แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไม่รู้ก็ไม่รู้ ไม่รู้ก็ตามใจคุณ ไอ้เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นเรื่องหัวใจ หัวใจของพุทธศาสนาเลย แต่คนไม่ค่อยรู้ ไปรู้ในชื่ออื่น อวิชชา คนที่มีอวิชชาคือคนที่ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ และไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทในที่สุด ถ้ายังไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทก็ยังเรียกว่ายังมีอวิชชาแหล่ะ นั่นแหล่ะ คุณยังอยู่ในอวิชชานั่นแหล่ะ เป็นไงล่ะ ที่จริงปฏิจจสมุปบาทนั้น ชาวบ้านปู่ย่าตายายของเราเอามาพูดอยู่ ได้ยินเข้าหูนั่นแหล่ะ แต่ว่าไม่รู้เรื่อง ยกตัวอย่าง บทกล่อมน้องเรื่องมะพร้าวนาฬิเกร์ นี่ก็ยังไม่รู้เรื่องใช่ไหม มะพร้าวนาฬิเกร์ ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง นี่น้าเนยรู้เรื่องหรือเปล่า ลองพูดมาสิ (.......) นั่นแหล่ะคือเรื่องนิพพาน เรื่องนิพพานเขาเอามาร้องกล่อมลูก กล่อมเด็ก กล่อมหลานให้นอน นั่นเรื่องนิพพานโดยตรงเลย หรือว่าเรื่องโลกุตระก็ได้ถ้าจะเรียก แล้วเอามากล่อมน้อง กล่อมลูก นี่คิดดูเถอะ มันก็พูดกัน ร้องกันทุกวันๆ แล้วก็ไม่รู้เลย นี่มันเรื่องแบบเดียวกันแหล่ะกับเรื่องปฏิจจสมุปบาท เขาเอามาเล่ามาพูดอยู่ทุกวันก็ไม่รู้ เรื่องมะพร้าวนาฬิเกร์ คือมะพร้าว ต้นหนึ่งอยู่กลางทะเลขี้ผึ้ง พอแดดร้อนก็เหลวเป็นน้ำ พอดึกก็เย็นแล้วแข็ง ของแข็งนะทะเลขี้ผึ้ง แล้วฝนตกไม่ถึง ฟ้าร้องไม่ถึง ฉะนั้นไม่มีความทุกข์ แค่ที่ต้นมะพร้าวนะที่ไม่มีความทุกข์ นี่ก็หมายถึงนิพพาน ให้รู้ไว้เถอะว่าปู่ย่าตายายของเรานั้นเก่ง อวดกันสักนิดเถอะว่าปู่ย่าตายายเมืองนี้ เมืองปักษ์ใต้นี้ สมัยที่เขาสร้างพระธาตุ พันสองร้อยปีมาแล้วคิดดูว่า สมัยนั้นมันเจริญที่สุดเลยทางศาสนา จนคนรู้เรื่องธรรมะสูงสุด รู้กันมาก มีชื่อเสียงมาก จนเขาเชื่อกันว่าชาวอินเดียก็มาเรียนที่สุวรรณภูมิ ติสสทีปังกร (นาทีที่ 4:27 ไม่แน่ใจครับ) ก่อนไปธิเบตมาเรียนที่สุวรรณภูมิ สิบสองปี เป็นอาจารย์ชื่อ จันทรกีรติ (นาทีที่ 4:35 ไม่แน่ใจครับ) สุวรรณภูมินี้ต้องแหลมมาลายู บนแหลมมาลายูนี้แหล่ะ มีชื่อเสียงรู้ไปถึงอินเดียนู้นคิดดู ชาวอินเดียมาเรียน สันนิษฐานว่าทุกคนต้องรู้ธรรมะอย่างยิ่งเลย มันจึงแต่งบทกล่อมน้องเรื่องนิพพานได้คิดดู สมัยนี้มันพูดกันไม่รู้เรื่อง ถ้าเราขืนพูดเรื่องนิพพานเขาว่าบ้าเลย สมัยนู้นเป็นของที่เขาสนใจตามธรรมดา แล้วคุณร้องได้หรือเปล่า มะพร้าวนาฬิเกร์ ต้นเดียวโนเน ยังร้องได้อยู่หรือเปล่า น้าเนยนี่ยังร้องได้อยู่หรือเปล่า (........) นั่นแหล่ะทิ้งของดีๆของตายาย ปูย่าตายายเสียหมด ไม่ช่วยกันรักษาไว้ ฉันอยากจะรักษาไว้ จึงลงทุนขุดสระเลย มีมะพร้าวอยู่กลางสระ เพื่อรักษาอนุสาวรีย์นี้เอาไว้ มะพร้าวนาฬิเกร์ ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง จะติดป้าย ปูนหินนี้สักแผ่นที่ริมสระนั่น เพลงนี้ สนองคุณปู่ย่าตายายที่รู้ธรรมะ รู้อะไรกันจริงจัง บทอื่นๆก็มันทำนองเดียวกัน เช่น มะม่วงหิมพาน สุกงอมหอมหวาน กลางแม่น้ำทะเลเหลือง อยู่กลางทะเล พ้นลิงพ้นค่าง พ้นสัตว์ทั้งปวง คิดดูว่าอยู่กลางทะเลจึงพ้นทั้งหมดเลย ข้อความนี้คล้ายๆนิพพานเหมือนกัน มะม่วงหิมพาน นั่นมันก็ชื่อดีอยู่แล้ว หิมะก็แปลว่าของเย็นๆนะ หิมพานต์ ก็มีหิมะ มีของเย็นๆอยู่กลางทะเลมหาสมุทร พ้นสัตว์พ้นคนที่จะไปกินถึงได้ง่าย ๆนอกจากบางคน แบบเดียวกับมะพร้าวนาฬิเกร์ ไปถึงได้ด้วยผลบุญ มีบทว่า ส้มซ่า ลูกดกหราร่า ร่มฟ้าและดิน ถ้าแปลให้ดีก็แปลได้เหมือนกัน กาไหนหาญเจาะ รอกไหนหาญกินนี่แหล่ะ (กาที่ไหนจะกล้าเจาะ กระรอกที่ไหนจะกล้ากิน) แต่ก็แปลเป็นของต่ำๆก็ได้เหมือนกันบทแบบนี้ แต่บทมะพร้าวนาฬิเกร์ไม่มีทางจะแปลให้ต่ำๆได้เลย เป็นเรื่องนิพพาน ขอให้เชื่อไว้ทีเถอะว่า ปู่ย่าตายายของเราเก่งแหล่ะ พูดเรื่องธรรมะชั้นสูงสุดไว้ นี่ฉันสันนิษฐานเอาเอง เดาเอาเองนะ ผิดหรือก็ถูกไม่รู้ ฉันว่าไอ้ที่เล่าเรื่องตากับยาย ปลูกถั่วปลูกงา ให้หลานเฝ้า หลานไม่เฝ้า กามากิน แล้วยายมายายด่า ตามาตาตีนี้นะ จนหลานต้องหานายพรานมายิงกา ยิงจนหาหนูมากัดสายธนูนายพรานนี่นะ นี่แหล่ะเรื่องปฏิจจสมุปบาท คุณเล่าถูกไหม (..........) ไม่ไหวนะ เอาเปรียบกันแหล่ะ มันเรื่องเด็กๆก็เล่าได้ นายทองเล่าได้หรือเปล่า (..........) ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยได้ยิน (..........) ชาวบางกอกโง่กว่าชาวดอน (ชาวดอน น่าจะหมายถึง ชาว อ.บ้านดอน ซึ่งปัจจุบันเป็น อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานีครับ) ไม่ค่อยได้ฟังอะไร ไม่ค่อยชอบฟังอะไร (..........) ลองคิดดูให้ดี คอยฟังแล้วลองคิดดูให้ดี ว่าตากับยายทำไร่ปลูกถั่วปลูกงา แล้วใช้ให้หลานสองคนเฝ้า หลานไม่เฝ้า ไปเล่นกันเสียแทน ที่ในไร่น่ะ ไปเล่นกันในคลองในหนอง กามากิน กินถั่วกินงา พอตายายมาถึงไร่ เห็นว่าหลานไม่เฝ้า กามากิน เลยตี ตาตียายด่า แล้วที่นี้ก็ เด็กก็เลยไปหานายพราน บอกว่าให้มาช่วยยิงกา เด็กสองคนนั้น นายพรานว่าไม่ยิง ไม่ใช่ธุระอะไรของเรา เด็กก็เลยไปหาหนู ว่าให้ช่วยมากัดสายธนูนายพราน หนูก็ไม่กัด ไม่ใช่ธุระอะไรของเรา เด็กก็เลยไปหาแมว ว่าให้ช่วยกัดหนู หนูไม่ไปกัดสายธนู ไปหาแมว ให้ช่วยไปกัดหนู แมวว่าไม่กัด ไม่ใช่ธุระอะไรของเรา เด็กก็เลยไปหาหมา หาหมามาช่วยกัดแมว หมาก็ว่าไม่กัด ไม่ใช่ธุระอะไรของเรา แล้วเด็กก็เลยไปหาไม้ค้อนให้ช่วยไปตีหัวหมา ไม้ค้อนก็ว่าไม่ตี ไม่ใช่ธุระอะไรของเรา