แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
พูดถึงเรื่องว่างนี้ พูดกันมา ๑๐ กว่าปีแล้ว ยังไม่กระจ่างเลย เก็บมาพูดได้คราวละเล็กละน้อย ให้เข้าใจมากขึ้น ทุกที ทุกที ว่าง หรือเรื่องว่าง แต่ต้นก็ว่า พระพุทธเจ้าท่านถือว่าเป็นเนื้อหนัง เนื้อ เนื้อตัวของพุทธศาสนา เรื่องความว่าง แล้วก็นี่เป็น (เสียงขาดหาย นาทีที่ 1:07-1:13) ธรรมอยู่ว่าตถาคต ประกาศิตา ตถาคต ประกาศิตา แปลว่า ที่ตถาคต ได้ประกาศไว้ นี่มันก็แสดงว่าเรื่องว่าง หรือเรื่องสุญญตา ที่พวกอื่นประกาศก็มีเหมือนกัน เป็นพวกเรื่อง อุจเฉททิฏฐิ พูดเรื่องไม่มีอะไร เรื่องสูญเปล่า เรื่องว่างชนิดสูญเปล่า คือว่างของ อุจเฉททิฏฐิ ที่พวกอื่นพูด ส่วนว่างที่ไม่ใช่สูญเปล่า คือ เพียงแต่ว่างจากความรู้สึกว่าเรา ว่าของเรา เท่านั้น นี่แหละว่างของพระพุทธเจ้า ที่ในเมืองไทยก็มีการสอนกันผิดๆ เพราะแปลคำนี้ผิด ขนาดนักศึกษาก็ยังหลงผิด ยังฟังมาผิด ไปแปลคำว่าว่าง นี่ว่าสูญเปล่า ไม่ได้อะไร ไม่มีอะไร ถ้าแปล ว่าง ว่าสูญเปล่า แล้วก็ คือ ผิดแน่ พระพุทธเจ้าไม่ได้มีความหมายว่า สูญเปล่า ความหมายว่าง ทีนี้บาลีมันมีคำอธิบาย คำนิยามอยู่วรรคหนึ่ง ว่า ที่ว่าโลกนี้ว่าง ก็เพราะว่าว่างจากส่วนที่ควรถือว่าของเรา ว่าตัวเรา ทีนี้เราพูดใหม่สิ เราพูด ไม่ให้กำกวมได้ พูดว่า ทุกสิ่ง ไม่มีอะไรที่ ควรถือว่าเป็นตัวเรา หรือเป็นของเรา เอาประโยคนี้นะ ทุกสิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งหมด ไม่มีอะไร ที่ควรถือว่าเป็นตัวเรา ว่าของเรา ว่างเสียไม่มีส่วนที่ควรถือว่าเป็นตัวเราของเรา แต่ท่านใช้คำสั้นที่สุดว่า โลกว่าง เพราะไม่ใช่ อัตตา เพราะไม่ใช่ อัตตนียา ว่างเพราะไม่มีอะไรเป็นอัตตา เป็นตัวเรา โลกว่างเพราะไม่มีอะไรเป็น อัตตนียา คือ ของเรา แล้วที่ว่าไม่มีอะไร คือ โลกนี้ทั้งหมดเลยไม่มีส่วนไหนเป็นตัวเราหรือของเราได้ นี้ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอะไรให้เรากิน ไม่มีอะไรให้เราใช้ ไม่มีอะไรให้เราอยู่ ไม่มีอะไรให้เราดู ไม่ใช่อย่างนั้น ก็ยังมีอะไรให้เรากิน หรือ ดม ดู ใช้ ครบทุกอย่าง แต่ไม่มีส่วนไหนที่ควรถือว่า ตัวเรา หรือของเรา ทีนี้ฟังดูให้ดีว่า โลกทั้งหมด ว่าง เพราะไม่มีส่วนที่จะเป็นตัวเรา หรือเป็นของเรา ภาษาธรรมดาๆ ก็ว่าไม่มีอะไร ที่ควรถือว่า เป็นตัวเราหรือของเรา พูดอย่างนักกฎหมายหน่อย ก็ว่า ทั้งหมดไม่มีอะไร ที่เป็นสำคัญมั่นหมาย ว่าเป็นตัวเรา ว่าเป็นของเรา ใช้คำว่าสำคัญมั่นหมาย นี่ก็คือว่า ที่มีเต็มไปหมด ทั้งข้างนอกข้างใน ข้างในคือ ในตัวเราเอง เป็นชีวิต ร่ายกาย นี่เรียกว่าข้างใน ข้างในทั้งหมดนี้ ก็ไม่มีอะไร ที่เป็นตัวเราเป็นของเรา ข้างนอก นอกไปจากร่างกายเรา ทรัพย์สมบัติของเรา อะไรของเรา คือเรียกว่า ของข้างนอก นี่ก็ไม่มีอะไรที่ จะเป็นของเรา หรือเป็นตัวเรา ชีวิตนี้ก็ไม่ใช่ตัวเรา และไม่ใช่ชีวิตของเรา ความคิดนึกอะไรต่างๆ ที่เคยถูกสมมติว่าเป็นตัวเรานั้น มันก็ไม่ใช่ตัวเรา บางคน สำคัญเอาเองว่า มันรู้สึกได้ มันคิดนึกได้ อันนั้นนะคือ ตัวเรา อย่างนั้นก็มี การศึกษาเรียนรู้ ที่มันคิดนึกได้ ทดสอบได้ ไอ้สิ่งที่มันรู้จักคิดนึกได้นี่ ก็ไม่ใช่ตัวเรา เพราะว่าธรรมชาติของมัน เป็นอย่างนั้น หน้าที่มันเป็นอย่างนั้น มันสมองที่เป็น สำนักงานก็ดี จะเป็น ตัวจิต ที่มองไม่เห็นตัวก็ดี มันรวมกันแล้วมันทำหน้าที่คิดนึกได้ ทั้ง ๒ อย่างก็ดี ทั้งหมดมันไม่ใช่ตัวเรา ในเมื่อมันไม่ใช่ตัวเราแล้ว ของเรามันจะมีมาแต่ไหน ก็ไม่มีตัวเราเสียแล้ว ต่อเมื่อมีตัวเรา มันจึงจะถือว่า อันนั้นก็ของเรา อันนี้ก็ของเรา ชีวิตของเรา เนื้อหนังของเรา แขนขาของเรา ความเจ็บของเรา ความแก่ของเรา ความตายของเรา ทีนี้ข้างนอก ก็ไม่มีเช่นเดียวกัน เมื่อตัวเราเป็นอย่างไร บุตร ภรรยา สามี เพื่อนฝูง ก็เหมือนกัน เป็นคนเหมือนกัน ทรัพย์สมบัติก็เหมือนกันอีก จึงสรุปไว้ทีหนึ่งก่อนว่า โลกว่าง หรือทุกสิ่งทุกอย่างว่าง เพราะไม่มีอะไรเป็นตัวเรา หรือเป็นของเรา ว่างคำนั้นนะ โลกว่าง คำที่ ๒ ก็ จิตว่าง จิตว่างก็คือ จิตที่ได้รู้ความจริงข้อนี้เข้า ที่ว่าโลกนี้ไม่มีอะไรที่จะเป็นเรา เป็นของเราได้ จึงยกเอาจิตภายในนี่ เป็นที่รู้สึกว่า ไม่มีอะไรเป็นตัวเรา ของเราได้โว้ย จิตก็ว่างจากความสำคัญมั่นหมาย ว่างจากอุปาทาน ว่างจากสิ่งเหล่านี้ มันไม่รู้จะไปจับเอาอะไรมาเป็นตัวเรา หรือเป็นของเรา ไม่เรียกว่า จิตว่าง จะเรียกว่าอะไร ที่ไม่ไปจับฉวยเอาอะไรมาเป็นตัวเรา หรือของเรา เป็นจิตที่ว่างจากตัวฉัน และของฉัน อยู่เสมอ ก็ต้องเรียกว่าจิตว่าง ทีนี้จิตว่างนั้น เป็นอะไรชนิดหนึ่งนี้ เพราะตามธรรมชาติของจิต จิตมันคิดนึก มันรู้สึก มันอะไรอยู่ตามธรรมชาติ แต่ตอนนี้มันไม่ว่าง เพราะว่ามันไปเอานั่นเอานี่ มาเป็นของเรา มาถือไว้ มันเลยไม่ว่าง มันติดธุระอยู่เรื่อย เลยไม่มีว่าง ถ้ามันไม่หอบอะไรไว้เป็นของเรา ไม่ถืออะไรไว้เป็นของเรา ก็เลย อ้า, ว่าง หรือ free ที่เป็นอิสระ เรียกว่า จิตว่าง สั้นๆ เรียกว่า จิตว่าง ขยายความไปว่า จิตที่ไม่ได้สำคัญมั่นหมาย ยึดถืออะไรว่าเป็นตัวเรา หรือเป็นของเรา นี่จิตว่าง คำที่ ๒ คำที่ ๑ คือว่าจิตว่าง เอ่อ, คำที่ ๑ คือว่า โลกว่าง คือ ทุกสิ่งทุกอย่างว่าง เพราะไม่มีอะไรจะเป็นตัวเรา หรือของเราได้ คำที่ ๒ ว่า จิตว่าง เพราะจิตมันรู้ความจริงข้อนั้น เพราะมันไม่รู้จะไปถือเอาอะไรว่าเป็นตัวเรา หรือของเราก็เลยอยู่ว่างเฉยๆ เสีย ยังคงทำอะไรไปตามหน้าที่ของจิต ของกาย ของอะไร ตามเรื่องของมัน แต่ความสำคัญมั่นหมายว่า ตัวฉัน ว่าของฉันมันไม่มี นี่เรียกว่าจิตว่าง โดยเรื่องโลกว่าง กับเรื่อง จิตว่าง นี่มารวมกันเข้า มันก็เป็นเรื่องความว่างโดยสมบูรณ์ ที่เรียกว่า สุตตันตะ ที่เนื่องเฉพาะด้วย สุญญตา เรื่องราวที่กล่าวถึงสุญญตา ถ้าเอาเรื่องสุญญตา ก็คือเรื่องนี้ เรื่องโลกว่าง เรื่องจิตว่าง ก็เรียกเรื่องความว่าง หัวข้อนั้นคือ โลกว่าง กับ จิตว่างมารวมกันเข้า เรียกว่า ความว่าง คือคำว่า ความว่างนั้น ขยายความไป คือ จิตว่าง โลกก็ว่าง นี่เรื่องความว่าง สั้นๆ ว่าความว่าง แต่คำอธิบายมันมีมาก มันอธิบายว่า โลกว่างอย่างไร และ จิตว่างอย่างไร เรื่องนี้มันก็มีคำพูดหลายคำเหมือนกัน