แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
คำบรรยายทบทวนธรรมะในวันนี้ จะได้กล่าวถึงทาน การบริจาคเสียซึ่งตัวกูและของกู นับเป็นทานอันดับที่ห้า ตั้งแต่วัตถุทานเป็นต้นมาจนถึง ธรรมทาน อภัยทาน กิเลสทาน ซึ่งเป็นอันดับที่สี่ อันนี้เป็นอันดับที่ห้า การบริจาคเสียซึ่งตัวกูและของกู แต่ถ้าจะนับกันแต่ในฝ่ายพวกที่เป็นทานภายในไม่มีบุคคลผู้รับโดยตรงแล้วก็ต้องนับว่าเป็นทานที่สอง ทานที่หนึ่งคือการบริจาคสิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในตน ทานที่สองทานบริจาคตัวกูของกู และทานที่สามบริจาคทั้งหมดไม่มีอะไรเหลือ
ในวันนี้มีหัวข้อว่าการบริจาคตัวกูของกู หรือพูดอีกทีหนึ่งคือบริจาคตัวตนของตน ทานในอันดับที่สี่นั้นบริจาคสิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในตน ก็ลองคิดดูว่าเมื่อเราบริจาคสิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในตนออกไปจากตน ทุกสิ่งแล้วอะไรมันจะเหลืออยู่ นั่นก็คือตัวตนที่ไม่มีสิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในตน เรียกว่าเป็นตัวตนที่ดีที่สวยที่งามที่บริสุทธิ์ หรืออะไรก็ได้ ที่ทำไงก็ต้องละกันไปอีกเล่า บางคนก็อย่างที่ว่าบ้าละโว้ย ที่จริงไม่ใช่อย่างนั้น มันยังมีเรื่องที่จะต้องสละต่อไป สิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในตนนั้นมันสกปรก คือกิเลส ถ้าล่ะได้ก็มีตัวตนสะอาด ในที่นี้ก็หมายความว่า มันยังมีความยึดมั่นถือมั่นเหลืออยู่เมื่อจะยึดถือตัวตนที่สะอาด นี่คือข้อที่จะเป็นการ เอ่อ เป็นความรู้สึกขัดแย้งกัน ทีนี้อยากพูดมาเสียแต่ต้นเลยทีเดียวว่า มันมีพระพุทธสุภาษิตมีหลักธรรมะอยู่มากมายที่กล่าวไว้ในลักษณะที่มันตรงกันข้ามจากการสละตัวตน คือมีพระพุทธภาษิตว่า จงสงวนตนไว้ให้ดี ตนเป็นที่พึ่งแก่ตน กระทั่งถึงว่าเป็นคนไม่ควรให้ซึ่งตน นี่มันตรงกันข้ามกับที่เรากำลังพูดว่าเราจะสละตนออกไป ตอนนี้เป็นเรื่องของความกำกวมของภาษานั้น บทที่ว่า น ค ทา ยะ ปุณ โส อัตตา นัง(ไม่แน่ใจนาทีที่ 4.18) มาพูดกันก่อน แปลว่า เป็นคนไม่ควรให้ซึ่งตน คำพูดนี้มันเป็นเรื่อง ชั้นต่ำชั้นศีลธรรมต้นๆ เป็นคนไม่ควรให้ซึ่งตนน่ะหมายความว่า อย่าไปยอมตนในลักษณะที่แพ้ หรือไม่มีค่า หรือไม่ กระทั่งไม่เคารพนับถือตนเป็นที่สุด ควรให้ตนในที่นี้หมายถึง ไม่ตีราคาให้แก่ตน ไม่ถือว่าตนเป็นของแพงของโสดๆ ไม่ยอมสละตนง่ายๆ ไม่ทำตนให้ดีขึ้น อย่างนี้ก็เรียกว่า เป็นคนปล่อยตนหรือให้ตนในทางที่ไม่ควรปล่อยไม่ควรให้ ก็เลยสอนไปในทางตรงกันข้ามว่า อย่าให้ตน อย่าปล่อยตน อย่าละทิ้งต้น ในทำนองนี้
