แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
คำบรรยายทบทวนธรรมในตอนนี้จะได้กล่าวถึง การสละสิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในใจ ต่อไปอีกจากหัวข้อที่ได้กล่าวค้างไว้ คือ เรื่องอุปกิเลส อุปกิเลสหรือนิสัยเลวที่จะต้องสละออกไป มีอยู่อีก ๔ ชื่อตามลำดับดังนี้ อุปกิเลสชื่อมานะ โดยความหมายก็แปลว่า ถือตัว คำว่าถือตัวในที่นี้ในภาษาไทยก็ดี ในภาษาบาลีก็ดี เป็นคำที่กำกวม มีความหมายได้ ๒ แง่ ในภาษาบาลีเรียกว่า มานะ เป็นชื่อของกิเลส แต่คำว่ามานะนี้ ใช้เป็นชื่อของคุณธรรมก็ดี ดังหลักธรรมที่ว่า จงอาศัยตัณหาละตัณหาเสีย จงอาศัยมานะละมานะเสีย เป็นภาษิตของพระอานนท์โดยตรงก็มี เป็นพระพุทธ ..... (เงียบ ตั้งแต่นาทีที่ 1.45 จนถึง 2.04) ..... จงอาศัยมานะละมานะเสีย เพราะมานะมันแปลว่าความถือตัว ก็ต้องอาศัยความถือตัวนั่นแหล่ะละความถือตัวได้อีกทีหนึ่ง ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป ความถือตัวในที่นี้หมายถึงถือตัว อย่างโง่เขลา ซึ่งเราก็จะเห็นว่าเป็นของธรรมดาสามัญมีอยู่มากมายทั่วไปทุกหนทุกแห่ง การถือตัวอย่างโง่เขลา มันไม่ใช่ความอวดดี มันคล้ายๆกันกับความอวดดี แต่นี้มันเป็นการถือตัว บางยุค บางสิ่ง บางสมัย ความถือตัวนี้เป็นประจักษ์(นาที 2.38) เช่นเกิดระบบถือวรรณะกันขึ้นมานี่ก็เรื่องของการถือตัว แม้ในหมู่คนที่ไม่มีระบบวรรณะมันก็ยังมีความถือตัว เพราะว่ามันมีกิเลส ที่เป็นหูเป็นหาง ชูหูชูหาง และมันมีหงอน มันต้องการจะเชิดหงอนอย่างนี้ก็มีอยู่ทั่วๆ ไป นี่ก็เรียกว่าถือตัว เมื่อให้เพิ่มความกระด้างเกี่ยวกับการมีตัว มันก็มากขึ้นๆ จนเป็นนิสัย ตั้งแต่เด็กๆ มันรู้จักถือตัวมาแต่ในท้อง มันก็เพิ่มมากขึ้นได้ ตามอำนาจของความเห็นผิดหรือที่เรียกว่าความโง่ เป็นสิ่งที่ละได้ยาก ก็อยู่ในพวกที่ละได้ยาก ยากกว่ากิเลสที่แล้วๆ มา เพราะความหมายของมันกว้างไปไกลจนถึงว่าไปยึดเอาความดีมาเป็นเหตุให้ถือตัว มันถือตัวอย่างดีของมันอย่างนี้แล้วก็แก้ยาก นี่เขาระบุพวกพรหมชั้นสูงสุด เพราะเป็นผู้มีมานะหรือถือตัวจัดที่สุด ในหมู่มนุษย์นี่ วรรณะไหนสูงอันนั้นแหล่ะถือตัวจัด แต่มนุษย์ ก็ไม่ถือตัวเท่า จัดเท่าเทวดา เทวดาก็ไม่ถือตัวจัดเท่าคน ในหมู่คนด้วยกัน ก็พรหมชั้นสูงสุดนั่นแหล่ะถือตัวจัดที่สุด เพราะเวลายิ่งดียิ่งถือตัว คำว่าพรหมนี่ก็มีความหมายว่าระดับสูงสุดของสัตว์ สัตว์ เออ มนุษย์ สัตว์ที่มีความรู้สึกคิดนึกอย่างมนุษย์ ชั้นพรหมเป็นชั้นที่มันถือว่าสูงสุด ดังนั้น มันก็มีความถือตัวสูงสุด มันละยาก จะละกันตรงๆนี้ก็ยาก แต่ถ้าเรามาตั้งหลักเหมือนที่เรากล่าวมาแล้วแต่ต้นว่าอะไรเป็นนิสัยเลว แล้วก็จะต้องละหมด มันก็ลดมาอยู่ในรูปที่จะพอละได้โดยการบริจาค หรือการให้ทาน เพราะถึงอย่างไรเสีย เราก็เคยได้ยินคำว่าถ่อมตัว เพราะเราเห็นคนที่ถ่อมตัวมันน่ารักน่านับถือ เกิดความละอายขึ้นมาเองต่อการที่จะถือตัว นี่ก็เป็นการบริจาค หรือสละสิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในใจนี้ออกไปได้เหมือนกัน
