แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันที่ ๑๐ เมษายน สำหรับพวกเราที่นี่ อื้อ, ได้ล่วงมาถึงเวลา ๔:๑๕ น. แล้ว อื้อ, วันนี้เป็นครั้งที่ ๑๒ ของการบรรยาย เป็นเรื่องที่ ๓ อื้อ, เออ, ของความรู้ที่จำเป็น ก่อนการเยียวยารักษาโรค อื้อ, หมายความว่า เออ, เรื่องที่เราจะต้องทราบ ก่อนการแก้ไขเยียวยารักษาไอ้โรคกิเลส อื้อ, เข้ามาเป็นเรื่องที่ ๓ แล้ว เรื่องที่ ๑ คือ เรื่องหลักตัดสินว่า อะไรถูก อะไรผิด เออ, เรื่องที่ ๒ อือ, ความหมุน อื้อ, ของสิ่งที่ ประกอบกันขึ้นเป็นชีวิต เรียกว่า วงล้อของชีวิต ในชีวิตประจำวัน
วันนี้ก็มาถึงเรื่อง อภิธรรม อือ, ของชีวิต ทำไมจึงพูดเรื่องนี้ อื้อ, ผมเข้าใจว่าส่วนใหญ่ ของนักศึกษานี้ ยังไม่รู้จักคำว่า อภิธรรม หรือปรมัตถธรรม แม้จะได้ยินได้ฟังคำนี้อยู่บ้าง ก็ยังเข้าใจน้อย อื้อ, จนไม่สำเร็จประโยชน์ ดังนั้นจึงต้องพูดกันให้ อ่า, เข้าใจคำ ๆ นี้ และมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับไอ้ความลับ ของสิ่งที่เรียกว่า ชีวิต ด้วยเหมือนกัน อื้อ, คือ มันบอกให้ทราบถึงเรื่องโรค หรือเรื่องเหตุให้เกิดโรค โดยทั่ว ๆ ไปในแง่ลึก อื้อ, แม้จะเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ก็ดูจะไม่เคยศึกษาถึงเรื่องการพูด ที่มีความจริง ที่แยกกันอยู่กันเป็น ๒ ชนิด อือ, อย่างที่ในภาษาวัด ๆ เรานี้เรียกว่า สมมุติสัจ กับปรมัตถสัจ
อื้อ, สมมุติสัจ ก็เหมือนกับที่เขาใช้ ในภาษาปรัชญาว่า Relative truth อื้อ, ไอ้พวกปรมัตถสัจก็ Absolute truth อื้อ, Relative truth นั้นหมายถึง ไอ้ความจริง ที่พูดกันอยู่ อ่า, ในวงการพูดของชาวบ้าน อื้อ, แต่มันเป็นความจริง เออ, ที่ยืดหยุ่นได้ และเอาสิ่งที่ปรากฏอยู่ เฉพาะหน้าเท่าไรมาเป็นหลัก อื้อ, คือ มองไม่เห็นส่วนลึก หรือส่วนทั้งหมดที่ยังไม่ปรากฏ มันก็พูดไปอย่างผิวเผิน อื้อ, ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ปรากฏ อยู่เฉพาะหน้า และมันเป็นเปลี่ยนแปลงได้ อื้อ, หรือยืดหยุ่นได้ ส่วน Absolute truth นั้น มันก็มีแต่ผู้ที่ มองเห็นตลอดแล้ว อื้อ, และพูดในด้านลึกที่สุด อื้อ, สิ่งที่เรียกว่า Relative truth นี้ มันจึงตรงกับคำว่า ปรมัตถสัจ เอ้ย, สมมุติสัจ คือ ความจริงที่พูดไปตามสมมุติ Absolute truth ก็คือ ไอ้ความจริงที่เป็นปรมัตถ์ คือ จริงถึงที่สุด ไม่เกี่ยวกับการสมมุติ โดยถือว่ามันเป็นการ พูดอย่างธรรมาธิษฐานแท้ แล้วก็ถึงที่สุดแห่ง เรื่องนั้น ๆ อื้อ, ซึ่งคนธรรมดายังมองไม่ ไม่เห็น เออ, คนที่รู้จึงสอนให้
ฉะนั้นสิ่งที่เรียกว่า อภิธรรมนี้ มันขึ้นอยู่กับประเภทหลัง อื้อ, คือประเภท Absolute truth อื้อ, แต่ถึงอย่างนั้นก็ขอให้เข้าใจว่า ไอ้ทุกสิ่งนี้มันมี อ่า, ส่วนที่เขว ส่วนที่พูดไปตามไม่รู้ ฉะนั้นสิ่งที่เรียกว่า อภิธรรม มันก็มีอภิธรรมแท้ กับอภิธรรมเฟ้อ อื้อ, ส่วนในที่นี้เราจะพูดกันถึงอภิธรรมแท้ เป็นอภิธรรม ของชีวิต เออ, หมายความว่า มัน ที่มันเกี่ยวกับชีวิตโดยตรง อื้อ, โดยเฉพาะในแง่ ที่เกี่ยวกับการรักษา โรคกิเลสเท่านั้น แง่นอกนั้นไม่จำเป็น ถึงมันจะมีอยู่มากมายก็ไม่จำเป็น อื้อ, ฉะนั้นถ้าได้ยินคำว่า อภิธรรม หรือปรมัตถธรรมแล้วก็ ให้รู้ว่าในเมืองไทยนี้ มันก็มีอยู่เป็น ๒ ชนิดเหมือนกัน คือ ชนิดที่ตรงที่จริง อื้อ, ส่วนแท้ แล้วก็ตรงไปยัง ไอ้เรื่องดับทุกข์ หรือดับกิเลสโดยตรง
ที่นี้อภิธรรมที่เฟ้อ ก็คือว่า พูดไปอย่างให้มันละเอียดที่สุด ให้มันน่าอัศจรรย์ที่สุด อะไรไปตามนั้น ผิด ๆ ก็มี แล้วก็คือ ไม่จำเป็น อื้อ, ถ้าอยากจะรู้อภิธรรมแท้ ก็ขยันไหว้ครู คือ ระลึกนึกถึงพระบรมครู อยู่เสมอ ให้จิตใจมัน มันแน่วไปทางนั้น ให้มัน อื้อ, ลึก ให้ ให้มันสุขุมลึกซึ้ง มันก็จะมองเห็นในส่วนนี้ได้ อื้อ, สัพพัญญู สัพพะ ทัสสาวี ชิโณอาจรีโย มะมะ มหากรุณิโก สัตถา สัพพะโลกะ เตกิจฉะโก (นาทีที่ 07:28) ขยันท่องไว้ว่า อาจารย์ของเรา เป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง เป็นผู้มองเห็นสิ่งทั้งปวง เป็นพระศาสดาผู้มี กรุณาอันใหญ่หลวง เป็นนายแพทย์ผู้เยียวยาโรค ของสัตว์โลกทั้งปวง ดังนี้
นี่มันมีความหมายที่ลึกอยู่ในนั้น อื้อ, เพราะพระพุทธเจ้า ท่านเป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง เห็นสิ่งทั้งปวง มันจึงเห็นในส่วนนี้ ส่วนลึก ชนะมารได้ นั่นนะยิ่งเป็นส่วนลึกที่สุด ท่านเป็นผู้มีกรุณาอันใหญ่หลวง ท่านก็จะต้อง เออ, เลือกสอนแต่สิ่งที่ไม่มีโทษ หรือไม่เสียเวลามีแต่ประโยชน์ อื้อ, และรักษาโรคของ สัตว์โลกทั้งปวง นี่ก็เป็นคำพูดในแง่ลึก อื้อ, เป็นอภิธรรมอยู่แล้วในตัวนั้น หมายความว่า สัตว์โลกทั้งปวง ในทุก ๆ โลก เป็นโรคทางวิญญาณ อื้อ, ไม่ยกเว้นใคร เว้นแต่พวกที่เป็น พระอริยบุคคล แล้วก็จะหายโรค สิ้นเชิง ก็พระอริยบุคคล ในขั้นที่เป็นพระอรหันต์เท่านั้น นอกนั้นก็ยังมีโรคเหลืออยู่บ้าง ค่อย ๆ หายไป
เอาละ, เราจะได้พูดกันถึง อ่า, สิ่งที่เรียกว่า อภิธรรมนี้คืออะไร อ้ือ, แล้วก็ต้องหมายถึงอภิธรรมแท้ ไม่ใช่อภิธรรมเฟ้อ หรือเกิน อื้อ, อภิธรรมแท้ ก็หมายถึง Absolute truth อย่างที่ว่านี้ คือ ปรมัตถสัจ หรือปรมัตถธรรม อยากจะบอกเป็นข้อแรกว่า อันนี้ไม่ใช่ปรัชญา อื่อ, แม้คำว่า ปรัชญา จะแปลว่า ปัญญา ก็จริง แต่ในภาษาไทยเอาไปใช้เป็นคำแปลของ Philosophy ทีนี้ Philosophy โดยทั่วไป เราไม่ถือว่าเป็น Absolute truth อื้อ, ใครจะถือก็ตามใจ ผมไม่ถือ และก็มีพรรคพวกที่จะไม่ยอมถือ คือ ไม่ยอมถือว่า Philosophy เป็น Absolute truth อื่อ, เพราะว่ามันไม่ใช่ อ่า, วิทยาศาสตร์ เพราะว่ามันยังขึ้นอยู่กับเหตุผล ของการคำนึงคำนวณ ไปยังสิ่งที่ยังไม่รู้ กำลังอยากรู้ หรือเพิ่งรู้ใหม่ ๆ ตื่นไปว่ามันถูกแล้ว นี่ปรัชญา อยู่แค่นี้ อื้อ, ความรู้อะไรใหม่เข้ามา แปลกเข้ามา ค้นพบ ก็สมมุติเป็นปรัชญา ความรู้ที่เพิ่งพบ กำลังตื่นกัน อย่างยิ่ง และมันก็ไม่ใช่ความจริงถึงที่สุด ไม่ใช่ Absolute truth มันยังมีปัญหายุ่งยากเหลือไว้ ทิ้งไว้ ให้คิดต่อไป
