แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เอ่อ, ตามที่ทราบกันอยู่แล้วว่าวันนี้เรามีการบรรยายพิเศษเฉพาะผู้ที่จะต้องลาสิกขาบท ฉะนั้นก็จะพูดเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ที่จะลาสิกขาบทตามที่จะนึกได้ทุกเรื่อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือเรื่องที่เกี่ยว อ่า, กับฆราวาสหรือคฤหัสถ์ หรือแล้วแต่จะเรียก
ข้อแรกที่สุด เอ่อ, ก็ จะอยาก อยากจะพูดเสียเลยว่าคำสั่งสอนเกี่ยวกับคฤหัสถ์นี่ เอ่อ, พระพุทธเจ้าจะได้ตรัสจริงหรือไม่ เรื่องนี้มันต้องถือตามหลักที่ เอ่อ, วางไว้ทั่วไป คือมันมีปัญหาว่าเรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัสหรือไม่ เขาใช้หลักมหาปเทสเป็นเครื่องตัดสินว่า ถ้ามันลงกันได้กับหลักใหญ่ในพรหมจรรย์นี้หรือในศาสนานี้ ก็เรียกว่าลงกันได้ในสูตร ลงกันได้ในวินัย แล้วก็ ถือว่าพระพุทธเจ้าตรัส การที่จะเพียงแต่ยืนยันว่ามีอยู่ในพระไตรปิฎก แล้วจะเป็นพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ เอ่อ, ไม่ถูก หรือพระพุทธเจ้าท่านตรัสห้ามเสียเอง เรื่องเกี่ยวกับคฤหัสถ์นี้ก็มีอยู่ในพระไตรปิฎก และก็มีสูตรยาวอยู่สูตรหนึ่งซึ่งว่าแต่เรื่องนี้ ว่าแต่เรื่องของคฤหัสถ์ มันทำให้มีผู้สงสัยว่าทำไมมันยาวมากอย่างนี้ สูตรพวกยาวที่ยาวที่สุดก็เรียกว่าทีฆนิกาย ทีฆะแปลว่ายาว หมวดที่ว่าด้วยสูตรที่ยาวที่สุดจนไม่น่าเชื่อว่าพระพุทธเจ้าจะได้ตรัสมากคราวเดียวได้ยาวถึงอย่างนั้น เช่นมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น มันพ้นวิสัยที่ว่าจะตรัสคราวเดียวยาวขนาดนั้น เลยทำให้สันนิษฐานว่าต้องเป็นเรื่องที่รวบรวมมา แล้วก็มาร้อยกรอง แล้วก็ใส่เข้าไปในพระไตรปิฎกในการทำสังคยนาครั้งหลังๆ เมื่อเป็นอย่างนี้ก็มิได้หมายความว่าให้เลิกยึดถือเป็นหลัก ยังคงถือตามหลักเดิมว่ามันลงกันได้ในสูตร ลงกันได้ในวินัย แม้ว่าในสูตรหรือในวินัยอื่นๆ ไม่ ไม่มีพูดถึงเรื่องนี้เลย แต่โดยใจความโดยหลัก โดยความมุ่งหมายหรือโดยอะไรก็ตามมันลงกันได้ ไม่เป็นไร มันลงกันได้กับในสูตร ในวินัย แล้วให้ถือเอาเป็นว่า พระพุทธเจ้าตรัส มันมีหลักสำคัญอยู่ที่ว่า แม้ได้ยินจากปากพระพุทธเจ้าโดยตรง จากพระโอษฐ์โดยตรงก็ยังใม่ให้เชื่อ ให้ไปทบทวน คิดค้นให้มันมีเหตุผลเสียก่อน แล้วปฏิบัติดู แล้วค่อยจึง อ่า, จึงค่อยเชื่อ
นี้ สูตร สูตรยาวเกี่ยวกับคฤหัสถ์นี่ก็มีหลักที่เราพอจะมองเห็นได้ว่า มันตรงกันกับหลักของพระพุทธศาสนา ลงกันได้ในสูตร ลงกันได้ในวินัย เช่น พอเริ่มแรกของสูตรมันก็มีกล่าวถึง คนที่เขาไหว้ทิศตามแบบเก่า ตามแบบที่สอนกันอยู่ก่อน ที่พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ในหมู่อารยชนน่ะ เขาไม่ไหว้ทิศกันอย่างนี้ เขาไหว้กันโดย อ่า, วิธีของพระอริยเจ้าหรืออารยชน ก็เลยทรงจำแนกทิศ อ่า, ทั้ง ๖ เป็นอย่างนั้นๆ แล้วก็ปฏิบัติต่ออย่างนั้นๆ จึงจะเป็นการไหว้ทิศตามแบบของอารยชน ไอ้ข้อนี้มันมองเห็นชัดอยู่แล้วว่า เป็นความถูกต้อง หรือเป็นแสงสว่างที่ดีกว่า เป็นปัญญาที่ดีกว่า อ่า, มันลงได้กับหลักหรือหัวใจของพุทธศาสนา เรียกว่าพุทธะ แปลว่า รู้ว่าตื่น ว่าเบิกบาน ฉะนั้นการไหว้ทิศชนิดนี้มันจึงเป็นพุทธะ หรือของคนมีปัญญา และการไหว้ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ตะวันตกนั้น มันก็เป็นพิธีรีตองที่สืบกันมา หรือว่าแฝงความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ แต่ว่าไอ้คนที่ไหว้นั้นมันไม่รู้เสียแล้ว มันมัวแต่ไหว้โดยคิดว่าจะเป็นสวัสดีมงคลเท่านั้นเอง มันก็เรื่องงมงาย นี้พอมันกลายเป็นเรื่องสติปัญญา เป็นเรื่อง อ่า, วิชาความรู้ เรื่องเหตุผล เรื่องตัวจริงอะไรขึ้นมา มันก็กลายเป็นเรื่องที่ลงกันได้ในสูตร ลงกันได้ในวินัยของพุทธศาสนาที่เป็นไปเพื่อสติปัญญา เมื่อเราแปลความหมายของคำว่าทิศเป็นอย่างนี้ มันก็ยิ่งเป็นสติปัญญา แล้วก็มี มีเหตุผล มีเหตุผล อ่า, เกิดขึ้นมาใน มันเป็นเหตุผลที่เกิดขึ้นมาในตัว อยู่ในตัว แสดงอยู่ในตัวว่า ว่านี่ ข้อนี้เป็นคำ อ่า, สั่งสอนของพระพุทธเจ้า จะโดยตรงหรือโดยอ้อม ก็ถือว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่โดยอ้อมก็มีหลักว่า ถ้าจะให้พระพุทธเจ้าตรัสจะตรัสอย่างไร ท่านก็ต้องตรัสอย่างนี้ มันมีเหตุผลที่ทำให้ท่านต้องตรัสอย่างนี้ และคำที่กล่าวอย่างนี้ก็เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัส นี่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องออกมาจากพระโอษฐ์ อ่า, โดยตรง อันนี้ก็เป็นหลักที่ต้องถือทั่วไปว่า อ่า, พระพุทธเจ้าตรัสหรืออยู่ในฐานะที่พระพุทธเจ้าจะต้องตรัสอย่างนี้ แต่เป็นคำกล่าวของคนอื่นก็ได้นะ ฉะนั้นสูตรทั้งหลายที่มันยาวมาก หรืออยู่ในสภาพที่ไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าจะตรัส อ่า, โดยตรงก็ได้รับการรับรองแล้วมาอยู่ในพระไตรปิฎก
แล้วทีนี้เราก็มาถึงตัวเรื่อง ในสูตร สูตรนี้ที่กันเรียกกันว่าสิงคาลวาทสูตร (นาทีที่11:07) ในปาฏิกวรรค ทีฆนิกาย มันก็ถือได้ว่าเป็น อ่า, หลัก หรือเป็นระบบที่สมบูรณ์อยู่ในตัวสูตรนี้ที่เกี่ยวกับฆราวาส เรื่องปลีกย่อย เบ็ดเตล็ด เล็กๆ น้อยๆ อาจจะมีอยู่ที่อื่น แต่ก็ไม่ ไม่ ไม่ ไม่แปลกไปจากนี้ อาจจะสงเคราะห์รวมเข้าไปอยู่ที่สูตรสูตรนี้ได้หมด เพราะสูตรๆ นี้มันเป็นไอ้หัวข้อสำคัญที่ประมวลไว้ได้ทั้งหมด คือเรื่องทิศหก ก็เลยถือเอาเป็น อ่า, สูตรที่ตรัสเกี่ยวกับฆราวาสโดยเฉพาะ ไอ้ปัญหาที่เหลืออยู่อีกก็อาจจะมีว่า นี้ก็มีปัญหาที่ว่า อ่า, เราเคยถือเป็นหลักกันว่า เรื่องอื่นพระพุทธเจ้าไม่ตรัส ตรัสแต่เรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่น หรือเรื่องสุญญตา อนัตตา ฉะนั้นอย่าลืมว่า ไอ้ ไอ้ หลักชนิดนั้นน่ะหมายถึงหัวใจ หรือตัวหัวใจของพุทธศาสนา นี้ส่วนเรื่องปลีกย่อย เอ่อ, นั้นมันอาจจะมองในแง่ที่ว่าเป็นอุปกรณ์ เป็นบริวารของเรื่องนี้ก็ได้ หรือจะถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่พระศาสดาแห่งศาสนาใดก็ตาม มีหน้าที่ที่จะต้องตอบปัญหาทุกๆชนิด แล้ว แต่จะมีคนถาม แปลว่าสติปัญญาของพระศาสดานั้นมีอยู่ พร้อมที่จะตอบปัญหา เอ่อ, ทุกชนิดตามความรู้สึกของท่าน จะเป็นพระศาสดาองค์อื่น เอ่อ, นอกไปจากพุทธศาสนา หรือแม้แต่ อื่อ, ขงจื๊อ เล่าจื๊ออะไรก็ตาม ซึ่งแกก็จะสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นหลัก แล้วก็ถูกถามปัญหาปลีกย่อยเกี่ยวกับคนธรรมดาสามัญก็ตอบได้ทั้งนั้นโดยอาศัยหลักใหญ่ๆ หลักเดิมๆ นี้ เอ่อ, มันจะบ่งให้ตอบปัญหาข้อนี้ว่าอย่างไร
