แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ตามความหมายของผ้าป่า ชักเมื่อใดก็ได้ อนุโมทนานะไว้คราวเดียวกัน เสร็จเรื่องของผ้าป่า (บทสวดมนต์)
อะหัง ทะมามิ ตุงเห หิปิเม ตะมิตะภัง (อามะ ภันเต) กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มีโทษน่าติเตียนอันใด ถ้ามีอยู่ในระหว่างสองฝ่าย ขอให้เป็นอโหสิกรรม ด้วยการทำสามิติกรรมวันนี้ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จงกราบเท้าเข้าสู่พระนิพพานเทอญ (สาธุ)
กระผมขอโอกาส กล่าวคำอนุโมทนา พระเถรานุเถระทั้งหลาย โดยธรรมวินัย ขออนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งในการกระทำเช่นนี้ เป็นอริยะวังสะปะติปะทาที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายเคยปฏิบัติมา เพื่อความมั่นคง รุ่งเรือง สุขสวัสดี ของหมู่ของคณะ นี้เรียกว่าส่วนธรรมวินัย ขออนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อกล่าวโดยส่วนตัว ขอขอบพระคุณ ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งในการจะได้แสดงสามิจิกรรมเช่นนี้ ขอให้เราถือว่าวันพิเศษมาพบกันในลักษณะเช่นนี้ จงเป็นไปเพื่อความมั่นคงแห่งพุทธบริษัท ซึ่งหมายถึงแห่งพระพุทธศานาด้วยเป็นแน่นอน ศาสนามั่นคง พุทธบริษัทมั่นคง พุทธบริษัทมั่นคง ศาสนามั่นคง ขอให้เราได้แสดงน้ำใจ ซึ่งเป็นความสมัครสมานสามัคคีพร้อมใจกันจรรโลงพระพุทธศาสนา ทำความเข้าใจซึ่งกันและกันเป็นอย่างดีว่าทำอย่างไร จะได้มีความตั้งมั่นแห่งพระศาสนาและสังคมแห่งพุทธบริษัท ขอประกาศชักชวนทั้งหมดทั้งสิ้นทั้งบรรพชิตและคฤหัสว่าจงได้อาศัยหลักแห่งอริยะวังสะปะติปะทา ที่เรียกว่าการทำวัตร การทำวัตรซึ่งจะทำนี้เอง ซึ่งมีความหมาย 3 ประการ
ข้อที่ 1 แสดงความเคารพในฐานะที่ควรเคารพ
ข้อที่ 2 ขอโทษและอดโทษซึ่งกันและกัน
ข้อที่ 3 แลกเปลี่ยนส่วนบุญซึ่งกันและกัน
นี่เป็นความหมายของการทำวัตรแต่โบราณกาลนมนานมาไม่ทราบว่ากี่ร้อยปีพันปีมาแล้ว ขอให้มนุษย์ทั้งหมดถือหลักการอันนี้ และโลกนี้จะมีแต่สันติภาพ
ข้อที่ 1 ขอให้แสดงความเคารพตามฐานะที่ควรเคารพ เวลานี้ในโลกจะไม่มีใครเคารพใคร พูดจาก้าวก่ายจ้วงจาบ ไม่มีสูง ไม่มีต่ำ ไม่มีความเคารพ อย่าเอ่ยชื่อเลย แต่ว่ายังมีอยู่ปรากฏ ไม่มีความเคารพและสูงต่ำ ดูตามหน้าหนังสือพิมพ์ ดูจากคำทักทาย ไม่มีการแสดงความเคารพ จงมาถือหลักอริยะวัง สะปะติปะทา เคารพแก่บุคคลอื่นตามฐานะที่ควรเคารพ สูงกว่าก็เคารพไปตามแบบสูงกว่า เสมอกันก็เคารพไปตามแบบเสมอกัน ต่ำกว่าก็จงเคารพในฐานะที่ต่ำกว่า แม้แต่เด็ก ๆ ก็เคารพในความที่เป็นมนุษย์ เป็นมนุษย์คนหนึ่ง เคารพในความที่เป็นเด็ก มีคุณธรรมอย่างเด็ก เรียกว่า เคารพให้ถูกต้องหมดทั้ง 3 สถาน สูงกว่า เสมอกัน และต่ำกว่า และก็จะไม่มีปัญหา ไม่มีแง่ มีเสี้ยนหนามที่จะหยอกตำซึ่งกันและกันเหมือนในหน้าหนังสือพิมพ์
ข้อที่ 2 ขอโทษและอดโทษ นี่เป็นธรรมดา ของคนธรรมดา เรียกว่ายังมีธรรมดามีกิเลส มีอะไรตามธรรมดา ย่อมล่วงเกินด้วยใจ ด้วยวาจา ด้วยกิริยาท่าทาง บางทีก็มีอยู่ในใจ ล่วงเกินดูหมิ่นดูถูกอะไรนี่ก็เรียกว่าล่วงเกิน ถ้าปรากฏว่ามีการล่วงเกินโดยวิธีใด แล้วก็ขอให้ขอโทษ ขอโทษ ผู้ที่ได้รับการขอโทษก็จงอดโทษ อดโทษ อดโทษ ไม่ถือไว้โดยประการใด เลยเป็นผู้ที่ไม่มีโทษในระหว่างกันและกันทั้งสองฝ่าย อยู่ด้วยความสะอาด บริสุทธิ์ หมดจด เกลี้ยงเกลา ไม่มีเวรไม่มีภัย มีแต่จิตใจที่บริสุทธิ์ มีความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา โดยสมบูรณ์
ขอให้ประชาชนทั้งหลายถือหลักขอโทษและอดโทษ อย่าให้น้อยหน้าประเทศญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นเค้ามีชื่อเสียงว่าขอโทษ ขอโทษ นี่เป็นเรื่องที่น่าดูแหละ เราก็เหมือนกันแหละ อย่ามีอะไรที่เก็บอยู่ในใจแล้วเป็นโทษ เป็นโทษนี่ไม่ดีแน่ อย่าให้มีโทษอะไรติดอยู่ แม้แต่กับผู้ใดเลย จะญาติก็ดี ไม่เป็นญาติก็ดี เดี๋ยวนี้มันมีข้อข้องใจระแคะระคายกินแหนงแคลงใจ แม้แต่กับญาติ กับพี่น้อง ท้องเดียวกันก็มี ขอให้จัดการให้หมด ให้เกลี้ยงเกลาให้หมด อย่าให้มีโทษอันใดเหลือ ขอพูดว่าแม้แต่คำสอนของพระเยซู เป็นคริสต์ ก็ยังว่ากลับไปบ้าน ไปจัดการขอโทษ ล้างโทษ ล้างเวรญาติพี่น้องทั้งหลาย เสียก่อนแล้วค่อยมาบูชาพระเจ้า ยังไม่ควรจะมาบูชาพระเจ้า ถ้ายังมีโทษ ข้องใจ ขัดใจ หมองใจ อะไรอยู่กับใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะกับญาติพี่น้อง คริสต์เตียนถือหลักนี้ เราก็ยังถือหลักนี้ ไม่แพ้ ไม่น้อยหน้า ไม่มีความรู้สึกขัดข้องหมองใจ กินแหนง หรือว่าระแคะระคายอะไรกันอยู่ ในญาติก็ดี ไม่ใช่ญาติก็ดี ด้วยการขอโทษและอดโทษ เมื่อขอโทษแล้ว อย่าถือไว้เลย ให้อภัย ให้โทษ ทั้งบรรพชิตและทั้งฆราวาส จงมีหลักการอันนี้ อย่าถือดี ด้วยกิเลสของตัว ถ้ายังมีความรู้สึกขุ่นข้องหมองใจแล้วรีบล้าง ล้าง ล้าง ล้าง ล้าง ล้างกันใหญ่ ล้างด้วยความขอโทษและอดโทษ นี่เป็นข้อที่ 2