ฉะนั้นอภิธรรมที่แท้นั้น ไม่ใช่ปรัชญา แม้ว่าจะมีวิธีพูด หรือจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกับปรัชญา อื้อ, ฉะนั้นเราจะเรียกว่า Absolute truth หรืออภิธรรม หรือปรมัตถธรรม ไปดีกว่า ที่จะไปเรียก มันว่าปรัชญา หรือ Philosophy อื้อ, เพราะสิ่งที่เรียกว่า อภิธรรม ในที่นี้ เรามุ่งไปทางเป็นวิทยาศาสตร์มากกว่า ที่จะเป็น ปรัชญา อื้อ, คือ มี มีเหตุผลประจักษ์ทางฝ่ายจิตใจ คือ ปรา ปรากฏอยู่กับจิตใจ แม้ไม่เป็นวัตถุที่มาแฉให้ดู อย่างวัตถุ อื้อ, แต่มันแฉให้ดูอย่างทางจิตใจ คือ รู้ประจักษ์อยู่กับจิตใจ ในข้อที่มันดับทุกข์ได้ และเราไม่เอา อะไรมากไปกว่านั้น อื้อ, ถ้ามันดับทุกข์ได้ ก็ถือว่าถูก ระวังหน่อยก็เพียงแต่ว่า ให้มันดับทุกข์ให้จริงเท่านั้น
อื้อ, ฉะนั้นไอ้สิ่งที่เรียกว่า ปรัชญา หรือ Philosophy นั้น มันคือ ยังสิ่ง คือ ยังเป็นสิ่งที่กำกวม อื่อ, อ่า, ยังเป็นเพียงไอ้ความคาดคะเน อย่างที่ในกาลามสูตร เรียกว่า นัยเหตุ อื้อ, เป็นไอ้เรื่อง อ่า, คาดคะเน โดยนัยแห่งเหตุผล สำหรับใช้กับสิ่งใหม่ ๆ ที่กำลังค้นคว้า อ่ะ, พอออกมาก็เป็นเรื่องที่พอใจ นี่ยังไม่รับรอง ว่า ถูกถึงที่สุด แล้วส่วนมากก็ไปในเรื่องที่ไม่จำเป็นทั้งนั้น ไอ้เรื่องที่จำเป็นนี้กลับไม่สนใจ เรื่องที่จำเป็น คือ เรื่องดับทุกข์นี้ มันกลับไม่ต้องการไอ้วิธีการอย่างปรัชญา มันต้องการวิธีการอย่างวิทยาศาสตร์ อื้อ, ที่นี้เราต้องจำไว้อีกอย่างหนึ่งว่า เออ, เรื่อง ๆ เดียวกันนั้น สำหรับคนโง่เป็นปรัชญา สำหรับคนรู้ถึงที่สุด มันเป็นวิทยาศาสตร์
ฉะนั้นขอให้คุณจำไว้ว่า อ่า, เรื่องที่เป็นตัวพุทธศาสนาที่จริง ที่สำคัญ เช่นเรื่องอริยสัจ เช่นเรื่อง ปฏิจจสมุปบาทนี้ อื้อ, สำหรับคนยังไม่รู้ ยังเรียนอยู่ ยังอะไรอยู่นี้ มันเป็นปรัชญาจริงในข้อนี้ แต่สำหรับ ผู้ที่ปฏิบัติได้แล้ว โดยเฉพาะพระอรหันต์นี้ มันพ้นความเป็นปรัชญา มันเป็นวิทยาศาสตร์ มันกลายเป็น ชัดแจ้ง อยู่ในใจของท่าน เรื่องว่าทุกข์เป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร และทุกข์ที่ดับไปหมดแล้ว มันเป็นอย่างไร มันชัดแจ้งอยู่ในใจของท่าน มันเป็นปรัชญาไปไม่ได้ มันเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างเดียวกับ วิทยาศาสตร์ทางวัตถุ อื้อ, แต่ว่ามันเป็น เดี๋ยวนี้มันเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตใจ หรือทางนามธรรม
อื้อ, ทีนี้คนเขาก็มักจะเหมา ๆ กันว่า มัน เรื่องทางนามธรรมเป็นปรัชญาอย่างเดียว นี่เพราะไม่ รู้เรื่องของพระอริยเจ้า ไม่รู้จักคำว่า ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ (นาทีที่ 13:55) หรือไม่รู้จักคำว่า สนฺทิฏฐิโก ที่เราสวดกันอยู่ อื่อ, เมื่อมันยังไม่เป็น สนฺทิฏฐิโก ไม่เป็น ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ (นาทีที่ 14:07) มันก็เป็นปรัชญา สำหรับคำนึงคำนวณไป นี้ฝรั่งที่เข้ามาแรกเรียนพุทธศาสนา ในหัวข้อนี้ มันเห็นปรัชญา ไปหมด แต่พระอริยเจ้า หรือพระอรหันต์ เห็นอย่างนี้เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นของเปิดเผยอย่างธรรมดา ฉะนั้นอะไรเป็นวิทยาศาสตร์ อะไรวิทย์ เป็นปรัชญา เออ, มันก็ต่างกันอยู่อย่างนี้ อื้อ, ถ้าอาศัยคำนึงคำนวณ อยู่เรื่อยไป มันก็ยังเป็นปรัชญาอยู่เรื่อยไป นักเรียนในโรงเรียน นักธรรมเรียนอริยสัจ เรียนปฏิจจสมุปบาท อย่างปรัชญา ทีแรกก็อย่างความรู้ท่องจำเท่านั้นแหละ แล้วก็สอบไล่ได้ และต่อมาก็คิดค้นไปในรูปของ ปรัชญา พวกฝรั่งมา ถึงก็มาแตะต้องในรูปของปรัชญา มันจึงไม่ได้ผล เรียนเท่าไร ๆ มันก็ดับทุกข์ไม่ได้ มันเป็น อ่า, รูปปรัชญาอยู่เรื่อย
ทีนี้เมื่อปฏิบัติ ชนิดที่ควบคุมไอ้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เกิดตัวกูของกูนี้ จนจิตใจมันเปลี่ยน สภาพไปอยู่เป็น เออ, เป็นจิตใจที่ไม่มีกิเลส อื้อ, มันก็รู้ความที่ไม่มีกิเลส รู้ความที่ไม่มีทุกข์ชัดแจ้ง กลายเป็นวิทยาศาสตร์ ฝ่ายนามธรรม อื้อ, ทีนี้เรื่องปรัช อ่า, อภิธรรม หรือปรมัตถธรรมที่แท้ มันหมายถึง เรื่องอย่างนี้ อื้อ, ด้วยความรู้ที่ผู้รู้ ผู้บรรลุธรรมแล้ว เห็นแจ้งแล้ว พูดไว้ อื้อ, ถ้าเรายังไม่ถึง มันก็เป็น ปรัชญาสำหรับเรา อื้อ, ดังนั้นเราก็รีบทำให้มันเป็น เออ, วิทยาศาสตร์
ที่นี้สิ่งที่เรียกว่า อภิธรรม อภิธรรมแท้ก็พูดถึงเรื่องนี้ ทั้งสำหรับคนที่ยังไม่บรรลุ และคนที่บรรลุ แล้ว ขอให้ถือว่าเรา อ่า, เล็งถึงไอ้ ความจริงในชั้นปรมัตถ์ คือ จริงแท้จริงเด็ดขาด ว่าเป็นอภิธรรม ส่วนอภิธรรมนอกนั้น เกินหรือเฟ้อ อื้อ, เรียนจนตายก็ไม่จบ อื้อ, ทีนี้อภิธรรมแท้ อภิธรรมจำเป็น ที่จะต้องเรียนนี้ ก็มีอยู่ในขอบเขตที่จำกัด อื้อ, โดยเฉพาะในพุทธศาสนา ก็จะมีเรื่องเดียวกันนี้ อื้อ, คือ เรื่องความว่าง อื้อ, ความว่างเป็นสิ่งที่อยู่ลึก ที่มองเห็นยาก เข้าใจยาก เป็นปรัชญาไปก่อน จนกว่าจะเข้าถึง จึงจะเป็นวิทยาศาสตร์
อื้อ, ทีนี้อภิธรรม ในที่นี้ก็เราหมายถึง เรื่องความว่าง จะรู้แล้ว หรือยังไม่รู้ หรือจะรู้แล้วก็ตามใจ เรื่องความว่างนี้ ถือว่าเป็นเรื่องชั้นอภิธรรม หรือปรมัตถธรรม อื้อ, ให้ เออ, ศึกษาไปใน อ่า, ในวิถีทางที่ มันจะดับทุกข์โดยตรง ไม่ใช่ศึกษาไปในวิถีทาง ที่จะเป็นวิชาความรู้ที่เดินเรื่อยไป จนไม่รู้จะไปทางไหน สมัยนี้เขาเรียนปรัชญากันในรูปนั้นทั้งนั้นแหละ คือว่าเรียนมาก เรียนทุกแขนง สำหรับเปรียบเทียบ ก็เลย ก็ต้องไม่รู้จักนั่นแหละ เพราะมันมากเข้า ๆๆ จนคนนั้นเอง ก็ไม่รู้จะเอาอย่างไร ไอ้สิ่งที่เป็นศาสนากลาย เป็นปรัชญาไป อ่า, ไปหมด อื้อ, ไอ้หนังสือชั้นหลัง ที่เขารวบรวมข้อความ ในพระคัมภีร์ทางศาสนา อ่า, หรือเกี่ยวกับศาสนานี้ มาให้คนเรียนกันนี้ มันไปในรูปปรัชญา
