แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันที่ ๑๔ เออ, เมษายน ๒๕๑๔ อื้อ, สำหรับพวกเราที่นี่ อื้อ, ด้วยล่วงมาถึงเวลาจวน ๔:๓๐ น.แล้ว อื้อ, เป็นเวลาที่จะได้ เออ, พูดกันถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตามเคย ในวันนี้ อื้อ, จะได้กล่าวถึงเรื่อง ภาวะไม่มีโรค ของชีวิต อื้อ, ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๑๔ ของการบรรยาย อื้อ, เราจะได้เปลี่ยน อื้อ, จะได้เปลี่ยนเรื่อง อือ, จาก การ บรรยายถึง เออ, ความรู้ที่จะต้องรู้ก่อนการเยียวยา อือ, เป็นเรื่องของการ อือ, ได้รับ ประโยชน์ของการเยียวยา เพราะว่าไอ้เรื่องการเยียวยารักษาโรคนั้น เราได้พูดกันแล้วตั้งแต่ตอนแรก ๆ
อือ, บัดนี้ก็เป็น การสมควรที่จะพูดถึงเรื่อง สุดท้าย คือ ภาวะไม่มีโรค อือ, คำว่า โรค ในที่หมายถึง โรคฝ่ายวิญญาณ ภาวะไม่มีโรคทางฝ่ายวิญญาณของชีวิต อื้อ, ทุกคน หรือแทบทุกคนจะได้ยินคำว่า ความไม่มี โรคเป็นยอดแห่งลาภ อโรคฺยาปรมา ลาภา อือ, ความไม่มีโรคเป็นยอดแห่งลาภ หรือว่าเป็นลาภอันสูงสุด บาลีนี้เขาก็หมายถึง ไม่มีโรคทางวิญญาณ มากกว่าที่จะหมายถึง โรคทางร่างกาย อื้อ, เพราะแม้คนจะไม่มีโรค ทางร่างกาย แต่ก็มีโรคทางวิญญาณอยู่ อื้อ,
โรคทางวิญญาณนี้ เสียดแทงลึกซึ้ง กว่าโรคทางร่างกาย และเป็นมูลเหตุของโรคทางร่างกายทั้งหลาย ทุกชนิด อื้อ, เมื่อมีราคะ โทสะ โมหะ แล้ว ง่ายที่จะเป็นโรค ทางร่างกายทุกชนิด อื้อ, โดยเฉพาะความวิตกกังวล ซึ่งเป็นเรื่องของโมหะ บางทีก็เจือด้วยโลภะ โทสะ แล้วแต่เรื่อง อื้อ, เป็นเหตุให้ สูญเสียความปกติทางร่างกาย อื้อ, ดังนั้นทางศาสนาจึงต้องการจะกำจัดโรค ทางฝ่ายวิญญาณโดยเฉพาะ
ทีนี้อีกทางหนึ่ง ก็ถึงเวลาที่จะ เออ, ที่สมควรจะเข้าใจเรื่องนี้ เพราะว่าถ้าเข้าใจเรื่องนี้ เออ, คนก็จะ เอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ กันมากขึ้น กว่าเดิม เดี๋ยวนี้ความเอาจริงเอาจังนะมันยังมีน้อย อื้อ, มันไม่มากเหมือน ที่เราเคย พูดกันวันก่อน ว่ามันต้องการจะหายโรคนี้มาก เหมือนคนที่ถูกจับกดลงไปในน้ำ อื้อ, หายใจไม่ได้ มันก็ต้องการมากที่สุด ที่จะโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำ เออ, เพื่อจะหายใจ นี้ขอให้คนที่มีโรคทางวิญญาณนั้นนะรู้จัก มันให้ดี แล้วจะอยากจะหายโรคทางวิญญาณ ให้มากเหมือนกับคนที่เขา ถูกจับกดลงไปในน้ำ แล้วต้องการจะ ขึ้นมาหายใจบนน้ำ ฉันใดก็ฉันนั้น อื้อ,
นี้ถ้าพูดอีกทางหนึ่งก็ว่า ถ้าเป็นนักศึกษา ที่แท้จริง อื้อ, เรื่องชนิดนี้ควรจะรู้ ถ้าไม่รู้เรื่องชนิดนี้ก็ไม่ ควรจะเรียกว่า อ่า, เป็นนักศึกษาที่แท้จริง อื้อ, คือ เรื่องมันเกี่ยวกับชีวิตจิตใจของคนเราอยู่โดยตรง หรือมอง อีกทีหนึ่งว่า มันเป็นเรื่องสูงสุดของชีวิตมนุษย์ การศึกษามันต้องรู้เรื่องที่ดีที่สุดของมนุษย์ ไม่เช่นนั้นก็ไม่ควร จะเรียกว่า นักศึกษา อื้อ,
เดี๋ยวนี้นักศึกษา อ่า, รู้กันแต่เรื่องปากเรื่องท้อง แล้วก็ปัจจัยที่จะได้ให้มา อ่า, จะได้มาซึ่งไอ้วัตถุบำรุง ปากบำรุงท้อง อื้อ, แม้จะก้าวหน้าในวิชาความรู้ไปไกลลิบเท่าไร มันก็เป็นเรื่องทางวัตถุ แสวงหาวัตถุมา บำรุงปากบำรุงท้อง มันละเลยเรื่อง ทางวิญญาณ ก็มีความเป็นอันธพาลทางวิญญาณ นี้ยิ่งมีความรู้ทางโลกมาก อื้อ, ไอ้ความเป็นอันธพาลทางวิญญาณนี้ เป็นเหตุให้เบียดเบียนตนเอง ให้เบียดเบียนผู้อื่นไม่มีที่สุด อื้อ,
อีกทางหนึ่งก็คือว่า ที่ว่าพระพุทธเจ้าเป็นนายแพทย์ผู้รักษาโรคของสัตว์โลกทั้งปวง ก็หมายถึง โรคทางวิญญาณ อื้อ, โดยเฉพาะ ที่ได้พูดกันมาแล้วอย่างซ้ำซาก นี่ขอเตือนให้ไหว้ครู อ้ือ, อยู่เสมอ ในการศึกษา ในการปฏิบัติงานก็ดีว่า สัพพัญญู สัพพะ ทัสสาวี ชิโณอาจรีโย มะมะ มหากรุณิโก สัตถา สัพพะโลกะ เตกิจฉะโก (นาทีที่ 08:12) อาจารย์ของเรานั้นเป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง เป็นผู้เห็นสิ่งทั้งปวง เป็นผู้สั่งสอน ที่มีกรุณา อันใหญ่หลวง เป็นนายแพทย์ อื้อ, ผู้เยียวยา โรคของสัตว์โลกทั้งปวง ดังนี้ อื้อ,
ที่นี้ก็จะกันพูดถึง ภาวะสงบเย็น ของชีวิต อื้อ, ที่เรียกว่า ภาวะปราศจากโรคทางวิญญาณ อ่า, ของชีวิต ถ้าปราศจากโรคก็คือ ความสงบเย็น อ่า, คำว่า โรค ตัวหนังสือ แปลว่า เสียดแทง อือ, เสียดแทงมันก็ไม่สงบเย็น มันเร่าร้อน มันกระวนกระวาย อื้อ, นี้ภาวะสงบเย็น เออ, ทางวิญญาณ คือ ปราศจากโรคทางวิญญาณ อื้อ, ที่ใช้คำว่า ภาวะสงบเย็น นี้ก็ถือตามภาษาบาลี อื้อ, ภาษาโบราณ นี้ยืมเอาภาษาวัตถุมาใช้ สงบเย็นทางวัตถุไม่มี ไฟเผาให้ร้อน อื้อ, ที่ร่างกายก่อน แล้วต่อมาก็มาใช้กับเรื่องจิตใจ จิตใจไม่มีไฟเผาให้ร้อน อื้อ, ก็เป็นความสงบ เย็นทางจิตใจ แล้วก็มีอยู่เป็นหลายชั้น และก็หลาย เออ, หลาย ๆ ชนิดด้วย ชนิดหนึ่งก็มีหลาย ๆ ชั้นด้วย