ข้อที่ 3 ให้ส่วนบุญซึ่งกันและกัน บุญอันใดที่ฝ่ายหนึ่งกระทำ ขอให้ฝ่ายหนึ่งมีส่วนอนุโมทนาที่ฝ่ายหนึ่งกระทำ ขอให้อีกฝ่ายหนึ่งมีส่วนอนุโมทนา ทั้งขึ้นทั้งล่อง เรียกว่าแลกเปลี่ยนส่วนบุญซึ่งกันและกัน โดยบทว่า มะยากะตัง บุญยัง ตามิยัง โอหิตะภัง เป็นต้น ข้อนี้วิเศษที่สุด ทำให้โลกนี้ปราศจากความอิจฉาริษยา ปราศจากความอิจฉาริษยา
หลักสำคัญมีอยู่ว่า อิดสาโลกะนาติกา ความริษยา เป็นความวินาศ ของโลก ดูซิ เดี๋ยวนี้เวลานี้โลกกำลังเต็มไปด้วยความริษยา ไม่ยินดีด้วยกัน แข่งดีกัน มุ่งหมายจะทำลายกัน โลกแบ่งเป็นสองฝ่าย มุ่งหมายจะทำลายกัน เพราะความริษยา ริษยาเป็นเครื่องวินาศของโลก ไม่ต้องโลกหรอก ในประเทศก็วินาศ ในบ้านเมืองก็วินาศ ในครอบครัวก็วินาศ ถ้ามีความอิดฉา อิดฉา อิจฉาริษยากัน ขอให้ล้าง ล้างเสียให้หมดด้วยการให้ส่วนบุญ แลกเปลี่ยนส่วนบุญซึ่งกันและกัน บุญใดข้าพเจ้ามี ขอให้ท่านทั้งหลายมีส่วน บุญใดท่านทั้งหลายมี ข้าพเจ้าขออนุโมทนา เรียกว่าแลกเปลี่ยนส่วนบุญซึ่งกันและกัน
ยิ่งกว่านั้นก็แลกเปลี่ยนวัสดุสิ่งของ เครื่องใช้ เกื้อกูลแก่ความเป็นอยู่อะไรซึ่งกันและกัน ให้ยินดีก็จะแบ่งปันกัน ให้มีกินมีใช้ มีความสะดวกสบายด้วยกันทุก ๆ คน อย่าเลิกประเพณีเก่าแก่ ที่มีมาแต่ก่อน ที่ปู่ย่าตายายเค้าทำ ไปทำบุญที่ไหนซักนิด ไปฟังเทศน์มาซักนิด พอกลับบ้านแล้วก็ให้ส่วนบุญ ค่าทางมาตลอดทาง เมื่ออาตมาเป็นเด็ก เล็กๆ ตามหลังย่าไปฟังเทศน์ที่วัด พอกลับบ้าน ย่าจะพูดว่าเอาบุญมาให้นะ ลูกนะ หลานนะ พี่นะ น้องนะ กว่าจะถึงบ้านไม่รู้ว่ากี่ครั้ง ต่อกี่ครั้ง ขอให้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีนี้ไว้ ได้ทำบุญอะไร ที่ไหนแล้วก็แผ่ให้เพื่อนด้วย มันจะล้างความอิจฉาริษยาได้อย่างดีที่สุดเลย จะไม่มีความอิจฉาริษยาเหลืออยู่ในสังคม หรือว่าในโลก นั้นก็มีความสุขเป็นศาสนาพระศรีอาริย์ ถ้าว่าคนทุกนั้นรักกัน ซึ่งกันและกันก็เป็นศาสนาพระศรีอาริย์ขึ้นมาทันทีแหละ ไม่ต้องรออีกกี่กัป กี่ร้อยกัป พันกัป หมื่นกัป มันยังนานเกินไป เอากันเดี๋ยวนี้เลย ขอให้ทุกคนรักผู้อื่นเท่านั้นแหละ รักกันและกันเท่านั้นแหละ ก็จะเป็นศาสนาพระศรีอาริย์ขึ้นมาทันที พร้อมก็จะช่วย มีอะไรช่วย มีอะไรช่วย ขาดแคลนอะไรช่วย ต้องการอะไรบอก ก็จะช่วย มีหลักเกณฑ์แบบนี้ ก็เป็นศาสนาพระศรีอาริย์กัน เดี๋ยวนี้แหละ เวลานี้แหละ ที่นี้แหละ ไม่ต้องรอ ก็ตายแล้ว จึงขอร้องให้มีความตั้งใจ ในการที่จะไม่หวงแหน บุญความดี ความสุข ความเจริญ แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ให้ทุกส่วนและทุกฝ่ายมีความสุขกายสบายใจ เจริญงอกงามอยู่ตลอดไป หัวใจและความหมายของการทำวัตรก็มีเช่นนี้
วันทา มิภันเต นี่ก็ขอแสดงความเคารพ
สัพพัง อะปะราทัง ทะมัง ทะเม ภันเต ก็ขอโทษ
มะยา กะตัง บุนยัง ก็แลกเปลี่ยนส่วนบุญซึ่งกันและกัน
ขอให้ถือเอาความหมาย 3 ความหมายนี้เป็นหลักเกณฑ์ในการดำเนินกิจการในครอบครัวนั่นแหละ ในครอบครัวแหละ จงมีหลักเกณฑ์อันนี้ เคารพ อดโทษ ยินดีแลกเปลี่ยนส่วนบุญซึ่งกันและกัน ในบ้านเมืองก็เหมือนกัน ในประเทศทั้งประเทศก็เหมือนกัน ถ้าทำได้ สามารถทำได้ก็พยายามจะทำให้ทั้งโลก ทั้งโลกให้เคารพซึ่งกันและกัน อดโทษซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนความดีซึ่งกันและกันและจะหมดปัญหาของมนุษย์ จะไม่มีเหลือ จะมีแต่ความสุขความเจริญ เพราะฉะนั้นจึงขอถือโอกาสนี้ ขอร้องวิงวอนท่านทั้งหลายที่มาเยี่ยมสวนโมกข์เป็นประจำปี ทุกปี ๆ ให้เป็นโอกาสที่อาตมาขอร้องว่าจงใช้หลักเกณฑ์ 3 ประการนี้ เป็นเครื่องดำเนินชีวิตกันทุก ๆคน ในระดับบุคคล ในระดับครอบครัว ในระดับบ้านเมือง ในระดับประเทศชาติ ในระดับโลกเลย จงถือหลักเกณฑ์ 3 ประการนี้เท่านั้นแหละพอ พอเกินกว่าพอ เพราะทั้งหมดนั้น รวมกันเข้าแล้วเป็นความไม่เห็นแก่ตัว 3 ประการนั้นนะ เคารพก็ดี อดโทษก็ดี แลกเปลี่ยนส่วนบุญก็ดี คือความไม่เห็นแก่ตัว เมื่อไม่เห็นแก่ ก็ไม่เกิดกิเลส ก็จะไม่มีการเบียดเบียนตัวเองให้เดือดร้อน ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือนร้อน
ขอร้อง ขอวิงวอนว่าทุกๆท่าน จงได้โปรดรับฟัง ความคิด ความเห็น ความปรารถนาอันนี้ กลับไปด้วยทุก ๆท่าน ทุก ๆ คน ทุก ๆท่าน ทุก ๆ คน จงใช้หลักการของอะริยะวัง สะปะติปะทา ในการทำวัตรในพรรษา โดยมีหัวใจว่าเคารพที่ควรเคารพ อดโทษโดยประการทั้งปวง แลกเปลี่ยนส่วนบุญ ความดี ความงาม ความเจริญซึ่งกันและกัน และปฏิบัติให้ได้จริง ๆ อย่าให้เหลือเป็นระแคะระคายอยู่ในใจเลย ก็จะมีความเจริญทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายตนเอง และฝ่ายผู้อื่น เมื่อทุกคนเจริญ พุทธบริษัทเจริญ ตั้งมั่นดี พุทธศาสนาก็ตั้งมั่นยิ่ง ๆ เพราะตั้งมั่นอยู่บนการกระทำของพุทธบริษัท ตามที่พระพุทธเจ้าว่า ศาสนาจะเจริญหรือจะเสื่อมก็ตาม อยู่ที่พุทธบริษัท ไม่ได้อยู่ที่ปัจจัยภายนอกอื่นใด ไม่ได้เกี่ยวกับศาสนาอื่น ไม่ได้เกี่ยวกับใครที่ไหน ไม่ได้เกี่ยวกับผีสางเทวดาที่ไหน อยู่ที่การกระทำของพุทธบริษัทนั่นเอง
ขอให้พุทธบริษัทมีหลักการอันมั่นคง ยืนยง ยืนหยัดอยู่ในลักษณะที่มั่นคงดังที่กล่าวมานี้ แล้วทำสืบ สืบ สืบ สืบกันไปจนเรียกว่า อริยะวัง สะปะติปะทา ปะติปะทาของพระอริยะเจ้า แห่งการสืบอายุของพระอริยะเจ้า อริยะวังสะ น่ะคือวงศ์ของพระอริยะเจ้า เป็นการปฏิบัติที่จะสืบวงศ์ของพระอริยะเจ้า ยังคงมีอยู่ในโลก ตามพระพุทธภาษิตว่า ถ้ายังมีการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่เพียงใด โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ ขอร้อง ขอวิงวอน ขอปลุกความรู้สึกอันนี้ขึ้นมาทุกปี ทุกปี ทุกปี ที่ได้มาเยี่ยมสวนโมกข์ ปลุกความรู้สึกอันนี้ให้เข้มข้นขึ้นมาไว้ทุกปี ทุกปี ทุกปี จะได้ปฏิบัติตามไป โดยไม่รู้สึกตัว ไม่รู้สึกตัวก็ยังทำได้ เพราะมีอยู่ในใจ ก็ดลบันดาลให้เป็นไป เป็นการกระทำที่สมบูรณ์ จะมีความสุขความเจริญส่วนตัว มีความมั่นคงเจริญแห่งสังคมและแห่งพระพุทธศาสนา และแห่งโลกด้วย
จึงขอประกาศความรู้สึกว่า โดยธรรมวินัยขออนุโมทนาในการที่มา อุตสาห์มากันด้วยความเหนื่อยยากลำบากทุกปี ขออนุโมทนา ขออนุโมทนา ขออนุโมทนา โดยส่วนตัวนี้ ขอขอบพระคุณ ขอบพระคุณ ขอบพระคุณอย่างยิ่ง แม้จะมาด้วยลักษณะใดก็ตาม แม้จะมาในลักษณะจะให้เกียรติหรืออะไรก็ตาม ขอขอบพระคุณ ขอบพระคุณ จึงขออนุโมทนาและขอขอบพระคุณ ในการที่เพื่อนมนุษย์ เพื่อนเกิดแก่เจ็บตาย ได้ประพฤติต่อกันและกันในลักษณะเช่นนี้ ขออนุโมทนา และขอขอบพระคุณ และขอแสดงความหวังว่า คงจะได้ตั้งใจรับเอาไปปฏิบัติให้เกิดผลตามที่กล่าวแล้วทุก ๆประการ มีความสุข เจริญงอกงามในพระศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดาอยู่ทุกทิพาราตรีกาลเทอญ (สาธุ)
ที่นี่อีกอย่างหนึ่ง พิเศษนอกเรื่อง ก็คือว่า ที่กลับก็กลับ ที่ไม่กลับก็ขอให้ได้มีโอกาสปรึกษาหารือการงานที่จะทำเพื่อถวาย เป็นพุทธบูชาต่อไป เป็นพุทธบูชาต่อไป ขอให้ประชุมกัน ประชุมกัน ปรึกษาหารือกิจการงานหน้าที่ที่จะได้ทำให้เจริญ งอกงาม ก้าวหน้า ต่อไป ต่อไป