อื้อ, ยกตัวอย่างที่น่าประหลาด น่าสงสาร หรือน่าอะไรทำนองนี้ เช่น คำว่าพระเจ้านี้ เช่น คำว่า God นี้ มันมีความหมายอย่างไรบ้างนี้ เขาสืบค้นมาตั้งแต่ไอ้ครั้งแรก ที่มนุษย์เริ่มมี คำว่า God ขึ้นมาใน คำพูดนี้ อื้อ, คงจะหลายพันปี จนกระทั่งบัดนี้ ไอ้ Definition ของคำว่า God มีตั้งพันชนิด อื้อ, หรือเกินกว่า พันชนิด แล้วก็ดูสิ เดี๋ยวนี้คนก็เลยไม่รู้ว่า God คืออะไร แล้วก็เข้าไม่ถึง God นี่เอา God นั้นมาทำเป็น ไอ้วัตถุของปรัชญา God นี้ก็เป็นศาสนามันง่าย พูดไว้คำเดียวชัด ๆ เชื่ออย่างนั้น ปฏิบัติตามนั้น มันก็ ก็ต้องได้ประโยชน์ เดี๋ยวนี้มันมา มองกันในแง่ปรัชญา คนนั้นว่าอย่างนี้ คนนี้ว่าอย่างโน้น ตั้งแต่หลาย พันปีมาแล้ว จนถึงบัดนี้ มันมีตั้งเป็นพัน หรือหลักกว่าพัน ความคิดความเห็น อื้อ, ทำพระเจ้าให้เป็น ปรัชญาเพ้อเจ้อ อื่อ, เลยคนก็ไม่ต้องมีพระเจ้ากัน ในโลกนี้มนุษย์กำลังไม่มีพระเจ้า ในศาสนาที่ถือพระเจ้า
นี้ธรรมะ เรื่องความดับทุกข์นี่ก็เหมือนกัน พอติดไปในมือของไอ้นักเมาปรัชญา แล้วมันก็ ไปอยู่ในรูปอย่างนี้ พูดกันจนไม่รู้เรื่อง อื้อ, คือมันขยายแตกแขนงไป ๆ จนไม่รู้ว่าจะเอาอันไหน อื้อ, วิธีการศึกษาแบบนี้ ผมว่าน่าสงสาร ยิ่งศึกษาอะไร ยิ่งไม่รู้สิ่งนั้น ยิ่งศึกษาพระเจ้า ก็ยิ่งไม่รู้จักพระเจ้า ยิ่งศึกษาพุทธศาสนา ก็ยิ่งไม่รู้จักพุทธศาสนา อื้อ, มันศึกษาอย่างวิธีของฝรั่งก็ มันก็รู้ เออ, เปลือก เปลือกของพุทธศาสนา ที่พร่าออกไป พร่าออกไป ไม่เข้าถึงตัวจริง นี้ถ้าสมมุติว่า มันจับปมที่เป็นตัวจริงได้ มันก็ศึกษาไปอย่างไอ้รูปปรัชญา เช่น ถ้าจะศึกษาเรื่องความว่าง ก็ศึกษาตามวิธีปรัชญา มันก็ไม่ว่างได้แหละ ไม่ทำให้จิตว่างได้ อ่ะ, เพราะเรามีสำหรับปฏิบัติลงไปตรง ๆ จนมีจิตใจที่ว่าง ว่างจากตัวกู ของกู แล้วก็ไม่ รู้จักมีความทุกข์ มัน มัน มันพิสูจน์ตรงที่ เดี๋ยวนี้ไม่มีความทุกข์
เดี๋ยวนี้มันเป็นวิทยาศาสตร์ไป ไม่ใช่ปรัชญา ถ้าพูดคำนึง คำนวณ คาดคะเน เออ, หรือเหตุผล ใช้ Logic อะไร มันก็เป็นปรัชญาเรื่อยไป ไม่มีจบ และไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ในทางที่จะดับทุกข์ อื้อ, ได้ประโยชน์ สำหรับที่จะเป็นนักปราชญ์ พูดบ้าน้ำลายไป หรือว่าไม่บ้าน้ำลาย ก็พูดไม่รู้จบ มันก็ยัง เออ, ยังน่าสงสาร ที่ว่าฝรั่งจะมาเรียนพุทธศาสนากันมากขึ้น ก็ไม่ถึงจุดที่เป็นตัวพุทธศาสนา ในรูปของศาสนา คือ ไม่ ไม่เป็น Religion ขึ้นมาได้ มันเป็นไอ้ปรัชญา เป็นอะไรไป เสียเรื่อย
มันมีคำพูดอยู่อีก ๒ คำ ที่ถ้า ถ้านึกถึงมันก็จะ เข้าใจคำว่า อภิธรรมนี้ได้ง่ายขึ้น อื้อ, คือว่าคำพูด หรือวิธีอธิบาย หรือหลักลัทธิศาสนาอะไรก็ตาม มันพูดได้เป็น ๒ ชั้น เออ, คือ ชั้นที่เปิดเผย เขาเรียกว่า Exoteric มัน มันพูดข้างนอก พูดอย่างเปิดเผย เหมือนกับเราท่องพุทธศาสนา เรียนตัวหนังสือ เรียนพระไตรปิฎกอย่างนี้ มันเป็นเรื่องเปิดเผยอยู่ แสดงด้วยอาการ หรือด้วยปรากฏการณ์ข้างนอก แล้วมันมียัง มีคำว่า Esoteric นี้ นี่มันเป็นความลับที่เอามา พูดเปิดเผยอย่างนั้นไม่ได้ เลยพูดเฉพาะคน เลยบอกให้เฉพาะคน คล้าย ๆ กับรหัสลับ อื้อ,
พุทธศาสนาก็เหมือนกัน ที่พูดไป ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ เป็นตัวหนังสือปรากฏอยู่นี้ มันเป็น ลักษณะ Exo เออ, Esoteric คือว่า ข้างนอก หรือเปิดเผย ส่วนที่เราจะสอนวิปัสสนา หรืออะไรเฉพาะคน เฉพาะบุคคล เฉพาะ เออ, เรื่องของบุคคลที่ มันมีกิเลสไม่เหมือนกัน อื้อ, และก็โดยวิธีที่มันกลับ ตรงกันข้าม กับที่เคยสอนมาแล้ว ยกตัวอย่างที่คุณจะเข้าใจได้ง่าย อาจจะจำได้ง่าย เช่นว่า สอนให้ทำดี อื้อ, สอนให้ละชั่ว สอนให้ทำดี อย่างนี้เป็นพวก Esoteric ทั้งนั้น ง่าย ๆ ตื้น ๆ เปิดเผย ก็พอ พอถึงชั้นไอ้ลึกซึ้ง มันสอนประเภทว่าดี ก็อย่าให้เอามัน นี่มันเป็น Esoteric อย่างนี้
เพราะว่าดีนี่ มันทำให้เรามีความทุกข์อย่างดี ชั่วทำให้เรามีความทุกข์อย่างชั่ว ฉะนั้นเราไม่เอา ทั้งดีทั้งชั่ว อื้อ, นี่เป็นอภิธรรม สอนให้ทำดีเสียเกือบตาย เราก็ให้มันทำเสียก่อน ให้มันรู้จักว่าดีนั้นนะ อ่า, คือ ของที่มีโทษอย่างลึกซึ้ง ไม่ปรากฏชัดเหมือนความชั่ว ความ ไอ้โทษของความชั่วมันปรากฏชัด แต่โทษของความดี มันไม่ปรากฏชัด และถ้าไม่ทำดีให้มากพอเสียก่อน มันก็ไม่รู้หรอกว่า มันมี มี เออ, มีโทษแฝงอยู่ อื้อ, นั้นจึงไม่บอกเรื่องนี้ในทีแรก บอกว่าทำดี ๆๆ มีความเจริญ ไปสวรรค์ ไปพรหมโลก ไปอะไร ก็ทำดีกันอยู่นั้นแหละ อ่ะ, พอมันทำได้ มันก็รู้ของมันเองว่า แหม, สวรรค์นี่ก็หลอก หลอกจัง โว้ย, อื้อ, คือ เต็มไปด้วยความโง่ ความหลง ในเรื่องความสุข เอร็ดอร่อยทางเนื้อ ทางหนัง ทางลิ้น อื้อ, แม้พรหมโลก มันก็เหมือนกับว่า ยาเสพติด ฝิ่น หรือเฮโรอีน ในความสุขชนิดที่ซึมกะทืออยู่อย่างนั้น มันไม่ใช่ความหลุดพ้น ถ้าเป็นเรื่องหลุดพ้น มันต้องสลัดไอ้ดี ๆ นี้ออกไปเสีย
ฉะนั้นไอ้เรื่องนิพพานนี้ มันจึงเป็นเรื่องเหนือดี เหนือชั่ว เหนือบุญ เหนือบาป เหนือสุข เหนือทุกข์ จนไม่พูดว่าอะไร จนใช้คำรวมว่า ว่าง ว่างนี้มันคือ เหนือ เหนือดี เหนือชั่ว เหนือสุข เหนือทุกข์ นี่แหละคำสอนในรหัสที่มันเป็น ความลับนี่ อื้อ, เฉพาะคน และพูดไปก็ เออ, ก็ ก็ไม่ ไม่ค่อยจะสำเร็จ นี่มันมีอยู่ประเภทหนึ่ง นี่คือพวก อภิธรรมแท้ ทีนี้มันพูดเป็นตัวหนังสือมากมายไป อย่างน้ันอย่างนี้ มันก็เป็นอภิธรรมเฟ้อ นี่คุณจะเข้าใจหรือไม่ จะทำได้หรือไม่ นั่นมันอีกส่วนหนึ่ง แต่ขอให้จำไปก่อน จำคำพูด หรือ หรือว่าหลักเกณฑ์อันนี้ไว้ก่อน อื้อ, สำหรับในอนาคต จะจับตัวอภิธรรมแท้ได้ แล้วสลัดอภิธรรมเฟ้อออกไป
แล้วสิ่งที่คุณกำลังกระหายจะเรียนนั้น เป็นอภิธรรมเฟ้อ เป็นรูปปรัชญาทั้งนั้น อื้อ, เพราะว่าตัว พุทธศาสนาแท้ ๆ มันต้องเรียนด้วยการกระทำ ไม่อาจจะมาเรียน ด้วยการนั่งพูดให้ฟังอย่างนี้ หรือไม่ อาจจะเรียนด้วย ไอ้พวก Speculation คำนวณไปตามนัยนั้น นัยนี้ Logic อย่างนั้น อย่างนี้ นั่นไม่ใช่ตัว อ่า, พุทธศาสนาแท้ อื้อ, มันเป็น อ่า, เปลือก และก็เป็นอภิธรรมเฟ้อ ฉะนั้นอภิธรรมแท้มันก็มีแต่ เออ, ส่วนหนึ่งที่จะต้องเรียน ด้วยการทำลงไปจริง ๆ ยกตัวอย่าง เออ, เรื่องความว่างนี้ ให้ไปเอามาให้หมดจาก พระไตรปิฎก เรื่องความว่าง มันก็ถึงความว่างไม่ได้ อื้อ, นี้ต้องเรียนด้วยการกระทำ ตามที่เขา เออ, ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ และก็ต่อเมื่อทำถูกต้อง เออ, สำเร็จเท่านั้น มันจึงจะพบกับความว่าง ที่ทำ ทำจนตายไม่เคยสำเร็จก็มี
