แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
การบรรยายทบทวนธรรมในวันนี้จะว่าด้วยเรื่องการให้ทาน นิทานการให้ ว่าที่จะทบทวนเมื่อตะกี้ ครั้งที่ ๑ ที่พูดด้วยเรื่องศรัทธา มีใจความสำคัญในตอนนั้นว่าเราจะมีความเชื่อ ในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ ทีนี้การที่จะได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้นั้นเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติไปตามลำดับ นับตั้งแต่ การบำเพ็ญทาน การรักษาศีล การเจริญสมาธิ การเจริญปัญญา เป็นลำดับๆ ไป จึงจะได้สิ่งที่ดีที่สุด ที่มนุษย์ควรจะได้ นี่เรื่องทานก็เป็นเรื่องแรกของการปฏิบัติเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้
ดังนี้ในวันนี้ สิ่งที่พูดกันถึงเรื่องทาน คำพูดคำนี้แปลว่าการให้หรือการบริจาคออกไป มีความหมายกว้างขวางมากเหมือนกันนะ แต่ว่าคนทั่วไปมักจะพูดถึงเรื่องนี้เพียงแต่การให้สิ่งของ ให้วัตถุสิ่งของที่เรียกว่าการทำบุญทำทาน นั่นไม่เป็นบุญ คือไม่ครบถ้วน เมื่อเราตามความหมายของคำๆนี้ ถ้าจะให้สมบูรณ์ก็ต้องถือหลักว่า หมายถึงการให้ทุกชนิดที่เป็นการให้อะไรก็ได้ เป็นการบริจาคออกไป แล้วก็แล้วกันเรียกว่าการให้ในที่นี้ ก็มีมากชนิด อย่างน้อยเท่าที่นึกได้ เท่าที่จะเอามาพูดให้ฟังก็มีสัก ๖ ชนิด ชนิดที่หนึ่งก็คือ การให้วัตถุสิ่งของตามธรรมดาที่ให้กันอยู่ทั่วๆ ไปเรียกว่าทาน การให้ ชนิดที่สอง ให้อภัย ให้ความไม่มีเวร ไม่มีภัย ให้การอดโทษ เรียกว่าให้ เรียกว่าทานเหมือนกัน เรียกว่าอภัยทาน นี้ ชนิดที่สาม ให้แสงสว่างทางจิตทางวิญญาณ คือ ให้ธรรมะ ที่เรียกกันว่า ธรรมทาน นี่อย่างที่สี่ ให้สิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในตัว คือ สละ สิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในตน คำๆ นี้มักจะใช้คำว่า จาคะ แทนคำว่าทาน แล้วก็ห้า ให้ตัวตนไปเลยหมายความว่าไม่สงวนเอาไว้ที่เป็นตัวกู ของกู ให้ออกไป อันที่หกนี่อยากจะพูดให้เหลือๆ ไว้คือให้หมด คือให้ธรรมทั้งปวง ให้ธรรมทั้งปวงแล้วธรรมทั้งปวงจะไม่ถูกยึดมั่นถือมั่นไว้เอาไว้ โดยการเป็นตัวตนหรือเป็นของตน แม้แต่มรรคผลนิพพานก็จะไม่ถูกถือว่าเป็นของตน ก็ถือว่าให้ทั้งหมด ให้ธรรมทั้งปวง
