แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
อนุโมทนาผ้าป่า และให้โอวาทในวันทำวัตรกับพระที่มาทำวัตรประจำในพรรษาส่วนใหญ่เป็นชาวชุมพร เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2522 (บทสวดฯ)
ขออนุโมทนาแก่ท่านทายก ทายิกา ผู้บำเพ็ญทานในวันนี้ ขอให้ตั้งอกตั้งใจ ทำในใจ ให้สำเร็จประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ขอให้มีความเข้าใจในการกระทำ ที่ได้กระทำไปแล้ว ว่าการกระทำนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การบำรุงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา การถวายทานนี้เป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่การเป็นอยู่ของพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เมื่อมีพระภิกษุสงฆ์เป็นอยู่ได้ ย่อมมีการเล่าเรียน ย่อมมีการปฏิบัติ ย่อมมีการได้รับผลของการปฏิบัติ ย่อมมีการสั่งสอนสืบๆต่อๆกันไป ดังนั้นจึงเป็นการช่วยให้พระพุทธศาสนายังคงมีอยู่ไม่ขาดตอนเรียกว่า สืบอายุพระศาสนาไว้สำหรับเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันโลกไม่ให้วินาศ ไม่ให้ล่มจม ทั่วโลกได้รับประโยชน์ เรามองเห็นข้อนี้ เราจึงมีความพอใจมาก มีปิติปราโมทย์มาก มีเจตนามาก จึงได้บุญมากได้บุญมากกว่าที่จะเอาบุญคนเดียว แต่ละคนๆ อาจจะได้ไปอยู่ในสวรรค์วิมาน ก็ยังไม่ดีเท่ากับว่าช่วยให้ทุกคนได้รับประโยชน์กันทั้งสากลจักรวาล ทั้งเทวดาและมนุษย์
พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้เองว่า ธรรมวินัยของตถาคต ยังมีอยู่ในโลกเพียงใด ข้อนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย ทั้งเทวดาและมนุษย์ตลอดกาลเพียงนั้น เราจึงทำให้ตรงตามพระพุทธประสงค์ เพื่อได้ประโยชน์อันใหญ่หลวง เต็มบริบูรณ์เท่าที่มันจะเต็มได้ ถ้าเราตั้งใจแบบนี้ เราก็ย่อมได้มีผล มีอานิสงส์ใหญ่หลวงเต็มที่ สุดที่จะพรรณนา จึงเรียกว่าได้บุญมาก ได้บุญใหญ่ ได้บุญสูง ได้บุญลึกซึ้ง ได้บุญยืดยาว ตลอดกาลที่พระศาสนายังคงอยู่ เป็นประโยชน์แก่โลก ขอให้การบำเพ็ญทานของท่านทั้งหลาย จงเป็นไปเพื่อประโยชน์อันใหญ่หลวงอย่างนี้ ยิ่งกว่านั้นให้เป็นไปเพื่อการขูดเกลาซึ่งกิเลส อันเป็นความเห็นแก่ตัว
ถ้าเราให้ทานเพื่อจะเอากำไรแก่ตัวเรามากๆ มันก็เป็นการเห็นแก่ตัว เป็นการเพิ่มความเห็นแก่ตัว และไม่ใช่เป็นการให้ทาน การให้ทานเมื่อมีผู้ขอ ก็นับว่าดีอยู่เหมือนกัน เขาขอแล้วเราก็ให้ ก็ดีอยู่เหมือนกัน แต่ว่าการให้ทานที่ไม่ต้องมีผู้ขอ เราให้ด้วยสัมมาทิฐิของเรานี่ นี่ยิ่งดีไปกว่า แต่ว่าเวลานี้ ในโลกนี้ หายาก ที่ผู้จะให้ทานโดยความเป็นทานอันแท้จริง มักจะมีแต่การลงทุนเพื่อเอาประโยชน์ เอากำไรกันมากๆ นี่ไม่ใช่การให้ทาน เป็นการลงทุนเพื่อเอาประโยชน์เอากำไรกันมากๆ มันก็ได้เหมือนกัน ไม่ใช่ผิดอะไร ไม่ใช่ แต่ว่ามันยังไม่ดีเท่า ไม่ประเสริฐเท่า แต่ว่าให้ทานเพื่อเป็นทานจริงๆ เราไม่ต้องเอาผลของอะไรตอบแทนส่วนเราก็ได้ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั่วสากลจักรวาลมันได้ก็แล้วกัน เราขอแต่เพียงว่าให้ช่วยกำจัดความตระหนี่ถี่เหนียว กำจัดความเห็นแก่ตัว ซึ่งเป็นมูลเหตุแห่งกิเลสอื่นๆ