ฉะนั้นเรียนจากไอ้ธรรมชาติสอน มันจึงจะง่ายกว่า ซึ่งผมใช้ เออ, วิธีนี้ บอกคนที่มาที่นี่ อยู่เป็นประจำ ว่าพวกคุณเข้ามาในสวนโมกข์นี้ คุณได้รับการสอนจากธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลง ในทางจิตใจเกิดขึ้น อื้อ, ได้ชิมรส เออ, ตัวอย่างของความว่าง ไม่มีความทุกข์ ซึ่งคนนั้นมันก็รู้ ด้วย ด้วย ด้วยใจเอง เป็น Experience อยู่ในใจเต็มที่ ว่าแหม, มันสบายจริง โว้ย, วันนี้ทำไมมันจึงสบายจริงมานั่ง อยู่ที่นี่ มันสบายบอกไม่ถูกนี่ คนที่เข้ามาครั้งแรกจะรู้สึกอย่างนี้ มันเป็นตัว Experience ที่ไม่ต้อง ไม่ต้องใช้เหตุผล ไม่ต้องอาศัยเหตุผล มันรู้สึกประจักษ์ อยู่กับใจนั้น
นี่ผมก็บอกว่า เอ้า, คิดดูสิ มันทำไม่มันจึงเป็นอย่างนั้นล่ะ ก็ให้นั่งคิดกันไปคิดกันมา บางคนก็ คิดออก บางคนก็คิดไม่ออก เพราะไม่ใช่คิดเสียแล้ว มันไม่ต้องคิดนะ มันสังเกตเท่านั้นแหละ อือ, ที่จริงมัน มีอยู่แล้ว แต่เราสังเกตไม่เห็น ถ้าไปใช้การคิด มันก็ไม่พบกัน ไม่เจอกัน มันใช้การสังเกต อ้าว, ที่นี่ไม่มี อะไรของเรา เว้ย, ที่นี่ไม่มีอะไรเป็นของกู เวลานี้นะ เราก็ เราก็กำลังลืมตัวกู ไม่เกิดความคิดที่เป็นตัวกู ลืมทุกอย่างที่เป็นของกู มันก็เลยว่างจากตัวกู ว่างจากของกู สบายบอกไม่ถูก ที่นั่งอยู่โคนไม้ตรงนั้น
อื้อ, ทีนี้คนบางคน พอได้ อ่า, รับคำชี้แจงอย่างนี้ มันก็สังเกตเห็น ว่าไอ้ความว่างปรากฏแก่จิต ชั่วขณะนั้น มันก็เลยชิมรสของความว่าง อย่างนี้แหละคือ ตัวอภิธรรมแท้ อภิธรรมตัวจริง ไม่ใช่คำพูด และไม่ใช่อภิธรรมส่วนเฟ้อ หรือส่วนเกิน อื้อ, แล้วได้ความรู้ ได้ อ่า, และก็ได้การปฏิบัติโดยอัตโนมัติ ที่ธรรมชาติมันสอนให้ และก็ได้รับผลของการปฏิบัตินั้น คือ ความสุขบอกไม่ถูกไปเท่านั้น อื้อ, จะมองในแง่ของความรู้ มันก็เป็นความรู้ มันก็รู้ เป็นความรู้อันใหม่ อื้อ, จะมองในแง่ปฏิบัติ มันก็มองได้ เพราะจิตของเขากำลังเปลี่ยนหมด ทีนี้ผลของการปฏิบัติ คือ เขากำลังสบายอย่างยิ่ง นี่การมาในครั้งแรก มักจะได้บทเรียนอันนี้ แต่ว่าคนส่วนมากก็มาทัศนาจร แล้วมันก็ไม่รู้สึก
ที่นี้คนส่วนหนึ่ง ซึ่งเขามาในรูปที่ว่าจะแสวงหาอะไรที่ยังไม่รู้ คือ แสวงหาธรรมะนี่ ทีนี้เผอิญมัน มาสบายเข้าอย่างนี้ และก็ได้รับคำชี้แจง ให้รู้จักคิดจักนึกอย่างนี้ อื้อ, มันก็พบตัวธรรมะ ที่จะเป็น มหรสพทางวิญญาณที่นี่ นี่คือ อภิธรรมที่แท้ ที่ดับทุกข์โดย เออ, อยู่ในเวลานั้น อื้อ, ไม่ใช่เรื่องส่วนเฟ้อ หรือส่วนเกิน อื้อ, ฉะนั้นเราก็รู้ เออ, แล้วผู้นั้นก็รู้จักความว่าง ชิมรสของความว่าง นี่แหละอภิธรรม ที่ ที่กำลังเอามาพูดให้สนใจ รวมอยู่ที่คำ ๆ เดียวว่า ว่าง อื้อ, ก่อนแต่นี้ เออ, ก่อนแต่มีความรู้เรื่องนี้ พอได้ยินคำว่า ว่าง มันก็คิดว่าไม่มีอะไร นี่พวกคุณก็จะคิดอย่างนั้น กันทั้งนั้นแหละ ไอ้นั่นมันว่างอีก ชนิดหนึ่ง ว่าง Vacuum ทางวัตถุ นั่นมันว่างชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ว่างที่กำลังพูด ซึ่งว่างทางวิญญาณ ว่างจาก Concept ว่าตัวกู ว่าของกู เรียกว่า ว่าง ทีนี้สิ่งอื่น ๆ มันก็ยังมีอยู่ตามเดิม แล้วเราไม่ไปถือว่ามันมี เป็นตัวเป็นตนอะไร ก็เท่ากับไม่มี นี่ก็เรียกว่า ว่าง ด้วยเหมือนกัน
อื้อ, ทีนี้สำหรับตัวบท เออ, ตัวสูตร ที่เราจะอิงอาศัย เกี่ยวกับการศึกษาอภิธรรมแท้ เรื่องความว่างนั้นนะ ก็ถือตามพระพุทธภาษิต และก็พบได้ไม่ง่ายว่า ไอ้เรื่องที่เกี่ยวกับสุญตาทั้งหมด นี่คือ อภิธรรมแท้ ผมใช้คำว่า ทั้งหมด ก็อย่างเข้าใจว่า มันหมดจนกระทั่ง เป็นไอ้เรื่องปรัชญาไปอีก เกี่ยวกับสุญตาทั้งหมด เท่าที่มัน เออ, เกี่ยวกับความรู้สึกในจิตใจนี่ ถ้าเป็นคำสอนคำพูด ก็เท่าที่พูดใน ในขอบเขตเพียงเท่านี้ เป็นคำที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส ถ้าเลยนี้ท่านไม่ตรัส ท่านไม่เอามาสอน ให้มันเกิน กว่ากำมือเดียว แม้ว่าจะรู้เท่ากับใบไม้ทั้งป่า เออ, ก็เอามาสอนแค่ใบไม้กำมือเดียว
อื้อ, เป็นพระบาลีที่ ถ้าจำไว้ได้ ก็ดีเหมือนกัน คือว่า เยเต สุตตันตา (นาทีที่ 33:01) อื้อ, ระเบียบแห่งสูตร แห่งพระสูตรทั้งหลายเหล่าใด ตถาคตภาสิตตา (นาทีที่ 33:09) ที่ตถาคตตรัสไว้ คัมภีรา (นาทีที่ 33:14) เป็นของลึกซึ้ง คัมภีรัตถา (นาทีที่ 33:16) มีเนื้อความลึกซึ้ง โลกุตรา เหนือวิสัยโลก อื้อ, สุญญตปฏิสังยุตตา (นาทีที่ 33:24) เนื่องเฉพาะด้วยสุญตา อื้อ, หมายความว่า เรื่องต่าง ๆ ที่พระองค์ตรัส เกี่ยวเนื่องกับเรื่อง ความว่าง ที่เป็นเรื่องลึก มีความหมายอันลึก เพราะเป็นเรื่องเหนือวิสัยโลก อื้อ, หมายความว่า ถ้าเป็นเรื่องวิสัยโลก มันก็มีอัตตา มีตัวกู มีของกู ตามความรู้สึกสามัญสำนึก ที่คอย หนาขึ้น ๆ อันนี่ เรียกว่า เรื่องโลกิยา โลกิยะ โลกิยา ในระดับโลก อยู่ในวิสัยโลก ก็มีตัวกู อื้อ, ถ้าเป็นโลกุตรา มันก็เหนือโลก คือก็เหนือวิสัยอันนี้ เหนือความรู้สึกอันนี้ คือ ไม่มีตัวกู เรียกว่า สุญตา หรือว่างจากตัวกู เมื่อไม่มีตัวกู แล้วของกูมันก็ไม่มี นี่มันเป็นธรรมดา ดังนั้นเรา อ่า, รู้จนกระทั่ง ไม่รู้สึกว่า มีตัวกู มีแต่ธรรมชาติล้วน ๆ
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เขาเขียนไว้ประโยคหนึ่ง ซึ่งดีมาก สุทธธัมมา ปวัตตันติ (นาทีที่ 34:36) ธรรมชาติล้วน ๆ เป็นไป ไม่มีอะไร ให้มองเห็นว่าสิ่งที่มันเป็นไป ๆๆๆ นี้ทุกอย่าง รวมทั้งไอ้ชีวิตร่างกาย ของคน ของสัตว์ ของอะไรเหล่านี้ ก็เรียกว่า สิ่งที่เป็นไป สิ่งที่เป็นไปนี้ไม่มีอะไร นอกจากธรรมชาติล้วน ๆ ซึ่งในพระไตรปิฎกเอง ก็มีคำที่พูดไว้ชัดอย่างนี้ เป็น แต่ว่าเป็น เหรภาติ (นาทีที่ 35:07) ว่า สุทธัง ธัมมสมุต ปันนัง สุทธัง สังขารสันตติง (นาทีที่ 35:14) ถ้าจำไว้ได้ก็ดี สุทธัง มันแปลว่า ล้วน ๆ ธัมมสมุปันนัง (นาทีที่ 35:23) การเกิดขึ้นแห่งธรรมชาติ สุทธัง ล้วน ๆ สังขารสันตติง (นาทีที่ 35:30) เพียงการสืบต่อออกของ สังขารธรรม สุทธัง ธัมมสมุต ปันนัง (นาทีที่ 35:39) เป็นการเกิดขึ้นของธรรมชาติล้วน ๆ เพราะไม่ว่าอะไร บรรดาที่มีปรากฏการณ์ปรากฏขึ้น แก่ความรู้สึกของเรา ก็ไม่ใช่อะไรนอกจากการเกิดขึ้น แห่งธรรมชาติล้วน ๆ
