แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา
อะนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ (0.29)
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต … (ไม่ใช่ไม่ใช่) (0.39)
อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต (1.13)
อะหัง ขะมามิ ตุมเหหิปิ เม ขะมิตัพพัง (1.19)
อุกาสะ วันทามิ ภันเต (1.22)
(1.21) กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้มีโทษหน้าที่เทียนอันใด ถ้ามีอยู่ระหว่างเราสองฝ่ายขอให้เป็นอโหสิกรรม ด้วยอำนาจการทำสารณีจีกรรมในวันนี้ ตั้งแต่ในวันนี้เป็นต้นไปให้ก้าวเท้าเข้าสู่พระนิพาน เทอญ สาธุ…
(1.51) อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ
-มนต์นั่ง-
(2.31) โดยธรรมะวินัย ขอแสดงความยินดี โดยส่วนตัวขอขอบพระคุณในการที่ได้มากระทำวัตร โดยเฉพาะแบบนี้ โดยธรรมะวินัยเป็นการรักษาระเบียบของพระอริยะเจ้า เขาเรียกว่าอริวังสระพระ ปฏิปทา การทำวัตรในอุปัชฌาย์อาจารย์ หรือ อุปัชฌาย์ มัช อาจริยะมัช ผู้เทียบเท่าครูอุปัชฌาย์อาจารย์ (3.28) มันเป็นเรื่องของอริยะวงศ์ก็คือทำกันตามต่อต่อกันมา โดยส่วนตัวขอขอบคุณเป็นพิเศษที่ได้ช่วยกันรักษาระเบียบวิธีการทำวัตรแบบนี้ไว้ เป็นของเก่าแก่เป็นของไทยแท้และเชื่อกันว่าลังกาแค่ก็ทำกันอยู่ทุกวันนี้ แค่ประเทศลังกาก็ทำวัตรแบบนี้อยู่ทุกวันนี้ นั้นคือแบบไทยแบบที่ได้ไปจากไทย ตั้งแต่สยามปริวงศ์ไปประดิษฐานไปให้ ลังกายังอยู่ไทยเราเลิกร้างมาเป็นแบบรัดสั้น การรักษาของเก่าไว้ได้นี่เป็นการดี เป็นการรักษาของที่มีอายุเป็นร้อยร้อยปีหรือเกือบพันปีไว้ได้ อันแค่ว่ามันดีคือว่ามันมีความหมายมาก ทำวัตรแบบนี้ มีความหมายถึงสามอย่าง
คำว่า อุกาสะ วันทามิ ภันเต แสดงความเคารพแก่บุคคลที่ควรจะเคารพ นี่ความหมายอย่างสัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต ขอให้อดโทษ ขอให้อดโทษ ซึ่งกันและกัน นี่ความหมายอย่าง (5.16) มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา กะตัง (มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง) เป็นต้น แลกเปลี่ยนส่วนบุญซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นขอให้ทำในใจให้สำเร็จประโยชน์วันนี้นะเราแสดงความเคารพตามฐานะที่ควรเคารพ แล้วก็ขอให้อดโทษ ถ้ามีโทษอยู่ระหว่างกันและกันขอให้อดโทษ มีความดีมีบุญมีกุศลมีความดีอย่างไรก็ขอให้มีส่วนแก่กันและกัน คือแลกเปลี่ยนเฉลี่ยให้แก่กันและกัน
ข้อที่หนึ่งต้องรู้ไว้ว่าการที่อยู่โดยไม่มีที่เคารพนั้นนั้นมันเสื่อมเสีย ท่านกล่าวว่าอยู่เสมอกันเป็นทุกข์ นำมาเป็นทุกข์ ต้องมีที่เคารพสูงต่ำตามลำดับเท่าที่ควรจะมี นี่เราจึงต้องแสดงความเคารพ ขอให้แสดงความเคารพแก่กันและกัน ทุกนั้นเลย ถ้าสูงกว่าเราก็เคารพไปแบบหนึ่ง เสมอกันก็เคารพไปแบบหนึ่ง ต่ำกว่าเราก็เคารพไปแบบหนึ่ง เช่น เด็กหรือเณร จงเคารพความแค่มันเป็นคนคนหนึ่งเป็นเด็กคนหนึ่ง มีเกียรติเป็นเด็กคนหนึ่ง เณรองค์หนึ่งก็ความเคารพความที่มันเป็นเด็ก เป็นเณร เป็น อย่าดูถูก เป็นอันขาด นี่ก็เรียกการเคารพเอื้อเฟื้อเหมือนกัน แม้แต่สุนัขและแมวก็อย่าเบียดเบียน อย่ารังแกอย่าไรมัน ให้มันเป็นสัตว์มีชีวิตหน่วยหนึ่งตัวหนึ่งส่วนหนึ่งของการเคารพอย่างนั้นแหละดี เคารพกันที่สูงกว่า เคารพกันที่เสมอกัน เคารพกันที่ต่ำกว่ากัน ขอให้ถือเป็นนิสัยเลยจะมีผลดีเหนือประมาณ จะคุ้มครองที่สุดแล้ว จะมีคนรักใคร่นับถือเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้ามันเป็นเด็กจะล้อเล่นมันจะเขกหัวมัน อะไรมัน ถ้ามันเป็นหมาก็เตะมันอะไรมันมันก็ มันก็ไม่นี่ มันไม่ถูก การเคารพการที่ว่ามันเป็นสิ่งที่มีชีวิต คนหนึ่ง ตัวหนึ่ง หน่วยหนึ่ง เครื่องใช้ไม้สอยข้าวของก็ต้องเคารพ ต้องใช้มันด้วยความเคารพอย่างเอื้อเฟื้อ อย่าใช้อย่างดูถูกดูหมิ่น
(8.00) ข้อที่สองก็อดโทษ อดโทษ ซึ่งกันและกัน แต่ละคนแต่ละคนมันมีจิตใจ จิตใจมันเป็นของรวดเร็วบังคับยาก คิด โกรธ ประทุษร้าย โดยไม่ทันรู้ ลับหลังถึงจะคิดได้ ง่ายแค่คนเราจะมีความล่วงเกินกัน โดยจิตใจ และถ้าล่วงเกินออกถึงทางวาจาทางกายแล้วมันไม่ไว้แล้ว มันมากไปแล้ว แต่เอาล่ะทางกายทางวาจา ทางใจถ้าที่โทษล่วงเกินใดๆ ขอให้อดโทษ เมื่อเขาขอให้อดโทษ เราก็ต้องอดโทษ ใครมาขอโทษเรา เราก็ต้องอดโทษ อย่ามุโกรธอย่าเล่นตัว อดโทษให้โดยสมบูรณ์ ที่นี่ก็อยู่กันโดยจิตใจแค่มันเกลี้ยง จิตใจแค่มันเกลี้ยง ไม่มีโทษ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีโทษ นอนหลับสนิท นี่เป็นความจำเป็น ผู้ที่มีอยู่กันในโลกมันต้องก็มีการล่วงเกิน ก็เลยถือเป็นประเพณีอดโทษ ขอโทษ อดโทษ ให้รู้สึกว่าเราไม่มีเวร ไม่มีภัยกับผู้ใดเสมอไปตลอดเวลา จิตใจเกลี้ยงชนิดนี้นั้นดี
(9.42) ข้อที่สาม มะยา กะตัง ปุญญัง เป็นการให้ ให้ส่วนบุญซึ่งกันและกันคือแลกเปลี่ยนส่วนบุญซึ่งกันและกัน เป็นบทเรียนแค่แก้ความอิจฉาริษยา คนปุทุชนนี้มีกิเลสแรงแรงหลายตัว ความอิจฉาริษยาก็เป็นกิเลส ร้ายแรงตัวหนึ่งเหมือนกัน (10.17) อิจฉาโลกนาสิกา ความริษยาทำโลกให้ชิบหาย
อันความอิจฉาริษยามันทำร้ายขึ้นแรงขึ้นแรงขึ้น จนกระทั่งฆ่าล้างโลก ถึงเวลานี้แค่ในโลกก็แบ่งเป็นสองฝ่ายใหญ่ๆ อย่างใหญ่สองฝ่าย นั้นก็เพราะว่ามันแย้งกันเป็นเจ้าโลก มันอิจฉาความเจริญของฝ่ายหนึ่ง มันก็ไม่ตกลงกันไม่ได้ มันไม่ยอมตกลงมันไม่ยอมดีด้วย ก็อยู่ในระหว่างสงครามกันเรื่อยไป มีหวังว่าโลกจะวินาศสักวันหนึ่ง ส่วนบุคคลก็อย่าให้มีความริษยา แล้วมันก็จะกัดกร่อนตัวเอง ให้ผู้ที่เราริษยา ที่ไม่รู้ไม่ชี้ยังไม่รู้ด้วยซ้ำ แต่ว่าเรามีความริษยามันจะกัดกร่อนตัวเองเมื่อนั้น อย่าได้มีดีกว่า บทเรียนก็ทำขึ้นให้ว่า ให้แลกเปลี่ยนส่วนบุญ ให้ยินดีซึ่งกันและกัน มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
