แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
หัวข้อว่าการสละสิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในตน นับเป็นทานชนิดที่ ๔ ตามลำดับที่ได้กล่าวมาแล้ว ขอให้ทบทวนถึงในทานที่กล่าวมาแล้ว ๓ อย่าง คือให้วัตถุสิ่งของ ให้อภัย แล้วก็ให้ธรรมทาน เหล่านี้มุ่งหมายว่าเป็นทานที่มีผู้รับ ที่ต่อไป ๓ อย่างนี้ไม่จำเป็นจะต้องมีผู้รับ ตรงนี้เราควรจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าทานหรือการให้กันเสียเลย
คำว่าทาน แปลว่า การให้ เป็นคำแทนชื่อ เรียกว่าเป็นจาคะ การสละ ถึงจาคะการสละรอบด้านอย่างนี้เป็นต้น ก็เรียกว่าการให้ คำเหล่านี้ใช้แทนกันได้ ทั้งไม่จำเป็นจะต้องเป็นการให้วัตถุเสมอไป ให้สิ่งที่ไม่ใช่วัตถุก็ได้ และก็ไม่จำเป็นที่จะต้องให้โดยมีผู้รับเสมอไป ไม่ต้องมีผู้รับก็ได้ อย่างคำว่าให้นี่ ในภาษาบาลีเป็นอย่างนี้ ซึ่งในภาษาไทยก็เป็นอย่างนี้ คิดดูให้ดี สังเกตดูให้ดี ในภาษาอื่น ๆ ซึ่งเป็นเครือเดียวกับภาษาบาลี สันสกฤต เป็นภาษาอารยัน อินโดอารยัน ก็มีความหมายอย่างนั้น เช่น ภาษาอังกฤษปัจจุบัน คำว่า Give ที่แปลว่าให้ ก็ไม่จำเป็นต้องให้สิ่งของเสมอไป ให้อะไรก็ได้ เช่น คำว่า Give up นี่แปลว่าเลิก เลิกกันที ก็ถือว่าให้อะไรได้หมดโดยไม่ต้องมีผู้รับก็ได้ ถือเป็นสิ่งที่จะต้องสังเกตกันไว้ให้ดี ๆ โดยมากจะพูดกันอยู่ในวงแคบ ที่เขาเยาะเย้ยกันว่าพูดกันอยู่แต่ในวง หรือในวัด เช่น คำว่าทาน ก็มีแต่การให้สิ่งของบริจาค หรือเน้นเป็นเงิน การให้สิ่งของบริจาค หรือเน้นเป็นเงิน โดยไม่คำนึงถึงอภัยทาน หรือธรรมทาน โดยไม่คำนึงถึงจาคะ สละสิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในใจ เช่น สละความเห็นแก่ตัว ความมีตัว กระทั่งสละหมดไม่เอาอะไรเลย นี่ก็เรียกว่ามันเป็นทานอยู่นั่นเอง เราเรียกว่าการสับปลับของภาษา หรือความกำกวมดิ้นได้ของภาษา ซึ่งจะต้องดูให้ดี ๆ แล้วจะได้ไม่ต้องเถียงกัน หรือไม่ต้องนินทากัน โดยมากพอคนเขาพูดอะไรไม่เขียน ไม่ตรงกับที่ตนเคยพูดแล้วก็ผิดแล้ว ก็เอาไปนินทาอย่างนั้น อย่างนี้ ทีนี้คำว่าจาคะ มันจะมี หมายถึง สละ ถึงสละสิ่งซึ่งไม่ควรจะมีอยู่ในใจนี้ มันเป็นนามธรรม ดังนั้นจึงเรียกกันเสียใหม่ว่าเป็นทานภายใน คือว่าไม่ต้องมีใครเป็นผู้รับก็ได้ ทำด้วยจิตด้วยใจในภายใน