ธรรมชาติ คือ สิ่งที่เป็นไปเอง มันเป็นตัวธรรมชาติ มันเป็นของธรรมชาติ ไม่ใช่ตัวกู ไม่ใช่ของกู ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา นี่เขาเรียกว่า ธรรมชาติ จะมองดูในแง่ดิน น้ำ ลม ไฟ หรืออะไร มองดูในธาตุ ใน ใน ในแง่ที่มันเป็นธาตุอะไรต่าง ๆ หรือจะเป็นวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน เป็นไอ้อะตอม เป็นโมเลกุล เป็นไอ้เนื้อ เป็นหนัง อะไรขึ้นมาก็สุดแท้ นั่นแหละเขาเรียกว่า ธรรมชาติ การเกิดขึ้น มีขึ้นแห่งธรรมชาติและก็ล้วน ๆ ไม่มีอะไร นี่เป็นแง่แรกว่ามันเกิดขึ้นมา และ สุทธัง สังขารสันตติง (นาทีที่ 36:38) ไอ้ธรรมชาตินี้ไม่ มันไม่ได้เป็นเดี่ยว หรือว่าไม่ได้เป็นไอ้หยุดอยู่อย่างเดี่ยว ๆ มันสัมพันธ์กัน ธรรมชาตินั้น ธรรมชาตินี้ ธรรมชาติโน้น อ่า, มันเป็นส่วน ๆๆๆๆ แล้วมันสัมพันธ์กัน อย่างนี้ อ่า, มันก็มีการที่ มันกระทำแก่กัน และกัน และเกิดสิ่งใหม่ขึ้นมาอย่างนี้ เขาเรียกว่า ปรุง มันมีหน้าที่ที่จะปรุง และปรุงอยู่เสมอ คือมัน Condition อ่า, กันอยู่เสมอ อันนี้มาพบกับอันนี้ แล้วมันก็เกิดสิ่งใหม่ โมเลกุลอย่างนี้ มาพบโมเลกุลอย่างนี้ มันก็ผสมกันทำงานเป็น อ่า, อัน อันใหม่เกิดขึ้นมา เป็นไอ้ของใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาเรื่อยในโลกนี้ ไม่มีที่สิ้นสุด อย่างนี้เขาเรียกว่า สันตติ คือ การสืบต่อกันไป ของสิ่งที่มันปรุงกันเรื่อย อื้อ, เรียกว่า สังขารสันตติ (นาทีที่ 37:40) การสืบต่อแห่งสิ่งที่ มันปรุงกันเรื่อย
ยกตัวอย่างในคนเรา ถ้าพูดอย่างภาษาวัดก็มี ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ มีอยู่ ๖ อย่าง ๖ ธาตุ หรือจะพูดว่ามี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ได้ แต่ไม่ดีเท่ากับพูดว่ามี ๖ ธาตุ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม แล้วธาตุอากาศหรือธาตุว่าง แล้วก็ธาตุวิญญาณหรือใจ ๖ ธาตุนี้มันก็ปนกันยุ่ง ปรุงกันเป็น ไอ้ทางร่างกายก็งอกงามไป ทางความคิดก็งอกเงยออกมา ๆ เป็น Concept ใหม่ ๆๆๆ เรื่อย แล้วก็ทำไป แล้วก็มีปฏิกิริยาแก่จิตใจ แล้วก็ปรุงอันใหม่ แล้วก็ทำไปเรื่อย สังขารสันตติ (นาทีที่ 38:30) หมายความว่า อย่างนี้ สิ่งที่มันอยู่นิ่งไม่ได้ มันมาพบกันแล้ว มันก็ปรุงกันเรื่อย มันสืบต่อความเป็นอย่างนี้ของมันเรื่อย มีแต่อย่างนี้ล้วน ๆ ไม่มีตัวกู ไม่มีของกู นี่แหละคือ อภิธรรม เรื่องความว่าง เออ, ที่แท้จริง และก็ที่จำเป็น เท่านั้น เท่าที่อยู่ในวงของการปฏิบัติ ไม่เฟ้อ
ทีนี้คำเหล่าใด ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า เนื่องด้วยสุญตา เนื่องด้วยความว่าง เช่น คำที่ตถาคต กล่าวที่ลึกซึ้ง ที่มีอรรถลึกซึ้งเหนือโลก มันหมายถึงอย่างนี้ หมายถึง มองดูโลกในแง่ที่ มันว่างเปล่า จากตัวกู ของกู มันมีอะไรเต็มไปหมดก็มีไปสิ มันก็มีเท่า อ่า, มีอยู่ตามเดิม แต่เรามองแล้วมันไม่ใช่ มันไม่มีอันไหนที่เป็นตัว ตัว เออ, ตัวตนของมันเอง หรือว่าตัวตนของเรา มันเป็นธรรมชาติเกิดขึ้นล้วน ๆ แล้วก็ปรุงแต่งกันไป เป็นการสืบต่ออยู่เรื่อยล้วน ๆ อื้อ, ไอ้วิทยาศาสตร์อย่างฟิสิกส์นี้ มันก็ช่วยได้ แต่มันช่วยได้ในระยะจำกัด มันไปไม่ ไม่ไกล เออ, เช่น อะไรที่เราเคยหลงว่าอย่างนั้นอย่างนี้ พอไปดูตาม วิธีของการแยกธาตุ การพิสูจน์ทางเคมี ทางอะไรก็ตาม มันก็บอกว่า มันก็เป็นเพียงเท่านี้ เช่นว่า ชีวิตคืออะไร ชีวิต คือ ไอ้ความสดชื่น ของเนื้อ Protoplasm ในเซลล์หนึ่ง ๆ อย่างนี้ มันก็ตายได้แค่นี้ แต่มันก็ดีกว่าที่ไปหลง ว่าเป็นชีวิตชีวาอะไรจริงจัง อื้อ, มันเห็นเป็นเพียงมีเซลล์ประกอบกันเข้า ในเซลล์นั้นยังสดอยู่ ก็เรียกว่า ยังมีชีวิตอยู่ อย่างนี้มันก็เรียกว่า เริ่มเห็นว่างเหมือนกัน เริ่มเห็นความว่าง เหมือนกัน แต่มันในแง่ สั้น ๆ ต้น ๆ ในแง่ทางไอ้ฟิสิกส์
ส่วนทางนามธรรมนั้น ยังไม่มีปัญญาเห็น เพราะเป็นเรื่องที่สูงไป ในทางฝ่ายศาสนา และก็อาศัย ความรู้ทางศาสนา วิทยาศาสตร์ทางฝ่ายนามธรรม ที่พวกฤษีมุนี พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ค้นจนพบ อื้อ, แม้จะมองดูไปยังวัตถุ เป็นเนื้อหนังร่ายกาย มันก็มอง อ่า, คนละแง่ กว่าที่ว่านักวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน จะศึกษาเรื่องสรีรวิทยา หรือเรื่องอะไรต่าง ๆ แล้วก็ยังมีอีกส่วนหนึ่ง ซึ่ง อ่า, ฝ่ายไอ้วิทยาศาสตร์ทางวัตถุ มันมองไม่ได้ คือ เรื่องทางจิตใจ อื้อ,
ทีนี้พอมาถึงเรื่องทางจิตใจ มันเหมือนกับเข้าไปในดงมืด มันเวิ้งว้างมหาศาล ถ้าเราจะไปติดตาม มาให้หมดนั้น มันก็ไม่มีเวลา ก็ตายเสียก่อน เราติดตามในวงจำกัด เท่าที่ว่า ทำอย่างไรไอ้ความทุกข์ มันจะไม่เกิดขึ้นก็พอแล้ว แล้วมันจึงมองแต่ใน ขอบเขตจำกัด เฉพาะที่ว่าใจจะไม่เกิดความทุกข์ก็พอแล้ว จริงหรือไม่จริง ก็อย่าไปรู้มันก็ได้ แต่ถ้าใจไม่เกิดความทุกข์แล้ว นั้นแหละคือ จริง นั่นแหละคือ ถูกแล้ว จริงหรือถูกเพียงเท่านั้นพอแล้ว เลยนั้นอย่าเอาเลย เพราะความจริง มันอาจจะยังมีมากกว่านั้นอีกมาก แต่มันเป็นจริงเฟ้อ จริงไม่ ไม่ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้จริงเท่าที่ มันประกอบด้วยประโยชน์นี้แหละ พอแล้ว ถ้าจะมาพิสูจน์ว่าเป็นเท็จอยู่ก็ ก็ยังได้เหมือนกัน เพราะว่ามัน มันหลัง อ่า, เบื้องหลังของอันนั้น มันยังมีอีกมาก
ฉะนั้นในเมื่อไอ้ ไอ้ความดับทุกข์ หรือความไม่มีทุกข์ มันก็ไม่ ไม่ใช่ของที่เป็นสาระอะไร ฉะนั้นในตัวความสุข หรือตัวนิพพาน มันก็เลยว่างไปด้วย ว่างจากตัวตนไปด้วย ผล ผลสุดท้าย คือ นิพพาน ผลสุดท้ายของวิชาความรู้ เรื่องว่างนี้ก็คือ นิพพาน นิพพานก็พลอยว่างไปด้วย เพราะหมายความ ว่า ไม่เอาอะไรหมด จิตมันจึงว่างอย่างไม่เอาอะไรทั้งหมด อื้อ, มันก็เลยไม่มีความทุกข์ จริงนะ แล้วพอมัน อยู่ไปตามสมควรแก่เวลา ร่างกายมันก็แตกดับ มันก็เลิกกัน อื้อ, มันก็ปิด ปิดเรื่องกันเท่านั้นเอง