ที่ข้าพเจ้าได้ทำขอให้ท่านผู้เจริญได้อนุโมทนา สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง ให้ผู้เจริญในธรรมขอให้ข้าพเจ้าได้มีส่วน ถ้าปฏิบัติอยู่พันนี้จริงจริง แก่ทุกคนทุกฝ่ายทุกระดับก็จะดีมาก อาจจะมีจิตกว้าง กว้างขวาง เมตตา กรุณา มุทิตา (อุเบกขา) ไม่มีความริษยา เราจึงว่าเราได้รักษาขนมธรรมเนียม ประเพณีแบบแผน ของการทำวัตรที่ดีที่สุด ที่ดีที่สุด ไม่ทำอย่างทำสองทำเสียไม่ได้ และเป็นแบบของไทยที่มีมาเป็นร้อยร้อยปี อันเรื่องพันพันปียังไม่กล้ายืนยัน แต่ว่าร้อยร้อยปีเห็นจะได้ สุโขทัย เมื่อก่อนแค่ในเมืองไทยก็ใช้แบบนี้ ก็เพิ่งเปลี่ยน เพิ่งเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบรัดสั้น ไม่นานมานี้ แต่ก็ยังมีก็ยังรักษาแบบเก่าไม่อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน แม้แต่ในกรุงเทพฯ ก็ยังมี หลายวัด มหานิกายก็ทุกวัดยังรักษาแบบเก่าอยู่ ในกรณีอย่างขอแสดงความยินดี ขอขอบใจแค่ได้รักษาแบบเก่าเอาไว้ได้
ขออนุโมทนาส่วนแค่ว่าปฏิบัติเป็นธรรมเป็นวินัย โดยส่วนตนนี้ขอขอบคุณ นอกจากนั้นก็ขอให้ภิกษุบวชใหม่สามเณรนี้พยายามให้ดีที่สุดดีที่สุด ที่จะเป็นภิกษุสามเณร เช่นเคารพในหน้าที่ที่จะต้องทำ ธรรมมะแปลว่าหน้าที่ หน้าที่แปลว่าธรรมมะ ธรรมมะแปลว่าหน้าที่ ทำหน้าที่คือปฏิบัติธรรม ปฏิบัติธรรมต้องทำหน้าที่คือทำให้มันดีขึ้นทำให้มันรอดตัวคือหน้าที่ จะทำแต่พิธีรีตองไม่รู้ว่าเป็นอะไรก็เป็นหน้าที่พิธีรีตอง ผลที่ได้เป็นพิธีรีตอง ทำหน้าที่จริงด้วยความรู้สึกแท้จริงว่าเราต้องทำอย่างไร ก็ทำให้จริงที่สุดเลย นี่จะได้ผลขึ้นชื่อว่าหน้าที่คือธรรมะทำแล้วจะได้ผลคือช่วยให้รอด ธรรมะช่วยให้รอด หน้าที่ก็ช่วยให้รอด รอดทุกระดับเลย รอดระดับต่ำที่สุดคือรอดชีวิต รอดระดับสูงขึ้นมาคือรอดจากปัญหารบกวนจิตใจ ตั้งแต่ความยากจนเป็นต้นขึ้นไป รอดสูงสุดก็คือรอดจากกิเลสเป็นพระอรหันต์ มีอยู่สามรอดอย่างน้อยมีอยู่สามอด คือรอดตาย รอดปัญหารบกวนในชีวิต รอดจากกิเลสเป็นพระอรหันต์ ทั้งสามรอดสำเร็จได้ด้วยการทำหน้าที่ ขอให้เราทำหน้าที่แล้วมันจะความรอดตามสมควร อาจจะมองไม่เห็นก็ได้ แต่ขอให้ทำหน้าที่แล้วจะมีความรอด ทุกศาสนาเลยไม่ว่าศาสนาไหนก็มุ่งหมายแค่ความรอดกันทั้งนั้น เรียกชื่อไปตามภาษาของตัวของตัว แต่ใจความเดียวนั้นเป็นอย่างเดียวคือรอด รอด ศาสนาพุทธก็ดี ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู คริสต์ อิสลาม รอดทั้งนั้นมุ่งหมายความรอดทั้งนั้น