ขอให้มองในข้อที่ว่ากิเลสทั้งหลายมาจากความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัวจึงโลภ เมื่อไม่ได้ตามที่ตัวต้องการก็โกรธ เมื่อยังสงสัยลังเลในเรื่องใดๆ อยู่ก็ยังข้องใจ อยู่ด้วยโมหะ ด้วยหลง ทำให้มันหมดความเห็นแก่ตัว ไม่มีโอกาสที่จะโลภ จะโกรธ จะหลง ขอให้การบำเพ็ญทานของพวกเราของพุทธบริษัทนี้ ก้าวหน้า ก้าวหน้า ก้าวหน้า อย่าซ้ำรอย สูงขึ้นไป สูงขึ้นไป จนสำเร็จประโยชน์ดังที่กล่าวมาแล้ว คือสามารถทำลายความเห็นแก่ตัว และเป็นการสืบอายุพระศาสนาไว้ ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปข้างหน้า ตอบแทนคุณที่บรรพบุรุษเขาได้สืบอายุพระศาสนาไว้ ให้เรา จึงมาถึงเรา พอมาถึงเรา ให้เราสืบกันต่อไป เพื่อให้ถึงคนชั้นหลัง ท่านทั้งหลายตั้งใจอย่างนี้ย่อมได้ประโยชน์ ย่อมได้อานิสงส์ เป็นอันมาก อาตมาขออนุโมทนา การอนุโมทนาเป็นภาษาไทยพอสมควรแล้วขออนุโมทนาเป็นภาษาบาลี พระสงฆ์ทั้งหลายทั้งปวงนี้ก็มีความยินดีและขออนุโมทนา (บทสวด ยถาฯ)
ไม่กรวดน้ำหมาหางด้วน (ฆราวาส:ผมก็บอกแล้วว่าถ้าใครมีศรัทธาก็กรวดน้ำ) พิธีก็ต้องเป็นพิธี ถ้าไม่เป็นพิธีก็ไม่เป็นพิธี ถ้าเป็นพิธีต้องทำให้สมบูรณ์ ตามแค่ปู่ย่าตายายได้วางไว้ เราเรียกว่าเป็นพิธี ถ้ามันขาดไปตอนปลายเรียกว่าหางด้วน ขาดไปตอนหัวเรียกว่าหัวด้วน ว่าในใจก็ได้เหมือนกัน แต่ไม่เป็นพิธี(ฆราวาส:กรวดน้ำ) การศึกษาในโลกกำลังเป็นเหมือนหมาหางด้วนอยู่เวลานี้ การศึกษาในโลกทั้งโลก จะเรียนหนังสือก็เรียนอาชีพ
ขอโอกาสพูดด้วยความรู้สึกในใจสักเล็กน้อย ตามที่ให้โอกาส โดยส่วนธรรมะวินัย กระผมขออนุโมทนาในการมาของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย เพราะเป็นไปในทางที่รักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณี จึงเป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนา โดยธรรมะ โดยวินัย โดยส่วนตัวขอขอบพระคุณที่ได้มาด้วยความลำบาก เรื่องมีว่า ว่าได้พบได้ปะกัน ควรจะมีธรรมะปฏิสัณฐานดังที่ได้เคยกระทำมาทุกๆปี กระผมก็ขอถือโอกาสถวายธรรมะปฏิสัณฐาน ในตอนแรกที่สุดนี้ขอกล่าวเฉพาะภิกษุหนุ่มและสามเณรซึ่งพึ่งบวชใหม่ อยู่ในฐานะที่ยังไม่ค่อยจะทราบเรื่องทราบราว จึงพูดให้ภิกษุหนุ่มและสามเณรเนี่ยทราบก่อนทุกปีไป การทำวัตรแบบที่ได้ทำไปเมื่อตะกี้นี้ เราเรียกกันว่าแบบมหานิกายโบราณ ซึ่งคงจะทำกันมาหลายร้อยปีเต็มที จะถึง1000 หรือไม่นี้ก็ยังพูดยาก แต่อย่างน้อยก็ถึงสมัยสุโขทัย 800 กว่าปี ในลังกาก็ยังใช้กันอยู่เพราะถอดไปจากไทยรับไปจากไทย ไทยไปสอนให้ การทำวัตรแบบมหานิกายโบราณยังมีอยู่ในลังกา อย่างน้อยก็ในพวกสยามวงศ์ พระสงฆ์ลังกามีสยามวงศ์ คือวงศ์ที่พระเถระไทยไปตั้งขึ้นไว้ เราก็ทำวัตรกันแบบนี้ แม้แต่จะบรรพชาอุปสมบทก็แบบนี้ ผมเองก็บรรพชาอุปสมบทด้วยแบบอุกาสะ อยากจะให้ภิกษุหนุ่มสามเณร ได้ทราบว่าการทำวัตรนั้นมีความหมายอย่างไร
อุกาสะวันทามิภัณเต นี้แสดงความเคารพ,
สัพพัง อะปะราทังขะมะทะเม ภัณเต นี้ขอโทษซึ่งกันและกัน,
มะยา กะตัง ปุณยัง สามินา อนุโมจะปัง เป็นต้นนี้คือแลกเปลี่ยนส่วนบุญซึ่งกันและกัน เป็น 3 ความหมายอยู่
1. แสดงความเคารพเมื่อควรแสดงความเคารพในบุคคลที่ควรเคารพ
2. ขอโทษ อดโทษ ซึ่งกันและกัน ตามธรรมดาของคนเรายังเป็นปุถุชน ย่อมมีการล่วงเกิน ถ้ารู้สึกว่าล่วงเกินต้องขอโทษ เมื่อเขาขอโทษ ต้องอดโทษ ช่วยจำไว้ด้วยว่า เมื่อเพื่อนขอโทษต้องอดโทษ และก็ข้อ
3. ว่าแลกเปลี่ยนส่วนบุญซึ่งกันและกัน บุญใดที่ข้าพเจ้าได้ทำขอให้ท่านมีส่วน ที่ท่านทำขอให้ผมมีส่วนและอนุโมทนาเป็น 3 หัวข้อ ที่อยากจะให้ทราบคือให้ทราบว่า โลกเราอาจจะอยู่ได้ด้วยหัวใจของการทำวัตร 3 หัวข้อนี้ เวลานี้โลกไร้ศีลธรรมมากยิ่งขึ้นทุกที ไม่มีสันติภาพ อาจจะแก้ได้ด้วยการประพฤติ ปฏิบัติ ซึ่งเป็นใจความสำคัญในการทำวัตรตามแบบนี้ แบบมหานิกายโบราณนี้
