แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ที่ต้องนึกไว้เสมอ ว่าการบรรยายของเราที่นี่ ที่เรียกว่า ธรรมปาฏิโมกนี้ จะพูดเรื่องตัวกูของกู เรื่องเดียว ในแง่ต่าง ๆ กัน ตัวเราอาจจะพูด ทุกเรื่อง กี่ร้อยกี่พันเรื่อง ให้เป็นเรื่องตัวกูของกูได้ทั้งนั้น เพราะว่า ไอ้คำว่า ตัวกูของตัว นี้มันหมายถึง อุปทานยึดมั่นถือมั่น นี้อุปทานยึดมั่นถือมั่นนั้น มันเป็นเรื่อง ทุกเรื่อง เป็นเรื่องทุกเรื่องของ พุทธศาสนา ถึงกับพระพุทธเจ้าตรัสว่า สรุป คำสอนทั้งหมดทั้งสิ้น ได้ว่า ธรรมทั้งปวง อันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นคิดดูให้ดีดี สัมเพธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ เป็นบาลี เป็นไทยก็ว่า ธรรมทั้งปวง อันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่น ก็หมด คำสอนทั้งหมด สรุปลงไปในข้อนี้
ที่นี้ ไอ้เรื่องตัวกูของกู มันคือ เรื่องยึดมั่นถือมั่น มันเลยพูดได้ทุกเรื่องไม่ว่าเรื่องอะไร พูดในรูป ตัวกูของกูได้ทุกเรื่อง แล้วมันก็จะง่ายดี สำหรับศึกษา สำหรับกำหนดจดจำ สำหรับคิดนึก พิจารณา แต่สำหรับวันนี้ อยากจะพูด พิเศษออกไปหน่อย ตามที่จะนึกได้ เอ่อ, ส่วนนี้ก็บอกเสียก่อนว่า ก็เห็นกันอยู่ แล้วว่า ผมนี่พูดไปตาม ความคิดนึกที่นึกได้ ดังนั้นถ้าวันไหนมันนึกอะไรได้ มันก็ต้องพูด เสียไม่อย่างนั้น มันก็ลืม มันก็จะลืม แล้วก็ไม่ได้พูด เพราะฉะนั้นถ้านึกอะไรได้ เป็นพิเศษก็ต้องพูดนี่ เป็นเหตุให้บางที มันจะไม่ ไม่ติดต่อกันแท้ กับเรื่องที่แล้วมา แต่ที่นี่หากว่า ถ้าฟังเป็น หรือฉลาด ฉลาดฟัง หรือรู้เรื่องที่เคย พูดนี้ มาดีแล้ว ก็จะสามารถฟัง ให้มันติดต่อกันทุกเรื่องได้ เพราะว่าพูดเรื่องตัวกูของกูทั้งนั้น
สำหรับวันนี้จะพูดในแง่ที่ว่า มันมีปัญหา เออ, อยู่อันหนึ่ง มีข้อหนึ่ง ซึ่งก็พูดกันมากที่สุด ว่าคน ชาวบ้านไม่ควร ยังไม่ควรเรียนปรมัตถ์ โดยเฉพาะเด็ก ๆ ยังไม่ต้องรู้ปรมัตถ์ ไม่ต้องศึกษาปรมัตถ์ ให้ศึกษา แต่เรื่องศีล นี่เขาแยกเป็นของคู่ ว่าศีลกับปรมัตถ์ เอาศีลเป็นเรื่องชาวบ้านทำมาหากิน เป็นเรื่องของ ชาวบ้านชาวโลก ๆ เอาปรมัตถ์เป็นเรื่องของ นักบวชอยู่ป่าอยู่เขา พูดอย่างนี้ มันเพิ่งว่าเอาเองหยก ๆ นี่พระพุทธเจ้าไม่ได้พูดอย่างนี้ ไม่ได้แยกศีล ออกจากปรมัตถ์ และแยกคนเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งเหมาะ แก่เรื่องนี้ พวกหนึ่งเหมาะแก่เรื่องนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้พูด
แล้วก็เข้าใจว่า ครูบาจารย์รุ่นแรก ๆ ก่อน ๆ ในเมืองไทย ก็ไม่แยกกันขนาดนี้ ไม่แยกกันเป็น คนละเรื่องขนาดนี้ นี่มันเพิ่งมาแยกกันด้วยความเขลา เมื่อไรก็ไม่ทราบ นี่พูดกันมาก ผมต้องรู้เรื่องนี้ดีสิ เพราะว่าผมยืนยันที่ว่า ข้อที่ว่าจะต้องสอนเรื่อง สุญตาความว่าง แม้แต่ฆราวาส แต่ว่าฆราวาสเรียนเรื่อง ปรมัตถ์ ผู้ที่อยู่กับลูกกับเมีย หรืออะไรก็ตามนี้ ยังต้องศึกษาเรื่องสุญตา เรื่องของปรมัตถ์ นี่ไม่ใช่ผมว่าเอง พระพุทธเจ้าท่านตรัส แก่ฆราวาสที่ไปถามนะ เรื่องอะไรมีประโยชน์สำหรับฆราวาส ท่านตอบว่า เรื่องสุญตา พวกนั้นบอกลึกเกินไป ถ้า อ่า, ถ้าอย่างนั้นเอาเรื่อง โสตาปัตติยังคะ เลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีศีลดี ชาวบ้านก็ว่า ทำอยู่แล้ว ก็เลิกกัน ไม่ได้พูดอะไรกัน
ข้อที่พระพุทธเจ้าพูดถึง เรื่องสุญตาสำหรับฆราวาสนั้น คือแสดงว่า ฆราวาสควรเรียนเรื่องสุญตา สุญตาเรื่อง ไม่มีตัวกู ไม่มีของกู มันเป็นเรื่องปรมัตถ์ นี่คนเดี๋ยวนี้ เขาบอกเขาไม่ได้ จะทำมาหากิน ไปเรียน เรื่องสุญตาไม่ได้ นี่ฟังดูดีดีนะ นักศึกษาชั้นครูบาอาจารย์ในที่นี่ เวลานี้ ในเมืองไทยเรานี้ว่า ชาวโลกต้องไป เรื่องของโลก เรื่องศีล เรื่องอะไร จะไปเรื่องสุญ เรื่องสุญตาไม่ได้ เพราะถ้ายังทำมาหากิน ต้องเว้นเรื่อง สุญตา เรื่องว่าง คุณคึกฤทธิ์ยังเอาไปล้อผมว่า ขนมปังทาเนย ๒ หน้าไม่มี ขนมปังทาเนย ๒ หน้าไม่มี ไม่มีใครใส่บาตร ขนมปังทาเนย ๒ หน้าใช่ไหม ถามอย่างนี้ ถ้าว่าฆราวาสก็เอาไปเรื่องหนึ่ง แล้วพวกพระ พวกอยากเอาไปนิพพาน ก็เอาไปเรื่องหนึ่ง นั่นแหละเขาค้านอย่างนั้น นี่เราบอกว่า ยังยืนยันอยู่ว่า ฆราวาส แม้กระทั่งเด็ก ๆ ก็ต้องเรียนเรื่องสุญตา คือ ปรมัตถ์ ในอัตตาหรือในระดับของเด็ก ๆ