เออ, รวมความแล้ว เอาแต่เพียงว่า ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่นี้ ไม่เคยมีความทุกข์เลย พอแล้ว อื้อ, ตายแล้วก็ไม่ต้องไป อ่า, ไม่ต้องการจะไปเกิด เป็นอะไรขึ้นมาอีก ก็มันก็มีความทุกข์อีก นี่ก็เลยปิดฉาก ตัดตอนเสียเพียง เพียงเท่านี้ ว่าไม่มีตัวกู ไม่มีของกู ไม่มีตัวตน ไม่มีของตน ไม่มีตัวตนที่เกิดอยู่ ไม่มีตัวตน ที่จะต้องตายไปเกิดใหม่ อือ, ไม่มีตัวตนอย่างนี้คือ ว่าง ว่างจากตัวตน ฉะนั้นในโลกมันจะเกลื่อนไปด้วย อะไรกี่อย่าง กี่อสงไขย กี่อย่างก็ตามใจมันเถอะ เออ, ทั้งหมดเรามองในแง่ที่ ไม่มีตัวตนที่ตรงไหน ที่จิตจะ ไปเกาะ ไปยึดเอาเป็นของตน นี่เรียกว่า จิตมันว่าง จากความเกาะเกี่ยว ในสิ่งใด ๆ ทั้งหมด
เรื่องความว่าง ในขอบเขตที่จำกัด สำหรับดับความทุกข์ มันมีอย่างนี้ แล้วก็เป็นเรื่องทางฝ่าย นามธรรม คือ ทางฝ่ายวิญญาณ ทางฝ่าย Spiritual ถ้าจะอาศัยเรื่องทางฝ่ายฟิสิกส์ หรือMental กันบ้างก็ เพียงเป็นเครื่อง เออ, ช่วย สำหรับจะมองดูเท่านั้น เพราะมันปรากฏการณ์ มันก็แสดงออกทางฟิสิกส์ ทาง Mental ไอ้เรื่องทาง Spiritual มันจะไม่มีตัวตน ให้เป็นวัตถุเลย อื้อ, แต่ว่าไอ้ ไอ้ความสุข หรือความทุกข์ มันอยู่ในฝ่ายโน้น ฝ่าย Spiritual ซึ่งไม่มีตัวตนเลย ไม่มีวัตถุปรากฏเลยอย่างนี้
ทีนี้วิชาวิทยาศาสตร์ ของในปัจจุบัน มันก็ศึกษาแต่ในเรื่องทางฟิสิกส์ ทางเคมีสูงขึ้นไป เพียงระบบประสาท เป็น Mentality อื้อ, ยังไม่ใช่เรื่องทาง Spirituality อื้อ, ทีนี้เรามาเรียนทางศาสนา เพิ่มเติม ให้รู้จักส่วนนี้ ส่วนที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นอภิธรรมนี้ แล้วก็เป็นอันว่ารู้หมด ในเรื่องที่มัน เกี่ยวกับมนุษย์ สำหรับที่จะไม่มีความทุกข์ สำหรับอย่างอื่นนั้น อย่าไปเรียนมัน มันจะเรียกว่า บ้า คือ มันจะบ้าเรียน เตลิดเปิดเปิงไปจน ไม่ ไม่พบกันกับความดับทุกข์
ทีนี้ถ้าว่า เราเรียนแต่เรื่องความดับทุกข์ได้แล้ว มันก็พอแล้วสำหรับมนุษย์ นี่เขาจึงให้มุ่งไปยัง ความดับทุกข์ ไม่ให้เรียนเรื่องเฟ้อ คัมภีร์อภิธรรมที่เรียกว่า อภิธรรมไตรปิฎก หรืออะไร พุทธศาสนานี้ เป็นส่วนเฟ้อ อภิธรรมส่วนไม่เฟ้อ ส่วนแท้ก็คือ เรื่องที่เรียกว่า สุตตันตะ ที่พูดถึงสุญตา เรื่องเดียวเท่านั้น ไม่เฟ้อ เป็นอภิธรรมแท้และไม่เฟ้อ อภิธรรมนอกนั้นเป็นปรัชญาที่เฟ้อ เขียนเป็นตัวหนังสือแล้ว มากกว่า ไอ้ส่วนที่เป็นสุตตันตะอีก มันแจกลูกออกไปทีหลังเรื่อยเร็วๆ นี้ ฉะนั้นพระคัมภีร์ก็ยังต้องระวัง พระคัมภีร์ ที่มันมีไว้สำหรับไปกันเรื่อย เป็นนักปราชญ์ เป็นอะไรไปเรื่อย เป็นปรัชญาไปเรื่อย ก็มีอยู่เหมือนกัน ในพระไตรปิฎกนี้
พระพุทธเจ้า ท่านจึงจำกัดเฉพาะว่า เรื่องที่ฉันพูดนั้น มีแต่เรื่องสุญตา และก็สุญตาในขอบเขต ที่มันจะดับทุกข์ได้ คือว่าช่วยให้คนมีจิตใจอยู่เหนือโลกได้ คนจิตใจต่ำอยู่ใต้โลก โลกมันก็บีบคั้น เอาให้ เป็นทุกข์ ทีนี้เรามีจิตใจอยู่เหนือโลก แล้วโลกก็ทำอะไรเราไม่ได้ ฉะนั้นเราจึงอยู่ในโลกนี้ด้วยชัยชนะ มันจะบ้ากันไปถึงไหนก็ตามใจ ไอ้เราไม่มีความทุกข์ ส่วนทางร่างกายมันอยู่ร่วมโลกกัน แต่โดยทางจิตใจ มันอยู่กันคนละโลก หรือว่าเราอยู่เหนือโลก เขาอยู่ในโลก นั่นคือ ผลของสิ่งที่เรียกว่า อภิธรรม หรือปรมัตถธรรม นี่สอนให้มองดูโลก มองดูความเหนือโลก ที่เรียกว่า ความดับสนิทแห่งโลก เป็นเรื่องอริยสัจ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความไม่มีทุกข์ ทางให้ถึงความไม่มีทุกข์ แต่พูดอีกทีหนึ่ง พูดว่าโลก เหตุให้เกิดโลก ความดับสนิทแห่งโลก ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งโลก อย่างนี้พระพุทธเจ้า ก็ตรัสเรียก เหมือนกัน
ทีนี้ความไม่มีโลกนั่นแหละ มันคือความไม่มีโลกสำหรับเรา เราอยู่เหนือโลก โลกทำอะไรกับเรา ไม่ได้ โลกนี้จะทำให้เราเกลียด หรือรักไม่ได้ โลกนี้จะทำให้เราทุกข์ หรือสุขไม่ได้ นี่คือ ความดับสนิท แห่งโลก สำหรับเราผู้นั้น ที่มีการเข้าถึงเรื่องนี้ จึงทำให้อยู่เหนือโลก เรียกว่า โลกุตรา และก็ลึกซึ้ง มีความหมายลึกซึ้ง พระพุทธเจ้าท่านตรัส ว่าท่านจะพูดแต่เรื่องนี้ เรื่องอื่นไม่พูด เพราะมันเป็น อภิธรรมเฟ้อ ส่วนเรื่องนี้มันเป็นอภิธรรมจริง อภิธรรมแท้ นี่ผมพูดด้วยหัวข้อ ให้คุณฟังอย่างนี้ว่า อภิธรรมของชีวิตนี่ เขาต้องพูดถึงอภิธรรม อ่า, แท้ อภิธรรมยิ่ง อย่างยิ่ง ที่จะ เออ, ดับทุกข์ได้ด้วยอภิธรรม เรื่องสุญตา อภิธรรมนอกนั้น อีก ๔๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์นั้นมันเฟ้อ เว้นไว้แต่ว่าคนมันฉลาด เอาเรื่อง เหล่านั้นนะ มาตะล่อมกันเข้า ให้เหลือเป็นเรื่องสุญตา มันก็ไม่เฟ้อ
นี่คือเรื่องสุญตา นี่คือเรื่องความว่าง เออ, อยากจะพูดฝากไปด้วยว่า ไอ้ความว่างนี้ต้องรู้ มิฉะนั้นจะมีความทุกข์ ความ เรื่องความว่างนี้จะต้องปฏิบัติ มิฉะนั้นจะมีความทุกข์ ไอ้เรื่องความว่าง หรือสิ่งที่เรียกว่า ความว่างนี้ เป็นสิ่งที่ต้องมี ต้องมีอยู่ในจิตใจ ไม่อย่างนั้นจะเป็นทุกข์ ต้องรู้เรื่องนี้ ต้องปฏิบัติเรื่องนี้ ต้องมีเรื่องนี้ ถ้าไม่มีจะเป็นทุกข์ ฉะนั้นต้องมี ไอ้ความว่างในจิต คือ อย่าไปเกาะ ไปจับ ไปยึดอะไรเข้า อย่างนั้นเรียกว่า ไม่ว่าง
ทีนี้คำว่า ยึดมั่นถือมั่น นั่นแหละคือ มันไม่ว่าง ถ้าพูดอย่างทางฟิสิกส์ มือของเราจับอะไรอยู่ มือของเราไม่ว่าง ถ้ามือของเราไม่ได้จับอะไรอยู่ มือของเราว่าง ฟรีเป็นอิสระ ทีนี้จิตใจก็เหมือนกัน ถ้ามันไปจับเข้าที่อะไรอยู่ เขาเรียกว่า ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นอยู่ มันไม่ว่าง มันเป็นทาสของสิ่งนั้น มันถูกผูกมัดไว้ด้วยสิ่งนั้น มันก็เป็นทุกข์
ตลอดเวลาหลาย ๑๐ ปี ที่ผมผ่านมานี้ ผมสังเกตเห็นแล้วว่า ที่พูดกันไม่รู้เรื่องนี้ เป็นนักศึกษาสมัย ปัจจุบันนี้ ที่เรียนเมืองนอกเมืองนามา มันเพราะไม่เข้าใจคำว่า ยึดมั่นถือมั่นกัน เขาฟังด้วยหูได้ยิน และเขาไม่รู้ความหมายที่ถูกต้อง มันไปเกิดปัญหาหยุมหยิมกันเสียหมด ว่ามันไม่มีตัวมีตน เป็นจิตใจ แล้วจะไปยึดมั่นถือมั่นอย่างไร จะพูดถึงยึดมั่นหรือไม่ยึดมั่นทำไม ไปเสียอย่างนี้ เพราะไม่รู้ภาษาธรรม ภาษาฝ่ายวิญญาณ ที่ว่าจิตมันก็ยึดมั่นถือมั่นได้เหมือนกับมือ ร่างกายมันก็ยึดมั่นถือมั่นได้ ความหมายมัน ว่ายึดมั่นถือมั่น อื้อ, ถ้าทางกายมันเห็นชัดสิ เพราะว่ามัน มันเป็นไอ้ภาษาที่มีอยู่ก่อน ยึดด้วยมืออย่างนี้ ถ้าพอพูดว่า ยึดด้วยใจ ฟังไม่ค่อยถูก ถ้าเมื่อไรฟังถูก ว่ายึดด้วยใจคือทำอย่างไร แล้วก็เข้าใจเรื่องนี้
