แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในวันนี้จะได้กล่าวถึง การละสิ่งที่ไม่ควรมีในตน เป็นอันดับต่อไปจากวันที่แล้วมา จะขอย้ำหรือว่า ซักซ้อมความเข้าใจอยู่เสมอว่า ละกิเลสหรือนิสัยเลวนี้ ในความหมายการให้ทาน นี้มันง่าย กว่าจะไปทำในรูปของวิปัสสนากรรมฐานเพื่อละกิเลส เหมือนที่เขาคุยโตกัน แล้วก็ล้มเหลว คุยโวกัน ลองลดมันลงมาในลักษณะที่เป็นเหมือนการให้ทาน ซึ่งมันเป็นของทำง่าย ซึ่งเข้าใจง่าย แล้วก็อาจจะทำได้ ทำกันในลักษณะที่เหมือนกับให้ทาน เสียสละออกไป และขอให้นึกไว้เสมอ เรามีหลักว่า อย่าไปทำของง่ายให้มันกลายเป็นของยาก นี่ขอให้เธอจำเอาไว้ทุกคน คนโง่ ในโลกมีมากให้ทำของง่ายให้กลายเป็นของยาก และก็บาปหนา พระเณรบางองค์บางคนดีกว่า ไปสอนพุทธศาสนาที่มันไม่ยาก ให้กลายเป็นของยากเข้าใจไม่ได้ ธรรมะไม่ได้ยากเกินไปถึงขนาดนั้น ก็ไปพูดให้มันยาก จนฟั่นฝือไปหมดเข้าใจไม่ได้ นี่ข้อปฏิบัติที่ควรปฏิบัติมันไม่มากถึงขนาดนั้น ก็ไปพูดให้จนรู้สึกว่ามันมากท่วมหู ท่วมหัว ท่วมตัว ท่วมจิตใจกันไม่รู้ว่าจะปฏิบัติกันอย่างไร นี่คนโง่ ทำของที่มันไม่ยากให้กลายเป็นของยากแท้ๆ ทำของที่มันไม่มากมายอะไรให้กลายเป็นมากมายจนทำไม่ไหวไปเสีย คอยสังเกตุดูให้ดีในข้อนี้ แล้วก็จะเข้าใจว่า เข้าใจได้ว่าทำไมผมจึงเอาไอ้เรื่องการละอุปกิเลสนี้มา จัดไว้ในฐานะที่เป็นการให้ทาน ในการปฏิบัติในขั้นต้นขั้นต่ำที่สุดคือการให้ทาน นี่ขอให้เข้าใจแล้วก็ฟังดูต่อไปว่าเราจะให้ทาน อุปกิเลสออกไปจากนิสัยสันดานของเราได้อย่างไรสืบไป จนในวันนี้ก็จะไปกล่าวถึง อุปกิเลสข้อถัดไปอีก
อุปกิเลสข้อถัดไปมีชื่อว่า มายา แปลเป็นภาษาไทยว่า มารยา ถ้าภาษาไทยนี่มักจะลากติดกันไปมารยาสาไถย ที่จริงมารยา กับสาไถย นี่ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แยกออกจากกันเป็น ๒ สิ่ง มารยา แปลว่า เจ้าเล่ห์ สาไถย แปลว่า ขี้โอ่ ขี้อวดขี้โอ่ มันคนละเรื่องอย่าเอาไปลากติดกันไป มารยาเป็นคนมีมารยามีเล่ห์กล คนที่ร่ำรวยด้วยเล่ห์กะเท่ คล้ายๆ เรียกว่าปากอย่างใจอย่างนั่นคือ มารยา มันมีมูลมาจากอวิชาความโลภ ความเห็นแก่ตัว มันจึงมีมารยาเพื่อจะเอาประโยชน์ โดยใช้มารยานั้นเป็นเครื่องมือ อย่างนี้เขาเรียกว่ามารยา คนมีอาการที่เรียกว่าไม่ตรงกัน ปากกับใจไม่ตรงกัน เรียกว่าปาก ใจ กับกริยาอาการไม่ตรงกัน เป็นมารยา