แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เออ, การบรรยายในครั้งนี้ อ่ะ, เป็นการบรรยายพิเศษ เรื่อง สิ่งที่จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่จะ ลาสิกขา ตามความต้องการของสมาชิก จำนวนหนึ่ง ซึ่งจะต้อง ลาสิกขา แล้วก็ต้องการจะ ได้ฟังเป็นพิเศษ ถึงเรื่องที่เป็นประโยชน์ อื้อ, แก่การที่จะลาสิกขาออกไปเป็นฆราวาส อื้อ, สำหรับประโยชน์ หรือ เออ, หน้าที่ ที่ผู้ลาสิกขาไปแล้วจะต้อง ทำจนได้รับประโยชน์นั้น มันก็เนื่อง อ่า, กันอยู่กับการบวชเข้ามา อื้อ, ถ้าเราทราบว่าบวชเข้ามาเพื่อประโยชน์อะไร การลาสิกชาออกไปก็หมายความว่า ได้รับ สิ่งนั้น เออ, ประโยชน์อันนั้น สิ่งนั้นกลับออกไป นี่เป็นคำตอบ ที่ถูกต้องที่สุด อื้อ,
สำหรับการให้คนหนุ่มบวช ชั่วคราวชั่วขณะนี้ เป็นธรรมเนียม มาแต่ดึกดำบรรพ์ คือว่ารู้ไม่ได้
ว่ามันสัก เท่าไร คือ ก่อนพุทธกาล ก็เห็นจะมีอยู่แล้ว อื้อ, คำว่า บวชในกรณีอย่างนี้ ไม่ใช่บวช เป็นภิกษุ ในพุทธศาสนา แต่หมายถึง การเข้าไปอยู่ในอาศรม ใดอาศรม หนึ่ง ซึ่งมี อ่า, ครูบาอาจารย์ควบคุม ตลอดเวลาระยะหนึ่ง อื้อ, จนกว่าจะครบ ตามหลักสูตร แล้วก็ลากลับออกมาเพื่อจะไปอยู่บ้าน อื้อ, คนที่ผ่านหลักสูตร ในอาศรม หนึ่ง ๆ อย่างสมบูรณ์ แล้วกลับออกมาอย่างนี้ เขาเรียกว่า บัณฑิต อื้อ,
คำว่า บัณฑิต นี้ ใช้กรณีเช่นนี้ ใน อ่า, อินเดียมาตั้งไม่รู้ว่า นานเท่าไร จนเดี๋ยวนี้ก็ยังมีใช้อยู่ อื้อ,
นี่ถ้าว่าไปอยู่ในอาศรม ชนิดที่ ไม่กลับออกมาเป็นฆราวาส แต่ปฏิบัติเพื่อทำลายกิเลส จนสิ้นสุด หลักสูตรไปแล้วเป็นที่พอใจของครูบาอาจารย์แล้ว เขาเรียกว่า จบหลักสูตรนั้นแล้ว ก็เป็นนักบวชตลอดไป อย่างนี้เขาเรียกว่า สามี หรือสฺวามี อื้อ, สฺวามี แปลว่า นาย สามี ก็ตาม อือ, สามี เป็นคำบาลี สฺวามี เป็นคำ สันสกฤต คำนี้แปลว่า นาย เดี๋ยวนี้คนนี้มันเป็นนายตัวเอง ได้แล้ว ไม่ต้องมีใครมาช่วยเป็นนาย นี้เขาเรียก ว่า สฺวามี คือ บังคับกิเลสได้ ปกครองตัวเองได้ อื้อ, อยู่เหนือ เออ, กิเลสเหนือความชั่ว อย่างนี้เรียกว่า สฺวามี
ถ้าหากว่าจะต้องออกมาเป็นฆราวาส ก็เรียกว่า บัณฑิต นี้วิชาที่เขาสอนสำหรับผู้ที่จะกลับออกมา เป็นฆราวาสเป็นบัณฑิต นี่ ก็มีเพียง เรียกว่าข้อเดียวก็ได้ อือ, คือ การบังคับตัวเองให้ได้ อื้อ, นี่คงจะถือ หลักว่า เออ, ไอ้รู้ว่าดีชั่วนั้นมันไม่ยาก พูดกันไม่กี่คำก็ ก็รู้ แต่ว่าการที่จะบังคับตัวเอง ให้เว้นความชั่ว แล้วปฏิบัติ ความดีให้ได้นี่ นี้มันยาก มัน มันยาก ลำพังพูดกันก็ไม่สำเร็จ ปฏิบัติอยู่อย่างเคร่งครัด เคร่งเครียด มันก็ยังไม่ค่อยจะสำเร็จ นั้นจึงต้องทำไประยะหนึ่ง จนกว่าครูบาอาจารย์จะบอกว่า เออ, นี่ใช้ได้ จึงจะลาออกมาเป็นฆราวาส อื้อ, ที่ดี
อ่า, เรื่องนี้ อ่า, มันก็พอจะเปรียบเทียบกันได้กับ เรื่องที่เก่าแก่ดึกดำบรรพ์เกินกว่านั้นไปอีก ก็คือ เรื่องที่ว่า เออ, มาณพคนหนุ่มนี้ ออกไปหาฤาษีชีไพร ในดงในป่าที่ว่ามีชื่อเสียง ไปศึกษาศิลปศาสตร์ เป็นที่พอใจแล้ว ก็กลับมาครองบ้านครองเมือง สามารถเอาชนะปัญหาต่าง ๆ ได้ อือ, ในทาง บ้านเมือง อื้อ, ไอ้นั้นมันเรื่องบ้านเมือง เรื่องโลก เรื่อง เออ, เป็นอยู่อย่างโลก ๆ คือ มีฝีมือในการใช้อาวุธ หรือรู้จักอะไร ต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับโลก ๆ มากไป อือ, ส่วนที่ไปอยู่ในอาศรม อือ, เพื่อรู้จักบังคับตัวเองให้ละกิเลสนี่ มันก็เป็นเรื่องทางธรรม หรือทางจิต ทางวิญญาณมาก
เดี๋ยวนี้เราก็ อยู่ในพวกหลังนี้ จะบวชชั่วคราวตามประเพณี หรือว่าถือโอกาส ฉวยโอกาสบวช ระหว่างปิดภาคอย่างนี้ มันก็มีความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน อือ, เพื่อเข้าไปอยู่ใน กรอบ อือ, หรือระเบียบ แล้วก็ปฎิบัติ ที่เรียกว่า อาศรม อือ, อาศรม นั้นเขาไม่ได้หมายความว่าเป็นไอ้ สำนักฤาษี สำนักโยคีนะ เขาหมายถึง ระเบียบปฏิบัติ ที่ต้องปฏิบัติพร้อมกันมาก ๆ อือ, ก็เลย เรียกไอ้ที่อยู่ของคนที่ปฏิบัติกันมาก ๆ
นั้นว่า อาศรม ไปเสียด้วย อื้อ,
นี้ก็เราออกมาสู่อาศรม อือ, อย่างบรรพชิตนี่ พักหนึ่ง อื้อ, ออกมา เข้าอาศรม นี้ โดยหวังว่าเราจะ ได้รับประโยชน์ เป็นพิเศษ อื้อ, บางคนก็รู้ว่าประโยชน์นั้นคืออะไร บางคนก็ยังไม่รู้ อ่า, ลองดูเถิด อือ, เขาว่ามันคงจะมีประโยชน์ก็เอา เขาว่าจะได้บุญก็เอา อื้อ, แต่ถ้าว่าจะเอาประโยชน์แล้วก็ ความหมายนี่ จะอยู่ตามเดิม คือว่า เข้ามาสู่ ระเบียบปฏิบัติที่เป็นการบังคับตัวเอง อื้อ, อย่างสุดความสามารถนี่ เราเป็น ฆราวาสอยู่ก่อนนั้น มันมีแต่ความรู้ ที่เรียน ๆ ท่อง ๆ จำ ๆ หรือเข้าใจ อื้อ, แต่ไม่สามารถบังคับตัวเอง
ให้ เออ, เป็นอย่างนั้นได้
เรียนรู้เรื่องศีล เรื่องอะไรก็ ก็รู้ แต่ว่าไม่ ไม่สามารถบังคับตัวเองให้ เออ, ทำให้ได้ตามนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การควบคุมตัวเองไม่ให้ไปตามอำนาจกิเลสนี่ หรือว่า ความอดกลั้นอดทน ต่อ เออ, ความบีบคั้นของกิเลสนี่ ในฆราวาสมันไม่มี เพราะว่าเขาไม่ต้องการ เพราะว่าการปล่อยไปตามอำนาจ ของกิเลสนั้นมันสนุกสนาน เอร็ดอร่อย เรียกว่า ความสุขอย่างฆราวาส อื้อ, แล้วมันเลยขอบเขต จนกลายเป็นความทุกข์ หรืออาจที่จะกลายเป็นความทุกข์เมื่อไหร่ก็ได้ ถ้าเราไม่สามารถจะห้ามล้อ ไม่สามารถจะควบคุม ไอ้สิ่งที่เรียกว่า กิเลส
ดังนั้นถ้าออกมาบวชเสียสักคราวหนึ่ง เออ, บวชจริงกัน ไม่ใช่บวชเล่น ๆ กัน มันก็มีโอกาสที่
