แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันที่ ๘ เมษายน อือ, ๒๕๑๔ สำหรับพวกเราที่นี่ ได้ล่วงมาถึงเวลา ๔:๓๐ น.แล้ว ซึ่งเป็นเวลาสำหรับ จะได้ พูดกันถึงเรื่องที่ค้างคาอยู่ ในตอนแรก ๆ อื้อ, เราได้พูดกันถึงพระพุทธเจ้า ในฐานะเป็นนายแพทย์ ผู้เยียวยารักษาโรคของโลกทั้งปวง และต่อมาเราได้พูดกันถึง สิ่งซึ่งจะเป็นเครื่องเยียวยารักษาโรค อื้อ, ไปพอสมควรแล้ว ในการบรรยายครั้งที่ ๑๐ นี้ จะได้พูดถึงเรื่องแรก ของความรู้ที่จำเป็น อ่า, จะต้องรู้ ก่อนการเยียวยารักษาโรค เออ, ซึ่งจะพูดโดยหัวข้อว่า หลักตัดสินปัญหาของชีวิต เพราะชีวิตที่ เออ, ตามปกติ ธรรมดาสามัญนั้น ย่อมประกอบอยู่ด้วยโรคทางวิญญาณ อื้อ, นั้นคือปัญหาต่าง ๆ เออ, รวมอยู่ในความเป็น โรคนั้น
นี่เราจะได้พูดถึงสิ่ง ซึ่งเป็นหลักตัดสินปัญหาทั้งชีวิต เป็นเรื่องแรก อื้อ, ทำไมถึงจะพูดถึงเรื่องนี้ อื้อ, คงจะตอบได้ด้วยกันทุกคน เออ, เพราะได้พูดมาหลายครั้งแล้วจนมองเห็นได้ ว่าชีวิต คือ การงานที่เต็มไปด้วย ปัญหา และข้อคลุมเคือ เออ, คลุมเครือต่าง ๆ อื้อ, ขึ้นชื่อว่าการงานนั้น ไม่ว่าการงานชนิดไหน มันย่อม ประกอบไปด้วยปัญหา หรือไอ้ข้อคลุมเครือที่ว่า มันจะเป็นครึ่ง ๆ ปัญหา ครึ่ง อื้อ, เปิดเผยอะไรอยู่อย่างนี้ อื้อ, ชีวิตนี้มันเป็นการงานที่ลึกซึ้ง คือ การงานทางวิญญาณ อื้อ, ไอ้การงานข้างนอก การงานทางกายทางนี้ มันเป็นส่วนเล็กน้อย อื้อ, ถ้าปัญหาใหญ่ในทางวิญญาณ มันแก้ไขไปได้ มันก็ อือ,ปัญหาข้างนอกเล็ก ๆ น้อย ๆ มันก็แทบจะไม่มี
ทีนี้ในการแก้ไขปัญหาชีวิต เราก็มีเครื่องมือ อื้อ, อย่างที่ได้พูดกันมาแล้ว เครื่องมือแก้ไขปัญหาชีวิต อย่างไร อื้อ, ถึงแม้การใช้เครื่องมือ มันก็ยังเป็นปัญหา อื้อ, เราจึงต้องมีวิธีตัดสินปัญหา หรือที่เรียกว่า ตัดสินใจ ในปัญหา อื้อ, เกี่ยวกับ เออ, ชีวิต อื้อ, ทีนี้ในการตัดสินใจ นี่มันเป็นสิ่งที่ผิดไม่ได้ หรือว่าต้องไม่ผิด อื้อ, ถ้าผิดก็ หมายความว่า ล้มละลาย นั้นทำไมจึงจะไม่ผิด ทำอย่างไรจึงจะไม่ผิด ต้องรอบรู้พอสมควร ถ้าผิดนั้นผิดแต่น้อย ชนิดที่ไม่ถึงกับล้มละลาย อื้อ, และก็อาศัยความผิดเป็นครู ความถูกเป็นครูเรื่อย ๆ มานี้ การตัดสินใจของผู้ที่ ผ่านโลกมานานแล้ว นี้มันถึงเป็นสิ่งที่ช่วยได้
เพราะฉะนั้นเราจึงอาศัยหลักเกณฑ์ ของนักปราชญ์ทั้งหลาย อื้อ, มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน มาช่วย ประกอบกันเข้า เราจึงศึกษาตามโอกาส เพื่อให้จับหลักเกณฑ์เหล่านี้ได้ อื้อ, สำหรับเป็นหลักตัดสินปัญหาชีวิต ในทุกแง่ทุกมุม อื้อ, พวกคุณเป็นนักศึกษาก็จริง แต่ว่ามันเป็นนักนักศึกษาอีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องทางฝ่ายวิชาชีพ อื้อ, ไม่คุ้นเคย อาจจะยังไม่คุ้นเคย อื้อ, ในเรื่องหลักทางธรรมะ หรือทางศาสนา ยังไม่ทราบด้วยซ้ำไปว่า พุทธศาสนา คือ หลักเกณฑ์แห่งการตัดสินปัญหาชีวิต คุณก็จะเอาตามความรู้สึกของตัว เอาตามเหตุผลของตัว เอาตามเหตุผลของตัว มันยังดี กลัวว่าจะเอาตามอารมณ์ของตัว
อื้อ, หรือที่แล้วมานี้ อาจจะไม่เคยได้ยินชื่อ หลักเกณฑ์ของการตัดสินปัญหาต่าง ๆ ในพุทธศาสนา เช่น กาลามสูตร โคตมีสูตร มหาปเทสสูตร อื้อ, ก็ได้ ดังนั้นควรจะได้ยินได้ฟังสิ่งเหล่านี้ สำหรับจะไปใช้ ในการตัดสินปัญหา และขอย้ำเสมอว่า ในการที่จะเลือกหลักอะไร มาตัดสินปัญหาของชีวิตนั้น อย่าลืมไหว้ครู เสียก่อน สัพพัญญู สัพพะ ทัสสาวี ชิโณอาจรีโย มะมะ มหากรุณิโก สัตถา สัพพะโลกะ เตกิจฉะโก (นาทีที่ 04:24) อาจารย์ของเรานั้น เป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง เป็นผู้เห็นสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ชนะมารแล้ว เป็นผู้บอกผู้สอนซึ่งมี กรุณาอันใหญ่หลวง เป็นนายแพทย์ อื้อ, ผู้รักษาโรค ของสัตว์โลกทั้งปวง ดังนี้
การไหว้ครู ไม่ใช่เรื่องงมงาย อื้อ, มันเป็นเทคนิค ที่จะรวบรวมมาซึ่งสติ ซึ่งกำลังใจ ซึ่งอะไรต่าง ๆ อื้อ,
เราจึงเห็นคนโบราณ เขาจะทำอะไรก็ยกมือไหว้ อื้อ, สอนสืบ ๆ กันมา แม้แต่จะขึ้นต้นไม้ก็ยกมือไหว้ พวกเราเด็ก ๆ ก็ไม่รู้ว่าเรื่องอะไร ก็พลอยทำตาม ๆ กันไปอย่างนั้น อือ, ถ้าเป็นเด็กสมัยโบราณ จะขึ้นต้นไม้ เพื่อประโยชน์อะไรก็ตาม มันจะยกมือไหว้ก่อน แล้วจึงจะขึ้นไป ความมุ่งหมายแท้จริง ก็เพื่อสำรวมสติ สำรวมใจคอให้ปกติ ให้มีสติสัมปชัญญะ มีใจคอที่มั่นคงแล้วก็ขึ้นไป อ่ะ, แล้วมันพลาดได้น้อย ความลับมันอยู่ ที่นี่ ถึงแม้ว่าบางคนจะเชื่อไป ทางไสยศาสตร์ ว่าผีสางเทวดามันจะคุ้มครอง หรือรุกขเทวดาที่นั่นจะคุ้มครอง ก็ไหว้เสียก่อน อย่างนี้มันก็ยังถูกเหมือนกัน ถูกบ้าง มันรวบรวมใจคอให้ปกติ ให้มีความมั่นใจในตัวเอง มันก็ยังดีกว่าที่จะไม่ทำ แต่ถ้ามันงมงายเกินไป มันก็น่าหัว อื้อ, แต่ความมุ่งหมายเดิมของเขานั้น ก็ยังมีระยะ ที่ยั้งคิด ทำให้ระบบประสาทต่าง ๆ มันปกติ อื้อ, ไม่เหมือนคนสมัยนี้ ที่ลอกแลก ๆๆ ไม่มีความหนักแน่น มันจึงลืมเก่ง มันจึงผิดพลาดเก่ง อื้อ, อย่าดูถูกที่ผมบอกว่า จะทำอะไรให้ไหว้ครูเสียก่อน
แล้วทีนี้ มันมาถึงปัญหาของชีวิต หรือเรื่องจะต้องตัดสิน อื้อ, เราควรจะดูโดยวงกว้าง หรือโดยที่เรียก กันว่า ปริทัศน์ ดูรอบ ๆ ดูทั้งหมด ว่าปัญหานี้มันมีอยู่อย่างไร ถ้าเราเป็นผู้ได้เห็นโลกมาพอสมควร เห็นชีวิตมา พอสมควร ศึกษา อ่ะ, สิ่งต่าง ๆ มาพอสมควรนะ มันจะพอมองเห็นได้เองว่า ไอ้ปัญหาทั้งหลายนี่ มัน มันจะมี อยู่สัก ๒ ขั้ว เป็นอย่างน้อย คือ ปัญหาที่มันเนื่อง เออ, อยู่กับหลักเกณฑ์ หรือหลักธรรมะ หรือหลักศาสนา ที่เขาบัญญัติไว้นั้นอย่างหนึ่ง และปัญหาที่มันเนื่องด้วย เหตุผลส่วนตัวเราโดยเฉพาะนี่ มันอย่างหนึ่ง อื้อ, ถ้าไม่แยกออกจากกันได้แล้ว ก็คงจะตัดสินไม่ได้ คือ เมื่อไม่รู้แล้วมันก็ปนกันอยู่ มันไม่รู้ว่าเป็นปัญหาประเภท ไหน มันก็ใช้การตัดสินผิด ถ้ามันเป็นปัญหาที่เนื่องอยู่ กับเหตุผลส่วนตัวเรา มันก็อยู่ในวงจำกัดแคบ ก็ใช้เหตุผลส่วนตัวเราก็ได้
แต่ถ้ามันเป็นปัญหาที่ เหลือวิสัยแห่งเหตุผลของเรา หรือมันไม่เนื่องอยู่ด้วย กับเหตุผลส่วนตัวเรา คือ มันขึ้นอยู่กับกฎของธรรมชาติมากกว่าละก็ นั่นนะจะต้องใช้หลักเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นเครื่องตัดสิน ซึ่งได้แก่ อื้อ,
