แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เริ่มเทศนา: ธรรมเทศนาเป็น (นาทีที่ 0:00: 36)
บุพพาปรลำดับ สืบต่อธรรมเทศนา ที่ได้วิสัชนาแล้วแต่เมื่อเช้านี้ เมื่อเช้านี้ได้กล่าวถึง โอวาทปาฏิโมกข์ ในฐานะที่เป็นเครื่องทำให้คนถึงธรรมะ หรือให้ธรรมะถึงคน แล้วแต่กรณี จะได้แสดงให้เห็นว่า คนนั้นเป็นอย่างไร การถึงนั้นเป็นอย่างไร แล้วธรรมะนั้นเป็นอย่างไร จะได้ชี้ให้เห็นว่า การถึงธรรมะของคนนั้น ในอันดับแรกก็เป็นเพียงการถึงซึ่ง โลกิยธรรม เป็นความเจริญในโลก และอันดับสุดท้ายนั้นเป็นการถึงซึ่ง โลกุตตรธรรม เป็นธรรมสูงสุดที่มนุษย์ควรจะได้จะถึง
ในโอกาสนี้จะได้วิสัชนาถึงข้อที่ว่า คนจะถึงธรรม หรือธรรมจะถึงคน ในลักษณะที่เป็นโลกิยธรรมนั้น ได้อย่างไรโดยละเอียด แล้วจะได้ชี้ให้เห็นตั้งแต่แรกเริ่มว่า เราจะต้องตั้งต้นกันอย่างไร ถึงจะมีการถึงซึ่งธรรม อันเป็นที่ปรารถนา ถ้าคนไม่ถึงธรรมะแล้ว ธรรมะก็ไม่ถึงคน และคนนั้นก็เสียทีที่เกิดมาเป็นคน หรือเป็นมนุษย์ ที่พบพระพุทธศาสนา
ในข้อแรกควรจะได้นึกกันถึงว่า เราควรจะมีคนเป็นมิตร ที่มีความรู้สึกนึกเห็นได้ ในข้อที่เราจะต้องถึงธรรมะ ถ้าจะเรียกกันอีกอย่างหนึ่งก็เรียกว่า มีคนพวกใหม่ชนิดใหม่จะถูกต้องกว่า ในเมื่อหมายความว่า คนพวกเก่าหรือคนพวกเดิมนั้น มีแต่ความงมงายหลับหูหลับตาประพฤติไป ไม่มีความคิดนึกที่จะเข้าถึงธรรมะ จะเข้าถึงก็แต่เพียงภายนอก คือถึงอย่างพิธีรีตองขนบธรรมเนียมประเพณี หรือสวดร้องท่องบ่น หรือจะศึกษาก็เพื่อเอาประกาศนียบัตร หาชื่อเสียง หาลาภสักการะ ถึงแม้จะมีการค้นคว้า ก็เพื่อประโยชน์เป็นวัตถุเหล่านั้น ทั้งหมดทั้งสิ้นด้วยกัน อย่างนี้ไม่เรียกว่าถึงธรรมะเลย การถึงธรรมะจะต้องถึงด้วยจิตใจ ทั้งในการศึกษาและ การปฏิบัติ และการรู้แจ้งแทงตลอด
ถ้าหากมีผู้ใดมีความคิดน้อมมาในการที่จะเข้าถึงธรรมมะอย่างแท้จริงดังนี้แล้ว เราอยากจะเรียกกันว่า เป็นพวกใหม่ ผิดจากพวกเก่ากันเสียที ในพวกอื่น ศาสนาอื่น ลัทธิอื่น หรือนักปรัชญาทั่วไปในโลกนี้ ก็นิยมใช้ คำๆ นี้ คือคำว่า มนุษยชาติพวกใหม่ คือพวกที่ต้องการจะเข้าถึงธรรมะจริงๆ นั่นเอง ทำไมจึงต้องพูดกันมาก ถึงขนาดให้เป็นใหม่เป็นเก่า ข้อนี้คงจะเป็นเพราะว่ารู้สึกเบื่อเต็มทีแล้ว ในการที่คนพวกหนึ่งไม่มีความคิดนึก ไม่มีความเอาจริงเอาจัง ในการที่จะเข้าถึงธรรมะ และมีความโง่เขลางมงายเกินกว่าที่จะเข้าถึงธรรมะได้ ก็ควรจะนึกถึงการตั้งต้นกันใหม่ หรือนึกถึงการเกิดใหม่ซะเลยจะดีกว่า ให้ความโง่เขลางมงาย นั้นตายไป เสียที แล้วเกิดใหม่เป็นคนที่ไม่งมงาย เป็นผู้ที่เข้าใจอย่างถูกต้องแท้จริง ถึงสิ่งสำคัญประการที่ ๓ ซึ่งชีวิตนี้ ต้องการเป็นอย่างยิ่ง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วเมื่อเช้านี้
๑) ว่าร่างกายนั้นต้องการปัจจัย เพื่อเกื้อกูลแก่ชีวีต คืออาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยาบำบัดโรค นั้นมันเป็นเรื่องของร่างกายที่ต้องการ แม้จิตจะต้องการ มันก็ต้องการเพื่อร่างกาย ต้องการเอาไปให้แก่ร่างกาย เขาจึงเรียกว่าร่างกายต้องการ
๒) ทีนี้ที่สูงขึ้นมา ก็คือจิตใจต้องการ นี่หมายถึงสิ่งสวยงาม สิ่งที่เหลือเฝือ เหลือความจำเป็น หมายความ ว่าไม่ได้ใช้ ไม่ได้กิน ก็ไม่ตาย แต่จิตใจมันก็ยังต้องการสิ่งไพเราะสวยงาม หรือที่จะรวมเรียกกันว่า กามคุณก็ได้ นั่นเป็นสิ่งที่จิตใจต้องการ เหนือ…นอกเหนือไปจากที่ร่างกายต้องการ
๓) ทีนี้สิ่งที่ ๓ นั้น ก็คือสติปัญญาหรือทิฐิ ความคิดความเห็นมันต้องการ ข้อนี้มันเนื่องมาจากความกลัว เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีความกลัวว่าตายแล้วจะเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ ไม่แน่ใจ หรือว่าจะประพฤติอย่างไร จึงจะเต็มไป ด้วยโชคดีมีความสุขความเจริญ สติปัญญาหรือความคิดเห็นนี้มันต้องการ สิ่งที่เรียกว่า ลัทธิพระธรรมคำสอน เช่นเดียวกับ ที่ร่างกายต้องการวัตถุสิ่งของ จิตใจที่เหลือเฝือก็ต้องการสิ่งสวยงามไพเราะ แต่ส่วนความคิดนึก ที่เป็นทิฐิความคิดเห็น หรือสติปัญญาที่มากออกไปนั้น ต้องการลัทธิศาสนา ลัทธิปรัชญา หรืออุดมคติอย่างใด อย่างนึง
ทีนี้ผู้คนที่จะเกิดใหม่ ที่จะเรียกว่าเกิดใหม่กันเสียทีนี้ ก็เป็นคนพวกที่มองเห็นความจำเป็น ของสิ่งที่ ๓ ถึงจะเป็นที่สติปัญญาหรือทิฐิ ความคิดความเห็นต้องการ เขาจึงแสวงหาอุดมคติ หรือสิ่งที่ดีที่สุด ที่มนุษย์ควรจะ ได้ ที่มากหรือสูงไปกว่าข้าวปลาอาหาร หรือวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งกามคุณ สิ่งที่สูงนั้นจึงเป็นอุดมคติ ไม่ไช่วัตถุ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็คือการต้องการอุคมคติเช่นนี้ มันก็เหมือนกับลืมตาขึ้นมาใหม่ จากความงมงายแต่กาลก่อน ซึ่งเคยต้องการแต่เพียงข้าวปลาอาหาร หรือวัตถุเหลือเฝือ อันเป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ความปรารถนา ในทาง กามรมณ์
ถ้าผู้ใดมีสติปัญญาแจ่มใส มองเห็นว่าสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะต้องการ คือพระธรรม หรือธรรมะ ที่เป็นอุดมคติอย่างยิ่งดังนี้แล้ว คนนั้นก็จะมีจิตใจที่เปลี่ยนใหม่ ถ้าหากว่าเปลี่ยนพร้อมๆ กัน ก็เกิดเป็นมนุษย์ พวกใหม่ขึ้นมา ไม่โง่ไม่งมงายไปตามเดิมด้วย รู้จักปรารถนาสิ่งที่สูงไปกว่าที่ร่างกาย หรือจิตใจตามธรรมดา สามัญต้องการด้วย เรียกว่าเป็นผู้มีปัญญาแท้ จับกลุ่มรวมกันเข้าแล้ว ก็เป็นโลกใหม่ของมนุษยชาติ หมู่ใหม่ พวกใหม่ ที่มีสติปัญญา มีความสนใจที่จะเข้าถึงธรรมะ จึงได้เกิดการขวนขวายค้นหาธรรมะ เหมือนกับที่ คนเหล่านั้น คนธรรมดาสามัญนั้นหาอาหาร หาเครื่องเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เครื่องบำรุงบำเรอ ทางตา ทางหู ทางจมูก เป็นต้น ก็สิ่งเดียวกัน
เมื่อคนที่มีจิตใจต่ำ มุ่งหมายแต่เพียงเรื่องปากเรื่องท้อง หรือเรื่องความสนุกสนาน ในทางอารมณ์แล้ว คนพวกใหม่นี้หาสิ่งที่ดีไปกว่านั้น จะหาด้วยความตั้งอกตั้งใจอย่างรุนแรง เช่นเดียวกับ คนหิวก็หาอาหาร คนกระหายน้ำก็หาน้ำ คนเจ็บไข้ก็หาหยูกหายา คนที่มีสติปัญญายิ่งกว่านั้นก็หาแก้วหรือรัตนะ หรือหา อมฤตธรรม ในธรรมที่เป็นความไม่ตาย การค้นหาชนิดไหนก็ตาม มันแล้วแต่ความประสงค์ของบุคคลผู้ค้นหา เขาต้องการอะไร เขาก็หาสิ่งนั้น ด้วยความรู้สึกที่พยายามอย่างยิ่ง อย่างที่เรียกว่า ไม่ได้แล้วก็จะต้องขาดใจตาย เอาทีเดียว ทำไมคนจึงไม่มีความคิด ความมุ่งหมาย ที่จะแสวงหาธรรมะเช่นนั้นบ้างเล่า ความขวนขวายค้นหา ธรรมะนั้นมีมากเท่ากับ ความขวนขวายค้นหาเรื่องปากเรื่องท้องหรือเปล่า ขอให้เราคิดดู แต่แล้วคนนั้นก็ไม่วายที่จะพูดกับเขา ด้วยเหมือนกันว่า เราต้องการแก้ว เราต้องการรัตนะ เราต้องการอมฤตธรรม เหล่านี้กับเขา ก็เป็นเหมือนกัน ทั้งๆ ที่จิตใจนั้น มุงแต่แสวงหาเรื่องปากเรื่องท้อง หรือเรื่องการบำรุงบำเรออยู่ตลอดเวลา
แต่มนุษย์พวกใหม่ที่มีสติปัญญาแจ่มใสลืมตาขึ้นมาแล้ว ย่อมจะรู้จักอย่างยิ่ง รู้จักโดยแท้จริงว่าสิ่งที่ควร ค้นหาอย่างยิ่งนั้นคือธรรมะ ดังที่ได้วิสัชนาแล้วเมื่อตอนเช้านั่นเอง จึงเกิดการขวนขวายค้นหาธรรมะ กันเป็น การใหญ่ ในหมู่มนุษย์พวกนั้น ซึ่งทำไปด้วยความตั้งอกตั้งใจจริงๆ ไม่กระทำไปอย่างหลอกๆ คือจะทำแต่ปากว่า เหมือนที่คนบางพวกกำลังกระทำกันอยู่ ทั้งที่เรียกตัวเองว่า อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ สามเณร แต่การขวนขวายค้นหาธรรมะนั้น หาได้เป็นไปอย่างแท้จริงไม่ นี้ละถึงกับที่จะต้องพูดกัน ในขนาดที่เรียกว่า พวกเก่าตายไปเสียทีเถิด ให้พวกใหม่เกิดขึ้นมา แล้วก็ขวนขวายค้นหาสิ่งที่ประเสริจสุด ที่มนุษย์ควรจะได้ กันให้แท้จริงขึ้นมาเสียที ให้เกิดมีความขวนขวายค้นหาธรรมะนั้น อย่างแท้จริงอย่างตั้งอกตั้งใจจริงๆ เท่าๆ กับที่ หาข้าวปลาอาหารให้แก่ร่างกาย หรือหาสิ่งบำรุงบำเรอให้แก่จิตใจ แล้วก็มาหาธรรมะให้แก่สติปัญญา หรือความ ต้องการในชั้นสูงสุด ซึ่งเป็นชั้นอุดมคติ อย่าให้เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์และพบพระพุทธศาสนาเลย