เด็กก็เลยไปหาไฟจะให้ช่วยมาไหม้ไม้ค้อน ไฟก็ไม่ไหม้ จนเด็กก็เลยไปหาน้ำมาให้ช่วยดับไฟเสียให้หมด โกรธ ไอ้น้ำก็บอกว่าไม่ดับ เด็กก็เลยไปหาตลิ่งที่สูงๆ เป็นหน้าผาสูงๆว่าให้ช่วยพังทับน้ำให้หมด ตลิ่งก็ว่าไม่พังไม่ใช่ธุระอะไรของเรา เด็กก็เลยไปหาช้าง ไปหาฝูงช้าง ไปหาช้างสารนี้ว่าให้ช่วยเหยียบตลิ่งให้พังให้หมด ให้หมดหน้าเลย ช้างก็ว่าไม่เหยียบ ล้วนแต่ไม่เอาทั้งนั้น เด็กก็เลยไปหาแมงหวี่ แมงหวี่ แมงหวี่ให้ช่วยมาตอมตาช้าง แมงหวี่ก็เอา แล้วก็มาตอมตาช้าง ช้างก็ยอมแพ้บอกว่าไม่ต้องไม่ต้อง ช้างก็ไปเหยียบตลิ่ง ตลิ่งก็กลัวว่าไม่ต้องไม่ต้อง อย่าเหยียบ อย่าเหยียบ จะพังใส่น้ำ น้ำก็กลัวอีก บอกว่าอย่าเหยียบ อย่าพังใส่น้ำ จะไปดับไฟเอง ทีนี้ไฟก็กลัวขึ้นมาอีก ว่าอย่าดับเลย เราจะไปไหม้ไม้ค้อนเอง ไม้ค้อนก็บอกว่า อ้าว อย่ามาเลย จะตีหัวหมาเอง หมาก็ว่าอย่าตีเลยสงสารเถอะ ไปกัดแมวเอง แมวก็กลัวหมากัด บอกว่าอย่ากัด จะไปกัดหนูเอง หนูก็เลยว่าอย่ากัดเลยจะไปกัดสายธนูนายพรานเอง นายพรานก็บอกว่าอย่ากัดเลย จะไปยิงกาเอง เด็กก็ได้ ได้รับประโยชน์ตามความต้องการ นี่แหล่ะเรื่องแบบนี้แหล่ะ เราเรียกว่าเป็นลักษณะของปฏิจจสมุปบาท เมื่อมันจะเกิด มันเกิด อาศัยกันเกิด เกิด เกิด ถ้ามันจะดับ อาศัยกันดับ ดับ ดับ ดับกันมา นี่เขาเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาทนี้สิบเอ็ด ตอน ไอ้นี้มันกี่ตอนก็ไม่รู้แหล่ะ แต่ว่ามันก็คล้ายๆกันแบบนี้นะ คุณนับดูมีกี่ตอน ปลูกถั่วปลูกงา กากิน ยิงกา ไปหานายพราน ไปหาหนู ไปหาแมว ไปหาหมา ไปหาไม้ค้อน ไปหาไฟ ไปหาน้ำ ไปหาช้าง สิบเอ็ดเหมือนกันแหล่ะ พอดี บังเอิญมันสิบเอ็ด สิบเอ็ดชั้น ขาขึ้นก็สิบเอ็ดชั้น ขาลงก็สิบเอ็ดชั้น เรื่องที่มันต้องเนื่องกัน เนื่องกัน เนื่องกัน เนื่องกันไปจนเกิดเรื่องหนึ่ง เขาเรียกว่าปฏิจจสมุปบาทขาขึ้น แล้วก็ต้องอาศัยกันลง ลง ลง เขาเรียกปฏิจจสมุปบาทขาลง ขาดับ นู่นสายเกิด นี่สายดับ นี่อย่าทำเป็นเล่นกับแมงหวี่ตัวเล็กๆ สำเร็จประโยชน์ด้วยแมงหวี่ตัวเล็กๆ คล้ายๆกับว่าเรื่องที่ชาวบ้านไม่ค่อยสนใจนั่นแหล่ะ นั่นแหล่ะสำคัญ เรื่องที่ชาวบ้านไม่ค่อยสนใจ สำคัญหนักหนาเลย เข้าใจเรื่องขึ้น เรื่องลง เรื่องเกิด เรื่องดับ ตามลำดับ ตามลำดับ ที่เป็นตอนๆแบบนี้แล้วนะ เขาเรียกว่ารู้เรื่องอาการของปฏิจจสมุปบาท นี้เปรียบเป็นอุปมา เป็นคำเปรียบ เรื่องปฏิจจสมุปบาทมาพูดตรงๆนี่แหล่ะไม่ต้องเปรียบ จะยกตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่ง คอยฟังให้ดีนะ ยกตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่งว่าปฏิจจสมุปบาทนั้นมีอาการอย่างไร เหมือนกับว่าในแผ่นดิน ในโลกนี้มันมีน้ำ มันมีน้ำอยู่ แล้วก็ พอมีน้ำแล้ว แดดออกแล้วน้ำก็กลายเป็นไอ พอแดดออกแล้วน้ำก็เป็นไอน้ำ พอมีไอน้ำลอยขึ้นไป ลอยขึ้นไป มันก็มีเมฆ พอมีเมฆก็มีน้ำฝนตกลงมา น้ำฝนตกลงมา ดินก็ลื่นนะ ใช่ไหม พอดินลื่นเราก็ล้มกันแหล่ะ ฉันก็เคยล้ม คุณก็คงเคยล้ม (..........) ตาชื่นก็เคยล้ม พอดินมันลื่นมันก็ล้มแหล่ะ ล้มแล้วเจ็บนี้ เจ็บก็ต้องไปหาหมอ ก็ต้องรักษา แล้วก็หาย ของที่เนื่องๆๆๆๆกันไปหลายๆครั้งแบบนี้แหล่ะเขาเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่ชั้นเดียว สองชั้น สามชั้น หลายชั้น ตั้งสิบชั้น สิบเอ็ดชั้น เนื่องกันเรื่อยๆๆๆๆไป คุณอย่าคิดเอาเองนะ เราให้เงินไอ้ตัวเล็กไปห้าสิบสตางค์ ไปซื้อกล้วยมากิน เอาเปลือกกล้วยโยนไว้ข้างครัว แม่ครัวเหยียบลื่นล้มไป ล้มหัวแตก เราต้องหายา ตามหมอมารักษา หายามาใส่ แบบนี้เขาก็เรียกปฏิจจสมุปบาทนี่แหล่ะ ถ้ามันต้องเนื่องกันเป็นลำดับๆๆๆๆนะ เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท ต้องแก้ไขให้ถูกเรื่องราว ให้ถูกลำดับ แต่เรื่องปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นมันลึกซึ้ง มันยาก มันเป็นเรื่องที่ยากที่สุดของเรื่องทั้งหมด พูดไม่ไหวหรอก บอกตามตรงเลยว่าพูดไม่ไหว จะพูดให้คุณเข้าใจเวลานี้แค่เวลาน้อยๆ นี่พูดไม่ได้ พูดกันมากแหล่ะ ต้องพูดกันหลายวันหลายคราวแหล่ะ มันไม่มีเรื่องอะไรที่ละเอียดลึกซึ้งเท่าเรื่องปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้าก็ตรัสแบบนั้น ยกไว้เป็นเรื่องสุดท้าย เรื่องให้รู้ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องสุดท้าย ถ้าพูดเป็นเรื่องอริยสัจจะง่ายกว่า เข้าใจได้ง่ายกว่า ถ้าจะแสดงเป็นปฏิจจสมุปบาทนี้ ยากจนไม่มีใครพูด ใครพูดก็เรียกว่าเป็นคนที่มีความรู้มีปัญญาถึง แต่ว่าพูดให้พอเอาใจความนั้นบางทีจะฟังถูกนะ พูดเอาแต่ใจความนะ คุณท่องได้หรือเปล่าปฏิจจสมุปบาทน่ะ ผมให้สวดตลอดนะ เวลาสวดมนต์ สวดปฏิจจสมุปบาท อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชาปัจจัยให้เกิดสังขาร สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ สังขารปัจจัยให้เกิดวิญญาน วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ วิญญานปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ นามรูปให้เกิดอายตนะ สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส อายตนะให้เกิดผัสสะ ผสฺสปจฺจยา เวทนา ผัสสะให้เกิดเวทนา เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เวทนาให้เกิดตัณหา ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ ตัณหาให้เกิดอุปาทาน อุปาทานปจฺจยา ภโว อุปาทานให้เกิดภพ ภวปจฺจยา ชาติ ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ ชาติปจฺจยา ชรามรณํ โสกปริเทวเหล่านี้ ชาติเป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ แต่นี่คำอธิบายมันมีก็หลายชนิด คำอธิบายเป็นปุคลาธิษฐานก็มี คำอธิบายเป็นธรรมาธิษฐานก็มี แต่ถึงยังไงมันก็ยังไม่เหมือนกัน บางอย่างไม่เข้าใจได้ ที่เขาพูดกันน่ะ บางอย่างพอเข้าใจได้ ถ้าพอเข้าใจได้ ก็เหมือนกับที่เขียนภาพไว้ที่บนตึกชั้นบน บนหลังจอ (จอภาพยนตร์) ภาพนั้น อวิชชาเป็นคนถือไม้เท้า คนตาบอดถือไม้เท้า จูงต้องจูง อวิชชาไม่รู้อะไร เป็นเหตุให้เกิดสังขาร เพราะไม่รู้อะไรมันก็คิดลึกปรุงแต่งเรื่อย เปรียบเหมือนปั้นหม้อเรื่อย คนปั้นหม้อเรื่อย สังขารให้เกิดวิญญาน ก็ปรุงแต่งเรื่องให้เกิดปฏิสนธิวิญญาน ปฏิสนธิวิญญาน เหมือนกับลิงพาแก้วเข้าไปในห้อง ห้องนั้นก็ครรภ์ หรือว่าท้องนั่นแหล่ะ ห้อง เขาเรียกว่าห้อง แบบเดียวกันนะ ครรภ์นี่แปลว่าห้องก็ได้แปลว่ามดลูกก็ได้ ลิงได้แก้วพาเข้าไปในห้อง ไอ้แก้วนั่นแหล่ะก็คือวิญญาน ทีนี้วิญญานให้เกิดนามรูป เหมือนบ่าวนายสองคนพายเรือ นายพายบ่าวนั่งไปในทะเล มันมีปฏิสนธิวิญญานมันเกิด ร่างกายจิตใจ ร่างกายเหมือนกับบ่าว จิตใจเหมือนกับนาย บ่าวมันต้องพายเรือให้นายนั่งแหล่ะ นามรูปให้เกิดอายตนะ ๖ เมื่อมีทั้งกายทั้งใจแล้วก็มีโอกาสที่จะมีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย มีใจ ครบหก เป็นทวารทวาร เป็นประตูประตูเลย นี่ก็เปรียบเหมือนกับบ้านหกหลัง แล้วแต่จะเลือกเข้าไปอยู่ในบ้านไหน ใจจะเข้าไปอยู่ในบ้านไหน ทางตาก็ได้ ทางหูก็ได้ ทางจมูกก็ได้ ทางลิ้นก็ได้ ทางกายก็ได้ ทางทวารใจเองก็ได้ นี่บ้านหกหลัง อยู่ในบ้านหกหลัง อายตนะ ๖ ให้เกิดผัสสะ คือตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ก็เปรียบเหมือนสัมผัสระหว่างชายหญิง ทีนี้ผัสสะให้เกิดเวทนา รู้ความรู้สึก รู้สึกแรงที่สุด แต่ว่ารู้สึกด้วยความรู้สึกที่แรงที่สุดไม่ใช่รู้สึกตามธรรมดา เขาจึงเขียนนี้เป็นลูกศรเสียบตาทั้งสองตา ใครมีเวทนาก็เมา เกิดตัณหาก็คือเมา เมาในรสของเวทนานั่นแหล่ะ เหมือนกับคนกินเหล้าเมา เหล้าหวานก็เมา เหล้าขมก็เมา เหล้าเผ็ดก็เมา เหล้าเหม็นก็เมา เหล้าหอมก็เมา เมาได้ทั้งนั้น เขาจึงเขียนตัณหาเป็นรูปดูดเหล้าดื่มเหล้าเรื่อย ทีนี้ตัณหาให้เกิดอุปทาน เมา หมายความว่ายึดมั่นถือมั่น มันยึดมั่นถือมั่นจะเอาเป็นของเรา เป็นตัวเราเป็นของเราเสียหมด เปรียบเหมือนคนเที่ยวเก็บลูกไม้ทั่วป่า หรือลิงเที่ยวเก็บลูกไม้ทั่วไปทั้งป่า คนที่รวบรวมอะไรทั้งบ้านทั้งเมือง คืออุปาทาน ทีนี้อุปทานให้เกิดภพ เปรียบเหมือนคนท้องแก่ มีเรื่อง มีเรื่องที่จะทำให้เกิดเรื่องใหม่ ถ้ายึดมั่นถือมั่นแล้วมันจะทำให้เกิดเรื่องนั้นเรื่องนี้เป็นนู้นเป็นนี่ขึ้นมา โดยเฉพาะที่เป็นตัวกูเป็นของกูนี่แหล่ะ ขึ้นมา แล้วมันก็จะเกิดเรื่องอื่นๆ ก็จะได้เป็นความทุกข์ขึ้นมา เกิดเป็นตัวกูของกูขึ้นมาแล้วก็มีความทุกข์ขึ้นมา เมื่อยึดถือเอาความเกิดของกู ความเกิดเป็นทุกข์ เมื่อยึดถือเอาความแก่ของกู ความแก่ก็เป็นทุกข์ เมื่อยึดถือเอาความตายของกู ความตายก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่ยึดถือ ไม่ทุกข์ เมื่อมีความทุกข์แล้วก็มีชรา มีความเกิดแล้วก็มีความชรา หมายความว่ามันจะเปลี่ยนเรื่องแล้ว มันจะไปเกิดใหม่อีก ชราแล้ว พอเกิดแล้วก็แก่ แก่แล้วก็ตาย ตายแล้วก็เกิดใหม่อีก เกิดใหม่แบบเดียวกันอีก คือมีความโง่อยู่เรื่อยไป ไม่รู้อะไรอยู่เรื่อยไป อธิบายวิธีนี้เขาเรียกว่าอธิบายทางวัตถุเป็นบุคลาธิษฐาน ฉันไม่ค่อยชอบ แต่ว่าอธิบายแบบอื่นก็ฟังไม่ค่อยถูก มันก็ต้องเอาแบบนี้ไว้ด้วย เหมือนกับภาพเขียนที่ไว้หลังจอ อธิบายตามบุคลาธิษฐานแบบนี้ มันกลายเป็นเรื่องเกิด เวียนเกิด ชาติมันเท่ากับปฏิจจสมุปบาทวงหนึ่ง ชาติหนึ่งเท่ากับปฏิจจสมุปบาทวงหนึ่ง แบบนี้ฉันไม่ชอบเกิดทางร่างกาย เกิดทางพ่อแม่ ชาติเดียวปฏิจจสมุปบาทวงหนึ่ง ไม่ชอบไม่เห็นด้วย ต้องเป็นเรื่องเกิดทางจิตใจ พอใจมันยึดถือทีหนึ่งแล้วเกิดทีหนึ่ง ยึดถือว่าตัวกูของกูทีหนึ่งเขาเรียกว่าเกิดทีหนึ่ง ทีนี้ต้องอธิบายใหม่แล้ว เมื่อเดี๋ยวเก็บไว้เสียชนิดหนึ่งอย่าเอามาปน อธิบายปฏิจจสมุปบาทเหมือนที่ฉันชอบ เป็นเรื่องทางจิตใจล้วน แล้ววันหนึ่งเกิดได้หลายๆปฏิจจสมุปบาท วันๆเดียวนี่เกิดได้หลายปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่เหมือนที่เราพูดกัน ชาติเดียวเกิดหนึ่งปฏิจจสมุปบาท บางทีไม่พออีก เอาบางตอนไว้ในชาติอื่น เอาบางตอนไว้ชาติหน้านู้นอีก เอาบางตอนไว้ชาติหลังที่แล้วมามันยิ่งแล้วไปใหญ่ แล้วมันปฏิบัติยากถ้ามันอยู่กันคนละชาติ นี่อธิบายแบบที่อยู่วันเดียวมีหลายๆปฏิจจสมุปบาท มันตั้งต้นตั้งแต่ตาเห็นรูปก่อน หรือหูฟังเสียง จมูกได้กลิ่นก็ตามใจแหล่ะ ได้ทั้งนั้นไม่ว่าคู่ไหน มันต้องตั้งต้นขึ้นมาด้วย พอตาเห็นรูป แบบนี้ก่อน ในขณะที่ตาเห็นรูป คนนั้นมันเผลอ มันไม่มีสติ ไม่มีปัญญามันโง่ มันเผลอ นี้เรียกอวิชชา เพราะความเผลอ ความโง่ความเผลอนี้เป็นอวิชชา อวิชชาก็เลยปรุง ไอ้ความโง่ความเผลอมันจะปรุง จะสร้างอำนาจ ความโง่ทำให้เกิดอำนาจที่จะปรุงจิตใจ ให้เป็นจิตใจที่โง่แหล่ะ ให้เป็นใจที่โง่ ก็เหมาะที่จะโง่ เหมาะที่จะเป็นทุกข์ จิตใจตามธรรมดามันไม่โง่หรือไม่ฉลาด คุณต้องรู้ไว้นะ ถ้าเรายังไม่ตายเรามีจิตใจ แต่จิตใจนี้ยังไม่โง่หรือยังไม่ฉลาด เขาเรียกว่าจิตใจเฉยๆ ยังไม่เรียกว่าโง่หรือฉลาด ไม่เรียกว่าดีหรือชั่ว เป็นจิตใจเฉยๆนั่นแหล่ะ แต่พอเมื่อตาเห็นรูปเข้า แล้วทีนี้ความเผลอมี ความเผลอตัวเผลอสติมันมี ก็คือไม่รู้นั่นเองแหล่ะ มันจะเกิดอำนาจขึ้นมาอำนาจหนึ่งเขาเรียกว่าสังขาร