แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เอ้า, ว่าพร้อมกันนะ เอ้า, ว่าพร้อมกัน แต่ขอให้ถือว่า ขอใครใครว่า ไม่ผูกพันกันเป็นหมู่ เธอว่าให้ถูกต้องให้ดี ทุกตัวหนังสือ ของใคร ใครรับผิดชอบไม่ผูกพันกันเป็นหมู่
(นาทีที่ 1.18 -4.15 เป็นบทสวดบาลี )
เธอตั้งใจให้ดี ให้มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ให้มีสติสัมปชัญญะ ทำความเข้าใจในคำของเรา ส่งใจไปตามถ้อยคำของเรา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางจิตใจ เหมือนกับเกิดใหม่ คือเกิดเป็นบรรพชิต เธอได้กล่าวคำปฏิญาณตัว นับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง และใครจะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัย ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และในที่สุดได้กล่าวคำขอออกมาโดยตรง เต็มตามความหมาย ไม่มี ????(นาทีที่ 5.26) ว่าขอบรรพชา จงทำการบรรพชาให้กระผมโดยผ้ากาสายะเหล่านี้ด้วยความเมตตากรุณา นี่คือใจความแก่เธอได้กล่าวออกไปแล้ว ถ้ากล่าวออกไปโดยไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร หรือกล่าวออกไปโดยใจลอยๆไม่ได้สำนึกในความหมาย ก็สำนึกในความหมายเสียเดี๋ยวนี้ ว่าเธอได้พูดไปอย่างนั้น เราต้องรักษาถ้อยคำ ว่าขอบรรพชา ที่นี้เราต้องรู้จักสิ่งที่เรียกว่าบรรพชาให้ถูกต้องและสมบูรณ์ ขอบรรพชาคือขอระเบียบการปฏิบัติเพื่อความเป็นบรรพชิต ในที่นี้อย่างภิกษุให้ทำการบรรพชาให้เธอ เพื่อเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ปฏิบัติอยู่ในระเบียบปฏิบัติที่เขาวางไว้ให้สำหรับภิกษุอย่างไร เราจะปฏิบัติอย่างเคร่งครัด นับตั้งแต่ว่าบรรพชาแปลว่า ไปหมด เว้นหมด จากความเป็นฆราวาส คำแรก ข้อแรกที่สุดว่า ไปหมด เว้นหมด จากความเป็นฆราวาส เราจึงเตรียมจิตใจของเราสำหรับไปหมด เว้นหมด จากความเป็นฆราวาส อย่ามีการกระทำอย่างฆราวาส อย่ามีการพูดจาอย่างฆราวาส อย่ามีการคิดนึก อย่างฆราวาส อย่าใฝ่ฝันอย่างฆราวาส นี่ขอให้ตั้งใจว่าสลัดความเป็นฆราวาส ออกไป ให้สิ้นเชิง เหมือนกับว่าผมแค่โกนทิ้งไปแล้วนี่ให้มันหมดเท่านั้น
นี่ขอให้ระวังมีสติสัมปชัญญะระวังอย่าให้มีความเป็นฆราวาสกลับมา อย่าได้คิดนึกอย่างฆราวาส อธิษฐานจิตเสียแต่เดี๋ยวนี้ เราจะไม่คิด พูด ทำ อย่างฆราวาส แม้แต่ฝันมันคงจะหยุดฝันอย่าฆราวาสกันสักที ถ้าเราตั้งใจดีดี ตั้งจิตให้เต็มที่ในการที่จะบรรพชา ต้องปฏิบัติตามสิกขาวินัย ซึ่งจะได้ศึกษาเล่าเรียนต่อไปข้างหน้า ปฏิบัติให้สุดความสามารถของตน ของตน นี่เรียกว่าบรรพชา เป็นการกระทำอันประเสริฐสูงสุด จึงได้เรียกว่า พรหมจรรย์ ในขั้นบรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุนี่ เราจะบำเพ็ญพรหมจรรย์อย่างภิกษุ ที่นี้จะต้องตั้งใจ ให้แน่วแน่แต่บัดนี้ว่า จะอดกลั้นอดทน ประพฤติพรหมจรรย์ให้ดีที่สุด เหตุไรจึงพูดว่าอดกลั้นอดทน ก็เพราะว่าพรหมจรรย์นี่มันเป็นการขูดเกลา ขูดเกลานี่มันต้องเจ็บบ้างแหละ เหมือนกับขูดเนื้อให้ออกไป ขูดเนื้อร้ายให้ออก ให้หมดเนื้อร้าย ให้เหลือแล้วเนื้อดี ใส่ยาให้หาย ให้แผลหายดีมันเจ็บบ้าง สิกขาบททุกๆข้อจะมีลักษณะเป็นการขูดเกลา แล้วมันต้องประพฤติด้วยความอดทนเสมอ มันจึงเรียกว่าพรหมจรรย์ เธอเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ยอมแพ้ อดกลั้นอดทน จนน้ำตาไหล ก็ไม่ให้เสียไปในทางพรหมจรรย์ เขาก็เรียกว่าประพฤติพรหมจรรย์ด้วยน้ำตา นี่ถ้ามันเอาจริงมันไม่ยอมให้เสียหาย มันก็สำเร็จ เราขอบรรพชาก็คือขอระบบพรหมจรรย์ บางครั้งจะต้องประพฤติด้วยน้ำตา เอาไป มาก่อนเถอะมารับเอาไปเพื่อจะปฏิบัติ นี่เราเรียกว่าบรรพชา