วันนี้เราจะพูดกันถึงไอ้เรื่อง ภาวะ เออ, ความสงบเย็นของวิญญาณ อื้อ, ที่แท้ก็คือ ก็คือจะพูดเรื่อง นิพพาน อื้อ, ทีนี้เนื่อง เนื่องจาก นิพพาน มีหลาย หลายชนิด และหลายระดับ มันก็ต้องพูดกันมากหน่อย อื้อ, คำว่า นิพพาน เออ, ความหมายตามตัวหนังสือโดยตรง แปลว่า ไปหมดแห่งความร้อน คือ ดับเย็น แต่เนื่องจาก ภาษานี้ เออ, มันมี มันมีความกำกวม อือ, ซึ่งเป็นเหตุให้มองเห็นไปได้หลายแง่ อื้อ, อย่าง นิพพานะ อื้อ, ถ้า นิ แปลว่า ไม่ ไม่มีเหลือ คือ หมด พานะ แปลว่า ไป มันก็ไปหมดไม่เหลือแห่งความร้อน
อือ, แต่ถ้า นิ แปลว่า ไม่ พานะ แปลว่า เสียดแทง เหมือนกับเอาหลาวแทงอย่างนี้ นิพพานะ ก็แปลว่า ไม่เสียดแทง อื้อ, ไปหมดแห่งความร้อน แล้วก็ว่าเป็นแสดงถึงเหตุมากกว่า ไม่เสียดแทงแสดงถึงผล เมื่อความร้อนเสียดแทง ตามวิธีความร้อน นิพพาน แปลว่า ไปหมดแห่งความร้อน มันเป็นความหมายอันแรก ที่กรง ตรงตามตัวหนังสือที่สุด ไม่เสียดแทงอะไรทำนองนี้ ความหมายที่ถัดออกมา รอง ๆ ลงมา เอาความก็คือ ไม่มีทุกข์ ไม่มีทุกข์เหลืออยู่เลย อื้อ, ไม่มีความทุกข์
ทีนี้มนุษย์เริ่มรู้จักนิพพาน ความไม่ร้อน หรือความไม่ทุกข์ อื้อ, มาตามลำดับ เรียกว่า นิพพาน โดยประวัติศาสตร์ มันก็มีสัก ๓ ยุค หรือ ๓ ชนิด แต่ละยุคมันมีแต่ละชนิด อือ, พวกแรกที่นึกถึงเรื่องนี้ อ่า, ว่ามีกินมีใช้ ทาง ทาง ร่างกายตามธรรมชาติแล้ว มันยังมีอะไรที่ดีกว่านั้น มันก็หันไปสนใจกับเรื่องกามารมณ์ อื้อ, ก็เลย เออ, สนใจกันเป็นการใหญ่ในการที่ว่า จะได้กามารมณ์ที่ อื้อ, เต็มเปี่ยมอย่างไร เท่าไร มันก็เลยไปถึง เรื่อง กิจกรรมระหว่างเพศ เป็นส่วนใหญ่ อื้อ, จึงเกิดมีตำรา เออ, ขึ้นมากมายเหมือนกัน ถ้าเราพิจาณาดูไอ้ตำรา เหล่านั้น ก็เป็นเรื่องเทคนิคมากเหมือนกัน แล้วเขาก็ ไม่ใช่ว่ามีจิตทราม เออ, เกินไปเหมือนคนสมัยนี้ที่บ้า กามารมณ์ อื้อ, คนสมัยนี้บูชากามารมณ์อย่างมีจิตทราม
ถ้าเป็นอย่างโบราณ ในประเทศอินเดียโดยเฉพาะแล้วไอ้ บรรทัดแรกของไอ้ ไอ้คัมภีร์ชนิดนี้ มันขึ้นมา โดยประโยคที่ว่า การประกอบกิจกรรมระหว่างเพศ เป็นการประพฤติธรรม ในชีวิตชนิดหนึ่ง จึงเป็นสิ่งที่ต้อง กระทำให้ถูกต้องที่สุดหรือดีที่สุด อื้อ, หมายความว่า เขาต้องการจะเอารสชาติจากกามารมณ์นี้ ชนิดที่มัน ถูกต้องที่สุด หรือเป็นธรรมที่สุด ไม่เหมือนกับคนจิตทรามสมัยนี้ แสวงหาและบริโภคกามารมณ์อย่าง เลวทราม ก็ช่วยกันแก้ไข เออ, หลักเกณฑ์ความนิยมต่าง ๆ ว่ามันถูกแล้ว ว่ามันไม่เลวทราม ไม่ลามกอนาจาร แล้วที่เรียกว่า กามารมณ์เป็นนิพพาน ของคนยุคแรก เออ, เขาหมายถึง มีความถูกต้อง คือ ไม่ จะไม่เพิ่ม ความร้อน หรือความเลวทรามอะไรขึ้นมาอีกด้วย คือ ไม่มีความทุกข์เกินไป แต่แล้วมันก็ไม่ทุกข์ มันก็ไม่ ไม่ ไม่ใช่เรื่อง ที่จะไม่มีทุกข์ได้ มันก็มีทุกข์ซ่อนอยู่ตามส่วน
เมื่อยุคนี้มันไปถึงที่สุด หมดขีดมันแล้ว มันก็มียุคใหม่เกิดขึ้น คือ พวกที่มีสติปัญญา มีความรู้ว่า คงไม่ไหวแล้ว ที่จะมีกามารมณ์เป็นความสงบเย็น อื้อ, มันก็หันไปหาเรื่อง เออ, ทางจิตใจเป็น ขั้นแรก คือ ไปหาความสงบทางจิตใจ กระทำทางจิตใจ ไม่ใช่กระทำทางสติปัญญา รู้จักแยกกันอย่างนี้ อื้อ, มีวิธีบังคับจิตใจ ให้หยุดให้สงบ ไม่ใช่อาศัยสติปัญญาตัดรากเหง้าของกิเลส ยังไม่ถึงนะ อื้อ, นี้มันเป็นเรื่อง เออ, ทางฝ่าย Mental หรือ Mentality มันไม่ถึงไอ้ Spiritua อ่า, lity การที่เรานั่งทำสมาธิให้ถูกวิธีนี้ มันไม่ ไม่ค่อยเกี่ยวกับสติปัญญา เลย จะมีอยู่นิดหน่อยก็ตรงที่ทำให้ มันเป็นสมาธิเท่านั้น อื้อ,
นี่เขาค้นคว้ากันในทางนี้มากขึ้น มากขึ้น ก็พบไอ้ภาวะที่มันสงบเย็น ที่แปลก หรือที่ดีกว่า ไอ้ความอิง ทางกามารมณ์ ก็บัญญัติไอ้สมาธินี่ว่าเป็นนิพพาน กันขึ้นมาอีกยุคหนึ่ง หรืออีกชนิดหนึ่ง แล้วก็นิยมถือเอา ไอ้ จตุตถฌาน เป็นอย่างน้อย อื้อ, จตุตถฌาน เออ, เป็นฌานที่ ๔ เออ, ในเรื่องรูปฌาน เดี๋ยวก็ต้องพูดถึง อื้อ, แต่ในที่นี้รู้ว่า เออ, ในที่นี้ให้รู้ว่า เริ่มมีความรู้ทางจิตใจ ทำจิตให้สงบ โดยกำหนดอยู่ที่อารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง อื้อ, แล้วก็ขยับขยายให้มันสงบลึกลงไป ลึกลงไป ลึกลงไป ยังมีการบัญญัติเป็นฌานที่ ๑ ฌานที่ ๒ ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๔ อื้อ, ฌานที่ ๔ อยู่ในวิสัยที่ เออ, จะทำได้ อือ, กันเป็นส่วนมาก และก็มีคุณสมบัติสงบเย็นพอ อื้อ, จึงถูก ถูกสมมุติ หรือว่าเข้าใจเอาเองว่า มันเป็นนิพพาน กันแค่นี้เอง อื้อ,