เล่าจื๊อก็สอนเรื่องที่ลึกถึงขนาดที่เรียกว่าไม่มีตัวตนทำนองเดียวกับพุทธศาสนา เพื่อให้เห็นไอ้ความเป็นมายาของ ของสิ่งที่ชาว ชาวโลกเขาหลงใหลกันนะ ไอ้หลักของขง เอ่อ, ของเล่าจื๊อที่ดีที่สุด ที่ได้รับการยกย่องที่สุดก็คือมันบอกเรื่องความเป็นมายาในสิ่งทุกสิ่งที่ชาวบ้านหลงใหลกัน หรือมองไม่ออก วิงวอน (นาทีที่ 15:02) กันให้แกมาตอบปัญหาเรื่องครอบครัว เรื่องทุกข์อะไร แกก็ตอบได้ และมันก็มีประโยชน์ แล้วอาจจะลึกหรืออนุโลมเข้ากันได้กับหลักชนิดนั้น นี้พระพุทธศาสนาสอนเรื่องไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่หลงใหลในสิ่งเหล่านี้ เอ่อ, แต่เมื่อมาถูกถามเข้าถึงเรื่องครอบครัว ลูกเมียก็ตอบได้ แล้วมันก็มีหลักฐานชัดอยู่ว่าในสูตร อื่อ, ในสังยุตตนิกายโดยมากนี่ ฆราวาสแท้ๆ ไปถามเรื่องข้อปฏิบัติสำหรับฆราวาสแท้ๆ พระองค์ก็ยังตรัสเรื่องสุญญตาแก่ฆราวาสนั้น ว่าจำเป็นที่ฆราวาส อื่อ, จะต้องรู้ ต้องปฏิบัติเรื่องสุญญตา เพื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นให้เกิดความทุกข์ เพราะฉะนั้นเราต้องถือว่าเรื่องนี้ไม่ขัดกัน ในสัง เอ่, ในสูตรนั้นสอนฆราวาสเรื่องสุญญตา ในสอด ในสูตรนี้สอนเรื่องลูก เรื่องเมีย เรื่องบ้านเรื่องเรือน ก็หมายความว่าผู้ที่เห็นสุญญตา อ่า, อยู่แล้วนะ ก็ยังจะต้องปฏิบัติในเรื่อง เอ่อ, ฆราวาสนี่ เรื่องบ้านเรื่องเรือนนี่ ในลักษณะอย่างนี้ มันจึงจะเข้ารูปกันกับ อื่อ, หลักใหญ่ที่เรียกว่าสุญญตา คือผู้ที่เห็นสุญญตาก็ยังคงปฏิบัติต่อบิดา มารดา อื่อ, บุตร ภรรยา สามี อะไรอย่างนี้ ฉะนั้นอย่าไปเข้าใจว่าไอ้เรื่องโลกุตระกับเรื่องโลกิยะนี่เป็นข้าศึกปฏิบัติต่อกัน ไม่หันหน้าเข้าหากันนี่ อย่าได้เข้าใจอย่างนี้ และเรื่องนี้ก็เคยพูดในการบรรยายครั้งอื่นๆ แล้ว ว่าฆราวาสนั้นจะต้องมีหลักที่ว่าจะเดินไปนิพพานด้วยเหมือนกัน แต่ว่าเดินไปช้าๆ เพราะว่าหอบหิ้ว หาบอะไรพะรุงพะรังไปนั่นเอง ฆราวาสหรือคฤหัสถ์มันก็ เอ่อ, ต่างจากบรรพชิต ตรงที่มีเรื่องรุงรังมาก แต่เป็นเรื่องภายนอก คือเรื่อง เอ่อ, วิญญาณ เรื่องอะไร เกิดตรงนั้น(นาทีที่ 17:28) เป็นเรื่องเดียว เป็นเรื่องตรงประเด็นเดียวกัน คือจะต้องเดินไปอย่างถูกต้องเพื่อไปนิพพานด้วยเหมือนกัน ฉะนั้นการที่ในเรื่องนี้ใช้คำว่า “ทิศ” ขึ้นมานี่ เหมาะสมแล้ว เพราะคำว่า “ทิศ” มันแปลว่าทิศทางที่จะต้องเดินไป ที่เรียกว่าทิศหกนี่
ก็อยากจะพูดถึงคำว่า ”ทิศ” สักนิดหนึ่ง โดยตัวหนังสือนี่ คำว่า “ทิศ” ทิศะนี่แปลว่า เห็นหรือปรากฏ หรือสิ่งที่จะต้องเห็น จะต้องหลีกไม่ได้ เมื่อเห็นก็คือปรากฏ จะเป็นกำลังเห็นหรือเห็นแล้วหรืออะไรก็ตาม มันเป็น อ่า, การปรากฏ ก็เลยแบ่งเป็นทิศอย่างที่เรารู้จักกันนี่ ทิศตะวันออก ทิศเอ่อ, ตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ มันเป็นทิศทางหนึ่ง ทางหนึ่งซึ่งปรากฏ แล้วก็รู้จักกันมานานตั้งแต่มนุษย์ อื่อ, เห็นดวงอาทิตย์ เมื่อมนุษย์ยังป่าเถื่อน ไม่รู้ ไม่มีความรู้อะไร มันก็ยังเห็นดวงอาทิตย์ ว่าเช้าโผล่ขึ้นทางนี้ เย็นลงตกลงไปทางนั้น เมื่อมันหันหน้าไปดวงอาทิตย์ มันก็เกิดสองข้าง เป็นขวาเป็นซ้ายขึ้นมา อื่อ, มันก็เกิดทิศทาง ซ้ายขวาขึ้นมา ถึงจะซอยปลีกย่อยออกไปเท่าไร มันก็มีความหมายเป็นทิศอยู่นั่นแหละ ฉะนั้นคำว่าทิศจึง เอ่อ, มีความหมายเดียว คือเป็นที่ปรากฏที่จะต้องมอง ที่จะต้องดู ต่อมาก็บัญญัติเป็นทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ เอ่อ, เป็นชื่อภาษาต่างๆ กัน แล้วในทาง อื่อ, ศาสนานี่ยังแถมสองทิศเข้ามาอีก คือทิศข้างบนและทิศข้างล่าง ก็เลยเป็นหกทิศ
