แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
รหัส |
1115140210020 |
รายชื่อ |
มาฆบูชาเทศนา ปี ๒๕๑๗ |
วันที่แสดง |
10/02/2514 |
ชื่อเรื่อง / ชุด |
กัณฑ์ 2 ค่ำ |
ผู้ถอด |
นพวรรณ มาลา |
ผู้ตรวจทาน |
|
อีเมล์ |
noppawan.mala@hotmail.com |
อีเมล์ |
|
หมายเหตุ |
เริ่มนาทีที่ ๐๐.๐๐.๒๙ ณ บัดนี้จะได้วิสัชนาพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธาความเชื่อ และ วิริยะ ความเพียร ของท่านทั้งหลายที่เป็นพุทธบริษัทให้เจริญงอกงามก้าวหน้าในทางแห่งพระศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดาอันเป็นที่พึ่งของเราทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมเทศนานี้ เป็น (ไม่แน่ใจ นาทีที่ ๐๐.๐๑.๑๒) สืบต่อจากเทศนาที่ได้วิสัชนาแล้วในตอนเย็น ด้วยเหตุที่ว่าวันนี้เป็นวันมาฆะปุณมี มีความหมายสำคัญอยู่ตรงที่พระพุทธเจ้าท่านได้ทรงประกาสหลักการปฏิบัติ หรือ หลักการพระพุทธศาสนาแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป เป็นผู้รับฟังเพื่อนำไปประดิษฐานและเผยแผ่ทั่วๆไป จึงเป็นอันกล่าวได้ว่าการประชุมพระอรหันต์นั้นประชุมเพื่อจะวางหลักการของพุทธศาสนาที่เรียกว่าโอวาทปาฏิโมกข์ มีหัวข้อเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป ๓ ข้อ คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง, การทำความดีให้ถึงพร้อม, การชำระจิตให้บริสุทธิ์ ๓ อย่างนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ท่านทั้งหลายจงลองสะดับตรับฟังดูให้ดีในข้อที่ว่า ๓ ข้อนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ข้อนี้ย่อมหมายความว่า ทุกพระองค์ของพระพุทธศาสนานั้น มีอยู่กัน ๓ หัวข้ออย่างนี้ แล้วก็มุ่งผลคือความอยู่เป็นสุขทั้งอย่างชนิดนี้และอย่างชนิดอื่น สมตามบาลีที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นหัวข้อตอนต้นว่าธรรมจารีย์สุขังเสสิ บุคคลผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข กัสมิงโลเก (ไม่แน่ใจ นาทีที่ ๐๐.๐๓.๔๗) ทั้งในโลกนี้และโลกอื่น เราควรจะได้พิจารณากันถึงรูปโครง หรือ หลักการของพระพุทธศาสนา ชนิดที่จะให้เกิดความสุข ทั้งอย่างชนิดนี้ และ อย่างชนิดอื่น คำว่าโลกนี้และโลกอื่นนั้น ยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่มาก โดยทั่วไปมีความเข้าใจกันว่าโลกนี้คือที่นี่ โลกอื่นคือโลกต่อตายคือเข้าโลงไปแล้วไปเกิดใหม่ จึงจะเป็นโลกอื่น การเข้าใจอย่างนั้นเป็นการเข้าใจอย่างธรรมดาสามัญอย่างง่ายๆ อย่างภาษาคนพูดกัน ไม่มี ความคิดนึกอะไรที่ดีไปกว่าที่เคยพูดตามๆกันมา ตั้งหลายหมื่นปีแล้ว หรือ ก่อนพระพุทธเจ้าเกิด ตั้งหลายพันปี หลายหมื่นปี ก็มีพูดถึงโลกชนิดนี้ คือโลกหลังจากตายแล้ว เข้าโลงไปแล้วไปเกิดใหม่ ส่วนในพุทธศานานี้ยังมีภาษา ที่ลึกซึ้งกว่าภาษาธรรมดาที่เรียกว่าภาษาธรรม คำว่าโลกนี้ และ คำว่าโลกอื่น จึงเปลี่ยนความหมายไปอีกอย่างหนึ่ง คำว่าโลกนี้คือเป็นอย่างที่เป็นอยุ่เอง อย่างที่มนุษย์ปุถุชนคนโง่ๆจะรู้จักคิด รู้จักนึก รู้จักทำ แล้วก็เป็นไปเองตามประสาคนปุถุชน นี้เรียกว่าโหลกอย่างชนิดนี้ ทีนี้โลกที่เรียกว่าอย่างชนิดอื่นนั้นก็คือผู้ที่มีปัญญาจนพ้นความเป็นปุถุชน มองเห็นภาวะความเป็นอยู่อย่างอื่น ซึ่งไม่เหมือนกัน จึงได้เรียกกันว่าโลกอื่น คือโลกชนิดอย่างอื่น แต่ไม่ต้องหมายความว่าตายแล้วจึงจะไปถึง หมายความว่ายังชีวิตอยู่ในโลกแผ่นดินนี้ แต่มีจิตใจเป็นอย่างอื่น โลกหรือปรากฏการณ์ทั้งปวงปรากฏแก่บุคคลชนิดนี้เป็นอย่างอื่นดังนั้น จึงได้ใช้คำว่าอื่น หรือ อย่างอื่น และคำว่า ปร นี้ก็แปลว่าอื่น หมายความว่านอกไปจากสิ่งนี้ ที่เรารู้กันอยู่แล้ว จะหมายถึงโลกหน้า ที่ตายเข้าโลกไปแล้ว มันก็อื่นเหมือนกัน แต่นั้นมันก็อื่นในทางวัตถุ อื่นในทางธรรมะ หรือ ทางนามธรรมนั้น อื่นที่นี่ เดี๋ยวนี้ก็ได้ หมายความว่าเมื่อมันจิตใจเปลี่ยนไปจากธรรมดา คือ ตรงกันข้ามแล้วก็เรียกว่าอื่น ในพุทธศาสนาต้องการให้ถือความหมาย ของคำว่าโลกอื่นในลักษณะอย่างนี้ ก็เพื่อว่าให้เราสามารถถึงโลกอื่นได้ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ทันกับความต้องการของเรา ที่ต้องการจะเป็น เสียอย่างอื่น ไม่ได้เป็นคนโง่ คนเขลา คนหลง คนปุถุชน คนพาลเหมือนอย่างที่เป็นมาแล้ว แต่ต้องการจะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ให้ทันแก่เวลาของชีวิตนี้ จึงได้ปฏิบัติธรรมะชนิดที่ทำให้เกิดความสุขอย่างอื่น ทีนี้ หลักพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนานี้ก็มีอยู่ว่า ธรรมาจารีย์สุขังเสติ ผู้ประพฤติธรรมย่อมเป็นสุข ทั้งในโลกนี้ และในโลกอื่น ถ้าฟังไม่ดีก็จะเข้าใจว่า ต่อตายแล้ว แต่ใครจะเข้าใจว่าต่อตายแล้วเป็นโลกอื่นก็ได้เหมือนกัน ไม่ได้ผิดพลาด หรือ เสียหายอะไร แต่มันยังไกลเกินไปเดี๋ยวมันจะไปเข้าเค้าของคำพูดพังเพยที่ว่า คนดีค้าใกล้ๆ คนบ้าใบ้ค้าไกลๆ คนที่ดีมีสติปัญญา ต้องสามารถถือเอาประโยชน์ที่ควรจะได้ ให้ทันในชีวิตนี้ ทันตาเห็นนี้ การบรรลุมรรคผลนิพพานนั้นเรียกว่าอยู่เหนือโลกด้วยซ้ำไป อยู่เหนือโลกก็ยังได้รับ อาจจะได้รับได้ในชีวิตนี้ เพราะฉะนั้นโลกอื่นๆ ซึ่งมันยังไม่ใช่เหนือโลกมันก็ง่ายกว่านั้น ดังนั้นมันควรจะได้รับในชั่วชีวิตนี้ ทีนี้เราก็ดูกันในทางความหมายที่ลึกซึ้งในทางนามธรรม โลกอื่นทั้งหลายนั้นจึงได้แก่โลกนรก โลกสวรรค์ เทวโลก มารโลก ภุมโลก ท่านทั้งหลายก็คยได้ยินได้ฟังอยุ่แล้วว่าใน อริยโลก โลกนรก แล้วก็สวรรคโลกนั้นมีเป็นเทวโลก มารโลก พรหมโลก แบ่งเป็นชั้นๆกันไป แต่มักจะเข้าใจว่า จะถึงได้ต่อแต่เมื่อตายแล้วเท่านั้น ส่วนที่กำลังถึงอยู่นี้มองไม่เห็น มันจึงได้รับความเสียหายมากมาย เพราะไม่มองเห็นสิ่งที่มันอยู่ใกล้ๆ หรือ มันอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว คนโบราณบางคนฉลาดถึงกับพูดได้ว่า สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ อย่างนี้ก็หมายความว่าโลกนรกหรือโลกสวรรค์นั้น ก็อยู่ในใจของคนเราโดยเฉพาะก็คือตัวเรา เมื่อใดเราดำรงจิตใจไว้ไม่ถูกต้อง ร้อนเป็นไป เมื่อนั้นเรากำลังจมอยู่ในโลกนรก ต่อมาสักครู่สิ่งต่างๆที่คลายไปในทางอื่น มันก็ขึ้นมาจากนรก มาอยู่ในระดับธรรมดา บางเวลาก็ประสบความสำเร็จในการงาน ในทางที่ดี ที่ชอบ ที่ทางสบายใจ เคารพตัวเอง พอใจตัวเอง ไหว้ตัวเองก็ยังได้ มีความสบายใจถึงอย่างนั้น เวลานั้นก็คืออยู่ในสวรรค์ ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกามารมณ์ คือได้กามารมณ์อย่างจิตใจก็เป็นเรื่องสวรรค์ธรรมดา ถ้าสูงไปกว่ากามารมณ์ ก็เป็นสวรรค์ชนิดพรหมโลก เทวโลก หรือ มารโลก นั้นเป็นเรื่องสวรรค์ทางกามารมณ์ เทวโลกนั้นเป็นกามารมณ์ธรรมดา มารโลกนั้นเป็นกามารณ์พิเศษ ชั้นสูงสุดของสวรรค์ ๖ ชั้น เรียกว่า (บาลี นาทีที่ ๐๐.๑๑.๔๓) ชั้นนี้เป็นชั้นที่อยู่ของพญามาร ชื่อว่า (บาลี) เป็นพญามารที่มาผจญพระพุทธเจ้าในวันที่จะตรัสรู้ มันเป็นยอดสุดของสวรรค์ ก็คือ ยอดสุดของกามารมณ์ เป็นมารที่มาผจญพระพุทธเจ้าอันสุดท้าย นี้มารโลกหมายถึงโลกทางกามารมณ์ ที่เป็นชั้นสูงสุด เลยจากมารโลกขึ้นไปก็มีแต่ พรหมโลก อย่างมีรูปก็เรียกว่ารูปพรหม อย่างไม่มีรูปก็เรียกว่าอรูปพรหม เป็นความสุขชนิดที่ไม่ต้องมาเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่ากามารมณ์ แต่เกี่ยวข้องกับความบริสุทธิ์ของสิ่งที่นำมากำหนดเป็นอารมณ์นั้นเอง เป็นรูปธรรมก็มี เป็นนามธรรมก็มี มีความสุขเป็นที่พอใจอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับคนโง่ที่หลงในกามารมณ์ นั้นก็เหมือนกัน อย่างนี้ก็เรียกว่าพรหมโลก ทีนี้เราบางเวลาก็ลุ่มหลงในอารมณ์ชนิดที่เป็นสวรรค์ชั้นเทวโลก บางเวลาก็พอใจความหยุด ความว่าง แต่ยังเป็นความหยุดความว่างชนิดที่ยังมีตัวตนอยู่ ยังมีตัวกู ของกูเป็นเจ้าของความสุขอันนั้นอยู่ อย่างนี้ก็เรียกว่ากำลังอยู่ในโลกอื่น เมื่อใดมาอยู่ในโลกที่ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำอย่างนี้ก็อยู่ในโลกมนุษย์ อยู่ในโลกที่ร้อนใจก็เป็นนรก อยู่ในความสนุกสนานเพลิดเพลินทางกามารณ์ก็เป็นสวรรค์ อยู่ในทางความสุขสงบ ก็เป็นพรหมโลก นี้ยังเป็นโลกทั้งนั้น ที่พ้นไปจากโลกก็คือมรรค ผล นิพพาน โลกทั้งปวงเหล่านี้ปัตตี สภาพที่พ้นจากโลกเป็นโลกุตระ เป็นสิ่งที่พ้นจากปัตตี เป็นสิ่งที่อาจจะถึงได้ในชีวิตนี้ แล้วก็รวมเรียกว่าโลกอื่น ดังนั้นที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า