ข้อที่ 1.ให้เคารพแก่บุคคลที่ควรเคารพ ดูว่าในโลกนี้ไม่มีการเคารพ ยิ่งพวกฝรั่งแล้วมันก็เรียกชื่อนายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดี เรียกแต่ชื่อนะยังแต่จะเติมอ้ายเข้าไปแล้ว มันไม่ได้ออกชื่อด้วยความเคารพ พูดจาด้วยความเคารพ อะไรด้วยความเคารพ ประเทศไทยเราไปตามอย่างฝรั่งเลยไม่มีโวหารเรื่องการพูดจาหรือการแสดงกริยาที่เคารพตามลำดับที่ควรเคารพ มันก็เลยไม่เคารพ มันก็เลยดูหมิ่น ดูถูก เหยียดหยาม และมันก็ปั่นป่วน เพราะมันไม่มีที่เคารพ มันกลายเป็นอยู่อย่างไม่มีการเคารพ ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า เป็นทางแห่งความวินาศ การอยู่กันเสมอกันโดยไม่มีที่เคารพเป็นทางแห่งความวินาศ ควรจะมีการเคารพเป็นระเบียบ เป็นลำดับ ตั้งแต่บิดามารดา ครูบาอาจารย์ เรื่อยกันไปถึงผู้บังคับบัญชาสูงสุด พระมหากษัตริย์ต้องมีการเคารพ แล้วมันจะดีกว่านี้มาก ดีกว่าจะแข่งหู ชิงหู ทะเลาะวิวาทกันไม่มีที่เคารพ เพราะฉะนั้นภิกษุหนุ่มสามเณรจงสมาทานวัตรปฏิบัติที่จะเป็นผู้ที่เคารพในบุคคลที่ควรเคารพ
ทีนี้ก็อยากจะบอกให้รู้เสียเลยว่า ไม่มีหรอกที่ไม่ควรเคารพ อย่างน้อยต้องเคารพว่า เขาเป็นเพื่อนมนุษย์เหมือนกับเรา เป็นเณรด้วยกัน เณรต่อเณรต้องรู้จักเคารพกันว่าเราเป็นมนุษย์เขาก็เป็นมนุษย์ เคารพสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ คนแต่ละคนไม่ใช่แมวนี่มันต้องมีอะไรทำดีอยู่บ้างเสมอแหละ เราเคารพความดีของเขาได้ทั้งนั้นแหละ ไอ้ที่เป็นความไม่ดี เป็นความชั่วก็อย่าไปสนใจเขา ชั่งเขา เขาต้องมีบ้างตามเรื่องเขาแหละ เราจึงเคารพได้ทุกคน ผู้ที่ถือธรรมเนียมโบราณ พอผ่านเขาก็ยกมือไหว้พร้อมกันเสียแล้ว ไม่ต้องรอให้ใครเคารพก่อน ผมเห็นพวกสวามีเป็นพระสูงสุดของฮินดู พอเห็นถึงก็ยกมือไหว้พร้อมกันเสียแล้ว ไม่รู้ใครไหว้ก่อนไหว้หลังเสียแล้ว นี่มันติดนิสัยพันนี้ เขาเรียกว่ามีความเคารพ ก็จะป้องกันความกระด้างด้วยมานะ ด้วยทิฐิ ด้วยอะไรได้มาก ที่เราทะเลาะวิวาทกัน ทำอันตรายกันเพราะมันขาดคุณธรรมข้อนี้ คือ ไม่อ่อนน้อมนั่นเอง ขอให้อ่อนน้อมจะมีหลักธรรมะในพระพุทธศาสนามากมายหลายข้อให้อ่อนน้อม แม้แต่เราสอนชาวบ้าน ทุกคราวที่อนุโมทนาทาน อะพิวาพันนาสี นิจจัง มุจจา ปทาอิโน คือเราสอนเขาให้เคารพอ่อนน้อมอยู่เสมอไป นี่เรียกว่าเป็นคุณธรรมพื้นฐานเป็น มันจะต้องมีเป็นพื้นฐาน แล้วหมู่คณะไหนอยู่ด้วยความเคารพ จะสบาย จะรักใคร่ จะกลมเกลียว จะสามัคคี นี่ช่วยจำไว้เป็นข้อแรก
ข้อที่สอง สัพพัง อะปะราธัง อดโทษกันนี้ มันเป็นธรรมดา ซึ่งเรายังเป็นปุถุชนก็ต้องมีกิเลส เรียกตรงๆคือกิเลสที่เป็นเหตุให้ขัดใจ ไม่ชอบใจ แล้วก็จะคิดร้ายบ้าง พูดร้ายบ้าง กระทำร้ายบ้าง เมื่อได้ทำไปแล้ว สำนึกได้ รีบขอโทษ ผู้ที่ถูกขอโทษก็ต้องอดโทษ นี่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ ว่าให้ระงับเวร เวรจะระงับไปเพราะไม่ถือไว้ ขอให้ยินดีปรีดาที่ได้อดโทษ ได้ขอโทษ เมื่อทำผิดสักนิดหนึ่ง รึว่า สงสัยว่า จะกระทำผิดแล้วก็ขอโทษดีกว่า แต่เมื่อขอโทษแล้วก็อดโทษ มันเป็นการดีที่สุดและมันก็จะกลับดีเหมือนเดิม เมื่อยังไม่มีอะไรกระทบกัน เมื่อภิกษุหนุ่มสามเณรยังไม่เคยได้ยินได้ฟัง ขอให้ได้ยินได้ฟังเสียว่า การอดโทษและขอโทษนั้นเป็นอริยะวินัยเป็นขนบธรรมเนียมของพระอริยะเจ้า ท่านทำมาเป็นปฏิปทาสืบสายกันมา จึงขอให้ทุกองค์และพร้อมเสมอที่จะขอโทษ ระมัดระวังที่จะไม่ล่วงเกินผู้ใด ด้วย กาย วาจา ใจ และเมื่อมีการล่วงเกินแล้วก็รีบ ขอโทษๆๆ เป็นฝ่ายยอมแพ้ ยอมผิดและขอโทษ และผู้ที่ได้รับการขอโทษก็ต้องรีบอภัย อภัยโทษๆ ด้วยความรัก ด้วยความเมตตา ด้วยความกรุณา ซึ่งว่าเราจะต้องเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ต่อไป อีกเป็นเวลานาน สำเร็จได้ด้วยการขอโทษและอดโทษ
