แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ที่พูดมากที่สุด พรหมจรรย์ แล้วก็ไม่ใช่ อาทิพรหมจรรย์ อาทิพรหมจรรย์ ก็แปลว่าพระพุทธเจ้าท่านไม่ตรัส ไม่สอน ไม่ตอบ แต่ถ้าเป็นอาทิพรหมจรรย์ ท่านก็ตรัส ก็ตอบ พรหมจรรย์อาทิพรหมจริยัง นี่มัน เอ่อ, เราแปลกันว่าเงื่อนต้น เงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส ที่ถามกันว่าที่ตายกันแล้วเกิดหรือไม่ อะไรไปเกิด อันนี้ท่านไม่ตอบไม่ตรัส เพราะไม่ใช่อาทิพรหมจรรย์ โอ้, อาจจะพูดได้อีกทีว่า อาทิพรหมจรรย์นั้นคือ ความจริงที่ไม่ต้องรู้ก็ได้ ความจริงที่ไม่จำเป็นจะต้องรู้เลย ความจริงที่ไม่จำเป็นจะต้องรู้ พูดกันเรื่องความจริงก่อนดีกว่า ความจริงที่ไม่ต้องรู้ ความจริงที่ไม่จำเป็น ความจริงที่ไม่มีประโยชน์แก่การรู้นี่ อาจจะฉงน ไม่เชื่อ เพราะถ้าความจริงแล้ว มันควรจะรู้ไปหมด ควรจะต้องรู้และมีประโยชน์ไปหมด มามีพูดว่า ความจริงที่ไม่จำเป็นจะต้องรู้ อย่างนักเลง หรือตอบอย่างวิธีของพวกเซนจอมนักเลงนี่ มันก็ตอบว่า ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ความจริง มันก็เป็นความจริงหมดทุกอย่าง นี่เราก็ไม่เชื่อ เพราะเราพูดว่า มีความเท็จ มีความไม่จริงอยู่ โง่หรือจะฉลาดกว่าพวกนักเลงพวกนั้นหรือไม่ ก็ลองคิดดูเถิด ถ้าเราพูดว่ามีความจริงอยู่พวกหนึ่ง มีความเท็จอยู่อีกพวกหนึ่งตรงกันข้ามนี่ แล้วพวกนั้นก็พูดว่ามีแต่ความจริงนี่ อะไรก็คือความจริง เซนเขาพูดว่าไอ้ กาขาว นกยางดำนี่ นี่ความจริง ความจริงกว่า กว่าที่จะพูดว่า กาดำ นกยางขาว อย่างนี้พวกเราฟังไม่รู้เรื่องแน่ เพราะเราแต่เห็นแต่ว่า กาดำ นกยางขาว พอพูดว่า กาขาว นกยางดำ เราว่าโกหก เราก็ว่าไม่จริง รู้อย่างนี้มันก็เรื่องเด็ก ๆ เป็นเรื่องของเด็ก ๆ ที่เห็นด้วยตา ว่าความจริงนั้นเป็นอย่างไร ว่า กาขาว นกยางดำ นี้ เขาหมายความว่ามันได้มีอยู่จริงเหมือนกัน แต่มันในรูปอื่น ในรูปอื่น ความคิด รูปของความคิด กลับกันอยู่ แม้ว่ามันจะเป็นความเท็จ ไอ้ความเท็จนั้นมันก็มีอยู่จริง เราบอกว่าไอ้ ไอ้กาขาว นกยางดำ นี่โกหก มันก็ต้องพูดว่าไอ้โกหกนี่มันก็มีอยู่จริง ดังนั้น ไอ้นกยางดำ กาขาว ในความโกหกนั้น มันก็ได้มีอยู่จริงเหมือนกัน จริงที่ ที่ลึกกว่า มันจริงที่กลับกันอยู่ คือว่าไม่ใช่ความจริง เขาก็พูดว่ามี เป็นความจริงที่กลับกันอยู่ใน ในๆ ในความเท็จ ในความโกหกนั้น ไอ้ๆ นกยาง อ้า, ดำ หรือ กาขาว ในความโกหก ในความเท็จนั้นมันก็ได้มีอยู่จริงเหมือนกัน ตามพวกนี้แล้วก็ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่จริง ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ความจริงหรือของจริง แต่มีอยู่จริงคนละแบบเท่านั้นเอง อย่างนี้ เอ่อ, น่าสนใจ หรือไม่น่าสนใจ ก็ลองคิดดู อย่าไปเสียท่า หรือว่าอย่าไปโง่กว่าเขาก็แล้วกัน เขามองลึกกว่าก็ได้ ว่าอะไร ๆ มันก็ต้องเป็นธรรมชาติหรือตามธรรมชาติ แต่ไอ้ความโกหกที่ไม่ใช่ธรรมชาติ มันก็ต้องเป็นธรรมชาติ ไอ้ที่พูดผิดไปนั้นมันก็เป็นธรรมชาติ เท่ากับที่พูดถูกตรงตามธรรมชาติ ว่าไอ้นกยางขาว กาดำ นี้ก็ถูกตามธรรมชาติ มันก็ถูกตามธรรมชาติที่ลึกกว่า ตรงข้ามกันอยู่ นั้นก็เรียกว่าความจริง เช่นเดียวกับบาลีนี่ เราเรียกว่า เราใช้คำว่า ธรรม ธรรม ธรรมชาติ หรือ ธรรม นี่ ความโกหก ความเท็จก็เป็นธรรม ความจริงก็เป็นธรรม กุศลก็เป็นธรรม อกุศลก็เป็นธรรม อัพยากฤตก็เป็นธรรมนี่ เมื่อเป็นธรรมแล้วมันก็คือเหมือนกันในข้อนี้ ในๆ เหมือนกันในข้อที่ว่ามันเป็นธรรม มันจะอ้างกันโดยเป็น กุศล อกุศล อัพยากฤต นั้นก็ช่างมัน มันเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก แต่มันเหมือนกันในข้อที่ว่ามันเป็นธรรม คือ ธรรมชาติด้วยกัน ฉะนั้น เมื่อมันเป็นธรรมหรือเป็นธรรมชาติ นั้นมันก็ต้องเป็นของมีอยู่จริง ฉะนั้น ความเท็จ ความผิด ความชั่ว ความโกหก หรือ แม้แต่มายา สิ่งที่เรียกเป็น มายา นี่ก็ได้มีอยู่จริงอย่างมายาแล้วเป็นธรรม เป็นธรรมอย่างหนึ่ง มันก็เลยจริงอย่างหนึ่ง เป็นของจริง มาดูตรงนี้ให้เห็นว่าเขาลึกกว่าเรา ที่พูดว่าอะไรๆ ก็จริงทั้งนั้นเลย ไม่มีอะไรที่ไม่จริง เช่นเดียวกับที่พุทธเราก็ถือว่า อะไรก็คือธรรม กุศลาธรรมา อกุศลาธรรมา อัพยากตาธรรมา อะไรก็ตาม มันก็คือ ธรรม ทั้งนั้น ถ้าธรรม แล้วมันก็ต้องหมายความว่ามีอยู่จริง กิเลส ก็เป็นของจริง นิพพานก็เป็นของจริง สมมติเห็นกันอยู่ว่าจริงมันก็จริง ของที่สมมติกันว่าโกหกมันก็จริง มันก็มีความจริงอย่างของที่เป็นของโกหก ฉะนั้น มายาหรือมิใช่มายาก็เป็นความจริง จะพูดกลับกันไปได้ว่าทั้งในที่มายา และมิใช่มายานั้นก็เป็นมายา คือเป็นความจริงซึ่งเราบอกไม่ได้ว่ามันจริงอย่างไร จริงแค่ไหน เรายังรู้ไม่หมด ไปถึงว่าธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา เป็นสุญญตา นั้นก็คือ ว่าง ว่างจากตัวตน มันก็เหมือนกับมายา นิพพาน หรือกิเลส หรืออะไรก็ตามเป็นอนัตตา คือว่างจากตัวตน ก็เหมือนกัน กิเลสกับนิพพานก็เหมือนกัน ถ้าถือว่างจากตัวตนเป็นมายา ก็เป็นมายาหมด ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่มายา จริง จริงนี้มันเป็นเรื่องน่าขำ เป็นเรื่องเท็จ ที่ลึกซึ้ง ไม่ได้ว่าจริง อ้า, ถึงไหน เพราะฉะนั้นเราอย่าเอาจริงทั้งหมดเลย เอาจริงเท่าที่มีประโยชน์ ก็แบ่งเป็นสองชนิดว่า ความจริงเท่าที่มันเป็นประโยชน์ ฉะนั้น ความจริงที่ไม่เป็นประโยชน์ ที่ไม่ต้องรู้ก็ได้ ความจริงที่ควรรู้เท่าที่เป็นประโยชน์นี่อย่างหนึ่ง ความจริงที่ไม่ต้องรู้ก็ได้ คือไม่เป็นประโยชน์นี่อย่างหนึ่ง สิ่งที่ต้องรู้นั้นนะ เราก็สนใจ เกิดประโยชน์และอย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่ามันจริงหรือมันวิเศษ หรือมันยึดมั่นให้มันเป็นของจริงจังอะไรขึ้นมา มันจะไม่จริง ว่าจริงก็ ก็เท่าที่เรารู้สึกเท่านั้นนะ ที่เรารู้สึกไม่ได้ยังมี มันอาจจะมี อ้า, เป็นอย่างอื่นซึ่งเรารู้ไม่ได้ เราก็พูดไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราก็ไม่มีการพูดถึงความจริงส่วนที่เรายังรู้ไม่ได้ เช่นเรื่อง อริยสัจนี่เราก็รู้เท่าที่ความจริงที่เรารู้ที่เราเห็นที่เรามองเห็นอยู่ ก็เรียกว่าจริงนี้ประเสริฐเท่าที่จะทำความดับทุกข์ได้ อริยสัจ ความจริงอันประเสริฐนี้มันจริงทนต่อการพิสูจน์เท่าที่ดับทุกข์ได้ เพราะฉะนั้นมันจะจริง ๑๐๐% หรือจริงอะไรอีกของมัน ก็รู้ไม่ได้ เพราะส่วนนั้นอย่าไปรู้มันเลย นี่สิ่งไหนที่มันเพียงพอแล้วสำหรับที่จะดับทุกข์ได้ เท่านั้นก็พอแล้ว แล้วก็ไม่ควรจะพูดว่าจริงหรือไม่จริงด้วย ถ้าพูดอย่าง อย่างนักเลง อย่างนักเลง เขาไม่ไปพูดว่าจริงหรือไม่จริงหรอก เขาพูดว่าเท่านี้เราทำลงไปมันดับทุกข์ได้ก็แล้วกัน ว่าจริงก็หมายความว่า เป็นชาวบ้าน ในระดับชาวบ้าน ถ้าไม่พูดว่าอะไรเสียเลยนั้นนะ มีทางที่จะไม่ ไม่ผิด ถ้าพูดไปว่าจริงนั้น มันก็หมายถึงหลง หลงรัก ยึดมั่น ถือมั่นว่าเป็นของจริงเสียแล้ว ถูกแล้วของนี้จริง แต่ถ้าไปพูดว่าจริงเข้าแล้วมันก็น่าสงสาร น่าสงสารคนพูด เพราะมันพูดไปด้วยความยึดมั่นถือมั่นว่าจริง เนื้อเต้น ใจเต้น แหมพบความจริงก็ตะโกนออกมาเลยนี่ มันน่าสงสารคนที่พูดว่า นี้เป็นความจริง นี่เป็นอย่างไรเท่าที่มันจะเกี่ยวข้องกับเรา เรารู้มันเท่านี้ มันดับทุกข์ได้ก็ใช้ได้แล้ว ด้วยความยึดมั่น หรือรู้สึกยึดมั่นในความจริง ว่าเป็นของประเสริฐ วิเศษแก่เรา ของเราเข้ามาอีก มันก็ย้อนหลัง ย้อนกลับหลัง เป็นความไม่จริงขึ้นมาอีก ว่าเงื่อนต้นของพรหมจรรย์นั้นนะ พูดเท่าที่มันจำเป็นแก่ที่จะดับทุกข์เท่านั้น นอกนั้นไม่ต้อง พระอรหันต์เป็นพระอรหันต์ ดับทุกข์ได้หมดนี่ ผมว่านะ บางองค์อาจจะคิดว่าโลกแบนก็ได้ บางองค์อาจจะไม่รู้เลยว่าโลกแบน หรือโลกกลม เพราะว่าเรื่องโลกแบนหรือเรื่องโลกกลมนี่มันไม่ใช่ดับทุกข์นี่ อ้าว, สมมติว่าพระอรหันต์องค์หนึ่ง มีความคิดหรือเชื่อมาแต่เดิมทีว่าโลกแบนนี่ ก็ไม่เห็นขัดข้องอะไรที่จะปฏิบัติอริยสัจ ปฏิบัติในมรรคมีองค์ ๘ แล้วก็ทำลายกิเลสตัณหาได้ แล้วก็เป็นพระอรหันต์ ดังนั้น ไอ้ความคิดว่า ไอ้โลกแบน นั้นมันไม่มีความหมายอะไร มันไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ นี่คือไม่ใช่เงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ไม่ต้องถามกันว่าโลกกลม หรือโลกแบน ถ้าไปถามเข้ามันก็ไม่ใช่เงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เช่นเดียวกับถามว่า เกิด หรือไม่เกิด เราไม่ต้องรู้อะไรอีกมาก แต่เราก็ทำให้ความทุกข์ดับไปได้ ทีนี้เขามีความรู้กันมากมาย มากมายเป็น บอกไม่ถูกมากมายเท่าไร แล้วเราก็ไม่ต้องรู้ความรู้เหล่านั้นเลย เราก็สามารถจะดับทุกข์ได้ ถ้ารู้ว่าไอ้สิ่งทั้งปวงนี้อย่าไปยึดมั่นถือมั่นเข้า ความจริงที่ เอ่อ, ไม่จำเป็นหรือ ไม่เกี่ยวกับความดับทุกข์นั้น เรียกว่าไม่ใช่เงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ไม่ต้องสนใจ แต่ความจริงที่มันเป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ คือดับทุกข์ได้ จะเห็นน่าขันตรงที่ว่า ไอ้ความจริงนี้มันจริงในส่วนนี้ เท่านี้ในขอบเขตเท่านี้ และมันไม่ต้องก้าวก่าย หรือเกี่ยวข้องกับส่วนอื่น เช่นคนหนึ่งเขาจะมีความคิดว่าโลกแบนนี่ อ้าว, แต่ถ้าเขามาปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ มรรคมีองค์ ๘ ก็ช่วยให้ ดับทุกข์ได้ ส่วนความเข้าใจว่าโลกกลม หรือโลกแบนของคนนั้นไม่มีปัญหา ไม่เกี่ยวกันเลย ธรรมะที่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์นี้มันเป็นระบบที่ดีที่สุดสำหรับดับทุกข์ สำหรับจะมีผลอย่างนี้ สำหรับจะปฏิบัติอย่างนี้ สำหรับจะมีผลอย่างนี้ แล้วเราอย่าไปมองให้มันเป็นสิ่งที่ควรยึดมั่นถือมั่น หรือว่าจริงจนยึดมั่นถือมั่น พระพุทธเจ้าท่านก็เรียกว่า อริยสัจ ความจริงที่ประเสริฐ แต่ท่านไม่ได้มีความหมายในทางที่จะยึดมั่นถือมั่น หรือพูดให้ยึดมั่นถือมั่น หรือว่าให้จริงแบบเด็ดขาดแต่สิ่งเดียว สิ่งอื่นไม่จริง อย่างนี้ก็ไม่ใช่ สิ่งอื่นก็ยังจริงไปตามเรื่องของสิ่งอื่น แต่ แต่สิ่งนี้เรื่องนี้มันจริง สำหรับจะดับทุกข์ มากไปกว่านั้นก็ไม่ต้องพูดกัน เมื่อมันดับทุกข์ได้ก็แล้วกัน มันจะจริงหรือไม่จริง ถ้ามันดับทุกข์ได้ก็ ก็แล้วกัน พูดอย่างนี้ดีกว่า ที่มันดับทุกข์ได้นี่คือความจริง ตัดเอาตามที่ว่า เราต้องการอย่างไรแล้วได้อย่างนั้นจริง แล้วก็เรียกว่าความจริง ทั้งปวงเป็นมายา เป็นอนัตตา เป็นสุญญตา สิ่งทั้งหมดนั้นก็ยังเป็นอนัตตา เป็นสุญญตา ก็ถือว่าสุญญตาจริง เป็นของจริง อนัตตาเป็นของจริง ก็คือ สิ่งทั้งปวงนั่นแหละ เพราะว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา และเป็นสุญญตา แม้ของเท็จ ของโกหกอย่างไรก็เป็นอนัตตา และเป็นสุญญตา ถ้าสุญญตาเป็นความจริง มันก็เลยเป็นของจริงกันไปหมด เหมือนกับพวก ๆ หนึ่งเขาถือ หรือเขาว่า มองให้ลึกเลยกว่าที่เราเคยมองกัน จะดีหรือไม่ คือมองให้ลึกลงไปถึงว่าทุกสิ่งมันเหมือนกัน ถ้าพูดว่าจริง มันก็จริงด้วยกันหมด กิเลส ถึง นิพพานเลย กิเลสก็เป็นของจริง นิพพานก็เป็นของจริง พระพุทธเจ้าจะไม่ตรัสว่า ตัณหาเป็นอริยสัจ ตัณหาที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ก็เป็นอริยสัจ เป็นของจริง ตัณหาก็คือกิเลสทั้งหมดรวมกัน ตัณหา กิเลสเหล่านี้เป็นของจริง นิพพานก็เป็นของจริง ทางปฏิบัติให้ถึงนิพพานก็เป็นของจริง ถ้ากิเลส ตัณหาเป็นของจริงได้ อวิชชาก็เป็นของจริงได้ ความโง่ ความโกหก ความไอ้ อะไรก็เป็นของจริงได้ ของจริงนี่มีความหมายไกล ไกลมาก จนไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ของจริง มันต้องมีของจริงให้ดู ก้อนกรวดนี่ก็ของจริง ตอไม้นี่ก็ของจริง ต้นไม้ก็ของจริง สุนัขก็ของจริง อากาศก็ของจริงไปหมด แล้วสิ่งที่ตรงกันข้ามจากนั้นก็ของจริง นิพพานเป็นของจริงพร้อมกับที่กิเลสตัณหาเป็นของจริงนี่ก็ กาดำก็ของจริง กาขาวก็ของจริง นกยางดำก็ของจริง นกยางขาวก็ของจริง เป็นคนละอย่างในทางสมมติแต่เป็นของจริงอย่างยิ่งในทาง อ้า, ปรมัตถ์ หรือยิ่งกว่าปรมัตถ์ ปรมัตถ์แห่งปรมัตถ์ พวกอภิธรรมไม่พูดอย่างนี้นะ ทั้งที่พวกอภิธรรมเขาพูดว่าเขาเป็นนักปรมัตถ์นะ ปรมัตถ์นะมัน มันจริงอย่างนี้ มันมีอะไรที่เป็นอย่างเดียวกันหมดอย่างนี้ จนเห็นว่าไม่มีอะไรต่างจากอะไร กิเลสก็ไม่ต่างจากนิพพานหรือโพธิ เพราะว่าเป็นของจริง เป็นธรรม เป็นธรรมชาติ ด้วยกัน เสมอกัน เป็นอนัตตา สุญญตา เสมอกัน นกยางขาวที่ได้มีอยู่จริง และนกยางดำที่ไม่เคยปรากฏเลย ก็เป็นของจริงเท่ากัน จะถูกกว่าเพราะว่าเขามองเห็นลึกกว่า ไอ้เรามองเห็นแต่ที่เห็นอยู่กลางในทุ่งนา ไม่มองเห็นส่วนลึกที่ว่าเป็นมายาที่มีอยู่จริง แล้วก็จริงถ้าสิ่งของที่ปรากฏแก่สายตา นี่ก็หมายความว่าให้มองกัน เห็นว่ามันมีความจริงแก่อย่างเดียว โลกเป็นจริงไปหมดทุกๆ สิ่ง ทุกๆสิ่งมันรวมอยู่ในความจริง แต่อย่างเดียวนี่ ไม่มีอะไรที่ไม่จริง แต่แล้วมันมีไอ้จริงชนิดที่ไม่จำเป็นต้องรู้ ไม่จำเป็นที่จะต้องเกี่ยวข้อง เช่นเราไม่จำเป็นที่จะต้องเกี่ยวข้องเรื่องไอ้ นกยางดำอย่างนี้ เพราะเห็นอยู่แต่นกยางขาว ก็พอแล้ว ไม่เกี่ยวข้องไปถึงนกยางดำที่จะให้เห็นว่ามีจริงขึ้นมาอีก เขามองเห็น ถ้าใครมองเห็น ก็ เราก็ต้องยอมว่า เขาเก่งกว่าเรา ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ของจริง ถ้าให้ดีแล้ว ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่มายา คือมันแล้วแต่สมมติ แล้วแต่เรียก แล้วแต่สมมติ ของจริงก็สมมติว่าของจริง มายาก็สมมติว่ามายา ทั้งของจริงและทั้งของมายาเป็นอนัตตา เป็นสุญญตา เพราะฉะนั้นทุกอย่างว่าง ว่างหรือมายา อันสุดท้าย จากตัวตนอันสุดท้าย นิพพานก็ว่างอย่างยิ่ง กิเลสก็ไม่ใช่ตัวตน และว่างจากตัวตนอย่างยิ่ง แล้วเป็นมายาอย่างยิ่ง ดังนี้ ฟังไม่ถูกก็ไม่เข้าใจ หรือเป็นมิจฉาทิฐิไป ฟังถูก ค่อยว่ามีประโยชน์ เห็นว่าทุกอย่างจริง เป็นอนัตตา สุญญตาจริงหมดทุกอย่าง ทุกอย่างเป็นอนัตตา เป็นสุญญตา เพราะฉะนั้นจึงเป็นของมายา ไม่ควรจะยึดมั่น ถือมั่นว่าเราว่าของเรา แม้แต่นิพพาน จดให้ถูกๆ นะ จดผิดๆ แล้วไปเชือดคอตัวเองตายหมดเลย ให้เข้าใจว่า เราพูดกัน อ้า, อย่างไร ในระดับไหน สูงขึ้นมาจนถึงขนาดมองเห็นว่าทุกอย่างเป็นของจริง แล้วก็ยังไม่ ไม่ๆ ไม่เท่า ไม่หยุดอยู่แค่นั้น ต้องเห็นถึงว่า แม้ของจริงทั้งหมดนั้นก็คือมายา เอาไม่ได้เพราะยึดถือไม่ได้ ไอ้นกยางดำมันโกหกอย่างไร ไม่ใช่ของจริงอย่างไร ไอ้นกยางขาวมันก็ไม่ใช่ของจริงอย่างนั้นเท่ากัน มายาที่เท่ากัน กิเลสเป็นมายาอย่างไร นิพพานก็เป็นมายาอย่างนั้น ความทุกข์เป็นมายาอย่างไร ความดับทุกข์ก็เป็นมายาอย่างนั้น เพราะว่ามันเป็นอนัตตา เป็นสุญญตา ทีนี้มันต่างกันตรงที่ว่า ไอ้ความดับทุกข์นั้นมันมีค่าขึ้นมาเพราะมันถูกกับความประสงค์ของมนุษย์ ถ้าสำหรับธรรมชาติแล้ว ไม่มีความหมายที่ต่างกัน ความดับทุกข์ อ้า, ความทุกข์กับความดับทุกข์นี่สำหรับมนุษย์นี่มันต่างกัน ตรงกันข้าม แต่สำหรับธรรมชาติแล้วมันไม่ต่างกันเลย ธรรมชาติเหมือนกัน เป็นไอ้ สุญญตา อนัตตา เหมือนกัน เรียกว่าของจริงในทัศนะหนึ่ง แล้วมองดูอีกทัศนะหนึ่งก็เป็นของมายายึดมั่นถือมั่นไม่ได้ด้วยกัน โอกาสหนึ่ง ในๆ ในยุคหนึ่งเราอาจจะมองเห็นจริงไปหมด อะไรก็จริงไปหมด แม้แต่คำโกหกก็มันเป็นของจริงและมีอยู่จริงในลักษณะหนึ่ง มาต่อมา นานเข้า นานเข้า ยุคหนึ่งมองเห็นว่า