ทีนี้ก็จะเห็นความแตกต่างกันระหว่างหกอย่างนี้ ๓ อย่างแรกเป็นของธรรมดาผลได้ง่าย เข้าใจได้ง่าย นี่เรียกว่าโดยตรง คือให้วัตถุสิ่งของ ให้ความไม่มีเวรมีภัย แล้วก็ให้ทางธรรม ส่วน ๓ อย่างหลังนั่น มันเป็นโดยปริยาย ถ้าโดยตรงก็โดยตรงของผู้มีสติปัญญา คนธรรมดาสามัญไม่มองว่านี่เป็นการให้ทาน ที่ให้อิ่มที่ให้เติมเต็มอยู่ในจิตใจ แล้วก็ให้ตัวกู ของกู ออกไปเสีย ก็ให้หมดเลย ไม่เอาอะไรไว้เลยแม้แต่นิพพานที่ถือกันว่าเป็นจุดหมายปลายทางเพื่อเราต้องการจะได้ เมื่อคำว่าให้ เมื่ออคำว่าบริจาค เมื่ออคำว่าเสียสละ มันมีอยู่กว้างขวางอย่างนี้
ที่นี่ที่พูดถึงกันตามธรรมดาสามัญว่า ทาน ทาน นี่ก็จะหมายถึง ๓ อย่างนี่เป็นอย่างมาก ก็ถือว่าเป็นเรื่องต้นซะด้วย ส่วน ๓ อย่างหลังนั้น เป็นทาน ทานวิญญาณอย่างที่เราชอบพูดกันมากกว่า ทานทางภาษาธรรม เป็นเรื่อง ทางจิต ทางวิญญาณ แล้วก็ไม่เกี่ยวกับบุคคลที่สอง ๓ อย่างแรกมันเกี่ยวกับบุคคลที่สอง คือ มีผู้รับ ให้วัตถุสิ่งของไปแก่ใครคนนั้นก็ได้รับ ให้อภัยโทษ ไม่มีเวรไม่มีภัย ก็มีคนได้รับ ให้ทานทางใจ เป็นความรู้ เป็นแสงสว่าง ก็มีคนได้รับ ๓ อย่างแรกนี่มันมีคนได้รับ เป็นทานที่เห็นได้ง่ายตามความหมายธรรมดา ส่วน ๓ อย่างหลัง ไม่ต้องมีบุคคลที่สอง เพื่อได้ให้เพื่อมีอยู่ในใจมีนิสัยอยู่ในความเคยชินของเรา เมื่อเราไม่อยากจะเอาไว้เราก็ให้ไปเสีย สละไปเสีย แล้วก็ถือว่าเป็นการสละตัวกู ของกูเสีย แล้วมันจะเกิดความสุขผาสุข เป็นมักผลนิพพานอะไรขึ้นมาจากความหมดตัวกู ของกู ให้ทั้งหมดไม่มีอะไรเหลือ ของ ๓ อย่างหลังนี่ไม่ต้องมีผู้รับ แล้วก็เลยได้มา ๖ อย่าง ทั้งโดยตรงกับโดยปริยาย ทั้งอย่างตื้นๆและอย่างลึกซึ้ง ขอให้เข้าใจคำว่าทานไว้ในความหมายที่กว้างขวางถึง ๖ อย่าง อย่างนี้
ทีนี้เราจะทบทวนเอาทีละอย่าง คำแรกคือ วัตถุทาน พวกกลุ่มหนึ่งเรียกว่าวัตถุทาน ทั้งวัตถุสิ่งของที่มีประโยชน์แก่ผู้อื่น ทานประเภทนี้และวัตถุที่จะให้ไปก็มีมากเหมือนกัน เรียกว่าให้สิ่งของก็ได้ ให้ความช่วยเหลือก็ได้ ไม่เกี่ยวกับสิ่งของ ไม่ได้เป็นสิ่งของ ทั้งให้อวัยวะเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น แล้วก็ให้ชีวิตที่เป็นประโยชน์ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ที่รู้จักกันโดยมากก็ให้วัตถุสิ่งของของกินของใช้ ให้ความสะดวก ของนั้นเอาไปกินก็ดีไปใช้ก็ดี