ที่นี้เราจะพูดถึงประโยชน์ หรืออนิสงค์ของบรรพชา ถ้าเธอมองเห็นและเข้าใจมันก็จะเกิดกำลังใจ ในการประพฤติพรหมจรรย์ ไม่เบื่อหน่าย ไม่ท้อถอย หรือว่าไม่ ขลาดกลัว อานิสงส์ของการบรรพชานั้นมีมาก จนเขียนกันไม่ไหว จนบอกก็ไม่ไหว ได้แต่พูดสรุป เป็นหัวข้อ เป็นคร่าวๆ ว่าเธอผู้บวชจะได้อานิสงส์อย่างหนึ่ง ญาติทั้งหลายมีบิดามารดา เป็นต้น จะได้อานิสงส์ นี่ก็อย่างหนึ่ง สัตว์โลกทั้งหลาย รวมถึงพระศาสนาด้วย ก็จะได้รับประโยชน์ถ้าเราบวชเพื่อสืบอายุพระศาสนา อานิสงส์ข้อแรกที่เธอจะพึงได้นั้น ต้องได้ต่อเมื่อ เธอบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ได้ผลจริง ถ้าอยากจะได้อานิสงส์ก็ต้องบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง แล้วมันจะได้ผลจริง ฉันถึงว่าให้ตั้งใจกันเสียแต่เดี๋ยวนี้ ว่าจะเอาจริง ถ้าเราประพฤติพรหมจรรย์จริง พรหมจรรย์ก็จะขูดเราให้สะอาด เราก็เหมือนกับเกิดใหม่ นี่ อานิสงส์ก็จะได้ เป็นผู้มีกิเลสเบาบาง หรือเป็นผู้หมดกิเลส แล้วเป็นผู้มีความดีชนิดที่ไม่เคยมีมาแต่ก่อน จะสึกไป มันก็ยังติดตัวไปได้มาก ถ้าในระหว่างบวชนี่บวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง หมายความว่าให้อดกลั้นอดทน ให้บังคับตัวเองให้เข้มแข็ง ให้เปลี่ยนนิสัยโลเลมาเป็นนิสัยเข้มแข็ง จริงจัง แล้วก็มันติดตัวไปจนตาย ก็ได้ประโยชน์มาก ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นตัวพระศาสนานะ มันก็จะอบรมนิสัยสันดาน ให้สะอาดขึ้น ให้สว่างขึ้น ให้สงบขึ้น แล้วก็ เราก็ได้อานิสงส์อันนี้ เพราะว่ามีขา ซึ่งกำหนดไม่ได้ คือไม่มีการตีขา นั่นเอง เธอพยายามให้มันได้ประโยชน์อันนี้ส่วนตัว
และญาติทั้งหลายมีบิดามารดา เป็นต้น ที่พลอยได้นี่เป็นอานิสงส์ที่ ๒ ถ้าเราบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง มันได้ผลจริง ญาติทั้งหลายมีบิดามารดา เป็นต้น ก็พลอยได้รับอานิสงส์ มีความปีติ ปราโมทย์ ศรัทธา ปสาทะ ในพระศาสนายิ่งขึ้น นี่เขาเรียกว่า ทำให้บิดามารดาได้เป็นญาติในพระศาสนายิ่งขึ้น คือทำให้บิดามารดารักพระศาสนา ชอบพระศาสนา เสียสละเพื่อพระศาสนายิ่งขึ้น แม้แต่ทางภายนอกเราก็จะเห็นได้ ว่าพอเราบวช ญาติทั้งหลายเข้าวัดกันพรูไปเลย เพราะว่าเราบวช มันดึงญาติให้มาใกล้วัดใกล้ศาสนา นี่ทางภายนอก มันยังเป็นถึงเพียงนี้ ที่ไม่เคยมาวัดเลย พอลูกบวชก็มา คล้ายๆกับว่าลูกนั้นดึงมา ให้มาใกล้วัดใกล้ศาสนา แต่ว่าเราหมายถึงจิตใจของบิดามารดานี่จะดีขึ้นกว่าเดิม จะมีธรรมะมากขึ้นกว่าเดิม เราก็เรียกว่าเป็นญาติในพระศาสนายิ่งกว่าแต่ก่อน เธอช่วยเห็นแก่บิดามารดา ให้เป็นการบวชสนองคุณบิดามารดา ด้วยการกระทำอันสูงสุดนี้ คือทำให้เป็นญาติในพระศาสนา นี่ก็เรียกว่าสนองคุณบิดามารดา ให้ยิ่งกว่าอย่างอื่น จะปฏิบัติทางร่างกายทางวัตถุ อย่างไรๆ ก็ยังไม่เท่ากับ การทำให้บิดามารดามีจิตใจเข้าถึงธรรมะ เข้าถึงพระศาสนายิ่งขึ้น ใจความมันมีว่า บิดามารดาได้รับอานิสงส์ เพราะได้เป็นญาติแก่พระศาสนายิ่งขึ้น เราก็ได้สนองพระคุณของบิดามารดาด้วยข้อนี้
ที่นี้อานิสงส์ที่ ๓ ให้มนุษย์ทั้งโลกพลอยได้รับ ข้อนี้ก็เหมือนกันแหละ เธอต้องบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง และสอนสืบๆกันไปได้จริง ยิ่งดี ยิ่งดี เมื่อเธอบวชจริง เรียนจริง พระศาสนาก็มีอยู่ พระศาสนาไม่สาบสูญ เพราะว่ามีคนบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง สอนต่อๆกันไปจริง พระศาสนายังอยู่ นี่เขาเรียกว่า บวชสืบอายุพระศาสนา บวช ๓ เดือนก็สืบ ๓ เดือน, บวช ๓ ปี ก็สืบ ๓ ปี, บวช ๓๐ ปี บวชตลอดชีวิต มันก็เรียกว่าสืบอายุพระศาสนาตลอดชีวิต ที่พระศาสนายังอยู่เป็นประโยชน์แก่คนทุกคนในโลก ศาสนายังอยู่คนทุกคนได้โลกได้รับประโยชน์ แม้ว่าเขาไม่รู้เรื่องนี้ของเรา