ทีนี้ต่อมา เออ, ความคิดมันไป ยังไปได้ไกลกว่านั้นอีกที่ว่า ไอ้สมาธิที่มี สิ่งที่มีรูปร่างเป็นวัตถุนี้ มันก็หยาบไปตามวัตถุ นี้เอาไอ้สิ่งที่ไม่ใช่วัตถุมาเป็นอารมณ์ มันก็จะละเอียดกว่า มันไอ้เกิดความรู้ คิดค้นมาได้ จากสมาธิประเภท อรูปฌาน เป็นฌานหรือสมาธิ อื้อ, ที่เอาสิ่งที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์อย่างนี้ มันก็เกิดขึ้นไอ้ขึ้น มาอีกชุดหนึ่ง เป็นอรูปฌาน เอาอากาศ เออ, ความว่างเป็นอารมณ์ เอาวิญญาณเป็นอารมณ์ เอาความไม่มีอะไร เป็นอารมณ์ เอาความรู้สึกที่ไม่รู้สึกอะไร คล้าย ๆ กับตายแล้วเป็นอารมณ์ อื้อ, ค้นอะไรได้ขึ้นมาใหม่ ก็เรียกว่า นิพพาน ทั้งนั้น ชั้น ค้นชั้นไหน เออ, ค้นได้ชั้นไหนขึ้นมาใหม่ ก็เรียกว่า ชั้นนั้นเป็นนิพพาน ก็อวด ก็แสดง ก็เปิดเผยแก่กันและกัน มันก็มีอยู่ยุคหนึ่ง ที่เอาความสงบแห่งจิต อื้อ, ที่เกิดจากการบังคับกระทำไปยังจิต โดยตรง ไม่เกี่ยวกับสติปัญญา อื้อ,
ทีนี้ เออ, มันนานเข้า นานเข้า มัน เออ, เกิดพระพุทธเจ้า หรือบุคคลประเภทพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านรู้ว่านี่มันไม่ใช่ นิพพาน ที่แท้จริงหรือถึงที่สุด อือ, มันยังมีไอ้ความรู้สึกที่ติด ที่ติดที่ยึดอยู่ในไอ้สิ่งเหล่านั้น หรือในความสุข อ่า, ตัวความสุขนั่นเอง จึงค้นไปในทางที่ว่า จะต้องสลัดไอ้ความติดความยึดนี้ อื้อ, จึงพบไป ในทางสติปัญญาสูงสุด คือ สติปัญญาที่มากพอที่จะให้รู้ว่าธรรมชาติล้วน ๆ นี้ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา แล้วก็ไม่ยึดถือ ก็ไม่เกิดโลภะ โทสะ โมหะ นี้ความสิ้นกิเลส โดยสติปัญญามันก็เกิดขึ้น อื้อ, เป็นนิพพาน ขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง อีกยุคหนึ่ง คือ ยุคสุดท้าย แล้วก็ไม่ปรากฏว่า ใครจะค้นนิพพาน ให้ดีกว่านี้ได้ อื้อ,
ทีนี้เราลองไล่มาดูทั้ง ๓ อย่างนี้ กามารมณ์เป็นนิพพาน นั่นมันเรื่องเนื้อหนัง นี่ความสงบแห่งจิต ด้วยอำนาจสมาธิเป็นนิพพาน นี้มันเป็นเรื่องจิต อื้อ, ส่วนความสิ้นกิเลสเป็นนิพพาน นี้เป็นเรื่องปัญญา อื้อ, มันก็มี ๓ ชั้น คือ เรื่องกาย เออ, เกี่ยว เกี่ยวกับ เกี่ยวกับกายชั้นหนึ่ง อื้อ, เกี่ยวกับจิตชั้นหนึ่ง เกี่ยวกับวิญญาณ ชั้นหนึ่ง ความระงับไปแห่งโรค มีอยู่เป็น ๓ ชั้นอย่างนี้ อื้อ, ผมจึงถือเอาหลักอันนี้มาพูดว่า ไอ้โรคนี้มีอยู่ ๓ ชั้น โรคกาย โรคจิต โรควิญญาณ อื้อ, ดังนั้นความปราศจากโรคทั้ง ๓ ชนิดนี้ อื้อ, เรียกว่า เป็นความสงบ ซึ่งมี ความหมายเป็น นิพพาน สูงต่ำกันอยู่ตามลำดับ อือ, ของคุณภาพที่มันมี แล้วก็มีประวัติศาสตร์เป็นมา เป็นยุค ๆ อย่างนี้ อื้อ, เรียกว่า มนุษย์ก้าวหน้าทางวัฒนธรรมฝ่ายจิต เออ, มาเป็นลำดับอย่างนี้
ทีนี้ในแต่ละอย่าง ๆ กามารมณ์เป็นนิพพาน ก็มันมีกามารมณ์หลายแบบ อือ, ความสงบแห่งจิตเป็น นิพพาน ก็มีความสงบหลายแบบ หลายชั้น อื้อ, ความสิ้นกิเลสเป็นนิพพาน มันก็มีหลาย หลาย ๆ ชั้น ซึ่งจะได้พูดต่อไป คือว่ามันอย่างว่า มันชั่วคราวบ้าง มัน เออ, ไม่ ยังไม่แท้จริงบ้าง อื้อ, หรือว่าแม้จะแท้จริงแล้ว ก็ยังมีเป็นระยะ เหมือนกับที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อิติวุตตก สิ้นกิเลสสิ้นเชิงลงไปแล้วนี้ แต่ในขณะแรกนั้นมันยัง กรุ่น ๆ อยู่ อื้อ, ต้องรอไปอีกระยะหนึ่ง มันถึงจะเย็นสนิท นี่เขาเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน อนุปาทิเสสนิพพาน แปลว่า นิพพาน ยังมี เออ, อุปาทิ เหลือ นิพพาน ไม่มีอุปาทิ เหลือ อื้อ, เมื่อสิ้นกิเลส ลงไปทันควัน แต่เวทนายังเป็นของร้อนอยู่สำหรับบุคคลนั้น จนกว่าเวทนาจะเป็นของเย็นสนิทสำหรับ บุคคลนั้น จึงจะเรียกว่า เป็น อนุปาทิเสสนิพพาน
ถ้าเปรียบเทียบเหมือนกับว่า ก้อนไฟแดง ๆ อ่า, ถ่านไฟก้อนแดง ๆ นี้ ทำให้มันเย็นสนิท หมดความร้อน เออ, หมดความเป็นไฟแดง ๆ นี่ เอา เอาน้ำราดลงไปอย่างนี้ ดำสนิทแล้ว แต่ในขณะทันควัน นั้น มันยังร้อนอยู่ เพราะว่าไอร้อนยังเหลืออยู่ อื้อ, แต่จะไม่เรียกว่า ดับแล้วก็ไม่ได้ มันดับแล้ว มันเย็นมันดำ สนิทแล้ว ไม่มีทางจะลุกเป็นไฟขึ้นมาได้อีกแล้ว แต่มันก็ยังอุ่น ยังร้อน ยัง เออ, มีไอร้อนอยู่ นี่ นิพพาน ชนิด สิ้นกิเลสแล้ว แต่เวทนายังเป็นของร้อน ต้องรอไปอีก อีกระยะหนึ่ง จนไอ้ถ่านไฟก้อนนั้น เย็นสนิทอีกทีหนึ่ง เรียกว่า นิพพาน สิ้นกิเลสแล้ว เวทนาเป็นของเย็น นี่มันเป็น ๒ ชนิด อ่า, ๒ ชั้นอยู่อย่างนี้ แล้วก็มีอีกมาก เออ, เป็นอันว่า ในชั้นแรกก็เอาตามไอ้ ประวัติของมัน ก็คือว่า กามารมณ์เป็น นิพพาน อยู่ยุคหนึ่ง ความสงบแห่งจิต เป็นนิพพาน อยู่ยุคหนึ่ง ความสิ้นไปแห่งกิเลส เป็นนิพพาน ยุคสุดท้าย
