แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ท่านสาธุชนผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย ในการบรรยายครั้งที่ ๑๒ นี้จะได้กล่าวโดยหัวข้อว่า ปรัชญาที่เหมาะแก่สังคมโลก เมื่อพูดถึงปรัชญาขอให้นึกถึงถ้อยคำที่เคยบอกกล่าวมาแต่ก่อนว่า ปรัชญาเป็นเรื่องที่
ปัจจุบันนี้ ได้แก่สิ่งที่เป็นเรื่องเลื่อนลอย จนจับหลักอะไรที่มาเป็นประโยชน์แก่สังคมไม่ได้ การศึกษาผ่านปรัชญารุกหน้า กว้างขวาง รวดเร็ว แต่มันกว้างขวางไปสู่ความยุ่ง ความปนกันยุ่ง เพราะความเฟ้อ จนเดี๋ยวนี้ ก็ยังตอบไม่ได้ว่า คนเรานั้นเกิดมาทำไม นี่เป็นสิ่งที่จะต้องคอยสังเกตดูจากคำตอบของปรัชญาทุกแขนง ซึ่งมันบอกไม่ได้ว่า คนเราเกิดมาทำไมกัน
ปรัชญาแยกเป็นแขนงไปมากมาย กระทั่งว่าปรัชญาในตัว ก ข ป. ปลา นี่ก็ยังมี ปรัชญาทางการศึกษาของไอ้อื่นที่โต ใหญ่โตมโหฬารก็มี บางคนก็มองดู แม้แต่ปรัชญาในการจัดตัว ก ข ก. กา ก ข ค ฅ ง จ ฉ ช ฌ ย นี่เป็นวรรคๆ เป็นนั่น เป็นนี่ เพราะเหตุอะไรกัน ก็ยังพบปรัชญาได้ จนกระทั่งปรัชญาในการกินอาหารอะไรต่างๆ แต่แล้วก็ไม่พบว่า เกิดมาทำไม เป็นเหตุให้มีอาการเหมือนกันเด็กอมมือไปหมดทั่วทั้งโลก คนแก่ๆ เป็นProfessor อมมือ เพราะไม่รู้เกิดมาทำไม นี่ความยุ่งยากลำบากเกี่ยวกับปรัชญา
พุทธศาสนาต้องการจะสอนให้รู้ว่าเกิดมาทำไม แล้วถ้าจะมองดูในรูปปรัชญาก็ได้ แต่ว่าไม่ต้องการจะให้มันเป็นในรูปปรัชญา ถึงสอนให้มันตรงๆ ว่า ต้องทำอย่างนั้น เกิดมาต้องทำอย่างนั้นๆ เป็นเรื่องศีลธรรมมากกว่า แล้วก็มีแง่ของปรัชญา
แต่ตัวแท้ พุทธศาสนาเป็นเรื่องประพฤติ ลงไปโดยตรงทางกาย วาจา ใจ เรียกว่า พรหมจรรย์ ถ้าเกิดมามนุษย์จะต้องประพฤติอย่างนี้ๆ เพราะมันเกิดมาเพื่อผลอย่างนี้ๆ อย่างนี้ ระบุชัด ไม่ก้าวก่าย ฟั่นเฟือนอะไร
แล้วก็เป็นกรรมของสัตว์ ที่ว่าไม่ศึกษาพุทธศาสนากันในแง่นี้ก่อน ไปศึกษาในแง่ที่มันเป็นปรัชญาเฟ้อ
มาเถียงกันว่า เกิดหรือไม่เกิด ตายแล้ว จะพาบุญ บาปไปได้อย่างไร หรืออะไรทำนองนี้ กระทั่งว่า เดี๋ยวนี้
ก็เถียงกันอยู่ว่า เป็นฆราวาส เป็นบรรพชิตนี่มัน เดินไปทางเดียวกัน หรือมันเดินคนละทาง มากกันถึงขนาดว่าฆราวาสอย่าไปเดินในทางของบรรพชิต คล้ายๆ กับว่า ให้ฆราวาสเดินลงไปนรก บรรพชิตเดินไปขึ้นสวรรค์ อะไรทำนองนี้ มันก็เป็นเรื่องยุ่งไปหมด
แล้วถ้าจะมาเถียงกันเรื่องนี้ ฟังว่ามา แล้วก็ไปฟังว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างไร แล้วก็ลองปฏิบัติดู มันก็เป็นอะไรๆ ที่มากกว่าปรัชญา เป็นศีลธรรม หรือว่าเป็นพรหมจรรย์ เป็นศาสนาที่มันมีปรัชญาอยู่พร้อมเสร็จ
มาปฏิบัติให้รู้ ในเรื่องความดับทุกข์ ดับทุกข์ได้เสียก่อน แล้วก็พูดกันในรูปของปรัชญา อย่างนี้ดีกว่า
เสร็จแล้วก็คนในโลก โดยเฉพาะสมัยนี้ เขาไม่ยอม เขาถือว่าเรื่องปรัชญาเป็นเรื่องของมันสมองชั้น
สูงสุด เขาไม่อยากเป็นคนโง่ เขาก็สนใจแต่เรื่องมันสมองชั้นสูงสุด จนกระทั่งเฟ้อ จนกระทั่งเฝือ จนกระทั่งไม่รู้ว่าจะไปทางไหน ที่เรียกว่า เดี๋ยวนี้ เวลานี้ โลกยังไม่มีปรัชญาที่เหมาะแก่สังคมโลก
การพูดยืนยันอย่างนี้ไม่ได้ต้องการให้เชื่อ ต้องการแต่เพียงเสนอข้อคิดเห็น ให้ไปคิดดูมากกว่า จึงขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่าปรัชญาที่เหมาะแก่โลกต่อไป แต่ให้รู้ว่า มันต้องเป็นไปในทัศนะของ
พุทธบริษัท เพราะผู้กล่าวหรือผู้ฟังในที่นี้ก็ล้วนแต่เป็นพุทธบริษัท แล้วแขนงอื่นๆ เราก็ไม่ค่อยจะรู้ เรารู้แต่แขนงของพุทธศาสนา แต่เราก็มีความแน่ใจ เรียกว่าพิสูจน์ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง วิจารณ์ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง
มันก็ยังพบว่า มันต้องอย่างนี้แหละ จึงถือโอกาสที่จะพูดเป็นกลางๆ ว่าปรัชญาที่มันเหมาะแก่สังคมโลกก็แล้วกัน
แล้วทีนี้ก็ดูๆ กันต่อไปว่า ปรัชญาที่จะเหมาะแก่สังคมโลกนั้น เป็นอย่างไร หมายความว่าอย่างไร หมายความว่า มันเหมาะกับมนุษย์แต่ละคนๆ ด้วย และแก่โลกทั้งโลกด้วย ก็ด้วยความมุ่งหมายที่ว่า จะอยู่ในโลกโดยที่มีสันติภาพถาวรแก่สังคม มีสันติสุขแท้จริงแก่ปัจเจกชน
อยากจะพูดเป็นหัวข้อ ข้อแรกว่า ปรัชญาที่เหมาะต้องไม่เป็นความคิดที่สุดโต่งอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ก็หมายความว่ามัชฌิมาปฏิปทา คืออยู่ตรงกลาง จะกลางตามหลักพุทธศาสนา หรือกลางตามหลักของใครก็ได้ มันเหมือนกันแหละ ถ้ากลาง ถูกที่แท้จริง ไม่สุดโต่งไปข้างซ้าย ไม่สุดโต่งไปข้างขวา นี่ ก็ไปนึกเอาเองก็แล้วกัน ซ้ายกับขวานี่ เราหมายความว่า มันตรงกันข้าม
ในทางพุทธศาสนา ถ้าซ้ายมันก็ไปตามใจเนื้อหนัง ตามใจกิเลสตัณหา เรียกว่าปรนเปรอร่างกาย
นี่เรียกว่า เราไปซ้าย สุดโต่ง ถ้าเราไปขวา ก็เรียกว่าไม่บำรุงบำเรอร่างกาย ต้องการจะบีบคั้นร่างกาย หรือทำให้ร่างกายไม่มีเหลือ ให้เหลือแต่จิตใจ นี่ต้องการไปเสียอย่างนั้น นี่ซ้ายจัด ขวาจัด มันเป็นอย่างนี้