ที่จริงอุปกิเลสถัดไปที่เรียกว่าอติมานะ นี่มันมากไปจนถึงดูหมิ่นผู้อื่น ไอ้มานะมันถือตัว ถ้าอติมานะ มานะอย่างนี้มันกลายเป็นดูหมิ่นผู้อื่น ที่มันยิ่งไปกว่าการถือตัวเฉยๆ การดูถูกผู้อื่นนี่มันก็น่าแปลก น่าอัศจรรย์ที่ว่า คนโง่กลับจะดูถูกผู้อื่นมากกว่าคนฉลาด คนโง่ที่เขามีอำนาจมีวาสนาเขาก็เป็นคนโง่ได้ อย่าเข้าใจว่ามีอำนาจวาสนาแล้วเป็นคนฉลาด ก็เพราะความโง่คนที่มีอำนาจวาสนาก็ดูถูกคนอื่น คนที่ต่ำต้อยกว่า การดูถูกผู้อื่นนี้ไม่ได้หมายความเฉพาะว่า พูดออกไปหรือแสดงอาการออกไป แม้แต่เพียงเก็บไว้ในใจมันก็ไม่ควรจะมี การที่มันนึกดูถูกคนโน้นคนนี้อยู่ในใจของเราไม่พูดออกไป ไม่แสดงออกไป ก็คือกิเลสคู่นี้ด้วยเหมือนกัน ดูถูกหรือ ดูหมิ่นเป็นของไม่ดี เป็นของเลว มันมีมาจากตัวกู ยกหูชูหาง เกินขึ้นไปอีก เกินกว่ามานะขึ้นไปอีกจนเป็นอติมานะ มานะอย่างยิ่ง
แล้วกิเลสที่ถัดไปอีกก็เรียกว่า มทะ แล้วก็มีคู่ตามมาเรียกว่า ปมาทะ ก่อนมามันมีมานะและมีอติมานะ เดี๋ยวนี้มี "มทะ"และก็มี "ปมาทะ" ตามหลังมา มทะก็หมายถึงเมา ส่วนปมาทะนั่นหมายถึงมันโง่ หรือสะเพร่า ที่มันเมาพร่าๆ ไป กลายเป็นความสะเพร่า แต่มทะนี่หมายถึงเมาจัดในอารมณ์ที่เป็นที่ตั้งแห่งความเมา มันก็คิดว่าดีมันก็จึงเมา ทั้งที่ของที่มันเมานั้นไม่ใช่ของดี แต่มันคิดว่าดี มันก็อยากจะเมา มีคำกลอนที่ผู้รู้เขาแปลไว้ไพเราะดี จากความคิดของ... ...(นาทีที่7.45) ที่ว่า เมาเหล้า เมาหญิง เมาหยิ่ง เมายอ เมาคู่รู้พอ ไม่เหมือนเมาสวรรค์ อาตมาพยายามระบุ เมาสวรรค์มันเมาสูงสุด เมาเหล้าล่วงเวลาก็หาย เมาผู้หญิงพ้นวัยพ้นเวลาไปมันก็หาย เมาความหยิ่งยืดออกไปหน่อย แต่ก็มีเวลาหาย เมายาเมา นี่มันก็มีเวลาที่จะสร่างซาไป แต่เมาสวรรค์นั้นตั้งแต่เกิดจนตาย หรือตายแล้ว ตาย เกิดอีกก็ไม่รู้จักสร่างจากซา เขาเรีกเมาสวรรค์ สวรรค์อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ จริงเท็จอย่างไรก็ไม่รู้ แต่เมาได้มากถึงขนาดนี้ตามความเชื่อ ที่ถูกอบรมให้เชื่อ จึงถือว่าไอ้เมานี่ไปสูงสุดอยู่แค่เมาสวรรค์ นี้สวรรค์โดยทั่วไปสำหรับคนทั่วไป ก็คือความอุดมสมบูรณ์ในการได้อย่างอกอย่างใจในทางกามารมณ์นี่เรียกว่าสวรรค์ กามารมณ์ที่ได้อย่างอกอย่างใจและก็สมบูรณ์ ไม่มีบกพร่อง ไม่มีขาดนี่เรียกว่าความหมายของสวรรค์ เมื่อมันมาความเมาแล้วมันก็ หมายถึงเมา สิ่งที่ถูกอกถูกใจเท่านั้นแหล่ะ สิ่งที่ไม่ถูกอกถูกใจใครจะไปเมา แม้ว่าความโง่มันจะเล็งถึงกิเลสประเภทโทษะ แต่ความเมาในที่นี้เป็นความโง่ มันก็เอาแต่เรื่องที่ถูกใจ เขาจึงไม่พูดว่าไปเมาในความโกรธหรือไปเมาในความเกลียดไม่มีพูด แต่พูดเมาในความรัก ไอ้เมาเหล้านี่เป็นเรื่องเล็ก เล็กไปเลยถ้าไปเทียบกับเมาสวรรค์ เพราะเมาเหล้านี่เป็นเมาทางวัตถุทางร่างกายมีอะไรเข้าไปกระตุ้นร่างกายมันก็เป็นเรื่องผิดปกติไปเสียขณะหนึ่งนี้ มันเรื่องวัตถุ แต่เมาสวรรค์มันไม่ใช่เรื่องวัตถุ มันเมาโดยความหลงใหลในความหมายของวัตถุ มันจึงลึก ความเมาโดยใจความสำคัญก็คือ เมาในสิ่งที่ถูกใจ ดังนั้น เป็นเรื่องเมาประกอบ เป็นอุปกรณ์ มันเมาเรื่องเกียรติ เมาเรื่องอะไรที่มันเคยได้วัตถุที่ถูกใจ เพราะเกียรติมันเป็นอำนาจเป็นวัตถุมีกำลังที่จะทำให้ได้สิ่งที่ถูกใจ แล้วก็เมาเกียรติ ถือว่าเกียรติมันก็เป็นวัตถุอร่อยในทางธรรมารมณ์ อายตนะที่ ๖ รู้สึกว่ามีเกียรติแล้วก็สบายใจ ก็จัดไว้เป็นอารมณ์สำหรับเมา อะไรที่ทำให้รู้ สึกสบายใจ เป็นได้ เป็นกระตุ้นไอ้ความรู้สึกอันนี้ไว้ได้ก็เรียกว่าเป็นที่ตั้งแห่งความเมา ความหมายใหญ่อยู่ที่กามารมณ์ จะให้ละความเมานี้ยาก ยากมากเพราะว่าคนเมาจะไม่รู้สึกว่าตัวเมา มันต้องประจวบเหมาะด้วยเหตุสิ่งแวดล้อมหลายๆ อย่าง จึงจะสำนึกว่าตัวเมา มันเท่าๆกับคนบ้า คนบ้าจะไม่ยอมรับว่าตัวบ้า ไม่รู้สึกว่าตัวบ้า ก็ไม่เลย ไม่เคยคิดที่จะหายบ้าเพราะไม่ได้รู้สึกว่าตัวเป็นบ้า นี่คนเมาเหมือนกันแต่ไม่ยอมรับว่าตัวเป็นคนเมา เพราะมันกำลังพอใจ กำลังถูกใจ กำลังบูชาสิ่งนี้อยู่ ไม่รู้สึกว่าตัวเมา มันก็ไม่เคยคิดที่จะละความเมา เหมือนคนที่กำลังเมาเหล้านี้มันก็ไม่รู้สึกได้ว่าไอ้เหล้านี้เป็นของเมา เพราะว่าตัวกำลังเมา ทีนี้เมื่อหายเมามันจึงรู้ว่าเหล้านี้เป็นของเมา ตัวเมาไปแล้ว เมื่อกำลังเมาแล้วก็ไม่ทางที่จะรู้จักตัวเอง ทีนี้เมาทางกิเลสนี้ก็เหมือนกันอีก เมากำลังเมาอยู่แล้วมันยากที่จะมีความรู้สึกว่าตัวกำลังเมา แต่โอกาสมันก็มีเมื่อสร่างเมานี้มันก็พอที่จะมาปลงสังเวชในโทษของความเมา มันจึงจะเกิดการละ นี้ถ้าไอ้ความเห็นโทษอันนี้มันไม่พอ มันก็บังคับไว้ไม่ได้ มันก็ไม่ละ ก็ต้องสร้างธรรมะเครื่องมือให้มาก เพื่อที่จะรู้สึกเรื่องความเมา แล้วก็พยายามที่จะละความเมา
อุปกิเลสอันสุดท้ายเรียกว่า ปมาทะ นี่กิเลสชั้นนิสสัยเลย นี่ปมาทะแปลว่าความสะเพร่าะ ไม่แปลว่าความประมาทที่มีความหมายสูงกว่ามาก นี้แปลความสะเพร่า ในความหมายสามัญธรรมดา คือ การทำอะไรหวัดๆ สะเพร่า ความสะเพร่าะคือความไม่เอาจริง ความไม่เอาจริง คือ การไม่ให้ความสำคัญแก่สิ่งที่ตนทำ มีได้ง่ายที่สุด แล้วก็มีอยู่เป็นประจำวัน ไปดูให้ดีเถิด ทุกคนจะมีอยู่เป็นประจำวันแล้วก็ไม่รู้สึกตัว ถ้าตัวไม่ให้ความสำคัญแก่สิ่งที่ตนกำลังทำอย่างเต็มที่ ทำไปชุ่ยๆ ทำไปเล่นๆ ทำไปอย่างอวดดี นี่ก็เรียกว่าประมาท ความหมายคำว่าประมาทนี่ ยากที่จะแปลเป็นภาษาไทย เพราะว่าที่จริง นี้ถึงว่าแปลสะเพร่าก็หมายถึงประมาทชั้นธรรมดา ชั้นเลวๆ ต่ำๆ นี่ ถ้าประมาทเต็มความหมายก็ไม่รู้จะแปลว่าอะไร ควรจะแปลว่าประมาท แปลว่าประมาทไปตามเดิมตามภาษาบาลีดีกว่า อย่าไปแปล เพราะมันรวมความเลินเล่อ รวมความโง่ รวมความขี้เกียจ รวมความอะไรไว้ หลายๆ ความ หลายๆอย่าง แล้วก็เรียกชื่อเป็นคำเดียวว่าประมาท ประมาทนั่นแหล่ะเป็นการตัดหนทางที่จะไปนิพพาน ผมได้พยายามนึกค้นคิดมานานนักหนาแล้วว่า คำว่าประมาทนี้จะแปลเป็นภาษาไทยว่าอะไรดี แล้วไม่มอง ไม่พบ ไม่มองเห็น จนบัดนี้ก็ยังเห็นอยู่ว่า อย่าแปลดีกว่า เรียกว่าประมาทไปตามเดิม มันปราศจากสติ ปราศจากความรู้ และมีความเลินเล่อ มีความขี้เกียจไม่เอาจริง