ข้อที่สาม ว่าแลกเปลี่ยนส่วนบุญ มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อนุโมทิตัพพัง ขอให้ท่านอนุโมทนาบุญที่ข้าพเจ้าได้กระทำ บุญที่ท่านกระทำขอให้แก่ข้าพเจ้า นี่หมายความว่าเรา ยินดีปรีดา ปราโมทย์ มุทิตาต่อกันและกันในการที่มีส่วนบุญดีอะไร ขอให้ ให้กัน ให้แลกเปลี่ยนกัน แต่โบราณจะได้ยินมากสมัยนี้เกือบจะไม่ได้ยินเสียแล้ว เมื่อผมเด็กๆ 60 กว่าปี 70 ปีมาแล้วนู่นก็ได้ยิน เดี๋ยวตรงนั้นที เดี๋ยวตรงนี้ที เอาบุญมาให้นะแม่นะ เอาบุญมาให้นะพี่นะ เอาบุญมาให้น้องนะ ลูกนะ หลานนะ เอาบุญมาให้ เวลานี้ไม่ค่อยได้ยินเสียแล้ว มันจะเพราะเหตุอะไร ก็นึกเอาเองเถอะ คงจะว่าจิตใจมันผิดไปมากแล้ว มันไม่อยากจะเอาบุญของใคร มันไม่อยากจะให้บุญกะใคร นี่ความมุทิตา ปราณี เมตตา นี้มันก็หายากขึ้นทุกที เรายังเห็นการเบียดเบียนมากขึ้นทุกที เพราะจิตใจมันไม่น้อมไปในทางที่จะรักผู้อื่น ขอให้แบ่งปันความดีจะเป็นวัตถุก็ได้ จะเป็นคุณธรรม เป็นนามธรรมก็ได้ ให้เรียกว่าบุญด้วยก็ได้ นั้นเรามีอะไรจึงแบ่งปันซึ่งกันและกันมีความดีมีอะไรก็แบ่งปันซึ่งกันและกัน มีบุญกุศลแบ่งปันซึ่งกันและกัน ผมขอพูดด้วยภาษาไทยอีกครั้งหนึ่งว่า บุญอะไรที่ผมมี ได้กระทำความดีอะไรมา ขอแบ่งปันให้เพื่อน ถ้าพรหมจารีทั้งหลายทุกคนและบุญอันใดที่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายได้กระทำ ผมขออนุโมทนาด้วยเป็นอย่างยิ่ง ก็ยังหวังว่าเรายังมีหน้าที่จะต้องทำร่วมกันต่อไปอีกนาน เพื่อประโยชน์เพื่อความคงอยู่ แห่งพระศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดา นี่ข้อแรกที่ตั้งใจจะพูดและมุ่งหมายให้ภิกษุหนุ่มสามเณร ซึ่งยังไม่ได้ยินได้ฟังเพิ่งบวชปีนี้ ขอให้ได้สนใจ ในข้อที่ว่า เรามีหัวข้อทำวัตร 3 ประการ คือ ข้อที่ว่าแสดงความเคารพเมื่อควรแสดงความเคารพ ขอโทษและอดโทษเมื่อควรแสดง อดโทษและขอโทษและแลกเปลี่ยนส่วนบุญเมื่อควรแสดงแลกเปลี่ยนส่วนบุญ นอกจากจะเป็นธรรมะสำหรับให้แต่ละคนอยู่ด้วยความสงบสุขแล้วยังเป็นธรรมะให้โลกทั้งโลกมีความสงบสุขด้วย ขอให้โลกทั้งโลกมันถือคุณธรรม หลักธรรม 3 ข้อนี้ โลกจะมีความสงบ สงบเป็นสันติสุข สันติภาพ คือว่าจะไม่มีความโกรธ ความเกลียดชัง อิจฉา ริษยา คิดเบียดเบียน หรือมีก่อเวรติดอยู่ในใจ แล้วมันจะเรียบร้อยหมด จึงขอให้ถือเป็นหลักปฏิบัติไปจนตลอดชีวิต ถ้ายังอยู่ในเพศภิกษุก็ปฏิบัติใน 3 ข้อนี้ ถ้าสึก ลาสิกขา ออกไปก็ให้ปฏิบัติใน 3 ข้อนี้ แม้ในครอบครัวก็ให้ปฏิบัติใน 3 ข้อนี้ คือเคารพซึ่งกันและกันในครอบครัวและก็ขอโทษและอดโทษกันอยู่เสมอและก็แลกเปลี่ยนส่วนบุญคือความดีด้วยกันและกันเสมอ ทีนี้เรื่องที่ 2 เรื่องถัดมา อยากจะปรารภถึงเรื่องแค่ว่า เราทุกคนต้องช่วยกันทำสุดความสามารถเพื่อความตั้งอยู่รุ่งเรืองมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา คือเราเห็นได้โดยไม่มีใครต้องบอกว่าศีลธรรมของประชาชนของโลกมันตกต่ำ และก็ตกต่ำเข้ามาจนถึงเรื่อง ความเป็นอยู่ของพวกเราคือพวกพระนี่เช่นว่าพระน้อยลง ไม่ค่อยจะมีอยู่ ไม่พอในวัดก็ดี การศึกษาไม่พอ ไม่สามารถจะช่วยสั่งสอนศีลธรรมแก่ประชาชนก็ดี ข้อนี้มันปรากฏเป็นปัญหาขึ้นมาว่าเมื่อทางรัฐบาล ทางการเขาขอร้องให้พระไปสอนศีลธรรมในโรงเรียน ช่วยอีกแรงมันหายาก หาพระยาก อย่างเราจะต้องปรับปรุงให้มันมี ให้มันหาได้ และขอให้เราอยู่กันอย่างที่ว่าเป็นที่เคารพสักการะของมหาชน เมื่อก่อนมหาชนเขายังไม่มีอะไรเท่าไหร่ เขาเคารพพระ เวลานี้มหาชนมันก้าวหน้าไปไกลเกินพระ พระกลายเป็นล้าหลัง มันก็เลยไม่เคารพ ไม่ค่อยจะเคารพ พระคือพวกเรา เพราะฉะนั้นพวกเราต้องพยายามทำตนให้มันก้าวหน้าให้มันเหนือกว่าประชาชนไว้และประชาชนก็ยังคงเคารพ มันจึงจะตั้งอยู่ได้ ทีนี้ก็อยากจะพูดถึงเรื่องที่ว่าพระเรา พระภิกษุสามเณรของเราจะมีความมั่นคงได้อย่างไรบ้าง ปีนี้ผมขอโอกาสพูด ถ้าว่าจะทำความรำคาญบ้างก็ขออภัย