ทานข้างนอกให้สิ่งของ มีผู้รับ หรือมีการต่อปากต่อคำอะไรกัน ธรรมดาจะทราบว่า ถ้าคำว่าการสละสิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในใจนี้ มันมีที่มาที่ไหนกัน ที่เป็นหลักฐาน เรียกง่าย ๆ ว่า ในธรรมะหญ้าปากคอก ฆราวาสธรรม สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ สัจจะ ความจริงใจ ทมะ บังคับตัวเอง ขันติ อดทน จาคะ สละสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตน นี่มันมีที่มาอย่างนี้ บางคนจะแปลจาคะว่าเป็นการให้ทานไปเรื่อยอย่างนี้ มันไม่ถูก ไม่พอ มันแคบ สละสิ่งที่ไม่ควรจะมีในตน นี่มันก็กว้างเป็นได้หมด เพื่อเงินทรัพย์สมบัติส่วนเกินที่เราไม่ต้องเก็บ ไม่ต้องมีไว้ นี่ก็ ก็ถือว่าสิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในตนได้เหมือนกัน เงินมีไว้สำหรับที่เหลืออย่างนี้ก็สละออกไป ก็เรียกว่าเงินนั่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในตนได้เหมือนกัน จากทีนี้เราหมายเอาไอ้ความรู้สึก คิดนึก นิสัย สันดาน ความเคยชินอะไรต่าง ๆ ที่ว่านิสัยเลว ๆ นี่ ก็ต้องสละออกไปเสียจากตน เพราะฉะนั้นจาคะในที่นี้ ก็คือสละนิสัยเลว ๆ ออกไปเสียจากตน ในวิธีที่เราเรียกกันว่าแก้นิสัยก็ได้ ยิ่งจะเถียงกัน ถ้าในแง่หนึ่ง คือคนบางพวก เขาเถียงว่านี่ไม่ใช่ทาน นี่เป็นเรื่องศีล เป็นเรื่องสมาธิ อะไรก็แล้ว อย่างนี้เป็นทางจะพูด แต่ทีนี้เราไม่อยากจะให้มันมากเรื่อง ให้มันทำง่าย ๆ สำหรับชาวบ้าน ตาสี ตาสา ยายมี ยายมา บอกว่าเอาไอ้การสละนี่เป็นที่พึ่งกันเถอะ สละมาเรื่อย ๆ เป็นสละสิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในใจ นั่นมันก็ยังถูกต้อง ที่มันตรง มันง่ายต่อความรู้สึก สามัญสำนึกของคนทั่วไป ที่เราเรียกว่าให้ สละนิสัยเลว ๆ ออกไปเสียเถิด เช่นว่าสละการกินเหล้า ขี้เมาเสียที เขาก็จะเรียกว่าศีล แต่เราเรียกว่าการสละ สละนิสัยเกียจคร้านไปเสียที เขาก็จะเรียกว่าเป็นเรื่องบังคับจิต เป็นสมาธิ อะไรไปทางโน้น มันยังไกลไป มันยุ่งยากลำบากสำหรับคนธรรมดาสามัญ ก็เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นการสละในการให้ออกไปเสียเถิด นี่คือทานชนิดนี้ คือ การสละนิสัยเลว ๆ ออกไปเสียจากตน ไอ้ข้อที่ไม่มีผู้รับนั้นมันไม่เป็นไร ไม่จำเป็นจะต้องมีผู้รับ ก็เรียกว่าทานได้ เพราะมันเป็นการให้ เป็นการสลัดออกไปจากนิสัยสันดาน ทำอยู่คนเดียว เป็นภายในก็เรียกว่าทานได้เหมือนกัน ดังนั้นจึงเอามาเป็นทานชนิดที่ ๔ ต่อลำดับมาจากทาน ๓ อย่างข้างต้น ซึ่งถ้าพูดถึงนิสัยเลวท่านว่าได้แก่อะไร ไอ้นิสัยเลวนี่มันมีความหมายกว้างเหมือนกัน อย่างเช่น นิสัยส่วนลึก ไม่แสดงออกทางคำพูด หรือการกระทำนี่มันก็มี แต่นิสัยส่วนมาก มันแสดงออกมาทางคำพูด หรือทางการกระทำ นิสัยเลวส่วนลึกนี่ก็อยากจะเล่าไปยังไอ้สิ่งที่เรียกกันว่าอาสวะ เครื่องดองสันดานอะไรทำนองนี้ คือความเคยชิน ไม่มีตัวไม่มีตน เป็นแต่เพียงความเคยชิน พร้อมที่จะเป็นอย่างนั้น อย่างรวดเร็วและเสมอ ใครมีนิสัยอย่างไร มันก็พร้อมที่จะแสดงอาการอย่างนั้นออกมาอย่างรวดเร็ว และเสมอไป ทุก ๆ ครั้ง ทุกโอกาส นิสัยอวดดี เป็นอย่างไรบ้าง มันพร้อมที่จะแสดงการอวดดีออกมาทุกเมื่อ เห็นได้ง่าย ๆ มีทั่วไป เต็มเกลื่อนไปหมดแม้ที่วัดนี้ ที่นิสัยอย่างนี้จึงเรียกว่า มันเป็นความเคยชิน มันเป็นส่วนลึกอยู่ในภายใน บางทีมันก็ไม่แสดงออกมา บางทีมันก็แสดงออกมา ถ้าเป็นผู้มีมรรยาทดีมันก็ไม่แสดงออกมา มันข่มไว้ได้ มันละอาย ถ้ามันข่มไว้ไม่ได้ หรือมันมีอะไรแวดล้อมเป็นพิเศษ มันอดอยู่ไม่ได้ มันแสดงออกมา ที่เราเรียกว่าความเคยชิน เป็นนิสัย เป็นความอวดดี แต่ในเรื่องที่เกี่ยวกับอาสวะ ซึ่งจัดไว้ ๔ อย่าง ทั้งระบุไปยังด้านภพ ทิฐิ อนิจจา กล้าในความใคร่หรือในทางกาม เป็นนิสัยสันดานมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก ตั้งแต่เริ่มลืมตาขึ้นมาดูโลกนี้ ได้สัมผัสกับสิ่งที่เอร็ดอร่อยทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ไม่รู้จักคิดนึกเก็บไว้ในความจำอย่างนี้ กามาสวะ ความรู้สึกที่กล้าไปในทางกามนี่ก็เป็นสิ่งที่กินเป็นนิสัย ถ้าพูดเป็นโวหารสมมติภาษาคน บุคลาธิษฐานว่าเครื่องดองสันดาน ฟังดูแล้วมันก็เพื่อให้น่าเกลียด ให้น่ากลัว แต่มันเข้าใจผิดในทำนองที่ว่าเป็นของตายตัวอยู่ที่นั่น ที่จริงมันเป็นของที่เป็นความเคยชิน พร้อมที่จะเกิด เกิดทุกเมื่อที่มีโอกาส ดังนั้นเราจึงรู้สึกทำนองใกล้ ๆ ว่า มัน มันมีอยู่ที่นั่นแล้ว ตลอดกาล ตามหลักธรรมะจะมีสิ่งใดเป็นของที่ยังมีอยู่ที่ไหนอย่างไร ตลอดกาลนั้นเป็นไปไม่ได้ มันเป็นสัสสตทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิไป สังขารธรรมเหล่านี้มีเหตุ มีปัจจัยนั้นเกิดดับอยู่เสมอ แต่ความเคยชินในการเกิดนั้นมีมาก และเร็วเกินไป จนเราไม่รู้สึกว่ามันต้องเกิด ก็เลยรู้สึกในทำนองว่ามันเกิดอยู่ตลอดเวลา เรียกกันว่า อาสวะ หมักหมมอยู่ในสันดานเป็นความเคยชิน ที่กล้าในทางกามนี่ก็เข้าใจได้ง่าย เพราะมันเป็นของธรรมดาสามัญเกินไป ผู้ที่มีจิตใจธรรมดาสามัญก็จะต้องมีความรู้สึกอย่างนี้ เว้นไว้เลยก็ได้ แก้ไขอบรมนิสัย จนสละคำนี้ออกไปได้มันจึงจะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น แต่ก็ ไม่พ้นจากอันต่อไปที่เรียกว่า ภวาสวะ คือต้องการจะเป็นนั่น เป็นนี่ ถึงแม้ไม่เกี่ยวกับกาม ภวาสวะ คำว่าภพหรือภว นี่แปลว่าความเป็น ความมีอยู่ มีใจความสำคัญว่าไม่อยากตาย แล้วก็อยากเป็นนั่น เป็นนี่ กระทั่งอยากไปในทางตรงกันข้ามมันก็เป็นความอยากในลักษณะที่เรียกว่าเป็นเหมือนกัน เพราะว่าแน่ใจว่าอยากตายนั้นก็เป็นตัวตนที่มันอยากตาย ลำดับตัวตนไม่ได้ และนิสัยที่อยากเป็นนั่น เป็นนี่ ที่ไม่เกี่ยวกับกามนั้นก็มีอยู่โดยทั่ว ๆ ไป ขอให้ลองคิดดูให้ดี โดยเฉพาะนิสัยอวดดีนี่คือภวาสวะ ต้องการจะเป็นคนดีคนเด่น จึงอยากอวดดี อยากอวดดีมาแต่เด็กจนเป็นนิสัยจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ จนกระทั่งเข้าโลงก็อยากจะเป็นคนดีคนเด่น ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสิบ หลายร้อยชนิด ความดีความเด่นนี่ ถึงแม้อยากเป็นครูบาอาจารย์ นี่ก็เป็นความดี ความเด่น พอความรู้สึกอันนี้มันมีอยู่มันก็เป็นนิสัยเลว ๆ อันนี้เหมือนกัน
ทีนี้ถัดไปก็เรียกว่า ทิฏฐาสวะ มันชินในการที่จะยึดถือความคิด ความเห็น ของตัว ตัวมีความคิดเห็นอย่างไรที่สะสมมาแต่อ้อนแต่ออก ความคิดเห็นอันนั้นยากที่จะถอนได้ และตนก็อยากจะใช้อยากจะมีความคิดเห็นอันนั้นอยู่เรื่อย เป็นเหตุให้เกิดการหัวดื้อ หัวรั้น ไม่ฟังเหตุผล ไม่เห็นใจคนอื่น อะไรเหล่านี้ก็เพราะอาสวะอันนี้ เรียกว่า ทิฏฐาสวะ ความคิดเห็นซึ่งส่วนมากก็คือผิด ความเห็นผิดประจำสันดาน ที่เป็นส่วนใหญ่ก็เห็นว่าเที่ยง ว่าสุข ว่าอัตตาอย่างนี้ ที่โดยปลีกย่อยก็เห็นบางสิ่งแล้วสำหรับคนนั้นมันก็มีความคิดเห็นอย่างไร เกิด ตายแล้วเกิด หรือไม่เกิดอย่างนี้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้เปลี่ยนยาก ทีนี้ก็เรียกว่านิสัยเลว ทั้งละเอียด ทั้งลึก ทั้งที่เป็นอาสวะ