ทีนี้เราจะพูดถึง นิพพาน ชนิดสติปัญญา เออ, แบบสุดท้ายนี่ ว่ามันมีอะไร อื้อ, ที่ต้องสนใจอยู่อีก ให้นิพพาน ชนิดที่เล็งถึงความไม่มีกิเลสนี่ ยังแบ่งได้เป็นไอ้ ชั้น ๆ อื้อ, เรียกว่า นิพพาน ในพุทธศาสนาดีกว่า นิพพาน กามารมณ์ หรือนิพพาน ไอ้ฌานสมาบัตินั้น เป็นนิพพาน นอกพุทธศาสนา หรือก่อนพุทธศาสนา อื้อ, นิพพาน ในพระพุทธศาสนานี้เล็งถึง นิพพาน เพราะ ความไม่มีแห่งกิเลส อื้อ, นี้ อ่า, อาจจะแบ่งเป็นชั้นได้ ก็เพราะว่า มันมีชั้นที่ เออ, แรกรู้จัก หรือบังเอิญ หรือชั่วคราว เพียงแต่ทำให้รู้จัก ความที่ไม่มีกิเลสในบางครั้ง โดยบังเอิญ ความประจวบเหมาะ นี้ก็เรียกกว่า อือ, นิพพานประจวบเหมาะ ด้วยเหตุปัจจัย อ่า, ที่จะทำให้กิเลส ไม่รบกวนจิตใจสักพักหนึ่ง นี่เรียกเป็นบาลีเรียกว่า ตทังคนิพพาน
เออ, นิพพาน คือ ความที่ไม่ถูกกิเลสรบกวน เพราะความประจวบเหมาะของสิ่งแวดล้อมชั่วขณะหนึ่ง อื้อ, อันนี้ก็เรียกว่า นิพพาน ได้ อ่า, เพราะว่าตอนนั้นเวลานั้นมันไม่มี กิเลสรบกวน แต่มันเป็น อุปธรรม หมายความว่า กลับถูกรบกวนอีกก็ได้ เพราะว่าจิตไม่สิ้นกิเลส ไม่สิ้นความเคยชินแห่งกิเลส อื้อ, อย่างนี้เรียกว่า ชั่วคราว ชั่วสมัย อื้อ, เป็นภาษาบาลีเรียกว่า สามายิกัง สามายิกัง (นาทีที่ 26:39) ก็คือคำว่า สมายะ (นาทีที่ 26:44) แล้ว แล้วลงไอ้ นิพัทธปัจจัย (นาทีที่ 26:49) เป็น เออ, เป็น อิ เป็นสามายิกะ (นาทีที่ 26:52) ลง อิกะ แล้วก็ต้องได้พฤ หรือ ทีฆะ ไอ้ตัวสะให้มันยาวออกไปเป็น สา ภาษาบาลีเป็นอย่างนี้ เออ, ตามหลักของภาษา บาลีมันเป็นอย่างนี้ เนื่องด้วยสมัยเป็น สามายิกัง (นาทีที่ 27:10) เจโตวิมุติ ก็ดี วิโมกข์ ก็ดี เออ, มัน นิพพาน ก็ดี มันมีชนิดที่เป็นสามายิกัง (นาทีที่ 27:18) คือ ยังไม่ ไม่ ไม่แท้จริงถึงที่สุด แต่เนื่องด้วย มันมีไอ้ ไอ้ปรากฏการณ์ หรือมีผลแก่จิตในเวลานั้นเหมือนกัน อ่า, กับที่ถึงที่สุด เพราะไม่ถึงที่สุดมันเป็นของชั่วคราว เราเลย เลยเรียกว่า เออ, สามายิกัง (นาทีที่ 27:41) ชั่วสมัย อื้อ,
แล้วสิ่งนี้จึงเป็น กุป กุปปธรรม คือว่า กลับกำเริบกลับยุ่งยากได้อีก เพราะมันยังไม่มีจริงถึงที่สุด อื้อ, แต่ก็มีประโยชน์ ในหลาย ๆ ทาง อือ, คือว่าเป็นเรื่องที่ทำให้รู้จักไอ้สิ่งใหม่นี้ ความแปลกประหลาด หรือว่า ของวิเศษสิ่งใหม่นี้ มันมากกว่าที่ธรรมชาติมันมีให้ ที่จริงไอ้ความไม่มีกิเลส รบกวนนั้นนะ มันก็มีอยู่ตาม ธรรมชาติโดยไม่ต้องทำอะไรเลย เช่น เวลาที่นอนหลับสนิท หรือว่าบางครั้งบางคราวอารมณ์ มันไม่ เออ, ถูกปรุงแต่งมากมาย จิตใจไม่ถูกรบกวน มันก็มีความสบายชนิดนี้ แต่นั้นมันปล่อยไปตามบุญตามกรรม หรือว่าตามธรรมชาติเกินไป เป็นความพักผ่อนตามธรรมชาติ อื้อ,
เพราะว่าคน อ่า, สัตว์ที่มีชีวิตต้องนอนหลับพักผ่อน เวลานั้นไม่มีกิเลสเสียดแทง ก็เป็นเค้าเงื่อน อันเดียวกันกับไอ้ ตทังคนิพพาน คือ มีเหตุปัจจัย เออ, เหมาะพอดี ด้วยเราพยายามบ้าง เออ, หรือเราพยายาม จะปฏิบัติให้สิ้นกิเลสนี้ แต่มันยังไม่ทันจะสิ้นกิเลส มีความประจวบเหมาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้กิเลสหยุด หรือระงับไปมากที่สุดชั่วคราว จนหลงไปว่าเป็นนิพพาน จริงก็มี หรือว่าที่เราจะจัดจะทำเอาเอง เช่น ไปใน สถานที่ ที่มีธรรมชาติหรือมีสิ่งแวดล้อมอะไร เออ, ชวนให้ลืมตัวกู ของกู เออ, อย่างที่ผมยกตัวอย่างว่า มาที่สวนโมกข์นี้ เออ, คนเขารู้สึกสบายบอกไม่ถูก เพราะว่าสถานที่มันช่วยแวดล้อม ไม่ให้จิต เออ, ถูกรบกวน ด้วยตัวกูของกู มันก็เป็นนิพพานบังเอิญประจวบเหมาะ ชั่วคราวด้วยเหมือนกัน อื้อ, เราก็จะเรียกมันอีกอย่าง หนึ่งว่า นิพพานตัวอย่าง นิพพานชิมลอง เป็นตัวอย่าง ให้เกิดความสนใจ อื้อ,
นี้อันแรกหรือชั้นแรกมันมีอยู่อย่างนี้ แล้วมันก็มีประโยชน์ ที่จะหล่อเลี้ยงชีวิตให้สดชื่น หรือว่าเป็น ความพักผ่อนของชีวิตที่เพียงพอ ถ้าพักผ่อนไม่พอก็เป็นโรค เออ, กำเริบ มาถึงทางกายนี่ เช่น นอนหลับ ไม่พอนี้ มันก็เป็นโรคทางกาย หรือจะเป็นโรคร้าย หรือก็เสียชีวิตก็ได้ อื้อ, ดังนั้นการที่มีการพักผ่อนทางจิต แม้ชนิด ชั่วคราวอย่างนี้ ก็เป็นการดีที่สุด จะมีโอกาสเป็นโรคทางวิญญาณน้อยลง ทางกายก็สบายมาก อื้อ, แม้อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็น นิพพาน ชนิดหนึ่ง เป็นอันดับแรก เรียกว่า นิพพาน อ่า, ประจวบเหมาะ ของสิ่งแวดล้อม เป็นจิตปราศจากความรบกวนของกิเลส เป็นได้สมัยหนึ่ง อื้อ, คือ คือ ระยะหนึ่ง
ทีนี้อันที่ ๒ นี้ไม่ปล่อยตามความประจวบเหมาะ ไม่ปล่อยให้ ให้หวังไอ้ความประจวบเหมาะอย่างนั้น เราจะ จะทำให้ดีกว่านั้น มันก็มาถึงการจัดปรับปรุงไอ้ อื้อ, เกี่ยวกับ เออ, จิตโดยตรงนี้ มันก็ไปพ้อง พ้องกันกับ ไอ้นิพพาน ยุคโบราณ ที่ถือเอาสมาธิ หรือฌาน หรือสมาบัติเป็นนิพพาน เป็น แต่ทีนี้ทำได้ดีกว่า ทำได้ง่ายกว่า ทำได้เร็วกว่า อื้อ, มีการเจริญรูปฌาน ในแบบที่มันปรับปรุงแล้ว เป็นของพุทธศาสนาขึ้นมา อื้อ, แล้วก็มี อ่า, โอกาสที่จะ สงบเย็นอย่าง นิพพาน อื้อ, เป็นความสุข ยิ่งกว่าความสุขทางกามารมณ์ หรือทางโลก ๆ อื้อ, จนเป็นที่พอใจแหละ เอ่อ, ในเวลา เออ, ทัน ๆๆ ทันตาทันใจ คือ ไม่ต้องรอตอนตายแล้ว อื้อ, นี้ถ้ามีความ สามารถในการบังคับจิตเท่าไร มันก็ได้มากเท่านั้น แต่แล้วมันก็ไม่พ้น เอ่, จากการที่จะเป็นของชั่วคราว เป็นสามายิกา (นาทีที่ 33:00) อีกเหมือนกัน คือ มันชั่วที่บังคับจิตไว้ได้ อื้อ, เสร็จแล้วมันก็เป็นกุปปธรรม คือ กลับกำเริบไปสู่ความไม่ ไม่สงบเมื่อไหร่อีกก็ได้ นั้นก็ยังเป็นสามายิกา (นาทีที่ 33:13) ยังเป็นกุปปธรรม เหมือนกับไอ้อันแรก อื้อ,