จะเป็นการบังคับตัวเอง อย่างจริงจังระยะหนึ่ง เดือนหนึ่ง สองเดือน สามเดือน แล้วแต่จะบวชได้ อย่างนี้แหละ คือ ประโยชน์หรืออานิสงส์ ที่มันจะได้กันจริง ๆ ถ้าผิดจากนี้มันก็ ได้อานิสงส์ อือ, อย่างละเมอ ๆ ตามประเพณี อื้อ, ฉะนั้นขอให้ผู้ที่จะลาสิกขานี่ มองเห็นสิ่งนี้ อือ, นี่เป็นวัตถุมุ่งหมาย ของการบวช เป็นข้อแรก หรือเป็นข้อสำคัญ ส่วนเรื่องนอกนั้นมันเป็น ผลเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นว่า จะมีโอกาสศึกษาเป็นพิเศษอย่างนี้ ในหลักธรรมะ มันก็เป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะว่าไม่บวชก็ศึกษาได้ สำหรับสมัยนี้ อื้อ, แต่โอกาสที่จะ เออ, บังคับจิตใจนี่ มันหายาก เออ, ในเพศฆราวาส นั้นการบวชจึงเหมาะ
การบังคับจิตใจ อย่างรุนแรง ให้มันอยู่ในอำนาจ หรือควบคุมไว้ให้มันอยู่ในอำนาจ เปรียบเสมือน เออ, ควาญช้างที่ฉลาด บังคับช้างตกน้ำมัน ไว้ได้ในอำนาจแห่งตนอย่างนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุเป็นผู้บังคับ จิตควบคุมจิต ให้อยู่ในอำนาจแห่งตน เหมือนควาญช้างที่ฉลาดบังคับช้างที่ตกน้ำมันให้อยู่ในอำนาจ แห่งตน เขาเปรียบช้างเหมือน เออ, เปรียบจิตเหมือนช้างตกน้ำมัน นี้เป็นเรื่องที่ถูกต้อง จิตนี่พอ พอไป บังคับเข้ามันอาละวาด มันดิ้นรน มันต่อสู้ มันจะทำอันตรายอะไร เหมือนกับช้างตกน้ำมัน
นี่เราก็มาในลักษณะที่ฉลาดกว่า หรืออดทน หรือพากเพียร หรืออะไรก็รวมกันเข้าไป ให้เป็น ผู้บังคับจิตได้ ควบคุมจิตได้อยู่ใน เออ, เหตุผล อยู่ในสติ อยู่ในอำนาจของสติปัญญา นี้พอออกไปเป็น ฆราวาสก็เป็นผู้ที่บังคับ จิตได้ใน ใน ในหลาย ๆ ด้าน ให้มันอยู่ในเหตุผลให้มันอยู่ใน เออ, ความรู้สึก ผิดชอบชั่วดี อื้อ, ตามที่เรารู้อยู่ก่อนแล้วนะ แต่เราบังคับไม่ได้ เออ, เดี๋ยวนี้เราก็กลายเป็นผู้ที่บังคับได้ อื้อ, ถ้าได้อย่างนี้ก็เรียกว่า เป็นบัณฑิตกลับออกไป สู่เพศฆราวาส
เอาละทีนี้ เออ, ก็ยังมีผลพลอยได้อย่างที่ว่า คือ วิชาความรู้ ที่จะมาเรียนได้ดีในเวลาบวชนี้ก็ยังมี อยู่ เช่น ความรู้ลึก ๆ ที่เรียกกันว่า ปรมัตถ์ หรือว่า เออ, เรื่องที่ลึกซึ้ง ในพุทธศาสนานี่ เช่น เรื่องความว่าง เรื่องตัวกูของกู อย่างนี้ อื้อ, ถือโอกาสศึกษาให้เข้าใจยิ่งขึ้น แล้วก็เอาไปใช้ประโยชน์ให้ได้ นี้ก็เป็นผล อือ, ที่ดีมากเหมือนกัน เพราะมันรวมอยู่ในการบังคับ เออ, ตัวเองได้ ถ้าใครมีความรู้เรื่อง เออ, เรื่องความว่าง หรือเรื่องไม่ยึดมั่นถือมั่นนี่ จนเอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้ นั้นก็คือ บังคับตัวได้ อื้อ,
เดี๋ยวนี้เราก็ เออ, มันมีอะไรหลาย ๆ อย่าง ที่ทำให้เต็มที่ไม่ได้ แต่เท่าที่ทำได้นี่ก็ไม่น้อย ดังนั้นก็ขอ ให้ถือเอาเรื่องบังคับ จิตได้นี้เป็นเรื่องแรก เป็นประเด็นสำคัญ แล้วนอกนั้นก็เป็นไอ้ประเด็น ที่มันแวดล้อม อยู่กับประเด็นนี้ เพราะว่าการบังคับจิต นี้มันก็มีหลาย ๆๆ หลายลักษณะ หลายระดับ บังคับอย่างซึ่งหน้า อย่างนี้มันก็ โกลาหลวุ่นวาย เออ, แต่ถ้าเราบังคับอย่างอุบายที่ลึกซึ้ง ไม่มีโกลาหลวุ่นวาย ก็ยังบังคับได้ ดีกว่า อื้อ, ดังนั้นการบังคับจิต หรือการบังคับกิเลส ด้วยกำลังของจิตเอง กำลังของใจอีกทีหนึ่งนี้ มันก็เป็นเรื่องที่ เรียกว่า มีการต่อสู้ดิ้นรน อือ, ไม่สงบหรอก อื้อ, แต่ถ้าบังคับด้วยกำลังของปัญญา สติปัญญา อ่า, มาเหนือกว่า เป็นอุบายที่เหนือกว่า กิเลสเป็นฝ่ายที่ไม่รู้เท่าทันนั้น อื้อ, ก็บังคับมันได้ดีกว่า แนบเนียนกว่า เรียบร้อยกว่า อื้อ,
ส่วนเรื่องศีล นั้นเป็นพื้นฐานสำหรับช่วย ถ้าอยู่ในระเบียบของศีลแล้ว ไอ้การที่จะบังคับจิต หรือว่าจะมีปัญญา นั้นมันมีได้ง่ายเหมือนกัน มันมีได้ง่ายกว่าที่ไม่มีศีล นั้นเราก็ไปเป็นคนที่มีศีลอยู่เป็น ปกติ ถือหลักของศีลให้ถูกต้อง แล้วความเป็นอยู่ชนิดนั้น มันส่งเสริมให้ ให้ ให้มีกำลังจิต ชนิดที่เพียงพอ ที่จะบังคับกิเลส อื้อ, แล้วกำลังจิตนี้ มันมาช่วยในกำลังปัญญา ที่จะรู้เท่าทันกิเลส แล้วบังคับมันด้วย อุบายอันแยบคาย แล้วมันรับได้ดี ก็เป็นอยู่อย่างที่เรียกว่า ชนะกิเลสอยู่ตลอดเวลา นี่ไม่มีความพ่ายแพ้ มันก็ยังเหลืออยู่หน่อยเดียวว่า ที่เราได้ยิน ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนนี้ จะเอาไปใช้ปฏิบัติจริง ๆ ได้อย่างไรนี่
อื้อ, บางทีมันรู้แล้วเอาไปใช้ไม่ได้ เพราะไม่เข้าใจ เออ, หรือว่าเข้าใจแล้ว มันก็ยัง ไม่เข้าใจวิธีใช้วิธีบังคับ กันอีก เพียงแต่เข้าใจเรื่อง อันนี้ก็ไม่พอเหมือนกัน
นี้ถ้าว่าไม่เข้าใจ มันจะเกิดปัญหาใหม่ ขึ้นมาอีก นี่เลยขาดทุน เช่น ไม่เข้าใจเรื่องศีล หรือมีความ งมงาย เกี่ยวกับเรื่องศีลเพิ่มขึ้น มันก็ลำบากที่จะออกไปมีศีล เมื่อก่อนไม่รู้ไม่ชี้เรื่องศีล ก็ดูไม่ค่อยมีปัญหา พอมาศึกษาเรื่องศีลละเอียดละออเข้า เอ้า, กลายเป็นมีปัญหาว่า ไม่รู้จะปฏิบัติยังไง ให้มันสมบูรณ์ได้ ให้มันมีศีลได้ นั้นอยากจะแนะ เออ, ในเรื่องนี้ ในส่วนที่เป็นหัวใจ ของเรื่อง อื้อ, ว่าคำว่า ศีลนั้น เป็น การกระทำชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า กรรม ก็ได้เหมือนกัน แล้วก็เอาเจตนานี้ เป็นหลัก อื้อ, มีความแน่นอน หรือมีความสำคัญอยู่ที่เจตนา คือ เจตนาไม่ชั่ว เจตนาดี แล้วทำกรรม ทางกาย ทางวาจานี้ให้ดี ก็มีศีลทั้งนั้นแหละ