เขาไม่ได้ถือศาสนาพุทธ เขาก็ยังได้รับประโยชน์ เพราะว่าถ้าศาสนาพุทธยังอยู่ในโลก มันก็ยังช่วยเหนี่ยวรั้งให้โลกนี้ ไม่วินาศ ไม่ล่มจม ไปตามส่วน หรือว่าให้มันช้าลงก็ยังดี ฉะนั้นการมีศาสนาอยู่ในโลกมันไปถ่วงไว้ ไม่ให้โลกล่มจมเร็วๆ ทุกคนในโลกได้รับประโยชน์ นั้นเราจึงกล้าพูด ว่าการบวชของเรานั้นเพื่อประโยชน์แก่คนทั้งโลก หมายความว่าเธอบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ได้ผลจริง แล้วสอนสืบๆกันไปจริงๆ เธอทำประโยชน์ให้กับ คนทั้งโลก และตรงตามพระพุทธประสงค์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ตถาคตเกิดขึ้นในโลกเพื่อประโยชน์แก่ มหาชนทั้งเทวดาและมนุษย์” ธรรมวินัย คือศาสนาที่ตถาคตแสดงไว้นี่ เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่มหาชนทั้งเทวดา และมนุษย์ การมีอยู่แห่งธรรมะวินัยในโลกนี้ เป็นประโยชน์แก่มหาชนทั้งเทวดาและมนุษย์ ขอให้พุทธบริษัทสาวกทั้งหลายนี่ ช่วยกันทำให้ธรรมะวินัยนี้ เป็นประโยชน์แก่มหาชนทั้งเทวดาและมนุษย์ นี่คำสั่ง คำแสดงความประสงค์ของพระพุทธเจ้า ให้ช่วยกันสืบอายุพระศาสนาไว้เป็นประโยชน์แก่มหาชน ทั้งเทวดาและมนุษย์ ทั้งคนที่ลำบากและคนที่สุขสนุกสนานเพลิดเพลิน มนุษย์คือคนที่กำลังลำบาก เทวดาคือคนกำลังเป็นสุขสนุกสนานเพลิดเพลิน ล้วนแต่ต้องการธรรมะ มาดับทุกข์ส่วนลึก คือกิเลส เราช่วยกันมีพระศาสนาไว้เพื่อช่วยโลก ทั้งเทวดาและมนุษย์ นี่บวชนี้สืบอายุพระศาสนาได้ประโยชน์ป่านนี้ คือมันมากเกินค่า มันเกินกว่าที่ลงทุน แต่คนมันไม่คิดมันก็บวชชนิดที่ ว่าไม่คุ้มค่าผ้าเหลือง นี่มันบวชชนิดแก่ ไม่รู้ว่าบวชทำไม บวชอย่างไร บวชเอาอะไร มันก็ไม่รู้ นี่ก็มีอยู่เหมือนกัน แต่ขออย่ามามีแก่เราก็แล้วกัน เราจะบวชให้ได้รับประโยชน์ทั้งแก่ตัวเราเอง แก่บิดามารดา และแก่พระศาสนา และแก่คนทั้งโลก ถ้าเธอใคร่ครวญดูตามนี้แล้วเธอจะเห็นว่าเป็นของสูงสุด ประเสริฐ มีค่ามหาศาล ฉะนั้น เราจะประพฤติพรหมจรรย์ด้วยน้ำตาเป็นเรื่องเล็ก เป็นเรื่องเล็กไปเลย เพราะเพื่อประโยชน์อันมหาศาลนั้น เพื่ออานิสงส์อย่างยิ่งที่ว่ามาแล้ว และมันก็เต็มใจประพฤติพรหมจรรย์สนุกไปเลย ไม่ต้องประพฤติด้วยน้ำตา มันเต็มใจ มันตั้งใจ แล้วมันไม่ต้องถึงกับน้ำตาออกนะ มันประพฤติได้โดยสะดวก เพราะมันจริง นี่เรียกว่า อานิสงส์ของการบรรพชา เธอจงกระทำไว้ในใจให้เข้าใจ แล้วจะเป็นเครื่องกระตุ้นใจ ดลใจ ให้ประพฤติพรหมจรรย์เต็มที่ และก็สนุก สบาย สะดวกไปเลย เพราะมันมองเห็นอานิสงส์อย่างยิ่งนี้อยู่
แล้วทีนี้เราพูดเป็นเรื่องที่ ๓ ว่าบรรพชามีที่ตั้งที่อาศัยอยู่ที่พระรัตนตรัย ทำนองเดียวกับเธอกล่าวทีแรกว่า เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ นั่นแหละ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่เราบวชอุทิศนี่ นั่นแหละมันเป็นที่ตั้ง ที่อาศัยของบรรพชา เราจะต้องมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ในเรา แล้วบรรพชาก็จะอาศัยอยู่ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราต้องมีจิตใจเป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่าบวชเพื่อหลอกลวงใคร อย่าบวชเพื่อเป็นโอกาสหาประโยชน์อย่างโลกๆ แต่บวชเพื่อจะให้ได้อานิสงส์ อย่างที่ว่ามาแล้ว แล้วเราก็ ตั้งใจให้สะอาด สว่าง สงบ จำไว้ ๓ คำว่า สะอาด สว่าง สงบ ความหมายของพระพุทธเจ้า มีจิตใจสะอาด สว่าง สงบ ความหมายของพระธรรมก็คือ ความรู้และการปฏิบัติ มีผลเป็นความสะอาด สว่าง สงบ พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสะอาด สว่าง สงบ หรือได้รับความสะอาด สว่าง สงบอยู่แล้ว เราจึงถือว่า ความสะอาด สว่าง สงบ แห่งจิต