ทีนี้นิพพานที่ อันที่ ๓ ก็คือว่า เป็นสมุจเฉทนิพพาน อันที่ ๒ นี้เรียกว่าวิกขัมภนนิพพาน อันที่ ๓ เรียกว่า สมุจเฉทนิพพาน คือ เด็ดขาด เฉียบขาด อ่า, เด็ดขาดลงไป อื้อ, นี้เล็งถึงการที่ทำให้กิเลส จริง ๆ สิ้นไป ด้วยการถูกตัดราก ตัดเหง้า ตัดเหตุปัจจัยของมัน อื้อ, กิเลสชนิดไหนประเภทไหนสิ้นไป โดยลักษณะอย่างนี้ ก็เรียกว่า สมุจเฉทนิพพาน ได้ทั้งนั้น อื้อ, สมมุติว่ากิเลสมันมีอยู่ ๑๐ ชนิด เราทำให้มัน สูญสิ้นไป เออ, ทั้งรากเหง้าได้ ๓ ชนิด ก็เป็น สมุจเฉทนิพพาน ชนิดหนึ่ง อื้อ, ทำให้ได้ไปถึง ๕ ชนิด ก็เป็นสมุจเฉทนิพพาน อีกชนิดหนึ่ง อ่า, ทำได้หมดก็เป็น สมุจเฉทนิพพาน สูงสุด อื้อ, อย่างนี้เขาไม่เรียกว่า ชั่วคราวแล้ว เพราะว่า กิเลสใดสิ้นไปกิเลสนั้นสิ้น เออ, สิ้น สิ้นไปโดยแท้จริง ไม่ ไม่หวนกลับมาอีก เพราะฉะนั้นมันจึงไม่ ไม่ ไม่เป็น ของชั่วคราวสำหรับกิเลสนั้น อื้อ, แล้วทีมันก็ไม่เป็นกุปปธรรม มันกลายเป็นอกุปปธรรม แปลว่า ไม่กลับกำเริบ อื้อ, นี้เป็น นิพพาน อ่า, ที่เด็ดขาด หรือแท้จริง โดยอาศัยการตัดรากเหง้าของกิเลสออกไปได้ อื้อ,
ทีนี้แม้ประเภท อ่า, นิพพาน ประเภทแท้จริง คือ สมุจเฉทนิพพาน นี้ อื้อ, มันก็ยังอาจจะ หรือถ้า ต้องการนั้น แบ่งออกไป อ้ือ, เป็นชนิด ๆ ได้ แล้วแต่ว่าอาศัย สติปัญญาชนิดไหน มาเป็นเครื่องช่วยตัดรากเหง้า ของกิเลส อื้อ, ตามหลักที่บัญญัติขึ้นชั้นหลัง เออ, ยังไม่เคยพบในไตรปิฎก แต่เขาก็มีเหตุผลที่ยอมรับไว้ได้ โดยหลักมหาปเทส นี้ที่พูดกัน เออ, โดยหลักเกณฑ์ ก็ว่า ถ้าความสิ้นกิเลสเป็นไปได้ เพราะอาศัยสติปัญญา ที่มองเห็นอนัตตา อื้อ, อย่างออกหน้าที่สุด อื้อ, ไอ้ นิพพาน นั้นเขาเรียกว่า สุญตนิพพาน อ่า, นิพพาน ที่อาศัย สุญตา เออ, เป็นกำลังสำคัญ นิพพานที่อาศัยอนัตตา หรือสุญตา เป็นกำลังสำคัญ นี้เขาเรียกกว่า สุญตนิพพาน อื้อ, นี้ถ้าว่าไอ้ นิพพาน นั้นมันได้อาศัยสติปัญญา อือ, ของการเห็นอนิจจัง อย่างออกหน้า นิพพาน นั้นก็เรียกว่า อนิมิตตนิพพาน แต่ถ้าสติปัญญามันอาศัยไอ้ความทุกข์ เห็นความทุกข์มาออกหน้า แล้วนิพพานขึ้นมา ไอ้นิพพาน นั้นมันเป็น สิ่งที่เรียกกันว่า อัปปณิหิตนิพพาน อือ, เป็นภาษาเขาที่เรียกว่าภาษาอภิธรรม คือ ภาษาที่ลึกไปกว่าภาษาธรรมดา อือ,
แต่ที่จริงนั้นมันก็เห็นไอ้ทั้ง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เออ, กลมกลืนกันอยู่ในนั้น อื้อ, ทั้ง ๓ อย่างแหละ หากแต่ว่า บางคน หรือบางกรณีมัน มันหนัก เออ, ไปแต่ในแง่ของอนัตตา บางคนก็หนักไปในแง่ของ อนิจจัง บางคนก็ทุกขัง มันแล้วแต่อุปนิสัยสันดาน ไอ้สิ่งแวดล้อมของบุคคลคนหนึ่ง หนึ่ง อื้อ, ที่จิตใจของเขาจะมอง เห็นมัน เออ, มองเห็นไอ้ ปัญหานี้ ในแง่ เออ, ของทุกขัง หรืออนิจจัง หรืออนัตตา อื้อ, เป็นเด่นที่สุด อื้อ, แต่ความจริงมันมีอยู่ว่า ถ้าเห็นอนิจจัง มันก็ต้องเห็นทุกขัง เห็นทุกขัง ก็ต้องเห็นอนัตตา อื้อ, นี้เราจะไม่แบ่ง เป็น ๓ ชนิดอย่างนี้ก็ได้ แต่ก็เมื่อศึกษากันอย่างละเอียดแล้ว มัน มัน มันเห็นได้ว่ามันมีอยู่อย่างนี้ อื้อ, แล้วที่สำเร็จประโยชน์โดยมากที่สุด มันก็คือ เห็นอนัตตา เห็นความไม่ใช่ตนนี่ เออ, แล้วมันจึงสิ้น เออ, สิ้นไป เออ, มีความสิ้นไปแห่งกิเลส อื้อ,
การที่เห็นเพียงอนิจจัง เออ, รุนแรงนี้ อื้อ, มันก็นำไปสู่ มัน มันก็ ก็พอพ้นได้ เพราะมันเห็นอนัตตา นั้นนะ โดยแฝงอยู่ในนั้น อื้อ, ทีนี้บาง บางเวลานี่ไอ้คนเรา มันตั้งต้นด้วยการเห็นความไม่เที่ยงรุนแรงก่อน ไปสังเกตดู ก็จะเข้าใจได้ บางคน บางกรณี บางเวลา มันตั้งต้นการเห็นความไม่เที่ยง อย่างรุนแรง แล้วมันก็ไม่ ไปคำนึงถึง อนัตตา อะไร มันบอกว่าไม่ไหว มีแต่ความ เปลี่ยนแปลง เออ, ไม่มีตัวจริงเลย อนัตตา มันเลยแฝง อยู่ในความเปลี่ยนแปลงนั้น แล้วก็ไม่ เออ, ไม่ ไม่หวังที่จะยึดอะไรเป็นตัวกูของกู
ทีนี้บางกรณีไอ้บางคนความทุกข์มันบีบคั้น มันเห็นแต่แง่ความทุกข์ ความทุกข์มันบีบคั้นอยู่เรื่อย อื้อ, ก็มองเห็นว่า อุ๊ย, ไม่มีอะไร วุ้ย, มีแต่ความทุกข์ทั้งนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปนี้ไม่มีอะไรมีแต่ความทุกข์ทั้งนั้น เห็นรุนแรงไปในแง่ของความทุกข์ มันก็ไม่ยึดถือไอ้สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่มีแต่ความเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป อื้อ, อย่างนี้ก็เรียกว่า มันเอา อา อาศัยความเห็นทุกข์ เป็นพื้นฐาน เป็นรากฐาน มาออกหน้า เออ, มาทำให้ หยุดยึดมั่นถือมั่น หรือทำลายความยึดมั่นถือมั่นเสียได้ อื้อ,
