แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]
เริ่มนาทีที่ 19 (ก่อนหน้านี้บทสวด) เอาตั้งใจฟังให้ดีให้สัมฤทธิ์ประโยชน์กระทั่งญาติโยมทั้งหลายด้วยก็ต้องฟังด้วยเหมือนกัน สัมฤทธิ์ประโยชน์เพราะมีความเข้าใจในการกระทำที่กำลังกระทำ ทุกคนต้องเข้าใจในสิ่งที่กำลังกระทำมันจึงเป็นการกระทำและมีความหมายก็ต้องได้ประโยชน์ สำหรับเจ้านาก (19.33) ต้องเข้าใจในสิ่งที่กำลังกระทำ ถ้าว่าเป็นภาษาบาลีบ้างก็ผิดก็เพี้ยนก็มีสั้นไปก็มียาวไปก็มีเพราะการฝึกมามันยังไม่ดีพอ แต่เราก็รู้พระสงฆ์ทั้งหลายก็รู้ว่าเธอหมายความว่าอะไร มันเป็นการถือเอาแต่ใจความ เธอทำในใจว่าได้ทำอะไร คือเวลานี้เราได้แสดงตัวในท่ามกลางสงฆ์มีความประสงค์ใคร่จะบรรพชาอุปสมบทในพระศาสนานี้ ปรารภ (20.19) ความประสงค์สามครั้งด้วยจิตใจที่อยากจะบวชแล้วก็ได้ขอบรรพชาด้วยคำขอโดยตรงว่าขอบรรพชาอีกสามครั้งเธอต้องมีจิตใจที่รู้สึกชนิดนี้นะ ไม่ใช่ว่าท่องบาลีหรือไม่ใช่ว่านึกถึงคำแปลของภาษาบาลีแล้วก็อยู่ในหนังสือไม่ได้เข้ามาอยู่ในจิตใจของเรา จิตใจของเรารู้สึกว่าเรากำลังทำอะไร เรากำลังปรารถนาจะบวชแล้วก็มาขอบวชนะ เนี่ยมันเขยิบเข้ามาจนถึงนี้แล้วว่าเราต้องการจะบวชและก็ขอบวช ประกาศว่านับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะอยากจะบวชแล้วขอบวชด้วยคำขอถึงสามครั้งไม่ได้สักไปว่าขอบวช ทีนี้ก็ควรจะทราบเรื่องของการบวชพอสมควร คำว่าบวชเป็นภาษาไทย หรือคำว่าบรรพชาในภาษาบาลีก็แปลว่า จะเว้นจากการเป็นอยู่อย่างฆราวาสโดยสิ้นเชิงว่าอยู่เป็นผู้บวชสมาทานวัดปฏิบัติของผู้บวชไม่ได้มีความเป็นคฤหัสถ์ (22.05) เหลือแม้แต่อย่างใด จะไม่กระทำอย่างฆราวาสจะไม่พูดจาอย่างฆราวาสจะไม่คิดนึกอย่างฆราวาสจะไม่นุ่งห่มอย่างฆราวาสทุกอย่างทุกประการจะเลิกการเป็นฆราวาส และก็มาฝึกปฏิบัติอย่างบรรพชิตคือผู้บวชรู้จักคำว่าบวชโดยตัวหนังสือ ตอนนี้ความหมายก็ต้องมาเพื่อจะปฏิบัติธรรมวินัยฝึกฝนตนเองให้มีธรรมะในระดับที่สูงกว่าฆราวาสเกิดขึ้นในการกระทำของเรา นั้นเราจะต้องอาศัยอดกลั้นอดทนจึงเรียกว่าขันติ ความอดกลั้นอดทน ขันติ พลัง วะยะตินัง (23.14) ขันติเป็นกำลังของผู้บวชตามพระพุทธภาษิต ขันติ พลัง วะยะตินัง (23.22) เป็นกำลังของยะติ ยะติคือผู้บวช นั้นเธอก็ต้องรู้ว่าการบวชนี้มันเป็นอย่างนี้นะ เว้นจากการกระทำอย่างฆราวาส เว้นจากการกระทำตามใจตัวเองคือตามสบาย ต่อไปนี้การกระทำตามสบายนั้นไม่มีอีกแล้ว มีแต่การกระทำตามสิกขาตามวินัยตามบทบัญญัติ จึงต้องการการอดกลั้นอดทน ถ้าไม่อดกลั้นอดทนมันก็ไม่ทำ เมื่อไม่ทำมันก็ไม่เป็นบวชแล้วมันก็เหลวล้มละลายก็ให้แน่ใจแต่บัดนี้ว่าเราจะอดกลั้นอดทนประพฤติพรหมจรรย์ ก็จะต้องอดทนชนิดน้ำตาตกก็จะไม่ให้เสียไปในส่วนตรงพรหมจรรย์ นั่นก็เป็นการบวชนะก็ต้องตั้งใจเดี๋ยวนี้และบัดนี้ นี่เรียกว่าการบวชโดยใจความก็ว่า ทำจิตใจดีกว่าเก่าให้ดีที่สุด ประพฤติกายวาจาให้อยู่ในระดับที่สูงสุดที่มนุษย์เราจะทำได้ด้วยการอดกลั้นอดทน
