แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
การบรรยายของเราคราวนี้เราพูดกันถึงเรื่อง ความมุ่งหมายการบวชในวัยหนุ่ม มุ่งหมายเพื่อจะได้รับการฝึกฝนให้เหมาะที่จะต่อสู้ในโลกในชีวิตต่อไปให้ได้ผลดี ในการฝึกฝนนั้นมันรวมความว่ามีความสำคัญอยู่ที่การบังคับจิต ทีนี้เราก็สรุปใจความว่าคนหนุ่มจะต้องมีการฝึกฝนจิตบังคับจิต แต่ข้อนี้ไม่ได้หมายความว่าคนแก่ไม่ต้องบังคับจิตหรือฝึกฝนจิต มีความหมายว่าคนหนุ่มมันบังคับมาดีแล้วพอ..พอเพียงแล้ว ในตอนที่เป็นคนแก่มันก็เหลือน้อยหรือบังคับได้ดียิ่งขึ้นไปได้โดยง่าย ทีนี้คนหนุ่ม ๆ นี่ยังลำบากเพราะยังไม่เคย แล้ววัยหนุ่มนั้นเป็นวัยที่จิตมันกำลังเป็นป่าเถื่อน หมายความว่ามันมีความรุนแรงไม่ค่อยรู้อะไร รวมทั้งมันไม่เคยถูกบังคับแล้วมันก็ไม่รู้ว่าจะบังคับไปทางไหน ไม่รู้ว่าต้องการผลคืออะไร นั้นคือต้องทำให้ดีเสียตั้งแต่ในวัยหนุ่ม ฉะนั้นจึงพูดถึงตั้งแต่ว่าวัยหนุ่มก็ต้องฝึกฝนการบังคับจิต
ธรรมเนียมของคนไทยแต่โบราณโดยเฉพาะภาคใต้นั้น พออายุ ๑๙ ปีก็จะต้องบวช เขาไม่ต้องให้คิดมาก โดยตั้งไว้เป็นธรรมเนียมเสียพออายุ ๑๙ ปีมันต้องบวช พอตอนมันจะคึกคะนองไปในทางบ้าหลัง ให้มันบวชสัก ๒-๓ ปี ๔-๕ ปี อย่างมาก มันก็มีโอกาสที่จะบังคับจิตฝึกฝนจิต แต่ถึงแม้ว่าจะไม่มีการฝึกฝนอะไรมากนัก มันก็เหมือนกับว่าเอามาเก็บตัวไว้ให้ปลอดภัย ถ้าเอาไว้ที่บ้านน่ะมันทำอะไรตามฆราวาสวิสัยแล้วมันล่อแหลมอันตราย เอามาเก็บตัวไว้ในวัด ๒-๓ ปี ๔-๕ ปีเป็นการค้ำประกันว่าปลอดภัยแน่ที่มันจะไม่เป็นอันธพาลเป็นอะไรร้าย ๆ ที่นี้มันก็ได้ฝึกฝนการบังคับจิตนี่ตามระเบียบของพระของเณร ยังแถมได้รับประโยชน์พิเศษฝึกฝนอาชีพบางอย่างบางประการพร้อมกันไปในตัว เพราะว่าวัดสมัยก่อนเขาก็มีการสอนอาชีพ แต่ว่าความมุ่งหมายค่อนข้างให้ปลอดภัยแก่คนหนุ่มจับตัวมาบวชเสีย โดยเฉพาะอ้ายที่ว่าคนเกิดวันเสาร์พออายุ ๑๙ พอดีที่จะต้องติดตะรางหรือจะต้องตาย ราหูเข้าหรืออะไรก็แล้วแต่จำไม่ค่อยจะได้ แต่ว่าอายุ ๑๙ นั่นแหละมันจะทำพิษ เอามาเก็บตัวเสียปลอดภัยแล้วฝึกฝนให้ดี นี่วัฒนธรรมไทยเป็นอย่างนี้ นี้ก็ไม่ต้องอธิบายก็ทำให้เป็นธรรมเนียมประเพณีเสีย แล้วก็เป็นผลดีแก่คน แล้วที่นี้เราก็เห็นได้ชัดว่ามุ่งหมายที่จะให้มีการฝึกจิตฝึกฝนจิต นั่นน่ะเป็นประโยชน์อันใหญ่หลวง การบังคับตัวเองหรือบังคับจิตหยาบ ๆ ข้างนอกข้างนอกเหมือนกับเรือโกลนนั้นเหมือนกับโกลนเรือนั่น แล้วก็เรื่องเกี่ยวกับศีลอย่างที่เราพูดกันแล้วในครั้งก่อนคือครั้งที่แล้วมาได้พูดแล้วไม่ต้องพูดอีก ทีนี้ก็มาถึงขั้นที่จะบังคับชั้นดีชั้นโดยตรง เมื่อโกลนเรือเสร็จแล้วมันก็ต้องทำให้เป็นเรือ เช่นทำให้มันบานออกไปเป็นลำเรือแล้วก็ขัดแปรงขัดแต่งให้มันเรียบร้อยสิ้นสุดไป นี่ตอนที่ทำให้เป็นเรือจริง ๆ มันอยู่ที่ตรงนี้ นี่ก็อาการบังคับจิตก็เหมือนกันน่ะมันอยู่ตรงที่จะบังคับจิตกันโดยตรง แล้วเราพูดถึงคำว่าอ้ายการบังคับจิตกันโดยตรงต่อไป
ขอให้จำไว้สักอย่างหนี่งว่า ความมุ่งหมายนั้นก็คือต้องการให้จิตมันอยู่ในสภาพที่พึงประสงค์ นี่คุณจำไว้ดี ๆ เถอะมันจะ..จะช่วยได้มาก เราต้องการจะมีจิตที่มันอยู่ในภาวะที่พึงประสงค์หรือน่าปรารถนานี่พูดเป็นคำกลาง ๆ กว้าง ๆ ที่สุด มันใช้ได้แก่ทุกคนแก่ทุกประเทศชาติศาสนาหรือโลกอื่นก็ได้ เพราะต้องการให้มีจิตอยู่ในภาวะที่พึงประสงค์ อ้ายภาวะที่พึงประสงค์นี่ก็เรียกกันง่ายๆ ก็คือว่าไม่..ไม่เสียหาย ไม่เป็นทุกข์ แต่ว่าเราก็จะพูดให้มันชัดกว่านั้น เช่นว่าถ้ามันอยู่ในภาวะที่สะอาด สว่าง สงบ นั่นแหละมันจึงจะไม่เป็นทุกข์ แล้วมันน่าปรารถนาหรือพึงประสงค์ ให้มันสะอาดให้มันบริสุทธิ์สะอาดไม่มีความชั่วไม่มีความเลวไม่มีความลับ ให้มันสว่างก็คือให้มันไม่โง่ ให้มันรู้แจ้งอ้ายที่ควรจะรู้แจ้ง ให้มันมีความสงบนั่นคือมันไม่มีความทุกข์ มีแต่ความเยือกเย็นเป็นสุข สะอาด สว่าง สงบ นี่เรียกว่าเป็นผลที่ปรารถนาที่จะได้รับจากจิตที่ฝึกดีแล้ว แล้วการที่มีจิตอยู่ในภาวะที่พึงประสงค์ที่น่าปรารถนามันหมายความว่าอย่างนี้ ที่นี้เราต้องบังคับให้มันบังคับมันได้มันจึงจะได้ภาวะอย่างนั้นมา จะต้องการจิตสงบหยุดตั้งมั่นก็ทำได้ ถ้าต้องการให้จิตเปลี่ยนไปไปตามที่เราต้องการ ให้มันแจ่มใสสดชื่นบันเทิงร่าเริงก็ทำได้ หรือให้มันจิตปลดปล่อยเปลื้องออกเสียจากสิ่งที่ไม่ควรจะอยู่ในจิตอย่างนี้ก็ต้องทำได้ มันจึงจะได้ได้รับผลคือภาวะที่พึงประสงค์ ถ้าเราบังคับมันไม่ได้บังคับให้สงบไม่ได้บังคับให้เป็นอย่างงั้นอย่างงี้ก็ไม่ได้มันก็ไม่ได้ ไม่ได้ภาวะที่พึงประสงค์ นี่สำหรับคำว่าภาวะที่พึงประสงค์นี้มันหลายชั้นเหมือนกันนะ ชั้นต้นต้น ชั้นริเริ่ม ชั้นพื้นฐานก็มีอยู่อย่างหนึ่ง ชั้นกลางมันก็มีอยู่อย่างหนึ่ง ชั้นสูงสุดมันก็มีอยู่อย่างหนึ่ง