เพื่อจะได้เข้าใจข้อนี้ มันต้องไปนึกถึงอีกอันนี้ หลักเกณฑ์อีกอัน เรื่องศีล สมาธิ ปัญญา ๓ อย่าง ถ้าพูดว่า เด็ก ๆ สนใจแต่เรื่องศีล ไม่สนใจ ไม่ต้องสนใจ เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา อย่างนี้มันจะเป็นอย่างไร ลองคิดดู คุณลองคิดดู หรือว่าชาวบ้าน ฆราวาส ครองเรือน สนใจแต่เรื่องศีล ไม่ต้องสนใจเรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา ถ้าพูดออกไปอย่างนี้ มันจะเป็นอย่างไรบ้าง ลองคิดดู เพราะว่ามันผิดหลักอย่างยิ่งเลย
ผิดหลัก อันทีแรกก็อยากจะบอกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา นี้แยกกันไม่ได้ ใครจะรับไปต้องรับไปทั้งชุด ทั้งศีล ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา ถ้าเป็นเด็กก็รับไปในชุดเด็ก ผู้ใหญ่ก็รับไปชุดผู้ใหญ่ ชาวบ้าน ฆราวาส ครองเรือนก็รับไปชุด ผู้ครองเรือน ภิกษุสามเณรก็รับไป ชุดภิกษุบรรพชิตไป ก็ต้องรับไปทั้งชุด คือ ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าไม่อย่างนั้นเป็นไปไม่ได้ ถึงกับจะต้องเป็นบ้า คือ ถ้าไม่เอาปัญญาไปด้วย ศีล สมาธิ มีไม่ได้ ศีลและสมาธิมีไม่ได้ ถ้าไม่มีปัญญา แล้วศีล สมาธิเป็นเรื่องบ้าบอหมด
เพราะเหตุเช่นนี้ พระพุทธเจ้าถึงตรัส เรื่องปัญญาก่อน สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปโป นี้เป็นปัญญา แล้วตรัสก่อน สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว นี้เป็นเรื่องศีล มาเป็นที่ ๒ สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมา อ่า, สัมมา วา วายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้เป็นเรื่อง สมาธิ นี้มาเป็นที่ ๓ ปัญญามาก่อน แล้วศีล สมาธิจึงตามมา มันจึงเป็นไปได้ ถ้าปัญญาไม่มาก่อน ไอ้ศีล สมาธิก็เข้ารกเข้ากรง นี้เราแยกกันไม่ได้ ถ้าพูดอย่างหลักวิชา มันก็พูดอย่างหนึ่ง ถ้าพูดอย่างหลักปฏิบัติ มันก็พูดอีกอย่างหนึ่ง ในมรรคมีองค์ ๘ นี่ พระพุทธเจ้าท่านพูด อย่างหลักปฏิบัติ ดังนั้นจึงว่า ปัญญา แล้วศีล แล้วสมาธิ
ถ้าพูดแต่วิชาล้วน ๆ ยังไม่เกี่ยวกับปฏิบัติ ก็พวกศีล สมาธิ ปัญญา ก็ได้เหมือนกัน เอาศีลมาก่อน เอาปัญญาไว้รั้งท้าย นี่เป็นเรื่องน่าหัว ที่เอาไปปนกันยุ่ง เวลาปฏิบัตินี้ไม่เอาปัญญามาก่อน ไม่เอาแสงสว่าง มาก่อน ไม่เอาแผนที่มาก่อน มันก็ผิดหลักของอริยมรรค มีองค์ ๘ ประการ ซี่งเป็นหัวใจของพระพุทธ ศาสนา ที่เอาผิดทั่ว ๆ ไป ก็ยังมีอีกแยะ ที่เอาปัญญามาก่อนเสมอ ไม่ว่าอะไร ปัญญาหิเศษฐา กุสะราวะธันติ นะขัตตะราชา ริวะตาระกานัง ธิรังสะริ จาติกะตัง จะธัมโม อะไร ปัญญาวโต (นาทีที่ 10:02) ไอ้อันสุดท้าย ผมจำไม่ได้ แต่ว่า ใจความนะเหมือนกับปัญญาสำคัญ ปัญญามาก่อน ปัญญา หิเศษฐากุลสลาวะทันติ (นาทีที่ 10:29) คนฉลาดกล่าว ปัญญาว่า ประเสริฐที่สุด เศรษฐา นขัตตราชา ธิวะตาริกานัง (นาทีที่ 10:42) เหมือน พระจันทร์นะ มันเด่นกว่าดาวทั้งหมด ศีลลังจะรีจา ติตันจะธัมโม (นาทีที่ 10:50) ศีลก็ดี ศิริมิ่งขวัญ ก็ดี สุตะ ความรอบรู้ก็ดี ธรรมะ วัตรปฏิบัติก็ดี ย่อมเป็นไปตามอำนาจของปัญญา อยู่ในอำนาจของปัญญา คือ ถูกปัญญาลากไป ภาษิตอย่างนี้มีมาก ใจความสั้น ๆ ว่า ปัญญา เหนือกว่าทุกสิ่ง ลากทุกสิ่งไป ลากลาก ธรรมะอื่น ๆ ทุกอย่างไป
นี่โดยหลัก อัษฎางคิกมรรคก็ดี ปัญญาย่อมมาก่อน โดยหลักอย่างนี้ทั่ว ๆ ไปก็ดี ปัญญาต้องมาก่อน แล้วศีล สมาธิ ก็ไม่เข้ารกเข้าพง นี่ถ้าว่าไม่มีปัญญามาก่อน แล้วศีล สมาธิ จะเป็นเรื่องงมงาย หรือจะผิดเป็น มิจฉาได้ มิจฉาสมาธิ หรือศีลก็ไม่รู้จักมีศีล จำไว้เสียอย่างว่า รักษาศีลจนตายมันก็ไม่รู้จักศีล เพราะว่ามัน ไม่มีปัญญาควบคุมศีล ดังนั้นศีลในสมัยทั้งพระพุทธกาล สมัยที่เขายังไม่เลอะเลือน มันอยู่ในอำนาจของ ปัญญา ศีลมันอยู่ในอำนาจของปัญญา มันมีความรู้เรื่องไม่ยึดมั่นถือมั่น อะไรเป็นต้น แล้วศีลมันมีทันที โดยไม่ต้องพูดถึงศีลก็ได้ เมื่อคนรู้จักป้องกัน ความยึดมั่นถือมั่น ทางตา ทางหู ทางลิ้น ทางกาย อยู่เสมอ แล้วศีลไม่ขาด ศีลที่นี้ไม่ ๆๆ ได้พูดว่า รักษาศีล แต่มีศีลบริบูรณ์
