แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
คนละอย่าง คนละทาง ก็เลยเล่าไม่เหมือนกัน ต้องค่อยๆ ดูให้ดี เรื่องเดียวกัน คนอย่างอาจารย์เยื้อน แกก็มีสติปัญญาของแกอย่าง แกก็เห็นโลกเห็นชีวิตไปอีกแง่ต่างหากไม่เหมือนคนอื่น อาศัยแกเป็นคน ละเอียดลออ มีสติปัญญา แกก็เห็นในแง่ที่ดีที่มีประโยชน์ ซึ่งอีกคนหนึ่งไม่เห็นในแง่นี้ แล้วก็เลยไม่ชอบ ดังนั้น คนโง่คนฉลาดจะชอบเหมือนกันไม่ได้ ต้องต่างฝ่ายต่างไม่ชอบมัน แล้วถ้าเราอยากจะฉลาดเราอุตส่าห์ฟังความคิดเห็นของคนที่ฉลาดละเอียดลออ อายุมาก พระพุทธเจ้าท่านก็สรรเสริญในเรื่องอย่างนี้ อย่างพระอัญญาโกณฑัญญะ ซึ่งไม่รู้อะไร อย่างอื่นก็ต้องรู้เพราะว่าอายุมาก มีอายุ ดังนั้น อยากให้พระเณรหนุ่มๆ นั้นนะ หายอวดดีเสีย อย่าอวดดีกันนัก อุตส่าห์ฟังความคิดความเห็นของคนอื่นบ้าง เพราะถ้าเขาเป็นคนแก่อายุมาก แล้วยังเป็นคนละเอียดลออ สุขุมรอบคอบ ลองฟัง จะได้ฟังสิ่งที่ ที่ตัวไม่เคยสังเกต ที่ผ่านแล้วก็ไม่สังเกต อยู่แค่จมูกก็มองไม่เห็น นี่คนโง่ คนอวดดี ไม่มองเห็นไอ้สิ่งที่อยู่ใต้จมูกนั้น ถ้าเรากลับกันเป็นคนโง่ กลับกันเป็นคนฉลาด คนละที คนละที ฟังเสียงซึ่งกันและกัน ฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน แล้วแต่ละคนแสดงความคิดเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มาคนละที ก็น่าฟัง เรื่องต่างๆ ในที่สุดก็มีประโยชน์ เพราะรู้จักมองโลกในแง่ที่เรามองไม่เป็น ทีนี้เราจะหายโง่ (เสียงขาดหายนาทีที่ 03:19 – 03:42) คนบ้าๆ บอๆ พูดไม่มีประโยชน์ อ้าว, สังเกตแล้วก็เห็นจริง วันก่อนมีคนมาทอดผ้าป่า มีคนบ้าติดมาคนหนึ่ง ฟังให้ดีนะก็มีคำที่มันพูดเป็นประโยชน์ แต่คำที่ใช้ไม่ได้บ้าๆ บอๆ มันก็มากเหมือนกัน แต่คำที่มีประโยชน์มันก็มี มันก็มีความคิดที่แหลมที่คมออกมาได้เป็นครั้งเป็นคราว แต่สติของมันไม่ดี มันไม่ติดต่อกัน มันต้องเสียไป นั้นมันก็เป็นตามเรื่องของมัน แต่ขณะหนึ่งมันพูดออกมาได้ดีทีเดียว เราก็ควรจะฟัง ถึงคนบ้าเป็นผู้พูด ถ้าเรื่องนั้นมันก็เป็นเรื่องจริง ก็เป็นเรื่องธรรมะอยู่นั่นเอง ซึ่งแสดงมาทางปากของคนบ้า ดังนั้น ทุกคนควรจะพูดได้นะ พูดไปตามความคิดเห็นของตัว ตามความรู้สึกของตัว ด้วยเจตนาดี เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังแล้วใช้ได้ทั้งนั้น ก็ต้องแปลกๆ กันเสมอ ถ้าให้ตอบ ก็ตอบกันต่างๆ กันตามความรู้สึกที่ต่างกัน หรือภูมิชั้นจิตใจต่างกัน อย่างถามว่าเกิดมาทำไม มันตอบกันได้ทุกคน แม้แต่คนที่โง่ที่สุด คนพาลที่สุดเขาก็มีความคิดเห็นว่าเขาเกิดมาทำไม เมื่อคิดว่าเกิดมาเพื่อเอาเปรียบคนอื่น ก็เป็นความคิดเห็นของเขานะ ก็เป็นเรื่องจริงเรื่องหนึ่งนะ ก็ต้องพยายามฟังและพร้อมที่จะฟัง ไอ้เรื่องจริงมันมีความหมาย ใครจะพูดก็ได้ ก็มี มีๆ เพราะเหตุหลายอย่างไม่ยอมฟัง เพราะฟังไม่เป็น อันแรกบางคนยังจะไม่ยอมฟังเพราะมันฟังไม่เป็น จึงไม่ได้เรื่องไม่ได้ราว ฟังไม่เป็นนี้เป็นที่น่า น่าสังเวชมาก เหมือนกับคนฟังดนตรี (เสียงขาดหาย นาทีที่ 07:10 – 07: 40) ธรรมะมันยิ่งกว่านั้น ยิ่งเป็นดนตรีละเอียดหรือสูงขึ้นไปอีก ก็ยิ่งไม่น่าฟัง ไม่อยากฟังมากขึ้น แม้ธรรมะเรื่องละเอียดขึ้นไปอีก ก็ยิ่งไม่อยากฟัง มันก็ยิ่งเข้าใจยาก แล้วก็ไม่เข้าใจ ด้วยความไม่อยากฟัง มักจะมาจาก เอ่อ, ทางหู มีตัวกู คือเป็นตัวกู คือ มานะ ทิฏฐิ ไม่ยอมฟัง ไม่อยากฟัง คือ ไม่ ไม่ยอมฟังคนบางคนพูด จะยอมฟังแต่บางคนพูด ก็เรื่องตัวกูเหมือนกัน ก็เรื่องถือตัวกู ถือตัวตน มาติดขนบธรรมเนียมประเพณี มากขึ้นๆ ตั้งแต่เกิดมาก็เลือกมาก เลือกไปตามความเขลา ก็มี ถ้าไม่พูดบนธรรมาสน์แล้วก็ไม่ฟัง หรือไม่อยากเทศน์ ถ้าคำพูดนั้น อ้า, ถ้าไม่ได้พูดบนธรรมาสน์ ถ้าผู้พูดไม่ได้นั่งพูดบนธรรมมาสน์นะ ก็ไม่อยากฟัง ไม่อยากพูด ยังมีอยู่มากแม้เดี๋ยวนี้ แต่ค่อยยังชั่วลง หรือว่านั่งบนธรรมาสน์แล้วต้องถือใบลานด้วยถึงจะเชื่อ ถึงจะเป็นอาจารย์หรืออะไรของตัว ถ้าไม่ถือใบลานไม่เชื่อนี่ ถ้าเอาใบลานมาอ่านแม้จะเป็นเรื่องหลอกให้เชื่อ ก็เชื่อ แบบนี้มันก็ใช้ไม่ได้ทั้งนั้น เมื่อตัวเองไม่ ไม่ๆ ไม่เป็นตัวเอง ไม่มีหลักเกณฑ์ ไม่มีอะไรให้เชื่อ ต้องเชื่อตามคนอื่น ต้องเชื่อฐานะของผู้พูด เชื่อว่าผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรานี่ เมื่อได้อ่านดูมันอยู่ในกาลามสูตร ที่เป็นเรื่องของคนโง่ เชื่อเพราะได้ยินได้ฟังตามๆ กันมา เชื่อเพราะน่าเชื่อ เชื่อเพราะ ไอ้อย่างนี้มันก็เรียกว่าใช้ไม่ได้ มันไม่ควรเชื่อ แต่สุดท้ายรวมความก็คือว่าให้ฟังไว้ก่อน แล้วเอามาดูว่ามันน่าเชื่อไหม ควรเชื่อไหม (เสียงขาดหายนาทีที่11:39 -11:56) พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้เชื่อโดยเหตุอย่างนั้น เดี๋ยวจะเกิดไปเชื่อ สักว่าเขาพูดแล้ว ผู้นั้นพูดแล้วก็เชื่อ ไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ แม้ตถาคตพูด ก็อย่าเพิ่งเชื่อ เอาไปคิดดู ไปแยกแยะดู ใคร่ครวญดูแล้วจึงเชื่อ มันมีลักษณะที่เรียกว่าประชาธิปไตยเต็มที่ เต็มที่ถึงขนาดว่าให้ใครเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ ใครพูดถูก ใครพูดมีเหตุผลมีเนื้อหา คนนั้นก็เป็นพระพุทธเจ้าได้ มีค่าเท่าพระพุทธเจ้าได้ เป็นผู้ที่ควรพูดให้ผู้อื่นฟัง ผู้อื่นก็ควรจะฟังเขา ดังนั้น อย่าคิดว่าเสียเวลาไปเสียหมด ไม่ทันได้ฟังคนนั้นคนนี้พูด ถ้าเขาพูดปรารภธรรมะ และด้วยความ ด้วยเจตนาดีอย่างนี้ ควรจะฟัง โรค มานะ ทิฏฐิ ไม่ยอมฟังผู้อื่นพูด นี่มากที่สุด ไม่ ไม่อยากจะเป็นผู้ฟัง อยากจะเป็นผู้พูดเสียเองนี่มาก ดูไว้ให้มากๆ ไม่ว่าที่ไหน มีแต่ผู้อยากจะพูดเสียเอง มากกว่าที่จะให้ผู้อื่นพูด เมื่อผู้อื่นพูดมันก็ ไม่ฟัง ฟังบ้าง ฟังก็ไม่จบ แล้วตนจะได้พูด เลยไม่ต้องรู้เรื่องว่าอะไร บางทีพูดซ้ำคนอื่นก็มี เราฟังด้วยคิดว่ามันจะต้องเป็นประโยชน์ไว้บ้างก็ดี ได้ฟังของแปลกไปจากที่เราเคยฟัง ได้เรียนมาก รู้มาก พูดมันมีเนื้อหามากก็จริง แต่มันไม่หมดหรอก มันต้องเหลือไว้ให้คนอื่นพูดได้บ้าง เพราะสติปัญญามันไม่เหมือนกัน เหมือนที่ ที่เคยว่ามาแล้ว ส่วนหนึ่งเหลือไว้ฟังคนอื่นพูด เหลือไว้ฟังแม้คนที่เราเห็นว่าไม่ใช่ ครูบาอาจารย์พูด (เสียงขาดหายนาทีที่ 15:43-16:05) ขณะที่เราคนดีนั้นก็เป็นคนบ้า เราคิดอย่างนี้เราก็เป็นบ้าหรือว่าเลวกว่าคนบ้านั่นเอง ให้ระวังกันไว้ให้ดี หูหางของเรา สงบอยู่ พอเห็นคนบ้ามา หูหางของเราก็ยกชูทันที แล้วก็ตะโกน คนนั้น ไอ้บ้า แล้วตัวเองเป็นคนดี นึกว่าตัวเองเป็นคนดีนี่ หูหางยกขึ้นมาเริงร่านี่ ก็คือไอ้คนนั้นเลวกว่าคนบ้า การยกหูชูหางขึ้นมาประณามผู้อื่นว่าเป็นคนบ้า ตัวเองเป็นคนดี นี่คือบ้าคนละอย่าง หรือบ้ามากกว่า ไอ้คนนั้นมันบ้า ทาง อ้า, ทางจิตใจ ส่วนนอก ส่วนตื้น ส่วนธรรมดาสามัญ ส่วนร่างกาย มันสมอง ส่วนอีกคนหนึ่งมันบ้าดักดานในทางความคิดความเห็น ทางสติปัญญา มีตัวมีตน ยกหูชูหางทุกครั้งที่เห็นว่าคนอื่นมันด้อยกว่าตัว มันเห็นเขาเป็นคนบ้าบ้าง เห็นเขาเป็นคนโง่บ้าง เห็นเขาเป็นคนจนบ้าง ไม่สนใจเรื่องนี้ ไม่ศึกษาเรื่องนี้ ตายเปล่า เกิดมาชาตินี้ชาติหนึ่งตายเปล่า ไม่มีวันรู้ธรรมะของพระพุทธเจ้า นี่ของไม่มีตัวตน ไม่มีตัวกู ไม่มีของกู เพราะมันไปอัดเอาไว้เรื่องตัวกูของกู (เสียงไม่ชัดนาทีที่ 18:26 ไม่ได้ถอดเสียง) ดีกว่าคนอื่น ฉลาดกว่าคนอื่น ร่ำรวยกว่าคนอื่น โลกความดีก็คือไอ้โลกที่เอาหูเอาหางมายกให้มาก ยิ่งขี้เหนียวมาก ขี้ตืดมาก ก็มารวมในคนชนิดนี้แหละ จะเคารพนับถือใคร เราก็จงสังเกตข้อนี้ ว่ามันมีหูมีหางสำหรับยก กี่มากน้อย คนที่มีหูมีหางสำหรับยกน้อยหรือเรายกน้อย เป็นผู้มีคุณธรรมสูง ผู้ยอม ใช้คำๆ เดียวเอาเป็นผู้ยอม ที่เรียกว่ายอมแพ้ก็ได้ แต่มันยิ่งกว่ายอมแพ้ คือ ยอมเป็นผู้ฟัง เป็นผู้ฟัง จะยกหูชูหางเรื่อยไม่ยอมเป็นผู้ฟัง ถ้าเรายอมเป็นผู้ฟัง มันก็เป็นการย่ำยีกิเลสของเรา กิเลสของเราถูกย่ำยีเพราะการยอม มีตัวตนน้อยลง มีตัวกูน้อยลง ไม่ต้องรู้อะไรอื่น ไม่ต้องมีความรู้อย่างอื่น มีตัวตนน้อยลงนี่คือ ความประเสริฐสูงสุด พระเณรเรียนมากก็มีตัวตน ยกหูชูหางมาก อย่างนี้มันก็ไม่ ไม่มีอะไรดี ไม่มีอะไรที่น่านับถือ ยกหูชูหางมากขึ้นตามความรู้ ที่เรียนได้มากขึ้น สอบไล่ได้มากขึ้น ชาวบ้านที่ไม่ได้พูดก็มี ยกหูชูหางน้อยก็แล้วกัน ในความรู้สึกยกตัว ยกตนราวๆ นี้ ในขณะที่เป็นกิเลสเต็มที่ มีความโลภ ความโกรธ ความหลง รวมอยู่ในนั้นหมด เวลาที่แสดงกิเลสเต็มที่ เรา ยอม เราทำให้ตัวตนมันถูกกดลงไปนี่ เป็นเวลาที่ดี เวลาที่ประพฤติธรรมะที่ดีที่ถูก ที่เราสนับสนุนให้ตัวกูเด่นโด่งขึ้นมาเป็นเวลาที่เลวที่สุด ที่ไม่ปฏิบัติธรรมะเลย ก็เป็นคนที่บ้าที่สุด ยิ่งกว่าคนบ้าที่เดินเพ่นพ่านตามถนนเสียอีก ถ้าจะพูดถึงฝ่ายผู้ที่ต้องพูดบ้าง พระเณรองค์ไหนถูกขอร้องให้พูด ก็คล้ายกับขวัญหนีดีฝ่อ พูดไม่ได้ ประหม่าไปหมด อายไปหมดก็มี ส่วนอีกตรงกันข้ามก็พูดเพ้อเจ้อไปก็มี อย่างเดียวกันอีก คือ เรื่องตัวกูของกู มันแสดงรูปอีกรูปหนึ่ง ไอ้ที่พูดอวดเพ้อเจ้อไป มันก็เป็นเรื่องธรรมดาของตัวกูของกู มันเป็นอย่างนั้นเอง มันกลัว มันขลาด มันประหม่าไปหมด มันก็เพราะเหตุอย่างเดียวกันนี้ ที่มีตัวกูของกู สงวนหรือรักษา หรือรักษาเรียน หรือรักษาเกียรติอะไรมากไป จนขี้ขลาด ขี้ขลาด ประหม่า ไม่กล้าพูด นั้นเป็นคนไม่มีกิเลส ไม่มีตัวกู ไม่ใช่หรอก มันก็มีตัวกูมากเท่ากันแหละ แต่มันอยู่ในรูปที่มัน รักษา รักษาหู รักษาหาง อะไรพวกนี้ กลัวไปว่าถ้าพูดออกไปมันจะ จะขาดทุน จะประทุษร้ายตัวเอง ก็เลยไม่อยากพูด อมพะนำบ้าง หรือว่านึกขลาด พูดก็ไม่ได้ทั้งหมด ไม่พูดในลักษณะเช่นนี้ ไม่ถูก ทำใจคอให้เป็นปกติ ให้มีธรรมะประกอบ ไปด้วยธรรมะแล้วพูดจะดีกว่า พูดไปด้วยเจตนาที่ดี ด้วยความตั้งใจที่ดี ระมัดระวังดี เลือกสิ่งที่ตนรู้จริงมาพูด มันจะดี แล้วต่อไปมันจะดียิ่งขึ้น จะพูดได้ดีขึ้น คนพูดไม่เป็น พูดไม่ได้จนตายเลย ที่ประชุมกันที่ตรงนี้ วันไหนมีคนที่มีความเจนจัดในชีวิตมากพอมาพูดอะไรให้ฟังนี้ ต้องถือว่ามีค่า มีค่ามากที่ควรฟัง ผูกขาดไว้คนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวพูด ไปอ่านพบในบาลี บางครั้งพระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้ตรัสเอง ไม่ตรัสเอง ไม่เล่าเอง ไม่ตรัสเอง ทรงพูดให้องค์อื่นพูดก็มี หยุดพูดให้องค์อื่นพูดนี้ก็มี พระพุทธเจ้าท่านพูดแต่สั้นที่สุด แล้วองค์ใดองค์หนึ่งพูดออกไปให้มันละเอียดตามออกไปอย่างนี้ก็มี ลักษณะเป็นประชาธิปไตยมาแล้วตั้งแต่ต้นตอพระพุทธเจ้า มีอีกหลายแห่งที่อ่านเห็น สังเกตเห็นว่า ภิกษุเหล่านั้น หรือแม้แต่บางครั้งภิกษุณี สามเณร สามเณรี ก็มี กล้าพูด พระพุทธเจ้าท่านต้องการให้แต่ละคนพูด หรือพูดออกความเห็น มีคนพูด พูดไม่หยุด มีคนพูดขึ้นมาเรื่อย ไม่ขาด ยากเกินไป ไม่ใช่วิสัย จึงจะไม่พูด จึงจะขอร้องให้พระพุทธเจ้าท่านพูดเอง เรามักจะใช้วิธี คิด นึก ค้นบ้าง เป็นเครดิตของบุคคลบ้าง