อ้าว,ไอ้ทั้งที่จริงทั้งหมดนี่คือ มายา ว่าจริงหรือไม่จริงก็ป่วยการพูด เพราะมันเป็นมายาเหมือนกัน ฉะนั้น เรื่องที่จะต้องพูดจึงเหลือนิดเดียว เหลือนิดเดียวที่ว่าอย่างไหนตรงกับความที่ ดับทุกข์ได้ ถ้าเรารู้สึกว่าเราเป็นทุกข์แล้วต้องการดับทุกข์ อันไหนดับทุกข์ได้ ก็ทำไปเท่านั้นก็พอ ในเมื่อมันดับทุกข์ได้จริงก็เรียกว่า มันจริงเฉพาะส่วนนี้ จริงเท่านี้ จริงเพียงแค่นี้ อย่างนี้แล้วมันก็ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้อยู่นั่นแหละ จะยึดมั่นในความดับ อ้า, ถือมั่นในนิพพาน ในความดับทุกข์ก็ไม่ได้ จะยึดมั่นในความทุกข์ก็ไม่ได้ ฉะนั้น ยึดมั่นไม่ยึดมั่น มันก็มีค่าเท่ากัน ความทุกข์ก็ไม่มีอะไร นิพพานก็ไม่มีอะไร พอไปยึดมั่นเข้าก็เกิดเป็นความทุกข์ขึ้นมาด้วยกัน พอไม่ยึดมั่นก็ไม่มีความทุกข์ขึ้นมาด้วยกัน มันเท่ากันอย่างนี้ ความไม่ยึดมั่นถือมั่นจึงเป็นความจริงเท่าที่จำเป็นแก่มนุษย์ที่จะ ดับทุกข์ เท่าที่จำเป็นที่มนุษย์จะต้องรีบรู้และดับทุกข์ให้ได้ แล้วอย่าไปศึกษาให้มากกว่านั้น อย่าไปอยากรู้ให้มากกว่านั้น ว่าถ้าเราอยู่ด้วยจิตใจที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรแล้ว เราก็ไม่มีความทุกข์ เราจะนอนเสียก็ได้ เราจะทำงานก็ได้ เราจะกินอาหารก็ได้ เราจะทำอะไรก็ได้ ด้วยจิตใจที่ไม่มีความยึดมั่น ถือมั่น เรื่องตัวกู ของกู แล้วเราก็ไม่มีความทุกข์ แล้วก็หมดกันเท่านั้น อย่าพูดว่ามันจริง อย่าพูดว่ามันเท็จดีกว่า พูดว่าอะไรจริงก็ส่วนหนึ่ง อะไรเท็จก็ส่วนหนึ่ง ก็คือความไม่รู้ ความไม่รู้แสดงออกมาแล้ว แสดงว่าไม่รู้แล้ว ทุกข์ก็เป็นของจริง ความดับทุกข์ก็เป็นของจริง กิเลสก็เป็นของจริง ไปยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ เป็นของจริงตรงที่เป็นมายา ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ความไม่ยึดมั่นถือมั่น จึงเป็นหลักเพียงหลักเดียว หรือข้อเดียว เรื่องเดียว สำหรับพุทธศาสนา เป็นหัวใจของพุทธศาสนา ถ้าคำพูดอันไหนเป็นไปในเรื่องนี้แล้ว คำพูดนั้นเป็น อาทิพรหมจรรย์หมด พูดไปเพื่อยึดมั่นถือมั่น หรือพูดขึ้นเพื่อความยึดมั่นถือมั่น แล้วมันก็เป็นเรื่องไม่ใช่ อาทิพรหมจรรย์ มันมีแต่ให้มันยืดยาว ยืดเยื้อ ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอจินไตยไปบ้าง หรือว่าไปทำให้เกิดปัญหาลำบากลำบนมากขึ้นมาอีกอย่างนี้ เรียกว่า ไม่ๆ ไม่ ไม่ใช่เงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ไม่ใช่ความจริงที่จำเป็นแก่มนุษย์เลย สิ่งเท่าที่จำเป็นแก่มนุษย์นี้ก็ไม่ใช่ว่ามันจำกัดตายตัวลงไปได้ มันยืดหยุ่นได้ตามความรู้สึกของคน หมายถึงหลักอันเดียวที่ว่าไม่ยึดมั่น ถือมั่น เพราะคำว่าไม่ยึดมั่นถือมั่นคำเดียวก็ขยายความออกไปได้มาก รอบตัว หลายแบบ หลายอย่าง หลายวิธีพูด แต่ใจความมันก็ ไม่ยึดมั่น ถือมั่น จัดให้เหมาะสมกับระดับที่เด็ก ๆ จะไม่ยึดมั่นถือมั่น ที่คนหนุ่มคนสาวจะไม่ยึดมั่น ถือมั่น คนแก่จะไม่ยึดมั่นถือมั่น หรือว่าที่ฆราวาสจะไม่ยึดมั่นถือมั่น ที่บรรพชิตจะไม่ยึดมั่นถือมั่นหรือคนอยู่บ้านจะไม่ยึดมั่นถือมั่น คนอยู่ป่าจะไม่ยึดมั่นถือมั่น ทำได้ด้วยกันทั้งนั้น แยกว่าคนอยู่ในโลกต้องยึดมั่นถือมั่น มันก็คือสอนให้เขาฆ่าตัวตายหรือว่า เผาตัวเองให้ไหม้ ให้เกรียมไป ในโลก หรือต้องการจะไปนอกโลกตลอดเวลานั้น ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น จึงจะไม่เป็นการจับตัวเองเผาให้เร่าร้อน หรือให้เป็นสัตว์นรกอยู่ตลอดเวลา ยึดมั่นถือมั่นเมื่อไรก็เป็นสัตว์นรกเมื่อนั้น นรกนี้มีหลายอันดับ หลายมาตรฐาน ร้อนมาก ร้อนน้อย ร้อนโดยรู้สึก ร้อนโดยไม่รู้สึกก็มี ความทุกข์ที่เกิดมาจากความยึดมั่นถือมั่นนี้ ก็มีหลายชนิด แรงก็มีร้อน ไม่แรงก็มี ร้อนรู้สึกตัวก็มี ร้อนไม่รู้สึกตัวก็มี มันอย่างนี้ ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นให้มากเท่าที่จะมากได้ เราไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ยึดมั่นถือมั่น เพราะมันก็จะยึดมั่นถือมั่นเกินขอบเขตอยู่เสมอ คือมันยึดมั่น ถือมั่นอยู่ได้เอง เป็นความเคยชินอยู่เอง มากมายอยู่เองแล้ว บรรเทาไปตามส่วนที่ควรจะบรรเทาได้ เมื่อไรก็ทำด้วยสติปัญญาที่ไม่ต้องยึดมั่นถือมั่น ทำด้วยความรู้สึกตัว ทำด้วยสติสัมปชัญญะ ทำด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดีอย่างนี้ ก็เรียกว่าไม่ได้ทำด้วยความยึดมั่นถือมั่น ไม่เป็นทุกข์ หรือไม่เป็น อ้า, แผดเผาตัวเอง ความยึดมั่นถือมั่น แล้วมันแผดเผาตัวเองทันที เด็กๆ นี่ เมื่อไม่ได้อะไรอย่างใจ ก็ร้องไห้ หรือไปฆ่าตัวตาย ไปโดดน้ำตายก็มี ด้วยความยึดมั่นถือมั่น มันทำไปด้วยความยึดมั่นถือมั่น ทำไปด้วยความรู้ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรเป็นอะไร อะไรเป็นอะไร ที่เพียงพอแล้ว มันก็ไม่ต้องร้องไห้ ไม่ต้องไปโดดน้ำตาย มันก็ต่อสู้ไปได้อย่างน่าดู หรือว่าอย่างสนุกสนาน ในการศึกษาเล่าเรียน ในการทำการงาน ในการบริโภค ผลของการงาน ในการทำงานช่วยเหลือผู้อื่น นี่มันก็ทำไปได้ ที่ยึดมั่นถือมั่นผิดทาง ผิดวิธี ก็เลยทำให้ล้มละลายหมด ทุกอย่าง ทุกชนิด ก็เป็นเรื่องล้มละลายหมด ยืนยันแล้ว ยืนยันอีกว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่นนั้นเป็นหลักพระพุทธศาสนา เพียงข้อเดียว ตอบพวกโน้นอย่าง พวกนี้อย่าง ทุกคนพยายามปฏิบัติตามที่จะปฏิบัติได้ และธรรมะข้อนี้ก็ยืดหยุ่นให้ได้ สะดวกแก่คนทุกคน แก่คนทุกชั้น แม้แต่คนที่กำลังมีความคิดว่าโลกแบน ก็ปฏิบัติธรรมะข้อนี้ได้ หรือคนที่มีความคิดว่าโลกกลม ก็ปฏิบัติธรรมะข้อนี้ได้ แล้วก็ได้ผลคือดับทุกข์ได้เหมือนกัน เพราะไอ้เรื่องโลกกลม โลกแบน มันไม่เกี่ยวกับข้อนี้ เพราะถ้าไปยึดมั่นในความรู้แล้ว ไอ้เรื่องโลกกลมก็ใช้ไม่ได้ เรื่องโลกแบนก็ใช้ไม่ได้ ไปยึดมั่น ในความรู้ของตัวที่ว่า โลกกลมหรือโลกแบนก็ตาม มันบ้าเท่ากัน พูดเรื่องว่าไม่มีอะไรที่ควรไปยึดมั่นเข้า เพราะมันจริงอย่างมายาไปหมดนั้นแหละ จริงอย่างเป็นอนัตตา สุญญตาไปหมดนั้นแหละ เราจึงไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นเข้า เด็กๆ ไม่เข้าใจถึงขนาดนี้ ก็บอกเท่าที่เขาจะเข้าใจได้ ว่าอย่า อย่าต้องไปสำคัญมั่นหมายอะไรนัก อย่าต้องร้องไห้เลย อย่าต้อง อ้า, นั่นเลย มันมีวิธีอย่างอื่น มีหนทางที่จะทำได้ต่อไปอีก ให้ไปคิด ให้ไปศึกษา แล้วก็ไปทำไปตามหลักเกณฑ์เหล่านั้น อย่าทำด้วยความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งมันมืด มันโง่ ฉะนั้น เขาก็ทำอะไรได้ อยู่ในโลกนี้ได้ดีขึ้น ดีขึ้น ยึดมั่นน้อยลง มีสติปัญญามากขึ้น ยึดมั่นน้อยลงเท่าไร สติปัญญาก็มากขึ้นเท่านั้น เพราะมันเป็นของตรงกันข้าม ยึดมั่นก็เป็นของจริง สติปัญญาก็เป็นของจริง นี่เราเอาของจริงส่วนที่จะมีประโยชน์ หรือดับทุกข์ได้ ส่วนอื่นนั้นก็เป็นของจริง ตามเรื่องของมัน ตามธรรมชาติของมัน ถ้าเกี่ยวกับเรา ก็เอาไว้สำหรับศึกษาให้รู้ว่ามันเป็นความทุกข์จริงก็แล้วกัน ที่ไม่ยึดมั่นทั้ง ทั้งฝ่ายของจริง หรือ ฝ่ายไม่จริงนั่นแหละมันจึงจะเรียกว่า ไม่ยึดอะไร ไปตั้งข้อรังเกียจของที่ตัวรู้สึกว่าไม่จริง แล้วไปหลงรักหลงยึดมั่นในของจริง มันก็ล้มเหลว มันล้มเหลวอย่างนั้นแหละ มันไม่ว่าง มันไม่เป็นกลาง มันไม่เป็นอิสระ มันไม่หลุดพ้น มันไม่ปล่อยวาง ธรรมดาชาวบ้านนี่ ถ้าจะไม่ให้มีความทุกข์ ชนิดที่ต้องร้องไห้บ่อยๆ ก็ต้องศึกษาเรื่องนี้ ให้ความยึดมั่นถือมั่นมันน้อยลง ทำอะไรไปด้วยสติปัญญามากขึ้น มันก็คงจะร้องไห้น้อยลง ที่เป็นทุกข์เป็นร้อนเหมือนตกนรก เหมือนกับไฟสุมเผา แล้วมันก็น้อยลง น้อยลง น้อยลง นี่โทษ โทษของความยึดมั่นถือมั่นเป็นอย่างนี้ คุณของความไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็นอย่างนี้ เราเลือกเอาแต่ส่วนที่เป็นคุณ ไม่ใช่เพื่อเอามาเพื่อยึดมั่นถือมั่น ยึดมั่นถือมั่น คุณก็กลายเป็นโทษอีก ว่ารู้จักทำแต่วิธีที่ ที่มันมีแต่คุณคือไม่มีโทษ ก็คืออย่ายึดมั่นถือมั่น ทั้งในคุณและทั้งในโทษ สติปัญญาประจำใจอยู่อย่างนี้ เมื่อไรก็ตามที่ควรทำเพราะว่าร่างกายนี้อยู่นิ่งไม่ได้ อย่าไปเชื่อใคร ให้มองเห็นว่าร่างกายนี้มันอยู่นิ่งไม่ได้ มันต้องเคลื่อนไหว เคลื่อนไหวไปในทางที่ไม่เป็นโทษ ให้มันเป็นคุณ เป็นคุณแก่ตัวเองก็ได้ เป็นคุณแก่ผู้อื่นด้วยก็ยิ่งดี แล้วก็อย่าไปยึดมั่นในคุณนั้นเข้า จะกลายเป็นโทษอีก ถ้าเราเป็นอิสระเปิดโล่งอยู่เสมอ ไม่ยึดมั่นในสิ่งใด คนที่จะ ทุกข์มากนั้นต้องระวังมาก อย่าไปยึดมั่นถือมั่นเข้า มันจะมีความทุกข์มากเกินไป เรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่นนี้เป็นเรื่องอาทิพรหมจรรย์ ถ้าคำพูดคำใด มันเอ่ยขึ้นมา เป็นไปในทางให้ไม่ยึดมั่น ถือมั่นแล้วเป็น อาทิพรหมจรรย์ ทางอื่นๆ นอกนั้นไม่ใช่ อาทิพรหมจรรย์ เป็นของจริงก็ไม่ใช่ อาทิพรหมจรรย์ คุณจะพูดว่าโลกกลมเป็นของจริง มันก็ไม่ใช่อาทิพรหมจรรย์ เช่นเดียวกับที่โลกแบน ซึ่งเดี๋ยวนี้ถือกันว่าไม่ใช่ของจริง เรื่องโลกกลมหรือโลกแบนนี้ก็ไม่ใช่อาทิพรหมจรรย์ด้วยกันทั้งคู่ เชื่อว่าโลกแบนก็ได้ เชื่อว่าโลกกลมก็ได้ ไปปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ก็ดับ ความยึดมั่นถือมั่นได้เท่ากัน ไอ้ส่วนความไม่ยึดมั่นถือมั่นนี้มันเพียงพอแล้ว ใช้ได้แก่คนทุกคน เทียบกับจีวร จีวรที่เราห่มนี่ จีวรที่พระห่มนี่ วิเศษนักหนา คือใช้ได้ทุกคน พูดอย่างนี้ผมจะ ผมหมายความว่า ก็จีวรที่เราห่มกันอยู่นี่วิเศษนักหนา ใช้ได้ทุกคน อย่างผมก็ห่มจีวรผืนนี้ได้ เอาให้คนผอมๆ ห่ม ก็มันห่มได้ จีวรนี้ผืนเดียวกันนี้ เด็กๆ ห่ม มันก็ห่มได้ มันรุ่มร่ามหน่อยเท่านั้นเอง รู้จักทำให้ดีมันก็ใช้ได้ มันก็ห่มได้ จีวรผืนนี้ ห่มก็ได้ ใช้ปูนอนก็ได้ ใช้ห่มนอนก็ได้ ใช้แต่งตัว ไปตลาดก็ได้ ใช้ได้สารพัดอย่าง และใช้ได้ทุกคน ของเราวิเศษ แขกก็ใช้ได้ ไทยก็ใช้ได้ จีนก็ใช้ได้ จีวรผืนนี้ คนผอมก็ใช้ได้ คนอ้วนก็ใช้ได้ เด็กก็ใช้ได้ ผู้ใหญ่ก็ใช้ได้ ผู้หญิงก็ใช้ได้ ผู้ชายก็ใช้ได้ เครื่องนุ่งห่มก็ได้ ใช้อย่างผ้าปูนอนก็ได้ ทุกอย่าง หลักธรรมะที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนาที่ว่า อย่ายึดมั่นถือมั่นนะ มันใช้ได้แก่คนทุกคนและทุกอย่างและในทุกกรณี ใครก็ใช้ได้ ผู้ชายก็ใช้ได้ เด็กก็ใช้ได้ ผู้ใหญ่ก็ใช้ได้ จีน ไทย แขก ฝรั่ง อะไรก็ใช้ได้ ขนาดต่างกันมันรุ่มร่ามหน่อยเท่านั้นเอง รู้จักทำอย่าให้มันรุ่มร่ามก็ใช้พอให้ถูกขนาด ถูกขนาด ใหญ่นักก็พับให้มัน ๒ ที ๓ ที มันก็เล็กลง มันก็ใช้ได้ จีวรนี้เอาเด็กๆ ห่มก็ใช้ได้ พับ ๒ เสีย ๒ ที เด็กเล็กๆ ก็ห่มได้สบายเลย ห่มเหมือนกับพระห่มเหมือนกัน แล้วเรื่องอนัตตา สุญญตา ไม่ยึดมั่นถือมั่น มันไปให้เด็กๆ ใช้นะ ต้องปรับปรุงบ้างเท่านั้นเอง มันใช้ได้ ใช้ดี แต่ต้องปรับปรุงบ้างในลักษณะที่เหมาะกับเด็ก ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นว่าให้เด็กยึดมั่น ถือมั่น ให้เด็กโลภโมโทสัน ให้เด็กกระตือรือร้น ทะเยอะทะยานด้วยความยึดมั่น ถือมั่นนั้นมันเรื่องบ้า เรื่องคนบ้าพูดตู่พระพุทธวจนะใส่พระพุทธเจ้า บอกว่าพระพุทธเจ้าสอนอย่างนั้น ทั้งที่มันก็เคยบวชเคยเรียนมาแล้ว เชื่อมัน ถ้าใครพูดว่า หลักพุทธศาสนาต้องมีแบ่งแยกตรงกันข้าม ฝ่ายหนึ่งให้พวกอยู่ในโลก ฝ่ายหนึ่งให้พวกที่จะไปนิพพานแล้วก็อย่าเชื่อเป็นอันขาด นิพพานนั้นต้องอยู่ที่ความทุกข์ นิพพานนั้นต้องอยู่ในโลก ต้องดับทุกข์ในโลก ดับทุกข์ที่โลก จึงจะเป็นนิพพานที่นั่น ว่าอยู่ในโลกกับไปนิพพานนั่นนะมันแยกกันแต่เพียงว่า ทุกข์ กับดับทุกข์ ดังนั้น ถ้าคนอยู่ที่ไหน โลกก็อยู่ที่นั่น นิพพานก็อยู่ที่นั่น คืออยู่ที่คน อยู่ที่ในคนนั้นนะ เอานิพพานไว้ตรงไหนก็ไม่รู้ เอาโลกไว้ที่นี่อย่างนี้มันก็ผิด ผิดหมด ไม่ๆ ไม่ถูกตามที่พระพุทธเจ้าสอน แล้วมันปฏิบัติไม่ได้ ถ้ามันแยกกันอยู่คนละแห่ง แล้วมันปฏิบัติไม่ได้ ความทุกข์อยู่ที่ไหนก็ต้องปฏิบัติที่นั่น แล้วผลมันก็ต้องเกิดขึ้นที่นั่น เพราะอย่างนั้นแหละ พระพุทธเจ้าถึงตรัสว่าโลกก็ดี เหตุให้เกิดโลกก็ดี ความดับแห่งโลกก็ดี ทางให้ถึงความดับแห่งโลกก็ดี อยู่ในร่างกายนี้ อยู่ในร่างกายนี้ ที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้ ที่ยังมีชีวิตเป็นๆ อยู่ ร่างกายที่มีชีวิตเป็นๆ อยู่ มี อ้า, สัญญา และใจ คือมีความรู้สึกอยู่นี้ ข้างใน นั่นแหละในนั้นนะมีกิเลส มีนิพพานมีความทุกข์ มีเหตุให้เกิดทุกข์ วิธีปฏิบัติให้ดับทุกข์ด้วย ของวิธีปฏิบัตินั้น ก็คือ ดับความอยาก ความยึดมั่นถือมั่นด้วยความโง่ ความหลง ด้วยอวิชชา ทำเพื่อไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นขึ้นมาได้ ความยึดมั่นถือมั่นมีเพราะโง่ เพราะไม่รู้ พอทำให้ ให้ฉลาด ให้รู้ มันก็ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้เอง มันไม่ยึดมั่นถือมั่นไปเอง เพราะมันมีความรู้ขึ้นมา เพราะฉะนั้น เรารู้จักความทุกข์ แล้วก็รู้จักว่าความยึดมั่นถือมั่นเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เราก็บรรเทาความยึดมั่นถือมั่น นั้นเสีย ตามส่วนที่เราจะบรรเทาได้ เขาก็รู้เรื่องความทุกข์นี้แต่เล็กน้อย เขารู้เหตุของความทุกข์แต่เล็กน้อย เขาก็บรรเทามันได้แต่เล็กน้อย นั้นก็เป็นส่วนสัดที่เหมาะแล้วสำหรับเด็กๆ ที่จะไม่มีความทุกข์ กาย จิตใจที่สดชื่น แจ่มใส เบิกบาน สมกับที่เป็นพุทธบริษัท ไปกระตุ้นให้เด็กทะเยอทะยาน ด้วยความยึดมั่นถือมั่น มันก็เป็นบ้าตาย เป็นโรคเส้นประสาท เป็นนั่นเป็นนี่ ทรมานพ่อแม่ของมันไม่รู้จักสิ้นสุด เป็นการทำผิดของพ่อแม่นั้นเอง พ่อแม่ไม่รู้จักอบรมโลก อ้า, อบรมลูกให้เป็นไปในทางของพระพุทธเจ้า ฉะนั้น พ่อแม่นั้น ครอบครัวนั้นจึงมีปัญหามาก มีความทุกข์มาก ทั้งส่วนตัว ทั้งส่วนของลูกหลาน ทั้งส่วนเด็กๆ ตาดำๆ ที่กำลังโตขึ้นมา มาสร้างปัญหาขึ้นทั้งนั้น คนไทยเราละทิ้งวัฒนธรรมไทยเดิมที่เป็นไปตามหลักพุทธศาสนามากเข้า ไปยึดวัฒนธรรมตะวันตกใหม่ ๆ ที่ไกลหลักพุทธศาสนามากเข้า ปัญหาที่คนไทยเรานี่จะบ้ามากขึ้น จะวิกลจริตมากขึ้น จะเป็นโรคเส้นประสาทมากขึ้น คุ้มดีคุ้มร้ายมากขึ้น จนเต็มไปแต่คนคุ้มดีคุ้มร้ายก็ได้ ระวังก็แล้วกัน หลงไอ้วัฒนธรรมที่ส่งเสริมความยึดมั่นถือมั่น ดั้งเดิมของเราทำไว้ดี จนไม่ต้องรู้สึกว่า เป็นไปเพื่อทำลายความยึดมั่นถือมั่นอยู่ในตัวขนบธรรมเนียม ประเพณีนั้นเอง ไม่ต้องศึกษา ไม่ต้องรู้สึกก็ได้ ไอ้ขนบธรรมเนียมประเพณีมันช่วยทำให้ไม่ยึดมั่นถือมั่น ให้ยึดมั่นถือมั่นแต่น้อย ให้ละความยึดมั่นถือมั่นได้โดยเร็ว มันอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดี เรียกว่า วัฒนธรรมไทยที่ดี ที่ตั้งรากฐานอยู่บนพุทธศาสนา การไม่โกรธ การให้อภัย การดับความร้อนในใจ การว่าช่างมันเป็นไปตามกรรม อะไรอย่างนี้ ล้วนแต่ว่าตัดความทุกข์ โดยวิธีที่ให้มันออกไปได้ง่ายๆ ทั้งนั้น เดี๋ยวนี้เราไม่คิดกันอย่างนั้น ไม่ชอบอย่างนั้น ทางที่รุนแรง ทำให้รู้สึกรุนแรงในทางอารมณ์ ทางไอ้ความสุขทางวัตถุ ทางเนื้อ ทางหนัง ถ้าไม่ได้นี้ก็ตายดีกว่า ครั้นจะตายนี่มันก็เลยเป็นบ้าบ้าง เป็นโรคเส้นประสาทบ้าง คุ้มดีคุ้มร้ายบ้าง สิ่งที่เสียหายอย่างยิ่ง อ้า, เป็นโชคร้ายอย่างยิ่ง แก่พุทธบริษัทชาวไทยเรา วัฒนธรรมใหม่เพิ่งมีมา วัฒนธรรมส่งเสริมความยึดมั่นถือมั่น ต่างกับแบบเดิม วัฒนธรรมเดิม ซึ่งบรรเทาความยึดมั่นถือมั่นอยู่เรื่อย