ที่นี้คนเดี๋ยวนี้มาถึง เอ้า, ศีลอย่างนี้ ๆ แจกลูกอย่างนี้ ๆ เอ้า, เอาเข้าไป มันก็เหมือนกับ เข็นครก ขึ้นภูเขา เพราะมันไม่มีความรู้เรื่องนี้พอ รักษาศีลจนตายมันก็ไม่มี ศีลก็ขาดเรื่อย แล้วมันน่าหัว ไอ้เรื่อง องค์ศีล องค์ศีล ปาณามีองค์เท่าไร อทินนามีองค์รายการเท่าไร นี่มันเป็นเรื่องน่าหัว เป็นเรื่องทำศีลให้เป็น ไอ้วิชาเป็นเทคนิค กฏหมาย เป็นอะไรให้มันมากไปอีก แล้วก็ยิ่งไม่มีศีล ยิ่งรักษาศีลไม่ได้ มันยิ่งเฝือกันหมด แล้วองค์บางองค์ขัดกัน มันขัด มัน ๆๆ ขัด ไปดูเถอะไม่สมบูรณ์ด้วย นี้ไม่ใช่ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าตรัส ผมยืนยันอย่างนี้เลย ไอ้องค์ศีลปาณา กาเม อะไรก็ตามนี้ หรือครูบาอาจารย์ชั้นหลัง เขาจัดมัน เพื่อจะวินิจฉัยกันว่า ขาดศีลหรือยัง อะไรอย่างนั้น
นี่พระพุทธเจ้าท่าน ไม่มัวเสียเวลาไอ้เรื่องอย่างนี้ ตัดไอ้เรื่องต้นตอ เช่น หิริโอตตัปปะ มีเข้าไว้ มันก็ไม่มีขาดศีล หรือว่าให้ดีกว่านั้น ก็เรื่องควบคุมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้ดี มันก็มีศีล ไม่ขาดศีล ถ้ามีความรู้อย่างนี้ ศีลกลับมี ศีลกลับเต็ม โดยไม่ได้รักษาศีล โดยไม่ได้พูดเรื่องศีล เรื่องรักษาศีล แต่ศีล กลับมีบริบูรณ์ ไอ้คนตั้งใจจะรักษาศีล ยิ่งยิ่งไม่มีศีล รักษาจนตายไม่มีศีล มีแต่ขาดเรื่อย มีแต่รู้สึกว่า เหมือนกับว่า จะต้องคอยถือไว้เรื่อยนะ พอไม่ถือเมื่อไรหล่นเมื่อนั้น นั่นแหละโทษของการที่ว่าศีล มันไม่มีปัญญา นำหน้าหรือดุนหลัง คุณหลับตาเห็นภาพได้ไหม ศีลนี่ต้องมีปัญญานำหน้า ดึงไปข้างหน้า แล้วมีปัญญาดุนหลังอีก มันจึงจะเป็นศีลไปได้ และโดยง่ายแล้วมีสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นเด็ก ๆ จะรักษาศีล โดยไม่มีปัญญาไม่ได้ ต้องความรู้ทางปรมัตถ์พอสมควร แก่การที่เด็ก ๆ จะรักษาศีล คือ ต้องมีปัญญาด้วย แยกกันไม่ได้
ที่นี้พูดถึงสมาธิ สมาธิมัน คือ กำลังใจ ไม่มีกำลังใจจะทำอะไรได้ล่ะ มันก็ต้องมีด้วย เช่น ในการ รักษาศีลนะ ไอ้ศีลนี่เป็นตัวตามปฏิบัตินะ ปัญญามันเป็นตัวความรู้ สมาธิมันเป็นตัวกำลัง กำลังแรง กำลังงาน ที่จะให้มีอะไรได้หรือทำอะไรได้ นี่การกระทำกับความรู้กับกำลังนี่ต้องไปด้วยกัน แยกกันไม่ได้ ใครว่าแยกกันได้ผมว่าบ้า นี่พูดตรง ๆ อย่างนี้ดีกว่า ศีลเป็นตัวการกระทำ สมาธิเป็นตัวกำลังจิต ปัญญาเป็น กำลังความรู้ ๓ อย่างนี้ ต้องไปด้วยกันเสมอ แยกกันไม่ได้ ใครไปพยายามแยกให้คนปฏิบัติทีละอย่าง ผมว่าคนบ้า หรือเป็นอาจารย์ที่บ้า ไปแล้ว
พระพุทธเจ้าถึงตรัสว่า อัษฎางคิกมรรคองค์ ๘ นี้ เอาปัญญาศีล สมาธิ นี่เมื่อปฏิบัติตรัสอย่างนี้ เมื่อเป็นความรู้เฉย ๆ ตามตามแบบของความรู้ ศีล สมาธิปัญญา นี่มีทั่วไป ต้องดึงเป็นทั้งกลุ่มเลย และถ้าจะยกขึ้น พูดเพียงอย่างเดียวให้เด่น ก็ต้องยกเอาปัญญาออกมา เหมือนกับข้อที่ว่ากาเมกุฐาสมาติ (นาทีที่ 15.52) ผู้รู้กล่าวว่า ปัญญาประเสริฐ เหมือนดวงดาวเด่น พระจันทร์นะ จันทร์เด่นกว่าดวงดาว ทั้งหมดทั้งสิ้น ข้อนี้ต้องยุติ ให้ได้ที่ว่าศีล สมาธิ ปัญญา ต้องไปด้วยกัน แยกกันไม่ได้ เพราะฉะนั้นเรื่อง ปัญญานั่นแหละ คือ เรื่องปรมัตถ์ เพราะฉะนั้นคนที่จะมีศีลก็ต้องมีปรมัตถ์ คนที่มีปรมัตถ์ก็พูดว่ามีศีล สมาธิเป็นตัวกำลัง กำลังแรง มันต้องใช้
เพราะฉะนั้นคุณจำไว้เป็นหลักว่า ไอ้เรื่องศีล สมาธิ ปัญญานี่ มันสัมพันธ์กัน แยกกันไม่ออก โดยที่ตัวศีลนั้นเป็นตัวการกระทำ แล้วสมาธินั้นเป็นกำลังเพื่อเป็นการกระทำ ปัญ ปัญญาความรู้ เพื่อการกระทำ ศีล สมาธิ ปัญญา รวมกัน เป็นหนทางว่า มรรค ถ้าแจกเป็น ๓ ก็ ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าแจกเป็น ๘ ก็เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ เป็นหนทางทั้งนั้น