การแบ่งนิพพาน เป็น ๓ อย่าง อย่างนี้ เออ, คงจะถือเป็นหลักสำคัญ กันอยู่ยุคหนึ่ง ดังนั้นจึงเห็นพูดถึง มาก หรือว่าแม้แต่เขียนรูปภาพนิพพาน ก็เขียนเป็น ๓ ชนิดอย่างนี้ เขียนรูปภาพนิพพาน เป็นแก้ว ๓ ดวง หรือ ๓ ชนิด ตามชื่อที่เรียกว่า สุญตนิพพาน อัปปณิ อ่า, อนิมิตตนิพพาน อัปปณิหิตนิพพาน อื้อ, นี้สิ่งที่เรียกว่า นิพพาน นี้ บางทีก็เรียกว่า วิโมกข์ บางทีก็เรียกว่าวิมุติ ชื่อไม่ค่อยเหมือนกัน แต่ว่าไอ้เนื้อแท้ หรือความหมาย นะมันเหมือนกัน คือ ปราศจากทุกข์ หรือว่าดับไปแห่งทุกข์ หรือหลุดพันไปได้จากความทุกข์
นี้คุณฟังแล้วทบทวนดูให้ดี ว่าไอ้ นิพพาน นะมันมี อ่า, มีความเป็นมาอย่างไร หรือประวัติศาสตร์ของ นิพพาน นะมันได้เกิดขึ้นในโลกอย่างไร ตั้งแต่มนุษย์รู้จักกามารมณ์เป็นนิพพาน รู้จักความสงบจิตเป็นนิพพาน รู้จัก ความไม่มีแห่งกิเลสเป็น นิพพาน มันไม่ใช่อันเดียวกัน อื้อ, ความไม่มีกิเลสมารบกวนเป็นนิพพาน นี้ก็ยัง แบ่งได้เป็นเปรต เออ, ที่มันต่ำกว่า ดี แล้วก็สูงขึ้นมา แล้วก็ดีที่สุด และไอ้ชนิดดีที่สุดนั้นนะ มันก็ยังมี เออ, การแบ่งได้ ตามไอ้ความรู้ ที่มันอาศัยอะไร อื้อ, เป็นรากฐานชั้นต้น มันก็แบ่งได้เป็น ๓ อย่างอีก นี่คือไอ้พวก แบ่ง อื้อ, พวกวิจัยออกไปเป็นไอ้ อย่าง ๆ ด้วยการวิเคราะห์ดู อื้อ,
ทีนี้เมื่อเข้าใจไอ้ ไอ้ ไอ้หลักเกณฑ์เหล่านี้แล้วก็ไป มองเห็นได้เองว่า ไอ้ความสงบเย็นนั้นมันมีอยู่ หลายชนิด สูงต่ำกว่ากัน ความสงบเย็นชนิดไหนเป็นอย่างไร นี้เราเรียกว่า ความหายโรค สภาพที่ไม่มีโรค ทางวิญญาณนี้มันเป็นอยู่หลายชั้น แล้วชั้นหนึ่งก็มีหลายชนิด หรือชนิดหนึ่งก็มีอยู่หลายชั้น อย่างนี้ เป็นหลัก เป็น เป็นหลักชั้นต้น พูดแต่หัวข้อ เป็นหลักชั้นต้น สำหรับจะกำหนดจดจำไว้ เรามีโรคทางกาย มีโรคทางจิต มีโรคทางวิญญาณ ก็ทำให้หายไป เออ, โดยวิธีที่ว่าหายชั่วคราว เพราะประจวบเหมาะ ของสิ่งแวดล้อม หรือว่าหายชั่วคราว เพราะว่าเราบีบบังคับไว้ได้ เออ, หรือว่าหายชั่วคราว เพราะเราตัดต้นเหตุของมันได้ หมดจด การที่จะตัดต้นเหตุของมันได้ก็มี อ่า, ว่าจะอาศัยอนิจจัง หรืออาศัยทุกขัง หรืออาศัยอนัตตา เอาความรู้อันไหนมาตัดต้นเหตุมันโดยเฉพาะ มันแล้วแต่บุคคลนั้น ๆ ว่ามันชินอยู่กับอะไร หรือว่าเหมาะที่จะ เห็นอะไร อื้อ,
ทีนี้ก็อยากจะพูดถึงคำว่า นิพพาน ในทางภาษาศาสตร์ นี้ก็ควรรู้ สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ เมื่อเอาภาษาเป็น หลัก นิพพาน ก็แบ่งไปตามหลัก ของภาษา อือ, กลายเป็นว่านิพพาน ของ เออ, สิ่งที่มีความร้อน คือ ความเย็น ลงของสิ่งที่มีความร้อน คำว่า นิพพาน จึงใช้แก่วัตถุ สิ่งของก็ได้ ใช้แก่สัตว์เดรัจฉานก็ได้ ใช้แก่มนุษย์ก็ได้ อื้อ, ใช้แก่วัตถุ ก็คือ วัตถุของร้อน อะไรมันเป็นวัตถุร้อน แล้วมันเย็นลงเย็นลงนั้น ก็เป็นนิพพานของวัตถุนั้น เป็นถ่านไฟแดง ๆ เมื่อก่อนหน้านี้ยกตัวอย่างมา เอาคีมคีบออกมาจาก เตามาวางลง มันก็เปลี่ยนสีจากสีขาว เป็นสีเหลือง จากสีเหลืองเป็น สีแดง เป็นสีดำในที่สุด เย็นลงแห่งถ่านไฟนั้น ๆ คือ นิพพาน แห่งถ่านไฟนั้น อื้อ, หรือของร้อนอย่างอื่น ๆ อาหารที่เราจะกินที่ยังร้อนกินไม่ได้ น้ำชากาแฟร้อนเกินไปกินไม่ได้ ต้องรอให้ มันนิพพาน เสียพอสมควรก่อน แล้วจึงจะกินเข้าไปได้ อื้อ,
นี่ นิพพานแห่งวัตถุ มีมากมาย พูดกันอยู่ในบ้านเรือน เด็ก ๆ ก็พูดเป็น ร้องตะโกนว่าไอ้ ข้าวหรือว่า แกงนี้ มันนิพพานพอสมควรแล้ว มากินเถอะ นี้เป็นภาษาชาวบ้านพูดในบ้านเรือน เย็น อ่า, เย็นแห่งวัตถุ หรือนิพพานแห่งวัตถุ นี้ นิพพานแห่งสัตว์เดรัจฉาน ก็หมายความว่า สัตว์เดรัจฉานตัวนี้เย็นแล้ว ไอ้ร้อนของ สัตว์เดรัจฉานนั่นคือ ความร้ายกาจของมัน มันจะกัดเอา หรือว่ามันเป็นอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง อื้อ, ถ้าเราฝึกมันดี ขจัดไอ้ความโหดร้าย หรือพิษร้ายของมันออกไปเสียได้ เป็นสัตว์ที่ ปลอดภัย เออ, โดยประการ ทั้งปวงแล้ว ก็เรียกว่า สัตว์เดรัจฉานตัวนี้ มันก็นิพพานแล้ว ไม่ใช่ตายนะ อื้อ,
ที่นี้ก็มาถึงคน คนก็คือว่า กิเลสนี้มันไม่รบกวน อื้อ, มีความเย็น เย็นชั่วคราว หรือเย็นตลอดกาล ก็ตามแต่ นี่เป็นนิพพานแห่งคน อื้อ, แล้วก็อย่าลืมข้อสำคัญที่สุดข้อหนึ่ง คือว่า มัน นิพพาน เป็น ๆ ไม่ใช่ตอน ตายแล้ว ไอ้นิพพาน ตอนตายแล้วนั้นคนโง่พูด อื้อ, ยิ่งค้นยิ่งไม่พบในพระคัมภีร์ ไอ้ นิพพาน ตอนตายแล้ว ตายแล้วจึง นิพพาน นี่จะไปมีประโยชน์อะไรกัน จะมีประโยชน์แก่ใคร อื้อ, มันต้องนิพพาน เป็น ๆ นี้ แล้วมันเย็นได้เท่าไร ก็เป็น นิพพาน เท่านั้น อื้อ, พอเข้าโลงไปแล้ว มันไม่ต้องพูดถึงแล้ว ถ้าพูดถึงแล้วมันเป็น เรื่อง อ่า, พูด อ่า, พูดอย่างสมมุติ พูดอย่างมี ความต้องการอย่างอื่น อื้อ,