มีคำย่อที่ใช้เรียกทิศนี้อีก อย่างอื่นมีเพียงสาม สามคำ ข้างบน ข้างล่าง และโดยรอบ ที่เรียกว่าเบื้องขวาง ภาษาบาลีว่า เบื้องบน เบื้องต่ำ แล้วก็เบื้องขวาง อย่างนี้หมายความว่าเพ่งเล็งกัน อื่อ, เป็นหลักใหญ่ๆ หรือสำคัญ อ่า, ที่สำคัญที่สุดไปทางบน ทาง ทางล่าง ทาง และโดยรอบด้วยอีกทางหนึ่ง ไอ้โดยรอบตัวนี่มาแบ่งเป็นทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ แต่แล้วก็ลองไปเทียบดู ไปคิดดู ไอ้เรื่องรอบๆ ตัวนี้มันเสมอๆ กัน มันเท่าๆ กัน เป็นราย เอ่, เป็นการแบ่งเป็นปลีกย่อย เป็นเหนือ ใต้ เอ่อ, ตะวันออก ตะวันตก ไอ้ใหญ่ที่สุดที่อยู่ข้างบนและข้างล่างมันมากกว่า แต่เดี๋ยวนี้มาแบ่งเป็นทิศหก อย่างนี้มันก็ถูก คือข้างบนคงเป็นข้างบน ข้างล่างก็เป็นข้างล่าง อื่อ, ทีนี้ไอ้ ไอ้รอบ โดยรอบเบื้องขวางก็แบ่งเป็นส่วนๆ ได้เป็น ๔ ส่วน หรือ ๘ ส่วน หรือ ๑๖ ส่วนก็ตามใจ แต่ในที่นี้เอาแต่ที่สำคัญเอาเป็น ๔ ส่วน คือข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา ถึงจะมองดูให้เห็นไอ้ความเป็นธรรมชาติ หรือความรู้สึกตามธรมชาติ ที่ไปทำให้เกิดเป็นการแบ่งทิศอย่างนี้ขึ้นมา แต่ความตามความรู้สึกธรรมชาติ ธรรมดานี่ ที่คนเราจะรู้สึกได้เองว่าข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา ข้างบน ข้างล่าง ฉะนั้นขอให้สนใจ เพราะมันเป็นหลักเกณฑ์ที่ดี
ถ้าเรารู้เรื่องทั้งหกนี้ก็แปลว่ารู้เรื่องหมด รู้เรื่องหมดทุกเรื่องที่มนุษย์จะต้องเกี่ยวข้อง เพราะคำว่าข้างบนนี่มันหมายเรื่อยไปจนถึงนิพพานก็ได้ ข้างล่างนี่มันหมายลึกลงไปถึงนรกก็ได้ แล้วโดยรอบตัวมีอะไรบ้างก็แล้วแต่มันจะมี ก็แปลเป็นเรื่องหมดที่เกี่ยวกับมนุษย์จะต้องจัดการด้วย ละเว้นไม่ได้ นี่เรียกว่าทิศ ที่เรามาบวชสำหรับจะสึกนี่ก็เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะรู้เรื่องทิศนะ สำหรับผู้ที่จะกลับสึกจะออกไปแล้วก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้เรื่องทิศ เพราะว่าจะออกไปแสดงบทบาทเต็มที่ แอ่, ของมุษย์ ชนิดที่เรียกว่าสมบูรณ์แบบ ไม่ตัดลัดแต่ประการใดนี่ มันก็ต้องเกี่ยวกับทิศเหล่านี้ทั้งหมดเลย อันจะเป็นภาระมากเต็มที เพื่อเก่งกล้าสามารถ และปฏิบัติถูกต้องไปทุกทิศทุกทาง
นี้ในภาษาไทยมีคำอีกคำหนึ่งซึ่งน่าหัว ก็คือคำว่า ทิด ทิด ด สะกด อ่า, ด เด็กสะกด ต เต่าสะกด อื่อ มีอยู่ ไอ้เรื่องราวอันแท้จริงมันก็มาจาก เอ่อ, คำว่าบัณฑิต บัณฑิตเป็นภาษาอินเดีย ใช้เรียกคนที่เรียนสำเร็จจากอาศรมใดอาศรมหนึ่งมาแล้ว จนในหัวหน้าคณะอาศรมนั้นก็รับรองว่า “อ้าว, จบแล้วแก” ก็เรียกคนนี้ว่าเป็นบัณฑิต แล้วก็ไปทำอะไรตามที่ตัวต้องการจะทำ ให้กลับไปเป็นฆราวาสอีก ไปเป็นผู้ครองบ้านครองเรือน แล้วก็มีความมุ่งหมายตั้งแต่ทีแรกว่า เราไปเข้าอาศรมนี้ ไปเข้าไปอยู่ ศึกษาในอาศรมนี้ก็เพื่อจะกลับออกมาครองเรือนนี้ก็มีเหมือนกัน พอจบแล้วก็เรียกว่าบัณฑิตมาตั้งแต่ครั้งบรมโบราณ เดี๋ยวนี้ก็ยังเรียก ก็แปลว่าคนที่เข้าไปเรียนในหมู่คณะใดคณะหนึ่ง จบหลักสูตรของหมู่คณะนั้น พร้อมที่จะออกไปเผชิญโลก ก็เรียกว่า บัณฑิต
