แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ปาฏิโมกข์ เอ่อ, ปาฏิโมกข์ทางวินัย กระทำกันทุก ทุกวัน ๑๕ ค่ำ ปาฏิโมกข์ ทางธรรม ไม่ได้ทำ ไม่ได้ทำเลย มันยัง ไม่ ไม่ถูกเรื่อง พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติปาฏิโมกข์ ทางธรรม ไว้โดยตรง แต่เราเห็นได้ว่าบัญญัติไว้โดยอ้อมอย่างยิ่งนะ ให้ประชุมเป็นเนืองนิตย์ ให้ศึกษา สอบสวน ทบทวนอะไรกันอยู่เนืองนิตย์ นั้นนะคือปาฏิโมกข์ทางธรรม ทางวินัยก็ปาฏิโมกข์ สิกขาบท วินัยล้วนๆ มาอ่าน มาทบทวน สอบสวนอยู่เสมอ ทุกๆ ๑๕ วัน อย่าให้มันเฝือได้ ทีนี้ทางธรรมนี้ มันมากกว่านั้นอีก ถ้าไม่ทบทวนไว้แล้ว มันจะเฝือยิ่งกว่าอีก แล้วมันไม่ใช่ของบัญญัติ อ้า, เฉพาะ มันเป็นของที่ปล่อยไปตาม ตามความคิดเห็นได้ มันยิ่งเฝือได้ง่าย ดังนั้น จึงต้องมีปาฏิโมกข์ทางธรรม ทำปาฏิโมกข์ในทางธรรมกันเสียบ้าง ๑๕ วัน ครั้งหนึ่งก็ยังดี จึงหาโอกาส มาพบกันที่นี่ ทำปาฏิโมกข์ทางธรรมอีกชั่วโมงหนึ่งต่อจากปาฏิโมกข์ ทางวินัย จะมีวัดไหนทำบ้างก็ไม่ทราบแต่ยังไม่เคยได้ยิน ทำปาฏิโมกข์ทางธรรมกันเสียบ้าง กันเสียเป็นประจำเลย ๑๕ วันครั้ง คือ เอาหลักธรรมะที่สำคัญนะมา มาทบทวน สอบสวน ซักซ้อม ซ้ำๆ ซ้ำๆ อยู่เสมอ อย่าให้เลือนได้ อย่าให้เฝือได้ เช่นเดียวกับเราสวดปาฏิโมกข์ทุก ๑๕ วันนั้นนะ ดังนั้น จึงมีการนั่งพูดที่นี่ คุยกันที่นี่ เย็นๆ ในตอนวันอุโบสถ ทุกๆ วัน กลายเป็น ๘ วันครั้ง ๗ วันครั้ง ๗ วันก็ลงปาฏิโมกข์ธรรมะ เสียครั้งหนึ่ง เพราะมันมากกว่าปาฏิโมกข์วินัย ข้อธรรมะอะไรที่ควรจะพูดก็ซักซ้อมไว้เรื่อยๆ ก็มาพูด บางทีก็มีชาวบ้านมาร่วมฟัง นี่เรียกว่าความมุ่งหมายที่มานั่งคุยกันที่นี่ เย็นๆ ทีนี้ถ้ามีแขกพิเศษมา จะมีความคิดเห็นอะไร พูดก็ได้ แทน เพราะมีประโยชน์เหมือนกัน กลายเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ว่าพระเณรนี้ควรจะได้ฟังความคิดเห็นที่แปลกออกไปอย่างไรบ้าง ถ้าใครมาพิเศษมา เชิญให้พูด อย่างคุณถวิลเชิญ วันก่อนอาจารย์เยื้อน ภาณุทัต มาพักอยู่ที่นี่หลายวัน ถึงวันอย่างนี้ มานั่งด้วย ก็เลยให้แกพูด ได้คนหนึ่ง พูด พูดตลอดโปรแกรมตามความคิดเห็น ก็ดีมาก วิธีการที่จะรู้จักตัวเองอย่างไร ควบคุมตัวเองอย่างไร จิตใจตัวเองอย่างไร รู้สึกเป็นคนที่ทำได้ดี แกเป็นคนช่างสังเกต ถึงไอ้ความอดกลั้นอดทนตามวิธีของคนโบราณ ในการสังคมนี่ดีมาก ถ้าหากว่าเรายังใช้วิธีนั้นๆ กันอยู่ บ้านเมืองจะดีกว่านี้ มีความสงบเสงี่ยม มีความอดทน มีความคิดมากกว่าที่จะพูด จะทำนะ แล้วรอได้ ทนได้ รอได้ ไม่คิดตัดสั้นๆ ว่า มันอย่างนั้นอย่างนี้ อย่างโน้นเร็วนัก มันต้องดูไปนานๆ พระหนุ่มๆ พระเณรหนุ่มๆ นี้ไม่ค่อยทำเป็นอย่างนี้ จิตใจวู่วาม พูดเอง กันเองก็ยังไม่ได้ดี เท่าอาจารย์เยื้อน ภาณุทัต ผู้หญิงอายุ ๗๐ เศษ พูดดีกว่า ควรที่จำเป็น ควรจะมีอย่างนี้ ที่ศึกษา ที่แนะพิเศษออกไป แนะให้สังเกตเป็นพิเศษ ธรรมะต่างๆ ที่พระเณรรู้กันอยู่แล้ว แล้วมันไม่เป็นประโยชน์อะไรนี่ มัน มันรู้มากเสียเปล่าๆ นี่ ก็เพราะมันขาด ไอ้ขาดส่วนปลีกย่อย วิธีการปลีกย่อย ที่สำคัญนั่นเอง เมื่อไม่อดทนพอ มันก็ใช้ ใช้ไม่เป็นประโยชน์ได้ อ้า, ไม่ ไม่อดทน ไม่ใจเย็นพอ แม้แต่จะเลือกธรรมมะมาใช้ ก็ทำไม่ถูก ใช้แล้วก็ไม่ทันจะมีผลก็เปลี่ยนเสียแล้ว เปลี่ยนเลือกไปเป็นอย่างอื่นเสียแล้ว คนสมัยนี้ไม่มีความอดทน รอไม่ได้ จิตใจวู่วาม ก็เป็นเหตุให้ธรรมะของพระพุทธเจ้าเข้าไม่ถึง เข้าถึงยาก ไม่เหมือนคนสมัยโบราณโน้น ซึ่งเยือกเย็น มันก็คงเป็นปัญหาเถียงกันอีก บางคนมันก็เย็นอยู่ไม่ได้ หรือเขาไม่นิยมหลักเกณฑ์ที่ว่าเยือกเย็นนี้ ไม่นิยมความอดทน ไม่นิยมการให้อภัย ไม่นิยมว่าไอ้แพ้เป็นพระชนะเป็นมารนี้ไม่นิยมกัน ธรรมะ อ้า, ธรรมะทำหน้าที่ของธรรมะไม่ได้อยู่มากเพราะเหตุนี้ ส่วนใหญ่มันก็ไม่ค่อยจะเอา ไม่ยอมใช้วิธีของธรรมะเสียแล้ว เราก็มาพิจารณากันบ้างว่า จะจริงหรือไม่ที่ว่ามันใช้ไม่ได้แล้วสมัยนี้ นี่ก็เป็นการทบทวนสังคายนาเกี่ยวกับธรรมะ ธรรมะให้ชัดเจนดีอยู่ว่าหลักธรรมะแท้ๆ มันก็ยังเข้าใจไม่สมบูรณ์ มันหลายซับหลายซ้อนหลายชั้นหลายเชิง และเพิ่มมากขึ้นเพราะว่าคนชั้นหลังไปทำกันให้มากขึ้น เอ่อ, ทำให้มันมาก มากไอ้ วิธีการ มากความหมาย หรือว่ามากหลักเกณฑ์มากขึ้น อย่างที่เห็นได้ง่ายๆ เช่น เรื่องโลกียะ โลกุตระนี่ พระพุทธเจ้าไม่เคยแบ่งคำสอนของพระองค์เป็นโลกียะ พวกหนึ่ง เป็นโลกุตระพวกหนึ่ง ไปค้นดูเถิด ที่เป็นพระพุทธภาษิตจะไม่มี มีแต่หลักธรรมอย่างเดียวเท่านั้น ที่เป็นหลักพระพุทธศาสนา แล้วใครปฏิบัติได้เท่าไร ก็ปฏิบัติเท่านั้น ตามความสามารถ ให้สุดความสามารถ ไม่มีโลกียะ ไม่มีโลกุตระ คนชั้นหลังไปแบ่งมันเข้า กระทั่งเดียวนี้ยิ่ง ยิ่งตัดขาดออกจากกันเลย มันจะโลกียะ โลกุตระอย่างไรได้ เพราะปรากฏว่า พระอริยเจ้า พระโสดาบัน สกิทาคามีเป็นฆราวาสครองเรือน มีลูกมีหลานกันเยอะแยะก็มี อย่าง อย่างสมมติว่าคนที่รู้จักกันดีเช่น อนาถบิณฑิก นางวิสาขานี้ก็อยู่กับลูกกับหลาน อยู่อย่างชาวบ้าน อยู่อย่างสังคมจัดที่สุด อย่างนางวิสาขาก็ได้ยินว่า ไม่เว้นสังคมไหนถ้ามีการงานมีกิจที่ไหนก็ต้องมาเชิญตัวไปเป็นที่ ปรับทุกข์ปรับร้อน เป็นที่หยิบยืม เป็นที่อะไรทุกอย่างสารพัด และแกก็เป็นฆราวาส แล้วจะเรียกการเป็นอยู่นั้นว่าโลกียะ อย่างไรได้ พวกฆราวาสเป็นโสดาบัน จะมากกว่าที่เป็นพระเสียอีก จะเอาโลกียะ ไปให้ฆราวาสล้วนๆ แล้วเอาโลกุตระไปให้พระล้วนๆ แล้วทำไม่ได้ มันผิดกันหมด เพราะว่าพระที่ไม่ๆ ไม่ประสีประสาต่อโลกุตระ แล้วกลับเป็นโลกียะยิ่งกว่าฆราวาสเสียก็มี เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่ตรัสแยกเป็นโลกียะ เป็นโลกุตระ ตรัสหลักธรรมะมันมีอยู่อย่างนี้แล้วก็ปฏิบัติไป เช่น มรรคมีองค์ ๘ อย่างนี้ ใครปฏิบัติได้เท่าไรก็ได้ผลเท่านั้น เดี๋ยวนี้ มันเข้าข้างตัว มันไม่อยากปฏิบัติ มันก็เร่หาไปทางที่ว่า ต่ำๆ ไว้เรื่อย ต่ำไว้เรื่อย ต่ำไว้เรื่อย จนไปสนใจเรื่องที่ปฏิบัติ สูตรบางสูตร เรื่องที่ปฏิบัติ เรื่องทำมาหากินอย่างไรๆ แล้วก็ยกมา นี้เป็นพระพุทธศาสนาโลกียะ อย่างนี้ก็ไม่ถูก พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้รวมไอ้สิ่งเหล่านี้ในฐานะเป็นตัว พุทธศาสนา เว้นแต่ว่าเมื่อมีใครมาถามท่านบ้างถึงเรื่องทำมาหากิน เรื่องหลักเกณฑ์ของชาวบ้าน ท่านก็พูดไปได้เหมือนกัน ตามความนิยม ตามความรู้สึกของท่าน แต่แล้วในที่สุด ก็ดูให้ดีเถิด ไม่ได้สอนให้ยิ่งโลภมาก ยิ่งยึดมั่นถือมั่นมาก คำสอนถึง (เสียงไม่ชัด นาทีที่ 11:54) หรือสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวกับฆราวาสทั้งหลายนั้นนะ ไม่มีสูตรไหนที่สอนให้โลภมาก เป็นฆราวาสต้องยิ่งโลภ ยิ่งมีกิเลสมาก ยิ่งถือมั่นมาก ยิ่งกำหนัดมากนี้ไม่มี มีแต่เรื่องสอนให้บรรเทาทั้งนั้น แล้วมันมีอยู่ว่าในการทำมาหากินนะ อาชีพชนิดไหนก็ตาม หรือการสังคมที่ไหนก็ตาม ต้องประกอบด้วยธรรมะ ที่เป็นความอดกลั้น อดทน ให้อภัย ไม่ยึดมั่นถือมั่นทั้งนั้น ไม่ขัดกันเลยกับหลักที่วางไว้เดิม พูดว่าโลกียะ ตรงกันข้ามกับโลกุตระ นี่ผิด ผิดใจหายเลย จะกลายเป็นว่าข้างหนึ่งส่งเสริมกิเลส ข้างหนึ่งบรรเทากิเลสนี่มันไม่ได้ มันต้องบรรเทากิเลสทั้งนั้น และถ้ามันบรรเทากิเลสแล้ว มันต้องเรื่องควบคุมหรือบรรเทาความยึดมั่นถือมั่นนั้น พวกอื่นเขา ฆราวาสพื้นฐานที่ไม่ ไม่บรรเทากิเลส