ในรวมเคล้ากันหมดแล้ว ก็เรียกว่าความประมาท ความประมาทนี้เป็นทางแห่งความตาย ปมาโท มัจจุโน ปทัง เป็นความ เป็นทางแห่งความตายโดยทางร่างกายก็ได้ ตายทางวิญญาณก็ได้ คนที่ประมาทแล้วก็มักจะถูกฆ่าตายนี้ ตายทางร่างกาย หรือว่ามันมีอะไรมาทำตายโดยไม่ต้องมีใครฆ่า มีอะไรตกทับตาย มีอะไรมาโดนก็ตายนี้ก็คนประมาทก็ตายทางร่างกาย ทีนี้ตายทางวิญญาณก็หมายความว่า ไม่รู้ธรรมะ ไม่มีความก้าวหน้า ในทางธรรมะ อวดดี ไม่มีอะไรดี นี่เรียกว่าตายทางวิญญาณ เนื่องมาจากความประมาททั้งนั้น มันเป็นความหมายที่กว้างที่สูงของคำว่าประมาท ส่วนที่เป็นชื่อทางนิสัยเลวๆคืออุปกิเลสนี้ หมายถึงความสะเพร่าพอแล้ว ไม่ให้ความสำคัญแก่สิ่งที่ตนกำลังกระทำก็พอแล้ว เรียกว่าประมาท ไม่ทำอะไรให้ดีที่สุด ให้สุดความสามารถ เห็นเป็นเรื่องไม่สำคัญ ทำ ทำ ทำหวัดๆ ตามความสะดวก มันก็เกิดนิสัยเลวอย่างนี้เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นมา ตามลำดับจนกระทั่งอายุมันมาก มันก็ยังมีนิสัยอย่างเดิมมาก ก็เลยทำอะไรไม่ได้กี่มากน้อย ทำอะไรให้ดี ให้จริง ให้สำเร็จประโยชน์ร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ แล้วการจะละความสะเพร่าอันลึกซึ้งนี่มันก็ต้องอาศัยความฉลาดอีกตามเคยเพราะมันเป็นความโง่ แต่เนื่องจากโทษมันไม่ร้ายแรง ฉะนั้นคนมันจึง จึงประมาทในทางที่จะไม่ค่อยเห็นว่าสำคัญหรือต้องละ หรือว่าต้องเพิ่มไอ้ ไอ้ความสำคัญให้มัน เพิ่มความสำคัญให้แก่ความสะเพร่า ให้เกิดความกลัว กลัวความสะเพร่าอย่างยิ่ง ที่จริงไอ้ความสะเพร่านี้เคยทำความเสียหายอย่างร้ายแรง อย่างถึงที่สุด ทีนี้มาถึงการที่ว่าเราจะพลิกร้ายให้กลายเป็นดีได้อย่างไร ไอ้เรื่องมานะ กิเลสชื่อมานะถือตัวนี่ มันถือตัวอย่างโง่ๆ ก็เปลี่ยนมาเป็นถือตัวอย่างดีๆ เสีย อย่างที่เรียกว่าสงวนตัว นับถือตัว เพราะว่านับถือตัวเอง เอ่อ เป็นคุณธรรมที่คนนิยมกันทั้งโลก ผู้ที่มีความเคารพนับถือตัวเอง คือเป็นคนที่น่าไว้ใจ เราก็เปลี่ยนไอ้ถือตัวโง่ๆ ถือตัวของกิเลสมาเป็นถือตัวชนิดที่เคารพนับถือตัว รวมความว่าให้มันมีอะไรดีอยู่ในตัวถึงเรียกว่าสงวนตัวไว้ในขอบของความดี แล้วก็อาศัยหลักธรรมะที่ว่า เอามานะนั้นแหละละมานะ คือมานะฝ่ายดีไปละมานะฝ่ายโง่ มานะฝ่ายฉลาด ฝ่ายที่บริสุทธิ์ คือ มีอะไรดีจนเคารพนับถือตัวเองได้ จนไหว้ตัวเองได้ ใช้คำว่านี้ เอามานะอันนี้เป็นมานะที่เป็นกุศล ไปละมานะเลวๆที่เป็นอกุศล ฉะนั้น มานะก็เลยกลายเป็นประโยชน์ เหมือนกับว่า หนามยอกเอาหนามบ่ง เวลาเดินไปที่ตรงนั้นถูกหนามตำ หักติดอยู่ข้างในเนื้อเจ็บมาก เราก็เลยตัดหนามของต้นไม้ต้นนั้นที่ระกะไปด้วยหนามมา ๒ อัน มาใช้เป็น ๒ อัน เออ รวมปลายกันเข้าแล้วใช้งัดบีบเข้ามา คือ หนาม ๒ อันนี้มาแทงข้างๆ ของหนามอันที่ฝังอยู่ในเนื้อแล้วงัดบีบขึ้นมา เขาเรียกว่า หนามยอกเอาหนามบ่ง ก็หนามชนิดเดียวกัน ถ้ามองดูอย่างเผินๆ แต่เดี๋ยวนี้มันไม่ใช่หนามชนิดเดียวกันซะแล้ว ไอ้หนามอันโน้นเป็นหนามสำหรับตำ มีหน้าที่สำหรับตำให้เจ็บ ส่วนไอ้หนาม ๒ อันนี้เป็นหนามสำหรับถอนหนามนั้นให้ขึ้น มันไม่ใช่หนามอย่างเดียวกันแล้ว ไอ้คำว่ามานะที่มีชื่อเหมือนๆกันนี้ ไอ้มานะอันแรก มันเหมือนกับหนามอันที่มันตำเนื้อ ทีนี้ไอ้มานะอันหลังนี่ก็หมายถึงไอ้หนามที่เราใช้งัดไอ้หนามอันนั้นขึ้นมาจากเนื้อ นี่คือความหมายของคำว่า ละมานะด้วยมานะ กลายเป็นของดีไปได้ รักษาให้มันมีดีขึ้นมาจริงๆจนไหว้ตัวเองได้ แล้วอันนั้นมันจะลดไอ้มานะโน่นไปหมด ระงับมานะเลวให้หมด
ที่นี้อติมานะ ที่ว่าดูถูกเขานี่ ดูถูกผู้อื่นนี้ มันก็มีทางที่ว่า เราจะระวังที่จะไม่มีอะไรดีกว่าคนอื่น มีจริง คิดดูถูกเขา มีเรามักจะมองเขาในในส่วนไม่ดี ส่วนเลว จึงเข้าใจว่าเราดีกว่าเขา แต่เรามักจะเอาเรานี่ไปเปรียบกับคนที่เลวกว่าเราซะเรื่อย เราไม่ ไม่ ไม่ชอบเอาเราไปเปรียบกับคนที่ดีกว่าเราจริงๆ เรามีนิสัยที่จะเอาเรานี่ไปเปรียบกับคนที่เลวกว่าซะเรื่อย ก็เกิดอาการชนิดที่ดูถูกผู้อื่นขึ้นมา เมื่อเราจะแก้มันก็ต้องมองไปผู้ที่ดีกว่าเราจริงๆ แต่ถ้าว่ามันมองไม่เห็น ก็พยายามหาแง่ใดแง่หนึ่งที่เขาดีกว่าเรา เพราะในบุคคลคนหนึ่งมันมีหลายแง่ หลายส่วน ส่วนที่เขาเลวกว่าเรา อย่าไปมองเขาสิ นี้ส่วนใดที่เขาดีกว่าเรา ก็ไปมองส่วนนั้น เพราะฉะนั้นไอ้เด็กเล็กๆนี่ บางทีมันมีอะไรบางส่วนที่ดีกว่าเรา แล้วมันก็แก้กันได้ ด้วยเหตุนี้ อย่าเข้าใจว่าเป็นพระแล้วจะดีกว่าเด็กๆ เสมอไป มันมีบางแง่ที่เด็กๆจะดีกว่าก็ได้ ระวังให้ดี นี่ก็ลองหาอุบายที่จะมองให้เห็นว่าคนอื่นมันดีกว่าเรา ในอะไรก็แง่หนึ่ง เราก็จะได้ลดไอ้การดูถูกผู้อื่นลงไปได้ จะเป็นการประพฤติธรรมะรอบด้าน
นี่สำหรับมทะนี่ มัวเมานี่ เมา เมา เมาเหล้า เมาหญิง เมาหยิ่ง เมายอ หรือว่าเมาสวรรค์นี้ อย่าไปเมาอย่างนั้น เพราะว่าเรามีนิสัยชอบเมา แต่เราก็เปลี่ยนไอ้ของที่จะเอามาเมาเสียก็แล้วกัน ก็คือกุศลนี่ อยู่ที่ว่ากุศลนั้นมันเมาได้เล็กน้อย ไม่ได้หมายความถึงบุญ ไอ้บุญนี่มันเมาแล้วมัน มันมีความหมายเป็นอย่างอื่นไปเลย ว่ากุศลนี่ถึงจะเมากันบ้างก็ไม่เปลี่ยนความหมายเป็นอันตรายอะไรขึ้นมาได้ คือความฉลาด ความถูกต้องหรือความฉลาด นี่เรียกว่ากุศล ก็คือว่ายึดมั่นในกุศล จะเรียกว่าเมาดีก็ได้ เมาความดีแล้วยังปลอดภัยอยู่นั่นแหล่ะ แล้วค่อยแก้ไขให้เป็นไม่เมาทีหลังได้
นี่ข้อสุดท้ายที่เรียกว่าปมาทะ ความสะเพร่า เราก็อย่าไปจู้จี้ พิถีพิถันกับกิเลส มันก็มีความระลึกได้ สะเพร่านี้คือเผลอไป อย่าไปเผลอกับกิเลส นี่ก็คือ อย่าไปปล่อยตัวกับกิเลส ถ้าเราชอบไปคลุกคลี พิถีพิถันกับกิเลส มันก็เกิดสะเพร่าเรื่อย เราเออ ไป ไปหาช่องให้กิเลส ไปเปิดโอกาสให้แก่กิเลส และด้วยความสมัครใจ โดยไม่รู้สึกตัวด้วยความสมัครใจนี่ พูดกันยาก แต่ว่าพอจะเข้าใจได้ เมื่อเรารักกิเลส เห็นแก่กิเลสมากกว่าธรรมะ มันก็เป็นโอกาสของความสะเพร่า ฉะนั้นอย่าไปทำพะนอกับกิเลส โอกาสที่กิเลสจะทำให้มีตัวก็มีน้อยเข้า นี้ว่าความสะเพร่าในทางที่จะไม่ให้เกิดกิเลส ไม่สะเพร่าในทางที่จะป้องกันกิเลส เป็นความหมายที่มองเห็นยาก ถ้าเราจะใช้คำหยาบๆ ง่ายๆ ก็ดูว่า ความทำอะไรชุ่ยๆ ทำอะไรหวัดๆ ชุ่ยๆ ก็อย่าไปทำอย่างนั้นกับกิเลส อย่าให้กิเลสได้โอกาสเพราะความทำอะไรชุ่ยๆ ของเรา ไอ้สิ่งเหล่านี้ก็เรียกว่านิสัยเลวที่จะต้องบริจาคออกไป เป็นกลุ่มสุดท้ายอีก ๔ ชนิด รวมกันเป็น ๔ กลุ่ม กลุ่มละ ๔ ชนิด เป็น ๑๖ ชนิด ดังที่ได้กล่าวมาแล้วแต่ครั้งก่อนๆ มีลำดับเป็นบัญชีหางว่าวอีกครั้งหนึ่งว่า อภิชฌา นิสัยเลวมักได้ , โทสะ นิสัยเลวโกรธร้าย, โกธะ ขี้โกรธ, อุปนาหะ จองเวร, มักขะ (...เงียบ นาทีที่27.00) ในการที่จะตอบแทนบุญคุณผู้มีบุญคุณ, ปลาสะ ตีเสมอ แข่งดี, อิสสา ก็ริษยา, มัจฉริยะ หวงสิ่งที่ไม่ควรหวง, มายา มารยา, สาเถยยะ ขี้อวด, ถัมภะ หัวดื้อ, สารัมภะ บิดพลิ้ว , มานะ ถือตัว, อติมานะ ดูถูกผู้อื่น, มทะ เมา, ปมาทะ สะเพร่า รวมกันแล้วเป็น ๑๖ อย่าง นี่เรียกว่า กิเลสโดยตรง อันเป็นเพียงนิสัยเลวที่เขาจะต้องเกิดขึ้นเป็นปกติธรรมดาสามัญของสัตว์ที่เติบโตขึ้นมาด้วยความไม่รู้ เลยแยกออกมาพวกหนึ่งเรียกว่าอุปกิเลส กิเลสที่เจ็บปวด เพราะมีเพียงนิสสัยเลวที่พึ่งก่อรูปขึ้นมา สร้างมา ขอให้อย่ามองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ขอให้ดูให้ดี ไม่เหมือนกับกิเลสที่ยังเต็มอยู่ บันดาลออกมาเมื่อใดก็ถึงขีดของความเสียหายร้ายแรงนัก นึกดูว่า อุปกิเลสมันร้ายเท่าไร แล้วมันก็บานเป็นกิเลส แล้วมันฝังแน่น จนแน่น แล้วก็ทำให้เกิดความทุกข์อย่างลึกซึ้ง ถึงเวลาก็สุดแท้ก็พอกันที
คำบรรยายทบทวนธรรมในวันนี้จะได้กล่าวถึง จาคะ คือสิ่งที่ควรสละออกไปเสียจากจิตใจ เป็นสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในจิตใจ ต่อไปจากที่ได้กล่าวแล้วในครั้งก่อนที่ยังไม่จบ สิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตน ที่ต้องสละออกไปจากตนเรียกว่าจาคะ ได้แก่ นิสัยเลวที่เพิ่งงอกงามขึ้นมา เราได้พูดถึง จริต ๖ และได้พูดถึง อุปกิเลส ๑๖ มาแล้วตามลำดับ ส่วนในวันนี้จะได้พูดถึงสิ่งที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุด คือ สิ่งที่เรียกว่า อบายมุข คำว่าอบายมุขเพ่งเล็งถึงฆราวาสมากกว่าบรรพชิต แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ใช่ว่าบรรพชิตจะไม่พึงสังวรเกี่ยวกับอบาย ก็ลองคิดดูสิ ผมก็มีอบายมุข คือ เกียจคร้านทำการงานอยู่บ่อยๆ น้ำเมา เที่ยวกลางคืน ดูการเล่น เล่นการพนัน คบคนชั่ว และ เกียจคร้านทำการงาน เดี๋ยวนี้ก็ยิ่งรู้สึกว่าเกียจคร้านมากขึ้น แม้ที่สุดกว่าจะตอบจดหมายของคนที่เขาส่งของมาให้ ก็ยังไม่ตอบ จะมีอะไรอีก นอกจากจะสารภาพว่า คือเกียจคร้านแล้วก็มีผลร้ายเกิดขึ้นพอดูเหมือนกัน ที่ทำให้เราละงานนี่เป็นความเสียหายพอดูเหมือนกัน คำว่าอบายมุข แปลว่าปากทางแห่งอบาย มุขแปลว่าปาก อบายมุข ปากทางแห่งอบาย อบายก็แปลว่าปราศจากความเจริญ ทีนี้พอเอาไปใช้ในความหมายลึกไปกว่านั้น เป็นอบายอย่างที่เรียกว่า นรก เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย นี่เรียกว่าอบาย มีความหมายไปไกลมาก แต่ถ้าเอาตามปกติก็เรียกว่า ภาวะปราศจากความเจริญ มุขปากทาง ทีนี้ของฆาราวาสพระพุทธเจ้าท่านตรัสระบุ เรื่องน้ำเมา เที่ยวกลางคืน ดูการเล่น เล่นการพนัน คบเพื่อนชั่ว แล้วก็เกียจคร้านทำการงาน สำหรับคำอบาย คำว่าอบายหมายถึง นรก เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย เป็นเรื่องที่เถียงกันว่ามีจริงหรือไม่มีอยู่จริง แต่ละโลกนั้น ..