หลักธรรมะในศาสนา เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี อ่่า, จะต้องมองให้เห็นว่า ปัญหาที่เนื่องอยู่ด้วยหลักก็ตาม ที่เนื่องอยู่ กับเหตุผลส่วนตัวเราก็ตาม มันต้องเป็นไปตามกฎธรรมชาติทั้งนั้น เหมือนกับที่ได้พูดให้ฟังแล้วว่า ธรรมชาติเป็นพระเจ้า ที่เด็ดขาด ที่เฉียบขาด เหนือสิ่งทั้งปวง ไอ้ชีวิตร่างกายของเราก็คือ ตัวธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับกฎของธรรมชาติ นั้นเหตุผลส่วนตัวเรา มันก็ยังขึ้นอยู่กับธรรมชาติอยู่ดี อื้อ, ส่วนหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่พระศาสดาแห่งศาสนานั้น ๆ บัญญัตินั้น ไปตามกฎของธรรมชาติแท้ อื้อ, เพราะว่าท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ และก็บัญญัติหลักธรรมะ ไปตามกฎของธรรมชาติ
นักศึกษาบางคนอาจจะเข้าใจผิดในข้อนี้ อ้างว่าตัวรู้ รู้วิทยาศาสตร์ รู้ธรรมชาติ รู้กฎธรรมชาติ และ ศาสน เป็นเรื่องคึกคระงมงาย ผิดกฎธรรมชาติ ผิดหลักวิทยาศาสตร์ อื้อ, นั่นยังเป็นนักศึกษา ที่ยังหลับตา อยู่มาก ไม่รู้จักเรื่องของศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พุทธศาสนา อื้อ, ซึ่งอิงอาศัยอยู่ที่กฎของธรรมชาติ อื้อ, โดยหลักวิชาทางวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกัน หากแต่ว่า มันเป็นเรื่องทางจิต ทางวิญญาณ ที่มองไม่เห็นตัว ไม่ใช่เรื่องฟิสิกส์เคมีอะไร ที่มันมองเห็นตัว เกิดขึ้นอย่างไรมันก็เป็นกฎของธรรมชาติ ไปตามกฎของธรรมชาติ หรือเป็นตัวธรรมชาติเสียเอง
ดังนั้นเราจึงถือว่า ปัญหาทั้งหมดที่มันเกิดขึ้นนี้ จะเป็นปัญหาที่เนื่องอยู่ด้วยเหตุผลส่วนตัว หรือว่าเป็น ปัญหา ที่มันเนื่องอยู่กับกฎเกณฑ์ ในทางหลักธรรม มันก็ยังเป็น เออ, เรื่องที่เนื่องด้วยกฎของธรรมชาติ อยู่ด้วยกัน ทั้ง ๒ อย่าง มันมาแยกทางกันหน่อยหนึ่ง ตรงที่ว่ามันเป็น เออ, วงแคบ หรือแยกออกมาเป็นส่วน เล็ก ๆ ส่วนตัว กับวงกว้าง เป็นวงกว้างไปทั้งหมด ดังนั้นอย่างน้อย จะต้องรู้จัก วิจัยในข้อที่ว่า ปัญหานี้มันเป็น ปัญหาที่มัน เนื่องอยู่กับหลักเกณฑ์ ในหลักธรรม หรือว่ามันเนื่องอยู่กับเหตุผลส่วนตัวเราแท้ ๆ อื้อ, ถ้ามันเนื่องอยู่ด้วยหลักธรรม ก็ใช้หลักธรรมส่วนใหญ่ ถ้ามัน เออ, ถ้ามันเนื่องกับ เออ, กับหลักธรรมในศาสนา ก็ใช้หลักเกณฑ์ส่วนใหญ่ ถ้ามันเนื่องกันกับเหตุผลส่วนตัว มันก็ใช้หลักเกณฑ์ส่วนน้อย อื้อ, ล้วนแต่ไปกฏ อ่า, ไปตาม อื้อ, กฏของธรรมชาติด้วยเหมือนกัน
อื้อ, ทีนี้ อ่า, อีกทางหนึ่ง เรายังต้องคัดแยกปัญหา แยกออกเป็นพวก อื้อ, อีกทางหนึ่ง ว่ามันเป็นปัญหา ที่แก้ไขได้ หรือว่าเป็นปัญหาที่ไม่อาจจะแก้ไขได้ อย่างคุณเรียนแพทย์ แล้วก็มีทางที่จะวินิฉัยโรค หรืออาการ หรืออะไรของคนไข้ มันต้องตายแน่ หรือว่ามันจะรักษาให้หายได้ ปัญหาชีวิตนี่ก็เหมือนกัน ถ้ามันเป็นปัญหา ประเภทที่แก้ไขได้ มันก็ไปทางหนึ่ง ปัญหาที่ไม่อาจจะแก้ไขได้ อื้อ, มันก็เป็นอีกทางหนึ่ง อื้อ, เมื่อคุณเป็นแพทย์ เห็นว่าคนไข้คนนี้ มันจะรักษาให้หายได้ ก็รักษาให้ดีที่สุด แก้ไขให้ดีที่สุด อื้อ, เมื่อเห็นว่ามันจะต้องตายแน่ อื้อ, ก็ต้องทำให้มันตายดีที่สุด เท่าที่จะทำให้มันตายดีที่สุดได้ มันไม่มีทางจะแก้ไขให้หายได้
นี่เราจึง ถือว่าปัญหามันมีอยู่ ๒ ชนิดอย่างนี้ คือ ปัญหาที่แก้ไขได้ อื้อ, กับปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ อื้อ, ที่แก้ไขได้ก็แก้ไขให้ดีที่สุด ที่แก้ไขไม่ได้ก็ทำให้มันดีที่สุด เท่าที่จะทำได้ แม้จะไม่ใช่เป็นการแก้ไข มันยังมีหน้าที่ อยู่นั่นเอง อื้อ, เราจะไม่ปล่อยให้คนไข้ที่ต้องตายแน่ ตายไปอย่างไม่ได้รับ อื้อ, การช่วยเหลือให้ดีที่สุด เช่นเดียวกับที่ เราจะไม่ปล่อยให้ปัญหา ที่มันแก้ไขไม่ได้นี้ ไปตามบุญตามกรรม ตามอะไรของมันเกินไป มันก็ต้องทำให้มันดีที่สุด เพื่อให้มันมี อ่า, เรื่องร้ายน้อยที่สุดนั่นแหละ อย่าให้การแก้ไขไม่ได้นั้น มันทำอันตราย เรามากนัก แม้นี้มันก็เป็นกฎธรมชาติ ที่ว่าบางอย่างมันแก้ไขได้ บางอย่างมันแก้ไขไม่ได้ อื้อ, แต่เราก็เข้าไป เกี่ยวข้องด้วย ให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ อยู่นั่นเอง
อื้อ, ที่ว่าสิ่งทั้งปวง มันขึ้นอยู่กับไอ้ความลับข้อนี้ อื้อ, ก็ถือเอาตามหลักของพุทธศาสนา สิ่งทั้งปวงนี่ มันเป็นไป ตามกฎของธรรมชาติ เป็นไปตามกฎของเหตุปัจจัย เป็นไปตามกฎของกรรม อื้อ, อย่างน้อยจะต้อง รู้ไว้ใน ๓ อย่างนี้ ว่าสิ่งทั้งปวงต้องไปตามธรรมชาติ ไปตามเหตุปัจจัย ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติ เป็นไปตามกรรม ซึ่งก็เป็นกฎของธรรมชาติ อื้อ, แล้วเราไปดื้อ ไปดันทุรังจะฝืนไอ้กฎเหล่านี้ อื้อ, มันก็ อ่า, เป็นผู้ที่ มัน มันก็ไม่ใช่ผู้ที่จะแก้ปัญหา อื้อ, มันก็จะเป็นผู้ที่สร้างปัญหาให้มากขึ้น อื้อ, สร้างความยุ่งยากลำบากให้มากขึ้น ถ้าจะเป็นผู้ที่แก้ปัญหา อือ, มันก็ต้องทำให้มันเข้ารูป เข้ารอย ไอ้สิ่งที่มันทำให้เกิดปัญหา คือ กฎของธรรมชาติ ไอ้ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย อย่างนี้ เออ, มันเป็นปัญหาแก่มนุษย์นี่ มันมาจากธรรมชาติ มันก็ต้องแก้ไขให้มัน เข้ารูป เข้ารอย แบบธรรมชาติ ตามกฎของธรรมชาติ
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง มันมีเหตุมีปัจจัย และก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัยของกันและกัน ไม่มีอะไรเป็นอิสระ มันเป็นเหตุให้เกิดสิ่งหนึ่งขึ้นมา แล้วสิ่งนั้นก็กลายเป็นเหตุ สำหรับให้เกิดสิ่งอื่นต่อไป อื้อ, ไม่มีส่วนไหน เป็นอิสระในตัวเองได้ นี้เขาเรียกว่า ต้องไปตามเหตุ ตามปัจจัย เหมือนที่เราพูดอยู่ทุกวันนี้ว่า ยถา ปัจจยัง วัตตมานัง (นาทีที่ 21:30) นี้ เป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัยอยู่เนืองนิตย์ แล้วมาเล็งถึงผลที่เกี่ยวกับมนุษย์นี่ นี่เราจึงเรียกขึ้นมาว่า เป็นกรรม เป็นเรื่องกรรม เป็นเรื่องกฎแห่งกรรม มนุษย์มีความรู้สึก ต้องการผล ที่ปรารถนา เรียก ไอ้ส่วนที่ได้ตามปรารถนาว่า กรรมดี ที่ไม่ต้องการก็ว่า กรรมชั่ว นี่ก็เป็นเรื่องบัญญัติทีหลัง