นี่คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถ้าเรามีสิ่งนี้อยู่ในใจ บรรพชาของเรามีที่ตั้ง ที่อาศัย อยู่ที่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชนิดนี้ คือเราสามารถใส่ไว้ในใจ มีไว้ในใจ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ชนิดอื่น เราไม่สามารถจะเอามาใส่ไว้ในใจได้ แต่ถ้าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือความสะอาด สว่าง สงบ นี่เป็นสิ่งที่เราสามารถเอามาใส่ไว้ในใจได้ นั่นแหละจะเป็นที่ตั้งของการบรรพชาของเรา ขอให้การบรรพชาของเรา เกาะแน่นอยู่กับความสะอาด สว่าง สงบ ก็จะเป็นบรรพชาที่ถูกต้อง สมบูรณ์ แล้วมีผล มีผลเกิดสำเร็จประโยชน์ขึ้นมา นี่คือวัตถุที่ตั้งที่อาศัยของบรรพชา เหมือนกับแผ่นดินเป็นที่ตั้งที่อาศัยของสัตว์และพืชพันธุ์ เรานั่งตรงนี้เราเหลือบแลแผ่นดินนั้นมันเป็นที่ตั้งของ ที่ตั้งที่อาศัยของต้นไม้ต้นไร่ สัตว์ ทั้งหลายและคนก็อยู่บนแผ่นดิน ถ้าเรามีความสะอาด สว่าง สงบ เป็นแผ่นดิน ต้นไม้บรรพชาของเราก็จะงอกงาม ขอให้เธอหมายมั่นว่าการบวชนี้อุทิศพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่ตั้ง ที่อาศัยของบรรพชา ขอให้จริงตามนี้ คือให้บวชอุทิศพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์กันจริงๆ อย่าบวชเพื่อประโยชน์ทางวัตถุของตัวกู มันไม่ได้ผลคุ้มค่า
เอาหล่ะ เป็นอันว่าเราได้พูดให้เธอรู้ว่า บรรพชาคืออะไร ประโยชน์อานิสงส์ของบรรพชาคืออะไร วัตถุที่ตั้งที่อาศัยของบรรพชาคืออะไร ขอให้ ขอทำให้จิตใจของเธอให้รู้เห็นทางสว่างไสว ในการที่จะบรรพชา บรรพชาแล้วก็จะเป็นบรรพชาจริง ถ้าเธอมีความเข้าใจอย่างนี้ มีความประสงค์อย่างนี้ ให้มีความหมายมั่นและตั้งใจกระทำอย่างนี้ ก็สำเร็จประโยชน์ นี่เราเรียกว่า โอวาทเบื้องต้น แก่ผู้ที่จะ บรรพชาอุปสมบท เพื่อเป็นการเตรียมตัวเตรียมจิตใจ ให้เป็นการบรรพชาโดยสมบูรณ์
ทีนี่เรื่องสุดท้ายก็ต้องทำตามระเบียบ ตามวินัย หรือตามธรรมนิยม คือ สัจจะปัญจกกรรมฐาน เธอจะมีการเตรียมใจ ยิ่งไปกว่าที่พูดไปแล้ว เธอจงฟังสัจจะปัญจกกรรมฐาน เพื่อเตรียมใจให้เหมาะ สำหรับการบรรพชาให้ยิ่งขึ้นไปอีก พูดกันตรงๆก็ว่า ความโง่อย่างฆราวาสนั้นอย่าเอาติดเข้ามาเลย ให้สลัดออกไปให้หมด เราเคยรักสวยรักงาม แต่งเนื้อแต่งตัว ผมก็เพิ่งโกนไปเมื่อไม่กี่ชั่วโมงนี้ ก่อนหน้านั้นเรามีความรักสวยรักงาม ในเรื่องต่างๆ คราวนี้ขอให้ละความโง่ เรื่องรักสวยรักงามไปเสียให้หมด ให้มีจิตใจเหมาะสมกับจะนุ่งห่มผ้าเหลือง คือผ้ากาสายะ ซึ่งเป็นธงชัยของพระอรหันต์ เธอจงเตรียมจิตใจให้เหมาะ แก่การจะนุ่งห่มผ้ากาสายะ อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ คือสลัดความโง่อย่างฆราวาสออกไป ให้พิจารณาว่าสิ่งที่เราเคยหลงว่าสวยว่างามนั้น ความจริงเป็นของปฏิกูล คือไม่สวย และไม่งาม ความโง่ของเราต่างหากไปหลงว่าสวยว่างาม ความโง่ชนิดนี้ จะเหลืออยู่ไม่ได สำหรับผู้ที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะ
ท่านวางระเบียบไว้ให้เอามาพูดกันสัก ๕ อย่างก็พอ เอามาพูดทั้งหมดไม่มีเวลา เอามาพูด ๕ อย่างคือเรื่อง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แล้วก็ไปเปรียบเทียบทุกเรื่องที่เหลือมันอย่างเดียวกัน ว่า ผม เราไปหลงว่างาม ตกแต่งประดับประดา ลูบทา อบอวลกันเป็นการใหญ่ แต่เดี๋ยวนี้จะต้องมองเห็นในลักษณะ ตรงกันข้าม ว่าผมนี้เป็นของปฏิกูล เรียกโดยภาษาบาลีว่า เกสา งอกอยู่บนหัว มีความปฏิกูลโดยสี สีดำ สีแดง สีหงอก สีอะไรก็สีปฏิกูล รูปร่างเป็นเส้นยาวๆ ก็ปฏิกูล ที่เกิดโดยกลิ่น โดยกลิ่นก็เหม็นปฏิกูล ที่เกิด ที่งอก บนหนังศีรษะเลี้ยงไว้ด้วยน้ำเหลืองและโลหิต นี้ก็เป็นของปฏิกูล หน้าที่การงานของเส้นผมรับฝุ่นละออง บนศีรษะนี่ก็ปฏิกูล ดูว่าโดยรูปร่าง..