแล้วจะเห็นทุกสิ่งอย่างเป็นสันทิฏฐิโก เห็นชัดเหมือนวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง เห็นทุกอย่าง ทุกอย่าง ชัดเจนเหมือนกับวัตถุ เข้าใจ รู้สึกอะไรได้ เหมือนกับเป็นเรื่องวัตถุ นี่ผมเรียกเอาเองว่าวิทยาศาสตร์ ถ้าไม่อย่างนั้นมันเป็น ปรัชญา เป็นอะไรก็ไม่รู้ มันยังใช้อะไรก็ไม่ได้ คือไม่สามารถจะดับทุกข์ได้ ขอให้ดูในลักษณะอย่างนี้จะพบว่า มันเป็นวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ต้นจนปลาย ตั้งแต่ เกิดทุกข์จนดับทุกข์ อายตนะภายนอกกับอายตนภายในพบกันเกิดวิญญาณขึ้นสามประการนั้นเรียกผัสสะ ถ้าประกอบอยู่ด้วยอวิชาเรียกว่า อวิชาสัมผัส นี้เกิดเป็น เวทนา ตัณหา และเป็นทุกข์ เพราะว่าเมื่อเกิดเวทนาแล้ว เกิดเวทนา ที่มาจากอวิชาสัมผัสแล้ว ห้ามไม่ฟังแล้ว ทีนี้ กระแสนี้จะต้องไหลไปตามกระแสแห่ง ปฏิจสมุปบาท คือจะต้องเกิดเวทนา ชนิด ที่จะทำให้เกิดตัณหา แล้วมันเร็ว พรวดไปเดียวไปเลยสำหรับปุถุชน มันยั้งไม่ทัน จะยั้งไม่ทัน ยั้งไม่อยู่ เว้นไว้จะเป็นผู้ที่ฝึกสติมาอย่างดี บางกรณีก็อาจจะยั้งได้ในกลางกระแส แต่หน้าที่ของสติแท้ๆมันต้องใช้เมื่ออายตนะกระทบ ไม่ใช้มาใช้เมื่อมันเป็นเวทนาเสียแล้ว เมื่อรู้จัก ข้อนี้ชัดเจนเหมือนกะ เป็นเรื่องวัตถุก็ใช้ได้ เรียกว่าเห็นธรรม ถ้าไม่อย่างนั้นก็เป็นเรียกว่ารู้ธรรมอย่างเหมาๆเอา อย่างสันนิฐาน อย่างจำ อย่างจำขืดๆ กันไว้ ยังไม่เห็นธรรม คอยพยายามให้มันเห็นธรรมในลักษณะอย่างนี้ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของวิทยาศาสตร์ รู้สึกได้ตลอดเวลา และ ก็ จะรู้จักว่ามันไม่มีอะไร ไอ้ที่เรียกว่าตัวกูของกูนั้นคือ ผี หรือลมๆ แล้งๆ อะไรอย่างหนึ่งนั้นแค่นั้น นี่ที่ว่า อนัตตา หรือ สูญญตา หรือ อะไร ที่แท้จริง มันหมายส่วนนี้ คือ ตรงนี้ ไม่ใช้มานั่งคำนวณเอาว่าอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะว่าบังคับไม่ได้ เพราะว่า อู๊ย มากมาย อธิบาย คำว่า อนัตตา หรือ สูญญตา แต่มันเป็นเรื่องปากว่าและจำ จำ กันไว้ ถ้าเป็นเรื่องจริง ก็ต้องศึกษาอยู่แต่อย่างนี้ รู้จักสิ่งที่เรียกว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้ดี ดี รู้จักสิ่งที่เรียกว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ให้ดี ดี และเมื่อมันพบกันมันเกิดประกายวิญญาณขึ้นมาอย่างไร เหมือนเอาหินเหล็กไฟตีกันขึ้นมาเกิดประกายไฟธรรมดาขึ้นมาอย่างนั้น ถ้าในขณะนั้นมันมีเชื้ออันอื่นคืออวิชาธาตุเข้ามาผสมแล้วก็ เรียกอวิชาสัมผัส พออวิชาสัมผัสแล้วช่วยไม่ได้ อวิชาให้เกิดตัณหา อ่ะ ให้เกิดทุกข์จนได้ นี่ ปฏิจสมุปบาท จึงตั้งต้นอวิชา อวิชา ให้เกิดสังขาร สังขารให้เกิดวิญญาณ วิญญาณให้เกิดนามรูป นามรูปให้เกิดอายตนะ อายตนะให้เกิดผัสสะ ผัสสะให้เกิดเวทนา เวทนาให้เกิดตัณหา ก็ท่องกันได้ทุกคน แต่มันก็ท่องอย่างนกแก้ว นกขุนทองไม่รู้ว่าอะไร งั้นไปรู้เสียหน่อย เมื่อเราท่อง ปฏิจสมุปบาท แล้วให้เข้าใจความข้อนี้ ว่าอวิชามันตั้งต้นตรงไหน งั้นเรื่อง ปฏิจสมุปบาท จะต้องมาพูดกันอย่างในลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์กันอีกหลายๆหน บางทีพระพุทธเจ้าท่านตั้งต้นด้วยคำว่า อวิชาให้เกิดสังขาร สังขารให้เกิดวิญญาณอย่างนี้ก็มี แต่พอถึงคราว ปฏิจสมุปบาท ที่ทรงนั่งพึมพำเอง พระองค์เองคนเดียว กลับว่า ตากระทบรูป เอ้ย ตาอาศัยรูปเกิดจักษุวิญญาณ ประจวบแห่งธรรม 3 ประการชื่อว่า ผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา เรื่องนี้อย่าลืม พระพุทธเจ้าพึมพำเพลงเล่นด้วยพระองค์เอง ว่าอย่างนี้ เรื่องอื่นไม่เคยมี ให้ไปค้นให้ทั่วในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าไม่เคยเอาเรื่องไหนมาพึมพำเล่นอยู่องค์เดียว นอกจากเรื่องนี้ นอกจากเรื่องนี้ เรื่องการเกิดขึ้นแห่งตัวกูนี้ อาศัยตากับจักษุเกิด เอ้อ อาศัยตากับรูปเกิดจักษุวิญญาณนี่ ประจวบแห่ง ธรรม 3 ประการชื่อว่าผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เวทนาจึงมีตัณหาไปจนถึงทุกข์ นี่ก็เป็นปฏิจสมุปบาท ชนิดที่ เป็นวิทยาศาสตร์ชัดเจนยิ่งขึ้น ตากระทบรูปเกิดจักษุวิญญาณ ตั้งต้นอย่างนั้น นี่ ปฏิจสมุปบาท ในทางปฏิบัติ ปฏิจสมุปบาท ในทางทฤษฎี ตั้งต้นด้วย อวิชา สังขาร วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ อะ อ้า ปฏิจสมุปบาท ในระยะต้นๆ สำหรับคิดค้นแรกๆ มันจะกลับมาตันเอาอยู่ที่ นามรูปและวิญญาณ วิญญาณและนามรูป แล้วก็กลับไปอีก มีหลายๆๆๆแบบ ปฏิจสมุปบาท แต่ทุกแบบนั้น ทรงลงไปอันเดียวกันจุดหนึ่ง คือจุดที่เป็นผัสสะ ถ้าผัสสะนั้นเป็นอวิชาสัมผัสแล้วก็ไม่มี ปัญหาอะไร ก็ต้องมีเวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ เป็น ทุกข์ ไปเลย พอเราเข้าใจเรื่องนี้ เราจะเห็นว่า ไอ้สิ่งที่เรียกว่าตัวกูของกู นั้นมันเป็นผี มันไม่มีตัวจริง มันเป็นลมๆแล้งๆ แล้วคุณจะไปฆ่ามันอย่างไร จะเอาตัวที่ไหนมายึดแล้วฟันคอให้ขาดลงไปได้ งั้นคำว่าไอ้ฆ่าตัวกูของกูเสียเนี่ย มันก็คือทำอย่าให้มันเกิดได้ นั้นแหละ คือฆ่ามัน ทำอย่าให้มันเกิดได้ ถ้าทำอย่าให้มันเกิดได้ คือ อย่าให้มีอวิชาสัมผัส จะสัมผัสทางไหนก็ตาม อย่าให้โอกาสแก่อวิชาจะเข้าไปปน เข้าไปผสม จักษุก็เป็นธาตุ นะ จัก-ษุ-ธา-ตุ มันก็เรียกว่า จักษุ ก็เป็นธาตุไอ้ รูปนี้ก็เป็นธาตุเรียกว่า รู-ปะ-ธา-ตุ และวิญญาณก็เป็นธาตุเรียกว่า วิญ-ญา-ณะ-ธา-ตุ นี่ อวิชาก็เป็นธาตุ เรียกว่า อ-วิ-ชา-ธา-ตุ มันไม่มีอะไร มีแต่ ธา-ตุ ธา-ตุ ธา-ตุ ไอ้ 2 ธา-ตุ แรกพบกัน คือ รูปธาตุ กับไอ้ จักษุธาตุ ก็เกิด วิญญาณธาตุ วิญญาณ นี่ได้ อวิชาธาตุ ผสมแล้วก็มี อวิชาสัมผัส แม้แต่สัมผัสในที่บางแห่งก็เรียกว่าธาตุ ทุกอย่างมันเรียกว่าธาตุได้ทั้งนั้น งั้นเลยมีแต่ธาตุซึ่งไม่มีความหมายอะไรนอกจากว่า สิ่งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ แต่แล้วมันไม่มีเรื่องจนกว่ามันจะมาพบกันในลักษณะอย่างนี้ ไอ้ธาตุร้ายกาจที่สุดที่เหมือนเชื้อโรค ก็คือ อวิชาธาตุ อวิชาธาตุ นี่หยอดเข้าไปที่ไหนไม่ได้ป็นเกิดเรื่องทุกแห่ง ถ้า ปราศจาก อวิชาธาตุแล้ว ไอ้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย จักษุวิญญาณ มันไม่มีเรื่อง ไม่มีโทษ ไม่มีภัย ไม่มีทุกข์ มันต้องเอาเชื้ออวิชาธาตุนี่หยอดลงไปด้วย มันก็เป็นไปได้ต่างๆ เกิดอะไรขึ้นได้ต่างๆ ซึ่ง ล้วนแต่เป็นไปเพื่อความทุกข์ทั้งนั้น งั้นตัวกูมันก็คือธาตุอะไรลมๆแล้งๆอันหนึ่ง