ฉะนั้นขอให้สนใจไอ้คำว่า ยึดมั่นถือมั่นถ้าพูดอีกทีก็คือว่า หมายมั่น มีจิตใจที่หมายมั่น เข้าไปใน สิ่งนั้น นั่นแหละคือ ยึดมั่นถือมั่น หรือว่า อ่า, มันฝังตัวเข้าไป เช่น เราฝังตัวเข้าไปในการเรียนอย่างนี้ คุณฟังออก แล้วการเรียนอยู่ที่ไหน และตัวนี้ฝังเข้าไปได้อย่างไร นี่มันเป็นภาษา อ่า, นามธรรม เราฝังตัวเข้าไปในสิ่งนี้ แล้วเราก็มอบหมายชีวิตจิตใจทั้งหมดให้แก่สิ่งนี้ นี่ก็คือ ยึดมั่นถือมั่น ถ้าทำไปด้วย ความอยาก ความกระหาย ของอวิชชา อื้อ, นี่พูดถึงกำหนัด ความกำหนัดรัดรึง คือ ใจมันเข้าไปจับ ไปเกาะ ไปยึด ไปไอ้ที่ตัวนั้นแหละ ที่สิ่งนั้น ไอ้กำหนัดรัดรึงในความรัก ในเพศตรงกันข้าม นี่ก็เรียกว่า ยึดมั่นถือมั่น อื้อ, พูดเป็นภาษาไทย ยังฟังกันไม่ค่อยจะถูก แล้วจะให้ไปพูดถึงภาษาอังกฤษนี้ มันก็ลำบาก เราพูดด้วย คนไทยด้วยกัน ยังฟังไม่ค่อยจะถูก หรือฟังไม่ถูกเอาเสียเลย แล้วไปพูดด้วยภาษาต่างประเทศ กับชาวต่างประเทศ มันก็ยิ่งลำบาก
เขาก็พยายามแปลกันไป ยึดมั่นถือมั่นนี้ เรียกว่าเป็น Attachment บ้าง เป็น Clinging บ้าง เป็น Faithing (นาทีที่ 53.10) เป็นอะไรอีกหลายคำ มันก็อย่างเดียวกันแหละ ที่คนไทยพูดเป็นไทยฟังไม่ถูก คนฝรั่งพูดเป็นฝรั่งก็ฟังไม่ถูก เพราะมันพูด อ่า, ภาษาคนเสียเรื่อย เล็งถึงไอ้เรื่องทางฝ่ายวัตถุ ฝ่ายกายเสียเรื่อย ไม่เป็นไอ้ฝ่ายนามธรรม เลยไปเป็นฝ่าย Spiritual เสียเลย ฉะนั้นถ้าคำว่า Attachmen คำว่า Clinging คำว่า Faithing (นาทีที่ 53.40) อะไรก็ตาม มันเป็นเรื่องทางฝ่าย Spiritualism แล้วมันก็ฟังถูก เข้าใจได้
ทีนี้ในภาษาไทยเรา ก็ระลึกถึงคำเหล่านี้ไว้หลาย ๆ คำ ยึดมั่นถือมั่นก็ได้ กำหนัดรัดรึงก็ได้ หมายมั่นปั้นมือก็ได้ ฝังตัวเข้าไปก็ได้ ในคำหลาย ๆ คำเหล่านี้ มันความหมายอย่างเดียวกัน คือ ไปยึดจับ ด้วยไอ้ความรู้สึกของจิต ด้วยอำนาจของความโง่ คือ อวิชชา นี่เรียกว่า ความยึดมั่นถือมั่น พอยึดมั่นถือมั่น เมื่อใด เออ, มันก็มีความทุกข์เมื่อนั้น
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา (นาทีที่ 54:32) เอ้า, บทสวดมนต์ทำวัตรเช้า ไอ้ตัวยึดมั่นถือมั่น ในตัวเบญจขันธ์นั้นแหละเป็นตัวทุกข์ หรือพูดเอาตัววัตถุเป็นหลัก ก็เบญจขันธ์ที่ถูกยึดมั่นถือมั่นอยู่ ในเวลานั้นแหละเป็นตัวทุกข์ ก็หมายความว่า เบญจขันธ์นั้นในเวลานั้น มีความยึดมั่นถือมั่น คือ กายกับใจของเราในเวลาใด มีความยึดมั่นถือมั่นในเวลานั้น กายกับใจของเราจะเป็นทุกข์ ทีนี้เวลานี้ กายกับใจของเรา ปราศจากความยึดมั่นชั่วขณะ นี่เราก็ไม่เป็นทุกข์ จนกว่ามันจะมีความยึดมั่นถือมั่นอีก เมื่อชาวบ้านมาถึงตรงนี้ ไอ้ความยึดมั่นถือมั่นมันจางไปเอง หรือไม่มีอะไรที่จะทำให้ยึดมั่นถือมั่น มันก็สบายบอกไม่ถูก
พอกลับไปถึงบ้านมัน อ้าว, มีเรื่องยึดมั่นถือมั่นอย่างเดิม มันก็เป็นทุกข์อีก ฉะนั้นถ้ามันเอาจิตใจ ที่มีอยู่ในขณะที่นั่งอยู่ในสวนโมกข์นี้ กลับไปบ้านได้ด้วย มันก็ไม่มีความทุกข์ ที่มันว่างจาก ความยึดมั่น ถือมั่น เขาควรจะศึกษาอภิธรรมด้วยวิธีอย่างนี้ สำหรับชาวบ้านจะรู้ได้เร็ว มันมีสูตร เออ, สูตร สูตรอย่างนี้ หมายถึง Formula คือ บทนิยาม หรือสูตร ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ เออ, เฉพาะเป็นหัวใจพุทธศาสนา ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่น อื้อ, สิ่งทั้งหลายทั้งปวง คือ สิ่งที่ใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น นี่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา เป็นยอดสุด หรือสรุปของอภิธรรม เป็นบาลีว่า สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ (นาทีที่ 56:15) ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องนี้เขาชอบใจมาก ติดอยู่ที่ริมฝีปาก หรือเขียนไว้ที่กระจกเงา เขียนไว้ทุกหนทุกแห่ง ให้มันเห็นอยู่เสมอ เตือนอยู่เสมอว่า สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ (นาทีที่ 56:32) สิ่งทั้งหลายทั้งปวงอันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ว่าตัวกู หรือว่าของกู
ถ้าคุณเข้าใจอันนี้ ก็คือ เข้าใจหมดทั้งพุทธศาสนา ถ้าปฏิบัติข้อนี้ คือ ปฏิบัติหมดทั้งพุทธศาสนา จะมีศีล สมาธิ ปัญญา มีอะไรทุกอย่าง อยู่ในการปฏิบัติ ที่จะไม่ยึดมั่นถือมั่น ทีนี้พอมีผลเกิดขึ้นจากอันนี้ ก็คือได้รับผลสิ่งที่แท้จริง เต็มรูปของพุทธศาสนา คือ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความทุกข์เลย ไม่มีความทุกข์เลยนี้ เขาเรียกว่า บรรลุมรรค ผล นิพพาน เริ่มไม่มีทุกข์ ไม่มีทุกข์เสียจนหมดทุกข์ แล้วก็นิพพาน ขอให้เข้าใจ ไอ้สิ่งที่เรียกว่า อภิธรรม หรือปรมัตถธรรม ในพุทธศาสนานี่ ในหลักอย่างนี้ โดยหลักอย่างนี้ และด้วยคำ เพียงคำพูดพยางค์เดียวว่า ว่าง
แล้วก็อย่าไปโง่ ตามพวกนักปราชญ์เฟ้อ ไม่เข้าใจคำว่า ว่าง จนแล้วจนรอด ก็มันรู้มากเกินไป มันรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด มันบ้าหอบฟาง มันหอบความรู้ไว้ท่วมหัวท่วมหู เหมือนกับหอบฟาง ท่วมหัวท่วมหู แล้วในนั้นไม่มี ข้าวสารสักเม็ดเดียว นี่แหละนักปราชญ์สมัยนี้เป็นเสียอย่างนี้ ก็เลยเข้าใจ พุทธศาสนาไม่ได้ มีไว้แต่เปลือกงอก อ่า, เปลือกนอก หรือเนื้องอกของพุทธศาสนา ที่มันงอกออกไป ๆๆ พูดเป็นคุ้งเป็นแคว บ้าน้ำลาย เออ, เขา เขาใช้คำว่า บ้าน้ำลายนี่ ให้น้ำลายออกมา เออ, สักเกวียนหนึ่ง ตวงได้สักเกวียนหนึ่ง ก็มัน มันก็ไม่ถูกเรื่อง ไม่ถูกจุด ไม่มีประโยชน์อะไร นี่แหละเขาเรียก คำพูดที่มัน บ้าน้ำลายอย่างนี้