ชั้นพื้นฐานเราต้องการจะมีจิตที่มีความเหมาะสมสำหรับจะศึกษาเล่าเรียนหรือว่าเป็นอยู่ประจำวัน หรือในการทำการงานประจำวันหรือเป็นพื้นฐาน แม้แต่ชาวนาชาวไร่ชาวบ้านชาวคนธรรมดาสามัญนี่เขาก็ยังต้องการจะมีจิตชนิดที่มันเหมาะสมกับทำการงานของเขาไป แต่ว่าชั้นพื้นฐานทั่วไปมีจิตชนิดที่ทำให้ได้รับความพอใจตลอดเวลาเป็นอยู่ผาสุกสนุกในการงาน นี่มันยังไม่เกี่ยวกับธรรมะอะไรนัก ที่สูงขึ้นมาต้องการจะบังคับจิตให้คิดให้นึกให้อะไรได้เก่งให้เฉลียวฉลาด ถ้าสูงสุดมันก็ต้องการให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งปวงบรรลุมรรคผลนิพพาน ดูไปให้รอบ ๆ เถอะจะเห็นว่ามันไม่มีอะไรมากกว่านี้ เกี่ยวกับจิตนั้นเราต้องการอย่างนี้ เมื่อวัยเด็กเรียนหนังสือหนังหานี้จิตมันก็ไม่ค่อยจะดี มันคอยจะไปเล่นหรือคอยจะไปเที่ยวหรือไปดูหนังดูละคร มันไม่อยากจะทำในสิ่งที่ควรจะทำ มันอยากจะไปเหลวไหลดังนั้นการเรียนมันจึงไม่ดีเต็มที่ ถึงต้องมีอุบายบังคับจิตให้มันได้ตามที่ต้องการ ที่เรียนสำเร็จแล้วเป็นหนุ่มเป็นสาวเป็นอะไรขึ้นมามันก็มีเรื่องบังคับจิตอยู่เรื่อยมันคอยจะออกนอกทางอยู่เรื่อย จนกระทั่งเป็นคนเฒ่าคนแก่ พอมันเลื่อนมันเลื่อนสูงขึ้นไปชีวิตมันเลื่อนระดับสูงขึ้นไปสูงขึ้นไปปัญหาทางจิตมันก็ยังไม่หมด มันก็ต้องทำสูงขึ้นไปสูงขึ้นไปจนบังคับกิเลสได้ บังคับให้รับผลเป็นความสะอาด สว่าง สงบที่เรียกว่ามรรคผลนิพพานได้ นี่ตลอดชีวิตเป็นอย่างนี้
ทีนี้เราก็จะมาถึงคำว่า“บังคับ” เพราะบังคับนี่มันเป็นคำพูดแบบที่เรียกว่าภาพพจน์ หรือคือไปยืมอ้ายการบังคับทางร่างกายทางภายนอกเอาเอาเอาไปใช้ บังคับม้า บังคับลิง บังคับสัตว์บังคับอะไรตามต้องการ ไปยืมอย่างนั้นไปใช้ ที่จริงทำกับจิตอย่างนั้นไม่ได้หรอก มันไม่เหมือนกับสัตว์แต่ว่าหลักการมันอย่างเดียวกัน ฉะนั้นเราจึงยืมคำนี้ไปใช้ อ้ายบังคับจิตนี่ต้องทำด้วยอุบาย ใช้กำลังไม่ได้ไม่เหมือนกับบังคับสัตว์ สัตว์ป่าที่เอามาเลี้ยงให้เป็นสัตว์บ้าน มันใช้กำลังบังคับ หรือว่ามันก็เป็นอุบายอัน..อันหยาบนั่นเอง อุบายหยาบ ๆ เลว ๆ แต่ถึงอย่างนั้นก็ต้องใช้อุบาย ฝึกสัตว์เถื่อนให้เป็นสัตว์บ้านนี่ก็ใช้อุบายแนบเนียนไม่ต้องเฆี่ยนไม่ต้องตีก็ยังดีกว่าที่จะทำกันอย่างที่เรียกว่าเกือบเป็นเกือบตายนะ ตีกันเกือบตายหรือผูกล่ามอะไรกันอย่างทารุณ แต่สำหรับสัตว์มันก็จะเป็นอย่างนั้นอยู่มาก(นาทีที่15:06)ใช้อุบายหยาบ แต่ทำกับจิตอย่างนั้นไม่ได้เดี๋ยว..เดี๋ยวตายเลยหรือเป็นบ้า มันก็ต้องมีอุบายที่ละเอียดสำหรับฝึกจิตนี้ให้มันสมกับที่ว่าจิตนี่มันเป็นของสูง มาตรงนี้อยากจะพูดเสียเลยว่า หลักการในพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้านั้นก็ใช้อุบายอันละเอียดสุภาพเป็นผู้ดี พึงจำว่าทุกเรื่องต้องเป็นอย่างนั้น ถ้าผิดจากนี้ใช้ไม่ได้ การปกครองหมู่คณะสงฆ์การทำอะไรกันที่เรียกว่าพาไป..พาไปให้รอดให้พ้นทำกันอย่างผู้ดี รับผิดชอบตัวเอง ไม่ต้องใช้คำหยาบไม่ต้องใช้อะไรหยาบนี้เป็นหลักการใหญ่ ทั้งหมดไม่ว่า.ไม่ว่าแขนงไหนหรืออะไร สิ่งต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติไว้ก็ตามทรงแสดงไว้ก็ตามเป็นเรื่องทำสำหรับผู้ดีทำคล้าย ๆ ว่าท่านไม่ต้องการที่จะรับผู้ชั่วที่พูดกันไม่รู้เรื่องเข้ามา ทรงบัญญัตินั่นหมายความว่าทรงบังคับไว้ให้.ให้ต้องทำไม่ทำไม่ได้ เป็นศีลสิกขาบทนี่บังคับว่าอันนี้มันต้องทำ อ้ายแสดงน่ะเพียงแต่ชี้ทางไว้ทำก็ตามไม่ทำก็ตามใจไม่ทำก็ตามใจถ้าอยากได้ผลก็ทำ จึงมีทั้งบัญญัติไว้ แสดงไว้ ส่วนวินัยก็บัญญัติไว้ ส่วนธรรมะก็แสดงไว้ อย่างที่ผู้ดีเขาจะเอาไว้รับ ให้รับเอาไปจัดการกับตัวเอง อย่าต้องเฆี่ยนต้องตีต้องใช้อาญาอย่างอื่นกันเลย นี่หลักการใหญ่ในพุทธศาสนา ดังนั้นเรื่องจิตเรื่องเกี่ยวกับจิตนี่มันก็เป็นเรื่องชั้นสูงต้องใช้อุบายที่แนบเนียน จงเปรียบกันได้การการฝึกสัตว์เฆี่ยนตีสัตว์อย่างไรก็เฆี่ยนตีจิตอย่างนั้น คำพูดมันแทงกันได้ใช่หรือเปล่ามันมันคนละแบบ ถึงใช้คำว่าบังคับจิตแต่ว่าหมายถึงอุบาย การใช้อุบายที่พาจิตไปตามที่ต้องการ ไม่ใช่ฝึกอย่างฝึกสัตว์ป่า เช่นเขาฝึกลิงฝึกอะไรไม่รู้เห็นเขาเฆี่ยนกันเรื่อยนี่ก็ไม่ไหว ทำอย่างนั้นกับจิตไม่ได้ ทีนี้ก็มีวิธีการหลาย ๆ อย่างที่มันจะเปรียบเทียบกันได้กับการผูกมัดกับการเฆี่ยนตีกับการเผาลน มันเปรียบเทียบกันได้โดยความหมายทางภาษาอื่น ภาษาธรรม ภาษานามธรรม เอา(นาทีที่ 18:55)ภาษาวัตถุไปใช้ คำพูดทางภาษาธรรมะนี่เอาภาษาวัตถุภาษาทางร่างกายนี่ไปใช้ทั้งนั้นนี่ก็ต้องควรจะรู้ไว้ด้วย เพราะธรรมะมันเกิดที่หลัง ความรู้ทางธรรมะเกิดขึ้นในมนุษย์นี้ทีหลัง มนุษย์มันรู้เรื่องอะไรตั้งแต่ทางกายทางวัตถุทางสิ่งของอยู่ก่อนแล้วมีคำพูดอยู่ครบแล้ว พอธรรมะเกิดขึ้นก็ไม่ตั้งคำใหม่หรอก ไปยืมคำที่มีอยู่แล้วเป็นภาษาร่างกายมาใช้ในภาษาจิตใจ ดังนั้นเย็นร่างกายมันก็เย็นอย่างร่างกาย เย็นจิตใจมันก็เย็นอย่างจิตใจใช้คำว่าเย็นเหมือนกันแต่มันคนละอย่าง ร้อนก็เหมือนกันอีก ข้อปฏิบัตินี่มันก็เอาคำว่าหนทางถนนหนทางนั่นมาใช้เรียกทางเดินทางปฏิบัติ ผู้ที่ไม่เคยเรียนบาลีหรือไม่รู้เรื่องนี้มัวเข้าใจว่าศัพท์ธรรมะนี่เขาบัญญัติขึ้นใหม่ ที่จริงไม่มีไม่มีคำไม่มีการบัญญัติคำพูดขึ้นมาใหม่ เอาคำพูดที่พูดกันอยู่ก่อนแล้วทาง.