ไม่บรรเทาความยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้ว เราก็ไม่จำเป็นจะต้องไปสอนให้บรรเทาอย่างนั้นอีก หรือไปส่งเสริมเข้า มันก็มีหน้าที่ที่จะไปสอนให้ฆราวาสที่ต้องทำหน้าที่ของฆราวาสนั้นนะ มีความทุกข์น้อย หรือความทุกข์ครอบงำไม่ได้ ดังนั้น ฆราวาสทำหน้าที่ทำมาหากินตามแบบของฆราวาสเต็มที่อยู่ส่วนหนึ่งแล้ว ก็ต้องประกอบด้วยธรรมะชนิดที่อย่าให้การงานนั้นเป็นทุกข์ขึ้นมา ดังนั้น คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับโลกียธรรม ที่เรียกกันเดี๋ยวนี้ว่าโลกียธรรมก็ไม่ผิดกันกับเรื่องโลกุตรธรรม เป็นแนวเดิมเป็นหลักธรรมเดิม แต่ว่าลดระดับลงมาให้ อ้า, พวกฆราวาสปฏิบัติได้โดยสะดวก พร้อมกันไปกับการงาน นี่เราก็เลยแนะให้ใช้การปฏิบัติธรรมในการงานหรือให้การงานเป็นการปฏิบัติธรรมไปเสียเลย จะได้ไม่ต้องลำบาก เอ่อ, ทีนี้มองดูอีกทางหนึ่งซึ่งน่านึกเหมือนกันว่าไอ้โลกุตรธรรมนั้นนะ มันยิ่งจำเป็นสำหรับฆราวาส เพราะว่าโลกียธรรมมันทำให้ร้อน โลกุตรธรรมมันทำให้เย็น ทีนี้ฆราวาสมันร้อนเหลือจะร้อนอยู่แล้ว มันก็ต้องการ อ้า, โลกุตรธรรมมากกว่าพวกบรรพชิตที่อยู่ตามป่า ตามวัดตามวา ดังนั้น พวกบรรพชิตไม่ร้อนมากเท่าพวกฆราวาส ก็ต้อง ก็ไม่ต้องรีบด่วนในเรื่อง เรื่องเย็น โลกุตรธรรมมากเหมือนพวกฆราวาสด้วยซ้ำไป เปรียบเหมือนว่า มีๆ มีคนที่มีไฟไหม้อยู่ที่ตัวนี่ แล้วคนๆ หนึ่งไฟไม่ได้ไหม้อยู่ที่ตัวนี่ ใครต้องการน้ำดับไฟก่อน ก่อนกว่าใคร มันต้องคนที่กำลังร้อนเป็นไฟ ดังนั้น ฆราวาสจึงต้องสนใจเรื่องโลกุตรธรรม ดังนั้น จึงมีปรากฏชัดในพระบาลี พระไตรปิฎก เล่าเรื่อง ฆราวาสพวกหนึ่ง มาเฝ้าพระพุทธเจ้า มาทูลขอการปฏิบัติ หลักธรรมะปฏิบัติ ว่า ขอทรงแสดงไอ้ธรรมะที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ฆราวาสโดยตรง พวกเราก็มาทูลเล่าเรื่องว่า ฆราวาสแออัดด้วยบุตรภรรยานี่ ให้แสดงธรรมเป็นประโยชน์ แก่ฆราวาสตลอดกาลนาน พระพุทธเจ้าก็ยกเรื่องสุญญตาขึ้นมาเลย และก็ย้ำว่าโลกุตตรา ตถาคตภาสิตา ถ้าอย่างนั้นท่านต้องสนใจเรื่องสุญญตา ที่เป็นโลกุตรธรรม ที่ตถาคตกล่าว มันมีคำ กำกับกันอยู่ในตัว ตถาคตกล่าวแต่พวกโลกุตรธรรม คือ สุญญตา ตรงกันข้ามนั้น ไม่กล่าว มันเห็นชัดอย่างนี้ ทีนี้พวกฆราวาสนี้ก็บอกว่า หัวหน้าเขานะบอกว่า มันสูงนัก ทำนอง มันสูงนัก สูงเกินไป ไม่ๆ ไม่สามารถ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าถ้าอย่างนั้น ธรรมะ ๔ ประการ คือ ความศรัทธา ไม่หวั่นไหวในพระพุทธ ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ อริยกันตศีล ๑ ๔ อย่างนี้เหมาะ ฆราวาสเหล่านั้นก็ทูลขึ้นว่า ๔ อย่างนี้ ปฏิบัติอยู่แล้ว ปฏิบัติอยู่อย่างเต็มที่แล้ว ทีนี้สูตรนั้นมันจบเสียโดยไม่ต้องบอกต่อไปว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป แสดงความพอใจในพระพุทธเจ้าแล้วก็จบเรื่องเสียมันก็เลยเกิดเป็นปัญหาที่เถียงกันขึ้นในหมู่นักคิด ว่ามันอย่างไรกันแน่ สุญญตา โลกุตรา นี่เหมาะสำหรับฆราวาสหรือไม่ ควรแก่ฆราวาสหรือไม่ คนพวกหนึ่งก็เห็นว่า ไม่ควร หรือตรงกันข้ามเลย ใช้ไม่ได้กัน ไม่ได้เลย อย่างคุณคึกฤทธิ์เป็นต้นนี่เป็นหัวหน้าทีม เรื่องโลกุตระ สุญญตา นี้ใช้กับฆราวาสไม่ได้ ทีนี้พวกเราเยอะแยะมองเห็นว่ามันยังต้องตามเดิม ตามที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส คือว่ามีฆราวาสมาถามให้แสดงธรรมที่เป็นประโยชน์แก่ฆราวาส ทำไมพระองค์จึงไปยกเรื่องสุญญตา โลกุตรา ขึ้นมา นี่แล้วจะหาว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้สะเพร่า เป็นผู้งมงายไม่รู้ภาสีภาษาอะไร พูดโพล่งๆ อย่างนั้นมันก็ไม่ถูก มันต้องเป็นหลักและความประสงค์ ของท่านที่จะให้ฆราวาส อ้า, รู้เรื่องสุญญตา โลกุตรานี้ ทีนี้การที่ฆราวาสพวกหนึ่งว่าสูงนัก ไม่แสดงความสนใจหรือซักถามอะไรเลยนี่ เพื่อ เพื่อให้ทำได้ก็ไม่ได้ซักถาม พระพุทธเจ้าก็ง่าย ที่จะบอกอันอื่นได้เลย นี่มันเป็นเพราะเหตุไร ต้องลองสังเกตดู ไอ้ธรรมะ ๔ ประการนี้ เป็นหลักสำคัญมีมากในสังยุตตนิกาย เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระพุทธ ๑ เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระธรรม ๑ เสื่อมใสในพระสงฆ์ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ๑ แล้วก็มีอริยกันฺตศีล คือ มีศีลบริสุทธ์ เสนออันนี้ขึ้นมาในอันดับรอง เราก็ต้องพิจราณาไอ้ ๔ อย่างนี้ ว่ามันเป็นโลกียธรรมหรือไม่ ตรงกันข้ามกับสุญญตาหรือไม่ หรือมันเป็นเพียงลดระดับลงมา ทีนี้ในสังยุตตนิกายนั้นเอง ก็พูดถึงธรรมะ ๔ อย่างนี้มาก แล้วให้ชื่อว่า โสตาปัตติยังคะ โสตาปัตติยังคะ ๔ คือ อย่างนี้ อย่างนี้ ๔ อย่างนี้ โสตาปัตติยังคะ แปลว่า องค์แห่งความเป็นพระโสดาบัน หรือองค์แห่งการบรรลุความเป็นโสดาบัน มี ๔ อย่างนี้ก็ครบองค์แห่งการเป็นโสดาบัน โสตา โสตา ปัตติ แปลว่า การถึง ยังคะ แปลว่า องค์ องค์แห่งการถึงพระโสดาบัน ผู้ใดมีครบ ๔ ก็คือถึงความเป็นพระโสดาบัน ถ้าอย่างนี้มันไม่ใช่โลกียะ เพราะว่าโสดาบันไม่ใช่โลกียะ แสดงว่าพระพุทธเจ้ายังได้มอบไอ้โลกุตรธรรม ลดระดับลงมาหน่อยให้อยู่อีก ทีนี้ถ้าพวกนั้นปฏิบัติอยู่แล้ว ก็หมายความว่าพวกนั้นเป็นโสดาบัน อยู่แล้วโดยไม่รู้สึกตัว พวกที่มาเฝ้า มาถาม จนเป็นอะไร เป็นโสดาบันอยู่แล้วโดยไม่รู้สึกตัว อ้า, ก็เป็นไปได้เต็มที่ เพราะเรื่องนี้มันก็เป็นธรรมดา อ้า, บรรลุมรรคผลชั้นไหน เจ้าตัวไม่รู้ บรรลุ มรรคผลชื่ออะไรชั้นไหนไม่รู้ รู้แต่เพียงว่าเดี๋ยวนี้เรามีความสุขอย่างไร ความทุกข์อย่างไร มากน้อยแค่ไหนอย่างนี้รู้ แต่ที่จะรู้ว่าระดับนี้เขาเรียกชื่อว่าโสดา หรือสกิทาคามี ไม่รู้ เพราะเขาไม่สอน ไม่เรียนกันทำนองนี้ ดังนั้น อ้า, พวกธรรมทินนะ อุบาสกคณะนั้นอาจเป็นโสดาบันมาก่อนแล้วก็ได้เต็มที่เลย แต่ว่าเป็นพระโสดาบันยังละไอ้กิเลสไม่ได้อีกมาก เป็นฆราวาสก็ยังมีความทุกข์ความร้อน เช่นว่า ลูกหลานตายก็ยังร้องไห้นี่ก็เป็นปกติของพระโสดาบัน ดังนั้น เขาจึงต้องการธรรมะที่จะมาดับร้อนอยู่ อยู่มากจึงไปเฝ้า ดังนั้น จึงสรุปว่าการที่ธรรมทินนะบอกว่า นี่สูงนัก พระพุทธเจ้าตรัส ไอ้ ๔ อย่างนี้ให้ ไม่ได้หมายความว่าพระพุทธเจ้าท่านเพิกถอนเรื่องสุญญตาแก่ฆราวาส ไม่ได้เพิกถอนโลกุตรธรรมแก่ฆราวาสเพียงแต่ลดระดับลงมา มันก็มีพวกที่เข้าใจผิดถือเอาว่าไอ้ ๔ อย่างนี้เป็นโลกียธรรมไปเลย แล้วยังถือผิดเลยเตลิดต่อไปอีกว่ามันเป็นเรื่องส่งเสริมให้ ให้ปรารถนา ให้ทะเยอทะยาน ให้ยึดมั่นถือมั่นไปเลยอย่างนี้ คือให้ไปยึดมั่นถือมั่นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไปเลย และอธิบายไปทำนองเตลิดเปิดเปิงไม่เป็นธรรมะไปในที่สุด ให้มีศรัทธา ไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้ ไม่ใช่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน ท่านสอนให้ละ ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทานนั้น นั่นอีกอย่างหนึ่ง อุปาทานต้องมาจากอวิชชา การที่จะมีศรัทธาขนาดไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ต้องมีปัญญา ไม่ใช่ยึดมั่นด้วยอวิชชา มันมีได้เหมือนกันที่ว่าคนเราจะยึดมั่นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ด้วยอวิชชา นี้มีได้ คือคนแรก แรกพบ แรกได้ยินข่าวเล่าลือแตกตื่น นี่ยึดมั่นทำนองอวิชชา อุปาทาน อย่างนี้ก็ได้ แต่อย่างนั้นไม่เรียกว่า (เสียงไม่ชัด นาทีที่ 23:41) ในที่นี้ (เสียงไม่ชัด นาทีที่ 23:44) ในที่นี้ต้องมีปัญญาถึงจะไม่คลอนแคลน มาตั้งแต่รากฐาน ศรัทธานั้นจะไม่คลอนแคลนมาตั้งแต่รากฐาน ดังนั้น คำว่า (เสียงไม่ชัด นาทีที่ 23:55) ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นี้จึงไม่ใช่ด้วยการยึดมั่น ถือมั่นด้วยอุปาทานในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่มีความรู้ความเข้าใจพอใจยึดถือเอาเป็นสรณะด้วยปัญญา ทีนี้คนที่เขาอยากจะยึดมั่นถือมั่นเขาก็มีช่องพูดกันในตอนนี้ว่า แม้แต่เราจะถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราก็ต้องมีความยึดมั่นถือมั่น นี่มันเกิดเป็นปัญหาทางภาษาขึ้นมา ยึดมั่นถือมั่น ภาษาไทยอาจจะใช้ได้ แก่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ภาษาบาลีใช้ไม่ได้ จะเอาคำว่าอุปาทานไปใช้กับ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี่ ไม่ เป็นไปไม่ได้ ต้องใช้คำอย่างอื่น เช่น การสรณาคมถึงสรณะอย่างนี้ มันไม่ใช่อุปาทานทำนองนี้ อย่าลืมว่าอุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นในภาษาบาลีต้องมาจากอวิชชาเสมอไป ส่วนที่จะถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ให้ถูกต้องนี้ต้องมาจากวิชชา ตรงกันข้ามกับอวิชชา ดังนั้นจึงไม่ใช่อุปาทาน (เสียงไม่ชัด นาทีที่ 25:00) ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นี้ไม่ใช่อุปาทาน เหมือนที่คนไทยเราพูดกันแล้วฟังเข้าใจผิด เพราะคำพูดว่า ยึดมั่นถือมั่นในภาษาไทยนี่มันใช้ได้ทั้ง ๒ อย่าง ใช้ได้ทั้งในทางวิชชา และใช้ได้ทั้งในทางอวิชชา ต้องไปทำความเข้าใจ ให้ถูกกันเสียใหม่ในเรื่องเกี่ยวกับภาษาพูด ภาษาคน ภาษาธรรม อะไรอย่างนี้ ยึดมั่นถือมั่นก็ต้องเป็นอวิชชา จึงจะถูกต้องตามความหมายเดิม เดี๋ยวนี้ไทยเรามันใช้คำกำกวม ถึงหรือถือนี่ ใช้คำว่าถึงหรือถืออย่างนี้ เดี๋ยวนี้มันก็มีความได้ทั้งถือด้วยอุปาทานหรือว่าถือด้วยปัญญา ดังนั้น ขอให้ทุกๆ คนจำไว้ให้ดีว่าไอ้คำพูดคำเดียวมี ๒ ความหมายอย่างนี้ เป็นตัวเหตุตัวการของความยุ่งยาก ของปัญหาต่างๆ ที่ทำให้ถกเถียงกัน ลงกันไม่ได้ ทะเลาะวิวาทกัน เพราะเหตุนี้มาแล้วตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนกระทั่งบัดนี้ จนกระทั่งเวลานี้ ซึ่งจะรุนแรงยิ่งขึ้นเพราะเรานิยมยึดมั่นกันด้วยคำพูดอะไรมากขึ้น ผูกมัดกันด้วยคำพูด อายัดกันด้วยคำพูดนี้มากขึ้น ต้องระวังให้ดี ไม่จำเป็นจะต้องถียงกัน แต่ทำความเข้าใจกันได้ ดังนั้น อย่าได้ไปเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าสอนให้ฆราวาสยึดมั่นถือมั่น แม้ในกรณีใดเลย ยังคงสอนให้ทำลายหรือบรรเทาความยึดมั่นถือมั่นอยู่นั่นเอง ดังนั้น ลอง ลองๆศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้ก็ทอนความยึดมั่นในตัวตนลง อริยกันตศีลก็ทอน ความยึดมั่นถือมั่นแก่ตัวตน ความเห็นแก่ตน ก็แปลว่า ฆราวาสพวกนั้นก็ได้ธรรมะที่เป็นสุญญตา โลกุตราในอันดับต้นไปเท่านั้นเอง ถ้าเขาไม่เป็นพระโสดาบันมาก่อน เขาก็ได้ข้อปฏิบัติเพื่อเป็นพระโสดาบันนั่นเอง หรือถ้าเขาเป็นพระโสดาบันอยู่แล้วโดยไม่รู้สึกตัว ก็หมายความว่าเขามี มีธรรมะที่เป็นสุญญตา โลกุตราในระดับหนึ่งอยู่แล้วโดยไม่รู้สึกตัว แล้วข้อความในพระสูตรก็มีเพียงที่เขากลับไปเฉย ไปเฉย ก็แปลว่าจะต้องไปประพฤติปฏิบัติข้อนั้นนะต่อไปอีก ยิ่งขึ้นไปอีก หรือรักษาไว้ในลักษณะที่เป็นพระโสดาบัน แล้วโดยหลักทั่วไปแล้ว อ้า, โดยหลักทั่วไปอยู่แล้ว เราก็รู้กันทั่วไปอยู่แล้วว่า พระโสดาบันนั้นไม่ถอยหลังกลับ คำว่า โสตะ โสตาอาปัญนะ (เสียงไม่ชัด นาทีที่ 28:08) แปลว่าถึงแล้วซึ่งกระแสหรือเกลียว คือมันถอยกลับไม่ได้ มันมีแต่จะไปตามเกลียวตามกระแสนั้น มันก็เป็นอันว่าปลอดภัย สำหรับผู้นั้น จะอาศัยเรื่องนี้แล้วสันนิษฐานว่าพระพุทธเจ้าเพิกถอนหลักเกณฑ์เรื่องสุญญตาไม่ใช่สำหรับฆราวาสอย่างนี้ คนนั้นมันบ้าเอง จะต้องเข้าใจ ไว้เสมอว่าหลักของพระพุทธเจ้าเปลี่ยนไม่ได้ ในข้อสำคัญที่สุดคือ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ทุกคนต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นให้มากเท่าที่จะทำได้ตามสัดตามส่วนของตน ข้อนี้ไม่ต้องกลัวตรงที่ว่าไอ้ความยึดมั่นถือมั่นมันเกิดมากเกินความต้องการอยู่เรื่อยไป ดังนั้น เราไม่ต้องกลัวว่าเราจะไม่ยึดมั่นถือมั่น มันยึดมั่นถือมั่นจนให้เป็นทุกข์อยู่เสมอไป ดังนั้น เราก็บรรเทาเสียเท่าที่เราจะบรรเทาได้สิ ก็เท่านั้นเอง ดังนั้น เรื่องศีลก็บรรเทาความยึดมั่นถือมั่น เรื่องสมาธิก็บรรเทาความยึดมั่นถือมั่น เรื่องปัญญาก็บรรเทาความยึดมั่นถือมั่น มรรค ผล นิพพานก็คือ ผลของการที่ตัดความยึดมั่นถือมั่นได้ตามสัดตามส่วน ทีนี้แม้แต่เราจะเริ่มนับถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ต้องเพื่อบรรเทาความยึดมั่นถือมั่นที่เห็นแก่ตัวเรา ไปเห็นแก่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ไปเห็นแก่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นี้ไม่ใช่ไปยึดมั่นถือมั่นด้วยอวิชชา อุปาทาน ไปยึดมั่นเพื่อจะเอามาเป็นหลักเกณฑ์สำหรับบรรเทาความยึดมั่นถือมั่นของตัวกู ของกูให้เบาบางไป คือ เอาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์มาเป็นเครื่องมือทำลาย ตัวกูของกูในตัวเรา มันต้องเป็นหลักอย่างนี้ ทั้งฆราวาส ทั้งบรรพชิต ทีนี้เราเห็นได้อยู่แล้วว่า อ้า, พระนี่ พระสงฆ์นี่ มีตัวกูของกูจัดกว่าพวกฆราวาสบางคน บางหมู่ตั้งไหนๆ ฆราวาสบางคน บางหมู่ บางชนิด มีตัวกูของกูน้อยกว่าพระเณร ในวัดตั้งไหนๆ คำพูดนี้ขยายความออกไปได้ถึงนอกวง นอกวงของพุทธ ของไทย ไปถึงพวกจีน พวกฝรั่ง พวกแขก พวกอะไรได้ ที่โดยเหตุอะไรก็ตาม โดยการศึกษาอะไรชนิดไหนของเขาก็ตาม คนเหล่านั้น คนต่างชาติต่างศาสนาเหล่านั้นบางคนมีความยึดมั่นถือมั่นในตัวกูของกูน้อยกว่าคนไทยส่วนมากเสียอีก คือคนไทยที่กำลังเปลี่ยนหลักการ กำลังทะเยอทะยานไปตามไอ้วัตถุนิยมอย่างโลกๆ นี้ จะมีความยึดมั่นถือมั่นมากขึ้น แล้วพวกชาวต่างประเทศที่นับถือศาสนาอื่นบางคนกลับจะอยู่ในสภาพที่ มีความยึดมั่นถือมั่นน้อยกว่า แต่ว่ามันก็มีจำนวนน้อยคนเป็นธรรมดา ที่ว่านี้ไม่ใช่ทั้งหมด ดังนั้น เดี๋ยวนี้มันเกือบจะเฉลี่ยกันไปหมดแล้วทั้งโลกนี้ เพราะโดยอาศัยหลักที่ว่าเห็นแก่ตัวนั้นนะ เห็นแก่ตัวหรือไม่เห็นแก่ตัว ใครไม่เห็นแก่ตัวมากเท่าไร เป็นพุทธ เป็นพุทธบริษัทโดยไม่รู้สึกตัวมากเท่านั้น เขาจะถือศาสนาอะไรอยู่หรือว่าประกาศตัวเป็นชาติไหน ภาษาไหนอยู่ก็ตาม แต่ถ้าเขาถือหลักไม่เห็นแก่ตัวได้มากเท่าไร เขาเป็นพุทธบริษัทโดยไม่รู้สึกตัวมากเท่านั้น ดังนั้น เราจึงไปพบไอ้คนที่ยึดมั่นถือมั่นน้อย ในพวกอื่น ในรัฐ คนที่ถือศาสนาอื่นก็ได้ นี้พูดอย่างเป็น เป็นธรรมที่สุด คือ พวกนี้เขาไม่ยอม เขาต้องพูดว่ามีแต่พุทธ และมีแต่คนไทยหรือมีแต่อะไรกัน และก็มีแต่พระ ฆราวาสมีไม่ได้นี้ นี้ไม่จริง ไอ้ธรรมะมันไม่มีพระ ไม่มีฆราวาส ใครปฏิบัติเข้ามันก็ต้องเป็นตามกฎของธรรมะ ธรรมะไม่มีพระ ไม่มีฆราวาส เพราะเหตุนี้ธรรมะมันจึงไปมีได้แม้ในฆราวาสและ สูงกว่าที่มีอยู่ในพระเณร บางคน หรือพระเณรส่วนมากจะสูงกว่าฆราวาสก็ตามใจ แต่ว่าธรรมะในฆราวาสบางคนนั้นมีมากและก็สูงกว่าในพระเณรบางคน นี่คือคำอธิบายที่ว่า ไอ้ธรรมะนั้น มันไม่เป็นฆราวาส ไม่เป็นพระ ไม่เป็นบรรพชิตได้ มันเป็นธรรมะ เป็นกฎของธรรมชาติ ดังนั้น ใครมีคนนั้นก็เป็นพระ เพราะฉะนั้น เป็นพระอยู่ในเพศฆราวาสที่บ้านที่เรือนมีเยอะแยะไปหมด แล้วมาอยู่ มาบวชในวัดในวา ในป่าในดง ไม่เป็นพระหรือเป็นพระน้อยก็มี มีมากหรือไม่เป็นเลยก็มี มันเป็นเรื่องแบบฟอร์มข้างนอก นี่เข้าใจให้ดีว่าธรรมะนี้ไม่มีฆราวาสไม่มีบรรพชิตและไม่อาจจะแบ่งแยกเป็นโลกียะ โลกุตระ สำหรับพุทธศาสนาไม่มีแบ่งแยก ทีนี้ทีหลังมา มันมีแบ่งแยก โดยอาศัยหลักที่พระพุทธเจ้า อ้า, ก็ได้ตรัสไว้บางอย่าง เช่นว่า มัน ถ้ามันยังเป็นไปเพื่อเกิดอีก ไม่ไหว นี่ยังเป็นโลก ถ้าเป็นไปเพื่อไม่เกิดอีกนี่เป็นโลกุตระ ได้หลักอันนี้มาสำหรับแบ่งแยกเป็นโลกียะ โลกุตระ ถ้ายังอยากเกิดอีก ทำไปด้วยความอยากเกิดอีก อยากมีอีก อยากเป็นอีกก็เป็น โลกียะ ถ้าเพียงเท่านี้ไม่เป็นไร ยังพอใช้ได้นะ แต่ถ้าไปเพิ่มเติมเข้าว่า ไอ้ที่อยากเกิดอีกต้องมี โลภมาก มีอะไรมาก มีความยึดมั่นถือมั่นมาก แล้วไม่ได้ ผิดเลย ผิดหมดเลย แม้จะอยากเกิดอีก ก็ต้องเป็นไปในทางที่ดีขึ้น มีธรรมะสูง มีจิตใจสูง มีความทุกข์น้อย มีความยึดมั่นถือมั่นน้อยอยู่ตามเดิม ไม่ใช่กลับไปตรงข้าม ซึ่งมันจะไปลงนรกเลย นี้เข้าใจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ไว้ให้ดีๆ อย่าไปหลงตามความคิดเห็นคนบางคน ว่าด้วยเหตุที่อุบาสกคณะนั้นทูลว่า สุญญตาสูงนัก พระพุทธเจ้าลดลงมาเหลือเพียงโสตาปัตติยังคะ ๔ และจะไปเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าเลิกสุญญตา เลิกโลกุตระ สำหรับฆราวาสไปเลย นี่ไม่ถูก หลักพระพุทธศาสนามีเพียงอย่างเดียวคือว่าไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดว่าเป็นตัวตนของตน ทีนี้ฆราวาสก็ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้ว แล้วก็บรรเทาลงไปตามส่วนเท่าที่จะบรรเทาได้ ทีนี้พระเณรก็บรรเทาให้มากกว่านั้นอีก จึงจะสมกับที่เป็นพระ เป็นเณร บรรลุมรรค ผล คือโสดา สกิทาคา นี้ หมายความว่ามันเข้าระดับ เข้าระดับที่ความยึดมั่นถือมั่นได้ถูกละไป อ้า, ถึงสัดส่วนที่ว่าจะกลับเพิ่มอีกไม่ได้ มีแต่จะหมดไป หมดไป หมดไป ดังนั้น หมดไปบางส่วน แค่นั้นก็เรียกว่าโสดาบันแล้ว หมดถึงขนาดนั้นก็เรียกว่าเป็นพระสกิทาคามี อนาคามี หมดเลยก็คือเป็นพระอรหันต์ หมดความยึดมั่นถือมั่นเลย เพราะเหตุนี้เขาถึงได้มีหลัก อ้า, ว่าพระโสดาบันละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ไอ้ทิฏฐินั่นแหละคือ ยึดมั่นถือมั่น พระโสดาบันจะต้องละ จึงจะเป็นพระโสดาบันได้ หมายความว่าบุคคล ปุถุชนยังมีอยู่ ปุถุชนเป็นพระก็ได้ เป็นฆราวาสก็ได้ ยังมีสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส เต็มที่อยู่ ก็เลยเป็นปุถุชน ถ้าละไอ้ยึดมั่นถือมั่นที่เรียกชื่อว่าสักกายทิฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ตามส่วนที่วางไว้ ก็จะเป็นพระโสดาบัน สักกายทิฏฐิ คือ ละความยึดมั่นถือมั่นที่เป็นไปในทางตัวกูของกู ไอ้วิจิกิจฉานี่มันเป็นไอ้ ยึดมั่นถือมั่นไปในทางทิฏฐิ ทิฏฐิ ความคิดความเห็น สีลัพพตปรามาส นั้น ยึดมั่นถือมั่นในการปฏิบัติที่กระทำมา มาแล้วอย่างงมงายตลอดเวลานี่ ละความยึดมั่นถือมั่นทำนองตัวกูของกูเสียตามส่วน ไม่ใช่หมดนะ ไม่ใช่หมดเลย ละความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องทิฏฐิผิดๆ ที่ทำให้สงสัย ลังเล กังขาอะไรอย่างนี้เสียตามส่วน เสียส่วนหนึ่ง ละยึดมั่นถือมั่นในงมงาย ปฏิบัติอย่างงมงาย เชื่ออย่างงมงายมาแต่ก่อนตามส่วน นี้ก็เป็นพระโสดาบัน ทีนี้ก็เพิ่มมากขึ้น มากขึ้นจน อ้า, เป็นสูงขึ้นไปจนหมดเลยก็เป็นพระอรหันต์ ทีนี้ฆราวาสมันก็มีครบอยู่ ปุถุชนที่เป็นฆราวาสก็ถือว่ามีกันครบอยู่ ในเรื่องที่จะต้องละ ก็ไม่มี ไม่มีอะไรที่จะไปตำหนิเขา ถ้าจะให้ดีกว่านั้นไม่มีทางอื่น ถ้าจะให้ดีกว่านั้นก็ต้องมาทางนี้ ทางที่ละความยึดมั่นถือมั่น ๓ ประการนี้ก่อน จึงจะมาเข้าเขตเรื่องแรกของโลกุตระ คือ พ้นจากทุกข์เป็นพระโสดาบัน ทีนี้จะจัด อ้า, พวกที่ต่ำกว่าพระโสดาบัน คือ พวกปุถุชนธรรมดาว่าเป็นโลกียะก็ได้ ก็ได้เหมือนกันแต่อย่าไปเหมา แต่อย่าไปเข้าใจว่าต้องสอนเขาให้ยึดมั่นถือมั่นมากขึ้น สอนปุถุชนฆราวาสให้ยึดมั่นถือมั่นมากขึ้นมันผิดเลย ผิดเลย อันนี้เป็นแต่เรื่องยอมให้เท่านั้นที่จะให้ปุถุชนเป็นโลกียะ ถ้าถือหลักว่ายังมีการเกิดอีก พระโสดาบันก็มีการเกิดอีก มันเป็นไปในโลกอีก แต่โดยเหตุที่มันแน่นอนที่จะพ้นจากโลกจึงถือเป็นโลกุตระ มันก็ต้องเป็นโลกุตระตลอดสาย คือว่าฆราวาสก็หวังที่จะข้ามขึ้นจากโลก จากความทุกข์ พระโสดาบัน สกิทาคา ขึ้นไปก็คือข้ามไปตามลำดับ คือ ผู้ที่ข้ามไปตามลำดับ ดังนั้น ทุกคนต้องบากหน้าไปทางนิพพานทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นปุถุชนหรือพระอริยเจ้าก็ตาม ต้องบากหน้าไปทางนิพาน ปุถุชนก็เปรียบเหมือนกับอยู่หลังหน่อย อยู่ไกลหางแถวปลายแถวหน่อยนอกนั้นไปใกล้เดินนำหน้าไป สูตรเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็มีอยู่ชัดเหมือนกันว่าเรื่องจมทะเลกันนะ เรือแตกในทะเลเวียนว่ายอยู่ในทะเลนี่ พวกหนึ่งจมหายไปเลย พวกหนึ่งจมแล้วผุดขึ้นมาอีก พวกหนึ่งว่ายน้ำเข้ามาหาฝั่ง พวกหนึ่งก็ว่ายเข้ามาใกล้มากแล้ว พวกหนึ่งก็มาถึงไอ้เขตน้ำตื้นหยั่งเท้าถึงดินแล้ว พวกหนึ่งก็มาถึงเดินน้ำแค่เข่าแล้ว พวกหนึ่งก็ไปนั่งสบายอยู่บนบกแล้ว อย่างนี้ก็มี ทุกคนต้องบากหน้าไปหาฝั่ง ไม่มี ไม่มีการสอนให้บากหน้าไปหากลางมหาสมุทร ดังนั้น การที่จะไปสอน อ้า, ฆราวาสให้มีความยึดมั่นถือมั่น คือเหมือนกับสอนให้เขาบากหน้าไปสู่กลางมหาสมุทร ไม่บากหน้ามาหาฝั่ง แล้วมันผิดด้วยประการทั้งปวง ดังนั้น จึงไม่มีทางที่จะสอนใครให้ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นหลักโลกียะสำหรับฆราวาส ถ้าสอนอย่างนั้นเป็นเรื่องผิดด้วยประการทั้งปวง นี่เป็นหลักอย่างนี้ พอจะถือได้ว่าเป็นหลักปาฏิโมกข์ฝ่ายธรรมะข้อหนึ่งด้วยเหมือนกัน อย่าให้เฝือได้ และคำอธิบายปลีกย่อยอย่างอื่นๆ ก็เอามาประกอบกันเข้าให้มันชัดเจน ให้มันละเอียดลออไป แต่ว่าโดยหลักต้องเป็นอย่างนี้ คือ ทุกคนต้องบากหน้าไปยังสิ่งที่เรียกว่านิพพานแล้วก็ไปตามนั้น ตามเป็นหางกันไปตามที่จะทำได้ ทุก ทุกระดับต้องบรรเทาความยึดมั่นถือมั่นซึ่งเกิดอยู่เองแล้ว มีเต็มที่อยู่ก่อนแล้ว จะไปเพิ่มเข้าอีกไม่ควร ดังนั้น ถ้าเรียกว่าดีก็หมายความว่ายึดมั่นถือมั่นน้อยลง ไม่ใช่ยึดมั่นถือมั่นมากขึ้น อย่าเข้าใจว่าดีแล้วจะต้องยึดมั่นถือมั่นมากขึ้น ดีก็หมายความยึดมั่นถือมั่นน้อยลง มีความเลว ความชั่ว ความทุกข์อะไรน้อยลง มันจึงจะเรียกว่าดีขึ้น ดีขึ้นๆ ทีนี้ถ้าไปพูด ไปแยกเป็นโลกียะ โลกุตระ แล้วสอนฆราวาสให้ยึดมั่นนั่นนี่หนักเข้า แม้กระทั่งยึดมั่นในรูป รส กลิ่น เสียง แล้วนี่ทำลายพุทธศาสนายิ่งกว่าคอมมิวนิสต์ เพื่อทำลายหัวใจพุทธศาสนายิ่งกว่าคอมมิวนิสต์ คอมมิวนิสต์จะทำลายได้ก็เพียงแต่เปลือกของศาสนาเท่านั้น ไม่ทำลายหัวใจของพุทธศสานาได้ แต่พวกพุทธบริษัทกันเองที่สอนผิดๆ นี่ทำลายหัวใจของพุทธศาสนาหมดเลย จึงถือว่าทำลายพุทธศาสนายิ่งกว่าพวกคอมมิวนิสต์ ระวังให้ดี การศึกษามันมากขึ้นเดี๋ยวนี้ก็ทำให้คนรู้กันมากขึ้น ก็มีคนที่มีความคิดความเห็นแตกต่างกันมากขึ้น เพราะฉะนั้นจะต้องวินิจฉัย วิพากษ์วิจารณ์กันมากขึ้น แตกต่างกันมากขึ้น