กัสมิงโลเกปรันหิจจะ อยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้ และโลกอื่นนั้น เป็นเพียงการแยกออกเป็น ๒ ฝ่าย โลกนี้ก็เหมือนอย่างมนุษย์ธรรมดา รู้จักกันอยู่ เสวยกันอยู่ หลงไหลกันอยู่ ส่วนโลกอื่นนั้น คือผิดไปจากนี้ จะมีอยู่สักกี่โลกก็ตามใจ ถ้าประพฤติธรรมในพระพุทธศาสนาแล้วก็จะได้รับความสุขทั้งอย่างชนิดธรรมดาสามัญนี้ และ ทั้งอย่างชนิดที่สูงขึ้นไป หรือ แปลกออกไป แม้ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อยก็ยังดี นี่แหละคือการปฏิบัติตามหลักการณ์ ของพระพุทธศาสนาที่ว่า อย่าทำบาปทั้งปวง ทำกุศลให้ถึงพร้อม ทำจิตให้บริสุทธิ์นี้ จะเป็นเหตุได้รับความสุขทั้งโลกนี้ คือย่างนี้ และทั้งอย่างอื่น หรือ อย่างโลกอื่น ดังนั้นเราจึงต้องพิจารณา ให้ละเอียดออกไป ว่าเว้นความชั่ว และ ทำความดี อย่างไร แล้วจะไปปรากฏ ในโลกชนิดไหน ถ้าทำจิตให้สะอาดหมดจดแล้ว มันจะอยู่เหนือโลกอย่างไร หลักใหญ่มันมีอยู่เพียง ๓ ข้อว่าอย่าทำชั่ว และ ทำความดี ทำจิตให้บริสุทธิ์ อย่าทำความชั่ว และ ทำความความดี ๒ อย่างนี้ ทำให้อยู่ในโลกที่ดีขึ้นไปกว่า เวียนว่ายอยู่ในโลกที่ดีกว่า ส่วนทำจิตให้บริสุทธิ์นั้นเพื่อจะขึ้น พ้นไปเสียจากโลกให้ไปวนเวียนอยุ่ในโลกคือ โลกุตระ เป็นเรื่อง มรรค ผล นิพพาน ดังนั้น จึงวางหลักไว้ได้ง่ายๆ สั้นๆ ว่าไม่ทำความชั่ว และ ทำแต่ความดี นั้นก็เพื่อจะอยู่ในโลกที่ดี เวียนว่ายไปในโลกที่ดี อย่างนี้บ้าง อย่างอื่นบ้าง ส่วนทำจิตให้บริสุทธิ์ หมดจดนั้น เพื่อการอยู่เหนือโลก เหนือวิสัย ธรรมดาโลก นี่แหละคือโครงการ หรือ หลักการ ของพระพุทธศาสนา เราจะถือว่าโลกนี้กับโลกอื่นแยกกันอยู่คนละชีวิตอย่างนี้มันเป็นเรื่องขาดทุน มันเป็นเรื่องเลื่อนชั้นไม่ได้เร็วๆ ไม่ทันตามที่เราต้องการ ถ้าเรามารู้ตามที่เป็นจริงว่า โลกอย่างนี้ก็ดี โลกอย่างอื่นก็ดี ความพ้นไปจากโลก เหนือโลกก็ดี มันอยู่ในร่างกายเป็นๆ มีชีวิตนี้ อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าโลกก็ดี เหตุให้เกิดโลกก็ดี ความดับสนิทแห่งโลกก็ดี ทางแห่งความดับสนิทของโลกก็ดี ตถาคตบัญญัติว่ามีอยู่ที่ร่างกายอันยาววาหนึ่งนี้ พร้อมทั้งสัญญา และ ใจ เพราะฉะนั้นให้ถือว่าบทบัญญัติทั้งหมดนั้น บัญญัติเพื่อให้ใช้ศึกษากันในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่ง ที่ยังมีพร้อมทั้งสัญญา และจิตใจ คำว่าโลกนี้ กับคำว่าโลกอื่นนั้น มันมีได้ที่นี่ เดี๋ยวนี้ในชีวิตนี้ ยิ่งพ้นโลกก็ยิ่งมีได้ในร่างกายนี้ ในชีวิตนี้ เพราะฉะนั้นอย่าได้ไปแยกกันไว้คนละชีวิตเลย จะเป็นเรื่องในโลกนี้ก็ดี เป็นเรื่องพ้นโลกก็ดี ต้องอยู่ในวิสัยที่เราจะถือเอาได้ ดูตามตัวหนังสือมันก็เห็นได้ชัดอยู่แล้ว เพราะว่า ธรรมจารีย์ เป็นผู้ประพฤติธรรม เท่านั้นก็จะได้รับ ผลแห่งความสุขในโลกนี้ก็มี โลกอื่นก็มี เหนือโลกก็มี ประพฤติธรรมเป็นคำพูดเพียงคำเดียวว่า ธรรม ประพฤติธรรม ชนิดหนึ่ง ลักษณะหนึ่งก็ได้ความสุขในโลกนี้ ประพฤติธรรมและอีกระดับหนึ่งก็ได้ความสุขชนิดโลกอื่น ประพฤติธรรมอีกระดับหนึ่งก็ได้รับ ความสุขชนิดที่เหนือโลก ไม่อยู่ภายใต้โลกอีกต่อไป นี่เป็นหลักการใหญ่ๆที่เราต้องเข้าใจไว้อย่างที่เป็นพื้นฐาน บัดนี้เรามีปัญหาเฉพาะหน้าอยู่หลายอย่าง หลายประการ ซึ่งจะได้วิสัชนากันไปตามลำดับ เกี่ยวกับหลักการของพระธรรม ว่าเอามาเป็นประโยชน์แกมนุษย์ได้อย่างไร ปัญหาที่มีอยู่ในประเทศไทยเราเวลานี้ ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งปัญหาหนึ่งก็คือว่า คนบางวพวกถือว่าหลักธรรมะเรื่องโลกอื่น หรือ เรื่องเหนือโลก โลกุตระนั้นเป็นสิ่งที่ขัดขวางต่อความเจริญของคนที่ต้องการประโยชน์ในโลกนี้ ท่านต้องฟังดูให้ดีๆ จับใจความให้ได้ว่า เค้าเห็นว่าคนที่ต้องการประโยชน์ในโลกนี้ อย่าไปสนใจกับประโยชน์โลกอื่น หรือ โลกุตระเลย เพราะว่ามันขัดขวางกัน มันจะทำให้ประโยชน์ในโลกนี้ไม่เจริญไม่ก้าวหน้า และก็พูดอย่างคลุมๆว่าประเทศชาติกำลังต้องการความเจริญ ต้องการการพัฒนา เพราะฉะนั้นพระเจ้า พระสงฆ์ อย่าเอาเรื่องโลกอื่น หรือ เรื่องโลกุตระนั้นมาสอนแก่ชาวบ้านเลย เพราะว่าจะทำให้ชาวบ้านเหล่านั้นอยู่เฉยไม่มีการพัฒนาอย่างนี้ เป็นต้น นี้เป็นตัวปัญหา และยังจะเป็นปัญหาที่ลามมาถึงตัวท่านทั้งหลาย ที่นั่งกันอยู่ในที่นี้ก็ได้ คือถ้าเกิดความเข้าใจไปอย่างนั้นแล้ว ปัญหาก็จะต้องเกิดขึ้นทำความยุ่งยาก ลำบากให้เกิดขึ้นในใจ ไม่สะดวกสบายเหมือนที่เป็นมาแล้วแต่หนหลังที่เราตั้งหน้าตั้งตา ประพฤติธรรมให้มีความก้าวหน้า เพื่อหวังพระนิพพานเป็นจุดหมายปลายทาง เมื่อมองดูอย่างกว้างๆ ปัญหามันก็ครอบคลุมไปถึงสิ่งที่เรียกว่าศาสนานั่นเอง คือมันทำให้เกิดมีปัญหาขึ้นมาว่าศาสนานี้ เป็นสิ่งที่ยังมีประโยชน์อยู่หรือไม่ คำสอนทั่วๆไปที่ไม่ใช่ศาสนาก็สอนให้ พัฒนากันเป็นอย่างยิ่งอยู่แล้ว ก็ต้องการกันแต่เพียงพัฒนามันก็ไม่เกี่ยวกัน กับศาสนาก็เป็นเรื่องโลกๆ เป็นเรื่องที่ชาวบ้านก็รู้จักคิด รู้จักนึก และขวนขวายให้มันเจริญก้าวหน้า อย่างที่เราเรียกกันว่าความเจริญแผนใหม่ในโลกปัจจุบัน ดดยเฉพาะของพวกฝรั่งนั้น เป็นความเจริญก้าวหน้าในทางพัฒนากันอย่างยิ่ง และก็ทำให้คนบางจำพวก รู้สึกว่าศาสนาหมดความจำเป็น ศาสนาไม่มีส่วนที่จะเกี่ยวข้องกับการพัฒนา ทีนี้บางคนยังคิดแบ่งแยกศาสนาออกมาให้เป็นบริวารของการพัฒนา เพราะศาสนาส่วนหนึ่งคือเรื่องโลกๆนั่นแหละ เอามาใช้เป็นบริวารของการพัฒนา แล้วก็จงสอนกันแต่ศาสนาประเภทนี้เถิด เมื่อเป็นดังนี้ปัญหามันก็เกิดขึ้นมาทันทีว่าตัวศาสนาที่แท้จริงนั้น กลายเป็นสิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อความเจริญของมนุษย์ในโลกปัจจุบันนี้ ไปเสียแล้วดังนั้นหรือ อาตมาจะขอยืนยันเฉพาะในตอนนี้ว่า ศาสนาที่แท้จริงไม่ว่าศาสนาไหน ยังคงจำเป็นแก่มนุษย์อยู่นั่นเอง ยังมีความคิดเห็นว่าตัวแท้ของศาสนา ของแต่ละศาสนานั้นเป็นอุปสรรค ของความเจริญ ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่า ศาสนาทุกศาสนามุ่งจะสอนให้คนชนะ โลก ชนะความทุกข์ คือชนะกิเลสด้วยกันทั้งนั้น หากแต่ใช้คำพูดต่างๆกัน ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม หรือ ศาสนาอะไรต่างๆ ที่เป็นศาสนาที่แท้จริงก็มุ่งจะสอนคนให้ ชนะโลก ชนะกิเลส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าชนะตัวเอง อย่างพุทธศาสนาก็สอนตรงๆให้รู้จักกิเลส ให้ปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลสให้หมดไป แต่บางศาสนาสอนในถิ่น ในเวลา ในยุค ในสมัย ในประเทศที่จะสอนอย่างนี้ไม่ได้ ก็ต้องสอนให้มีอย่างอื่นเข้ามาช่วย เลยมีพระเจ้าเข้ามาช่วย ให้คนสนใจ พระเจ้าแล้วก็ไม่ทำอะไรไปตามอำนาจแห่งกิเลสของตนเอง กิเลสของตนเองไม่ได้โอกาสจะแสดงบทบาท เพราะมีความเกรงกลัวต่อพระเจ้าอย่างนี้ ก็มีอยุ่เป็นอันมาก ในประเทศอินเดียก่อนพุทธกาล หรือ หลังพุทธกาล ก้มีศาสนาชนิดนี้ ศาสนาที่มีพระเจ้าถือพระเจ้าทุกศาสนาก็สอนอย่างนี้ แต่มันมีใจความตรงกันที่ว่า ให้คนชนะสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่าโลก ทางตา โลกทางหู โลกทางจมูก โลกทางลิ้น ทางกาย นี้มันเป็นโลกที่แวดล้อมอยู่เราจะต้องเอาชนะสิ่งเหล่านี้ ดำรงจิตใจ ให้อยู่ในความ ภาวะที่เป็นธรรม คือตัวตนของธรรม อย่าให้เป็นตัวตนของกิเลส จะอาศัยพระเจ้าให้เป็นเครื่องมือ หรือเป็นกำลังใจก็ได้ หรือ จะอาศัยความจริงอย่างอื่นก็ได้ มุ่งหมายอย่างเดียวกันหากแต่ว่าใช้ธรรมฑูตต่างกัน เมื่อรวมความแล้วมองเห็นได้ชัดทีเดียวว่าทุกศาสนาสอนให้ทำลายความเห็นแก่ตัวด้วยกันทั้งนั้น ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว ไม่ใช่ศาสนา เมื่อมองเห็นอย่างนี้ก็เป็นการมองเห็นว่า ศาสนายังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์อยู่ เพราะว่ามนุษย์ยังไม่สามารถจะชนะตัวเอง ไม่สามารถจะชนะกิเลส ยังเห็นแก่ตัวอยู่ ยังมีความเดือดร้อนไปทั่วทุกหัวระแหง เพราะความเห็นแก่ตัวนั้น ทีนี้ก็มีปัญหาปลีกย่อยเข้ามาว่า ทุกศาสนาตามที่มีหลักอยู่มาแต่เดิมนั้นยังใช้ได้สำหรับปัจจุบันนี้หรือไม่ ทีนี้คนชั่งคิด เขาเกิดคิดขึ้นมาว่า ศาสนาส่วนมากมีอายุเป็น ๑,๐๐๐ ปี ๒,๐๐๐ ปี เป็น ๓,๐๐๐ ปีมาแล้วทั้งนั้น จะมาใช้ในเหตุการณ์ปัจจุบันนี้มันยังใช้ได้อยู่หรืออย่างไร อาตมาขอยืนยันในข้อนี้ว่าศาสนาทุกศาสนา ในหลักการเดิมแท้นั้นยังคงเป็นหลักการที่ใช้ได้ในโลกที่มีเหตุการณ์ปัจจุบันนี้ และยิ่งใช้ได้ยิ่งขึ้น และ จำเป็นที่จะต้องใช้ ยิ่งขึ้น หลักธรรมในทางศาสนาไม่ว่าจะมีอายุกี่หมื่นกี่แสนปี ก็ยังไม่ต้องเปลี่ยน เพราะว่าหลักศาสนาเหล่านี้ ก่อกำเนิดขึ้นมาจากกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ตามที่เป็นจริงอย่างไร ผู้มีปัญญามองเห็นความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ ในข้อที่ว่ามันจะเป็นทุกข์เพราะเหตุใด เป็นสุขเพราะเหตุใด จึงได้บัญญัติกฎเกณฑ์นั้นๆ ขึ้นมา รวมความแล้วมันก็มีอยู่ในข้อที่ว่า ความทุกข์เกิดมาจากความเห็นแก่ตัว ความไม่ทุกข์ก็เกิดมาจากความไม่เห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัวเมื่อไรตัวเองก็จะเป็นทุกข์ คนอื่นก็จะพลอยถูกเบียดเบียนให้เป็นทุกข์ ถ้าไม่เห็นแกตัวแล้ว ตนเองก็ไม่ทุกข์ คนอื่นก็ไม่ทุกข์เพราะมุ่งหมายจะกำจัดความเห็นแก่ตัวอย่างนี้ทั้งนั้น แม้จะกี่หมื่นกี่แสนปี ตามที่เราได้ยินได้ฟังว่า มีพระพุทธเจ้าได้เกิดขึ้น ตรัสรู้แล้ว สอนสัตว์ทั้งหลายมาไม่รู้กี่พระองค์มาแล้ว กี่กัปล์ กี่กัลป์ มาแล้ว ก็ยังคงสอนเหมือนกัน ไม่เปลี่ยนแปลงอะไร พระพุทธศาสนาเมื่อปัจจุบันนี้เพิ่งเกิดมาเมื่อ ๒-๓,๐๐๐ ปีมานี่เอง เป็นพุทธศาสนา คริสเตียน หรือ อิสลาม มันก็ไม่เกิน ๓,๐๐๐ ปีไปได้ เพราะฉะนั้นมันจึงไม่ต้องเปลี่ยน เวลา ๒-๓,๐๐๐ ปี นี้มันเหมือนกับเมื่อวานนี้เอง ในเมื่อเทียบกันกับอายุของธรรมชาติ กฏเกณฑ์ของธรรมชาติที่มันมีอยู่อย่างไร แล้วพระพุทธเจ้าในกัปล์ก่อน ในกัลป์ก่อนนั้น ได้รู้ได้เห็นได้ตรัสรู้แล้วสอนไว้อย่างไร ดังนั้นจึงมีถ้อยคำที่กล่าวไว้ว่า บาลีนาทีที่ ๐๐.๒๙.๒๗ น. ธรรมะของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงความชรา กตัญจะธรรมโม ธรรมะของสัตบุรุษ นี้หมายความว่าธรรมะของคนที่เป็นสัตบุรุษ สัตบุรุษคือคนที่รู้จริง แล้ว เป็นคนที่ดับทุกข์ได้เพราะความรู้นั้น มีความสงบระงับเขาเรียกว่าสัตบุรุษ สัตบุราแปลว่าคนที่สงบระงับจากความทุกข์แล้ว ธรรมะของสัตบุรุษไม่เข้าถึงความชรา หมายความว่าไม่เปลี่ยนแปลง สัตบุราได้บัญญัติธรรมไว้อย่างไร คงมีต่อไปได้โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง นั่นแหละคือข้อที่ว่าถ้าธรรมะนั้นเป็นธรรมะของสัตบุรุษจริงแล้ว จะยังทันสมัยอยู่เสมอไป จะยังทันเหตุการณ์ในยุคปัจจุบันอยู่เสมอ นี่แหละคือข้อที่ว่าศาสนาที่จริง ที่แท้จริง ในหลักการเดิมแท้นั้นยังคงใช้ได้อยู่ แม้ในสถานการณ์แห่งยุคปัจจุบัน ทีนี้เราก็จะดูกันให้ละเอียดลงไปในข้อที่ว่าพุทธศาสนาก็รวมอยู่ ในศาสนากลุ่มนั้น คือในกลุ่มแห่งศาสนาที่แท้จริง ดีที่มีประโยชน์ คนบางพวกแม้จะอ้างว่าตัวเองเป็นพุทธบริษัท ก็มีความยึดมั่นถือมั่นว่าศาสนาอื่นเป็น มิจฉาทิฐิ คือ ผิดทั้งนั้น ถูกหรือจริงก็ศาสนาของเราเท่านั้น คือพุทธศาสนา คือพูดอย่างนี้ก็คือคนที่ไม่รู้จักศาสนานั่นเอง เป็นคนหลับตาพูด เพราะว่าเป็นพุทธบริษัทแต่ปาก เป็นพุทธบริษัทแต่ทะเบียน คนที่พูดอย่างนี้เป็นคนมีเกียรติ มีชื่อเสียง เป็นที่เคารพนับถือ เป็นครูบาอาจารย์ก็ยังมี ขอพูดตรงๆว่าแม้คนชนิดนี้ก็เป็นคนหลับตาพูด ที่พูดว่าศาสนาอื่นผิดทั้งนั้น ศาสนาเราของเรา ศาสนาเดียวเท่านั้นที่จะถูกต้อง ขอให้ถือเป็นหลักเสียว่าพระพุทธเจ้านั้นก็มีเป็นหลายพระองค์ หลายกัปล์หลายกัลป์ หลายพุทธันดร มาแล้ว ผู้รู้ที่ขนาดไม่ถึงพระพุทธเจ้าก็รู้ อย่างเดียวกันกับพระพุทธเจ้า คือแนวเดียวกัน แต่ยังมาถึงระดับเดียวกัน และเขาก็พูดไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ที่เกี่ยวกับความทุกข์ และ ความดับทุกข์ ดังนั้นทุกศาสนาจึงตรงกัน กับพุทธศาสนาโดยเจตนารมณ์ อย่าดูกันข้างนอก อย่าดูกันที่เปลือก ให้ดูกันที่ภายในที่เป็นเจตนารมณ์ ของทุกศาสนาซึ่งมีอยู่ว่า อย่าเห็นแก่ตัว เห็นแก่ผู้อื่นยิ่งกว่าตัว อย่าเห็นแก่ตัวนี่เป็นคำพูดขั้นต้น เพราะว่าคนตามธรรมดาก็เห็นแก่ตัวจัด เห็นแก่ประโยชน์ของตัวมากแล้วก็ ทำชั่วหรือทำบาปซึ่งศาสนาห้ามไว้ บาปทั้งหลายมาจากความเห็นแก่ตัว ความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมมาจากความเห็นแก่ตัว เราไม่พูดกันถึงเรื่อง ความเห็นแก่ตัวเสียเลย แต่ไปพูดเรื่องความโลภ ความโกรธ ความหลง มันก็เป็นการพูดที่เป็นหมัน การที่ไม่เห็นแก่ตัว มันก็ต้องเล็งถึงการเห็นแก่ผู้อื่น เห็นแก่ผู้อื่นเท่าๆกับการเห็นแก่ตัวนี่มันก็ยังดีกว่า แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้นก็คือ เห็นแก่ผู้อื่นยิ่งกว่าเห็นแก่ตัว เพราะว่ามันจะเป็นตัวช่วยกระชับให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ในเมื่อเราเห็นแก่ผู้อื่นยิ่งกว่าตัวนั้น มันมีทางที่จะหมดตัวของเราได้เร็วเข้า อยากจะพูดกลับอีกทางหนึ่งว่า การทำประโยชน์แก่ผู้อื่นนั่นแหละคือ การทำประโยชน์แก่ตัว การที่ไม่ได้เห็นแก่ตัวนั้น ไม่ได่หมายความว่าไม่ ทำประโยชน์แก่ตัว การเห็นแก่ผู้อื่น และ ทำประโยชน์แก่ผู้อื่นนั้น มันทำให้ความเห็นแก่ตัวหมดไป โดยเร็วอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นการเห็นแก่ตัวมันหมดไปนั่นแหละ คือ ประโยชน์แก่ตัว ตนเป็นผู้ได้ประโยชน์อย่างสูงสุด คือเมื่อหมดความเห็นแก่ตัวแล้ว มันก็เป็นการบรรลุ มรรค ผล นิพพาน เพราะฉะนั้นเราได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน เพราะการเห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่น ยิ่งกว่าการเห็นประโยชน์ของตัวมาตามลำดับ ตั้งหน้าตั้งตาเห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่นมากเท่าไหร่ มันก็ทำลายความเห็นแก่ตัวมากเท่านั้น ดังนั้นในการให้ทานเป็นต้นนี้ จงมุ่งหมายเพื่อที่จะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น แล้วมันจะทำลายกิเลส ความตระหนี่ถี่เหนียว ความเห็นแก่ตัว แต่ถ้าเราไปทำบุญให้ทานเพื่อจะเอาสวรรค์ วิมาน เอาผลเอากำไรมากๆ เข้าไว้ อย่างนี้มันเพิ่มความเห็นแก่ตัว ยิ่งทำไปเท่าไหร่ ตัวมันก็ยิ่งหนา ยิ่งใหญ่ ยิ่งมากออกไปเท่านั้น มันก้ยิ่งไกลต่อประโยชน์อันแท้จริง คือการไม่แก่ตัวหรือการบรรลุ มรรค ผล นิพพาน นี้เป็นปัญหาที่มีอยู่จริงในญาติโยมทั้งหลายที่กระทำอยู่ทุกวันนี้ คือการทำบุญให้ทาน ถ้าทำเพื่อผู้อื่น ประโยชน์แก่ผู้อื่น เพื่อศาสนา เพื่อโลก เพื่ออะไรเป็นส่วนรวมยกเว้นตัวเองเสียแล้ว นั่นแหละคือการทำประโยชน์ตนที่แท้จริง และที่ถูกต้องหรือสมบูรณ์ นี่ถ้าจะไม่ให้เห็นแก่ตัว เห็แก่ผู้อื่นนั้น มันมีทางอธิบายไปอีกอย่างหนึ่งว่าคือการเห็นแก่ธรรม ธรรมะนี้คือความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง ความเป็นธรรม นี้เรียกว่า ธรรม หรือ พระธรรม ถ้าไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ผู้อื่นก็ขอ ให้เห็นแก่ธรรม ถ้ามันยังเห็นแก่ตัว ไม่อยากเห็นแก่ผู้อื่น ก็ขอให้เห็นแก่พระธรรม คือเอาพระธรรมมาเป็นตัว อย่าเอากิเลสมาเป็นตัว ไอ้ตัวที่ว่าเห็นแก่ตัวนี้ เป็นตัวของกิเลสทั้งนั้น ความหลงว่าความยึดมั่นว่าตัวกู ของกู นั่นแหละมันเป็นตัวขึ้นมา เห็นแก่ตัวอย่างนี้แล้วก็เป็นการไกล จากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือมันไกลจากธรรม เพราะถ้าอยากมีตัว ก็เปลี่ยนกันเสีย เอาตัวที่พระธรรมมาเป็นตัว อย่าเอากิเลสตัณหามาเป็นตัว การที่จะทำอย่างนั้นได้ทันทีมันยาก เพราะฉะนั้นจึงมีการปฏิบัติที่ค่อยๆ ไต่ไปตามลำดับ คือ ไม่เห็นแก่ตัว เห็นแก่ผู้อื่น จนกระทั่งว่าไม่มีตัวของตัว หรือ ตัวของผู้อื่น มีอยู่แต่พระธรรม เห็นพระธรรมเป็นตัว อย่างนี้ก็เป็นที่ปลอดภัยเหมือนกัน คือว่าให้เห็นแก่พระธรรมกันเถิด อย่าเห็นแก่ตัวหรือว่าอย่าเห็นแก่ใคร แก่ใครก็ได้แต่ขอให้เห็นแก่พระธรรม นั่นแหละจะได้ประโยชน์สูงสุดคือนิพพาน เพราะว่านิพพานก็คือการดับตัวเสียให้หมดสิ้น ไม่ใก้มีตัว ให้เหลือแต่ธรรมชาติล้วนๆ ธรรมชาติบริสุทธิ์ อยู่ตามธรรมชาตินั้นไม่มีอะไรที่จะเป็นตัว กู หรือเป็นของกู เห็นความไม่มีตัวกุ ของกู เห็นความเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์อย่างนี้ นี่แหละจะได้รับประโยชน์ทั้งความสุข ทั้งในโลกนี้ และ โลกอื่น ผู้ที่หมดความเห็นแก่ตัวอย่างนี้มันมีความสุขทั้งอย่างดลกนี้ คือมีบ้าน มีเรือน มีข้าวปลาอาหาร มีลูกมีเมีย มีอะไรทุกๆอย่างที่อย่างโลกนี้ เขาจะต้องมี มันก็มีได้ และอย่างชนิดอื่นๆ ที่สูงขึ้นไปมันก็พลอยมีด้วย แล้วก็จะเลือกเอาที่สูงขึ้นไป สละที่ต่ำนั้นออกไปตามลำดับๆ แต่รวมความแล้วมันตอบได้ว่า ถ้าถือหลักไม่เห็นแก่ตัวแล้ว จะเป็นสุขทั้งอย่างโลกนี้ และ เป็นสุขทั้งอย่างโลกอื่นโดยไม่ต้องสงสัยเลย ดังนั้นศาสนาทุกศาสนาจึงเป็นศาสนาที่เป็นศาสนา