นี่กลางๆ เราต้องมีทางที่จะพูดได้หลายอย่างมาก คือต้องไม่ช้า ไม่เร็ว ช้าก็ช้าไม่ได้ เร็วก็เร็วไม่ได้ ต้องพอดี คนที่เร่งเรียนหนังสือเร็วกว่าความถูกต้อง มันก็เป็นโรคเส้นประสาท คนที่เรียนช้าเกินไป มันก็ไม่ทัน
ช้าก็ไม่ดี เร็วก็ไม่ดี
แล้วก็ต้องไม่ตึง ไม่หย่อน นี่เกือบจะไม่ต้องอธิบาย ไอ้ตึงมันก็ขาด ไอ้หย่อนมันก็เหยิบยาบไม่สำเร็จประโยชน์ มันต้องพอดีๆ นี่มันก็คล้ายๆ กับซ้าย ขวา เหมือนกัน คือต้องไม่มาก ไม่ขาด ไม่เกิน ไม่โอเวอร์
ไม่อันเดอร์ ไม่ขาด แล้วก็ไม่เกิน
ในนี้มักจะมีอะไรเกินกันมากในหมู่มนุษย์เรา ที่ขาดก็มี แต่ไอ้เกินนี่มีมากกว่า หมายความว่า มีคนที่มีอะไรที่เกินพอดี ความคิด ความอ่าน การกระทำที่เกินพอดี มีมากกว่าที่มันขาด แล้วก็ต้องจัดว่าเป็นคนบ้าบอกันทั้งสองพวก แม้มันจะต่างตรงกันข้าม
ไม่ฟุ่มเฟือยอีก แล้วก็ไม่ขาดแคลน ที่นี้เราก็ไม่รู้ว่าฟุ่มเฟือยอย่างไร ขาดแคลนอย่างไร
เป็นขาดแคลนอยู่เรื่อย ไอ้ Lux ก็ Lux เกิน มี Luxury มาก (11.56) ก็ไม่เห็นจะพอดีอยู่เรื่อย จิตใจมันเลื่อน
ไปอย่างโง่เขลา ก็ไม่รู้ว่าไอ้ที่ขาดแคลนนี่ยังไงกันแน่ เกินก็เกิน ขาดแคลนอย่างไรกันแน่ เพราะฉะนั้น เราจึงเห็นที่เนื้อที่ตัวของบุคคล หรือที่บ้านเรือน ในห้องหับของเรา มันมีส่วนเกิน เอาส่วนที่ไม่จำเป็นเข้าไปไว้เยอะโดยคิดว่าจำเป็น
สมมุติว่าไปที่ตลาดขายของ ถ้ามองดูจะเห็นว่า ของที่มีไว้ขายนะ เป็นของที่ไม่จำเป็นมากกว่าของที่จำเป็น แต่คนบางคนก็ยังเห็นว่าจำเป็น หรือยิ่งเห็นว่าจำเป็น อะไรต่ออะไรก็จำเป็นหมด รถยนต์ก็จำเป็น ตู้เย็น
ก็จำเป็น ตึกหลายๆ ชั้นก็จำเป็น ดูเป็นความจำเป็นหมด นี่มันสับสน มันไม่พอดีได้ แล้วก็เกิดเรื่องมากเกี่ยวกับ
สิ่งนี้
ไอ้คอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่ต่างๆ เกิดมาจากความไม่รู้ในข้อนี้มาก ไม่เท่าไรมันก็ฟุ้งเฟ้อไปแล้ว อย่างไรเรียกว่าขาดแคลน มันกลายเป็นว่า ได้เท่าไรๆ ก็ไม่รู้สึกว่าพอ พอดี มันขาดแคลนอยู่เรื่อยๆ ไม่เป็นนายทุน
ไม่เป็นกรรมกร ปรัชญาที่แท้จริงต้องไม่มีลักษณะ หรือ Spirit เป็นนายทุนหรือเป็นกรรมกร แต่ต้องเป็นมนุษย์ที่รู้สึกผิดชอบชั่วดี มีเมตตา กรุณา นี่เราไม่มีปรัชญาที่ทำให้เป็นอย่างนี้ เรามีปรัชญาพวกนายทุน ปรัชญาของกรรมกร เดี๋ยวนี้ก็ยื้อแย่งกันระหว่างนายทุนกับกรรมกรทั่วไปทั้งโลกในชื่อเสียงอย่างอื่น เรียกชื่อกันอย่างอื่น
แต่เนื้อในของมันก็คือลัทธิที่เห็นแก่นายทุน และลัทธิที่เห็นแก่กรรมกร มันรบกัน
ปรัชญาที่ถูกต้องไม่มีประมาณในจิตใจมนุษย์ มันก็มีอย่างนี้ไปอีกนาน มันรับกันไม่ได้ เพราะมันไปสุดโต่งข้างหนึ่ง เป็นกันทั้งสองฝ่าย กระทั่งว่า ไม่ควรจะเป็นความแพ้หรือความชนะ ไม่มุ่งหมายความแพ้หรือความชนะแก่คนด้วยกัน ทีนี้เราต้องการแพ้ ชนะ ต้องการปราบปราม ต้องการอะไรต่างๆ ยังมีการแพ้ และ
การชนะแก่บุคคล มนุษย์ เพื่อนมนุษย์ตาดำๆ ด้วยกัน ต้องมีปรัชญาที่ตรงกลาง อย่าให้เกิดการแพ้ การชนะแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ถ้าสมมุติว่าจะมีชนะ ก็ให้ชนะกิเลส ไม่ต้องชนะคนด้วยกัน เป็นความรู้สึกที่ชนะกิเลส
ส่วนคนด้วยกันนั้นให้ถือว่า มันเป็นคนๆ เดียวกันทั้งหมด เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ปัญหาอย่างเดียวกัน หัวอกเดียวกัน เดือดร้อนอยู่อย่างเดียวกัน
นี่พูดว่าเป็นตัวอย่างว่า ปรัชญาที่เหมาะแก่สังคมโลกนี้ มันต้องเป็นปรัชญาที่ไม่สุดโต่งไปในทางใดทางหนึ่ง แต่เป็นมัชฌิมาปฏิปทาอย่างที่เรียกในพุทธศาสนา นี่ก็เป็นหัวข้ออันหนึ่ง
ทีนี้ หัวข้ออีกอัน อันถัดไป ก็อยากจะพูดถึงหลักเกณฑ์ทางปรัชญาของศีลธรรม ที่เรียกว่า จริยปรัชญา
ที่เคยบอกให้ฟังทีหนึ่งแล้วว่า ต้องเป็น ...................(16.51) คืออยู่ในลักษณะที่ทุกคนอาจจะกลืนลงคอได้ ทีนี้พวกปรัชญาที่มีอยู่ๆ นั้น พวกนายทุนกลืนลงคอ แต่พวกกรรมกรกลืนไม่ลงคอ มันขาด.........(17.16) อะไรทำนองนี้ หรือว่า คนที่อยู่ร่วมกันแท้ๆ ใกล้ชิดกันอยู่นี่ คนหนึ่งมันยินดีรับ อีกคนหนึ่งมันรับไม่ไหว เราจึงมีการเอาเปรียบกันอยู่ไปทั่วทุกหัวระแหง ต่างคนต่างมีประโยชน์ของตัวเป็นใหญ่ ไม่มีหลักปรัชญาอะไรที่ทำให้มันกลมกลืนกันได้ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นด้วย มันก็ต้องเป็น Rationalism คือว่า มีเหตุผลเพียงพอ พอตัว ไม่จำนนต่อเหตุผล
หลักปรัชญาที่แสดงออกมานั้น มันต้องมีเหตุผล ถ้าไม่มีเหตุผล มันใช้กันไม่ได้สมัยนี้ ในสมัยประชาธิปไตย หรือสมัยที่ใช้ปัญญา ใช้เหตุผลมากกว่าที่จะใช้ศรัทธา แล้วก็ต้องเป็นที่พูดแล้ว เข้าใจได้ทันที Intuitionism ความที่มันเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ทันที เป็นเหตุผล ก็ต้องเป็นเหตุผลที่มองเห็นได้ทันที หรือในเวลา
อันสมควร เหตุผลที่คนอื่นเข้าใจไม่ได้ มันก็เท่ากับไม่มีเหตุผล นี่มันก็เป็นองค์ประกอบอันหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่าปรัชญาที่จะเหมาะแก่สังคมโลก