เอาละทีนี้เราข้ามไปพูดถึงเรื่อง เด็กจะมีแต่ศีลโดยไม่มีปัญญาได้ไหม จะเป็นเด็ก หรือเป็นผู้ใหญ่ ก็ตาม มันขาดศีลเพระามีตัวกูของกูทั้งนั้นแหละ มันมีอุปทานเป็นเรื่องตัวกูของกู มันจึงคิดจะฆ่า คิดจะ ขโมย คิดจะอะไรต่าง ๆ นี้ถ้าเราจะให้เด็กมีศีลโดยง่าย มีศีลสมบูรณ์โดยไม่ยากลำบากนี้ ต้องให้มันรู้ปรมัตถ์ เรื่องความเห็นแก่ตัวนี่ ปรมัตถ์ของเด็ก ๆ เพียงแค่ความเห็นแก่ตัวพอแล้ว เพราะว่าความเห็นแก่ตัว คือ ตัวกูของกูนั่นเอง เด็ก ๆ จึงรู้ว่าความเห็นแก่ตัว ทำให้ทำอะไรบ้าง มันก็พอ
ทีนี้เด็ก ๆ มันจึงต้องร้องไห้ มันมีความกลัว มันมีความ ทะเยอทะยาน อะไรต่าง ๆ ซึ่งทำให้มี ความทุกข์ มันก็ต้องดับด้วยความรู้ ประเภทปรมัตถ์ ด้วยปัญญา อย่าเห็นแก่ตัว มาเป็นข้อแรก เป็นปรมัตถ์ สำหรับเด็ก ๆ แล้วก็สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องมีเหตุปัจจัยของมันอย่างนั้น เพราะฉะนั้น สอบไล่ตก ไม่ต้องร้องไห้ นี่บอกอย่างนี้เป็นปรมัตถ์ สำหรับเด็ก ๆ ถ้าเด็กคนไหนไม่มีความรู้ปรมัตถ์ เพียงขณะนี้แล้ว มันต้องเป็นบ้า เป็นโรคเส้นประสาท หรือมันต้องร้องไห้เรื่อย หรือมันต้องฆ่าตัวตาย
ทีนี้วัฒนธรรม โบราณของไทยเราสอนไว้ดีแล้ว พูดกันเป็นเด็ก ๆ ก็ตาม ผู้ใหญ่ก็ตาม อะไรนะ ไปตามบุญตามกรรมแล้ว อะไรอย่างนี้ นี่มันเป็นปรมัตถ์ชั้นสูงสุด ไม่ต้องเสียใจ ก็พอเห็นใครตายลงนี้ แหมสิ้นกรรมที สิ้นกรรมไปที วิเศษ นี้มันเรื่องยอดของปรมัตถ์นะ ไอ้สิ้นกรรมนะ มันเรื่องยอดสุดของ ปรมัตถ์ ชาวบ้าน ชาวนา ชาวไร่พูดเป็น คนนี้ตายลง สิ้นกรรมไปที นี่มันเป็นคำพูดที่สูงสุดในทางปรมัตถ์ แต่ว่าเขาจะเข้าใจ หรือไม่เข้าใจนั้น มันอีกอีกเรื่องหนึ่ง ที่เขาพูดนั้น พูดตามธรรมเนียม ตามวัฒนธรรม ไทยก็ได้ แต่ว่านั่นแหละ คือ ตัวปรมัตถ์แหละ
ทีนี้เด็ก ๆ ก็จะต้อง เข้าใจอย่างนั้นแหละ ว่านี่การที่แม่ตาย พ่อตายนี้เป็นเรื่อง ภัยตามเหตุ ตามปัจจัย นี่ยอดของปรมัตถ์ แล้วพ่อแม่สิ้นกรรมไปที ไม่ต้องเวียนวายไปอีกที ก็เป็นการดีแล้ว เราไม่ต้องร้องไห้ เด็ก ๆ จะมีปรมี ปรมัตถ์ ถึงขณะที่ไม่ต้องร้องไห้ ไม่ต้องเป็นทุกข์ นี้เรื่องศีล ตัวอะไร มันอย่าไปตาม ใจตัวเอง อย่าเห็นแก่ตัวเอง มันเป็นเรื่องที่ แต่ละคนมีกรรมเป็นของตน นี่ก็ว่าไป เด็ก ๆ ก็จะมีศีล พยายามจะมีศีล
ที่นี้ก็บอกต่อไปอีกว่า ไอ้ศีลนี่มันขาดเพราะความเห็นแก่ตัว เพราะฉะนั้นเราพยายามอย่าไป หลง มีอะไรเป็นตัวกูของกู อย่างเห็นแก่ตัว มันจะไม่เห็นแก่ผู้อื่น มันจะทำลายประโยชน์ของผู้อื่นนี่ ไอ้ว่าอย่า ๆๆ เห็นแก่ตัว อย่ายึดมั่นเรื่องตัว มันใช้ได้หมด เป็นยาหม้อใหญ่ สารพัดนึกใช้ได้หมด จะให้เด็กนี้มีศีลก็ได้ จะให้เด็กรักบ้านก็ได้ จะให้เด็ก ไม่ต้องร้องไห้เมื่อสอบไล่ตก ไม่ต้องร้องไห้เมื่อ พ่อตายแม่ตาย ไม่มีปัญหาที่ต้องห่วง ไม่หลับเรื่องอนาคต เรื่องจะไม่เจริญ เรื่องอะไรอย่างนี้ แล้วก็เด็ก ๆ จะมีสติปัญญา รู้จักลู่รู้จักทาง ที่จะต้องไป อย่างมีเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ต้องเป็นฮิปปี้
ที่นี้ปัญหาในอนาคตของเด็ก ๆ ทั่วทั้งโลก คือ จะเป็นฮิปปี้ อย่างนี้ถ้าว่าเด็ก ๆ จะมีความรู้เรื่อง ปรมัตถ์แล้ว จะไม่เป็นฮิปปี้ได้ โดยเด็ดขาดเลย ฉะนั้นบ้านเมืองไหนประประเทศไหน กลัวเด็ก ๆ จะเป็น ฮิปปี้ รีบสอนปรมัตถ์แก่เด็ก ๆ ให้ถูกต้อง เรื่องศีลไม่ต้องสอนก็ได้ เพราะว่ามันถูกปรมัตถ์และปัญญานี้ ลากพาไป แต่ว่าขนบธรรมเนียนประเพณี มันก็สอนเรื่องศีล เรื่องระเบียบ เรื่องวินัยกันอยู่แล้ว ก็เป็นอันว่า สอนอยู่แล้ว แต่ว่าทำไม่ได้ รักษาศีลจนตายก็ไม่มีศีล แก่หัวงอกแล้วมันก็ไม่มีศีล เพราะมันไม่รู้จักรักษาศีล ไม่ใช้ปัญญาให้ลากศีลไป มันก็มีไม่ได้ นี่เรียกว่า เรียนหนังสือจนตายมันก็ไม่รู้ อ่านหนังสือ ไม่ออก เท่ากับ ว่ารักษาศีลจนตายมันก็ไม่มีศีล ในเรื่องปรมัตถ์ เรื่องตัวกูของกู เรื่องไม่มีตัวกูของกูนี่ เป็นเรื่องสำคัญ ที่ทุกคนจะต้องรู้ ตามระดับ ตามอัตรา ตามภูมิ ตามชั้นของตัว เด็ก ๆ ก็ต้องรู้ไปตามภาษาเด็ก ๆ หนุ่มสาว ก็ต้องรู้ไปตามภาษาคนหนุ่มสาว คนแก่คนเฒ่าก็รู้ไปตามภาษาคนแก่คนเฒ่า นี่พวกฆราวาส แล้วพวกพระ รู้ให้ดีไปตามแบบของพวกพระ