หรือจะเรียกว่าเป็นปฏิกริยาล้วนๆก็ได้ไม่มีตัวตนอะไร ไม่ถึงกับเป็นธาตุ แต่ถ้าจะเรียกว่าธาตุ ตัวกูก็เป็นธาตุอวิชา อวิชาธาตุ สิ่งที่เรียกว่าตัวกูของกูก็คืออวิชาธาตุ เพราะว่า ไอ้ธาตุที่ปราศจากความรู้ ภาวะที่ปราศจากความรู้ทั้งหลายเรียกว่า อวิชาธาตุ ได้ทั้งนั้น ก็ต้องอยู่ไหนฐานะ เป็นกริยา หรือเป็น ปฏิกริยา หรือว่าเป็น กรรม หรือเป็น วิบาก หรือเป็นอะไร ก็เหมือนกันทั้งนั้น มันเป็นเรื่องของอวิชา แล้วมันก็ ต้องมี ตัณหา อุปาทาน แน่นอน ไม่มี อวิชา มันเกิด ตัณหาอุปาทาน ไม่ได้ งั้นต้นเหตุของความทุกข์ จึงอยู่ที่อวิชาธาตุ พอได้ออกพิษสำหรับทำงานคือตาหูจมูก เอ่อ รูปเสียงกลิ่นรสเป็นต้นนี้ มันก็ เกิดเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาทันที งั้นตัวกูของกูมันเป็นเพียงปฏิกริยาของธาตุเหล่านี้ เมื่อมัน มันสัมผัสกัน ปรุงแต่งกัน เราจะฆ่ามันอย่างไร วันก่อนเราได้พูดกันถึงว่า ฆ่าตัวกูของกู ด้วยการลืม ลืมตัวกูของกูเสีย ให้สนุกสนานแต่กับทำประโยชน์ผู้อื่น นี้เป็นคำกล่าวธรรมดาสามัญทั่วไป ถ้าใครเข้าใจและปฏิบัติได้เรื่องมันก็จบเหมือนกัน แต่แล้วมันคงจะมีปัญหาในข้อที่ว่าจะลืมตัวกูได้อย่างไร มันไม่มีทางจะ จะฆ่ามันได้ มันไม่ไช่มีตัวมีตน มันไม่มีตัวมีตนที่จะจับมาแล้วก็เชือดคอมัน นี่มันทำไม่ได้ มันเป็นไอ้ ปฏิกริยาอันหนึ่งทางนามธรรมไปแล้ว งั้นจะฆ่ามันโดยโวหารนี้ ก็คือว่าอย่าให้มันเกิดได้ และก็อยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่ให้มีอวิชาสัมผัส จิตจะคิดไป อย่างไร อย่างไร ก็ไม่ให้มีลักษณะเป็นอวิชาสัมผัส ในทางภายนอก ตา หู จมูก ลิ้น กาย มันจะทำอะไรไป ก็ไม่ให้มีโอกาสที่จะเกิดอวิชาสัมผัส นั่นละคือการฆ่า คือทำให้มันเกิดไม่ได้มันก็เท่ากับมันตาย มันมิได้เกิดขึ้นก็เท่ากับมันตายอยู่ตลอดเวลา นี้เมื่อทำอย่างนั้นได้เด็ดขาดลงไป มันก็ไม่มีเกิด มันก็คือเป็นพระอรหันต์ เรื่องมันกลายเป็นง่ายถึงขณะนี้ในการพูด ทีนี้การปฏิบัติที่จะมิสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ไม่ให้อวิชาธาตุเข้ามาแทรกแทรงในการกระทบทางอายตนะนี้มันยาก เพราะเหตุ ดังที่ได้พูดมาแล้วแต่หนหลังว่ามันมีอนุสัยคือความเคยชิน ตั้งแต่คลอดมาจากท้องแม่ มันมีความเคยชิน สำหรับจะให้มันเกิด ให้เกิดอวิชาสัมผัสทั้งนั้น จนบัดนี้อายุกี่ปีแล้ว กี่สิบแล้ว มันกี่ร้อยครั้งหมื่นครั้งแสนครั้งแล้วที่มันเคยชิน งั้นเราจะ ลบล้างความเคยชินอย่างนี้ จะทำได้อย่างไร ถ้าทำได้ตามมาตราฐานธรรมดา มันก็ต้องรอทำอยู่กันอยู่อีกหลายหลายหลายหมื่นหลายแสนครั้งหลายสิบปี จึงจะทำได้ นี้เขามีวิธีลัด คือคำสอนของพระพุทธเจ้า คือการปฏิบัติ ที่ทำให้เกิด สติสัมปชัญญะ ญาณทัศนะ แล้วก็คำเปรียบอันนี้ คือพระขรรค์เพชร พระขรรค์คือว่าดาบ เพชรก็เป็นเพชร หมายความว่ามันวิเศษ มันจึงสามารถ ตัดหรือฆ่าหรือ ไอ้ ทำลายอวิชา ที่เป็นผีปฏิกริยานี้ได้ งั้นต้องบ่มไอ้สิ่งเหล่านี้ บ่มสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ใช่อะไร คือ ทำลายความเคยชิน ความเคยชินที่ชินมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก ที่จะเกิดราคะโทสะโมหะ พอทำได้ มันก็ไม่ลืมไม่เผลอ อวิชาสัมผัสก็เกิดไม่ได้ นี่เราจะทำได้ยังไง ในเมื่อความผิดมันทำมาตั้ง หลายแสนครั้งและก็หลายสิบปีแล้วจะมาทำถูกใน หนึ่งวันสองวันหนึ่งเดือนหนึ่งปี จะทำได้อย่างไร มันก็ต้องทำให้แรง ให้มากกว่า ไอ้ฝ่ายผิดนั้นหลายๆสิบเท่าร้อยเท่าหลายพันเท่าเหมือนกัน ต้องทำอย่างแรง อย่างรุนแรงกว่า ไอ้โน่นมันทำเนือยๆกินเวลาหลายสิบปี ถ้าเราทำแรง สิบเท่ามันก็คงจะเหลือสักหนึ่งปี หรือ หลายปี ถ้าแรงกว่าร้อยเท่ามันก็ยังเหลือตั้งหนึ่งปี บางคนปฏิบัติหนึ่งปีก็เป็นพระอรหันต์ได้ด้วยเหตุนี้ ทั่งที่มันสร้างกิเลสสร้างความเคยชินมาหลายสิบปี ก็มีการ เอ่อ ทำทุกอย่าที่เรียกว่า ภาวนา พาหุลีกตา ภาวิตา พาตุลีกตา ใน โดยลักษณะใดก็ตาม ถ้าแยกออกเป็นฝอยมันก็มาอย่าง แต่ทุกอย่างมันจะช่วยเพียงให้มี สติ ป้องกัน ผีอวิชา ป้องกันการเกิดแห่งอวิชา ถ้าจิตมันเบื่อหน่ายอยู่ด้วย เออ.. ความเห็นการไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ถ้าจิตมันเบื่อหน่ายอยู่ด้วยความรู้สึกอันนี้ นั้นนะ มันเป็นการกันผีอวิชา อยู่ในตัว เพราะว่ามันอยู่ด้วยความเบื่อหน่าย นิพิทา นี่มันเป็นญาณอันหนึ่ง เป็นญาณทัศนะอันหนึ่ง มันเบื่อหน่ายต่อ อัสสาทะ ทั้งหลาย ในโลกนี้ มันเบื่อหน่ายต่อรสอร่อยทั้งหลายในโลกนี้ อย่างนี้อวิชาไม่มีทางเกิด เพราะอวิชามัน มันคือความ ที่จะหลงในรสอร่อย ของสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ พูดถึงเรื่องนี้คุณก็นึกถึง ไอ้คำว่า ราคะ ราคะ สามคำ ในนักธรรมโทก็มี ถ้าเรียนนักธรรมโทก็มีเรื่อง เอ่อ สังโยชน์สิบ ในสิบนั้นจะมีคำว่า กามราคะ รูปราคะ อรูปราคะ ถ้าใครนึกไม่ออก ก็หมายความว่าเป็นนักเรียนที่เลวที่สุด ในสังโยชค์สิบนึกคำสามคำนี้ไม่ออกมันเป็นนักเรียนที่เลวที่สุด สอบนักธรรมโท นักธรรมเอกได้ เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างเลวที่สุด ใช่ไหม กามราคะ ราคะในกาม รูปราคะราคะในรูป อรูปราคะราคะในอรูป พูดอย่างนี้ก็ยังฟังไม่ถูก กามราคะ กำหนัดในอัสสาทะที่ได้มาจากกาม อัสสาทะแปลว่ารสอร่อย ดึงดูดใจ กามราคะคือความกำหนัด ที่เกิดมาจากรสอร่อย ที่ได้มาจากกาม นี่รูปราคะมันก็ ความกำหนัดในรสอร่อยที่ได้มาจากรูปอันบริสุทธิจากกาม ไอ้กามคงเข้าใจกันง่าย หมายถึงเรื่องไอ้ ความรู้สึกทางเพศ กำหนัดในรสอร่อยเกี่ยวกับเรื่องเพศ นี่ ก็เรียกว่ากามราคะ นี่กำหนัดในรสอร่อยที่เกิดมาจากรูปบริสุทธิ ไม่เกี่ยวกับกามนี่ก็เรียกว่า รูปราคะ ก็หมายถึง รสอร่อยของรูปญาณทั้งหลายนี่ เจริญรูปญาณ เอารูปอะไร รูปใดรูปหนึ่งเป็นอารมณ์ สำเร็จเป็นสมาธิมีความสุข กำหนัดในรสอันอร่อยเกิดจากความสุขนั้น อย่างนี้เรียกว่า รูปราคะ แต่เราไม่ ไม่ต้องเล็งถึงขนาดนั้นก็ได้ เพราะน้อยคนนักที่จะทำอย่างนั้นได้ ที่ว่าเขาไปนั่งดูอะไรอยู่เพลินๆ แล้วก็สบาย อย่างนี้ก็เรียกรูปราคะได้เหมือนกัน ไม่ได้เกี่ยวกับกาม ไปดูอะไรชนิดที่มันไม่ใช่เกี่ยวกับกาม แต่มันก็เพลินอยู่นั่นนะมันก็ได้ หรือแม้แต่เรามีวัตถุของเล่น ของอะไรที่มันไม่เกี่ยวกับกาม บ้าหลังกันไปตามเรื่อง เช่นเครื่องลายคราม เช่นต้นไม้นี่ เช่นเลี้ยงปลา เช่นอะไรเหล่านี้ มันก็ไม่ได้เกี่ยวกับกาม แต่มันเกิดความรู้สึกสนุกเอร็ดอร่อยอันหนึ่ง ถ้ามันไปกำหนัดในสิ่งเหล่านี้มันก็เป็น