อย่างสุดท้ายก็เรียกว่าอวิชชา อันนี้ก็ต้องถือเป็นความกว้าง ๆ ความรู้ที่ไม่ถูกต้อง หรือความรู้ผิด หรือความรู้ที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะความรู้ที่เกี่ยวกับการดับทุกข์นี่มันไม่มี ภาวะที่ปราศจากความรู้อันนี้เราเรียกว่าอวิชชา ตั้งแต่เกิดมาเราไม่เคยมีความรู้เรื่องการดับทุกข์ เรารู้แต่จะหาความสุข ความเอร็ดอร่อย ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายนี่เป็นส่วนใหญ่ รู้ตลอดจะหามาได้อย่างไร จะรักษาไว้อย่างไร จะเพลิดเพลินกันอย่างไร ในความรู้ที่ว่ามานี้เป็นความทุกข์นี้ ควรแก้ไขไม่ให้มี เรียกได้ว่าเป็นการว่างหรือปราศจากความรู้ถูก จนเป็นนิสัย สันดาน ก็ถือว่าเป็นอาสวะอันหนึ่งด้วยเหมือนกัน มีความจริงแต่ในความรู้ที่ผิด ๆ คือไม่เป็นไปเพื่อดับทุกข์ อย่างความรู้ที่เป็นไปเพื่อดับทุกข์นั้นยังไม่มี หรือว่ามีน้อยจนเรียกว่ายังไม่มี เมื่อเรานึกดูถึงเรื่องอาสวะ ๔ ที่มีอยู่ในหลักสูตร ในหนังสือที่เราเรียนกันอยู่เป็นประจำ คนจะมองดูมันในฐานะที่ว่า เป็นนิสัยเลว อยู่ในสันดาน ที่ต้องพยายามละเข้าไปจากข้างนอกก็ได้ คือไม่ให้โอกาสแก่มัน ถ้าจะไปหวังว่าจะไปทำสมาธิ วิปัสสนากันเป็นการใหญ่เพื่อจะหมดสิ่งเหล่านี้นี่มันยังไกลนัก และมันคงจะตายเสียก่อน ทำสมาธิก็ยังทำไม่ได้ และจะไปทำวิปัสสนาอย่างไร อย่างนี้เป็นต้น ดังนั้นเอากันอย่างสามัญในสำนึกที่ตาสี ตาสา ตามี ตามา อะไรจะทำได้ก็ว่าละมัน มีเจตนาที่จะละมัน จะละนิสัยเลว ๆ นี่ เหมือนกับกินเหล้า กินของเมานี่ก็ละมันอย่างนี้ ก็ละมันเท่านั้นเอง นี่ก็ละนิสัยที่มันอวดดี ที่มันหลงใหลในความเอร็ดอร่อย อยากเป็นนั่นเป็นนี่ หัวแข็ง โง่ต่อเรื่องทางดับทุกข์ พยายามละทันที ละไปพลาง ที่นี่เดี๋ยวนี้ แต่ว่าในอาสวะ ๔ นี่เป็นเรื่องที่ใหญ่ที่ลึกเกินไปที่ไม่ต้องการจะพูดถึงโดยตรง เอาแต่ว่าสิ่งใดมันเป็นข้าศึกในทางจิตใจอยู่ชัด ๆ ประจำวันนี้ ละมันก็แล้วกัน ทีนี้ที่มันลึกอย่างนี้มันละยาก เราก็คอยจับที่มันออกมาให้เห็นทางกาย ทางวาจา ไปเรื่อย ว่าเป็นความประพฤติ ความประพฤติหรือบุคลิกลักษณะ อย่างที่พูดถึง เกณฑ์ ๖ ประการ ราคะจริต โทสจริต โมหะจริต วิตกจริต ศรัทธาจริต พุทธิจริต คำว่าจริตนี่มันจะออกมาเป็นความประพฤติ เห็นชัดด้วยตนเอง มันเกิดง่ายด้วยจับตัวที่จะละ เราก็ได้พูดกันมาแล้ว ทีนี้ว่าจะแก้ไขอย่างไร ไอ้ราคะจริตนี่มันเป็นเรื่องร้อนให้โทษ ทีนี้เปลี่ยนให้เป็นธรรมราคะเสีย เป็นธรรมอนันต์ธิเสีย (ไม่แน่ใจนาทีที่ 19:26) คือไปรักในนิพพาน มีความรักในนิพพาน ในความเย็นหรือความดับทุกข์ นั้นเหมือนกับไม่มีราคะในกามารมณ์ อาการอย่างนี้ มีความหมายพิเศษไปอีกหน่อยหนึ่ง คือมันยิ่งไปกว่าสละ สุดท้ายมันก็ต้องตั้งต้นจากการสละ อันนี้สละราคะจริตนี้ เท่าที่ทำได้ก็ข่มขี่มันได้ แล้วก็เปลี่ยนให้ไปเป็นธรรมะราคะ ที่ว่าเอาไอ้ร้ายนี่ไปทำให้กลายเป็นดี เป็น Sub-relate Sub-relation ไอ้กำลังที่มันจะใช้ไปบ้า ๆ บอ ๆ นี่ ส่วนการใช้เป็นเรื่องที่ดี ที่ถูก เพราะว่าถ้าไม่เปลี่ยนมันก็เป็นเรื่องทำความฉิบหาย แต่พอเปลี่ยนก็กลายเป็นเรื่องมีคุณมีประโยชน์ไป ทั้งยังมีทางที่จะแก้ร้ายให้กลายเป็นดี ด้วยกันทุกเรื่องทุกสิ่ง เพราะว่าไอ้ที่ร้ายนั้นมาด้วยกำลัง กำลังงาน กำลังแรงที่มันมีอยู่มาก และมันไปเข้ากันกับ ไปเป็นพวกกันกับความเห็นผิดความโลภ ความหลง มันก็ใช้กำลังนั้น ไปในทางที่ผิด ที่เป็นอันตราย และเป็นทางทุกข์ สิ่งที่แก้ไขความเห็นผิดนั้นเสีย และกำลังนั้นก็ถูกใช้ไปในทางที่จะดับทุกข์ ทั้งราคะในกามารมณ์ถูก Sub-relate ให้เป็นธรรมราคะไป เป็นราคะในนิพพานไป มันยิ่งกว่าให้หรือสละออกไป เพราะมันทำไม่ได้ในบางกรณีก็กลายเป็นเปลี่ยน ทีนี้ว่าน้ำมันจะท่วมให้ตายกันหมดนี่ ก็เอาไปทำกระแสไฟฟ้าใช้เสีย มันก็ไม่ท่วม ก็กลายเป็นประโยชน์ ทีนี้กำลังของราคะอย่างนี้ แทนที่จะให้มันเป็นในทางกามารมณ์ ทางเนื้อหนังอย่างนั้น ก็เปลี่ยนให้กลายเป็นเรื่องของความดับทุกข์ไป โดยวิธีที่มันเรียกว่าฉลาดมาก
ทีนี้โทสะ ก็เปลี่ยนให้เป็นมุติทา เหมือนกับว่าไอ้เด็กคนนี้มันมีโมโหโทโสเอาแต่ตีรันฟันแทง ชกต่อย ก็ให้มันเปลี่ยนไปชก ไปต่อย ไปตีรันฟันแทงกับคนที่เป็นข้าศึกศัตรู อย่าไปทำคนที่ปรกติธรรมดา อย่างนี้มันจะดีกว่า แล้วศัตรูที่แท้จริงนั้นมันคือกิเลส ทั้งตัวเองก็หันมาเล่นงานกิเลสของตัวเอง ก็กำลังโมโหโทโสอะไรก็ตาม เอามาใช้สำหรับที่จะเล่นงานกิเลสหรือศัตรู ที่มันเป็นการสละสิ่งที่เรียกว่าโทสะไปได้ และได้กำไรที่กลายเป็นอยู่ในรูปของมุติทา เบื่อหน่ายต่อการที่จะไปหลงรักในเรื่องที่เคยหลงรัก