ยังมีสิ่งที่ต้องรู้ไว้อีกอย่างหนึ่งว่า พระพุทธศาสนาอันเดียวกันนี้ เรามองกัน เราลูบคลำจับฉวยไม่เคยที่เดียวกัน ถ้าฟังพุทธศาสนาอย่างที่อธิบายกันอยู่ในลังกานี่ไปอย่าง พุทธศาสนาอย่างอธิบายกันอยู่ในพม่านี่ก็ไปอย่าง ถ้าอยู่ในทิเบตก็ไปอย่าง แต่อยู่ในเมืองไทยก็ไปอย่าง ไม่เหมือนกันเลย ไม่เหมือนกันอย่างยิ่ง ทีนี้ เราอธิบายกันอยู่ในประเทศไทยนี่ ก็ยังไม่เหมือน หมู่นั้น พวกนั้นคณะนั้นก็ไปอย่าง คณะนี้ก็ไปอย่าง ที่นี่ก็ไปอย่าง ที่อื่นก็ไปอย่าง ก็ยังมีทัศนะต่างๆ กัน โอกาสที่จะฟังคนอื่นพูดบ้างก็ดี แต่รู้พุทธศาสนาอย่างไทย อย่างในประเทศไทยนี้ก็ต้องมาฟังพวกไทยพูด ไทยฟังคนไทยพูด เพราะว่าเดี๋ยวนี้มันไม่อาจรู้ศาสนาเดิมแท้มันอยู่ที่ตรงไหน อยู่ที่พม่าหรือลังกา หรือประเทศไทย ประเทศไทยก็คุยโม้ไปเหมือนกันว่าถูกแต่ของเรา ในประเทศไทยดีกว่าคนอื่นหมดในโลก ที่ลังกาก็พูดอย่างนั้น พม่าก็พูดอย่างนี้ ลองเอามาใส่ครกตำกัน โขลกกันให้เข้ากันเสียใหม่ ทุกๆ พวก ให้มาตรองกันใหม่ มาตรึกมาตรองกันใหม่มากกว่า ที่จะได้พระพุทธศาสนาที่แท้ เป็นเหตุให้เราต้องฟังไว้ ฟังผู้อื่นบ้าง มีการรวมตัว ยอมฟังผู้อื่นบ้าง ยอมฟังเด็กๆ พูดบ้าง แม้ในโอกาสบางครั้ง อย่ายกหูชูหางเรื่อย อย่าน้ำชาล้นถ้วยอย่างนี้ ที่ใช้คำด่าชนิดหนึ่งน้ำชาล้นถ้วยใส่ไม่ลง น้ำที่กินไม่ได้ มีสักโอกาส อ้า, สักระยะหนึ่งที่เราจะต้องฟัง ให้รอบด้าน ไม่ใช่ว่าเราต้องทำอย่างนั้นไปจนตลอดชีวิต แต่ว่าควรจะมีเป็นระยะหนึ่ง ที่เราจะศึกษาทั้งเถรวาท ทั้งมหายาน อื่นๆ ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นเถรวาท หรือเป็นมหายาน อย่างพม่า อย่างลังกา อย่างไทย อย่างทิเบต อย่างจีน อย่างญี่ปุ่นนี้ จะฟังกันเสียสักคราวหนึ่ง จะเป็นตัวเองหาว่า ไอ้ที่ตัวรู้นั้นถูก นอกนั้นผิดหมด ชนิดคุยโม้นี่แหละ ก็ด่ามหายานอยู่ทุกวันๆ ทั้งที่ไม่รู้มหายาน (เสียงไม่ชัด นาทีที่ 30:11 - 30:26 ไม่ได้ถอดเสียง) เรื่องของพวกมีกิเลส ที่ตัวรู้มานั้นหมดแล้ว มันถูกหมดแล้ว ศาสนาที่แท้นั้นไม่ใช่มหายาน และไม่ใช่เถรวาท ไม่ใช่พุทธศาสนาอย่างของเรา หรือของใคร ที่ว่าเป็นพระพุทธศาสนาอย่างของเราก็บ้าเต็มที อย่างเถรวาท ที่แท้ไม่ ไม่ ไม่เถรวาท ไม่มหายาน ที่ถูกต้อง ที่ทนต่อการพิสูจน์ก็ตัวการปฏิบัติ แล้วไปสรุปกล่าวลงไปในข้อที่พูดว่า ไม่มีตัวตน คือ การปฏิบัติที่ทำให้หมดความสำคัญมั่นหมายว่าตัวตน ว่าของตน คือ พุทธศาสนาที่แท้ อันนี้ที่ได้อธิบายไปอย่าง มหายานก็มีอธิบาย มีวิธีอธิบายไปอย่าง ในเรื่องเดียวกันแท้ๆ เรื่องสุญญตา เรื่องความไม่มีตัวตน (เสียงไม่ชัดนาทีที่ 31:41-31:43 ไม่ได้ถอดเสียง) เสียอีกที่ไม่ค่อยใช้ความคิดสติปัญญา จะใช้ท่องจำ จะใช้คำพูดที่ร้อยกรองไว้ตายตัวนี่ (เสียงขาดหายนาทีที่ 31:48-33:01) ทางฝ่ายนี้มีส่วนที่จะสอนเรื่องไม่มีตัวตนอยู่ด้วยกันทั้งนั้น วิธีสอน วิธีพูดมันต่างๆ กัน ทีนี้เรื่องสุญญตานี่ ในพระไตรปิฎกก็เต็มไปหมด พระไตรปิฎกเถรวาทนะ ไปอีกแบบหนึ่ง วิธีพูดเป็นอีกแบบหนึ่งตามแบบของเถรวาท ที่รักษาระเบียบแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณีจัด แล้วก็ (เสียงไม่ชัดนาทีที่ 33:41 – 33:43 ไม่ได้ถอดเสียง)อย่างน่าสมเพช ออกจะคุยมากเกินไป เลยเถิดไปก็มี ทั้งเถรวาทก็ตาม ส่วนมหายานก็ตาม มันเหมือนกัน มันส่งกันใช้ได้ ในส่วนที่มันเลยเถิดไป ที่มันหดมากไป แล้วมันขยายมากเกินไปก็ใช้ไม่ได้ ด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย ที่จะให้เชื่อแต่คนที่นั่งถือใบลาน เทศน์บนธรรมาสน์ตามแบบเถรวาท ก็คงทำไม่ได้ ไปๆ มาๆ ควรจะไปสนใจเรื่องไม่มีตัวตน ให้มากเข้าไว้ จะเป็นพุทธบริษัทที่แท้จริงมากขึ้น ถ้าเห็นข้อเท็จจริงที่สุด อย่างว่าเดี๋ยวนี้ ทั้งหมดทั้งสิ้นนี่มันติดอยู่แค่ มันติดอยู่แค่ตัวกูนี่ พระเณรทั้งวัด ทั้งวัดนี่ อุบาสกทุกคน ทุกคนนี่ ยกหูชูหางเรื่องตัวกูตัวกูอยู่ทั้งนั้น มันมาติดอยู่แค่อันนี้อันเดียว ให้ชัดได้ทั้งวัน ทุกวันเลย ทุกวันเลย เดี๋ยวหางของคนนั้นที เดี๋ยวหางคนโน้นที ยกโร่ขึ้นมา เรื่องตัวกู เรื่องตัวกู เรื่องของกูมันมีน้อยหน่อย อยู่ในวัดนี่เรื่องของกูมันมีน้อยหน่อย เรื่องตัวกูนะมีมาก เดี๋ยวของอุบาสก เดี๋ยวของอุบาสิกา เดี๋ยวของพระ เดี๋ยวของเณร มันมีเหลืออยู่ กระด้างมากหน่อย บางคนก็ไม่สู้กระด้าง แต่ยกชูสูงจังเหมือนกัน ทิฏฐิแรงมาก ในความสุภาพนั้น แล้วคนสุภาพไม่ยกหูชูหางเรื่องตัวกูของกู มันก็ยกไปตามแบบที่ของคนสุภาพก็มากเหมือนกัน เกิดการนั่งร้องไห้เสียเองก็มี เป็นอย่างนี้ ใจมีแต่ตัวกูโร่เลย ใจยอมแพ้เลย น้ำตาไหลเลย ตัวกูยังไม่ยอมปล่อย ตัวกูยังไม่ยอมลดลง มันน่าจะโทษเด็กๆ มันร้อง มันถูกเฆี่ยน มันดื้อมันร้อง แต่มันก็ไม่ยอมแพ้ มันยังดื้อ สุดท้ายที่จะต้องสะสางกันต่อไปก็จะได้ค้นหาตัวกู แล้วก็ไม่ค่อยเห็น ต่างตนต่างนอนเสียก็ไม่ค่อยเห็น ทำงานร่วมกันเข้านี้ เห็นออกมานั่น ออกมานี่ ออกมา ทำงานร่วมกันนี่ กองมั่ง ขนก้อนหินมั่ง ทำนั่นทำนี่บ้าง อะไรก็แล้วกัน ขอให้ได้ทำ พอ พอมีงานทำ มันก็มี ก็มีกูออกมาให้เห็น ถ้าแอบไปนอนเสียก็ดูคล้ายๆ ว่าไม่มีเรื่องอื่น สนใจเรื่องไอ้จะกำราบ ปราบปรามไอ้ตัวกู กันให้มากยิ่งขึ้นไปอีก ไปดูให้ละเอียด ดูคนอื่นเสียบ้าง จะได้ จะได้เปรียบในการชนะตัวกู ไม่ยอมฟังคนอื่นสิเลว มันส่งเสริมตัวกู ปราบเสียให้มาก เมื่อมีโอกาสที่จะได้เปรียบ เอาชนะตัวกู ยิ่งมากเท่าไร ยิ่งเสียเปรียบเท่านั้น เปิดโอกาสให้ตัวกู