ผมจึงเชื่อว่าไอ้มารยานี้มีมาแต่ในท้องมารดา ซึ่งถ้ามีมันสมองเฉียบแหลมหน่อย เด็กคนนี้พอมาประสบความสำเร็จ ด้วยการใช้เล่ห์กล หรือการหลอกลวงสักครั้งหนึ่ง มันเลยถือเอาเป็นของวิเศษ ใช้มารยาหรือเล่ห์กลนี้ จนกลายเป็นนิสัยเลวๆ ขึ้นมา ตามที่มันเติบโตขึ้นมา คนที่ไม่มีมารยา ก็คงจะเป็นเพราะว่าหัวสมองมันทึบ มันออกอุบายหรือเล่ห์กลไม่เป็น เราควรจะขอบใจความโง่ไว้บ้าง ความไม่ค่อยฉลาดไว้บ้าง มันทำให้ซื่อ ให้ซื่อตรง ความฉลาดนั้นเผลอนิดเดียวมันก็เป็นคด เป็นคนคดก็ไปเห็นแก่ประโยชน์ ประโยชน์ได้มาจากความคดมันก็เลยคดจนเป็นนิสัย คือเป็นมารยา ฉะนั้นถ้าใครชอบความฉลาด อยากตั้งตัวเป็นคนฉลาดแล้วระวังปีศาจร้ายตัวนี้เอาไว้มากๆ ที่จะใช้ความฉลาดนั้นน่ะ เข้ามาในลักษณะที่เป็นมารยา คือเป็นเล่ห์กล ไม่เท่าไรก็จะกลายเป็นคนคดโกงเพราะความฉลาด โดยทั่วไปเขาหมายอย่างนี้ ส่วนมารยาเล็กๆ น้อยๆ กระปิดกระปอยของพวกที่อ่อนแอนั้น มันเป็นเพียงแขนงน้อยๆ เป็นของแผงอยู่ ที่กล่าวไว้ในอุปกิเลสนี้ หมายถึงมารยาของผู้ชายไม่ใช่ผู้หญิง คนใช้เล่ห์กลในการเอาประโยชน์ของผู้อื่นมาเป็นของตัวได้ ในการใช้เล่ห์กล ก็จะเห็นไปว่าเราฉลาด ก็ฉลาดอย่างเป็นสุนัขจิ้งจอก ซึ่งไม่มีใครนับถือ แล้วก็ห่างไกลจากความเป็นพระเป็นเณร เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นคนเปิดเผย เป็นคนซื่อตรง ถ้ามองเห็นว่าเป็นสิ่งที่น่าละอายอย่างยิ่ง ท่านก็เริ่มละจากมันเอง ขอให้เพ่งดูในส่วนที่มันเป็นของต่ำทรามน่าละอายอย่างยิ่งไม่สมเกียรติของมนุษย์ ละอายมากขึ้นในการที่จะมีมารยา
นี่ข้อถัดไปที่เรียกว่า สาเถยยะ นิสัยชอบอวด ขี้โอ่ขี้อวด พูดตรงๆ ก็คือว่าอวดดี เป็นคนอวดดี ท่าทางอวดดี วาจาอวดดี อวดร่ำอวดดีจนไม่มีอะไรจะอวด ก็เอาไปอวดเสียหมดจนไม่มีอะไรจะเหลือเป็นความดี อันนี้มันก็ สัตว์ก็ทำเป็นสังเกตุดู ชอบอวดรูปร่าง อวดสวย อวดความสวยงาม อวดความไพเราะ แล้วคนก็ทำเก่งกว่าสัตว์ก็ตามเคย ความขี้โอ่ความขี้อวดนี้ก็มาจากความไม่เอา มาจากความโง่ เห็นเป็นของดีไป เห็นของไม่ดีเป็นของดีไป เราเรียกว่าความโง่ มันเสียหายมาก พอตอนหลังรวมมาเป็นนิสัยแล้ว มันก็คิดแต่จะอวด ก็เลยไม่มีโอกาสที่จะได้คิด เรื่องจริงหรือของจริงหรือหาความจริง มันเดือดพล่านไปในจิตใจเพียงแต่อยากอวด คนบางคนเขาสารภาพว่าถ้าไม่ได้พูดออกมาแล้วมันจะอกแตกตาย