ทีนี้ก็มาในขั้นที่สูงกว่านั้นมากเดี๋ยวจะได้พูดกันต่อไป ที่ในข้อที่ว่า ตนเป็นที่พึ่งแก่ตนนี้มีความหมายในอีกอันดับหนึ่งมันเป็นเรื่องพูดกันคนละทีอยู่เรื่อยไป ตนเป็นที่พึ่งแก่ตนนี้หมายความว่า ต้องทำเอง มีความหมายเท่านั้น อย่าไปหวังให้คนอื่นมาช่วยทำให้ อย่าไปหวังพึ่งผู้อื่น แม้กระทั่งพระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสว่า ตนต้องพึ่งตน พระพุทธเจ้าจะช่วยยกใครไปไม่ได้ ผู้นั้นต้องยกตนเอง พระพุทธเจ้าท่านเพียงแต่แนะวิธี มีสัจว่า เหหิ สัจจัง ขาตาโร ขากะตา(ไม่แน่ใจนาทีที่ 6.30) หน้าที่พวกเธอต้องทำเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้แนะทางหรือบอกทาง นี่ความหมายคำว่าพึ่งตนเป็นอย่างนี้ ต้องทำตนเองให้หลุดพ้นจากความทุกข์ มันเป็นเรื่องที่เล็งไปทางหนึ่ง ในที่นี้เราพูดถึงเรื่องว่าให้สละตน ไม่เอาตนไว้เป็นที่พึ่งแก่ตนก็ได้ แต่การที่จะทำอย่างนั้นได้มันก็ต้องทำเองเหมือนกัน การที่จะสละตัวตนให้หมดออกไป เป็นการที่ตนต้องทำเอง คนอื่นช่วยทำไม่ได้ ก็เลยไม่ขัดกันก็ถือว่า จะต้องมีตนเป็นที่พึ่งแก่ตนและให้ละตนเสีย กระทั่งข้อที่ว่า ให้รักตน สงวนตน ให้ยกตนขึ้นมาจากหล่มอันนี้ มันเป็นเรื่องต้องทำเองเรื่อยๆมา สงวนตนนี้ก็คือ ตีราคาให้แก่ตน ทำให้ลุถึงจุดที่ประเสริฐคือจุดหมายปลายทางอย่างนี้เรียกว่า สงวนตนอย่าให้ตกต่ำไป มีแต่ให้สูงขึ้น สูงขึ้น ในที่สุดมันก็หมดตนอีกเหมือนกัน สูงขึ้นไปจนกระทั่งไม่มีความรู้สึกว่าตัวตนเหลืออยู่ ถ้าเป็นเรื่องสอนกันขั้นต้นๆ ก็ต้องรักตน สงวนตน นี่ฟังดูให้ดีจะเห็นว่ามันพูดกันคนละทีกับที่เรากำลังจะพูดนี้ พูดถึงการสละตน
ทีนี้ทบทวนไปดูใหม่ว่าเมื่อเราสละสิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในตน จงเหลือแต่สิ่งที่ควรจะมี ก็คือ ความดี บุญกุศลหรืออะไรที่เราเรียกกันว่า สมมติกันว่า ยึดถือกันว่าควรจะมี อย่างนี้เป็นการพูดภาษาชาวบ้านอีกนั่นเอง ว่าเดี๋ยวนี้ละไอ้ส่วนที่ควรละออกไปหมดแล้ว เหลือแต่ส่วนที่เก็บไว้ มันก็เป็นภาษาชาวบ้านที่ยังมีความยึดมั่นถือมั่น จะเอาสิ่งที่ดีสิ่งที่สวย สิ่งที่ประเสริฐ สิ่งที่อย่างนี้ นั่นไม่ใช่ที่สุด ไม่ใช่ถึงที่สุดและนั่นแหละยิ่งเป็นตนมาในรูปใหม่ที่สวยสดงดงาม ที่น่ารักน่ายึดถือ เมื่อก่อนนี้มันมีตนที่เลวที่สกปรกเต็มไปด้วยความยึดมั่นถือมั่นที่สกปรก