เป็นความสะดวกก็ดี ให้การเดินทาง ให้ความสะดวกในการเดินทางอย่างนี้เป็นต้น รวมอยู่ในวัตถุทาน ทีนี้การให้อวัยวะนั้นมันระลึกถือเป็นการกระทำได้ยาก ให้ชีวิตกระทำได้ยาก มันกลายเป็นเรื่องของบุคคลที่สูงสุด เป็นโพธิสัตว์อะไรไป ต้องหาอ่านดูในชาดก เรื่องสละชีวิตนี้ถ้าจะนึกได้ก็ต้องในสสชาดกเป็นพระโพธิสัตว์(ไม่แน่ใจนาทีที่ 10:52) กระโดดลงไปในกองไฟเพื่อให้คนๆ หนึ่งได้กินเนื้อเพราะเขากำลังหิว ไม่ได้กินอะไรมาหลายวันแล้ว พระมหาราชก็เป็นชาดก พระโพธิสัตว์เป็นคน ท่องเที่ยวในป่า เดินเล่นอยู่บนยอดผา เห็นข้างล่างมีเสือ แม่เสือแก่ ไม่สบายทุพลภาพ หิวกำลังจะกินลูกของมันอยู่แล้ว พระโพธิสัตว์ก็กระโดดลงมาให้เสือกินแทนที่จะให้ไปกินลูกของมัน ภาพนี้เขียนสวยมาก เป็นภาพเขียนญี่ปุ่น เคยเห็น เรียกอยู่ในพวกให้ทานชีวิตตามธรรมดา ความหมายธรรมดา ทีนี้อาจจะมีความหมายที่พิเศษ ให้ทานชีวิต เพื่อประเทศชาติ เพื่อคนนั้น คนนี้ บริจาคชีวิตละกัน ทีนี้ตามหลักในวินัยก็มีให้ทานปัจจัยสี่ อาหารบิณฑบาตร จีวร เสนาสนะ โอสะ มีเรื่องมีอยู่แล้วไม่ต้องพูดให้อาหาร ให้เครื่องนุ่มห่ม ให้ที่อยู่อาศัย และให้อุปกรณ์บำบัดความเจ็บไข้ ทีนี้เขาพูดอย่างที่เรียกว่าทานปรมัติก็มีหน้าหัว ภาษาพวกอภิธรรม ให้ความสุขทางตา ให้ความสุขทางหู ให้ความสุขทางจมูก ให้ความสุขทางลิ้น ให้ความสุขทางกาย ให้ความสุขทางใจ ไปอย่างนี้ ก็เป็นชื่อว่าปริมัติอภิธรรม แล้วก็จะได้เอาอายตนะ ๖ เป็นหลักเสมอ ก็ได้เหมือนกัน ก็ไปทำแบบทำยากเต็มที ในที่สุดก็กลายเป็นเรื่องกามคุณไปเสียเท่านั้นเอง ให้กามคุณ ในเรื่องของที่ให้มันอยู่อย่างนี้ เป็นสิ่งของ เป็นอวัยวะ เป็นชีวิตก็ได้ แล้วก็ให้ไปเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ของผู้ที่มีความลำบาก ทีนี้ถ้าเราจะ ตรงชนิดของการให้ทาน ให้ดียิ่งขึ้นไป ไปตรงเอาผล ผลที่ให้ เป็นหลัก ผลที่หลังจากการให้เป็นหลัก ให้ลองฟังดู
พวกที่หนึ่งให้ทานเพื่อความผูกพัน คือ การตอบแทน เอาหน้า เอาเปรียบ เอาของตอบแทนก็มี เอาเปรียบเอาหน้าก็มี เอาเป็นพรรคพวก เอาเป็นกำลัง รวมพวกรวมกำลังอะไรอย่างนี้ก็มี ก็ต้องให้ทาน โดยไม่รู้สึกตัว ทำให้เกิดพวกพ้องทำให้เกิดกำลัง ถ้าว่าให้ดีละก็เป็นการซื้อคนอื่นโดยไม่รู้สึกตัวมากกว่า ให้ต้องให้กันอยู่มากมากกว่าอย่างอื่นด้วยซ้ำไป เพราะการให้ต้องหวังอะไรตอบแทน ให้ข้าวสารต้องให้คนที่ชายทะเลได้ปลาเค็มมาเป็นอาหารอย่างนี้เป็นต้น มีอยู่ทั่วไป