ขอให้ช่วยตั้งใจฟัง ซึ่งผมรู้สึกว่ามันน่าสนใจเหลือเกิน ข้อนั้นก็คือ การที่เป็นพระของเราอยู่กันได้หลายพรรษาหรือว่าอยู่ไม่ได้ไม่ทันออกพรรษาก็รบเร้าแต่จะสึก เนี่ยซึ่งมันปรากฎมากขึ้น บวชแล้วไม่ทันจะออกพรรษา อยากจะสึก ให้สึกกะสึก ถ้าเกิดนิยมบวชไม่เข้าพรรษากันมากขึ้น บวช 15 วัน บวช 7 วันมากขึ้น พอถึงคราวพรรษาก็ไม่บวช ก็บวชน้อยลง บวชแล้วก็อยู่ไม่ค่อยจะได้ จะพูดถึง จะวินิจฉัยถึงข้อที่อยู่กันไม่ค่อยจะได้ ขออาราธนาเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน เพื่อนผู้หลักผู้ใหญ่เป็นเจ้าอาวาสเป็นเจ้าคณะตำบลหรือเป็นเจ้าคณะไหนก็ตามใจ ซึ่งมีอิทธิพลพอที่จะปรับปรุงเรื่องนี้ได้ ผมขอถวายความเห็น ผมไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้ทำอะไร แต่จะขอถวายความเห็นว่าเห็นด้วยแล้วก็คงจะเอาไปทำตามเองว่าขนบธรรมเนียมประเพณีที่ทำให้พระเรามั่นคงในพระศาสนา มันมีอยู่คือขนบธรรมเนียมประเพณีแต่โบราณนั่นเอง แต่โบราณ อย่างโบราณ ซึ่งเรามักจะถือว่างมงาย ไอ้ความงมงายเนี่ยมันอยู่คู่กับความขลังหรือความศักดิ์สิทธิ์ ความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ มันช่วยให้ทำจริง ช่วยให้ปฏิบัติจริง ช่วยให้เอาจริง เราควรจะมีความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ไว้ตามสมควรและก็ไม่ต้องงมงาย ไอ้ที่งมงายเป็นเพราะว่าเราไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่องมันจึงเป็นเรื่องงมงาย เพราะฉะนั้นขอให้พิจารณากันใหม่ ว่าผู้ที่บวชแล้ว ปฏิบัติตนในกิจประจำวันขอให้ทำกันใหม่ แบบที่ครูบาอาจารย์ของครูบาอาจารย์ของครูบาอาจารย์ เขาเคยทำกันมา ซึ่งเรามักจะเห็นเป็นเรื่องงมงาย ขอแสดงเป็นเรื่องๆ เป็นข้อๆไปก่อนแล้วค่อยวิจารณ์กันทีหลัง ว่าบวชเราจะต้องมีกิจวัตรที่ทำ เช่นว่า มาอยู่วัด เรียน ยะถาปัจจะยัง ทีนี้จะไม่เอากันแล้ว ผมเข้าใจว่าคงเลิกกันหมดแล้ว ว่าอยู่วัดต้องเรียน ยะถาปัจจะยัง เมื่อผมมาแรกมาอยู่วัด สิ่งที่เรียนเรื่องแรกก็คือ ยะถาปัจจะยัง ยะถาปัจจะยังเป็นหัวใจทั้งหมด หัวใจแท้ๆจริงๆของพระพุทธศาสนาคือข้อที่ว่าอาทุปัทเม เวตัง มันเป็นเพียงสักว่าธาตุตามธรรมชาติ นิจสัจโต นิจชีโว สุญโญ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ว่างเปล่าจากความหมายแห่งตัวตนคือบุคคลนี้ก็ดี จีวรที่บุคคลนี้นุ่งห่มก็ดี บิณฑบาตที่ฉันก็ดี เสนาสนะที่อาศัยก็ดี ยาที่กินก็ดี มันไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ว่างเปล่าจากความหมายแห่งตัวตน เป็นสักว่าธาตุ นี้หัวใจของพระพุทธศาสนา ถ้าไม่เชื่อก็ลองไปนั่นดูเถอะ ลองไปจับทั้งหมดมาประมวลดูเหอะ หัวใจของพระพุทธศาสนาสอนเรื่องอะไร คือ สอนเรื่อง อนัตตา เรื่องสุญญตา เรื่องความไม่มีตัวตน ความมีตัวตนตายเกิด ตายเกิด เค้าสอนกันอยู่แล้วก่อนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาสอนให้เห็นว่า โอ้ย ความจริงมันไม่ใช่มีตัวตน มีแต่กระแสแห่งอิทัปปัจจะยาตา เป็นสายๆ เราไปสมมุติรวมเอาว่าเป็นตัวเป็นตนว่าเกิดว่าตายก็ได้เหมือนกัน ถ้าพูดอย่างธรรมดา อย่างภาษาคน อย่างศีลธรรม พูดว่ามีตัวตนว่าเกิดว่าตายได้เหมือนกัน แต่ถ้าพูดอย่างปรมัตตะธรรมมันไม่มีตัวตน พระพุทธเจ้าตรัส 2 ภาษา พร้อมๆกันเลย ในหนังสือเล่มเดียวกัน ตรงหนึ่งว่า อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแก่ตน อันนี้มันมีตน แต่ตรงหนึ่งว่า อัตตาหิ อัตตโน นัตถิ ตนของตนไม่ได้มี นี้ช่วยไปสังเกตดูมากที่สุด พระพุทธเจ้าตรัส 2 ภาษาเสมอ ภาษาสมมุติก็มีตน ภาษาไม่สมมุติก็ไม่มีตน ไอ้ไม่มีตนเป็นคำพูดแค่จริง เป็นตัวพุทธศาสนาจริง มันจึงให้เรียนหัวใจพุทธศาสนาตั้งแต่วันแรกบวช