ทางวัตถุ ทางร่างกายนั่นแหละมาใช้แล้วก็เล็งความหมายอันใหม่ เช่นคำว่านิพพานแปลว่าเย็น ก็หมายถึงเย็นใจเพราะเหตุที่มันไม่มีกิเลสซึ่งเป็นไฟ มันก็หมายถึงเย็นตัวเพราะไม่มีความร้อนในทางแสงแดด ___(นาทีที่20:48) เช่นมรรคมันก็คือการเดินหรือทางเดิน เช่นผลก็ลูกไม้ที่ทำแล้วได้ผล ทีนี้เรื่องการฝึกจิตก็จึงใช้คำพูดที่ลองเปรียบเทียบกันได้กับอ้ายทางร่างกายหรือทางวัตถุภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือคำว่า โยคะ คำว่าโยคะนี้มันก็แปลว่าเทียมแอกเทียมไถ เอาวัวเอาสัตว์อะไรเอาเข้าไปเทียมแอกเทียมไถให้มันลากไปเท่านั้นเอง ยืมคำนั้นน่ะมาใช้เกี่ยวกับการฝึกจิตเรียกว่าโยคะ ผูกจิตนี้เปรียบเหมือนวัวไว้กับแอกก็คือหลักธรรมะหรืออารมณ์ของกรรมฐานของวิปัสสนา เหมือนกับหลักหรือแอก คือเอาวัวคือจิตน่ะจิตเถื่อนเอามาผูกเข้ากับหลักหรือแอก ก็ด้วยเชือกคือสติ แล้วก็ตีมันบ้างอะไรมันบ้างก็ด้วยธรรมะ ถึงจะเปรียบเทียบกันได้กับสิ่งนั้น ๆ รวมแล้วก็ครบชุดเรียกว่าโยคะ เทียมแอกไป.ไปถึงที่ที่ต้องการ ยังมีแปลก ๆ ไปถึงว่า(นาทีที่22:38) บางทีก็เปรียบกับการทำนา ทำนาที่มีนิพพานเป็นข้าวเปลือกก็เป็นการเปรียบได้ สัทธาพีชัง สัพโพวุตถิง (นาทีที่22:54) มีความศรัทธาเป็นข้าวพืชสำหรับปลูก มีตบะเป็นน้ำทำนาก็มีครบเหมือนกัน นี่เอาเรื่องทางวัตถุมาเปรียบเทียบเพื่อให้มันเข้าใจง่ายฟังง่ายแก่คนชาวบ้าน ถ้าไปตั้งคำใหม่ใครฟังถูกล่ะแล้วก็ตายละสิ ตั้งคำใหม่ที่คนรู้เป็นคนตั้งแต่ชาวบ้านจะฟังถูกเหรอ ทีนี้เขาก็ต้องใช้คำชาวบ้านรู้อยู่แล้วแต่เอามาใช้อย่างนี้ก็มีความหมาย ฝ่ายนามธรรมที่ไม่มีตัวตนรูปร่างก็พอเข้าใจได้ พอแกอาบน้ำมันเย็นแต่ยังสู้เย็นของฉันไม่ได้ คือเย็นที่กิเลสไม่รบกวนหรือว่าเย็นเพราะกิเลสสิ้นไปเลย มันก็พูดกันรู้เรื่องนะ
ที่นี้เราก็นึกไปถึงคำที่ว่าภาวะที่พึงปรารถนา เราต้องการให้จิตมีอยู่.มีอยู่ในภาวะที่มันพึงปรารถนา ไม่ต้องการให้อยู่ในภาวะที่ไม่พึงปรารถนา คืออันตรายหรือไม่เป็นสุขหรือไม่มีประโยชน์ ภาวะที่พึงปรารถนาอย่างที่พูดมาแล้วว่าจิตสะอาดจิตสว่างจิตสงบมันก็เป็นสุขดี ทีนี้มันไม่ได้ภาวะอันนี้เพราะเหตุอะไร ทีนี้ก็จะมาถึงสิ่งที่เรียกว่ากิเลส.กิเลส กิเลสคนโดยมากยังรู้จักกิเลสน้อยทำให้ปนกันยุ่งไปหมด อ้ายกิเลสที่มันเป็นหลักใหญ่ ๆ คือ โลภะ โทสะ โมหะนั้นน่ะ เขาเรียกว่ากิเลสคือประธานของสิ่งที่เรียกว่ากิเลส แล้วมันก็ยังมีกิเลสที่ออกมาในรูปที่ว่าง่ายดายที่สุดมากที่สุด คือมารบกวนอยู่ตลอดเวลาทำให้จิตอยู่ในสภาพที่ไม่พึงปรารถนาคืออะไรบ้าง นี้เขาก็เรียกว่ากิเลสชนิดที่คอยรบกวน มีชื่อต่างๆ ออกไป อ้ายโลภะ โทสะ โมหะ มันเป็นประธานนะ เป็นชื่อประธานเป็นหลักใหญ่ ๆ แล้วมันยังมีสิ่งที่เรียกว่ากิเลสอีกชนิดหนี่งซึ่งที่แท้ไม่ใช่กิเลส มันเป็นความเคยชินของกิเลส แต่เขาก็มาเรียกกันว่ากิเลส นี้ทำให้ยุ่งทำให้เข้าใจยาก ให้ชื่อมันว่าอนุสัย กิเลสประเภทอนุสัยสังโยชน์ อนุสัยแปลว่านอน ตามนอน เลยอธิบายกันผิด ๆ ว่า มันมีกิเลสอีกชั้นหนึ่งชั้นละเอียดนอน นอนอยู่ในสันดาน นอนรออยู่ในสันดานกว่าจะออกมาเป็นกิเลสหยาบข้างนอกอย่างนี้ยิ่งเข้าใจผิดกันไปใหญ่ ที่จริงคำพูดนั้นมันก็ถูก คือเป็นคำเปรียบอย่างที่ว่ามาแล้วว่าเราเอาคำชาวบ้านคำธรรมดามาใช้พูดเช่นว่านอน กิเลสนอนอยู่ในสันดานนี้ที่แท้มันก็คือราวกับว่า.. ราวกับว่านอนอยู่ในสันดาน มันจะเป็นตัวตนนอนอยู่ในสันดานตลอดเวลาไม่ได้เลยผิดหลักผิดไปหมด ซึ่งในอรรถกถาเขาพูดไว้ถูกคนมันตีความผิดเอง สิ่งที่เรียกว่าอนุสัย ในอรรถกถามีคำว่า อัปปะ....(นาทีที่27:45) นี่ว่าเป็นไทยไทยก็ว่าราวกับว่านอนอยู่เพราะยังละมันไม่ได้ อ้ายกิเลสที่เราละมันไม่ได้นั่นน่ะมันจะเหมือนกับมันนอนอยู่ข้างในราวกับว่าเหมือนกับว่ามันนอนอยู่ข้างใน นี่เอาภาษาธรรมดามาใช้ ที่แท้ไม่ใช่ตัวกิเลส ตัวความเคยชินของกิเลสมันก็เรียกว่าอนุสัย กิเลสที่ราวกับว่านอนอยู่ใน..ใน..ใน..