อำนาจนี้จะปรุงให้จิตใจที่เฉยๆนั่นแหล่ะ จิตใจที่เมื่อเดี๋ยวเฉยๆนั่นแหล่ะ กลายเป็นจิตใจที่โง่ นี่แหล่ะเกิดวิญญาน เป็นจิตใจชนิดวิญญานโง่ขึ้นมาเลย เมื่อมีวิญญานโง่แบบนี้แล้วก็ อายตนะตานั่นแหล่ะมันกลายเป็นตาโง่เหมือนกันแหล่ะ อายตนะหน่วยตาของเรากลายเป็นตาโง่ เป็นอายตนะก็ทำงานอย่างโง่ขึ้นมา เมื่อก่อนตาไม่ได้โง่ ไม่ได้ฉลาดหรอก พอวิญญานโง่ เกิด วิญญานที่เกิดมาแต่ความโง่เกิด ไอ้ตาก็เป็นตาโง่ขึ้นมาทันที การกระทบทางตานั่นก็เป็นการกระทบที่โง่ที่หลงที่มืดขึ้นมาทันที ไอ้เวทนาก็เกิดจนหลอก หลอกลวงจิตใจให้โง่หลงขึ้นมาทันที ให้เกิดด้วยความยึดมั่นว่า เป็นอุปทานว่าตัวกูว่าของกูขึ้นมาทันที เกิดตัณหาหรือความอยากเวทนามาก่อน แล้วเกิดอุปาทานว่าตัวกูของกูขึ้นมาทันที พอมีอุปาทานตัวกูของกูในใจแหล่ะ มันก็เหมือนกับตั้งครรภ์แก่ มันเริ่มตั้งครรภ์อยู่นะ ไม่แก่ ครรภ์ไม่แก่ มันเริ่มตั้งครรภ์ แล้วจะมีตัวกูของกูคลอดออกมาเป็นภพเป็นชาติ พอตัวกูของกูจัดเต็มที่เต้นเร่าๆขึ้นมาด้วยเรื่องรูปที่สวยงามหรือรูปที่ไม่สวยงามก็ตาม นี้มันเป็นภพเป็นชาติสมบูรณ์ ถ้ามันทำอะไรลงไปเพราะเหตุนั้นก็เรียกเป็นชาติสมบูรณ์ ตั้งแต่อุปาทานเป็นต้นไปมันเรื่องความทุกข์ จะเป็นภพเป็นชาติ ทุกข์เต็มที่เลย นี่แหล่ะมันก็ไปยึดถือเป็น เป็นความทุกข์ขึ้นมาทันที ทั้งที่ความที่เกิดมามันไม่ได้เป็นทุกข์ มันก็กลายเป็นทุกข์ขึ้นมาทันที ความจริงที่เราเกิดมานี้ไม่ได้เป็นทุกข์ หรือว่าไม่เป็นทุกข์ ไม่ใช่ มันเฉยๆมันกลางๆ แต่ถ้าพอเกิดเรื่องราวแบบนี้ไอ้ชาตินี่กลายเป็นทุกข์ขึ้นมาทันที ความแก่ ไม่ว่าจะเป็นความแก่ ความเจ็บ ความไข้ ความได้ ความไม่ได้ตามต้องการความโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส เป็นทุกข์หมดเลย ธรรมดาไม่เป็นทุกข์ สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นทุกข์ เว้นไว้แต่ว่ามันมีการปรุงทำนองปฏิจจสมุปบาท อวิชชานี่แหล่ะ มันจึงจะเป็นทุกข์ ทุกอย่างมันเป็นทุกข์ กว่ามันจะหมดฤทธิ์หมดเรื่องกัน เช่น มันเกิดรักขึ้นมา ๒ ชั่วโมงนี่ กว่าจะหมด ๒ ชั่วโมง มันเกิดโกรธขึ้นมา ๒ ชั่วโมง กว่าจะหมด ๒ ชั่วโมง มันจึงจะตาย มันจึงจะตั้งเรื่องใหม่ขึ้นมาอีก จะตั้งปฏิจจสมุปบาทอันใหม่อีก แล้วก็เป็นทุกข์อีก วันหนึ่งทุกข์ได้หลายหน ทุกข์ทางตาก็ได้ เกิดเรื่องทางหูก็ได้ เกิดเรื่องทางจมูกก็ได้ ทางลิ้นก็ได้ ทางผิวหนังก็ได้ ทางจิตใจก็ได้ วันหนึ่งเกิดได้ร้อยแปด แล้วแต่จะเป็นคนชนิดไหนแหล่ะ เป็นเด็ก เป็นผู้ใหญ่ เป็นหญิงเป็นชายเป็นพระเป็นชาวบ้านอะไรเกิดได้ทั้งนั้น ถ้าเกิดทุกทีเป็นทุกข์ทุกที แล้วทีนี้ฝ่ายที่มันไม่เกิด ฝ่ายที่มันไม่เป็นทุกข์ หมายความว่า พอเราเห็นรูป พอตาเห็นรูปแล้ว สติมา นี่พอตาเห็นรูป หรือหูฟังเสียงก็ตามจริง พอตาเห็นรูป เมื่อเดี๋ยวตาเห็นรูปแล้วสติไม่มา เกิดอวิชชาทำงานทำหน้าที่ วิธีนี้ดี พอตาเห็นรูปแล้วสติมาทันทีเลย อวิชชาไม่เกิด อวิชชาดับ หรือไม่เกิดหมดเลย ทั้งสายไม่เกิด การเห็นรูปนั้นไม่เป็นทุกข์ ไม่เกิดตามลำดับเหมือนเมื่อเดี๋ยว เกิดไม่ได้มีแต่ดับ มันบังคับให้ดับ ดับ ดับ ดับ ดับกันหมด ทำงานไม่ได้นั่นเอง คือทำงานไม่ได้สักอย่างเดียว ไม่เกิดตัวกูไม่เกิดของกูขึ้นมา เพราะเห็นรูปนั้น มันก็เลย ดับทุกข์หมดตามเดิม การเห็นรูปคราวนั้นก็ไม่เกิดปฏิจจสมุปบาทไม่เกิดทุกข์ มันต่างกันแบบนี้แหล่ะ การเห็นรูปคราวไหนเผลอ อวิชชาครอบงำ ทำงานแล้วมันก็เป็นทุกข์ การเห็นรูปคราวไหนสติมีอวิชชาไม่เกิดได้ มีแต่สติ มีสัมปัชชัญญะ มีความรู้เสมอ ความทุกข์ก็ไม่อาจจะเกิด ชัยการเห็นรูปมันก็ดับดับดับดับดับกันไปตามลำดับ ไม่เกิดทุกข์ เรื่องทางหูก็เหมือนกันอีก เรื่องทางจมูก ทางลิ้น ทางอะไร เหมือนกันทั้งนั้น ลักษณะเดียวกันทั้งนั้น ถ้าเผลอแล้วมันก็เกิด เกิด เกิด เกิด เกิด เกิด เป็นทุกข์ปรากฏแหล่ะ ถ้าว่าไม่เผลอก็หยุดไปทีแรก มันก็หยุด หยุด หยุด หยุด หยุดไปหมดเลย ความทุกข์ไม่มี นี่เรื่องปฏิจจสมุปบาทที่จะเกิดทุกข์ ฝ่ายที่จะไม่เกิดทุกข์ ถ้าแบบนี้หมายความว่าปฏิจจสมุปบาทตามธรรมดาของคนธรรมดาต้องควบคุม ต้องปฏิบัติ ต้องควบคุม มันเหมือนกับจับปูใส่กระด้ง จังปูใส่กระด้ง คนบางคนฟังไม่ถูก จับเปี้ยว จับเปี้ยวใส่กระด้ง (เปี้ยว = ปูลม) คุณเคยเห็นหรือเปล่า เปี้ยว จับเปี้ยวใส่กระด้งหมายความว่าอย่างไร หมายความว่าอย่างไรจับเปี้ยวใส่กระด้ง ให้คุณโกวิทเขียนรูปจับเปี้ยวใส่กระด้งสักรูปทีสิ คนเขรอะ (“คนไม่รู้เรื่อง” เป็นเหมือนคำอุทาน) ไม่เคยเห็นเปี้ยว ไม่รู้จักกระด้ง เห็นเปี้ยวใส่กระด้ง จับเปี้ยวใส่ด้ง มันออกเรื่อย ถ้าจับเปี้ยวใส่ปี๊บมันก็อยู่แหล่ะ แต่จับเปี้ยวใส่กระด้ง มันปีนออก เหมือนกับเราที่จะควบคุมความทุกข์ ปุถุชนนี้เหมือนกับจับเปี้ยวใส่กระด้ง ได้ทีตัวหนึ่ง เดี๋ยวตัวนู้นออกมาอีก ออกเสียอีก จับตัวนู้น ตัวนี้ออกมาอีก ระวังตา ระวังหู ระวังจมูก ระวังลิ้น ระวังกาย มันตั้ง ๖ ตัวนู้น ๖ อย่างที่จะทำ มันจึงเป็นทุกข์ได้เรื่อย เผลอได้เรื่อย เราต้องจับกันเรื่อยไม่หยุดไม่ว่างเลย จับตัวนี้ จับตัวนี้ จับตัวนี้ไม่ต้องหยุดมือเลย มันไม่ไหวแหล่ะ ทีนี้พระพุทธเจ้าตรัสรู้และสอนธรรมวิธี วิธีที่ดีที่สุด เช่น อานาปานสติ เป็นต้น เมื่อปฏิบัติแล้วทำให้เป็นผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติสมบูรณ์เลย สมบูรณ์ตลอดกาล สมบูรณ์เต็มที่เลย ถ้าสติสมบูรณ์ก็ไม่ต้องระวัง ไม่ต้องระวังเหมือนกับจับเปี้ยวใส่กระด้ง มันมีวิธีอื่น เช่น บีบให้ตายเสียเลยไม่ต้องยุ่งกันอีกต่อไป