อื้อ, เรื่องกรรมนี่มันก็คือ กฎธรรมชาติอันหนึ่ง ซึ่งเมื่อมีการกระทำ หรือการเคลื่อนไหว แล้วก็ย่อมจะ มีปฏิกิริยาจากการกระทำ หรือการเคลื่อนไหวนั้น อื้อ, ซึ่งเราเรียกว่า ผลกรรม ถ้าเกี่ยวกับมนุษย์ อื้อ, มันเป็นไป ตามกฎของธรรมชาติ เป็นไปตามกฎแห่งเหตุปัจจัย เป็นไปตามกฎของกรรม ก็ต้องศึกษาข้อนี้ให้มาก จึงจะตัดสินปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตนี้ได้ เพราะปัญหาทั้งหลาย มันขึ้นอยู่กับกฎของธรรมชาติ กฎของเหตุปัจจัย กฎของกรรม อย่างที่เรากำลังพูดกันอยู่นี้
อื้อ, ทีนี้ดูให้ดี ก็จะเห็นว่ามันเป็นเรื่องไม่ใช่ง่าย ๆ แล้วก็ไม่ใช่เล็กน้อย อื้อ, ต้อง จึงต้องทำด้วยความไม่ ประมาท ดังนั้นควรจะรอบรู้หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้ตามสมควร ดังนั้นเราจึงจะได้พูดกันถึง เรื่องหลักที่เรา ใช้ตัดสินปัญหาในชีวิต อื้อ, ของคนทุกคน แล้วก็ส่วนใหญ่ ก็จะต้องพูดถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหลักธรรม ในศาสนา อื้อ, ส่วนปัญหาที่มีเหตุผลส่วนตัวแท้ ๆ นั้น มันก็เอามาพูดไม่ได้ มันเป็นเรื่องเฉพาะคน มันเป็นเรื่อง เฉพาะเวลา มากเกินไป อื้อ, ดังนั้นที่ผมจะพูดให้ฟังนี่ มันก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับหลักธรรมะ อื่อ, ที่ใช้ได้ทั่วไป ไม่ใช่เหตุผลเฉพาะคน แต่ถึงอย่างนั้นก็อย่าลืมว่า แม้เหตุผลเฉพาะคน มันก็ยังต้องอิงอาศัยหลักนี้ อื้อ, มันอิสระ ออกไป โดยสิ้นเชิงไม่ได้ อื้อ, เหตุผลส่วนตัวเราก็ต้องตัดสินตามความผิดถูก ผิดชอบชั่วดี อื้อ, หรือให้มันเป็น ทุกข์น้อยที่สุด อื้อ, ก็ต้องอิงอาศัยกฎของธรรมชาติ ของกรรม ของอะไรอยู่ด้วยเหมือนกัน จะปล่อยให้เป็น อิสระ ก็เลือกเอาได้ตามชอบใจ อื้อ, เพราะว่าถ้าเขาสมัครจะตาย สมัครจะฆ่าตัวตายก็ได้ มันเป็นเหตุผลของเขา ไม่ใช่เรื่องที่จะแก้ไข
เดี๋ยวนี้เราจะพูดถึง หลักทั่วไป ใช้เป็นหลักทุก ๆ อย่าง หรือว่าตลอดกาล อื้อ, เมื่อก่อนหน้านี้ ผมก็ได้ พูดว่า นักศึกษา หรือพวกคุณ ส่วนมากนี่ อาจจะไม่เคยได้ยินได้ฟัง ชื่อของสูตร เช่น กาลามสูตร โคตมีสูตร มหาปเทสสูตร เป็นต้น นั่นนะคือชื่อของหลักเกณฑ์ ที่จะใช้ตัดสินปัญหา ถ้ามันเป็นปัญหา อ่า, เกี่ยวกับ ความเชื่อ ก็ใช้หลักเกณฑ์อย่าง กาลามสูตร ถ้ามันเป็นปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ มันก็ใช้หลักเกณฑ์ อย่างเช่น โคตมีสูตร ทีนี้ถ้ามันเป็นปัญหา เกี่ยวกับความกำกวม ของสิ่งที่แปลก ที่ใหม่เข้ามา ในทางระเบียบการปฏิบัติ ก็ใช้หลักเกณฑ์ อย่างมหาปเทส ในพระวินัย ในวินัย
ทีนี้ถ้ามันเป็นปัญหา อื้อ, ที่เกิดมาจากไอ้ความกำกวม อื้อ, ของปัญหาที่มันเกิดขึ้น เกี่ยวกับหลักวิชา หรือตำรา ก็ใช้หลักมหาปเทส อย่างสุตตันตะ มหาปเทส มี ๒ คือ สำหรับปัญหาทางวินัย ทางระเบียบก็ อย่างหนึ่ง อื้อ, และปัญหาทาง ไอ้หลักวิชา ตำรับตำราทั่วไป นี่มันก็อีกอย่างหนึ่ง เขาเรียกมหาปเทสทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเราลอง อ่า, ศึกษาพิจารณาดูกันจาก ๔ อย่างนี้ ๔ เรื่องนี้ก็จะพอ อื้อ, ผมได้พยายาม อ่า, นึกรวบรวมและเลือกมา อื้อ, อย่างดีที่สุดแล้ว ในที่สุดมันก็ไม่พ้นไปจาก ๔ เรื่องนี้ อื้อ, ในพระคัมภีร์ทั้งหมด
อื้อ, สำหรับหลักที่ใช้ในการตัดสินปัญหา เกี่ยวกับความเชื่อนั้น มันเรียกว่า กาลามสูตร มันเป็นคำถาม ที่คนเขาถามพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความเชื่อว่า จะเชื่อใครดี จะเชื่ออะไรดี พระพุทธเจ้าก็ตรัสหลักเกณฑ์อันนี้ ออกมาให้คนเหล่านั้นฟัง ว่าเราจะเชื่อต้องใช้หลักเกณฑ์อย่างไร เมื่อชาวบ้านพวกหนึ่ง เขาอยู่ในที่ที่เป็น ทางผ่าน เออ, เดี๋ยวก็ศาสดาคณะนั้นมา เดี๋ยวศาสดาคณะนี้มา เดี๋ยวศาสดาคณะโน้นมา มันเป็นทางผ่าน อื้อ, เขาก็ได้รับไอ้คำแนะนำมากมาย หลายแบบ จนไม่รู้จะเชื่อใครดี พอพระพุทธเจ้าผ่านมา เขาก็ถามว่าจะเชื่อ ยังไงดี อือ, ดูมันมากจนเวียนหัว พระพุทธเจ้าจึง อือ, ตรัสเรื่องนี้
ทีนี้คุณก็เอามาสังเกตดูสิ ว่าเราอยู่ในกรุงเทพฯ มันก็เป็นที่มา ที่ไหลมาแห่งหลักวิชาความรู้ คำสั่งสอน
แล้วจะเชื่ออันไหนดี ในเมื่อฟังดูแล้ว มันก็ไปคนละอย่าง คนละทาง อื้อ, ไอ้ความที่เป็นคนละอย่าง ละทางนี้ บางทีมันก็ผิดกันแต่เพียงวิธีพูด ข้างในมันเหมือนกันก็มี แต่ว่าส่วนใหญ่ไอ้หลักเกณฑ์นั้น หัวใจของมันต่างกัน เสียทีเดียว มันทำให้เราลำบาก อื้อ, ในการที่จะรับเอาอันไหน มาเป็นหลักปฏิบัติ อื้อ, ทีนี้พระพุทธเจ้าก็ ตรัสตอบ ไอ้คนเหล่านั้น ด้วยหลักที่เรียกว่า กาลามสูตร เพราะว่าตรัสแก่ชาวบ้าน ที่ชื่อว่าพวกหมู่บ้านกาลามะ
โดยหลักใหญ่ ๆ ก็มีว่าถ้าได้ยินได้ฟัง อื้อ, ในคำบอกนี้ทางใดก็ตามนี่ ให้มีหลักตัดสินก่อนที่จะเชื่ออยู่ ๑๐ ประการด้วยกัน ไอ้ ๑๐ ประการนี้ เราแบ่งเป็น ๓ พวกได้ พวกที่ได้ยินได้ฟังอย่างหนึ่ง แล้วพวกที่เกี่ยวกับ คิด อาเองอย่างหนึ่ง และพวกที่ขึ้นอยู่กับบุคคล ที่เป็นครูบาอาจารย์นี่พวกหนึ่ง
ไอ้ ๔ พวกแรก ที่เกี่ยวกับได้ยินได้ฟังนั้นมีอยู่ว่า มา อนุสฺสเวน (นาทีที่ 30:13) อย่าเชื่อเพราะได้ฟัง ตาม ๆ กันมา มา อิติกิราย (นาทีที่ 30:21) อย่าเชื่อเพราะว่า เขากำลังพูดกันอยู่กระฉ่อน อื้อ, แล้วก็ มา ปรมฺปราย (นาทีที่ 30:28) อย่าเชื่อเพราะว่าเขาทำสืบ ๆๆๆ กันมา โดยทางการกระทำอย่างนี้ ๆ อื้อ, แล้วก็ มา ปิฏกสมฺปทาเนน (นาทีที่ 30:39) อย่าเชื่อเพราะว่ามันมีอยู่ในตำรา อื้อ, ทั้ง ๔ อย่างนี้ มันเนื่องในการได้ยินได้ฟัง ได้อ่าน แล้วก็รวมอยู่ในการฟัง จากข้างนอก อื้อ, อนุสฺสเวน (นาทีที่ 30:56)นี่ ได้ยินได้ฟัง คือ บอก ๆ กันมา อิติกิราย (นาทีที่ 31:03)นี้ กำลังลืออยู่กระฉ่อน เป็นข่าวใหญ่ตื่นตูม อยู่ในที่ใดที่หนึ่ง ปรมฺปราย (นาทีที่ 31:13) นี่ ทำสืบ ๆ กันมา โดยไม่ต้องพูดกันก็ได้ แต่มันก็เป็นการแสดง ด้วยคำพูด เอ่อ, แสดง คือไอ้ คือ พูดด้วย ด้วยกิริยา ไม่ได้พูดด้วยปาก แล้วก็มีอยู่ในตำรา ที่ว่าพูดให้ชัด ก็ว่าไม่ให้เชื่อตำรานั่นเอง แม้ว่ามีอยู่ในตำรา อย่าเพิ่งเชื่อ