ทีนี้เราละสิ่งที่สกปรกมันออกไปก็ได้มันก็เหลือแต่ตนที่เรียกว่าดี ว่าสวยงามอะไรก็ตาม แต่แล้วความยึดมั่นถือมั่นนั้นมันเปลี่ยนรูปมาอยู่ในลักษณะที่ยึดมั่นสิ่งที่ดีที่สวยที่งามที่เรียกว่าตนรักหรือพอใจ มันก็เลยเหนียวแน่ไปกว่าเดิม ไปยึดมั่นในความดี ยึดมั่นในอะไรที่รู้สึกว่าตัวมี อย่างลูกคนไหนดีแม่ก็รักมากกว่าลูกคนที่ไม่ดี ลูกคนที่ดีนั้นมันก็ทะนงตัวมาก ก็มันรู้สึกว่ามันดีแม่รักมาก ก็เป็นที่ตั้งอุปาทานอย่างนี้ ถ้าพอใจเพียงเท่านั้นปัญหามันก็ไม่มี คือว่าเรื่องมันก็จบ แต่เดี๋ยวนี้เราไม่เอามันเพียงเท่านั้น เราต้องการความดับทุกข์สิ้นเชิง ก็มันจึงต้องเหลือต่อไปอีกที่จะต้องทำจนให้ไม่มีความทุกข์เหลืออยู่แม้แต่อย่างใด นี่จึงเป็นเหตุที่จะต้องให้ละตัวตนอันที่รู้สึกว่าดีแล้วเสียทีหนึ่ง ไม่ให้มีความรู้สึกว่าเป็นตัวกูของกู ฟังให้ดีอย่าให้ขัดกันกับบาลีอื่นๆที่ว่า ไม่ควรให้ซึ่งตน ที่ว่าตนเป็นที่พึ่งแก่ตน หรือจงสงวนตนให้อย่างดี มีบาลีพุทธสุภาษิตว่า ต้องละเสียบุญและบาปจึงจะนิพพาน ละบาปแล้วก็ละบุญ เพราะบุญเป็นเครื่องของบาป ถ้าเหลือบุญมันก็เป็นเรื่องยึดมั่นถือมั่นในแบบบุญ มีพุทธสุภาษิตว่า ปุณโณ ปะติกัง(ไม่แน่ใจนาทีที่ 12.10) แปลว่า บุญเป็นอุปธิ
อุปธินี้แปลว่า ของหนักที่แบกที่หามที่ทูนที่หิ้วที่หอบ ที่อุปธิ แล้วบุญกลายเป็นอุปธิ มันก็ถูกแล้วมันก็ควรจะเป็นอย่างนั้น ไอ้บาปนี่มันไม่น่ารักก็ไม่มีใครหอบหิ้วไป ไม่มีใครเมาบาป แต่ว่ามีคนเมาบุญ เพราะบุญมันน่ารักมันน่าหอบหิ้วไป เหมือนตัวเราหิ้วของที่ไม่มีค่าเช่นก้อนหินมา ที่ควรมีค่าไม่มีอะไรดีกว่า ทีนี้ไปพบพลอยเข้าก็ทิ้งก้อนหินก้อนดินนั้นไปถือเอาเพชรพลอย ทีนี้ไอ้เพชรพลอยนั่นนะมันก็มีน้ำหนักเหมือนก้อนหินเหมือนกัน เมื่อไปหอบไปหิ้วมันก็หนัก แล้วใครจะแบกตะกร้าก้อนหินก็หนักเท่ากับแบกตะกร้าเพชรพลอย ทั้งก้อนหินทั้งเพชรพลอยก็กลายเป็นของหนัก แต่แล้วมันไม่แค่เพียงเท่านั้น มันมีความสำคัญอยู่ที่ว่า ก้อนหินมันหนักแต่มันไม่น่าแบก เพชรพลอยแม้จะหนักอย่างไรแต่มันก็น่าแบก คนจึงอุตสาห์ทนแบกในของที่ตัวชอบ คือ บุญในทีนี้เปรียบเหมือนเพชรพลอย เราจึงระบุอุปธิไปยังบุญแทนที่จะระบุไปยังบาป เพราะว่าบาปมันไม่น่าแบก ยิ่งของสกปรกอย่างขี้หมู ขี้หมา ขี้ควาย ขี้วัวนี่ใครจะไปแบก เพราะมันเป็นสกปรก หรือมันหนักไม่มีประโยชน์อะไรหนักเหมือนก้อนหินก้อนดินก็ไม่มีใครแบก ถ้าเป็นเรื่องเพชรพลอย สวยด้วยงามด้วยแพงคนก็แบกจนตายก็ได้ ก็ไปพบเข้าก็แบก ไปพบเข้าอีกก็มาใส่เข้าอีกมันก็หนักมากขึ้น หนักมากขึ้นจนพลุบไปเลย ก็มันหนัก นี่มีอาการเหมือนกับที่เรียกว่าเมาบุญ มีผลให้ยึดมั่นถือมั่นมาก ทั้งการเวียนว่ายทั้งสารวัฏยังมีมาก เพราะเหตุแห่งบุญยิ่งกว่าเพราะเหตุแห่งบาป เราจึงเห็นด้วยเหตุพระพุทธเจ้าที่ตรัสว่า บุญเป็นอุปธิ ที่เป็นของหนักที่คนชอบแบก เป็นของต้องแบก ถ้ายังแบกอยู่ก็ยังหนัก ถ้าหนักก็ยังมีความทุกข์ นั่นดูให้ดีๆว่าอุปธินั่นนะเขาหมายถึงคือของที่น่ารัก น่ายึดมั่นถือมั่นน่าแบก และก็มีกาม กามอารมณ์ นี่เป็นอุปธิแบกจนมันรู้กันดีแล้วก็เลื่อนไปยังสิ่งอื่น เครื่องเกียรติยศ ชื่อเสียงเป็นต้น เรียกว่าเป็นกิเลสปธิ หลงในเกียรติ หลงในความดีนี่แปลก คนยอมตายเพราะความดี ยอมที่จะเปลี่ยนแปลงอะไร กลายเป็นดูถูกคนอื่นเป็นเรื่องมากมายต่อไป นี่แบกเกียรติ
แต่ในที่สุดก็มาหนักอยู่ที่ สิ่งที่ตัวรู้สึกว่าดีคือบุญ แต่ละบุญมันก็มีต่างๆ กันตามความรู้สึกของคน ในคนที่ยังต่ำมาก เอากามมารมณ์เป็นบุญ คนที่สูงขึ้นมาก็จะเอาเกียรติและความดีเป็นบุญ แต่มันมักจะไปรวมอยู่ที่ ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมาให้เห็นว่าเป็นบุญ แล้วแต่ใครจะเข้าใจมันว่าอย่างไร เป็นสวรรค์นี่ก็คือว่าถ้าได้นั่นก็เป็นบุญ ถ้าอยู่ในมนุษย์คนโลกอย่างมีความสุขก็เรียกว่าบุญ ทั้งอยากจะมีความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้าก็เรียกว่าบุญ อุตสาห์ทำสิ่งที่จะให้เกิดบุญก็มาเอาบุญ ซึ่งเป็นความเมาชนิดที่ไม่มีกลางไม่มีตา นั่นแหละจึงแสดงความหมายของการเป็นอุปธิ คือของหนักที่อุตสาห์แบกกันอยู่ ทุกคนก็มาพยายามจึงเขียนคำ พูดคำเป็นทำนองล้อว่า เมาเหล้า เมาหญิง เมาหยิ่ง เมายอ เมาครู่รู้พอ ไม่เหมือนเมาสวรรค์ นี้แสดงว่าแม้แต่ศาสนาอิสลามที่พยายามเอาเขาไปล้อนี่ก็เหมือนกัน มีเรื่องบุญ มีเรื่องเมาบุญ ศาสนาพุทธซึ่งเป็นเพียงระดับคนทั่วไป ไม่ใช่ตัวแท้ของพระพุทธศาสนา ยังไม่ถึงตัวแท้พระพุทธศาสนา เราพูดได้ว่า ไม่ว่าในแต่ละศาสนาไหน ทุกศาสนาเลยจะมีสิ่งที่เรียกว่าบุญสำหรับให้เมากันไปก่อน ปัญหามันก็เหลืออยู่ว่าใครจะไปได้ไกลต่อไปอีก ก็มาถึงสิ่งที่เรากำลังพูด คือการบริจาคไอ้อุปธิ คือบุญนี่ มันจะต้องละตัวตนที่เรียกว่ามีบุญ หรือมีดีหรือมีอะไรก็ตามอีกทีหนึ่ง งั้นข้อนี้เล็งถึงการยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกู ว่าของกู พูดกันภาษาบาลีก็คือ อัตตา อัตตะนียา อัตตา ตัวกู อัตตะนียา ของกู นี่ก็แปลกันว่า ตัวเราหรือของเรา