ข้อนี้อยากจะเตือนให้ระลึกนึกถึงกันอยู่เสมอว่า สิ่งใดที่มนุษย์ทำได้เหมือนๆ กับสัตว์ หรือสัตว์ทำได้ เหมือนๆ กับมนุษย์นั้น ไม่เป็นของแปลกเลย ดังที่ท่านได้ตรัสไว้เป็นหลักแต่โบรมโบราณ ก่อนพุทธกาลมาเสีย อีกว่า “อาหารนิทฺทาภยเมถุนญจฺ” การแสวงหาอาหารกิน การแสวงหาความสุขจากการนอน ความรู้จักขี้ขลาด วิ่งหนี อันตราย และการประกอบเมถุนธรรม “สามาญญเมตปฺปสภิ นรานํ” ทั้ง ๔ อย่างนี้มีได้เสมอกัน ในระหว่าง มนุษย์กับสัตว์ “ธมฺโม หิ เตสํ อธิโก วิเสโส” ธรรมะเท่านั้นที่จะทำความผิดแปลกแตกต่างระหว่างคนกับสัตว์ “ธมฺเมน หีนา ปสุภิ สมานา” เมื่อปราศจากธรรมะแล้ว คนกับสัตว์ก็จะต้องเหมือนกัน
ฉะนั้นขอให้จำไว้เป็นหลักเสียครั้งหนึ่งก่อนว่า คนจะผิดจากสัตว์ หรือสัตว์จะผิดจากคน มันก็หยุดอยู่ ตรงที่จะมีธรรมหรือไม่เท่านั้น จะเอาเรื่องอาหารการกิน การแต่งเนื้อแต่งตัว การเป็นอยู่ เพื่อแสวงหาความสุข ความเพลิดเพลิน ทาง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นต้นนั้น ไม่มีความแปลกแตกต่างอะไรกัน ระหว่างคนกับ สัตว์ หมายความว่า แม้คนจะทำได้ดี วิจิตรปราณีตกว่าสัตว์ แต่ความหมายมันก็ยังเท่ากัน ไม่ได้แปลกแตกต่างกัน ท่านจึงลงมติกันไว้อย่างนั้น ว่าเอาธรรมะอย่างเเดียวเท่านั้นมาเป็นเครื่องวัดความผิดแปลกแตกแต่ง ระหว่างคน กับสัตว์
ฉะนั้นแสดงว่าคนโบราณ แท้จริงนั้นก็ได้เคยมองเห็นคุณค่าของธรรมะ และต้องการธรรมะกันมาแล้ว แต่ว่ามาถึงยุคที่บุคคลหลงระเริงไปในทางวัตถุนิยม พากันละเลยต่อธรรมะ ไปลุ่มหลงในทางวัตถุ ธรรมะก็กลาย เป็นสิ่งที่ลับหายไปจากความต้องการของคน ทำให้คนเบียดเบียนกันเหมือนสัตว์ หรือยิ่งไปกว่าสัตว์ เพราะความ หลงในเรื่องของวัตถุนั่นเอง คนที่ฉลาดมีสติปัญญามองเห็นความจริงข้อนี้แล้ว จึงได้ตักเตือนกัน ให้ระลึกนึก กันดูเสียใหม่ว่าอะไรเป็นอย่างไร จนในที่สุดก็ยังมีคนที่มองเห็นว่าธรรมะนั้นเป็นของจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับที่ จะให้คนอยู่กันเป็นผาสุข
ถ้าจากปราศจากธรรมะเสียแล้ว แม้จะมั่งมี จะร่ำรวย จะอุดมสมบูรณ์สักเท่าไร ก็ย่อมจะหาความสุข ไม่ได้ ตนเองก็มีจิตใจที่เร่าร้อน เผาตนเองให้เร่าร้อนอยู่เสมอ เกี่ยวกับคนอื่นก็เบียดเบียนซึ่งกันและกัน คือการ เอาเปรียบ แข่งขันแย่งชิง กับความอิจฉาริษยา ซึ่งกันและกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง นี่ก็เพราะขาดธรรมะ อย่างเดียวเท่านั้น ตนเองก็อยู่ไม่เป็นสุข ผู้อื่นก็อยู่ไม่เป็นสุข จนได้ชื่อว่าเป็นโลกของความสับสนวุ่นวาย เป็นความทุกข์ ร้อนระอุกันไปทั่วทุกหัวระแหง มีแต่คนหน้าไหว้หลังหลอกแก้กันไม่ทัน หมายความว่าต่อหน้า ก็พูดจาปราศรัยทักทายกัน อย่างกับว่าเป็นมิตรสหาย ผู้ที่รักใคร่ แต่ในใจจริงนั้น ย่อมพร้อมที่จะเอาเปรียบกัน อิจฉาริษยาแย่งชิงกัน เป็นอย่างนี้มากออกไปทุกที ในระหว่างบุคคลต่อบุคคล ในระหว่างหมู่คณะต่อหมู่คณะ จนกระทั่งถึงระหว่างประเทศต่อประเทศ หรือหลายๆ ประเทศรวมกันเข้าเป็นหมู่ เป็นพวก เป็นครึ่งโลก ครึ่งโลก ฝ่ายโน้นก็ถือพวกๆ หนึ่ง ครึ่งโลกฝ่ายนี้ก็ถือพวกๆ หนึ่ง ล้วนแต่มุ่งหมายที่จะทำลายล้างกัน ในพินาศลงไป เพื่อตนเองจะได้อะไร มันก็คือได้วัตถุสิ่งของ ที่เป็นทรัพย์สมบัติของผู้อื่นเท่านั้นเอง
ถ้าต้องการความสุขหรือธรรมะอันแท้จริง เราไม่ต้องไปฆ่าเขา เราก็หาได้ คือเราหาธรรมะ หาความสุข ที่เกิดจากธรรมะได้ โดยไม่ต้องไปฆ่าใคร หรืออิจฉาริษยาใคร เพราะต่างคนต่างหาได้มากมายตามที่ตนต้องการ และถ้าเราเกิดลุ่มหลงในทางวัตถุ ต้องการวัตถุ ซึ่งบำรุงบำเรอ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เป็นต้น แล้ว ไม่เท่าไรกิเลสตัณหาก็จะขยายตัวออกไปอย่างขว้างขวางจนหาให้ไม่ทัน เมื่อหาให้ไม่ทันมันก็คิดลักล้วง ของบุคคลอื่น โดยตรงบ้าง โดยอ้อมบ้าง ต่อหน้าบ้าง ลับหลังบ้าง นี่แหละคือข้อที่มนุษย์ในโลกนี้ มีอุบายหรือ มีแผนการต่างๆ ที่จะรวมพวก รวมกล่มกันแล้ว กอบโกยเอาประโยชน์จากอีกฝ่ายหนึ่ง มาเป็นของตัว ทำให้พลอย เดือดร้อนกันไปทั้งโลกเพราะเหตุนี้ เพราะว่าวัตถุสิ่งของเหล่านั้น มันหาไม่ได้ด้วยการประพฤติธรรมะ หรือ ปฏิบัติธรรมะเป็นส่วนตัว มันจะต้องไปเอาของคนอื่นมาอย่างแน่นอน เพราะความต้องการมันมากเกินไป จนหา ให้ไม่ทันตามปกติ จึงต้องใช้วิธีแย่งชิง หรือว่าเพราะในโลกนี้มันมีอยู่จำกัด มันไม่เหมือนพระธรรม
ที่ว่าจำกัดไม่หมือนพระธรรมนั้น หมายความว่า ธรรมะนี้มีให้ไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งคนหาธรรมะได้มาก ธรรมะมันก็ยิ่งมาก มากอย่างไม่มีที่สุด จนพอแก่ความต้องการของคนอยู่เสมอ แต่ถ้าคนเกิดไปต้องการวัตถุ บำรุงบำเรอแล้วในโลกนี้ มันมีจำกัด มันต้องการมากเกินไป มันก็ไม่พอ มันขาดแคลน มันยิ่งต้องใช้วิธีไปโกง เอาของคนอื่นมา และความเบียดเบียนกันก็เกิดขึ้น เพราะทำอย่างไรเสีย วัตถุมันมีไม่พอ มีคนเอาไปมาก มันก็ยิ่งน้อยลง ไม่มันเหมือนกับธรรมะ ที่ยิ่งมีคนได้มาก มันก็ยิ่งมากขึ้นไปอีก นี่แหละคือความแตกต่าง ระหว่างวัตถุกับธรรมะ
เราควรพิจารณาเห็นประโยชน์เห็นอานิสงส์ของธรรมะ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเดือดร้อนในการที่จะไปแย่ง ชิงมาจากใคร สามารถที่จะแสวงหาได้ตามลำพังตน จนเพียงพอหรือยิ่งกว่าเพียงพอ ในการที่มาทำความสงบเย็น ให้แก่ตน อยู่อย่างเป็นผาสุขไม่เร่าร้อน เหมือนกับคนที่ล่มหลงในวัตถุ ได้มาเท่าไหร่ ก็เท่ากับมาส่งเสริมความ เร่าร้อนให้มีมากขึ้นไป ไม่มีวันที่จะเพียงพอได้ ได้มาเท่านี้ยังไม่ทันบริโภค มันก็ต้องการมากกว่านั้นเสียแล้ว มันได้มามากอีกเท่านั้นไม่ทันจะบริโภค มันก็ต้องการมากไปกว่านั้นเสียอีก ความต้องการมันวิ่งออกไปข้างหน้า สิ่งที่จะมาสนองความอยากของตนอยู่เสมอไป นี้เป็นหลักธรรมดาหรือเป็นกฎเกณ์ธรรมดาของจิตใจที่ประกอบ ไปด้วยกิเลสตัณหา มีความประสงค์ในส่วนวัตถุที่จะมาเป็นเครื่องมาบำรุงบำเรอตน
ความจริงข้อนี้เป็นสิ่งที่ปรากฏแก่คนบางจำพวก จึงได้เกิดความขวนขวายค้นหาธรรมะ กันขึ้นเป็นกลุ่ม เป็นก้อน เป็นพวกๆ หนึ่ง ขึ้นในโลกนี้ด้วยเหมือนกัน แต่ที่ได้กล่าวมาทั้งนี้ทั้งนั้น ก็โดยความมุ่งหมายว่า เรา พุทธบริษัท อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ สามเณร ควรจะอยู่ในพวกไหนกันเล่า ควรจะถึงธรรมะกันจริงๆ เสียที หรือว่าถึงธรรมะ แต่เพียงภายนอก หลอกๆ กันอยู่ตลอดกาล ถ้าเราจะรักความเป็นพุทธบริษัทของเราแล้ว นี้เราจะทำให้ตรงตามพระพุทธประสงค์ ด้วยความเคารพหรือความรักในพระพุทธเจ้าแล้ว เราควรจะทำอย่างไร กันเสียที ดีกว่าที่จะปล่อยให้เป็นอยู่เช่นนี้ ซ้ำๆ ซากๆ ย้ำเท้าอยู่ที่นั้น โดยไม่มีการก้าวไปข้างหน้า ถ้าเกิด ความต้องการหรือความขวนขวายที่จะก้าวหน้าแล้ว เราก็จะได้นึกกันต่อไปถึงข้อที่ว่า เราควรจะพฤติปฏิบัติ อย่างไร หรือเราควรจะทำตัวของเรา ให้ประกอบไปด้วยคุณลักษณะอย่างไรบ้าง
เกี่ยวกับข้อนี้ไม่เป็นการยากเลย เพราะว่ามีคนคิดนึกกันมาก มีคนแสดงความคิดความเห็น ในเรื่องนี้ไว้มาก ซึ่งล้วนแต่เป็นความคิดที่ดีๆ ทั้งนั้น พอที่จะรวบรวม นำมากล่าวให้ฟังกันได้โดยไม่ยากเลย และพอจะ เห็นตามได้ด้วย ที่กล่าวนี้หมายความว่า กล่าวตามหลักทั่วไป ไม่เฉพาะในวงพระพุทธศาสนา ขอให้เป็นธรรมะก็แล้วกัน ธรรมะของผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความรักตัว เห็นแก่เกียรติของความเป็นมนุษย์ ยิ่งกว่าเรื่องปากเรื่องท้องด้วยกันทั้งนั้น คนเหล่านั้นได้กล่าวไว้พอที่จะสรุปได้เป็นหัวข้อ ๔ ข้อด้วยกัน ว่า ๔ ข้อนี้แหละ เป็นคุณ ลักษณะของบุคคล ที่อาจจะเข้าถึงธรรม
๑) ข้อแรกนั้น เขาถือกันว่าบุคคลนั้นจะต้องเข้าถึงความจริงของชีวิตในด้านใน หรือที่เป็นภายในเสียก่อน ข้อนี้หมายความว่าคนธรรมดาสามัญนั้น รู้จักชีวิตแต่ในด้านนอก ไม่เข้าใจถึงความจริงของชีวิตที่เป็นด้านใน ทำไมต้องพูดถึงเรื่องด้านนอกด้านในกันอย่างนี้ ก็เหมือนกับที่ได้กล่าวไว้อีกอย่างหนึ่งว่า ชีวิตด้านนอกนั้น มัน เป็นชีวิตหลอกๆ เป็นความเติบโตของเนื้อหนัง เป็นความขยายตัวของกิเลสตัณหา ก้าวหน้าออกไปเพื่อความ เร่าร้อนระส่ำระสาย เห็นแต่ในความเกิดดับ เกิดดับ ของจิตที่ประกอบอยู่ด้วยกิเลสตัณหา อย่างนี้แม้แต่มี ลมหายใจอยู่ ก็คิดดูเถิดว่ามันมีชีวิตหรือไม่ ทำไมถึงเรียกคนเหล่านี้ว่า คนไม่มีชีวีต เพราะว่ามีแต่กิเลสที่เป็นเหตุ ให้วิ่งๆ เต้นๆ ไปเท่านั้นเอง มันหามีความเป็นอยู่อย่างสดชื่นเยือกเย็นแท้จริงไม่ มันไม่เป็นตัวของมันเอง มันแต่…มันเป็นแต่ ความหมุนเวียนของกิเลสตัณหา และการกระทำกรรม และการต้องรับผลกรรม วนเวียนกัน อยู่อย่างนี้ มันจะเป็นตัวชีวิตที่แท้จริงที่ตรงไหน ในเมื่อมีแต่ความเกิดดับ เกิดดับ และเต็มไปด้วยความทุกข์ ความเร่าร้อน