เราก็ต้องระวังอย่าไปพลอยหลงผิดหรือว่าพลอยฟั่นเฝือกับเขา หลักเกณฑ์มีอยู่อย่างไรก็ต้องให้ถูกต้อง ให้แม่นยำอยู่เสมอนี่เรียกว่าลงปาฏิโมกข์ ในทางธรรม คู่ๆ กันไปกับปาฏิโมกข์ทางวินัย โลกียะโลกุตระนี่ทำยุ่ง มาว่ากันเองทีหลังแล้วบัญญัติให้ผิดๆ แล้วพอมาถึงสมัยนี้ คนเขาถือเอาเองผิดๆ ยิ่งขึ้นกันไปอีก จนเป็น เป็นว่าโลกียะก็ต้องยิ่งยึดมั่นถือมั่น พระพุทธเจ้าไม่ได้แบ่งหลักอันนี้เลย อาจจะพึ่งพบคำ ๒ คำนี้ ใน เอ่อ, ในอภิธรรม ในอภิธรรมที่เป็นคัมภีร์รุ่นหลังนี้ โลกียาธรรมา โลกุตราธรรมา นี้อาจจะหาพบในอภิธรรม แต่ว่าในสุตตันตะ ในตัวบทเดิมไม่มีที่จะแบ่งกันอย่างนี้ พระพุทธเจ้า ไม่เคยแบ่งอย่างนี้ เราเห็นได้จากที่ว่าพอฆราวาสไปหาก็สอนโลกุตระธรรมเรื่องสุญญตา ทีนี้แม้ว่าในอภิธรรมเขามีคำว่าโลกียา โลกุตราธรรมา ก็ตาม ในอภิธรรมนั้นไม่ได้หมายความว่าให้ฆราวาสเพิ่มความยึดมั่นถือมั่นด้วยโลกียธรรมนั้น หรือว่าคำว่าโลกียาธรรมาในอภิธรรมนั้นไม่ได้หมายความว่าให้คนเพิ่มความยึดมั่นถือมั่น แต่เดี๋ยวนี้คนเขามาหลงใน ในเรื่องสิ่งที่ยั่วยวนกันเลย นี้ก็เลยดัด ดัดหลัก เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์เสียใหม่ ให้โลกียะแปลว่ายึดมั่นถือมั่นมากขึ้นในสิ่งที่จะทำให้สวย ให้รวย ให้สบาย ให้เป็นสุข ให้อะไรอย่างนี้ ระวังให้ดี จะทำลายพระพุทธศาสนาหมดไม่มีเหลือโดยไม่รู้สึกตัวและยิ่งกว่าคอมมิวนิสต์เหมือนกับที่ว่ามาแล้ว ทีนี้อยากจะบอกให้ทราบ อีกอย่างหนึ่งว่า ไอ้เรื่องความคิดเห็นนี้มันห้ามกันไม่ได้ มันเป็นประชาธิปไตยยิ่งกว่าประชาธิปไตย มันเป็นเรื่องความคิดเห็นใครไปบังคับใครได้ ทีนี้เราจะไปให้ทั้งหมู่ทั้งคณะถือเหมือนกันก็ไม่ได้ เพราะหมู่คณะมันเป็นเรื่องของโลก โลกต้องเป็นไปตามผู้มีอำนาจ ดังนั้น ผู้มีอำนาจเข้าใจผิด โลกมันก็ต้องเข้าใจผิดช่วยไม่ได้ เพราะคำว่าโลกต้องเป็นไปตามผู้มีอำนาจเสมอ ดังนั้น มาถือธรรมะกันดีกว่าซึ่งไม่ ไม่เป็นไปตามโลก ซึ่งไม่เป็นไปตามอำนาจ แต่เป็นไปตามความจริง ยกตัวอย่าง เช่น คณะสงฆ์หรือมหาเถระสมาคม ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร มันก็ต้องไปอย่างนั้น ท่านมีความคิดเห็นเรื่องโลกียะ โลกุตระอย่างไร มันก็ต้องไปอย่างนั้น ทีนี้ผมไม่ได้พูดว่าท่านผิดนะ แต่ท่านพูดว่าท่านมีอำนาจที่จะตราลงไปว่าอย่างไรก็ได้ เราก็ไม่เคยฟังท่านพูดเรื่องนี้ และดูเหมือนท่านจะไม่กล้าพูด ถ้าท่านมีสติสัมปชัญญะพอ คงไม่มีองค์ไหนกล้าพูด ยืนยันเอาความคิดเห็นไปบังคับประชาชน ถ้าทำอย่างนั้นเป็นศาสนาคริสเตียน ที่ออกไอ้ กฎต่างๆ เป็นบัญญัติของโป๊บของอะไรมาเป็น (เสียงไม่ชัด นาที 46:29) อย่างนั้นอย่างนี้ออกมานี้มันก็เป็นคริสเตียน ถ้ายังเป็นพุทธอยู่ก็ต้องปล่อยไปตามความอิสระ มองเห็นได้ด้วยตนเอง ให้เห็นในภายในของตนเอง ให้เห็นด้วยตนเองและก็ปฏิบัติด้วยตนเอง ดังนั้น ท่านจึงเงียบกริบในเรื่องหลักธรรมะแท้ๆ ท่านมีอำนาจหน้าที่แต่เรื่องการปกครอง เรื่องระเบียบ เรื่องไอ้ อธิกรณ์ เรื่องอะไรอย่างนั้น ทีนี้ถ้าเมื่อใดท่านมาออกกฎอย่างนี้ ทางธรรมะกลายเป็นคริสเตียน บังคับกันในทางความคิดเห็น ถ้าๆ ถ้าสมมติว่าท่านผิดแล้วฉิบหายหมดเลย นี่ถ้าสมมติท่านพูดออกมาผิดก็ฉิบหายหมดเลย พุทธศาสนาจะไม่มีอะไรเหลือ ดังนั้น การที่ท่านไม่ออกในความคิดเห็นหรือบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องธรรมะนี้เป็นการดี เป็นการถูกต้องที่พระพุทธศาสนาจะอยู่ได้ด้วยตัวเอง ทางรอดมันมีอยู่ว่าทุกคนนี่พยายามศึกษาจริงๆ ปฏิบัติจริงๆได้ผลจริงๆ รู้ด้วยตนเองจริงๆ ไม่ต้องเชื่อคนอื่นนั่นแหละ จะเอาพระพุทธศาสนาไว้ได้ หัวข้อปาฏิโมกข์ธรรมะวันนี้มีว่าอย่างนี้ ถ้าโดยหลักเกณฑ์อันเดียวเท่านั้นที่เป็นพุทธศาสนาว่า สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงทุกสิ่ง ไม่มีใคร ไม่ ไม่ใช่สิ่งที่ควรจะไปสำคัญมั่นหมายว่าตัวเราหรือว่าของเรา พยายามปฏิบัติตามหลักนี้เรื่อยไปทั้งฆราวาส ทั้งบรรพชิต ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง เบื้องปลาย ไม่มีหลักเกณฑ์อันไหนที่จะสอนให้ใครยึดมั่นถือมั่น และต้องรู้ว่าโลกียะหรือโลกุตระก็ตาม ต้องเป็นไปเพื่อไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่มันในระดับที่ต่ำกว่ากัน สูงกว่ากัน ต่ำกว่ากัน มี อ้า, เส้นทางสายเดียวบากหน้าไปยังพระนิพพาน ทุกคนแนวดิ่งไปตามแนวนั้น เหมือนกับบาลีในมหาสติปัฏฐานสูตร และอีกบางสูตรที่ว่า เอกายโน ภิกฺขเว มคฺโค ทางนี้เป็น ทางแห่ง เป็นทางสายเดียวสำหรับบุคคลเดียวเดินไปสู่จุดหมายเพียงอย่างเดียว คงแปลก คำว่า เอกายโน มันแปลเป็นทางสายเดียวสำหรับบุคคลเดียวเดินไปสู่จุดหมายเพียงอย่างเดียว เอกายโน ภิกฺขเว มคฺโค นี่คือตัวพุทธศาสนา หนทางนั้นคือตัวศาสนา มคฺโค ทาง คือตัวศาสนา เอกายโน สำหรับคน เป็นเส้นเดียวสำหรับบุคคลเดียวเดินไปสู่จุดมุ่งหมายเพียงอย่างเดียวนี่คือไปสู่ความหมด หมดความยึดมั่นถือมั่น ดังนั้น อย่าไปทำให้หลายเส้น หลายทางแล้วมันมีบางทางย้อนกลับอย่างนี้ มันก็เป็นเรื่องที่ผิด เหลือที่จะผิด ต้องไปข้างหน้าไปสู่จุดหมายปลายทางเพียงอย่างเดียวคือ นิพพาน ทีนี้คำว่านิพพานก็เหมือนกัน ไอ้พวกที่เข้าใจผิดอย่างที่ว่ามาแล้วก็จะต้องปฏิเสธทันทีว่านิพพานไม่ใช่สำหรับชาวบ้าน ไม่ใช่สำหรับพวกอยู่ในโลก นี่มันเข้าใจผิดอย่างโง่เขลาที่สุดและอวดดี คำว่านิพพานของพระพุทธเจ้าหรือของภาษาในประเทศอินเดียนั้นเขาดีมากจนใช้ได้กับคนทุกคนทุกพวก คือ ดับเย็น พวกฆราวาสเต็มที่ก็ต้องการความดับเย็น พวกพระ บรรพชิตก็ต้องการความดับเย็น แล้วใครๆ ก็ต้องการความดับเย็น แม้แต่สัตว์เดรัจฉานก็ต้องการความดับเย็น แม้แต่วัตถุที่ไม่มีชีวิตมันก็ต้องการความดับเย็น ดังนั้น จึงมีข้อความอธิบายคำว่านิพพานไว้ ในพวกสังยุตตนิกายบางแห่งพอให้เราเข้าใจได้นะ ไม่ใช่คำพูดตรงๆ แต่ว่าพอให้เราเข้าใจได้ว่าคำว่านิพพานนี้ หมายหมดเลย ทั้งทางวัตถุ ทั้งแก่สัตว์เดรัจฉานและทั้งแก่มนุษย์โดยให้ถือว่าภาษาบาลีเป็นหลัก คำว่านิพพานหรือปรินิพาน นิพพุติ หรือปรินิพฺพุติ ก็ตามนี้แปลว่าดับเย็น วัตถุร้อนๆ เย็นลงไปก็เรียกว่ามันปรินิพฺพุติ เช่น เหล็กแดงๆ เย็นลงไปเรียกว่าเหล็กนี้ปรินิพฺพุติ ถ่านไฟแดงๆ เย็นลงจนดำนี้ก็เรียกว่า มันปรินิพฺพุติ คือ นิพพาน แม้แต่อาหารตักมาจากในหม้อร้อนๆ แล้วมาวางไว้ให้เย็นลงจนกินได้นี้ ก็เรียกมันปรินิพฺพุติ มันก็ต้องมีคำพูดในครัว ในบ้าน ในเรือน ในครัว เด็กๆ คนหนึ่งร้องตะโกนว่า ข้าวต้มนิพพานแล้วโว้ย มากินกันทีนี้ไม่ใช้คำจำอวด ตลก เป็นคำธรรมดาในภาษาขณะนั้น เวลานั้น ของร้อนเย็นลง แล้วสูงขึ้นมาคำว่านิพพานหมายถึงหมด หมดร้อนที่เรียกว่าพิษร้าย อันตรายนี้ใช้กับสัตว์เดรัจฉาน สัตว์เดรัจฉานตัวไหนไม่มีอันตราย ไม่มีพิษร้าย หมดสนิทแล้วตัวนั้นเรียกว่านิพพาน เช่น สุนัขตัวนี้ถูกฝึกดีจนไม่มีอันตราย ไม่มีทางทำเสียหาย ไม่กัด ไม่อะไรหมดแล้วเรียกว่า มันนิพพาน สัตว์ ช้างม้าวัว ควาย จับมาจากป่า มาฝึกจนใช้ได้ดีจนเชื่องเหมือนแมว อันนี้ก็เรียกว่าสัตว์ตัวนี้นิพพาน คือ หมดพยศร้าย หมดความร้อน หมดอันตราย ทีนี้ก็สูงขึ้นมาถึงคน นิพพานก็คือหมดร้อนด้วยไฟกิเลส ถ้าไฟกิเลสดับเย็นคนนิพพาน คำว่านิพพานใช้ได้แม้แก่วัตถุ แม้แก่ สัตว์เดรัจฉาน แม้แก่คน ดังนั้นใครจะไปโง่ว่านิพพานเป็นเรื่องของพระอยู่ตามป่าตามเขา ต้องเป็นเรื่องของชาวบ้านแม้อยู่ในครัว