สอนให้เด็กๆ ให้อภัย สอนให้เด็กๆ ไม่เป็นทุกข์ ไม่ต้องร้องไห้ ให้ปลงได้เหมือนผู้ใหญ่ที่เขาสอน ก็มีความสบาย ความสดชื่นแจ่มใส คิดนึกดูอย่างที่ผมว่า ว่าความไม่ยึดมั่นถือมั่นคำเดียวเท่านั้นแหละ เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เป็นของจริงที่จะ ดับทุกข์ได้ ที่เราควรจะรู้ แต่แล้วก็เป็นของจริงที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นอีกเหมือนกัน เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว มันมีผลอะไรขึ้นมาแล้ว จะไปยึดมั่นถือมั่น อันนั้นเข้าอีกมันก็กลายเป็นของไม่จริง เป็นของทุกข์ เป็นความทุกข์ขึ้นมาอีก จิตใจที่ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ก็อยู่ด้วยสติปัญญา ทำ ทำตามที่สติปัญญาจะบอกว่า ควรจะทำอะไร ควรจะทำอย่างไร คนเราไม่เหมือนกันนี่ เกิดมา ไม่เหมือนกัน สติปัญญาก็ไม่เท่ากัน สมรรถภาพก็ไม่เท่ากัน ต้องทำอะไรด้วยกันทุกคนนะ มันอยู่นิ่งไม่ได้ตามธรรมชาติ ฉะนั้น ทำให้พอดี พอเหมาะกับสติปัญญา กำลังกาย กำลังใจ โดยไม่ต้องยึดมั่นถือมั่น ถือมั่นเมื่อไรเป็นทุกข์เมื่อนั้น ถือมั่นแล้วมันเป็นสังขารขึ้นมาทันที ปรุงแต่งเพื่อเกิดความทุกข์ขึ้นมาทันที ไม่ยึดมั่นถือมั่น มันก็ยังเป็นธรรมชาติเงียบๆ อยู่ตามเดิม เป็นขันธ์ล้วนๆ ไม่มีความ อ้า, ไม่มีอุปาทานเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ก็ยังไม่มีความทุกข์ อุปาทานเกิดขึ้น ก็มีความทุกข์ทันที พุทธศาสนาแท้ต้องเป็นไปเพื่อความไม่ยึดมั่นถือมั่น ตั้งแต่ต้นจนปลาย มีอันไหน ส่วนไหนที่จะต้องส่งเสริมความยึดมั่นถือมั่น ยึดมั่นถือมั่นในพระพุทธ ในพระธรรม ในพระสงฆ์นี้ ก็มีปัญหาที่คนจะเข้าใจไม่ได้ โดยเนื้อแท้แล้ว พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ยึดมั่นถือมั่นนั้น ไม่ใช่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง เป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั่วคราว มายา แต่ว่าก็เป็น มายาที่ดึง ดึงให้ไปหาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง คือไม่ยึดมั่นถือมั่น เพราะฉะนั้น ความยึดมั่นถือมั่นในบุญกุศล ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี่คือมายา ที่ดึงไปหาความจริงที่ ไม่ยึดมั่นถือมั่น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่แท้จริง ต่อภายหลังนะ เราตั้งต้นกันที่ว่าให้คนเหล่านี้โง่ นี้มันถูกที่สุด เพราะว่าคนเหล่านี้ ทั้งหมดนี้ ยึดมั่นถือมั่นมาแต่เดิม ตัดความยึดมั่นถือมั่น กันเสีย อย่าไปยึดมั่นถือมั่นไอ้ที่มันเลวนัก ยึดมั่นถือมั่นที่จะนำไปสู่ความไม่ยึดมั่นถือมั่น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั้นเป็นเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่เขาไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น จะยึดพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นของดี เป็นของที่จะช่วยให้ได้นั่นได้นี่ไปก่อน แล้วก็เมื่อเข้าใกล้ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้ว มันก็ค่อยรู้เรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่น ในที่สุดก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรเลย พระธรรม พระสงฆ์ ในความยึดมั่นถือมั่นนั้นเป็นมายามากเกินไป พระธรรม พระสงฆ์ จริงก็เรียกว่า ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้อยู่แล้วเหมือนกัน ก็เป็นมายาอีกแบบหนึ่ง เป็นอนัตตา สุญญตา อีกแบบหนึ่ง แต่พระสงฆ์ อ้า, อันแรกที่คนถือด้วยความยึดมั่นถือมั่น นี่เป็นมายา อย่างยิ่ง แต่มีประโยชน์ ดึงเข้าไป ดึงเข้าไป ไปหา ไอ้ความไม่ยึดมั่นถือมั่นในที่สุด ลิง รูปลิงข้างประตูนั่น ไปดูบ่อยๆ ที่จะเอาพระจันทร์ในน้ำ แล้วก็เหนี่ยวกิ่งไม้อยู่เสมอ มันเหนี่ยวอันนี้อยู่ก่อนยึดมั่นถือมั่น สิ่งนี้อยู่ก่อน แล้วก็มองไปยังสิ่งอื่นใหม่ข้างหน้าโน้น เพื่อยึดมั่นถือมั่นให้ดีกว่า เปลี่ยนความยึดมั่นถือมั่นให้ดีกว่า ยึดมั่นถือมั่นหรือสิ่งที่อยู่ในความฝัน ความยึดมั่นถือมั่นนี้เป็นมายา เหมือนพระจันทร์ที่อยู่ในน้ำ ไม่ใช่พระจันทร์แท้จริงอะไร ดีกว่าที่จะยึดมั่นของเก่า ซึ่งเลวกว่า จึงสอนๆ สอนด้วยเจตนาให้ยึดมั่นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้ยึดมั่นบุญ กุศล ยึดมั่นอะไรต่าง ๆ ที่ควรจะยึดมั่น ทีนี้เมื่อได้ยึดมั่นกันมานานจนเมื่อยมือเหมือนลิงตัวนั้นแล้ว มันก็ควรจะเปลี่ยนบ้าง ดีกว่า ดีกว่า ดีกว่า นั่นนะ คือเปลี่ยนไปหาความไม่ยึดมั่นถือมั่น เพราะว่าอันสุดท้ายที่ดีที่สุดคือ ความไม่ยึดมั่นถือมั่น พระพุทธ พระธรรมจริง พระสงฆ์จริง อะไรขึ้นมา มันเป็นความไม่ยึดมั่นถือมั่น พระธรรม พระสงฆ์ ในความยึดมั่นถือมั่น นั้นเป็นมายา เป็นภูเขาหิมาลัย ถูกเขาว่า เขาด่า เขาจะจับเป็นคอมมิวนิสต์ก็เพราะว่า ไปว่าพระพุทธเจ้าในทัศนะของบุคคลนั้น เป็นภูเขาหิมาลัย สำหรับบุคคลนั้น ก็เหมือนกันนะ เรื่องเดียวกัน สิ่งใดในทัศนะของบุคคลผู้มีความยึดมั่นถือมั่น นั้นเป็นภูเขาหิมาลัย พระพุทธ พระธรรมก็ตาม พระสงฆ์ก็ตาม บุญกุศลก็ตาม ในทัศนะของบุคคลผู้ยึดมั่นถือมั่นนั้นเป็นภูเขาหิมาลัย กันคนไม่ให้ถึงของจริง แรกๆ เกิดมา อ้า, ไม่รู้ ไม่รู้อะไรมาแต่ในท้อง แต่ก็ค่อยๆ ยึดมั่นถือมั่นเป็นขึ้นมาตามลำดับ ยึดมั่นถือมั่นที่ถูกกว่า ที่ดีกว่า ที่ถูกกว่า ที่ดีกว่าไม่ใช่จะให้เลิกความยึดมั่นถือมั่นทีเดียวได้ มาถึงแก่ ถึงวัยชรา อายุมาก หรือว่าบวชเรียนมาหลายพรรษา มามากเข้า มันก็ควรจะรู้มากกว่านั้น คือรู้จักหนทางว่าจะไปข้างไหนกันโว้ย จากที่ไหน จะไปที่ และจะไปที่ไหน ไปปลายทางที่ไหนก็ควรจะรู้กันบ้าง รู้อยู่แล้วว่าตั้งต้นที่ความยึดมั่นถือมั่น ด้วยความโง่เขลาออกมาแต่ทีแรก แล้วก็เปลี่ยนความยึดมั่นถือมั่นมา ในทางที่จะให้ยึดมั่นถือมั่น น้อยลง น้อยลงๆ ไปจบกันที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรเลย ที่ว่าปลายทางเป็นนิพพาน นี้ก็ไม่ใช่ ไม่ใช่อะไรที่จะผิด ผิดกันอย่างที่ว่า เอ่อ, จนต้องใช้ ว่าอันหนึ่งเป็นของเท็จ อันหนึ่งเป็นของจริง มันก็จริงด้วยกันทั้งหมด จริงสำหรับทุกข์ จริงสำหรับไม่เป็นทุกข์ แต่ทั้งสองฝ่ายนั้นก็ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นมายาด้วยกัน ไปยึดมั่นถือมั่นไม่ได้เพราะเป็นมายาด้วยกัน จิตจึงจะเป็นอิสระเรียกว่า หลุดพ้น หลุดพ้น ไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน ฉะนั้น จึงอยู่เหนือความรู้สึกว่า จริง หรือ ไม่จริง นี่คุณไปคิดดูเถิด ในขณะที่เป็นพระอรหันต์นั้นจะเป็นความรู้สึกที่อยู่เหนือ การบัญญัติว่าจริง หรือว่าไม่จริง เพราะทั้งหมด จริงก็ไม่เอา ไม่จริงก็ไม่เอา คือไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรทั้ง ๒ ฝ่าย เพราะฉะนั้นจิตจึงไม่หาว่า อะไรจริง อะไรไม่จริง หาอะไรที่ว่าโลกกลม หรือโลกแบน สำหรับพระอรหันต์ คนละเรื่องกันต่างหาก โลกแบนก็จริง โลกกลมก็จริง จริงคนละแบบ เหมือนกับที่ว่า ไอ้กาขาว นกยางดำ นี่มันก็จริง กาดำ นกยางขาว นี้มันก็จริง แต่มันจริงคนละแบบ อยู่เหนือ เหนือดำ เหนือขาว ไม่มีดำ ไม่มีขาวนั้นนะ จึงจะเรียกว่า จริงกว่าที่สุด แต่แล้วก็ไม่พ้นที่ว่า ว่างที่สุด ซึ่งเป็นอนัตตาที่สุด เป็นว่างไปที่สุดเลย ที่จะพูดว่าจริงหรือไม่จริงอีกตอนนี้ ยังอยากจะดีไม่อยากจะชั่วอยู่ ปัญหามันก็มี แต่ถ้าเรารู้ว่ามัน มันมายาด้วยกัน ปัญหามันก็หมด ทั้งดีและทั้งชั่ว ก็ทำอะไรไปตามที่มันควรจะทำ ตามที่มันควรจะเป็นไปจนกว่าจะสิ้นชีวิตนี้ ว่าดีว่าชั่วนี้ อะไรควรทำก็ทำก็แล้วกัน ที่ว่าดีว่าชั่วนั้นเป็นสมมติ คนชาวบ้าน คนชาวโลกเขาสมมติ อะไรไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ก็เรียกว่า ดีแหละ อะไรเบียดเบียนตนก็เรียกว่าไม่ดีก็แล้วกัน ทีนี้ถ้าว่าดี แล้วมาทำให้เป็นห่วงวิตกกังวลอยู่ มันก็ใช้ไม่ได้ ชื่อสิ่งนั้นว่าบุญ ว่ากุศล หรือ ว่าอะไรมันใช้ไม่ได้ทั้งนั้นแหละ ถ้ามาทำให้เป็นห่วง วิตกกังวล หม่นหมอง ทุกข์ร้อน นอนไม่หลับ อยู่นั้นใช้ไม่ได้ ถ้าดีจริงต้อง ไม่เบียดเบียนผู้นั้น ต้องไม่ทำให้ผู้นั้นวิตกกังวล เดือนร้อนอยู่ จึงจะเรียกว่าดี แล้วก็ไม่ทำให้ผู้อื่นพลอยลำบากเดือดร้อนด้วยนั้นนะจึงดี ดี ถูกต้องตามสมมติว่าดี วิตกกังวล เป็นทุกข์อยู่ มันก็คือ ชั่ว คือบาป ที่เรียกว่าปุถุชน มากเกินไปก็ ไม่รู้เรื่องนี้ แล้วก็ทำสับสนกันหมด สับสนปนเปกันหมด จนแยกกันไม่ได้ จนปฏิบัติไม่ถูก จนในที่สุดต้องยึดมั่นถือมั่นทั้ง ๒ ฝ่าย ยึดมั่นฝ่าย ฝ่ายบาป ยึด ยึดมั่นถือมั่นฝ่ายบาป หรือฝ่ายชั่วนั้น มาสำหรับกลัว ยึดมั่นถือมั่น ฝ่ายบุญ หรือฝ่ายดี นั้นมาสำหรับอยากจะได้ ก็เลยเป็นคนยึดมั่นทั้ง ๒ ฝ่าย มากเข้าไปอีกหลายเท่า พระพุทธเจ้าท่านสอนในที่สุด ตั้งต้น แต่ตั้งต้นที่สุดไปจนถึงปลายที่สุด ก็คือว่าไม่ยึดมั่นถือมั่น น่ารักก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยความโง่ว่ามันน่ารัก สิ่งใดที่น่าเกลียดก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่ามันน่าเกลียด เพราะว่าไอ้น่ารัก น่าเกลียดนี้มันคือความโง่ ความรู้สึกของความโง่ เหมือนกับว่า ไอ้กาขาว นกยางดำ นกยางดำ กาขาว นี่มัน มันกลับกันอยู่ตรงนี้ ความน่าเกลียดมันกลับไปกลับมากันอยู่ตรงนี้ ในขณะหนึ่งเป็นอย่างหนึ่ง ในขณะหนึ่งเป็นอย่างหนึ่ง สำหรับคนหนึ่งและสำหรับอีกคนหนึ่ง หรือสำหรับสัตว์ อ้า, อีกประเภทหนึ่งนี้ เดี๋ยวนี้ก็เบื่อจะตาย เป็นของเกลียดไป มีสิ่งอื่นมาแทน มันก็กลายเป็นของเบื่อ อยากจะมีสิ่งอื่นมาแทน นี่คือความว่าสิ่งใดเป็นที่รักที่พอใจ สิ่งใดไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจนี้ เป็นเรื่องสมมติอย่างนี้ จริงมันก็จริง จริงคือมายาเท่ากัน จริงคือมายาเท่ากัน ของมายาเท่ากัน เกลียดอะไร อยู่ได้โดยจิตใจ ไม่ต้องรักอะไร ไม่ต้องเกลียดอะไร มาแล้วเคยเกลียดมาแล้วก็จะเห็นได้ว่าเป็นความโง่ มันก็เลิกไปเอง นี่ไม่ลำบากนัก ขอให้เห็นจริงเถิด เห็นจริงมันหมดไปเอง มันไอ้ ความโง่ อ้าว, มันก็หยุดไปเอง นึกอย่างนั้นไปเอง โง่ขึ้นมาใหม่หรือถ้ามันไม่กลับโง่มาอีก มันก็ ก็ไปเลย สิ่งที่จะมาต้องยึดมั่นสำหรับเกลียด ไม่ต้องมีเรื่องอะไรยึดมั่นสำหรับ อ้า, ต้องการ หรือ จะเอา บาป กระทั่งบุญ ทั้งดีและทั้งชั่ว ทั้งสุขและทั้งทุกข์ ไม่ต้องกลัว สุขก็ไม่ต้องอยาก วันหนึ่ง วันหนึ่ง ตามที่น่า อ้า, ธรรมชาติมันกำหนดไว้สำหรับให้เป็นหน้าที่ของเรา ทำไปตามที่ธรรมชาติมันกำหนดไว้สำหรับให้เป็นหน้าที่ของเรา ทำไปแล้วทุกข์ไม่เกิดขึ้น สดใส ตลอดเวลา จนกว่าร่างกายนี้จะแตกดับ สุดกันเท่านั้น การอะไรมันก็สิ้นสุดแล้วตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องพูดถึงชาติหน้า ชาติหน้าโน้นหรอก ถ้าไม่ต้องการทั้งบุญทั้งบาปแล้วมันสิ้นสุดกันแต่ตรงนี้ที่นี้ เวลานี้แล้วนาทีนี้ วินาทีนี้ นี้ไม่ใช่ อุจเฉททิฏฐิ ไม่ใช่นัตถิก นัตถิกทิฏฐิ ซึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่ อ้า, เป็นมิจฉาทิฏฐิ นัตถิกทิฏฐิ นั้น มันคือ ไม่มีอะไร ว่างอย่างไม่มีอะไร อะไรก็ไม่มีเลยนั้น แก้ตัวสำหรับให้กิเลส ทำอะไรตามชอบใจกิเลส อย่างนั้นเขาเรียกว่าเป็น มิจฉาทิฏฐิ อย่างนี้ ความว่างอย่างนี้มันเล่นงานกิเลส มันเผากิเลส ไม่ใช่มิจฉาทิฏฐิ เพราะมันเล่นงานกิเลส ส่วนความว่าง หรือพูด พูดว่าว่าง หรือเข้าใจโง่ ๆ ไปว่าว่าง แล้วเปิดช่องให้กิเลสทำอะไรตาม ราคะ โลภะ ตามอะไรนี้ อย่างนี้ ไอ้ความว่างอย่างนี้ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิบ้าง เรียกว่า นัตถิกทิฏฐิบ้าง อย่างไม่มีอะไรเลย ไม่มีเรื่องราวอะไรเลย ไม่มีความหมายอะไรเลย ปฏิบัติอะไรก็ไม่ได้ ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิเหมือนกัน เพราะว่างหรือมายา หรืออนัตตา หรือสุญญตา เพื่อกำจัดกิเลสเสียอย่างนี้ ความว่างอย่างนี้ อ้า, ไม่ใช่มิจฉาทิฏฐิ แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่เข้าใจหรือไม่ได้ยินได้ฟังก็เข้าใจ หรือได้ยินได้ฟังกันเสียทุกคนว่าคำคำหนึ่งมีทั้งที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ และสัมมาทิฏฐิ เช่นคำว่า สุญญตา ความว่างนี้ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิก็มี ที่เป็นสัมมาทิฏฐิก็มี ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ก็คือสุญญตาในพุทธศาสนา อยู่ในพุทธศาสนา สุญญตาที่เป็นมิจฉาทิฏฐิก็คือ ที่สอนอยู่นอกพุทธศาสนา บางศาสนา บางนิกาย บางลัทธิก็มี อย่าไปว่าเขาเลย เราไม่จำเป็นต้องไปรู้เขาก็ได้ สอนผิดสอนถูกอยู่ที่ไหนไม่ต้องรู้ก็ได้ แคบๆ จำเป็น เท่าที่จำเป็นที่จะดับทุกข์ของเรา นี้คือจิตมองเห็นว่าไม่มีอะไรที่จะยึดมั่นถือมั่นได้ แล้วจิตนี้ก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร ก็เป็นจิตที่ว่างอยู่ ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดมั่นถือมั่นเท่านั้นแหละ สภาพเดิมแท้ของจิต คือสติปัญญานั้นก็มีอยู่ จิตไม่ได้เพราะความยึดมั่นถือมั่น ตัดเรื่องยึดมั่นถือมั่นออกไป มันก็ทำผิดอีกไม่ได้ มันมีแต่ทำถูก ตามสติปัญญาเท่านั้น ความรู้เพียงข้อเดียวเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่นนี้ เป็นทั้งหมดของพุทธศาสนา คือเป็นตัวพุทธศาสนาทั้งหมด หรือจะเรียกว่าเป็นหัวใจของ พุทธศาสนาทั้งหมดก็ได้ทั้งนั้น มีไว้สำหรับทำอะไรไม่ให้เป็นทุกข์ ความรู้อย่างอื่นนั้น เช่นเรื่องโลกแบน โลกกลมนั้นนะ มันเป็นเรื่องที่จะไปทำกับมนุษย์ต่อมนุษย์ เพื่อมนุษย์อะไรนั้นต่างหาก ถ้าเรารู้เรื่องโลกกลมไปทำกับเพื่อนมนุษย์กันได้ก็ทำ ก็พูด ก็ถือว่าโลกกลมไปปฏิบัติงานกันให้มันร่วมกันได้ ให้เป็นประโยชน์แก่กันได้ก็แล้วกัน ความรู้อื่นๆ ที่เราเรียน ความรู้อื่นๆ นอกจาก พุทธศาสนา นอกจากหลักธรรมะในพุทธศาสนาที่เราเรียนกันมากมายนั้น ก็เพื่อว่าเราจะทำกับคนอื่นได้นะ ต่างๆ ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ เหมือนจะไม่ต้องการอะไร ต้องการเพียงเท่าที่จะหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องนี้มันก็ง่ายนิดเดียว มากเกินไปแล้ว หากินก็ได้ ทำสวนก็ได้ ค้าขายก็ได้ เป็นข้าราชการในอันดับต้นๆ ก็มีเงินพอกิน พอใช้แล้ว สติปัญญาที่มันยังเหลืออยู่ที่จะทำให้มากออกไปนั้น ก็เพื่อประโยชน์ผู้อื่นทั้งนั้น ทำอะไรให้มากออกไป ทำสวนให้มากออกไป ทำราชการให้มากออกไป หรือทำอุตสาหกรรมให้มากออกไปนั่นแหละ อย่าเผลอ ถ้าเผลอทำไปด้วยความยึดมั่นถือมั่นแล้ว มันก็คือขุดหลุมฝังตัวเองในความทุกข์ ทำประโยชน์ผู้อื่นเสียบ้าง ภาพ ๑๐ รูป ที่เขียนไว้ตรงข้างหลังจอ ตรงนั้นดีมาก พอว่าง ว่างไม่มีตัวไม่มีตนเป็นวงกลมศูนย์แล้วทีนี้ก็ เกิดใหม่ ผลิหน่อใหม่ออกมา เป็นผู้เที่ยวจุดตะเกียงส่องให้คนอื่น เอาของเที่ยวแจกคนอื่น ควรจะเป็นอย่างนั้น เรามันหมดแล้วเรื่องความต้องการ ไอ้ที่เหลืออยู่ ชีวิต แรงงานที่เหลืออยู่ก็เพื่อคนอื่น ครอบครัวนั้นถ้าไปมีเข้า ถ้าเผอิญไปมีเข้า มันก็เป็นเรื่องที่ว่าจะช่วยกันสืบต่อกิจการอันนี้ของมนุษย์ให้มันเป็นไปอย่างถูกต้อง ถ้ามีเหลนมีอะไรก็เพื่อว่ารักษาไอ้ความรู้อันประเสริฐของมนุษย์นี้ไว้ ในมนุษย์ ให้อยู่ อ้า, ไปตลอดกาล ทำให้ ให้ธรรมะมีอยู่ในโลกนี้ตลอดกาลก็ได้ คนต้อง ต้องรู้ ต้อง ต้องมีธรรมะ ต้องประพฤติธรรมะ ทั้งลูก ทั้งหลาน