ที่นี้ขอแทรกนิดหนึ่งว่า การที่เขาให้คนมา หนุ่ม ๆ มาบวชชั่วคราวนี่วิเศษนะ ถ้ารู้จักฉวยเอา ประโยชน์ เพราะว่าการจะศึกษาเรื่องตัวกูของกูให้ดี ให้สมบูรณ์นั้น สู้เป็นนักบวชไม่ได้ เพราะฉะนั้นคน หนุ่น ๆ สาว ๆ มาบวชพระบวชชีเสียสักพักหนึ่ง สัก ๑ พรรษา ๒ พรรษา ก็ตามเถอะ รีบสนใจเรื่องนี้ เรื่องยึดมั่นถือมั่น เรื่องตัวกูของกูนี้เป็นอย่างไร ทำอย่างไรจะควบคุมได้ แล้วสึกออกไปดี แต่นี่มันบวชแล้ว มันเหลวไหล มันไม่รู้ประสีประสาอะไร ดีแต่เย่อหยิ่งจองหองอย่างนี้ มันก็ มันก็ไม่ได้อะไร บวช ๓ พรรษา มันก็ไม่ได้อะไร แต่ศึกษาไอ้หัวใจพุทธศาสนา เรื่องไม่ยึดมั่นถือมั่นให้ดีดี กลับไป ออกไปเป็นฆราวาสอีก จะดี จะเป็นพลเมืองทีดี จะเป็นบิดามารดาที่ดี เป็นสามีที่ดี เป็นที่ดีได้ คือ ควบคุมชีวิต ตัว ครอบครัว อะไรได้
เพราะฉะนั้นถ้าจะบวชพรรษา ๑ ไปศึกษาเรื่องนี้ เรื่องปรมัตถ์ ไม่ยึดมั่นถือมั่นนี่ จะไปบวชศึกษา เรื่องหิริโอตตัปปะ นั้นอ่านก็ได้ นั้นง่ายจนใครก็อ่านรู้เรื่อง สึกไปแล้วก็เรียนได้ ก่อนสึกก็เรียนได้ อย่ามา ทำลายเวลาที่บวช ๓ เดือนเสียด้วยเรื่องอย่างนั้น เวลา ๓ เดือนที่ว่า บวช ๓ เดือน ๔ เดือนนั้น มีค่าที่สุด นี้ต้องเรียนสิ่งที่มีค่าที่สุด คือ ปรมัตถ์ ปรมัตถ์ เรื่องที่จะทำลายตัวกูของกูได้อย่างไร นี้ถ้ามีความรู้เรื่องนี้ บังคับตัวได้ แล้วไม่ต้องกลัว เรื่องหิริโอตตัปปะมันสมบูรณ์เอง คนที่มีความรู้ปรมัตถ์ประเภทนี้แล้ว ไปทำอะไรผิด เรื่องที่ปฏิบัติไม่ได้ นี่มันเป็นอานิสงส์ของปัญญา ที่ทำให้รู้จักอะไรหมด มีการกระทำ ถูกหมด
เพราะฉะนั้นเขาจึงว่า ศีลก็ดี มิ่งขวัญก็ดี อะไรล่ะ ความรู้ก็ดี ธรรม คือ การปฏิบัติก็ดี เป็นไปตาม อำนาจของปัญญา ถ้าเราจับจุดของปัญญาให้ได้ จับยอดของปัญญาให้ได้ว่า สรุปแล้วคือ สัมเพธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ นี้ศึกษาให้ดี ให้เข้าใจเสียในเรื่องบวช ๓ เดือนนี้ ก็จะ ได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ประเสริฐที่สุด ในเวลาที่สั้นที่สุด ที่แพงที่สุด ที่เราบวชได้ถึง ๓ เดือน ศึกษาเรื่องปรมัตถ์นี้ให้เต็มที่ อย่าไปเสียเวลาศึกษา เรื่องโลก ๆ เรื่องวิธีปฏิบัติ เรื่องอะไรทำนองนี้ มันจะพอตาม ๓ เดือนนี้มันจะพอ สำหรับออกไปเป็น ฆราวาส ที่บังคับตัวเองได้ คือ บังคับตัวกูของกูได้ นี่ก็ปลอดภัยจนตลอดชีวิต
อย่าลืมว่าไอ้ที่ปฏิบัติ ท้ายนวโกวาทนั้น ก่อนบวชก็เรียนได้ บวช เสร็จแล้วก็เรียนได้ เรียนเมื่อไร ก็เรียนได้ เป็นฆราวาสอยู่หยก ๆ ทำงานไปพลาง เรียนไปพลางก็ได้ แต่เรื่องปรมัตถ์เป็นตัวกูของกูนี้ มันทำอย่างนั้นไม่ค่อยได้ หรือไม่ได้ ต้องหาโอกาสบวชพิเศษ เข้าขึ้นป่า ขึ้นภูเขา อยู่ป่า อยู่วัดอะไร ๓-๔ เดือน แล้วเรียนจริง ๆ แล้วสึกออกไป เป็นฆราวาส ที่คงกระพันชาตรี คือ กิเลส รบกวนได้ยาก นี่ความเข้าใจผิดที่ ว่าเด็กไม่ควรเรียนปรมัตถ์ ฆราวาสไม่ควรเรียนปรมัตถ์ เกิดขึ้นได้อย่างไร ก็ไม่ทราบ พวกพระ ๆ นี่สอนผิด ๆ แล้วชาวบ้านก็เลยเข้าใจผิด ๆ คือ ต้องบวช ๓ เดือน ให้เรียนแต่เรื่องที่จะปฏิบัติ เสร็จกันเลย เลยไม่ได้รับประโยชน์อันแท้จริง ของไอ่้ของการบวช หรือความมุ่งหมายของการบวช
สมัยก่อนโน้น ครั้งพุทธกาลโน่น มันคนละแบบกัน คือว่าคนเบื่อโลกแล้วไปบวช บวชแล้วก็ไม่มี พูดถึงสึก มันก็ไปได้ง่ายสิ ไปได้ง่าย เดี๋ยวนี้มันจะให้คนหนุ่ม ๆ บวช แล้วมันก็บวชอยู่ไม่ได้นาน มันต้อง สึก ก็ต้องให้เรียนเรื่องที่มีประโยชน์ หลังจากสึกไปแล้ว ให้เป็นผู้ ที่คงกระพันชาตรีต่อกิเลส อย่าให้กิเลส ย่ำยีได้ง่าย นี้ถ้าพวกที่อยากบวช ไม่มี ไม่มีปัญหาเรื่องสึก มันก็ยิ่งดี ยิ่งเรียนไปได้เรื่อย เรียนไปได้เรื่อย ไม่มีที่สิ้นสุด แต่พวกที่ ๓ เดือนสึก นี้ก็ต้องรีบเรียนให้ทันแก่เวลา ๓ เดือน ให้รู้เพียงพอ ในเรื่องปรมัตถ์ หัวใจของปรมัตถ์ แล้วออกไปเป็นพลเมืองที่ดี