ฉะนั้นไอ้คำว่า ว่าง คำเดียวนี้ อย่าไปประมาท อย่าไปทำเล่นไปกับคำ ๆ นี้ อื้อ, ทุกอย่างมันว่าง แต่เราหลงไปว่าไม่ว่าง มันไม่มีคน แต่เรามันหลงไปว่ามีคน เรารู้สึกว่าคน ๆ เรารู้ตัวกูอยู่ตลอดเวลา ที่แท้มันเพียงการเกิดขึ้น ของธรรมชาติล้วน ๆ เป็นเพียงการสืบต่อไป ของไอ้สังขารล้วน ๆ อื่อ, คำว่า สังขาร ในที่นี้ก็หมายถึง ไอ้สิ่งที่ไม่อยู่นิ่ง คือ ปรุงกันเรื่อย อย่าไปเข้าใจคำว่าสังขาร คือ ร่างกายนี้ นั่นมันแคบนิดเดียว เป็นภาษาลูกเด็ก ๆ สังขาร ก็คือ ร่างกาย สิ้นสังขาร ก็คือ ตาย มันก็ถูกนะ ไอ้สังขาร คือ ร่างกายนี้ คือ สิ่งที่ปรุงอยู่เรื่อยนะ ลองหยุดการปรุงสิ สังขารนี้จะหยุด เน่าลงทันที
คุณเรียนแพทย์ คุณรู้ดีกว่าผม มันมีการไอ้ Condition เออ, Conditioning นี่อยู่เรื่อย ในสังขาร ในร่างกายนี้ มันจึงอยู่กัน เดี๋ยวนี้อยู่ได้ พอเรามันหยุดไอ้ Conditioning อันนี้ดูสิ มันก็ยุบลงไปทันที ก็ยิ่งกว่าตาย ฉะนั้นมีแต่ Conditioning เออ, Process of ไอ้ condition นี้ มันมีอยู่เรื่อย ในทางข้างนอก คือ วัตถุ สิ่งของ ต้นไม้ สัตว์ กระทั่งมาถึงใน คือ ตัวเราเอง นี่มันไม่มีอะไรนอกจาก กระแสแห่งความไหล ของไอ้นี่ Process of condition นี่ มีตลอดเวลา ถ้าเห็นว่ามันมีเพียงอันนี้ล้วน ๆ นั่นแหละ คือ เห็นความว่าง แล้วพอเห็นไป ๆ จนไม่ยึดถือสิ่งใด เออ, ไม่ยึดถือร่างกาย ไม่ยึดถือจิตใจ ไม่ยึดถือสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิตใจ นั่นแหละคือ เห็นว่าง แล้วจิตมันก็ว่าง พอมันเห็นไอ้ทุกอย่างข้างนอก คือ โลกทั้งหมดนี้ว่างจากตัวกู จิตมันก็ว่างทันที มันไม่รู้จะไปเอาอะไรที่ไหน มันไม่รู้จะไปจับฉวยอะไร มาเป็นตัวกูที่ไหน มันก็เลยจิตว่าง นี่จิตว่างตามแบบพุทธศาสนา ไม่ใช่จิตว่างแบบอันธพาล
จิตว่างแบบอันธพาล มันก็มีอยู่หลายอย่าง หลายชนิด มันว่างสำหรับจะเอาเปรียบคนอื่น และก็จะ ตามใจกิเลส มันพูดแต่ปาก อย่างนี้มันจิตว่างอันธพาล ถ้าจิตว่างที่พระพุทธเจ้าท่านสอนนะ คือว่า เห็นโลกเป็นของว่างเสียก่อน แล้วจิตก็ว่าง ไม่จับ ไม่รู้จะจับฉวยอะไร นี่คือ ความว่าง ที่แท้จริง ที่มีประโยชน์ ที่จะดับทุกข์ ความเกิดก็ว่าง ความแก่ก็ว่าง ความตายก็ว่าง มันก็ไม่มีทำอะไรเรา มันไม่มา ทำให้เราเดือดร้อน เพราะความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เบญจขันธ์นี้มันว่าง แล้วก็ไม่ยึดถือ ส่วนใดว่าเป็นตัวเรา ให้มันเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ มันก็เป็นไปสิ มันจะถูกเชือด ถูกเฉือน ถูกอะไร ก็เป็น มันเป็นเรื่องของไอ้ธรรมชาติ ไม่ใช่ตัวกู ไม่ใช่ตัวเรา ฉะนั้นเราจึงไม่รัก ไม่โกรธ ไม่เกลียด ไม่กลัว ไม่อะไรทุกอย่าง ในเมื่อจิตมันเห็นความว่าง
ทีนี้เมื่อเห็นความว่างนี้ มันมีสติปัญญา อ่า, เต็มอยู่ มันก็รู้ว่าควรทำอย่างไร ควรปล่อยให้มันตาย หรือว่าควรรักษามันไว้ ควรวิ่งหนี หรือควรต่อสู้ หรือควรอะไร มันก็ทำไปได้ แต่ในใจไม่เป็นทุกข์ ถ้าไม่มีธรรมะข้อนี้ มันเป็นทุกข์ไปหมด นอนอยู่เฉย ๆ ก็เป็นทุกข์ อย่าว่าแต่จะไปสู้เสือ สู้ช้างอะไรที่ไหน นอนอยู่เฉย ๆ มันก็เป็นทุกข์ พอเห็นว่าง นี้ไม่ ไม่มีความทุกข์ อยู่เฉย ๆ ก็ไม่มีความทุกข์ เผชิญอันตราย ก็ไม่มีความทุกข์ เผชิญความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ไม่มีความทุกข์ ป้องกันได้อย่างนี้ ฉะนั้นอย่าหาว่า เป็นเรื่องบ้า ๆ บอ ๆ ว่างไม่มีอะไร แล้วจะเอาอะไร เนื่องมาจากไม่เข้าใจคำนี้ แล้วแปลผิด แปลคำนี้ผิด คำว่า สุญตา แปลว่า ความว่าง เขาก็แปลเสียใหม่ผิด ๆ ว่าความสูญเปล่า ไอ้ความสูญเปล่า มันมีความหมาย เป็นแง่โง่ เป็น Pessimistic แง่ร้าย แง่อะไรไปแล้ว ไอ้ความว่างนี้ มันไม่ใช่แง่ร้าย ไม่ใช่แง่ดี มันอยู่เหนือร้าย เหนือดี ถ้าว่างแล้ว มันก็หมดปัญหา โดยประการทั้งปวง นิพพานก็ว่าง นี่ก็หมายความว่า เออ, ในที่สุดเรา ไปถึงนิพพาน มันก็ยังรู้สึกว่าง ถ้าเราตั้งต้นเดี๋ยวนี้ ว่าคน คือ ตัวกูนี้ มองเห็นจนว่าง อื้อ, กายใจนี้ก็ว่าง สิ่งที่เกิดขึ้นกับกายใจนี้ ก็ว่าง
ทีนี้พอมันมอง เห็นว่างอย่างนี้ มันไม่มียึดมั่นถือมั่น ไม่มีกิเลส มันก็เกิดความไม่มีทุกข์ขึ้นมา ความไม่มีทุกข์นั้นก็ว่าง นี่เขาเรียกว่า ว่างทุกสิ่ง ให้ความทุกข์ว่างนะแหละดีที่สุด ถ้าความทุกข์มี มันก็เล่นงานเรา ถ้าความทุกข์ว่าง มันก็ไม่เล่นงานเรา กิเลสและความทุกข์ว่าง นี่เป็นวิธีลัด จะเป็นพูด แบบ Esoteric หรือพูดอย่างรหัสลับ พูดวิธีลับ ลึก ลึกลับที่สุด ขอให้มองไอ้ความทุกข์ว่างไป แล้วก็ไม่มี เรื่องที่จะต้องดับทุกข์ ได้กำไรเท่าไร แต่นี่เรามองอะไรเป็นปัญหา เป็นตัว เป็นก้อน เป็นอะไรขึ้นมาหมด เราก็มีหน้าที่ที่จะฟาดฟันปัญหา มันก็เหนื่อยตาย ถ้าเรามีจิตใจชนิดที่ไม่มีปัญหา อ่า, มันเกิดขึ้นแล้ว แม้ว่าเราจะต้องแก้ไขปัญหาเหล่านั้น เราก็ไม่แก้ไขด้วยว่า ด้วยคิด ด้วยรู้สึกว่า มันเป็นปัญหายุ่งยาก ลำบากเหลือเกิน พอเห็นเข้าก็เป็นทุกข์เสียแล้ว นี่เพราะไม่เห็นว่าง อื้อ, ถ้าเห็นปัญหาเป็นของว่าง ที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติล้วน ๆ อย่างนี้ มันก็เป็นบทเรียนสนุก สำหรับที่จะชำระสะสางแก้ไขไป ได้ประโยชน์ได้เปรียบ อ่า, กว่ากันอย่างนี้ ขอให้มองดูให้ดี ๆ
สมมุติว่า เราเจอเสือตัวหนึ่ง ถ้าเรามีความรู้เรื่องว่างนี้ เราเห็นเราก็ว่าง เสือก็ว่าง แล้วมันก็ไม่กลัว พอไม่กลัวแล้วจะทำอย่างไร ก็ทำไปสิ จะฆ่าเสือ หรือจะวิ่งหนี หรือจะขึ้นต้นไม้ หรือว่า มันก็ไม่ต้องกลัว ทั้งนั้น ไม่มีความทุกข์ก็แล้วกัน ถ้ามันไม่ว่าง มันยึดถือ เห็นแต่รูปเสือ มันก็กลัว คนบางคนเห็นแต่โลง ก็กลัวแล้ว เห็นโลงในร่างกายโลง มันก็กลัวแล้ว มันโง่ถึงขนาดนี้ ทีนี้คนที่รู้ มันไม่มี ไม่มีคนเป็น ไม่มีคนตาย ไม่มีผี โลงมันก็ไม่น่ากลัว ผีแท้ ๆ มันยังไม่มี ยังไม่น่ากลัว แล้วไปกลัวโลงทำไม นี่คืออภิธรรม และอภิธรรมของชีวิต ที่จำเป็นแก่ชีวิต ที่สภาพไม่ถึงจะต้องเป็นทุกข์ สภาพถึงก็จะไม่มีทุกข์
รู้เรื่องนี้ไว้เสียก่อน ลงมือเยียวยารักษาโรคของกิเลส มันก็ง่าย มันเป็นวิชาแพทย์ทางฝ่ายวิญญาณ เวลาที่กำหนดไว้มันก็หมดแล้ว สำหรับวันนี้ก็ยุติไว้แค่นี้ จะต้องไปบิณฑบาตมาก หรือไกลเป็นพิเศษ ต้องเลิกก่อนเวลา อย่างวันก่อน ๆ