แต่มันมี สิ่งที่ทำให้ฉงนอยู่ได้อย่างหนึ่งก็คือว่า อือ, คนนี้ทำลายร่างกาย ทำลายสังขารลงไปด้วย นิพพาน ชนิดไหน อื้อ, ไอ้คนนี้มันตายลงไปด้วย นิพพานชนิดที่ เออ, กิเลสยังมีเหลืออยู่ ก็เรียกว่าเขา เขา นิพพาน ลงไปด้วยสอุปาทิเสสนิพพาน อื้อ, ถ้าเป็นพระอรหันต์ ร่างกายแตกดับลงไปก็เรียกว่า ร่างกายนี้ แตกดับลงไปด้วย อนุปาทิเสสนิพพาน เพราะว่าจิตใจของเขาในเวลานั้น มัน มัน มันมีอยู่หรือประกอบอยู่ด้วย อนุปาทิเสสนิพพาน ไม่มีกิเลสเหลืออยู่เลย ดังนั้นการตายของเขานั้นตายด้วยนิพพานชนิดนี้ อื้อ, ถ้าผิดจากนี้ ก็ล้วนแต่ตายด้วย อ่า, สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพาน ที่ยัง มีกิเลสเหลืออยู่ แต่ที่จะไปเกิดอีกเป็นอย่างไร ไม่ต้องพูดถึงนะป่วยการ นี่เราจะพูดกันที่มันเห็นชัดทีเดียว อื้อ,
ถ้าคนปุถุชนตายลง มันก็หมายความว่า ตายลงไปด้วยกิเลส คือ ไม่มีนิพพาน ถ้าจะถือว่าเขาตายด้วย ตทังคนิพพาน เวลานั้นเขาสงบดีมันก็ได้เหมือนกัน แต่มันไม่เข้า ไม่ขึ้นถึงระดับหรือมาตรฐาน เพราะฉะนั้น ไม่มีใครพูดกัน อื้อ, แล้วก็จะไม่พูดกัน เออ, ถึง นิพพานอย่างอื่นนะ ถ้าตายลงเขาจะ เขาเพ่งเล็งไป ให้เข้าใจว่า ตายลงไป ลงด้วย อนุปาทิเสสนิพพาน หรือไม่เท่านั้นนะ อื้อ, เพราะฉะนั้นคุณจะตายลงด้วยไอ้ นิพพาน ชนิดไหน ก็ไปคอยสังเกตดูตนเอง คงจะมีประโยชน์ อื้อ, เราอาจจะตายเมื่อไรก็ได้ อุบัติเหตุตายเมื่อไรก็ได้ หรือว่าตายไปตามธรรมชาติเมื่อแก่เมื่อเฒ่าก็ได้ อื้อ, เตรียมพร้อมที่จะรู้ว่ามันจะตายลงด้วยนิพพาน อะไร นี่เมื่อจิตใจมีสภาพเป็นอย่างไร พูดภาษาที่เรากำลังพูดอยู่ คือว่า จะตายลงด้วยสภาพ ของจิตปราศจากโรค ชนิดไหน
แล้วทีนี้ก็ อือ, ได้พูดแล้วว่า นิพพาน นี้ เป็นเรื่องของคนเป็น ไม่ใช่เรื่องของคนตายหรือคนตายแล้ว มันก็ต้องชี้ให้เห็นกันต่อไปอีกว่า อื้อ, มันมีได้อย่างไรในชีวิต ที่เป็น ๆ อยู่นี้ มันจะนิพพานได้อย่างไร เออ, เท่าไร หรือ เออ, หรือว่าทั้งบรรพชิต ทั้งฆราวาส ทั้งชาวบ้าน ทั้งชาววัดนี้ อื้อ, จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า นิพพาน นี้ได้อย่างไร หรือว่าจะอยู่ในสภาวะที่ปราศจากโรค อ่า, ได้อย่างไร อื้อ, ก็จะต้องพูดถึงไอ้สิ่งที่เรียกว่า วิหารธรรม ที่มีได้ในชีวิตประจำวัน วิหารธรรม หมายความว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ หมายความว่า เรามีชีวิต มีลมหายใจอยู่มาก เออ, ด้วยความรู้สึกอย่างไร ความรู้สึกอย่างนั้น เรียกว่า วิหารธรรม อันหนึ่ง ๆ
ทีนี้ถ้าถือตามหลักของพระพุทธศาสนา อยู่ในขอบเขตของพระพุทธศาสนา เอาพระพุทธเจ้าเป็นหลัก อื้อ, ก็จำแนกวิหารธรรม ออกเป็น ๔ อื้อ, เรียกว่า วิหารธรรม ที่เป็นทิพย์ ทิพย์ ของทิพย์นี่ และ วิหารธรรม ที่เป็นพรหม วิหารธรรม ที่เป็นอริยะ และก็ วิหารธรรม ที่เรียกชื่อว่า สุญตาวิหาร อื้อ, วิหารธรรม ที่เป็นของ ทิพย์ เรียกว่า ทิพวิหาร ทิพวิหาร ฟังดู เออ, เพราะมาก ทิพวิหาร ทิพวิหารธรรม มีชีวิตอยู่ด้วยทิพวิหาร หรืออยู่ในวิหาร ที่เป็นทิพย์ หมายความว่า เวลานั้นเรามีจิตใจประกอบอยู่ด้วย เออ, ความสงบเย็น ที่มาจาก รูปฌาน ๔ อื้อ, ชนิดแท้จริง หรือชนิด เออ, ชนิดที่แรกเริ่ม หรือว่า มันมีความรู้สึกในขั้นแรกเริ่มที่จะเป็น อย่างนั้น คือ จิตของเราสบายไม่มีอะไรรบกวน เราก็เรียกว่าไอ้ ทิพวิหาร นี้ทั้งนั้นแหละ
แม้ว่าเราจะไม่รู้จักเรียกมันว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน อะไร เมื่อพระพุทธเจ้ายังเป็นทารก อ่า, ไอ้งานแรกนาขวัญ ก็มีทิพวิหาร นี้ เออ, เป็น จตุตถฌาน เป็น เออ, ปฐมฌาน เมื่อใจคอของเราสบายไม่มีอะไร รบกวน จิตสงบลึกพอสมควร เรียกว่า เวลานั้นเราอยู่ในทิพวิหาร อื้อ, นี้ถ้าสูงกว่าไปกว่านั้น เป็นพรหมวิหาร ก็คือว่า เราอยู่ด้วยความรู้สึก เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อย่างใดอย่างหนึ่ง อยู่ตลอดเวลา และมีความสุข มีความพอใจ ในความรู้สึกอันนั้น อย่างนี้เรียกว่า อยู่ใน พรหมวิหาร ใน ในวิหารอย่างพรหม ซึ่งบางเวลาเรา ก็มีกันได้ทั้งชาวบ้านและชาววัด สมมุติว่า เราเอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น ด้วยความเมตตากรุณา แล้วมานั่งสบายใจ อยู่กี่นาทีกี่ชั่วโมงก็ตามใจ อย่างนี้เรียกว่า เรา เออ, อยู่ในวิหารธรรม ที่เป็นพรหม ที่นี่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ตอนตายแล้ว