คำว่า “ชีวิต” นั้นมันแปลว่า ความเป็นอยู่ คือไม่ตาย เดี๋ยวนี้มันตายอยู่เรื่อย มันตายอยู่วันหนึ่ง ตั้งหลายๆ ครั้ง หลายๆ หน แล้วจะเรียกว่าชีวิตได้อย่างไรกัน ทำไมจึงเรียกว่า คนเหล่านี้ตาย อยู่วันละหลายๆ ครั้ง หลายๆ หน ก็เพราะว่ากิเลสตัณหาของคนเหล่านั้น เกิดดับ เกิดดับ อยู่เรื่อย ต้องการนี้…ประเดี๋ยวเดียวก็ไม่พอใจ เกิดต้องการอย่างใหม่ ต้องการอย่างใหม่…เดี๋ยวเดียวก็เกิดความไม่พอใจ ต้องการอย่างใหม่ ไม่มีที่สิ้นสุดอย่างนี้ คือความเกิดดับ เกิดดับ ของความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกู หรือของกู นั่นแหละคือคนที่ตายโหงอยู่วันหนึ่ง ไม่รู้กี่ร้อยครั้ง กี่พันครั้ง แล้วจะเรียกมันว่ามีชีวิตได้อย่างไรกัน เกิดมา เดินได้ กินได้ พูดได้ วิ่งเต้นได้ อายุก็ตั้งหลายปี หลายสิบปีแล้ว แต่มันก็ยังไม่เคยจะมีชีวิตเลย เพราะมันตายอยู่เรื่อย วันหนึ่งตั้งหลายครั้ง หลายหน เกิดความรู้สึกว่า “ตัวกู” ขึ้นมาทีนึง ต้องการอย่างนั้นอย่างนี้แล้วก็ดับไป แล้วเกิดตัวกูขึ้นมาใหม่ ต้องการอย่างโน้น อย่างโน้น… อีก แล้วก็ดับไป นี่มันจะมีชีวิตที่ตรงไหนกัน อาการอย่างนี้แหละเรียกว่า ชีวิตด้านนอก คือชีวิตที่เป็นไปทางกาย ทางวัตถุ รู้สึกแต่เรื่องทางวัตถุ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกิเลสตัณหา เป็นชีวิต ด้านโง่ๆ ง่ายๆ ภายนอกไปทั้งนั้น
ส่วนชีวิตด้านในนั้น หรือที่เป็นภายในที่ลึกซึ้งนั้น มันเข้าใจยาก จะต้องอาศัยสติปัญญาของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า เป็นที่พึ่งช่วยชี้ทางให้ ว่าอะไรบ้างที่มีความเป็นอยู่อย่างเที่ยงแท้ถาวร ไม่มีความเกิดดับ เกิดดับ เหมือนอย่างนั้น ข้อนี้พระพุทธเจ้าท่านได้ทรงชี้ถึงธรรมะอันสูงสุด ซึ่งเรียกกันว่า พระนิพพาน หรือ อสังขตธรรม หรือ วิสังขาร หรืออะไรๆ ก็แล้วแต่จะเรียก แต่มีความหมายเหมือนกันหมด ในข้อที่ว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลง “ไม่มีการปลี่ยนแปลง ไม่มีการเกิดดับ” ซึ่งนั้นแหละคือชีวิตแท้ เอาให้ได้มาเถิด ที่ทำให้เรา พลอยมีชีวิต หรือเกิดมีชีวิตที่แท้จริงขึ้นมาได้ เลยเรียกว่าชีวิตด้านใน จนอยู่ลึกเข้าใจยาก การที่เราศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมะก็เพื่อให้ได้ชีวิตด้านในที่กล่าวนี้ จึงเป็นชีวิตที่แท้จริงน่าปรารถนายิ่งกว่าชีวิตหลอกๆ ซึ่งเกิดดับ เกิดดับ วันหนึ่ง ไม่รู้กี่ร้อยครั้ง
เพราะฉะนั้นเขาจึงบัญญัติคุณสมบัติข้อแรกว่า คนพวกนี้จะต้องเข้าถึงความจริงของชีวิตชนิดที่เป็นด้าน ในนี้กันให้ถูกต้องเสียก่อน ถ้ายังรู้จักแต่ชีวิตด้านนอก คือ เรื่องปาก เรื่องท้อง เรื่องสวย เรื่องรวย เรื่องทางวัตถุ ไปหมดแล้ว มันจะรู้จักแต่ชีวิตด้านนอกอย่างเดียว หารู้จักความจริงของชีวิตด้านในไม่ ดังนั้นจึงพาคุณสมบัติ ข้อแรกที่จะเข้าถึงธรรมะอันแท้จริง เพราะฉะนั้นในข้อแรกนี้ เราจะต้องพยายามคิดนึก ศึกษา พินิจพิจารณา ให้เห็นจริงๆ ว่า ชีวิตมันมีอยู่ สองด้าน หรือสองชั้น อย่างนี้หรือเปล่า ถ้าไม่เข้าใจ ได้ก็ไม่มีหนทาง ที่จะเข้าถึง ธรรมะที่แท้จริงได้เลย ต่อเมื่อเห็นชัดว่าสิ่งที่เรียกว่าชีวิตโดยแท้จริงนั้น ต้องเป็นสิ่งที่ “ไม่เกิดดับ” หรือ “ไม่เปลี่ยนแปลง” และสงบเย็นอย่างยิ่ง สดชื่นอย่างยิ่ง อยู่เสมอแล้ว จึงจะเรียกว่าเป็นผู้มีการตั้งต้นที่ดี หรือการตั้งต้นในการที่จะเข้าถึงธรรมะได้โดยแน่นอน นี้เป็นข้อแรก
๒) ทีนี้ก็มาถึงข้อที่สอง ข้อนี้เขาเรียกกันตามตัวหนังสือ ซึ่งนิยมกันเป็นสากลว่า คุณสมบัติที่สวรรค์ บรรดาลหรือประทานให้มา บางสิ่งบางอย่าง หรือที่เทพเจ้าได้มอบให้มา คำกล่าวเช่นนี้กล่าวตามคนธรรมดา สามัญ ซึ่งมีความเชื่อเรื่องเทวดา เรื่องสววรรค์ ตรงๆ กันทั้งนั้น ไม่ว่าศาสนานี้หรือศาสนาไหน เขาเลยใช้คำว่า คุณสมบัติที่เป็นของทิพย์ของสวรรค์มอบให้มา นี่ก็หมายถึงข้อที่ว่า บุคคลบางคนมีจิตใจมีอุปนิสัยบริสุทธิ์ สะอาดมาแต่เดิม เหมือนกับที่…ราวกับว่าสวรรค์เขาจัดมาให้เสร็จ หมายความว่าเป็นคนมีนิสัยดี มีสันดานดี ราวกับว่าเป็นเทพเจ้ามาเกิด หรืออะไรทำนองนี้ แต่เนื่องจากพุทธศาสนาเราไม่มีความเชื่ออย่างนั้น ไม่เชื่อใน พระเป็นเจ้าหรือเทวดาเหล่านั้น ว่าจะมอบอะไรมาให้แก่เราได้ เราจึงมีความหมายหรือคำอธิบายเป็นอยู่อย่างนึง ซึ่งเรียกว่า “ปุพเพกตปุญญตา” ได้แก่ ความเป็นคนที่ได้กระทำบุญกุศลไว้แล้วแต่ปางก่อน หรือที่ชาวบ้าน ธรรมดาสามัญมักจะเรียกกันว่า มีวาสนา มีบารมี มีอุปนิสัยเป็นต้น ที่ได้สะสมอบรมมาก่อน
ในพุทธบริษัทเรามักจะพูดอย่างนี้ ใช้คำๆ นี้ ว่าเป็นคนมีวาสนา บารมี อุปนิสัยอันดีงาม ที่ได้สร้างไว้ แต่กาลก่อน และมันก็ตรงเป็นอันเดียวกัน กับที่พวกโน้น เขาเรียกว่า คุณสมบัติที่สวรรค์มอบให้มานั่นเอง เราไม่ต้องเถียงกันในข้อนี้ที่ว่า เทวดามอบให้มาหรือไม่ แต่เราจะยอมรับในข้อที่ตรงเป็นอันเดียวกันว่า คนนั้น จะต้องไม่โง่เกินไป จะต้องไม่อยู่ใน อาภัพสถานะ สิบแปดประการ มีความบ้าบอเป็นต้น จะต้องเป็นคนที่ มีสติปัญญาเฉียบแหลม ตามสมควรที่มนุษย์ธรรมดาจะพึงมี แต่ถ้ายิ่งมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดด้วยก็ยิ่งดี เพราะเรา จะได้เห็นเด็กบางคน เฉลียวฉลาดราวกับว่า เทวดาสร้างสรรค์ลงมาทีเดียว คุณสมบัติเหล่านั้นแหละต้องการเป็น ข้อที่สอง ในการที่เราจะเข้าถึงธรรมะ แต่เราไม่ต้องเชื่อว่าเทวดามอบให้มา เราเชื่อมั่นว่าเป็นความดีที่ได้กระทำไว้ในกาลก่อน จะเป็นกาลก่อน ของชาติที่แล้วๆ มาก็ได้ หรือเป็นกาลก่อนของปีกลาย ปีต่อๆ ไปที่แล้วมาก็ได้ ขอให้มันเป็นเรื่องที่ทำไว้แต่ก่อน ก็แล้วกัน หรือว่าถ้าเรารู้สึกว่าชาตินี้ เรายังโง่เกินไป ยังไม่มีวาสนาบารมี หรืออุปนิสัยอันเพียงพอแล้ว เราก็จงรีบ ปักใจ ตั้งอกตั้งใจ ที่จะสร้างสรรค์ หรือสะสม ให้มากไว้ สำหรับการเกิดในชาติต่อไป จะได้เป็นคนที่มี ปุพเพกตปุญญตา คือบุญกุศลที่ได้สร้างสรรค์ไว้ แต่กาลก่อนมากพอ ที่จะเรียกว่ามีคุณสมบัติที่สวรรค์ หรือ เทวดามอบให้มากับเขาด้วยเหมือนกัน นี่แหละเราจะต้องพิจารณาดูกันให้ดีว่า ทำไมคนบางคน หรือเด็กบางคน มีคุณสมบัติดีติดมาด้วยในสันดานเสร็จ มีอะไรต่างๆ แสดงว่าเป็นคนพิเศษ เป็นคนน่าอัศจรรย์ ไม่ใช่คนธรรมดา จนกระทั่งพอเกิดมา ก็มีคนออกปากแล้วว่าคนนี้จะต้องเป็นคนดี หรือบางคนถึงกับถูกทำนายว่า โตขึ้นก็จะเป็น พระพุทธเจ้า เป็นพระจักรพรรดิ์ หรือจะเป็นนั่นเป็นนี่ ในทางที่สูงที่ดีไปเสียทั้งนั้น ท่านจะต้องมีอะไรๆ ติดมา เป็นที่แน่ใจได้ว่า ไม่เหมือนกับคนธรรมดาสามัญ
ทีนี้เราจะมาน้อยเนื้อต่ำใจว่าเราไม่มีสิ่งเหล่านี้กับเขาอย่างนั้นก็ไม่ถูกต้อง เพราะว่าไม่ได้หมายความว่า คนเราจะต้องมีมากเหมือนๆ กันหมด ขอแต่ให้มีบ้างก็แล้วกัน อย่าให้เป็นคนอาภัพพิกลพิการ ให้เป็นคนมี สติปัญญาสามัญตามธรรมดา พอที่จะเข้าใจอะไรได้ รู้สึกคิดนึกอะไรได้ ฟังคำอธิบายถูกต้องก็แล้วกัน ลองคิดดูว่า คนบางคนเกิดมามีอายุเท่าๆ กัน แต่ฟังเรื่องราวอะไรไม่ถูก ฟังเทศน์ก็ไม่ถูก ฟังคำอธิบาย เรื่องธรรมะก็ไม่เข้าใจ แต่ทำไมบางคนฟังเข้าใจ หรือมันเพราะเขามีคุณสมบัติ ที่สวรรค์มอบให้มาอย่างเดียว หรือว่ามันเป็นเพราะ มีอะไรอื่นแทรกเข้ามาอีกด้วย พอคิดดูน่าจะเห็นได้ว่าบางคนสวรรค์สร้างมาดี แต่มันมีอะไรมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ คือความโง่ เขลาของบิดามารดา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็มี หรือความเปลี่ยนแปลงไปตามกรรม ที่เป็นบาป ที่มาตัดทอน ของบุคคล นั้นเองก็มี หรือการได้คบหาสมาคมกับบุคคลที่ไม่ดี ชักจูงไปในทางต่ำก็มี สิ่งที่ดีที่สุดมาแต่เดิม ก็สูญเสียไป เหมือนกับต้นไม้ ที่เป็นเมล็ดพืชพรรณที่ดี แต่ไม่ได้รับการเพาะปลูกที่ดี มันก็เป็นต้นไม้ที่ดีไปไม่ได้