มุติทาคืออาการของโทสะชนิดหนึ่ง จะอึดอัดรำคาญต่อสิ่งที่ไม่ชอบ นี่เป็นเรื่องที่ว่า เป็นตัวอย่างที่เราจะสละมันออกไปโดยวิธี Sub-relation กลายเป็นการลงทุน แล้วก็ได้กำไรมากขึ้นไปอีก การสละนิสัยเลว มันกลายเป็นได้นิสัยดีมาแทน มันไม่ได้หมดไปเฉย ๆ มันมีสิ่งที่ดีเกิดขึ้นมาแทน เราควรจะมีหลักการอย่างนี้
ทีนี้ไอ้ที่มันใกล้ชิดที่สุด ก็คือ หมวดธรรมที่เป็นที่มาของคำว่าจาคะนี้ ที่เคยพูดมาหลายครั้ง หรือหลายสิบครั้งแล้วว่าให้ทุกคนถือว่าเป็นเครื่องมือสำหรับทำความสำเร็จ ในการทำการงานก็ตาม ในการปฏิบัติธรรมก็ตาม ง่ายสุดในการที่จะละอะไรสักอย่างหนึ่ง ละหมาก ละบุหรี่ ละไอ้ของมึนเมา ละนิสัยเลว ๆ อะไรต่ออะไรสุดแท้ต่ำช้าอะไร ธรรมะ ๔ หัวข้อนี้ให้ครบถ้วน มันจึงจะละได้ ฟังดูให้ดีกำลังพูดว่า ถ้าจะละนิสัยเลว ๆ นี่ต้องมีธรรมะ ๔ หัวข้อนี้ให้ครบถ้วนมันจึงจะละได้ คือมี สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เป็นเครื่องมือละนิสัยเลว ๆ สัจจะ แปลว่าความจริง หมายถึงจริงใจ ต้องมีกำลังใจ ถึงขนาดที่ว่ามีความจริงใจที่จะละ แล้วก็มีธรรมะไปบังคับให้ละ บังคับจิตใจ บังคับความรู้สึกให้มันละตามความที่ตั้งใจไว้ เพราะการละนี่มันคือการต่อสู้กับกิเลส มันเจ็บปวดมาก เพราะมันต้องทน ต้องมีขันติ จะทนต่อความบีบคั้นของกิเลส ทีนี้เพื่อไม่ให้ต้องทนจนทนไม่ไหวนี่ ไม่ให้ทนมากเกินไปจนทนไม่ไหว ก็มีจาคะนี่เพิ่มขึ้นมาอีกอันหนึ่ง คิดเสียให้ดี คือสิ่งใดที่มันจะเป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ แก่การบังคับตัวเอง แก่ความอดทนแล้ว สิ่งนั้นต้องสละออกไปหมด ส่วนนี้เรียกว่าจาคะปลีกย่อย เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของธรรมะ ๔ อย่างนี้ ทีนี้ต้องมีครบทั้ง ๔ อย่างนี้จึงจะเป็นจาคะโดยสมบูรณ์ โดยที่ว่าเราตั้งใจไว้ว่าจะละอะไร อย่างคนหนุ่ม ๆ มีนิสัยเลวไปเที่ยวกลางคืน ไปดูหนัง ไปเที่ยว ไปเกเรในที่ที่ไม่ควรจะไป แล้วจะติดเป็นนิสัย มันก็ละยาก ฉะนั้นต้องตั้งพิธีละนิสัยเลว ๆ นี้ โดยอาศัยเครื่องมือที่กล่าวมาแล้ว 4 อย่าง ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านเรียกว่าฆราวาสธรรมนี้ เป็นธรรมอันประเสริฐที่สุดสำหรับฆราวาส ตั้งสัจจะว่าจะไม่ไปเที่ยวกลางคืน จะไม่ออกจากบ้านนี้ ก็ต้องจริงมาตั้งแต่ตั้งสัจจะ ธรรมะไปบังคับไว้ด้วยให้มันจริงตามนั้น ที่จะมีอดทนต่อการบีบคั้นของกิเลสที่มันอยากจะไปก็ต้องทน ทนอย่างน้ำตาไหลก็ต้องทนได้ เรียกว่า ขันติ ทีนี้จะหาอะไรมาแก้ แก้เก้อ ที่เรียกว่าจาคะนี่ หาอะไรมาทำแทนเสีย แทนการที่ออกไปจากบ้าน ไปเที่ยวกลางคืนนั้นเอาอะไรมาทำแทนเสีย เอาวัตถุสิ่งของหรือเอาหนังสือ หนังหาหรือเอาอะไรที่มันพอจะช่วยกลบเกลื่อนไปได้นี่เอามาทำ ช่วยกลบเกลื่อนไปได้นี่เอามาทำแทน มาดู มาอ่าน มาอะไรเสีย มันก็รักษาไว้ได้ ทั้ง ๔ อย่างนี่ ไม่เท่าไรเราก็ค่อย ๆ ละนิสัยที่ไปเที่ยวกลางคืน นิสัยเลว ๆ นี้ไปได้
ทั้งนี้โดยสรุปว่าไอ้นิสัยเลว ๆ สันดานหยาบต่ำ ๆ นี่ใช้หลักธรรมะ ๔ ประการนี้ ที่เรียกว่า ฆราวาสธรรมนี้ ก็มีจาคะนั้นรวมอยู่ด้วย เป็นเครื่องมือสำหรับละ ทีนี้นิสัยเลวที่ละเอียดที่สุขุมยิ่ง ๆ ขึ้นไปเป็นอาสวะ เป็นอะไรอย่างนั้นก็ยังใช้หลักอย่างนี้ได้ เป็นเครื่องปะทะ ปะทังไว้ในภายนอก เป็นส่วนภายนอกที่มันจะไปทำกันทางกาย ทางวาจา ส่วนทางใจนั้นก็ต้องทำไอ้ที่มันลึกขึ้นไปถึงไอ้ที่เรียกว่า วิปัสสนา หรือการพินิจพิจารณาอย่างลึกซึ้งอยู่เสมอ พร้อมกันภายนอกนี่ก็มีการควบคุมดูแลที่ดี ไม่เท่าไรมันก็จะกร่อนไปเหมือนกัน ส่วนอาสวะที่เรียกว่าฝังแน่นอยู่ในนิสัยสันดานนี่มันค่อยจาง ค่อยกร่อน ค่อย ค่อย ๆ เปลี่ยนไปเหมือนกันเป็นระยะยาว นิสัยเลว ๆ มันก็อย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ มันก็ละได้เร็ว ไอ้ที่มันเลวอยู่ในสันดานมนุษย์นั้นมันก็ต้องช้าหน่อย ถ้าเรามีความตั้งใจมั่นคง มันก็ต้องสำเร็จลงไปในวันหนึ่ง ทีนี้เรื่องการให้ทานชนิดที่ ๔ คือสละสิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในใจนี้ โดยสรุปสั้น ๆ ก็แนะเครื่องมือคือ ฆราวาสธรรมเป็นหลัก สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ มีความจริงใจ บังคับตัวเองให้ทำตามนั้น และก็อดทนอยู่ในความบีบคั้น และก็สละสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อความจริงใจอยู่เสมอไป ส่วนจาคะนี่ ก็คือทานชนิดที่ ๔ จะยกให้เป็นว่าผมว่าเอาเองบ้า ๆ บอ ๆ ตามชอบใจก็ตามใจ ก็ได้เหมือนกัน กระผมมองเห็นในลักษณะที่เป็นจาคะ เป็นการบริจาค เป็นการสละออกไป แม้คนอื่นเขาจะไม่เรียกมันว่าการให้ทาน วันนี้ก็พอกันทีสำหรับเวลาที่กำหนดไว้