ไม่เป็นแบบจับเปี้ยวใส่กระด้ง นี่มันเป็นแบบจับทีเดียวเสร็จฆ่าตายเลย ถ้าเราฝึกหัดปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าสอน เช่น อานาปานสติ มีสติสมบูรณ์ เกิดญานความรู้อยู่ตลอดเวลาแบบนี้ มันไม่เกิดปฏิจจสมุปบาท ถึงให้เข้ามาทางตา จากหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางอะไร ถ้าสติมันสมบูรณ์นี่ อวิชชามันหมดเชื้อ อวิชชามันหมด หมดเชื้อ หมดช่องทางที่จะเกิด ไม่มีโอกาสที่จะเกิดเพราะสติมันสมบูรณ์นี่ นั่นแหล่ะการปฏิบัติธรรมะให้สติมันสมบูรณ์ แล้วมันก็เกิดไม่ได้แหล่ะ พูดง่ายๆสติสมบูรณ์อวิชชาเกิดไม่ได้ อย่าดูถูกของเล็กน้อย แค่พูดว่าสติสมบูรณ์ สติสมบูรณ์เท่านั้น คนมักจะดูถูกว่าสติสมบูรณ์ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน มันเข้าใจผิดนะ ไอ้สติสมบูรณ์นั่นแหล่ะที่เป็นพระอรหันต์ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยไป อย่าประมาท แมงหวี่ แมงหวี่ตอมตาช้างตัวใหญ่ๆ วิ่งหางชี้เลย ร้องอู้เลย แมงหวี่ตัวเล็กๆ ไม่ใช่เล่น เพราะฉะนั้นเรารู้จักคำว่ามีสติกันให้ดีๆ สติปัฏฐาน หรือ อานาปานสติ ก็ได้ ฟังดูคล้ายเรื่องเล็กๆ เล่นๆ แต่ที่จริงมันไม่ใช่เรื่องเล็กๆเลย เป็นเรื่องทั้งหมดเลย มันสามารถจะแก้ปัญหาทั้งหมดเลย คือไม่ปล่อยให้อวิชชาเกิดได้ อวิชชานี่ไม่ใช่เป็นของเกิดอยู่ก่อน หรือเกิดอยู่ประจำ หรือเกิดอยู่แล้ว ไม่ใช่ มันเพิ่งเกิดเหมือนกัน คนเข้าใจผิดอวิชชาเป็นอนุสัยเกิดอยู่ตลอดกาล เกิดอยู่แล้วนี่ คนนั้นเข้าใจผิด ฉันว่านะ มันจึงเกิดเหมือนกัน ไม่มีอะไรที่จะเกิดหรือได้แบบนั้น มันเป็นของเที่ยง เว้นไม่ได้ มันของไม่เที่ยงเหมือนกัน อวิชชาก็เป็นสังขาร ไม่เที่ยง เกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ แบบนี้ มันจะเกิดต่อเมื่อได้โอกาส เช่น ตาเห็นรูปแล้วเผลอสติแล้วมันก็เกิดแหล่ะ เราทำไม่ให้เกิดได้ตลอดกาล ก็เป็นนิพพาน เป็นนิพพานที่แท้จริง เรายังต้องระวัง ต้องควบคุม ต้องนึกต้องทำเป็นเฉพาะคราว เพราะมันไม่ใช่นิพพานแท้จริง นิพพานเล่นๆ ชั่วคราว ชั่วชิมลอง ชั่วขณะ นิพพานจริงก็หมายถึงทำให้สติสัมปัชชัญญะสมบูรณ์ มีญานที่แจ่มแจ้งพร้อมที่จะเกิดมาเป็นสติ เกิดมาเป็นสติสัมปัชชัญะ สกัดกั้นอวิชชาไม่ให้เกิดได้นี่ เราก็สบาย นี่แหล่ะปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายที่จะดับทุกข์ ถ้าอวิชชาไม่เกิดแล้ว สังขารไม่เกิด วิญญานไม่เกิด นามรูปไม่เกิด อายตนะไม่เกิด ผัสสะไม่เกิด เวทนาไม่เกิด ตัณหาไม่เกิด อุปาทานไม่เกิด ภพไม่เกิด ชาติไม่เกิด ทุกข์ไม่เกิด นี่แหล่ะ แบบเดียวกับเรื่องนิทานยายกับตาแหล่ะ พอแมงหวี่เอาจริง ช้างก็ยอมแพ้ ช้างก็เอาจริง ช้างเอาจริง ลิงก็เอาจริง ลิงเอาจริง น้ำเอาจริง เอาจริงแล้วไฟก็เอาจริง ไฟเอาจริงแล้วไม้ค้อนก็เอาจริง หมาเอาจริง แมวเอาจริง หนูเอาจริง นายพรานเอาจริง ยิงกาตายเลย นิทานจบ เรื่องก็จบ เรื่องปฏิจจสมุปบาทก็จบเท่านี้ ไปเถอะ ค่ำแล้วเดี๋ยวเดินยาก จบแล้ว เอาล่ะเดี๋ยวค่ำแล้วเดินยาก จะหกล้มหกล้ม พระเขาจะเล่า เขาจะคุยกันเองบ้างพวกคุณมานั่งอยู่ไม่ได้ จำเรื่องปฏิจจสมุปบาทไปคิดให้ดีๆนะ ไม่ใช่มันเกินวิสัยไม่ใช่ (........) นั่นแหล่ะไม่...อีกนะ(นาทีที่ 43.59 เสียงขาดไป 1-2 คำครับ) เอาไปพูดๆ กันเสียบ้าง อย่าให้ของดีๆของปู่ย่าตายายสูญหายเสียหมดนะ เอาแหล่ะวันนี้เท่านี้พอแหล่ะ ความรู้เท่านี้เยอะแยะมากมายแล้ว พอแล้วน้าเนย ไปเถอะ เรื่องนิทานยายกับตาไปเล่าให้ถูกๆอย่าเล่าให้ผิดๆนะ ให้ครบทุกเรื่องทุกเรื่อง พอได้พูดกันคืนนึงอีก เรื่องนิทานยายกับตาพอได้ไปพูดกันคืนนึงอีก อย่ามั่วกันนักล่ะ เอาไปพูดได้อีกสักคืน ทางบ้านคุณถวิลมีมั้ยนิทานยายกับตา มีการเล่ากันหรือเปล่า ผมได้ยินตั้งแต่เด็กๆ ตั้งแต่เด็กเล็กๆก็ได้ยินนิทานเรื่องนี้ ทีนี้คนมันไม่รู้ ถ้าว่าเป็นนิทานยายกับตาประนามเป็นเรื่องเด็กๆไปเสียหมด ผู้ใหญ่ไม่สนใจ ผู้ใหญ่ก็เลยเก้อไปหมดนี่ ผู้ใหญ่ไม่สนใจ นิทานยายกับตาทุกเรื่องถ้าเรารู้ธรรมะดี สามารถจะแปลเป็นธรรมาธิษฐานได้ทุกเรื่อง ไม่ว่านิทานยายกับตาเรื่องไหนแหล่ะ ลองเล่ามาดูเถอะ ไม่ลึกก็ตื้น ไม่ตื้นน้อยก็ตื้นมาก มันเป็นวิธีมาแต่โบราณหลายพันปีแล้ว ถ้าเขาจะสอนอะไรเขาต้องปรุงเป็นรูปเรื่องเป็นเรื่องนิทาน เรียกว่าเป็นเรื่องก็แล้วกัน ต้องปรุงเป็นเรื่อง ถ้าไม่ปรุงเป็นเรื่องคนลืมหมด ต้องปรุง ปรุงให้เป็นเรื่องเป็นภาพเป็นอะไรที่ไม่มีวันจะลืม เพราะฉะนั้นไอ้เรื่องนั้นต้องพูดไว้เป็นเรื่องนิยายนิทานที่ใครเข้าใจได้ทันที หรือต้องเป็นเรื่องที่เขารู้จักดีอยู่ เช่นเรื่องถั่วเรื่องงา เรื่องกาเรื่องนายพราน เรื่องหนูเรื่องแมวเรื่องหมา เรื่องไม้ค้อน ยิ่งรู้ ต้องเป็นเรื่องที่รู้แล้วอยู่แล้ว ต้องไปฝากไว้ในเรื่องอย่างนั้นแล้วก็ปรุงเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องให้น่าขบขันก็ได้ ให้น่าเศร้าก็ได้แล้วแต่เรื่อง แล้วคนก็ไม่ลืมแน่ เพราะมันรู้เรื่องเหล่านี้ดีอยู่แล้ว แล้วแมงหวี่นี้ใครๆรู้จักดีว่าตอมตาช้าง ถ้าตอมตาเราก็แย่เหมือนกันไม่ใช่ตอมตาช้างอย่างเดียว นี่หลายพันปีมาแล้วก่อนพุทธกาลก่อนที่เขาจะใช้วิธีอย่างนี้ เขาสอนธรรมะที่ลึกและให้อยู่นานนี่ต้องเอามาฝากในเรื่องบุคลาธิษฐาน นี่เด็กก็เล่ากันมาผู้ใหญ่ก็เล่ากันมาโดยที่ไม่รู้ ไม่รู้ความจริงว่าหมายความว่าอะไร แต่มันอยู่มาได้หลายพันปี นี่แหล่ะประโยชน์ของมัน เพราะว่าครั้งกระนั้นไม่มีกระดาษสำหรับจะเขียนไม่มีอะไรจะบันทึกจะเขียนจะอะไรเลย บันทึกกันด้วยปาก ฝากไว้ด้วยปากคน