เอ่อ..โดยสีก็ปฏิกูล โดยรูปร่างก็ปฏิกูล โดยกลิ่นก็ปฏิกูล โดยที่ตั้ง ที่เกิด ที่งอก ของมันก็ปฏิกูล โดยหน้าที่การงานของมันก็ปฏิกูล ให้เห็นปฏิกูลจริงๆแล้วความคิดว่าสวยว่างามมันก็จะหมดไป ให้พิจารณาผม โดยความเป็นปฏิกูลอย่างนี้ สิ่งที่ ๒ เรียกว่าขน โดยภาษาบาลีเรียกว่า โลมา มีความปฏิกูลอย่างเดียวกับผม พิจารณาผมโดยเป็นของปฏิกูลอย่างไร พิจารณาขนโดยความเป็นของปฏิกูลอย่างนั้น สิ่งที่ ๓ เล็บ เรียกโดยภาษาบาลีว่า นขา เราเคยหวังว่าจะให้เล็บงาม แล้วคอยจ้องจะดูเล็บที่งาม ถือเป็นความงามสำหรับอวดกันอย่างหนึ่งด้วย มันเรื่องบ้าทั้งเพ มันเรื่องของคนโง่ เดี๋ยวนี้เรามาเห็นว่ามันปฏิกูล ว่าเล็บนี้โดยสีของมันก็เป็นของน่าเกลียด โดยกลิ่นของมันก็น่าเกลียด โดยรูปร่างของมันก็น่าเกลียด โดยที่เกิดที่งอกของมันก็น่าเกลียด โดยหน้าที่การงานสำหรับควัก แคะ เกา นี่มันก็น่าเกลียด คือปฏิกูล นี่ความคิดว่าเล็บงามนี่เลิกกันที สิ่งที่ ๔ ฟัน เรียกโดยภาษาบาลีว่า ทันตา ลองตัดริมฝีปากออกให้หมด ให้เห็นแต่ฟันแง่ ก็จะเข้าใจได้ง่ายว่าปฏิกูลอย่างไร ให้พิจารณาฟัน ว่าโดยสีก็เหมือนกระดูกนี่ก็ปฏิกูล โดยรูปร่างเป็นซี่ๆนี่ก็น่าเกลียด โดยกลิ่นก็ปฏิกูลน่าเกลียด โดยที่เกิด ที่งอกในเหงือกก็น่าเกลียด น่าที่การงานสำหรับขบ สำหรับเคี้ยว สำหรับบด นี่ก็น่าเกลียด เลิกความรู้สึกว่า เป็นของงาม ไม่บำรุงฟันให้งาม ไม่คอยจ้องจะแลฟันที่งามอีกต่อไป สิ่งสุดท้ายที่ ๕ คือ หนัง ผิวหนัง เรียกโดยภาษาบาลีว่า ตะโจ เราเคยทำให้หนัง ผิวหนัง งามแล้วมอง ต้องการจะจ้องมองผิวหนังที่งาม คราวนี้ก็ทำการบำรุงผิว ประเทืองผิว อบผิว แต่งผิวให้มันงาม โดยคิดว่ามันงาม เอาความโง่อันนี้ให้หมดไปที มาดูกันเสียใหม่ว่าปฏิกูล คือไม่งาม คือน่าเกลียด โดยสีสันนี่มันก็น่าเกลียด โดยรูปร่างของมันก็น่าเกลียด โดยกลิ่นของมันก็ตามธรรมชาติก็น่าเกลียด โดยที่เกิดคือหนังนี่ เกิดอยู่บนเลือด น้ำเหลืองนี่มันก็น่าเกลียด สำหรับรับฝุ่นละอองไปทั่วตัว สำหรับระบายเข้า ระบายออกแห่งความร้อน ความเย็น ของเหงื่อของไคลนี่ ก็มันเรียกว่าน่าเกลียด ก็เลิกเห็นว่าหนัง ผิวหนัง อะไรนี่ ว่างามกันเสียที ยังมิหนำซ้ำผิวหนังนี่ เป็นเครื่องรับสัมผัสความรู้สึกทางเพศ ทางกามารมณ์อย่างยิ่ง นี่ยิ่งอันตราย เป็นของปฏิกูลน่าเกลียด แล้วแถมทบด้วยความเป็นอันตราย แล้วก็เป็นที่ตั้งแห่งกิเลส ก็เลิกว่าหนังงาม ผิวหนังงามกันเสียที เห็นผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ๕ อย่างนี้ว่าเป็นของปฏิกูลโดยธรรมชาติ อย่าโง่ว่าสวย ว่างาม ว่า คอยหลงคอยใหลต่อไป เราสลัดความโง่เดิมๆเสียได้ ก็มีจิตใจเปลี่ยน เหมาะสมที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะ ขอให้เธอส่งจิตใจไป ตามคำที่เราได้กล่าวนี้ แล้วก็ให้มีจิตใจเหมาะสมจะนุ่งห่มผ้ากาสายะ ถึงเรา ก็จะได้ทำการบรรพชาต่อไป จงตั้งใจรับสัจจะปัญจกกรรมฐานโดยภาษาบาลี ตามระเบียบอีกครั้งหนึ่ง
ตั้งใจรับสัจจะปัญจกกรรมฐานโดยภาษาบาลีโดยว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ นี่เรียกว่า ว่าตามลำดับ ทีนี่ว่าทวน ทวนลำดับ ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ถ้าจำได้ลองว่าเลย
พระที่จะอุปสมบท : เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
ท่านพุทธทาส : อีกที
พระที่จะอุปสมบท: เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
ท่านพุทธทาส : เพื่อความแน่นอนอีกที
พระที่จะอุปสมบท : เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