ในสันดาน อย่าเข้าใจว่าอ้ายนอนนี่นอนอยู่ตลอดเวลานอนตายตัวไปเลยมันก็จะเป็นเข้าใจผิด ก็เปรียบว่าราวกับว่านอนรออยู่ในสันดานหมายความว่ามันมันพร้อมที่จะเกิดทันทีทันควันทุกทีไปคล้ายกับว่ามันนอนรออยู่แล้ว คล้ายคล้ายกับว่าน่ะมันนอนรออยู่แล้ว คล้ายกับว่ามันนอนรออยู่แล้วนี่ต้องเข้าใจ ตัวอย่างว่าทำไมเราจึงโกรธได้ทันควัน ทำไมจึงรักได้ทันควัน หรือเกลียดได้ทันควัน หรือกลัวได้ทันควัน เพราะมันเคยชินในการรัก โกรธ เกลียด กลัว นี่น่ะเกิดอ้ายความรู้สึกอันนั้นได้ทันควันเหมือนกับว่ามันรอพร้อมอยู่แล้วนอนรอพร้อมอยู่แล้ว ข้อนี้ก็เพราะว่าตั้งแต่เราเกิดมาจากท้องแม่ มันก็เริ่มก็รู้จัก รัก โกรธ เกลียด กลัว โลภะ โทสะ โมหะ เรื่อยมาเรื่อยมา เรื่อยมาเรื่อยมาวันหนึ่งไม่รู้กี่เป็นร้อยครั้ง มันก็สร้างอ้ายที่ว่านิสัยหรือความเคยชินนั้น แต่กิเลสมันเพิ่งเกิดทั้งนั้นแหละแต่เกิดอยู่ตายตัวไม่ได้เป็นผิดหลักเป็นสัสสตทิฐิมันผิดหลัก กิเลสจะเกิดต่อเมื่อได้เหตุได้ปัจจัยได้อารมณ์สำหรับจะเกิด ไม่ได้เกิดอยู่หรือนอนรออยู่อย่างนั้น แต่มันเคยชินเคยชินที่.ที่.ที่จะ โลภ โกรธ หลง มันเคยชินจนว่ามันเร็วปั๊บออกมาได้ทันทีเหมือนกับว่ามันนอนรออยู่ ส่วนที่เคยชินอย่างนี้เราเรียกอนุสัย ส่วนที่มันเกิดออกมาปรากฏเป็นรูปเป็นร่างออกมาเป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง นี้เขาเรียกว่ากิเลส กิเลสธรรมดา กิเลสตามปกติ ให้รู้ไว้ว่าเกิดกิเลสครั้งหนึ่งจะเพิ่มความเคยชินครั้งส่วน.ส่วนหนี่งทุกทีไป ให้เราไปรับมาครั้งหนึ่ง มันก็มีความเคยชินสำหรับที่จะรับเพิ่มขึ้นครั้ง..ส่วนหนึ่ง ถ้าเราไปรับมันเข้าอีก รับเข้าซ้ำรับซ้ำซ้ำมันก็มีความเคยชินในการที่จะรับซ้ำ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ฉะนั้นมันจึงรับได้ลึกซึ้งรวดเร็วเหมือนกับมันนอนรออยู่กิเลสน่ะ โกรธก็เหมือนกัน กลัวก็เหมือนกัน อะไรก็เหมือนกันอย่างนั้นเขาเรียกว่าอนุสัย ความเคยชินเรียกอนุสัย อ้ายตัวนี้เรียกว่ากิเลส
ที่นี้ที่มันจะแบ่งมาเป็นตัวเล็ก ๆ ๆ ๆ เหมือนกับมามามากวน อย่างนี้เขาเรียกว่าปริยุฎฐานกิเลส ที่เรียกว่านิวรณ์ ที่เรียกกันทั่วทั่วไปเรียกว่านิวรณ์ ก็หมายความว่าในวันหนึ่งคืนหนี่งอ้ายกิเลสชนิดไหนมันมากวนมาก ถ้ากวนเล็ก ๆ เล็ก ๆ มันไม่ใช่กวนใหญ่โตนั่นน่ะคือนิวรณ์หรือว่าปริยุฎฐานกิเลส อย่างนี้เขาไม่เรียกว่า โลภะ โทสะ โมหะ แล้ว แม้มันจะมาจาก โลภะ โทสะ โมหะ หรือเป็นพวกโลภะ โทสะ โมหะ เขาก็คือเรียกอย่างอื่นเรียกว่านิวรณ์ก็มีอยู่ 5 อย่าง กามฉันทะ ความรู้สึกที่จะอิงไปในทางกามารมณ์นี่ มันกวนตลอดวัน แล้วก็ความรู้สึกที่จะไม่ชอบที่จะเกลียดที่จะไม่ชอบที่จะหงุดหงิด เพราะไม่ชอบน่ะเขาเรียกว่าพยาบาท มันก็กวนอยู่ได้ตลอดวัน นี่ก็มาในรูปของความ.ความ.ความ.ความหดหู่ ความที่จิตละเหี่ยหดหู่ไม่ ๆ active นี้ก็เรียกว่า ถีนมิทธะนี่ก็พวกนึง หรือว่าจิตมัน active จน over ก็เรียกว่าอุทธัจจกุกกุจจะ คือฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่าน ที่นี้อันสุดท้ายอันที่ ๕ เรียกว่าความลังเล ความไม่แน่ใจ ความลังเล เรียกว่า วิจิกิจฉา เรียก ๕ อย่างนี้ว่านิวรณ์ เพราะเป็นสิ่งที่มาคอยรบกวนอยู่เสมอ เป็นตัวขนาดเล็ก ๆ แต่ว่าเทียบน้ำหนักเป็นตัวเล็ก ๆ แต่มารบกวนอยู่เสมอ ไอ้รกรากใหญ่ ๆ ของมัน คือ โลภะตัวใหญ่ ๆ โทสะตัวใหญ่ ๆ โมหะตัวใหญ่นั้นมันเป็นประธาน จะเกิดรุนแรงเป็นบางคราว ส่วนอ้ายพวกนิวรณ์นี่จะรบกวนอยู่เสมอเหมือนกับแมลงวัน เมื่อมันตอม.ตอมหน้าให้รำคาญปัดไปก็มาอีก.. ปัดไปก็มาอีก เราจะต้องรู้จักกิเลส ๓ ชั้นเป็นอย่างน้อยนะพอจะเข้าใจเรื่องกิเลสได้ แต่ว่าอ้าย 3 ชั้นนี้มันก็ไปอยู่แค่(นาทีที่34:41)ชั้นเดียว คือชั้นที่เรียกว่ากิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ทั้งนี้กิเลสชั้นไหนก็ตามจิตอยู่ในภาวะที่ไม่พึงประสงค์ สำหรับผู้ที่จะไม่มีโอกาสอยู่วัดอยู่วาไม่เรียนบาลี ก็จำไว้เป็นหลัก ๆ ว่า กิเลสนั้นมีอยู่ ๓ ประเภท โลภะ โทสะ โมหะ ที่พูดกันอยู่แต่ไม่ค่อยรู้จักมัน หรือบางทีก็ฝั่นเฝือไปหมด
ที่นี้จะบอกเป็นหลักให้จำง่าย ๆ ว่า กิเลสประเภทที่จะเอาเข้ามา ที่จะดึงเข้ามากอดรัดไว้นั้นน่ะ เขาเรียกว่ากิเลสประเภทที่ ๑ โลภะ หรือ ราคะ มีลักษณะเป็น positive ที่นี้อ้ายกิเลสตัวที่ ๒ เรียกว่าโทสะหรือโกรธะนี้มันต้องการจะเตะออกไปจะผลักออกไปจะฆ่าเสียให้ตาย นี้มีลักษณะเหมือนกับ negative ที่นี้ประเภทสุดท้ายคือ โมหะ เรียกว่าโมหะ หลง นี้มันไม่ได้รับ.รับ ดึงเข้ามาหรือ ผลักออกไป มันไม่รู้จะทำอะไรดี นี่เรียกว่า แต่มันมันยังพะวงยังพะวงยังผูกพันยังเกี่ยวข้องอยู่นะ นี่เขาเรียกว่าโมหะ มีอยู่ ๓ เท่านั้นน่ะ ให้เราไปรู้จักกิเลสของเราที่มันมีอาการปลีกย่อยหลายสิบชนิดนะ แล้วก็มาจัดเอามันมาเช็คดูไปว่า มันมีลักษณะเอาเข้ามารักกอดไว้ หรือว่ามันต้องการที่จะผลักออกไป หรือในลักษณะที่ว่ายังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี เรารู้จักโลภะ โทสะ โมหะ เช่นความรักนี่มันก็เป็นกิเลสประเภทราคะ โลภะเพราะมันจะเอาเข้ามากอดรัดไว้ ความเกลียดความอิจฉาริษยา นี้มันก็อยู่ในพวกที่จะเตะออกไปจะปัดออกไปเป็นพวกโทสะ โกรธะ ที่นี้ก็มีพวกลังเลสงสัยหรือแม้แต่กลัวมันก็เป็นพวกโมหะ ถ้าว่ากันโดยรายละเอียดนั้นมันนับไม่ไหวมันหลายสิบชื่อ แต่ถ้าว่ากันโดยหลักมันมี ๓ เท่านั้นล่ะ กิเลสประเภทรักเอาเข้ามา ประเภทเกลียดเอาออกไป อ้ายประเภทที่ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรดีก็หลงใหลอยู่นั่นน่ะ