ขอให้สนุกในการทำหน้าที่ สิ่งสูงสุดคือหน้าที่ สนุก สนุกในการทำหน้าที่ทุกอย่างทุกประการก็เป็นหน้าที่ แล้วเป็นสุขไปเลย ไม่ใช้มาเล่นมาหัวมากิน มาเล่นมาหัวแล้วจะเป็นสุขไม่ใช่นั้นไม่ใช่ความสุข เรื่องความเพลิดเพลินนั้นไม่ใช่ความสุข ความพอใจในหน้าที่นั้นแหละคือความสุข สงบด้วยไม่ยุ่งไม่เอะอะตึงตัง (16.25) แล้วคนโดยมากเขาไม่รู้ว่าความสุขมันหาได้ด้วยการทำหน้าที่ เก็บ เขาเก็บเงิน เป็นผลของการทำหน้าที่ไปทำอบายมุข กามรมย์แล้วเข้าใจว่าความสุขอันนั้นคือโง่ที่สุด ไม่เกี่ยวกับความสุข อบายมุขทั้งหลาย เกี่ยวกับความหลอกลวงทั้งเพ ความสุขแท้จริงคือพอใจในหน้าที่ ที่กระทำ ถ้าพอใจมากเข้ามากเข้าให้ยกมือไหว้ตัวเองได้ นั้นแหละคือความสุขที่แท้จริง ให้ทำหน้าที่ให้สนุก เป็นสุขในเมื่อทำหน้าที่ ว่าได้ทำหน้าที่คือธรรมมะช่วยให้รอดเป็นความถูกต้องแล้ว เป็นความถูกต้องแล้ว ไม่มีอะไรจะยิ่งไปกว่านี้ ถูกต้องแล้ว ถูกต้องแล้ว ทุกอริยะบทเห็นแต่ความถูกต้องของตน มีความเคารพในตน เรื่องมันก็จะรอดหมดแล้ว จบแล้ว ทำหน้าที่จนพอใจตัวเองอยู่เสมอ ตลอดเวลา ทุกๆ อริยะบท ทุกๆ สถานที่ แปลว่าทุกลมหายใจเข้าออก มีความรู้สึกว่าเราทำถูกต้องแล้ว ถูกต้องแล้ว ถูกต้องแล้ว พอใจ พอใจ พอใจ นั้นแหละคือผลของธรรมมะ ธรรมมะที่เราได้ทำคือหน้าที่ หน้าที่คือสิ่งสูงสุด พระพุทธองค์ทรงสอนธรรมะธรรมะนั้นคือเรื่องหน้าที่ทั้งนั้นเลย แต่ว่าหน้าที่ชั้นสูง ดับกิเลสเป็นพระอรหันต์ เป็นหน้าที่ชั้นสูง หน้าที่ชั้นต่ำต่ำเรื่องรอดชีวิต เรื่องรอดความยากจนพระพุทธเจ้าตรัสน้อยมาก ทั้งหมด เกือบทั้งหมดแต่ละเรื่องคือรอดจาดกิเลส แล้วก็เป็นพระอรหันต์กันทั้งเพ แต่ถึงอย่างไรก็ดีมันก็ยังเรียกว่าหน้าที่
พระเจ้าตรัสรู้เรื่องหน้าว่าจะดับทุกข์ได้ สอนเรื่องหน้าที่ การจะดับทุกข์ได้เรียกว่าพระธรรม ธรรมะคือหน้าที่ ก่อนพระพุทธเจ้าเกิด ก็ใช้คำว่าธรรมเหมือนกัน ธรรมะคือหน้าที่ พระพุทธเจ้าเกิดแล้วก็ใช้คำนี่ต่อไปอีก หน้าที่หน้าที่ แต่หน้าที่แค่สูงสูงสูงขึ้นไป ธรรมะ ไม่ใช่เป็นคำที่พระพุทธเจ้าประดิษฐ์ขึ้นใช้ตอนที่พระองค์เกิดขึ้นไม่ใช่ เขามีอยู่ก่อน เขาเรียกว่าธรรมะธรรมะมันมีอยู่ตามแบบสมัยก่อน รู้เท่าไหร่ ฉลาดเท่าไหร่ ก็สอนเท่านั้น สอนหน้าที่ได้เพียงเท่านั้น พอพระพุทธเจ้าเกิดสอนสูจนดับทุกข์หมดได้เป็นพระอรหันต์ นั้นแหละ
โดยธรรมะวินัยขออนุโมทนา โดยส่วนตัวขอขอบพระคุณ ในการแค่ได้มาทำสามิจิกรรมในวันนี้ เป็นการรักษาระเบียบวินัยของอริยะเจ้า ขอให้เป็นผู้ดำรงมั่นคงในธรรมะ มีความกล้าหาญในการปฏิบัติธรรมะ พากเพียรพยายามในการปฏิบัติธรรมะ มีความเจริญงอกงามก้าวหน้าในศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดาอยู่ทุกฑิพาราตรีการณ์เทอญ สาธุ (จบ 21.04)