ในการงาน การอะไรต่างๆ ก็ต้องพยายามไปในสิ่งที่เรียกว่านิพพานคือ ความดับเย็น อย่าให้ถ่านไฟมันไหม้มือเอา อย่าให้หมาบ้ามันกัดเอา อย่าให้ตัวเองสร้างนรกขึ้นใส่ในใจตัวเองก็เรียกเป็นคนนิพพาน มีความจำเป็นที่จะต้องการการนิพพานอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นอย่าเอานิพพานไปไว้โลกุตระ บนที่ไหนก็ไม่รู้ แล้วไม่อยู่ในวิสัยของพวกเรา เอาไปมอบให้ใครเสียนี่คนนั้นมันคนบ้า แล้วมาอวดดีสอนพุทธศาสนาตามหน้าหนังสือพิมพ์ตามอะไรต่างๆ นิพพานต้องสำหรับทุกคนและสำหรับทุกสัตว์เดรัจฉานและสำหรับวัตถุทุกชนิดที่มันร้อน ที่มันบ้า ที่มันเป็นทุกข์ ที่มันร้อนให้มันเย็นลงไป ที่มันบ้าให้มันหายบ้า ที่มันเป็นทุกข์ให้มันหมดทุกข์ นิพพานมีหัวข้ออย่างนี้ นี่ก็เป็นปาฏิโมกข์อันหนึ่ง เป็นหลักที่จะต้องเข้าใจ ไม่ใช่ว่าเอาเองล้วนๆ ว่าไปตามพระบาลี และว่าไปตามความแน่ใจของตัวเองที่สังเกตเห็นอยู่ รู้สึกอยู่ด้วยการปฏิบัติ มันจึงเป็นการว่าไปตามทั้งพระบาลี และทั้งไอ้ความเข้าใจส่วนตัวและทั้งการที่ได้พิสูจน์ทดลองมาแล้วเป็นส่วนตัว จึงพูดได้เพียงเท่านี้ และไม่มองเห็นทางที่จะพูดเป็นอย่างอื่นได้ ดังนั้น ก็จำหัวข้อให้ดี เรื่อง คำว่าโลกุตรา สุญญตานี่อย่างหนึ่ง เรื่องคำว่าโลกียะโลกุตระนี่อย่างหนึ่ง แล้วก็ยึดมั่นถือมั่น ไม่ยึดมั่นถือมั่นนี่อย่างหนึ่ง และคำว่านิพพานนี่อย่างหนึ่ง ๔ หัวข้อนี้ก็มากพอแล้วสำหรับวันหนึ่ง ที่จะซ้อมความเข้าใจกัน เป็นปาฏิโมกข์ประจำวันธรรมสวนะ วันอุโบสถ เพิ่มอีกนิดว่าผมกล้าท้าให้พวกคุณไปอ่านเอาเอง ปวดหัวตายเสีย ๓ – ๔ หน ก็ยังไม่ได้ครบข้อความหมดนี้ เพราะว่า ผมต้องอ่าน ต้องคิด ต้องค้นมาเป็นเวลา ๔๐ กว่าปี อ่านหลายเที่ยว หลายตลบในหนังสืออันมากมายเหล่านั้นในพระไตรปิฎกแล้วมันจึงพบหลักเกณฑ์อันนี้ เลยเอามาพูดให้ฟังเพื่อประหยัดเวลา ไอ้ที่คุณบวช บวชเพียง ๒ – ๓ พรรษาแล้วจะพบ อ่านสิ่งเหล่านี้หมดนั้นมันเป็นไปไม่ได้ ทนอ่านทนคิด ทนนึกไปเป็นเวลาหลายสิบปีจึงจะเข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาท เรื่องกรรม เรื่องไม่ยึดมั่นถือมั่น เรื่องสุญญตา เรื่องอนัตตา ในลักษณะที่เชื่อ ที่เชื่อว่าถูกตรงตามที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสที่สุด ทีนี้ใคร ทีนี้ใครพูดที พวกฆราวาสไม่ทำอุโบสถกันบ้าง คณะเพื่อนฝูงคุณสาลี่ วันอาทิตย์ทำอุโบสถเสียทีหนึ่ง เรียกมากินข้าว แล้วพูดเรื่องหลัก เรื่องอะไรที่เฝือไม่ได้ ที่เฝือแล้วยุ่ง ได้บ่อยๆ เรื่องการงานก็ดี เรื่องชีวิตก็ดี เรื่องศาสนาก็ดี เรื่องสังคมก็ดี เรื่องการเมืองก็ดี อย่าให้มันเฝือได้ นี่แหละปาฏิโมกข์ ลงปาฏิโมกข์ ปาฏิโมกข์นั้นก็แปลว่าหลักที่จะเอาตัวรอด คำว่าปาฏิโมกข์ คือหลักเกณฑ์ที่เป็นการเอาตัวรอด เรื่องการเอาตัวรอด ดังนั้น ควรจะนึกกันอยู่ ซักซ้อมกันอยู่ เมื่อ ๒ – ๓ วันนี้ เอ่อ, คุณประพันธ์เขียนจดหมายมาถึง ดี ดีมาก ซึ่งแสดงว่ากำลังชรา ร่างกายชราลง ปฏิบัติธรรมะยากขึ้น จะต้องพบปะประชุมกันบ่อยๆ เพื่อให้มีจิตใจแน่วแน่ต่อสู้กับความชรา สิ่งที่ไม่เคยมีมันมีขึ้นมา สิ่งที่ไม่เคยขลาดมันขลาดขึ้นมา มันๆ มัน คล้ายๆ มันจะเป็นประสาทอันหนึ่ง ที่กำลังมันไม่พอ เช่นว่าก่อนนี้การผ่าตัดไม่รบกวนเส้นประสาททำให้สะดุ้ง ผวา ทีนี้ถ้า เดี๋ยวนี้มันทำพลาดลงไป หรือใครตายลงไปสักคนนี้ มันเอาไปคิดไปนึกมาก ไปทำให้เส้นประสาทผวา เพราะความชรา เพราะความชราของร่างกาย การอ่อนแอของระบบประสาทสู้ไม่ได้ ถ้าธรรมะไม่พอเดี๋ยวได้การ มีความทุกข์ จะต้องมีความทุกข์ นี่เป็นผลอันเนื่องมาจากชรา เมื่อหนุ่มๆ อาจจะ เอ่อ, กำลังใจมันฮึดฮัดจัดหรืออะไร นี่ก็สู้ไปได้ ถึงไม่มีธรรมะมันก็สู้ไปได้ด้วยความฮึดฮัด พอชราไอ้ความฮึดฮัดมันไม่มี เหตุผลมันมากขึ้น ความรู้สึกรับผิดชอบมันมากขึ้น ถ้าธรรมะไม่พอจะทำให้เป็นทุกข์ ดังนั้น จึงต้องไปลงปาฏิโมกข์เสียทุกๆ วันอาทิตย์ เรียกมากินข้าวด้วยกันแล้วพูดถึงเรื่องความชรากันบ้าง อย่า อย่าประมาท จะได้สมตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่าประมาท คำสอนข้อสุดท้าย เธอทั้งหลายอย่าประมาท อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ คุณประพันธ์เลยคิดว่าวันอาทิตย์จะชวนเพื่อนฝูงไปกินข้าวด้วยกัน แล้วพูดกันในเรื่องที่เป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่บ้านใครก็ได้ บ้านแกก็สะดวก มันก็ดี พระเณรเราควรจะพูดด้วยหลักเกณฑ์อย่างนี้เป็นประจำวันทุกวัน ยังไม่ทำกันเลย กี่เดือนก็ยังไม่มี ปีหนึ่งก็ยังไม่มี ดังนั้น ควรจะมีทุกๆ ๗ วัน อย่างที่ว่า กำลังพยายามให้มีทุก ๗ วัน อย่าให้เฝือได้ อย่าให้เผลอได้ อย่าให้ประมาทได้ อุโบสถ ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ นี่ขอให้ทุกองค์หยุดทำงาน ให้นอนพักผ่อนแล้วมาลงปาฏิโมกข์ มาฟัง ทำปาฏิโมกข์อย่างนี้ วันอื่นๆ มันยุ่งไปด้วยการงาน แต่มันก็มีผลดีเหมือนกัน การงานทำให้สอบ ทดสอบตัวเอง มีความอดกลั้นอดทนเท่าไร เสียสละเท่าไร ให้อภัยได้หรือไม่ เห็นแก่ตัวหรือไม่ นี่ก็ทดสอบได้ในการทำการงาน เป็นการปฏิบัติธรรมะอยู่ในตัวการงาน ดังนั้น ใครปฏิบัติงานทำการงานได้ดีได้มากคนนั้นก็มีธรรมะมากอยู่โดย ไม่รู้สึกตัว มีธรรมะหลายชนิดอยู่ในตัวโดยไม่รู้สึกตัว ไอ้คนที่ขี้เกียจนอนเสียนั้นก็มีแต่จะทำให้มืดมัวมากขึ้น ควรจะระมัดระวังทำหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้นไปให้สูงยิ่งขึ้นไป ให้มากยิ่งขึ้นไป คนนั้นก็เจริญในทางธรรมะด้วย ดังนั้น อาตมาจึงขอร้องให้พยายามทำจิตใจให้ดีในทำการงานที่ทำๆ อยู่เป็นประจำนี้ ให้เราทำด้วยจิตใจที่ดีขึ้นกว่าเดิม คือ มีความสนุกสนาน บริสุทธิ์ผุดผ่อง แจ่มใสใน การงานยิ่งขึ้นกว่าเดิม ๗ วันหนหนึ่งพอแล้ว เกินกว่านั้นมันก็เฝือ ไอ้ ๗ วันครั้งหนึ่งนี่ก็ไม่ ไม่ใช่ ไม่ใช่น้อยนะมากเหลือเกิน ถ้าจะเทศน์เป็นเรื่องราว ๗ วันครั้งหนึ่ง ครั้งพุทธกาลก็ฟังทีเดียวตลอดชีวิต ฟังทีเดียวตลอดชีวิต ดังนั้นถ้าฟังทุกเดือนทุก ๗ วันมันก็อาจจะเฟ้อได้ ฉะนั้น ก็ได้แต่พูดให้มันชัดเจนเข้า ชัดเจนเข้า ไอ้หลัก หลักแท้ๆ หลักใหญ่ๆ หลักสำคัญๆ ฟังทีเดียวตลอดชีวิตเลย ฟังเทศน์ ฟังเทศน์เหมือนเครื่องจักรนั้นก็เป็น สีลัพพตปรามาส ชนิดหนึ่ง ฟังเทศน์โบสถ์พระแก้วหรือฟังเทศน์วัดไหนก็ตามเหมือนอย่างเครื่องจักร อย่างนี้ก็เป็น สีลัพพตปรามาส อันหนึ่ง จะไปว่าเขาไม่ได้เดี๋ยวเขาจะโกรธใหญ่ เพราะฉะนั้นโบสถ์พระแก้วนี้ก็เป็นที่น่าขำอยู่มาก อ้าว, ดูเถิด นึกแล้วน่าขำ นึกน่าเศร้า นึกอะไรอยู่หลายๆ อย่าง ที่เป็น เป็นที่ให้คนฟุบหมอบอยู่กับพื้นโบสถ์ไม่ให้ไต่ขึ้นไปบนยอดหลังคาโบสถ์เหมือนตุ๊กแก เหมือนในภาพนั้นและยิ่งไปได้ยินว่ายังมีคน เชื่อว่า อ้า, พระแก้วชอบกินไข่ ไข่ ไข่กับปลาร้าด้วยนะ ยิ่งน่าขำใหญ่เลย ยิ่งน่าขำใหญ่ พระแก้วมรกตชอบไข่ลวกกับปลาร้า เคยได้ยินไหม อ้าว, ไปดูเถิด เคยเอามาเขียนล้อในหนังสือพิมพ์ เรื่อง เรื่องมีคนถือว่าพระแก้วมรกตยังชอบไข่ลวกกับปลาร้า แล้วแกก็คอยสนับสนุนให้ยึดมั่นถือมั่น เป็นเรื่องของพระธรรมทูตอาตมาไม่ทราบ ก็ต้องถามพระธรรมทูต อาตมามีหน้าที่อบรมให้และก็ไม่ติดต่อ ไม่สอบถาม ที่ว่า ตามที่สังเกตดู สังเกตดูด้วยตา ตลอดเวลาที่ยังอยู่ที่นี่ รู้สึกแกเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง ก็มีผลนะ มีผล ก็ได้ยินไอ้คำแปลกๆ หรือคำกระตุกแรงๆ หรือว่าคำเตือนสติตรงไปตรงมา เอาไปนึกไปคิดกันมาก ได้ความ อ้า, เห็นได้ชัดเลยว่าเอาไปคิดไปนึก กันมาก มีอาการเคลื่อนไหว ผลที่แน่นอนก็คืออย่างนี้ ส่วนที่จะได้อย่างไรเฉพาะองค์นั้นอาตมาทราบไม่ได้ อยู่ที่เจ้าตัวนั้น ว่าตัวเอง ในฝ่ายเรานี้พอใจแล้วไม่เหนื่อยเปล่า ได้ผล ไปแสดงปาฐกถา คริสต์ พุทธ อะไรอย่างนี้ ได้ผล เคลื่อนไหวกันในหมู่ มันก็ได้ผลอย่างนั้นนะ รู้ได้เพียงเท่านั้น รายละเอียดยิ่งกว่านี้รู้ไม่ได้ ก็มีปฏิกิริยา ซึ่ง ซึ่งแน่นอน หลีกไม่ได้ พระก็ไปพูดว่า สอนมาให้ไม่พอ ทีนี้เลยปฏิบัติไม่ได้ ต้องมาสอนหลักกันใหม่ เวลาก็หมด นี้คุณชูชีพเขาร้อนตัวออกเป็นทุกข์แทน ร้อนตัว โต้แทน โต้ทานแทน ยังยืนยัน ยืนยันว่าไอ้หลัก ไอ้เรื่องอานาปานสติสอนมาแล้ว อย่างบริบูรณ์ สอนมาแล้วอย่างครบถ้วน ให้อะไรไม่ได้เลย มันต้องเอา เอาแนวในพระบาลีกันใหม่ เวลาก็หมด ดังนั้น ความเสียหาย ถ้าเทียบกับความเสียหาย ถ้าจะเรียกว่าความเสียหาย มันก็ต้องมีขึ้นเกิดขึ้นแก่ผู้ที่สอนอยู่ตั้งปีกว่าทางโน้นนะ ที่ทำให้พระพูดว่าไม่ได้ผลอะไรเลยไม่ได้ความรู้อะไรเลย ต้อง ต้องมาตั้งแนวกันใหม่ ทีนี้ท่านผู้เป็นประธานกรรมการก็พลอยหวั่นไหวไปด้วย อาตมาก็พลอยเป็นคนทำให้เขาลำบาก คล้ายๆ กับว่าเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เสียหาย คือ พิสูจน์ให้เห็นความไม่พอ หรือความล้มเหลวของสิ่งที่กระทำมาอย่างมีเกียรติตั้งปีกว่าแล้ว หยุดพูดเสียที ไม่พูดในส่วนนี้ จะเป็นที่เสียหายกว้างออกไป แต่เขาต้องนึกได้ว่าที่ทำอยู่นั้นมันใช้ไม่ได้ ต้องทำอย่างอื่น และทำให้จริงจังกว่านั้น เขาไปขอเงินมา ใช้ไปตั้ง ๒๐๐,๐๐๐ ในการอบรมพระธรรมทูต ผลที่ได้ ยังไม่คุ้ม ไปซื้อเครื่องฟังหู สอนเฉพาะคน ได้ตั้งเป็นแสน เกือบ ๒๐๐,๐๐๐ ๑๕ ชุด ๒๐ ชุด มาใช้ที่นั่น ที่ที่อบรมพระธรรมทูตที่กรุงเทพ ที่นี่ไม่มี ที่นี่นอน นอนคุยกันกลางหญ้า นั้นเขาเรียนภาษาอังกฤษ เครื่องมือในการเรียนภาษาอังกฤษ เกือบ ๒๐๐,๐๐๐ บาท มันวิเศษเป็นเทวดาไปเลย เหมือนที่เขาใช้กันอยู่ในพวกฝรั่ง ครูพูดกับคนนี้ก็ได้โดยที่คนอื่นไม่ได้ยิน ไม่ต้องได้ยิน ให้คนนี้อ่านให้คนนี้ฟัง ให้คนนี้พูดสอน ทางเทปบันทึกเสียงนี้เป็น เป็นหลักใหญ่ แต่เขาเรียกเครื่องอะไรกันก็ไม่ทราบ ครูสามารถที่จะสอนไอ้นักเรียนได้พร้อมๆ กันโดยไม่รบกวนกัน มันเป็นเรื่องเห่อๆ เห่อเกินกว่าเหตุ โดยรู้ภาษาอังกฤษ มันก็รู้แต่ภาษา ไม่รู้ธรรมะมันก็สอนไม่ได้ เหมือนกับพวก (เสียงไม่ชัด นาทีที่ 67:35) ที่นี่ว่าปรัชญาอะไรไม่ต้องเรียน ทำไมต้องเรียนภาษาอังกฤษ ถ้าจะไปสอนพุทธศาสนาที่ต่างประเทศนั้นไม่ต้องสอนปรัชญา เอามะพร้าวไปขายสวน แม้แต่การเปรียบเทียบ มันก็ไม่มีทาง เอ่อ, ให้สอนพุทธศาสนาดีกว่า อาตมาก็เลยบอกตรงๆ เหมือนกัน แต่ว่าพูดไปในรายงานเป็นส่วนตัว มาจากการทดสอบที่นี่ให้แปลคำง่ายๆ ในทางกรรมฐานดูก็ไม่ ไม่ได้ ภาษาอังกฤษของพระเหล่านั้นนะใช้ไม่ได้ ภาษาอังกฤษของพระที่จบสาธารณบัณฑิต จุฬา วัดบวรอะไรมาแล้ว แปลข้อความง่ายๆ ในทางกรรมฐานภาวนา โดยเฉพาะ มันก็ไม่ได้ ไม่พอ ภาษาอังกฤษก็ไม่พอ หลักปริยัติธรรมะมันก็ไม่พอ เช่น อานาปานสติ ทีนี้ความอดทนก็ยังไม่พอ ความเสียสละก็ยังไม่พอ อะไรก็ยังไม่พอ มีแต่รายงานไปอย่างนี้ เงียบกริบเลย คงมีความไม่พอใจ อาตมารายงานในๆ ในหน้าที่ที่ต้องรายงาน ได้สังเกตเห็นว่าอย่างไร ในการที่พระมานอนอยู่ที่นี่ ๑๕ วัน ก็รายงานไปอย่างนี้ พูดตรงๆ ว่าพระเหล่านี้ไม่พอเลย นั่นแหละภาษาอังกฤษไปจนถึงความรู้ธรรมะ ถึงไอ้ การปฏิบัติ การอดทน การเสียสละ ความตั้งใจจริงก็ยังไม่พอเลยเงียบไป แต่รายงานนี้อาตมาเขียนเป็นส่วนตัวถึงประธานกรรมการ และจะด้วยเหตุใดไม่ทราบมันเป็นความรับผิดชอบของแก แกไปอ่านในที่ประชุมก็ตามใจแกสิ คุณสัญญามาเล่า เอ็ดตะโรกันใหญ่วันนั้น คุณสัญญาก็เป็นกรรมการคนหนึ่ง เจ้าคุณ (เสียงไม่ชัด นาทีที่ 69:29) เอารายงานนี้ไปอ่านกลางที่ประชุม ก็เป็นความรับผิดชอบของ (เสียงไม่ชัด นาทีที่ 69:34) ว่ามันเกิดอะไรขึ้น อาตมาได้ทั้งนั้น เขาจะให้ช่วยอีกก็ได้ ไม่ให้ช่วยอีกก็ดี ก็อยากจะนอนมากขึ้นอย่างนี้ ถ้าไปฟังที่ทางโน้น ทางพระโน้น หรือว่าทางคณะกรรมการนั้น มันไม่ไหวหรอก ไอ้กรรมการที่ตั้งฆราวาสครึ่งหนึ่ง พระครึ่งหนึ่ง ต่างคนต่างก็มีความเห็นไปคนละทางสองทาง และไอ้ที่หนักไปทางปริยัติก็มันอย่างหลับหูหลับตาเลย คล้ายๆ กับให้ท่องหลักปริยัติไปสอน ตายเลยแบบนี้ ถ้าว่าเรามาทำการผสมผสานกันให้ดี เช่น อย่างกรรมการ อย่างคุณเสนีย์ ปราโมชนี่ ก็ช่วยให้ในเรื่องความคิดความเห็นเกี่ยวกับจิตใจของฝรั่งนี้ อย่างคุณสัญญา ธรรมศักดิ์ ก็เหมือนกัน ไปอยู่เมืองนอกนานก็ควรจะให้ความคิดเห็นแต่ในทางที่ว่าจะทำกับฝรั่งต้องทำอย่างไรอย่างนี้ แล้วกรรมการที่เป็นพระก็รู้ในเรื่องหลัก ตัวหลักของธรรมะของ การปฏิบัติ หรือว่าอย่างอาตมา อย่างนี้ก็ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะที่ว่า มันเป็นตัวการปฏิบัติ ปัญหาทางการปฏิบัติโดยตรงแล้วมารวมกันหมดมันถึงจะได้ผล เดี๋ยวนี้มันยังนะ ยังไม่ได้ทำอะไรกัน คล้ายๆ ไปนั่งฉงนกัน ไปนั่งออกความเห็นลมๆ แล้งๆ ออกความคิดนึกชั่วขณะอย่างนี้ ยังไม่ได้ผล และที่จริงงานนี้มันยาก มันยากเกินไปกว่าที่จะทำอะไรเล่นๆ แบบนี้ ที่อาตมาพอจะพูดได้บ้าง เพราะมันเคยเห่อ เคยบ้ากับเขาเหมือนกันที่จะแผ่ศาสนาไปต่างประเทศ เมื่อ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว เดี๋ยวนี้หมดแล้ว เดี๋ยวนี้หมดอยากแล้ว เมื่อ ๓๐ กว่าปีมาแล้วเคยคิดมาก คิดเป็นบ้าเป็นหลัง อยู่คนเดียว เรื่องที่จะแผ่ศาสนาไปต่างประเทศ แล้วอะไรเราก็ไม่พอ ภาษาเราก็ไม่พอ ความรู้ก็ ไม่พอ อะไรก็ไม่พออยู่เรื่อยนะ อาตมาเลยประกาศออกไปว่าขอรับหน้าที่ เมื่อเขาจู่โจมเข้ามาถึง ถึงรัง ถึงบ้านเรือนถึงรัง ที่จะให้ออกไปนอก ไม่เอา แต่ถ้าว่าไอ้นักศึกษาที่เขาจู่โจมเข้ามาถึง ประเทศไทย ถึง ถึงตัว หลีกหนีไม่พ้น อาตมาจะขอสู้ทีนี่ ขอรับ รับอยู่ที่นี่ ที่ให้ไปต่างประเทศ ไม่ ไม่เอา สังขารก็ทำไม่ได้ ร่างกายก็ทำไม่ได้ ไอ้ภาษามันก็ไม่ ไม่ๆ ไม่พอ ภาษาอังกฤษที่เขาพูดกันอย่างแบบแปลกๆ ก็ฟังไม่รู้เรื่องเลย มันต้องภาษาในหนังสือในรูปในแบบนี้พอจะรู้เรื่อง แล้วคนเขามากเกินไปกว่าที่เราจะไปทำได้ เช่นว่าเราจะไปเปิด ไปเปิดสั่งสอนที่ลอนดอนนี่ มันก็ต้องมีแหม่มบ้าๆ บอๆ เยอะแยะมาพูดด้วยเหมือนกัน เราก็ตายเลย เหมือนกับในเมืองไทยนี้เลย มันลำบากจะตาย อุบาสก อุบาสิกา คุ้มดีคุ้มร้าย บ้าๆ บอๆ มาถามยุ่งไปหมดจนเวียนหัว จน อ้า, เวลาหมด ดังนั้น จึงเชื่อว่าถึงไปที่เมืองนอกก็โดนอย่างนี้ ไม่ ไม่อยากไป แม้แต่กรุงเทพฯ ก็ไม่อยากไป อยากอยู่ที่นี่ ถ้ามันลำบากมา จนมาถึงที่นี่แล้วก็พูดกันแต่เท่าที่จำเป็น เห็นท่าไม่ได้การพูด ๒ – ๓ คำตะเพิดไล่ไปเลย กลับไปเลย น่าขำคุณหญิงอนุมาน มาสิมาเล่า อ้าว, คุณหญิงมาอีกแล้ว แกไม่ก้าวหน้าเลย บอกแต่ว่ายังไม่เสร็จ ยังไม่เสร็จ มาๆ สักว่ามา พูดกันไม่รู้เรื่องนั่นแหละมันคนละแนว แต่ยังขยันมา ก็ไม่ต้องพูดกัน ดังนั้น คนที่จะพูดกันรู้เรื่องจึงจะค่อยเข้าไปพยายาม ถึงพวกฝรั่งก็เหมือนกันแหละ หลายๆ คนพูดกันพอเห็นท่าไม่ดี อาตมาแกล้งเฉย เจื่อนๆไป กลับไปเอง แต่ถ้าฝรั่งคนไหนเขาต้องการจริงๆ ก็ อ้า, ซื้อ เซ้าซี้อยู่ อะไรอยู่ ก็ลองทำไปทำไปมันก็ได้ผลบ้าง ดังนั้น จึงใช้คำว่ายอมอยู่ที่รู อยู่ที่ในรูถ้าเขารุกมาถึงรูถึงจะสู้ ให้ออกจากรูก็ไม่ไปแล้ว คงมีนะ ต่อไปที่ชาวต่างประเทศ ที่เขาจะเข้ามาในประเทศไทย แล้วจะมาเล่นงานเอา ปัญหายากๆ มันก็จะมี ผู้ใหญ่ท่านก็ทำไม่ได้ ก็น่าเห็นใจ ไอ้ ไอ้สอนธรรมะขั้นนี้ทางล่ามไม่มีหวัง ไม่มีหวังเลย ธรรมะขั้นนี้จะพูดทางล่าม มันยิ่งไปกันใหญ่เพราะล่ามนั้นมันไม่รู้อะไรเลยนี้ มันแปลผิดหมดเลย แม้แต่เรื่องการเมืองมันก็ยังใช้ล่ามไม่ค่อยจะได้ ไอ้เรื่องธรรมะชั้นไอ้ละเอียดนี่ ไม่มีทางจะใช้ล่ามอย่างที่มีอยู่เดี๋ยวนี้ เว้นไว้แต่ว่าจะเป็นล่ามที่ดี ที่อบรมกันมาถึงขนาดและมีความรู้ธรรมะดีนี่ ไม่เห็นตัว แต่ว่าเห็นตัวชนิดที่ว่าอาจจะเป็นไปได้ ถ้าได้รับการปรับปรุงอบรม เช่น อย่างคุณสัญญา ธรรมศักดิ์ คุณกรุณา กุศลาสัย ท่านบุญชวน เขมาภิรัต อย่างนี้ จะเป็นล่ามได้ มีทางจะถ่ายทอดความรู้สึกธรรมะชั้นลึก นอกนั้นก็ไม่ค่อยเห็นใคร แม้อย่างนี้แล้วก็ยังต้องมาปรับ ปรับความเข้าใจกันเยอะกันอีก อีกนาน มันผิดได้ มันผิดได้โดยไม่รู้สึก ไอ้เรื่องสุญญตามันไม่ใช่เรื่องศีลธรรมไม่ใช่เรื่องปฏิวัติสังคม อย่างท่านปัญญาเทศน์นี้ฝรั่งไม่ต้องการ มันเป็นเรื่องปฏิวัติสังคม เพราะฉะนั้นมัน มันก็เลยเป็นอีกชนิดหนึ่ง มันคนละชนิด ยึดมั่นถือมั่น ไม่มีเรื่องอะไร ไปดูให้รู้จักตัวความยึดมั่นถือมั่นเสียก่อนเถิด เหมือนกับลิงข้างประตู มันก็ไม่รู้จักตัวเอง ทั้งที่ยึดมั่นอยู่แล้ว และทั้งจะเอาต่อไปอีก รูปนี้ดีนะ อาตมาแค่ อ้า, อยากอวดนะ แต่คนไม่รู้จัก รูปภาพเหล่านี้ดีมาก เลือกแล้วเลือกอีก คิดมานานแล้ว แต่ว่าเขาไม่ ดูไม่รู้เรื่องก็เลยเป็นแค่รูปบ้าๆ บอๆ ไร้สาระ เห็นรูปพระบาทใหญ่ที่นี่ แล้วเหยียบพญามารที่เขียนไว้ตามคานนี่ จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จยังไม่รู้เพียงแต่นึกๆไว้ แผ่นใหญ่เต็มที่ พื้นที่มีสองห้อง พญามารถูกเหยียบหัวแบน ตัวแบนอะไรอยู่ที่ตามคานนี้หรือจะเขียนอะไรดี ช่วยออกความเห็นว่าตรงนี้จะเขียนอะไรดี ตั้งนานแล้วตั้งแต่แรกสร้างแล้ว นึกๆ แต่ยังนึกไม่ได้ นึกไม่ออก ไม่แน่ใจว่าจะเขียนภาพอะไรดี ตรงนี้ที่สำคัญที่ ต้องเขียนให้ดี จนมีอารมณ์เกิดขึ้นได้ พระบาทที่พระพุทธเจ้า พระศาสนาเอาให้พญามารแหลกลานไป ทาน ไอ้ภาพนี้มันเป็นธรรมทานอย่างสูงสุด ได้บุญในทางเป็นธรรมทานอย่างสูงสุด ไอ้ลำพังไอ้ก่อสร้างเพื่อนั่ง นอน สบายนี้ มันไม่คุ้มกันกับทุนที่ลงไป ต้องจัดให้มันมีการให้ธรรมทานที่สูงๆ คุ้มๆ พอแก้ตัวกับยมบาลได้พอตีราคาไปได้ เรื่องนี้ สมมติว่าพอยมบาลเขาจะปรับเอา ก็ต้องลองตีราคาสิ ตีราคาธรรมทานดู กี่ล้าน กี่ร้อยล้าน เราใช้เงินคุ้มค่าหรือเปล่า ว่ากันมาดู ไอ้เรือนี่เหมือนกันต้องให้โอกาสให้มันแสดงธรรมทานด้วย คิดแล้วใจหาย เพราะเงินสองแสนบาท ได้กินน้ำ ๕๐๐ ปีก็ไม่ค่อยคุ้มกัน มันไม่ค่อยคุ้มหรอก ถ้า ๒๐๐,๐๐๐ บาท กินน้ำ ๑๐๐ ปี มันต้องให้เรือมันมีส่วนแสดงธรรมทานด้วยซึ่งตีราคาไม่ได้ ยังอยากจะจัดสวนหิน ชนิดที่แสดงธรรมะด้วยก้อนหินได้ในนั้น สนุกด้วย ได้ความรู้ด้วย นี่เป็นธรรมทานอย่างนี้ แต่แล้วงานมันยังยุ่ง แต่ละวันๆ มันไม่มีหัวที่โปร่ง แจ่มใส ที่จะมาคิดนึกไอ้เรื่องละเอียดอย่างนี้ได้ เลยค้างเติ่ง คาราคาซัง แล้วก็ความชราลุกลามอย่างว่า ไอ้ ๓ ปีมานี่กำลัง ถอยหลังสุดเลยกับความชรา ก่อนนี้ก็เคยยังนึกว่ายังจะทำได้ พอมันเล่นงานโดยไม่รู้สึกตัว ว้า, ที่ไหนได้ แย่ไปตั้งไหนต่อไหนแล้ว ไม่รู้สึกตัว จะคิดอะไร จะเขียนอะไรวันหนึ่งมากมากเหมือนเมื่อก่อนทำไม่ได้ เราอยู่ในฐานะที่เป็นผู้ประมาท ไม่ได้ทำอะไรเสียให้มากๆ ก่อนหน้านี้ พอมาถึงเดี๋ยวนี้ทำไม่ได้ เหลือน้อยเต็มทีแล้วที่จะทำ เป็นเพียงความคิด ความนึก หลักเกณฑ์ต่างๆ แม้แต่ตัวงานแท้ๆ ทำไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น เคยจะทำปทานุกรมธรรมะที่ดีเล่มหนาๆ สักเล่มหนึ่ง ฝันมาอย่างยิ่ง แล้วคิดว่าจะต้องทำได้ ทำได้ ทำได้ ผลัดมาเรื่อย อย่างทีแรกคิดว่าอีก ๑๐ ปีก็จะทำได้ เดี๋ยวนี้ทำไม่ได้แล้วพอมารู้สึกอีกทีอย่างทีแรกทำไม่ได้ ไอ้ความอดทน ไอ้เส้นประสาท ไอ้ความนึกให้กว้างๆ ให้ครบ อย่างนี้ไม่มีแล้ว เลิก กลายเป็นเรื่องทำไม่ได้ นี่ความประมาท คนอื่นๆ ก็ต้องระวังไว้ด้วย อย่าให้โอกาสมันผ่านไปเสีย แต่อาตมาก็เชื่อว่าทำไว้พอคุ้มค่าข้าวสุกแล้ว ก็เลยไม่ค่อย ไม่ค่อยร้อนใจ ไม่ค่อยนึกว่าเป็นหนี้สินอะไร เท่าที่ทำไว้แล้วก็พอคุ้มค่าข้าวสุก ไม่กี่วันมานี้ พวกศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎ์นี่ เขานึกอย่างไรขึ้นมาก็ไม่รู้ทั้งที่อาตมาไม่ได้ต้องการหรือขอร้อง เขาเอาหนังสือ เอ่อ, ทุกเล่มที่อาตมาเขียนนะไปทำ demonstration ให้คนดูที่ ที่สุราษฎ์นะ มันแยะเหมือนกัน ถ้าเอาไปเรียง ไปแผ่เป็นเล่มๆ นี่ มันหลายสิบเล่ม อย่างน้อยก็พอเป็นหลักฐานว่าทำงานคุ้มค่าข้าวสุกนะ ไม่ควรจะโทษ จะปรับอะไรกันมากนัก ถ้าเรา ดูนี่ก็คล้ายๆ ว่าไม่มีอะไร ทีนี้หนังสือหลายสิบเล่ม อาตมาก็ตะลึงเหมือนกัน เอามาวางเรียงดู มาวางดูอย่างละเล่ม อย่างละเล่มนี่ ไปคืนนี้ไม่ใช่หรือ หมวกอยู่ที่กุฏิ เดี๋ยวลืมนะ แล้วๆ อย่างไรใครจะไปส่ง พูดกันไว้แล้วหรือ พูดกันไว้แน่นอนแล้วหรือ สองทุ่มออกไปก็ได้ สามทุ่ม สิบนาที มา มานอนเสียที่นี่ วันหนึ่งบ่อยๆ เสีย กันลืม กันลืม อาจจะลืม ลืมความคิดนึกบางอย่าง ลืมความจริงบางอย่าง ลืมไอ้ธรรมะบางอย่าง ไม่ใช่ว่าลืมสถานที่นี้ ลืมตัว อยู่คนเดียวสบาย นอนเสียให้สบาย พอตื่นขึ้นมาจิตใจแจ่มใส ตอนนั้นนึกอะไรได้มากถือโอกาส มีความคิดแปลกออกมา เมื่อสิ่งไม่สงบแวดล้อม ความคิดก็เป็นอย่าง เมื่อสิ่งสงบแวดล้อมความคิดก็เป็นอีกอย่าง ดังนั้น เราควรจะทำทั้งทุกอย่าง ดังนั้น การที่เคยบวชกันเสียบ้าง เดือนสองเดือนก็ยังดี ถ้ารู้จักใช้เวลาที่บวชนั้น แวดล้อมตัวเองให้ความคิดแปลกๆ ออกมา ไม่คิดไม่นึก บวช ๑๐๐ ปี ก็ไม่มีประโยชน์อะไร สังเกตดูเถิด บรรยากาศอย่างนี้ เดี๋ยวมันก็มืดเข้า มืดเข้า ความคิด เดิน เปลี่ยน ไปตามมาก เราๆ เราอยากจะให้มันแปลก ให้มันครบทุกอย่าง เราพยายามไปหาที่นั่งในที่บรรยากาศที่มันแตกต่างกันครบทุกอย่างแล้ว ปล่อยให้ความคิดมันไหลของมันไป มันได้ทุกอย่าง ขออภัย จะพูดว่าความคิดในส้วมนี้ก็ไม่เหมือน ไม่เหมือนที่ไหน แล้วอยากจะบอกว่าที่เขียนให้อ่านๆ นะความคิดในส้วมตั้ง ๘๐ % มันประหลาดที่สุดเลย ที่เขียนอะไร หรือที่ไปเทศน์อะไร ที่ไปบรรยายอะไร เป็นความคิดในส้วมตั้ง ๘๐ % ต้องรีบบันทึกไว้แล้วรวมๆ กันไปพูดเสียทีหนึ่ง ดังนั้น มันไม่เหม็น ไม่รำคาญอะไรมากเกินไป และก็ไม่หรูหราเกินไป ความคิดดี เพราะเวลานั้นร่างกายกำลัง adjust อะไร ประหลาดๆ หัวนี้ก็ไม่ๆ ไม่ค้างอารมณ์เก่า หรือไม่อะไรก็ตามใจ นึกอะไรได้ที่นั่นในเรื่องที่เรากำลังทำอยู่ทุกวันแหละ นึกไม่ออก หรือนึกได้ไม่กว้างขวาง มันกลับมานึกออก และนึกได้กว้างขวาง นึกได้ในมุมกลับ นึกได้อะไรแปลกๆ ที่จะไปโต้กับใคร ไปแย้งกับใคร ไปแก้ข้อหาของใครนี้ มันนึกออกที่ในส้วมมากที่สุด เพราะเวลาอื่นเราก็ไม่ค่อยอยากนึกด้วย เวลาในส้วมมันไม่รู้จะทำอะไร มันก็นึกของมันเอง เวลาอื่นเราอยากจะไปเล่นไปดู ไปเล่นไปนั่นไปนี่หรืออยากนอนเสีย นี่ความคิดนึกนี่มัน มันไม่ต้องการเวลามาก มันแวบเดียว วาบเดียว ครึ่งนาทีก็พอ มันรู้เรื่องลึกเรื่องหนึ่งซึ่งกว้างขวางไปหมดเลย ไปเขียนตั้งหลายหน้ากระดาษ เลิกประชุม เดี๋ยวเดินล้มลุกคุกคลาน คุณ ไม่มีไฟ ฟืนอะไร