ทีนี้อ้ายนิวรณ์ ๕ อย่างนี้ เริ่มขึ้นกามฉันทะนั่นพวกจะเอาเข้ามาคือพวกราคะหรือโลภะ พยาบาทคือพวกจะตีออกไป ที่นี้พวกถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ๓ อันสุดท้ายนี่มันพวกโมหะ นี่ว่าโดยหลักโดยหลักที่เป็นหลัก ๆ มันเป็นอย่างนี้ ก็แปลว่าอ้ายโลภะหรือราคะเราน่ะ มันส่งมาในรูปของกามฉันทะ เช่นแมลงมาต่อมหน้าเรารำคาญอยู่ตลอดวันคือกวนอยู่ตลอดวัน นี่ถ้าได้โอกาสของความไม่ชอบ ความโกรธหรือความโทสะนี้มันก็ส่งมาในรูปพยาบาท นึกเกลียดนั่นเกลียดนี่เกลียดคนนั้นเกลียดคนนี้ คนนั้นเป็นศัตรูคู่แข่งขัน คนนี้เป็นก้างขวางคออย่างนี้มันก็เป็นพวก โทสะหรือพยาบาทกระทั่งหงุดหงิด ทีนี้อ้าย..อ้ายเหลืออ้ายต่อไปนี้ก็เป็นถีนมิทธะ มันซึมมัน..มันทรุดลงไป มันunderactive ไปนี่มัน หรือเป็นพวกโมหะนี่overไปมันก็เป็นพวกโมหะ แล้วก็สงสัยลังเลไม่แน่ใจ ให้สังเกตดูให้ดีว่าบางวันเราไม่รู้จะทำอะไรให้เป็นที่พอใจได้ กระทั่งลังเลในชีวิตทั้งหมดที่เรามี ลังเลในการงานที่กระทำอยู่ว่ามันควรหรือไม่ควร เปลี่ยนอาชีพดีไหมอะไรอย่างนี้มันเป็นเรื่องลังเล มันรบกวน อย่างนี้เรียกว่าภาวะที่ไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง ก็ต้องกำจัดออกไปด้วยการฝึกจิตอย่าให้มันมีอ้ายอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจึงมีหลักง่าย ๆ ว่า ในการฝึกจิตตามหลักที่สมบูรณ์แบบ ก็เพื่อขจัดอ้ายแมลง 5 ตัวที่มากวนนี้ออกก่อน นิวรณ์ ๕ นี้ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา นี้เราทำให้ถูกวิธีของการฝึกจิตด้วยอุบายที่.ที่ฉลาดมันจะเกิดไม่ได้ มันจะมากวนไม่ได้ เรียกว่านิวรณ์หมดไปไม่มากวน แต่เชื้อของมันหรือความเคยชินของมันที่เป็นโลภะ โทสะ โมหะมันก็ยังมีอยู่ แต่ทีนี้เราทำให้มันออกมากวนไม่ได้ อ้ายความเคยชินนั้นก็ยังเป็นหมันอยู่ ทีนี้ว่าเราฝึกอยู่ในสภาพที่มันกวนไม่ได้อยู่นานเข้าอ้ายความเคยชินมันกลายมันเปลี่ยนแปลง มันหมดความเคยชินไปได้ก็เป็นพระอรหันต์ มันหมดไปสิ้นเชิงก็เป็นพระอรหันต์ หมดไปบางส่วนก็เป็นอ้ายพระอริยะบุคคลที่รอง ๆ ลงมา เราไปทำลายความเคยชินโดยตรง มัน.มันทำไม่ได้ แต่เราป้องกันไม่ให้ความเคยชินมีโอกาสแสดงบทบาทมันก็ทำได้ มันก็กระทบไปถึงอ้ายความเคยชินนั่นเอง ถ้าเราฝึกจิตให้ดีอยู่เสมอมันก็.ก็กันไม่ให้กิเลสมารบกวนให้รำคาญหรือให้เป็นทุกข์ แล้วมันค่อย ๆ ลดอ้ายความเคยชินนั้นลงไปลงไปน้อยลงน้อยลง จนในที่สุดอ้ายความเคยชินที่จะเกิดกิเลสมัน.มัน.มันไม่มีก็เป็นพระอรหันต์ ฉะนั้นการฝึกจิตนี้มันก็ทำให้เกิดผลตั้งแต่ระดับต่ำสุดไปถึงสูงสุด ทำให้นิวรณ์ไม่มารบกวน ทำให้กิเลสไม่เกิด ทำให้ความเคยชินของกิเลสหมดไปในที่สุด นี่เรียกว่าการฝึกจิตมันมีหลักอย่างนี้
ทีนี้ฝึกในขั้นแรกเราฝึกประเภทที่เรียกว่าฝึกสมถะหรือสมาธิ เอาอะไรอันนึงที่มันควรจะเอามาเป็นอารมณ์ที่เอาเป็นหลัก แล้วก็เอาจิตมาผูกไว้กับหลักนี้ด้วยด้วยสติ ด้วยการควบคุมด้วยสตินี้ เช่นเอาลมหายใจเป็นหลักก็กำหนดที่ลมหายใจ หายใจเข้าหายใจออกอยู่เป็นหลักประจำอย่างไรก็ต้องให้จิตกำหนดอยู่ที่นั่น แล้วสติมันบังคับให้จิตผูกยึดติดมันต้องกำหนดอยู่ที่นั่น แล้วอ้ายจิตมันก็ถูกบังคับให้กำหนดอยู่ที่ลมหายใจ ที่นี้ก็ทำเป็น(นาทีที่43:26)อยู่เรื่อยสม่ำเสมออ้ายจิตมันก็สม่ำเสมอไปตามนี่เป็นหลักธรรมดา เพราะว่า(นาทีที่43:38)ให้มันเป็นสมาธิแบบธรรมดา อย่าให้มันฟุ้งซ่านไปเสียที่อื่นให้มันมารวมจุดอยู่ที่นี่ แล้วผลมันก็มีหลายอย่างทันที ตัวเราสบายไม่ถูกนิวรณ์รบกวน เรามี.เรามีจิตที่ดีขึ้นดีขึ้นมีdevelop ไปในทางที่จะมีประโยชน์มากขึ้น คือมีสมาธิ มีconcentration ก่อนนี้มันไม่มีถ้าเราฝึกอยู่อย่างนี้อย่างนี้จิตมันเปลี่ยนเป็นจิตที่มีสมาธิ ก็มีสมรรถภาพสูงเอาสมรรถภาพนี้ไปใช้ทำประโยชน์ก็ได้ประโยชน์ต่อไปอีก แต่ว่าอย่างน้อยเราได้อ้ายจิตที่มีภาวะที่พึงปรารถนา คือสบายสบายตั้งแต่แรก สบายเพราะจิตมัน.มันไม่มีพิษไม่มีโทษไม่มีอะไรที่เป็นทุกข์ นี้ราฝึกจนจิตเป็นสมาธิเข้มแข็งแล้วเอาไว้ทำอะไรก็ได้ จะไปทำอะไรก็ได้เพราะมันต้องการทั้งนั้นไม่ว่าการงานอะไรต้องการจิตที่ดีที่เป็นสมาธิทั้งนั้น จะเป็นการเรียนหรือการงานหรือว่าอยู่ให้มันเป็นสุขหรือว่าจะไปแสดงฤทธิ์ปาฏิหาริย์ หรือจะไปทำกิเลสให้หมดต่อไปมันก็ทำได้ นี้เรียกสมาธิโดยหลักทั่วไป ก็มีอะไรมาทำให้(นาทีที่45:14)จิตกำหนดอยู่ที่นั่น ทีนี้สมาธิประเภทอื่นมีความมุ่งหมายพิเศษมันก็มีอยู่อีกมากแบบ เพื่อจะแก้อะไรกันโดยตรงโดยความมุ่งหมายเช่นว่าจะแก้ความรู้สึกทางราคะที่มันมากเกินไปอย่างนี้ ก็ไปฝึกสมาธิแบบที่เอาของน่าเกลียดมาเป็นอารมณ์ แล้วเรากำหนดอยู่เช่นเอาซากศพเป็นต้น คือไปหาซากศพไปนั่งพิจารณาอยู่ ไม่ใช่เอา.