ที่นี้เราจะเห็นได้ทันทีว่า ไอ้ศีลนั้น ศีลธรรมหรือศีลนั้น เป็นระเบียบที่ฆราวาส คฤหัสถ์ต้องปฏิบัติ แล้วเรื่องปรมัตถ์นะจะช่วยแก้ขัด ข้อขัดข้องในการปฏิบัติ และจะช่วยดับทุกข์ในเมื่อการปฏิบัติ มันไม่ สมหวัง เมื่อการปฏิบัติมันหรือการงาน มันไม่เป็นไปตามที่ต้องการ จะต้องร้องไห้ หรือต้องฆ่าตัวตายนี้ ไอ้เรื่องปรมัตถ์มันจะช่วยไว้ได้ ดังนั้นคนจะไม่เป็นโรคเส้นประสาทเลย ถ้าทุกคนมีความรู้ เรื่องปรมัตถ์ เดี๋ยวนี้มนุษย์มันโง่ มันบ้า มันแสนจะบ้า มันไม่สนใจเรื่องปรมัตถ์ มันจึงเป็นโรคเส้นประสาท กันเต็มบ้าน เต็มเมือง เต็มโลก เป็นโรคจิตครึ่ง ๆ กลาง ๆ กันเต็มบ้าน เต็มเมือง เต็มโลกมากขึ้นทุกที โทษที่มันไม่สนใจ เรื่องปรมัตถ์ ฆราวาสไม่สนใจเรื่องปรมัตถ์ ผลมันเกิดขึ้นอย่างนี้
ที่นี้เด็ก ๆ มันจะไปเป็นฮิปปี้ มันขาดความรู้เรื่องปรมัตถ์ เด็กขาดความเรื่องรู้เรื่องปรมัตถ์ ผลมันจึงเป็นอย่างนี้ ที่นี้เราพูดอีกทีหนึ่งว่า เด็กหรือฆราวาสนั้นมันขาดความเรื่องตัวกูของกู หรือดับเสีย ซึ่งตัวกูของกู คือ ความรู้เรื่องปรมัตถ์นั่นเอง ถึงว่าผมพูดอย่างนี้ ก็หมายความว่า ผมพูด เรื่องตัวกูของกู ที่เกี่ยวกับเด็ก หรือเกี่ยวกับฆราวาส ที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจพอสมควร แล้วจัดการมันให้ได้ แล้วเรื่องนี้ มันไม่ใช่ทาขนมปัง ๒ หน้า มันก็ทำแซนวิสมากกว่า เอาขนมปังประกบไอ้กับเนื้ออะไร ที่เขาใส่ไว้ ตรงกลาง นั่นมีคนใส่บาตรแซนวิสถมไป ข้างนี้เป็นศีลประคับประคอง เรื่องการงาน ข้างนี้เป็นปรมัตถ์ มีปัญญา ควบคุมชีวิตและการงาน
ที่นี้ไอ้ไส้แซนวิสอยู่ตรงกลางนั้น คือ ชีวิต มันเป็นแซนวิส แล้วมีถมไป ที่คุณคึกฤทธิ์ มองผิว ๆ เผิ่น ๆ เขลา ๆ ว่า ขนมปังทา ๒ หน้า ทาเนย ๒ หน้า นั้นมันจะจับได้ยังไง มันก็เลอะมือตายโหงเลย ทำไมไม่มองเหมือนแซนวิส มันเป็นไอ้ ของ ๒ อย่าง ช่วยประกับเอาไว้ ไม่ให้ชีวิต หันเหไปทางผิด เดินอยู่ในทางถูก ทาเนย ๒ หน้า มันก็ไม่มีประโยชน์เหมือนกัน ข้างหนึ่งก็เนยข้างหนึ่งก็เนยเหมือนกัน แซนวิสข้างหนึ่งขนมปัง ข้างหนึ่งก็ขนมปังก็เหมือนกัน แต่ความหมายมันต่างกัน มันช่วยกำกับ ประคับประคองชีวิตตรงกลางนั้น อย่าให้มันรั่วไหลไปไหน ให้มันได้ประโยชน์ดี
เพราะฉะนั้นเด็ก ๆ ในหน้าที่การงาน ต้องมีศีล ในส่วนจิตวิญญาณ ส่วนลึก ต้องมีปรมัตถ์ มีความรู้ชั้นสูงสุด แล้วประกบกันเข้ามา เหมือนกับแซนวิส ชีวิตเด็กอยู่ตรงกลาง มันก็เลยไม่ไม่เป็น อันตราย นี่ขามีความรู้เรื่องตัวกู เรื่องการบังคับตัวกู ตัดเสียซึ่งตัวกูอย่างถูกต้อง เอาละขอย้อนหลัง ไปอีกนิดว่า เด็ก ๆ สมัยปู่ย่าตายายของเรานี่ มันรู้จักพูดจาอะไรเป็นปรมัตถ์มาก กว่าเด็กเดี๋ยวนี้ เด็กเดี๋ยวนี้ ก็รู้จักพูด ในเรื่องไนต์คลับ เรื่องบาร์ เรื่องท่าเต้นรำ เรื่องอะไรต่าง ๆ แต่เด็กสมัยก่อนโน้น พูดเป็นเรื่อง อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา เมื่อเกิดอะไรขึ้น เด็ก ๆ สมัยโน้นยังพูดเป็นว่า โอ,้ อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา พุทโธ ธรรมโม สังโฆอะไรนี้ หรือพูดเรื่องบาป เรื่องบุญ อะไรเป็น เด็กสมัยนี้พูดไม่เป็น จนกระทั่งเป็นหนุ่ม เป็นสาว ไม่มีพูดเป็นเรื่อง อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา พลั้งอย่างนี้ไม่เป็น
ไอ้สมัยโบราณ เด็ก ๆ ที่ไม่ ที่เราหาว่ามันเด็กไม่รู้อะไรนะ มันพูดเป็น พูดตามพ่อแม่ อย่างน้อย มันก็มีความรู้สึกได้บ้างว่า พ่อนี้ต้องตาย แม่นี้ต้องตาย เรือนนี้ไฟก็ไหม้ไป มันพูดได้ มันนึกได้ เด็กสมัยนี้ พูดไม่ได้ นึกไม่ได้ สอบไล่ตกก็ ร้องไห้ แล้วเอาเงินไปซื้อข้อสอบ ทำให้ข้อสอบรั่ว มันทำได้อีกหลายอย่าง มากมาย เพราะความที่มัน ไม่รู้ปรมัตถ์นั่นเอง กระทั่งมันทำระเบิดขวด กระทั่งมันไปเป็นฮิปปี้ เด็ก ๆ สมัยนี้ เอากับมันสิ เพราะมันขาดความรู้ทางปรมัตถ์ เพราะฉะนั้นถ้าพ่อแม่พี่น้องคนไหน สงสารเด็ก ๆ ก็ จงให้ความรู้ทางเรื่องปรมัตถ์ พอสมควรแก่ อัตภาพของเด็ก ให้เด็กมีลักษณะเหมือนแซนวิส มีชีวิตอยู่ ตรงกลาง มีศีลกำกับอยู่ข้าง มีปัญญาปรมัตถ์ กำกับอยู่ข้าง ผนึกกันเป็นกำลัง คือ สมาธิ มันก็ไปได้ดี