ท่านพุทธทาส : ดี ว่าได้เรียบร้อย แสดงว่า ใจคอปกติ มีสติสัมปชัญญะอยู่กับเนื้อกับตัว จึงว่าได้เรียบร้อย โดยอนุโลม โดยปฏิโลม ใจความของ เกสา โลมา นขา ทันตา มีอย่างจะได้ว่ามาแล้ว เธอก็จำชื่อมันได้แม่นยำจำได้ทั้งโดยพยัญชนะ คือโดยชื่อ จำได้ทั้งโดย อรรถะ คือความหมาย และคำอธิบาย เธอจงถือเอาเป็นเหมือนกับว่าเครื่องป้องกัน ไม่ให้เกิดกิเลส หรือว่าเมื่อกิเลสเกิดขึ้น จะได้ใช้เป็นเครื่อง เอ่อ ต่อสู้กิเลส เขาเรียกว่า มูลกรรมฐาน ให้เป็นครั้งแรกแก่ผู้บวชสำหรับจะได้ใช้เปรียบเสมือนอาวุธ คู่มือ เอ้า, เธอมีสติสัมปชัญญะดี จำได้แม่นยำ เห็นว่ามีความเหมาะสมจะทำการบรรพชา คงไม่เสียทีเป็นแน่ เราจึงมีความยินดีทำการบรรพชาให้แก่เธอ ขอให้เธอจงเป็นผู้เจริญงอกงามในพระศาสนา สมตามความมุ่งหมายของการบรรพชาเธอ โดยภาษาบาลี โดยว่าตามเราดังต่อไปนี้ ต้องก้ม เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ ทีนี้ว่าทวนลำดับ ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ลองว่าดู
พระที่จะอุปสมบท : เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
ท่านพุทธทาส : อีกที
พระที่จะอุปสมบท : เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
ท่านพุทธทาส : อีกที
พระที่จะอุปสมบท : เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
ท่านพุทธทาส : ดี สามเที่ยวก็ไม่สับสน แสดงความมีความรู้สึกปกติ สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความเหมาะสมแก่จะทำการบรรพชาในเบื้องต้น เราจึงยินดีทำการบรรพชาให้เธอ ขอให้เธอมีความเจริญงอกงามในพระศาสนาสมตามความมุ่งหมายของการบรรพชา
ก้ม เซมาทำไม …
เอ้า, ตั้งใจรับสัจจะปัญจกกรรมฐานโดยภาษาบาลี โดยว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ ว่าทวนลำดับคือถอยหลัง ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
ท่านพุทธทาส : ลองว่าดู
พระที่จะอุปสมบท : เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
ท่านพุทธทาส : อีกเที่ยว
พระที่จะอุปสมบท : เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
ท่านพุทธทาส : อีกเที่ยว
พระที่จะอุปสมบท : เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
ท่านพุทธทาส : ดี ไม่งกๆเงิ่นๆ ไม่ประหม่า ไม่ฟุ้งซ่าน มีความเหมาะสม จะคิด จะนึก จะศึกษาจะปฏิบัติ เหมาะสมสำหรับบรรพชา คำอธิบายต่างๆนั้นอย่าลืมเสีย ให้สำเร็จประโยชน์ในการบรรพชา เราเห็นว่าเธอก็เหมาะสมที่จะบรรพชาจึงทำการบรรพชานี้ให้ ให้เจริญงอกงามในบรรพชา สมตามความมุ่งหมายทุกประการ
กราบ และถวายเครื่องสักการะ แล้วก็ขอศีล ทำในใจว่าต่างคนต่างขอนะ ไม่ใช่ขอรวม ไม่ใช่ผูกพันกันนะ
(นาทีที่ 45.09-51.50เป็นบทสวดมนต์)
เอ้า, เข้ามาใกล้นี่ เข้ามาตั้งแถวตรงนี้ใกล้ๆ บาตรไว้ข้างๆนะ จะได้กราบลง ของก็วางเสียข้างๆ จะได้กราบลง
เอาบาตรมา เอาบาตรมาประเคนให้เป็นหลักฐานว่าเธอมีบาตร เข้ามา เข้ามาให้มันใกล้สักนิด เอาวางนี่ ขอนิสสัยทีละคน
(นาทีที่ 54.20- 54.43 พระที่จะอุปสมบทสวดมนต์)
ท่านพุทธทาส : ปะติรูปัง
พระที่จะอุปสมบท : สาธุ ภันเต
ท่านพุทธทาส : ปะติรูปัง
พระที่จะอุปสมบท : สาธุ ภันเต
ท่านพุทธทาส : ปะติรูปัง
พระที่จะอุปสมบท : สาธุ ภันเต
ท่านพุทธทาส : กราบ
(นาทีที่ 54.58- 55.24 พระที่จะอุปสมบทสวดมนต์)
ท่านพุทธทาส : ปะติรูปัง
พระที่จะอุปสมบท : สาธุ ภันเต
ท่านพุทธทาส : ปะติรูปัง
พระที่จะอุปสมบท : สาธุ ภันเต
ท่านพุทธทาส : ปะติรูปัง
พระที่จะอุปสมบท : สาธุ ภันเต
ท่านพุทธทาส : กราบ
(นาทีที่ 55.32- 56.00 พระที่จะอุปสมบทสวดมนต์)
ท่านพุทธทาส : ปะติรูปัง
พระที่จะอุปสมบท : สาธุ ภันเต
ท่านพุทธทาส : ปะติรูปัง
พระที่จะอุปสมบท : สาธุ ภันเต
ท่านพุทธทาส : ปะติรูปัง
พระที่จะอุปสมบท : สาธุ ภันเต