รายละเอียดปลีกย่อยที่ว่า โลกว่างอย่างไร ไม่มีอะไรเป็นตัวตนนั้น ไปศึกษาเอาเองให้มันละเอียดนะ พิจารณาดูไปทีละเรื่อง ละเรื่อง ละเรื่อง ทั้งโลก ทั้งหมด คือ สิ่งทุกสิ่ง รวมทั้งคนด้วย ทั้งตัวโลก วัตถุด้วย ตัวคนด้วย ความคิดนึกของคนด้วย นั่นก็เป็น เป็นว่างจากตัวตน จิตด้วยเหมือนกัน แต่ว่าในฐานะที่เป็นเพียงโลก เป็นส่วนส่วนหนึ่งของโลก นี่เรื่องที่ ๒ จิต ทีนี้ก็เอาจิตมาเป็นในฐานะที่เป็นตัว มารวมเป็นตัวเจ้าที่เจ้าทางว่าจิตนี่ จะยึดถือหรือจะไม่ยึดถือ ถ้าจิตเห็นว่าโลกไม่ว่าง โลกมีอะไรที่น่ารัก มันก็ยึดถือสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น จิตนั้นไม่ว่าง ใน ในนี้มีรูปชะนีอุ้มลูก ดีมาก อุ้มลูก ไม่ว่าง กอดรัดลูกไว้ กอดกิ่งไม้ไว้ด้วย ทีนี้เราเอามารวมกัน ยึดถือ จิตที่จะยึดถืออะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่มันเข้าใจว่าน่ายึดถือ มันก็มีเท่านั้นเอง ใจความ ที่เราได้ฟังจากตัวหนังสือ หรือคำพูดเพียงเท่านี้ มันก็จึงไม่พอ ไม่พอ มันเป็นแต่เพียงได้ฟังทฤษฎี ฟังหลัก หรือคำบัญญัติ ได้ฟัง ไปปฏิบัติ ปฏิบัติอย่างไรได้ ถ้าไม่รู้ว่า จิตเป็นอย่างไร ยึดถือ ทำอย่างไร ยังไม่รู้ก็ปฏิบัติไม่ถูกหรอก เกิดเรื่องนี้เป็นเพราะว่าอย่างไร ว่ายึดถือ อย่างไร แล้วก็ไม่ยึดถือ ถ้ารู้แล้ว ใช้เวลาสัก เดือน ๒ เดือน ๓ เดือน ๕ เดือน ปีหนึ่ง ว่าอย่างไรเรียกว่ายึดถือ อย่างไรเรียกว่าไม่ยึดถือ พอยึดถือไปแล้วให้สะดุ้ง เอาเพียงเท่านี้ก็พอ ไอ้เรื่องความยึดถือ จับตัวมันได้ พอเห็นความยึดถือของตนแล้วก็สะดุ้ง ก็พอแล้ว ยึดถือแล้วจิตก็เป็นตัวตน มีตัวกูขึ้นมา มีความยึดถือ มีตัวกูขึ้นมา มีตัวกูขึ้นมา แล้วก็มีความรู้สึกได้ ตามเหตุการณ์ ที่มันมีอยู่ในขณะนั้น ไปรักอะไรเข้า มันก็มีตัวกูในเรื่องรัก เอาเรื่องได้ขึ้นมา โทมนัสอยู่ในจิต ว่าอย่างภาษาถูกหน่อยก็ว่า ไปดึงดูดอะไรเข้าแล้วเรียกว่ารัก ไปผลักไสอะไรเข้าแล้วนี่เกลียด โกรธแล้ว อยู่เฉยๆ ความรู้สึกว่าตัวกู มันรัก หรือเกลียดเข้าแล้ว จะมีอาการที่ต่างกันมาก ความอยาก สมมติว่าเป็น ความอยาก ความต้องการนี่ ถ้ามีตัวกู มีความรู้สึกที่เป็น เป็นความหมายของตัวกู ความอยากนั้นเป็นกิเลส ถ้าอยาก หิว ตามธรรมดานี้มัน มันก็ไม่เป็นกิเลส จนตายไปมันก็ ไม่ ยังไม่เรียกว่ากิเลส แปลว่า ตามธรรมดานั้นมันจะ รู้สึกอย่างนั้น มันจะได้ตัวกูขึ้นมาด้วยแน่นอน พอหิวหนักเข้ามันก็โกรธ มันก็เต็มไปด้วยตัวกู นี่พูดโดย โดยหลัก ทางการพูด ทางทฤษฎีว่า ถ้า ถ้าความอยากนั้นมันไม่มีตัวกูเจืออยู่ ความอยากนั้นไม่ใช่กิเลส อยากของพระอรหันต์ อย่างนี้ ต้องการนั่น ต้องการนี่ ความอยากของพระอรหันต์ ไม่มีตัวกู ไม่มีกิเลส ความอยากนั้น ไม่ใช่กิเลส แต่ของปุถุชนนี้มัน มัน มันยาก มันน้อยนัก น้อยหนา ที่จะไม่เป็นกิเลส แต่ถ้าคอยระวังให้ดี มันก็พอจะไม่มีกิเลส มากมายนัก อยากให้มาสนใจ พิจารณาดูว่าอยากอะไรอยู่เดี๋ยวนี้ อยากดูนั้นนะ เป็นอยากของตัวกู หรือว่า อยากของอะไร คือ ปัญหาที่เรากำลังถกเถียงกันอยู่ วิวาทกันอยู่ คนเราจะอยากโดยไม่มีตัวกูได้หรือไม่ ทำอะไรโดยไม่มีความรู้สึกของผู้อยาก ผู้เอาได้หรือไม่ ไม่มีใครคิดว่าได้นะ เป็นธรรมดา ไม่มีใครคิดว่าได้ ไม่มีตัวกูก็ทำอะไรได้เหมือนกัน จะทำไปตามความรู้สึก ที่ไม่ใช่ ตัวกู พอทำไปได้ก็จะเป็นพระอรหันต์ไปเสียอีก บางครั้งที่คนเรา ปุถุชน จะพอทำได้ มันก็มีอยู่เหมือนกัน อบรมสั่งสอนกันมาก อย่างเดียวกับที่เวลานี้ ทั่วโลก หลักทำงานเพื่องาน เขาก็พูดกันอยู่ และเป็นหลักที่บูชากันมาก ในจริยธรรมสากล ทำงานเพื่องาน duty for duty ทำงานเพราะเห็นแก่งาน แล้วใครทำได้กี่คน ทำงานเพราะเห็นแก่งานในโลกนี้ ถึงพวกฝรั่งเจ้าตำรับตำรา เจ้าคำพูดเองนี้ ก็ ยังไม่ไหว แต่บางทีอาจจะดีกว่าคนไทย พระเจ้า หรือพวก พุทธบริษัทนี่ จะทำได้ ถ้าปฏิบัติตามหลักของพระพุทธเจ้า แล้วคนทำงานเพื่องานทั้งนั้น ก็พระพุทธเจ้าท่านสอนไม่ให้ทำงานเพื่อกิเลส เพื่อตัวเรา เพื่อตัณหา เพื่ออุปาทาน นั่นคือทำงานเพื่องาน ทำงานเพราะ สัมมาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจถูกต้องว่า อะไรเป็นอย่างไร เหตุทำงานนั้น ทำเพราะ สัมมาทิฏฐิ แล้วก็ทำเพื่อหน้าที่ ก็คือ ทำเพื่องาน สัมมาทิฏฐินั้นเองบอกว่า สังขาร นาม รูป นี้ มีหน้าที่ ที่จะต้องเคลื่อนไหว ต้องทำ ต้องอะไร ตามสมควร เพื่อบริหารร่างกายบ้าง เพื่อเลี้ยงชีวิตบ้าง เพื่ออะไรนั้น มันเป็นหน้าที่ แม้จะเอามากินมาใช้ เลี้ยงชีวิตต่างๆ อันนี้เรียกว่าหน้าที่ ทำงานเพื่อหน้าที่ แล้วเรา ไม่เกิดความโลภเกินกว่าเหตุ เกิดตัณหา อุปาทาน มันทำงานตามหน้าที่ไปวันๆ หนึ่ง เหมือนกับว่าเรา จะต้องอาบน้ำ จะต้องไปฐาน จะต้องทำหน้าที่นี้ ซึ่งงานก็มีหน้าที่ประจำวัน ที่จะต้องทำ ทำงานอย่างนี้ เรียกว่า ทำงานไปตามหน้าที่ ตามธรรมชาติกำหนดไว้ ทำงานเพื่องาน ไม่เป็นจิตใจที่ว่า ตัวกู หรือของกู อย่างนี้ก็ไม่เป็นกิเลส ความอยากทำงานอย่างนั้น ก็ไม่เป็นกิเลส การจะทำงานอยู่อย่างตัวเป็นเกลียว ขยันขันแข็ง ก็ไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่ความโง่ ที่ดีที่สุดก็คือ คนนั้นสบาย คนนั้นมีความสุข มีความสบาย การศึกษาเล่าเรียนมาก มีสติปัญญามาก ไอ้งานนั้นก็ทำได้มาก ทำได้สูง ทำได้มีค่า ล้นเหลือไปเหมือนกัน นี่ไม่ได้ทำให้เกียจคร้าน ถ้าใช้คำว่าสัมมาทิฏฐิแล้วจะ ไม่เกิดความรู้สึกเกียจคร้าน หรือไม่เกิดความรู้สึกอย่างพูด อย่างอันธพาล ว่ามันก็ไม่ทำอะไรเสีย บางคนค้าน มันค้านอย่างอันธพาล และจิตใจเขาเป็นอันธพาล จิตใจเขาไม่มีสัมมาทิฏฐิ เขาจึงคิดว่า ถ้าไม่มีความรู้สึกว่า ตัวกูแล้ว ก็ไม่ทำงานเลย นั่นมันพูดอย่างอันธพาล มันคิดอย่างอันธพาล มันค้านอย่างอันธพาล สัมมาทิฏฐิ อย่างนั้นไม่ได้ มันรู้หน้าที่ สังขารนี่ก็รู้หน้าที่ของสังขาร ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ต้องอาบ ต้องถ่ายนี้ นี่ไม่ต้องพูดหรอก เป็นหน้าที่ ที่เล็กน้อยเกินไป แต่ว่าหน้าที่ ที่ว่ามนุษย์เกิดมาจะต้องทำอะไรบ้าง หน้าที่ใหญ่โตนั้น มันก็เป็นหน้าที่ที่จะต้องรู้ แล้วเวลางานมันมีจริง มันมีอยู่ทุกวัน ว่าใช้ทำอะไร มันก็รู้ สัมมาทิฏฐินี่ก็รู้ว่าควรใช้อย่างนั้น ควรทำอย่างนั้น เป็นประโยชน์อย่างนั้น เราทำงาน เพื่อประโยชน์แก่งาน หรือแม้จะเป็นประโยชน์แก่ตัวผู้ทำนั้นด้วย เราก็ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องมุ่งหมายโดยตรง มันเป็นเรื่องพลอยได้ แล้วเราก็ไม่เอามาทำอะไร อย่างได้เงิน ได้ชื่อเสียงมา ก็ได้มา เท่านั้น เพื่อความสะดวก เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำงานต่อไป ไม่ต้องว่า ของกู ตัวกู เพื่อกู จนเกิดความรู้สึกที่เป็นกิเลส ที่ทำให้นอนไม่หลับ ถ้าได้ชื่อเสียงมาก็ถือว่าเป็นการได้เครื่องมือ สำหรับทำงาน ให้ยิ่งขึ้นไปมา ทำงานเพื่องาน ตามหลักจริยธรรมสากลนั้น จำเป็นมากที่ต้องเข้าใจ แล้วมาเข้าใจเรื่องของเรา ที่เป็นพุทธศาสนาโดยตรง ไม่ต้องมีอะไรที่เป็น ตัวกูของกู อันนี้เรียกว่า ทำงานด้วยจิตว่าง ทำงานเพื่องาน ทำงานด้วยจิตว่าง ก็ไม่มีตัวกู ไม่ใช่เพื่อกู ไม่ใช่ตัวกูผู้ทำ สติปัญญา เป็นส่วนหนึ่งของจิตใจ จิตใจก็เป็น อ้า, ทำหน้าที่บังคับร่างกาย ทำหน้าที่ของร่างกาย ของจิตใจ ของสังขาร บ้างก็ฟังไม่ถูก ในบาลี ในพุทธภาษิตนี้ เป็นภาษาพูดที่ธรรมดา ว่า ทำโดยไม่ต้องมีผู้ทำ การทำก็ทำไปแล้ว แต่ผู้ทำหามีไม่ การเดินก็เดินเสร็จแล้ว ถึงแล้ว แต่ตัวผู้เดินนั้นหามีไม่ อย่างนี้เล่าจื๊อก็มี ไม่ได้มีแต่ พุทธศาสนา คนมันก็สนใจ หรือลำเอียง ลัทธิเล่าจื๊อ ก็เคยมีความคิดเช่นนี้ ความคิดที่จะไม่มีตัวเรานี้ แต่ไม่ถึงขนาดของพุทธศาสนา จับให้ได้ ศึกษา สังเกตจนจับให้ได้ ว่าอย่างไรเรียกว่า ทำงานด้วยความรู้สึกสำคัญมั่นหมาย เป็นตัวกู เป็นของกู อย่างไรทำงานเพื่องาน บริสุทธิ์ โดยไม่มีความสำคัญมั่นหมาย ว่าตัวกู ว่าของกู เรียนพระเณรมาตลอดเวลากี่ปีแล้ว ตลอดเวลา ทีนี้ ว่าเมื่อทำงานแล้ว ตรวจสอบตัวเอง เพื่อจะไปหัดทำงานด้วยจิตใจที่ไม่ ไม่เพื่อตัวกู ไม่เพื่อของกู แต่อาจารย์ หรือว่า จะให้ถูกใจอาจารย์นี้ก็ยังกระเดียดไปเป็น ตัวกู ของกู ทำเพราะถูกบังคับ ก็ยิ่งมีตัวกูของกู ทำเพราะว่า มนุษย์หรือสังขารให้ทำ มีหน้าที่ ที่จะต้องทำงาน ใช้คำว่างานเฉยๆ ก่อน ไม่ใช่ ยัง ยังไม่แยกว่าเป็นงานอะไร สังขารร่างกายนี้จะอยู่ว่างไม่ได้ ต้องเคลื่อนไหว เคลื่อนไหวนะคือทำงาน อยู่ว่างไม่ได้ อยู่นิ่งไม่ได้ งาน ตัวเลี้ยงสังขารร่างกายไว้ นั่นก็อย่างหนึ่งเช่นว่าต้องไปหากิน เรียกว่าทำงาน กินแล้วจะทำอะไรอีก มันก็ยังมีงานอย่างอื่นอีก ถ้ารับคำว่ามนุษย์ และความหมายของคำว่ามนุษย์ มันก็คือทำประโยชน์แก่ผู้อื่น อ้าว, มันอยู่นิ่งไม่ได้ เพราะมันอยู่นิ่งไม่ได้ ทีนี้เคลื่อนไหวอะไร จึงจะไม่ผิด ไม่เป็นโทษขึ้นมา ที่จำเป็นก่อน เคลื่อนไหว เรื่องกระเพาะ เลี้ยงชีวิต นี่เคลื่อนไหว เสร็จแล้ว มันก็มีแล้ว มันก็เหลือที่จะกินแล้ว จึงจะเพื่ออะไรต่อไปอีก เพื่องาน ที่ที่มนุษย์จะต้องทำ ทำงานเพื่อเลี้ยงชีวิตนี่ กับทำงานเพื่อตัวกู มันต่างกันอย่างไร เพื่อเลี้ยงชีวิต ระวังให้ดี มันจะมีตัวกูขึ้นมา ถ้ามันมีชีวิตของกู มันก็มีเพื่อตัวกูในตอนนี้เอง เหมือนกับว่า งานบริหารร่างกาย ต้องกิน ต้องอาบ ต้องถ่าย อะไรทำนองนั้น เลี้ยงชีวิต เลี้ยงปาก เลี้ยงท้อง นี่ อย่าว่าตัวกู อย่าว่าปากท้องของกู ชีวิตของกู ให้ลืมไปก็ได้ ลืมไปเลย ตามไอ้นกตัวเล็กๆ หรือสัตว์ตัวเล็กๆ ที่มันเที่ยวหากิน ยังได้เที่ยวจับ เห็นอาหาร เห็นผลไม้ เห็นแมลง ก็ตะครุบกิน โดยไม่ต้องมีตัวกู ลืมเสียเถิดตัวกู อย่างนี้ไม่มีทางทุกข์ งานส่วนที่หาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องก็ทำไปในความหมายนี้ ไม่ตัวกู ส่วนที่เหลือ เพื่องาน ทำงานเพื่อหน้าที่ อันนั้นนะ จะเพื่อทุกคน เพื่อประโยชน์แก่คนทุกคน (เสียงไม่ชัดนาทีที่ 29:07-29:13) ที่ว่าความรัก ความเมตตา ความเห็นแก่กันและกัน ก็มีขึ้นมาในโลก ถ้าเลี้ยงชีวิตด้วยความรับผิดชอบของตัวนี้ก็ทำไป เราไม่ต้องทำ การหาอาหารโดยตรง ได้มาเลี้ยงชีวิต โดยผู้อื่นฆ่ามัน พระไปบิณฑบาตอย่างนี้ก็ต้องถือว่าเหมือนกัน เป็นการเลี้ยงชีวิตชนิดหนึ่งเหมือนกัน ที่ทำโดยวิธีอื่น ทำงานเพื่อให้เรามีอาหารกิน ด้วยการทำอย่างอื่นชดเชย หรือรับอาหารมากิน ถือว่าทำเพื่อเลี้ยงชีวิต พอมีชีวิตแล้ว อยู่แล้ว มีชีวิตอยู่แล้ว จะทำอะไร การทำงานเพื่อ ไม่ใช่ตัวเราก็แล้วกัน เพื่อศาสนาก็ได้ แต่อย่างศาสนาของเรา ศาสนาคือ เพื่อสิ่งที่จะทำให้โลกนี้มีความผาสุก โลก จึงเห็นได้ว่า ไอ้ส่วนที่เราจะกันไว้เลี้ยงปากเลี้ยงท้องนั้นนิดเดียว ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ โลกนั้นมากมาย อย่างนี้จึงเรียกว่าทำงานเพื่องาน เรื่องที่มันเป็นอยู่นั้น มันไม่ๆ มันไม่เป็นในรูปนี้ ไอ้งานเพื่องานนั้นดูจะไม่เคยรู้สึก หรือฝันถึง เพราะว่าไอ้งานเพื่อกู เพื่อครอบครัวของกู เพื่อลูกเพื่อเมียของกู นี่มันมากขึ้น มากขึ้นๆ มันเข้ามาแทนที่ มันมากขึ้น ฉะนั้น จึงกลายเป็นงานตามสิ่งที่กูต้องการ ไม่รู้จักผิดถูก ลูกเมียต้องการ ไม่รู้จักผิดถูก ที่อะไร ต้องการที่จะเป็นสุขนี่ ทำงานเพื่อสิ่งนี้ แล้วเราก็เรียกว่าทำงานเพื่อเงิน เพราะว่าเงินเป็นเครื่องอำนวยสิ่งเหล่านี้ หรือเป็นตัวแทนของสิ่งเหล่านี้ เขาจึงเรียกว่าทำงานเพื่อเงิน ตัวมันก็ไปทำงานเพื่อเงิน โดยไม่ทันรู้ มากขึ้นเต็มไปหมด จนไม่มีแล้วทำงานเพื่องาน ถึงขนาดกิเลสครอบงำได้ ความโลภครอบงำได้ เหมือนกับภูตผีปีศาจครอบงำ ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะทำงานเพื่องาน ไม่มีที่สิ้นสุด ทำงานเพื่อตัวกู เพื่อของกู อันไม่มีที่สิ้นสุด นี่มันไม่ใช่ทำงานเพื่องานก็เพราะเหตุนี้ ต่างทำกันอย่างนี้มันก็ต้อง ก็ต้องปะทะกัน มีการเบียดเบียนกัน ก็มีพวกของตัว ก็มี ตัวขยายออกเป็นพวกของตัวก็มากขึ้น ก็ต้องแข่งขันกัน ต้องปะทะกัน และก็เป็นความทุกข์ในการเบียดเบียนกัน เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทีนี้ ภายในก็ทำให้จิตใจเร่าร้อนขึ้น ไฟ ไฟเผา เป็นไฟขึ้นมาในภายในตามลำพังของการงานก็เป็นทุกข์อย่างยิ่ง เบียดเบียนกันอีกก็เป็นทุกข์อย่างยิ่ง เบียดเข้ามาถึงว่าไอ้เลี้ยงปากเลี้ยงท้องนี่ เลี้ยงปากเลี้ยงท้องนี่มัน มีปริมาณเท่าไรถึงจะพอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง พอจะเห็นกันได้ว่า เลี้ยงปากเลี้ยงท้องมันไม่ต้องการอะไร มีชีวิตอยู่มันไม่ต้องการอะไร เราต้องการมากกว่านั้น แล้วก็มากกว่าที่จำเป็น ๑๐ เท่า ๑๐๐ เท่า ๑,๐๐๐ เท่า ๑๐,๐๐๐ เท่า ๑๐๐,๐๐๐ เท่าก็ได้ เป็นเรื่องไม่มี ไม่มีธรรมะ ไม่มีตัวตนที่เป็นธรรมะ คือ ไม่มี ไม่มีตัวแห่งธรรมะ มีแต่ตัวแห่งกิเลส ไม่มีตัวตนแห่งธรรมะ มีแต่ตัวตนแห่งกิเลส ถ้าอีก ก็ว่า มาคิดว่ากินอยู่อย่างไร เรียกว่าเพื่อเลี้ยงชีวิต อย่างไรเรียกว่าเพื่อกิเลส เมื่อเรากำลังกินอาหารที่ กินอยู่ในปากนั่น อย่างไรเรียกว่าเพื่อเลี้ยงชีวิต อย่างไรเรียกว่าเพื่อกิเลส อยู่ได้ตามปกติก็เรียกว่ากินเลี้ยงชีวิต ถ้ากินเพื่อความเอร็ดอร่อย ก็เพื่อกิเลส กินเพราะเห็นแก่ความเอร็ดอร่อย เพื่อกิเลส ก็อาจจะถามว่า ถ้าอย่างนั้น อย่ากินให้อร่อยหรือ อย่าทำให้มันอร่อยหรือ อย่ากินให้มันอร่อยหรือ แกล้งทำให้มันไม่อร่อยไปหรือ คนยังเข้าใจผิดกันนัก อร่อยก็ได้ แล้วก็รู้สึกว่าอร่อยด้วย แต่อย่าไปเป็น หลงใหลเข้าเท่านั้นเอง ไม่อร่อยก็ให้รู้ อย่างนี้ไม่ อ้า, อย่างนี้อร่อยก็ให้รู้ อย่างนี้ไม่อร่อยก็ให้รู้ แล้วก็ทั้ง ๒ อย่างนั้น กินเพียงเพื่อชีวิตนี้ตั้งอยู่ได้ เหมือนบทปัจจเวกขณ์ ที่ปัจจเวกขณ์กันอยู่ กิน ของอร่อยก็ได้ กินแต่เพียงเพื่อ เป็นอยู่ กินของอร่อยก็ได้ อร่อยก็ได้ จะกินจะอยู่ก็ต้องละแล้วว่าเออ กินเพียงเพื่ออยู่ โอ้โห อร่อย เห็นแก่อร่อย มันเกิดความรู้สึก อย่างใหม่ อย่างอื่นขึ้นมาแล้ว ก็ขวนขวายหาแต่สิ่งที่อร่อย ก็อัดเข้าไป อัดเข้าไป ก็ยัง มันยังอยากอยู่อย่างนั้นแหละ ถ้ากินเพื่ออร่อยนะ อิ่มแล้วมันก็ยังอยากอยู่อย่างนั้นนี่ ก็หาวิธีอย่างอื่น ให้มันกินได้อีก อาเจียนเสีย แล้วกินเข้าไปได้อีก อย่างนี้มันก็อาจจะทำได้ ก็มันกินเพื่ออร่อย มันก็ต้องหาวิธี ให้มันอร่อยมากขึ้นไปอีก ด้วยการปรุง ด้วยการอะไรให้มันอร่อยมากขึ้นไปอีก ก็เลยกลายเป็นกินเพื่ออร่อย ศิลปะของการทำอะไรให้อร่อยนี่กำลังเจริญเพราะคนก็นิยมกันมาก ก็เป็นทางทำให้มันเจริญมาก ก็เลยหลงอยู่ในความอร่อยก็ต้องหาเงินมากเพราะว่ามันเป็น เป็นของที่แพงขึ้นมา ก็ต้องลงทุนทำให้มันเป็นพิเศษ เงินที่ใช้ค่าอาหารก็มากขึ้น เพราะมันต้องการกินของอร่อย รู้จักแยกกันเสียว่า กินเพื่อเลี้ยงร่างกายนั้นอย่างหนึ่ง ไม่เป็นกิเลส ไม่เกี่ยวด้วยกิเลส แต่กินให้อร่อยเพื่ออร่อย เพื่อเอารสอร่อยนั้น ก็เรียกว่ากินเพื่อกิเลส อย่างแรกเรียกว่ากินอาหาร อย่างหลังเรียกว่ากินเหยื่อ เพื่อบำรุงร่างกายล้วนๆ ตามจำเป็นเท่านั้นเอง เรียกว่ากินอาหาร แต่ถ้ากินเพื่ออร่อยลิ้น อร่อยกิเลสนี้ เรียกว่ากินเหยื่อ เป็นสัตว์ที่กินเหยื่อ หรือกำลังกินเหยื่อ นี่ก็คือ ความทุกข์ร้อยรัดเอาโดยไม่รู้สึกตัวเพราะกินเหยื่อ ตัวกูของกูนี่มันอยู่ฝ่ายกินเหยื่อ ถ้ากินเท่าที่จำเป็นพอเลี้ยงชีวิตนะ กิน สัมมาทิฏฐิ ของจิตที่ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ ไม่มีตัวกูของกู จึงต่างกันอย่างนี้เอง สามเณรที่ปัจเวกขณ์ ได้ดี ธาตุปัจจเวกขณ์โดยเฉพาะ หรือตังขณิกปัจเวกขณ์ก็ตาม เรื่องกิน ชีวิตอยู่ ทำด้วยจิตว่าง กินของความว่าง กินด้วยจิตว่าง ไอ้อะไรต่างๆนี้ ก็เรียกว่า กินด้วยกิเลส เห็นได้ดีแล้วว่า ไม่ว่าเรื่องอะไร มีอยู่ ๒ อ้า, ๒ แขนง ด้วยตัวกูของกู ก็ได้ โดยไม่ต้องมีตัวกูของกูก็ได้ เป็นหน้าที่ ที่จะต้องไปคิดเอาเอง สังเกตเอาเอง จับตัวให้ได้เอง ว่าเรากำลังทำด้วยตัวกู หรือโดยไม่มีตัวกู นับตั้งแต่ทำการงาน งานนั้น งานนั้นมันเป็น เป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้ว ถ้าการงานอันไหนเป็น (เสียงไม่ชัด นาทีที่ 39:35-39:37) ที่แท้จริง ถ้าไม่มีการงาน จะไม่มี หนทางที่จะเรียน อย่างยิ่งที่เกิดกิเลส ว่า ตัวกูของกู นี่ ถ้าไม่ออกไปทำงานกับบุคคลที่ ๒ ที่ ๓ นี่ จะ ไม่มีทางสังเกต มันเงียบสงบอยู่ พอไปเข้าใกล้ บุคคลที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ แล้วทำอะไรด้วยกันนี่ จะเป็นหนทาง เป็นโอกาสให้ตัวกูของกูนั้นออกมา อ้าว, เราจะเห็นได้ว่ามีอยู่เยอะแยะไปหมด งานนั้นจึงเป็นทั้งบทเรียน และเป็นทั้งสิ่งที่จะต้องฝึกอยู่ทำอยู่ ซึ่งเป็นหน้าที่ของธรรมชาติ ที่สังขารหยุดนิ่งไม่ได้ มันเป็นบทเรียน เพื่อทดสอบว่ามีตัวกูหรือไม่มี มีมากมีน้อยอย่างไร อยู่คนเดียวก็มีโอกาสทดสอบตัวกูของกูว่ามีหรือไม่มี ดีกว่าไม่ทำงาน โกรธได้ตามลำพังคนเดียว คือ คิดนึกจิตไปในทาง มีตัวกูของกู มีความทุกข์ มีความอะไรได้ ทำงานหมู่หลายคน ยิ่งเป็นได้ ยิ่งรู้ได้ง่าย มีตัวกู ของกู ประเภทไม่ยอม เป็นโมหะ หรือว่าประเภทโทสะนี้ เกลียด ได้ง่าย ได้มากที่สุด ถ้าไม่ตรงกับเรื่องที่ตัวต้องการ ก็โกรธ ก็เกลียด ก็มีตัวกูประเภทนี้ขึ้นมา หรือถ้าโยงออกไปเป็นตัวกู ที่ไม่รู้จักยอม ไม่รู้จักยอมใครขึ้นมา เป็นตัวกูอันแท้จริง จำไว้เสมอว่าการทำงานนั้นนะ คือ การปฏิบัติธรรม พวกโง่ไม่เชื่อ คนที่ว่า จิตว่างทำงานไม่ได้ หรืออะไร พวกคนเหล่านี้ไม่เชื่อ ไม่เชื่อคำพูดที่บอกว่าการทำงานนั่นแหละคือ การปฏิบัติธรรม เขาไม่เชื่อ เพราะมันเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อเข้าใจทำงานด้วยจิตว่างไม่ได้ มันก็เข้าใจว่า ไอ้ทำงานนั้นแหละคือ การปฏิบัติธรรมไม่ได้อย่างนี้ ถ้าได้จะเข้าใจได้พร้อมกันหมด เป็นอยู่ด้วยจิตว่างก็ได้ ทำงานด้วยจิตว่างก็ได้ อันนั้นแหละคือ การปฏิบัติธรรม ไม่ต้องแยกไปปฏิบัติธรรมที่วัดหรือที่โอกาสอื่น ไอ้การทำงานนั้นแหละ คือโอกาสที่จะเกิดตัวกูของกูอะไรได้มาก เรื่องโลภ เรื่องรักนี่ก็ยังไม่แรงเท่าไอ้ตัวกูเรื่องไม่ยอม ไม่ยอมใคร ตัวกูอย่างนี้แรงกว่า แล้วตัวกูที่ทำให้โกรธ ให้เกลียดนี้ ก็ยังไม่แรงเท่าตัวกูที่ว่าไม่ยอม ไม่ยอม เพราะว่าไม่โกรธแล้วก็ยังไม่ยอมเป็นโมหะชนิดลึก ลาภะ โลภะ นี่ก็เป็นตัวกู ชนิดหนึ่ง โทสะ โกรธะ นี่ก็เป็นตัวกูชนิดหนึ่ง แต่ยังไม่ลึกเท่าไอ้โมหะ เป็นตัวกูที่ไม่รู้จักยอม กูที่ไม่รู้จักยอมนี่มันเกิดง่ายที่สุด เมื่อเกี่ยวข้องกัน ระหว่างบุคคล เพราะการไม่ยอมนี่มันคือ ไม่ยอมต่อบุคคลคนหนึ่ง หรือหลายคน เอาชนะไอ้ตัวกูขนาดนี้ได้ ไอ้เรื่องชนะตัวกูเรื่อง ลาภะ โลภะ โทสะ โกรธะ มันไม่ยาก