ตัวอย่างที่สอง ก็เรียกว่า ให้เอาบุญ ก็มีความเชื่อในบุญ ก็เป็นบุญชนิดที่เป็นสวรรค์วิมานที่เขาพูดกันอยู่ทั่วๆไปก็ได้ ก็เรียกว่าให้เอาบุญ ก็เพื่อได้สวรรค์วิมาน ทีนี้เนื่องจากว่าจะให้เอาความสบายใจอิ่มอกอิ่มใจทั้งตัวผู้นี้และเดี๋ยวนี้ เรียกว่าให้เอาบุญ ก็เรียกว่าให้เอาบุญ บุญคือความอิ่มใจทีนี้ก็ได้ ตายแล้วก็ได้ นี่ก็มีอยู่มาก คนให้ทานเพื่อจะเอาบุญ เพื่อจะได้บุญ ให้บุญมาช่วยตัว ทำให้ตัวอิ่มอกอิ่มใจสบายใจนี้ก็มีอยู่มาก ก็อยู่ในพวกที่เรียกว่าเอาอะไรตอบแทน ก็ยังดีกว่าไอ้ที่อย่างแรก ที่เป็นการซื้อหามากกว่า
ทีนี้อย่างที่สาม ให้เพราะทนเห็นไม่ได้ คือ เป็นคนขี้สงสาร มีนิสัยเมตตากรุณา อัธยาศัยที่เคยมีไม่ได้เพราะกรุณาเป็นลักษณะของมหาบุรุษมีสุทธิธรรมในบทก็ว่าไว้อย่างงี้ มหาโพธิสัตว์ลักขะมังกรุณามะโหวาริน ก็ว่าไว้อย่างนี้ ความที่ทนอยู่ไม่ได้ก็เพราะความกรุณา เป็นลักษณะของมหาบุรุษ ทีนี้การตีความเรามาถึงว่าบทขี้สงสารทนอยู่ไม่ได้ก็ต้องให้ บทนิสัยเมตตากรุณาคนไม่ได้ก็ให้ทานมันก็ไม่ได้หวังอะไรตอบแทน นี่เรียกว่าให้เพราะความกรุณา
ตัวอย่างที่สี่ ให้เพราะเลื่อมใสศรัทธา อยากจะบำรุงส่งเสริม พอมีใครคิดทำอะไรเราก็เห็นด้วยก็อยากจะร่วมมือส่งเสริมเพื่อทำสาธารณประโยชน์ พวกตั้งสมาคมการฝึกฝน หรือแม้แต่ติดต่อส่งเสริมพระศาสนาก็เรียกได้ว่าให้โดยหวังจะส่งเสริมสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ก็เห็นด้วย และบางคนก็ทำไปโดยไม่ได้หวังเอาบุญ หวังอะไรก็ได้ ถ้าสติปัญญามีพอว่าควรจะส่งเสริมก็ส่งเสริมไม่หมายความว่าจะเอาอะไรตอบแทน
ทีนี้อันสุดท้ายอย่างที่ห้า ก็คือให้เพื่อทำลายความยึดมั่นถือมั่น ถ้าเราให้แล้วเหมือนเป็นทาน อาจเป็นไปได้นะทั้งห้าอย่างนี้ บางคนให้เพื่อซื้อพวกพ้อง บางคนก็ให้เพื่อไปสวรรค์ บางคนก็ให้เพราะขี้สงสาร บางคนก็ให้เพราะอยากจะร่วมมือเข้าถึงพระธรรม แต่ว่าทั้งหมดนั้นทั้งสี่อย่างนั้นไม่สูงสุดเท่ากับอย่างสุดท้าย คือ ให้เพื่อทำลายความยึดมั่นถือมั่น ห่วงทรัพย์สมบัติแล้วก็หวงแหน แล้วก็ยึดถือ อยากจะทำลายความยึดถือก็ให้สิ่งที่เรารัก เราหวงแหน ทุกอย่างให้โยนออกไปเพราะว่าเราเคยหลงเงิน