ทั้งหมดนี้ เนื่องด้วยเหตุผลที่พูดแล้ว ผู้อื่นพอจะกลืนลงคอ อันนี้มันก็เป็นเหตุผล เหตุผลที่แสดงอยู่
เฉพาะหน้า มันก็เป็นเหตุผล และที่เขาเข้าใจได้ทันที ก็เพราะมันมีเหตุผลดี ก็เป็นปรัชญาที่มีเหตุผลเต็มตัว
เหมาะสำหรับโลกที่เป็นยุคปัญญา
ทีนี้ ก็จะพูดถึงหัวข้อต่อไปว่า มันต้องเป็นปรัชญาที่เข้ากันได้กับพระเป็นเจ้าที่แท้จริง ไม่เช่นนั้นจะน่าหัว
ต้องเป็นปรัชญาที่เข้ากันได้กับพระเป็นเจ้าที่แท้จริง นักปรัชญาในโลก เขาไม่มีพระเจ้าหรือพระเป็นเจ้า
เขามองภาพพระเป็นเจ้าว่า เป็นของงมงายของคนโง่ นักปรัชญาเป็นคนมีปัญญา มันไม่เห็นพระเป็นเจ้า จึงต้องใช้คำว่าพระเป็นเจ้าที่แท้จริง
เรื่องนี้เราเคยพูดกันมาบ้างแล้วในครั้งก่อนๆ ว่าพระพุทธของพระเป็นเจ้าที่แท้จริงนั้นคืออะไร ไม่ใช่คน ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ Personal God ต้องเป็น Impersonal God ที่ไม่ใช่บุคคล แต่เป็นอะไรก็อย่างเพิ่งรู้ ก็ไม่อาจจะรู้
ยังเป็นเด็กอมมือ ยังไม่อาจจะรู้ว่า เมื่อพระเป็นเจ้าไม่ได้เป็นบุคคลแล้ว จะเป็นอะไร ให้แต่รู้ไว้ว่า นั่นแหละคือความหมายของพระเป็นเจ้า คือ มันเป็นอะไรชนิดหนึ่งซึ่งคนยังไม่รู้จัก แต่เชื่อ เหมาเอาได้ว่า มันต้องเป็นสิ่งสูงสุด ต้องมีอำนาจสูงสุด ต้องมีอะไรสูงสุด ใหญ่กว่าสิ่งทั้งปวง ควบคุมสิ่งทั้งปวง มีอยู่ในที่ทุกหนทุกแห่ง Omnipresence Omnipotence Omniscience มันเป็น Omni ไปหมด คือ มันอยู่ไปในที่ทุกหนทุกแห่ง
มันครอบงำทุกอย่าง มันสร้างทุกอย่าง มันควบคุมทุกอย่าง มันทำลายทุกอย่าง อันนี้ นักวิทยาศาสตร์อาจจะเรียกว่า กฎของธรรมชาติ ไม่เรียกว่าพระเจ้า แต่เราจะเรียกว่าพระเจ้า ใครจะทำอะไรเรา แต่ว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สูงสุด
เป็นที่ออกมาของทุกสิ่ง Qualification ของคำว่า God มีเท่าไร มันมีหมดในสิ่งที่เรียกว่า กฎของธรรมชาติ
นี่ก็อยากจะพูดให้ละเอียดต่อไปว่า ในพุทธศาสนามีสิ่งที่เรียกว่าธรรมะ แต่พอธรรมะมันกว้างไปหมด ไม่มียกเว้นอะไร ก็จะเอามาเฉพาะที่เป็นสัจธรรม ที่เป็นกฎของธรรมชาติ แล้วถ้าระบุให้เฉพาะลงไปอีก แทบจะให้
มันชัดลงไปอีก ก็จะระบุสิ่งที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา ซึ่งเคยพูดมาแล้วเรื่อง อิทัปปัจจยตา มันควรจะแปลว่าอะไรดี เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนั้นมี สิ่งนี้จึงมี ฉะนั้น จะว่ากันไปอีกร้อยครั้งพันครั้งก็ได้ มันก็ว่าไปเท่านี้
เพราะปัจจัยอันนี้ จึงเกิดสิ่งนี้ขึ้น เพราะปัจจัยอันนั้น จึงเกิดสิ่งอันโน้นขึ้น คือความที่อันนี้มันเป็นเหตุ ปัจจัย ก็ปรุงแต่งอันนี้ขึ้นมา พอเสร็จแล้ว อันที่เป็นผล มันกลับเป็นเหตุ เป็นปัจจัยปรุงแต่งอันอื่นต่อไป อย่างนี้ ความเป็นอย่างนี้ เรียกว่า อิทัปปัจจยตา บางทีก็เรียกว่า ยถาปัจจยตา ความที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ก็เป็นสิ่งเดียวกัน จะเรียกว่า อิทัปปัจจยตาก็ได้ ยถาปัจจยตาก็ได้
แต่ที่พบในพระบาลี พระพุทธเจ้าท่านตรัสด้วยคำว่า อิทัปปัจจยตา มากที่สุด นี่คือพระเจ้า คำว่าพระเจ้า
ที่แท้จริง ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก ในปากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า อิทัปปัจจยตานี่สำคัญที่สุด สร้างทุกสิ่ง ควบคุมทุกสิ่ง ทำลายทุกสิ่ง อะไรก็ได้ พระเจ้าเป็นได้อย่างไร อิทัปปัจจยตา ก็เป็นได้อย่างนั้น
แล้วก็นี่เป็นตัวอย่างว่า จะเรียกว่า พระเจ้าก็ตาม จะเรียกว่า อิทัปปัจจยตา ก็ตาม จะเรียกว่ากฎของธรรมชาติ
ก็ตาม เรียกว่าอะไรก็ตาม ก็ถือว่าพระเป็นเจ้าทั้งนั้น คือว่า ไม่อยู่ภายใต้อำนาจใคร ไม่รับสินบนใคร ไม่มีใคร
ทำอะไรได้ มีแต่จะควบคุมสิ่งทั้งหลายไปตามกฎ
ทีนี้ปรัชญาที่บัญญัติขึ้นต้องเป็นสิ่งที่เข้ากันได้กับพระเป็นเจ้า ไม่อย่างนั้นแล้ว ปรัชญานั้นจะสลาย
จะตั้งอยู่ไม่ได้ ต้องเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ของพระเจ้า ทีนี้ลักษณะอย่างไร ที่เรียกว่าจะไม่ขัดขวางกับ
ตัวธรรมชาติหรือ ตัวกฏธรรมชาติ
ทีนี้จะบอกหลักเกณฑ์อีกอันหนึ่งว่า ถ้าเป็นพระเจ้าที่แท้จริงหรือเป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่แท้จริง
มันไม่เป็นอะไรที่เป็นคู่ๆ จะเรียกว่าเป็น Neutral หรือเป็น........... (26.09) ก็ได้ แต่มันยังเป็นยิ่งกว่านั้น
ในความหมายนั้น มันจึงไม่ใช่เป็นหญิง ไม่ใช่เป็นชาย ไม่ใช่เป็นอะไรที่เป็นคู่ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว เหนือดีเหนือชั่ว
เพราะฉะนั้น ปรัชญาที่บัญญัติขึ้นต้องให้เข้ากันได้กับภาวะของพระเจ้าหรือสิ่งสูงสุด ซึ่งไม่เป็นอะไรเลย แล้วเรามาแยกคู่กันดู สำหรับที่มันเป็นคู่ๆ ของพวกนักปรัชญาเฟ้อในโลกเวลานี้ ปรัชญาที่จะเข้ากันได้กับพระเป็นเจ้าต้องเป็นปรัชญาที่ไม่มีลักษณะเป็น Positive หรือ Negative คนเราตามธรรมดาจะชอบ Positive เพราะ Positive หมายถึงได้ หรือ ดี ถูกอกถูกใจ อย่างนี้มันไม่ใช่เข้ากันได้หรือตรงกันกับพระเจ้า พระเจ้าต้องไม่เป็น Positive หรือ Negative เราส่วนมากชอบ Positive น้อยคนที่จะชอบ Negative แต่ใช้ไม่ได้ แบ่งเป็น