ทั้งเหลนนั้นต้องเป็นไปในแนวของ ธรรมะหมด จึงจะชื่อว่ามีผู้สืบพันธุ์อยู่เพื่อทำให้โลกนี้มีธรรมะอยู่ตามเดิม เรื่องอันประเสริฐ เรื่องธรรมะอยู่ตามเดิม อย่างมีพระเจ้าในศาสนาพวกมีพระเจ้าก็ว่า ให้พระเจ้ายังคงปรากฏอยู่ ในโลกนี้ตามเดิม ก็มีคนถึงพระเจ้าอยู่เรื่อย ตายไปลูกมันออกมา มันก็ถึงพระเจ้าอีก หลานมันออกมาก็ถึงพระเจ้าอีก เหลนมันออกมาก็ถึงพระเจ้าอีก รู้ว่ามีการถึงพระเจ้าอยู่ แล้วก็ไม่มีความทุกข์เลยในเรื่องครอบครัว ในเรื่องอะไรต่างๆ โง่กันทั้งโขยง ทั้งพ่อ ทั้งแม่ ทั้งลูก ทั้งหลาน ทั้งเหลน เกิดมาเพื่อความสุขทางเนื้อ ทางหนัง เอร็ดอร่อย ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ด้วยความยึดมั่นถือมั่นเหลือประมาณเหลือที่จะกล่าวได้ ว่ายึดมั่นถือมั่น อะไร เกิดมาสร้างนรก สร้างโลกนรกให้เต็มไปด้วยนรกที่มองเห็นบ้าง มองไม่เห็นบ้าง เป็นไฟอยู่เรื่อยทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน แล้วมากขึ้น มากขึ้น ไม่ได้มีทายาทอยู่เพื่อสืบศาสนา หรือสืบธรรมะอะไรเลย แต่ว่าสืบนรก สืบกิเลส สืบนรก ที่เผาผลาญ เผาลนให้มีอยู่ในโลกนี้อย่าให้รู้จักสิ้นสุดได้ มันจะเป็นเสียอย่างนี้ อย่างนี้ไม่มีดีกว่า มีครอบครัวกับเขาสักทีก็ให้มันเป็นเรื่องสืบความมีอยู่ในของธรรมะ ความเยือกเย็นเป็นนิพพานยังคงมีอยู่ในโลกนี้ เรื่องนี้แม่ก็รู้เรื่องนี้ ลูกก็รู้เรื่องนี้ หลานก็รู้เรื่องนี้ เหลนก็รู้เรื่องนี้ แล้วก็สืบต่อ ต่อๆ กันไป มันก็เป็นโลกที่น่าอยู่ น่าดู โลกของมนุษย์ที่มีราคา มีความหมาย ตรงกันข้ามเป็นไปในทางโง่ หลับตายิ่งขึ้นทุกที ไปยึดมั่นถือมั่น แต่ความสุขทางเนื้อ ทางหนัง แล้วมันก็สืบนรกไว้อย่าให้ขาดสายได้ น่าดู นั้นมันไม่ใช่เงื่อนต้นของพรหมจรรย์ มันไปยึดมั่นถือมั่น มากขึ้นๆ ถ้าอยู่กันด้วยสติปัญญา ให้โลกนี้เยือกเย็นไปด้วยธรรมะนี้ เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์จริงไปเพื่อให้มนุษย์ไม่ต้องมีความทุกข์ ทางโน้นก็เป็นของจริงที่จะทรมานมนุษย์ ให้เป็นทุกข์ไม่มีที่สิ้นสุด ของจริงด้วยกัน จะว่าใครไม่จริงก็ไม่ได้ มันจริงแท้ด้วยกัน นี่จริงเป็นอย่างนี้ ในที่สุด มามองสรุปท้ายว่า ทั้ง ๒ จริงนี้ ก็เป็นมายา อย่าไปยึดมั่นถือมั่นเลย คือถึงขีดสูงสุด ขีดพระอรหันต์ หรือขีดนิพพานโดยสมบูรณ์นี่ จบลงที เหนืออะไรหมด เหนือดับทุกข์ เหนือทุกข์ เหนือดี เหนือชั่ว เหนือบุญ เหนือบาป เหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือทุกอย่าง ที่สุดของพรหมจรรย์ อยู่ที่นี่ ต้นของพรหมจรรย์ก็อยู่ที่ว่าปฏิบัติ เพื่อความไม่ยึดมั่นถือมั่น รู้แล้วก็ปฏิบัติเพื่อความ ไม่ยึดมั่นถือมั่นเรื่อยไปเป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ แล้วก็ไปจบลงที่นิพพาน คือหมดความยึดมั่นถือมั่น รู้จักแยกว่าเงื่อนต้นของพรหมจรรย์นั้น คือความจริงเท่าที่มนุษย์จำเป็นจะต้องรู้ ไม่ใช่เงื่อนต้นของพรหมจรรย์คือความจริงที่เหลือเฟือที่ไม่ต้องรู้เลย ไม่จำเป็นจะต้องไปรู้ ไม่จำเป็นจะต้องไปสนใจ เราไม่มุ่งหมายเอาแต่ที่ว่าเป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เราก็เปิดกว้างจะเอาหมด ฉะนั้น การศึกษาเล่าเรียนของพระ ของเณร จึงพร่าไปหมด ไอ้เรื่องบ้าๆ บอๆ เรื่อง โลกๆ มากออกไป มากออกไป ว่าจะไปเผยแผ่พุทธศาสนานี่อย่างนี้ ไปยึดมั่นถือมั่นโดยตรงนี้ไม่รู้ไม่เรียนไม่สนใจ จำไว้แต่ว่าคำพูดคำหนึ่งในพระคัมภีร์เท่านั้นไม่รู้ว่าเป็นอะไร เรียนเรื่องยุ่งๆ บ้าๆ บอๆ เรื่องมิจฉาทิฏฐิ เ มากมายหลายร้อยหลายสิบแขนงเรื่องปรัชญา เรื่องโลก เรื่องอะไรต่างๆ ว่าจะไปทางไหนกัน ทั้งหมดนั้นไม่ใช่เงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ที่จะไปเป็นธรรมทูต ไปเผยแผ่ศาสนานั้นเป็นพวกไปพ่นน้ำลายเท่านั้นเอง ไม่มีความหมายอะไร น้ำลายไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีสาระอะไร ไม่สนใจเรื่องไม่ยึดมั่นถือมั่น ตรงนี้ ก็รู้เรื่องอะไรมากมายไม่มีที่สิ้นสุด เดินไกลนอกทางออกไปทุกทีๆ ทุกทีๆ นั้นนะ นี่มันไม่ใช่ธรรมทูต ทูตของธรรม นี่มัน ทุกขทูต ทูตของความทุกข์ เป็นทูตของนรก ของยมบาล ที่จะทำให้โลกนี้มันมีความทุกข์มากขึ้นกว่าเดิม เพราะมันทำให้ฟั่นเฝือยุ่งยากมากขึ้นกว่าเดิม มันเป็นทุกขทูต ทูตที่จะไปแจกจ่ายความทุกข์ให้ทั่วโลก ให้เรียกว่า ธรรมทูตไม่ได้ เขาก็ว่าเราเป็นพระป่าบ้าๆ บอๆ แถวนี้ จึงไม่ยึดมั่นถือมั่นในฐานะเป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ แล้วก็ปฏิบัติเรื่อยไป เรื่อยไป อ้า, จนถึงปลายทางสุดของพรหมจรรย์คือไม่มีทุกข์เลย คือว่าง ถึงขนาดที่จะไม่พูดว่าจริงหรือเท็จ พูดว่าดีหรือชั่ว ไม่พูดว่าอะไรหมด หุบปากเลย นั่นนะคือว่าง ซึ่งก็คือน่าสงสาร พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ยึดมั่นในความจริง แล้วโอ้อวดความจริงอะไร แต่ท่านก็ต้องสอนนะ สอนเรื่องความจริง ที่บางคนที่มาค้นคว้าความจริงได้แล้วก็มองเห็นว่านี้ความจริง แล้วก็เต้นแร้งเต้นกา ตะโกนว่าความจริงโว้ย คนนั้นมันบ้าที่สุด นอกจากเรื่องความดับทุกข์ กับ กับไม่ดับทุกข์นะ การทำให้ทุกข์มันมีอยู่ หรือความดับทุกข์เสียได้ มันก็มีเท่านั้น จริงเท่านั้น ปฏิบัติอย่างไรลงไปมันก็จริงอย่างนั้น ความสุขที่มันเกิดขึ้นแล้ว เป็นนิพพานแล้ว ก็ยังยึดถือไม่ได้ ฉะนั้นมันก็หุบปากเสียดีกว่า ปล่อยไป มันก็ชวนให้ยึดมั่นถือมั่นในแง่ใดแง่หนึ่งต่อไปอีก หากว่าเราจะเป็นธรรมทูต ไปพูดกันไม่กี่คำหรอก มันก็สิ้นเรื่อง ธรรมทูตเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้าต่างประเทศนั้นนะ พูดกันไม่กี่คำเท่านั้น มันก็หมดเรื่อง ถ้าพูดเรื่องนี้ พูดกันไม่กี่คำมันจะหมดเรื่อง ที่มีประโยชน์ด้วย คือจริงด้วย มีประโยชน์ด้วย แล้วไปสู่ความว่าง อันสูงสุดด้วย เตรียมเรียน เตรียมพูด เตรียมสอน เหมือนที่เขาทำๆ กันอยู่นั้นนะ ให้ทำสักกี่ชาติ กี่ชาติ ก็ไม่ ไม่ถึงความจริงหรือไม่ถึงความดับทุกข์ มันก็ตายเปล่า การจะเป็นธรรมทูตก็พยายามศึกษาข้อนี้ ข้อไอ้ไม่ยึดมั่น ถือมั่นให้เข้าใจให้ดี แล้วไปพูดกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเพียงไม่กี่คำ เขาก็เข้าใจ เข้าถึงตัว พุทธศาสนาได้ มีพระพุทธ มีพระธรรม มีพระสงฆ์ มีศีล สมาธิ ปัญญาอย่างแท้จริงขึ้นมา พรึบเดียวหมด คราวเดียวหมด พรึบเดียวหมด ด้วยการพูดกันเพียงไม่กี่คำ มาตั้งมากมาย ตั้งชั่วโมง ตั้งอะไรนี้ก็เพื่อให้รู้สักคำหนึ่งว่า อะไรเป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ อะไรไม่ใช่เงื่อนต้นของพรหมจรรย์ จำไว้ให้ดีๆ ว่าเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ คือหนทางที่จะไปสู่ความดับทุกข์ได้ นี่เรียกว่า พรหมจรรย์ ต้นของมันก็คือ เริ่ม เริ่มศึกษาและปฏิบัติในทางที่จะไม่ยึดมั่นถือมั่น พูดกันในเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่น เรื่องของพรหมจรรย์ แล้วเถียงกันว่า อะไรเป็นอะไร อะไรเป็นอะไร โลกกลม หรือโลกแบน ตายแล้วเกิดหรือไม่เกิด อะไรไปเกิด อะไรไม่ไปเกิดนี่ อย่าไปมัวเถียงกัน ในเรื่องอย่างนั้น เงื่อนต้นของพรหมจรรย์มีมากมายหลายสิบแห่งในพระไตรปิฎก ที่พระพุทธเจ้าท่านตัดบทว่า อ้าว, นี่ไม่ใช่เงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ฉันไม่พูด นี่มีอยู่มากมายหลายสิบแห่ง แล้วก็ชักชวนมาพูดนี้ พูดว่าตัณหา อุปาทานนี่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ พูดทุกวัน ทุกวัน ก็จงมีการปฏิบัติที่ถูกต้อง ๘ ประการนี้ ไม่เกิดตัณหา อุปาทานขึ้นมาได้ แล้วก็หมดเท่านี้ เรื่องมันหมดเท่านี้ มันจบเสียเลย มันหมดๆ หมดความหมายไปเลย อยากจะให้เป็นธรรมทูต ไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ให้ๆ ให้ไอ้พื้นที่วัด ภูเขา ต้นไม้ ก้อนดินก็เป็นธรรมทูต ว่าไม่ควรยึดมั่นถือมั่นโว้ย รูปเขียน รูปปั้น รูปสลักอันนี้ก็จะให้สอนเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่นโว้ย พูดจาลงไปบ้าง ขึ้นบนธรรมาสน์บ้าง เขียนหนังสือพิมพ์ลงเป็นตำรับตำราบ้างก็จะพูดแต่เรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่นเท่านั้นแหละ ให้มันละเอียดลออพิสดารออกไป พูดทุกๆ บรรทัด ทุกๆ คำพูดให้มันเป็นเรื่องไปในความไม่ยึดมั่นถือมั่น อานาปานสตินั้นคือ ทำความไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก โดยวิธีตั้งแต่ระดับแรกจนกระทั่งสูงสุด ไม่มีเรื่องอื่นเลย เป็นอานาปานสติตามแบบของพระพุทธเจ้า คิดถึงเรื่องสนุกสนาน เอร็ดอร่อย ทางเนื้อทางหนังอยู่ทุกลมหายใจเข้าออกมันก็เป็นอานาปานสติเหมือนกัน ไม่ใช่ไม่เป็น เป็นอานาปานสติเหมือนกัน แต่เป็นอานาปานสติของพวกยักษ์พวกมาร พวกกิเลส พวกซาตาน พวกที่จะทำให้เป็นทุกข์ อานาปานสติก็ต้องเลือก รู้จักเลือกที่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ อย่าให้มันเป็นเรื่องถอยห่างไปจากพรหมจรรย์ อานาปานสตินั้นหมายความแต่เพียงว่า นึกถึง หรือกำหนดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ทุกลมหายใจเข้าออกเท่านั้น เท่านั้นให้เป็นไปเพื่อไม่ยึดมั่นถือมั่น มันก็เป็นอานาปานสติของเราพุทธศาสนา ทำให้ยึดมั่นถือมั่นมากขึ้น ทำให้ทุกข์มากขึ้น ก็เป็นของพวกอื่น สติ มีสติ มีสติ พูดกันอยู่ทั่วไปหมด มีสติ มีสติ อะไรกันแน่ ที่ถูกต้องก็ต้องเป็นสติที่ไม่เผลอ ไปยึดมั่นถือมั่นอะไรเข้า ใช้ได้เสมอ ถ้าอย่างนี้ก็เรียกว่าเราอยู่ในเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ อยู่ตลอดเวลา ทุกเวลานาที อยู่แต่ในร่องในรอย ในทางของพรหมจรรย์ ไหลเลื่อนไปตามร่อง ตามรอยของพรหมจรรย์ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าอยู่กันโดยชอบเถิด อยู่กันแต่โดยชอบเถิด โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ หมายความว่าอย่างนี้ สติที่ไม่เกิดความยึดมั่นถือมั่นขึ้นมาได้ เรียกว่า เป็นอยู่ชอบ แล้วโลกก็ไม่ว่างจากพระอรหันต์ เป็นอยู่ชอบได้จริงนะ กิเลสมันผอมลง ผอมลง ผอมลง มันก็ตายเองไม่ต้องไปฆ่า ตายเองเพราะการผอมลง ผอมลง เราตั้งหลักให้ดี อยู่ให้ชอบ ด้วยสตินี้ กิเลส นั้นนะ มันคือฆ่ากิเลสอยู่ในตัว เรามีไอ้อย่างนี้อยู่ แล้วมันก็ทำลายอย่างนั้นไปในตัว นี่ตามธรรมชาติ ตามกฎของธรรมชาติ โดยฝีมือของธรรมชาติ ไอ้ตัวเราก็คือธรรมชาติ ความคิดนึกของเราก็คือธรรมชาติ กิเลสของเราก็คือธรรมชาติ ความรู้ของเราก็คือธรรมชาติ ควบคุมเราอยู่ก็คือธรรมชาติ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ธรรมชาติก็แล้วกัน ไม่ต้องพูดว่าจริงหรือ ไม่จริง เพราะมันเกินที่จะพูดว่าจริงหรือไม่จริง อันนี้ธรรมชาติ อย่างหนึ่งเป็นอย่างนี้ อย่างหนึ่งเป็นอย่างนั้น เราไปแบ่งเข้า แต่ธรรมชาติเองไม่ได้เป็นอะไร เป็นธรรมชาตินะ ไม่มีขาว ไม่มีดำ ฉะนั้น ไม่มีอะไรที่ขาวหรือดำ ที่ดีหรือชั่ว ที่บุญหรือบาป ที่สุขหรือทุกข์ มีแต่สักว่าธรรมชาติ ที่ยึดมั่น ถือมั่นไม่ได้ ไม่เข้าถึงความจริงข้อนี้ เพราะเราไปติดอยู่ที่ดี ที่ชั่ว ที่บุญ ที่บาป ที่สุข ที่ทุกข์ ที่ดำ ที่ขาว ที่สั้น ที่ยาว ที่หอม ที่เหม็น ที่อร่อย ที่ไม่อร่อย อย่าอยู่แค่นี้เลย ยึดมั่นถือมั่น ไม่ชอบก็ยึดมั่นไว้สำหรับเกลียด ที่ชอบก็ยึดมั่นไว้สำหรับรัก แล้วก็มีแต่ความเกลียดความรัก ความเกลียดความรัก กันเป็นนรกเป็นสวรรค์ เป็นนรกเป็นสวรรค์ ทรมานอยู่ ไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงทั้งนั้น ได้อย่างใจก็เรียกว่าสวรรค์ ถึงคราวไม่ได้อย่างใจก็เรียกว่านรก แล้วมันก็ไม่ ไม่เคยได้แต่อย่างเดียว มันสลับกันอยู่ อย่างใจโดยส่วนเดียวได้ วิธีทางออกก็คืออย่าไปเอามันทั้ง ๒ อย่าง ทีนี้ใจก็ ไม่ต้องการอะไร มันก็เลยได้อย่างใจโดยบริบูรณ์ ให้สมบูรณ์ ความบริบูรณ์ ของความเป็นมนุษย์ หรืออิ่ม พอ มันอยู่ตรงที่ไม่เอาอะไร ไม่เอาอะไรนะได้หมด ไม่เอาอะไรเลยนะได้หมด หมด ไม่กินอะไรเลยอิ่มหมด พระเยซูก็พูดเป็น อย่าว่าแต่พุทธบริษัทเลย อย่าว่าแต่พระพุทธเจ้า พระเยซูก็พูดอย่างนี้เป็น ไปอ่านดูเถิดไบเบิล แล้วจะอิ่มนะ ไม่เอานะได้หมด แต่พวกคริสเตียนเองมันไม่เข้าใจมันจึงไม่ชอบ ไม่ชอบ อ้า, ไม่ชอบคำสอนของพระเยซูในเรื่องเหล่านี้ ไม่สนใจ และไม่ชอบ ก็พูดกันแต่เรื่องเชื่อ เรื่องเชื่อ ก็พูดเป็นอย่างนี้ เล่าจื้อก็เกิดก่อนพระพุทธเจ้า พระเยซูนี้ว่าเกิดที่หลังพระพุทธเจ้า มาเรียนในอินเดียแล้วก็เอาไปพูด อยู่ที่เมืองจีน อยู่คนละมุม แล้วก็เกิดก่อนพระพุทธเจ้า ก็พูดในลักษณะอย่างนี้ เรียกว่าไม่มีอะไรที่เป็นของจริงที่จะไปเอาเข้าได้ ไม่เอาอะไรนะจะได้หมด เล่มเล็กๆ เรียก เต้าเต๋อจิง เท่าฝ่ามือใส่กระเป๋าได้ ไปอ่านดูเถอะ คำสอนเล่าจื้อ จะมีคำพูดเหล่านี้อยู่หลายตอน ก็เลยถือหลักว่าไม่ต้องพระพุทธเจ้าพูด ไม่ต้องใครพูด ให้สติปัญญา มันมองเห็น ว่าอย่างนี้ไม่มีทุกข์แล้วเอาก็แล้วกัน นั่นนะพระพุทธเจ้าพูดด้วย ไอ้ที่เขียนไว้ในพระไตรปิฎกก็ไม่แน่ เพราะว่าใครเขียนเติมลงไปทีหลังก็ได้ ผิดๆ ถูกๆ ก็ได้ มันเขียนเติมได้ในพระไตรปิฎก สติปัญญาของเรา พิจารณาอยู่อย่างนี้ มองเห็นอยู่อย่างนี้ แล้วไม่กล้าไปเอาอะไรเข้านั้นแหละ ไม่กล้ายึดมั่นถือมั่นอะไรเข้านั่นแหละถูกที่สุด พระพุทธเจ้าพูด พระพุทธเจ้าคือเราเอง คือจิตที่รู้สึก รู้อย่างนี้ รู้แจ้งอย่างนี้พูด พระพุทธเจ้าจริงที่มีอยู่ในคนทุกคน เมื่อใดเห็นธรรม เมื่อนั้นเห็นตถาคต เมื่อใดเห็นธรรม เมื่อนั้นเห็นตถาคต เมื่อใดเห็นธรรม เมื่อนั้นเห็นตถาคต อยู่ในบุคคลใด ในบุคคลนั้นก็มีพระพุทธเจ้า เห็นธรรมในบุคคลใด ก็มีการเห็นพระพุทธเจ้าในบุคคลนั้น ได้ยินเสียงธรรมเมื่อไร ก็ได้ยินเสียงพระพุทธเจ้าเมื่อนั้น ในๆ พูดใน อ้า, พูดอย่างสมมติ ก็ในตัวเรานี้แหละ ในกาย ในใจของเรานี้ก็มีพระพุทธเจ้าที่รู้จริงใครหลอกไม่ได้ เข้าใจผิดไม่ได้ จะมีใครมาหลอก มาลวงไม่ได้ ต้องมันเอง ก็อย่างนี้ ยึดมั่นถือมั่นแล้ว เป็นทุกข์แล้ว อย่างนี้ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่น ยังสบายอยู่ คุมสติให้เป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยไป ปฏิบัติให้ดีอยู่ทุกๆ ทุกๆระดับ ทุกๆ ระดับ ทุกลมหายใจเข้าออกก็เป็นอานาปานสติในพุทธศาสนา อานาปานสติที่สมบูรณ์ตลอดสายนั้น เป็นทั้งเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ และเป็นทั้งตรงกลางของพรหมจรรย์ และเป็นทั้งส่วนปลายของพรหมจรรย์ ทุกคนสนใจสิ่งที่เรียกว่าอานาปานสติในพระพุทธศาสนาให้มากๆ เงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ทั้งตรงกลางของพรหมจรรย์ ทั้งตรงปลายของพรหมจรรย์ อานาปานสติผิดๆ ก็มี อานาปานสติในพระไตรปิฎกเองที่ใช้ไม่ได้ก็มี อานาปานสติหางด้วน อย่างอานาปานสติในอนุสสติ ๑๐ นี่อานาปานสติหางด้วน อานาปานสติในมหาสติปัฏฐานสูตรก็อานาปานสติหางด้วน ไม่สมบูรณ์ ที่มัชฌิมนิกาย หรือที่อื่นๆ อีกมากมาหลายสิบแห่งนั้นนะสมบูรณ์ อานาปานสติ ๑๖ขั้นนั้นนะสมบูรณ์ มัชฌิมนิกายก็มีไว้ละเอียดหน่อย ในสังยุตนิกายก็มีทั่วไปหมด ในพระไตรปิฎก ก็ยังมี หวังว่าทุกคนคงจะเข้าใจคำว่า เงื่อนต้นของพรหมจรรย์พอสมควรหรือว่าเต็มที่ แล้วแต่ผู้ฟัง ก็ต้องการให้เข้าใจคำคำเดียวเท่านั้น คำว่าเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ คือ ความจริงที่จำเป็นจะต้องรู้ เลิกได้ เดี๋ยวมืดเดินหกล้มลุกคลุกคลาน หมดแล้ว พระนี้ไม่เป็นไร เขาจะคุยกันอีกเท่าไรก็ได้