ถ้ามันโง่มากควรจะเป็นตัวกูของกูมากกว่าเป็นตัวเราของเรา นี่ถ้ามันดือดัดเรียกว่าอหังการ มมังการ อหังการ แปลว่า ตัวกู มมังการ แปลว่า ของกู นี่ตรงกันเลย อะไรมาทำให้คนยึดมั่นถือมั่นตัวกูของกูมากไปกว่าสิ่งที่เขาเรียกว่าดีกว่าบุญนั้นมี คนเราจะจองหองก็คิดว่าตนดี แม้แต่หยิ่งในตัว พูดกับใครก็เพราะความรู้สึกว่ามีบุญ มีดี ได้ดี นี่คือตัว ที่เป็นปัญหา กำลังสิงเข้า ที่นี้ ที่ในเรื่องการทาน จะให้ทานอะไรดีล่ะ ก็ให้อุปธิ อุปทาน อุปธิแปลว่าของหนักแล้วก็มีคำหนึ่งคล้ายกันอย่าเอาปนกันคือ อุปาธิ แปลว่าเหยื่อ ถ้าอุปธินี้ แปลว่าของหนักที่แบกที่หิ้ว ละทั้งอุปาธิ และทั้งอุปธิ จะพูดให้มันรวมกันดีละก็กินความหมดละก็อุปธิดีกว่า ก็เลยรวมว่า อุปาธิทานการให้ อุปธิ คือสิ่งที่คนชอบแบกและก็แบกอยู่ตลอดเวลาคืออุปธิ แต่อุปาธินั้นเป็นที่ของกิเลส เป็นเชื้อเพลิง อุปาธินั้นเป็นเชื้อให้ไฟติดไปได้ เป็นเหยื่อให้ไฟลุกอยู่ได้ ทีนี้ รูป เสียง กลิ่น รถ โภตพะธรรมมารมณ์ชนิดที่ว่าดีที่ถูกใจก็ยิ่งเป็นอุปาธิมาก เป็นเหยื่อล่อเลี้ยงปัญหา มันก็เลยมีไฟตัณหาที่ไม่รู้จักดับ แต่แล้วมันก็มีความหมายเป็นอุปธิอยู่ในตัว อุปาธิเป็นเหยื่อมันมีความหมายเป็นอุปธิของหนักอยู่ในตัว เหยื่อเป็นของถูกใจ ถูกใจก็ไม่มีใครขว้าง อุตสาห์หอบหิ้วกันไปก็เลยกลายเป็นอุปธิได้ นั่นเรียกว่าปธิ นั้นคือความหมด อุปธิ นี่ ธ ธง
เดี๋ยวนี้ก็มาถึงอุปธิทาน ละของหนัก คือตัวกู ของกู เดี๋ยวนี้เราจะพิจารณากันเฉพาะกฏข้อที่ว่าทำไมต้องละ ละอย่างไรให้เป็นการอื่นดีกว่า ทำไมต้องละนี่มันจะเห็นได้ชัดๆนะ ว่าผู้ที่ยังเป็นปุถุชนหนาแน่น ฝ้าในดวงตาหนาตั้งโยชน์มันก็ไม่รู้สึกว่าจะต้องละสิ่งเหล่านี้ ไปให้มันพ้นไปจากความเป็นปุถุชน มันเป็นพื้นขึ้นมาเป็นกัลยาณปุถุชน เป็นพระอริยเจ้าขั้นต้น และก็เริ่มเห็นว่าไอ้สิ่งเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องละต่อไป ถ้าไม่ละ มันก็คือการทรมานชนิดที่หนักยิ่งๆขึ้นกว่าเดิม แต่ไม่แสดงความมากเหมือนเดิม แบกก้อนหินก็รู้สึกหนักมากกว่าแบกพลอยที่มีน้ำหนักพัน สมมติว่ามันน้ำหนักเท่ากันชั่งดูเถอะ เราจะรู้สึกหนักก้อนหินยิ่งกว่าเพราะเราไม่เคยชอบ แต่ถ้ามันเป็นเพชรพลอยละก็มันชอบรู้สึกว่าหนักน้อยกว่า บางทีจะยอมรู้สึกว่าหนักช่างมัน นั่นคือความหลอกลวงของอุปาทาน ทีนี้มันก็มีความจริงที่ว่าของหนักเหมือนกันและมันก็ต้องทรมาน มันอาจเป็นความทรมานที่รู้สึกตัวเกินไปเท่านั้น มันจึงอันตรายกว่า