ที่นี้วัฒนธรรมไทยของเรานี่รับมาจากอินเดีย นี่ไม่ต้องพูดกันแล้ว เรื่องต่างๆ ชาวอินเดียมาเป็นครูบาอาจารย์ มาในรูปของวัฒนธรรมและศาสนา ฉะนั้นจึงมาสอนหมดทุกอย่าง กระทั่งคำพูดที่เป็น อ่า, ภาษาสูง ภาษา อ่า, ราชสำนัก หรือภาษาชนชั้นสูง หรือภาษาศาสนา ฉะนั้นภาษาไทยเราที่เป็นคำชั้นสูง ชั้นดีแค่ไหนก็เป็นภาษาอินเดียหมด คือภาษาสันสกฤต ฉะนั้นพวกชาวอินเดียเหล่านี้ก็เอาไอ้ระบบนี้มาให้แก่คนไทย ที่ว่าถ้าเรียนอะไรจบแล้วก็เรียกว่าบัณฑิต นี้คนที่ไปบวชในศาสนา กลับ เอ่อ, เอ่อ, เรียน เรียนเป็นที่พอใจแล้วกลับออกมา นี้ก็เรียกว่าบัณฑิตด้วยเหมือนกัน ออกเสียงตามภาษาอินเดียก็ว่า บัณ-ฑิต บัณ อ่า, ปัณ-ฑิ-ตะ เป็นไทย อ้า, ก็เป็นบัณฑิต บัณ อ้า ปัณ-ฑิ-ตะ นั่นภาษาเดิม อันนี้ตรงกันทั้งบาลีและ สันสฤต อ่า, ปัณฑิตะ ปัณฑะนั้นเป็น เป็นตัวปัญญา เป็นคำเดียวกับคำว่าปัญญา เรียกว่าปัณฑะ หรือปัณฑาก็มี ทีนี้อิตน่ะ อิตะ แปลว่าถึง หรือมี ฉะนั้นบัณ อ้า, ปัณฑิตะก็แปลว่าพูดถึง หรือมีปัณฑา ปัณฑาก็ปัญญาที่จะทำให้ เอาตัวรอดได้ ฉะนั้นบัณฑิตก็ผู้มีปัญญาเอาตัวรอดได้
ที่นี้ เอ่อ, ภาษาไทยเรามีการเปลี่ยนแปลงไปตามภาษาไทยแท้ ไอ้ ป มาเป็น บ ไอ้ ด นางมณโฑ มันออกเสียงเป็น ท ท ทหาร มันก็เลยเป็นบัณฑิต (บัน-ดิต) แล้วเป็น บัน-ทิต เป็นบัณฑิต (บัน-ทิต) ทีนี้บัณไม่มีความหมายสำคัญอะไรนัก ก็เลยเอาเหลือแต่ทิต กลายเป็นฑิต คือ ฑิตะ (ดิตะ) ย่อมาจากปัณฑิตะ คงจะเป็นที่พอใจ เอ่อ, เป็นที่ยอมรับ เป็นสถาบันทางความคิด ทางอะไรขึ้นมาได้พักหนึ่ง คำว่า ฑิต นี่ แล้วมีคนชอบให้ลูกสาวแก่ฑิต นี้ต่อมาๆ ไอ้ฑิตนี่มันเลวลง มันเหลวไหลเข้า เพราะว่าเมื่อใครเห็นว่าโอกาสนี้เป็นโอกาสดีเว้ย ก็ชิงกันเข้าไปบวชใหญ่ คนบ้าๆ บอๆ ก็ไปบวชกลับออกมาได้เป็นทิด มันกลายเป็น ด สะกด คือ ด เด็ก สะกด คือทิดบ้าๆ บอๆ กลายเป็นไอ้คำสำหรับล้อไอ้คนเซ่อซ่า รุ่มร่ามที่ไปบวชแล้วกลับออกมา นี่มันเป็นทิดขึ้นมาอย่างนี้ เพราะภาษาไทยเราไม่ออกเสียง ด นางมณโฑ ว่า ด ออกเสียงเป็น ท ฑิต ต สะกดก็มี ทิด ด สะกดก็มี ไอ้ ฑิต ต สะกดไปตามเดิมคือถูกต้อง ไอ้ทิด ด สะกดนี่เป็นเรื่องล้อ เป็นเรื่องเซ่อซ่า บ้าๆ บอๆ มันสึกออกไปเป็นฑิต ก็ให้เป็น ต สะกด ตามความหมายของปัณฑิตะ อย่าให้เป็นทิด ด สะกด สำหรับล้อ ทีนี้จะเป็นฑิตได้หรือฑิตที่ดีได้ คือเป็นบัณฑิตนั่นแหละก็จะต้องปฏิบัติให้ถูกในเรื่องทิศ ๖ ประการนี้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ลุก (นาทีที่ 29:15) หรืออะไรก็ตามที่คำมันเกิดตรงกันขึ้น รู้เรื่องทิศแล้วก็ได้เป็นฑิตที่ดี ตัวสะกดไม่เหมือนกัน แต่เสียงออกเสียงเหมือนกัน เพราะฉะนั้นผู้ที่จะสึกออกไปนี่จะต้องรู้เรื่องทิศให้ถูกต้อง แล้วก็ปฏิบัติได้เป็นอย่างดีคือทิศ ๖
ทีนี้เราก็พูดถึงเรื่องทิศ ๖ โดยตรง ตัวทิศ ๖ โดยตรง ผมอยากจะให้ตั้งข้อสังเกตตามหลักของธรรมชาติ หรือวิทยาศาสตร์ก็วิทยาศาสตร์ตามธรรมชาติ อื่อ, กันอีกทางหนึ่งด้วย ในการที่เราจะเรียงลำดับทิศน่ะ ถ้าเรียงลำดับตามในพระบาลี เอ่, สูตรนี้ เขาก็เอาทิศตะวันออก อื่อ, เอาทิศตะวันออกก่อนแน่ๆ แต่นี้มันเรียงอย่างไรนี่ อื่อ, ทิศ ทิศ เอ่อ, ทิศตะวันออก แล้วก็ไล่ไปทิศใต้ แล้วก็ทิศตะวันตกแล้วไปทิศเหนือ รอบตัวเหมือนกับที่เราพูดกันโดยมาก แล้วก็ทิศข้างบน แล้วก็ทิศข้างล่าง อย่างนี้มันก็ได้เหมือนกัน มันมีหลักเหมือนกัน คือว่าไล่จากทางทิศทางตะวันออกไปทางขวามือ เป็น เอ่อ, เวียนไปตามนี่เรื่อยมา จนมาบรรจบรอบ ก็ได้ ๔ ทิศ บัญญัติตามหลักนั้นมันก็ได้เหมือนกัน แต่ถ้าเราจะเอาตามธรรมชาติ จำง่ายแล้วก็เอาว่าข้างหน้า ข้างหลัง อื่อ, ข้างซ้าย ข้างขวา แล้วข้างบน ข้างล่าง เด็กๆ ก็จะ เอ่อ, เกิดความเข้าใจได้ มันเลยเป็นทิศตะวันออก เป็นทิศตะวันตก แล้วทิศเหนือ แล้วทิศใต้ แล้วทางทิศบน ทิศล่าง ที่เราเคยพูดกันอยู่มาก ก็พูดทิศตะวันออก ตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ แต่ในบาลีไม่มี ยังเป็นทิศตะวันออก แล้วก็ทิศใต้ แล้วทิศตะวันตก แล้วทิศเหนือ นี่เอาเป็นวงกลมเวียนประทักษิณไปเลย คือเวียนไปทางขวา นี้ก็มีหลักอันหนึ่งซึ่งมีลักษณะค่อนข้างเป็นการบัญญัติหรือว่าศักดิ์สิทธิ์ เวียนขวาไปเรื่อยจนทิศทั้ง ๔ แล้วก็มีเป็นทิศทั้ง ๖ ขึ้นมา ทีนี้เอาตามภาษารู้สึกสามัญสำนึกแม้แต่เด็กๆ ข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา เรามีมืออย่างนี้ มีซ้าย มีขวา แล้วก็ข้างหน้า ข้างหลัง แล้วก็บนหัวแล้วก็ปลายตีน ข้างล่าง
เมื่อมันได้เป็นรูปทิศขึ้นมาอย่างนี้ละก็ ให้รู้ความหมายสิว่าทิศทางไหนมันเอามาใช้เป็นสัญญลักษณ์ของไอ้เรื่องอะไร ในพระบาลีนั้นก็พูดถึงทิศตะวันออกก่อน คือทิศข้างหน้า คนเรามันมีหน้าอยู่ที่ไหน ข้างตรงหน้ามันสำคัญกว่าอะไรหมด ก็เอาบิดามารดาไปบรรจุไว้ที่นั่น ทิศตรงหน้าคือบิดามารดาโผล่ขึ้นมา ทีนี้ทิศข้างหลัง มันก็ต้องคนที่มีความที่สำคัญน้อยกว่าเรา หรือว่าที่เราลากๆ มาข้างหลัง ก็คือบุตร ภรรยา ในสูตรนี้พูดถึงบุตรภรรยาไม่พูดถึงสามี ก็เพราะว่าตรัสแก่คนหนุ่ม ผู้ชาย จึงพูดถึงบุตรภรรยา ถ้าจะใช้เป็นหลักทั่วไปได้ด้วย มันก็ต้องพูดถึงสามีอะไรด้วยเหมือนกัน ทีนี้มาเริ่มจากซ้ายขวา ซ้ายคือเพื่อน เอ่อ, ขวาคือครูบาอาจารย์ มันมีความหมายต่างกัน บิดามารดา แล้วก็บุตรภรรยา แล้วญาติมิตร แล้วครูบาอาจารย์ นี้ข้างบน แผง (นาทีที่ 34:05) อยู่ในข้างบนก็เป็นสมณพราหมณ์ มองไปข้างล่างก็คนในบ่าวไพร่ ทาส กรรมกร คนใช้ ลูกจ้าง อะไรก็ตามใจ
นี่เราจะมองเห็นว่ามันเป็นหลักที่ดีขึ้นมาทันที ครบถ้วนทั้งที่เกี่ยวกับฆราวาสขึ้นมาทันที ทีนี้ถ้าเกิดใครอุตริถามขึ้นมาว่า เอาประเทศชาติไปไว้ที่ไหนล่ะ เอ่อ, ไม่เห็นมีพูดถึงประเทศชาติ คุณก็ลองใช้สติปัญญาดูเอง ว่าจะเอาไว้ที่ทิศไหนล่ะ แต่ข้อแรกเลย เอ่อ, ต้องนึกเสียก่อนว่า ไอ้, ไอ้เรื่องนี้ คำสอนข้อนี้มันพูดเกี่ยวกับบุคคล พูดแก่บุคคล ไม่ใช่พูดแก่สังคม ไม่ได้พูดแก่ แก่ส่วนรวม เพราะฉะนั้นเลยกลายเป็นเรื่องส่วนตัวบุคคล ภายในครอบครัว ภายในตัวบุคคลเสียมากกว่า แต่ถึงอย่างไรก็ไม่เว้นที่จะต้องก็ยังมีการระลึกนึกถึงประเทศชาติ ซึ่งมันเป็นที่ตั้งเอ่อ, ของไอ้ทุกสิ่งเหล่านี้ ไอ้ประเทศชาตินี่มันก็ควรจะอยู่ในทิศรอบตัวเป็นอย่างน้อย คือรอบตัวหรือทุกทิศ ทิศเบื้องขวางทั้งหมดนี่มันรวมกัน แล้วมันก็เป็นประเทศชาติที่เราจะต้องระลึกถึง หรือว่าเป็น เอ่อ, เป็นที่รวม เป็นส่วนรวมของไอ้สี่ทิศนี้ แต่ถ้าจะตัดบทให้แคบ มันก็อยู่ในพวกที่เรียกว่าญาติและมิตรนี่ คือทิศเบื้องซ้ายเพราะว่าคนในชาติ ในนี้มันก็คือญาติและมิตรทั้งหมดของเรา แต่ดูจะให้ความสำคัญแก่ชาติน้อยเกินไปก็ได้ เอ่อ, อ่า, ตามความรู้สึกของคนบางคน แต่ผมว่ารวมอยู่ในทิศเบื้องซ้ายนี้ก็ได้ มีญาติและมิตรทั้งหมดนั่นก็คือประเทศชาติ เรามีประเทศชาตินั่นก็คืออยู่กันอย่างญาติและมิตร เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ถ้าไม่จุใจก็เอาทั้งหมดทั้ง ๔ ทิศรวมกันเป็นประเทศชาติ หรือว่ารวมทางจิต ทางวิญญาณเข้าไปด้วยก็เอาทั้งข้างบน ข้างล่างด้วย