ถือศีลข้อเดียวนี้ ก็มีศีลทั้งหมด จะมีกี่ร้อยข้อก็ตามใจ อื้อ, มันมีผลเป็นการบังคับตัวเองได้ ให้มีกรรม หรือการกระทำด้วยเจตนา ทางกาย ทางวาจาถูกต้อง นี่คือ ศีล ไม่ใช่เอาตามตัวหนังสือตะพึด มันจะเกิดความยุ่งยากลำบาก เออ, เช่น ยกตัวอย่างเช่นว่า ศีลข้อที่ ๑ ว่าไม่ให้ฆ่าสัตว์อย่างนี้ อื้อ, มันก็เลยไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะการที่จะทำให้สัตว์ตายนั้นมันต้องมี อยู่เป็นประจำ ทำอย่างไรจึงจะไม่ ขาดศีล อื้อ, ถ้ารู้เรื่องศีลถูกต้อง มันก็เข้าใจได้ว่า ไม่มีเจตนา ในการประทุษร้าย มีเจตนาเป็นอย่างอื่น ไม่ได้เจตนาประทุษร้ายชีวิต ของสิ่ง อ่า, ของสัตว์ที่มีชีวิต นั้นก็เรียกว่า ไม่ขาดศีล
เพราะฉะนั้นคน เราจึงมีศีลได้ ทั้งที่เป็นชาวนา แล้วก็ทำนา แล้วก็มีสัตว์ตายเพราะการทำนา อื้อ, หรือว่าจะต้องปราบ ข้าศึกศัตรูนี้ ก็ทำไปได้โดยที่ไม่ต้องขาดศีล หรือแม้ที่สุดแต่ว่าเราจะต้อง ใช้ยา บำ บำบัดโรค ที่มันต้องทำลายเชื้อโรค มันก็ไม่ทำ อ่า, มันก็ทำไปได้โดยไม่ต้องขาดศีล เพราะมันเล็งถึงเจตนา ไม่มีเจตนาจะประทุษร้าย สิ่งที่มีชีวิตเหล่านั้น อื้อ, แต่มันมีเจตนาที่จะ ป้องกันชีวิตของตนเอง ต้องการ ความ เออ, ป้องกันหรือรักษาไอ้ความถูกต้อง ความเป็นธรรม ความยุติธรรม อะไรต่าง ๆ อื้อ, ขอให้มี จิตใจอย่างนั้น มันก็มีศีลได้ โดยไม่ต้องสงสัย ลังเล หรือร้อนใจ อย่างชาวนาก็มีความแน่ใจว่า เราไม่ได้ตั้งใจ จะประทุษร้าย ไอ้สัตว์เล็ก ๆ ที่มันจะต้องตาย เนื่องในการไถนา หรืออะไรก็ตาม อื้อ, นี้การทำนามันเป็น สิ่งที่ต้องทำ คือว่า เป็นการหาเลี้ยงชีวิต แล้วเราก็ตั้งใจจะทำนา ไม่ใช่ตั้งใจจะประทุษร้ายสัตว์เหล่านั้น
เช่นเดียวกับภิกษุ ในพุทธศาสนานี้ ถ้าถึงคราวที่จะต้องฉันยาถ่าย หรือ หรือยาอะไร ที่มัน ไปทำ อันตรายไอ้ ไอ้เชื้อโรค หรือสิ่งมีชีวิตในลำไส้ ในกระเพาะ หรือ มันก็ฉันได้ โดยไม่ต้องขาดศีล แม้ในที่เป็น ศีลของพระ ที่ละเอียด ที่สุขุม ที่สูงขึ้นไปอีก ไม่ต้องพูดถึงชาวบ้าน เมื่อพระฉันยาถ่ายได้ ชาวบ้านก็ต้องกิน ยาถ่ายได้ โดยไม่ต้องขาดศีล ยิ่งไปกว่าพระเสียอีก เรื่องนี้ เออ, ในบางลัทธิ บางศาสนา เขาบัญญัติไว้ชัด แจงเป็นข้อ ๆ หรือจะเพิ่งบัญญัติทีหลัง ก็ ก็ตามใจ แต่เขาแจงไว้เป็นข้อ ๆ ชัดเลย
ส่วนในพุทธศาสนาของเรานี่ เออ, ไม่ได้แจง ไม่ได้แยก ทำให้มันชัดถึงขนาดนั้น แต่พูดไว้ใน ลักษณะที่ อาจจะไปแจง หรือไปแยก หรือไป เออ, เข้า เออ, วิเคราะห์เข้าใจได้ด้วยตนเอง อื้อ, โดยมีบทนิยามว่า อย่าประทุษร้ายชีวิต ของสิ่งที่มีชีวิตด้วยเจตนา อย่างนี้ อ่า, คุณ คุณเอาไปคิดเถอะ มัน มันจะ จะไม่มีปัญหาหรอก อย่ามีเจตนาประทุษร้ายชีวิตของสิ่งที่มีชีวิต มันมีเจตนาเป็นอย่างอื่น นั้นจึงไม่ขาดศีล ทั้งที่ เออ, การกระทำของเราบางทีทำให้สัตว์ต้องตายลงไป อื้อ, เป็นจำนวนมากก็ได้
เช่น กินยาถ่ายไปทีหนึ่งนี้ ไอ้ตัวพยาธิมันต้องตายเป็นจำนวนมาก เป็นต้น อื้อ, นี้เป็นตัวอย่างเท่านั้น ว่าถ้ารู้อะไรถูกต้องแล้วปัญหาไม่มี ถ้ารู้ไม่ถูกต้องแล้วปัญหาจะเพิ่มขึ้น แล้วมันก็จะลำบากมากกว่าเดิม กลายเป็นว่าเมื่อไม่บวชนี่ ยังพอที่จะมีศีล พอบวชเข้าแล้วไม่รู้จะมีศีลอย่างไร อื้อ, นี่มันเป็นความเขลา ของคนนั้น มันไม่ใช่หลักการในทางศาสนา ที่ทำให้ลำบากยุ่งยากอย่างนั้น
ในศาสนา เช่น ศาสนาไชนะนี่ เคยอ่านพบ บัญญัติไว้ชัดเลย ศีลปาณาติบาตนี่ สำหรับบรรพชิต คือ นักบวช มีความหมายอย่างนั้น เออ, และก็สำหรับชาวบ้าน ทั่วไป มีความหมายหรือขอบเขตอย่างนั้น กับชาวนามีความหมายขอบเขตอย่างนั้น สำหรับทหาร หรือผู้ทำหน้าที่อย่างทหารนี่ มีขอบเขตอย่างนั้น เขาพูดไว้ชัด ก็เลยคนก็ปฏิบัติได้ เออ, โดยไม่ต้องมีความลังเลนี้ การทำสัตว์ตายของชาวนาไม่ขัดศีล การไอ้ เออ, การปราบปรามข้าศึก เพื่อความเป็นธรรมโดยบริสุทธิ์ใจอย่างนี้ ทำเขาตายก็ไม่ขาดศีล มันก็อาจจะมี ปัญหาเลย เออ, ไปได้ถึงกับว่า การที่ช่วยกันปราบ โจรผู้ร้าย หรือปราบเสือ ปราบอะไร ที่เป็นอันตราย ของหมู่บ้านให้มันหมดไปนี้ มันก็ไม่ต้องขาดศีล สำหรับชาวบ้าน แต่ถ้าสำหรับพระแล้วก็ทำไม่ได้
แล้วเขาบัญญัติไว้ ชัดเจนว่าพระต้องขนาดนั้นขนาดนั้น ชาวบ้านก็ มีขนาดนั้นขนาดนั้น มีขอบเขต พระของศาสนาไชนะนี่ อย่าว่าแต่จะฆ่าสัตว์ มด แมลงนะ แม้แต่จะทำ พืชพรรณไม้ ให้สิ้นชีวิตไป ก็ยังไม่ได้ ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงมาก อื้อ, นี้พระไม่มีกี่องค์มันก็รักษาได้ ส่วน ในส่วน ของพระนั้น นี้ฆราวาสมันมีมาก มันก็ปฏิบัติไปตามหน้าที่หรือว่าตามขอบเขตของฆราวาส นั้นมันก็อยู่ได้ โดย โดยความเป็นผาสุข อื้อ,
ส่วนใน พุทธบริษัทเราก็ ถือศีลให้มัน มีศีลอย่างนี้ได้ โดยไม่ต้อง เออ, เสียไปในส่วนศีล แต่ก็ประกอบ การอาชีพได้ เออ, คุ้มครองโลกได้ ปราบศัตรูได้ อะไรได้เหมือนกัน อื้อ, นั้นจึงหวังว่า เมื่อมาบวชนี่จะศึกษาเรื่องเหล่านี้ให้เข้าใจได้ดี แล้วออกไปก็ปฏิบัติได้ดี ก็หมดปัญหาไป ยิ่งกว่าเมื่อยัง ไม่บวช อื้อ,
สรุปความสั้น ๆ ว่า ศีลนั้นมันอยู่ที่เจตนา ที่จะประทุษร้ายชีวิตของเขาโดยตรง ไม่ใช่เจตนา อย่างอื่น จึงจะขาดศีลข้อที่ ๑ ยกตัวอย่างศีล ๕ ศีลข้อที่ ๒ ก็พูดว่า ประทุษร้ายทรัพย์สมบัติของเขา ด้วยเจตนานี้ ศีลข้อที่ ๓ ประทุษร้ายของรักใคร่ ของเขาด้วยเจตนา อื้อ, ศีลข้อที่ ๔ ประทุษร้ายประโยชน์ หรือสิทธิอันชอบธรรมของผู้อื่นด้วยเจตนา โดยใช้วาจานี่เป็นเครื่องมือ น้ีศีลข้อที่ ๕ ประทุษร้าย สติสมปฤดีอันปกติของตัวเอง ให้มันเสียสติสมปฤดีไปนี่มันมีเจตนา อื้อ, นี้ศีลข้ออื่น ๆ มันก็ออกไปจาก ไอ้ เออ, ศีลที่เป็นหลัก เป็นประธานเหล่านี้ ดังนั้นจึงหวังว่าออกไปนี่ คงจะมีศีล ที่ดีกว่าเดิม อื้อ, ที่มากกว่าเดิม