คนที่มีปัญญามองเห็นหรือว่าเริ่มมองเห็น เริ่มรู้สึกว่านี่ก็ละหรือจะยิ่งละมากกว่าที่แล้วมายิ่งซ้ำไป เพราะมันหลอกลวงเรากว่า เรื่องที่จะต้องนึกมันก็นึกถึงตัวเองดีกว่า มันเคยหลงอะไรมาอย่างไร เดี๋ยวนี้กำลังหลงอยู่ในอะไร ในลักษณะที่เป็นอุปธิ ก็จะได้มีความละอาย มีความรู้สึกสลดสังเวช อย่ามองข้ามไปเสียว่า ต่อเมื่อมีบุญมีอะไรมากมายจึงจะเป็นอุปธิ ที่แท้มันก็เป็นอยู่ทุกวัน ถ้ามันยกหูชูหางเกี่ยวกับตัวของกูเมื่อไหร่มันก็เป็นอุปธิเมื่อนั้น นี่เป็นพระเป็นเณรแล้วก็ยังมียกหูชูหาง ในกิริยาท่าทางก็มี ในวาจาในคำพูดก็มี หรือแม้แต่จิตใจอยู่ข้างในก็มี ก็ดูความรู้สึกคิดนึก พูดจาหรือความประพฤติประจำวัน ถ้ามันมียกหูชูหางที่ไหนก็นั่นแหละ อหังการ มะมังการ นั่นแหล่ะคือตัวกู ของกู มันก็เป็นสิ่งที่ต้องมีในคนธรรมดาสามัญหรือแม้พระอริยเจ้าในขั้นต้นๆ จะหมดไปก็พระอรหันต์เท่านั้น ทีนี้ก็เอาทีไม่มีนี่เพียงแต่เราซ่อนไว้ ก็พยายามทำให้มันไม่ปรากฏมา ที่แท้มันก็มีความรู้สึกยึดมั่นถือมั่น ยังมีความยึดมั่นถือมั่นก็ยังมีสิ่งนี้คือ ตัวกู ของกู มันก็ยังเป็นหน้าที่ที่ยังค้างคาอยู่อย่างหนึ่ง ทำให้เกิดที่ต้องทำต่อไป
ที่เราได้ทำมาตามลำดับคือกาม ตัวกู สกปรกนี้ สิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในตนนั้นออกไปๆ เหลือแต่ตัวตนที่สะอาด ที่นี้ก็มาดูตนอีกทีหนึ่งก็อย่าไปหลงรักในสิ่งนี้ มันก็จะได้ไม่เป็นการแบกหาม หรือว่าหิ้ว หอบอะไรไว้ ตัวของกู นั้นแปลว่าของหนักที่สำหรับแบกหามอยู่ก็จริง แต่มันมีความกว้างและอื่นๆที่ทิ่ม แทง ผูกพัน เผาคน นำมาแยกเป็น ของหนักนี่มันเผาตน ทิ่มแทง ผูกพัน ครอบงำ ดังนั้นจึงต้องละ พยายามละตัวกูที่ว่าแล้วนี่ล่ะหนึ่ง ก็ทบทวนให้ดีว่ามันมีลำดับมาอย่างนี้ ไอ้ทานที่มีอยู่ เรื่องวัตถุสิ่งของ เรื่องวิชาความรู้เรื่อง เรื่องโทษๆ พวกนั้นมันอยู่ในขั้นๆต้น ในระดับต้น เป็นการเตรียมมาตามลำดับเพื่อจะละตัวกูนี้ มันเป็นเรื่องขั้นเบื้องต้นสำหรับคนที่ยังมีความรู้สึกในเบื้องต้น เมื่อสูงขึ้นมาก็จะรู้จักละในสิ่งที่ไม่เคยมีอยู่ในใจในตน สูงขึ้นมาว่าตนเป็นที่สะอาดแล้วนี่ก็ควรจะทิ้งเอาไว้ว่าเป็นของกู ก็ปล่อยให้มันไปตามธรรมชาติเอง ก็เรียกได้ว่าเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็จะได้ไม่มีความหนักความทุกข์ นี่เป็นความมุ่งหมายของการให้ทานในอันดับที่ห้า คือการบริจาคเสียซึ่งตัวกู ของกู ซึ่งเรียกในที่นี้ว่าอุปธิทาน สละของหนัก เวลาของเราก็หมด