เพราะฉะนั้นถ้าไม่ทำให้ดี ไม่มีใครรับไว้ได้ ไม่มีใครจำได้ ไม่มีใครเล่าได้ มันก็ต้องทำจนให้มันอยู่ในลักษณะที่เล่าได้จำได้ กันเรื่อยๆมาอย่างนี้แหล่ะ ยกตัวอย่างเช่นเรื่องมะพร้าวนาฬิเกร์ ต้นเดียวโนเน นี่แหล่ะ ดูสิมันตั้งพันกว่าปี มันยังอยู่เลย นี่เป็นที่เชื่อได้ว่าพันกว่าปียังอยู่ อยู่มาโดยไม่ต้องรู้ว่าอะไร ลองถามพวกนี้ดู ไม่รู้ว่าอะไร แล้วเรา ต่อเมื่อเราย้อนไปเยือนธรรมะอย่างนั้นอีก เรียนธรรมะในลักษณะเดียว ระดับเดียว เรื่องเดียวกันอีกเราจึงจะรู้ อย่างน้อยไอ้คำที่ว่า ฝนตกไม่ต้องฟ้าร้องไม่ถึง ทำให้รู้ได้ มันเหมือนกับเรื่องที่ ที่ผิดธรรมดา ผิดธรรมดาทั่วๆไป ชาติไหนภาษาไหนก็มี เรื่องที่ผิดธรรมดา ตรงกันข้ามธรรมดา มีกันทุกชาติทุกภาษา เรื่องนั้นแหล่ะจะสะดุดให้รู้ว่านี่เป็นเรื่องนิพพาน ถ้าไม่ใช่เรื่องพุทธศาสนา ไม่มี ศาสนาอื่นเขาไม่มีนิพพานก็ต้องเป็นเรื่องพระเจ้า หรือว่าเป็นเรื่องบ้านเมืองอื่นที่ตรงกันข้าม เป็นเมืองพระเจ้า เป็นเมืองสวรรค์ เป็นเดอะ เบตเตอร์ แลนด์ (The better land) เป็นไอ้ทำนองนี้ มีกันอยู่ทั้งนั้นเลย ทั้งอินเดีย ทั้งเมืองจีน ทั้งอียิปต์ ทั้งไอ้ชาติเก่าๆ ทั้งพวกฝรั่งมันก็มี มันก็รับช่วงไปจากทางนี้ วัฒนธรรมสูงสุดทางจิตใจตั้งต้นในทวีปเอเซียนี่แหล่ะ แผ่ทั่วไป หรือว่าจะตั้งต้นในอียิปต์ก็ได้ใครจะไปรู้ เรื่องที่ลึกนี่อยู่มาได้เป็นสี่พันปี ห้าพันปี ทั้งที่ไม่มีกระดาษเขียนหนังสือ ไม่มีเทปบันทึกเสียง ไม่มีการเขียน ไม่มีอะไรหมด มันอยู่มาได้เพราะเหตุนี้ เพราะว่าเรื่องนั้นทำไว้น่าสนใจมาก เช่นว่า มะพร้าวต้นหนึ่งอยู่กลางทะเลขี้ผึ้ง นี่มันน่าสนใจ ฝนตกไม่ต้องฟ้าร้องไม่ถึง ยิ่งน่าสนใจเข้าไปอีก ก็เลยจำๆบอกๆกันมา และไอ้เพลงนี้เป็นภาชนะ เป็นภาชนะที่ดีที่สุดที่จะใส่ไว้ เพลง ร้องเพลงแล้วมันสนุก มันสะดวก ถ้าไม่มีเพลงอย่างอื่น ก็เพลงเด็กๆร้องกล่อมลูกกล่อมน้อง ใส่ไว้ในนั้นมันอยู่เรื่อยมา ไม่ใช่เรื่องแต่งขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ต้องเป็นสมัยเมื่อบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในทางพุทธศาสนา เหมือนกับเมืองไชยา เพราะไม่ยุคไหนเจริญสูงสุดเท่ายุคที่สร้างวัดพระบรมธาตุ มีวัดแก้ว มีวัดหลง มีอวโลกิเตศวรสำริดเท่าคน มีอะไรเยอะแยะอย่างนี้ เดี๋ยวนี้คนเอาไว้กรุงเทพหมดแล้ว ไอ้ชนชาติที่ยังไม่มีหนังสือ ชนชาติที่ไม่เจริญ พวกเอสกิโม พวกเลฟท์แลนด์ (นาทีที่ 51:47 ไม่แน่ใจครับ left land) ที่เดี๋ยวนี้ก็ยังอยู่นะพวกนี้ ที่ไม่รู้หนังสือ เขาไม่มีหนังสือเรียนและไม่เรียนหนังสือ เขาไม่มีหนังสือ แต่เขาก็ยังเล่าเรื่องต่างๆของพวกเขาโดยเฉพาะ มีอายุมาหลายพันปีแล้วได้เหมือนกัน ยังอยู่ เรื่องที่เล่าๆกันมาจนถึงกระทั่งเดี๋ยวนี้ มีอายุเป็นพันๆปี ก็อยู่ได้โดยเรื่องร้องเพลง กล่อมลูก หรือว่าเป็นธรรมเนียมว่าพอค่ำลงต้องมาฟังคนแก่พูด ทำอย่างนี้ล่ะศักดิ์สิทธิ์วิเศษที่สุด พอค่ำลงกินข้าวกินปลาเสร็จแล้วก่อนแต่จะนอน เด็กๆต้องมาฟังคนแก่พูดทุกวัน วันละครึ่งชั่วโมงหนึ่งชั่วโมงก็ตามใจ เพราะฉะนั้นพอสิ้นธุระประจำวันกินข้าวกินปลาเสร็จแล้ว พอค่ำ เข้าไต้เข้าไฟเด็กๆมานั่งล้อมคุณปู่คุณตา ปู่ทวดตาทวด ปู่ทวดตาทวดก็เล่านั่นเล่านี้แล้วแต่เด็กจะรบเร้า เพราะฉะนั้นเด็กมันก็เลยได้ยินแล้วจำได้ พอเด็กนั้นโตขึ้นเป็นปู่เป็นตาอีก เด็กรุ่นหลังมันก็ไปรับช่วงไว้อีก เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้อยู่กันเป็นพันๆปีทั้งที่ไม่มีกระดาษเขียนหนังสือ และไม่เรียนหนังสือ แต่มันเรียนด้วยคน เป็นหนังสือในเสียงคนอยู่เรื่อย ถึงสมัยศรีวิชัยจะไม่มีกระดาษเขียนหนังสือ จารึกแผ่นศิลาจารึกนั้นมันก็บางเรื่องบางชิ้น มันน้อย มันเฉพาะเรื่องของพระเจ้าแผ่นดินไม่กี่คำ ไอ้อย่างนี้มันพูดกันมาด้วยปาก สอนกันมาด้วยปาก ได้ยินกันมาด้วยหู จำได้ แต่มาถึงยุคนี้คือยุคกบฏ ยุคที่มันเปลี่ยนเป็นแบบอื่น ยุคจะไม่กล่อมลูกกล่อมน้องอย่างที่แล้วมา จะไม่มีการกล่อมเสียเลยก็ได้ เพราะมันไปเกิดเป็นอย่างอื่นแล้ว ไม่ได้เกิดอย่างเดี๋ยวนี้แล้ว หรือว่าถ้าจะกล่อมน้องกล่อมลูกมันก็เหไปกล่อมด้วยเพลงสากล เพลงบ้าๆบอๆยั่วกิเลส รุ่นหลังนี้ เอาเพลงไอ้ทุยมาแทนเพลงเหล่านี้แล้ว ทั่วๆไป มันเป็นเพลงที่ทั้งสนุกกว่า หรือมันยั่วกิเลสดีกว่า เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้กำลังจะสูญ ฉะนั้นถ้าใครทำได้ รวบรวมให้หมด พิมพ์ขึ้นไว้ในชุดประชุมพงศวดาร ถ้ากรมพระยาดำรงยังมีชีวิตอยู่ ก็เอาไปให้กรมพระยาดำรง บรรจุไว้ในชุดประชุมพงศาวดาร บทกล่อมลูกแท้จริงเก่าแก่แต่โบราณอย่างไรด้วย แล้วก็นิทานเรื่องยายกับตาทุกเรื่องด้วย ดีไหม คุณถวิลว่าดีไหม (..........) แล้วทำไมไม่ทำ พวกคุณต้องทำสิ รวมไว้ รวมไว้ รวมไว้ รวมไว้ แล้วต้องกตัญญู พูดรุนแรงหน่อยว่าเราต้องกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ผมเองก็มีแรงกตัญญูต่อบรรพบุรุษอยู่บางอย่างมากเหมือนกันแหล่ะ จึงได้พยายามเหน็ดเหนื่อยสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ขึ้น ที่เห็นแก่ตัวหรือเห็นแก่อื่นก็มีเหมือนกัน แต่ว่าไอ้ส่วนหนึ่งมีความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ไม่รู้จะตอบแทนคุณอย่างไร เช่นเรื่องมะพร้าวนาฬิเกร์นี้ คิดจะตอบแทนคุณบรรพบุรุษ อุตส่าห์ทำให้มันจนได้ ทำให้มันเป็นสระมะพร้าวนาฬิเกร์ ให้จนได้ แล้วก็คิดที่จะทำแผ่นปูนจารึกอักษรให้ดี เรื่องมะพร้าวนาฬิเกร์ ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ไปติดไว้ที่นั่น