โดยอีกประการหนึ่งหวังที่จะสนองคุณบิดามารดาให้เต็มที่ข้อนี้ก็ย่อมจะเป็นกำลังใจ คนธรรมดาต้องการกำลังใจต่างๆ สิ่งสนับสนุนกำลังใจ เมื่อเรายังเป็นคนธรรมดาก็ต้องการสิ่งสนับสนุนกำลังใจ ตั้งใจว่าจะบวชสนองคุณบิดามารดานั่นแหละมันจะทำให้เกิดกำลังใจ บิดามารดาเป็นผู้ที่มีบุญคุณจนกล่าวกันไม่หวาดไม่ไหวโดยรายละเอียดแล้วพูดกันไม่หวาดไหว โดยสรุปมันก็ให้ชีวิตจิตใจมาเลี้ยงดูมาด้วยความลำบากอดกลั้นอดทน ถ้าพวกเธอจะคิดว่าในการเลี้ยงเรามาบิดามารดาต้องอดกลั้นอดทนเลือดตาน้ำตาไหลอยู่บ่อยๆ แล้ว เราก็จะต้องอดทนเท่ากันแล้วทีนี้ เราก็ต้องอดกลั้นอดทนบวชสนองคุณบิดามารดาเหมือนบิดามารดาได้อดกลั้นอดทนเลี้ยงเรามาแต่เล็กเนี่ยมันจะสม ลูก บุตรคือผู้เกิดมาสำหรับทำให้บิดามารดาเย็นอกเย็นใจมีความสุขมีความพอใจ ลูกนะคือผู้ที่เกิดมาสำหรับทำบิดามารดาให้สบายใจให้พอใจเป็นสุขใจ แต่ถ้าว่ามันไม่ได้ทำให้บิดามารดาสบายใจมีความสุขใจมันก็ไม่เป็นลูก มันก็ไม่ใช่ลูก มันเป็นอะไรก็ไม่รู้ละ ก็จะสกปรก ก็มันเสียชาติเกิดแล้ว ถ้ามันไม่ได้ทำให้บิดามารดาสบายใจมันก็เสียชาติเกิด ลูกต้องมีหน้าที่ทำให้บิดามารดามีความสบายใจสุขใจเย็นอกเย็นใจ ทีนี้การบวชจะเป็นสิ่งสูงสุดนะในการทำให้บิดามารดาสบายใจสุขใจเย็นอกเย็นใจด้วยความพอใจอย่างธรรมดานี่ก็ได้ตามสัญชาติ (28.00) ก็พอใจแล้ว ที่นี้ก็ทำให้บิดามารดาได้รับประโยชน์ในทางธรรมะคือเป็นญาติในทางพระศาสนายิ่งขึ้น คือให้บิดามารดาเกี่ยวข้องกับพระศาสนายิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน นี่ก็ทำให้บิดามารดาได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง เราอาจจะทำให้บิดามารดารู้ธรรมะถ้าเราขวนขวายนะ บุตรที่ดีจะขวนขวายทำให้บิดามารดารู้ธรรมะยิ่งๆ ขึ้นไป นี่ควรจะกระทำต่อไปข้างหน้าและบิดามารดาก็จะได้รับการตอบแทนอย่างสูงสุดได้สบายใจด้วยได้สว่างไสวแจ่มแจ้งด้วยได้เอาตัวรอดตามแบบของพระศาสนาด้วย เมื่อนึกอยู่ถึงข้อนี้จะเป็นกำลังใจให้เราอดกลั้นอดทนในการประพฤติพรหมจรรย์มันก็เลยง่ายขึ้นเพราะมันมีกำลังใจคอยสนับสนุนอยู่นี่เรียกว่าบวชสนองคุณบิดามารดา นอกจากตัวเองจะได้รับประโยชน์สูงสุดบิดามารดาก็จะได้รับ สิ่งสุดท้ายก็คือพระศาสนาได้ยืนยาว บวชกี่วันกี่เดือนกี่ปีก็ตามใจขอให้เป็นการสืบอายุพระศาสนาเสมอไป