รักเงิน บูชาเงิน ก็ให้มันไปเสีย ไม่ได้หวังจะเอาบุญเอากุศลหรือเอาอะไรตอบแทน นอกจากว่าให้มันมีความยึดมั่นถือมั่นน้อยลง ก็ทั้งหมดนี่ครบสี่อย่างแล้วให้มันเป็นไปโดยรวมๆ อยู่ในตัวตน อย่างสุดท้ายนี่เพื่อจะออกไปจากตัวตน หรือจะพูดให้ไพเราะก็ว่า เพื่อเหนือโลก ออกไปเหนือโลก ส่วนมากนี้จะวนเวียนอยู่ในโลก เดี๋ยวนี้คนทำบุญทำทานเพื่ออะไรตอบแทนกันทั้งนั้น เพื่ออยากได้สวรรค์เป็นส่วนใหญ่ เพื่ออย่างนั้นอย่างนี้ ก็จับยกมาตอบแทนเป็นเรื่องโลกๆ นี่ถ้าว่าเพื่อให้พ้นไปจากโลก พ้นไปจากทุกข์ ก็ต้องมีเจตนาเพื่อจะทำลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตนยึดมั่นถือมั่น อย่างนี้เป็นการบำเพ็ญบารมีของโพธิสัตว์ ผู้ที่จะเป็นพระพุทธเจ้าบำเพ็ญทานบารมี ทำลายความยึดมั่นถือมั่นไปเรื่อยๆๆ จนถึงชาติสุดท้าย ก็จะเป็นพระพุทธเจ้า พวกเราไม่ต้องการเป็นพระพุทธเจ้า แต่เราก็ต้องทำลายเพื่อทำลายความยึดมั่นถือมันซึ่งมันเป็นเหตุแห่งทุกข์ ความทุกข์ โดยจะต้องทำกันระยะยาวไปเรื่อย บำเพ็ญบารมี โดยพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า แล้วก็บางคนเพื่อเป็นพระสาวกที่ดีของพระพุทธเจ้า เหมือนพระพุทธเจ้าหรือเป็นพระอรหันต์ก็ตามใจ ก็เรียกกันว่า สาวกบารมี ก็เพื่อเป็นพระอรหันต์อย่างสูงสุด นี่ถ้าใครเคยทำทานเพื่อให้ได้ของตอนแทนอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ควรจะเลื่อนชั้นกันเสียบ้างเลื่อนไปถึงชั้นที่ไม่เอาอะไรตอบแทนกันเลย การแลกเปลี่ยนอย่างนั้น ก็ถ้ามันหมดความยึดมั่นถือมั่นออกไปเรื่อยๆ ที่เอาอะไรตอบแทนนี่มันเป็นเรื่องการค้ามากกว่าทำบุญเอาสวรรค์เอาวิมาน และเงินเรื่องค้ากำไรเกินควร มากกว่าในเมืองมนุษย์ซะอีก เมืองมนุษย์ว่ายังไงเกินควรก็ไม่เท่าเราทำบุญบาปยังได้วิมานหลังนึง เรามองเห็นว่ามันเป็นวิธีการหรือกลอุบายอย่างหนึ่งที่เขาจะทำให้คนค่อยๆบริจาคไปทำลายความตระหนี่เรื่อยๆ ไปก่อน โดยเอาโดยบอกว่าจะได้สวรรค์วิมานหรือแล้วแต่เขาต้องการอะไร ต้องดูว่าเขาต้องการอะไรที่สุด แล้วก็บอกว่าการให้ทานจะได้สิ่งนั้นให้เขารู้จักบริจาคทาน ไม่งั้นเขาจะไม่บริจาคเลย นิสัยความเคยชินที่จะเอาอะไรตอนแทนก็มีมากขึ้นๆ แต่ว่าเลื่อนให้ดี เลื่อนให้สูงขึ้นไป สูงขึ้นไป ให้หวังสิ่งที่สูงขึ้นไป สูงขึ้นไป จนในที่สุดบอกว่า