เราควรจะนึกถึงการกระทำที่เรียกว่า กรรม กันให้มาก ทั้งที่เกี่ยวกับชาตินี้ หรือเกี่ยวกับชาติก่อนๆ เรานึกแต่เพียงว่า จะตั้งหน้าตั้งตาทำให้มีความดีหรือบุญกุศลในวันนี้ เพื่อเป็นเหตุเป็นปัจจัยของวันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า หรือสิบปีข้างหน้า ยี่สิบปีข้างหน้า สามสิบปีข้างหน้า นี้ยังทันแก่เวลา ถ้าเราเข้าถึงธรรมะ ในวันนี้ไม่ได้ เราก็ต้องเข้าถึงได้ในวันหน้า หรือเดือนหน้า ปีหน้า หรือสิบข้างหน้า ยี่สิบปีข้างหน้า อย่างแน่นอน นั่นแหละคือ ปุพเพกตปุญญตา ที่ได้สร้างขึ้นมาด้วยเทพเจ้าหรือสวรรค์ ที่เราทำเราเอง ที่สร้างขึ้นมาได้เองหยกๆ ด้วยการอาศัยคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือของสัตบุรษทั้งหลาย สร้างวาสนา บารมี อุปนิสัย กันในวันนี้เพื่อประโยชน์ในวันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า หรือสิบปี ยี่สิบปีข้างหน้า ดังที่กล่าวแล้ว
ถ้าเราไม่มีทางแก้อย่างอื่น เราก็ต้องแก้ทางนี้ ซึ่งทุกคนควรจะปรับใจเสียใหม่ อย่าได้ทอดอาลัยตายอยาก ว่าเกิดมาชาตินี้ มันต้องเป็นอย่างนี้ตลอดชาติ หรือว่าเราไม่ได้สร้างวาสนาบารมีมา เราจะต้องเป็นอย่างนี้ ไปอีกหลายชาติ นี้เรียกว่า คนทอดอาลัยตายอยาก ไม่กล้าหวังการบรรลุธรรมะ หรือไม่กล้าหวังการบรรลุ มรรคผลนิพพาน ก็มาตัดทอนตัวเองด้วยการจัดตัวเองไว้ว่า เป็นคนสิ้นวาสนา ไม่มีวาสนา ไม่มีบารมี ไม่มีบุญกุศล ไม่มีอะไรที่เทวดาประทานมาให้ เป็นความคิดที่ผิดอย่างยิ่ง สิ่งเรียกว่า เทวดาหรือสวรรค์นั้น มันต้องได้แก่ความดี หรือสติปัญญา หรือสิ่งที่เป็นกุศล แล้วสร้างสิ่งที่เป็นสติปัญญา หรือเป็นกุศลขึ้นให้มาก มันก็เป็นสวรรค์ ขึ้นมาทันที คือจะบันดาลให้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะรู้ถึงธรรม หรือเข้าถึงธรรมดังนี้ แล้วจึงตรัสว่า คุณสมบัติข้อนี้ ขอเป็นคุณสมบัติที่สอง รองลงมาจากข้อที่หนึ่ง ข้อที่หนึ่งว่า ต้องเข้าใจ เรื่องความจริงที่ว่า ธรรมะ… ชีวิตด้านใน นั้นมีอยู่ และเราก็มีคุณสมบัติที่เหมาะแก่ชีวิตด้านในนั้น ราวกับว่าสวรรค์อำนวยลงมาให้ จนเราอาศัยการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องอำนวย
๓) ทีนี้ข้อที่ ๓ ก็คือความพร้อมที่จะเสียสละ ข้อนี้พวกที่นับถือพระเป็นเจ้า เขาใช้คำว่าพร้อมที่จะ ปรนนิบัติพระเป็นเจ้า หมายความว่าพระเป็นเจ้าต้องการอย่างไร ก็พร้อมที่จะเสียสละที่จะปรนนิบัติพระเป็นเจ้า ถ้าเขาถือศาสนาที่มีพระเป็นเจ้า เขาก็ต้องมีคำสอนต่อไปอีกว่าพระเป็นเจ้าต้องการให้มนุษย์ทำอะไร อย่างศาสนา คริสเตียนก็มีสอนว่า พระเป็นเจ้าต้องการให้เรารักเพื่อนบ้าน ยิ่งกว่าตัวเราเอง ถ้าเราพร้อมที่จะปรนนิบัติพระเป็น เจ้า เราก็ต้องรักเพื่อนบ้านยิ่งกว่าตัวเราเองตามนั้นจริงๆ เขาจึงใช้คำว่าพร้อมที่จะปรนนิบัตรพระเป็นเจ้า
แต่สำหรับพวกเราชาวพุทธบริษัทที่ไม่นับถือพระเป็นเจ้าโดยทำนองนั้น เรามีสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ เข้ามา แทนที่ เราก็พร้อมที่จะปรนิบัติธรรมะ คือ การปฏิบัติตามธรรมะนั้นเอง หลักธรรมะส่วนใหญ่นั้น ย่อมมีอยู่ เพียงข้อเดียว คือ สอนให้สละเสีย ซึ่ง “ตัวกู” และ “ของกู” ฉะนั้นเราจึงต้องพร้อมที่จะสละเสีย ซึ่ง ตัวกู และของกู ความยึดมั่นถือมั่นอันใด ซึ่งเป็นไปเพื่อ ตัวกู หรือ ของกู จะต้องสละออกไป
เดี๋ยวนี้เรามีความพร้อมที่จะทำอย่างนี้หรือยัง หรือว่าเรามีการยึดมั่นถือมั่นใน ตัวกู และ ของกู กันอย่าง เหนียวแน่น ขอให้เราคิดดูเถิดในที่นี้เขาต้องการคุณสมบัติข้อที่ ๓ ซึ่งมีใจความว่า ต้องพร้อมที่จะเสียสละ สิ่งที่ยึดมั่นถือมั่น อย่างเหนียวแน่น ถ้าเป็นตัวกู หรือ ของกู เราสำรวจตัวเอง พิจารณาตัวเอง สังคายนาตัวเอง ดูก็แล้วกัน ว่าเรากำลังยึดมั่นถือมั่นอะไรเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งกว่าที่เราจะทำตาม พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือ ต้องเป็นการพูดกันด้วยใจจริง ได้ตัดสินกันด้วยใจจริง จะเอาแต่ปากว่า น่าไว้หลังหลอกนั้นไม่ได้ เรานับถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มากสักเท่าไร หรือว่ามากจนพร้อมที่จะเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อที่ปฏิบัติ ให้ตรง ตามที่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ต้องการหรือหาไม่ นั้นแหละเป็นเครื่องวัดว่า เรามีคุณสมบัติข้อนี้ ได้หรือยัง
๔) ทีนี้ก็มาถึงคุณสมบัติข้อที่ ๔ ซึ่งรวมเรียกสั้นๆ ว่า ความจงรักภักดี กล่าวอย่างนี้ก็กล่าวตามคำที่เขาใช้ กล่าวทั่วๆ ไปในศาสนาอื่น เขาใช้คำว่าจงรักภักดี มันควรจะศึกษาว่า จงรักภักดีต่อใคร พวกที่ถือพระเป็นเจ้า ก็จงรักภักดีต่อพระเป็นเจ้า ตามที่พระเป็นเจ้าต้องการอย่างไร สอนว่าอย่างไร ทีนี้พวกเราชาวพุทธบริษัทไม่มี พระเป็นเจ้า เราจะจงรักภักดีต่อใคร ในที่สุดก็คือความจงรักภักดีต่อธรรมะ หรือพระธรรมอีกนั่นเอง ไม่มี สิ่งใดที่ควรจะจงรักภักดียิ่งไปกว่าธรรมะ คำกล่าวอย่างนี้บางคนอาจจะเข้าใจผิด เหมาไปในทางผิด ว่าเราจะจงรักภักดีต่อธรรมะ ยิ่งกว่าจงรักภักดีต่อบิดามารดา ต่อผู้ปกครองบ้านเมือง ต่อประเทศชาติศาสนา หรืออะไร ทำนองนั้นหรือเปล่า
ความข้อนี้เป็นความเข้าใจผิด ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ถ้าเราจงรักภักดีต่อธรรมะแล้ว ความจงรักภักดี ต่อสิ่งที่ควรจงรักภักดีอื่นๆ ย่อมจะมีมาเอง เพราะว่าธรรมะย่อมมีหลักที่ตายตัว สอนให้จงรักภักดีต่อสิ่งที่ควร จงรักภักดี แต่ “ธรรมะ” ต้องอยู่ในฐานะเป็นสิ่งสูงสุดที่ควรจงรักภักดี คือ “ธรรมะ” สามารถที่จะนำสัตว์ไปสู่ หนทางที่ถูกต้อง ตลอดถึงให้จงรักภักดีต่อสิ่งที่ควรจงรักภักดีรองๆ ลงมา แสดงกล่าวได้ว่า ถ้ามีความจงรักภักดี ในธรรมะอย่างเดียวเท่านั้น ความจงรักภักดีอย่างอื่นจะไม่บกพร่องเลย ท่านอาจจะสงสัยว่าในพุทธศาสนานี้ มีความจงรักภักดีอยู่ในรูปไหนกันเล่า เราไม่มีพระเป็นเจ้าที่เป็นตัวบุคคลที่จะไปจงรักภักดีกัน ก็ดังที่กล่าวมาแล้ว ว่าต้องจงรักภักดีต่อ ธรรมะ โดยชื่อที่เรียกว่า ศรัทธา หรือ ฉันทะ หรือ สัจจะ หรือ อธิษฐาน ยกมาเป็นตัวอย่างเพียงสี่คำก็พอแล้ว
ถ้าเรามี ศรัทธา คือ ความเชื่อ ก็หมายความว่า มีความจงรักภักดี ต่อสิ่งที่ควรเชื่อ เช่นมีความเชื่อใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็มีความจงรักภักดีในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั่นเอง อย่างเดียวกันนั้น ก็คือความจงรักภักดีในธรรมะ “พระพุทธเจ้า” ก็มีความหมาย เป็นที่มี ธรรมะ “ธรรมะ” ก็คือ ธรรมะ “พระสงฆ์” ก็มีความหมายตรงที่มีธรรมะ ไม่มีอะไรมากไปกว่าธรรมะ ฉะนั้นการที่มีศรัทธา ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็คือการมีศรัทธาในธรรมะ ไม่มีทางที่จะเป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น ศรัทธา หรือ ความเชื่อ จึงเป็นลักษณะของความจงรักภักดี โดยปริยายหนึ่ง
ทีนี้ก็มาถึงสิ่งที่เรียกว่า ฉันทะ คือ ความพอใจ การที่เราจะมีความพอใจในสิ่งใดนั้น หมายความว่า มันมีความจงรักภักดีในสิ่งนั้นอยู่ด้วย แม้แต่ความพอใจในบุคคลบางคน มันก็มีความจงรักภักดี ในบุคคลบางคน นั้นด้วย แต่ถ้ามี ฉันทะ ในธรรมะ หรือ ในพระพุทธ ในพระธรรม ในพระสงฆ์ แล้ว ก็ย่อมหมายถึงความมี ความจงรักภักดี ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์โดยแน่นอน
ทีนี้ต่อไปถึง คำว่า สัจจะ คือ ความจริง หรือ ความจริงใจ ถ้ามีความจริงใจ ในสิ่งใดก็หมายความว่า จงรักภักดีในสิ่งนั้น เช่น มีความจริงใจในการที่จะ ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน และมันก็คือ ความจงรักภักดีในรูปหนึ่ง หรือปริยายหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ในธรรมะ ที่เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ มรรคผลนิพพาน สัจจะ นี้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นบารมีอันหนึ่งของพระโพธิสัตว์ ที่จะบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ข้างหน้า นี้ก็เพราะว่าพระโพธิสัตว์นั้นมีความจงรักภักดีต่อการบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณนั่นเอง หรือมองเลยถึง ไปสิ่งที่ยิ่งกว่าไปกว่า สัจจะ ก็คือ สิ่งที่เรียกว่า อธิษฐานะ “อธิษฐานะ” ก็คือสิ่งที่ปักแบบ คือการที่ปักใจลงไปอย่างแน่วแน่ว่าจะต้องทำอย่างแน่ๆ ที่เรียกว่า อธิษฐาน นั้น ไม่ใช่อธิษฐานชนิดเอาเปรียบ อย่างคนทั่วไปอธิษฐานกัน ทำไมจะนึกจะอธิษฐาน จะเอานั่นจะเอานี่ตั้งมากมายก่ายกอง อธิษฐานอย่างนี้มันเป็นเยี่ยงนอกพุทธศาสนา เป็นอธิษฐานบ้าๆ บอ ของคนที่ไม่มีความรู้ ไม่มีการศึกษาอะไร ทำอะไรนิดนึงก็ อธิษฐานจะเอานั่นเอานี่กันมากมายก่ายกองนั่น มันหมายความว่าไม่ได้ทำอะไรเลย แล้วก็จะเอาอะไรมากๆ
ส่วนคำว่า อธิษฐาน ของพระพุทธเจ้า ในฐานะที่เป็นบารมีชนิดหนึ่งนั้น หมายความว่า มีจิตใจที่ปักแน่น ฝังแน่น ลงไปในการที่จะทำสิ่งนั้นให้ลุล่วงไป หลังจากที่มีสัจจะ คือความจริงใจแล้ว ก็มีการปักใจอย่างแน่วแน่ ไม่ยอมถอยหลัง คำว่า อธิษฐาน นี้แปลว่า “ตั้ง ทับ” คำว่า “ตั้ง ทับ” ก็หมายความว่า ทำอยู่แต่กับสิ่งนั้น ไม่มีการ เปลี่ยนแปลงโยกย้าย ไปสู่ความเป็นอย่างอื่นหรือสิ่งอื่น ดังนั้นก็ได้แก่ สัจจะ หรือความจริงใจที่ลงมือทำงาน อย่างแท้จริงไม่ท้อถอยนั่นเอง
จะเห็นได้ว่า เมื่อมาถึงขั้นที่เรียกว่า อธิษฐาน คือการตั้งทับ ได้แต่การปักใจทำลงไปอย่างไม่มีถอยหลัง อย่างนี้แล้ว มันก็เรียกว่าเป็นความจงรักภักดี ต่อธรรมะอย่าง...(เสียงขาดหายตั้งแต่ 0:47:46.8 ถึง 0:48:06.2) ยิ่ง จึงเป็นความหวังได้ว่าก็ต้องประสบความสำเร็จ ข้อมูลดังกล่าวนี้ก็จะเป็นเครื่องเปรียบเทียบ พร้อมกับเป็นการ ชี้ให้เห็นกันไปในตัว ระหว่างพวกอื่นที่ถือศาสนาอื่น เขามีสิ่งที่เรียกว่าความจงรักภักดีเป็นคุณธรรมสำคัญสำหรับการบรรลุถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระเป็นเจ้า แล้วพวกเราก็มีสิ่งที่เรียกว่า ศรัทธา ฉันทะ สัจจะ อธิษฐาน อย่างน้อย ๔ ประการนี้ เป็นเครื่องมืออย่างเดียวกัน ในฐานะที่เป็นความจงรักภักดี ไม่ใช่จงรักภักดีแต่ปาก แต่เป็นการจงรักภักดีด้วยการกระทำ ไม่เป็นความจงรักภักดีแต่เป็นความคิดความนึก แต่เป็นความจงรักภักดีด้วยการทำลงไปจริงๆ โดยที่เรียกว่า อธิษฐาน นั่นเอง
ฉะนั้นคำว่า อธิษฐาน นั้นอย่าได้ใช้เป็นเพียงการคิดๆ นึกๆ หรือว่า นึก ๆๆๆ เอาไปตอบ แต่ต้องเป็นการกระทำลงไปจริงๆ อำนาจความจริงใจที่เรียกว่า สัจจะ, และด้วยอำนาจของ ฉันทะ คือความพอใจ รักชอบในสิ่งนั้นเหนือสิ่งใดทั้งสิ้น, และด้วยอำนาจของ ศรัทธา คือมีความเชื่อในสิ่งนั้น ทั้งประกอบอยู่ด้วย ปัญญาความถูกต้อง อย่างไม่มีทางที่จะพลิกไปในทางอื่นได้ เมื่อใดบุคคลใดมีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะพร้อมทั้ง ๔ ประการนี้แล้ว คนพวกนั้นก็มีหวังโดยแน่นอน คือถ้าต้องการจะถึงพระเป็นเจ้า ก็จะได้ถึงพระเป็นเจ้า หรือถ้า ต้องการจะถึงธรรมะก็จะได้ถึงธรรมะ หรือถ้าต้องการจะบรรลุมรรคผลนิพพาน ก็จะต้องได้บรรลุมรรคผล นิพพานโดยไม่ต้องสงสัยเลย
หลักเกณฑ์ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ เราก็เห็นได้ว่าโ ดยที่แท้ก็เป็นหลักอย่างเดียวกัน กับที่เรารู้กันอยู่ทั่วๆ ไป ในพระพุทธศาสนาของเราคือข้อแรก จะต้องมีสัมมาทิฐิ ความคิดความเห็นความเข้าใจอย่างถูกต้องซะก่อนว่า อะไรเป็นอะไร นี้ก็คือความรู้ความเข้าใจที่ดี ที่เป็นเหตุให้รู้ว่ามันมีชีวิตด้านใน ที่ลึกซึ้งกว่าชีวิตด้านนอก เราต้อง ทราบความจริงข้อนี้อย่างชัดแจ้งเสียก่อน มันจึงจะเกิดความประสงค์ หรือความใฝ่ฝันที่จะเข้าถึงสิ่งนั้น และเรา ก็ต้องมีคุณสมบัติที่คู่ควรกัน เราไม่มีแต่ลักษณะที่ต่ำทราม หรือปราศจากคุณธรรมที่เหมาะสมแก่การที่จะเข้าถึง สิ่งที่สูงสุดหรือประเสริฐนั้นเลย และเมื่อเป็นอย่างนี้แล้วเราต้องเต็มใจที่จะเสียสละสิ่งที่เป็นอุปสรรค ต่างๆ นาๆ หมายความว่าเรายังเห็นแก่สิ่งที่ตรงกันข้ามแล้ว คือยังเห็นแต่ชีวิตด้านนอกแล้ว เราก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึงชีวิต ด้านใน ซึ่งหมายถึงธรรมะอันสูงสุด
และในที่สุดเราก็จะต้องกระทำลงไป ด้วยศรัทธา ด้วยความพอใจ และความจริงใจ และความปักใจมั่น เหมือนกับว่าเรามีความรู้ถูกต้อง มีความเชื่อถูกต้อง มีการกระทำถูกต้อง จึงเกิดเป็นผลสำเร็จขึ้นมา ในการที่จะ บรรลุถึงธรรม หรือเข้าถึงธรรม ที่คนเราควรจะเข้าถึงกันได้ เมื่อเกิดอาการดังนี้ขึ้นมาอย่างครบถ้วนแล้ว การเห็นธรรมะโดยประจักษ์ ก็ย่อมจะเกิดขึ้นโดยไม่ต้องสงสัยเลย อาการอย่างนี้ เปรียบกันได้กับการที่เรามองเห็น วัตถุที่ประสงค์มุ่งหมาย หรือมองเห็นเป้าหมายอย่างชัดเจนอย่างแน่นอน อย่างไม่มีทางที่จะระแวงสงสัย หรือ ลังเลอีกต่อไป การที่มีการกระทำลุล่วงมาถึงเพียงนี้แล้วนั้น เป็นการส่งเสริมให้ มีศรัธทา มีฉันทะ มีสัจจะ มีอธิษฐาน ยิ่งขึ้น ถึงขนาดที่จะถอยหลังไม่ได้ เรียกว่า “เป็นการเห็นธรรมะโดยประจักษ์” โดยประจักษ์ ต่อหน้าต่อตา แม้จะไม่ถึงระดับสูงสุด ก็เรียกว่าได้ถึงระดับหนึ่งซึ่งไม่มีทางที่จะถอยหลังแล้ว เหมือนกับว่าเรา จะขึ้นภูเขาซัก ลูกหนึ่ง ถ้าเราพยายามจนกระทั่งไปถึงเชิงเขาแล้ว ก็เรียกว่าถึงภูเขานั้นแล้วเหมือนกัน แม้จะยังไม่ ถึงยอด มันยังผิดกันมากกับบุคคลที่ยังอยู่ไกล เห็นภูเขาจากที่ไกล อยู่ไรๆ หรือ ลิบๆ นั่น ทั้งยังไม่มีการเห็น ภูเขานั้นโดยประจักษ์ เหมือนกับคนที่มาถึงตีนเขาแล้ว
ถ้าบุคคลประกอบไปด้วยคุณธรรมดังที่กล่าวมาแล้วอย่างครบถ้วน ก็จะมีการเห็นธรรมะนั้นโดย ประจักษ์ เหมือนกับบุคคลที่มาถึงตีนเขาแล้ว หรือว่าปีนภูเขานั้นขึ้นไปตั้งครึ่งตั้งค่อนแล้ว ยังอีกไม่กี่มากน้อย ก็จะถึงยอด ตลอดเวลาที่เดินขึ้นไปบนผู้เขานั้น เรียกว่า เป็นการเห็นธรรมะโดยประจักษ์ทั้งนั้น เพราะว่าก่อนหน้า นี้ยังไม่เคยเห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนอย่างนี้เลย เดี๋ยวนี้เรากำลังย่างเหยียบขึ้นไปตามลำดับ ตามลำดับ เราก็เห็น สิ่งเหล่านั้นโดยประจักษ์ทุกก้าวเท้าที่ย่างขึ้นไป เหมือนกับบุคคลที่ขึ้นสู่ภูเขาแห่งธรรมะ หรือภูเขาแห่งมรรคผล นิพพาน หรือภูเขาแห่งอะไรก็ตาม ตามแต่จะเรียก ก็ย่อมจะเห็นธรรมะนั้น โดยประจักษ์ทุกขั้นทุกลำดับ ที่ก้าวขึ้นไปโดยนัยนี้
นี่ก็เป็นเครื่องวัด เป็นเครื่องทดสอบว่าเราในปัจจุบันนี้ เวลานี้ เดี๋ยวนี้ ปีนี้ก็ตาม จะเห็นธรรมะโดย ประจักษ์ เหมือนกับที่เราปีนขึ้นภูเขาแล้ว เห็นภูเขาอยู่โดยประจักษ์ทุกก้าวเท้หรือหาไม่ หรือจะเป็นแต่เพียง ผู้เห็นอยู่ไรๆ ไกลลิบ เหมือนกับเรามองดูเกาะ หรือภูเขาที่อยู่ไกลแสนไกลในทะเล ในมหาสมุทร บางทีก็เลือน ไปกับขอบฟ้า หาเห็นเป็นภูเขาไม่ แล้วเราจะไปรู้เรื่องภูเขานั้นได้อย่างไร แล้วมันจะเหมือนกับภูเขาที่เรากำลัง ย่างเหยียบขึ้นไปทุกก้าวทุกก้าวนั้นได้อย่างไร นี่แหละคือการก้าวหน้าในทางธรรมะของเรา ที่เป็นอยู่ประจำวัน นั้นมันมีความเห็นโดยประจักษ์ดังที่กล่าวมานี้ หรือไม่ หรือเราจะต้องขัดไว้อย่างหลับหูหลับตาว่า มันได้แน่ แต่ที่ตายแล้วมันยังได้แน่ ที่ไปชาติข้างหน้าโน่น แล้วก็ยิ่งได้แน่ๆ อย่างนี้ก็ลองคิดดู ลองเปรียบเทียบ กันดูว่า มันเป็นการเห็นธรรมะโดยประจักษ์ หรือไม่
บางคนก็มีความเชื่อมีคำกล่าวที่ว่า ทำเอาไว้ ทำเข้าไว้ ก็แล้วกัน มันต้องได้แน่ มันไม่ไปไหนเสียอย่างนี้ เรียกว่าทำตามๆ เขา ไปโดยที่ไม่รู้ว่าทำอะไร จะเป็นการเห็นธรรมะโดยประจักษ์ได้อย่างไร เพราะว่าแม้แต่ตัวเอง ก็ไม่ได้มีความเชื่อในตัวเอง ไปเชื่อตามบุคคลที่เขาว่ากัน แล้วบุคคลที่ว่านั้น ก็ไม่ได้เห็นเอง ว่าตามๆ บุคคลอื่น ที่ว่าตามๆ กันมา เป็นขั้นๆ เป็นทอดๆ หาได้มีใครเคยเห็นธรรมะโดยประจักษ์ไม่ แล้วจะน่าสงสาร น่าสมเพช เวทนา สักเท่าไร ในการที่เรามาพูดว่า เห็นธรรมะ เห็นธรรมะ แต่แล้วก็มาเห็นถือศีลโดยลักษณะอาการอย่างนี้ รวมความว่าการเห็นธรรมะโดยประจักษ์นั้น มีแล้วแต่เราหรือยัง ถ้ายังไม่มีเราก็รีบทำให้มีเสีย โดยลักษณะอาการ ดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง
ทีนี้เราก็พิจารณาดูกันต่อไปเห็นสภาพแห่ง “ความเป็นสาวก” ความเป็นสาวกนี้ก็หมายถึงว่า เป็นผู้ที่ มอบความเชื่อ ความคิด ความนึก หรือกระทั่งมอบชีวิตจิตใจ ทั้งหมดทั้งสิ้นให้แก่ศาสนา ให้แก่พระศาสดา หรือให้แก่ธรรมะ หรือให้แก่อุคมคติที่ตนนับถือบูชาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ถ้าเป็นผู้ที่มอบสิ่งที่ตนมี แก่สิ่ง เหล่านั้นแล้ว ก็เรียกว่ามีสาวกภาพ คือความยอมตนเป็นสาวก ในพุทธศาสนาเรานี่ ได้แบ่งสาวกไว้เป็น ๒ หรือ เป็น ๔ แล้วแต่เราจะแบ่ง ถ้าเราแบ่งสองก็หมายความว่า เป็นสาวกที่เป็นฆารวาสก็มี สาวกที่เป็นบรรพชิตก็มี สาวกที่เป็นฆราวาสนั้นก็แบ่งออกไปเป็น อุบาสก อุบาสิกา มันก็ได้ สองอีกเหมือนกัน สาวกที่เป็นบรรชิต นั้นก็แบ่งเป็น ภิกษุ ภิกษุนี มันก็ได้ สองอีกเหมือนกัน ก็เลยเป็นสาวกสี่หรือ บริษัท ๔ ขึ้นมา แต่การที่แบ่งเป็น สองหรือเป็นสี่นั้นไม่มีความหมายอะไร เพราะว่าความหมายแท้จริงนั้นมันอยู่ตรงที่ว่า เชื่อจริงหรือไม่ ทำจริง หรือไม่ เสียสละให้จริงๆ หรือไม่ มอบหมายชีวิตจิตใจ หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ให้จริงๆ หรือไม่ นั้นต่างหาก
การที่เขาแบ่งสาวกเป็นสองเป็นสี่นั้น ก็เพียงแต่จะเป็นเครื่องยืนยันว่า ผู้หญิงก็ทำได้ ผู้ชายก็ทำได้ อยู่ที่บ้านก็ทำได้ อยู่ที่วัดก็ทำได้ อยู่ที่บ้านทำได้ยากสักหน่อย ก็ช้าสักหน่อยเท่านั้นเอง ไม่ใช่ทำไม่ได้ อยู่ที่วัด สะดวกสักหน่อยก็ทำได้เร็วหน่อยเท่านั้นเอง แต่ก็ไม่ดีวิเศษไปกว่า ที่อยู่ที่บ้านมากมายเกินไป และอย่าได้ไปนึกถึง ว่าอยู่ที่บ้านหรือยู่ที่วัด เป็นหญิงหรือเป็นชายให้มากมายไปเลย จะต้องนึกถึงแต่ข้อที่ว่า เราจะทำอย่างไรถึงจะ เป็นการมอบให้ซึ่งชีวิตจิตใจ หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ในอุดมคติที่เรายึดถืออดีตมา เช่น เรายึดถืออุดมคติ ของพระพุทธเจ้าซึ่งสอนไว้ว่า ความดับทุกข์หรือการเข้าถึงธรรมะนั้นมีอยู่อย่างไรแล้ว เราจะต้องเสียสละ จะต้องบูชา จะต้องมอบหมายชีวิตจิตใจ หรืออะไรทั้งหมดทั้งสิ้นให้แก่อุดมคตินั้น นั่นแหละจึงจะเรียกว่า มีสาวกภาพ หรือสภาพแห่งความเป็นสาวกอย่างสมบูรณ์
ทีนี้เราลองพิจารณาดูเถิดว่า คนบาปพวกนั้น ปากบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่การกระทำ ที่แท้จริงนั้น เป็นไปทางอื่น เขาอาจจะเอาพระพุทธไปขายเสียสัก ๑๕ สตางค์ก็ได้ นั้นหมายความว่า เขาอาจจะ เห็นแก่เงิน ๑๕ สตางค์แล้ว ประพฤติผิดพระธรรม คำสอน หรือบอกปฏิเสธ พระพุทธเจ้า เป็นผู้ไม่นับถือ พระพุทธเจ้าไปก็ได้ หรือว่าใครจะมาจ้างว่าจะให้เงินสักพันหนึ่ง ขอแต่เพียงให้ปฏิเสธว่าไม่นับถือพระพุทธเจ้า เพราะว่าพระพุทธเจ้าไม่ดีไปกว่าพระเยซูอย่างนี้เป็นต้น บางคนก็รับค่าจ้างนั้นทันที นี่ว่าเขาไม่รู้จักทั้งพระเยซู ไม่รู้จักทั้งพระพุทธเจ้า แต่รู้จักแต่เงินพันบาทนั่นเท่านั้น เขาก็เอาพระพุทธเจ้าไปขายเสียได้ ด้วยราคาเพียงเท่านั้น หรือว่าเพราะเขาเห็นแก่ความสนุกสนานเอร็ดอร่อยเพลิดเพลิน ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ซึ่งเป็น เรื่องของอารมณ์ทางกิเลสตัณหาแล้ว เขาก็หันหลังให้แก่พระพุทธเจ้าได้ทันที
นี้เรียกว่าไม่มีสภาพแห่งความเป็นสาวก เหลืออยู่ในบุคคลเหล่านั้นเลย บางคนก็เห็นแก่เงิน บางคนก็ เห็นแก่ลูก แก่หลาน บางคนก็เห็นแก่ความสนุกสนาน เอร็ดอร่อย เพลิดเพลิน แล้วก็ปฏิเสธ พระธรรมบ้าง ปฏิเสธพระสงฆ์บ้าง หรือปฏิเสธทั้งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์บ้าง พร้อมกันไปหมดไม่มีอะไรเหลือ นี้เป็น เครื่องชำระสะสางปัญหาที่ว่า เรากำลังมีสภาพแห่งความเป็นสาวกอย่างถูกต้องหรือไม่ และเราจะต้องระมัด ระวังให้มาก ว่าที่เราทำไปนี้ทำตรงกับอุดมคติจริงๆ หรือไม่
ยกตัวอย่างบางอย่างว่า เรามาทำมาฆบูชา หรือทำวิสาขบูชา นี้เรามาทำเพื่อประโยชน์อะไรกันแน่ เพื่อ ประโยชน์เป็นการมอบหมาย ทุกสิ่งแก่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริงๆ หรือว่าถ้าไม่มาทำแล้วจะถูกเขา นินทาว่า อุบาสกคนนั้นไม่มาทำมาฆบูชา หรือว่าถ้าไม่มาทำมาฆบูชาแล้ว จะโง่เป็นบางอย่าง เพราะไม่ได้เห็นนั้น เห็นนี่ ที่นี่ที่มาทำมาฆบูชาก็เพื่อมาดูอะไรเล่น หรือดูอะไรให้รู้เรื่องไปบ้าง ที่มากไปกว่านั้นพวกหนุ่มๆ สาวๆ มาทำมาฆบูชาเพื่อประโยชน์อย่างอื่นกันก็มีอยู่เป็นอันมาก อย่างนี้ไม่เรียกว่าเป็นการมอบหมายให้ ซึ่งสภาพแห่ง ความเป็นสาวกในสิ่งเหล่านั้นเลย เหล่านี้เป็นเครื่องพิสูตร เป็นเครื่องวัดให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ในบรรดาพวก เราทั้งหลายที่เรียกตัวเองว่า เป็นบริษัท ๔ ในพระพุทธศาสนานั้น เป็นกันจริงหรือไม่
การเป็นสาวก หรือการเป็นพุทธบริษัทนี้ มันเป็นตามธรรมเนียมก็มี สำหรับพ่อแม่เป็นพุทธ ถือพุทธ ลูกเกิดมาก็เป็นพุทธแล้ว ไม่ต้องทำอะไร เป็นได้ก็เพียงคลอดออกมาจากบิดามารดาที่ถือพุทธ นี้มันก็อย่างหนึ่ง และต่อมาก็นำไปที่วัด หรือที่สมาคมจดทะเบียนว่าเป็นบริษัท เป็นสมาชิก ของสมาคมนั้นสมาคมนี้ วัดนั้นวัดนี้ หรือทำพิธีเป็นพุทธมามกะอย่างนี้มันก็เป็นได้ แต่มันก็เป็นสาวกหรือบริษัทตามชื่อตามทะเบียนอีกนั่นเอง แม้จะมาบวชเป็นพระเป็นเณรให้เหมือนกับทางวัด แต่ถ้าไม่มีการเสียสละอุทิศอย่างแท้จริงดังที่กล่าวแล้ว มันก็หามี สภาพแห่งความเป็นสาวกหรือเป็นพุทธบริษัทที่แท้จริงไปได้ไม่ นี่แหละเป็นสิ่งที่ท่านทั้งหลายจะต้องพินิจพิจารณาดู สำรวจดูว่าความเป็นสาวกหรือความเป็นบริษัทของพระพุทธเจ้าของเรานั้นให้ถูกต้องตามความหมายแท้จริง อย่างครบถ้วนบริบูรณ์แล้วหรืออย่างไร
แต่ที่แท้จริงที่แน่ที่นอนนั้นอยากจะกล่าวว่าถ้า ยังไม่มีการเห็นธรรมะโดยประจักษ์ อยู่เพียงใดแล้ว ยังไม่ชื่อว่ามีสาวกภาพที่แท้จริงอยู่เพียงนั้น นี้หมายความว่า แม้จะตั้งใจจริง แม้จะเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง แม้จะ มอบหมายให้แม้กระทั่งชีวิตจิตใจ แต่ถ้ายังไม่เห็นธรรมะโดยประจักษ์แล้ว ยังหาชื่อว่าเป็นสาวกที่แท้จริงไม่ ด้วยเหตุนั้นจึงมีการแบ่งแยกออกไป เป็นพระอริยสงฆ์ และสมมติสงฆ์ พระอริยสงฆ์ หมายถึงผู้ที่เห็นธรรมะ โดยประจักษ์จริงๆ ส่วนพระสมมติสงฆ์ นั้นหมายถึงผู้ที่ยังกำลังพยายามอยู่อย่างเต็มที่ ยังไม่เห็นธรรมะโดย ประจักษ์เลย แต่ว่าพยายามอยู่อย่างเต็มที่ไม่มีการถอยหลัง โดยจะต้องเห็นธรรมะโดยประจักษ์เข้าซักวันหนึ่ง นี้หละอย่าไปเข้าใจว่าสมมติสงฆ์นั้นคือ ผู้เหลวไหลหน้าไว้หลังหลอก แม้เป็นสมมติสงฆ์ ก็ต้องมีความตั้งอก ตั้งใจ ขมักเขม้น เสียสละ อุทิศบูชา เพื่อการเห็นธรรมะโดยประจักษ์เหมือนกัน แต่ว่ายังไม่ทันจะเห็น ก่อนจึงนับรวมๆ เข้าไว้ ในหมู่สงฆ์ หรือเรียกว่า สมมติสงฆ์
ส่วนผู้ที่เห็นธรรมะโดยประจักษ์นั้นจัดเป็นอริยสงฆ์ไปเลย จะเป็นชั้นไหนก็ตาม คือเห็นประจักษ์มาก ประจักษ์น้อย ประจักษ์ถึงที่สุดก็ตาม ล้วนแต่เรียกว่าพระอริยสงฆ์ อันนั้นก็เป็นอันว่า สภาพแห่งความเป็นสาวก ที่แท้จริงนั้น มันไปสูงสุดอยู่ตรงที่เห็นธรรมะโดยประจักษ์ ถ้าเราไม่เห็นโดยประจักษ์ ก็ต้องพากเพียรพยายามไป แม้เราจะยังอยู่ในสภาวะอย่างนี้ แต่ถ้าเรามีความพากเพียรอย่างยิ่ง มีความเสียสละอย่างแท้จริง ก็เรียกว่ามี สาวกภาพ หรือความเป็นสาวกสมมติที่ไม่บกพร่อง ไม่น่าติเตียนแต่ประการใด
รวมความว่าเราจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับธรรมะ มาตั้งแต่ต้นจนปลาย ให้ถูกต้องตามรื่องตามราว แล้วเปลี่ยนจิตใจใหม่ เหมือนกับว่าเกิดใหม่ เป็นมนุษย์พวกใหม่ มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของธรรมะเป็น อย่างดี มีการขวนขวายค้นหาอย่างสุดความสามารถ แล้วกระทำตนให้ประกอบไปด้วยคุณลักษณะ ๔ ประการ หรือเป็นผู้เข้าใจเรื่องนี้ เป็นผู้มีคุณสมบัติในตัวเพียงพอ ที่จะดำเนินต่อไป และพร้อมที่จะเสียสละ หรือมีความ จงรักภักดี จนกระทั่งมีการเห็นธรรมะโดยประจักษ์ จึงจะเรียกว่าบุคคลนั้นเข้าสู่ความเป็นสาวก ของพระรัตนตรัย หรือของธรรมะได้ โดยไม่มีอะไรที่เป็นความบกพร่อง แม้เพียงเท่านี้ก็เรียกว่า เป็นวิถีทางที่จะทำให้เราเข้าถึง ธรรมะได้
ทั้งที่มีความเป็นอยู่หรือเป็นไปในโลก จนจัดว่าเป็นชั้นโลกิยธรรม แต่ว่าไม่ใช่โลกิยธรรมสมมติ ที่เนื่อง ด้วยกิเลสตัณหา แต่เป็นโลกิยธรรมที่เนื่องอยู่ด้วยสติปัญญา เมื่อยังไม่พ้นออกไปจากโลกนี้ได้ ก็ต้องจับ ต้องทำ อย่างนี้ เพื่อให้การอยู่ในโลกนี้ เป็นไปในลักษณะที่พร้อม ที่จะออกไปจากโลกนี้ ผู้ที่เป็นอยู่ได้อย่างนี้ ก็พอจะ กล่าวได้ว่า เป็นผู้อยู่กับความว่าง แม้ไม่มากก็น้อย เป็นผู้อยู่กับความว่างหรือความหลุดพ้น ที่ต้องคอยควบคุมอยู่ ก็ยังดี คือเขาควบคุมความวุ่นอย่าให้มีขึ้นมา อย่าให้เกิดความคิดปรุงแต่งด้วยกิเลสตัณหา เท่านั้นก็พอแล้ว ไม่ได้หมายความว่า เป็นผู้หมดกิเลสตัณหาโดยสิ้นเชิง แต่ว่าเราควบคุมกิเลสตัณหาไว้ให้อยู่ในอำนาจของเรา ไม่ปล่อยให้กิเลสตัณหาควบคุมเรา แต่ว่าเราจะเป็นผู้ควบคุมกิเลสตัณหาตลอดเวลาที่เราควบคุมกิเลสตัณหาได้อยู่ เราก็ยังมีความว่างจากกิเลสตัณหา และความว่างนั่นเองเป็นการเข้าถึง ธรรมะ สมมติ ที่แม้จะยังไม่หลุดพ้นสิ้นเชิง แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าปรารถนาอย่างยิ่ง สำหรับคนที่จะอยู่ในโลกนี้ เรียกว่าเราอยู่กับความว่าง ชนิดที่ต้องคอยควบคุม ความวุ่นอยู่ไปอย่างดี เราควบคุมความวุ่นให้อยู่ในอำนาจของเรา อย่างที่เรียกว่าเรามีฝีมือ มีศิลปะ ในการที่จะจัด ชีวิตนี้ ให้มีความวุ่นแต่น้อย หรือไม่ให้มีความวุ่นเลย ด้วยการบังคับควบคุมของเรา หรือว่าแม้จะมีว่างๆ วุ่นๆ ปนกันอยู่ ก็ให้มีว่างมากกว่าวุ่น ให้วุ่นแต่ในทางที่จะเป็นไปเพื่อความว่าง แล้วให้วุ่นไปในทางที่จะให้มันวุ่นยิ่งขึ้นทุกที จนตกเหวตกนรกไป ถ้าจะมีการวุ่นบ้าง ก็ให้วุ่นไปในทางที่จะเป็นความว่าง วุ่นไปในทางที่จะว่าง อย่างนี้ เพราะเหตุว่าได้ ประสพผลดีในฝ่ายโลกิยธรรม ไม่ค่อยเป็นโลกิยธรรมของกิเลสตัณหา แต่ว่าเป็น โลกิยธรรมของสติปัญญา ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แม้จะเวียนว่ายตายเกิด ก็ยังเกิดดีมีความทุกข์น้อยลง ผู้ที่มีการ บรรลุธรรมะในลักษณะเช่นนี้ ก็พอที่จะกล่าวได้แล้วว่า เข้าถึงธรรมะ ยังอยู่ในธรรมะ ในขั้นที่เป็นโลกิยธรรม ชั้นสูง และเป็นการสมบูรณ์ขั้นหนึ่งแล้วทีเดียว เพราะอยู่กับความว่างที่ควบคุมความวุ่นไว้ได้ เพราะเข้าใจ เป็นอย่างดีในการที่เป็นทาส หรือไม่เป็นทาสของสิ่งทั้งสาม ซึ่งน่าสะดุ้งกลัวอย่างยิ่ง สิ่งทั้งสามนั้นคือ เรื่องกิน เรื่องกาม และเรื่องเกียรติ อะไร ๆ ก็ตัว ก ทั้งนั้น