นี้ถ้าหากว่าตัวหนังสือมันมิได้ปรากฏ หรือมิได้มีอยู่ ขอให้รู้จักตีความอย่างนี้ ขอให้รู้จักขยายความออกไปอย่างนี้ โดยไม่ต้องตัดประเทศชาติเอาไปทิ้งเสีย เดี๋ยวพระพุทธเจ้าจะกลายเป็นผู้ที่ไม่กตัญญู คือว่าไม่ ไม่สมบูรณ์ ไม่รอบคอบ ถ้าเกิดมันรู้สึกขัดข้องอย่างนั้นขึ้นมาแล้วก็ให้ถือไว้ว่า ให้ถือไว้ก่อนว่ามันเป็นความไม่รู้ของเราเองที่จะตีความ ไม่จำเป็นจะต้องไปตีความว่าพระพุทธเจ้าท่านไม่เป็นชาตินิยม ท่านจะไม่พูดเรื่องชาติ หรือชาติอะไร ไม่จำเป็นจะต้องตีความอย่างนั้น ถ้าตีความอย่างนั้นมันก็ได้เหมือนกัน เพราะเดี๋ยวนี้มันพูดกันเรื่องธรรม เรื่องธรรมะ ไม่ใช่เรื่องโลก แม้จะพูดเรื่องโลก เรื่องลูกเรื่องเมียเรื่องไอ้อะไรเหล่านี้ แต่มันพูดในแง่ของธรรมะ ไม่สร้างความรู้สึกที่เป็นกิเลส เป็นชาตินิยม อย่างนี้ก็ เอ่อ, ก็พอจะมองเห็น แต่อย่าลืมว่าไอ้เรื่องชาตินิยมนี่ก็ยังต้องมี และต้องเป็นธรรมะด้วยเหมือนกัน ฉะนั้นถ้าเราจะมีชาตินิยม ความรู้สึกที่เป็นชาตินี่ก็ต้องให้มันถูกต้องตามหลักของธรรมะ เป็นชาตินิยมที่มีธรรมะก็ยิ่งดี คือรับผิดชอบ เอ่อ, ในความเป็นมนุษย์ของเรา เป็นพลเมืองของชาติ แล้วก็ทำให้มันเกิดผลดีที่สุด อย่างนี้ก็เรียกว่าชาตินิยมเหมือนกันในความหมายที่ดี ผู้ที่เป็นฑิตเป็นบัณฑิตออกไปนี่หลีกไม่พ้น เอ่อ, เพราะว่าอยู่ในโลกที่ต้องมีชาติที่ต้องรับผิดชอบ ให้ถือไอ้หลักความต้องรับผิดชอบนี้เป็นหลักใหญ่ ถ้าปราศจากความรับผิดชอบแล้วก็ไม่ใช่มนุษย์ที่มีอารยธรรม แล้วอย่าลืมว่าแม้คนป่าสมัยหินมันก็เริ่มมีความรับผิดชอบ เริ่มรู้จักสิ่งที่เรียกว่าความรับผิดชอบ ยิ่งมนุษย์สมัยนี้ก็ยิ่งมี อ่า, ความรับผิดชอบนี่เป็นเครื่องวัดของความเป็นมนุษย์ มนุษย์ต้องมีความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ ศาสนา อ่า, พระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญ อะไรก็ตามใจแล้วก็สิ่งเหล่านั้นมันเป็นไอ้ที่รวมที่ตั้งของสิ่งเหล่านี้ที่เป็นส่วนบุคคล
เอ้า, ทีนี้ก็มาถึงหลักอีกข้อหนึ่งที่ว่า อื่อ, พุทธศาสนานี่มีหลักว่า จะเล็งไปจากส่วนย่อย เป็นปรัชญาแบบวิเคราะห์ หรือ analyse นี่ มันก็ถือเอาหลักที่ว่าให้คนๆ หนึ่งทำดี แทนที่จะไปเอ่ยถึงให้ทุกคนทำดี ให้ ให้คนๆ หนึ่งทำดีแล้วก็ไม่มีปัญหาอะไรมาทำกับทุกคน แล้วทั้งหมดมันก็ดี แล้วมันเป็น practical คือว่ามันอาจจะทำได้ง่ายกว่าที่ว่าจะไปเกณฑ์ให้ทุกคนทำดี มันไปบังคับกันยาก นี้ถ้า ถ้าทุกคนหลับ เอ่อ, ตั้งหน้าหลับหูหลับตาทำความดี อ่า, พอเสร็จแล้วมันก็กลายเป็นทุกคนทำความดีขึ้นมาโดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นเราจึงพูดเรื่องทิศ ๖ ในลักษณะเป็นส่วนบุคคล และเมื่อทุกคนปฏิบัติตามทิศ ๖ ถูกต้อง มันก็กลายเป็นเรื่องส่วนรวม หรือประเทศชาติที่ดี ฉะนั้นเราตั้งหน้าปฏิบัติไปเรื่องทิศ ๖ ให้ดี มันก็หมดปัญหาได้เหมือนกัน
นี่คือข้อที่ว่าบวชเข้ามาเป็นนักศึกษาในอาศรมนี้ อาศรมของพระพุทธเจ้านี่ แล้วกลับออกไปเป็นบัณฑิต แล้วก็ไปเป็นฑิต คือผู้ที่ปฏิบัติถูกต่อทิศทั้งปวง จึงจะสมกับที่ว่า ลาบวชชั่วสามเดือน หรือว่าบวชตามธรรมเนียมประเพณีของคนหนุ่มที่ว่าบวชสามเดือน หรือว่าบวชพรรษาหนึ่งหรือสองพรรษาก็ตามใจ ในระยะอันสั้นก็แล้วกัน แล้วกลับออกไปเป็นฆราวาส นี่มันเป็นความมุ่งหมายอย่างนี้ ซึ่งที่แท้ไม่ใช่ความมุ่งหมายเดิมของพุทธศาสนา ประเทศที่เขาถือพุทธศาสนาอย่างเคร่ง อย่างเคร่ง อย่างเครียดหรืออะไร เขาไม่มีการสึกกัน อย่างประเทศพม่า ลังกา ไม่มีระเบียบธรรมเนียมสำหรับสึกมาแต่เดิม