เพราะฉะนั้นผู้แรกเข้ามาบวช ควรจะได้เรียนหัวใจของพระพุทธศาสนา เรื่อง อนัตตา สุญญตา สันนิจ สะโต นิจชีโว สุญโญ สมัยผมบวชไม่รู้ว่าอะไร แต่ว่าเรียนไป จำได้แล้ว ปฏิบัติตาม ที่เขาสอนให้ปฏิบัติ ถึงเวลานี้เราพอจะพูดกันได้ ให้เรียนยะถาปัจจะยังแล้วบอกให้มันหมายความ อย่างนั้นๆมันเป็นหัวใจของพุทธศาสนา อย่างนั้นน่ะ จะพูดกันอย่างไรก็ตามใจแหละ มันจะผิดหลักหัวใจของพุทธศาสนาไปไม่ได้ เรียกผิดไปเป็นภาษาคนเขาเรียกเป็นภาษาสมมุติ บอกให้รู้ ว่าสมมุติโว้ย ว่ามีตัวตน ที่จริงต้องไม่มีตัวตน ยึดหัวใจพุทธศาสนาไว้ให้ถูกต้อง ให้ตรงจุด และมันก็ฟั่นเฟือนไม่ได้ จิตมันจะค่อยๆน้อมไปในทางมองเห็นความไม่มีตัวตน นี้ว่าวันแรกเข้ามาอยู่ เรียน ยะถา ปัจจะยัง ช่วยทำให้มันเกิดขึ้นอีกที ว่าบรรพบุรุษ อุปัชฌาย์อาจารย์ของอุปัชฌาย์อาจารย์ของอุปัชฌาย์อาจารย์ได้ทำกันมาแบบนี้ แล้วเราก็ได้รอดตัวมาด้วยเหตุนี้ ด้วยเหตุนี้ผมก็เชื่อว่าผมรอด ผมรอดตัวอยู่ได้ไม่ได้สึกไม่ได้หา ละเพศไปก็เพราะเหตุเหล่านี้ รู้สึกว่ามันปลูกฝังความรู้สึกขลังศักดิ์สิทธิ์อยู่ในข้อนี้ เอ้าทีนี้ก็จะพูดกันไปตามลำดับที่ว่าเขาได้เคยสอนกันว่าอย่างไร หัวรุ่งราวตี 4 นี้ต้องลุกขึ้น เวลานี้เราก็ตีระฆังตี 4 ลุกขึ้น แล้วก็หัวรุ่งเรียกว่าครองใหญ่ ก็หมายความว่าเอาจีวรครองนั้นมาครอง ด้วยทำอย่างพิธีรีตอง ไม่ใช่ทำพอขัดไม่ได้ ครองใหญ่นั้นหมายความว่าเอาครองที่มีอยู่มาครอง แล้วมาสำรวมแล้วมานั่งทำสมาธิ ทำปัจจะเวก ทำอะไรจนกว่าจะอรุณ เพราะฉะนั้นผ้าครองเขาถือว่าศักดิ์สิทธิมาก พอเสร็จแล้วก็เก็บเปลี่ยนผลัด ผลัดเปลี่ยนห่อไว้แล้วห่อไว้ ใช้จีวรธรรมดานุ่งไปบิณฑบาตร นุ่งไปทำการงานอะไรจีวรครองนี้เขาถือเป็นพิเศษ บางองค์ตั้ง 20 ปีแล้ว จีวรครองอันแรกชุดแรกยังอยู่ ยังไม่ได้เปลี่ยน เพราะเขาถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ทีเดียว จีวรครอง ทีนี้พอจะครอง หยิบสบงมา เมื่อหยิบสบง จับสบงนั้นว่า หัวใจของพระวินัย หัวใจของพระวินัยมีว่า อาปามะจุปะ อาทิกัมปาจิตตี มหาวัก จุลวัก ปริวารวัก หัวใจพระวินัย เมื่อหยิบสบงมาจะนุ่ง ว่าหัวใจพระวินัย เวลานุ่งให้ว่า ยถาปัจจะยัง บัดจีวร ทีนี้เมื่อหยิบจีวรมาจะห่ม ว่าหัวใจสุตตันตะคือ ทีมะสังอังคุป ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตนิกาย อุตรนิกาย คุตกะนิกาย หัวใจพระสุตตันตะปิฎก เมื่อหยิบจีวรมาห่มว่าหัวใจพระสุตตันตะปิฎก เมื่อห่มก็ว่า ยถาปัจจะยัง บัดจีวร ทีนี้เมื่อหยิบสังฆาฏิมาจะพาด ก็ว่าหัวใจพระอภิธรรม สังวิทา ภุคายะปะ คือหัวใจอภิธรรม สังคินนี วิภัง ธาตุกถา ภุคละบัญญัติ คถาวัตถุ ยมกปัฐฐาน และเมื่อพาดสังฆาฏิ ก็ว่ายถาปัจจะยัง บัดจีวร คะนี้เมื่อคาดประคดเอว อิมังกายะพันทะนัง อธิษฐามิ ทีนี้ครองผ้าแล้วยกขึ้นนั่งนั่งลงแล้วก็จุดเครื่องสักการะบูชาในที่อยู่ของตัวไม่ได้หมายความว่าไปลงโบสถ์ไม่ไปรวมกัน ในที่อยู่ของตัว จุดเครื่องสักการะแล้ว พิจารณาอัตตภาพ โดยบทว่าอิมัง อัตตะภาโว อสุจิ อสุภัง มรณะประโยสานัง กัมมัตถานัง ภาเวติ แต่ว่าอัตตภาพนี้ ซึ่งเป็นอสุจิ อสุภัง มรณะประโยสานัง มีความตายเป็นที่สุด จงเจริญด้วยกรรมฐาน แล้วก็เจริญกรรมฐานอสุพะกรรมฐานตามสมควรในที่อยู่แห่งตน เสร็จแล้วก็สวดบทสวดมนต์พอสมควร ปัจจเวกอัตติ อปัจจะเวก ทั้ง 4 บทแล้วสวดถวายพรพระด้วยพาหุงคือสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้าทั้ง 8 บท แล้วจึงกรวดน้ำ นี่สวดมนต์นี่มันสวดอย่างที่ว่าให้ตามเป็นวัตรเป็นพิธี ไม่ใช่แค่เราสวดตามบ้านตามเรือน ทีนี้เวลายังเหลือยังไม่ทันสว่าง ห้ามไม่ให้เอนตัวลงนอนอีก ไม่ให้มานอนฝันอยู่ เวลายังเหลือไม่ให้นอนอีกแล้วก็ให้ท่องสวดมนต์ที่เป็นการศึกษา