ทีนี้อีก ๔ พวก เกี่ยวกับที่เรา เกี่ยวกับตัวเราเอง เกี่ยวกับความคิดนึก เออ, คำนึงคำนวนของเราเอง อื้อ, มา ตกฺกเหตุ (นาทีที่ 31:54) อย่าเชื่อโดยเหตุผลทางตรรก ทาง Logic มา นยเหตุ (นาทีที่ 32:03) อย่าเชื่อโดย เหตุผลทางปรัชญา อื้อ, มา อาการปริวิตกฺเกน (นาทีที่ 32:11) อย่าเชื่อโดยการตรึกตามอาการ ได้แก่ พวกสามัญสำนึก มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา (นาทีที่ 32:25) อย่าเชื่อเพราะมันทนต่อไอ้ ไอ้ ไอ้ความคิดเห็น ของเรา ทนต่อข้อแย้ง โดยความคิดเห็นของเรา
อื้อ, อันแรก มา ตกฺกเหตุ (นาทีที่ 32:41)นี่ อย่าเชื่อโดยเหตุผลเพียงตรรก เพราะว่าตรรกมันก็ผิดได้ ในเมื่อเหตุผลผิดได้ หรือมันไขว้กันอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง อื้อ, ถือตรรกเป็นเรื่องของเด็กอมมือ นี้ มา นยเหตุ (นาทีที่ 33:00) อย่าเชื่อด้วยวิธีคิดทำแบบปรัชญา มีนัยตาม อ่า, แบบหนึ่ง อื้อ, อาศัยเหตุผลอีกแบบหนึ่ง คือ ความคาดคะเน อื้อ, ซึ่งมันก็ไม่เหมือนกันกับไอ้ทางตรรกนัก ทางตรรกนั้น มัน มันถือว่าเป็นความชัดแจ้ง ด้วยเหตุผลนั้น นี่ถ้าเรื่องที่มันชัดแจ้งอย่างนั้นไม่ได้ เหตุผลนั้นก็ใช้ไปในทางการคาดคะเน อื้อ,
ทีนี้ก็ อาการปริวิตกฺเกน (นาทีที่ 33:48)นี่ ปล่อยไปตามสามัญสำนึก เหตุผลบ้าง ไม่ใช่เหตุผลบ้าง อย่างที่เรียก Common Sense หรืออะไร ก็อยู่ในพวกนี้ อื้อ, ก็อย่าเพิ่งเชื่อให้ระวังให้ดี อื้อ, ที่ว่าที่มันทน ต่อความคิดของเรา ที่เข้าไปเพ่งดู เพ่งค้านหรือเพ่ง ก็อย่าเพิ่งเชื่อ แม้ว่ามันทนได้ก็อย่าเพิ่งเชื่อ อื้อ, เพราะว่าถ้า ฝ่ายเรามันโง่ ก็จะว่ายังไง ไอ้ของเท็จ มันก็ทนได้ต่อความเพ่งพิสูจน์ ด้วยความโง่ของเรา อื้อ, นี่อันนี้มันเป็น หลักที่ใช้อยู่ในวิชาวิทยาศาสตร์ ว่ามันทนต่อความเพ่งพิสูจน์ได้ให้ถือเอานี้ อื้อ, ทางพุทธศาสนายังเป็น วิทยาศาสตร์ที่ดีกว่านั้น อื้อ, คือว่าอย่าเพิ่งให้รอดูไปก่อน อื้อ, นี่ ๔ ข้อนี้ มันเนื่องจากความคิดนึกคำนึง คำนวณของเราเอง ไอ้ ๔ ข้อแรก มันปล่อยไปตามข้างนอก ได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่านข้างนอก
ทีนี้อีก ๒ ข้อสุดท้ายนั้นว่า มา ภพฺพรูปตาย (นาทีที่ 35:07) อย่าเชื่อเพราะว่าผู้พูดนี้มันน่าเชื่อ อื้อ, แล้วก็ มา สมโณ โน ครูติ (นาทีที่ 35:18) อย่าเชื่อด้วยเหตุว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา นี่มันอีก ๒ ข้อรวมกันเป็น ๑๐ ข้อ อย่าเชื่อเพราะว่าผู้พูด มีลักษณะท่าทางน่า น่าเชื่อ นี่น่าหัวไหม และก็อย่าเชื่อเพราะว่าผู้นี้เป็นครูของเรา นี่ก็น่าประหลาด ที่ว่าคล้ายกับว่าจะสอนให้เด็กดื้ออาจารย์ แต่ความมุ่งหมายไม่ใช่อย่างนั้น ไม่ใช่ให้ยกตัว ยกหู ชูหาง ไม่เชื่อครูบาอาจารย์ อื้อ, สำหรับกิริยาอาการภายนอกทุกอย่าง ต้องเคารพนบนอบ ต้องเชื่อฟัง ต้องรับ เอาไปด้วยดี แต่ในใจมันยังไม่เชื่อ ยังไม่ปลงความเชื่อ รับไปสำหรับจะเชื่อ แต่ยังไม่ปลงความเชื่อ อื้อ, ทีนี้เมื่อ ไม่เชื่อด้วย อ่า, อาการ ๑๐ อย่างนี้แล้ว มันก็กลายเป็นว่า จะเชื่ออะไรล่ะ ถ้าตามคำพูดที่อยู่ในรูปของภาษาบาลี ที่มันเรียงไว้ยืดยาว สรุปสั้น ๆ ก็คือว่า เชื่อไอ้ความรู้สึกที่ตัวรู้สึกอยู่เอง ว่ามันตรงกันกับที่เขาพูด อื้อ,
เชื่อ Experience ของตัวเอง ถ้า Experience ในข้อนี้ไม่มี ก็ยังไม่ต้องเชื่อ
สำหรับตรงนี้ อยากจะข้อแนะสักอย่างหนึ่งว่า อื้อ, คนเรามันเชื่อตัวเองทั้งนั้นแหละ ถ้าเกณฑ์ให้เชื่อ ตัว ผู้อื่น นั้นมันเชื่อ เชื่อ เชื่อไปทีก่อน แล้วไม่ใช่เชื่อจริง อื้อ, เพราะว่าไอ้ความจริง มันมีอยู่ว่า สิ่งที่เรียกว่า ความจริงนั้น มันมีเท่าที่เรารู้จักเท่านั้น เท่าที่เรารู้จักและรู้สึก คือมี Experience ในนี้เท่านั้น ในตัวมันเท่านั้น ไม่อย่างนั้นจะ เราจะไม่ยอมรับว่าเป็นความจริง อื้อ, ดังนั้นความจริงทางตรรก ความจริงทางปรัชญา นั้นมันเป็นเรื่อง ความจริงแต่ปาก เราก็ยอมรับเป็นความจริงจากปาก อื้อ, แต่ถ้ามันจริงจาก Experience มันก็เป็นจริง ดังนั้นคนเรายอมรับว่าจริง เฉพาะเท่าที่เรารู้แล้วเท่านั้น ที่เรายังไม่รู้นั้น เราจะไม่ยอมรับว่าจริง แม้ปากเราจะยอมรับว่าจริง มันก็รับพอไปที นี่แหละเขาถือเป็นหลักมาแต่โบราณกาล อื้อ, ความจริงมันคือ สิ่งที่เรารู้จักแล้วเท่านั้น อื้อ, นอกนั้นมันยังไม่จริง ด้วยเหตุนี้ ความจริงมันจึงมีต่าง ๆ กัน เพราะว่าคนทั้งหลาย ไม่ได้รู้จักสิ่งนั้น ๆ เท่ากัน หรือตรงกัน ต่างคนต่างมีจริงของตัว อื้อ, อันนี้ก็มีผล ทั้งทางดีและทางร้าย คือทำให้ เกิดความดื้อ ดื้อขึ้นมา ไม่เชื่อก็ได้ หรือว่าทำให้เกิดความเข้าใจ อ่า, ถูกต้อง ไปตามลำดับก็ได้
ดังนั้นความจริงของมนุษย์ คือ ความเท็จ คือ มันจะเชื่อเท่าที่มันรู้จักว่าจริง รู้สึกว่าจริง โดย Experience ทีนี้เมื่อ Experience ของเขาอยู่ในขอบเขตจำกัด มันก็ไม่ได้รู้ ไม่ได้รู้หมด คือ รู้จริง มันก็กลายเป็นของ ที่ถูกนิดเดียว อื้อ, แต่เดี๋ยวนี้ เออ, ในสูตรนี้ มีหลักที่วางไว้ว่า ให้เราใช้สิ่งนี้ เพื่อขยายออกไปให้มันถึงที่สุด เพราะว่าไอ้สิ่งที่เรายังไม่รู้จริง มันไม่มีประโยชน์อะไรแก่เรา อื้อ, ไอ้เท่าที่เรารู้จริงโดย Experience นี้มันมีประโยชน์แก่เรา แล้วเรื่องของเรา มันก็มีเท่าที่ไอ้ ไอ้ความสามารถของ Experience มันจะบอกให้ หรือมันจะช่วยได้ ไอ้เหลือนอกนั้น ทิ้งไว้ก่อนดีกว่า ค่อย ๆ ติดตามไปจนกว่า มันจะมีการขยายตัวของไอ้ Experience นี้ออกไป ๆๆ มันก็รู้ได้ในที่สุด ถึงที่สุด ได้เหมือนกัน ดังนั้นเราจึงไม่เชื่อข้างนอก ไม่เชื่อคำพูด ข้างนอก ไม่เชื่อการคำนึงคำนวน ที่เกินกว่าขอบเขตของ Experience อื้อ, แล้วก็ไม่ฝากไว้กับตำรา ไม่ฝากไว้
กับบุคคล นี่พระพุทธเจ้าท่าน เป็นนักประชาธิปไตย และเป็นผู้เปิดเผย เป็นผู้บริสุทธิ์ อื้อ, ถึงกับตรัสออกมาว่า อย่าเชื่อฉัน พระพุทธเจ้าเป็นผู้บอกเสียเองว่า อย่าเชื่อฉัน อื้อ, ฟังเอาไป แล้วก็ไปวัดดู หรือไป เออ, หยั่งดู ด้วยความรู้สึกของตัว แล้วมันมีเหตุผลที่ชัดอยู่ แล้วก็จึง จึงเชื่อ