รูปราคะได้ แปลว่ากำหนัดในรสอร่อยที่เกิดมาจากรูปที่บริสุทธิจากกาม อันที่ สาม เรียกว่า อรูปราคะ กำหนัดในรสอร่อยอันเกิดมาจากสิ่งที่ไม่มีรูป ชั้นสูงสุดก็หมายถึงอรูปญาณ เอาสิ่งที่ไม่มีรูปมาเป็นอารมณ์เจริญอรูปญาณ มันก็มีความสุขละเอียดขึ้นไปอีก ก็เลยกำหนัดพอใจอยู่ในรสอร่อยอันนี้ ก็เรียกว่า อรูปราคะ ทีนี้ไม่ต้องถึงอย่างนั้น อะไรอะไรที่มันไม่มีรูป ที่มันเป็นเพียงนามธรรมนี่ ในที่สุดแต่เรื่อง บ้าบุญบ้าเกียรติ บ้าอะไรเหล่านี้ ก็เป็นพวกอรูปราคะได้ เพราะสิ่งเหล่านั้นมิได้มีรูป เราจะเห็นได้ว่าไอ้ รสอร่อย รสอร่อย ที่เรียกว่า อัสสาทะ นั้นมาจาก กาม ก็ได้ มาจาก รูปที่บริสุทธิจากกามก็ได้ มาจาก อรูปที่บริสุทธิยิ่งไปกว่านั้นก็ได้ เพราะมันมีมากนัก เราหนีไปได้จากกาม มันก็ไปติดบ่วงของรูป นี่ เป็นรูป รูปพรหม หรือ รูปาวจร อ้าว หนีไปได้จากไอ้ รูป นี่มันก็ไปติดบ่วงของ อรูป กว่ามันจะหลุดพ้นไปได้ทั้งสามบ่วง ไปนิพพานนั้นมันก็ลำบาก ยกตัวอย่างเหมือนว่าคนธรรมดานี่ เดี๋ยวก็ไปบ้ากาม เรื่องผัวเรื่องเมียขลุกกันอยู่พักหนึ่ง พอมันเหน็ดเหนื่อยระอาเข้าเดี๋ยวก็มาบ้ารูปเฉยๆ วัตถุสิ่งของ ไอ้เงินทองของ ของเฉยๆ เบื่อนักเดี๋ยวมันก็อยากอยู่ว่างๆ มันอยู่ว่างๆนั่นแหละส่งเข้าไปในเรื่องอรูป เดี๋ยวมันก็กลับไปบ้ากามอีก เดี๋ยวก็มาหารูป เดี๋ยวก็มาหาอรูปอีก วันหนึ่งคืนหนึ่งมันอยู่แต่อย่างนี้ งั้นมันจึงเป็นการยาก ที่จะละความเคยชิน มันมีอารมณ์รสอร่อยให้เข้าไปฝังตัวเคยชินทั้งสามประเภท สลับ ถ้าไม่สลับมันเบื่อได้เร็ว นี่เพราะมันเปลี่ยนสลับให้เรื่อย จึงไม่รู้จักเบื่อ จนตาย ถ้ามันบริโภคกามอยู่ทุกชั่วโมงมันก็ทำอะไรไม่ได้มันก็ตาย มันก็ไปหารูป รูปเบื่อก็ไปหาอรูป อรูปเบื่อก็ไปหากาม มันก็เวียนอยู่อย่างนี้ มันจึงทำไปได้เพราะการเปลี่ยน ในชีวิตประจำวันของคนนั้นนะมันเปลี่ยน มันก็มีความเคยชินเป็นอนุสัย ถ้าไปบ้ากาม มันก็เป็นอนุสัยประเภทกาม ถ้าเป็นบ้ารูปก็อนุสัยประเภทรูป อนุสัยประเภทอรูปไปตามเรื่อง เป็นราคานุสัยทั้งนั้น ไม่ว่าชนิดไหนเรียกราคานุสัย เคยชินในการที่จะกำหนัดในรสอร่อยของสิ่งทั้งสามนี้ เพียงเท่านี้ก็แย่แล้ว ไอ้ผีตัวกูของกูมันก็มี มีที่ตั้ง มีโอกาส มีพื้นฐาน มีอะไรมากนัก เดี๋ยวได้ อัตภาพเป็น มนุษย์ เดี๋ยวได้ อัตภาพเป็น เทวดา นี่ก็เรียกว่ากาม เป็นมนุษย์ เป็นเทวดานี่ เรียกว่ากาม เมื่อมนุษย์ เมื่อคน คนนั้นมันกำลังหลงอยู่ในเรื่องกามารมณ์ มันก็ได้อัตภาพ เป็น มนุษย์บ้าง เป็น เทวดาบ้างแล้วแต่กามชนิดไหน กามชนิดง่ายชนิดเลิศก็เรียกเทวดา กามชนิดเอาเหงื่อเข้าแลกก็เรียกว่าเป็นมนุษย์ แล้วบางเวลามันก็อยู่เฉยๆ กลายเป็นพรหมไป นี้มันไปอยู่กับวัตถุใดวัตถุหนึ่งมันก็ได้อัตภาพอย่าง พรหม ชนิด มีรูปบ้าง อย่างพรหมที่ไม่มีรูปบ้าง คนธรรมดานี่ แต่ไม่มีใครสังเกตุ และ ไม่รู้จัก แล้วมันสอนกันผิดๆ จนเอา ไอ้พรหมโลก รูปโลก อรูปโลก ไปไว้ที่อื่น แต่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า อัตภาพเหล่านี้มันอยู่ขณะ ที่เกิดวิญญาณ ชนิดที่ฝังเข้าไปในอารมณ์ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ได้ มี เจเจติ(นาทีที่ 52:31) คือคิด แล้วก็มี