แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]
วันที่ ๑๗ เมษายน สำหรับพวกเราได้ล่วงมาถึงเวลา ๕ นาฬิกาแล้ว เราจะได้เริ่มการอบรมของเราด้วยการที่จะเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างต่อไป สำหรับวันนี้ กระผมอยากจะพูดเรื่องการประหยัด ในฐานะเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา ควรจะทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติสำหรับการเผยแผ่พุทธศาสนา โดยทั่ว ๆไปกันอีกครั้งหนึ่ง คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดก็คือ คุณธรรมที่มีอยู่จริงในตัวของตัว คือตัวธรรมะแท้ ที่ประพฤติได้ที่มีอยู่จริงในตัวของตัว เราเรียกว่า คุณธรรม ที่นี้ก็มีความรู้เกี่ยวกับพระศาสนาที่แจ่มแจ้งแตกฉานแพร่เป็นควร นี้ก็อย่างหนึ่งต่างหากจากคุณธรรม เพราะคุณธรรมหมายถึงความดีความงาม ความละ ความเชื่อ ละกิเลสได้ ความรู้ มาจากความรู้หมายถึงแต่ความรู้ ทีนี้เราจะต้องมีปฏิภาณ ซึ่งภาษาไทยธรรมดาเรียกกว่า ความหมายพุทธ ถ้าขาดปฏิภาณก็ยากที่จะทำให้คุณธรรมหรือความรู้ของเราเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นเต็มที่ได้ สิ่งที่เรียกว่าบุคลิกภาพ ดูจะเป็นที่รวมของสิ่งทั้งสามนี้ ที่นี้ก็มาถึงคุณสมบัติที่เป็นครู คือความรู้ทางภาษาต่างประเทศ เป็นต้น ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวกัน นี่ก็อย่างหนึ่งในฐานะที่เป็นครู ที่นี้ก็มีองค์ประกอบสำคัญ ที่นี้คือตัวเรา เช่นความเสียสละและความจงรักภักดีต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างแท้จริง จึงจะเรียกว่าความเสียสละ ทีนี้ก็มาถึงความอดกลั้นอดทน ซึ่งก็มีกันน้อยอยู่มากจึงต้องฝึกฝนเพิ่มเติม ให้เป็นผู้อดกลั้นอดทนเข้มแข็ง ทนได้ในทุกกรณีที่ความทุกข์ยากลำบากจะเกิดขึ้น ดังนั้น มันจึงเนื่องกันไปถึงความมีพลานามัยดี ร่างกายดีสมบูรณ์ดีด้วย และก็เนื่องกันไปถึงคุณธรรม ที่เนื่องกันเป็นความสุขุม รอบคอบ ที่จะทำให้สิ่งต่างๆผสมผสานกันดี และในที่สุดผมก็อยากจะพูดถึงการประหยัด ซึ่งพวกเราก็มีอยู่น้อย มีคุณธรรมข้อนี้อยู่น้อย ด้วยติดข้อหนึ่ง หลายคนอาจจะมองเห็นไปว่าการประหยัดหรือเศรษฐกิจจะเกี่ยวข้องอะไรกันกับพวกพระ หรือการเผยแผ่ธรรมมะ เนื่องจากเพราะว่าเค้ารู้จักความหมายของการประหยัดนั้นน้อยเกินไป ที่จริงการประหยัด หรือที่เรียกกันสมัยนี้ว่า เศรษฐกิจ มีความสำคัญอย่างยิ่ง ดูเหมือนเราจะได้ยินหนาหูมากที่สุดเรื่องคำว่า การทหารและการเศรษฐกิจ การทหารคือ การสู้รบ เศรษฐกิจคือ กำลังที่จะใช้ในเรื่องนั้น พวกเราก็เป็นนักรบหรือการสู้รบ เช่นคำว่า ธัมมโยโธ ที่มีอยู่ในที่ต่างๆเกลื่อนไปหมดในอรรถกถาธรรมบทก็มีตั้งหลายครั้งหลายหน เพราะว่าการทำลายกิเลสนั้นเป็นการสู้รบอย่างยิ่ง ยิ่งกว่าการสู้รบตามธรรมดาของคนธรรมดาสมัยนี้เสียอีก คนสมัยนี้เขาสู้รบกันใหญ่โตคล้ายกับฆ่าทางโลกให้ถล่มทลาย การสู้รบนั้นก็ยังไม่มากเท่าการสู้รบของทิฐิในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการสูงกว่า ยากกว่า ดีกว่าอะไรก็กว่าไปทั้งนั้น ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าชนะตนดีกว่าชนะอย่างอื่นหมด ดังนั้น ภิกษุก็ดี นักรบถึงสิ่งทีเดียว คือ การสู้รบก็ต้องมีกำลัง นี่คือการประหยัดทางเศรษฐกิจ เราประหยัดตั้งแต่กินน้อย ใช้น้อย กินทั้งชาวบ้านน้อยเท่าที่จำเป็น มีวัตถุบริขารน้อย แต่เพียงไตรจีวร กับบาตร มีทรัพย์สมบัติเพียงเท่านี้ จนถึงกับพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เหมือนกับนก มีสมบัติกับปีกสองข้างเท่านั้นก็พอแล้ว การเป็นอยู่ของภิกษุถ้าถูกต้องตามขั้นตามวินัยแล้วเป็นการประหยัดอย่างยิ่ง ซึ่งประกอบไล่ดูทุกหัวข้อธรรมะ และศึกษาบท
ฉะนั้น เป็นอันกล่าวได้ทีหนึ่งว่า ถ้าปราศจากการประหยัดแล้ว ไม่ใช่การเป็นอยู่ของภิกษุเลย สิ่งฟุ่มเฟือยเป็นอยู่มากในการเป็นอยู่ของภิกษุสมัยนี้ นั้นคือการไม่ประหยัดและการทำให้ไม่เป็นภิกษุในทางพระพุทธศาสนา อันเนื่องกันกับปัจจัยสี่ คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย และยาแก้โรคสี่ประการนี้ ยังไม่ค่อยจะเป็นไปในลักษณะที่ประหยัด สำหรับเรื่องจีวรนั้น ขอได้นึกถึง สูตรหนึ่งใน มัชฌิมนิกาย หรือในวินัยปิฎก ที่พูดถึงเรื่องพระอานนท์เผยแผ่พระพุทธศาสนาสำเร็จประโยชน์อย่างยิ่งครั้งหนึ่ง คือการทำให้พระเจ้าแผ่นดินที่สำคัญพระองค์หนึ่ง ชื่อพระเจ้าอุเทนะ กลายเป็นผู้นับถือพุทธศาสนาได้อย่างน่าประหลาด เพราะว่าเป็นผู้ดุร้าย เป็นผู้มีวัตถุนิยมจัด หรืออะไรทำนองนั้น และแล้วก็มากลายเป็นผู้นับถือพุทธศาสนาอย่างสูงสุด เป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างสูงสุดไปได้ แล้วจะว่าไม่น่าอัศจรรย์ได้อย่างไร ในข้อความที่พระอานนท์พูดกับพระราชาองค์นี้ที่สำคัญที่สุด คือ เรื่องการประหยัด เริ่มต้นด้วยการถวายจีวร พระอานนท์ท่านบอกว่ามันมีอยู่แล้ว ไม่ต้องการจะให้เป็นความเหลือเฟือ พระเจ้าแผ่นดินนั้นเลยถามว่าใช้จีวรอย่างไร พระอานนท์ก็บอกว่าใช้ด้วยความระมัดระวังที่สุด อย่างที่วินัยได้บัญญัติที่พวกเรากระทำกันอยู่ ที่นี้ถ้าจีวรมันขาด มันเก่าเข้า มันก็ย่น จีวรชำรุดหรือขาดจะทำอย่างไร พระอานนท์ก็ว่าเย็บ ปะ เหมือนที่พระพุทธองค์ทำอัฏฐบริขาร กล่องเข็ม ด้าย ถ้าเย็บปะหนักเข้า มันก็เต็มไปด้วยแผลปะแล้วจะทำอย่างไร พระอานนท์ท่านว่า ดามเป็นสองชั้นแล้วเอาสองชั้นมาทาบกันเข้าก็จะใช้ไปได้อีก พระราชาถามว่าถ้าดามสองชั้นแล้วก็ยังเปื่อย แล้วจะทำอย่างไร พระอานนท์ก็บอกว่าเอามาพับเป็นทบกันเข้าเป็นผ้าปูนอนยาว ๆ ถ้าเป็นผ้าปูนอนแล้วไม่ไหว ถ้ามันกะรุ่งกะริ่งแล้วจะทำอย่างไร เอามาพับทบพร้อมกันเข้าเป็นผ้าปูนั่ง ถ้าเป็นผ้าปูนั่งเปื่อย กะรุงกะริ่งแล้วจะทำอย่างไร ก็เอามาทบกันเข้าเป็นผ้าเช็ดเท้า ถ้าเป็นผ้าเช็ดเท้าแล้วมันกระจุยกระจาย เปื่อยยุ่ยไปหมดแล้วจะทำอย่างไร ก็เอามาเผาไฟได้ขี้เถาผสมกันกับมูลโคฉาบฝาทำด้วยดิน ให้เป็นของใหม่ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง คำพูดทั้งหมด ในทีสุดก็เป็นเหตุให้พระราชาองค์นั้นยกมือท่วมหัว ใช้ภาษาไทยเราดีกว่า ก็กลายเป็นพุทธบริษัทไปทันที นี้คือเรื่องที่จะต้องนึก ต้องคิด เกี่ยวกับความหมายของคำว่าประหยัด ถึงเรามองดูที่พระพุทธองค์บัญญัติสิกขาบท และธรรมะ สิกขาบทเกี่ยวกับเรื่องบาป ประหยัดอย่างไร ซึ่งพระธรรมจารีย์ทั้งหลายก็ย่อมจะรู้ดี เพราะเราท่องปาติโมกข์กันอยู่บ่อยๆ จะต้องใช้บาปกันถึงวาระสุดท้ายอย่างไร สิกขาบทที่พอสังเกตเกี่ยวกับเรื่องขอ คนที่ขอคือคนไม่ประหยัด กว้าง ๑๔ ยาวเกินกว่าขนาด ๑๒ ฟุต ๗ ฟุตทำนองนั้น ถึงอาบัติสังฆาทิเสสรองจากอาบัติปาราชิก ไม่ประหยัดต้องอาบติขนาดนี้ก็สมน้ำหน้าแล้ว ยังมีสิกขาบทอันอื่นเป็นอันมากในทำนองเดียวกันนี้ นอกจากประหยัดสิ่งของแล้ว ยังประหยัดเวลา ประหยัดสิ่งต่างๆอีกมากมาย นั้นในทางวินัย
ที่นี้ในทางธรรม ที่เป็นหลักธรรมก็ยังส่งเสริมการประหยัดนี้เป็นอย่างยิ่ง มีธรรมะหลายข้อ ที่สนับสนุนการประหยัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือการรู้จักประมาณในการบริโภควัตถุปัจจัยทั้งสี่ ธรรมะทุกข้อมีความหมายแห่งการประหยัดซ่อนอยู่ในนั้น เพราะว่าการทำให้ไม่มีกิเลส ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความสบายนั้น มันเป็นการประหยัดชีวิต ท่านใดรู้จักความหมายของการประหยัดให้นึกคุ้ม ถึงกับเรียกว่า การประหยัดชีวิต นั้นเป็นอันว่า เรารู้จักพระพุทธศาสนาดี ขอให้เพื่อนธรรมจารีย์ทั้งหลายมองคำว่าประหยัด ลงไปให้ลึกซึ้งถึงขณะนั้น ถ้าท่านประหยัดสบู่สักเดือนหนึ่ง ท่านจะซื้อตำรับตำราได้หลายเล่ม