ฝ่ายโน้น ฝ่ายนี้
ปรัชญาที่ไม่เป็น Positive ไม่เป็น Negative ดูเหมือนว่านักปรัชญาในโลกปัจจุบันนี้จะไม่รู้จักด้วยซ้ำไป หรือเขาอาจจะรู้จักบ้าง แต่ก็มักจะเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะเป็นทาสของวัตถุ ของเนื้อหนัง คือมุ่งหมายอยากได้ปรัชญาที่เสนอแก่มหาชน จะให้ถูกใจมหาชน ถ้ามหาชนมีจิตใจเป็น Positive ก็เสนอในลักษณะ Positive มากกว่า มันก็ผิดความประสงค์ของพระเจ้า
ไอ้คู่ต่อไปอยากจะให้สังเกตดู ไอ้คำว่า Attach กับ Detach Attachment แปลว่า ยึดมั่นถือมั่น Detachment แปลว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่อยากจะชี้ให้เห็นว่า ใช้ไม่ได้ทั้งสองอย่าง เพราะมันมาพูดถึงความรู้สึก แต่ภาษาไทยใช้ได้ ภาษาอังกฤษใช้ไม่ได้แน่ Detach มันมีลักษณะมันเป็นแง่ร้าย Attach เป็นแง่ดี
ส่วนพุทธศาสนาเป็น Non Attach อย่าเอา Non Attach ไปเป็นอันเดียวกับ Detach เพราะ Attach มันรัด
มันฝังเข้าไป ส่วน Detach มันเกลียด ซึ่ง Non Attach มันคือ ไม่รัก ไม่เกลียด มันเป็นอะไรที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นตามแบบของพุทธศาสนา เพราะฉะนั้นเมื่อได้ยินคำว่าไม่ยึดมั่น ในพุทธศาสนา อย่าไปเข้าใจว่าเป็น Detach ต้องเป็น Non Attach
Attachment คือ ตัวอุปทาน ตัวทำให้เกิดทุกข์ Detach ก็คือว่าให้เกิดทุกข์อีกแบบหนึ่ง ต้อง Non Attach
คือไม่ให้เกิดความยึดมั่นเลย นี่ก็เป็นสิ่งที่เข้ากันได้กับพระเจ้า มันไม่ยึดร้าย มันไม่ขว้างเข้าไป มันไม่ยึด ไม่ละไม่ดึงเข้ามา ไม่ผลักออกไป ต้องเป็นอย่างนั้น
คู่ถัดไปที่รู้จักกันมาก Optimistic, Pessimistic Optimist คือความรู้สึกที่รู้สึกไปในแง่ดี เล็งไปในแง่ดี มองในแง่ดี ตรงกันข้ามกับ Pessimistic มองในแง่ร้าย พุทธศาสนาไม่ได้เป็นอย่างนั้น ไม่มองอะไรเป็นแง่ดี
ไม่มองอะไรเป็นแง่ร้ายโดยส่วนเดียว แต่จะมองว่า มันเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ตามที่เราจะแก้ไข มองในแง่ดีก็โง่ มองในแง่ร้ายก็โง่ มันต้องมองในแง่ที่ว่า มันคืออะไร เป็นอย่างไร และจะแก้ไขอย่างไร คือมองในแง่อิทัปปัจจยตา ไม่เห็นเป็นแง่ดีหรือแง่ร้าย และมันก็แก้ไขได้ตามต้องการ เพราะฉะนั้นจึงไม่รักหรือไม่เกลียด รักมันก็บ้า เกลียดมันก็บ้า ทำให้เป็นโรคเส้นประสาทเหมือนกัน
คู่ต่อไปก็อยากจะแนะ Subjective หรือ Objective เอาความหมายตามตัวอักษรแปลว่า เป็นผู้กระทำ หรือเป็นผู้ถูกกระทำ มันไม่ไหวทั้งสองอย่างแหละ กระทำเขาก็บ้า ถูกเขาทำก็ไม่สนุก มันก็มีลักษณะที่มันไม่มีอะไร
ไม่มีใครทำอะไร แก่ใคร พุทธศาสนาสอนอย่างนั้น ไม่ให้หวังแพ้ ไม่ให้หวังชนะ หวังไม่ต้องรบราฆ่าฟันกันดีกว่า ไม่แพ้ ไม่ชนะนั้นเป็นนิพพาน แต่โวหารธรรมดา ก็หมายถึงชนะกิเลส เพราะฉะนั้น จึงหมายถึงว่า ไม่แพ้ไม่ชนะแก่คนด้วยกัน ไม่กระทำหรือไม่ถูกกระทำกันในระหว่างบุคคล พระเจ้าอาจเป็นผู้กระทำกับคนที่ไม่ทำตามกฎ
ของพระเจ้า แล้วคนก็ถูกกระทำเป็นปกติอยู่แล้ว ถ้าเราทำตัวดี เราก็ไม่เป็นผู้ที่กระทำผู้อื่นหรือถูกผู้อื่นกระทำ นี่ก็แปลว่า เป็นกลางเหมือนกัน นี่จะยกตัวอย่างเรื่องพรหมวิหาร
พรหมวิหาร ข้อหนึ่ง เมตตา รับใช้ หวัง กรุณาสงสาร สามมุทิตา ยินดีด้วย สี่อุเบกขาเฉยได้ อย่าไปมองว่าพรหมวิหารนี่เป็นความรัก ที่เป็นคู่กับความเกลียดนะแล้วก็อย่าไปมองว่าเป็นผู้กระทำกับผู้ถูกกระทำ เช่น คนนี้
แผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายถูกกระทำ ถูกแผ่เมตตา คนนั้นเป็นผู้กระทำ อย่างนี้ผิด ไม่ใช่พรหมวิหารในพุทธศาสนา พรหมวิหารในพุทธศาสนานั้นมันมีจิตใจที่เป็นอิสระ แล้วไม่ทำอะไรแก่ใคร แล้วก็ไม่ทำด้วย
ความรักชนิดที่เป็นคู่ความเกลียด เมตตาความรักนี่ ไม่ใช่ความรักที่เป็นคู่กับความเกลียด มันเป็นเรื่องของปัญญา
รู้ว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ เพราะฉะนั้นจึงเมตตากรุณา และเมื่อทำไม่ได้ มันก็เฉยได้ เป็นอุเบกขา และเมื่อรวมกันทั้งสี่ประการแล้ว มันเกลื่อนเป็นกลาง ไม่รัก ไม่ชัง ไม่กระทำ หรือไม่ถูกกระทำ ไม่กระทำและไม่เป็นการถูกกระทำ
มันเป็นเรื่องของสติปัญญา ทำหน้าที่ของสติปัญญา มันมีผลเกิดขึ้นมาอย่างนี้
นี่ยกตัวอย่างหลักธรรม บางข้อ บางหมวดอาจจะเข้าใจผิดกันอย่างนี้ได้ ก็ยังมีอีกมากมาย อย่าให้เป็นผู้กระทำ หรือผู้ถูกกระทำนี่แหละ มันจึงจะอยู่ตรงกลางให้เป็นที่พอใจของพระเจ้า เข้ากันได้กับพระเจ้า