ปะกะปะติ(นาทีที่ 52.35) คือมันฝังตัวเข้าไปในนั้น แล้วมันก็มี อะนุเสติ(นาทีที่52.42) คือนอนอยู่ในนั้นเลย ไม่ออกมา นั่นคือ อัตภาพอย่างหนึ่งๆ งั้นผมจึงพูดให้ ฟังสั้นๆว่า เมื่อคิดอย่างสัตว์ๆ ก็เกิดเป็นสัตว์ ถ้าคิดอย่างคนก็เกิดเป็นคน ถ้าคิดอย่างเป็นมนุษย์ก็เกิดเป็นมนุษย์ ที่นั่นและเดี๋ยวนั่น คิดอย่างเทวดาก็เกิดเป็นเทวดาที่นั่นและเดี๋ยวนั่น คิดอย่างพรหม รูปพรหมก็ตาม อรูปพรหมก็ตาม หรือมัน ฟลุ๊ก เป็นไปเอง แล้วมัน มันก็ได้เหมือนกัน มันก็เกิดเป็นพรหมนั้น คือจิตใจมันเกลียดไอ้ความวุ่นวายรำคาญ มันอยากอยู่นิ่งๆแล้วก็สบายอยู่ในความนิ่งๆนี้ มันก็ได้อัตภาพที่เป็นพรหมในเวลานั้น กี่นาทีก็ตามใจ กี่ชั่วโมงก็ตามใจ เพราะจิตมันกำลังพอใจอยู่ในอารมณ์นั้น ซึ่งลักษณะอย่างนั้นเรียกว่า อรู-ปาวจร หรือ อรูปราคะ มีความกำหนัดอยู่ในสิ่งที่ไม่มีรูป นี่ตัวกูหลายแบบอย่างนี้ แล้วเกิดรวดเร็วอย่างนี้ ล้วนแต่เป็นผีทุกชนิด ไม่รู้จะจับมันที่ตรงไหน คำพูดสมมุติ ก็เข้าใจจับตัวมาฆ่าเสีย นั้นมันเป็นเพียงคำพูดสมมุติ เปรียบเทียบให้เข้าใจอย่างเรื่องราวทางวัตถุ แต่ทางเรื่องทางนามธรรมแล้วมันก็คือ มีวิชาเกิดขึ้น มีสติรักษาวิชานั้นไว้ อวิชาเกิดไม่ได้ มันก็เท่ากับตายอยู่ ก็ตายไปเรื่อยๆ จนว่า มันหมดความเคยชินของอวิชา นี่ก็เป็นพระอรหันต์ ถ้ายังไม่ถึงนั้น มันก็มีเกิดดับ เกิดดับ มากน้อยถี่ห่าง กันแล้วแต่เรื่อง งั้นการเป็นอยู่ที่ถูกต้องนั่นแหละ คือการฆ่าเสียซึ่งตัวกูและของกู เป็นอยู่ที่ถูกต้องคือมีสติสัมปชัญญะไม่เผลอให้อวิชามันเกิด ที่นี้การที่เราจะเป็นอยู่ชนิดที่ลืมตัวเราเสีย สนุกแต่การทำประโยชน์ผู้อื่นนั่นอวิชามันมีช่องน้อย มีโอกาสน้อย คุณไปลองดูก็แล้วกัน คุณลืมเรื่องตัวกูของกู เรื่องได้เรื่องเสียของกู เรื่องอะไรของกู ชาวบ้านก็เหมือนกัน ลืมเสีย เรื่องเงินของกู เรื่องทองของกู เรื่องผัวของกู เมียของกู ให้ลิงล้างหูใส่หน้านั่นนะ ลืมมันเสียซิ แล้วก็ไปสนุก แต่การทำประโยชน์ผู้อื่น มันจะช่วย เป็นอยู่ชนิดที่อวิชาผอมเหมือนกัน อวิชาผอมเร็ว เพราะว่ามันเป็นการตัดทางมาแห่งอาหารของอวิชาดีกว่าอย่างอื่น คือไปนึกถึงผู้อื่นน่ะ มันจะช่วยกำจัดทางมาแห่งอาหารของกิเลส ดีกว่ามานึกถึงแต่ตัวกูของกู งั้นวันที่แล้วมาจึงพูดว่าอย่า อย่าไปเห็นแก่ตัวกู เรียนนักธรรม เรียนบาลีนี้ ก็เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นเถอะ อย่าเรียนเพื่อตัวกูได้ สอบได้ก็จะยกหูชูหาง จะมีลาภสักการะ อย่าเรียนเพื่ออย่างนั้น ให้มันลืมตัวกูเสีย หายใจและเรียนรู้ผู้อื่น ทีนี้ก็มาถึงปฏิบัติ ปฏิบัติวิปัสสนา ปฏิบัติธรรมะไหนก็ตาม ลองคิดว่าผู้อื่นเถอะ อย่าเพื่อตัวกูให้สบาย ให้นั้นเลย มันจะแย่ มันจะวก กลับ ทำว่าเพื่อตัวกูจะเป็นสุขนี่มันจะวกกลับ ไม่ทันรู้ เป็นกิเลสไม่ทันรู้ ตัวกูลืมเสีย ปฏิบัตินี้เพื่อให้มัน เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ให้เขาเห็น ให้เขาเอาอย่าง หรือว่า เราปฏิบัติได้ความสุขนี้ก็เพื่อจะไปสอนผู้อื่นดีกว่า อย่ามาเสวยความสุขด้วยตนอยู่เลย นี่ เรียกว่าเรียนเพื่อมันให้ผู้อื่น ปฏิบัติก็เพื่อมันให้ผู้อื่น มีผลของการปฏิบัติได้รับอยู่ก็เพื่อผู้อื่น