นี่เรื่องตัวกูของกู สำหรับเด็ก สำหรับฆราวาส จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ เพราะเหตุเช่นนั้น แหละ พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่า เรื่องสุญตา ซึ่งเป็นเรื่องที่ตถาคตกล่าวนั้น เป็นประโยชน์สุข เกื้อกูลแก่ เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน นี่ตรัสแก่พวกฆราวาส แล้วเมื่อเขาไม่รับเอาเอง ก็ตามใจเขาสิ แต่การที่ ฆราวาสบอกว่า นี้สูงไป ไม่ไม่ต้องการนี่ ก็ไม่ใช่หมายความว่า พระพุทธเจ้าจะเพิกถอน ไอ้ระเบียบอันนี้ หรือว่าหลักเกณฑ์อันนี้ ไปถามอีก พระพุทธเจ้าก็ยังตรัสว่า ไอ้สุญตานี้ มีประโยชน์ตลอด เกื้อกูลตลอดกาล นานแก่เธอทั้งหลายอยู่นั่นแหละ
เพราะฉะนั้นขอให้ถือว่า แม้กระทั่งปัจจุบันนี้ เรื่องสุญตา เป็นเรื่องที่มีประโยชน์เกื้อกูลแก่เธอ ทั้งหลาย กับฆราวาส ตลาดกาลนานอยู่เสมอไป เพราะฉะนั้นจงพยายาม ให้เด็ก ๆ มีความรู้ เรื่องสุญตา เรื่องว่างจากตัวกูของกูนี่ ตามสมควรแก่อัตภาพของเด็ก ๆ เอาละก่อนแต่จะหยุดนี่ ผมอยากจะบอก ส่วนตัว เรื่องส่วนตู เรื่องส่วนตัว คือว่าผมนี่กำลัง ถูกใครเขามอง มองดูในแง่ว่า วิปริต อุตริวิตถาร เช่นว่า ปรมัตถ์สมควรแก่เด็กนี่ เขาก็มองในแง่อุตริวิตถาร พยายามที่จะ ให้คนทั่วไป ศึกษาเรื่องว่าง เรื่องความว่าง เรื่องจิตว่างนี้ เขาว่าเป็นคนอุตริวิตถารนะ
พอเดี๋ยวนี้ผมกำลังจะพูด ว่ารบกันไปพลาง แลกธรรมะกันไปพลางนี่ ก็ยังคงมีคนว่าผมบ้าอีกนะ ที่ว่ารบกันไปพลาง แลกธรรมะกันไปพลาง คือ ปาฐกถานี้ เขียนเสร็จแล้ว ส่งไปพิมพ์ ไปแปลภาษาอังกฤษ แล้วต้องไปพูดที่มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ วันที่ ๑๑ เดือนหน้านี้ จะไปหรือไม่ไปมันก็ยังไม่แน่ แต่ว่ามันก็พูด แค่ว่ามันมีอย่างนั้น แต่ผมจะพูดเรื่องว่ารบกันไปพลาง แลกธรรมะไปกันพลาง นี่คือ ความจำเป็นของโลก สมัยนี้ เพราะว่าเรื่องที่มันโกรธกัน ระแวงกัน รบกันนี่ต้องมีเรื่อย เป็นไปเรื่อย หยุดไม่ได้ อินเดียรบกับ ปากีสถาน รบกับนาคาอย่างนี้ เกาหลีใต้รบกับเกาหลีเหนือ เวียดนามรบกับ อเมริกันนี่ (นาทีที่ 34:40) อิสรา อิสราเอลรบกับอาหรับ มีอยู่ทั่วไปทั้งโลกเลย หยุดไม่ได้
เพราะฉะนั้นรบกันไปพลาง แลกธรรมะกันไปพลาง แล้วธรรมะที่จะแลกนี้ก็ไม่มีธรรมะอื่นหรอก ต้องเป็นธรรมะที่เป็นหัวใจ ของศาสนาทุกศาสนา แล้วก็ทุก ๆ ศาสนา มันต้องการจะตัด ความเห็นแก่ตัว ศาสนาไหนสอนเรื่องการตัดความเห็นแก่ตัว นั่นไม่ใช่ศาสนา อย่าเรียกมันว่า ศาสนา (นาทีที่ 35:09) มันเป็นศาสนาที่ต้องเป็น (นาทีที่ 35:12) แล้วมันต้องทำลาย ความเห็นแก่ตัว ตัดตัดความเห็นแก่ตัว กระทั่งตัดความรู้สึกว่ามีตัว เราบอกพวกฝรั่งว่า ไอ้กางเขนนั้นนะ ตัวขึ้นยืนนี่คือ ตัวฉันนะ ไอ แล้วเส้น ขวางนี้คือ ตัดตัวเสีย หัวใจของคริสเตียน เป็นหัวใจเดียวกับพระพุทธศาสนา ว่า ตัดตะวา ทุปาทาน (นาทีที่ 35:33) ตัวกูของกูเสีย เพราะฉะนั้น คำว่า ธรรมะที่จะแลกเปลี่ยนกัน ในระหว่างมนุษย์ที่กำลังรบกัน นี้ก็ คือ การทำลายความเห็นแก่ตัว ทำลายตัวเสีย ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา แลกเปลี่ยนธรรมะนี้กัน
นี่เขาก็ว่าผมบ้าอีกนะ ผมก็รู้ รู้ก่อนเขาว่า รู้ก่อนที่จะพูดอย่างนี้ แล้วเรามันต้องพูดสิ่งที่เป็น ความจริง และมีประโยชน์ ส่วนจะน่าฟังหรือไม่น่าฟังนั้น ตามใจ แต่ว่าเมื่อสิ่งนี้มันจริงและมีประโยชน์ และจะต้องพูดอธิบาย ส่วนจะฟังน่าฟัง หรือไม่น่าฟังก็ตามใจ เพราะฉะนั้นที่เกี่ยวกับส่วนตัวผม ไม่ต้อง นึกอะไรมากนะ แต่ผมบอกให้รู้ว่าทุก ๆ คนจะมอง หรือว่าผมนี่อุตริวิตถารผิดปกติ หรือกระทั่งเป็นบ้า ในที่สุด นับตั้งแต่สอนเรื่องสุญตาแก่ฆราวาส กระทั่งลงไปถึงเด็กอย่างนี้ กระทั่งให้ศึกษาแต่เรื่องความว่าง และให้แลกเปลี่ยนความว่างกัน แม้ในสนามรบ ไอ้พูดเรื่อง ศาสนาพุทธกับคริสต์มีหัวใจเหมือนกัน นี่ก็ถูก ด่าเยอะเลย พวกที่เคร่งครัด พวกพุทธที่เคร่งครัด ก็ด่าว่าผมพยายามเป็นคริสต์ พวกข้างคริสต์ มันก็ว่าผมนี้ คริสต์บางคนก็ว่า ผมนี้ ลุกล้ำหรือเอาเปรียบ ไปด้านมืด ไปอะไร มันก็ไปได้ต่าง ๆ แต่ความจริงไม่มีอะไร เราชี้ ชี้ให้เขาว่า ทุกศาสนานี้มันจะเหมือนกัน ตรงที่ จะต้องตัดตัวกู ของกูทั้งนั้น
