แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ธรรมปาติโมกข์ของเรา เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ตัวกู-ของกู โดยตลอดไป ดังที่ทราบกันอยู่แล้ววันนี้จะพูดกันโดยหัวข้อว่าความสุขเป็นสิ่งที่เนื่องอยู่กับตัวกูและของกู ที่แล้ว ๆ มาเราไม่ค่อยได้พูด หรือไม่ได้เอ่ยถึงสิ่งที่เรียกว่าความสุข เดี๋ยวนี้เราอยากจะพูดกันถึงสิ่งที่เรียกว่าความสุขให้เป็นที่เข้าใจคือปรับลงกันได้ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ ตัวกู-ของกู ว่ามันมีอยู่อย่างไร เดี๋ยวจะเข้าใจไปว่ามันเป็นเรื่องไม่เกี่ยวกับความสุข หัวข้อที่ว่าความสุขเป็นสิ่งที่เกี่ยวกันอยู่กับ ตัวกู-ของกู นี้มันมีความหมายได้ ๒ ทางหรือ ๒ แพร่ง พูดโดยเจาะจงลงไปเลยก็ว่าไอ้ความสุขชนิดที่เป็นของ ตัวกู-ของกู คือมันเกิดมาจากความรู้สึกที่เป็น ตัวกู-ของกู นี้อย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งก็คือความสุขที่มันเกิดมาจากการที่มันว่างไม่มี ตัวกู-ของกู ผู้ที่เข้าใจเรื่องนี้ดีโดยได้ฟังมามากแล้วเข้าใจดีแล้วเขาจะเฉลียวใจได้ทันทีว่าผมจะพูดว่าความสุขเกี่ยวกับ ตัวกู-ของกู คือความสุก “ก” สะกด ที่พูดกันอยู่เสมอสุกร้อน ทีนี้สุขที่ไม่เกี่ยวกับ ตัวกู-ของกู มันก็ตรงกันข้าม คือสุขเย็น เดี๋ยวนี้ปัญหามันมีอยู่ว่าคนทั่วไปรู้จักแต่เรื่องสุกร้อนคือสุกที่ได้ตามใจ ตัวกู-ของกู และก็ไม่รู้สึกว่ามันเป็นสุกร้อน และยิ่งไปกว่านั้นอีกก็คือต้องการแต่ไอ้สุกชนิดนี้ ไม่ต้องการความสุขที่ตรงกันข้าม และไม่เชื่อว่าไอ้ที่ตรงกันข้ามนั้นจะเป็นความสุข ทีนี้ปัญหาใหญ่ที่ประสพมา และกำลังประสพอยู่เดี๋ยวนี้ในการสอนธรรมะ หรืออธิบายธรรมะ คุณก็เหมือนกันถ้าจะไปพูดเรื่องธรรมะให้คนอื่นฟังตามความสามารถมันก็มีปัญหาอย่างนี้ที่มันซ่อนลึกอยู่ภายใต้ คือคนเขาไม่รู้จักไอ้ความสุขชนิดที่ไม่เกี่ยวกับ ตัวกู-ของกู เขาจะเอาแต่ความสุขที่เกี่ยวกับ ตัวกู-ของกู
ฉะนั้นจึงฟังเรื่องจิตว่าง หรือว่าเรื่องไม่ยึดมั่นถือมั่น หรือไอ้เรื่องเหล่านี้ไม่ออกฟังไม่ออก แม้คำสอนของคริสเตียนที่ว่ามีทรัพย์สมบัติ, ก็จงเหมือนกับไม่มีทรัพย์สมบัติ, มีภรรยา, ก็จงเหมือนไม่มีภรรยา อย่างนี้เขาฟังไม่ออกพวกคริสเตียนเองส่วนใหญ่เขาฟังไม่ออก พวกเราไปฟังเข้าก็ไม่ออก เพราะเรามันคิด หรือว่าอะไรมุ่งไปแต่ในทางไอ้ความสุขชนิดที่เป็น ตัวกู-ของกู ทั้งนั้น ฉะนั้นคงจะลำบากมากในการที่จะไปพูดให้ญาติโยม, เพื่อนฝูงฟังเรื่องเกี่ยวกับความว่าง หรือความไม่ยึดมั่นถือมั่น ทีนี้พอเราจะพูดกันถึงความสุขกันบ้างเขาก็รู้จักแต่ความสุขชนิดที่มันเกี่ยวกับ ตัวกู-ของกู คือสุขที่ควรจะสะกดด้วยตัว ก เป็นสุก “ก” สะกด แต่ว่าเขาไม่รู้จักเขาก็ต้องถือว่านี่คือความสุข และใคร ๆ ก็เรียกว่าความสุข ตามหลักธรรมะในคัมภีร์ก็เรียกว่าความสุข สุข “ข” สะกด แต่ให้คำอธิบายไว้อย่างอื่นให้คำจำกัดความไว้อย่างอื่น คือสุขที่เป็นเวทนา, สุขที่มีอามิส, มีเหยื่อ, เป็นเหยื่อนี้ เป็นต้น ไม่ใช่สุขที่แท้จริงตามหลักทั่วไปก็ถือว่าสุขมี ๒ ชนิด คือสุขที่ต้องมีเหยื่อ และสุขที่ไม่ต้องมีเหยื่อ เรียกว่า อามิสสุข “ข” สะกด แต่ให้คำอธิบายไว้อย่างนี้ให้คำ, สุขที่มีเวทนา, สุขที่เป็นเหยื่อ, ไม่ใช่สุขที่แท้จริง ตามหลักทั่วไปก็ถือว่าสุขมี ๒ ชนิดคือสุขที่มีเหยื่อ และสุขที่ไม่ต้องมีเหยื่อ อามิสสุข, นิรามิสสุข เป็น ๒ อย่างกันอยู่อย่างนี้ มันก็ยังฟังยากอยู่ดี ทีนี้เรามันพูดกันถึงเรื่องของ ตัวกู-ของกู มาเรื่อยจนเข้าใจเรื่องนี้เป็นส่วนใหญ่ ก็เลยถือโอกาสที่จะวางหลักลงไปว่าสุขที่เกี่ยวกับ ตัวกู-ของกู และสุขที่มันไม่เกี่ยวกันกับ ตัวกู-ของกู สำหรับความสุขที่เกี่ยวกับ ตัวกู-ของกู นั้นมันก็พอจะเข้าใจกันได้ พอพูดขึ้นก็หมายความว่าได้อย่างใจต้องการคือใจที่ประกอบอยู่ด้วยกิเลส, ประกอบอยู่ด้วย ตัวกู-ของกู นั้น มันต้องการอย่างไร, มันก็ได้อย่างนั้นแล้วมันก็ถือว่าเป็นสุข, ก็ถือว่าเป็นสุข ก็เลยไม่ต้องรู้กันว่าไอ้ที่ไม่ต้องได้อย่างนั้น หรือได้เหมือนกับไม่ได้นี่มันยังมีอยู่และเป็นสุขกว่า ดังนั้นเขาจึงได้แต่สุขชนิดที่เรียกว่ามีเหยื่อที่ผูกพันไว้ให้จิตเป็นอยู่กับความทุกข์หรือความร้อน ไอ้สุขที่เรียกว่าสุกเลยกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความทุกข์ไป เพราะว่าไปรัก, ไปพอใจ, ไปยึดมั่นถือมั่นเข้าในความสุกนัก มันก็เลยกลายเป็นความร้อนขึ้นมา เป็นความทุกข์ขึ้นมาจากความสุข(สุก)นั่นเอง