ไม่พูดเองขอให้ถือว่าวิเศษนัก อย่าไปชิงคนอื่นพูด อย่าไปอิจฉาคนอื่นพูด ให้เขาพูดไป ฟังให้มาก ใครฟัง อ้า, ใครพูดก็อดโอกาสฟัง แต่เราจะพูดก็คงมี เราไม่ต้อง ไม่ต้องการมากมาย แต่ฟังคนอื่นพูดนี่ควรจะมีให้มาก ไม่มีใครชอบ แต่เรื่องแพ้นี่กลับเป็นเรื่องมีประโยชน์ในการทำลายตัวกู แท้จริงไอ้ๆ ไอ้เรื่องแพ้นี่ ที่เรายอมแพ้นั่นนะคือ เราชนะ ไม่ต้องเสียอะไร มีแต่ได้ อันนี้มันเป็นเรื่อง ไม่ใช่ว่าเขามาตีเรา ฆ่าเรา แล้วจึงจะแพ้นะ ถ้าเราฆ่าเรา จะเป็นคนยอมแพ้เอง เช่นว่ามันเถียงกันด้วยยกอะไรเข้าใส่กัน แพ้ถึงจะชนะ ผู้ที่ยอมจะได้ชนะ คนอื่นเห็นว่าแพ้ เป็นผู้ชนะ เรียกว่าตัวกูชนะตัวกู มันเป็นเอง กิเลส ประโยชน์ให้แก่ตน ให้แก่ทุกฝ่ายได้ ตัวกูตัวกูขึ้นมา กัดกันคือทำลายทุกฝ่าย โลกกำลังจะฉิบหายเพราะตัวกูของแต่ละฝ่ายมันไม่ยอม จะกัดกันไปเรื่อยจนโลกนี้ฉิบหายแล้ว ให้เป็นประเทศฉิบหาย จนทั้งโลกฉิบหาย กระทั่งกี่โลกๆ มันก็พลอยฉิบหาย ไม่ยอม ดังนั้น สันติภาพมีในโลกไม่ได้เพราะความไม่ยอม เข้าใจได้เรื่องความไม่ยอม หรือการยอมนี่ พระเยซูก็สอนเรื่องยอม พระพุทธเจ้าก็สอนเรื่องยอม ไม่มีใครฟัง ไอ้การจะถอยไปต้องให้ถอยอย่างมีเกียรติอย่างผู้ชนะ ไม่มีใครยอม การยอมนั้นเป็นการแพ้ ไม่ ไม่เป็นการชนะ มารฝ่ายเดียวที่เป็นผู้ชนะเรื่อย มีพญามารพวกเดียวที่ชนะเรื่อย มนุษย์เป็นฝ่ายแพ้เรื่อย ทุกฝ่าย มันเป็น เป็นโลกของมาร ของกิเลส ของปีศาจไปหมดแล้ว ทั้งโลกกลายเป็นโลกของพญามาร ความนึกความรู้สึกสภาพจิตใจเหมือนอย่างภูตผีปีศาจเหมือนอย่างที่เรียกกันว่าพญามาร ปีศาจร้าย มันจะฆ่าคนอื่นตะพรึด เขาจะยอมหรือไม่ยอม มันก็ต้องการจะฆ่าคนอื่นตะพรึด ขืนฆ่าแล้วเรายอมตายอย่างนี้มันไม่มีใคร ไม่มีใครให้เหลือเลยตั้งแต่โน้น บารมีของพระพุทธเจ้ามีมากมายหลายชาติ ที่ยอมเสียชีวิตให้คนอื่นเขาไม่ต้องเสียชีวิต เสือหิว เสือแก่หิว จะกินลูกของมันเองอยู่แล้ว ก็กระโดดลงไปในเสือให้กิน มันจะได้ไม่ต้องกินลูกตัวเองอย่างนี้ก็มี แม้เหลือเชื่ออะไรก็ตามใจ แต่มันมีอยู่ในพระคัมภีร์ก็เรื่องบำเพ็ญบารมีจนเป็นพระพุทธเจ้า ฝ่ายเป็นสัตว์เดรัจฉานก็มี เป็นมนุษย์แล้วก็มี นั้นเป็นแต่ฝ่ายกระโดดลงไปในกองไฟ ให้คนอื่น ให้พราหมณ์คนหนึ่งได้กินเนื้ออย่างนี้ก็มี ถ้าได้ทำก็คงจะว่าบ้าเหลือประมาณ ถ้าทำอย่างนี้ได้ จะฆ่าคนอื่นลง ลงคอได้อย่างไร คนที่ทำได้อย่างนี้มันจะด่าคนอื่นได้อย่างไร โกรธตอบ ตีตอบ ด่าตอบได้อย่างไร มันทำไม่ได้ จะไปตีเขาก่อนก็ทำไม่ได้ ตีเอาก็ด่าตอบตีตอบไม่ได้อย่างนี้ ถือเอาธรรมะไว้จนกว่า ชีวิต ต้องยอมสละชีวิตเพื่อเอาธรรมะไว้ มีแต่สันติภาพ ท่านจะฆ่าให้ไม่เหลือให้สิ้นเป็นคนสุดท้ายนี่ก็ทำไป มันก็ ก็ไม่มีอะไรที่ตรงกับคำสอนของ พระศาสดาองค์ไหน เป็นไอ้ ใจความสำคัญเรื่อง เรื่องไม่ยอม เรื่องไม่ยอมคำเดียวนี่ให้มาก เรื่องไม่ยอมนี่เป็นความจริงอยู่มาก เพื่อระงับไป เพื่อสันติสุขของมนุษย์ ก็ไม่มีตัวเรา มนุษย์ มนุษย์ส่วนรวม มนุษยชาติ มนุษย์ส่วนรวม มีมนุษย์ มี humanity เป็นมนุษยชาติ ที่เรายอมตายเพื่อมนุษยชาติอยู่ ยอมอะไรก็ได้ เราเสียเกียรติ เสียหน้าอะไรก็ได้เพื่อมนุษยชาติอยู่ อ้าว, ทีนี้ เราไม่ยอม เราก็เอาระเบิดวิเศษโยนใส่ได้ มันก็ตายหมด มนุษยชาติก็ไม่ต้องอยู่ เพราะยอม คนสักคนหนึ่งยอมตายเพื่อคนทั้งหมดอยู่ มันถูกต้อง ก็ไม่รู้ว่าจริงๆ คนๆ หนึ่งยอมตายเพื่อให้ส่วนรวมอยู่ด้วยสันติก็เป็นการถูกต้อง ใหญ่โตเกินไปฆ่าเราไม่ได้ เราก็ยังไม่ยอม ก็ทำให้เรื่องมันเป็นสันติ สงบสุขไปได้ ละเลย ละทิ้งศาสนาไปหมดแล้ว ทั้งคริสเตียน ทั้งพุทธ ทั้งอิสลาม ทั้งอะไรต่างๆ ละทิ้งศาสนา ที่สอนให้ยอม พิสูจน์ว่าศาสนาพุทธผิด พิสูจน์ ที่เขามาเผยแพร่ศาสนาของเขาในประเทศไทย เพื่อจะพิสูจน์ให้เห็นว่าพุทธศาสนาผิด ถูกแต่ศาสนาคริสเตียน ไม่ได้เข้ามาด้วยตัวเห็นว่าต่างคนต่างถูกแล้วร่วมมือกันเพื่อทำให้มนุษย์มีความสุข ในแง่ใดแง่หนึ่ง วิธีของคริสเตียนก็ใช้ตามแบบคริสเตียน วิธีของพุทธก็ใช้ตามแบบของพุทธ ไม่ให้มนุษย์มีความสงบสุขนี้ไม่ใช่ เราไม่ต้องการอย่างนี้ กรรมวิธีว่าศาสนาพุทธผิดให้ทิ้งเสีย ต้องมาถือศาสนาคริสเตียน อย่างนี้พระเยซูไม่ๆ ไม่ได้ทำ ไม่ได้สอน ไม่ได้มีความคิด ลูกศิษย์บ้าๆ บอๆ ของพระเยซูในชั้นหลังนี่เขาทำ ศาสนาพุทธเราก็เหมือนกัน กำลังจะริอุตริอย่างนั้นบ้าง ไปว่าศาสนาอื่นผิด เลิกเสียมาถือศาสนาพุทธเถิด ในฐานะที่ว่ามันเป็นของถูกแขนงหนึ่งนะ เอาไปรวมกันกับแขนงอื่น ไม่ใช่ว่าสร้างโลก ให้มีความผาสุกเร็วๆ นี้ นี้ไม่รวม อ้า, ไม่คิดอย่างนี้ ไม่มีความมุ่งหมายอย่างนี้ มันกำลังจะไปทำลายล้างผู้อื่น จึงไปบอกว่าฉันไม่ได้มาเพื่อทำลายล้างผู้อื่น มาเพื่อความสมบูรณ์ส่วนที่ยังขาดอยู่ ไม่มีใครทำอย่างนี้ ลูกศิษย์ของพระเยซูเองก็ไม่ทำอย่างนี้ จะมาพิสูจน์หักล้างเอาพุทธศาสนาผิด ถือศาสนาคริสเตียน มันก็ทราบอยู่แต่ในศาสนาคริสเตียน ก็เป็นของคริสเตียนเสียด้วย อย่างนี้มันก็เป็นเรื่องที่ผิดๆ ผิดๆ มากขึ้นๆ โง่ที่เอาความโง่ของตัวไปบังคับ คนอื่นให้โง่ มันก็ต้องเกิดเรื่อง ไม่มีทางที่จะหลีกเลี่ยง พระพุทธศาสนาเกิดคนโง่ทำอย่างนั้นขึ้นบ้าง มันก็ได้การเท่านั้นเอง หรือฝ่ายศาสนาอื่นมันโง่อย่างนั้นขึ้นมาบ้าง มันก็ต่อต้านกันมันก็ได้การ ไอ้ พระศาสดาหรือศาสนาจนทำสงครามแก่กัน ในนามของศาสดา ของศาสนา พุทธเรา ถ้ายังเป็นพุทธศาสนาอยู่มันเป็นอย่างนี้ไม่ได้ เขาสอนให้ยอม ให้ปล่อย ให้วาง ให้ไม่มีตัวตน ให้ไม่มีตัวกู