ยกตัวอย่าง เช่น พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า อื้อ, ความโลภเป็นของร้อน ความโกรธเป็นของร้อน ความหลงเป็นของร้อน เราก็ยังไม่เชื่อ จนกว่าจะนึกถึงว่า ไอ้ความโลภที่เราเคย เคยโลภมาแล้วนั้น แล้วมันร้อนอย่างไร ไอ้ความโกรธ ที่เราเคยโกรธมาแล้วนั่นน่ะ มันร้อนอย่างไร ไอ้ความโง่ที่เราเคยโง่มาแล้ว มันร้อนอย่างไร แล้วทีนี้เราก็เชื่อ อื้อ, อย่างนี้มันเชื่อไอ้ตัว ตัว ตัวไอ้ Experience ไม่ได้เชื่อพระพุทธเจ้า อื้อ, เชื่อตัวเราเอง หมายถึง เชื่อไอ้ Experience ของเราเอง ท่านต้องการอย่างนี้ ดังนั้นจึงไม่ให้เชื่อ แม้แต่ว่าสมณะนี้ เป็นครูของเรา แต่ว่าถ้ามันเป็นเรื่องวิชาเล็ก ๆ วิชาเบื้องต้น วิชา อ่า, ตระเตรียมของเด็ก ๆ นี้ มันก็เชื่อได้ สำหรับที่จะไปทำให้มันเป็น ความแน่นอนข้างหน้า
ดังนั้นก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะไม่ฟังอะไรเสียเลย เราจะไม่อ่านอะไรเสียเลย เราจะไม่ เออ, รับเอาคำ ของครูบาอาจารย์ไปเสียเลย เราก็ฟังแต่เราไม่เชื่อ มันจะเล่าลือกันมาอย่างไร เราก็ยังไม่เชื่อ เขาจะทำตาม ๆ กัน อยู่อย่างไร ๆ เราก็ยังไม่เชื่อ เขียนไว้ในพระไตรปิฎกอย่างไร เราก็ยังไม่เชื่อ อื้อ, เหตุผลทางตรรก ทาง Logic ทาง Philosophy ทางไอ้ อะไรก็ตามที่เขาก้าวหน้าเวลานี้ เราก็ยังไม่เชื่อ จนกว่ามันจะปรับกันได้กับ Experience เท่าที่เรามี อื้อ, เหลือนอกนั้นเราฝากไว้ก่อน เรายังไม่จำเป็นที่จะต้องไปเชื่อมัน เราก็มีไว้เป็นปัญหาที่คาราคาซัง อย่างนี้ อื้อ, เพราะว่าปัญหาที่มันจะทำอันตรายเรา ก็คือว่าปัญหาเท่าที่มันมีอยู่จริง ถ้ามันมีอยู่จริงเราก็มี Experience ในอันนั้นแน่ แล้วเราก็สามารถจะแก้ไขมันได้
อื้อ, นี่ล่ะคือ หลักทางกาลามสูตร มีอยู่ ๑๐ ข้ออย่างนี้ สำหรับตัดสินปัญหาที่เกี่ยวกับความเชื่อ อื้อ, เนื่องจาก เออ, ความเชื่อ มันเป็นสิ่งแรก ของการตั้งต้น ที่จะทำการงาน เราจึงต้องทดสอบ ตรวจสอบ ทำไอ้ สังคายนา Scrutinize ให้มันดี ๆ อย่าให้ความเชื่อมันผิด อื้อ, ถ้าจุดตั้งต้นมันผิดแล้ว มันก็ผิดตลอดสาย ดังนั้นเราเอาปลอดภัยไว้ คือ ยังไม่เชื่อ อื้อ, หรือเชื่อไปตามลำดับ ของความเจนจัดในใจ ที่เรียกว่า Experience Experience นี้ก็ต้องไว้ เออ, กันเป็น ๒ อย่าง คือ มีไว้เป็น ๒ อย่าง Experience ทางร่างกาย ทางวัตถุ ทางไอ้ระบบ ทางกายนี้ก็อย่างหนึ่ง แล้ว Experience อีกอย่างหนึ่ง ก็ Experience ทางวิญญาณ Spiritual Experience อื้อ, นี่เป็นรากฐานของหลักธรรมของศาสนา ของความดับทุกข์ ของนิพพาน อื้อ, คือ เรามี อ่า, ชีวิตอยู่ แล้วมันผ่านไป ผ่านไป
เรื่องทางฝ่าย Spiritual นั้น มันไม่ใช่เรื่องทำมาหากิน เรื่องอะไรโดยตรง มันเป็นเรื่องทางจิตใจ ที่เกิดมาจาก สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนี้ นี่เป็นต้นทุน เป็นข้อมูล เป็นต้นทุน สำหรับที่จะมีความรู้ หรือการตัดสินใจ หรือการปฏิบัติ ให้มันถูกต้อง ถ้าเราไม่มีมากพอ คือ ไม่มี Spiritual Experience มากพอ แล้วจะไม่เข้าใจ หลักธรรม อื้อ, โดยเฉพาะในทางศาสนา อ่า, เช่น พุทธศาสนา ฉะนั้นเราจะต้องไม่มีความเจนจัด แต่เพียงเรื่อง ทางปากทางท้อง ทางไอ้เนื้อทางหนัง อื้อ, ต้องมีความเจนจัด ในทางเรื่องนามธรรมอันลึกซึ้ง เรื่องความโลภ ความโกรธ ความหลง โดยเฉพาะนี้ อื้อ, เรื่องความยึดมั่นเกี่ยวกับตัวกูของกู อือ, เป็นทุกข์ทุกที ที่มีความยึดมั่น อย่างนี้ ถ้าเรามีความรู้อย่างนี้ด้วยใจจริง ไม่ใช่ฟังจากหนังสือ อื้อ, แต่เรารู้จริง รู้ประจักษ์ใจจริง นี่เรียกว่า รากฐานที่ดี
เดี๋ยวนี้เขาเรียกกันทั่วไปว่า Spiritual Experience อื้อ, ที่จะใช้เป็น อ่า, รากฐานของการศึกษา แม้แต่ ปรัชญา อื้อ, ถ้าเขาใช้สิ่งนี้เป็นรากฐาน ปรัชญาก็จะเดินไปในทางที่ดี ที่มีประโยชน์ อื้อ, ถ้าใช้ไอ้คำนึงคำนวณ ตาม Logic ปรัชญาจะพาเข้ารกเข้าพง อื้อ, คือไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นอย่าไปหลงไอ้ปรัชญา สมัยใหม่นะ ที่มันไป ฝากไว้กับ logic ถ้าเป็น อ่า, หลักทางธรรมแล้ว ก็ฝากไว้กับ Spiritual Experience แม้จะมองกันในรูปปรัชญา มันก็อาศัยอันนี้เป็นหลัก อื้อ, ซึ่งได้แก่ หลักของกาลามสูตร อื้อ, ดังนั้นหลัก กาลามสูตรนี้เป็นหลักที่ดี สำหรับที่จะเป็นวิทยาศาสตร์ อื้อ, หรือว่าเป็นวิทย์ อ่า, เป็นปรัชญาที่อาศัยได้ ไม่ใช่ปรัชญาอย่างไอ้ ที่เขาฟุ้งเฟ้อกันไป ไม่ ไม่มีจุดหมาย อื้อ, นี่คือหลักตัดสินปัญหา เกี่ยวกับความเชื่อ เรามีอิสระที่จะใช้ อื้อ,
ทีนี้กลุ่มที่ ๒ อ่า, หลักที่ใช้ตัดสินปัญหา เกี่ยวกับการปฏิบัติ ปฏิบัติงานทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ตลอดขึ้นไปถึงการปฏิบัติ ทางธรรม ทางศาสนา อื้อ, ถ้าอย่างนี้เราใช้ไอ้หลักโคตมีสูตร อ้อ, อยากจะบอกให้ ทราบเสียก่อนว่า ไอ้หลักที่พระพุทธเจ้าตรัสนี่ มันมุ่งหมายเพื่อดับทุกข์ ไปนิพพานทั้งนั้น แต่เดี๋ยวนี้หลักเหล่า นั้นนะ มันเอามาใช้ได้ แม้แต่ผู้ที่จะยัง ยัง ยังอยู่ใน อ่า, ในโลกนี้ คือ ในการงาน ในอาชีพ ในอะไรต่าง ๆ นี้ ยังไม่เหลียวแลนิพพาน แต่ก็จะให้เป็นนิพพานอยู่ในตัวได้ คือ นิพพานโดยปริยาย ถ้าเราทำถูก ในการงาน ประจำวัน เรื่องทำมาหากินนี่ มันจะเป็นนิพพาน คือ เป็นเย็นอยู่ในโลกนี้ได้เหมือนกัน แต่เราไม่ได้เล็งถึง ดังนั้นไอ้หลักแบบนี้ มันใช้ได้ทั้งเรื่องต่ำ ๆ เรื่องปาก เรื่องท้อง รวมถึงเรื่องจิต เรื่องใจ เรื่องไปนิพพาน
หลักที่เรียกว่า โคตมีสูตร นี้มีอยู่ ๘ หัวข้อ อื้อ, แล้วก็แยกเป็น ๒ ฝ่าย ๘ หัวข้อ ฝ่ายที่อย่าไปทำเข้า ๘ หัวข้อ ฝ่ายที่ควรทำ แล้วก็มันเรื่องเดียวกันแหละ เขาวางหลักไว้อย่างนี้ ถ้าไม่เข้ากับหลักอย่างนี้ อย่าทำ ถ้าเข้ากับหลักอย่างนี้ ก็รีบทำ
อื้อ, ทีนี้ไอ้หลักมันก็มีอยู่ว่า ๑ อื้อ, ทำให้เกิดความกำหนัด ย้อมใจอย่างนี้ ภาษาในโรงเรียนนักธรรม เกิดความกำหนัดย้อมใจ อื้อ, หมายความว่า เกิดความยึดมั่นถือมั่น ถ้ามันทำให้เกิดความยึดมั่น ถือมั่นแล้วก็ ไม่ใช่ ไม่ใช่ทางที่ถูก ถ้ามันทำให้เกิดความปล่อยวาง นั่นนะมันเป็นทางที่ถูก อันถัดไปทำให้เกิดไอ้ความทุกข์ หรือก่อความทุกข์ นี่เราเชื่อ Experience ของเราได้ทันที ว่านี่มันก่อความทุกข์ หรือมันทำลายความทุกข์ ถ้ามันก่อความทุกข์ ก็อย่าไปเอากับมัน มันต้องเป็นไปอย่างเห็นชัด ว่ามันทำลายความทุกข์ อื้อ, อันที่ ๓ ว่า มันสะสมกิเลส หรือก่อกิเลส หรือไม่สะสมกิเลส อื้อ, กิเลสนี้ ก็รู้กันโดยหลักทั่วไปได้เลยว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง มีมูลมาจากอวิชชาความโง่ อันที่ ๔ ว่า เป็นไปเพื่ออยากใหญ่ หมายความว่า อยากใน ส่วนเกิน อื้อ, อยากใหญ่นะมันต้องอยากในส่วนเกินเสมอแหละ มันโง่ มันก็อยากใหญ่เตลิดเปิดเปิงในส่วนเกิน
อย่างผมเคยพูดว่า ความเห็นส่วนตัวของผมนะ จะไปโลกพระจันทร์ หรืออะไรตอนนี้ เป็นความอยาก ในส่วนเกิน อย่าเพิ่งทำดีกว่า อื้อ, มันเป็นอยากใหญ่ อ่า, กระโดดออกไปเกินจำเป็น แล้วอย่างนี้มันอยากออกไป ด้วยกิเลสทั้งนั้น อื้อ, ไม่ใช่ ไม่ใช่ด้วยสติปัญญา ทีนี้อันที่ ๕ มัน สันโดษหรือไม่สันโดษ ไอ้อยากใหญ่นี่มันมุ่งแต่ ความอยาก ๆ ออกไป มันก็พาให้ออกนอก นอกขอบเขตมากไป ทีนี้ส่วนสันโดษนี้ เขาแปลกันมาผิด ๆ อือ, ว่า สันโดษนี้ไม่ให้ทำอะไร นั่นมันแปลผิด มันคนโง่พูด พระพุทธเจ้าไม่ได้พูดอย่างนั้น สันโดษ คือ อิ่ม พอใจอยู่กับ สิ่งที่กำลังมีอยู่ ถ้าเราไม่มีสันโดษ เราจะไม่เคยรู้สึกอิ่มด้วยอะไรเลย ด้วยเงิน ด้วยของ ด้วยอะไรก็ตาม แล้วเราก็ หิวเป็นเปรตอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเราทำได้เท่านี้ เราก็พอใจ อิ่มอกอิ่มใจ แล้วเราก็ทำมากขึ้น เราก็อิ่มอกอิ่มใจ มากขึ้น นี่เขาเรียกว่า สันโดษ แปลว่า ยินดีด้วยสิ่งที่กำลังมีอยู่ สะ แปลว่า มีอยู่ หรือของตน โดษ นะปุถะ (นาทีที่ 52:27) นั้น คือ ยินดี ยินดีด้วยของที่กำลังมีอยู่แห่งตน อื้อ, แต่ไม่ได้หมายความว่า ให้หยุด ให้ขี้เกียจ หรือหยุดเสียเพียงเท่านั้น
คุณสอบไล่ได้ชั้นประถม ๑ มันก็ต้องพอใจ สอบได้ชั้นประถม ๒ มันก็พอใจ ประถม ๓ ก็พอใจ มันหล่อเลี้ยงให้จิตใจ มีความอิ่ม ไม่หิวเป็นเปรตอยู่เสมอ อื้อ, หรือว่าเราได้อะไรมาในวันนี้เท่านี้ หรือว่าเราทำอะไร สำเร็จในวันนี้ เพียงเท่านี้เราก็ควรจะพอใจ อื้อ, ว่าเราได้ทำสำเร็จอยู่ทุกวัน ก้าวหน้าอยู่ทุกวัน แล้วก็พอใจเท่าที่ มันก้าวหน้าแล้ว ก็ทำต่อไป เพื่อให้มันมีความพอใจ ในส่วนที่ก้าวหน้าต่อไป อย่างนี้เรียกว่า สันโดษ อื้อ, ถ้าอะไรมันทำให้ ถ้าหลักเกณฑ์อะไร หรือว่าคำสอนอะไรก็ตาม หรือการปฏิบัติก็ตาม ที่มันทำให้ ไม่รู้จักสันโดษแล้ว ก็ไม่ใช่ ไม่ใช่คำสั่งสอนที่ถูกต้อง อื้อ, มันจะทำให้คนหิวเป็นเปรตอยู่ตลอดเวลา เราจะเป็น มนุษย์ที่อิ่มเอิบ อิ่มเอมอยู่ตลอดเวลา สดชื่น แจ่มใส เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา ด้วยความสันโดษ
อื้อ, ทีนี้ก็อันที่ ถัดไปอีก เรียกว่า คลุกคลีกันเป็นหมู่ นี่ระวังให้ดี ถ้าคุณเข้าใจผิด แล้วก็มีโทษมาก พระพุทธเจ้า ตรัสว่าการคลุกคลีกันเป็นหมู่นั้นผิด อ่า, แล้วการไม่คลุกคลีกันเป็นหมู่นั้นถูก ทีนี้คุณจะเห็นว่า ไอ้เราก็คลุกคลีกันเป็นหมู่ ในการเล่าเรียน ในการ อ่า, เล่นกีฬา โดยเฉพาะที่สโมสรนี้ มันมีส่วนผิด หรือส่วนถูก อย่างไร ไอ้คลุกคลีกันเป็นหมู่นี่มันหมายความว่า ทำไปตามอำนาจของกิเลส หรือความโง่ หรือความรู้สึก ฝ่ายต่ำ อื้อ, ไอ้การตั้งสมาคมของสถาบันต่าง ๆ นั้น มีทางที่จะผิดก็ได้ ถูกก็ได้ ถ้าสมาคมนั้น มันตั้งขึ้นเพื่อ คลุกคลีกันเป็นหมู่ ตามความต้องการของกิเลส แล้วก็ผิดทั้งนั้น ไม่ว่าจะตั้งขึ้นที่มหาวิทยาลัยไหน อื้อ, แต่ถ้ามันตั้งขึ้นเพื่อ อ่า, ประชุมกันทำสิ่งที่ควรทำ แล้วร่วมมือกันให้มันสำเร็จดี อย่างนี้มันถูก ไม่เรียกว่า คลุกคลีกันเป็นหมู่
คลุกคลีกันเป็นหมู่ มันหมายถึงความ อ่า, หมายถึงข้อที่ว่า มันอาศัยไอ้ความโง่ หรืออาศัยกิเลส หรืออาศัยความเอร็ดอร่อย มาเล่นหัวกันเสียเรื่อยไป อื้อ, ยกตัวอย่างให้เห็นง่าย ๆ เช่น พระ เณรอยู่ในวัด อย่างนี้ ก็หาโอกาสที่จะมาจับกลุ่มกันคุยเล่น หยอกเอินกันไปอย่างนี้ คลุกคลีกันเป็นหมู่แบบนี้ แต่ถ้ามา รวมกันศึกษาเล่าเรียน มารวมกันทำปาติโมกข์ เปิดเผยความบริสุทธิ์ของตัวเอง อย่างนี้ไม่ใช่คลุกคลีกันเป็นหมู่ อื้อ, ก็จำง่าย ๆ ก็คลุกคลีกันเป็นหมู่นั้น เหมือนกับว่าสุนัขและแมว มันไล่หยอกกันเป็นหมู่นั้น จำภาพติดตานี้ไว้ แล้วเราไม่ทำอย่างนั้นก็แล้วกัน แต่ถ้ามารวมหัว รวมแรง รวมอะไรกัน เพื่อจะทำหน้าที่ให้ลุล่วงไป แม้จะมากมาย ตั้งร้อย ตั้งพัน ตั้งหมื่น ก็ไม่ ไม่ได้ห้ามไว้ในข้อนี้ กลับส่งเสริมเสียอีก เพราะความสามัคคี การทำหน้าที่ที่ต้องทำให้ลุล่วงไปนี้ ทำประโยชน์ให้สำเร็จ อื้อ, คลุกคลีกันเป็นหมู่นี้ เพื่อกิเลสคือ เล่นหัว
ทีนี้อันต่อไป อันที่ ๗ คือ ความเกียจคร้าน หรือไม่เกียจคร้าน อื้อ, คำนี้มีความหมายกว้าง ไอ้ความ เกียจคร้าน โดยทั่วไปเราก็ไม่ชอบกันอยู่แล้ว แต่มันยังมีว่าขยันขันแข็งหรือเปล่า ไม่เกียจคร้าน หมายถึง เอาจริงเอาจัง ขยันขันแข็ง อุตสาหะ วิริยะนี่ Industrious อ่า, ในหน้าที่ของตัวนี่ มันก็เรียกว่า ไม่เกียจคร้าน ถ้ามันเป็นไปเพื่อตรงกันข้าม ก็เรียกว่า เกียจคร้าน อื้อ, บางทีใช้เหตุผลของตัวดื้อ ๆ ว่า เรามีอิสระ เรามีประชาธิปไตย เราอยากจะนอนใครจะว่าอะไรเรา อื้อ, มันก็ถูกของเขา อือ, แต่นี่มันเป็นไอ้ความเหลวไหล ความเพาะนิสัยที่ให้เหลวไหลมากขึ้น อือ, เรื่องเดินทางของชีวิต มันเรื่องใหญ่โต มัวเหลวไหล หรือมัว อือ, ทำอย่างที่เรียกว่า ทำเล่น ๆ หรือเสียไม่ได้นี่มัน มันไม่พอกัน ดังนั้นต้องขยันขันแข็ง เอาจริงเอาจัง แต่แล้วก็ ไม่ใช่บ้าบิ่น อือ, ควรระวังไว้ด้วย ความขยันขันแข็ง กับความบ้าบิ่นนี้ มันต่างกันมาก
แล้วข้อสุดท้ายนี้ มันเลี้ยงยากหรือเลี้ยงง่าย เป็นอยู่ยากหรือเป็นอยู่ง่าย ถ้ามันมีหลักให้เป็นอยู่ง่าย เลี้ยงง่าย เขาเรียกว่าถูก ถ้าเป็นอยู่ยาก พิถีพิถันต้องอย่างนั้นอย่างนี้ มันก็ไม่ถูก มันเป็นเรื่องของกิเลสด้วย เหมือนกัน ดังนั้น อ่า, ในหมู่บรรพชิตเรา ในหมู่สงฆ์ของเรานี่ จึงมุ่งหมายให้เป็นอยู่ง่ายที่สุดเลย การกินการอยู่ การนุ่งการห่ม การอะไรต่าง ๆ ให้มันง่ายที่สุด