ชนะตัวกูชนิดมานะนี่ให้ได้ ให้ได้มากไว้ ไอ้เรื่อง โลภะ โทสะ นั้นจะทำได้ง่ายกว่าจึงถือว่าโอกาสที่เราทำงานนั้นเราทดสอบจิตใจเรื่อย เราทำด้วยความรู้สึกว่า ทำงาน เพื่องาน จริงหรือเปล่า ทำงานให้เขายกย่อง สรรเสริญ ให้เขาพอใจ ให้เขาให้รางวัลหรือเปล่า ทำงานกับบุคคลที่ ๒ ที่ ๓ นี่เรามีความคิดนึกไปในทางไม่ยอมหรือเปล่า มันมีอะไรกระทบกระทั่งกันหน่อย เราไม่ยอม เราไม่ยอมขอโทษ เราไม่ให้อภัย เราถือ อะไรประเภทนี้ ละเอียดมาก แล้วไม่ค่อยรุนแรง วู่วาม อะไร คอยสังเกตมากจึงจะเห็น ผมพูดเมื่อวันก่อนนี้ว่าวัดเรานี้ ดูปัญหาเหลืออยู่อย่างเดียวเท่านั้น คือ เรื่องตัวกูของกูที่ไม่ยอม ปัญหาอย่างอื่นก็ไม่ค่อยเท่าไหร่หรอก พระ เณร อุบาสก อุบาสิกา มีอยู่มาก เหลืออยู่มากก็คือเรื่องไม่ยอม ตัวกูนี้ไม่รู้จักยอม รู้จักยอมนี่ กว้างมากนะ คุณไปคิดเอาเอง กว้างหลายสิบแขนง หลาย หลายๆ สิบแขนง ไม่ยอม มนุษย์เจริญกว่านี้มาก ทำให้เจริญมาก ทำให้ต้องละยาก จะไม่ยอม นี่ก็ไม่ยอม ถ้าอาจารย์หรือคนที่สูงกว่าก็ไม่ยอม ตัวเล็กๆ กว่าก็ไม่ยอม ไม่ยอมโดยประการทั้งปวง เป็นฝ่ายต่ำกว่าไม่ยอมเป็นฝ่ายแพ้ ไม่ยอมเป็นฝ่ายอดกลั้น ฝ่ายผิดอย่างนี้ เป็นอะไรอายุมากขึ้นมันยิ่งรุนแรงขึ้น กิเลสนี้มันยิ่งแก่กล้าขึ้น ลำบาก มันเป็นปัญหาที่ลำบาก นี้เขาเรียกไว้โดยเฉพาะว่า อหังการ มมังการ ตัวกูของกู เป็นความรู้สึกว่าตัวกู เป็นความรู้สึกว่าของกู อหังการ มมังการ นี่เป็นกิเลสใหญ่ กิเลสประธาน กิเลสที่ว่าเป็นปัญหาของทั้งหมด ไอ้ที่มาไกลแล้วก็ว่าสูงสุดแบบเต็มที่อยู่ตลอดเวลา ทั้งหลับทั้งตื่นนี่ เกิดมีอะไรอยู่เรื่อย เกิดเรื่อย ไอ้ตอนเกิดนี่มันมีมากไปถึงโตก็ยังไม่ทันรู้ แล้วเกิดได้ง่ายที่สุด เกิดได้เร็วที่สุด เกิดได้มากที่สุด ในวันหนึ่งๆ นี่การเกิดขึ้นของมัน มันจึงละยาก ด้วยความเคยชินเป็นนิสัย ทำให้ละยาก เกิดขึ้นด้วยยังไม่เคยชินเป็นนิสัยมันก็ละยากอยู่แล้ว นี่มันเกิดเสียจนเคยชินเป็นนิสัยก็ยิ่งละยากมากขึ้นไปอีก ก็ต้องใช้เวลามากหน่อย อุตส่าห์บำเพ็ญบารมี บำเพ็ญปฏิบัติ มากๆ ก็จะละสังโยชน์ ละอนุสัยคือความเคยชินเหล่านี้ได้ เตือนอยู่เสมอว่า เราจะต้องทำงานอีกมาก ตลอดเวลาที่ทำงานอีกมากนั้น ทำแต่เพียงนี้ให้ดีๆ เมื่อทำงาน เกิดตัวกูขอกู เกิดความไม่ยอม เกิดความอยาก เกิดความต้องการ อะไร ความเร้นลับอะไร เรื่องเล้นลับอะไรอยู่นี่ สับสนไปนะ พอแล้ว ไม่ต้องไปเรียน ไม่ต้องปฏิบัติที่ไหน ไม่มีที่อื่นที่มีผลดีกว่าทีนี่ กว่าในการงานนี้ ทำเมื่อไม่รู้ว่ากิเลสอยู่ที่ไหนนั้นนะมันยาก มันปฏิบัติเมื่อรู้ว่ากิเลสอยู่ที่ไหนมันง่ายจ้องที่จะจับตัวกิเลสที่มันจะเกิดได้ง่ายที่สุด แม้ขณะที่ทำการงาน เหนื่อยขึ้นมามันก็โกรธแล้วไม่ต้องมีอะไรหรอก ถ้าความคิดมันไม่สูงจริงๆ พอเหนื่อยขึ้นมามันก็โกรธแล้ว โกรธแดด โกรธลม โกรธฟ้า โกรธฝน อะไรก็ได้ นี่มากเกินไป มันพอเหนื่อยขึ้นมา หิวขึ้นมา อะไรขึ้นมา มันก็มีอาการปรุงเป็นตัวกูของกูไม่ทันรู้ สติ สัมปชัญญะ ไม่พอ มันก็ ต้อง ปรุงเป็น ตัวกูของกูนี้ ทำงาน หลายๆ คนนั้นมันมีอะไรเพิ่มขึ้นมาที่จะเอาเปรียบกัน จะอิจฉาริษยากัน จะแกล้งกัน จะแข่งกัน จะดูหมิ่นกัน นี่มันมีมาก มีช่องทางที่เกิดกิเลสนี้มาก อาจารย์คงรู้ดีกว่าใคร เพราะว่ามีๆ มีหลายคน มีบางคน มีมากคน ทั้งที่เขายอมทำอะไรให้ผม แต่เขาไม่ทำอะไรตามที่ผมต้องการ ทั้งที่เขาจะทำงานให้ผมนะแต่เขาไม่ยอมทำตามที่ผมต้องการ เพราะไม่ยอม ทำอะไรให้ผมสักชิ้นหนึ่ง ก็ยังทำตามความชอบใจของเขา ตามประสงค์ของเขา กิเลสคือความไม่ยอม กิเลสนี้จะมีว่า ความคิดของกู จะต้องถูกกว่า เราจะต้องถูกกว่าของคนอื่นเสมอ มันจะต้องคอยหาโอกาสสงวนไอ้ความคิดนี้ไว้ การจะมีความยอมนั้น มันไป มันยัง ยังอีกนาน ไม่มีความรู้สึกที่เป็นความยอม ถ้ายิ่งเรียนมามาก ยิ่งมีชื่อเสียงมาก่อนหรืออะไรต่อมิอะไรยิ่งยอมยาก เชื่อว่าเขาทำได้ดีกว่าใครในถิ่นนี้แล้วก็ไม่มีทางที่จะยอมอะไรได้ง่ายๆ ฉะนั้น เราจึงมีเถียงกันเรื่องทำอย่างไรนี่ บ่อยๆ เป็นเรื่องเถียงในลักษณะ ความไม่ยอม กำลังของกิเลสไม่ใช่ความไม่ยอมแท้จริง แต่มันความจริง หรือว่าเป็นเหตุผลที่แท้จริงคือ ตัวเหตุผล หรือความจริงนี้มันมีกำลังน้อย มันสู้กำลังของกิเลสที่เป็นความดื้อถือรั้น หรือไม่ยอมนี้ ไม่ค่อยจะได้ มันก็ถูกหรอก ไอ้ความไม่ยอมนี่มันก็ถูกหรอก แต่มันไอ้ที่ว่า ไม่ ไม่ใช่ถูกอย่างมีประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่นว่า ไม่ยอมแล้วก็เลิก ไม่ทำ หรือทิ้งหนีไป หรือลาออกจากบริษัทนี้ไปทำบริษัทอื่น ก็เรียกว่ายังโง่อยู่ ถ้าจริงมันก็ควรจะทำให้ ให้มีการตกลงกันได้ เรื่องที่มันถูกต้องแล้วดีจริงตามนั้น รู้เรื่องในที่สุด ทีนี้ความที่มีความรู้ความสามารถมักจะไม่เป็นอย่างนี้ พออะไรหน่อย เขาก็สลัดทิ้งไปเลย ไปหาโอกาสแสดงไอ้ความเก่งของเขาที่อื่นต่อไปอีก ไม่ยอมที่จะทำอะไรในแผนการใหม่ที่เอาชนะใจเขาได้โดยสุภาพ โดยถูกต้อง โดยราบ โดยราบรื่นอย่างนี้ ไอ้คู่กรณีก็ประชดตัวเอง ก็เลยไม่ทำเสียก็มี ของผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ที่ยึดถือตัวตนมันมีอยู่ อันเนื่องมาถึงกิเลสของคนถูก คนตรง คนที่ยึดอุดมคติ เอาความถูก เอาความตรงเอาไว้ ซื่อสัตย์เป็นหลักนี้เอาไว้ มันเลยเถิดเรื่องนี้ทั้งนั้น ว่าตรง ว่าถูก ว่าซื่อสัตย์ ยิ่งกลายเป็นโง่มากขึ้นไปอีก เพราะมันสร้างกิเลสไม่ยอมมากขึ้นไปอีก สร้างตัวกูของกูมากขึ้นไปอีก ทีนี้ยังไม่ใช่พระอรหันต์นะ ยัง ยังไม่ต้องอวดดีหรอก ความจริง ความตรง ความถูก ความซื่อนั้นมันยังไม่เป็นจริง แต่มันก็ดี ลักษณะอย่างนั้นถูกแล้วเพราะไอ้ซื่อนี้มันก็มีกิเลสที่ไม่ยอมมาก คนตรงก็มีกิเลสที่ไม่ยอมมาก ไอ้คนคดนี่มันก็มีกิเลสที่ไม่ยอมมาก อย่าเข้าใจว่าคนซื่อนี้จะไม่มี อะไรแล้ว มันยังมีเหมือนกัน ที่ต้องระวัง ไอ้ความซื่อนั้นมันจะออกเป็นตัวกูของกูขึ้นมา เรื่องที่เป็นอื่นก็มี ที่เป็นทุกข์คนเดียวตามลำพังของตัวก็มี กล่าวว่าไอ้ตัวกูของกู ไอ้ยกหูชูหางนี้เข้าที่ไหนไม่ได้ทั้งนั้น เข้าที่ไหนเป็นเกิดเรื่องที่นั่น ถ้าเข้าคนซื่อมันก็ทำให้คนซื่อลำบาก ถ้าเข้าคนถูกก็ทำให้คนถูกลำบาก ถ้าเข้าคนมีความรู้ก็ให้คนมีความรู้ลำบาก กิเลสตัวนี้ตัวเดียวพอ ตัวนี้ที่ว่าตัวกูของกูคือทำให้จิตไม่ว่าง จิตวุ่น อัดเต็มไปหมดไม่มีว่าง อย่างไรกันที่ทำ ที่คิดอยู่ว่าจะทำดี ทำตรง ทำถูก ทำซื่อสัตย์ อะไรก็ต้องระวังเพราะกิเลสตัวนี้มันไม่เป็นอย่างนั้น มันไม่ใช่ ไม่ได้มาจากไอ้ ฝ่ายทางคด ทางผิดส่วนเดียว ไอ้ที่เรียกว่าดี ว่าตรง ว่าซื่อนั้นก็ได้ ถ้าเกิดไม่ยอมขึ้นมาก็เหล่านี้ก็กลายเป็น โง่ เป็นบ้าบิ่น เป็นอะไรโดย ไม่รู้สึกตัว ถือรั้น เป็น เป็น ที่มีอาการถือรั้นอย่างหนึ่งสูงสุด นี่ก็เรียกกิเลสชั้นพรหม สูงมาก ไม่ใช่กิเลสชั้นกามาวจรหรือชั้นมนุษย์ เรียกชั้นพรหม ชั้นสูงสุด คือ กิเลสของผู้ที่ดีแล้ว ซื่อแล้ว ตรงแล้ว อะไรแล้ว กิเลสชั้นพรหม ของคนคด คนไม่ซื่อ คนอะไรนั้น กิเลสธรรมดา ของมนุษย์ ของเทวดาชั้นต่ำๆ เตี้ยๆ อันนี้เรียกว่ากิเลสของผู้ดีนะ ความเชื่อของผู้ดี มันมีอยู่ชนิดหนึ่งคือจิตที่เป็นตัวกูของกู ในอันดับนี้ ฉันมีดี ฉันมีความรู้ ฉันมีความชำนาญ ฉันมีปริญญา ฉันไอ้ ทั้งหมดนี้คือ ฉันก็ไม่ได้นะ ระวังให้ดีเถอะ ไอ้ฉันๆ นี้ ตัวกูของกู ยกหูชูหาง ร้ายกาจที่สุด กระทั่งพรหม กิเลสของครูบาอาจารย์ก็อยู่ในพวกนี้ เหนือไปก็เป็นกิเลสชนิดนี้ พ่อแม่ที่ดีต่อลูกก็อยู่ในกิเลสนี้เป็นอย่างนี้ นักปราชญ์ถ้ามีก็มีในรูปนี้ ถ้าปราชญ์ทางโลกๆ เขาไม่ได้หมายถึงหมดกิเลส ยังมีกิเลส กิเลสของนักปราชญ์ก็จะอยู่ในรูปนี้ ชั้นพรหม กิเลสชั้นสูงสุด ชั้นผู้ดี นี่ปัญหาเรื่องกิเลสอย่างอื่น เรื่องรัก เรื่องเกลียดแล้ว ก็ระวังไอ้กิเลสเรื่องนี้เรื่องไม่ยอมนี้ ดูให้ดีว่าในการทำงานกันเป็นหมู่ เป็นอะไรเหล่านี้ มันเป็นทางให้เกิดกิเลสทุกชนิดนะ และเป็นช่องทางของกิเลสชนิดไม่ยอมมากกว่าอย่างอื่นอีก มีนิสัยมากมาแต่เดิมด้วย มีมาตั้งแต่ในท้องไม่ถูกหรอก ใครจะพูดว่ามีมาตั้งแต่ในท้องก็ตามใจแต่ผมไม่พูด เชื้ออะไรมาแต่ ในท้องบ้างก็เป็นได้ แต่ว่ามันเพิ่งจะมาฟักตัว มาอะไรกันข้างนอกนี้ เมื่อออกมาจากในท้องแล้ว ถ้าเรือนนี้ ในตระกูลนี้ มีแต่คนเย่อหยิ่งจองหอง ไม่รู้จักยอมนี่ เด็กๆ อายุขวบเดียวเท่านั้นเป็นเต็มที่แล้ว เป็นเต็มที่แล้ว ๒ ขวบ ๓ ขวบ แล้วก็ ยิ่งรุนแรงมากขึ้น มากขึ้น เกิดอย่างนี้ไม่มีคือ เป็นครอบครัว เป็นตระกูลที่มีระเบียบดี มีศีลธรรมสูง ตามแบบของพุทธศาสนา ไม่มี เด็กๆ เกิดมาก็มีไม่ได้
เชื้อที่ว่าจะให้มีมาแต่ชาติก่อนหรืออะไรทำนองนั้น ถ้ามีบ้างมันก็น้อยเกินไป ไม่ควรจะนับ อ้าว, เหมือนกับไอ้ที่มาฟักตัว นับตั้งแต่แรกลืมตาขึ้นมาในโลกนี้ ถ้าในท้องได้บ้างก็เพียงแต่นิสัย เอื่อยๆ หรือนิสัยรุนแรง สภาพของมันสมอง ของเส้นประสาทของมัน ตัวหนึ่งมันเอื่อยๆ อีกตัวหนึ่งมันฉุนเฉียวรุนแรง กว่าจะมาฟักตัวเป็นคนที่ยกหูชูหางมากที่สุด หรือว่าไม่ค่อยจะยกหูชูหางก็ได้ในส่วนนี้ กิเลสอะไรบ้างมันก็มาใส่เอาทีหลัง ไอ้ความมาก น้อย หรือความรุนแรงไม่รุนแรงนี้มัน มันมีพื้นมาในนิสัยจริง อายุ ๓๐ ๔๐ นี่ แหมมัน มันมีความเคยชินอย่างที่เรียกว่าเป็นนิสัย สันดาน แก้ยาก แก้นะเมื่อจำเป็นจะต้องแก้ จะปล่อยไม่ได้ มาบวชพระ บวชเณรกัน ก็เพื่อจะแก้สิ่งเหล่านี้ ที่สุดมันต้องแก้กันเสียตั้งแต่ทีแรก ทีแรกก็แก้ไม่เป็น แก้เป็น เพราะว่าหมู่คณะนั้น มีวัฒนธรรมเลวมาก ไม่รู้จักเรื่องของศาสนา ไม่รู้จักเรื่องของจิตใจ คือ มีวัฒนธรรมที่เลวมากไปตามเรื่อง หรือส่งเสริมด้วยซ้ำไป ส่งเสริมกิเลส ด้วยซ้ำไป วิญญูชนที่มีวัฒนธรรมสูง จนเกิดเข้าถึงธรรมะกันมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนโน้น หลายพันปี หลายร้อยปีมาแล้ว เป็นเพราะในหลักเกณฑ์ของธรรมะ ทุกอย่างเป็นไปในการบังคับตัวเอง มีร่องมีรอย มีแนวของธรรมะอยู่เป็นประจำ หลายชั่วอายุคนมาแล้วนะ เมื่อครอบครัวนี้มีวัฒนธรรมสูง มีบุญมาก เด็กๆ เกิดมาในครอบครัวอย่างนี้ มีทางที่จะมีกิเลสน้อย มีปัญหาน้อย ครอบครัวชนิดนี้เห็นจะหายากเข้าทุกที เพราะว่าโลกมันหมุนไปในทางสายอื่นแล้ว ไม่ใช่สายของพระศาสดา ของไอ้ธรรมะนะ มันหมุนไปในเรื่องสวย เรื่องงาม เรื่องเอร็ดอร่อย สนุกสนานทางวัตถุ ทางเนื้อทางหนัง ตามแบบอเมริกัน หรือตามแบบอะไรที่เขาเรียกกัน ใหม่ๆ หมดแล้ว วัฒนธรรมสูงไม่มีแล้ว มันมีแต่วัฒนธรรมเอา ได้ ตัวกูของกู กินดีอยู่ดี วิเศษกว่าคนอื่น เอากันแต่อย่างนี้ เราที่เคยมีวัฒนธรรมสูงก็พลอยถูกครอบงำให้เปลี่ยนแปลงไปด้วย ปัญหามากที่สุด ต่อไปไม่ จนจะต้อง ล่มจม วินาศกันไป ให้เห็นตำตาเสียสักคราวหนึ่งแล้วค่อยกลัวกันมาใหม่ ค่อยคิดกันใหม่ ค่อยกลัว ตั้งต้นใหม่ วัฒนธรรมมีประโยชน์สำคัญมากตามความหมายอย่างนี้ คือระเบียบปฏิบัติในหมู่มนุษย์นั้นซึ่งทำไว้ดี ถูกต้องตามหลักการที่มันจะกำจัดกิเลสอยู่ในตัวมัน นี่ล่ะวัฒนธรรมสูง วัฒนธรรมดี แล้วก็มีศาสนาส่วนที่สูงขึ้นไปผสมอยู่ข้างบน อยู่เหนือขึ้นไปอีกในทางจิตใจ มีหลักศาสนาอีก โดยพื้นฐานการเป็นอยู่ในบ้านเมือง ครอบครัวนี้ก็ต้องมีวัฒนธรรม และจิตใจส่วนที่สูงขึ้นไปอีกก็มีหลักพระศาสนา หลักพระธรรมโดยตรง แต่ต้องไปแนวเดียวกัน วัฒนธรรมประจำชาติไหนมันก็ ก็ต้องไปตามที่ว่าชาตินั้นมันถือศาสนาอะไร เราถือศาสนาพุทธอย่างนี้ วัฒนธรรมประจำชาติไทยจะมีหลักอนุโลมไปตามหลักในศาสนาพุทธ คือ ความไม่ยึดมั่นถือมั่น บรรพบุรุษแต่ก่อนโน้น ก็มีความไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่มาก เขาถึงสอนลูกสอนหลานให้ยอม ให้ยอม ให้เมตตา กรุณา ให้ ให้อภัย ให้บริจาค จนไม่เห็นแก่ตัว อย่างนี้เป็นต้น นี่เป็นวัฒนธรรมโบราณของไทย ให้สุภาพ ให้อ่อนโยน มาจากความยินยอมทั้งนั้น เมื่อวัฒนธรรมแบบตรงกันข้ามเข้ามา วัฒนธรรมเนื้อหนัง เรื่องนี้เรียกว่าเรื่องเนื้อหนังที่เห็นแก่ความสุขทางเนื้อหนัง ความดีความงาม ความประเสริฐทางจิตใจ ถูกทอดทิ้งเกือบหมดที่สุดอย่างนี้ก็มี อีกนานกว่าจะปรับตัวกัน ต้องถูกลงโทษ อย่างเจ็บปวดกันสักทีก่อน ยิ่งทั้ง ทั้งโลก รวมกันทั้งโลกแล้วยิ่งยาก ไปไกลกว่านี้อีก จนวินาศไปเสียทีก่อน มันหยุดไม่ได้ ต้องเลิกลง ต้องเลิกลงจึงจะเปลี่ยนกันใหม่ตั้งต้นกันใหม่ ได้รับการเอาใจใส่กันอีกที ถึงรอบที่ศาสนาจะเป็นของดีมีประโยชน์ขึ้นอีกที เรียกว่าศาสนาถูกเหยียบย่ำไปตามไปไม่น้อย นี่เราไม่ถือว่าโลกหรือคนทั้งโลกต้องมาศึกษาธรรมะอยู่อย่างนี้ อย่างนี้ ไม่มีความหมายอะไรสำหรับโลกเกินไป ถ้ามีเสียงดังพอ พระเจ้าลงโทษ ขนาดหนักๆ จึงจะกลับตัวกัน จะเลี้ยว ไม่กี่คน ก็ต้องกลัว โชคดีมีบุญบ้าง อะไรก็ตามใจเขา เราเอาข้างไม่มีความทุกข์ไว้ก็แล้วกัน ไม่ ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของไอ้ ไอ้คนเหล่านั้น ถึงมันจะเป็นอย่างไร หรือมันจะทำอย่างไร เพราะว่าถ้าเราปฏิบัติธรรมะถูกต้องนะไม่มีอะไรทำอะไรได้ แม้แต่ความตายก็ทำอะไรไม่ได้ ความตายก็ไม่มีความหมาย ทำอะไรของเราก็ได้ อยู่อย่างไรของเราก็ได้ มันไม่ถึงกับต้องปะทะกัน ไม่เอากับเขาได้นะอย่างชนิดที่มันหลงใหลมากมาย เป็นแต่เพียงคนที่กินอาหาร แสวงหาอาหาร มากินอย่างอาหาร คือ ไม่ใช่กินเหยื่อ อย่างไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ แบบที่ว่าแผนการเป็นอยู่การครองชีวิตของเราไว้นี่มันก็ยังทำได้กันคนละแบบ ในที่สุดการเป็นอยู่ด้วยจิตว่าง ทำงานด้วยจิตว่างนี้ทำได้ เป็นสิ่งที่ทำได้โดยแน่นอน หลายคน ในหมู่คนหลายร้อยล้านคน โลกกี่พันล้านคนก็ตาม หลักธรรมะ เรื่องสุญญตา ของพระพุทธเจ้านี้ก็ยังอยู่ได้ อยู่ก็ได้แต่ไม่เข้าใจเสียเอง เราไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เสียเอง เราเป็นพุทธบริษัทปลอมเสียเอง ตัดเนื้อแท้ของพุทธศาสนาสอนว่าสุญญตาไม่ใช่เรื่องของมนุษย์ในปัจจุบันได้แล้ว มันก็ทำลายพุทธศาสนา หมดเลย (เสียงไม่ชัด นาทีที่ 69:31-69:33) ที่เป็นเนื้อแท้เรื่องสุญญตา เมื่อใดไม่เป็นไปด้วยสุญญตา เมื่อนั้นเกิดการเนื้องอกใหม่ฉิบหายหมด ระเบียบต่างๆ เลอะเลือนหมด ปฏิบัติต่างๆ เลอะเลือนหมด สิ้นสุดของพุทธศาสนา หลักที่ว่า ไม่มีอะไรควรจะมั่นหมายว่า ตัวเราของเรา ยังอยู่ในใจของมนุษย์แล้วพุทธศาสนายังไม่หมด เพราะนั่นเป็นเนื้อแท้ของพุทธศาสนา จะด้วยวิธีใดก็ตามใจ ถ้ายังมีความรู้สึกในใจของมนุษย์อยู่ว่าไม่มีอะไรที่ควรสำคัญมั่นหมายว่าตัวกูว่าของกูอยู่ไปเรื่อยๆ ถ้าเราไปทำกับคนอื่นอย่างที่เราเองยังไม่ได้ทำ ก็พยามฝึกฝนตัวเอง อะไรตัวเองก็ด้วยความรู้สึกชนิดนี้ไปก่อน ถ้าทำไม่ได้ พระเณรก็ควรจะทำให้ได้ พวกเราจะบวชตลอดชีวิตก็เรื่องเดียวกันเพราะข้อเดียว ฉันสอนฆราวาสก็ข้อนี้แต่เขาจะทำได้หรือไม่ได้ตามใจเขา นี่ในระดับต่ำก็เป็นฆราวาส ทำได้ในระดับสูงก็เป็นบรรพชิต ที่ถูกควรจะเป็นอย่างนั้น แต่ว่าในที่สุดก็ไม่เป็นอย่างนั้น บรรพชิตทำอะไรไม่ได้เลยก็มี ฆราวาสบางคนทำได้ดีกว่าก็มี เป็นพระนะมันไม่ได้อยู่ที่ฆราวาสหรือที่บรรพชิต มันอยู่ที่ว่างได้มากหรือว่างได้น้อย ใครมากคนนั้นก็เป็นพระ ว่างได้น้อยก็เป็นฆราวาส กินอยู่นุ่งห่มไม่เป็นประมาณ เกณฑ์เขาวางไว้เพื่อให้บรรพชิตได้รับความสะดวก ง่ายดายในการทำเขาจึงให้บวชเพราะไม่ต้องทำไร่ ทำนา มีคนเลี้ยง ก็อุตส่าห์รีบศึกษาปฏิบัติในเรื่องนี้ให้ได้รับผลแล้วสั่งสอนผู้อื่น ถึงจะวิเศษ พระก็เป็นพระ ชาวบ้านก็เป็นฆราวาส ประโยคสั้นๆ ประโยคเดียวนะไว้ ไม่มีอะไรที่ควรสำคัญมั่นหมายว่าตัวเราหรือของเรา หัวใจของพุทธศาสนา ว่า สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ ถ้าแปลให้ดีต้องแปลอย่างนี้ว่า ไม่มีอะไร ที่ควรสำคัญมั่นหมายว่าตัวเราหรือของเรา ถ้าแปลตามตัวบาลีว่าธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นอย่างนี้มันฟังยาก ชาวบ้านอาจจะฟังไม่รู้เรื่อง ถ้าถามว่าหัวใจของพุทธศาสนาว่าอย่างไร บอกว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น มันก็มืดตื้อ ไม่รู้ว่าอะไร ให้พูดเป็นภาษาธรรมดาๆ ว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรที่ควรสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวเราหรือของเรา เขาก็คงจะฟังถูก ศาสนาสอนไม่ให้มี egoism เข้าใจทันที อาจจะติดตามมากขึ้นเข้าใจพุทธศาสนาได้ ไม่มีอะไรที่ควรสำคัญมั่นหมายว่าตัวเราของเรา อยู่ในโลกนี้ด้วยทุกสิ่งๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้โดยไม่มีความสำคัญมั่นหมายอะไรว่าเป็นตัวเราของเรา แม้กระทั่งชีวิตนะ ชีวิต แม้กระทั่งชีวิต เราจะไม่สำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวเราหรือของเรา ดีตรงไหนนะ ดีที่ไม่มีความทุกข์เลย แม้การทำงานก็ด้วยใจคอที่สบายไม่มีความทุกข์เลย นอนหลับก็ไม่เป็นทุกข์ ตื่นอยู่ก็ไม่เป็นทุกข์สร้างความเจริญได้มาก ไม่มีความทุกข์ ไม่มีการเบียดเบียนตัวเอง ไม่มีการเบียดเบียนผู้อื่น อะไรกันนะ ทำไมต้องเรียนมากนัก ส่วนโน้นก็ไม่เข้าใจ ถ้าเข้าใจแล้วมันรวมอยู่ในคำนี้หมดแล้ว พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ก็รวมอยู่ในคำนี้ ศีล ทาน ภาวนา ก็รวมอยู่ในคำนี้ ไม่สำคัญมั่นหมายอะไรว่าเป็นตัวเราของเราแล้ว มันก็ไม่ลัก ไม่ขโมย ไม่ทำอะไรที่เป็นขาดศีล อยู่เฉยๆ ไม่มีขาดศีลเลย อยู่ในลักษณะที่ไม่ต้องรู้ศีลโดยไม่มีขาดศีลเลย เพราะไม่ไปสำคัญมั่นหมายอะไรว่าตัวเราว่าของเรา ฆ่าไม่ได้ มันลักไม่ได้ ละเมิดในของรักไม่ได้ พูดเท็จไม่ได้ ให้ทำอะไรได้ จิตสงบ ไม่ฟุ้งซ่านดีแล้วเพราะเหตุนี้ แล้วถ้ารู้ข้อนี้คือรู้ความจริงทั้งหมดอยู่แล้ว มีจิตใจเหมือน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่แล้ว จะเอาวินัย(เสียงไม่ชัด นาทีที่ 75:48) ที่ไหนอีก ก็เรียกว่า อะไรๆ ก็รวมอยู่ในประโยคสั้นๆ ว่าไม่มีอะไรที่ควรสำคัญมั่นหมายว่าตัวเราว่าของเรา จิตว่างอย่างนี้นิพพานก็ปรากฏ แก่จิตนั้น เมื่อใดจิตวุ่นขึ้นมานิพพานก็หายไปสังสารวัฏก็ปรากฏแก่จิตนั้น พวกอภิธรรมศาลาวัด เขาไม่ยอม เอานิพพานกับสังสารวัฏไว้คนละแห่ง ไว้คนละโลกคนละชาติ เราเอาไว้ที่เดียวกัน ในคนเดียวกัน ในชั่วโมงเดียวกันด้วยซ้ำ ๑๕ นาทีนี้เป็นนิพพาน ต่อมา ๑๕ นาทีนี้เป็นสังสารวัฏก็ได้ ในคนเดียวกัน ที่นั่น (เสียงขาดหายนาทีที่ 76:34) จิตว่างนิพพานอยู่ในจิตนั้น เมื่อใดจิตวุ่นสังสารวัฏอยู่ในจิตนั้นให้เข้าใจนะ ว่างขึ้นมานิพพานอยู่ปรากฏแก่จิตนั้น พอจิตวุ่นขึ้นมาสังสารวัฏก็ปรากฏแก่จิตนั้นไม่มีอะไรที่ไหน ศึกษาเรื่องความว่างความวุ่นนี่ให้ เข้าใจกันสักหน่อย ให้เพียงพอ (เสียงไม่ชัด นาทีที่ 77:01-77:03) ตามวัดวาอาราม วัดใหญ่ๆ โตๆ มีพระใหญ่ๆ ก็ยังไม่เข้าใจเลย คำพูดอย่างนี้อยู่มากๆ ถ้าเข้าใจอยู่บ้าง เดี๋ยวนี้เริ่มจะเข้าใจแล้ว เริ่มไหวตัวในทางที่จะเข้าใจ ไอ้เรื่องเก่าเล่าใหม่ เรื่องเก่าที่รวบรวมประมวลเอามาเล่าใหม่ในรูปอื่น ในรูปบางรูปที่จะเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือกว้างออกไป ที่พูดนอกจากเรื่อง เรื่องนี้ อย่างไรเสียก็อย่าลืมที่ว่าไม่มีอะไรที่ควรสำคัญมั่นหมายว่าตัวเรา ว่าของเรา อย่าลืมหลักอันนี้แล้วกันไม่เฝือ ไม่มีอะไรที่ควรสำคัญมั่นหมายว่าเป็นเป็นตัวเราหรือของเรา แปลของ สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ ที่ฟังง่ายที่สุด เป็นหัวใจของศาสนาพุทธ positive ในรูป positive ก็ว่า เป็นอยู่โดยจิตใจไม่ยึดมั่นอะไร พุทธศาสนาสอนให้คนทุกคนมีชีวิตอยู่ด้วยจิตใจที่ free ที่เป็นอิสระ ไม่ตกอยู่ภายใต้ความผูกพันหรือความบีบคั้นหรือความผูกรัดของสิ่งใด พูด positiveอย่างนี้ มันน่าฟังหน่อย หรือมันน่าชื่นใจหน่อย ฝรั่งอาจจะพอสนใจได้บ้าง (เสียงไม่ชัด นาทีที่ 79:10) ก็เป็นเรื่องน่าเศร้า ว้าเหว่ หาแนะวิธีหรือเคล็ดลับหรืออุบายก็แล้วแต่จะเรียก ให้มนุษย์เราเป็นอยู่โดยอิสระที่สุด ไม่ไปผูกพันตัวให้อยู่ภายใต้ความบีบคั้นของทุกอย่างในโลก เป็นชนวนที่ทำให้คนต่างประเทศ หรือต่างศาสนาที่มีการศึกษาดีมาสนใจพุทธศาสนา รับได้ว่าศาสนาคริสเตียน ศาสนาอื่น ก็มุ่งหมายอย่างนั้นเหมือนกัน จนกระทั่งทดลอง สังเกต ศึกษาวิธีของชาวพุทธดูบ้าง ว่าทำอย่างไรจึงจะเป็นอย่างนั้นได้ ก็มีเคล็ด มีวิธีที่ต่างกัน เพื่อผลอย่างเดียวกัน เพื่อเอาจิตใจฝากไว้กับพระเจ้า ไม่มีตัวตน ก็ได้เหมือนกัน เราไม่ถือว่าผิดที่จะทำลงไปตรงๆ ไม่ต้องโยงไปถึงพระเจ้า ไม่โยงไปถึงอะไร จัดการกับร่างกายจิตใจ ให้อยู่ในสภาพที่อิสระด้วยตัวของมันเองโดยกระทำของมันเองเพื่อตัวมันเองอะไรอย่างนี้ หลุดพ้น free เป็นอิสระ ผลจุดหมายปลายทางใช้อย่างเดียวกันได้คือ เป็นอิสระจากความทุกข์ รอดพ้น คริสเตียนเขาก็พูดดี พูดถูกแล้ว เขาพูดไว้ในรูปที่ว่าโยงพระเจ้าเข้ามาด้วย พระเจ้า ทางฝ่ายพระเจ้า ไม่มีตัวเราไม่เห็นแก่เรา ไปอยู่กับพระเจ้า จะเก่งกว่าเรา ไอ้ตอนสอนคนโง่ๆ วิธีง่ายๆ พระเจ้าจะเกิดในอินเดียในหมู่คนที่ฉลาดในทางจิตใจมาก พูดอย่างนั้นไม่ได้เสียแล้ว พ้นสมัยเสียแล้ว อย่างนี้จะไปประกาศในอินเดียนั้น พูดอย่างนั้นไม่ได้แล้ว ก็ต้องพูดรูปนี้ โหมลงไปที่เรื่องจิต ที่มันโง่มันยึดถือ แล้วมันก็มีวิธีศึกษาอย่างไม่ยึดถือ พระเจ้าไม่เกี่ยว พราหมณ์ พวกอะไรเก่าๆ ที่มีอยู่ก่อนพุทธกาลนั้น อยู่ในฐานะที่จะต้องฆ่าเสียให้หมด คือไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในพระเจ้าเหล่านั้น พระเจ้าที่ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อันนี้เป็นกฎของธรรมชาติ ไปศึกษาเข้าใจให้ดีพอ เอามา คิดดู เกิดขึ้นนั้นคือ พระพรหม ผู้สร้างโลก ต้องฆ่าเสีย ชั่วขณะเป็นไปชั่วขณะ ตามกฎนั้นคือ พระนารายณ์ ผู้ควบคุมโลกก็ต้องฆ่าเสียเหมือนกัน แล้วดับไปคือพระอิศวร ผู้ทำลายโลกก็ต้องฆ่าเสีย หมดพระเจ้าในยุคนั้น ถือศาสนาฮินดูต่อไป พระเจ้าหมด จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำลายเสียให้หมด ตั้งอยู่ ดับไป ครอบงำได้ในจิตใจของเรา ผูกพันอยู่ภายใต้ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แล้วก็เป็นทุกข์เป็นร้อน ล้มลุกคุกคลานไปตามนั้น ถ้าเราอยู่เหนือความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หรือความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อยู่เหนือพระเจ้า สูงกว่าพระเจ้า พูดจะเหมือนชวนวิวาท พวกเหล่าโน้น ที่เขายังชอบพระเจ้า ยังต่ำๆ ยังเด็กๆ ชอบพระเจ้า อ้าว, มาลองดูวิธีของพวกพุทธดูบ้าง จัดการไปที่ต้นตอโดยตรง คือที่จิตที่ยึดมั่นถือมั่น มีตัวกูของกูนี่โดยตรง ทำลายตัวกูของกูนี่ให้หมดไป มันก็หมดปัญหาไม่มีความทุกข์ ไม่ต้องมาช่วย เรานี่จะช่วยพระเจ้า พูดได้เหมือนกันว่าช่วยดับทุกข์ เรียกว่า ออกไปได้ เรียกว่าหลุดพ้น เรียกว่าวิมุตติ หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ซึ่งยาก สิ่งที่พูดนี้ ยากขนาดที่พระพุทธเจ้า ท่านก็รู้สึกว่ามันยากคิดว่าไม่สอนแล้วโว้ย ตอนตรัสรู้ใหม่ๆ คิดว่าไม่สอนแล้วโว้ย เพราะมันยาก เพราะฉะนั้นเราต้องให้อภัยหรือว่ายอมเห็นใจในการที่มันยาก ทุกคนในประเทศไทย เข้าใจนี้มันก็ยาก ผมก็ไม่ ไม่คิดในเรื่องนี้ ไม่เสียใจไม่โกรธใครที่เขาไม่เข้าใจ ไม่เชื่อ ไม่ยอม ไม่เห็นด้วย หรือคัดค้าน มันเป็นธรรมดา เป็นอยู่ว่า พระพุทธเจ้าท่านก็ว่า มันยังมีบางคนโว้ย ที่อาจจะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้น สอน ให้ไอ้พวกไม่กี่คนนี่ก็แล้วกัน อยู่ในพวกที่เรียกว่า (เสียงไม่ชัด นาทีที่ 85:09-85:11) ก็มาขอร้องว่า (เสียงไม่ชัด นาทีที่ 85:14-85:15) ก็มีอยู่ เอ่อ, ก็จริง ก็สอนพวกนี้ เป็นความเฉลียวของพระพุทธเจ้าเอง เดิมทีแรกไอ้สติปัญญา ปัญญามันมุ่งไปในทาง ความเป็นจริงว่ามันไม่มีใครรู้แน่ ทีนี้เกิดความเฉลียวขึ้นว่า อ้าว, มันมีบางคน ไม่กี่คน มีบางคนอาจจะรู้ได้คือ สัตว์ที่มีธุลีในดวงตาเล็กน้อยก็มีอยู่เหมือนกัน จึงสอน อรูปพรหมลงมาอาราธนา ความเฉลียวใจของพระพุทธเจ้า ความมีเมตตากรุณามากของพระพุทธเจ้านี่เปรียบเป็นพรหม เฉลียวขึ้นมาว่า เอ่อ, มันมีบางคน ถึงแม้จะไม่กี่คน เราก็ควรจะเห็นแก่คนพวกนี้ เพราะฉะนั้น อุตส่าห์สอน พยามสอน ให้โลก จาก ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐เข้าใจสัก ๑,๐๐๐ คน ๑,๐๐๐,๐๐๐ คนต่อ ๑ คน ก็ยังดี ยังวิเศษ ๑,๐๐๐,๐๐๐ คนต่อ ๑ คน พระอรหันต์ทั้งหลายที่เพิ่งจะรู้ ด้วยวิธีใดด้วยคำพูดข้อไหนส่วนไหนก็ตามใจความก็เหมือนกันหมด ที่ท่านรู้ก็คือว่า ไม่มีอะไรมั่นหมายว่าตัวกูของกู แม้ในพระไตรปิฎก ใจความก็อยู่ที่นี้ ทั้งโลกเกิดขึ้นในข้อนี้ทั้งนั้น บรรลุมรรคผลได้ ทำให้จิตตื่นขึ้นมาจากหลับนี่มัน ต่างๆ ต่างๆ กันไป หลับอยู่ก็มาเตะให้ตื่นก็ได้ เอาน้ำสาดให้ตื่นก็ได้ ไฟจุดให้ตื่นก็ได้ ต่างๆ กัน แต่ว่าถ้าตื่น มันก็เป็นตื่นอย่างเดียวกัน จึงมีมากหลายอย่างหลายชนิด ในการปลุกคนให้ตื่น ตื่นแล้วมันก็เหมือนกัน ไม่มีอะไรเป็นตัวกูของกูโว้ยนี่ อ้าว, เดี๋ยวจะกลับลำบาก ปิดประชุม