แต่ว่า รู้สึกตัวไม่มีเกินไป ให้รู้สึกว่าไม่มีตัวฉัน ปากก็พูดในทางไม่มีตัวฉัน ไม่เป็น ไม่มีตัวที่จะไปทำอันตรายผู้อื่น เพราะว่าฉันนี่พูดในทางสมมติ ก็เลยต้องไม่มีตัวกู ไม่มีตัวฉัน นั่นคือบ้านของกู นี้มันต้อง ไม่มีความหมายอย่างนั้น เงินก็เป็นของธรรมชาติ เราเป็นผู้จัดการชั่วคราวทำไปตามที่จำเป็นจะต้องทำหรือควรจะทำ แต่ทั้งหมดต้องเป็นของธรรมชาติ เป็นพุทธบริษัท ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานจริง ไม่ไปปล้นเอาของธรรมชาติมาเป็นของกู ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถ้าได้ปล้นเอาของธรรมชาติมาเป็นของกู มันก็ตบหน้าเอา นอนเป็นทุกข์ระทมหม่นหมองอยู่ เรื่องตัวกูเรื่องของกู เรื่องตัวกูเรื่องของกู นอนไม่หลับ มันดีกว่ามี ดีกว่ามีชีวิตนี้ ไม่มีไปเสียเลย ดีกว่ามีเป็นตัวกูของกู จะมีบ้างก็มีไป อย่าเป็นตัวกู อย่าเป็นของกู มันก็มีมากหน่อยก็ได้จะได้ช่วยเหลือคนอื่นต่อไปอีก ก็อย่าเพื่อตัวกูของกู นอกนั้นมัน มันยังไม่ร้ายมาก มองอย่างนี้ ประเด็นเรื่องของเรื่องของกูนี่ ไอ้เรื่องตัวกูนี่ลำบาก มีชีวิตของกู เป็นตัวกู มีอะไรที่เป็นเกียรติของกู เป็นตัวกูจนกระทั่งตัวกูในที่สุดนี่ ลำบาก อาตมาบวชอย่างนี้แล้วไม่มีทรัพย์สมบัติอะไรเลย มันยังมีตัวกู ชูหัว ชูหัว ชูหูชูหัว ชูหางโร่อยู่อย่างนั้น มันยังมีตัวกู มันเริ่มเกิดเกียรติของกู หรืออะไรทำนองนั้น หรือไม่ ไม่เกิดเกียรติ ไม่นั่น อย่างนั้น มันยังมีตัวกู ไม่ยอม ไม่ยอม ไม่ยอมเสียสละตัวกู มันควบคุมที่ว่าบริสุทธิ์อย่างยิ่งแล้ว ไม่มีกิเลสหยาบๆ ไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีตัวกู เสียสละตัวกูให้สิ้น สุดท้ายไม่ยอมเสียสละ ปราบสิ่งนี้ก็กลายเป็นพระอริยเจ้าไป ถ้าไม่เสียสละสิ่งนี้แม้จะวิเศษสูงสุดเท่าไรก็ยังเป็นปุถุชนไป เทวดา พวกพรหมชั้นสูงสุด สูงสุดของชั้นพรหม ก็ยังเป็นปุถุชนอยู่เพราะยังมีตัวกูเหมือนกัน ถ้าสละตัวกูได้ ก็เป็นพระอริยเจ้า อย่างนี้ก็ไม่ถูกนัก ถ้าพูดให้ถูกไม่มีตัวกูนะเป็นพระอริยเจ้า คือ ไม่เป็นมนุษย์ ไอ้เรื่องไม่มีตัวกูไว้ให้มาก เหมือนที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า เมื่อใดไม่มีใครสนใจเรื่องสุญญตา เมื่อนั้นเนื้อแท้ของพุทธศาสนาหมด พวกหนึ่งอุตริมาสอนว่าฆราวาสไม่ต้องสนใจเรื่องสุญญตา ฆราวาสต้องมีตัวกู นี่คือทำลายพุทธศาสนายิ่งกว่าคอมมิวนิสต์ จะเป็นใครก็ตามที่สอนพวกฆราวาส ไม่ต้องละตัวกู ไม่ต้องสนใจเรื่องสุญญตา คนนั้นจะเป็นใครก็ตาม เป็นคนที่ทำลายหัวใจของพุทธศาสนาให้หมดสิ้นไป ทำลายพุทธศาสนายิ่งกว่าพวกคอมมิวนิสต์ แม้แต่เผาวัดเผาวาทำลายไปได้แต่ภายนอก จะไม่ทำลายเนื้อแท้หรือหัวใจของ พุทธศาสนานี้ ผู้ที่ประกาศตัวเป็นพุทธเอง แม้ว่าสอนไม่ให้สนใจเรื่องสุญญตา มันได้ทำลายหัวใจของพระพุทธศาสนาไม่มีเหลือ เหลือแต่เปลือกก็มี เป็นฆราวาสก็มี ว่าเรื่องสุญญตาไม่ใช่เรื่องสำหรับฆราวาส เอาตัวเองเป็นหลัก คือตัวเองไม่ชอบ ไม่สนใจเรื่อง เรื่องว่าง เรื่องปล่อยวาง แล้วก็แยกออกจากกันว่าฆราวาสไม่ต้อง ต้องแต่พระที่จะไปนิพพานที่สนใจ พวกนี้เขาจะอธิบายอะไรไปตามความคิดเห็นของเขา เช่น อธิบายมงคลสูตร ๓๘ อย่าง เขาแยกมงคลสูตร ตอนต้นเป็นของฆราวาส ตอนปลายเป็นของบรรพชิตที่จะไปนิพพาน ก็มีว่า นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ อะโสกัง วิระชัง เขมัง ในคาถา พุทธะ เอมังมุตตะมัง ว่านี่ส่วนนี้ไม่ใช่สำหรับชาวบ้านหรือฆราวาส นั่นคือ คนโกหกที่สุดนะ พระพุทธเจ้า เรื่องที่พระพุทธเจ้า ตรัสในมงคลสูตร ๓๘ นี้ มงคลสูตร ๓๘ ประการนี้ แก่เทวดา ไม่ใช่แก่พระ เทวดาก็ตาม ฆราวาสก็ตาม ก็ต้องถือมงคล ๓๘ ประการนี้ ต้องทำนิพพานให้แจ้งด้วย แต่มันในความหมายที่ต่ำลงมาสำหรับฆราวาส นิพพานในความหมายที่ต่ำลงมาสำหรับฆราวาส คือ เย็นไว้แล้วกันอย่าไปร้อน โลกะธัมเมหิ โลกธรรมกระทบแล้วอย่าหวั่นไหว นี่ฆราวาสก็ต้องทำ ก็ต้องสอนฆราวาสทำอย่างนี้ พวกมหาเปรียญบางคนที่สอนว่า ไอ้นี่ไม่ได้สอนสำหรับฆราวาสนี่ คนนั้นนะมันบ้า มันโง่ มันตู่คำสอนของพระพุทธเจ้า ทำลายคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็ยืนยันว่า แม้ฆราวาสแท้ๆ ก็ต้องถือข้อนี้ ถือเป็นข้อที่ว่า ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ เมื่อโลกธรรมกระทบแล้ว ไม่หวั่นไหว สุดท้ายไม่มีกิเลส เขมัง เกษมนี่ นี่ของฆราวาสตามตัว อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง เป็นผู้ไม่โศก เป็นผู้ไม่มีธุลีมลทิน เป็นผู้เกษม เป็นผู้แจ่มใสอยู่เสมอ เพราะไม่มีกิเลส ที่ไม่ ที่ฆราวาสเขาไม่มีกิเลส เขาก็มี ความสดชื่น แจ่มใสอยู่เสมอ แล้วก็ทำให้ยิ่งๆ ขึ้นไป อย่าได้ไปเชื่อคนพวกนี้ สอนผิดๆ ว่าถ้าโลกธรรม มากระทบ ฆราวาสต้องหวั่นไหวสิ ต้องเอากับมันสิ ต้องสู้กันอย่างฟันต่อฟัน ตาต่อตานี่ ฆราวาสต้องยอมให้กิเลสครอบงำย่ำยี แล้วก็เร่าร้อน เป็นไฟอยู่เรื่อยอย่างนั้น นี่ก็สอนผิดหมด มงคลสูตร สูตรที่แม้แต่ฆราวาส ก็ต้องมีบริบูรณ์ ดังนั้น ไม่ใช่ว่าแค่นี้ของพระ แค่นี้ว่าของพระที่จะไปอยู่ป่าอยู่ดงนิพพงนิพพานอย่างนั้น เมื่อผมเริ่มบวชมาใหม่ๆ ก็พบคำสอน พบความเห็นอย่างนี้แล้ว นี่บวชมาสี่สิบกว่าปีนี้ เมื่อแรกบวชใหม่ๆ พบความเห็นอย่างนี้ที่เป็นอยู่ในหมู่พระ คือ แยกคำสอนอย่างนี้สำหรับฆราวาสไปเลย แยกคำสอนอย่างนี้สำหรับพระจะไปนิพพานไปเลย ไอ้เราก็ไม่รู้อะไรตอนแรกๆ บวช ก็พลอยคิดอย่างนั้นไปกับเขาบ้างเหมือนกัน