อย่างเรามีความสุขให้เขาดู เพื่อให้เขาจะได้ปฏิบัติถูกต้องและมีความสุข ไอ้เรานี่ให้ว่างไปเสียตลอดเวลา ไอ้ตัวเราเองมันว่างไปเสีย ทั้งเมื่อเรียนเมื่อปฏิบัติ และเมื่อเสวยผลของการปฏิบัติ นี่คืออนัตตา คือสูญญตา ซึ่งเป็นวิชาอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นวิชาที่มันเป็นข้าศึกแห่งอวิชาอย่างยิ่ง วิชาอยู่อวิชาไม่มีทางโผล่หัว ไม่มีทางได้กินอาหารมันก็ตาย เหมือนกับสัตว์นี่ เรากักโดยวิธีใดไม่ให้มันได้กินอาหารมันก็ตาย หรือถ้าเราทำปิดโดยมันไม่โผล่หัวได้มันก็ตายเหมือนกัน จับสัตว์ใส่โอ่งปิดมิดซิ มันก็ตายเพราะไม่มีอากาศหายใจ ให้กินอาหารเท่าไรๆมันก็ไม่กินมันก็ตาย งั้นวิธีใดก็ตามที่ว่าอวิชาจะไม่ได้อาหาร คือจะไม่ได้เจริญงอกงามขึ้น มันก็ทำลายอนุสัยคือความเคยชินของอวิชานั้น ร่อยหรอลงไป ร่อยหรอลงไป มันก็หมดลงได้ในวันนึง คือวันที่สมมุติเรียกกันว่าเป็นพระอรหันต์ แต่อย่าบ้าอยากเป็นพระอรหันต์นั่นมันบ้าที่สุด พออยากเป็นพระอรหันต์มันก็กลับเป็นตัวกูขึ้นมาอีก ลืมตัวกูเสีย เรียน หรือ ปฏิบัติ หรือ เสวยผลของการปฏิบัติเพื่อผู้อื่นเถิด นี่เรียกว่า อาวุธลับ หรือ อาวุธลัด วิธีลัด หรือเคล็ดลับอะไรก็ตามที่มันจะฆ่า ตัวกูของกูได้ โดยไม่ยาก โดยไม่ต้องเรียนพระไตรปิฎก โดยไม่ต้องเรียนพระอภิธรรม โดยไม่ต้องเรียนอะไรบ้าๆบอๆ ให้มันมากมาย นอกไปจากรู้จักระวังจิต ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อย่างนี้ และนี้คือยอดของพระอภิธรรม ยอดของพระธรรม ยอดของไอ้ การปฏิบัติ เรียกว่า อาวุธลับ สำหรับฆ่าตัวกูของกู ซึ่งที่แท้จริงเป็นแต่เพียงผี ไม่มีตัวไม่มีตน อัตภาพร่างกายรูปนามหรือตัวกูนั้นมันเป็นแต่เพียงผีไม่มีตัวตน แต่มันคิดนึกได้ คิดนึกผิดๆเป็นตัวกูขึ้นมาทำตัวเองให้เดือดร้อน ทำนามรูปนี้ให้เดือดร้อนได้ พอเอาวิชาเข้ามาไล่ผีบ้าออกไปนามรูปนี้ก็ไม่เป็นทุกข์ เรื่องมันมีเท่านี้ ก็นึกถึงพระพุทธเจ้าตรัสว่า อยู่ให้ถูกต้อง เป็นอยู่กันให้ถูกต้อง โลกก็ไม่ว่างจากพระอรหันต์ ท่านใช้คำว่า โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์นะ อย่าตัวกูนะ อย่าตัวกู อย่าเป็นพระอรหันต์ ให้โลกไม่ว่างจากพระอรหันต์ก็แล้วกัน ทุกคนอยู่ให้ดีๆ โลกไม่ว่างจากพระอรหันต์ ก็พอแล้ว ตัวกูอย่าเป็นเลยเป็นพระอรหันต์บ้า ถ้าตัวกูคิดจะเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา มันวกกลับไปหา ไอ้กิเลสที่เป็นอวิชา งั้นจิตนี้รู้แต่ความทุกข์ เกิดขึ้นอย่างไร ความทุกข์เป็นอยู่อย่างไร เกิดขึ้นอย่างไร มาทางไหน ตัดเสียซึ่งหนทางนั้น จิตก็หลุดพ้นไปจากความเป็นตัวกูของกู ไม่นึกว่าเป็นตัวกูของกู เป็น วิมุติ หลุดพ้น จากความทุกข์ นี่ขอให้ทุกคนทั้งหญิง ทั้งชาย ทั้งชาวบ้าน ทั้งพระ ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ รู้จักหวังสิ่งเหล่านี้ รู้จักหวังในข้อนี้ หวังความหลุดพ้นนี่ด้วย อย่าหวังแต่เรื่องปากเรื่องท้อง เรื่องปากเรื่องท้องนั่นมันเรื่องของร่างกาย ส่วนเรื่องวิมุติหลุดพ้นนี่เป็นเรื่องของจิตโดยตรง มันหวังอาหารก็ หวังเพื่อร่างกาย ร่างกายมันหวังมันเอง อย่าให้เป็นกิเลส หิวก็ไปหากินก็แล้วกัน อย่าให้เป็นกิเลส อย่าให้เป็นอวิชาเข้าไปเกี่ยวข้อง