ทีนี้ก็มาถึงเรื่องสมาธิ ถ้าในระหว่าง บวชได้ฝึกสมาธิ มันก็มีหวังมากที่จะได้ประโยชน์จากสมาธิ หรือแม้แต่ศึกษาเรื่องสมาธิโดยหลักวิชา มันก็ยังมีประโยชน์ แต่ถ้าหากฝึกการบังคับจิต บังคับใจตัวเอง อยู่เสมอ นั้นก็อนุโลมเป็นสมาธิ ชนิดหนึ่งอยู่เหมือนกันนี่ บังคับจิตให้ปกติได้ บังคับจิตให้อยู่ในขอบเขต ในร่องในรอยที่ต้องประสงค์ ให้อยู่ในเรื่องที่ต้อง เออ, ที่ต้องการให้มันคิดหรือกระทำอย่างนี้ มีสมาธิดี ในการศึกษาเล่าเรียน ในการทำการงาน ในการ เออ, ตัดสินใจ อ่า, หรืออะไรทุก ๆ อย่าง อ้ือ, มันก็ได้ ประโยชน์ในแง่ของสมาธิ ติดตัวออกไปสำหรับผู้ลาสิกขา อื้อ,
ส่วนเรื่องปัญญานี้มันยืดยาว โดยอย่างน้อยก็พูดได้ว่า ระหว่างบวชรู้อะไรแตกฉานออกไป มันก็ เอาไปใช้ประโยชน์ได้ เพิ่มขึ้นไปอีก นี้ไอ้เรื่องปัญญานี้ คือ เรื่องเกี่ยวกับตัวกูของกู ยอดสุดของปัญญา เพื่อให้รู้ว่า ไม่มีอะไรเป็นตัวกูของกู คือ ไม่ไปยึดมั่น ไม่มั่นหมายสิ่งใด โดยความเป็นตัวกูของกู อื้อ, ฆราวาสก็ทำได้ ตามสัดส่วนของฆราวาส อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เองว่า นี่เป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่ฆราวาสเป็นอย่างมาก คือ เรื่องสุญตา มิฉะนั้นฆราวาสก็จะ เออ, ยึดมั่นถือมั่นมากเกินไป จนมีความทุกข์ยุ่งยากลำบาก หรือเลยไปกว่านั้น ก็มีกิเลส โม อ่า, โลภะ โทสะ โมหะ มากเกินไป เกินกว่าความพอดีของฆราวาส นั้นเรื่องสุญตา เรื่องไม่ยึดมั่นถือมั่นนี้ มันยืดหยุ่นได้ อ่า, หรือว่า Adjust ได้ตามที่ ที่ต้องการ เป็นระดับ ๆ เป็นชั้น ๆ ไปนะ ฆราวาสก็มีหลาย ๆ ชนิดนี้ แล้วเป็นเด็กก็มี เป็นผู้ใหญ่ก็มี
แล้วมันมีปัญหาเรื่องนี้ ยังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ก็มี เป็นคนแก่คนเฒ่าก็มี อื้อ, เอาไปใช้ให้ถูก สัดส่วน แล้วก็มีประโยชน์ทั้งนั้น ไม่มีโทษอะไร เพราะว่าความร้อนเป็นนรก นั้นมันมาจากความยึดมั่น ถือมั่นเสมอ ไม่มาจากสิ่งอื่น ความร้อนใจอย่างกับนรกเข้าไปอยู่ในใจนี่ มันมาจากความยึดมั่นถือมั่น อย่างเดียว แล้วก็โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็ ในของรัก อ่า, ในของรักของพอใจ อื้อ, มันก็เป็นทุกข์เป็นร้อน เพราะไอ้ของรักของพอใจ นี้คลายออกเสียบ้าง ก็ทำไปด้วยสติปัญญา ไอ้ของรักของพอใจก็มีประโยชน์ คือ พอดูได้ พอทนได้ แล้วก็มีความเอร็ดอร่อย ชนิดที่ไม่ถึงกับเป็นโทษเรื่อย ๆ ไป จนกว่าจิตใจมันจะขึ้นสูง
ว่าไอ้นี้มันเรื่องบ้า เว้ย, แล้วก็ อือ, ก็ข้ามชั้นไปได้ เลื่อนชั้นไปได้
เห็นว่าไอ้เรื่องเพศนี้มันเรื่อง ทั้งสกปรก ทั้งเหน็ดเหนื่อย เพื่อความบ้าแวบเดียวอย่างนี้
เพื่ออารมณ์วูบเดียวนี้ ทั้งเหนื่อยทั้งสกปรกนี้ ตอนแรกมันก็ไม่นึกอย่างนี้ อื้อ, มันไปมองแต่ไอ้รส ที่เป็นเหยื่อ เป็นอัสสาทะ แล้วหลงใหลทุ่มเท เพื่อกามารมณ์ทางเพศระหว่างเพศ ต่อเมื่อมีสติปัญญาสูงสุด มันจึงได้รู้ว่า อ้าว, มันเรื่องบ้า ไม่ทำก็ได้ หรือถ้าจะไปเกี่ยวข้องก็อย่าให้ต้องเป็นทุกข์ มีหน้าที่ที่จะสืบพันธุ์ มี เออ, มีลูกมีหลานก็ทำไป โดยที่ไม่ต้อง สกปรกมากหรือว่าเป็นทุกข์มาก
พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า เรื่องสุญตา ก็เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างใหญ่หลวงแก่ฆราวาส เรื่องใช้
เรื่อง เออ, ปัญญาถูกต้อง เต็ม เออ, ถูกต้องแล้วเต็ม คือ เพียงพอแก่ความต้องการ ของความเป็นฆราวาส เป็นชั้น ๆ ๆ ๆ นับตั้งแต่หนุ่มสาว แล้วก็เป็นพ่อบ้านแม่เรือน เป็นคนแก่คนเฒ่า เพราะสิ่งต่าง ๆ มันเปลี่ยน ไป อื้อ, ตามวัยอย่างนี้ เออ, ก็ปฏิบัติมันให้ถูกต้องตามวัย ไอ้ความทุกข์มันก็น้อย อยู่ได้ทุกวัย จนกระทั่ง มันไม่มี เลย อื้อ, นี้เราเรียกว่า เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ คือ ภาวะที่ไม่มี เออ, ที่ไม่มีความทุกข์ หรือว่ามีความทุกข์ที่น้อยที่สุด เท่าที่มันจะน้อยได้ ในทุกชั้นทุกระดับของชีวิต อื้อ, ของคนเรา
ถ้าทุกข์มันมากเกินไป มากโดยไม่ควรจะมีอย่างนี้ มันก็เป็นเรื่องโง่ เรื่องหลง เรื่องอวิชชา เรื่องอันธพาล เรื่อง อ่า, ปุถุชนที่เป็นอันธพาล อื้อ, ไม่ได้สิ่งที่ ดีหรือว่า ไม่ต้องพูดถึงดีที่สุด ไม่ ไม่ได้แม้ แต่สิ่งที่ดีตามธรรมดาของมนุษย์ มันเป็นอยู่ด้วยความหลง อื้อ, ถึงแม้จะเป็นฆราวาสก็อย่าเป็นอยู่ด้วย ความหลง อือ, เป็นอยู่ด้วยสติปัญญา ตามความเหมาะสมของ เออ, เพศ ของไอ้หน้าที่การงาน ทั้งผู้หญิง ทั้งผู้ชาย ทั้งไอ้คนหนุ่มคนสาว ทั้งคนเฒ่าคนแก่ อื้อ,
นี้ถ้าเราบวชเข้ามา อยู่ในอาศรม บรรพชิต แล้วจะกลับออกไปสู่อาศรม ฆราวาสอย่างนี้ มันก็มีปัญหาอย่างนี้ อื้อ, มีวัตถุประสงค์มุ่งหมายอย่างนี้ เออ, คือ ต้องถือเอาให้ได้ กลับออกไปให้ได้ ความรู้ความสามารถอันนี้ติดตัวไป อื้อ, เป็นฆราวาสที่ดี เป็นฆราวาสที่เป็นสัตบุรุษ ไม่ใช่เขาห้ามการ มีคู่ครอง หรือห้ามการทำอาชีพ หรือห้ามการมีเกียรติยศชื่อเสียง อื้อ, เหล่านั้นเขาปล่อยไปตามเรื่องของ ฆราวาส แต่ควบคุมไม่ให้ความทุกข์มัน เออ, ไอ้ความทุกข์ หรือความเสียหายมันเกิดขึ้น เพราะสิ่งนั้น
ดังนั้นขอให้ไปอ่าน เออ, ก็ไปสังเกตดูไปอ่านดู ไอ้เรื่องต่าง ๆ ที่มันปรากฎ เป็นหลักฐาน หรือความเบียดเบียนกัน หรือว่าความเบียดเบียนตัวเอง ยิงตัวเองตายอะไรก็ตาม มันก็มาจากความโง่ เออ, ในเรื่องนี้ เดี๋ยวนี้คนยิ่งโง่มาก เห็นได้จากไอ้ข่าวในหนังสือพิมพ์ ฆ่าตัวเองตาย อ่า, โดยไม่มีเหตุผลที่สมควร หรือไม่มีเหตุผลเลยอย่างนั้น แต่มันโง่มาก มันบ้ามาก มันยึดถือมาก เรื่องนิดเดียวมันก็ยึดถือ ถ้าเป็นคนสมัยก่อนเขาหัวเราะ คนสมัยนี้ฆ่าตัวตาย นี้คนสมัยนี้มันโง่มากกว่า ทางคู่รัก เออ, อย่างคู่รัก เขาไม่ซื่อตรงนิดเดียวมันก็ฆ่าตัวตาย นี่มันบ้าเท่าไร ถ้าเป็นคนสมัยก่อนเขาก็หัวเราะ คือ เขาไปหา เอาใหม่ได้ แล้วก็ไม่ต้องฆ่าตัวตายเขาก็หัวเราะ ไอ้คนสมัยนี้ มัน อือ, มันบ้าอุดมคติของความยึดมั่นถือมั่น ผิดหวังนิดเดียวมันก็ฆ่าตัวตาย นี้เรื่องเพศ แล้วเรื่องอื่น ๆ ก็เหมือนกันนะ เรื่องเกียรติยศชื่อเสียง เรื่องลาภ เรื่องผล นี่ก็เหมือนกัน มันฆ่าตัวตายได้ง่าย ๆ หรือว่ามันอยู่ด้วยความทุกข์ทรมานอย่างยิ่ง มันหัวเราะ ไม่ออก มันสลัดออกไปจากจิตใจไม่ได้ อือ, เพราะมันไม่มีธรรมะมากเหมือนคนสมัยโบราณ มันมีแต่ ความรู้ในการแสวงหามา อือ, ในการหามา ๆๆ ไม่มีความรู้ในการที่จะป้องกัน อย่าให้ไอ้อันตรายเกิดขึ้น จากสิ่งที่ได้มา
นี่พวกคุณก็จำไว้ให้ดี ว่าเดี๋ยวนี้คุณที่มีสามารถหาเงิน หาชื่อเสียง หาอะไร หามา ๆๆ อื้อ, แล้วคุณก็ ไม่มีความรู้เพียงพอที่จะป้องกัน ไอ้อันตรายที่จะเกิดขึ้นจากสิ่งที่หามา อื้อ, อันตรายที่จะป้องกัน เอ้ย, ไอ้สิ่งที่จะป้องกันอันตราย จากสิ่งที่ได้มา ๆ ก็คือ ธรรมะนั่นเอง คือ ธรรมะที่เราพูดกันอยู่ทุกวันนั่นเอง อื้อ, มันจะช่วยป้องกันอันตราย ที่จะเกิดขึ้นจากสิ่งที่เรา ได้มามากขึ้น ๆ ๆ ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เราฉลาดหานี่ ยิ่งกว่าคนโบราณ เพราะฉะนั้นอันตรายที่มันจะเกิดจากจิตใจ มันก็มากกว่าที่จะเกิดกับคนโบราณ ดังนั้นเราควรที่จะมีธรรมะพอ ที่จะป้องกันอย่าให้อัน ไอ้สิ่งที่ได้มานี้มาเป็นอันตราย มา มา มาเป็นศัตรู ทำลายเราไป
ไปดูเถอะว่า ไอ้เรื่องในโลกนี้ ที่มันกว้างขวางทั่วทั้งโลกนี่ มันก็เดือดร้อนกันอยู่ เพราะไม่มีความรู้ ข้อนี้ อื้อ, ไม่มีความรู้ คือ ธรรมะนะ ที่จะป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นมา จากการแสวงหาก็ดี จากการได้มา ก็ดี จากการบริโภคผลของสิ่งที่ได้มาก็ดี มันไม่รู้ทั้งนั้นแหละ อื้อ, มันก็เลยมีความทุกข์ไปตั้งแต่ คิดจะแสวงหา แล้วกำลังแสวงหาอยู่ แล้วกำลังได้มา แล้วกำลังมีอยู่ นี้ก็เป็นทุกข์หมด อื้อ, นี้ไอ้ความรู้เรื่อง ไม่ยึดมั่นถือมั่นเรื่องเดียวเท่านั้นแหละ ที่จะช่วยได้เรื่องอื่นไม่มี แต่แล้วเราก็ไม่เข้าใจพอ ไม่เข้าใจเรื่อง ความยึดมั่นถือมั่นนี่ เพียงพอ มันก็ยึดมั่นถือมั่นอยู่เรื่อย อื้อ,
ตรงนี้ก็อยากจะพูดเลยไปถึงว่า ไอ้ธรรมะในพุทธศาสนาชั้นที่เป็นหัวใจนี่ คือ เรื่องไม่ยึดมั่นถือมั่น นี่ สำหรับเอาไปใช้ในทุกกรณีในความเป็นฆราวาส ให้เป็นผู้ชนะอยู่เสมอ อย่าให้กลายเป็นผู้แพ้ ให้อยู่ใน โลกด้วยชัยชนะ ไม่ต้องหนีโลก ไม่ต้องกลัวโลก ไม่ต้องหนีโลก อื้อ, แล้วก็อยู่ในโลก โดยมีชัยชนะ ไม่ว่าเรื่องอะไร ไม่ว่ากรณีอะไร อย่างน้อยที่สุดเราไม่ เดือดร้อน ไม่เป็นทุกข์ เพราะสิ่งเหล่านั้นเลย คือ มันทำให้เราเป็นทุกข์ไม่ได้ เขาเรียกว่า เราชนะมันนั่นเอง เรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรติ ไอ้ ๓ เรื่องใหญ่ ๆ นี้นะ ไม่มีเรื่องอะไรหรอก เรื่องกินเรื่องหนึ่ง แล้วเรื่องกามารมณ์เรื่องหนึ่ง แล้วเรื่องเกียรติเรื่องหนึ่ง นี่ทำกับมันไม่ดีมันจะกัดเอา ตายแล้วตายอีก ตายแล้วตายอีก ไม่รู้ อื้อ, ต้องมีเครื่องมือ สำหรับที่ชนะมัน ก็อยู่ได้โดยที่ว่ามีเรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรติ อือ, เต็มที่เท่าที่ควรจะมี เท่าที่ฆราวาสจะพึงมี แล้วก็ไม่มี ทุกข์เกิดขึ้นเพราะไอ้ ๓ สิ่งนี้ นี่ประโยชน์ มันเพียงเท่านี้ มันก็เป็นประโยชน์มหาศาลแล้ว อยู่ในโลกโดย ไม่ต้องมีความพ่ายแพ้
นี้ปัญหาอาจจะมีว่า เออ, ทำไม เออ, บางพวกมันจึงไม่ต้องการ แล้วก็มาพาลจะหาว่า ไอ้คนที่ไม่ ไม่ ไม่ต้องการ หรือไม่ ไม่ ไม่ชอบ ไอ้กิน ไอ้กาม ไอ้เกียรตินี้ กลายเป็นคนบ้าไป นี่มันขึ้นอยู่กับเรื่องหลาย เรื่อง คือ อา อา วัยของอายุนี่มันก็ ทำให้ ถอยห่างออกไปได้ หรือว่าสติปัญญาที่มันมากไปกว่าระดับ ธรรมดา มันก็ขี้เกียจจะไปยุ่ง กับเรื่องทั้งเหนื่อย ทั้งสกปรก เพื่ออารมณ์บ้าวูบเดียวนี้ ไอ้คนพวกหนึ่ง จะหลงก็หลงไปสิ แต่คนพวกที่ไม่อยากจะหลง ไม่ต้องการจะหลง มันก็มี สิทธิที่จะไม่หลง นี่ถ้าพูดใน ระดับกลาง ๆ ก็ว่า จะอยู่อย่างไรก็ตาม จะอยู่ในแบบไหนก็ตาม มันต้องไม่มีความทุกข์เท่านั้น มิฉะนั้น จะไม่ชื่อว่ารับประโยชน์จากธรรมะ หรือว่าจากพุทธศาสนา หรือว่าจากความเป็นพุทธบริษัทของตัว
นี่เราเป็นพุทธบริษัท ก็ควรจะได้ประโยชน์อะไรจากความเป็นพุทธบริษัท อื้อ, ที่มีธรรมะสำหรับ ป้องกัน ไม่ให้ความทุกข์เกิดขึ้น แก่เพศฆราวาส เมื่อยังสมัครที่จะอยู่ในเพศฆราวาส เรื่องมันก็จบเท่านั้น เมื่อไม่มีความทุกข์แล้ว ก็ถือว่าเป็นเรื่องดีที่สุดของมนุษย์ ทั้งเรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรติเหล่านี้ มันหามาได้ไม่ ไม่จำกัด แต่ถ้ามีไม่เป็นหาไม่เป็นมันเป็นทุกข์ แล้วเมื่อไม่เป็นทุกข์มันก็พอแล้ว เขาเรียกว่า ดีที่สุดสำหรับความเป็นฆราวาส อื้อ, หรือสำหรับ ที่สูงกว่าฆราวาสเป็นบรรชิต มันไม่เกี่ยวข้องเสียเลย ก็ได้ มันมีสิทธิที่จะทำอย่างนั้น มันทำอื่น ทำสิ่งอื่นที่ดีกว่า อย่างน้อยก็อยู่ด้วยความสงบเย็น ตลอดชีวิต ไปก็ได้ มันไม่มี มันไม่ ไม่มีอยู่ ไม่มีตายนั้นจึงสงบเย็น