พอเรายิ่งเรียน ยิ่งรู้ ยิ่งมองเห็นว่าไม่ใช่อย่างนั้น ไม่มี ๒ ฝ่าย อย่างนั้น มีหลักเดียว แนวเดียว ฝ่ายเดียว เอกายโน ฝ่ายเดียวไปนิพพานโดยตรง แต่ฆราวาสเอาเพียงเท่านี้ เอาพียงอย่างนี้ เอาเพียงระดับนี้ มรรคมีองค์ ๘ นี่ ไม่ ไม่ๆ ไม่ใช่สำหรับฆราวาส ไม่ใช่สำหรับบรรพชิตโดยเฉพาะ สำหรับทุกฝ่าย แต่ฆราวาสเอาเพียงเท่านี้ บรรพชิตเอาถึงเท่านั้น ผู้ที่อยากไปเร็วๆ เอาเพียงเท่าโน้น ดังนั้น เรื่องมรรคมีองค์ ๘ ไม่ต้องมีแยกเป็นของฆราวาส หรือของบรรพชิต เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เหมือนกันไม่ต้องมีแยกเป็นของฆราวาส กับบรรพชิต ธรรมะอย่างไหนก็เหมือนกันไม่ต้องแยก เอาแต่ว่ามันคนละระดับ นิพพานของฆราวาส ก็เหมือนกับนิพพานของพระ ความหมายเดียวกัน เพียงแต่ดูไม่ออก พระบางคนมีกิเลสมากกว่าฆราวาสก็มี แต่มันไม่มีความหมาย ๒ อย่าง อย่างนั้นได้ แต่มันเป็นระดับ ระดับๆ คือ ต้องทำลายตัวกูทั้งนั้นแหละ จึงจะเป็นนิพพาน บ้างทำลายได้น้อยหน่อย บรรพชิตที่เข้มแข็งก็ทำลายไปมากหน่อย อย่าไปแยกว่าฆราวาสไม่ต้องทำลายตัวกู ให้สนับสนุนตัวกูเข้าไป แล้วบรรพชิตถึงจะทำลายตัวกูนี่มันไม่ถูก แยกไว้เป็น ๒ ชุด ชุดหนึ่งไว้ให้ฆราวาส ชุดหนึ่งให้พระนะ ไม่ได้แยกเป็น ๒ ชุดหมด มันก็เป็นเรื่องที่ตลกสิ้นดี ไม่มี ไม่มีพุทธศาสนาสอนอย่างนี้ เช่น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ต้อง ยิ่งเดี๋ยวนี้ ฆราวาสเอาไปถือตามสัดตามส่วนที่จะถือได้ บรรพชิตถือให้มากขึ้นไป เรื่องอนัตตานี่ ฆราวาสถือตามสัดตามส่วนที่จะถือได้ เรื่องสุญญตา ถือตามส่วนที่จะถือได้ มีไว้ก็ไม่เป็นไร อย่ากลัวว่ามันจะไม่ทำงาน มันจะไม่ลุกขึ้นกินอาหาร ไม่ต้องกลัว ไปลองดูก่อนก็ได้ มันยิ่งฉลาดมากกว่านั้น ไปได้มากกว่านั้น กลัวเรื่องสุญญตา เรื่องอนัตตา มันไม่ได้ทำให้เราไม่ทำอะไร หรือไม่หาอะไร ไม่ขวนขวายอะไร ถ้าเราทำ เราขวนขวายถูกวิธีด้วย ก็ไม่เป็นทุกข์ด้วย ได้ผลดีด้วย ชีวิตเป็นปกติดี อะไรก็ถูกต้อง ทำอะไรก็ถูกต้อง เรื่องอนัตตา เรื่องสุญญตานี่ พวกนิกายเซนนั้นจึงเป็นยุคหนึ่งที่เข้าใจถูกต้อง ก็ได้สอนเรื่องสุญญาตานี้ลงมากระทั่ง คนหาปู หาปลา ตกกุ้งตกปลา ที่ไปสอนให้พระ บรรพชิตต้องอยู่ถ้ำอยู่ภูเขา เอานิพพาน คนบ้าๆ บอๆ ก็มี คนที่ออกบวชไปอยู่อย่างเป็นบรรพชิต คนบ้าๆ บอๆ ก็มี คนหลงอย่างยิ่ง ต้องการนิพพานในความเพ้อฝันอย่างนี้ก็มี อันนี้เราคิดถึงแต่เรื่องตัวความทุกข์เป็นอย่างไร จะควบคุมมันอย่างไรเท่านั้นเอง เราอย่ามีทุกข์เลย ก็เป็นยิ่งเสียกว่าเป็นบรรพชิตอีก กายอยู่ที่บ้านนี่ เขาจะเรียกต้องเรียกว่าฆราวาส จิตใจสูงยิ่งกว่าบรรพชิตจำนวนมากมาย จำนวนหนึ่ง ที่มีตัวกูจัด ยึดมั่นถือมั่นจัด ด่ากัน จะยิง พระนี่ฆ่ากันตายก็มี สะสมสิ่งนั้น สิ่งนี้ไว้ ยิ่งกว่าฆราวาสก็มี ดังนั้น มันไม่ได้เป็นพระ เป็นฆราวาสอยู่ที่ภายนอก มันอยู่ที่จิตใจ ปัญหาเหลือปัญหาเดียว มันสบาย ปัญหาของเราเหลือเพียงปัญหาเดียว คือ มีตัวกูที่ยกหูชูหางปัญหาเดียว ถ้าทำอันนี้ได้อันอื่นก็ทำได้ มันทำได้ไปในตัว ไม่มีตัวกูชนิดนี้ มันก็ไม่ ไม่ขาดศีล ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ยึดติดในของรักผู้อื่น ไม่มีตัวกู มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ในความที่จิตไม่เป็นอย่างนั้น มีอะไรหมดครบอยู่ในความไม่มีตัวกูยกหูชูหาง ทางโน้นคิดมาก จะเอาอย่างนั้น จะเอาอย่างนี้ จะเอาอย่างโน้น ในส่วนนี้ไม่เอา ในส่วนจะไม่มีตัวกูไม่เอา จะไปเอาอย่างโน้น จะไปเอาอย่างนี้ เดี๋ยวเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างโน้นอย่างนี้ เอาศีลอย่างนั้น เอาศีลอย่างโน้น ล้วนแต่เรื่อง ฝันทั้งนั้น รู้เพราะเห่อไปตามๆ กันไป อะไรตามๆ กันไป เพราะเชื่อผู้พูดง่ายเกินไป พอคนเขาพูดก็เชื่อเลย มันเป็นกันอย่างนี้ ไม่ทำอย่างพระพุทธเจ้าว่า ไม่เชื่อ ก็ต้องคิดดูก่อน ที่ในแง่สำหรับพูดแย้งหรือล้อเลียนว่า ถ้าไม่มีตัวกูไม่มีตัวตนแล้วมันก็ไม่ทำอะไรบ้าง หรือจะทำโสกโดกลามกอนาจารอะไรบ้าง ก็ไม่มีตัวกูแล้วนี่ ไม่ได้เป็นตัวกูของกู แล้วก็ไปทำอนาจารก็ได้ คนมีข้อแย้ง แล้วก็ล้อเลียนเสียอย่างนี้ ตามประสาของคนที่ไม่พยายามจะเข้าใจ พยายามจะยกตัวเองให้ทับถมผู้อื่นท่าเดียว ก็ถึงสมัยแล้วที่จะเข้าใจเรื่องนี้กันเสียที พยายามศึกษา คิดนึก สังเกต ไอ้เรื่องไม่มีตัวกู จะได้เองไม่ต้องมีตัวกู ประหลาดดี ถ้าเรียนปรัชญาฟุ่มเฟือย เจอไอ้คำ เรื่องไม่มีตัวกูนี้ ก็เป็นเรียนปรัชญายอดสุข แยกแยะเป็นแขนงละเอียดแล้วให้มีเฉพาะแขนงๆ นี้มากมาย มันไม่ใช่วิสัยของคนทั่วไป ไม่ใช่วิสัยของชาวบ้านทั่วไป เป็นของคนที่ชอบคิด ชอบนึก มีหัวเป็นนักปราชญ์ เป็นปรัชญา นี่ก็แยกออกไป แยกออกไป แยกออกไป คัมภีร์ก็มีมากเข้าๆ ศาสนาเป็นสุญญวาส เป็นปรัชญาประเภทสุญญวาส ว่างไม่มีตัวตน ถ้ามีตัวตน มีอัตตา มีอาตมันนั้นเป็นอสุญญวาส เราก็ยินดีไป ศาสนาเป็น ขณิกวาท เพราะบัญญัติในสิ่งใดสิ่งหนึ่งในชั่วขณะจิตหนึ่งเท่านั้น นี่เราเป็นขณิกวาท เป็นปรัชญา ขณิกวาท ดังนั้น ก็ต้องเป็นพวกที่มีตัวตน มีตัวตนถาวรตลอดกาล หรือพุทธศาสนาแบบพวก วิภัชวาท แบ่งแยกเป็นตารางซอย เป็นส่วนหมด ไม่มีตัวตนเหลือ ผู้อื่นเขาก็จะมี ภัชวาท เขาไม่แบ่งว่าตัวตนเป็นอัตตา หรืออาตมันแบ่งไม่ได้ ถ้าศึกษากันในรูปปรัชญาอย่างนี้ มีมากมายหลายสิบชื่อ วิธีพูด แต่แล้ว ในที่สุดก็มาสรุปรวมอยู่ที่ว่าไม่มีตัวกูนี้ เราย่อมได้รับประโยชน์จากส่วนนี้เท่านั้น เข้าใจถูกต้อง จนไม่เกิดความรู้สึกในใจสำคัญมั่นหมายอะไร ว่าตัวกู ว่าของกู นั้นพอแล้ว ปรัชญา ฟุ่มเฟือย ไม่ต้องรู้หมด มันชอบกันในส่วนนั้น เรียนกันเสียจนไม่รู้จักจบจักสิ้น ไอ้เรื่องนี้ก็เลย ไม่ได้เรียน หมั่นระวังจิต ไม่ให้ความคิดประเภทตัวกูเกิดขึ้นในใจ นั่นเป็นคนที่ทำดีที่สุด ทำถูกที่สุด เป็นผู้ไม่ประมาทที่สุด เป็นผู้ทำอย่างรีบด่วนที่สุด ไปเรียน ไปเรียน ไปเรียน ไปเรียน มันพวกบ้า ทำน้อยให้มาก ทำสั้นให้ยาว ทำให้เป็นตัวเอง ตายเปล่า ไม่มี ไม่พบ ไม่ถึง ตายเปล่าตายเสียก่อน เพราะไปทำเรื่องน้อยให้มาก ทำเรื่องสั้นให้ยาว ทำเรื่องที่ไม่ยาก ให้ยาก ทำเรื่องไม่นึกไม่คิด มันเป็นความบ้าของคนนั้นเอง ปรัชญา อย่าไปกังวล เรื่องมาก เรื่องมาก พระธรรมยอดสุดอยู่ตรงที่ว่างไม่มีตัวตน เป็นอภิธรรมแท้ อภิธรรมที่ใช้คำพูดมาก ใช้ตัวหนังสือมากนั้นเป็นอภิธรรมไม่มีที่สิ้นสุด เป็นพวกปรัชญาเพ้อเจ้อ หูหางของตัวกู ยาวออก ยาวออก สูงขึ้น สูงขึ้น คนอื่นกลัวจะถูกว่ากัน (เสียงไม่ชัด นาทีที่ 68:18) แต่เราไม่กลัว พูดอย่างนี้ ได้ทำให้หัวใจของพุทธศาสนาโผล่ออกมา ให้คนเขารู้ว่าเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาอยู่ที่จุดไหน ตรงไหน ว่าอย่างไร เพียงนิดเดียว สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ ฆราวาสถือเรื่องนี้ไว้ให้มาก ต้องปฏิบัติให้ได้อย่างนี้ ทุกคนทั้งประเทศช่วยกันศึกษาพุทธศาสนาอย่างระมัดระวังให้เป็นนิจศีล ให้ถูกต้อง จะพบความจริงข้อนี้ ด้วยตนเองทุกคน จะได้พิสูจน์ให้เห็นได้ทันทีว่า ที่พูดอย่างนั้นไม่มีประโยชน์ ทำลายพุทธศาสนาเปล่าๆ ไอ้ความดับทุกข์นี้ มันมีไว้สำหรับคนที่เป็นทุกข์ ก็ฆราวาสนั่นแหละเป็นคนมีทุกข์มาก ต้องสนใจเรื่องความดับทุกข์ ส่วนโดยแท้จริง โดยให้ถูกฝาถูกตัว ทุกข์จริงๆ คือ เรื่องยึดมั่นถือมั่น ดังนั้น ฆราวาสจงพยายามไม่ยึดมั่นถือมั่นให้มากเข้า เพราะมันยึดมั่นถือมั่นไว้มากแล้ว ให้บรรเทาลงเสีย คำว่าฆราวาสยึดมั่นถือมั่นมาก แล้วไม่ไปสนใจเรื่องไม่ยึดมั่นถือมั่น เป็นคำพูดผิดๆเกิน ๑๐๐ % คือ อยากจะพูดอย่างไหนก็พูดไป ไม่เป็นไร เราอยากจะพูดอย่างของเราก็พูดไป เขาอยากจะพูดอย่างเขาก็พูดไป แล้วในที่สุดมันไปเจอกันเอง ด้วยสติปัญญาของประชาชน ที่มีการศึกษาเล่าเรียนมากขึ้น เขาก็รู้จักเลือกเอาเองว่าอย่างไหนจะเป็นประโยชน์แก่เขา อย่างไหนจะช่วยดับทุกข์ให้เขา เขาก็ไปเลือกเอาเอง รู้จักฟัง รู้จักเลือก รู้จักคิด พิจารณาเอาเองว่า อย่างไหนที่เป็นประโยชน์แก่มนุษย์ หรือแก่เขาผู้นั้นที่มีความทุกข์อยู่ เอาชนะคึกฤทธิ์ ไอ้หูหางของเราก็ยาวออกมาทันที มันก็เป็นเรื่องถอยหลังเข้าคลอง ไอ้ ไม่มีเหตุผล ไม่มีอะไรหมด ที่จะไปเอาชนะผู้ใด ถ้าไปเอาชนะผู้ใดเข้า หูหางก็ยาวออกมาเอง มันก็จะถอยหลังเข้าคลองหรือ ถึงแม้ในสวนโมกข์นี้ ที่กำลังจะพยายามเอาชนะซึ่งกันและกันอยู่นี้ ต้องคลำหู คลำหัว คลำหางดูกันให้ดีๆ ทุกคน มันยาวออกมาเลย พวกทุกคน พวกอุบาสกที่ส่งเสียงดังอยู่บ่อยๆ นี่ ฟัง ฟังดูให้ดี ก็หูหางมันยาวออกมาจน ตีกัน โต้เถียงกัน ทะเลาะวิวาทกัน อย่าเอาชนะแก่กันและกัน ที่แท้ผู้ชนะที่แท้จริงตามแบบของพระพุทธเจ้า ที่ไม่เป็น มหาเปรียญเขาพูดเอาไว้ว่า แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร พวกนี้เป็นมหาเปรียญ เป็นนักธรรมเอกนักธรรมเอิก นี่ยกหูชูหาง พูดอย่างนี้ไม่เป็น แต่ปู่ย่าตายายแต่ก่อนเขาพูดเป็น ว่าแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร ใครส่งเสียงดังล้งเล้ง ล้งเล้งจนชนะคนอื่นนั้นเป็นยักษ์เป็นมาร เป็นกิเลสตัณหา ไอ้คนที่นิ่งเสีย ให้ไอ้คนนั้นมันบ้าไปตามเรื่องของมัน ไอ้คนนั้นชนะ ก็เป็นพระ แพ้เป็นพระชนะเป็นมารนี่ คนสมัยนี้ยิ่งฟังไม่ออกมากที่สุดนี่ โดยเฉพาะคนหนุ่มคนสาว พวกนักการเมือง พวกอะไรต่างๆ เหล่านี้ฟังไม่ถูก ฟังไม่ถูก แพ้จะเป็นพระได้อย่างไร ชนะจะเป็นมารได้อย่างไร มันเป็นไอ้ ผู้ดีไปหมด ผู้ถูกไปหมด ให้มันเหลือเรื่องเดียวอยู่ในลักษณะที่พอจะปฏิบัติไหว คือ ระวังตัวกูอย่าโผล่ออกมา ทั้งวันทั้งคืนระวังแต่ตัวกู อย่าให้โผล่ออกมาในจิตใจ อย่าให้โผล่ขึ้นมาในห้วงนึกของจิตใจ อย่าให้ปรุงแต่งด้วยอวิชชา เป็นตัวกูของกูขึ้นมา ในห้วงนึก แห่งจิตใจ ให้มีจิตใจประกอบด้วยสติปัญญารุ่งเรืองเป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่เสมอ ถ้าตัวกูโผล่ขึ้นมา มันก็ไม่รู้ ไม่ตื่น ไม่เบิกบาน เป็นยักษ์เป็นมารมันมืดดับไป ด้วยความโง่ความหลงมันร้อนเป็นไฟ ประคับประคองจิต สำรวมจิต แล้วแต่จะเรียก เพิ่มข้อนี้เข้าอีก อย่าเผลอให้อวิชชาโผล่ขึ้นมาในห้วงจิตใจ มันเป็นขณิกะ ขณิกะๆ คือ ชั่วขณะจิตหนึ่ง นี่ก็ต้องระวังกันไปตลอดเวลา อย่าให้มีขณะจิตไหนประกอบ ไปด้วยตัวกูของกู ซึ่งเป็นอุปาทาน เป็นอาสวะ อุปาทาน ปรุงมาจากอวิชชา วันพระอย่างนี้ ถ้าได้ลงปาฏิโมกข์อย่างวินัย เป็นส่วนหนึ่งของปาฏิโมกข์นั้น ลงปาฏิโมกข์แบบธรรมะ นี่ธรรมปาฏิโมกข์ ที่ซักซ้อมหัวข้อธรรมะ ที่แท้จริง ให้มั่นคงไว้ทีหนึ่ง ทำปาฏิโมกข์วันอุโบสถอย่างนี้ ก็ลงปาฏิโมกข์กันเสียทั้ง ๒ อย่าง ปาฏิโมกข์วินัย ปาฏิโมกข์ธรรมะ ก็เรียนได้ทั้งธรรมะ ทั้งวินัย พระบาลีนั้นมีว่า ธรรมะเลอะเลือนเพราะวินัยเลอะเลือน วินัยเลอะเลือนเพราะธรรมะเลอะเลือน ธรรมะเลอะเลือนเพราะวินัยเลอะเลือน วินัยเลอะเลือนเพราะธรรมะเลอะเลือน ทำอุโบสถอย่างนี้ ๑๕ วัน ครั้งหนึ่ง มาชำระซักฟอก อย่าให้วินัยเลอะเลือน