เรื่องการศึกษาเรื่องที่เราต้องท่องจำ เมื่อกี้ก็สวดมนต์ตามวัตรตามปฏิบัติที่ต้องสวด สวดเพื่อเรียน เพื่อท่อง เพื่อจำ แล้วก็ให้แสดงอาบัติ มีเพื่อนแสดงอาบัติเสียก่อนอรุณขึ้น เพื่อไม้ให้อาบัติค้างคืน นึกได้หรือไม่ได้ก็ให้แสดงอาบัติเสียก่อนอรุณขึ้น ทีนี้ก็รับอรุณ ที่ว่ารับอรุณ มันก็แบ่งอรุณเป็น 4 ตอน ปทุม ปะทะโม อรุโน เสโต ทุติโย ตัมพะมังเจวะ ตะติโย โอทาโต จตุโถ นันทะมุทิโย เมื่อมันสักแต่ว่าขาวขึ้นมาแต่ไม่ใช่ว่ามันขาวจ้า มันขาว ขาวอึมครึม เค้าเรียกอรุณที่ 1 , อรุณที่ 2 เป็นสีแดงหรือสีเหลือง อรุณที่ 3 มันขาวแจ้ง อรุณที่ 4 เห็นหน้าตาชัด เหมือนกะเราจะเรียกกันว่าเห็นลายมือใหญ่ มันต้องถึงอรุณที่ 4 จึงจะถือว่าเป็นวันใหม่ วินัยกรรมเกี่ยวกับพรรษา เกี่ยวกับสัตตาหะ เกี่ยวกับอะไรต่างๆที่เรียกว่า อรุณๆๆ ก็ขอให้รู้จัก นับอย่างนี้พออรุณที่ 4 ขึ้นแล้วถือว่าเป็นวันใหม่ เป็นวันใหม่แล้วทีนี้ขาดตอนกันแล้ว ก็เปลื้องผ้าครอง เปลื้องผ้าครองที่เอามาครองใหญ่ เปลื้องออก หอพับเก็บตามเดิม ก็ไปทำกิจกรรม ที่เรียกว่าวันใหม่ขึ้นแล้ว ยังมีบทที่ว่าสวดว่าออกไป เป็นการประกาศว่า อิทานิ อรุโนทะยัง อาปุจฉามะ อาปุจฉามิ ข้าพเจ้าขอกล่าวประกาศซึ่งอรุโณทัย คือ ความอรุณขึ้นมาใหม่ บอกกะตัวเองว่า เหมือนกะอธิษฐานอะไร มันอรุณแล้ว แล้วสิ่งต่างๆต้องทำถูกต้องหมดระหว่างวัตรวันเมื่อวานกะวันรุ่งขึ้น จนถึงให้ประกาศอรุณกะตัวเอง ที่เรียกว่ารับอรุณ เอ้าทีนี้ก็จะมาถึงเรื่องที่จะไปบิณฑบาต เมื่อจับบาตรขึ้นมา ถ้าบาตรแบบโบราณเมื่อเอาสายบาตรมาคล้องบ่า เปิดฝาบาตร เอามือควานในบาตร เป็นการระบุชัดว่าที่ต้องปฏิบัติเปิดฝาบาตรแล้ว ควานมือลงไปในบาตร แล้วเป็นคำพูดว่า จัตตาโร สติปัตถานา กายานุปัสสนา สติปัตถานัง เวทนานุปัสสนา สติปัตถานัง เวทนานุปัสสนา สติปัตถานัง จิตตา นุปัสสนา สติปัตถานัง มันต้องออกชื่อ สติทั้ง 4 , 4 ประการ เอามือควานบาตร แล้วจึงปิดฝาบาตรแล้วจึงเดินไปบิณฑบาต เมื่อเดินไปบิณฑบาตนั้น ภาวนาหรือนึก สัพเพ สัตตา อเวราโหนตุ เมื่อเดินไปบิณฑบาตรว่าเลยไปถึงว่า อัพพยาปัชฌา อนีคา สุขีอัตตานัง ปริหรันตุ นี่เมื่อเดินไปบิณฑบาต ทำในใจอยู่อย่างนี้ ทีนี้เมื่อไปยืนหน้าบ้านคอยรับ กว่าเขาจะออกมาใส่ มีบทตามในใจหรือว่ามา ใช้ริมฝีปากก็ได้ว่า นามรูปัง อนิจจัง นามรูปัง ทุกขัง นามรูปัง อนัตตา เมื่อไปยืนคอยรับบิณฑบาต นี่มันพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราที่มาบิณฑบาตรก็อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หญิงชายที่จะมาใส่บาตรให้เราก็อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ข้าวปลาอาหารที่ใส่ในบาตรลงมาในบาตรของเราก็อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทีนี้เมื่อเขากำลังใส่บาตร บริกรรมในใจ ถึง ยถาปัจจะยัง วัตมานัง บทบิณฑปาโต จะว่าเพียงสุญโญ ก็ได้ จะว่าตลอดไปถึงสุดท้ายนั้นก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม ทีนี้รับบาตรเสร็จแล้วกลับมาวัด วางบาตรลงในที่วางบาตร มีบทที่จะต้องกล่าว อิทานิ อะหาระคะเวสิ ทุกขัง สังเวคะวัตถุ ติวุตจะติ ถึงมันแปลว่า ความทุกข์อันเนื่องด้วยการแสวงหาอาหารในกาลนี้นั้นอันท่านกล่าวว่าเป็นวัตถุแห่งความสังเวช ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการไปแสวงหาอาหารในวันนี้ อุจจะติอันท่านกล่าว่าเป็นวัตถุแห่งความสังเวช คือทำความรู้สึกการแสวงหาอาหารเป็นวัตถุแห่งความสังเวช นี้ฉันอาหารพึงบำเพ็ญตามวัตรที่เราปฏิบัติกันอยู่เช่นเสกียาวัตร ดู ปัจจเวก ฉันด้วยสติ กินเพียงเหมือนกินเนื้ออูฐกลางทะเลทรายหรือน้ำมันหยอดเพลาเกวียน กินพลางนึกถึง