คือเป็นศาสนาที่แท้ มันก็ต้องดีหรือใช้ได้กันหมดในข้อที่ว่าล้วนแต่มีเจตนารมณ์ ที่จะทำลายความเห็นแก่ตัวอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ทีนี้ก็มาถึงปัญหาใหญ่ที่มีอยู่ในเวลานี้ ก็คือแยกเอาโลกนี้เป็นเรื่องโลกียะ เอาเรื่องวที่พ้นโลก เหนือโลกเป็นโลกุตระ แล้วก็จัดไว้อย่างเป็นของตรงกันข้าม เหมือนที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า คนบางพวกมีความเห็นว่าหลักธรรมที่เป็นตัวศาสนาแท้ๆคือเรื่องไม่ให้เห็นแก่ตัวนั้น มันเป็นเรื่องโลกุตระ ขืนเอาเข้ามาแล้ว จะไม่มีการพัฒนา นี้มันเป็นเรื่องหลับตาพูด มันอาจจะถูกสำหรับคนที่หลับตาฟัง เพราะว่าคนพูดมันหลับตาพูด คนฟังมันหลับตาฟัง มันก็กลายเป็นของถูกต้องไปได้ แต่โดยแท้จริงแล้ว เรื่องโลกนี้กับเรื่องโลกอื่นมันแยกกันไม่ได้ อย่าพยายามแยกจากโลกนี้ออกจากโลกอื่น เอาโลกอื่นไปไว้ต่อตายแล้ว ให้ถือว่า ชีวิต ร่างกายนี้เป็นเหมือนภาชนะ อย่างหนึ่ง ซึ่งบางทีบางเวลาก็ใส่โลกนี้ไว้ บางทีบางเวลาก็ใส่โลกอื่น ถ้ำม่อย่างนั้นแล้วมันก็ต้องเป็นบ้าตาย หมายความว่าบางเวลาเราจะหลงไหลในเรื่องกิเลสตัณหาไปบ้าง แต่ก็มีอยู่มากเวลาที่เรามีจิตสงบระงับ ไม่หลงไหล ถ้าเราหลงไหลกันทั้ง ๒๔ ชม. แล้วก็จะต้องเป็นบ้าตาย บางเวลาเราหยุด เราสงบ ไม่ยึดมั่นถืออะไร เพราะมันขี้เกียจจะยึดมั่น ถือมั่น ก็ยังได้ เอือมๆ ระอาก็ยังได้ หรือมองเห็นโทษขึ้นมาบางครั้งบางคราวก็ไม่รู้ไม่ชี้ เสียบ้าง นอนหลับเสียบ้าง อย่างเวลานอนหลับนี่มันก็เป็นเรื่องโลกอื่นแท้ๆ คือมันเป็นโลกของความพักผ่อน คือในเวลาที่มันบ้า เวลาตื่นนั้น มันก็เป็นโลกอื่นเหมือนกัน อย่างที่เขาพูดว่า กลางคืนก็เป็นเวลาพักผ่อน กลางวันก็เป็นเวลาทำการงาน อย่างนี้มันเป็นคนละโลก ในร่างกายของคน ๆ หนึ่งนั้นมันเป็นเหมือนภาชนะแล้วแต่ว่ามันจะใส่โลกอะไรไว้ บางทีก็โลกมนุษย์ บางทีก็โลกสวรรค์ มารโลก เทวโลก พรหมโลก แต่บางเวลาก็เป็นโลกุตระ ชนิดชั่วคราวไม่ใช่โลกุตระชนิดยืดยาวถาวรอะไร มันเป็นโลกุตระชั่วคราว คือ ในบางเวลาก็เกลียดในเรื่องโลกๆนี้อยากจะอยู่สงบๆ ไม่ให้มีอะไรมารบกวน ไม่มีความคิดนึกอะไรมารบกวน อยากจะอยู่นิ่งๆ อยากจะอยู่อย่างสงบ อยากจะอยู่อย่างสะอาด สว่าง สงบ อย่างนี้มันก็ยังมี นี่แหละพิจารณาดูให้ดีๆ แล้วก็จะพบว่าชีวิตของคนเรานี้มันไม่อาจจะเป็นโลกิยะโดยเด็ดขาด หรือเป็นโลกุตระโดยเด็ดขาด มันยังเจือกันอยู่ มันยังสลับกันไป และว่าโดยที่จริงแล้ว พระพุทธศาสนานั้นจะมาแบ่งแยกเป็นโลกิยะ โลกุตระชนิดที่มีอยู่อย่างตรงกันข้าม นั้นมันเป็นไปไม่ได้ ถ้าขืนไปแยกให้ตรงกันข้าม เป็นปฏิปักษ์ต่อกันแล้ว มันไม่ใช่พระพุทธศาสนา เพราะว่าพระพุทธศาสนานั้นมีตัวเดียว มีคำเดียว คือคำว่าธรรม หรือ ธรรมะ แล้วก็มีเพียงลำดับที่สูงต่ำลำดับๆไป แต่มันเป็นเรื่องเดียวกัน มีแนวเดียวกัน คือจะต้องเดินไปทางเดียวกันไม่ใช่ว่าคนหนึ่งจะเดินไปทางทิสตะวันออก อีกคนหนึ่งจะดินไปทางทิศตะวันตก ทั้งโลกิยะ และ โลกุตระ มันจะต้องเดินไปหาความดับทุกข์ด้วยกัน ถ้าไม่อยากนั้นมันไม่มีประดยชน์อะไร ก็ถ้ายิ่งไปกว่านั้นอีก จะต้องมองให้ละเอียดลงไป ว่าเรื่องโลกิยะนั้นก็หมายความว่ามันอาศัยความยึดมั่นถือมั่น แต่ถ้าปล่อยมันไปตามลำพังความยึดมั่น ถือมั่นแล้ว มันก็จะลงนรก หรือ ลงเหว คือทำความชั่ว ดังนั้นมันจึงมี สิ่งที่เรียกว่าโลกุตระนี้คอยขัดขวาง คอยยับยั้งไว้ เมื่อมัน ทำหน้าที่ควบคู่กันไปเมื่อนั้นแหละจะเป็นธรรมะในพระพุทธศาสนา เมื่อใดโลกิยะ กับ โลกุตระ ไม่แยกกัน แต่ทำหน้าที่ควบคู่กันไป เมื่อนั้นจะเป็นธรรมะในพระพุทธศาสนา โลกิยะนี้มีกำลัง เพราะมันอาศัยความยึดมั่น ถือมั่น มีความอยาก ความหวัง จะดีจะเด่นอย่างนั้นอย่างนี้ นี่เรียกว่ามีกำลัง ส่วนโลกุตระนั้นมันเป็นสารถีที่จะควบคุม ให้กำลังนั้นแล่นไปโดยถูกทาง เหมือนอย่างที่เรามีรถมีอะไรที่มันมีกำลัง แต่ถ้าไม่มีคนขับที่ดี ไม่มีสารถีมันก็เป็นอันตราย ในชีวิตของคนเรานี้ เรามีกำลังกาย กำลังจิต และเราก็มีสติปัญญาในหลักของธรรมะ โดยเฉพาะในพระพุทธศาสนา เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น สำหรับจะควบคุมกำลังกาย กำลังจิต ให้มันเดินไปถูกทาง พุทธบริษัทรอดตัวมาได้ในลักษณะอย่างนี้ หรือจะเปรียบอีกอย่างหนึ่งว่าโลกิยะนั้นมันเป็นไฟ ส่วนโลกุตระนั้นมันเป็นน้ำสำหรับจะดับไฟ ถ้าเมื่อใดในชีวิตนี้คนเรานี้มันร้อนเป็นไฟขึ้นมา ด้วยกิเลสตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วมันไม่มีสิ่งอื่นจะดับได้ นอกจากธรรมฝ่ายโลกุตระที่จะวิ่งเข้ามา ช่วยดับความโลภ ความโกรธ ความหลง นั้นเสีย เราต้องมีน้ำสำหรับที่คอยดับไฟที่จะลุกขึ้นอยู่เป็นปรกติธรรมดาอย่างนี้ อย่างเดี๋ยวนี้เรามีรถยนต์ใช้เป็นของธรรมดาสามัญไปแล้ว แต่ก็ไปดูให้ดีเถิดว่า ในรถยนต์คันหนึ่งๆนั้นมันมีส่วนที่ตรงกันข้าม แก่กันและกันอยู่ แต่จะต้องทำงาน ร่วมกัน คือส่วนที่รถวิ่งไปนั้นมันก็ส่วนหนึ่ง ส่วนที่เป็นห้ามล้อนั้นมันก็อีกส่วนหนึ่ง ถ้ารถคันไหนไม่มีห้ามล้อมมันก็เป็นอันตราย ถ้าโลกิยะจะถูกปล่อยไปตามลำพังไม่ได้ จะต้องมีส่วนโลกุตระเป็นเหมือนห้ามล้อ หรือเป็นเหมือนกับเครื่องควบคุม บังคับบัญชา ให้เป็นไปแต่ในทางที่ถูกที่ควร เด็กๆของเราถ้าจะกระตุ้นกันแต่ในเรื่องโลกิยะ มันก็จะต้องวิ่งลงเหว ลงนรก กันไปหมด เหมือนกับรถที่ไม่มีห้ามล้อ ดังนั้นจึงต้องสอนเด็กๆ ของเราให้มีความรู้ธรรมะ ทั้งที่เป็นธรรมะสำหรับให้วิ่งไป และ เป็นธรรมมะชนิดที่สำหรับจะห้ามล้อไว้ได้ ให้มันพอเหมาะพอดี ให้ถูกต้องกันอยู่อย่างนี้เสมอไป การแบ่งแยกโลกิยะให้เด็ดขาดออกไปจากโลกุตระนั้นพระพุทธเจ้าไม่เคยทำ นักปราชญ์ปลอมสมัยหลังๆมันว่าเอาเอง ว่าแยกโลกิยะออกจากโลกุตระโดยเด็ดขาด แล้วตั้งอยู่ในฐานะเป็นปฏิปักษ์ เป็นข้าศึกต่อกัน เช่นว่า ถ้าเราจะเดนทางโลกจะพัฒนาโลก แล้วก็อย่าได้สนใจในเรื่องโลกุตระเลย ให้ประนามโลกุตระว่าเป็นข้าศึกศัตรูอย่างยิ่งของผู้ที่มีความประสงค์จะเจริญก้าวหน้าในทางของโลกอย่างนี้ พระพุทะเจ้าไม่เคยบัญญัติให้โลกิยะ กับโลกุตระ ตั้งอยู่ในฐานะเป็นปฏิปักษ์ ข้าศึก ต่อกัน แต่ทรงบัญญัติในลักษณะที่เป็นบุพภาค คือเป็นบันไดที่จะก้าวขึ้นไปตามลำดับพร้อมไปด้วยกัน ให้อันหนึ่งเป็นเครื่องประคับประคองให้เดินถูกทาง ให้อันหนึ่งเป็นกำลังที่จะเคลื่อนไหว ในยุคหลังต่อมา เมื่อการศึกษาหรือการเข้าใจพุทธศาสนาคลาดเคลื่อนไปแล้วก็มีคนบางคน หรือ คนบาวพวก บัญญัติให้โลกิยะ และ โลกุตระเป็นข้าศึกต่อกันและกันอย่างนี้ ยิ่งมาสมัยนี้ก็ยังมีคนเข้าใจผิดอย่างนี้ เพราะเป็นนักปราชญ์แต่เรื่องฝ่ายโลกๆ หรือ ฝ่ายโลกิยะอย่างเดียว จึงได้มองเรื่องของโลกุตระเป็นของตรงกันข้าม หรือเป็นข้าศึกศัตรูไปเสีย สำหรับเรื่องนี้จะขอสาทกด้วยบาลีหรือพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสขึ้นสูญญตาแก่ฆราวาสทั้งหลาย เรื่องนี้ก็เคยได้นำมาเล่าให้ฟังมาแล้วเหมือนกัน แต่ก็อยากจะเตือนให้ระลึกนึกถึงอีกว่ามีฆราวาสกลุ่มหนึ่งไปเฝ้าพระพุทธเจ้าขอให้ทรงแสดงธรรม ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่งแก่พวกฆราวาสทั้งหลาย พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับสูญญตานั่น แหละเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ฆราวาสทั้งหลาย ฆราวาสผู้นั้นทูลขึ้นว่าเรื่องสูญญตาสูงเกินไป ขอให้เอาเรื่องที่ต่ำกว่านั้น พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสเรื่องความมั่นคงในพระพุทธ ในพระธรรม ในพระสงฆ์ และมีศีลชนิดที่ใครติเตียนได้ พอพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ ฆราวาสก็ทูลขึ้นว่านั่นก็เป็นเรื่องที่ปฏิบัติอยู่แล้ว และข้อความในพระบาลีก็ยุติลงเสียเพียงเท่านี้ เราก็สัญนิษฐานดูเอาเองเถิดว่าถ้าเรื่องโลกุตระเป็นเรื่องสูญญตา ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลหรือจำเป็นแก่ฆราวาสแล้ว พระพุทธองค์ก็คงจะไม่ตรัสเรื่องนี้แก่ฆราวาส แล้วอีกทางหนึ่งฆราวาสพวกนั้นเมื่อปฏิบัติตน มั่นคงอยู่ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีศีลที่ใครติเตียนไม่ได้แล้ว ต้องการจะเลื่อชั้นขึ้นไป มันก็ไม่รู้จะเลื่อนไปทางไหน มันก็มีแต่ทางจะเลื่อนไปทางสูญญตา คือความไม่ยึดมั่น ถือมั่นสิ่งใดโดย ความเป็นตัวตน หรือ ของตน ดังนี้ การที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเรื่องสูญญตาแก่ ฆราวาสนั้นมันเป็นการแสดงว่า ท่านไม่ทรงแยกเป็นโลกียะ และ โลกุตระ ความเป็นฆราวาสใครๆก็รู้ว่ามันเป็นเรื่องของโลก แต่พระพุทธเจ้าท่านมอบหมายสูญญตาไปให้ นี้เป็นการแสดงว่าท่านไม่แยกเรื่องฆราวาส กับเรื่องโลกุตระว่ามันเป็นเรื่อง คนละเรื่องหรือเป็นเรื่องตรงกันข้าม คือไม่ทรงแยกโลกิยะ ออกจากโลกุตระ หรือ ไม่แยก โลกุตระออกจากโลกิยะนั่นเอง ที่นี้แม้ว่าพระพุทธองค์จะได้ตรัสถ้อยคำในบางครั้งบางคราว มีคำว่าโลกิยะ โลกุตระ อยู่ด้วย ท่านก็ไม่ได้ตรัสในลักษณะที่มีความหมายอันขัดแย้งต่อกันและกัน แต่ท่านตรัสในลักษณะที่มีความหมายส่งเสริมกันและกัน คือ เป็นบุพภาคของกันและกัน ไม่ได้เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน เหมือนกับบันไดขั้นที่ ๑ นั่นมันไม่ได้เป็นปฏิปักษ์ต่อบันไดขั้นที่ ๒ หรือบันไดขั้นที่ ๒ จะเป็นปฏิปักษ์ต่อบันไดขั้นที่ ๓ อย่างนี้มันเป็นไปไม่ได้ บันไดขั้นที่ ๑ เป็นบุพภาคของบันไดขั้นที่ ๒ บันไดขั้นที่ ๒ ก็เป็นบุพภาคของบันไดขั้นที่ ๓ ซึ่งจะต้องไต่ไปตามลำดับ ถ้ามันยังอยู่ในลำดับต่ำ ก็จะเรียกว่าโลกิยะไปก่อนคือ เป็นจุดตั้งต้น แล้วก็ไต่ไปตามลำดับสูงขึ้นไป จนถึงสุดบันไดเมื่อไร มันก็จะเป็น โลกุตระเมื่อนั้น แต่แม้ว่า มันยังไม่ถึงขั้นสุดของบันไดมันก็ยิ่งใกล้ โลกุตระยิ่งขึ้นไปทุกที ด้วยเหตุดังนี้แหละท่านจึงวางเป็นหลัก ไว้ว่าชั้นโสดาบันก็เป็นโลกุตระ ชั้นสกิทาคามีก็เป็นโลกุตระ ชั้นอนาคามีก็เป็นโลกุตระ ชั้นพระอรหันต์ก็เป็นโลกุตระ แต่ที่จริงไม่เหมือนกัน เพราะชั้นพระอรหันต์เท่านั้นที่เป็นชั้นโลกุตระโดยสมบูรณ์และเด็ดขาด ส่วนชั้นพระโสดาบัน สกิทาคามี เป็นต้นนั้นเป็นเพียงขั้นที่พร้อมที่จะเป็นโลกุตระยิ่งขึ้นไปทุกทีเท่านั้น คือเข้าไปในเขตของความเป็นโลกุตระ หรือ จะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า โลกุตระขั้นตระเตรียมยิ่งขึ้นไปทุกที ทีนี้เรื่องที่ต่ำลงมาจากนั้น ก็เป็นเรื่องที่มีไว้สำหรับที่จะเลื่อนขึ้นไปตามลำดับ อย่างความเป็นปุถุชนอย่างนี้ ชั้นเลว เป็นปุถุชนชั้นเลว แล้วก็มีปุถุชนชั้นดี คือชั้นกัลยาณปุถุชน กัลยาณปุถุชนนี้ก็ไม่มีทางอื่นจะเลื่อน ถ้าต้องการจะเลื่อนขึ้นไปก็ต้องเข้าไปสู่เขตโลกุตระขั้นแรกคือเป็นพระโสดาบัน ลำดับมันมีอยู่อย่างนี้ มันไม่ใช่จะเป็นปฏิปักษ์ ข้าศึก ทำลายล้างซึ่งกัน ถ้ามันเป็นปฏิปักษ์ทำลายล้างซึ่งกันและดันแล้ว เราไม่มีทางที่จะก้าวเข้าสู่โลกุตระเลย ถ้าบันไดขั้นที่ ๒ มันเป็นปฏิปักษ์ต่อบันไดขั้นที่ ๑ คนก็จะต้องวิ่งกลับไปกลับมา กลับไปกลับมา อยู่ที่บันไดขั้นที่ ๑ กับบันไดขั้นที่ ๒ เท่านั้น มันก็ไม่มีวันที่จะถึงยอดสุด ของบันไดได้ นี่แหละขอให้มองเห็น โดยประจักษ์กันเสียทีหนึ่งก่อนว่า โลกิยะ กับโลกุตระ นั้น ไม่ใช่เรื่องที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน หรือ ทำลายล้างกัน แต่มันจะต่อเนื่องกันไป เหมือนกับรถยนต์ที่จะต้องมีเครื่องห้ามล้อ มันจึงจะวิ่งไปได้โดยปลอดภัยฉันใดก้ฉันนั้น ทีนี้ยังมีความเข้าใจผิด เกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไปอีก บางคนถือว่าเรื่องโลกิยะนั้นก็คือเรื่องทำมาหากิน เรื่องทะเยอทะยาน เรื่องความหวัง เรื่องความยึดมั่นถือมั่น ส่วนเรื่องโลกุตระนั้นก็คือเรื่องที่ตรงกันข้าม แล้วก็บัญญัติเรื่องวสำคัญที่เป็นตัวเรื่องพุทธศาสนาว่าเป็นเรื่องโลกุตระไป เอามาใช้กับเรื่องของชาวบ้านไม่ได้ คือถือว่า เรื่องอริยสัจ ๔ นั้นเป็นเรื่องโลกุตระ เอามาใช้กับชาวบ้านในการพัฒนาไม่ได้ นี้ก็เป็นเรื่องหลับตาพูด เรื่องอริยัสัจ ๔ นั้น ตัวแท้ของอริยสัจ ๔ นั้นมันเป็นฏฎทั่วไปของธรรมชาติ ตั้งแต่ต้นจนปลาย ตั้งแต่ต่ำสุด จนถึง สูงสุด เช่นเดียวกับกฏของวิทยาศาตร์มันเป็นกฏทั่วไป ไม่อาจจะแบ่งแยกเป็นโลกิยะ หรือ โลกุตระ เพราะว่าตัวธรรมชาตินั้นไม่เป็นโลกุตระ หรือเป็นโลกิยะนั่นเอง กฏของธรรมชาติที่แท้จริงจึงครอบคลุมไปได้หมด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มนุษย์ บัญญัติเป็นโลกิยะ หรือ โลกุตระก้ตาม กฏของธรรมชาติจะเป็นโลกิยะโดยส่วนเดียวไม่ได้ เป็นโลกุตระโดยส่วนเดียวไม่ได้ แต่เป็นกฏที่ใช้ได้ในทุกคน ทั้งที่เป็นคนโลกิยะ หรือเป็นคนโลกุตระ ต่างคนต่างก็เลือกใช้กฏของธรรมชาติให้ถูกต้องตามสถานะหรือ สภาวะของตนๆ ทุกคน เรื่อง อริยะสัจ ๔ จึงไม่เป็นเรื่องที่บัญญัติว่าโลกิยะ หรือ เป็นโลกุตระ คือแล้วแต่เราจะเอามาใช้ในระดับไหน ความทุกข์ของชาวบ้านมันก็เกิดจากกิเลสตัณหาแม้ในระดับต่ำอย่างไร มันก็เกิดความทุกข์มาจากกิเลสตัณหา ถ้าราจะดับทุกข์มันก็ไม่มีทางอื่น นอกจากจะบรรเทากิเลสตัณหาเสียบ้าง แม้ว่าจะไม่ดับได้สิ้นเชิง แต่ว่ากิเลสตัณหาบางชนิดนั้นเราสามารถจะดับได้สิ้นเชิง ดับได้เท่าไรก็ดับทุกข์ได้เท่านั้น สำหรับเรื่องอริยสัจ ๔ นั้นใจความสำคัญมันอยู่ที่เรื่องสุดท้าย คือเรื่องที่ ๔ ทีเรียกว่า อัตถังทิฐมรรค คือมันเป็นหลักปฏิบัติ ส่วนอริยสัจ ๓ เรื่องข้างต้นนั้นมันเรื่องของธรรมชาติ ว่าความทุกข์เกิดมาจากความอยากที่มาจากความโง่ มันเป็นเพียงทฤษฎี ชี้ให้เห็นความเป็นไปของธรรมชาติ ว่ามีความอยากเพราะเพราะความโง่ ความต้องการเพราะความโง่ แล้วจะต้องมีความทุกข์ จะดับทุกข์ก็ต้องดับความอยากที่มาจากความโง่นั่นเสีย ทีนี้จะดับได้อย่างไร ก็ต้องปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ สำหรับอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ นี้โดยหลักทั่วไปถือว่าเป็นโลกิยะ อย่าเข้าใจว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นโลกุตระ แต่เป็นตัวโลกิยะธรรมขั้นต้นๆ ลำดับไปจนค่อยๆ กลายไปเป็นสิ่งที่อยู่ในขอบข่ายของโลกุตระ หรือว่าสิ่งที่จะส่งเสริมให้เกิดโลกุตระขึ้นมา อริยะมรรคมีองค์ ๘ นี่คือความถุกต้องที่มีความจำเป็นแก่คนทุกคนต้องมี ความถูกต้องในความคิดเห็นเรียกว่า สัมมาทิฐิ ความถูกต้องในความปรารถนาเรียกว่าสัมมาสังกัปโป ความถูกต้องในการพูดจาเรียกว่าสัมมาวาจา ความถูกต้องในการกระทำทางกายเรียกว่า สัมมากัมมันโต ความถูกต้องในการเลี้ยงชีวิต เรียกว่า สัมมาอาชีโว ความถูกต้องในการพากเพียรพยายามเรียกว่าสัมมาวายาโม ความถูกต้องในการมีสติสัมปฤดี ควบคุมความรู้สึกอย่างนี้เรียกว่าสัมมาสติ ความถูกต้องของจิตที่มีกำลังมั่นคงแน่วแน่ นี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ ลองคิดดูเถิดว่าใครบ้าง คนๆไหน เด็กคนไหน หรือผู้ใหญ่ก็ตามที่จะไม่ต้องการความถูกต้อง ๘ ประการนี้ ดังนั้นในหลักของพระพุทธศาสนา ท่านผู้รู้จึงบัญญัติว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นโลกิยะธรรม คือยังเนื่องอยู่ในโลก ใช้ได้กับผู้ที่จะยังอยู่ในโลกอย่างธรรมดาสามัญ คือ อยู่ในโลกอย่างมนุษย์ธรรมดาสามัญ มีความสุขอย่างมนุษย์ธรรมดาสามัญ และในที่สุดมันก็จะส่งไปสู่ความพ้นโลกเพราะว่าเมื่อได้ท่องเที่ยวไปใน โลกเวียนว่ายอยู่ในโลก โดยสมควรแก่เหตุการณ์แล้ว มันก็จะเกิดความเบื่อหน่าย เกิดความคลายกำหนัดในโลกนั้น แล้วก็ส่งไปสู่โลกุตระ แล้วก็หมดหน้าที่ของสิ่งที่เรียกว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ขอให้ท่านทั้งหลาย ทุกคนยินดีรับเอาสิ่งที่เรียกว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการนี้ คือ ความถูกต้อง ๘ ประการนี้ ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นแก่คนเราทุกคนอยู่ทุกอิริยาบททั้งเวลาหลับทั้งเวลาตื่นจะต้องจัดให้ชีวิตสังขารนี้ประกอบอยุ่ด้วยความถูกต้อง ๘ ประการนี้เสมอไปอย่าได้ไปเข้าใจผิด ว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการนี้ ไปไว้เสียในฝ่ายโลกุตระ โดยส่วนเดียวโดยเด็ดขาด และว่ามันเป็นปฏิปักษ์ขัดขวางกันกับโลกิยะ นั่นแหละคือข้อที่หลับตาพูด เพราะว่าความเจริญ แม้ในขั้นต้น ขั้นต่ำที่ สุดก็จะต้องไต่ไปตามหลักของอริยะมรรคมีองค์ ๘ เสมอไป แม้ในเรื่องการพัฒนาเรื่องโลกๆ พัฒนาบ้านเมือง พัฒนาอะไรก็ต้องการอาศัยหลักแห่งอริยะมรรคมีองค์ ๘ คือถูกต้องในความคิดเห็น ถูกต้องในความต้องการ ถูกต้องในการพูดจา ในการทำการงาน ในการเลี้ยงชีวิต ในการพยายาม ในการมีสติ ในการมีสมาธิ แม้จะเป็นเด็กทารกโดยเนื้อแท้มันก็ต้องการความถูกต้องเหล่านี้ ถ้าไม่มีความถูกต้องเหล่านี้ก็จะต้องเป็นทุกข์ คือกำลังเดินเข้าไปหาความทุกข์ นี่เป็นอันยุติว่าเรื่องของอริยะสัจ ๔ นั้นไม่ได้ระบุชัดลงไปว่า เป็นเรื่องของโลกุตระ แต่เป็นหลักทั่วไป ที่จะใช้ได้ทั้งโลกิยะ และทั้งโลกุตระ ส่วนอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้นเป็นบันไดของ โลกิยะเป็นต้นไปอย่างที่จะขาดเสียไม่ได้ ทีนี้ก็จะดูกันให้ดีอีกนิดหนึ่งว่า เรื่องโลกิยะนี้มีไว้ทำไม ถ้ามีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง ก็จะรู้ว่าไม่ใช่มีไว้สำหรับให้คน บ้าหลงไหลในเรื่องนั้น แต่มีไว้สำหรับคนรู้เข้าใจและหลีกออกไปตามลำดับ ออกไปสู่โลกุตระ เรื่องโลกนี้มันก็มีเพื่อพ้นโลก มันไม่ตั้งอยู่ในฐานะเป็นข้าศึกแก่กัน แต่ตั้งอยู่ในฐานะที่เป็นบันไดส่งเสริมกัน จนพูดว่าเรื่องโลกนี้มันมีไว้เพื่อโลกุตระ เรื่องโลกิยะนี้ ที่มีไว้เพื่อโลกุตระ เรื่องโลกนี้มีไว้เพื่อความพ้นโลก หรือความทุกข์นี้มีไว้เพื่อความดับทุกข์ เพื่อความสุข ไม่ใช่เพื่อให้เราทุกข์เล่นจนตาย มีไว้เพื่อให้เราดับมันเสีย จะได้ความสุข ความทุกข์มีไว้เพื่อให้เกิดความสุข ถ้าไม่มีความทุกข์แล้วมันก็ไม่มีการดับทุกข์ เรื่องของความสุขมันก็ไม่ต้องมี เรื่องโลกนี้ก็เป็นไปเพื่อพ้นโลก คำว่าพ้นนี้ก็ให้พ้นไปตามลำดับๆ ลำดับวัย วัยเด็ก วัยหนุ่มสาว วัยผู้ใหญ่ วัยแก่เฒ่า จะต้องเลื่อไปตามลำดับ ไปตามลำดับวัย โลกุตระมันก็เลยมีลำดับวัย เลื่อเข้ามาได้ไวเท่าไร มันก็ไปในเขตของโลกุตระมากเข้าเท่านั้น ความที่จะพ้นจากโลกนี้มันต้องมีอยู่ที่โลกนั่นเอง ถ้าไม่มีโลกแล้วมันจะพ้นจากโลกได้อย่างไร อย่างว่าถ้าไม่มีไฟแล้วเราจะดับไฟได้อย่างไร เพราะฉะนั้นโลกุตระคือความพ้นโลกนั้นมันต้องมีที่โลกนั่นแหละ มีโลกิยะธรรมที่ไหนมันก็มีทางที่จะทำให้เกิดโลกุตระธรรมที่นั่น เพราะฉะนั้นมันจะต้องประกอบกันให้ถูกทางอย่างนี้ มันจึงจะมีการพัฒนา คือการก้าวหน้าจากโลกิยะธรรมที่ต่ำๆไปสู่โลกิยะธรรมที่สูงๆขึ้นไปจนกระทั่งเหนือโลก หรือเป้นโลกุตระ อยากจะพูดว่าเด็กเล็กๆ ที่ฉลาดขึ้นๆ นั้นถ้าเป็นไปในทางที่ถูกต้องแล้วมันย่อมหมายความว่า ก้าวขึ้นมาตามลำดับๆ จากโลกที่ต่ำไปหาโลกที่สูง และสูงขึ้นไปจนพ้นโลกด้วยเหมือนกัน แล้วเราจะไปยุเขาให้หมุนกลับไปหา ความเป็นโลกให้มากขึ้น และให้เข้าใจความพ้นโลกนั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาอย่างนี้แล้วจะไม่ให้เรียกว่าคนนั้นหลับตาพูดได้อย่างไร เดี๋ยวนี้ในที่ทั่วๆไปมักจะมีการสอนกันในลักษณะอย่างนี้ คือให้เรื่องโลกิยะ กับโลกุตระแยกทางกันเดินอยู่เสมอไป เป็นข้าศึกกันอยู่อย่างนี้ แล้วก็ไม่ให้สอนธรรมะที่เป็นขั้นโลกุตระ แก่ฆราวาสนี้มันไม่ตรงตามพระพุทธประสงค์มีอยู่ว่าจะสอน เรื่องสูญญตาแก่ฆราวาส ผู้ครองเรือน สำหรับความเข้าใจผิด เรื่องอริยสัจนั้น มันมีเค้าเงื่อนมาจากคำสำคัญคำหนึ่ง คือคำว่าตัณหาซึ่งเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าทุกข์เกิดมาจากตัณหา ตัณหาแปลเป็นภาไทยว่าความอยาก เลยเกิดการเข้าใจผิดกันขึ้นอย่างกว้างขวาง ว่าถ้าขึ้นชื่อว่าความอยากแล้วก็กลายเป็นตัณหาทั้งหมด คนสอน ทั้งครูบาอาจารย์ก็สอนว่าถ้าเป็น ความอยากแล้วก็เป็นตัณหา แล้วก็เป็นโลภะไปเสียทั้งหมด เป็นกิเลสไปทั้งหมด ก็ลองคิดดูเถิดว่าแล้วลูกศิษย์จะปฏิบัติอย่างไร เพราะว่าคนเรามันต้องมีความอยากมีความต้องการ อยู่เป็นประจำ อยู่เรื่อยไป แล้วอาจารย์ก็สอนว่าถ้าเป็นความอยากแล้วก็เป็นตัณหา เป็นกิเลศ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ไปหมด นี่คนมันหลับตาสอน พระพุทธเจ้าท่านได้สอนว่าตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์เพระว่าตัณหานั้นหมายถึงความอยากที่มาจากอวิชชา เรื่องนี้เป็นที่แน่นอนว่าความอยาก หรือความต้องการที่มาจากอวิชชาคือความโง่แล้ว มันก็เป็นตัณหา เป็นความโลภ ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ แต่ถ้ามันเป็นเหตุ หรือ ความต้องการที่มาจากวิชชา หรือ ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องของอริยะมรรคมีองค์ ๘ แล้ว อย่างนี้ไม่ใช่ตัณหา ไม่ใช่โลภะ ความอยากความต้องการอย่างนี้ไม่ใช่ตัณหา ไม่ใช่โลภะ เพราะว่ามันไม่ได้มาจากอวิชชา เพราะฉะนั้นขอให้ท่านทั้งหลายให้รู้จักให้ระวังให้ดีๆ ว่าความอยากอยากนี้มันมาจากความโง่ก็ได้ มันมาจากความฉลาดก็ได้ มาจากความโง่คือมาจากอวิชชา สำหรับจะหลง แล้วก็อยาก แล้วก็หลง มันก็เกิดความทุกข์ได้จริง แต่ถ้ามาจากวิชชารู้แจ้งในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้แจ้งในเรื่องอริยสัจ ๔ ความฉลาดถึงขนาดนี้แล้วต้องการจะดับทุกข์นั้นเสีย หรือต้องการจะทำอะไรไปตามกฎเกณฑ์แห่งความถูกต้อง ของอริยะมรรคมีองค์ ๘ นั้น ความอยากหรือความต้องการอย่างนี้ไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่ตัณหา ทุกคนอยากได้ ต้องการได้ ปรารถนาได้ ตามความรู้สึกผิดชอบชั่วดี คือวิชชา หรือ สัมมาทิฐิ เดี๋ยวนี้มาสอนกันเสียว่าถ้าขึ้นชื่อว่าความอยากแล้ว เป็นกิเลสตัณหาทั้งนั้น มันก็เลยปฏิบัติไม่ได้เป็นสิ่งที่ใครๆก็ปฏิบัติไม่ได้ในโลกนี้ ทีนี้ก็เลยเกิดความเข้าใจผิดต่อไป ในการที่จะแยกเอาเรื่องอริยะสัจออกไปเสียจากรื่องโลกิยะ ให้มันเป็นเรื่องดับความอยากทุกๆชนิด ความคิดอันนี้ก็ยิ่งผิดไปใหญ่ให้เป็นเรื่องอรยะสัจของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นคนที่พูดว่าเรื่องอริยะสัจ ๔ เป็นเรื่องของโลกุตระเพียงส่วนเดียวจึงเป็นคนหลับตาพูด ต้องรู้จักว่ามันเป็นกฏทั่วไป เหมือนกับเป็นกฏวิทยาศาสตร์ที่ใช้ได้กับหลักเกณฑ์ ทั้งที่เป็นโลกิยะ ทั้งที่เป็นโลกุตระ ถ้ามันยังต้องเวียนว่าย หรือ เกี่ยวข้องกันอยู่กับเรื่องโลกๆตามธรรมดามันก็ต้องเป็นเรื่อง โลกิยะไป รู้จักแก้ไขความทุกขืโลกๆนี้ให้เบาบางไป จนกว่ามันจะเลื่อนขึ้นไปถึงระดับของการแก้ไข ความทุกข์ในขั้นโลกุตระ หน้าที่ของเราก็คือควบคุมตัณหา คือความอยากที่มาจากอวิชชา แล้วก็สร้างความต้อวการที่ถูกต้องที่มาจากวิชชา แล้วก็ปฏิบัติไปตาม ความอยาก หรือความต้องการที่มาจกวิชชา ควบคุมความอยากที่มาจากความโง่เสียให้ได้ ตามหลักของอริยะสัจแล้วนั่นแหละคือการพัฒนา จะพัฒนาตนก็ดี จะพัฒนาบ้านเมืองก็ดี พัฒนาโลกทั้งหมดก็ดี มันต้องรู้จักวิธีที่จะควบคุมตัณหา แต่ว่าไม่ใช่ให้หยุดอยาก หยุดหวัง ด้วยประการทั้งปวง ความอยากที่ถูกต้อง ความต้องการที่ถูกต้องนั้นไม่ใช่ตัณหา แม้จะมีคำกล่าวในพระบาลีว่าให้ อาศัยตัณหาละตัณหา ข้อนี้มันก็ยังมีความหมายพิเศษ ตัณหาที่ต้องละนั้นคือความอยากที่มาจากความโง่ ทีนี้ตัณหาที่จะมาละตัณหาชนิดนี้ก็คือความอยากดี โดยหลงดี โดยบ้าดี เพราะอยากมีตัวตนที่ดี มันก็ปฏิบัติไปได้ในข้อที่ว่าอาศัยอยากดีกว่านั้น มาละความอยากดีที่เลวเสีย ความอยากดีนี้มันมีทั้งที่อย่างต่ำ มีทั้งที่อย่างสูง เราก็เอาอย่างสูงมาละอย่างต่ำเสีย อาศัยตัณหาละตัณหา ในทำนองหนามยอกเอาหนามบ่ง มันก็ได้เหมือนกัน หนามที่ยอกนั้นมันเป็นทำหน้าที่อย่างหนึ่ง เพราะนั้นหนมหนามอย่างเดียวกัน ไปหามาเพื่อจะถอนหนามอันนี้ออกมาเสียได้ มันทำหน้าที่อย่างหนึ่ง อย่างนี้ก็เรียกว่าอาศัยตัณหาที่ดีกว่าละตัณหาที่เลวกว่า แต่ในที่สุดมันก็ต้องละตัณหาทั้งหมดเสีย ก็ด้วยความอยากความต้องการที่ไม่ใช่ตัณหา คือความต้องการที่ถูกต้องคือเป็นสัมมาสังกับโป ที่มาจากความเข้าใจที่ถูกต้องคือสัมมาทิฐิ แล้วก็มีการกระทำทางการพูด การคิด การเป็นอยู่อะไรให้มันถูกต้องไปหมด ก็จะเป็นคนละตัณหา ได้ทุกอย่างทุกประการ บรรลุถึงนิพพาน ซึ่งเป็นวัตถุที่ประสงค์ เท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ถ้าท่านพิจารณาดูให้ดีจะเห็นได้ว่า ความรู้เรื่องโลกุตรธรรมนั้น จำเป็นแก่คนทุกคนไม่ว่าเด็ก ไม่ว่าผู้ใหญ่ ไม่ว่าชาวบ้านหรือนักศึกษา หรือว่าฆราวาส หรือว่าเป็นบรรพชิต จะต้องมีความรู้เรื่องโลกุตรธรรม อย่างถูกต้องเพื่อจะได้เป็นคน ที่ถูกต้องตามความหมายของคน อย่าเป็นคนที่จมอยุ่ในกองกิเลส จนสูญความหมายของคำว่าเป็นคน หรือ เป็นคนก็สักแต่ว่าเป็นคนไม่ได้เป็นมนุษย์ คือไม่มีจิตใจสูง ถ้าจะมีจิตใจสูง นั้นต้องมาจากความรู้ เรื่องโลกุตรธรรม เพราะเหตุฉะนี้แหละเราจะต้องสั่งสอน ตั้งแต่เด็กเล็กๆ ให้มีความรู้ ในส่วนที่เป็นโลกุตรธรรมซึ่งจะได้ อธิบายให้ฟังต่อไป จะเป็นเด็กก็ดี จะเป็นชาวบ้านก็ดี ที่ต้องการจะสร้างเนื้อสร้างตัว จะพัฒนา ให้สูงยิ่งขึ้นไปแล้วก็ต้องการความรู้เรื่องโลกุตรธรรม เข้ามาช่วยกำกับอยู่เสมอ จึงจะมีการพัฒนาไปได้ จงดูตัวอย่างที่ปรากฏอยู่เวลานี้ก็แล้วกัน ว่าเราพัฒนาประเทศ หรือ พัฒนาอะไรก็ตาม ไม่ได้นั้น มันอยู่ที่ขาดความรู้ที่จะทำคนให้เป็นคน มันขาดความรู้ที่จะทำมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ เดี๋ยวนี้เราพัฒนาไม่ได้ ทั้งทีเรามีโครงการดีแสนจะดี โครงการนี้ก็ดี แล้วเงินก็มี