ถ้าดีกว่านั้นอีกก็ไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย ให้เป็นอย่างนั้นบ้าง อื้อ, นี่ก็คือ ดีที่สุด สุดยอดเลย ตัวเองก็ชนะแล้ว แล้วก็ช่วยผู้อื่นให้ชนะด้วย นี่คือ ความดีสุดยอด ของไอ้มนุษย์ทั้ง เออ, ทั้งสิ้น แต่ถ้าไปเกิดแบ่งแยก เป็นว่ามนุษย์ฆราวาส ก็ ก็ให้มันดีที่สุด อยู่แค่มนุษย์ฆราวาส เพียงว่ามีกิน มีกาม มีเกียรติแล้ว ไม่ต้องเดือดร้อนอะไร มากมายเพราะสิ่งเหล่านั้น ดีที่สุดของความเป็นฆราวาส แล้วก็อาศัย ธรรมะข้อเดียวกัน คือ ความไม่ยึดมั่นถือมั่น อื้อ, นี่ถ้าจะออกไปเป็นฆราวาส ก็ต้องเอาสิ่งเหล่านี้ไปให้ เพียงพอ อื้อ, และให้มันเลื่อนชั้นตัวเองสูงขึ้นไปตามวัย ตามไอ้ ที่ธรรมชาติมันกำหนดให้นี้ ว่าไอ้ร่างกาย ก็ดี จิตใจก็ดี มันเปลี่ยนไป ตามวัยตามเวลา ทำให้มันเข้ารูปกัน อื้อ,
เอ้า, ทีนี้มาถึงสิ่งที่ผมต้องการจะพูดแล้ว คือ พูดเรื่องคำว่า สึก หรือลาสิกขานี้ คนยังเข้าใจผิด กันอยู่มาก เนื่องมาจากหลาย ๆ ทาง หลาย ๆ ระดับ ไอ้ที่โง่ที่สุด มันก็ใช้คำว่า ลาศึก แล้วไม่รู้จะเขียนยังไง ไอ้คำว่า ลาศึกนี้ อื้อ, จะเขียน สอ-คอ-สระอึ-กอสะกด ไอ้ลาศึก ก็คือ ลาข้าศึก นี้ไม่รู้ เลยไม่รู้ว่าความหมาย ว่าอย่างไร ไอ้ลาศึกชนิดนั้น คือ ลาข้าศึก หมายความว่าเราแพ้ข้าศึก มันก็เลยโง่ ลาศึกชนิดนั้น ที่ว่าลาสึก เอา สอ-ลอ มา สระอึ-กอสะกด ไอ้สึกนี้ ก็แปลว่า สึกหรอ นี้ทำให้มันสึกหรอนี่มันก็ไม่ได้ มันไม่ถูก มันต้องไม่สึกหรอ คำนี้ที่แท้จริงมันมาจากคำว่า ลาศิกขา หรือลาศิกษา (นาทีที่ 44:35) ในภาษาสันสกฤต แต่พอมาเป็น ภาษาไทย มันไปใส่สระอึเข้ามันเป็นศึกษา ไอ้ลาศึกษานั่นคือ ลาสึก คำว่า ลาสึก ที่ถูกต้อง ควรจะเขียน เออ, สอ-คอ-สระอึ-กอ สะกด แล้ว สอ-บอ การันต์ นั่นแหละ ลาศึกษา ลาศึกษ์ อย่างนั้น นั่นแหละถูก คือ ลาการศึกษา แบบบรรพชิต อื้อ, แล้วไปมีการศึกษาอย่างฆราวาสตามเดิม
ข้อนี้มี ปัญหามาก คือ ลากันอย่างไร นักธรรมที่ทำให้เข้าใจผิดมันก็มีอยู่มาก คือว่า กลับไปสู่ ฮีนะเพศ (นาทีที่ 45.26) ฮีนะ (นาทีที่ 45:28) นี่มัน ตัวนี้มันเป็นคำกำกวม คือ มันแปลว่า เลวก็ได้ มันแปลว่า ต่ำก็ได้ นี้การลาสิกขานี้ ในบาลีมีว่า กลับไปหาฮีนะเพศ (นาทีที่ 45.44) นี่ คือ เพศที่ต่ำ ด้วยว่า แต่สมัยโบราณนั้น มัน มันทำด้วย มัน มันกลับไปสู่ไอ้ฮีนะเพศ (นาทีที่ 45.54) หรือฆราวาส นี้ด้วย ความเสียหายทั้งนั้นแหละ ไม่ใช่กลับไปอย่าง มีความถูกต้อง หรือด้วย เออ, เจตนาที่ต้องการเพียงเท่านี้ เพราะเขาไม่มีธรรมเนียมสึก ไอ้ลา ลาสิขามันจึงไม่มี มันมีแต่ทิ้งสิกขา หรือว่า เออ, ละสิกขา กลับออกไป อย่างน่าเกลียด
เดี๋ยวนี้เราไม่ใช่ ไม่ ไม่อยู่ในรูปนั้น เรารู้ว่าเราจะบวชเท่านี้ จะศึกษาแล้วก็กลับไปสู่เพศฆราวาส นี้ก็แปลว่า อือ, บอกคืนสิกขาอย่างภิกษุ ไปรับสิกขาอย่างฆราวาส อื้อ, ศีล หรือสมาธิ หรือปัญญา ชนิดที่ ฆราวาสจะต้องถือเพียงเท่าไร ก็ไปมีอย่างนั้นนะ และศีล สมาธิ ปัญญาของบรรพชิตที่มันสูงเกินไป เราก็คืนเสีย นี่การที่คุณจะลาสิกขา มันคือ มีอาการอย่างนี้ อย่าได้เข้าใจเตลิดเปิดเปิง เป็นว่าคืนหมด ถ้าคืนหมดเป็นมิจฉาทิฐิ คืนพระพุทธ คืนพระธรรม คืนพระสงฆ์ คืนธรรมะ คืน เออ, คืนความรู้ทาง ธรรมะ หรือการปฏิบัติทางธรรมะ คืนหมดนี้ อื้อ, อย่างนี้ก็ล้มละลาย
การลาสิกขานี้ไม่ ไม่ ไม่คืน ไม่คืนพระพุทธ ไม่คืนพระธรรม ไม่คืนพระสงฆ์ ไม่คืนพุทธศาสนา อื้อ, คืนแต่สิกขา หรือข้อปฏิบัติส่วนเกิน ของฆราวาสนี่ ที่มันเป็นส่วนของบรรชิต ส่วนนี้ก็คืน อื้อ, มันเป็นส่วนเกินของฆราวาส ไม่จำเป็น เราก็ไปมีอย่างของฆราวาสเต็มเปี่ยม มันก็ใช้ได้ ถ้ามีธรรมะเรื่อง สุญตา เรื่องอนัตตา เรื่องไม่ยึดมั่นถือมั่น อย่าง ที่ฆราวาสจะพึงมี เออ, ให้สมตามที่พระพุทธท่านเจ้าตรัสว่า อื้อ, หลักเกณฑ์เรื่องสุญตา นี้มีประโยชน์เกื้อกูลที่สุด แม้แก่พวกฆราวาส นี้เป็นพุทธภาษิตมีอยู่อย่างนี้ นั้นส่วนนี้เราก็ไม่คืน ความรู้ที่จะไปต่อสู้กันกับกิเลสทุกชนิด เราไม่คืน ไม่ละทิ้ง หรือไม่ ไม่่ลาสิกขา ในส่วนนี้ ลาสิกขาที่เขาบัญญัติไว้เฉพาะสำหรับภิกษุนี้ จะต้องลาด้วยส่วนนั้น
เพราะว่าเดี๋ยวนี้เราไม่สมัครจะเป็นภิกษุ เราไม่สมัครจะเข้าพวกภิกษุที่จะไปเร็ว ๆ อื้อ, เราต้องการ จะออกไปเป็นฆราวาสที่ไปช้า ๆ มันก็มีระเบียบสิกขาอย่างอื่น นั้นการที่คุณจะลาสิกขาออกไปนี่ อย่าให้มันเป็นสึกหรอ หรือว่าอย่าให้มันเป็นไอ้ ไปทำอะไรกันกับข้าศึก มันเป็นแต่เพียงปรับปรุงไอ้ ไอ้สิ่งที่ เราจะต้องมีประจำตัวเรานี้ ให้เหมาะ แก่การที่จะไปดำรงชีวิต อย่างฆราวาส ครองเรือน มีครอบครัว มีการเป็นอยู่เพื่อทำตาม ระดับของฆราวาส สิกขาที่ถึงกับเว้นเมถุนธรรมโดยเด็ดขาด เว้น เออ, การกิน อาหารเย็นนี้ เหล่านี้มันของ ของบรรพชิต นี้เราไปเป็นฆราวาสมันก็ ไม่มีข้อผูกพัน ก็ทำได้ตามที่ ฆราวาสจะพึงกระทำกับสิ่งเหล่านี้ แต่ก็ต้องไม่ให้มันเป็นทุกข์ขึ้นมา อื้อ, อย่างนี้เรียกว่า ทำถูกต้อง บวชได้รับประโยชน์ ลาสิกขาออกไปอย่างถูกต้อง แล้วก็ยังมีประโยชน์อยู่ตามเดิม