ทีนี่จิต นี่ก็หวังวิมุติหลุดพ้นจากกองทุกข์ มีนิพพานเย็นนั่นนะเป็นอาหารของจิต เย็นชั่วคราวก็ได้เย็นตลอดไปก็ได้ ถ้ารู้จักหวังสองอย่าง อย่างนี้ ก็เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ถ้ารู้จักหวังแต่อาหารทางกายนี่ มันก็เป็นลูกสมุนของ หมู หมา กา ไก่ เป็นลูกศิษย์ของ หมา หมู กา ไก่ รู้จักแต่หวังเรื่องอาหารทางร่างกาย ให้รู้จักหวังไอ้ อาหารทางจิตใจ ความหลุดพ้นจิตใจด้วย คู่กันไป ก็ เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า ให้ชีวิตนี้มันเทียมด้วยควาย 2 ตัว อย่างที่ว่า กันอยู่บ่อยๆ ไอ้หนังสือ เนชั่นแนลจีโอกราฟฟี่ ฉบับหลังสุดนี่ มันมีฝรั่งคนหนึ่งไปที่อินเดีย ไปถามไอ้ผู้หญิง อนาถาอาศัยวัดอยู่ ไม่มีข้าวจะกิน คุยกัน ถามว่าต้องการอะไร ไอ้ผู้หญิง ไอ้ซอมซ่อโง่เง่าไม่รู้หนังสือ มันบอกว่าต้องการอาหารกับมุกติ ผมอ่านแล้วสะดุ้ง ต้องการอาหารกับมุกติสองอย่างเท่านั้นนะ ภาษาฮินดูเขาเรียกมุกติ ภาษาบาลีเรียก วิมฺติ หรือ วิมุติ ความหลุดพ้นนี้ ดูสิ ผู้หญิง ขนาดนั้นต้อง รู้จักต้องการอาหารกับมุกติ อาหารอย่างเดียวไม่เอาบอกงั้น ต้องการทั้งสองอย่าง นี่เดี๋ยวนี้พวกเราขนาดนี้มันยังต้องการแต่อาหาร ไม่ต้องการมุกติ อย่าลืมเรื่องพระเยซู พญามารบอกว่าเอ้าไม่มีข้าวกินก็เสกก้อนหินให้เป็นอาหารซิ พระเยซูก็ตอบว่าชีวิตมิได้อยู่ได้ด้วยอาหารขนมปังนั้น อยู่ด้วยธรรมะของพระเจ้า นี้ก็เหมือนกันแหละ คำเดียวกัน ชีวิตส่วนแท้จริงส่วนลึกมันอยู่ได้ด้วยธรรมะ โดยหลุดพ้นทางจิตใจ นี่ประเทศอินเดียก็เจริญด้วยธรรมะมากถึงขนาดผู้หญิงชนิดนั้นรู้จักปราถนามุกติ คู่กันไปกับอาหาร ได้แต่อาหารอย่างเดียวเขาก็บอกว่าเขาไม่พอใจ งั้นจะต้องทำชนิดที่ได้มุกติด้วยเรื่อยไป ดังนั้นเขาจึงไม่โขมย ไม่ทำบาปหยาบช้าใดๆ ทั้งที่ไม่มีอะไรจะกินอยู่แล้ว เดี๋ยวนี้ในโลกสมัยใหม่ เจริญสมัยใหม่ อารยธรรมสมัยใหม่ต้องการแต่อาหาร ความสนุกสนานเอร็ดอร่อยทางเนื้อหนังทั้งนั้น ไม่มีใครต้องการมุกติ หรือ วิมุติ หรือ นิพพาน งั้นจึง หวังว่าไอ้พวกเราที่เป็นพุทธบริษัทนี่ ระวังให้ดีๆ ให้รู้จักต้องการของสองอย่างควบคู่กันไป นี่ ข้าวปลาอาหารสำหรับร่างกาย นี่ และอาวุธสำหรับจะฆ่าตัวกูของกูให้ตายนี่ก็คือมุกติหรือนิพ นิพพาน หรือ วิมุติ แล้วแต่จะเรียก มันคือสิ่งนั้น มันคืออาวุธที่จะฆ่าตัวกูของกูให้ตาย นี่ต้องมีด้วย และก็อาหาร ข้าวปลาอาหารสำหรับร่างกายหล่อเลี้ยง มีชีวิตหล่อเลี้ยงร่างกายก็เอาไป เป็นเรื่องของร่ายกายอย่าเอาไปปนกันเข้า พอไปปนกันเข้าเป็นเรื่องกิเลสล้วน ไม่กินอาหารแล้ว มันกินเหยื่อแล้วกินเหยื่อของกิเลส ทาง ตา ทาง หู ทางอะไรไปแล้ว ก็เลยเป็นการเพิ่ม เพิ่มความทุกข์ เพิ่มไอ้ อวิชา เพิ่มกิเลส ไม่ฆ่ากิเลส ไม่ฆ่าตัวกู แต่ว่ามันปรนเปรอตัวกูให้ใหญ่ขึ้น ให้หนาขึ้น จนฆ่าไม่ไหว จนตายเปล่า เกิดมาทีเสียชาติเกิดไอ้คนชนิดนี้ มันเกิดมาตายเปล่าไม่พบกับสิ่งที่ดี ที่มนุษย์ควรจะได้ เดี๋ยวนี่มันไม่พบแล้วถึงตายไปมันก็ไม่มีทางจะพบแล้ว เพราะว่ามันหลับตาตายไป อยู่มันก็หลับตาอยู่ ตายไปมันก็หลับตาตายไป มันไม่มีหวังจะพบ นี่มันก็เป็นลูกศิษย์ของ หมู หมา กา ไก่ ไปเท่านั้นเอง เอาละพอกันที