ตัว ก คือ กิน ตัวแรก ก็หมายความว่า บางคนเป็นทาสของการกิน เห็นแก่ปากแก่ท้อง ถัดไปก็เรื่อง กาม คือความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย นี้ไม่ใช่เรื่องกิน ทางปาก หรือกินอาหาร แต่เป็นการกินของกิเลสตัณหา โดยอาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เขาเรียกว่าเรื่อง กาม และเรื่อง ถัดไป ก็คือ เรื่อง เกียรติ เรื่องมีหน้ามีตา เรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรติ สามอย่างนี้ มันพอๆ กันทั้งนั้น ถ้าเราตกเป็นทาสของสิ่ง ทั้งสามนี้แล้ว มันจะเป็นอย่างไรบ้าง เป็นทาสของการกิน เป็นทาสของกาม เป็นทาสของเกียรติ ล้วนแต่ไม่เป็น อิสระเลย ถ้าเป็นทาสของการกิน ก็คิดดูเองว่า มันจะต้องทำอะไรบ้าง ถ้าเป็นทาสของกาม ก็พอจะเห็นได้ว่า จะต้องก้มศรีษะต่ำลงไปอีกกี่มากน้อย หรือว่าถ้าเป็นทาสของเกียรติ ก็ลองคิดดูบ้างว่า จะต้องคอยคิดนึกเอาอก เอาใจ หรือจะรักษาเกียรติไว้อย่างไร สำหรับคนที่บ้าเกียรติ หรือ เมาเกียรติ เรียกว่าอยู่ในโลกอย่างจมโลก อยู่ในโลกิยธรรมของกิเลส ตัณหา หรือว่าจมอยู่ในโลกิยธรรมนั้น ไม่ใช่วัตถุที่ประสงค์ในการกล่าว
อย่างที่กำลังกล่าวนี้ วัตถุที่ประสงค์นั้น แม้ว่าจะต้องอยู่ในโลก หรืออยู่ในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับ โลกิยธรรม ก็ต้องอยู่ในลักษณะที่ไม่เป็นทาส เขาเป็นผู้รู้จักดีในความแตกต่าง ระหว่างความเป็นทาสกับ ไม่เป็นทาส นั่นแหละจึงจะอยู่ในโลกนี้อย่างที่เรียกว่าไม่จมโลก แต่อยู่เหนือโลก แม้ว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับโลก ก็ยังอยู่เหนือโลก ขอให้ลองฟังดูให้ดีๆ ว่า ไม่ใช่ว่าอยู่ในโลกแล้วจะต้องจมโลกเสมอไป แต่ก็มีโอกาส หรือมีลู่ทาง ที่จะอยู่เหนือโลกได้ตามสมควร ทั้งที่เกี่ยวข้องกันอยู่กับโลก
สำหรับข้อนี้ อยากจะยกตัวอย่างถึงความสูงและความต่ำของจิตใจ อย่าได้เห็นเป็นเรื่องหยาบโลน เพราะตัวอย่างที่จะยกมาให้ มันเป็นเรื่องของสามัญสัตว์ ข้อนี้ก็ได้แก่เรื่องของการที่เกิดมาแล้ว มีความรู้สึก ในทางเพศตรงกันข้าม จะต้องเกี่ยวข้องกับเพศที่ตรงกันข้าม โดยมากของสัญชาติญาณที่เป็นความรัก เป็นความต้องการ ความประสงค์จะสืบพันธุ์และความรักลูกรักหลาน จะต้องเลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน ที่เรียกว่าเป็นชีวิตชนิดที่มีครอบครัว ตามธรรมดาคนเราเกิดมาก็เป็นฆราวาส แล้วก็ครองเรือน แล้วก็ผ่านสิ่งเหล่านี้ แต่แล้วจงพิจารณาดูเถิดว่า เขารู้จักสิ่งเหล่านี้ในลักษณะเช่นไร เขาเข้าใจสิ่งเหล่านี้อย่างถูกต้อง หรือผิดพลาดอย่างไร ในที่สุดก็อาจ จะมองเห็นได้ว่าเขาตกเป็นทาสของสิ่งเหล่านี้ หรือว่าเป็นนายเหนือสิ่งเหล่านี้
ในครั้งแรกที่เป็นความรู้สึกของสัญชาติญาณ ของสามัญสัตว์นั้น เมื่อถึงวัยที่เจริญเต็มที่แล้ว ก็มีความ ต้องการระหว่างเพศ ซึ่งเขาเรียกกันว่าความรัก สิ่งที่เรียกว่าความรักนั้น มีความหมายอย่างไรกันแน่ ถ้าปล่อย ไปตามความรู้สึกต่ำๆ ของธรรมชาติฝ่ายต่ำแล้ว ความรักของคนก็เหมือนกับความรักของสัตว์ มีความประสงค์ แต่จะแสวงหาความสนุกสนานเพลิดเพลิน จากความรู้สึกของสามัญสัตว์เหล่านั้น จนเกิดมีความคิด หรือการ กระทำต่างๆ นาๆ ที่เป็นปัญหายุ่งยากเกิดขึ้นมา จากสิ่งที่เรียกว่า ความรัก ทีนี้คนที่มีสติปัญญามาตั้งข้อพิจารณาดูกันว่า ความรักนั้นเป็นอย่างไร เอาตามเรื่องที่เขาเคยพูดเคยคิด และบรรทึกจารึกไว้เป็นหลักฐานที่น่าฟัง ว่าพวกนักปราชญ์ในสมัยโบราณที่เป็นชนชาติคริสต์ พร้อมสมัย พุทธกาลเขาจับกลุ่มคุยกันด้วยเรื่องนี้ แล้วถามกันถึงเรื่องนี้ ท่านที่มีปัญญาน้อยโง่ๆ ก็ให้ความหมายไปบาง อย่างบางประการว่า ความรักนั้นเป็นอย่างนั้น ความรักนั้นเป็นอย่างนี้ ทุกคนมีความคิดเห็นไม่เหมือนกัน แต่ส่วนมากก็เป็นไปในทางที่ว่า ความรักนั้นเป็นสิ่งที่ต้องมี สำหรับสามัญสัตว์ เป็นประโยชน์หรือเป็นสิ่งที่ ต้องการ คนที่สูงขึ้นมาหน่อยก็รู้ว่า นี่เป็นสิ่งที่ต้องระวัง ถ้าเผลอเข้ามันจะทำให้ตาบอด นี้ลองพิจารณาดูเถิดว่า คนเหล่านั้นมองสิ่งเหล่านี้ ไปในทางธรรมดาสามัญทั้งนั้น
เหมือนคนปานกลางที่มีสติปัญญาสูงขึ้นมา เขาให้ตัวอย่างเปรียบว่า เมื่อก่อนนี้มนุษย์เรา ไม่ได้มีรูปร่างอย่างนี้ คือหมายความว่า ไม่ได้เป็นหญิง หรือเป็นชาย ไม่ได้เป็น ๒ เพศ แต่เป็นสัตว์อะไรชนิดหนึ่ง ก็ไม่รู้ เป็นก้อนกลมๆ มีแขนขารอบตัว (นาทีที่ 1:17:12.0) หมุนราวกับจักรพัดจักรผัน มีอำนาจมาก จนพวกเทวดา คร้าน แล้วก็หัวหน้าพวกเทวดานั้นเกิดมีความคิดขึ้นมาว่า ไอ้สัตว์ตัวนี้ถ้าขืนปล่อยไว้มันก็จะต้องทำลายพวก เทวดาแน่ ก็เลยจะคิดตัดทอนกำลังมันด้วยการผ่าสัตว์กะเทยกลมๆ นั้นออกเป็น ๒ ส่วน จับให้ส่วนหนึ่งเป็น ส่วนหญิง จับให้ส่วนหนึ่งเป็นส่วนชาย เมื่อมันถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนแล้ว มันก็ตกอยู่ในอำนาจของการคิด จะกลับรวมกันตามเดิม ความต้องการนั้นคือความรัก แต่เขาให้ความหมายว่า มันต้องการจะรวมกำลังเป็นอัน เดียวกัน เพื่อสามารถทำอะไรได้มาก เหมือนแต่กาลก่อน ก่อนที่จะถูกแบ่งแยกออกเป็น ๒ ฝ่าย ซึ่งเป็นการถูก บั่นทอนกำลังลงครึ่งหนึ่งนั่นเอง
เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรียกว่าความรักของบุคคลที่มีความคิดอย่างนี้ ก็มีความหมายว่า เป็นความประสงค์ ที่จะต้อง ที่จะรวมกำลัง หรือรวมความสามารถ ในหน้าที่การงานของสองซีกนี้ ให้เข้าเป็นหน่วยเดียวกันที่มีกำลัง หรือมีความสามารถสมบูรณ์เต็มเปี่ยมไปตามเดิม เพราะฉะนั้นความรักของบุคคลประเภทนี้ จึงไม่ใช่ความต้อง การในทางทางเนื้อทางหนัง ซึ่งเป็นความเพลิดเพลินตามนิสัยของกิเลส แต่เป็นความต้องการของสติปัญญา ที่จะ ให้มนุษย์สามารถทำอะไรได้ เต็มเปี่ยมไปตามเดิม นี้ก็นับว่าเขามองเห็นสิ่งนี้ สูงไปกว่าคนธรรมดา หรือ คนหนุ่ม คนสาวที่รู้แต่เรื่องที่เป็นนิสัยของกิเลสตัณหาอย่างเดียว ไม่สูงไปกว่าสัตว์เดรัจฉานเลย
นักปราชญ์คนสุดท้ายออกความเห็นว่า สิ่งที่เรียก “ความรัก” นั้นยังมีมากไปกว่านั้น ที่เขาอธิบายว่า ถ้าคนเราเกิดมาในระยะสั้นๆ ชั่ว ๑๐ ปี ๒๐ ปี หรือว่าร้อยปีก็ตาม แล้วตายไปอย่างนี้ มันน้อยมันสั้นเกินไป ที่จะบรรลุถึงธรรมะในขั้นสูง ถ้าพูดตามภาษาคนทั่วไปก็ว่า ไม่ทัน ไม่พอ ที่จะเข้าถึงความเป็นอันเดียวกัน กับพระเป็นเจ้า ไม่อาจจจะบรรลุถึงความเป็นพระเป็นเจ้า หรือถ้าพูดอย่างพวกเราชาวพุทธ ก็ว่าไม่พอที่จะปฏิบัติ เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน เพราะฉะนั้นเราอย่าได้สูญพันธ์เสียเลย เราตั้งความปรารถนาที่ว่าพืชพันธุ์ของ มนุษย์นี้อย่าเพิ่งสูญ แต่จะอยู่สืบพันธุ์ให้มีไว้ต่อไปเรื่อยๆ จนถึงกับโอกาสข้างหน้าก็จะมีสภาพหนึ่งที่เข้าถึง มรรคผลนิพพาน
ฉะนั้นอธิบายว่าความรักนั้นเป็นเพียงความประสงค์ว่าอย่าให้มนุษย์สูญพันธุ์ ถ้ามนุษย์มีอยู่หรือคนมีอยู่ เพื่อเจริญก้าวหน้าในทางธรรมะเรื่อยๆ ไป จนกลายเป็นบรรลุนิพพาน นี่แหละลองคิดดูเถิดว่า สิ่งที่เรียกว่า ความรักก็ดี การสืบพันธุ์ก็ดี การเลี้ยงลูกเลี้ยงหลานให้ใหญ่โตเจริญงอกงามไปข้างหน้า ซึ่งป็นกิจหน้าที่ใน ครอบครัวทั้งหมดทั้งสิ้นเหล่านี้ มันมีความหมายอะไรกันแน่ มันมีความหมายอย่างไรกันแน่ เช่นความรัก หรือการสืบพันธุ์นั้น เป็นเพื่อความสนุกสนานของเพศตรงกันข้าม อย่างโง่ๆ ง่ายๆ เหมือนกับ เดรัจฉานทั่วไป หรือว่ามันเป็นความประสงค์ ที่จะรวมกำลังกันปฏิบัติหน้าที่ ที่ยาก ที่ลำบาก ที่สูงสุด ของมนุษย์ให้ลุล่วงไป หรือว่ามันเป็นความประสงค์ของสัญชาตญาณ ที่ต้องการว่าเราอย่าเพิ่งสูญพันธุ์ไปเสียก่อน ก่อนที่จะบรรลุ มรรคผลนิพพานดังนี้