อื้อ, คุณทบทวนดูดี ๆ ว่า ไอ้การปฏิบัตินั่นมันจะถูก ต่อเมื่อมันเป็นไปในหลักที่ว่า ไม่ไปติดในสิ่งใด คือ ไม่กำหนัดย้อมใจ แล้วก็ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์มากขึ้น แล้วก็ไม่ก่อให้กิเลสมากขึ้น ไม่ทำให้อยากในส่วนเกิน แม้แต่สติปัญญานี่ ก็ไม่ควรอยากในส่วนเกิน อื้อ, แล้วก็ต้องสันโดษ แล้วไม่คลุกคลีกันเป็นหมู่ แล้วแข็ง เออ, ขยันขันแข็ง อื้อ, แล้วก็เลี้ยงง่าย ถ้ามันตรงกันข้าม ก็ติด ยึดติด ติดด้วยอำนาจของกิเลส เช่น ติดการพนัน ติดฝิ่น ติดกัญชา นี่เรียกว่า ติด ติดเงิน ติดของ ติดทอง ติดไอ้สวย ติดงาม ติดอะไรต่าง ๆ นี้ ล้วนเพิ่มความทุกข์มากขึ้น เพิ่มกิเลสมากขึ้น มันอยากในส่วนเกิน ไม่รู้จักอิ่มจักพอ ไม่รู้จักอิ่มแม้แต่วินาทีเดียว ในชีวิตนี้ไม่มีความอิ่ม แม้แต่วินาทีเดียว นี่คลุกคลีกันเป็นหมู่เพื่อเล่นหัว หรือเอาเปรียบ คือ ขี้เกียจ เอาเปรียบสังคม แล้วก็เลี้ยงยาก พิถีพิถันเรื่องเป็นอยู่ อย่างนี้ผิด
ทีนี้เราเกิดปัญหาทางปฏิบัติขึ้นแม้ในโรงเรียนในมหาวิทยาลัย ในชีวิตประจำวัน ก็ใช้หลักเหล่านี้ได้ ใช้หลักที่ไปนิพพานเหล่านี้ได้ ไว้แก้ปัญหาชีวิตประจำวัน เพื่อนิพพานเล็ก ๆ ประจำวัน คือ ความเย็นอกเย็นใจ เป็นประจำวัน ในชีวิตประจำวันนี้ ก็ใช้หลักอันนี้ได้ ซึ่งเป็นหลักสำหรับไปนิพพานโดยแท้จริง อื้อ, ระบบของ การเป็นอยู่ Mode of living อย่างนี้ ถูกทั้งหมดเลย ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ทั้งอยู่ในโลกไปก่อน หรือว่าจะไปนิพพานแล้ว เอาไปจัดให้มันเป็นหลักที่ มีในชีวิตประจำวัน เมื่อในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย เขาไม่สอนอย่างนี้ เขาไม่ให้ใช้ หลักอย่างนี้ ไอ้เราส่วนตัวเรานี่ ส่วนฝ่ายด้านวิญญาณของเรานี่ เราก็มีหลักอย่างนี้ เราก็ทำขึ้นเองได้ แล้วก็อยู่ ในโลกกับเขาได้ โดยสงบสุขยิ่งกว่าพวกเขา ที่ไม่สนใจในหลักอย่างนี้
นี่ถ้าคุณกลับไปนี่ คุณลองไปดูให้ดี ๆ แล้วก็ปรับไอ้ชีวิตประจำวัน ไม่ให้ผิดหลักเหล่านี้ ให้ประกอบ อยู่ด้วยหลักเหล่านี้ ทีนี้พอปัญหาอะไรมันเกิดขึ้น เป็นของที่ ไม่รู้ว่าจะเอายังไงแน่ ก็ ก็ลองไล่ไปดูทีละหลัก ๆ ไอ้เรื่องรับน้องใหม่มันบ้าเท่าไร สังเกตดูจากหลักเหล่านี้ อื้อ, จนเดี๋ยวนี้เป็นปัญหาไปทั้งโลกแล้ว ไอ้พิธีการ รับน้องใหม่ มันบ้าเท่าไรก็ดูจากหลักเหล่านี้ อื้อ, แล้วก็อย่าไปร่วมมือบ้ากับเขามัน อื้อ, ก็แล้วกัน อื้อ, นี่ยกตัวอย่างของการที่จะใช้ตัดสินปัญหา อย่าให้เตลิดเปิดเปิงไป จนไม่เป็นผู้เป็นคน ไม่เป็นมนุษย์มนา อย่างชาวบ้านเขาเรียก เพราะมันผิดหลักเหล่านี้ นี่เป็นตัวอย่างทั้งนั้น
เอ้า, ทีนี้ เออ, เวลาเหลืออยู่นิดเดียว ก็จะพูดถึงไอ้หลักมหาปเทส อื้อ, คือ หลักพื้นฐานที่จะตัดสิน ไอ้เรื่องเกี่ยวกับของแปลก ของใหม่ที่เพิ่งมีมา วัตถุสิ่งของก็ดี การกระทำก็ดี ความคิดนึกก็ดี ที่มันแปลกเข้ามา เราจะต้องตัดสินว่า มันควรจะรับเอาหรือไม่ หลักทางวินัยในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๔ ข้อ คือ ว่าสิ่งใดมันไม่มี บัญญัติไว้ ในบทบัญญัติ ว่าสิ่งนี้ไม่ควร คือ มันไม่มีในบทบัญญัติว่าไม่ควร เราแยกเป็น ๒ ทาง เพราะถ้าสิ่งนั้น มันเข้ากันได้ กับสิ่งที่บัญญัติไว้ว่า ไม่ควรแต่กาลก่อนนั้น เราก็ปัดออกไปเป็นสิ่งที่ไม่ควร แต่ถ้ามันมาไปเข้า กันได้กับสิ่งที่ควร คือ บัญญัติไว้ว่า ควรแล้วเราก็ปฏิบัติกันอยู่ว่าควร สิ่งแปลกสิ่งใหม่นี้ก็ บัญญัติไว้กับ พวกที่ควร ของแปลกใหม่เข้ามายังไม่รู้ว่า ควรหรือไม่ควร ก็ไปเทียบดูกับสิ่งที่ได้ มีบัญญัติหรือถือปฏิบัติกัน อยู่แล้ว มันไปเข้ากันได้กับฝ่ายที่ควร ก็ถือว่าควรไป เข้าไปได้กับฝ่ายที่ไม่ควร ก็ถือว่าไม่ควร นี่มันได้ ๒ อย่าง
ทีนี้สิ่งใดที่ไม่ได้บัญญัติ ไม่ได้อนุญาตไว้ว่า อ่า, ว่า ว่า ว่าควร อย่าเอาไปปนกันให้มันยุ่งนะ
ไอ้ ไอ้กลุ่มแรกนั่นว่า ที่ไม่ได้ห้ามว่าไม่ควร เดี๋ยวนี้ที่ไม่ได้อนุญาตไว้ว่าควร มีอยู่ ๒ แง่ แล้วแง่ ๑ ก็ออก ออกเป็น ๒ แง่ มันก็เลยได้ ๔ ๔ ข้อ อื้อ, ที่ไม่ได้ เออ, ที่ไม่ได้ห้ามไว้ เออ, ก่อน เราก็มาดูว่า ไอ้สิ่งนี้ มันไปเข้ากับพวกไหน ได้ ถ้าเข้ากันได้กับพวกไม่ควร ก็ให้มัน ให้ถือว่าไอ้สิ่งนี้ สิ่งมาใหม่นี้ไม่ควร ถ้ามันไปเข้ากันได้กับสิ่งที่ควรมันก็ สิ่งมาใหม่นี้ควรคือ ทำได้ อื้อ, ทีนี้เพียงแต่ว่า พวกที่ไม่ได้อนุญาตไว้ หรือแนะไว้ว่าควรนั่น มันมาใหม่มาอีกแล้ว มันก็เลย เออ, มาแยกว่า อ้าว, ถ้ามันไปเข้ากันได้ กับพวกที่ไม่ควร ก็ให้ถือว่าไม่ควร ถ้าเข้ากะ กันได้กับพวกที่ ที่ควร ที่ถือว่าควร ที่ปฏิบัติที่บัญญัติว่าควร ก็กลายเป็นเรื่องที่ควร
มันเป็น Logic อยู่นิดหน่อย ที่แยกออก ไปเป็นพวกที่ไม่ได้ห้ามไว้ หรือไม่ได้อนุญาตไว้ หรือ ๒ อย่าง เพื่อไม่ให้มีทางแก้ตัว คนเรามันมีกิเลสสำหรับแก้ตัว เพราะฉะนั้นในทางศาสนา หรือพุทธ บทบัญญัติของ พระพุทธเจ้า จึงมีไว้สำหรับไม่ให้แก้ตัว ส่วนที่ไม่ได้ห้ามไว้ ก็อย่าง ๑ ส่วนที่ไม่ได้อนุญาตไว้มันก็อย่าง ๑ แล้วก็ แยกแขนงกันออกไปว่า ควรหรือไม่ควร ก็โดยการที่มันจะ เข้ากันได้กับฝ่ายไหน เกี่ยวกับระเบียบ เกี่ยวกับ วินัยที่จะต้องปฏิบัติ แม้ของชาวบ้าน ในบ้านเรือน ก็ใช้หลักอันนี้ได้ เกี่ยวกับวินัย วินัย คือ ระเบียบ คือ บทบัญญัติ ที่เป็นการบังคับ
ทีนี้ก็มาถึงอันที่ มันไม่เกี่ยวกับการบังคับ เขาเรียกว่า สุตตันตะ เป็นหลักธรรมะ ไม่ได้บังคับ ไม่ใช่กฎหมาย ไม่ใช่วินัย อื้อ, มหาปเทส ทางฝ่ายสุตตันตะ คือ ฝ่ายธรรม มันก็มีอยู่ ๔ ข้ออีกเหมือนกัน แต่เดี๋ยวนี้มันเนื่องอยู่ กับการอ้างอิง คือ ปัญหาที่มันจะเกิดขึ้นเกี่ยวกับ วิชาหรือ ตำรา มันเป็นความกำกวม ขึ้นมา ไม่รู้เอาอย่างไรแน่ อื้อ, พระพุทธเจ้าท่านวางหลักไว้ ๔ อย่างว่า แม้ว่าจะได้รับฟังไปจากพระพุทธเจ้าเอง แม้ว่าจะได้รับฟังไปจากพระพุทธเจ้าเอง เดี๋ยวนี้ เออ, ก็อย่าเพิ่งถือว่าถูก หรือรับเอาทันทีอย่างนี้ ให้ทำกรรมวิธี ที่เรียกว่า สุตเต โอตาเล ตัพพัง (นาทีที่ 01:08:14) คือ หยั่งลงไปดูในสูตร เอาบทที่เป็นปัญหานี้ มาหยั่งทดสอบ ลงไปในสูตรทั้งหลาย และวินะเย สันทะเส ตัพพัง (นาทีที่ 01:08:28) คือ เทียบดู เออ, ในวินัย เทียบดูกับวินัย หยั่งลงไปดูในสูตร เทียบกันดูกับวินัย