ท่านพุทธทาส : กราบ
(นาทีที่ 56.08- 56.34 พระที่จะอุปสมบทสวดมนต์)
ท่านพุทธทาส : ปะติรูปัง
พระที่จะอุปสมบท : สาธุ ภันเต
ท่านพุทธทาส : ปะติรูปัง
พระที่จะอุปสมบท : สาธุ ภันเต
ท่านพุทธทาส : ปะติรูปัง
พระที่จะอุปสมบท : สาธุ ภันเต
(นาทีที่ 56.44- 57.05 พระที่จะอุปสมบทสวดมนต์)
ท่านพุทธทาส : ปะติรูปัง
พระที่จะอุปสมบท : สาธุ ภันเต
ท่านพุทธทาส : ปะติรูปัง
พระที่จะอุปสมบท : สาธุ ภันเต
ท่านพุทธทาส : ปะติรูปัง
พระที่จะอุปสมบท : สาธุ ภันเต
เอ้า, ลุกขึ้นว่าพร้อมกันเลย คุกเข่า คุกเข่าขึ้น ว่า อัชชะตัคเค พร้อม ว่าให้ดีๆ ว่าให้พร้อมๆ เงี่ยหูฟังเพื่อนด้วย ว่าให้พร้อม
(นาทีที่ 57.31- 58.01 พระที่จะอุปสมบทสวดมนต์พร้อมกัน)
ท่านพุทธทาส : การถือนิสสัย คือถืออุปัชฌายะนี้แล้ว การประกาศความผูกพัน เป็นภาระซึ่งกันและกันระหว่างเรากับพวกเธอได้กระทำแล้ว บัดนี้เธอมีอุปัชฌายะแล้ว มีนิสสัยแล้ว สมควรที่จะขออุปสมบทได้ เธอจงมีชื่อโดยภาษาบาลีในกรรมวาจาอุปสมบท เธอจงมีชื่อโดยภาษาบาลีจำไว้ให้ดี สามเณรกมล มีฉายาว่า กมโล สามเณรดำรงศักดิ์ มีฉายาว่า ถิตะสักโข สามเณรสุวิทย์ มีฉายาว่า สุวิทโช สามเณรลิขิต มีฉายาว่า ลิขิโต สามเณรจรวย มีฉายาว่า จรัญโย จงจำไว้สำหรับตอบคำถาม และฟังคำสวดในภาษาบาลีว่า เมื่อเขาออกชื่อเราก็หมายถึงเรา เธอก็มีเรื่องต่อไปก็คือ ก็จะไป เอ่อ จะได้รับการบอกบาตรจีวรให้รู้จักชื่อของบริขารสำหรับอธิษฐานเป็นต้น โดยภาษาบาลี และต้องเอาไปรับการสอนส่อง เอ้า, กราบ ปิดท้าย กราบ พอปิดท้ายตอนหนึ่งตอนหนึ่ง ตอนหนึ่ง ให้กราบ เดี๋ยวเอา ๓ องค์นี้ก่อน สอง ๒ นี้ไปนั่งรอตรงโน้นก่อน โน้น นั่งตรงโน้นชั้นล่าง องค์นี้ขยับไปนิดให้ได้ ๓ องค์ เท่ากลางกันให้ดี อย่าออกไปไกลนัก นี่จะ บอกบาตรจีวร
(นาทีที่1.01.08 -1.23.50 บทสวดมนต์ )
( ต่อจากนี้ไม่ใช่เสียงท่านพุทธทาส )
ต่อไปนี้จะได้บอกอนุศาสน์มี ๘ อย่างคือ นิสสัย ๔ และกรณียกิจ ๔ นิสสัย ๔ เป็นเรื่องสำคัญที่ภิกษุจะต้องศึกษาแต่แรก เพราะเป็นปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต เพื่อที่จะได้รู้และเข้าใจในการบริโภคและใช้สอย ปัจจัย ๔ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค กรณียกิจ ๔ ก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน ที่ภิกษุจะต้องศึกษาแต่แรก เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เป็นกิจที่ไม่ดีไม่งามแก่สมณะ เป็นสิ่งที่ภิกษุทำไม่ได้เป็นอันขาด สิ่งที่ไม่ควรทำของภิกษุมีมากกว่า ๔ อย่าง แต่กล่าวไว้ในอนุศาสน์เพียง ๔ อย่าง เพราะเป็นข้อสำคัญที่ภิกษุถึงแม้ไม่รู้ล่วงเข้าแล้ว ก็ขาดจากความเป็นภิกษุ จำเป็นที่ภิกษุผู้บวชใหม่ ซึ่งยังไม่รู้กว้างขวางในพระวินัยให้รู้ไว้เพียง ๔ อย่างก่อน ฉะนั้นท่านจึงยกขึ้นสอนก่อนในขณะเมื่ออุปสมบทเสร็จ ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้
อะนุญญาสิ โข ภะคะวา อุปะสัมปาเทตวา จัตตาโณ นิสสะเย จัตตาริ จะ อะกะระณียานิ อาจิกขิตุง
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้ว เมื่ออุปสมบทแล้วบอกนิสสัย ๔ และกรณียกิจ ๔ ว่า
ปิณฑิยาโลปะโภชะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา, ตัตถะ โว ยาวะซีวัง อุสสาโห กะระณีโย. อะติเรกะลาโภ,
สังฆะภัตตัง อุเทสะภัตตัง นิมันตะนัง สะลกะภัตตัง ปักขิกัง อุโปสะถิกัง ปาฏิปะทิกัง.
บรรพชาอาศัยโภชนะคือ คำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่ง
นั้นตลอดชีวิต ถ้ามีอดิเรกลาภ เป็นลาภเหลือเฟือก็ทรงอนุญาต เช่น ภัตถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะสงฆ์ การนิมนต์ ภัตถวายตามสลาก ภัตถวายในปักษ์ ภัตถวายในวันอุโบสถ์ ภัตถวายในวันปาฏิบท.