ด้วยคำว่าบวชจริงเรียนจริงปฏิบัติจริงได้ผลจริงสอนสืบๆ กันไปจริง นี่ก็ว่าเป็นพระเป็นก็จริง งามก็สากผีดีก็ลาพระก็จริง (30.10) เป็นพระด้วยเหตุอื่นนั้นไม่ใช่เป็นพระก็จริง นี่แหละถึงจะเป็นพระ บวชจริงเรียนจริงปฏิบัติจริงได้ผลจริงสอนผู้อื่นจริงนี่พระจริงก็ให้เป็นเป้าหมายแก่เราจะทำ นี่สืบอายุพระศาสนาได้แน่บวชกี่วันกี่เดือนกี่ปีก็ตามใจจะสืบอายุพระศาสนาได้แน่ด้วยการบวชจริงเรียนจริงปฏิบัติจริงได้ผลจริงสอนสืบๆ กันไปจริง มันเหลือ มันเหลือเกินเราได้ดีที่สุดบิดามารดาก็ได้ดีที่สุดพระศาสนาเพื่อสาธุชนทั้งหลายในโลก(31.00) ก็ได้ดีที่สุด ก็มีพระศาสนาช่วยคุ้มครองอยู่ในโลก เธอจะได้รับความรู้ความเข้าใจแจ่มแจ้งในการปฏิบัติตน แม้จะลาสิกขากลับไปเป็นฆราวาสอีกครั้งก็จะต้องดีกว่าเดิมอีกมากมาย ถ้าว่าเป็นคนบวชจริงเรียนจริงปฏิบัติจริงอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าลาสิกขากลับไปเป็นฆราวาสอีกแล้วมันก็ต้องผิดกันไปเป็นคนละคน ก็ตั้งใจถึงขนาดนี้ที่ตั้งอันมั่นคงของการบรรพชาก็คือว่าเราจะอุทิศชีวิตจิตใจร่างกายทั้งหมดนี้ เพื่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บวชอุทิศให้พระพุทธเจ้าเจาะจงพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ตั้งศาสนาตั้งธรรมวินัยและเป็นเจ้าของศาสนาโดยตรงไม่ได้มานั่งอยู่ที่ตรงนี้ก็จริงแต่ว่าเราบวชอุทิศพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นพร้อมทั้งพระธรรมพร้อมทั้งพระสงฆ์ก็ที่ว่าเมื่อตะกี้นี้ ให้เราจะต้องยอมเสียสละทุกอย่างทุกประการอุทิศพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อให้มีความเป็นอย่างเดียวกันเหมือนกันกับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ข้อหนึ่งคือข้อที่จิตใจสะอาดสว่างสงบพยายามอย่างสุดความสามารถทั้งกลางวันและกลางคืนเพื่อให้มีจิตใจสะอาดสว่างและสงบไอ้ความที่มีจิตใจสะอาดสว่างสงบนั้นคือตัวพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างแท้จริงถ้ามามีอยู่ในเรานะชีวิตของเราร่างกายของเราก็เป็นที่ประทับของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ข้อนี้เป็นอุปมาแต่กล่าวไว้ดีที่สุดเลย ทุกคนนะทั้งอุบาสกอุบาสิกาก็เหมือนกันนะจงพยายามทำร่างกายชีวิตของเราให้เป็นที่ประทับประดิษฐานของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ให้มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ในเรา เธอจงเพ่งเล็งในข้อนี้อุทิศพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ถึงขนาดนี้ เรื่องต่างๆ ก็จะสมความปรารถนา เราประสงค์จะบวชก็ขอบวชนี่คือหัวใจของเรื่องจะบวชในวันนี้เธอต้องมีความรู้สึกนี้อยู่ในใจจริงๆ มันจึงจะเป็นการบวช ถ้าว่าแต่ปากก็เป็นการละเมอปากว่าก็ว่าละเมอเพราะว่ามันไม่มีความรู้สึกที่แท้จริงอยู่ในใจเราต้องมีความรู้สึกอันนี้อยู่ในใจจริงๆ มันจึงจะเป็นความจริง อันนี้แหละเป็นหัวใจ จะพูดมากไปกว่านี้คนมันก็ไม่ค่อยอำนวยจึงเอาแต่ใจความเข้าว่า ก็ต้องอุทิศให้กับความสะอาดสว่างสงบให้จิตใจเพื่อมีจิตใจอย่างเดียวกับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ทีนี้ก็มาถึงผ้ากาสายะก็จะมาใช้คุมร่างกายเป็นเพศของพระสงฆ์ ผ้ากาสายะนี้ท่านก็เรียกกันว่าผ้าอรหัตตถะชะ (35.26) เป็นถุงใช้ของพระอรหันต์ ผ้าผืนนี้ถือว่าเป็นของใช้ของพระอรหันต์เราจะเอามาคุมบนร่างกายเราซึ่งยังไม่เป็นพระอรหันต์ เราก็จะทำจิตใจที่ตั้งอย่างแน่วแน่ว่าจะทำให้เหมือนกับพระอรหันต์จะทำตามพระอรหันต์ให้เหมือนกับพระอรหันต์เพื่อความเหมาะสมก็จะเอาผ้ากาสายะนี้มานุ่งมาห่มนี้มา ถ้าเธอทำเหมือนเธอเอาไปพูดแล้วได้แน่นอนบวชจริงเรียนจริงปฏิบัติจริงได้ผลจริงสอนกันจริงๆ นั่นแหละ ทำตามพระอรหันต์แล้วก็เหมาะที่จะนุ่งห่มเครื่องหมายของพระอรหันต์คือผ้ากาสายะนี้ ในใจความมันมีเท่านี้เธอจำให้แม่นแล้วก็เอาไปทำให้ได้ อย่างน้อยเป็นการฟอกจิตใจด้วยปัญจกรรมฐาน (36.33) คือกรรมฐานห้าประการหรือบางทีก็เรียกว่ามูลกรรมฐาน (36.40) คือกรรมฐานเบื้องต้นอันแรกที่สุดที่ผู้บรรพชาอุปสมบทจะพึงกระทำเธอจงตั้งใจฟังให้ดีซึ่งเราจะบอกให้ฟังเรื่องปัญจกรรมฐานหรือมูลกรรมฐาน ก็ว่าคือเมื่อก่อนเรามีจิตใจเป็นฆราวาสชอบสวยชอบงามชอบเอร็ดอร่อยตามชาวบ้าน ภาษาชาวบ้านธรรมดาเป็นฆราวาสเราจึงหลงใหลในความอร่อยในความงามในความไพเราะนั่นไม่เป็นไรเพราะในเมื่อเป็นฆราวาสไม่เป็นไร แต่บัดนี้เธอมาเป็นพระแล้วทำไม่ได้เลยต้องเลิกกันหมดเลิกโง่ โง่ขนาดว่าอันนั้นสวยอันนั้นอร่อยไอ้นี่หอมไอ้เนี่ย เลิกโง่ชนิดนั้นกันที เรื่องสวยเรื่องหอมเรื่องอร่อยมันเป็นเรื่องตามธรรมชาติเท่านั้นเอง เช่นนั้นเอง เช่นนั้นเอง อย่าไปโง่วิเศษวิโส ถ้าเป็นชายก็คอยมองแต่ผู้หญิง ถ้าเป็นผู้หญิงก็คอยมองแต่ผู้ชาย ความโง่ชนิดนั้นเลิกกันที ไม่มีอยู่ในจิตอยู่ในใจเวลานี้ ท่านจึงสอนให้เห็นความเป็นจริงว่าถ้าเราเผลอเห็นว่าสวยไม่ได้ช่วยเลิกๆ รู้สึกว่าสวยก็ดีทุกอย่างแหละ แต่ว่าท่านมีธรรมเนียมให้เอามาพูดกันแค่สพายะ (38.27) นั่นคือผมคนเล็บฟันนั้น ผมในภาษาบาลีเรียกว่าเกศาต้องจำภาษาบาลีไว้ด้วยเพราะมันต้องรับโดยภาษาบาลี