มันมีสูตรกับวินัย สูตร คือ ธรรมะ วินัย คือ วินัย หลักเกณฑ์ อ่า, ทางธรรม เรียกว่า สูตร หลักเกณฑ์ทางวินัย เรียกว่า วินัย ให้เอาไปหยั่งทดสอบน่ะแหละ ดูกับสูตรทั้งหลาย หรือว่าไอ้ระเบียบของสูตร ทั้งหลายด้วย เอาไปเทียบกันดูกับวินัย หลักเกณฑ์ทางวินัยทั้งหลายด้วย เอ้า, ถ้ามันลงกันได้ ไม่ขัดกับสูตร หรือวินัยทั้งหลายทั่วไปแล้วก็ ให้ถือเอาให้รับเอา นี่พระพุทธเจ้าเป็นประชาธิปไตยถึงอย่างนี้ ไม่ผูกขาด ไม่ ไม่ได้ เออ, ให้ ไม่ผูกขาดความคิดเห็น อือ, อื้อ, ของพระองค์เอง เปิดให้มันกว้าง เอาไป เอาไปวิจารณ์ เอาไปทดสอบ อื้อ, จึงวางบทมหาปเทสข้อแรกว่า แม้ได้รับฟังมาเฉพาะพระพักตร์ ก็ยังเปิดโอกาสให้ไป ทดสอบดูกับธรรมวินัย ทั้งหลายที่ได้วางไว้แล้ว ที่ได้บัญญัติไว้แล้ว นี่ข้อที่ ๑
นี่ข้อที่ ๒ ก็แม้จะได้รับฟังมาจากคณะสงฆ์ คณะสงฆ์ทั้งหมด ที่มีสังฆปาโมกข์ (นาทีที่ 01:10:09) ก็ยังไม่เอาทันที เอาไปหยั่งดูในสูตร เอาไปเทียบดูในวินัยอย่างเดียวกันแหละ อื้อ, ถ้ามันเข้ากันได้กับหลักทั่วไป ในสูตร ในวินัย ในนั้น แล้วเอาใช้ได้ ถูก ควร
ทีนี้ข้อที่ ๓ รับฟังมาจากคณะพระเถระ ผู้เป็นพหูสูต เป็นพระเถระเป็นผู้เฒ่าผู้แก่นะ เออ, มี มีราตรียาว รู้จักโลกมานานแล้ว แล้วก็เป็นหมู่เป็นคณะด้วย แล้วแต่ละองค์เป็นพหูสูต คือ เรียนมาก หรือคงแก่เรียนด้วย ก็อย่า อย่า อย่าไปรับเอา อย่าเพิ่งฟัง อย่าเพิ่ง เออ, ให้มาทดสอบด้วยวิธีว่า หยั่งลงดูในสูตร เทียบกันดูในวินัย มันเข้ากันได้กับแนวทั่วไป ของสูตร ของวินัย แล้วจึงรับเอา
ทีนี้อันสุดท้าย เออ, รับฟังมาจากพระเถระองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นพหูสูต อย่างพระเถระองค์หนึ่ง เขาเล่าลือกันว่า เป็นผู้แตกฉาน เป็นผู้มีความรู้ เป็นผู้มีอะไรนี่ ก็อย่าเพิ่ง อย่าเพิ่งเชื่อมัน อย่าเพิ่งถือเอา เออ, ให้เอามาทำการ เออ, หยั่งลงดูในสูตร เทียบกันดูในวินัย โดยหลักทั่วไปมันลงกันได้ในสูตร ในวินัย แล้วจึงรับเอา อื้อ, นี่ขอ อ่า, ตักเตือนว่า นี่ไม่ใช่คำสอน ที่สอนให้ดื้อด้าน ให้หัวสูง ให้ไม่เชื่อใคร คงอ่อนน้อมถ่อมตัวอย่างยิ่งอยู่เสมอ รับฟังเอามาด้วยดี แต่เอามาทดสอบอย่างนี้ ทดสอบในสูตร ด้วยการ หยั่งลงในสูตร ทดสอบในวินัย ด้วยการเทียบดูกับวินัย แล้วจึงเห็นว่า อ้าว, มันถูกแน่ ปัน ไอ้ความกำกวม มันก็ไม่มี
ทีนี้ใจความสำคัญมันอยู่ตรงที่ว่า จะเป็นระเบียบกฎหมายก็ดี มันมีหลักใหญ่ ๆ ซึ่งมันผิดไม่ได้ มันเป็นหลักใหญ่ที่มองเห็น ทีนี้ในสูตร ในธรรม ใน เออ, ฝ่ายธรรมะ ที่ไม่ใช่กฎหมาย ไม่ใช่วินัย มันก็มีแนว ของมัน มีทิวทัศน์ มี Outline มีแนวใหญ่ที่เราจะสังเกตเห็น ถ้ามันเข้าแนวใหญ่นั้นไม่ได้ เราก็ตัดทิ้งไปได้ เอาไว้ก็ไม่มีประโยชน์อะไร แม้รับมาจากพระพุทธเจ้า ก็หมายความว่า เรานี่มันไม่สามารถ จะทำให้เข้ากันกับ แนวใหญ่นั้นได้ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าตรัสผิด อื้อ, พระพุทธเจ้าตรัสถูก หูเราเชือนไปก็ได้ อื้อ, หรือว่าเรามันไม่มี ไอ้ความรู้พอที่จะ ฟังไอ้ถ้อยคำนั้น ให้มีความหมายถูกตรงก็ได้ คำพูดที่มีความหมายเฉพาะ เราถือว่าคำพูดผิด เออ, ถือเอาความหมายผิด คำพูดนั้นก็เลยใช้ไม่ได้
อื้อ, อย่างพระพุทธเจ้าตรัสว่า ว่างอย่างนี้ ไอ้คนโง่สมัยนี้ มันก็ว่า ไม่มีอะไร หรือสูญเปล่านี่ แต่คำว่า สุญตา ของพระพุทธเจ้าไม่ได้แปลว่า ไม่ได้หมายความว่า สูญเปล่า หรือไม่มีอะไร อื้อ, มันก็มีทุกอย่าง แต่ว่าไม่มีตัวตน นี่เราฟังมาจากพระพุทธเจ้าว่า สุญตา เรามาตีความหมายว่า ไม่มีอะไร หรือสูญเปล่า เรามันบ้าเอง ทีนี้มันมีทางที่ว่าจะฟังผิดได้ ทั้งที่พระพุทธเจ้าก็ตรัสถูกแล้ว
ทีนี้พระพุทธเจ้าก็เลยวางหลักว่า ให้เอามาเทียบดูกันกับหลักใหญ่ ๆ ที่มันมีอยู่เป็นพื้นฐานแล้ว
ถึงพูดเรื่องอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนิจจัง ทุกขัง แปรเปลี่ยนไปตามเหตุ ตามปัจจัย เปลี่ยนไปตามกฎธรรมชาติ ทีนี้มันก็เป็นการรู้เรื่อง ว่าง ขึ้นมาทันที รู้เรื่องว่าง อย่างถูกต้องขึ้นมาทันที นี่คือ อาการที่เรียกว่า เอาไปหยั่ง ลงไปในสูตร เหมือนกับหยั่งปรอทวัดน้ำลงไปในน้ำ หรือว่าเทียบกันดูกับวินัย วัดดูอย่างนี้ แล้วมันก็พบกับ ไอ้ความถูกต้อง ๔ ประการนี้ แม้รับฟังมาจาก พระพักตร์ก็อย่าเพิ่ง แม้รับฟังมาจากคณะสงฆ์ ที่ประกอบไปด้วย สังฆปาโมกข์ (นาทีที่ 01:14:40) ก็อย่าเพิ่ง แม้รับฟังมาจากกลุ่ม ของผู้คงแก่เรียนก็อย่าเพิ่ง แม้รับฟังมาจาก บุคคลผู้คงแก่เรียน ก็อย่าเพิ่ง ขอให้เอาไปทดสอบ โดยวิธีหยั่งลงไปในสูตร เทียบกันดูกับวินัย
สุตเต โอตาเล ตัพพัง วินาเย สันทัดเส ตัพพัง (นาทีที่ 01:15:00) ๒ คำนี้ จำไว้ด้วยก็ดี เพราะจะเป็น หลักที่ ทำความปลอดภัย ให้แก่เราผู้เกิดมาในโลก ที่มันจะมีอะไรยุ่งยากมากขึ้นทุกที อื้อ, จะทำความลังเล สงสัย หรือกำกวมให้แก่เรามากขึ้นทุกที เราใช้หลักอันนี้แล้วไม่มีทางผิด แต่ไม่ได้หมายความว่า ให้ ให้ ให้ดื้อ ให้กระด้าง ให้หัวแข็ง ให้หัวสูง ไม่เชื่อใครเสียเลย อื้อ, มีแต่ว่าจะทำความปลอดภัยให้ ด้วยการว่าจะไม่ตี ความหมายผิด จะไม่ถือเอาความหมายผิด หูของเรามันเชือน ฟังผิด ตีความหมายผิด นี่ป้องกันไม่ให้เกิดโรค ชนิดนี้ขึ้นมา ในการตัดสินปัญหาต่าง ๆ ก็ต้องทำอย่างนี้
นี่เวลาของเรามีพอเพียงให้ พูดกันโดยหัวข้อใหญ่ ๆ ๔ หัวข้อ ว่าโดยหลัก กาลามสูตรสำหรับตัดสิน ความเชื่อ โดยหลักโคตมีสูตรสำหรับตัดสินการปฏิบัติ โดยมหาปเทสทางวินัย สำหรับตัดสินความกำกวม ที่มันเกิดขึ้น เออ, ทางระเบียบ ทางวินัย ปัญหาทางวินัย อื้อ, แล้วก็มหาปเทสฝ่ายสุตตันตะนี่ก็ สำหรับตัดสิน ไอ้ปัญหาที่มันเกิดขึ้น เป็นความกำกวมทางฝ่ายวิชา หรือตำรา คือ การเล่าเรียนในโรงเรียน ในครูบาอาจารย์นี้ เอาไว้ใช้สำหรับตัดสินปัญหา ที่ได้แยกดูแล้วว่า เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับหลักใหญ่ หรือว่าเป็นปัญหาเหตุผล ส่วนตัว เหตุผลส่วนตัวก็ใช้เหตุผลส่วนตัวได้ แต่มันก็ไม่ทิ้งหลักอันนี้ เพียงแต่มีอิสระที่จะเลือกมากกว่า เป็นปัญหาที่แก้ไขได้หรือแก้ไขไม่ได้ ถ้าแก้ไขได้ แก้ไขให้ดีโดยอาศัยหลักอันนี้ อื้อ, ถ้าแก้ไขไม่ได้ ก็ทำให้มันดี ได้โดยหลักอันนี้ แปลว่า ต้องทำให้ดีที่สุดอยู่เสมอ ไม่ว่าในกรณีที่แก้ไขได้หรือแก้ไขไม่ได้ เรียกว่า หลักตัดสิน ปัญหาชีวิต ในทุกกรณีของบุคคลทุกคน ในการที่จะแก้ไขเยียวยารักษาโรคของสัตว์โลกทั้งปวง รวมตัวเรา คนหนึ่งด้วย นี้เวลาที่มีอยู่มันก็หมดลง เลยไปบ้าง