สวรรค์นะเพื่อที่จะ เป็นตัวที่จะเป็นทุกข์หรือเป็นความวนเวียนอยู่ในวัฎฎะสงสารอย่างยิ่ง แล้วก็เลิกสวรรค์เสีย เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีกว่าสวรรค์ก็เลื่อนชั้นไปได้ ก็ถ้าไม่หลอกเข้าไปเอาสวรรค์ถือว่าก็ไม่รู้ว่าจะเอาอะไร ก็หลอกให้เอาสวรรค์ พอได้สวรรค์ก็ว่าดีๆๆ สวรรค์นี่กำลังของกิเลส เป็นตัวกิเลส ก็จะเลื่อนไปหาความปล่อยวาง วิมุติหลุดพ้นหรือนิพพาน ถ้าเหล่านี้ก็เป็นการดี ดีตรงที่ว่ารู้จักเลื่อนชั้นมันเสียบ้าง อย่าทำทานชนิดที่ซ้ำซาก คือ ให้รู้จักเลื่อนชั้น แล้วก็พอกพูนความเห็นแก่ตัว ความยึดมั่นถือมั่นมากเกินไปอีก อย่างนี้เขาไม่เรียกว่าทาน ก็มันได้ไอ้สิ่งที่มากกว่ากลับมา มันได้กำไร มันเรียกว่าทานได้ยังไง เอาละกิริยาให้ว่าทานก็ได้แต่มันไม่ถูกต้องตามความหมาย ถ้าเป็นทานต้องให้ออกไปจริงๆ อย่างน้อยให้เพื่อทำลายความยึดมั่นถือมั่น ถ้าเราจะพูดกันว่าหลังการให้ทานที่มันสูงไปตามลำดับ วันนี้ก็พูดกันแต่เรื่องการให้วัตถุทาน ถึงอย่างนั้นก็ยังมีทานที่จะให้เพื่อทำลายความยึดมั่นถือมั่น ทีนี้ส่วนสุดท้ายเกี่ยวกับการให้ทานนี่ก็ให้วัตถุทานชนิดนี้ก็คือจะต้องมีวิธีปฏิบัติหรือข้อควรระวัง ข้อควรระวังจะต่างจากพุทธภาษิตที่ว่าให้เลือกเฟ้นให้เฟ้นเสียก่อนจึงให้ทาน พระสุคตสรรเสริญ นิจารยทานมังสุคัตตัดตะสัตถัง ให้วิจัยเสียก่อนแล้วจึงให้ทาน พระสุคตสรรเสริญ บาลีว่าอย่างนี้ เรื่องเหมือนใจคือเรื่องเลือก เรื่องเฟ้น เรื่องดูด้วยสติปัญญา ก็ดูที่ของที่ให้ วัตถุที่ให้นั้นนะ ให้มันถูกต้องหรือเหมาะสม บาลีนะมีอยู่ว่า ธรรมเมตตาธรรมาลัตธา ธรรมเมตตา เป็นของบริสุทธิ์ ทั้งธรรมาลัตธาด้วย ได้มาโดยถูกธรรม ก็ได้สิ่งนี้มาโดยถูกธรรม ตัวอย่างเช่นว่าของนี้บริสุทธิ์ควรจะไปให้ทาน ควรแก่การให้ทาน อย่างของที่จะถวายพระเป็นต้น นี่มันป็นของที่ควรที่พระจะฉันได้ แล้วก็ของนั้นได้มาโดยชอบธรรมด้วย นี่เรียกว่า เรียกของที่จะให้ ไม่ให้ของที่ไม่สมควรแก่พระ หรือเป็นของที่ผิดวินัยสำหรับพระอย่างนี้มันก็ไม่ถูก เรื่องที่สองเลือกที่รับ ผู้รับทาน เขาเรียกว่าปฎิภาหก เรียกปฏิภาหก ที่เป็นบุญมาเกิด ที่มาเกิดแล้วก็นาบุญ ก็เนื้อนาบุญ พูดตรงๆก็ว่าปฏิภาหก คือผู้รับนั้น ก็ทำให้เกิดบุญ เกิดกุศล เกิดความดี เกิดประโยชน์ให้แก่คนทั้งปวงโดยเฉพาะแก่ผู้ให้ น่าจะมีปัญหาที่หาว่า ให้เป็นขอทานจะเป็นนาบุญยังไง เป็นขอทานเป็นนาบุญไหม ถ้าคนตระกละยืนอยู่เรื่องสวรรค์วิมานมันก็จะ มันก็เป็นปัญหา ทำกันได้หรือไม่ได้ แต่ถ้าให้เพื่อทำลายความยึดมั่นถือมั่นแล้วคนขอทานมันก็จะเป็นนาบุญ ไม่ได้เป็นขอทานที่เลวที่สุดนี่ แต่ว่าให้ออกไปเพื่อว่าไปทำลายความยึดมั่นถือมั่นในจิตใจของเรา เป็นขอทานก็เลยกลายเป็นนาบุญได้ คำว่านาบุญนี่ก็หมายถึง ทิฐิสงฆ์ในพระพุทธศาสนาที่ทำมากขึ้นเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนาที่ทำให้โลกมีพระศาสนา มีสันติสุข ระบุนาบุญลงไปอย่างนั้น โดยตามความหมายที่มันตรงๆ ก็ถ้าเราให้ทิฐิสงฆ์ เราก็ยัง อาจจะให้เพื่อทำลายความยึดมั่นถือมั่นก็ได้ ก็ตามหลักก็ให้แก่บุคคลที่ชอบพอ หรือ รักใคร่นับถือ เป็นสุขลิกทานด้วยผู้อันตทานก็ได้ ก็คือให้อย่างที่เห็นแก่บุคคล ให้แก่สงฆ์ เป็นต้นผู้ประพฤติดีประพฤติชอบทั้งหมดไม่ระบุบุคคล อย่างนี้มีอานิสงส์มากกว่าที่จะให้อย่างระบุบุคคล ก็ให้แก่บุคคลที่รักที่ชอบที่นับถือมันแสดงแล้วว่ามันชัด ผู้ที่ยังเลือก(นาทีที่29.40 เสียงไม่ชัด)อาการที่ให้ นิ่งมากตั้งใจว่าให้ด้วยความเคารพ ไม่ต้องนับถือตัวเอง นับถือสิ่งที่ตัวให้ ไม่ใช่เหลือกินเหลือใช้แล้วจะให้ มันของเหลือทิ้ง วิ่งเอาไปให้ตรงๆด้วยความเคารพ ของที่ให้หรือในตัวเองหรือกิริยาที่ให้ก็ต้องให้ความเคารพ ถ้าเกิดว่าให้เป็นขอทาน ที่สุดก็ต้องให้ด้วยกิริยาอาการด้วยความเคารพ การที่ให้นี่มันมีมาก แต่ให้อย่างไรให้มันเป็นประโยชน์ที่สุดก็ให้ด้วยอาการอย่างนั้น ถ้ามันเยอะให้ไปก็เสียหายหมด ไม่ค่อยมีประโยชน์ อย่างนี้ก็ต้องเลือกการให้ เวลาให้ อะไรที่ถูก แต่เรื่องแต่ราว ก็พูดได้สั้นๆว่า ให้โดยวิธีที่เจริญประโยชน์มากที่สุด เป็นไปเพื่อกุศลมากที่สุดทั้งแก่ฝ่ายผู้ให้ และ ผู้รับ แล้วก็กิริยาอาการให้ที่ดี ถ้าเราให้ด้วยกิริยาหยาบๆ แก่คนขอทานชั้นเลวนี่นะ ก็เพิ่มกิเลสให้กับผู้ให้ หรือ ดูถูกคน หรือว่ามีความยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นกิเลส ก็ถ้าเราให้ด้วยความเคารพแม้แต่เป็นขอทาน มันก็ทำลายความยึดถือนั้นได้ ทิฐิ มานะ ความเย่อหยิ่งจองหอง อะไรมันถูกทำลายไปด้วย นี่เรื่องเกี่ยวกับวัตถุทาน มันก็มีหลักที่จะต้องทบทวนกันอย่างนี้ ทบทวนเรื่องวัตถุทาน แล้วเวลาก็หมดแล้ว