มันคงจะไปได้อีกนาน สักชั่วอายุคน สองชั่วอายุคนได้ หรือเมื่อเขาเห็นว่าเราส่งเสริม เราพอใจ เราส่งเสริมเขาก็ สนใจคึกคักกันขึ้นมาสักพักหนึ่งได้ พวกชาวบ้าน ทีนี้ไอ้พวกที่มีการศึกษาดี พวกนักปราชญ์ราชบัณฑิต นักศึกษาที่แท้จริง เขาก็สนใจขึ้นมาทันที เพราะเมื่อก่อนเขาไม่รู้ เดี๋ยวนี้เขาก็จะรู้ขึ้นมา พวกนักศึกษาเหล่านี้เขาสนใจในของโบราณ โดยเฉพาะบทเพลง ยิ่งโบราณเท่าไหร่ยิ่งดี บทเพลงของชาวมองโกเลียโบราณ ก็ล้วนแต่เป็นธรรมะลึกๆอย่างนี้นะ มีคนรวบรวมได้เอาไปเผยแพร่ นี้มันก็ไม่สูญ มันพิมพ์เป็นตัวหนังสือขึ้นไว้ในโลกนี้แล้วมันก็สูญยาก นี่ส่วนของเราคนไทยนี้แหล่ะกำลังจะสูญ ทีนี้ไอ้ฝ่ายภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ผมไม่ทราบ ผมไม่ทราบ ผมทราบแต่เรื่องภาคใต้ เพชรบุรีลงมาถึงแหลมมลายู มันมีอะไรบ้างผมพอจะทราบ พยายามจะศึกษารวบรวมเอาไว้ วันก่อนผมไปเรียกคนแก่ๆมาบันทึกเสียงอัดเพลงกล่อมลูกนี้ไว้ได้ตั้งร้อยกว่าเพลงอยู่ในเทป แล้วก็มีใครที่โรงเรียนสตรีที่สงขลา จังหวัดสงขลา รวบรวมบทเพลงเหล่านี้พิมพ์เป็นหนังสือเล่มหนึ่งผมก็เก็บไว้ มีมากเหมือนกันแต่ผิดๆถูกๆ มันเนื่องจากไอ้คนจดน่ะมันไม่รู้เรื่องอะไร มันจดตามเสียงมันเพี้ยน มันก็ฟังไม่ถูก ที่ผมเห็นว่าผิด เช่นว่า ส้มซ่า ลูกดกราร่า ร่มฟ้าและดิน ไอ้ที่ที่ว่า พ้นลิงพ้นค้าง พ้นสัตว์ทั้งปวง น่ะ มะม่วงหิมพานต์ สุกงอมหอมหวาน อยู่กลางทะเลหลวง พ้นลิงพ้นค่าง พ้นสัตว์ทั้งปวง เขาเขียนเป็นอะไรก็ไม่รู้ ไม่ใช่ว่าพ้นลิงพ้นค่าง เขียนเป็นว่า ทุกข์ ทุกข์หรืออะไร มันไม่ได้ความเลย อย่างนี้เป็นต้น แล้วที่เขารวบรวมพิมพ์กันที่สงขลาก็มาก ตั้งร้อยสองร้อย เขาก็ยังไม่หมด บ้านเรายังมีอีก แปลกกว่านั้นอีก โดยเฉพาะมะพร้าวนาฬิเกร์นี้ไม่มี ไม่มีในหนังสือเล่มนั้น เอาล่ะผมอยากจะขอร้องว่า นี่ขอให้ถือเป็นเรื่องพิเศษเรื่องหนึ่ง ทุกๆองค์นี่แหล่ะ ทั้งพระทั้งเณรทุกองค์ ขอให้ถือเป็นเรื่องพิเศษเรื่องหนึ่งที่จะสนองบุญคุณบรรพบุรุษปู่ย่าตาทวดที่เคยทำอะไรไว้ อย่าปล่อยให้ของของเขาสูญหายไปเสียเลย อย่าปล่อยให้ของเขาสูญหายไปตามกาลเวลา ช่วยประมวล ช่วยเก็บมา แล้วก็รักษาเอาไว้ พิมพ์ ให้ได้พิมพ์จนได้ ถ้ามันลงพิมพ์ลงไปตั้งพันๆฉบับแล้วมันสูญยากล่ะ ช่วยแจกไปให้มันไกลกระทั่งไปอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ ห้องสมุดต่างๆ มันก็สูญยาก เช่น หนังสือเรื่องหนึ่งเล็กๆเราพิมพ์หมื่นฉบับอย่างนี้ มันคงอยู่ได้นานพอทีเดียว มันกระจายไปทุกทิศทุกทาง นี่ถ้าใครมีอะไรในลักษณะอย่างนี้ก็พยายาม พยายาม รวบรวมขึ้นไว้ แม้ว่าตัวเองจะไม่รู้จะเข้าใจไม่ได้ก็ทำให้ดีที่สุด พิมพ์ขึ้นไว้ บันทึกขึ้นไว้ อย่างน้อยบทกล่อมลูกสามสี่บทนี้ต้องทำให้แพร่หลาย ที่ผมบรรจุเข้าไปในปาฏกถาต่างๆที่ผมแสดง เพื่อที่จะฝากไว้ ฝากไว้ไม่ให้มันสูญให้มันอยู่ด้วยกัน เพราะฉะนั้นผมจึงพยายามบรรจุหรือพูดถึงทุกโอกาสที่จะพูดถึงได้ เรื่องมะพร้าวนาฬิเกร์นี่ นี่เราถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งด้วยกันทุกคนตลอดเวลาว่าอะไรดีๆของบรรพบุรุษอย่าปล่อยให้สูญเป็นอันขาด ถ้าขืนปล่อยให้สูญกลายเป็นคนไม่กตัญญู แล้วก็อย่าไปเห่อของใหม่ อย่าไปเห่อของใหม่บ้าๆบอๆจะพาลงนรก วัฒนธรรมใหม่ของฝรั่งนี้ จะพาลงนรก ต่อต้านไว้ด้วยวัฒนธรรมเก่าของชาวพุทธ นี่ก็เป็นเรื่องไม่ยาก ไม่ยาก ไม่เหลือวิสัย ช่วยกันทำเถอะ ไอ้เรื่องยาก เรื่องอื่นๆยังมีอีกมาก ยังมีเรื่องอื่นอีกมากเรื่องยาก เช่นเรื่องที่จะตีความธรรมะของพระพุทธเจ้าให้ถูกต้อง เช่นเรื่องปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น นี้มันเป็นเรื่องยาก เรื่องที่ต้องพยายามกันเป็นการใหญ่ เป็นเรื่องยาก ส่วนเรื่องที่ไม่สู้ยากก็ช่วยรักษาไว้ ก็ควรจะทำได้ การอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นทางรูปธรรมนี่ผมว่าไม่ใช่นะ เพราะว่าเรื่องอื่นๆไม่อธิบายทางรูปธรรม อธิบายทางนามธรรม เพราะฉะนั้นเรื่องปฏิจจสมุปบาทต้องเป็นเรื่องทางนามธรรมไม่เอาร่างกายเป็นหลัก ไม่เอาไอ้เนื้อหนังเกิดมาชาติหนึ่งนี้เป็นหลัก เอาความเกิดทางจิตใจเป็นหลักแล้วพยายามหาคำอธิบายให้มันเข้ารูปกันได้ก็แล้วกัน และถูกหรือผิดมันรู้ได้ตรงที่ว่ามันปฏิบัติได้ แล้วมันดับทุกข์ได้นั่นแหล่ะคือถูก ถ้ามันไม่อาจจะปฏิบัติได้ มันผิดเลย ถ้ามันอาจจะปฏิบัติได้นี่มันถูกแล้ว ทีนี้มันถูกอีกครึ่งหนึ่งคือว่า เมื่อปฏิบัติตามนั้นแล้วดับทุกข์ได้จริงนี่ถูกร้อยเปอร์เซ็นต์เลย แล้วเมื่อเอาตามหลักมหาประเทศเข้าไปจับกันแล้ว การอธิบายนี้ลงกันได้กับเรื่องอื่นๆหมด เข้ารูปเข้ารอยกันกับเรื่องอื่นหมดนั้น ยิ่งรับรองว่าถูกต้องแน่นอน เมื่ออธิบายตามวิธีนี้แม้จะแปลกประหลาดอย่างยิ่งนี่แหล่ะ แต่ถ้ามันลงกันได้กับเรื่องอื่นๆหมด มันเลยต้องเป็นเรื่องถูก เขาเรียกว่ามหาประเทศฝ่ายสุตตันตะ มีอยู่อย่างนั้น สุตฺเต สนฺทสฺเสตพฺพงฺ วินเย สนฺทสฺเสตพฺพงฺ สุตฺเต เอตพฺพงฺ อะไรนี้ผมก็จำไม่ค่อยได้แล้ว มันลงกันได้กับวินัย มันลงกันได้กับสูตร และมันถูกแน่ เพราะฉะนั้นผมถือว่าการอธิบายปฏิจจสมุปบาททางรูปธรรม เช่นรูปที่เขียนไว้ที่ฝาผนังนี้เป็นของประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพื่อฝากไว้ในรูปธรรมในนิยายอย่างรูปธรรมเพื่อให้คนจำได้เหมือนกับเรื่องอื่นๆ เพราะฉะนั้นต้องไปตีความกับเรื่องนามธรรมเรื่องจิตอีกทีหนึ่ง เช่นเดียวกับตีความเรื่องยายกับตาให้เป็นปฏิจจสมุปบาทหรือตีความมะพร้าวนาฬิเกร์ให้เป็นนิพพาน อย่างนี้แหล่ะ มันเหมือนกันแน่ เรื่องปฏิจจสมุปบาทอย่างธิเบตเขียนนี้ ต้องเป็นเรื่องอย่างรูปธรรม ถ้าไม่คิดเองเขียนตามที่เขาพูดกันอยู่ก่อน เขาก็ได้แปลงเป็นรูปธรรมเสียแล้ว เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ต้องรอหน่อยกว่าจะมีการค้นคว้าทั่วถึงและยืนยันได้ทุกคนเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์ มันเรื่องเดียวเท่านั้นแหล่ะ ยากที่สุดที่ลึกซึ้งที่สุดของพระพุทธศาสนา และพระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสอย่างนั้น ว่าเป็นเรื่องที่ยากที่สุดลึกซึ้งที่สุดของพุทธศาสนา คือเรื่องปฏิจจสมุปบาท ที่แท้มันก็เรื่องอริยสัจ แต่พูดในลักษณะปฏิจจสมุปบาทมันเลยยากที่สุด ถ้าพูดอย่างอริยสัจ ธรรมดาก็เชื่อว่าไม่ยาก เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงแสดงอริยสัจในรูปธรรมดามากที่สุดเลย แสดงอริยสัจในรูปปฏิจจสมุปบาทแต่บางครั้งแต่บางขณะบางคนบางคราวเท่านั้น ทุกข์ก็คือทุกข์ แล้วปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทยวารนั้นคือสมุทัย แล้วนิโรธก็คือดับทุกข์ดับปัญหา แล้วปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวารนั้นคือมรรคมีองค์แปด เมื่อเป็นอยู่อย่างที่ว่านี้แล้ว มรรคมีองค์แปดครบถ้วนบริบูรณ์ มันเป็นอยู่ในตัวมันเอง ทั้งสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป วาจา กัมมันโต มันเป็นอยู่ในตัวมันเองครบถ้วน เพราะการมีสติสัมปัชชัญญะระวังไม่ให้อุปาทานเกิดขึ้นมาได้ในสิ่งต่างๆ เพราะฉะนั้นเราเรียกเสียใหม่ว่าอริยสัจที่ลึกซึ้ง คือ ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจสำหรับผู้มีปัญญาหรือพวกอภิธรรม หรือพวกอื่น คือปฏิจจสมุปบาท แล้วอริยสัจที่รู้ๆกันอยู่นั้นคืออริยสัจธรรมดา ในรูปธรรมดา คุณหิริจันโท ฟังออกกี่เปอร์เซ็นต์ (...........) ห้าเปอร์เซ็นต์ วันนี้ฟังยาก โลคอลแลงเกวจ (Local language) ห้าเปอร์เซ็นต์ (..........)กรุงเทพแลงเกวจ (กรุงเทพ language) ยี่สิบเปอร์เซ็นต์ ยี่สิบเปอร์เซ็นต์ โลคอลแลงเกวจ คอลโลเควียว (Local Language Colloquial) ของไชยา พูดอย่างนี้ คุณเองต้องฟังออกยี่สิบเปอร์เซ็นต์หรือสามสิบเปอร์เซ็นต์ พูดบ้านนอก ไชยานี่ (.เสียงตอบ..) ห้าสิบบ้าง เอามากนะ ไหนลองเล่านิทานเรื่องยายกับตาดูซิ ปฏิจจสมุปบาทนะพูดธรรมดาทั่วๆไป สอนเด็กให้รู้ว่าอย่าดูถูกแมงหวี่ ถ้าคุณรู้จักแมงหวี่ คุณรู้จักแมงหวี่หรือเปล่า (..........) แมงหวี่ (..........) ตัวนิดๆเท่าๆริ้น ดูไม่ค่อยเห็นมันเป็นแมลงวันขนาดเล็กที่สุด ตัวเล็กที่สุดเลย แล้วพอถึงฤดูที่มันเกิด มันมาตอมตา ตอมตาเรา ตอมจมูกตอมหูตอมตายุ่งไปหมดเลย แมงหวี่ (..........) ตัวดำๆ ดูด้วยแว่นขยายรูปร่างเหมือนแมลงวันไม่มีผิด เอาแว่นขยายขยายดูจะเห็นว่ารูปร่างเหมือนแมลงวันไม่มีผิดเลย แต่มันเล็กมาก นี่ล่ะตอมตานี่รำคาญที่สุดเลย แพ้มันเลยต้องโมโห คน ยายแก่ตาแก่บ้านแถวนี้นะเมื่อผมเห็น ก่อนนี้ เขาเอาย่านเถาตำลึง ใบไม้ที่เป็นเถาวัลย์แล้วก็มีใบเป็นระยะๆ มาพันรอบศรีษะนี่ แล้วห้อยใบของมันไว้ ใบตำลึงห้อยไว้ ทีนี่ก็นั่งทำงานกันไปพลางใบตำลึงนี่มันก็แกว่งไปแกว่งมาอยู่ข้างๆตา ข้างๆ ตา ของผู้แขวน เป็นการไล่แมงหวี่ไปในตัว คุณย่าคุณยายตาที่เปียกตาแฉะแมงหวี่ชอบ ทนไม่ได้ต้องทำอย่างนั้น ไม่มีปัญญาจะฉีด ไม่มีดีดีทีจะฉีดอะไร ยังไม่มีอะไร จะเล่นงานแมงหวี่ก็ใช้เถาตำลึงนี่ดีที่สุด มันมีอยู่ข้างรั้ว เลยเอามาพันหัวเข้า ปล่อยให้ใบมันห้อยๆๆๆข้างตา แล้วมันกระดุกกระดิกๆอยู่เรื่อยปัดแมงหวี่อยู่ในตัว คุณถวิลเคยเห็นไหม (..........) ที่เพชรบุรี ยังไม่ฉลาดนะ ที่นี่เขาฉลาดกว่า คุณจันทร์ล่ะ ได้เห็นไหมทางจันทบุรี (..........) คงจะมีแล้วหมดไปก่อนคุณเกิดมั๊ง ผมอายุหกสิบกว่าปีทันเห็น ย่ายาย เพื่อนของย่า ถ้าเขาอยากจะนั่งสานเสื่อทำอะไรเรื่อยๆไปโดยไม่มีมือปัดแมงหวี่ก็ต้องทำอย่างนี้ทั้งนั้น คุณก็ลองดู เดี๋ยวนี้ถ้ามันเกิดขึ้นมาก็ลองดูไม่ต้องทะเลาะกับมัน ใบตำลึงเหมาะที่สุด แล้วมันไม่อันตราย ไม่มีขน ไม่มีคัน ไม่มีอะไร ยิ่งพูดไปจะยิ่งเห็นว่าเราโง่กว่าปู่ย่าตายายหลายเรื่องเข้าไปแล้ว อย่าดูถูกเป็นอันขาดเลย คืองัดขึ้นมาแล้วจะทำให้ลูกหลานโง่ลงทุกเรื่องไปเลย บางปีที่นี่มันก็ชุมเหมือนกันแมงหวี่ คุณน่ะเคยโดนไหม (..........) เดี๋ยวนี้การปราบแมลงมันดีขึ้น แมงหวี่แมงวันมันหายหายไป ก่อนนี้ที่พุมเรียงผมอยู่ที่วัดใหม่ ผมยังจำได้ว่านี้มันห้อยอยู่เป็นรังเหมือนกับแตน ลงมายาว แมงหวี่มันมาเกาะกันเต็มเป็นหมื่นเป็นพันเป็นร้อยนะ ผมยังเห็นอาจารย์ โกรธขึ้นมาเอาขวดโหล เปิดขวดโหลเข้า สวมมันขึ้นไปแล้วปิดข้างบน ได้แมงหวี่เต็มขวดโหล ปิดฝาเอาไปทิ้งที่อื่น (นาทีที่ 1:15:26 ฟังไม่ออกครับ) ถ้าจะไม่เคยเห็นรังแมงหวี่บ้างก็ได้ ถ้ามันมีเส้นใยอะไร แม้แต่ใยแมงมุมก็ได้ ที่มันย้อยลงมา แมงหวี่จะมาเกาะเต็ม ออกลูกออกหลานมากขึ้น รังหนึ่งตั้งร้อยตั้งพัน เพราะฉะนั้นอย่าเห่อฝรั่งนัก อย่าเห่ออะไรๆที่เป็นฝรั่ง อะไรฝรั่งนัก ต้องรู้เรื่องของไทยเสียก่อน แล้วของปู่ย่าตายายมีอะไรบ้าง ฝรั่งมันไปไกลจนมันเข้ารอยกันไม่ได้กับธรรมชาติ คือ ฝรั่งเขาทิ้งธรรมชาติไกลไปนัก ไอ้เรานี่ไม่ทิ้งธรรมชาติ เรากินแมงดานาเขาก็ว่ากินแมงสาป โง่กันถึงขนาดนั้นแหล่ะ หรือว่ายังไงกันแน่ เรากินแมงดานา เขาว่ากินแมงสาป ไอ้แมงสาปเราก็กินไม่ลง ใครกินได้บ้างแมงสาป หือ ถ้าแมงดานากินได้ คุณถวิล เขาส่งแว่นมาแล้ว มีปากกาให้เราเขียนกระดาษไข เขียนได้ คุณเกษมรู้จักแมงดานาไหม ..... ไม่เคยกิน .....