ไม่ใช่เอาลมหายใจเป็นอารมณ์ละทีนี้มันเอาอ้ายซากศพนั่นน่ะเป็นอารมณ์ เขาฝึกให้ติดตาติดใจติดให้ลึกลึกจนอ้ายราคะมันเกิดยาก อ้ายอย่างนั้นเขาเรียกว่าอ้ายสมาธิพิเศษมุ่งหมายเฉพาะเหตุการณ์ ทีนี้สมาธิที่ทั่วไปหมายความว่า เอาอะไรมาอันนึงให้จิตกำหนดให้จิตมันอยู่ที่นั่นอย่าให้นิวรณ์มารบกวนได้ เราสบายแล้วเราก็เป็นคนมีจิตที่เก่งกล้าสามารถเป็นสมาธิได้ทำอะไรต่อไปข้างหน้า ทีนี้ในที่นี้ปัญหาของเรามีอยู่ว่ามันที่มักจะบันดาลโทสะบ้าง บรรลุอำนาจแก่ความโลภบ้างปัญหาของเรามีอยู่อย่างนี้ เราก็ฝึกอย่างนี้ฝึกไปเลยมันอ้ายความโลภหรืออ้ายความบันดาลโทสะมันจะค่อย ๆ น้อยลงไป จะค่อย ๆ ลดลงไปความเคยชินของมันลดลงไป คนที่เคยฝึกจิตอย่างนี้แล้วมันก็มีส่วนดีมากนะ มีทั้งสมาธิมีทั้งสติมีทั้งสัมปชัญญะมีทั้งปัญญามีทั้งอะไรทุกอย่างแหละ ฉะนั้นเราไปเป็นฆราวาสก็ได้ ไปเป็นฆราวาสที่ดีที่จะไม่มีการบันดาลโทสะ ไม่มีอ้ายลุอำนาจแก่โลภะหรือว่าราคะเหมือนที่เขาเป็น ๆ กันอยู่ทั่วไปทุกหัวระแหงแล้วมันเดือดร้อนกันไปทั้งบ้านทั้งเมืองแล้ว ฉะนั้นเราต้องการเท่าไหร่เพียงไหนก็เอากันเพียงนั้น อย่าปล่อยให้มันไปในลักษณะที่มันไม่น่าปรารถนาน่ารังเกียจน่าติเตียน
ที่นี้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้พวกคุณไปหาอ่านเอาเองเช่นหนังสือเรื่องอานาปานสติ หนังสือเรื่อง กายคตาสติ หนังสือเรื่องพรหมวิหาร หนังสือมันเป็นอ้ายsystem อันหนึ่งอันหนึ่ง___(นาทีที่48:09) เอ้า,ไปหาอ่านเอาเองชอบอันไหน เอามาพูดที่นี่ไม่ได้หรอกมันยืดยาวมันเสียเวลาเป็นหลาย ๆ ชั่วโมง แล้วมันก็จำไม่ไหวหรอกคนพูดน่ะ จึงพูดให้แต่หลักหัวใจวิญญาณspiritของมัน เพราะมันมุ่งหมายอย่างนั้นมันเป็นอย่างนั้นมันจะต้องทำอย่างนั้น ก็ไปหารายละเอียดอ่านเอาจากหนังสือที่มันมีอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องอานาปานสตินี่ผมก็พยายามเขียนทั้งฉบับใหญ่ ฉบับกลาง ฉบับเล็กแล้วไปอ่านกันเองก็ได้ ในชุดบรมธรรมมีบรรยายสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยโดยเฉพาะเรื่องอานาปานสติ เอานะ(นาทีที่49:46)เท่าที่พูดนี้มันก็พอจะฝึกได้ แม้จะไม่อ่านหนังสือนั้นหรือไม่ทำมากถึงอย่างนั้นมันก็ยังทำได้อย่างที่ว่านี่ เอาอะไรอันหนึ่งที่มันจะช่วยให้จิตมันสงบง่ายสะดวก ให้มันมาเป็นเครื่องให้จิตกำหนด เครื่องที่บังคับให้กำหนดนั่นก็คือสติ ทำไปอย่างนี้มันค่อย ๆ สอนให้เองมันจะสอนให้เองในตัวว่า เอ้า,มันเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนั้นไปได้ในที่สุด ก็ทีแรกใครจะสอนใครมันจะมีใครรู้เรื่องนี้ก่อน มันมีคนคว้าคนคลำไป ยกตัวอย่างให้ฟังง่าย ๆ เหมือนว่าสานตะกร้านี้สานกระจาดกระบุงที่งดงามที่สวยงามที่ทำลำบากนั่นนะ เราเห็นพอเห็นเขาทำพอรู้หลักการ เราเอามาทำมันจะสอนไปเรื่อย ทีแรกก็ทำได้เลวมากใช้ไม่ได้ ทำครั้งที่สองก็ดีขึ้นมันจะสอนให้เองสอนให้เองสอนให้เอง จนเราจะทำได้ดีได้สวยกว่าตัวอย่างที่เราเห็นเสียอีก คือทุกอย่างมันจะสอนให้เองอย่างนี้ การทำสมาธิหรือการฝึกจิตก็เหมือนกัน ไปเล่นไปลูบคลำกับมันเรื่อยมันก็สอนให้เองดีขึ้นดีขึ้น แต่ว่าถ้าเราได้รับคำอธิบายมาบ้างก็จะเร็วขึ้นเหมือนกัน แต่แม้กระนั้นถ้าเราค้นคว้าได้ให้ถือว่าอาจารย์.อาจารย์ที่ดีที่สุดชื่อนายคลำ คลำนี่คือคลำไปเรื่อย พระพุทธเจ้าก็มีอาจารย์ชื่อนายคลำ นี่อย่าเข้าใจผิด ฉะนั้นเราทุกคนก็มีอาจารย์ชื่อนายคลำ คือคลำไปเรื่อยก็แล้วกันมันจะพบช้าหรือเร็วก็ตามใจ นี่ก็สอนให้ได้แต่เพียงเค้าโครง แล้วก็มัน..มันมองไม่เห็นหรอกมันต้องไปทำบางทีจะมองเห็นด้วยใจว่าทำไม(นาทีที่51:26) ก็ทำไปทำไปทำไปทำไปก็พบว่าอ้อ,อย่างนี้น่ะถูกแล้ว มันพิสูจน์อยู่ในตัวว่าถ้าผิดมันก็ไม่สำเร็จประโยชน์นะ มันยังเป็นทุกข์ทนหม่นหมองอยู่นั่นน่ะ ถ้าถูกมันก็แจ่มใสขึ้นสะอาด สว่าง สงบเพิ่มขึ้นนั่นก็คือถูก เรื่องนี้มันเกือบจะไม่ต้องพูดกับใครเลย ถ้าอาศัยการคลำไปคลำไป นี่ขอให้สังเกตอีกทีหนึ่งว่า ที่เรียกว่าบังคับจิตไม่ใช่บังคับอย่างโง่ ๆ บังคับอย่างหยาบ ๆ บังคับอย่างกับบังคับสัตว์ บังคับด้วยอุบายเอาลมหายใจมาให้กำหนดนั่นน่ะคือบังคับล่ะ มันเป็นอุบายอุบายนี้ก็แนบเนียนดีและไม่มีความโกลาหลวุ่นวายอะไรเลย จะเป็นไปอย่างเงียบสงบตลอดเวลา และสำเร็จประโยชน์โดยไม่ต้องเอะอะวุ่นวายอะไร แต่ก็เรียกได้เป็นการเฆี่ยนตีเป็นการผูกมัดเป็นการปลอบโยนเป็นการขู่เข็ญอะไรมันเป็นไปหมดในตัว(นาทีที่52:40) จึงรวมเรียกว่าอุบายบังคับจิต อุบายอบรมจิตทำจิตให้ยิ่ง