(นาทีที่ 32.51) ผมเห็นแก่การเสียเวลาที่จะเถียงกันว่า อบาย มีไม่มี เกิดว่าอบายนั้นมีแล้ว ซึ่งก็ต้องทบทวน เรียกกันว่าทวนธรรม ธรรมที่เคยพูดเคยฟังกันมาแล้ว จะต้องทบทวน นี่อบายที่นี่ เดี๋ยวนี้เห็นกันอยู่ จะไปพูดถึงอบายเมื่อตายแล้วทำไมกัน เสียเวลา ถ้าอย่าตกอบายชนิดนี้ที่นี่และเดี๋ยวนี้มันก็ไม่ตกอบายชนิดไหนหมด ต่อตายแล้วก็ไม่ตก ถ้าตกอบายชนิดนี้ที่นี่และเดี๋ยวนี้แล้ว มันก็ตกอบายทุกชนิดไม่ว่าต่อตายแล้วหรือว่าก่อนตาย ทีนี้ปัญหาที่เถียงกันว่าอบายมีหรือไม่มี นี้ควรจะเลิก ไม่จำเป็นจะต้องพูดถึงว่าอบายมีหรือไม่มีเพราะมันเห็นอยู่ชัดๆแล้วว่ามี ถ้าอยากจะทราบว่ามีอย่างไรก็ดูเอาจากที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสระบุว่าปากทางของมันนั้นคืออะไร ปากทาง ดื่มน้ำเมา ดื่มน้ำเมาแล้วผลอะไรเกิดขึ้น มันก็เป็นอบายอย่างใดอย่างหนึ่ง เที่ยวกลางคืนก็เหมือนกัน การเที่ยวกลางคืน ผลอะไรเกิดขึ้นมันก็คืออบาย เห็นอยู่ชัดๆ นี้ดูการเล่นเป็นเหมือนของเสพติด มันก็เป็นเหตุให้เกิดอบายเราก็เห็นกันอยู่ชัดๆ เล่นการพนันนี้เห็นได้ง่ายไม่พูดถึง คบคนชั่วมันก็ตกดิ่งลงไปในความชั่ว เป็นอบายที่เห็นอยู่ เกียจคร้านทำการงานมันก็มีความเดือนร้อนเกิดขึ้น โดยเฉพาะฆราวาส ทีนี้ไม่ต้องพูดแต่ฆราวาส พระเณรนี่ก็ยังมีเรื่องอบายมุข เรื่องดื่มน้ำเมาพระเณรไม่ได้ดื่มน้ำเมาเป็น แต่ว่าอาจจะมีอะไรที่ดื่มเข้าไปแล้วทำให้เสียสติสัมปชัญญะ สติสมประดี อันนี้ก็ต้องเรียกว่าน้ำเมาด้วยเหมือนกัน ขอทบทวนเรื่องศีลข้อ ๕ คือ เครื่องดื่ม เครื่องดม เครื่องลูบ เครื่องทา เครื่องอะไรก็ตาม เดี๋ยวนี้ก็มีการฉีดด้วย คือ ทำให้ศีลเสีย เห็นไปดีตามปกติแล้ว ก็เรียกว่าน้ำเมาในชีวิต ต้องระวังให้ดี จะไม่ดื่มเหล้าแล้วมันยังมีอะไรเหลืออยู่บ้างที่ดื่มหรือสูด หรือฉีด หรือทาแล้วมันทำให้สูญเสียสภาพปกติสมประดี ..(นาทีที่ 35.59) ถึงฆราวาสดื่มน้ำเมาโดยตรงแล้วก็มีเรื่องราวกิดขึ้นมากมาย ที่จะต้องพิจารณากันดูด้วยเหมือนกัน เที่ยวกลางคืน ฆราวาสเขาก็เที่ยวสถานที่อะไรตามต่างๆ ที่เป็นอบาย เป็นโทษเกิดขึ้นจนถึงเป็นอันตรายได้ในกลางค่ำกลางคืน ดึกๆ ดื่นๆ ตกหลุม ตกบ่อนี้ก็มี ผมเคยเห็นมานักหนาแล้ว พระนี่เที่ยวกลางคืน พอค่ำลงก็เที่ยวกุฏินั้น ค่ำลงก็ไปกุฏินี้ ไปสุมกันอยู่ที่กุฏิ พระเณรเขาเที่ยวกันอย่างนี้ ก็ไม่มีความหมายต่างจากฆราวาส ไปกุฏินี้กุฏินั้น ไปคุยในสิ่งที่ไม่ควรจะคุย บางทีก็ไปดื่มสิ่งที่ไม่ควรจะดื่ม สัมมะเรเฮฮา นี่เที่ยวกลางคืนของพระก็มีในวัดนี้เอง มันก็ต้องรวมไว้ในอบายมุขข้อเที่ยวกลางคืน ทีนี้ดูการเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล การเล่นนี่เขาแยกว่า เล่นที่ไม่เป็นข้าศึกแก่กุศล เช่น กีฬาบางชนิด ทีนี้การเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล ก็คือส่งเสริมราคะ ส่งเสริมกิเลสอย่างอื่น ทำให้เกิดอาการเหมือนกับเสพติด มันก็เลยเป็นผู้ย่อหย่อนในหน้าที่ ผู้หลงใหลในที่สุด พระเณรก็ต้องระวัง ถ้าเราจะไม่ไปดูหนังดูละครที่ตลาด ก็อาจจะมีอะไรเล่น เดี๋ยวนี้มีวิทยุ มีโทรทัศน์ กระทั่งในห้องนอน ก็ทำได้สนิทสนม กลายเป็นอบายมุขมีในกุฏิพระ ที่เล่นการพนันที่บ่อนเขาเปิดขึ้นสำหรับเล่นอย่างนั้นอย่างนี้ก็ดี ลอบเล่นกันก็ดี พระเณรที่ควบคุมกันไม่ดี ก็ไปเล่นการพนันทำนองเดียวกับฆราวาส นั่นมันก็เรียกว่าไม่ไหว แม้ในที่สุดจะเล่นพนันเอาไม้ขีดไฟกันอย่างนี้ก็ไม่เป็นการสมควร ที่พระมีเล่นกัน ก็เช่นว่าการพนันลอตเตอรี่ เลขท้ายลอตเตอรี่ อะไรทำนองนองนี้มีอยู่ทั่วๆไป ไม่อาจจะจัดเป็นการกุศลได้เหมือนการพนัน มันทำให้นิสัยมีผลอย่างเดียวกับการพนันอย่างอื่น นี่อบายมุข ของฆราวาสนี่มาครอบงำภิกษุสามเณรก็ได้ คบชั่วเป็นมิตร กว้างมาก กว้างขวางที่สุดเลย คบคนพาล อันธพาลเป็นมิตรแล้วก็ทำชั่วทำเลวด้วยกันนี่ ตามปกติมาอย่างนี้ กระทั่งคบกิเลส นี่ก็เรียกว่าคบคนชั่ว ชอบตามกิเลสคนนั้นก็เรียกคนคบคนชั่วเป็นมิตรด้วยเหมือนกัน
ที่นี้คำว่าคบคนชั่วเป็นมิตรนี่ก็ต้องมีการจำกัดความ บางทีมันมีความหมายอย่างอื่นที่ทำให้มาปนเปกันได้ กำกวมได้ อยู่ร่วมกับคนชั่ว นี่มันไม่ใช่อันเดียวกันกับการคบคนชั่วเป็นมิตร คบคนชั่วเป็นมิตร เล่นการพนัน เป็นคนชั่ว คบคนชั่วเป็นมิตร ทีนี้การเล่นกับคนชั่ว บางทีมันจำเป็นที่จะต้องมี ถ้าลูกหลานชั่วจะเอาไปไว้ที่ไหน เอาไปทิ้งที่ไหน มันก็ต้องอยู่ร่วมกัน (นาทีที่ 40:42)ความเป็นเกเร… ร่วมกันชั่ว บางทีก็เป็นสามีเป็นภรรยาด้วยซ้ำไป นี่ก็เพื่อแก้ไขมากกว่า ในวัดเราก็มีพระเณรที่เลว พระที่เลว จะยกไว้ที่ไหน ไปที่ไหน อยู่ที่วัดนี้ถึงศาสนา… (นาทีที่ 41:15:9) มันก็ทำไม่ลง มันก็ต้องอยู่ร่วมกันไป แก้ไขกันไป อย่างนี้มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ เอาหน้าไปซุกไว้ให้ใครๆเขาจะรับ ถ้าเขารู้ ถ้าไปหลอกเขา คนที่ไปหลอกเขาไม่ดี ก็จำเป็นที่จะต้องแก้ไขกันไป ใครที่ทำอะไรไม่น่าดู ก็ยังต้องแก้ไขกันไป ประพฤติไว้ที่ไหน มันก็ไม่ยุติธรรม อย่างนี้เรียกว่าอยู่ร่วมกับคนชั่ว ไม่ใช่มีการคบคนชั่วเป็นมิตร ที่เราจะไม่ยอมไปด้วยเป็นอันขาด ทำอย่างไรจึงจะแก้ไขให้เขากลายเป็นคนดี อย่างนี้ก็เรียกว่ามีทั่วๆ ไปหมด ที่บ้านที่เรือน ที่วัดที่วานี้ แม้แต่จะเลยไปอย่างที่เรียกว่าไม่เป็นพระเป็นเณรแล้วก็จะให้สึกออกไปถ้ามันยังไม่ถึงขนาดนั้นมันก็ต้องช่วยกันแก้ไขเหมือนกัน ที่เรียกว่าอยู่ร่วมกับคนชั่ว มันมีอยู่อย่างนี้ ต่างจากคบคนชั่วเป็นมิตร ผมหรือใครก็ตามก็จะต้องมีการอยู่ร่วมกับคนชั่ว และเป็นเรื่องที่น่าเศร้าแต่ว่ามันเป็นเรื่องที่หลีกไม่ได้ ถึงกระนั้นแล้วอบายมุข ที่เผลอก็อันตราย ทีนี้เกียจคร้านทำการงานมันก็เข้าใจได้ง่ายเกือบไม่ต้องอธิบาย