นี่คู่ต่อไปมันคงไม่อัตถิตา ไม่นัตถิตา ที่ไม่ยึดมั่นว่ามี ว่าสิ่งทั้งปวงมี หรือสิ่งทั้งปวงไม่มี เดี๋ยวนี้ เรามักชอบมี มี มี มี และก็ไม่ชอบที่ไม่มี มีอย่างลำเอียง สุดโต่งไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ความมีก็ตาม ความไม่มีก็ตาม ให้เห็นเป็นเพียงอิทัปปัจจยตา เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ไอ้ความมีนี่มันเป็นปฏิกิริยาของกฎเกณฑ์อันนี้ ความไม่มีก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องหลอกลวง ไม่ใช่ความจริง ใครไปยึดถือข้างฝ่ายมี แล้วเกลียดฝ่ายไม่มี หรือรักฝ่ายไม่มี เกลียดฝ่ายมี อันนี้มันผิดทั้งนั้น มันโง่กันคนละที เพราะฉะนั้น จะไปพูดว่า ไม่อยากมี ไม่ยินดีอะไรนี่ ไม่ถูก อย่าให้จิตใจตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคำว่ามีหรือคำว่าไม่มี เพราะฉะนั้นเราก็ไม่ต้องร้องไห้ ไม่ต้องเป็นทุกข์ แล้วก็ไม่ต้องลิงโลด เพลิดเพลินหลงใหล
แล้วคู่ต่อไปก็ต้องไม่เป็น สัตตถะ (37.22) ไม่เป็นอุเฉทะ อันนี้ภาษาบาลี แปลกหู สัตตถะ(37.29)
เขียนให้ตรงๆ ส เสือ ความรู้สึกว่า คงอยู่ เรียกว่า สัตตถะ ความรู้สึกว่าหายไป เรียกว่า อุเฉทะ (37.39) ทะ ท ทหาร หมด ความรู้สึกว่าคงอยู่ตลอดเวลา ความรู้สึกว่าหายไปหมด นี่อยู่ในพวกที่ตายแล้วเกิด หรือตายแล้วสูญ อยู่ใน
๒ คำนี้ สัตตถะ หรือ อุเฉทะ ผิดทั้งนั้น พวกที่ถือว่าตายแล้วเกิดก็ผิด ตายแล้วสูญเลยก็ผิด พระพุทธเจ้าสอนว่า
อิทัปปัจจยตา ไม่ได้พูดว่าตายแล้วเกิดหรือตายแล้วไม่เกิด
นี่มาเป็นหลักทั่วไป ก็อย่าไปยึดว่ามันจะคงอยู่ตลอดไปหรือว่ามันจะหายไป ให้ถือเป็นอิทัปปัจจยตา
มีหลักว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ถ้าเกิดสิ่งนี้ที่เป็นปัจจัยไม่มี ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น คือปัจจัยนี้
มันเปลี่ยน ผลมันก็เปลี่ยน เพราะฉะนั้นการเกิดขึ้น หรือการเปลี่ยนไป หรือการสิ้นสุดลงนี่มันเป็นอิทัปปัจจยตา เป็นไปตามกฎของพระเจ้า
อ้าวทีนี้คู่ถัดไป ฟังให้ดีว่า มันไม่ใช่ Theism หรือ Atheism ที่ว่าไม่ใช่มีพระเจ้าหรือไม่ใช่ไม่มีพระเจ้า Theism คือพวกที่เชื่อว่ามีพระเจ้า Atheism คือพวกที่เชื่อว่าไม่มีพระเจ้า นี่มันก็เข้าใจผิดคำว่าพระเจ้าก็เถียงกัน
อยู่นี่ มันเป็นพระเจ้าอย่างบุคคล ทีนี้มันรู้จักกันแต่พระเจ้าเป็นคนๆ Personal God ทั้งนั้น นอกนั้นมันไม่รู้ ก็ไปเถียงกันว่า มี Personal God มีพระเจ้าหรือไม่มีพระเจ้า นี่เป็นเหตุให้ทะเลาะกันเพราะความโง่ ทะเลาะกันเพราะความโง่ในระหว่างศาสนา ศาสนามึงมีพระเจ้า ศาสนากูไม่มีพระเจ้า ลัทธิของมึงไม่ใช่ศาสนาเพราะไม่มีพระเจ้าอย่างนี้เป็นต้น เพราะมันโง่กันทั้งสองฝ่าย เชื่อว่ามีพระเจ้ากับไม่มีพระเจ้าชนิดที่เป็นคน
เพราะฉะนั้น สิ่งสูงสุดที่จะให้สิ่งทั้งปวงเป็นไปก็คือ อิทัปปัจจยตา มันมีอยู่ รู้จักสิ่งนั้นเสีย แล้วก็จะ
รู้จักว่า เพราะสิ่งนี้จึงมี สิ่งนั้นจึงมี เพราะสิ่งนั้นมี สิ่งนั้นจึงมี มันเป็นไปตามกฎเกณฑ์นี้ เพราะฉะนั้นจะเรียกว่า
พระเจ้าก็ได้ ไม่เรียกว่าพระเจ้าก็ได้ ถ้าไม่หลงพระเจ้าแบบที่สอนเด็กๆ แบบที่เขาสอนเด็กๆให้ยึดถือ
เพราะตามที่ใช้แล้ว สิ่งที่มันสร้างโลกหรือควบคุมโลกหรือว่าทำลายโลกนี่มันมี แต่ไม่ใช่ลัทธิอย่างที่
เขาบัญญัติกันขึ้นในโลกนี้ว่า Atheism ไม่มีพระเจ้า ไม่มี God แล้วก็ Theism ก็คือมี God ปรัชญาใดที่บัญญัติแบบ
มี God หรือไม่มี God ชัดๆ ลงไปนี่ ไม่เหมาะกับสังคมโลกสมัยนี้ ต้องให้รู้ความจริงยิ่งไปกว่านั้น ให้รู้ว่า
มันมีกฎเกณฑ์อยู่อย่างนี้ จะเรียกว่าพระเจ้า หรือไม่เรียกว่าพระเจ้าก็ตามใจ สิ่งนี้ชนะทุกสิ่ง ควบคุมบังคับทุกสิ่งอยู่
ต้องพูดอย่างนี้
นี่คู่ถัดไปก็อยากจะระบุว่า ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกอื่น นี่มันไปลึกไปไกลกัน เข้าใจได้ยากยิ่งขึ้นทุกที
คนทั่วไปพอเกิดมาก็ถูกสอนให้ว่ามีโลกนี้ คือชาตินี้ มีโลกอื่น คือชาติหน้า แต่สุนัขและแมวไม่รู้เรื่องนี้
ไอ้คนป่าสมัยหินก็ไม่รู้เรื่องนี้ มันเป็นเรื่องที่เพิ่งพูดกันขึ้น
เมื่อความรู้มันน้อยอยู่ ก็เห็นว่าพูดอย่างนี้ ก็ใช้ได้ดีมีประโยชน์ ให้ยึดมั่นเรื่องโลกนี้และโลกหน้า ที่แท้
มันมีแต่อิทัปปัจจยตา เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี พูดเป็นโลกนี้โลกหน้านั้น พูดอย่างสมมุติ
พูดอย่างคนธรรมดาพูด เพราะฉะนั้นอย่าไปติดที่โลกไหน คือ อย่าให้เป็นโลกนี้ อย่าให้เป็นโลกหน้า คือโลกอื่น อย่าเป็นโลกนี้ อย่าเป็นโลกอื่น มันก็ไม่ติดที่โลกไหน มีเพียง สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมีเท่านั้น นี่แหละคือปรัชญาที่เหมาะแก่สังคมโลกปัจจุบัน ที่เป็นเจ้าปัญญา
พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้มาตั้งแต่สองสามพันปีแล้ว ไม่ติดที่โลกนี้ ไม่ติดที่โลกอื่น เพราะโลกนี้ก็ไม่มี
โลกอื่นก็ไม่มี มีแต่อิทัปปัจจยตา แต่ถ้าสอนคนโง่ ก็สอนไปตามเดิมที่เขามีอยู่ก่อนว่า โลกนี้มี โลกหน้ามี โลกอื่นมี สัมมาทิฐิประเภทที่สอนชาวบ้านว่า โลกนี้มี โลกหน้ามี แต่สัมมาทิฐิสูงสุดที่จะหลุดพ้นจากโลกไม่มี ไม่มีโลกอะไรมากไปกว่าอิทัปปัจจยตา เรื่องนี้ยาก คนจะเข้าใจได้น้อย ต้องไปศึกษาต่อไปข้างหน้า
ทีนี้ก็มาถึงอันสุดท้ายที่จะระบุว่า ไม่มีตัวกู ไม่มีของกู แต่ก็ไม่ใช่จะไม่มีอะไรเสียเลย ถือว่ามีตัวกู ของกู