เงินไม่มีไปกู้มาจากต่างประเทศได้ โครงการก็ดี เงินก็มี แต่แล้วมันพัฒนาไม่ได้ เพราะว่าคนนนั้นมันมัวไปเป็นโลกิยะเสียมากเกินไป คนนั้นมันเป็นคนเห็นแก่ตัวมากเกินไป เป็นโลกิยะคนมากเกินไป โครงการก็ดี เงินก็มี แต่แล้วมันก็พัฒนาไม่ได้ ปัญหานี้มันจะต้องแก้ด้วยการทำคนนั้นให้เป็นโลกุตระเสียบ้าง อย่างน้อยที่สุด ก็เพื่อจะไม่ให้เห็นแก่ตัว เป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว แต่เห็นแก่ธรรม ห้นแก่พระธรรม เห็นแก่ความจริง เห็นแก่ความถูกต้อง เห็นแก่ความยุติธรรม ความงามตามแบบของธรรม อย่างนี้มันก็พัฒนาได้ เดี๋ยวนี้มีแต่คอรัปชั่น เพราะคนมันเป็นโลกิยะมากเกินไป โครงการก็ดี เงินก็มี แต่แล้ว ก็พัฒนาไม่ได้ นี่ก้ขอให้ดูเถิดว่าแม้แต่เรื่องโลกแท้ๆ โลกิยะแท้ๆ มันก็มาติดขัดอยู่ตรงที่ขาดโลกุตรธรรม ความขาดโลกุตรธรรมทำให้เกิดการพัฒนาไม่ได้ แล้วก็มีนักพัฒนาคนไหนบ้างที่ พูดถึงโลกุตรธรรม มันก็ได้แต่หลับตาแก้ปัญหาไปตามลำพังของบุคคลที่เป็นโลกิยะมากเกินไปนั่นเอง เพราะว่ามันไม่รู้เรื่องโลกุตรกัน เสียเลยดังนี้ นี่เป็นปัญหาใหญ่ เป็นปัญหาเฉพาะหน้าเวลานี้ ที่ว่าต้องการจะพัฒนาแล้วมันเป็นไปไม่ได้ นี่ถ้าขืนจะพัฒนาให้ได้ มันก็ฝืนไปทางลงนรก ลงเหว เสียมากกว่า คือพัฒนาแบบที่ของคนเป็นโลกิยะ เป็นคอรัปชั่นอย่างที่เรียกกันอยู่ทั่วๆ ไป นี้เป็นหลักทั่วไปที่ว่าจะพัฒนาแล้วมีความรู้เรื่องโลกุตระ ทีนี้เราจะเหลียวไปดูเด็กๆ บ้าง เด็กที่ คลอดมาจากท้องแม่ เติบโตขึ้นมานี่ มันก็ต้องเติบโตขึ้นมาในสายของโลกุตรธรรม เพื่อให้เด็กนั่นมันเจริญด้วยโลกิยธรรม ชนิดที่ถูกต้อง มิฉะนั้นมันจะเจริญด้วยดลกิยธรรมชนิดที่กลับลงไปในเหว คือ ในกองทุกข์ มากขึ้นทุกที ถ้าเราสอนเด็ก ให้มีความรู้ประเภทโลกุตรธรรม แล้ว เขาก็จะประพฤติโลกิยะธรรม ได้ดีขึ้น คือ บังคับตัวเองได้ดีขึ้น สะดวกขึ้น ประพฤติโลกิยะธรรม สำหรับเด็กได้ดีขึ้น ได้สะดวกขึ้น ได้มั่นคงขึ้นเพราะมีความรู้ ชนิดที่ทำให้ไม่เห็นแก่ตัว การจะทำลายความเห็นแก่ตัวนั้นไม่มีเครื่องมืออย่างอื่น นอกจากธรรมะประเภทโลกุตระ คือที่จะสอนให้เห็นความไม่เห็นแก่ตัว ความไม่มีตัว ความว่างจากตัว แม้ในระดับต้นๆ สำหรับเด็กๆ เด็กที่มันมีความรู้ฝ่ายโลกุตระ มากขึ้นเท่าไร ก็จะเป็นเด็กที่น่ารักน่าดู หรือ มีความทุกข์น้อย มากเข้าเท่านั้น เราต้องการให้เด็กไม่มีความทุกข์เมื่อสอบไล่ตก เป็นต้นเสียดีกว่า อย่าไปเข้าใจว่ามันมีความรู้โลกุตระแล้วมันก็จะปล่อยให้สอบไล่ตก ความรู้เรื่องของโลกุตระนั้นล้วนแต่เป็นเรื่องของสติปัญญา มันต้องการจะก้าวหน้าไปอยู่เหนือโลก ฉะนั้นไม่ต้องกลัวว่าความรู้ฝ่ายโลกุตระนี้ จะทำให้เด็กไม่เล่า ไม่เรียน ไม่สนใจ ไม่พัฒนา มันมีสติปัญญาพอที่จะพัฒนา เป็นพื้นฐานอยู่เสมอไป และเมื่อไม่ประสบความสำเร็จในขั้นหนึ่งๆ มันก็ไม่ต้องเป็นทุกข์ เช่น สอบไล่ตก มันก็ไม่ต้องร้องไห้ มันควรจะมีความพยายามที่ดีขึ้นไปอีก เพื่อจะสอบให้ได้ พ่อตาย แม่ตาย มันก็ไม่ต้องร้องไห้ ตุ๊กตาตกแตก มันก็ไม่จำเป็นจะต้องร้องไห้ ถ้ามันร้องไห้ เราก็ถือว่ามันอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ต้องการการพัฒนาในทางจิตใจ ให้สูงขึ้นไปอีก ปัญหาส่วนใหญ่ เราต้องการจะให้เด็กเห็นแก่ตัว น้อยเข้า น้อยเข้าทุกที เพื่อเขาจะได้เติบโตมาเป็นสุภาพบุรุษผู้ไม่เห็นแก่ตัวได้ง่ายขึ้น เดี๋ยวนี้เราไปสอนให้เด็กๆ เห็นแก่ตัวมากขึ้น โดยวิถีทางหลายสิ่ง หลายอย่าง เล่นกีฬาเอาเด็กๆไปเชียร์พวกของตัว อย่างนี้เรียกว่าเพาะนิสัยความเห็นแก่ตัว หรือ พวกของตัว นั่นแหละคือความขาดโลกุตรธรรม เพราะความโง่เขลาของผู้ใหญ่ที่ไม่ต้องการจะให้เด็กๆเจริญก้าวหน้า ไปในทางของโลกุตรธรรม เหมือนกับขุดหลุมฝังเด็กๆ เหล่านี้ทั้งเป็น ให้มันจมอยู่ในความเห็นแก่ตัว ถ้าเด็กๆได้รับคำสั่งสอนในทางโลกุตระถึงกับว่าไม่ไปคอยเชียร์พวกตัวในสนามกีฬา มันเป็นการปรับปรุงเด็กเหล่านี้ให้พร้อมที่จะเติบโต เป็นเด็กที่ถูกต้อง เป็นมนุษย์ที่ถูกต้อง ตามความต้องการของธรรมชาติ คือเขาเป็นคนเห็นแก่ตัวน้อยลงๆ ตามความเติบโตขึ้นมา เดี๋ยวนี้เด็กของเรา ล้วนแต่มีความเห็นแก่ตัวมากขึ้นๆ ตามความเติบโตขึ้นมา เป็นหนุ่มเป็นสาว บางทีบ้าอยู่กับความเห็นแก่ตัว เลยเถิดไปถึงเห็นแก่ความสุขทางเนื้อ ทางหนัง เลยกลายเป็นคนที่ไม่มีอะไรเป็นความดีเหลืออยู่สำหรับความเป็นมนุษย์ มีแต่การบูชาความสุขทางเนื้อ ทางหนัง เป็นความเจริญของโลกสมัยใหม่มีอยู่อย่างนี้ ทีนี้ถ้าเด็กได้รับการอบรมในทางโลกุตรธรรมตามสมควรแล้ว ก็จะเป็นเด็กที่มีจิตใจดีขึ้น คือเป็นเด็กที่สมาธิที่เป็นองค์ประกอบของอรอยมรรคมีองค์ ๘ นี้มากขึ้น เป็นจิตใจที่มีคุณธรรมเพียงพอ เพราะมีความเป็นสมาธิ ซึ่งมาจากความรู้ทางฝ่ายโลกุตระ คือ ไม่ปล่อยให้ตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลส ความไม่เป็นสมาธินั้นก็ความความตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลสอย่างหนึ่ง ที่นี้เราอบรมให้เป็นผู้ที่มีความมุ่งหมายจะยกจิตใจขึ้นมาจากกิเลส มันจึงจะมีจิตที่มีสมรรถภาพ คือมีลักษณะเป็นสมาธิ คือ บริสุทธิ์ สะอาดดี เป็นจิตที่บริสุทธิ์สะอาดดี ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เป็นจิตที่มีกำลังมากตามกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ ที่ว่าเมื่อเป็นสมาธิแล้วมันก็มีกำลัง แล้วก็เป็นจิตที่พร้อมที่จะทำงานตามหน้าที่ของจิต ที่เรียกว่าเป็นกัมมันนียจิต เมื่อเด็กๆเขามีจิตอย่างนี้ ก็ลองคิดดูเถิดว่ามันพัฒนา ไปแล้วเท่าไร เป็นเด็กที่เรียนได้ดี การเรียนของเขาดีขึ้น การงานของเขาดีขึ้น การบังคับตัวเองของเขาดีขึ้น หรือ ดีมาก แม้แต่เด็กๆ ก็จะได้รับประโยชน์จากพระธรรม ในประเภทโลกุตรธรรมได้มากถึงอย่างนี้ ทั้งหมดนี้ เพื่อจะชี้ในข้อเดียวว่า ธรรรมในโลกุตรนั้น อย่าได้แยกออกไปเสียจาก โลกิยะธรรมเลย แม้จะเป็นเรื่องในบ้านในเรือนก็ขอให้ประกอบ อยุ่ด้วยโลกุตรธรรมเสมอไป มิฉะนั้นจิตจะตกต่ำลงไปอยู่ใต้อำนาจ ของพญามาร ของซาตาน คือสิ่งที่จะย่ำยีให้สูญเสียความเป็นมนุษย์นั่นเอง โลกุตรธรรมที่จะได้มจากความรู้ความเข้าใจถูกต้องที่เรียกว่าวิปัสนา นั้นต้องมีในที่ทั่วไป ด้วย นอกจากจะมีในบุคคลทุกระดับ ทุกวัย จะต้องมีใน พูดได้ทั่วไปว่ามีในทุกหนทุกแห่ง จะเป็นเรื่องในครัว หรือในห้องน้ำ หรือ ในบ้าน ในป่า ใน อะไรก็ตาม จะต้องมีการประพฤติกระทำที่ถูกต้องตามกฏเกณฑ์ของโลกุตรธรรม ครั้งหนึ่งได้อธิบายประโยชน์ ของธรรมะอย่างนี้ แม้แต่ในครัว จนขนานนามกันขึ้นว่าวิปัสนาตำน้ำพริก เมื่อแม่ครัวจะตำน้ำพริก ต้องมีสติสัมปชัญญะมากเป็นพิเศษ ไม่อย่างนั้นสะเก็ดพริกมันจะเข้าตา มันไม่มีความรู้ในทางวิปัสนา ทางโลกุตระเสียบ้าง เพียงแต่เศษพริกเข้าตา มันก็มีอาการของคนบ้า ไม่น่าดู ถ้ามีความรู้ทางโลกุตระธรรมบ้าง มันอาจจะหัวเราะก็ได้ หรือว่า ในครัวทำอาหารไม่อร่อย ก็เกิดเรื่องโกลาหลวุ่นวายเหมือนกับบ้านจะแตก สาแหรกขาด ก็เพราะว่าคนเหล่านั้น มันเป็นทาสของกิเลสตัณหา เป็นทาสของลิ้นมากเกินไป เพียงแต่กับข้าวไม่อร่อยมันก็เกิดเรื่องเกิดราวได้ แม้แต่ที่ธรรมชาติมันสร้างมาให้เอง เช่น ผลไม้ บางคราวมันก็ มีรสไม่ดี ไม่หวานพอ คนมันก็โกรธแล้ว มันเป็นคนโง่ ถ้ามันมีสติปัญญามีวิปัสนาบ้าง มันก็จะคิดว่านี่ มันเป็นอย่างนี้เอง เราถือเสียว่ามันเป็นผลไม้อย่างหนึ่ง มันมีรสชาดอย่างนี้เอง บางคราวไม่มีเนื้อ แตงโมจะกินก็ควรจะกินเปลือกแตงโมได้ โดยถือเสียว่ามันเป็นผลไม้อย่างหนึ่ง มันมีรสชาดอย่างนี้เองแล้วก็ไม่ต้องเสียดาย ไม่ต้องวุ่นวาย ไม่ว่าในครัวมันก็ต้องมีธรรมะประเภทโลกุตระ เข้าไปช่วยค้ำจุนไว้อย่างนี้ หรือว่าในห้องน้ำ ห้องส้วม เมื่อสิ่งต่างๆไม่เป็นไปตามที่ต้องการ มันก็เกิดความอึดอัดขัดใจเป็นความทุกข์ได้ มีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการประพฤติที่ถูกต้อง การกระทำที่ถักต้องอยู่ในที่ทุกหนทุกแห่ง ด้วยความอดกลั้นอดทน มีสติสัมปชัญญะทันควัน หรือ เพียงพอ แก่เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นเสมอ สิ่งเหล่านี้มันอาศัยหลักที่ว่ารู้ความจริงธรรมชาติ ในข้อที่ว่าไม่มีอะไรที่จะเป็นไปตามความประสงค์ของเราเสมอไป สิ่งต่างๆต้องเปลี่ยนแปลง สิ่งต่างๆต้องเป็นไปตามกฏของธรรมชาติ ในตัวของมันเอง ทีนี้คนเราก็มีหน้าที่การงานต่างๆตามคนธรรมดาสามัญ คนหนุ่มคนสาว เป็นคนนักธุรกิจที่ประกอบกิจการงาน เพื่อให้เกิดผลได้แก่ตน ถ้าไม่มีความรู้ เรื่องโลกุตรธรรมเข้ามาช่วยกำกับ ไว้บ้างแล้ว