เราเคยตั้งใจให้มันสวยให้ผมของเราสวยนะให้ผมของที่เรารักที่เราชอบมันสวยก็แล้วแต่เรื่องผมสวยประดับประดาให้ผมสวยยาแต่งผมมันจึงขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเพราะความโง่ของคนชนิดนี้ เราไม่มีโง่เวลานี้ปิดไปแล้ว เวลานี้เราจะห่มผ้ากาสายะแล้วให้พิจารณาผมในความเป็นธรรมชาติและมีความเป็นปฏิกูลคือไม่ได้สวยไม่ได้หอมไม่ได้น่ารักน่าพอใจเส้นผมมีรูปร่างเป็นเส้นๆ ยาวๆ นี่เป็นรูปร่างมันก็น่าเกลียดเส้นผมตามธรรมชาติมีกลิ่นที่น่าเกลียดถ้าเราไม่ฟอกล้างมันก็มีกลิ่นที่น่าเกลียดแล้วมันก็เกิดงอกอยู่ในนั้นที่หล่อเลี้ยงด้วยเลือดด้วยน้ำเหลืองมันก็น่าเกลียด หน้าที่การงานของมันก็น่าเกลียดรองรับฝุ่นละอองอยู่บนศีรษะ โดยรูปร่างก็น่าเกลียดโดยสีสันก็น่าเกลียดโดยกลิ่นก็น่าเกลียดโดยที่หน้าที่ก็น่าเกลียด หน้าที่รับฝุ่นบนศีรษะมันก็น่าเกลียด มันต้องมีความโง่มากแหละจึงจะเห็นความสวยงามหอมดีอะไรพรรณนั้น ความโง่นั้นไม่สมควรแก่ผ้ากาสายะเราเลิกเห็นว่าสวยว่างามเห็นตามธรรมชาติว่าปฏิกูลเรียกว่าน่าเกลียดนี่เป็นความน่าเกลียดของผมเรื่องที่หนึ่ง เรื่องที่สองขนมีอยู่ตามเนื้อตามตัวแล้วบ้างก็ละเอียดจนมองไม่เห็นก็มี มีความปฏิกูลอย่างเดียวกับผม ผมมีความปฏิกูลอย่างไรขนที่ขึ้นตามตัวก็มีความปฏิกูลอย่างนั้น นี่เราก็ไม่อาจหลงใหลว่าเป็นของสวยของงามนี่เป็นเรื่องที่สอง เรื่องที่สามเล็บตามปลายนิ้วก็ตกแต่งกันให้สวยก็ย่อมอวดกันว่าสวยก็โง่กันมากๆ แล้วเรื่องแต่งเล็บให้สวยมันก็หมดกันทีสำหรับผู้ที่จะบวชที่จะมาบวชพิจารณาว่าเล็บนี่รูปร่างก็น่าเกลียดสีสันมันก็น่าเกลียดกลิ่นของมันก็น่าเกลียดตามธรรมชาติที่เกิดที่งอกมันก็น่าเกลียดหล่อเลี้ยงด้วยเลือดด้วยน้ำเหลืองเช่นเดียวกัน หน้าที่การงานของเล็บก็คือควักคือเกาหน้าที่ก็น่าเกลียด เราจึงเห็นความน่าเกลียดห้าประการนี้ของเล็บ เราก็เลิกทีเรื่องเล็บงามไม่ต้องพูดกัน มีกิจเป็นตามธรรมชาติธรรมดา ปฏิกูลอยู่ตามธรรมชาติจิตใจก็สูงขึ้นมาไม่จมลงไปโง่ว่ามันสวยมันงามนี่เป็นเรื่องที่สาม เรื่องที่สี่คือฟัน ภาษาบาลีเรียกว่า ทันตา ทุกคนก็มองเห็นแล้วว่าปฏิกูลถ้าไม่ได้รับการชำระแล้วมันก็ปฏิกูลเหลือประมาณมันก็อยู่ในปาก รูปร่างของฟันก็น่าเกลียดสีของฟันที่เหมือนกับกระดูกนี่ก็น่าเกลียด กลิ่นของฟันตามธรรมชาติก็น่าเกลียด เกิดงอกเสียบอยู่ในเหงือกนี่มันก็เป็นที่เกิดที่งอกที่น่าเกลียดหน้าที่เคี้ยวบดมันก็น่าเกลียดเลิกกันทีเรื่องฟันสวยเลิกกันทีนี่เป็นเรื่องที่สี่ เรื่องที่ห้าผิวหนังคุมไปทั่วทั้งตัวเคยหลงใหลกันว่าสวยกันว่างามบำรุงตกแต่งกันให้ผิวหนังงามผิวหนังสวยละเอียดอ่อนเป็นเรื่องฆราวาส วันนี้จะเป็นพระแล้วก็เลิกโง่ เพราะงั้นผิวหนังก็มีความเป็นปฏิกูลตามธรรมชาติรูปร่างของผิวหนังก็น่าเกลียดสีสันก็น่าเกลียดกินของผิวหนังตามธรรมชาติมันก็น่าเกลียดเกิดงอกหุ้มห่อตัวไปทั้งตัวหล่อเลี้ยงด้วยเลือดด้วยน้ำเหลืองมันก็น่าเกลียด ผิวหนังมีหน้าที่รับฝุ่นละอองไปทั้งตัวมันก็น่าเกลียดเป็นที่ระบายออกทางของความร้อนอันนี้มันก็น่าเกลียดเป็นที่ถ่ายเทสิ่งสกปรกจากร่างกายมีรูขนเต็มตัวไปหมดก็อย่าไปหลงว่าสวยงามเหมือนที่เคยหลง ห้าอย่างนี้คือผม ขน เล็บ ฟัน หนังซึ่งเคยหลงว่าสวยว่างามเมื่อเป็นฆราวาสไม่ผิดอะไรที่เป็นฆราวาส แต่ไม่ได้แล้วเมื่อจะมาเป็นบรรพชิตเป็นผู้บวชไม่ได้แล้ว ธรรมในใจใช้ตามนี้นะ ไม่ใช่ฟังเฉยๆ นะ ต้องการให้จิตใจเปลี่ยนนะ จิตใจเปลี่ยนไปตามนี้คือไม่หลงโง่ในเรื่องความสวย แล้วก็มีจิตใจที่เหมาะแล้วที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะ เธอทุกคนรีบทำความเข้าใจข้อนี้ ให้จิตใจเปลี่ยนซะเดี๋ยวนี้แหละดี เมื่อจิตใจเปลี่ยนเป็นคนละคนมันจากหน้ามาเป็นหลังเธอก็เหมาะสมที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะ
นี่เราถือว่าเธอได้เข้าใจข้อนี้ มีจิตใจเปลี่ยนไปตามถ้อยคำของเราแล้ว เรามาทำสัญญากันโดยภาษาบาลี เข้ามาทีละคน ตั้งใจรับปัญจกรรมฐาน (46.00) โดยภาษาบาลีโดยว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ นี่เรียกว่ากันไปตามลำดับ ทีนี้ทวนลำดับ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา ถ้าจำได้ลองว่าดู...(ผู้บวชท่อง, 47.20).. จำได้ดี ทั้งอนุโลมปฏิโลม คือว่าตามลำดับหรือทวนลำดับจำได้ดี ใจคอปกติจึงจำได้ดี แต่ว่านขาต้องว่านขา อย่าว่านักขา (47.50) ชาวบ้านทั้งหลายก็ฟังอยู่อย่างนี้เหมือนกันนะ ให้รู้นขา ไม่ใช่นักขาก็ควรว่าให้ถูก เอาเข้ามาเราเห็นความพยายามของเธอความตั้งใจของเธอมีความเหมาะสมที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะแล้วจึงยินดีทำการบรรพชาให้เธอขอให้เธอมีความเจริญงอกงามในพระศาสนาสมตามความมุ่งหมายของการบรรพชาทุกประการ จงตั้งใจรับปัญจกรรมฐาน (49.30) โดยภาษาบาลีโดยว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ทีนี้ทวนลำดับ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา จำได้ลองว่าเลย...(ผู้บวชท่อง, 49.40) ดีจำได้ ก็มีสติสัมปชัญญะอยู่กับตัวก็ให้ว่าถึงสามเที่ยวสามรอบแล้วก็ว่ากันชนิดอนุโลมและปฏิโลมก็ทั้งเดินหน้าและถอยหลัง คนต้องมีสติสัมปชัญญะพอสมควร ในการบวชนี้เราต้องการผู้มีสติสัมปชัญญะพอสมควรจึงต้องทดสอบดูนี่เธอก็อยู่ในฐานะที่ว่ามีความเหมาะสมพอสมควร ควรที่จะบรรพชาก็ขอบรรพชาให้เธอให้เธอเป็นผู้เจริญงอกงามในบรรพชาสมตามความมุ่งหมายทุกประการเทอญ จงตั้งใจรับปัญจกรรมฐาน (51.20) เป็นภาษาบาลีโดยว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ โดยปฏิโลม ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา ลองว่าดู ...