ก็ไม่ถูก ถือว่ามีตัวกู ของกู มีความรู้สึกว่า มีตัวเราของเรา ก็ไม่ถูก เพราะถ้าถือว่าไม่มีอะไรเสียเลย มันก็ไม่ถูกเท่ากัน ตัวกู ของกูเป็นเพียงมิจฉาทิฐิเพิ่งเกิดขึ้น เพราะไม่รู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา จึงเกิดเป็นตัวกู ตัวนั้น ตัวนี้ขึ้นมา ทีนี้ ที่ว่าไม่มีอะไรเสียเลย ก็ไม่ควรพูดว่ามีอะไรเสียเลย ก็เพราะมันไม่รู้เรื่องอิทัปปัจจยตา เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี มันก็มีแต่เท่านั้น เป็นเพียงไปตามปัจจัย อย่าพูดว่าไม่มีอะไรเสียเลย
นี่เป็นตัวอย่างที่เทียบให้ดูเป็นคู่ๆ คู่ๆ กระทั่งคู่สุดท้ายนี่สำคัญมาก เรื่องตัวกู ของกู หรือไม่มีตัวกูของกูนี่ระวังให้ดี เผลอนิดเดียวก็ไม่สำเร็จประโยชน์ เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว ก็ต้องไม่ยึดมั่นทั้งสองฝ่าย ฝ่ายที่เรียกว่า
มีตัวกู ก็ไม่ยึดถือ ฝ่ายที่เรียกว่าไม่มีอะไรเสียเลย ก็ไม่ยึดถือ ยึดถือแต่อิทัปปัจจยตา เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ต้องมี แล้วก็ไม่อยากจะแปลเป็นไทยเสียด้วย ก็คงภาษาบาลีไว้ตามเดิมดีกว่า ต้องแปลให้รุงรังลำบาก
อิทัปปัจจยตา เมื่อพระเจ้าแท้เป็นอย่างนี้ ไม่เป็นคู่ๆ ไม่เอียงไปข้างไหนหมดในบรรดาสิ่งที่เป็นคู่ๆ นี้
ที่พวกเราไปทำเป็นคู่ๆ แล้วมีเอียงไปทางนั้น มีเอียงไปทางนี้ มันก็ผิดความประสงค์ของพระเจ้า คือเข้ากัน
กับพระเจ้าไม่ได้ ขัดกันกับพระเจ้า เข้ากันกับพระเจ้าไม่ได้ เมื่อเป็นอย่างนั้น พระเจ้าก็ตบหน้าเอา ไม่ตบแรงๆ
ก็ตบเบาๆ ตามเรื่อง คือมันจะมีความทุกข์ ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง เพราะมนุษย์มันบ้า มันไปสร้างปรัชญาอะไรก็ไม่รู้ที่มันขัดกันกับพระเจ้า
เพราะฉะนั้นเราจะต้องมี ถ้าเราอยากมีปรัชญา เราต้องมีปรัชญาขึ้นมาที่ไม่ขัดกับพระเจ้า แต่ถ้าปฏิบัติตามหลักในพุทธศาสนาอยู่แล้ว มันไม่จำเป็นต้องมีปรัชญาอะไรอีก เพราะสอนหลักมัฌชิมาปฏิปทาอยู่แล้ว เช่น
มรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น ปฏิบัติเพื่อขจัดเสียซึ่งปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายที่จะทำให้เกิดความทุกข์
ทีนี้ก็จะแนะอีกสักหน่อยเดี๋ยวจะเข้าใจผิด เราพูดกันมากเรื่องควาย ๒ ตัว ว่าเราจะต้องมีควาย ๒ ตัว
เทียมชีวิต ไอ้ควาย ๒ ตัวนี้ อย่าเข้าใจว่ามันขัดกัน อยู่กันสุดโต่งคนละฝ่าย เพียงแต่แยกว่าคนหนึ่ง ถ้าจะดูให้ดี
มันต้องมีเรื่องร่างกาย กับเรื่องฝ่ายจิตใจ แต่ก็รวมเป็นสิ่งเดียวกันนะ พูดเปรียบกัน ก็ควายตัวหนึ่งเหมือนกับร่างกาย ควายตัวหนึ่งเหมือนกับจิตใจ ต้องให้ดี ให้มีเต็มที่
มันแปลว่า มันไม่ใช่เรื่องสุดโต่งหรือสองฝักสองฝ่าย คือถ้ามีควาย ๒ ตัว สมดุลกันแล้ว มันเป็นกลาง
คือมีความถูกต้องทางฝ่ายกายและฝ่ายจิตใจแล้ว มันก็จะสมดุลเป็นกลาง อย่าแยกควายตัวหนึ่งดึงไปทางโน้น ควายตัวนี้ดึงไม่ทางนี้ อย่างนี้ก็บ้า เปรียบเหมือนควาย ๒ ตัว เรื่องกายกับใจนี้ต้องไปด้วยกันอย่างดี เป็นอันเดียวกัน
ภาษาบาลีเขาไม่แยกเป็น ๒ สิ่งนะ กายใจนี่เขารวมเป็นสิ่งเดียวเสมอ ไอ้คนไม่รู้ ก็จะแยกเป็น ๒ สิ่งที่ตรงกันข้ามหรืออะไรทำนองนั้น มันต้องไปด้วยกัน ถ้าขาดสิ่งหนึ่ง สิ่งหนึ่งก็มีไม่ได้ ขาดกาย ใจก็ไม่มี ขาดใจ กายก็ไม่มี อะไรทำนองนี้ ต้องให้มันพอดีสมดุล มันจึงจะเป็นอันเดียวไปได้ เพราะถือว่าอยู่ที่ตรงกลางเหมือนกัน
ทีนี่ สิ่งที่น่านึกอีกก็คือว่า หญิงหรือชาย เขามักจะพูดกันว่า มันเป็นลักษณะ Positive หรือ Negative
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ที่จริงแบบนั้นมันว่าเอาเอง หญิงกับชายนี่ไม่ควรจะถือเป็นสิ่งตรงกันข้าม ในลักษณะ
ที่เหมือนกับเป็นคู่ๆ ที่ว่ามาแล้ว แม้จะเป็นอาการทำหน้าที่คนละอย่าง มันก็เป็นการร่วมกันทำหน้าที่อย่างเดียว
จึงจะคงอยู่ได้ ให้มีการสืบพืชพันธุ์ได้
หญิงกับชายนี่ก็เป็นปัญหาใหญ่ที่จะต้องคิดกันมาก เดี๋ยวนี้มันจะไม่มีหญิง ไม่มีชาย มันมีแต่กระเทย
เพราะผู้ชายทำหน้าที่อย่างผู้หญิง ผู้หญิงทำหน้าที่อย่างผู้ชาย ในโลกนี้ไม่มีพ่อไม่มีแม่กันแล้วรู้ไหม มันไปทำหน้าที่ตรงกับผลคือ เป็นกระเทย นี่เดี๋ยวจะไปเข้าใจผิดว่าหญิงเป็น Positive ชายเป็น Negative แล้วก็เป็นเรื่องที่ทำอย่างนั้นล่ะ ถูก มันต้องมีทั้งหญิง ทั้งชาย ทั้งพ่อและทั้งแม่ มนุษย์จึงจะมีความเป็นมนุษย์ที่อยู่ตรงกลางได้
ไอ้เรื่องสหศึกษา สหเพศศึกษานี่ยังเป็นปัญหา ความคิดของอาตมาโดยส่วนตัวรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่จะทำยุ่ง เพราะมันจะทำให้เป็นกระเทยหมด ทำหน้าที่เหมือนกันหมดแล้วจะไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ที่แท้จริง แต่ว่าถ้าโลกเขานิยมแบบนี้ก็ตามใจ นี่เราเป็นเพียงความคิดเห็น
เดี๋ยวนี้ในโลกไม่มีแม่ เพราะแม่ไปทำหน้าที่พ่อ ไม่มีพ่อเพราะพ่อไปทำหน้าที่อย่างอื่น ที่จริงแม่นี่คือ