ถ้าท่านประหยัดยาสีฟันดีๆ สบู่ดีๆ ออกไปเสียสักเดือนหนึ่ง ท่านก็จะซื้อตำราอานาปานสติได้อย่างเพียงพอ ทั้งภาษาต่างประเทศและภาษาไทย ลองคิดดูเถิดว่าการประหยัดนี้เป็นปัญหาเนื่องเฉพาะอะไร ที่จะปฏิบัติธรรมะและเผยแผ่พระพุทธศาสนา มากน้อย เพียงไร ทีนี้อีกทางหนึ่ง มองดูให้กว้างออกไป เรากำลังทำบทเรียนให้แก่เศรษฐกิจและประเทศชาติอย่างไร ดูง่ายๆกันที่ว่า เราใช้จ่ายอะไรในทางที่ไม่จำเป็น เราก็ทำลายเศรษฐกิจของประชาชนหรือประเทศชาติ หรือแม้แต่เราปล่อยหรือยอมให้ประชาชน ทายกทายิกาทำอะไรลงไปที่เกี่ยวกับศาสนา และแล้วไม่ได้รับผล คุ้มกัน หรือพอกัน จะเรียกว่าเราเป็นผู้ทำลายเศรษฐกิจของประชาชนหรือประเทศชาติอย่างไร ถ้าทุกๆสิ่งมันเป็นไปในทำนองนี้ก็แปลว่า ทั้งภิกษุ และทั้งทายกทายิกา ช่วยกันทำลายเศรษฐกิจของประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง ผิดพระพุทธประสงค์โดยสิ้นเชิง และอย่างร้ายกาจที่สุด ผลถูกปรับให้ตกนรกไม่มีทางอื่น ทั้งเป็นการกระทำที่ร้ายกาจเกินไป ดังนั้น เท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็พอจะทำให้เห็นความสำคัญของสิ่งที่เรียกว่า ประหยัด เราจะผูกเรื่องการประหยัดอย่างไรขอให้มองดูเองเถิด เราใช้บริขารเพียงเท่านี้ในลักษณะเช่นนี้ ใช้ก็ใช้ไฟฉายขอให้ใช้โคมที่เรียกว่า ตะเกียงสำหรับภิกษุที่มีมาแล้วตั้งแต่บูรพาจารย์ อาจารย์ของอาจารย์ อาจารย์ของอาจารย์ ถอยหลังขึ้นไป ไม่ทราบว่าตั้งแต่ครั้งไหนก็ใช้ตะเกียงอย่างนี้กันทั้งนั้น การหยุดใช้ไฟฉายที่มันแพง ในบางกรณีที่ต้องใช้ไฟฉายก็เป็นการสมควรอยู่ แต่ในบางกรณีทั่วๆไปละเว้นกันได้ ก็ละเว้นเสียเพื่อความประหยัด เรื่องเสื่อเรื่องหมอน อยากจะเล่าให้ฟังว่ามีเรื่องน่าหัวเราะ เมื่อมีการอบรมลูกเสือ ทั้งผู้บังคับบัญชา นายหมู่ล้วนแต่เป็นครูทั้งนั้นที่นี่ ต้องขนเสื่อ ขนหมอน ต้องหยิบยืมมามากมายเป็นภูเขาเหล่ากา มีกระจกส่องหน้ามีหวี มีอะไรต่างๆดูแล้วน่าเวทนา แล้วจะอบรมลูกเสือให้มีสปิริตอย่างไรกัน เดี๋ยวนี้เรามีแค่นี้ มีหมอนไม้ มีผ้าพอรองนอนได้ ติดตัวมาได้ไม่ต้องรบกวนใครไม่ต้องหยิบยืมที่ไหน เมื่อเราก็เป็นลูกเสือที่ดีกว่าลูกเสือชนิดนั้น เพราะความประหยัดของเรา ความอดกลั้นอดทนของเรา ที่ช่วยให้ทำการประหยัดได้ ภิกษุมีชื่อว่าธรรมบุตร เหมือนชื่อค่ายลูกเสือนี้ซึ่งผมเป็นผู้ตั้งให้เอง พวกธรรมบุตรถ้าไม่ประหยัดแล้ว ก็สูญเสียความเป็นธรรมบุตร ซึ่งเป็นบุตรของพระธรรม หรือของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นไปในลักษณะประหยัด