ฉะนั้นเลยต้องพูด พูดพล่ามไป นั่นแหละคือโทษ ของความอยากอวดหรือขี้อวด ยิ่งพูดเท่าไหร่มันก็ยิ่งโง่ลงหรือว่าเลวลงเท่านั้น ยิ่งนิ่งเท่าไหร่ก็ยิ่งลึกซื้งยิ่งฉลาด พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้นิ่ง ให้พูดแต่ที่จำเป็น คิดแล้วคิดอีก คิดแล้วคิดอีก อะไรจำเป็นจึงจะทนพูดออกไป ถ้าเราเอาสิ่งที่ไม่จำเป็นว่าต้องพูดนั้นมีมากมาย ไม่พูด เป็นอันว่าไอ้พูดอวดนี้ต้องมี มันไม่ใช่เรื่องทำให้คนเกลียด ไอ้คนเกลียดนี้ไม่เสียหายเท่าไหร่ แต่มันทำให้คนโง่มากขึ้น สะเพร่ามากขึ้น ประมาทมากขึ้น นี่อันนี้เสียหายมากขึ้น ถ้าขี้อวดจนคนอื่นเกลียดนี่ก็ไม่ใช่เล็กน้อยนะ ลองดูให้ดีๆ พระเณรองค์ไหนขี้อวดแล้วใครชอบบ้าง ไม่นินทาใส่หน้าก็นินทาลับหลัง ว่าพระเณรองค์นี้ขี้อวด ขี้โอ่ แล้วทำไมยังได้ ถ้านิ่งๆ เสีย เขายังนับถือ เกรงกลัว รักใคร่ พูดโวไปก็มี ยิ่งจะทำให้เขาเกลียดอีก เป็นบุคคลที่ไม่มีใครเชื่อ นั่นถือว่าเป็นกิเลส นี่เป็นนิสัยเลว พิจารณาโทษของมันแล้วก็หัดนิ่งกันเสีย ถ้าทำที่เรียกว่า น้ำนิ่งๆ นั่นน่ะมันไหลอยู่ลึก ๆถ้ามีคมมีความเฉลียวฉลาดก็ให้ซ่อนไว้เหมือนกับอยู่ในฝัก ซ่อนไว้ในฝัก อย่าดึงออกมาอวดเลย แต่แล้วก็ไม่ค่อยมีใครทำตามคำแนะนำนี้ ชอบอวด เพราะว่าเมื่อได้อวดอะไรออกไปมันเป็นสุขเวทนา เป็นธรรมารมณ์ ที่ให้สุขเวทนาแก่บุคคลนั้น เพราะฉะนั้นคนเราจึงชอบอวด ทั้งที่ว่าไม่มีอะไรดีจะอวด แต่ถ้าได้อวดแล้วมันจะสบายใจ มีสุขเวทนา นี่ก็น่าสงสาร ทั้งที่พูดไปก็ไม่มีใครจะเชื่ออยู่แล้วนี่ ก็ยังพูดอย่างนั้น เพราะว่าได้พูดอย่างนั้นแล้วมันสบายใจ เป็นสุขเวทนาของเขา เป็นนิสัยเลวที่เกิด มากขึ้นๆ มากขึ้น ทุกๆ เดือน ทุกๆ ปี แต่ถ้าว่ามาบวชในศาสนานี้ พระพุทธเจ้าท่านสั่งไว้ว่าให้เป็นคนพูดน้อย พูดแต่ที่จำเป็น ที่ว่าต้องพูด นี่จำไว้ด้วย
นี่ข้อถัดไปเรียกว่า ถัมภะ แปลว่า หัวดื้อ หรือหัวแข็ง ถัมภะ ที่นามธรรมแปลว่า กิเลส หัวดื้อ ที่เป็นชื่อวัตถุ แปลว่า เสา เสาเรือน เสาตลุง เสาอะไรก็ได้ มันหมายถึงมันแข็ง ใครลองไปทุบบนหัวเสาสิ มันย่นยาก หัวมันแข็ง เอามาเป็นชื่อของกิเลส หัวดื้อ หัวแข็ง พอดีกันเลย ถ้าหัวดื้อนี่ มันเป็นพลังงานอะไรชนิดหนึ่ง มันแรงมากนะ คอยสังเกตุ เด็กๆบางคนที่มันหัวดื้อ ดื้อมาแต่เล็กเลย ตีให้ตายมันก็ มันยอมตาย มันไม่ยอมสารภาพ หรือว่าไม่ยอมรับว่าอย่างนั้นอย่างนี้ตามที่เราต้องการ นี่มันยอมตายกับมัน หรือไม่ตายก็สลบไปเลย ตีกันจนสลบไปเลย มันก็ไม่ยอมรับ นี่แสดงว่ากำลังงานมันสูง ถ้าใช้ให้ถูกแล้วมีประโยชน์มาก ใช้ไม่ถูกมันก็เป็นเรื่องแหลกละเอียดไปเลยไม่มีประโยชน์อะไร หัวดื้อหัวแข็ง ทีนี้มันก็จะทำให้คนชังน้ำหน้า ไม่อยากจะพูดด้วย คนทั่วไปเขาถือว่าป่วยการที่ไปพูดกับคนบ้า คนดื้อ คนอย่างนี้ คนบ้าอย่าถือ คนดื้ออย่าสอน นี่เขาพูดกันมาอย่างนี้ คนนั้นก็เสียประโยชน์เอง เพราะถ้าว่าเป็นบิดามารดา เป็นอะไรที่มันจะเฉยอยู่ไม่ได้ ก็ต้องพยายามแก้ไขกันไปตามเรื่อง รวมความแล้ว หัวดื้อนี่ มันเป็นเครื่องปักหลักแก่คนนั้น ให้ติดอยู่ที่นั่น ไม่ก้าวหน้าไป นี่คำว่า หลัก หลักตอ ในวัฎฎะ หลักตอคือ กรรมฐานพระนี่เอง แล้วก็ในวัฎฎะ ในวัฎฎสงสาร คือการเวียนว่ายตาย คืนนิพพาน มันปักหลักซะ มันลงหลักโครมลงไป เลยไม่ยอมให้เปลี่ยนไปในทางดีขึ้น เพื่อไปนิพพาน นี่ก็หมายความว่าคนนั้นจะต้องอีกนานกว่าจะไปนิพพาน ให้มันตายเปล่า ถ้าหมายความว่าจะนิพพานในปัจจุบันทันตาเห็นนี้แล้ว มันก็เปล่า ตายเปล่า เพราะความหัวดื้อ ปักหลักตัวเองลงไปในวัฎฎสงสาร ไม่มีอะไรที่ดีขึ้น ในการเกิดตายครั้งหนึ่งๆๆ ไม่มีอะไรดีขึ้น เพราะมันปิดประตูทุกๆ ด้าน ไม่ยอมรับการแก้ไขของผู้ใด ก็เป็นกิเลสนิสัยเลวที่น่ากลัว อย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน
ที่นี้ก็มาถึง สารัมภะ ผมอยากจะแปลคำๆนี้ว่า บิดพลิ้ว เขาว่ากันอย่างอื่น ก็ไม่ได้เห็นว่าแปลเป็นอย่างอื่น ซึ่งแปลคล้าย ๆ กันกับ ตาราสะ คือตีเสมอ หรือแข่งดี ก็อยากจะแปลคำนี้ว่า บิดพลิ้ว คือมีข้อแก้ตัวมาก สะนี่แปลว่า ประกอบอยู่ด้วย อารัมภะคือพูด พูดแก้ตัว สารัมภะ แปลว่า ประกอบอยู่ด้วยข้อแก้ตัว คือบิดพลิ้ว ขอดูตัวเอง ดูทั่วไปทุกคนก็ได้ ร่ำรวยเป็นเศรษฐี ด้วยข้อแก้ตัว แม้แต่เด็กๆ มันก็ร่ำรวยด้วยข้อแก้ตัว มันไม่จน ไม่จำนน ต่อคำกล่าวหา มันต้องมีข้อแก้ตัว นั่นแหละคืออาการที่เรียกว่า บิดพลิ้ว ไม่มีบุคคลที่ ๒ มันก็บิดพลิ้วกับตัวเอง ถึงเวลาทำงานแล้วมันก็ยังไม่ได้ทำงาน ถึงเวลาควรจะตื่นนอนแล้วมันก็ยังไม่ตื่นนอน มันนอนบิดขี้เกียจ นี่มันเรื่องง่าย ๆ ต่ำๆ ที่มันบิดพลิ้วต่อความถูกต้อง หรือต่อหน้าที่ ที่นี้ที่มากออกไปที่มันเป็นปัญหาต่อทางสังคม ก็หมายความว่ามันบิดพลิ้วต่อการที่จะรับสารภาพ หรือยอมรับเอา ในสิ่งที่ถูกต้อง จนกลายเป็นเถลไถล เรียกว่าอะไรกัน จับไม่อยู่ เหมือนกับปลาไหลจับไม่อยู่ นิสัยนี้ท่านี้ก็ไม่เคยนบน้อม เป็นอุปสรรคของการบรรลุนิพพานด้วยเหมือนกัน ที่เราผลัดเพี้ยนต่อการงานเป็นหน้าที่ ที่ทำจนเหลวในที่สุดก็คืออันนี้ ไม่ต้องมีบุคคลที่ ๒ ตัวคนเดียวก็บิดพลิ้วไปตัวคนเดียว ความรู้สึกไฝ่สูงมันต้องการทำอย่างนี้ ความรู้สึกไฝ่ต่ำมันก็บิดพลิ้วเสีย เอาชนะไม่ได้ มันก็ไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้น ไม่ต้องมีบุคคลที่ ๒ มันก็มีกิเลส คือ สารัมภะ นี้ได้ นี่ถ้ามีบุคคลที่ ๒ ก็หมายความว่า มีการต่อปากต่อคำ เต็มไปด้วยข้อแก้ตัว ไม่ยอม ฉะนั้นเราพูดกันยาก สอนกันลำบาก ก็เพราะกิเลสชื่อนี้ นี่ถ้าเราจะละมัน ก็ให้ทานมันออกไปเสีย ก็คงจะยากบ้าง เพราะมันเคยชินเป็นนิสัย บิดพลิ้ว แล้วก็มีข้อที่หลอกลวงตัวเอง ให้เชื่อว่าตัวชนะทุกที ตัวเองได้ผลได้ประโยชน์ทุกที มันก็ไม่คิดที่จะยอมละนิสัยบิดพลิ้ว มันได้ถ้ามันฉลาดขึ้นมาเพียงพอกันมันจะกลัว กิเลสอันนี้ กลายเป็นคนซื่อตรง
เมื่อ เวลาเรามีนิสัยเลว หรืออุปกิเลส ที่ต้องให้ทานเอาไปเพิ่มขึ้นอีก ๔ ข้อ เป็นมายา เป็นเจ้าเล่ห์ ร่ำรวยได้เล่ห์กล สาไถย ขี้โอ่ ร่ำรวยด้วยน้ำลายสำหรับจะพ่น ถัมภะ หัวดื้อ ร่ำรวยด้วยกำลังต่อต้าน หัวแข็ง สารัมภะร่ำรวยด้วยเหตุผล สำหรับบิดพลิ้วแก้ตัว เป็นเศรษฐี ถึงคราวต้องสละแล้ว ละออกไปๆ ระบายออกไป รวมกันแล้วมันก็คือฉลาดขึ้น มองเห็นโทษของสิ่งเหล่านี้ แล้วก็สะดุ้งหวาดเสียวในการที่ทำลายตัวเอง นี่เป็นเรื่องของการบริจาคมันออกไป ส่วนเรื่องที่จะแก้ร้ายให้กลายเป็นดีก็ยังพอที่จะทำได้ กิเลสคือมารยา มารยานี้ ก็ไปใช้มารยาเล่นกลกับกิเลส มารยานี่เป็นกิเลส ก็ใช้กิเลสแก้กิเลส จะดีกว่า ถ้ากิเลสมันจะเกิดขึ้น หรือกิเลสมันจะบังคับให้ทำอะไรเลวๆ นี่ ก็จะมีมารยาที่จะเล่นกลกับกิเลส ไม่ให้กิเลสบังคับได้ ไม่ให้เกิดขึ้นมาได้ ใช้มารยาต่อกิเลส มันก็กลายเป็นน่าเลื่อมใสขึ้นมาทันที ถ้ามารยาใช้กับมนุษย์ด้วยกันมันก็เป็นคนน่าเกลียด เป็นคนเลว เป็นคนสกปรก ถ้าเราใช้มารยากับกิเลส เราก็เป็นคนน่าดู ถ้าใครมีปัญญา สำหรับเป็นเจ้ามารยาล่ะก็เอาไว้ใช้กับกิเลสดีกว่า เพราะแรงมันมากทีเดียว จะเล่นกลกับกิเลสทุกคราวไป ที่มันเกิดขึ้นได้ ที่มันเกิดขึ้นได้แล้วก็ เล่นกลให้มันกลับหัวตาย ละลายไปนะ ก็ได้มารยาชนิดนี้ กลายเป็น อุบายที่ดี เป็นกุศโลบายที่ดีไปแล้ว คล้ายๆ ว่าเป็นคน ขี้โอ่ขี้อวด เป็นสาไถย ก็เปลี่ยนมันให้มันเป็นอะไรที่มันจะดี แล้วจะอวด ก็เอาจริง ถ้าคุยโวอะไรออกไปแล้วก็ต้องทำให้ได้จริงตามนั้น ถือศีลเพิ่มขึ้นมาหน่อยว่า ถ้าเราพูดอะไรออกไปแล้ว คุยโตอะไรออกไปแล้ว ก็ต้องทำให้ได้จริงตามนั้น จนเขานับถือไอ้นี่มันพยายามที่จะให้เหมือนกับที่ปากมันคุย นี่แรงของสาไถย ก็กลายเป็นเครื่องกระตุ้น ให้มีความเจริญ นี่ถ้าเป็นหัวดื้อ ไม่ยอมแพ้ หัวดื้อ มันต้องดื้อต่อความบีบคั้นของกิเลส ให้มันกลายเป็นขันตีเสีย ทำกิเลสชื่อถัมภะ คือหัวดื้อ ให้กลายเป็นขันตี อติวาอะตะนะขันตี(ไม่แน่นาทีที่ 26:10) กูไม่ยอมแพ้มึงคือกิเลส ความบีบคั้นของกิเลส มันก็จะทำให้ไปทำอบายมุขอย่างใดอย่างหนึ่ง กูก็ดื้อไม่ทำ ให้กลายเป็นขันตี ปรับกิเลสหัวดื้อให้กลายเป็นอดทนไปเสีย อันสุดท้าย สารัมภะ บิดพริ้ว ใช้วิธีอย่างเดียวกับมารยา ก็บิดพริ้วต่อกิเลส ออกคำสั่ง ถ้าธรรมะคือว่าถูกต้อง ออกคำสั่งให้บิดพริ้ว เก็บความบิดพริ้วไว้ใช้กับคำสั่งของกิเลส แปลว่า ป้องกันไม่ให้กิเลสได้โอกาส นี่ก็เลยได้แรงงานความบิดพริ้ว มีกำลังมาก เอามาใช้ให้ถูกทางต่อสิ่งที่ควรบิดพริ้ว อย่าไปใช้กับสิ่งที่ไม่ควรบิดพริ้ว กิเลสที่เป็นนิสัยเลว ๔ ข้อ คือ มายา สาไถย ถัมภะ สารัมภะ เราจะให้ทานกันได้โดยวิธีอย่างนี้ ให้ทานตรงๆ สละออกไปโดยการบังคับ ให้ทานโดนอ้อมโดยเปลี่ยนกำลังของมันให้ไหลไปทางอื่นเสีย
ฉะนั้นเราเป็นผู้ที่ไม่ยอมให้สูญเสียกำลังงานใดๆ เลย กำลังงานที่มันจะไปในทางไม่ดี เปลี่ยนไปในทางดี กำลังของกิเลสก็เหมือนกัน มีอุปมาไว้ในคัมภีร์ เหมือนกับ ช้าง ที่บ้าน้ำมันกำลังของกิเลส ไอ้ช้างที่บ้าน้ำมัน นั้นมีแรงมากกว่าไอ้ช้างธรรมดาหลายเท่า มีแรงมากกว่าไอ้ช้างปกติหลายเท่า นี่เขาใช้ไอ้ช้างที่บ้าน้ำมันนี่ ให้ทำงานหนักได้หลายเท่า จริงๆก็ได้ผลงานด้วย แล้วช้างก็หมดน้ำมันด้วย นี่ก็เป็นผลดี นี่ก็ขอให้สนใจในสิ่งที่เรียกว่า Subrelation ให้มากๆ อย่าไปหัวชนฝา แก้ไขให้กลายเป็นสิ่งที่มีผลดี แล้วเวลาที่มันเผชิญหน้ากับเรา ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้มากมายถ้าดับกิเลส ไม่ว่าพูดกันเรื่องนี้ คุยกันเรื่องนี้ ศึกษากันเรื่องนี้ นี่เวลาของเราก็หมดลงสำหรับวันนี้