พระอรหันต์ของลูก ดวงวิญญาณของลูกสร้างมาจากแม่ แม่ประคบประหงมมาตั้งแต่เล็ก ให้มีนิสัยและ
มีวิญญาณที่ดี โตขึ้นมามันจึงเรียนหนังสือได้ดี ทำการงานได้ดี ทำอะไรได้ดี
พ่อไม่ค่อยมีเวลา แต่เกี่ยวข้องด้วย เอาล่ะ อย่าหาว่าพูดเรื่องส่วนตัว จะพูดเรื่องส่วนตัวว่า อาตมานี่ เป็นเนื้อเป็นตัวขึ้นมาด้วยแม่ ไม่ใช่เป็นเนื้อเป็นตัวขึ้นมาด้วยโรงเรียน นิสัยที่ดีต่างๆ ที่มนุษย์พึงปรารถนานั้นได้จากแม่
ไม่ค่อยมีโอกาสได้จากพ่อเพราะไม่ค่อยได้อยู่ แล้วสิ่งเหล่านี้ในโรงเรียนไม่มีสอน นิสัย เคารพ นอบน้อม เชื่อฟัง กตัญญู ประหยัดด้วยนั้น ล้วนมาจากแม่ทั้งนั้น แม่สอนมาตั้งแต่ตัวเล็กๆ เพราะว่ามันอยู่ข้างแม่ ต้องอยู่ข้างๆแม่
ในครัวต้องทำอย่างนั้น ต้องทำอย่างนี้ ถ้าทำอะไรไม่น่าดูก็จะถูกดุ ถูกตี ถ้าใช้ฟืนมากไปนิดเดียว ก็จะต้องถูกตีเป็นคนสุรุ่ยสุร่าย อยู่กับแม่มาจนโต ไปโรงเรียนคือไปเรียนหนังสือ บุคลิกภาพหรือนิสัยอะไรต่างๆ ที่ดีๆ นั้น ถ่ายมาจากแม่ทั้งนั้น
คือถ้าไม่มีโอกาสเป็นอย่างนี้ ก็จะไม่มีสิ่งเหล่านี้ แล้วก็จะไม่เป็นเนื้อเป็นตัวมาเป็นอยู่อย่างนี้ก็ได้
ถ้าเราไม่มาพบกันอย่างนี้ก็ได้ ถ้าขาดแม่ในลักษณะอย่างนี้ เป็นพ่อต้องทำหน้าที่ทางสังคมต้องทำงานหาเลี้ยง
แล้วแม่ก็ไม่ทำงานอย่างนั้นเลย ทำหน้าที่อย่างนี้ คือเป็นแม่ที่สร้างวิญญาณของลูก เดี๋ยวนี้เอาแม่ไปทำพ่อ เอาพ่อไปทำแม่ ยุ่งกันหมด โลกนี้ไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ คนก็จะมีแต่กระเทย เพราะฉะนั้นให้ระวังเรื่องสหศึกษาให้ดีๆ จะทำให้คนเป็นกระเทย
เวลาดูแห่พระ เขาลากพระออกพรรษานั้น สมัยก่อนเมื่ออาตมาเด็กๆ นี่เขาเฉียบขาดมาก เชือกสายหนึ่ง
ก็ผู้ชาย เชือกสายหนึ่งก็ผู้หญิง เดี๋ยวนี้ปนเปกันหมด นี่มันละวัฒนธรรมเดิม เพราะว่าพอไปปนกันเข้า โอกาสที่
จะทำผิดนี่ก็มีมาก โอกาสที่จะลวนลามมันก็มีมาก โอกาสที่จะทำชั่วกว่านั้นก็มีมาก สหศึกษาระวังให้ดี มันมีโอกาส
สิ่งที่เรียกว่าโอกาสนี่ร้ายกาจที่สุด คนเราทำชั่วเพราะมีโอกาส แม้จะเป็นคนดีอยู่บ้าง ถ้ามีโอกาสทำชั่วก็ทำชั่ว
เพราะฉะนั้นต้องขจัดโอกาส โอกาสที่จะให้ทำชั่ว
พูดไปว่าเป็นธรรมเนียมมาร้อยปีพันปี แห่พระนี่ ผู้หญิงสายหนึ่งผู้ชายสายหนึ่ง จะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่
ก็ตามใจ ซึ่งเรายังเคารพอันนี้ เพราะฉะนั้นวัดนี้จึงจัดที่พักผู้หญิงฝ่ายหนึ่งผู้ชายฝ่ายหนึ่ง ยังไม่ต้องการสหศึกษา
อันนี้พูดเลยเถิดไปแล้ว ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่าผู้หญิง ผู้ชายนี่อย่าไปถือเป็น Positive, Negative ต้องถือเป็นสมดุลที่ถูกแบ่งแยกงานกันทำเป็นสองขา แล้วขัดกันไม่ได้ ถ้าขัดกันแบบ Positive, Negative ก็ตายเลย พ่อก็จะไม่เป็นพ่อ แม่ก็จะไม่เป็นแม่ แต่เมื่อรวมกันสมดุลแล้วก็เป็นเครื่องสร้างโลกที่ดี เป็นพระเจ้าอยู่ในพ่อแม่ เข้ากันได้ก็เป็นเจ้าโดยตรงไปตามกฎเกณฑ์ของอิทัปปัจจยตา
นี่คำว่าไม่เป็นคู่ๆ ก็มีความหมายกำกวม ต้องไม่เป็นคู่ถ้ามันมีอยู่ตรงกันข้ามก็ต้องพยายามทำให้มันไม่เกิดความเป็นตรงกันข้าม ให้มันเป็นตรงกลาง เป็นสมดุล เป็น Neutral ไปเรื่อย มันก็ไม่เกิดเรื่อง เพราะฉะนั้นปรัชญาที่จะใช้กับมนุษย์ในปัจจุบันนี้ให้ระวังเรื่องเป็นคู่ๆ ต้องเป็นไปตามประสงค์ของพระเจ้า ก็เหมือนพระเจ้าซึ่งไม่เป็นอะไร ไม่เป็นฝ่ายไหน เป็นกลางๆ
ทีนี้ก็อยากจะให้หัวข้อต่อไปอีก เพราะความเป็นกลางๆ ไม่สุดโต่งไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนี่จะเป็น............... (57.22) คือว่ากลืนลงคอได้ทุกคน ไม่ว่าฝ่ายไหนก็กลืนลงคอได้ทุกคน ถ้าเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแล้ว
ฝ่ายหนึ่งก็กลืนไม่ลง เพราะฉะนั้นต้องรักษาสิ่งที่ไม่ไปข้างนั้น ไม่ไปข้างนี้ เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ทุกคน อยู่ตรงกลางเป็นมัชฌิมา
มัชฌิมาในพุทธศาสนาหรือมัชฌิมาไหนมันก็ต้องอยู่ตรงกลางอย่างนี้ทั้งนั้น ถ้าไม่อย่างนั้นมันก็ไม่ใช่กลาง ความเป็นคู่แยกไปคนละฝ่าย สุดโต่งฝ่ายหนึ่ง นี่ไม่เป็นกลาง ก็ต้องทำลายคู่นั้นเสีย จึงจะเป็นกลาง ทีนี้ความเป็นกลางนี่มันก็มีเพียงสิ่งเดียว แต่มันก็มีเหลี่ยมคูมาก แม้จะมองกันในแง่ไหน ก็เหมือนอย่างที่บอกไปแล้ววันก่อนว่า ธรรมะในพุทธศาสนาหรือตัวศาสนานี่มีเหลี่ยมคูมาก ทุกแง่ทุกมุม เพราะฉะนั้นคนนี่ก็เลือกกันได้ เพราะฉะนั้นความเป็นกลางนี้ ไม่ใช่ว่ามันจำกัดจะถือได้แต่บางคนบางพวก มันมีเหลี่ยมคูให้ถือกันไปทุกขั้ว ไปทบทวนดูใหม่
พุทธศาสนาเป็นปรัชญาก็ได้ เป็นวิทยาศาสตร์ก็ได้ เป็นตรรกวิทยาก็ได้ เป็นจิตวิทยาก็ได้ เป็นศิลปะก็ได้ ได้ ได้ ได้ จนกระทั่งเป็นอนามัยวิทยา ก็ที่แท้มันเป็นศาสตร์สำหรับสังคม เพราะฉะนั้นมันจึงอยู่ตรงกลาง
อยู่ตรงกลางเป็นอิทัปปัจจยตา ทุกอย่างเป็นไปตามกฎเกณฑ์แห่งเหตุผลหรือตามปัจจัย