เราลองคิดดูเถิดว่า เราเลี้ยงลูกเลี้ยงหลานไปทำไม ด้วยความโง่เง่าหรือด้วยความฉลาดอย่างไร และ ก่อนหน้านั้น เรามีความรัก เรามีการสืบพันธุ์นั้น ด้วยวัตถุประสงค์อย่างไร เราได้เคยรับการอบรมสั่งสอน ในเรื่องนี้มาอย่างไร หรือว่าเราเดาเอาเอง ตามกิเลสตัณหาของเรา ก็หมายความว่าเราปล่อยตัวไปตามอำนาจ ของกิเลสตัณหา มีความรักด้วยกิเลสตัณหา มีการสืบพันธุ์ด้วยกิเลสตัณหา แล้วก็เลี้ยงลูกเลี้ยงหลานไปด้วย กิเลสตัณหา อย่างนี้มันสมกันกับที่จะเป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่รุ่งเรื่องด้วยปัญญาหรือหาไม่
อันนี้เป็นตัวอย่างเท่านั้น นี้เป็นตัวอย่างที่จะเอามาเปรียบเทียบให้รู้ว่า แม้แต่เรื่องความรัก เรื่องการสืบพันธุ์ เรื่องการเลี้ยงลูกเลี้ยงหลานนี้ มันก็ยังมีความหมายหลายชั้น หลายระดับ แล้วแต่ระดับมันช่างแตกต่างกัน เหลือเกิน ระดับต่ำระดับต้นที่สุด มันก็เหมือนๆ กับของสัตว์เดรัจฉานทั่วไป ถ้าสูงขึ้นมามันก็มีความนึกคิดที่ แยบคายน่าฟัง ถ้าสูงขึ้นไปอีก มันก็ล้วนแต่มีความมุ่งหมาย ที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือการเข้าถึงธรรมะ สูงสุด ที่คนเราควรจะเข้าถึงให้ได้ทั้งนั้น จึงได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ตอนต้นๆ ว่า คนต้องถึงธรรม ธรรมะต้องถึงคน คนต้องถึงธรรมะให้ได้
ถ้าไม่ได้เดี๋ยวนี้ก็ต้องให้ได้ในโอกาสข้างหน้า เพราะฉะนั้นเราควรจะมีปณิธาน หรือมีวัตถุที่ประสงค์ อันแน่นอนเด็ดขาด และตายตัวลงไปว่า เกิดมาเป็นคนทั้งทีต้องเข้าถึงธรรมะให้ได้ แล้วก็ยังมีการคิดการนึก การจัด การตระเตรียม การขวนขวาย การพยาพยาม การตั้งใจ การปักใจ อะไรต่างๆ ทุกสิ่ง ทุกอย่าง เพื่อให้เดิน ไปแต่ในทางที่จะใกล้ธรรมะยิ่งขึ้นไปทุกที ถ้าไม่ทันในชาตินี้ ก็มีต้องมีพันธุ์เหลือไว้ สำหรับถึงในชาติหน้า หรือว่าถ้าคนเดียวทำไม่สำเร็จก็จะได้ร่วมแรงร่วมใจกัน
ผู้หญิงก็มีความคิดอย่างผู้หญิง ผู้ชายก็มีความคิดอย่างผู้ชาย ถ้ารวมกันแล้วก็จะสมบูรณ์ที่สุด เหมือนกับ ที่เขากล่าวเปรียบเป็นอุทาหรณ์ไว้ ว่าทีแรกมันก็เป็นเพียงก้อนกลมๆ ก้อนเดียว เป็นสัตว์กะเทย ไม่เป็นหญิง ไม่เป็นชาย มันจึงมีกำลังมากถึงขนาดที่เทวดากลัว เทวดาฉลาดรู้จักตัดทอนความสามารถของสัตว์มนุษย์นี้ โดยแบ่งให้มันเป็นสองเพศ ให้มันไปมีปัญหาเรื่องเพศ จนทอนกำลังลงไปเกือบหมดสิ้น เพราะมันไปมัวยุ่งกัน แต่เรื่องเพศ แต่ถ้าว่าสัตว์มนุษย์เหล่านี้เกิดฉลาดขึ้นมา จนถึงกับไม่ลุ่มหลงในเรื่องเพศ แต่ประสงค์ในการที่จะ ร่วมกำลังกันต่อสู้แล้ว มันก็จะกลับไปมีกำลังหรืออำนาจอย่างเดิม เพราะฉะนั้นถ้าควบคุมความรักไว้ อย่าให้ตก ไปในฝ่ายที่เป็นกิเลสตัณหาแล้ว สติปัญญาก็จะเกิดขึ้นในการที่จะรวมกำลังกันในระหว่างเพศนั้น ปฏิบัติหน้าที่ ของมนุษย์ให้ลุล่วงไปด้วยดี คือส่งเสริมกันไปในทางสูง อย่าดึงลงมาในทางต่ำนั่นเอง เราก็จะได้ประสบสิ่งที่ เรียกว่าอุดมคติอันแท้จริง ของสิ่งที่เรียกว่า ความรัก หรือ การสืบพันธุ์ หรือการลงทุน เลี้ยงลูกเลี้ยงหลานตาดำๆ ให้มันคงมีอยู่ต่อไปในโลกนี้ อย่าให้สูญพันธุ์ได้นั่นเอง
ยกตัวอย่างที่แสดงเพื่อปรียบเทียบเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น ในบรรดาเรื่องซึ่งมีอยู่หลายเรื่อง แต่เนื่องจาก เห็นว่าคนเรามีปัญหาเรื่องนี้มากกว่าเรื่องอื่น จึงได้นำเอาตัวอย่างที่เขาเคยคิดเคยนึก กันมาแต่กาลก่อนมาเล่า ให้ฟัง ว่าถ้าอย่างไรเสียพุทธบริษัทเรา อย่าได้มีจิตใจต่ำทรามถึงขนาดที่มองอะไร ไปในลักษณะของกิเลสตัณหา ไปเสียทั้งนั้น จงได้มองไปในลักษณะของอุดมคติ แม้จะมีความรัก ก็มีความรักที่เป็นอุคมคติ แม้จะมีการสืบพันธุ์ก็เป็นการสืบพันธุ์ที่มีอุดมคติ แม้จะต้องเลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน ก็จะต้องเป็นการเลี้ยงลูกเลี้ยงหลานที่เป็นอุดมคติ อย่าให้เป็นเพียงเรื่องเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว หรือแม้ที่สุดแต่เพียงเห็นแก่การสืบสกุลของตัวอย่างเดียว ขอให้ สืบพันธุ์ของมนุษย์ไว้ ในลักษณะที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ในโอกาสข้างหน้า ไม่วันนี้ก็วันหน้าหรือ เดือนหน้า ปีหน้า หรือชาติหน้า ก็แล้วแต่จะได้จะถึง แต่ขอให้มีความมุ่งหมายว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่ดำเนินไปในทางแท้จริงนั้น ต้องเป็นไปเพื่อการบรรลุถึงธรรมะ อย่างเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นเราจึงต้องสนใจ ในการเข้าถึงธรรมะ ทำให้เราเป็นผู้ที่กำลังเดิน เข้าไปหาธรรมะ
เราตื่นนอนขึ้นมาให้มีความรู้สึกคิดนึกว่า เราเป็นลูกของพระพุทธเจ้า ขอให้ฟังดูให้ดีๆ ว่าเราตื่นนอน ขึ้นมา ให้เรามีความรู้สึกเป็นข้อแรกว่าเราเป็นลูกของพระพุทธเจ้า เราอย่าได้เป็นลูกของกิเลสตัณหา อย่าได้ เป็นบ่าว เป็นทาส เป็นคนรับใช้ ของกิเลสตัณหา หรือของความรัก หรือของเพศตรงกันข้าม หรือของอะไร ในทำนองที่ เป็นเรื่องของกิเลสตัณหา ถ้าเราตื่นขึ้นมาด้วยความรู้สึกว่า เราเป็นลูกของพระพุทธเจ้า เราก็จงทำแต่ หน้าที่ ที่มีไว้สำหรับให้ลูกของพระพุทธเจ้ากระทำ อยู่ที่บ้านก็ได้อยู่วัดก็ได้ เป็นอุบาสก อุบาสิกา เป็นภิกษุ ภิกษุณีอะไรก็ได้ ทุกคนล้วนแต่จะเป็นลูกของพระพุทธเจ้าได้ด้วยกันทั้งนั้น ตื่นนอนขึ้นมาให้มีความระลึก นึกถึงข้อนี้ และปฏิบัติหน้าที่ของความเป็นลูกของพระพุทธเจ้า เสียทุกวัน เรื่องต่างๆ ก็จะหมดไป คือจะเป็น เครื่องรางคุ้มครองศักดิ์สิทธิ์ ไม่ให้ตกไปในอำนาจของกิเลสตัณหา จะทำอะไร จะคิดนึกอะไร หรือ แม้แต่ความ รู้สึกที่เป็นไปในเรื่องของความรัก หรือการสืบพันธุ์ การเลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน การมีครอบครัว ก็ล้วนแต่เป็นอุดมคติ ในลักษณะที่ว่าเราเป็นลูกของพระพุทธเจ้าทั้งนั้น ไม่มีความโง่เขลางมงายอะไร หรือส่วนใดที่ตกไปเป็นบ่าว เป็นทาสของกิเลสตัณหา แต่ประการใดเลย นี่แหละเรียกว่าเราเข้าถึงธรรมะแล้ว
คนๆ นั้นถึงธรรมะแล้ว หรือธรรมะถึงคนๆ นั้นแล้ว ในระดับที่เรียกว่าอยู่ในขั้นโลกิยธรรม ที่ประกอบ ไปด้วยสติปัญญา คนนั้นอยู่ในโลก แต่อยู่ในลักษณะที่ไม่เป็นทุกข์มากเกินไป แล้วอยู่ในลักษณะที่เป็นการเดินทาง ไปโดยรวดเร็วที่สุด ไปสู่โลกุตรธรรม เพราะว่าการเป็นอยู่ในโลกในลักษณะเช่นนี้นั้น มันเป็นการศึกษาอยู่ ตลอดเวลา ขอให้ฟังให้ดีๆ ว่ามันเป็นการศึกษาอยู่ตลอดเวลา มันเป็นการลืมหูลืมตาอยู่ตลอดเวลา ไม่หลับตา หลับหูด้วยกิเลสตัณหาแต่ประการใด นี่แหละคือการลืมตาของคนที่เข้าถึงธรรมะ แม้ในขั้นที่เป็นโลกิยธรรม ก็ยังอยู่ในลักษณะที่ประเสริฐสูงสุด น่าชื่นใจ น่าเคารพบูชา น่าเลื่อมใส ประกอบไปด้วยความงาม หรือความ เป็นศิลปะ ที่เต็มไปด้วยความงาม ในการเป็นมนุษย์ อยู่ในโลก ซึ่งจะเป็นอุบาย เป็นหนทางให้ก้าวขึั้นสู่โลกุตตระ คือ เหนือโลกได้ในลำดับต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะต้องวินิจฉัยกันโดยละเอียดตามสมควร
ในข้อนี้หรือในขั้นนี้ให้พึงรู้ไว้ว่า แม้ในขั้นโลกิยธรรมเราก็ต้องอาศัยธรรมะ จะเข้าถึงธรรมะในขั้นนี้ เพื่อความเป็นคนที่ถึงธรรมะ หรือ ธรรมะถึงคน อยู่เสมอไปนั้นแหละ ถึงจะเรียกว่าอยู่ในร่มเงาของธรรมะ เหมือนกับที่พระอรหันต์ทั้งหลายได้กระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ได้ผ่านไปแล้วอย่าง บริสุทธ์ิ บริบูรณ์ ทิ้งร่องรอย ไว้ให้เป็นตัวอย่างแก่คนชั้นหลังว่า เป็นคนต้องเป็นอย่างนี้ เป็นคนต้องถึงธรรมะอย่างนี้ ธรรมะต้องถึงคนอย่างนี้ คนจึงจะเป็นคน และเราก็จะไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นคน หรือเกิดมาเป็นมนุษย์ และพบพระพุทธศาสนาเลย ธรรมเทศนาที่แสดงถึงข้อที่ว่า คนถึงธรรม ธรรมถึงคน ในขั้นที่เป็นโลกิยธรรม ก็สมควรลงด้วยเวลา ขอยุติธรรมเทศนา ในตอนนี้ไว้แต่เพียงเท่านี้ เอวังก็มี แต่ประการฉะนี้ สาธุ อนุโมทนามิ
ตั้งแต่ นาทีที่ 01:31:15 เป็นต้นไปเป็นบทสวดมนต์