ประเทศไทยเราแต่เดิมก็คงจะเป็นอย่างนั้น แล้วต่อมาก็มีระเบียบให้สึก มีธรรมเนียมให้สึก มีความนิยมว่าสึกได้ มัน ความหมายมันก็เปลี่ยนได้ มาเรียนเรื่องที่จะไปเป็นฆราวาสที่ดีกันเสียก่อน คนหนุ่มมาบวชเสียพรรษา สองพรรษา แล้วก็ไปเป็นฆราวาสที่มีหูตาสว่างสำหรับดำเนินชีวิตให้สมบูรณ์ในฝ่ายวิญญาณ แต่ว่าเมื่อก่อนนี้ไม่มีอะ การศึกษาอย่างโลกๆ มันก็ไม่มีที่ไหนนอกจากในวัด เพราะฉะนั้นการมาบวชในวัดอย่างสมัยโบราณมันก็ได้ทั้งเรื่องวิญญาณ และเรื่องโลก เรื่องโลกๆ เรื่องร่างกายนี้ เรื่องไหนๆ ก็เรียนกันในวัด วิชาอาชีพก็เรียนกันในวัด จนกระทั่งเรียนเรื่องพระธรรม เรื่องมรรคผลนิพพานก็เรียนกันในวัด ฉะนั้นการเข้ามาบวชในวัดได้วิชาทั้งสองฝ่าย ทั้งสองซีก ฉะนั้นเป็นการถูกต้องแล้วที่คนจะต้องมาบวชกันเสียสักทีหนึ่งก่อน แล้วค่อยสึกออกไป ก็เป็นความฉลาดไม่ใช่ความโง่ แล้วจะต้องถือว่าอันนี้เป็นความฉลาดของวัฒนธรรมไทยที่ให้บวชเรียนกันเสียก่อน แม้ไม่ใช่ความมุ่งหมายเฉพาะของพุทธศาสนา ซึ่งมีว่าคนที่ผ่านโลกเสร็จแล้วจะไปหาความสุขชั้นสูงต่อไป จึงไปบวชนั้นมันหลักเดิมทั่วไป เดี๋ยวนี้มันมีหลักเฉพาะ เฉพาะกาล เฉพาะ อ่า, กรณีอะไรขึ้นมาว่า เรามาเรียนเรื่องนี้ให้รู้หนทางไว้ทุกๆ อย่าง แม้จะออกไปเดินทางอย่างธรรมดาสามัญที่ง่ายด้วยเพศฆราวาสแล้วก็ต้องเรียน ก็กลายเป็นวัฒนธรรมอันใหม่ขึ้นมาเกี่ยวกับพุทธศาสนาสำหรับคนไทย
ทีนี้บางคนเมื่อหนุ่มมันไม่ได้บวช แล้วไปเป็นข้าราชการ เป็นอะไรเสียมันก็เป็นเรื่องลาบวชชั่วคราวเพื่อชดเชยกันนี้ มันก็เข้ารูปเดิม คือเพื่อเรียนสิ่งที่ยังไม่ได้เรียน ไม่ควรจะถือว่าบวชเอาเปรียบ บวชพักผ่อน บวช เอ่อ, อะไรทำนองนี้ เพราะว่าไอ้เรื่องที่จะต้องเรียนนี้มันยังมีมากกว่าเวลาที่เรามี แต่ว่าสามเดือนนี้มันก็เรียนเรื่องหลักธรรมะของพระพุทธศาสนา เอ่อ, โดยทั่วไป โดยส่วนใหญ่ แล้วก็เรียนเรื่องที่เกี่ยวกับสำหรับฆราวาส คฤหัสถ์โดยที่ไม่ขัดกันกับหลักใหญ่ของพุทธศาสนา ฉะนั้นจึงออกไปเป็นพุทธบริษัทที่ดี เป็นอุบาสก เป็นอุบาสิกา เป็นพุทธบริษัทที่ดีได้ เป็นการ เป็นการส่งเสริมพร้อมกันไปในตัว คือส่งเสริมตัวเองด้วย ส่งเสริม อ่า, ศาสนาด้วยให้เป็นไปดี นี้เป็น เอ่อ, ความมุ่งหมายทั่วๆ ไป เป็นทิวทัศน์ทั่วๆ ไป ที่ขอให้ทุกองค์ที่จะลาสิกขาบทนี่มองเห็นมันอย่างนี้ นี่สำหรับครั้งแรกที่พูดกันนี้ก็พูดได้แต่เพียงเท่านี้ พูดทิวทัศน์ทั่วๆ ไปในการเกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศานาจะต้องทำอย่างไร หรือว่าคนทั่วไปแม้ไม่ถือพุทธศาสนาก็ยังคงต้องทำอย่างนี้นะ นี่เป็นเรื่องที่กล้าท้า กล้าพิสูจน์ โดยบทว่า อ่า, เอหิปัสสิโก เอหิปัสสิโก มาดู มาดู คือกล้าท้าคนทุกคนในโลกที่ถือศาสนาอื่นหรือศาสนาไหนก็ตามว่า มาดู มาดู อันนี้ดี อันนี้ถูก อันนี้ไม่มีทางที่จะถูกพิสูจน์ให้เหลวแหลกไปได้ เราก็มีธรรมะนี่ที่เป็นเอหิปัสสิโกอย่างนี้ ทั้งที่ เอ่อ, สำหรับผู้จะครองเรือง และทั้งที่สำหรับผู้ที่จะไม่ครองเรือน คือไม่มีเย้าเรือน ให้อยู่ในหลักเอหิปัสสิโก คือที่จะท้าทายให้ผู้อื่นมาดูได้ ฉะนั้นขอให้ได้อย่างนี้ติดกลับออกไปจากการที่ได้มาบวชแม้ชั่วคราว นี่แล้ววันอื่นเราก็ เอ่อ, จะได้พูดถึงรายละเอียดเกี่ยวกับทิศต่างๆ นั้น อ่า, วันนี้พูดแต่เรื่องทิวทัศน์ทั่วๆ ไป หรือว่าการริเริ่มของเรื่องนี้มันมี อ่า, รูปร่างอย่างไร แล้วเวลาของเราก็หมดสำหรับวันนี้