ทีนี้ปรัชญานี้มันดีตรงที่ว่าจะทำให้คนไม่เกิดเรื่องไม่เกิดความทุกข์ขึ้นมา มันมีประโยชน์ที่สุดที่จะทำให้เราอยู่ในโลกโดยไม่มีความทุกข์ ถ้าถือปรัชญาถูกต้อง ก็คือ ปรัชญาอิทัปปัจจยตานี้ มันไม่ขึ้น ไม่ลง ไม่ร้องไห้
ไม่หัวเราะ อะไรทั้งหมด มันเหมาะที่จะอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยขวากหนาม ด้วยดอกไม้ หรือด้วยอะไรต่ออะไรสารพัดอย่าง
ยกไปว่า ไม่ให้มีความทุกข์ในการศึกษา ไม่ให้มีความทุกข์ในการทำอาชีพ ไม่ให้มีความทุกข์ในการบริโภคผลงาน ครั้งหนึ่งเคยพูดอุปมาว่า เพื่อจะให้กินปลาไม่ถูกก้าง โลกนี้เหมือนปลาเต็มไปด้วยก้าง ถ้ามีปรัชญาถูกต้องหรือมีการปฏิบัติธรรมถูกต้อง มันก็กินปลาได้โดยไม่ต้องถูกก้างปลา
เดี๋ยวนี้ดูซิ มันฆ่าตัวตายตั้งแต่ยังเป็นนักเรียน เพราะทำอะไรที่ไม่น่าดูตั้งแต่ที่ยังเป็นนักเรียนแล้ว
ก็มีการนั่น การนี่ เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวหัวเราะ มีการทุกข์ทนทรมานในการทำงาน ในการเป็นอยู่ ในโลกนี้ ไม่ถูก ฆราวาสก็เหมือนกับตกนรกทั้งเป็น ถ้าไม่มีปรัชญาที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐี เป็นขอทาน เป็นโลกกำลัง
มีสงครามนี่ ก็เพราะมีปรัชญาที่ไม่ถูกต้อง ชีวิตความเป็นฆราวาสก็เหมือนกับตกนรกทั้งเป็น แล้วก็ลามมาถึง
พระ เณรที่ยังไม่รู้อะไร ก็เหมือนฆราวาสเหมือนกัน
เอาล่ะ สรุปเป็นหัวข้อได้ว่า ปรัชญาไหนก็ตาม สาขาไหนก็ตามที่มันไม่เพ้อเจ้อ ไม่เฟ้อ มันจะเข้ากันได้กับปรัชญาของพระพุทธเจ้า คือ อิทัปปัจจยตา เสมอไป ตั้งแต่เขาก็ไม่ค่อยเจอะ มองกันในแง่นี้ เขามองพุทธศาสนาผิด ประหนึ่งนักปรัชญาเยอรมัน โชแปง แอร์ (01 02 16) เข้าใจพุทธศาสนาเป็น Pessimistic พูดแต่เรื่องทุกข์ แต่เขียนปรัชญาออกมาก็เป็นแบบนั้น ปรัชญา.............(01 02 28) เรื่องโลกในแง่ร้าย ก็เขียนตามหลักพุทธศาสนา ถ้าอย่างนั้นจริงก็แสดงว่ามองพระพุทธศาสนาผิด พุทธศาสนาไม่ได้บัญญัติเรื่องทุกข์ ๆ ทุกข์ไปหมด บัญญัติอาการของความทุกข์ว่าเป็นอิทัปปัจจยตา ก็แก้ไขได้โดยการอย่างนี้ๆ เพราะฉะนั้นโลกหรือชีวิตนี้ไม่ได้เป็นตัวทุกข์ ไม่ได้เป็นความทุกข์ เสมือนพวกที่มาเข้าใจผิดแล้วมาว่าเอาเอง
อิทัปปัจจยตาไม่ใช่สุขหรือทุกข์ อยู่เหนือสุข เหนือทุกข์ ชีวิตนี้จะเป็นสุขก็ได้ เป็นทุกข์ก็ได้แล้วแต่
อิทัปปัจจยตา นี่ปรัชญาที่แท้จริงต้องเข้ามาสู่ปรัชญาที่จะเป็น Nucleus (01 03 22) คือ อิทัปปัจจยตาก็ไม่มีทางจะผิด ก็จะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เหมือนคำว่าพุทธ พุทธะ แปลว่า รู้ แปลว่าตื่น แปลว่าเบิกบาน เพราะปรัชญานั้น มันทำให้เป็นอย่างนั้นได้จริง ทำให้รู้ถูกต้อง ทำให้ตื่นจากหลับ ตื่นจากกิเลสแล้วก็เบิกบานอยู่ได้ โลกควรจะเป็นอย่างนั้นแต่มันยังเป็นไม่ได้ เพราะมันยังไม่มีปรัชญาที่เหมาะสมแก่โลกนั่นเอง
ทีนี้ก็จะเตือนซ้ำอย่างอีกให้เข้าใจว่า พุทธศาสนาไม่ได้เป็นปรัชญา เราจะมองในรูปปรัชญาก็ได้
เรื่องอิทัปปัจจยตานี้เป็นเรื่องปฏิบัติ ปฏิบัติให้คนกับกฎอิทัปปัจจยตา เพราะสิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้จึงมี เมื่อปฏิบัติถูกแล้วก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทาได้ ไม่หัวเราะ ไม่ร้องไห้ หัวเราะก็บ้า ร้องไห้ก็บ้า
ทีนี้เรายังชอบปรัชญาก็ได้เหมือนกัน ที่บัญญัติแต่หลักง่ายๆ แล้วเราไปศึกษาต่อไปว่าปรัชญานั้นคือสัจจะที่กำลังคำนวณ ก็เป็นเพียงสัจจะอันหนึ่งที่เอามาคำนวณ ส่วนพรหมจรรย์หรือศาสนานั้นคือสัจจะที่คิดได้แล้ว ปฏิบัติเสร็จแล้ว สัจจะที่ยังคำนวณเรียกว่าปรัชญา สัจจะที่ปฏิบัติแล้ว อะไรแล้ว เรียกว่าพรหมจรรย์ โดยเฉพาะพรหมจรรย์พุทธศาสนา นี่เราจะเรียกว่าปรัชญาก็ได้ถ้าชอบ เอาปรัชญาที่อาจจะปฏิบัติได้ แล้วก็ปฏิบัติได้จริงแล้ว ชอบปรัชญาอย่างนี้ก็ไม่เป็นไร จึงคิดว่าสังคมควรจะถือเอาปรัชญาที่ปฏิบัติได้ แล้วก็รีบปฏิบัติกันเร็วๆ โลกนี้จะ
ไม่เกิดภาวะที่ไม่พึงปรารถนาเหมือนอย่างเดี๋ยวนี้ หรือที่จะรุนแรงหนักขึ้น
ถ้าโลกยังชอบปรัชญา ก็ต้องเอาปรัชญาที่ปฏิบัติได้แล้วก็เข้ากันได้กับพระเป็นเจ้า ที่เป็นกลาง รับได้
ทั้งนายทุน ทั้งกรรมกร ทั้งเทวดา ทั้งมนุษย์ ทั้งหมดเลย อย่าไปถูกปรัชญาเฟ้อขึ้น คำนวณไม่รู้จบ ต้องคำนวณชนิดที่คำนวณแล้ว ปฏิบัติได้ แล้วปฏิบัติแล้ว และก็ปฏิบัติอยู่ที่เนื้อที่ตัว ที่กาย วาจา ใจ ที่พูดไปแล้วแต่ก่อน เพราะฉะนั้นถ้าตามความเห็นของอาตมา ก็ถือว่า นี่คือปรัชญาที่เหมาะแก่สังคมโลก คือปรัชญาเป็นกลาง คือปรัชญาที่เข้ากับ
พระเจ้าได้ แล้วเข้ากับมนุษย์ทุกคนได้อย่างที่ว่า ไม่เอียงไปซ้าย ไปขวา เป็นปรัชญาที่ทำให้ยิ้ม ให้เย็นอยู่เสมอ
แต่ไม่ใช่ มันเป็นคู่ ตรงกันข้ามกับร้องไห้ ไอ้ยิ้มไอ้เย็นนี้มันมีปัญญา มันหัวเราะเยาะ ของเป็นคู่ๆ มันอยู่ตรงกลางคือ
อิทัปปัจจยตา แล้วมันหัวเราะเยาะฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา ฝ่ายได้ ฝ่ายเสีย ฝ่ายชนะ ฝ่ายแพ้ หัวเราะเยาะหมด แต่ไม่ใช่หัวเราะร่า แล้วยิ้มๆ ก็พอแล้ว หัวเราะมันเหนื่อย ก็พอดี