เออ, ถ้าผมพูดขอให้เข้าใจด้วยว่า มันที่นี่เดี๋ยวนี้ทั้งนั้น ไม่พูดอย่างตอนตายแล้ว เหมือนกับที่เขาพูด อื้อ, ทีนี้ถ้าว่ากิเลสไม่รบกวน พระอรหันต์ ไม่มีกิเลสรบกวน ท่านอยู่ด้วยความไม่รู้สึกที่กิเลสไม่รบกวน อย่างนี้เขาเรียก อริยวิหาร ทีนี้ถ้าเราจะมีอริยวิหาร กันบ้าง ก็ ก็ขณะที่เรามีจิตใจเหมือนพระอริยเจ้า ที่โล โลภะ โทสะ โมหะ ไม่รบกวน เย็นถึงขนาดนั้น แม้ชั่วคราวชั่วขณะนี้ อย่างนี้ก็เรียกว่า เป็นอริยวิหาร ได้ โดยอนุโลม
ส่วนอันสุดท้ายที่เรียกว่า สุญตาวิหาร นั้น อยู่ด้วยความรู้สึกว่าง ไม่รู้สึกในสุข ไม่รู้สึกในสุขไอ้ที่มัน เกิดจากอะไรเหล่านี้ อื้อ, อยู่ด้วยจิตที่มันว่างจากความรู้สึกในอะไร แม้ว่าในขณะนั้นมันจะรู้สึก ว่ามี เออ, ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีรูปเสียง กลิ่น รส สัมผัสเข้ามาแตะต้อง มันก็ไม่รับเอา เออ, ในฐานะที่ว่าจะเป็นตัวกู หรือเป็นของกู แปลว่า มันอยู่ด้วยความรู้สึกที่ว่างจากตัวกูของกู เราก็เรียกว่า สุญตาวิหาร
มันมีทิพยวิหาร พรหมวิหาร อริยวิหาร และสุญตาวิหาร เป็น ๔ วิหารอยู่ เหมือนกับบ้าน ๔ หลังนี้ วิหาร ๔ หลังนี้ เข้าไปอยู่ในหลังไหน ก็เรียกว่า เป็นอย่างนั้น อื้อ, และถ้าคุณศึกษาให้ดี คุณจะพบได้ว่า มีได้ในชีวิตนี้ แม้ในพวกฆราวาส ดังนั้นไปศึกษาเรื่อง เออ, ความรู้สึกของจิตใจนี้ให้มาก ๆ จะพบได้ อื้อ, เพราะว่าเริ่มตอนตายแล้ว มันไม่มีประโยชน์ แล้วถ้ารอตอนเป็นพระอรหันต์แล้ว มันก็ยังไม่รู้เมื่อไร ก็รีบเอา ชนิดตัวอย่าง หรือชิมลอง หรือเท่าที่มันจะมีได้ กันเสียแต่เดี๋ยวนี้เถอะ
นี้พยายาม เออ, ให้เข้าถึงวิหารนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่มันจะเหมาะสม บางเวลาก็นั่งอยู่ ด้วยความรู้สึกหยุดนิ่ง อื้อ, บางเวลาก็นั่งอยู่ด้วยความรู้สึกเมตตากรุณา อิ่มอกอิ่มใจ บางเวลาก็นั่งอยู่ด้วย ความรู้สึกที่เรารู้สึก ว่าเรากำลังไม่ถูกกิเลสรบกวน บางเวลาเราไป นั่งอยู่ด้วยจิตใจที่มีความว่าง ไม่รู้สึกอะไร ที่จะเป็นเรื่องเป็นราว แต่ว่าสะ อ่า, สบายอยู่ในตัวมันเอง มันว่างอยู่ในตัวมันเอง แล้วมันก็ไม่มีทุกข์อยู่ในตัว มันเอง อื้อ, ไม่ต้องรู้สึกก็ได้ นี้เรียกว่า วิหารธรรม คือ ภาวะที่ปราศจากโรคเหมือนกัน ปราศจากความ เสียดแทง ของโรคด้วยเหมือนกัน
ทีนี้ขอให้สังเกตว่า มันไม่มีไอ้ ไอ้สิ่งที่เรียกว่า นิรยวิหาร หรือมนุษวิหาร (นาทีที่ 57:05) เพราะไอ้ นิรยวิหาร (นาทีที่ 57:10) นี้มันไม่ไหว มันทนไม่ไหว ไม่มีใครจะเข้าไปอยู่ไอ้มนุษยวิหาร นี้มันก็ไม่ไหว เหมือนกัน มันเหงื่อไหลไคลย้อยนี่แหละ คือ มนุษยวิหาร อื้อ, มันขวนขวายอยู่ ตัวเป็นเกลียว เพื่อจะเป็น อย่างนั้น เพื่อจะเป็นอย่างนี้ มันก็ทนไม่ไหวเหมือนกัน
ไม่มีอริ ไม่มีนิรยวิหาร (นาทีที่ 57:30) หรือนรกวิหาร ไม่มี มนุษยวิหาร โผล่ไป ไม่มีทิพยวิหาร พรหมวิหาร อริยวิหาร สุญตาวิหาร ที่น่าชื่นอกชื่นใจ ไอ้ นิรยวิหาร (นาทีที่ 57:46) ถ้าจะมีมันก็มีสำหรับ สัตว์นรก ในขณะนั้น เราไม่ต้องการ เราไม่พูดถึงดีกว่า เมื่อจิตใจร้อนเป็นไฟเผา หรือว่าโง่เป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือว่าหิวเป็นเปรต หรือกลัวเป็นอสูรกาย มันก็มีเหมือนกันแหละ มันก็อยู่ในวิหารอย่างนั้น ไม่ไหว ไม่ เออ, ไม่มีดีกว่า หรือเป็น มนุษยวิหาร อ่า, อยู่ด้วย ความวิตกกังวลเหงื่อไหลไคลย้อย นี้มันก็ไม่ไหว ไม่น่าสนใจ และมันเป็นของที่ทนยาก มันเปลี่ยน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา พรึบพรับ ๆ จะนั่งอยู่นิ่ง ๆ นั้นไม่ได้ ไม่เหมือนนั่ง อยู่ใน ไอ้วิหาร ไอ้ ๔ ชนิด ที่ว่า อื้อ,
ถ้ามีนิรยวิหาร (นาทีที่ 58:30) หรือมนุษยวิหาร ได้ ก็ไม่ใช่ภาวะที่ปราศจากโรคทางวิญญาณ นั้นไม่ ไม่พูดถึง เพราะวันนี้ หรือเรื่องนี้ เรากำลังพูดถึงเรื่องภาวะที่ปราศจากโรคทางวิญญาณ อื้อ, ดังนั้นมันจึงพูดได้ แต่ ทิพยวิหาร พรหมวิหาร อริยวิหาร สุญตาวิหาร ซึ่งเป็นนิพพาน ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชั้นใดชั้นหนึ่ง ระดับใด ระดับหนึ่ง อยู่ในตัวมันเอง อื้อ, สภาวะปราศจากโรคทางวิญญาณมีหลักที่จะอธิบายได้อย่างนี้ อื้อ, ถ้าหาก ถ้าอยากได้ก็ ขยันไหว้ครู เพื่อจะได้ทำตามครู ด้วยชีวิตจิตใจทั้งหมด สัพพัญญู สัพพะ ทัสสาวี ชิโณอาจรีโย มะมะ (นาทีที่ 59:14) อาจารย์ของเรานั้นรู้สิ่งทั้งปวง เห็นสิ่งทั้งปวง ชนะมารแล้ว อื้อ, มหากรุณิโก สัตถา สัพพะโลกะ เตกิจฉะโก (นาทีที่ 59:26) เป็นผู้สั่งสอนที่มีกรุณาอันใหญ่หลวง เป็นนายแพทย์ผู้รักษาเยียวยา โรคของสัตว์โลกทั้งปวง ดังนี้
นึกถึงไว้เสมอ อื้อ, จะมีความแน่นแฟ้นมั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในนิพพาน อื้อ, เมื่อเป็นนายแพทย์ทางวิญญาณได้ แล้วการเป็นนายแพทย์ทาง วัตถุทางกายนี้ มันก็เป็นของง่าย อื้อ, เอาละเวลาที่กำหนดไว้ก็หมด