มันจะต้องเป็นบ้า เมื่อการงานกำลังก้าวหน้า มันก็เป็นบ้าได้อย่างหนึ่ง เมื่อความวิบัติมาถึงมันก็เป็นบ้าไปอีกอย่างหนึ่ง หาความสุขไม่ได้ คือ หาความปกติไม่ได้ ถ้าการงานก้าวหน้ามันทำให้โลภมากขึ้นจนกลายเป็นทุจริต แสวงหาเลยขอบเขต จนเป็นทุจริตเสียก็มี แล้วก็มีอยู่โดยมาก แล้วก็มีอยู่แล้ว ทีนี้ที่ดีกว่านั้นก็คือว่า ถ้ามีความรู้เรื่องโลกุตรธรรมประจำใจ แล้วก็จะไม่ทำอะไรที่เป็นความอุตริ วิตถาร ความอุตริวิตพถารนั้น ทำความยุ่งยากลำบากเสมอ แล้วก็ไม่น่าดู ในการแสวงหาปัจจัยเครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตก็ดี ในการมีปัจจัยเครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตไว้ก็ดี ในการบริโภคใช้สอยปัจจัยเครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตไว้ก็ดี เหล่านี้ต้องไม่เป็นสิ่งที่วิตถาร หรือ อุตริ แม้แต่การบริโภคกามารมณ์ ทางอายะตนะ ทางเพศ ก็ต้องไม่อุตริวิตถาร การที่จะไม่อุตริวิตถาร ก็ต้องอาศัยหลัก ธรรมะประเภโทลกุตระทั้งนั้น ถ้าไปบูชาธรรมะประเภทโลกิยะแล้ว มันก็จะอุตรวิตถารในการบริโภคกามารมณ์ทุกอายะตนะ ไม่ว่าทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย หรือ ทางใจ นี่แหละขอให้มองกันลักษณะอย่างนี้บ้าง ว่าโลกุตรธรรมนั้นจำเป็นเสมอ ไปในทุกหนทุกแห่ง ในทุกชีวิตการงานทุกหน้าที่ ทุกระดับ และอย่าได้รังเกียจทางมาของโลกุตรธรรมคือสิ่งที่เรียกว่าวิปัสนา สิ่งที่เรียกว่าวิปัสนานั้นกำลังถูกล้อ ถูกเอาไปล้อ นั้นมันก็มีเหตุผลเพราะว่าวิปัสนาบ้าๆ บอๆ มันก็ยังมี วิปัสนาหาประโยชน์เพิ่มความเห็นแก่ตัว อย่างนี้มันก็ยังมี แต่ถ้าเป็นวิปัสนา ที่ถักต้องแล้วมันมี่ประโยชน์อย่างยิ่ง เพื่อจะให้เกิดความรู้ทางฝ่ายโลกุตรธรรม วิปัสนาที่ถูกต้อง แม้จะเป็นเพียงสมาธิเท่านั้นก็เป็นประโยชน์ จะช่วยส่งเสริมสมรรถภาพทางจิต ให้เป็นจิตที่ประกอบไปด้วยสมาธิ มีองค์คุณสมบัติ ๓ ประการ อย่างที่กล่าวมาแล้ว คือ จิตสะอาดดี จิตมั่นคงเข้มแข็งดี จิตว่องไว ควรแก่การงานดี อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นผลอันประเสริฐของสิ่งที่เรียกว่าวิปัสนา แม้ในการพัฒนาคนอย่างโลกๆ อย่างบ้านเรือน อย่างโลกิยะธรรม เราก็ต้องอาศัยสิ่งทีเรียกว่าวิปัสนา เป็นเครื่องมือสำหรับฝึกฝนจิตใจ ของคนเหล่านั้นให้ปนะกอบไปด้วยสมรรถภาพ คือ สมาธิ ทีนี้ถ้าเป็นวิปัสนา ในขั้นปัญญามันก็ส่งเสริมการพัฒนายิ่งขึ้นไปในแง่ที่ไม่มีความเห็นแก่ตัว ดังที่ได้กล่าวมาแล้วตอนต้นว่า โครงการก็ดี เงินก็มี แต่แล้วก็พัฒนาไม่ได้ เพราะคนมันเป็นโลก หรือ โลกิยะ เกินไป แต่ถ้าอาศัยวิปัสนา ที่ถูกต้องตามแบบของพระพุทธเจ้า ซึ่งท่านก็ไม่ได้เรียกว่าวิปัสนา ท่านเรียกว่าการ อบรมจิตใจหรือการพัฒนาจิตใจ เหมือนกัน ให้มีปัญญาเกิดขึ้นแล้ว บรรเทาความเห็นแก่ตัวเสียแล้ว เราก็เป็นคนดี ในโลกนี้ สำหรับการพัฒนา วิปัสนาที่ถูกต้องนั่นแหละคือตัวศาสนา ตัวศาสนาในที่นี้ก็คือมีธรรมะ ประเภทโลกุตระที่จะดับทุกข์ได้โดย สิ้นเชิง สำหรับก้าวไปตามลำดับ ๆ จากโลกิยะ ไปสู่โลกุตระ ไม่มีส่วนไหนที่จะขัดกัน กับการพัฒนา การวิปัสนา ไม่จำเป็นจะต้องมุ่งหมายความเป็นพระอรหันต์ มุ่งหมายแต่เพียงว่าจะมีจิตที่มีสมรรถภาพ มีปัญญา เฉลียวฉลาดรวดเร็ว อย่างนี้ก็ยังได้ สามารถจะช่วยให้คนที่อยู่ในโลกนี้ เป็นสัตบุรุษขึ้นมา เป็นคนดีขึ้นมา มีคนดีอยู่ในโลกนี้ พอที่จะช่วยกันพัฒนา หรือทำสิ่งต่างๆให้มันสำเร็จลุล่วงไปได้ ทั้งที่โครงการก็ดี เงินก็มี แต่แล่วพัฒนาไม่ได้ อย่าถืออะไรให้มากเกินไปกว่าที่จะถือว่า สิ่งที่เรียกว่าวิปัสนา สมัยปัจจุบันนี้ก็เป็นเพียงการจัดการกับจิตใจให้มันมากขึ้นสักหน่อย เพราะว่าจิตใจได้ถูกปล่อยปละละเลยกันมานานนักหนาแล้ว เป็นจิตใจที่เหมือนกับสัตว์ป่าที่ถูกปล่อยปละละเลย ให้หลงไหลไปในเรื่องของวัตถุนิยม เป็นทาสของวัตถุ เป็นทาสของกิเลสตัณหา เป็นทาสของความสุขทางเนื้อ ทางหนัง หันหลังให้ศาสนา หันหลังให้พระธรรมกันไปหมดแล้ว เดี๋ยวนี้วิปัสนาก็เป็น เหมือนกับเครื่องมือที่จะจับจิต เหล่านี้มาขูดเกลากันเสียใหม่ ให้มันพอเหมาะสมเท่านั้นเอง สำหรับจะเป็นมนุษย์ อยู่ในโลกสมัยนี้ มีความเจริญทางจิตใจ ควบคู่กันไปกับความเจริญทางวัตถุ จึงไม่ถือว่าเรื่องวิปัสนานี้มันจะขัดกับการพัฒนา ไม่ว่าในแง่ไหนๆหมด วิปัสนากำลังเป็นสิ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งกับคนในโลกในสมัยปัจจุบันนี้ คนในโลกในสมัยปัจจุบันนี้กำลังไม่เหลียวดูแลสิ่งที่เรียกว่าจิต ปล่อยให้จิตเป็นบ้า เป็นหลัง เป็นป่า เป็นเถื่อน ไปเสีย คือไปเป็นทาสของวัตถุนั่นเอง วิปัสนาจะทำให้เป็นเครื่องสนใจกับสิ่งที่เรียกว่าจิตกันเสียใหม่ แล้วคนก็จะไม่เป็นทาสของวัตถุมากขึ้นเหมือนกับที่กำลังเป็น โลกุตรธรรมทั้งปวงจะช่วยได้ ในการที่จะดึงมนุษย์ไว้ในความปลอดภัยในลักษณะอย่างนี้ ทีนี้ก็มาดูกันอีกแล่หนึ่งซึ่งมันยังเนื่องกันอยู่ ว่าโลกุตรธรรมนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับมนุษย์ในสมัยปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นทาสของวัตถุมากขึ้นทุกทีดังที่กล่าวมาแล้ว ข้อนี้เล็งถึงสิ่งที่ จะเป็นอำนาจหรือกำลังดลบันดาล ให้คนเราตั้งอยู่ในขอบเขตของพระธรรม คือการปฏิบัตธรรม มีความตั้งใจจะปฏิบัติธรรมนั่นเอง เราจะเอาอะไรมาเป็นกำลังที่เรียกว่า Motive หรือเหตุ ที่จะให้คนเราตั้งหน้าตั้งตาประพฤติธรรม ในสมัยก่อนสมัยโบราณนั้น ในสมัยที่คนยังถือศาสนาเคร่งครัด ความที่กลัวนรก หรือ อยากได้สวรรค์นั่นแหละเป็น เหตุให้ประพฤติธรรมที่ดีสุด เท่าที่จะทำได้ หรือว่ามีพระเจ้าเป็นที่ยึดหน่วง เป็นที่ยึดถือ คนก็ตั้งหน้าตั้งตาประพฤติธรรม ฉะนั้นตกมาถึงสมัยนี้ คนไม่กลัวนรก ไม่อยากได้สวรรค์ ไม่มีพระเจ้า พระเจ้าตายแล้วอย่างที่ พวกฝรั่งเขาพูดกันแล้วจะเอาอะไรมาเป็นที่ดลใจ หรือ บันดาลให้ คนเรานี้ประพฤติธรรม ในสมัยที่เป็นประชาธิปไตย เปิดกว้างในทางอิสรภาพ เสรีภาพ ใครจะคิด อย่างไรก็ได้อย่างนี้ สิ่งที่เป็นกำลังให้ประพฤติธรรม มาแต่สมัยโบราณนั้นมันก็เป็นหมันไป มันก็ต้องหาสิ่งใหม่เข้ามาแทน แล้วสิ่งใหม่นี่แหละ คือของทีเก่าอย่างยิ่ง คือ ความรู้ความเข้าใจใน เรื่องโลกุตรธรรมที่ถูกต้อง ซึ่งในสมัยนี้อาจจะมาตั้งอยู่ในลักษณะที่เป็นปรัชญา ของโลกุตระธรรมคือ อาศัยกฏเกณฑ์ของธรรมชาติเป็นหลักให้เห็นความจริง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรื่องความทุกข์ที่เกิดขึ้น เพราะความโง่ ความหลง ความยึดมั่น ถือมั่นเป็นต้นแล้ว มีโลกุตรธรรมอย่างนี้แจ่มแจ้งอยู่ในใจแล้ว คนในสมัยประชาธิปไตยก็จะเกิดกำลังใจในการที่จะประพฤติธรรม ขึ้นมาได้เหมือนกัน ถ้าเมื่อขาดสิ่งนี้เสียอีกสิ่งหนึ่งแล้ว คนในสมัยประชาธิปไตยนี้ก็จะประชาธิปไตย แต่ในทางที่จะแย่งกันลงไปสู่ในนรก หมกจมอยู่ใน ความทุกข์ยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม ก็ต้องมีปรัชญา ของโลกุตรธรรมมาให้เลือกอย่างอิสระเสรี แก่มนุษย์ในสมัยประชาธิปไตยนี้ ขอให้ทุกคนถือว่ายิ่งเป็นประชาธิปไตยเท่าไหร่ โลกุตรธรรมยิ่งจำเป็นสำหรับคน ที่ต้องการอิสระ และ เสรี มากขึ้นเท่านั้น เป็นอันว่าระบบของโลกุตรธรรม ยังคงจำเป็นอยู่ และ จำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับโลกในสมัยนี้ หวังว่าท่านทั้งหลาย ทุกคนจะได้พิจาณาดูให้ดี ให้สมกับที่วันนี้เป็นวันมาฆะปุณมี เป็นวันที่ระลึกแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย ผุ้อยุ่เหนือโลกแล้วดดยประการทั้งปวง และได้ทิ้งร่องรอยแห่งธรรมะสำหรับจะอยู่เหนือโลกนั้นไว้เป็นมรดกตกทอดสืบๆกันมาจนถึงพวกเราทั้งหลายในวันนี้และที่นี่ เราจะรับเอามรดกนั้นได้อย่างไรก็ขอให้ พนิจพิจารณาดูให้ดี กันจงทุกๆคนเถิด อาตมามีความเห็นอย่างนี้ ว่าเราจะต้องเพิ่มความสนใจในสิ่งที่เรียกว่าโลกุตรธรรม คือธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพระอรหันต์นั้นให้มากยิ่งๆขึ้นไปจงทุกๆคนเถิด เพียงแต่จะละความชั่วแล้วทำความดีนั้น มันยังไม่สามารถที่จะดับความทุกข์ทั้งปวงได้ จะต้องพยายามกระทำจิตให้หมดจดจากกิเลส ความโง่ ความหลง ความโกรธ ความยึดมั่นถือมั่น หรือ สรุปแล้วคือ ความเห็นแก่ตัว มีมีตัวกู ของกู นี้ ให้หมดสิ้นไปเสียก่อน เราจึงจะได้รับมรดกของพระอรหันต์ โดยบทที่ว่าเป็นผู้อยู่เป็นสุข ทั้งในโลกอย่างนี้ และ ในโลกอย่างอื่น ทุกๆประการดังที่ได้กล่าวมา เป็นเครื่องประดับสติปัญญา สมควรแก่เวลาแล้ว ขอยุติธรรมเทศนา เอวังก็มีด้วยประการละฉะนี้