อย่าให้ธรรมะเลอะเลือน ข้อปริยัติของธรรมะเลอะเลือน อย่าให้หัวข้อปริยัติของวินัยเลอะเลือน แล้วก็ปฏิบัติธรรมะอย่าให้เลอะเลือน ปฏิบัติวินัยอย่าให้เลอะเลือน อันนี้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่เสมอ เป็นพระชนิดนี้เพียงชั่วโมงเดียวก็มีค่ามหาศาลนะ อย่าว่าแต่ถึง ๑ พรรษา เลย ถ้าได้อย่างนี้สักชั่วโมงเดียวก็มีคุณค่ามหาศาล เอาไปซักซ้อมหลักธรรมะ ตัวธรรมะไว้บ้างอย่างนี้ก็ดี พูดกันที่นี่คงไม่เสียหลาย คงจะมีประโยชน์ ไม่ฟั่นเฟือน เลอะเลือนแห่งธรรมะ แห่งวินัย วินัยมีไว้บีบบังคับเข้าไปจากภายนอก ให้ตัวกูมันเหือดแห้งไป ส่วนธรรมะนั้นเขาใช้วิธีที่ตัดรากถอนโคนออกมาจากข้างใน เพื่อให้ตัวกูมันเหือดแห้งหายไป ข้างนอกก็บีบเข้าไป ข้างในก็บีบออกมา ตัวกูก็หายไป หมดไปจากสันดาน ความเคยชินที่เป็นตัวกูมันหมดไปจากสันดาน เรียกว่ากิเลสอนุสัยสิ้นไปเพราะเหตุนี้ กิเลสอนุสัย มีความเคยชินในทางตัวกูของกู ที่สะสมไว้ในสันดาน จนเป็นนิสัยสันดาน เกิดมามีความรู้สึกอะไรบ้างก็เริ่มสะสมนิสัยสันดานแห่งตัวกูของกู ตั้งแต่อายุ ๒ เดือน ๓ เดือน ๔ เดือน ๕ เดือน จนถึงปีหนึ่ง ขวบหนึ่ง ๒ ขวบ ๓ ขวบ ยิ่งมากขึ้นๆ จนอายุ ๕๐ ๖๐ ปี นี้มันมาก อันนั้นแหละเขาเรียกอนุสัยสังโยชน์ที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน ความเคยชิน ต้องขูดเกลา ต้องขูดเกลาให้บางไป บางไป คือเป็นอยู่โดยชอบ อย่าให้กิเลสอนุสัยเหล่านั้นได้กินอาหาร มันก็ผอมไป ผอมไปๆ ตายไป อยู่โดยชอบ คือเป็นอยู่ อย่าให้ตัวกูเกิดมาได้ มีความรู้สึกที่เป็นตัวกูของกูเกิดขึ้นได้ มันเกิดก็เลยรีบทำลายทันที ก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องเสียใจ อย่าไปเสียใจ เพราะว่า อ้าว, เกิดมาเสียแล้ว ก็แล้วไป เลิกกันเดี๋ยวนั้นทันที ที่ทำผิดไปแวบหนึ่ง ด้วยตัวกิเลสซึ่งก็อย่าไปเสียใจ อย่าไปวิตกกังวล ไอ้เรื่องที่มันแล้วไปแล้ว ระวังมันจะเกิดต่อไปอีก นี่เป็นเพราะเขาก็เอาเรื่องที่แล้วไปแล้วมาเป็นทุกข์ แล้วไอ้เรามันแย่ เรามันห่างไกล เราแย่ลงทุกทีๆ มันก็แย่จริงๆ เหมือนกัน ถ้ามันเข้าใจผิดอย่างนั้น (เสียงไม่ชัด นาทีที่ 78:34-78:38 ไม่ได้ถอดเสียง) ฟังให้มันรู้ความหมายของพุทธภาษิตนี้ เอามาใช้เป็นประโยชน์ แล้วก็แล้วไป ถ้าไม่มาก็อย่าเพ่อ เดี๋ยวนี้ระวังให้ดี กิเลสเกิดกันอยู่บ่อยๆ ก็เปลี่ยนแปลง ไปเรื่อย ถ้าไม่รู้ว่าอะไรเอามาใช้ไม่ ไม่ถูก ลงปัจจุบันนี้ดี แล้วก็ไม่ต้องฝัน อดีตอนาคต ก็ดี ไม่ต้องตามไปหมด แก้อดีตให้ดี ป้องกันอนาคตให้ดี ถ้าที่นี่ดีแล้วก็ หลังจากนี้ก็ต้องดี ทำโลกนี้ให้เด็ดขาด ให้สะอาด ให้บริสุทธิ์ โลกหน้า โลกอื่นก็ดี ครบชาตินี้ ชาติต่อไปมันก็ไม่ต้อง ก็เป็นเรื่องชาติหน้า ถามกันแต่เรื่องชาติหน้า พยายามพิสูจน์เรื่องชาติหน้า แต่เรื่องชาตินี้ไม่สนใจ นี่ก็คือคนโง่ที่สุด คนบ้าที่สุด ผิดหลักพุทธศาสนาที่สุด ถ้าตอนนี้ ที่นี่ เวลานี้ไม่มีกิเลส ไม่มีตัวกูของกู แล้วต่อไปดีหมด ชาติหน้าชาติไหนกี่ชาติก็ดีหมด หรือมันจะสิ้นสุดกันเสียแค่ชาตินี้ด้วยซ้ำไป ไม่มีชาติอื่นอีกต่อไป ในที่สุดมันก็ขึ้นลงที่นี่ ไม่มีชาติที่อดีตย้อนมา ข้างหลัง ก็ไม่มีชาติ เราไปเข้าใจว่ามีชาติ มีตัวกูเองอย่างนี้ก็มี อนาคตไม่มีชาติ ไม่มีสิ้นสุดแห่งชาติ มันเป็นตัวกู ย้อนหลังก็ได้ ก็ความจริงมันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว คือมันไม่มี ไม่มีตัวตนอยู่แล้ว เราไปหลงว่ามี ตัวฉันไปทำนั่นทำนี่ไว้ แต่ว่าเรื่องอย่างนี้มันยากเกินไป ยากที่พระพุทธเจ้าท้อแท้ไม่อยากจะสอน อธิบายไปก็ไม่มีใครเข้าใจ และไม่คิดจะสอนวิธีนี้แล้ว เรื่องไม่มีตัวกู ไม่มีชาติ ไม่มีทำนองนี้ เผอิญมาคิดๆ ว่า อ้าว, ยังจะมีคนเข้าใจบ้าง แล้วก็ตั้งใจสอน แล้วก็สอน ก็สอนกันมา นี่เป็น เรื่องยาก แล้วก็เรื่องเดียวนี่ ไอ้เรื่องไม่มีกูนี้เป็นเรื่องยาก มันลึกถึงขนาดที่พระพุทธเจ้า คิดที่จะไม่สอนอย่างที่ตรัสรู้กันมา แล้วก็คิดว่าอาจจะมีคนประเภทหนึ่งซึ่งอาจจะเข้าใจได้ เราสอนพวกนั้นเถิด ดังนั้น เราควรจะจัดตัวเราเองไว้ใน ในกลุ่มพวกนั้น ในกลุ่มที่อาจจะเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ อาจเป็นสักคนหนึ่งก็ได้ ขอให้จัดไว้ในกลุ่มที่เข้าใจได้นั้นเถิด พยายามให้ถูกวิธีด้วย มนุษย์นี้มี ๕๐๐ ล้านหรือ ๑,๐๐๐ ล้าน อย่างนี้ การที่จะทำคนให้สมประสงค์ของพระพุทธเจ้าให้ได้ ในโลกปัจจุบันนี้มีมนุษย์๑,๐๐๐ ล้าน ถ้ามีล้านหนึ่งคนหนึ่งก็มี ๑,๐๐๐ คน ถ้ามีอันเป็นจริงก็สมประสงค์ของพระพุทธเจ้า ไม่เหนื่อยเปล่า ไม่เสียเปล่า คนเข้าใจถึง ๑,๐๐๐ คน ได้รับประโยชน์ไปบ้าง จาก ๑,๐๐๐ ล้านคน ไม่ยากเกินไป นี่ถ้าทำถูกวิธีแล้วไม่มีเรื่อง อะไรยาก พระพุทธเจ้าท่านก็ได้วางวิธีไว้ให้อย่างมากมาย ไม่น่าเหลือวิสัย ทีหลังจะมาใช้หนี้บ้าง ที่จริงต้องเป็นฝ่ายพูดบ้าง อย่างนี้เอาเปรียบ ถ้าอาจารย์เยื้อนมาอีก ก็ให้อาจารย์เยื้อนพูดอีก ให้วิจารณ์นั่นนี่ โน่นนี่ให้ฟัง ตามความคิดความเห็นของผู้ที่เป็นเจ้าสังเกต เจ้าคิด เจ้าพิจารณา อาจารย์เยื้อนนอนไม่หลับก็เป็นไปในทางคิด ทางพิจารณา มันก็มีเรื่อง มีวิธี มาพูดให้ฟังมาก นั่นที่พูดเมื่อสักครู่นี้ เผื่อว่าถ้าคำพูดนี้มีประโยชน์จริง ประโยชน์นี้ต้องมีราคา หลายแสนบาท จะให้การลงทุนสร้าง(เสียงไม่ชัด นาทีที่ 83:54-84:00 ไม่ได้ถอดเสียง) หาเรื่องมา มาเปลื้องหนี้ที่นี่ อย่างนี้ น่าจะได้ บนก้อนหินโคนไม้ไหน มืดดูไม่เห็นแล้ว เอาเถอะ นี่จะเดินลำบากแล้ว หยุดก่อน