อย่าไปเข้าใจผิด ว่ามันเลวลง มันเป็น เป็นแต่เพียงปรับปรุงให้เหมาะสม กับเพศที่จะเป็นอยู่ อื้อ, ก็จริงนะที่ว่า จะต้องเรียกว่า เป็นเพศที่ต่ำกว่า ฆราวาสนี้มันเป็น เออ, เพศนะ หมายถึงว่า ระบบการเป็นอยู่ ที่มันต่ำกว่า ต่ำกว่าเพศบรรพชิต คำว่า เพศ ไม่ได้หมายถึง ไอ้เครื่องหมายหญิง ของผู้หญิง ผู้ชายนะ มันเป็นหมายได้ทั่วไป เช่น เพศบรรพชาติ เพศคฤหัสถ์ ก็ใช้คำคำเดียวกัน อื้อ, มันหมายถึง ระบบการ เป็นอยู่ ไอ้อันหนึ่ง อืือ, ไอ้ลาสิกขาของเรา เออ, มันก็ต้องทำใจให้ถูกต้อง เมื่อจะกล่าว คำลาสิกขาในวัน ลาสิกขา ต้องทำใจให้ถูกต้องให้มีเหตุผล ให้มันยัง เออ, พอใจอยู่แหละ อย่าให้เป็นเรื่อง ฉิบหาย เสียหาย หรือว่า เสียใจอย่างนั้น อย่างนั้นนะคือ โง่ อย่างนั้นนะคือ ไม่มีสติสัมปชัญญะ แล้วลาสิกขา มันจะมีโชคร้าย คือ มันสูญเสีย ไอ้ความ รู้สึกผิดชอบชั่วดี ถ้าคุณทำได้อย่างนี้ไม่ต้องดูฤกษ์ดูยาม ไม่ต้องดูเวลานาทีนะ ถ้าดูฤกษ์ดูเวลานาที แล้วก็ยังจะฉิบหายก็มีเห็นไหม
ไอ้ฤกษ์ดียามดี อะไรมัน มันอยู่ที่ประพฤติดีประพฤติถูกต้อง อื้อ, ประพฤติดีประพฤติถูกต้อง เมื่อไร มันก็เป็นฤกษ์ดียามดีเมื่อนั้น นั้นการลาสิกขาต้อง ทำด้วยจิตใจที่ แจ่มแจ้ง สว่างไสว ประกอบอยู่ ด้วยสติสัมปชัญญะเป็นความถูกต้อง ในการที่จะ อ่า, ละเพศบรรพชิตไปสู่เพศฆราวาส แล้วทำอะไรต่อไป ตามจุดมุ่งหมาย ของฆราวาส โดยถือว่าเรามันยังมีความเหมาะสมเพียงแค่นั้น นี้ก็เป็นสิทธิอันชอบธรรม หรือว่าไม่ฝืนหลักอะไรเลย หลักธรรมะในพุทธศาสนาก็ไม่ ไม่ฝืน เพราะเรายังอยู่ในระดับนี้ ยังมีความเหมาะสมอย่างนี้ เราก็เอาเลือกเอาอย่างนี้ อื้อ, ถ้า ถ้าเราทำได้ดีกว่านี้ มันก็เป็นไอ้
ส่วนดีของเรา ต่างหาก
นั้นการบวชเข้ามา เข้ามาหาระเบียบวินัยที่เคร่งครัดกว่าความเป็นฆราวาส เลยเป็นผู้แข็งแกร่ง กว่า กว่าเดิม ความแข็งแกร่งอันนี้ออกมาใช้ได้ เมื่อกลับไปสู่ความเป็นฆราวาสอีก แต่ว่าทั้งนี้มันแล้ว มันขึ้นอยู่กับ เออ, ว่า ระหว่างที่เราบวชนี้เราทำอะไรบ้าง อื้อ, ถ้าเราทำถูกต้องตามเรื่องของบรรพชิต เราได้ความแข็งแกร่ง ไปทั้งทางร่างกาย ทั้งทางจิต ทั้งทางวิญญาณ จะเป็นผู้มีสมรรถภาพ ทั้งทางกาย ทั้งทางจิต ทั้งทางวิญญาณนี้ ตามที่ผม เออ, บัญญัติขึ้นพูดให้ฟังกันง่าย ๆ ว่ามีอยู่ ๓ ชนิดนี้ มันก็ได้รับ ประโยชน์มหาศาล การบวชนี้ นำไปสู่ไอ้ความ นำไปสู่การได้ สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ เป็นแน่นอน
ดังนั้นอย่า อย่า อย่าอวดดี อย่าทนง อย่าลืมตัว ในการบวชเข้ามาก็ดี ในการสึกออกไปก็ดี อื้อ, ทำด้วยสติสัมปชัญญะ แล้วให้สำนึกไว้สักอย่างหนึ่งว่า เราบวชนี่ มันถูกต้อง มันดี เราจะถือ เป็นหลักว่า อือ, เรากลับออกไปด้วยปริญญาของบัณฑิต อื้อ, บัณฑิต ในวิชาควบคุมบังคับตัวเองนี่ เอาปริญญานี้ไป โดยที่ พระพุทธเจ้าตั้งให้ นึกว่ามีอยู่ตลอดชีวิตอย่าไปทรยศต่อปริญญาอันนี้ท่าน อื้อ, แล้วมันก็ปลอดภัย มันเป็นเครื่องลางที่คุ้มได้ดี จนตลอดชีวิตด้วยเหมือนกัน อื้อ,
ทีนี้เพื่อความไม่ประมาท อย่างยิ่ง ยิ่งขึ้นไปอีก อะไร ๆ ที่มันจะช่วยให้เราไม่ลืมตัว แล้วก็ รีบ ๆ ทำ รีบ ๆ รักษาเอาไว้ สงวนเอาไว้ มีอุปัชฌาย์อาจารย์ ก็ขยันไปมาหาสู่ เพื่อมันจะไม่ลืมตัว อื้อ, อะไรที่มันเป็น อนุสรณ์ของการบวช อันนั้นต้องรักษาเอาไว้ เป็นเครื่องกันลืม ผมมักจะแนะ คนที่จะสึกนี่ ว่าไอ้ผ้าเหลือง ไอ้บาตรนี่ดีมาก อย่ารังเกียจ เอาไปด้วย เอาไปไว้ที่บ้าน ที่ห้องหนังสือ ที่อะไร ที่มันจะ เก็บอยู่ได้ เพื่อเป็นที่ ระลึก แก่การที่ได้บวช หรือว่าดีกว่านั้นอีก ก็เพื่อขู่เรา ขู่ตัวเองนี้ว่า มึงบวชแล้ว มึงจะทำให้เลวกว่านี้ อือ, ให้เลว ๆ ไม่ได้ ไอ้บาตร ไอ้ผ้าเหลืองที่เอาไปไว้ ดูอยู่บ่อย ๆ นั้นนะ มันจะขู่ ตัวเราให้ ระมัดระวัง
ให้ไม่ประมาท ให้มีหิริโอตตัปปะ
ผมรู้สึกว่ารูปถ่ายก็ไม่ดีเท่า เช่น คุณจะถ่ายรูปถ่ายเมื่อบวชไว้ เอาไปติดแขวนไว้นี่ มันไม่ขู่เรามาก เหมือนไอ้บาตรหรือจีวรนะ ลองเอาไป เออ, เก็บไว้สิ ถ้าเราไม่มีที่เก็บเราก็ซุกไว้ในหีบ เออ, ในตู้ ในอะไร ก็ได้ ไว้ในห้องหนังสือก็ได้ ไว้ในที่ที่จะเหลือบเห็นได้บ่อย ๆ จะมีประโยชน์มาก ในการที่มันจะขู่ ไม่ให้เราลืมตัว มันเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เป็นของที่ ว่าไม่ใช่มันมีค่าอย่างวัตถุ เป็นของที่มีค่าทางวิญญาณ ตีราคาไม่ไหว สัญลักษณ์ของพระอรหันต์ บาตร จีวรนี้ เป็นสัญลักษณ์ของพระอรหันต์ สัญลักษณ์ของ พระพุทธเจ้า คือ ผู้ที่ว่ามันดี ผู้ที่ไม่เลว ผู้ที่สูงสุด นี้เรามีไว้ ก็เพื่อจะขู่ว่า อ้าว, ก็แก แก แกเคยบวชแล้ว ทำเหลวไหลไม่ได้ อื้อ,
นี่เป็นตัวอย่างอันหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจว่าเราต้องมี ไอ้สิ่งที่จะคอยเตือนเรา หรือคอยขู่เรา อย่าให้ เออ, กลับเหลวไหล เหลาะแหละ หละหลวมนะ รูปถ่ายนี้บางทีจะชิน ถ้าแขวนอยู่ตำตาอยู่เสมอ มันก็ชินได้ อื้อ, มันไม่ขลังเท่ากับ ไอ้บาตร หรือจีวร ถ้าเราไปมีครอบครัว มีลูกมีหลาน เด็ก ๆ ก็จะไปเห็นบาตรจีวรนั่นเข้า จะมีอิทธิพลมาก ในการที่ทำให้เขา เออ, นับถือไอ้ความศักดิ์สิทธิ์ของศาสนา หรือว่าอยากจะบวชขึ้นมา บ้าง หรือว่าพ่อของเรานี่ เออ, เป็นอะไร มีอะไรดีกี่มากน้อย นี้โดยมากสิ่งที่เห็น ๆ มัน มัน มันตรงกันข้าม พอลาสิกขาแล้ว ไอ้บาตรจีวรนี้ อยากจะเตะทิ้ง ให้มันกลิ้งไปนี่ ไม่มีค่าไม่มีความหมาย อื้อ, จะเอาไปให้ ใครสักทีก็ ให้ทั้งสกปรก ทั้งเลอะเทอะอย่างนั้น อื้อ, เพราะว่า อือ, แม้จะเอาไปให้ใคร ไม่ ไม่ทำอย่างผมว่า นี้ ก็ยังต้องทำให้สะอาดเสียก่อน แล้วค่อยเอาไปถวายเขา อื้อ,