ด้วยจิตที่มันยิ่งแล้วก็คือมันมีสมรรถภาพที่น่าปรารถนาอยู่ ๓ อย่าง ในหลักทั่วไปมันก็มีปริสุทโธ.ปริสุทโธแปลว่าบริสุทธิ์ pure clean ปริสุทโธจิตนั้นบริสุทธิ์ แล้วก็สมาหิโตจิตนั้นตั้งมั่นเข้มแข็งเรียกว่าfirm เรียกว่า steady เรียกว่าconcentrate อะไรก็ตามแต่ ทีนี้อันที่ ๓ มันก็active เขาเรียกกัมมนีโย กัมมนีโยเป็นภาษาบาลีมีความหมายว่าว่องไวต่อหน้าที่ของมัน กัมมะ คือหน้าที่ นียะ(นาทีที่53:56) คือว่องไวต่อหน้าที่ กัมมนีโย ว่องไวต่อหน้าที่ คือactive activeness มันเป็นจิตที่บริสุทธิ์ มั่นคง ไวต่อหน้าที่ แล้วจะเอายังไงกันอีกล่ะ ฉะนั้นจิตชนิดนี้ใช้ในกรณีไหนก็ได้ ในกรณีค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ แม้แต่ไปโลกพระจันทร์ได้มันก็ต้องมีจิตที่มีสมรรถภาพอย่างนี้ทำการค้นคว้า มันลืมอะไรหมดเลยมันมีอยู่แต่หน้าที่ที่เรากำลังทำก็ทำได้ดี ฉะนั้นผู้ที่เป็นนักค้นคว้านักอะไรมันจะต้องมีจิตชนิดนี้ซึ่งแหลมมากคมมากลึกมากเข้มแข็งมาก มันจึงพบอะไรแปลก ๆ ออกมา ฉะนั้นอย่าเข้าใจว่าเป็นเรื่องทางศาสนาเสียล้วน ๆ มันเป็นทั่วไปที่มนุษย์จะพึงประสงค์ คุณไปศึกษาประวัติอย่าง.อย่างไอน์สไตน์อย่างนี้ดูซิว่ามันมีจิตอย่างไรอะไร เดี๋ยวจะมาพบว่ามันอย่างนี้ เกี่ยวกับเรื่องทางโลก ๆ มันเป็นอย่างนี้ ทีนี้เรื่องทางศาสนาพวกพระศาสดาต่าง ๆ เขาก็มีจิตเป็นอย่างนี้ ท้ายที่สุดแต่นักปราชญ์พวกกวีนักกวีนิพนธ์อะไรก็ตามมันก็ต้องมีจิตอย่างนี้ ศิลปินก็เหมือนกันมันก็ต้องมีจิตอย่างนี้ เลยเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาแก่บุคคลทุกคนในโลก จิตที่บังคับดีแล้วอันนี้นำสุขมาให้อย่างยิ่งทุกแขนง เรียกว่าอบรมดีแล้วก็คือฝึกฝนดีแล้ว เมื่อบวชก็ถือโอกาสฝึกฝนหรืออย่างน้อยก็จับหลักให้ได้ แล้วก็สึกไปแล้วก็ฝึกฝนได้อย่าไปเชื่อใคร ถ้าเราฝึกฝนวิธีนี้หูมันก็ไม่ได้ยินอะไร ตามันก็ไม่เห็นอะไร ก็ไปนั่งฝึกที่ไหนที่บ้านที่เรือนก็ได้ มัน.มัน.มันดิ่งลึกลงไป อ้ายเรื่องที่กำลังฝึกอยู่ฝึกอยู่มันอย่างนี้ทั้งนั้นแหละ ถ้าเราสนใจในอะไรมากมันก็ไม่.ไม่รับรู้อารมณ์ตามอื่นแล้ว เช่นเราเขียนหนังสืออย่างเราคิดเราเขียนหนังสืออย่างลึก ๆ อย่างนี้ วิทยุดังอยู่เราก็ไม่ได้ยินก็หู.หูมันไม่มีอะไรที่จะไปรับ จิตมันอยู่แต่ที่นี่ แต่ถ้าจิตของเราไม่ดีพอมันทำอะไรไม่ได้หรอก อะไรดังนิดหนึ่งก็ได้ยิน ได้ยินแล้วก็รำคาญเดี๋ยวนั้นเลยทำไม่ได้ เขียนจดหมายก็ไม่ได้อะไรก็ไม่ได้ อย่างเป็นครูสอนนี่ถ้าบังคับจิตไม่ได้มันก็ทำไม่ได้เพราะว่าเด็กมันยั่วบ้างอะไรบ้างมันมีอะไรรำคาญเดี๋ยวก็โกรธเสียทำไม่ได้ หรือว่าเป็นนักเทศน์ไปแสดงธรรมในที่ที่มันมีอึกทึกครึกโครมไปหมดเขามีงานวัดมีอะไรก็ทำไม่ได้ ทำพอแล้ว ๆ ไปได้ ทำให้ดีมันทำไม่ได้ จิตมันสู้อ้ายสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ แต่ถ้าจิตฝึกอบรมดีแล้วทำได้ไม่ได้ยินนะ มันฝึกได้มากกว่าที่เรานึก บาลีพระ.พระไตรปิฎก ในข้อความในบาลีมีเล่าเรื่องเป็นสมาธิซึ้งลึกซึ้งกันอย่างไรบ้างก็มีอยู่หลายอย่างหลายแบบ แบบที่พูดไว้น่าสนใจ คือลึกจนไม่รู้สึก นั่นเขาเรียกว่า.ว่า ฌาน หรือ สมาบัติ คือว่าจิตมันเป็นสมาธิลึกซึ้งมันก็หยุดอยู่ตรงนั้นอย่า.อย่าเปลี่ยนไปทางไหนหมด นี่ก็เรียกว่าฌาน เป็นปฐมจารย์พิจารณา(นาทีที่58:55) อันดับ 1 อันดับ 2 อันดับ 3 อันดับ 4 ตามความที่มันลึกซึ้งมากลึกซึ้งน้อย ถ้าหยุดอยู่ตรงนั้นนานเพื่อเสวยความสุขของอันนั้นด้วยเราก็เรียกว่าสมาบัติ ฉะนั้นพระอริยะเจ้าชอบหาความสุขจากความเป็นอย่างนี้ คือเข้าสมาบัติเพื่อหาความสุข ก็ไม่ต้องไปเที่ยวเล่นเที่ยวหัวเที่ยวอะไรลำบาก ก็หาความสุขได้จากการหยุดอยู่ในสมาธิในฌาน ไม่ต้องเสียสตางค์ไม่ต้องลำบากกับร่างกายก็หาความสุขได้อย่างลึกซึ้งที่นั่นตรงนั้นเมื่อไหร่ก็ได้ นี่พูดถึงประโยชน์ ทีนี้บอกว่าอ้ายความลึกซึ้งของจิตที่มันหยุดมันสงบของใครจะลึกซึ้งมากกว่าของใคร มันก็มีอยู่เป็นชั้น ๆ แล้วแต่ว่าสมาธิที่เขาฝึกนั้นเป็นแบบไหนดีเลวอย่างไร ก็มีเรื่องว่าพวกลัทธิอื่นพวกเดียรถีร์จากที่อื่นที่เป็นคู่แข่งขันกับพุทธศาสนา เขาสรรเสริญศาสดาเขาว่ามีสมาธิลึกนั่งอยู่ริมทางเดินเกวียน๕๐๐เล่มผ่านไปไม่รู้ไม่รู้สึก มันเกวียนแบบที่มันดังมากนะเกวียนโบราณทำด้วยไม้ ไอ้เพลามันก็ไม้มันก็ดังมากเกวียน๕๐๐เล่มผ่านไปไม่รู้สึก ทีนี้พอถึงทีพระพุทธเจ้ากลับมีเรื่องว่า นั่งพักหาความสุขจากสมาบัติอย่างนี้น่ะอยู่ในโรงนาร้าง ในโรงนาที่.ที่มันว่างอยู่แห่งหนึ่ง แล้วก็ฟ้าผ่าลงมาข้าง ๆ นั้นวัวตายไปหลายตัว จนกระทั่งเขามาจัดการเรื่องวัวเรื่องซากศพวัวอะไรกันยุ่งวุ่นชุลมุนอยู่ที่นั่น และเมื่อพระพุทธเจ้าก็ออกจากสมาบัตินี้ถามว่าทำอะไรกันวุ่นวายกันใหญ่ พวกนั้นก็เลยถามว่าอ้าว,ไปอยู่ที่ไหนเมื่อตะกี้ฟ้าผ่าลงมาวัวตาย ๘ ตัว อันนี้ก็เลยถือว่าสมาธิของพระพุทธเจ้ายังลึกกว่าอ้ายของศาสดาองค์ที่ว่าเกวียนผ่านไป๕๐๐ เล่มไม่ได้ยินเป็นต้น นี้เป็นเครื่องวัดว่าอ้ายความลึกลงไปในสมาธินี้ก็ยังหลาย ๆ ขนาด ทีนี้เอาผลในทางลึก หยุดลึก เป็นสุขลึกก็มีอยู่ฝ่ายหนึ่งเป็นผล.