(ผู้บวชท่อง, 52.00)..สามเที่ยวพอก็เรียบร้อยถูกต้องทั้งเดินหน้าและถอยหลังก็ว่ามีสติสัมปชัญญะอยู่กับเนื้อกับตัว เราพอใจที่จะบรรพชา เราพอใจในภาวะนี้ของเธอจึงยินดีให้บรรพชาก็ขอให้มีความเจริญงอกงามในทางพระศาสนาสมตามความมุ่งหมายในการบรรพชาทุกประการ นั่งตรงนั้นพอดีแล้ว ตั้งใจรับปัญจกรรมฐาน (53.20) โดยภาษาบาลีโดยว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ โดยปฏิโลมคือ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา ลองว่าดู...(ผู้บวชท่อง, 54.00)..ดีที่จำได้มีจิตใจปกติจึงว่าได้เรียบร้อยมีความเหมาะสมที่จะบรรพชา เราจึงมีความยินดีในการบรรพชาให้กับเธอขอให้มีความเจริญในทางพระศาสนาสมตามความประสงค์ในการบรรพชาทุกประการ (สวดมนต์ 55.00)
ตั้งใจฟังให้ดีบัดนี้เรามีนิสัยที่ได้แล้ว คือมีอุปชาแล้วนั่นเอง ก็ว่าสงฆ์จะไม่ให้อุปสมบทแก่ผู้ไม่มีอุปชายะ แต่บัดนี้เรามีอุปชายะแล้ว เรียกว่ามีนิสัยแล้ว สมควรจะให้อุปสมบทได้ ในการมีนิสัยหมายความมีความผูกพันต้องเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน วิชายะ (1.08.40) มีหน้าที่ดูแลให้เธอเป็นไปถูกต้องเรียบร้อยปลอดภัย เธอก็ต้องมีหน้าที่สนองคำแนะนำสั่งสอนให้ถูกต้องเรียบร้อยและปลอดภัย และมันก็มีความผูกพันดูแลซึ่งกันและกันให้อยู่เป็นผาสุก ไปไหนไปด้วยกันถ้าไม่ได้ไปด้วยกันต้องไปกับผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ไปแทนจนกว่าจะผ่อนนิสัยโดยมากห้าพรรษา ทีนี้ก็ยังจะมีว่าจะขออุปสมบทต้องมีชื่อเป็นภาษาบาลีเราเรียกกันว่าฉายาเพราะว่าเราต้องสวดธรรมวาจาเป็นภาษาบาลี สวดเป็นภาษาไทยภาษาอื่นไม่ได้เราจึงต้องมีชื่อเป็นภาษาบาลี สามเณรพงพันธ์ (1.09.55) มีชื่อโดยภาษาบาลีว่า พันธุมังโส สามเณรชลิต มีชื่อเป็นภาษาบาลีว่า ชลิตชโล สามเถรวัชรินทร์มีชื่อเป็นภาษาบาลีว่า วัชวินโท สามเถรวิโรจน์มีชื่อเป็นภาษาบาลีว่า วิโรจโน สามเถรสุดชาย มีชื่อเป็นภาษาบาลีว่า สุดชโย จำกันให้แม่นเพราะต้องตอบคำถามเป็นภาษาบาลี พระฉายะ (1.10.35) มีชื่อว่าอินทปัญโญ จำไว้ เพื่อเค้าถามฉายาพระเทศน์ท่านจะได้ตอบว่า อินทปัญโญ (1.10.45) นามะเป็นต้น เราต้องคล่องแคล่วในการที่จะตอบจะต้องรู้ว่าหมายถึงเราหรือหมายถึงอุปชาหรือรู้ว่าหมายถึงใครด้วยไม่ใช่ว่าแต่ปากเฉยๆ แล้วทีนี้ก็จะมอบบาทจีวรไปตามลำดับ (1.11.10) มอบบาตรจีวร และสวด