เดี๋ยวนี้เรามาตีค่ามัน ในฐานะที่ว่ามันเป็น วัตถุศักดิ์สิทธิ์ สัญลักษณ์ของพระอรหันต์ ของธรรมะ ของ อ่า, ไอ้สิ่งสูงสุดศักดิ์สิทธิ์ทั้งนั้น อื้อ, ในหนังสือไอ้ นิยายนิทานปรัมปรานี้เขาว่า ไอ้ผ้ากาสาวพัสตร์ ของภิกษุนี่ แม้แต่พญาช้างฉัททันต์ก็ยังกลัว คือว่าสัตว์เดรัจฉานก็ยังกลัว อื้อ, พูดให้มันมีความศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่เป็นของมีค่าอย่างวัตถุ ซื้อมาจากร้านเจ๊ก แล้วมีค่าเพียงเท่านั้น แต่มันมีความหมาย ในความเป็น สัญลักษณ์ของสิ่งสูงสุด แล้วก็ศักดิ์สิทธิ์ด้วย ดังนั้นควรเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์สำหรับ อือ, ควบคุมตัวเราต่อไป จนกว่ามันจะถึงไอ้ขั้นสูงสุด ที่ไม่ต้องการควบคุมอีกแล้ว
นี่ตัวอย่าง เออ, ของไอ้เคล็ด หรือไอ้ความลับ หรืออะไรที่ ที่เกี่ยวกับการบวช เกี่ยวกับการสึก หรือว่าเกี่ยวกับการไปเป็นฆราวาสตลอดไป อื้อ, ดังนั้นต้องมีอะไรที่ ที่วิเศษ หรือว่าที่เป็นเทคนิคอยู่ในตัว มันเอง ที่มันจะคุ้มครอง ให้มันปลอดภัยได้ อื้อ, ก็แปลว่าเราได้ ได้เต็มที่แล้ว ในการบวช หรือในการสึก หรือในการที่จะเป็นฆราวาสต่อไปอีก นี้ขอให้การบวชแม้ระหว่างปิดภาคนี้ มันเป็นไปเพื่อประโยชน์ อย่างนี้ คือ รู้หลักเกณฑ์พุทธศาสนาถูกต้องยิ่งขึ้น จนไม่มีปัญหายุ่งยาก เกี่ยวกับวิชา หรือว่าหลักเกณฑ์ อันนั้น แล้วก็สบายใจ อือ, แล้วก็เป็นผู้สามารถปฏิบัติ ในการบังคับควบคุมกาย วาจา ใจนี้ได้ดีกว่า อ่า, กว่าแต่ก่อน แล้วก็มีความสามารถจะช่วยเหลือผู้อื่นได้ด้วย มันก็หมดเท่านี้เอง ประโยชน์มันมีเท่านี้เอง
นี่เรื่องของผู้ที่จะลาสิกขา ไอ้เรื่องเบ็ดเตล็ด ยกตัวอย่าง เช่น เรื่องรดน้ำมนต์อย่างนี้ ก็ขอให้มันตี ความหมายเป็นไอ้เรื่อง ทางจิต ทางวิญญาณ คือว่าให้พระธรรมคำสอน หรือให้ไอ้หลัก การปฏิบัตินี้ มันรด อาบรดจิตใจของเรา แม้ในเวลาลาสิกขา ว่าเราจะทำดีที่สุดเท่าที่มนุษย์จะทำได้แล้วในการบวช ในการ อะไรนี้ อื้อ, หรือว่าโอวาทของอุปัชฌาย์ ของอาจารย์ ที่จะให้ในเวลานั้นนะเป็นน้ำมนตร์ อื้อ, ส่วนน้ำ
จริง ๆ เอาไว้สำหรับคนโง่ และคนขลาดไม่เหมาะสำหรับนักศึกษา แต่ถ้าจะทำเพื่อให้คนอื่นสบายใจ ก็ได้เหมือนกัน นี่เป็นความเห็นส่วนตัวผม จะทำเรื่องไสยศาสตร์ เรื่องงมงายอะไรบ้าง ก็เพื่อให้คนอื่น สบายใจก็ได้เหมือนกัน ส่วนเราไม่จำเป็น บางทีผมก็ยังมีหลักอย่างนั้น อื้อ, เพราะว่ามันไม่ ไม่ ไม่มีทางออกอย่างอื่น คือ หมายความว่า เราไม่สามารถจะแก้ไขความโง่งมงาย ของคนบางคนได้
เอ้า, ช่างหัวมัน ทำพอให้เขาสบายใจ แต่เราไม่มีความหมายเลย จนกว่าเมื่อไหร่เขาจะพ้นไอ้สภาวะนั้น เราจึงจะไม่ทำ หรือว่าเราจึงจะบอกเขา อื้อ,
นี้ก็เพื่ออย่าให้เกิด ไอ้ความวุ่นวายอะไรขึ้นมา ในระหว่างญาติ ในระหว่างครอบครัว หรืออะไร อื้อ, แต่ถ้าเราสามารถ พูดจากันเข้าใจได้ ก็ ก็ดี ก็ไม่ต้องทำ เช่น บิดามารดา ต้องการให้หาฤกษ์หายามแล้ว เราไม่หา แล้วทำปวดหัวนี้ อย่า ๆๆ อย่าไปฝืนขนาดนั้น ก็หาก็ได้ ก็หัวเราะอยู่ในใจ แล้วก็ทำไป อย่างนี้เรียกว่า ถูกกว่า ที่จะไปถือเถรตรงไม่รู้ไม่ชี้ กูจะเอาตามไอ้ เหตุผล หรือสติปัญญานี้ มันก็ไม่ถูกต้อง มันเป็นเรื่องเถรตรงเกินพอดี นั้นเราพยายามพูดจาดี เออ, พูดจาให้เข้าใจ แล้วไม่ต้องทำก็ได้ ก็ดี หรือถ้าพูดกันไม่รู้เรื่อง เวลาไม่พอ เราก็ต้องทำบ้าง พอให้คนเหล่านั้น เออ, ไม่เดือดร้อน
นี่มันต้องมีการผ่อนผันสั้นยาว ด้วยสติปัญญาอย่างนี้ ไม่ใช่ความงมงาย มันก็อยู่ใน อยู่ เออ, รวมอยู่ใน ส่วนหนึ่งของความเป็นบัณฑิต บวชแล้วสึกออกไปเป็นบัณฑิตนี้ มันก็มี อะไรมาก ๆๆๆ เออ, มากประเด็น รวมอยู่ในความเป็นบัณฑิต รวมทั้งไอ้เรื่องรู้จักผ่อนผันสั้นยาวนี้ด้วย ดังนั้นขอให้ เออ, ใช้สติสัมปชัญญะ อย่าผลุนผลัน อย่าเถรตรง อย่า เออ, บ้าบิ่น อย่าอะไรทุกอย่าง มันก็ไม่เสียทีที่ได้บวช ออกไปเป็นบัณฑิต
มีคำอีกคำหนึ่ง ใช้คำว่า ทิด ทอ-ทหาร-สระอิ-ดอสะกด นี่เรียกว่า ทิด อื้อ, นี้เขาใช้สำหรับไอ้คนที่ มันงมงายตลอดเวลา บวชสึกออกไปก็เอาไป อ่า, เต็มไปด้วยความงามงาย อย่างนี้เรียกว่า เป็นทิด ไม่ใช่ บัณฑิต อย่างที่ผมพูดนะ อื้อ, แต่ที่จริงไอ้คำนี้ มันก็มาจากคำว่า บัณฑิต นั่นนะ อ่านตามหลักภาษาบาลี ต้องอ่านว่า บัน แล้วก็ ดิด ไอ้ ฑ นั้นก็อ่าน ว่า ดิด ดอ-ดิด นี้ภาษาไทย ชอบตัดคำบางคำที่ไม่จำเป็นทิ้ง
ตัด บัณ ออกไป เหลือแต่ ฑิต ฑิต คือ บัณฑิต อื้อ, แต่ว่าบางคนมันสะเพร่าออกเสียง ฑิต เป็น ทิด แล้วพอเหมาะพอดี กันกับว่า ส่วนมากมันก็งมงาย บวชอยู่ตั้ง ๑๐ พรรษาแล้ว สึกออกไปเป็นคนงมงาย เออ, เอาทิดให้มัน เอาปริญญาทิดนะให้มัน แล้วเราก็เอาปริญญาบัณฑิต ที่ถูกต้องไว้ก็แล้วกัน จะออกเสียง ว่าบัน-ทิดก็ได้ บัน-ดิดก็ได้ มันมีความถูกต้องอยู่เสมอ อย่าไปเป็นทิด อื้อ, ต้องออกไปเป็นบัณฑิต ก็มีแต่ อะไร สวัสดีมงคล รดน้ำมนตร์ แอ๊ะ (นาทีที่ 01:06:08) ไหนก็ได้ อื้อ,
สรุปความว่า มันมีธรรมะอยู่กับเนื้อ กับตัวเต็มที่อยู่ตามเดิม แม้จะลาออกไปเป็นเพศฆราวาส นอกนั้นเป็นเรื่องปลีกย่อย เป็นเรื่องฝอย เรื่องใหญ่ ออกไปด้วยสติสัมปชัญญะ ทำอะไรให้ดีกว่าเดิม อื้อ, ดีกว่าเดิม คือ ดีแต่กว่า เออ, ดีกว่าเมื่อก่อนบวช เมื่อยังไม่ได้บวชนี่ นี่ผลก็มีเท่านี้ เอาละเวลาก็สมควร