ผล.ผลที่ได้ ถ้าจะเอาความสุขกันทันที่อย่างยิ่งก็ทำอย่างนี้ดีกว่าอย่างอื่น เกี่ยวกับความประสงค์แท้จริงไม่ใช่อย่างนั้นไม่ใช่มีเพียงเท่านั้น ต้องการให้จิตนี้มันมีปัญญา ยิ่งมีสมาธิมากเท่าไหร่ยิ่งมีปัญญามากเท่านั้น คือว่าจิตมันแหลมแหลมคมเท่านั้น ฉะนั้นทำจิตให้รวมให้มันconcentrateผูกขาดลงไปที่อันใดอันหนึ่งอันเล็กแรงมากนั่นนะ ความคิดมันก็แรงมาก จริง ๆ รู้เรี่องที่ลึกซึ้งขณะที่เขาเรียกว่าตรัสรู้ได้ก็มีผลเป็นหมดกิเลสที่เรียกว่ามรรคผลนิพพาน นี่ประโยชน์สูงสุดมันเป็นอย่างนี้ จิตที่ฝึกดีแล้วมันก็เป็นเรื่องรู้สิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง ที่ว่ามันรู้แล้วไม่ต้องการจะรู้อะไรอีกแล้วก็ใช้เป็นเครื่องหาความสุขสงบสุขตามต้องการเมื่อไหร่ก็ได้ที่ไหนก็ได้ นี้ภาวะที่พึงประสงค์อย่างยิ่งมีอยู่ ๒ อย่าง เพื่อมีความสุขจากสมาธิ หรือเพื่อมีปัญญาใช้ดี(นาทีที่1:03:59)ทำลายกิเลส อานิสงฆ์นอกนั้นถือว่าเป็นอานิสงฆ์ปลีกย่อยไม่สำคัญหรือไม่จริง เช่นเราจะทำปาฏิหาริย์ทำฤทธิ์ทำเดชทำอ้ายอย่างอื่นนี่มันไม่ใช่ความมุ่งหมายที่แท้จริง มนุษย์.มนุษย์ทุก ๆ คนแหละมันก็ต้องการจะมีความสุข ความสุขก็เกิดมาจากการทำสิ่งที่ควรทำหน้าที่ ที่นี้จิตมันไม่ค่อยยอมทำหน้าที่ก็ต้องฝึกด้วยวิธีนี้ให้จิตมันเหมาะสมที่จะทำหน้าที่การงานทุกชนิดทุกระดับเลื่อนขึ้นไปตั้งแต่เด็ก ๆ จนถึงหนุ่มสาวพ่อบ้านแม่เรือนคนแก่คนเฒ่าแม้กระทั่งเข้าโลงไป มันก็ต้องการใช้สิ่งเหล่านี้ คือจิตที่มีภาวะเหมาะสมที่ดีที่สุด เมื่อศึกษาต่อไปติดตามศึกษาเรื่องนี้ต่อไปก็ค่อย ๆ รู้ ค่อย ๆ ถือเอาให้พอเหมาะพอสมแก่หน้าที่การงานของเรา ไม่ใช่ว่าเอาทั้งหมดหรือว่าเอาถึงที่สุดอะไรเกินไปเอาแต่พอทำอะไรได้ตามต้องการ ในหน้าที่การงานเป็นครูเป็นวิศวกรเป็นอะไรก็ตามใจ แม้แต่เป็นแพทย์ก็มีจิตชนิดนี้ไว้ทำหน้าที่ของตัวได้ดีและปลอดภัยด้วย มันสติสัมปชัญญะมันสมบูรณ์ทำงานได้ดีด้วยและปลอดภัยด้วย หมอบางคนที่เขาเป็นหมอผ่าตัดเขาก็รับสารภาพว่าเมื่อเขาสนใจเรื่องนี้ศึกษาเรื่องนี้เวลาเขาผ่าตัดได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ นี่เป็นอย่างนี้ ไม่ใช่เรื่องไปนิพพานอึดตะพึด
แม้แต่หน้าที่การงานทั่วไปในโลกนี้มันก็ยังต้องการอย่างนี้ รวมความแล้วก็เพื่อจะไม่ให้มันมีความถุกมีความทุกข์(นาทีที่1:06:20) มีแต่ความสุข เมื่อจิตมันจะฟุ้งซ่านไปที่นั่นที่นี่ไปร้อนรนอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ให้มันไปซิ ให้มันอยู่ในสภาพที่มันเย็นอยู่เสมอ มันไม่สุดแต่ว่าเป็นชาวไร่ชาวนาเป็นกรรมกรถ้ารู้จักบังคับจิตมันก็สบายอยู่ตลอดเวลา งานก็ทำไปจะขับรถสามล้อก็ได้มันก็มีจิตใจที่ไม่ต้องเป็นทุกข์ นี่เรื่องบังคับจิตโดยตรงเป็นอย่างนี้ นี่ผมพูดอย่างวงกว้างอย่างที่เรียกว่าปริทัศน์(นาทีที่1:07:00)ให้กว้างกว้าง ที่รายละเอียดยิบปึกที่ลงตรง(นาทีที่1:07:05)ก็ไปหาอ่านจากตำรับตำราที่เขียนไว้สมบูรณ์แล้ว แต่มันต้องอดทนหน่อยมันจึงจะอ่านเข้าใจ ก็อ่านอย่างย่อไปก่อนแล้วก็อ่านอย่างขยายความมากขึ้นจนกระทั่งพิสดารก็เข้าใจก็ฝึกเท่าที่จะฝึกได้ ในตำราสมบูรณ์แบบเขาเขียนไว้หมดเขียนไว้เพื่อความสมบูรณ์แล้วคนก็ไม่ต้องฝึกเต็มนั้น มันก็เลือกเอาเท่าที่จะทำได้ ขอให้มันมีชีวิตอยู่ด้วยการควบคุมจิตได้ดีฝึกฝนจิดได้ดีแล้วก็เป็นใช้ได้ จะเป็นพระหรือเป็นฆราวาสก็เหมือนกัน ถ้าระหว่างบวช ๓ เดือน เอาใจใส่ศึกษาฝึกฝนเรื่องนี้มันก็ได้แยะพอที่จะเข้าใจไปทำได้ตลอดชีวิต ถ้ามันไม่ได้ทำ ต่อไปมันก็ยังทำได้ สนใจไปพลางทำการงานไปพลาง ไม่ต้อง.ไม่ต้องกลัวแล้วก็ไม่ต้องคิดผิด ๆ ว่าทำไม่ได้ไม่สนใจกันเลยนั่นน่ะจะลำบาก มันไม่มีอะไรวิเศษไปกว่าที่เราจะคอยปรับปรุงให้จิตมัน.มันดี.ดียิ่งขึ้นยิ่งขึ้นยิ่งขึ้น ให้เป็นอธิจิตในลักษณะที่จะเรียกว่าdevelopก็ได้improveก็ได้adjust ก็ได้ อะไรก็ตามมันก็ใช้อะไรหลาย ๆ อย่างแน่(นาทีที่1:08:58) ผลสุดท้ายมันดีขึ้นก็แล้วกัน
นี้คนสมัยนี้เข้าใจผิดว่ามันไม่ใช่เรื่องของเรา มันเป็นเรื่องของโยคีมุนีอยู่ในป่าต่างหากไม่สนใจ ก็เลยกลายเป็นคนที่บังคับตัวเองไม่ได้ พวกคุณก็ไปคิดดูเองก็แล้วกันคนที่บังคับตัวเองไม่ได้มันจะฉิบหายได้ยังไง ก็ฉิบหายได้อย่างไม่น่าเชื่อผลสุดท้ายมันก็ต้อง.มันก็ต้องไปหาอ้ายทุจริต เมื่อคนเราเมื่อทำอะไรไม่ได้ตามที่ต้องการสุดฝีไม้ลายมือแล้วมันก็ไปหาอย่างทุจริต แล้วมันก็ล่มจมวินาศกันไป อ้ายอย่างทุจริตนี่แล้วมันก็ล่มจมวินาศไปเลย ถ้ามันบังคับได้มันก็คงอยู่ในสุจริตได้ตามต้องการ มันก็ไม่.ไม่.ไม่เสื่อมก็มีแต่เจริญ เพราะงั้นคนที่เสื่อมก็เพราะบังคับตัวไม่ได้ คนที่เจริญก็เพราะบังคับตัวได้
นี่เวลาเรามีเท่าที่จะพูดถึงอ้ายหลักทั่ว ๆ ไปมันมีอย่างนี้ แล้วก็การที่เรียกพอดียังจะมีพูดอีกครั้งนึง จะพูดต่อ(นาทีที่1:10:37)