ปังสุกูละจีวะรัง นิสสายะ ปัพพัชชา, ตัตถะ โว ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย อะติเรกะลาโภ, โขมัง กัปปาสิกัง โกเสยยัง กัมพะลัง สาณัง ภังคัง,
บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต ถ้ามีอดิเรกลาภ
คือลาภเหลือเฟือก็ทรงอนุญาต เช่น ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าแกนกันเช่นผ้าด้ายแกมไหม
รุกขะมูละเสนาสะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา, ตัตถะ โว ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย. อะติเรกะลาโภ, วิหาโร อัฑฒะโยโค ปาสาโท หัมมิยัง คุหา.
บรรพชา อาศัยโคนต้นไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
ถ้ามีอดิเรกลาภ คือ ลาภเหลือเฟือก็ทรงอนุญาต เช่น วิหาร คือกุฏิ เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น ท้องถ้ำ.
ปูติมุตตะเภสัชชัง นิสสายะ ปัพพัชชา, ตัตถะ โว ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย. อะติเรกะลาโภ. สัปปิ นะวะนีตัง เตลัง มะธุ ผาณิตัง.
บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต ถ้ามีอดิเรกลาภ
คือลาภเหลือเฟือก็ทรงอนุญาต เช่น เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย.
ต่อไปเป็นส่วนอกรณียกิจ
อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา เมถุนโน ธัมโม นะ ปะฏิเสวิตัพโพ อันตะมะโส ติรัจฉานะคะตายะปิ. โย ภิกขุ เมถุยัง ธัมมัง ปะฏิเสวะติ, อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย. เสยยะถาปิ นามะ ปุริโส สีสัจฉินโน อะภัพโพ เตนะ สะรีระพันธเนนะ ชีวิตุง, เอวะเมวะ ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวิตวา, อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย. ตันโว ยาวะชีวัง อะกะระณียัง
อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงเสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย.
ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร. เปรียบเหมือนบุรุษ
ถูกตัดศีรษะแล้ว ไม่อาจจะมีสรีระคุมกันนั้นเป็นอยู่ ภิกษุก็เหมือนกัน เสพเมถุนธรรมแล้ว
ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร. การนั้นเธอไม่พึงทำตลอดชีวิต.
อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง นะ อาทาตัพพัง, อันตะมะโส ติณะสะลากัง อุปาทายะ. โย ภิกขุ ปาทัง วา ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา อะทิน- นัง เถยยะสังขาตัง อาทิยะติ. อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย. เสยยะถาปิ นามะ ปัณฑุปะลาโส พันธะนา ปะมุตโต อะภัพโพ หะริตัตตายะ. เอวะเมวะ ภิกขุ ปาทัง วา ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง อาทิยตวา อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุต- ติโย. ตันเตโว ยาวะชีวัง อะกะระณียัง.
อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงถือเอาของอันเขาไม่ได้ให้ เป็นส่วนขโมย โดยที่สุด แม้ถึงเส้นหญ้า. ภิกษุใดถือเอาของอันเขาไม่ได้ให้ เป็นส่วนขโมย บาทหนึ่งก็ดีควรแก่บาทหนึ่งก็ดี เกิดบาทหนึ่งก็ดี ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร. เปรียบเหมือนใบไม้เหลืองหล่นจากขั้วแล้วไม่อาจเป็นของเขียวสด. ภิกษุก็เหมือนกัน ถือเอา ของเขาไม่ได้ให้ เป็นส่วนขโมย บาทหนึ่งก็ดี ควรแก่บาทหนึ่งก็ดี เกินบาทหนึ่งก็ดี ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร. การนั้นเธอไม่พึงทำตลอดชีวิต.
อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา สัญจิจจะ ปาโณ ชีวิตา นะ โวโรเปตัพโพ. อันตะมะโส กุนถะกิปิลลิกัง อุปาทายะ. โย ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปติ. อันตะมะโส คัพภะปาตะนัง อุปาทายะ, อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะ- ปุตติโย. เสยยะถาปิ นามะ ปุถุสิลา ทวิธา ภินนา อัปปะฏิสันธิกา โหติ, เอวะเมะ ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโร- เปตวา, อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย. ตันโว ยาวะชีวัง อะกะระณียัง.
อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงแกล้งพรากสัตว์จากชีวิต โดยที่สุดหมายเอาถึงมดดำมดแดง. ภิกษุใดแกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต โดยที่สุดหมายเอาถึงยังครรภ์ให้ตก ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร. เปรียบเหมือนศิลาหนาแตกสองเสี่ยงแล้ว เป็นของกลับต่อกันไม่ได้ ภิกษุก็เหมือนกัน แกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิตแล้ว ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร การนั้น เธอไม่พึงทำตลอดชีวิต
อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อุตตะริมะนุสสะธัมโม นะ อุลละ- ปิตัพโพ อันตะมะโส สุญญาคาเร อะภิระมามีติ. โย ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต อะสันตัง อะภูตัง อุตตะ- ริมะนุสสะธัมมัง อุลละปะติ, ฌานัง วา วิโมกขัง วา สะมาธิง วา สะมา- ปัตติง วา มัคคัง วา ผะลัง วา, อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย. เสยยะถาปิ นามะ ตาโล มัตถะกัจฉินโน อะภัพโพ ปุนะ วิรุฬ- หิยา, เอวะเมวะ ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปิตวา อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย ตันโว ยาวะชีวัง อะกะระณียันติ.
อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่ควรพูดอวดอุตตริมนุสสธรรม โดยที่สุดว่า เรายินดีในเรือนร้าง ภิกษุใดมีความอยากอันลามก อันความอยากอันลามกครอบงำแล้ว พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง คือฌานก็ดี วิโมกข์ก็ดี สมาธิก็ดี สมาบัติก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนต้นตาลมียอดด้วน แล้ว ไม่อาจจะงอกอีก