สรุปความกันทีก็ว่า ไอ้เรื่องตัดตัวกูของกูนี้ จำเป็นแก่ทุกคน เด็ก ผู้ใหญ่ บรรพชิต นักบวชอะไร ก็ตาม จำเป็นแก่ทุกคน แล้วก็จำเป็นกับปัญหาทุกชนิด ทุกยุค ทุกสมัย แม้ในสมัยที่มันกำลังรบรา ฆ่าฟัน กัน ต้องแลกเปลี่ยนความรู้ข้อนี้ นี่ใจความที่จะพูดวันนี้ ก็ว่า เรื่องตัวกูของกูนี้เป็นปรมัตถ์ และจำเป็น แม้แก่เด็ก ๆ และฆราวาส ต่อจากวันก่อนที่ว่า ไอ้ความทุกข์มันเกิดตั้งต้นขึ้น ว่าเมื่อตัวกูมันอยากดีนี่ นี่เป็นยอดปรมัตถ์นะ ถ้าฟังไม่ถูกก็ว่าบ้า ถ้าฟังถูกก็ว่าเป็นยอดปรมัตถ์ ความทุกข์ตั้งต้นขึ้นมา เมื่อตัวกู ของกู มันอยากดีนี่ ไปดูเองเถอะเด็ก ๆ ที่มันร้องไห้ เมื่อสอบไล่ตก หรือมันอะไรก็ตาม มันเป็นความทุกข์ เกิดตั้งต้นขึ้นมา เมื่อตัวกูของกูมันอยากดี อย่างนี้ นี่ต้องสอนปรมัตถ์กันให้ถูกต้อง ให้รู้จักอยากดีนี้ ให้เป็น เป็นจนไม่ต้องอยากดี แล้วมันก็จะไม่มีความทุกข์ เพราะฉะนั้นถ้ามีเวลาวันหลัง เราพูดกันอีก ไอ้เรื่องว่า ไอ้ความทุกข์มันตั้งต้นเมื่อตัวกูมันอยากดี นี้เรื่อยไป เดี๋ยวนี้ชี้ให้เห็นว่า เด็ก ๆ ก็ตาม ชาวบ้านก็ตาม มีความทุกข์ตั้งต้นขึ้นมาเมื่อมันอยากดี อยากด้วย ความโง่ มันอยากด้วยอุปาทาน มันอยากด้วยอะไร ซึ่งไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่สติปัญญาเลย อย่างนี้
ทีนี้อยากให้สังเกตหน่อยว่า ไอ้เรื่องยึดมั่นถือมั่นนี้มัน มีกระทั่งเวลา วันนี้เวลาของเราผิดไปมาก แต่เราพูดได้เห็นไหม เดี๋ยวนี้เวลามันผิดไปมาก จากที่แต่มันก็พูดได้ ไอ้ยึดมั่นถือมั่น เรื่องระเบียบว่าถ้าไม่ ตรงตามเวลานั้น แล้วไม่พูด มันจะบ้าหรือดี ลองคิดดู ถ้าไม่ได้อย่างนั้นแล้วจะไม่เอา ถ้าไม่ได้อย่างนี้ แล้วจะไม่ทำนี้ มันก็เรื่องบ้าหรือเรื่องดี ถ้าเราไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ไม่มีตัวกู ยกหูชูหาง ทำเมื่อไรก็ได้ มากก็ได้ น้อยก็ได้ ไม่นอนคืนนี้ก็ได้ หรือนอนก็ได้ มันต้องอย่างนั้น ที่ไปยืนยัน ยึดมั่นระเบียบผิดระเบียบ ผิดเวลา แล้วหาว่าไม่มีระเบียบนี้ คนนั้นมันโง่เอง
ให้ปล่อยไปตามเหตุผล นี่คือระเบียบนะ คือยุติธรรม แจกไม่เท่ากัน แจกตามไอ้คุณสมบัติของคน ผู้ได้รับแจกนั้นแหละ คือ ยุติธรรม ไม่ใช่ว่าต้องแจกคนละ ๕ บาทรวด จึงยุติธรรมอย่างนี้ ดังนั้นไอ้เรื่อง ระเบียบ หรือไอ้หลักเกณฑ์ อะไรต่าง ๆ นั้น มันเป็นเรื่องบ้าบออยู่มาก อย่าไปยึดมั่นนะ เรื่องเวลา เรื่องระเบียบ เรื่องรูปร่าง เรื่องแบบฟอร์ม เรื่องอะไรต่าง ๆ คืนนี้ไม่นอนก็ได้ คืนนี้นอนทั้งคืนก็ได้ หรือว่า นอนครึ่งคืน ก็ได้ มันแล้วแต่เหตุผล แล้วแต่ไอ้การงาน แล้วแต่ไอ้ความต้องการของสติปัญญา วิสาขะ มาฆะ ไม่นอนก็ได้ แล้วเวลาอื่นนอน ทั้งวันทั้งคืนก็ได้ มันต้องได้ ตามที่เหตุผลมันต้องการ สติปัญญามันต้องการ
ทีนี้ตัวกูของกู มันจะมายืนยัน โอ้, ไม่เอา เอาตามนั้น นั้นมันข้อแก้ตัว ของคนที่ขี้เกียจ ของคน ที่ไม่จริง ของคนที่ไม่อยากจะทำ เพราะฉะนั้นผมก็ชอบเหมือนกัน ที่ทำอะไรตามเหตุผล ตามสติปัญญา ไม่ต้องทำตามระเบียบ ที่วางไว้สำหรับ สภาพปกติ เช่น พอ ๕ โมงเลิกนี่ ถ้าถ้าฝรั่งมันถืออย่างนั้นมันก็โง่ สู้คนไทยไม่ได้ ปู่ย่า ตายาย ทำตามเหตุผล ทำตามสติปัญญา หรือบางทีก็ทำกลางคืน กลางวันไม่ทำก็ได้ นี่วันนี้เรา ทำงานเลยเวลา มันผิดเวลา แต่ก็อย่าเข้าใจว่ามันเป็นเรื่อง ไม่มีระเบียบ มันเป็นระเบียบที่ลึก เป็นปรมัตถ์ ระเบียบที่เป็นปรมัตถ์ ไม่ใช่ระเบียบเถรตรง ซื่อบื้อ อย่างคนกระต่ายขาเดียวนั้นนะ ไอ้ซื่อ ๆ เถรตรง กระต่ายขาเดียวนั้นมันคือ ตัวกูของกู ที่บ้าจัด ที่ยกหูชูหางนะ ที่เป็นไปตามเหตุผล ตามสติปัญญา ต่าง ๆ นั้นนะ คือว่า มันไม่มีตัวกูของกู
เพราะฉะนั้นผมสอนบ้า ๆ ไอ้คำว่า จงทำอะไรไม่ให้เป็นระเบียบ ทั้งที่เคยพูดไว้ว่า ทำอะไรให้เป็น ระเบียบ แต่ในความหมายนี้ สอนไม่ต้องทำอะไรเป็นระเบียบ ทำไปตามสติปัญญา ตามเหตุผล ตามความจริง ที่มันเปลี่ยนแปลงไปตาม กาละเทศะ ไอ้นี้ที่กลับ ระเบียบระเบียบอย่างยอดสุด เห็นไหม คำพูดไม่สำคัญ ความหมายดิ้นได้ เอาละพอกันทีแล้ววันนี้ ผมนอนก็เหนื่อยเหมือนกัน คุณทำงานก็เหนื่อย