ที่จะทำให้ทายกทายิกามีกำไรมากที่สุดพลาง เนี่ยคอยทำฟังดูงมงายหรือไม่งมงาย บ้าหรือดี ถ้าเราปฏิบัติตามนี้แล้วมันจะค่อยๆซึมซาบขึ้นมาๆ ด้วยความรู้สึกว่าขลังว่าศักดิ์สิทธิ์ว่าสูงสุดว่าทำเล่นไม่ได้ ก็จะค่อยซึมด้วยความหมายอันแท้จริงก็จะเกิดประโยชน์แก่ตัวเราเอง เกิดประโยชน์แก่ทายกทายิกาทั้งหลาย เกิดประโยชน์แก่พระศาสนาด้วย จะอธิบายเป็นทำนองวิจารย์ให้ฟังว่า เมื่อหยิบสบงมาจะนุ่ง ว่าหัวใจพระวินัยเหมือนคล้ายๆเราทำความเข้าใจว่าเรานุ่งพระวินัย พระวินัยเป็นผ้านุ่งของเรา เรานุ่งพระวินัย เราทำผิดไม่ได้ เราทำเลวไม่ได้ เมื่อเอาจีวรอุตราสงฆ์มาห่ม เราห่มพระสุตตันตปิฎก เราต้องรู้จักการดับทุกข์ทั้งหมด ตามความมุ่งหมายของสุตตันตปิฎก เมื่อเราพาดสังฆาฏิให้สมบูรณ์ ให้สวยงามนั้นหมายความว่าเราพาดพระอภิธรรม ซึ่งเป็นคำบรรยายที่สูงสุด สวยสด ลึกซึ้ง ตามแบบของอภิธรรม เรานุ่งวินัย เราห่มพระสูตร เราพาดพระอภิธรรม ถ้ามันเกิดความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ในใจมันก็ยึดยึดไว้ได้มากทีเดียว ในครั้งแรกมันจะประทับใจ ทีนี้เหมือนวันแรกบวชไม่อยากข้าวนะ เหตุไดที่คนแรกบวชไม่รู้สึกหิวเพราะมันเต็มไปด้วยความรู้สึกขลัง ศักดิ์สิทธิ์ของการบวช มีปิติปราโมทย์เหลือประมาณ นี้ก็เหมือนกันถ้าเราเอาสบงมานุ่ง เหมือนกับเรานุ่งพระวินัยนั้น เอาจีวรมาห่ม เราห่มพระสูตร พาดสังฆาฏิ เราพาดพระอภิธรรม แล้วมันอยู่ด้วยเครื่องคุ้มครองค้ำจุนอย่างดีที่สุดเลย คาดประคตเอวว่าอิมัง กายะพันทะนัง อธิษฐามิ หมายถึงว่าเราจะต้องเป็นผู้เข้มแข็ง เราจะเป็นผู้แน่นแฟ้น เข้มแข็ง เหมือนกะเราพาดรัดประคต อธิษฐาน กายะพันทะนัง แล้วก็ครองผ้าแล้วนั่งพิจารณาอัตตภาพ อิมัง อัตตะภาโว อสุจิ อสุภัง มรณประโยสานัง กรรมมัตถานัง ภาเวติ ขอให้อัตตภาพนี้เจริญด้วยกรรมฐาน อสุจิ อสุภัง และมีความตายเป็นประโยสาร คือมันเจริญอสุพกรรมฐานด้วยร่างกายของเราเอง นั่นเอง แล้วจึงสวดมนต์ จึงปัจจะเวก จึงถวายพรพระ รำลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ตำรานี้เค้าใช้พาหุงแทนอิติปิโสแทนพุทธคุณเพราะพาหุงแสดงบท เชิดชู เทิดทูน สรรเสริญคุณของพระพุทธจ้าอย่างยิ่งแล้วจึงกรวดน้ำ หมายความว่าทุกหัวรุ่งมีการกรวดน้ำ มีการสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า มีการปัจจะเวก ทีจะปัจจะเวกอัตตะมะยา ทั้ง 4 บท เวลายังเหลือห้ามนอนลงอีก ถ้าหากว่าพระเณรที่เราไม่ได้ยกขึ้นครองนั้นแล้วยังนอนฝันหวานอยู่จนสว่าง จนเพื่อนต้องมาเตะก้นให้ยกขึ้นนั่ง มันต้องผิดกันมากแหละ เนี่ยยกขึ้นปัจจะเวกทำอะไรแล้วเวลายังเหลือก็ห้ามเอนห้ามนอนลงมาอีก ให้ศึกษาเล่าเรียน ให้อะไรก็สุดแต่ ให้แสดงอาบัติเสร็จก่อนอรุณเพื่อไม่ให้อาบัติ นี่มันข้ามวันข้ามคืน ประกาศอรุณว่ามันอรุณแล้วโว้ย คล้ายๆกับบอกอย่างนั้น อรุณแล้วโว้ย บอกตัวเองอรุณแล้วโว้ย วันหนึ่งไปแล้วโว้ย วันหนึ่งไปแล้วโว้ย จะได้ทำอะไร ให้มันถูกต้องตามกาลกำหนดของวัน เมื่อเอาบาตรคล้องบ่า เปิดบาตร ควานบาตร ว่าออกชื่อ สติปัฐฐานทั้ง 4 ก็คือต้องการให้มีสตินั่นเอง มีสติๆ เป็นผู้มีสติไปบิณฑบาตร มีสติไปบิณฑบาต จึงออกชื่อสติปัฐฐานทั้ง 4 เมื่อควานทั่วๆบาตร ไอ้ควานทั่วๆบาตร เค้าบัญญัติไว้ให้ทำ อย่างน้อยมันป้องกันไม่ให้มีอะไรอยู่ในบาตร เหมือนกับพระเณรที่ประมาทบางองค์ พอไปบิณฑบาต พอเปิดบาตร ถึงในนั้น ผ้าอาบอยู่เต็ม ช้อนส้อม ก็มี ขลุกขลักกันใหญ่ เพราะมันไม่ปฏิบัติวัตรข้อนี้โดยวัตร แท้ๆแต่โบราณบาตรต้องควานดูก่อน ที่จะเอาออกไปบิณฑบาตร และจะต้องทำสติๆๆๆ ถึง 4 สติ และเมื่อเดินไปสัพเพสัตตา อเวราโหนตุ อัพยาปัชชา อะนีคา สุขีอัตตานัง ปริหะรันตุแล้วก็แผ่เมตตาไป แล้วก็เปลื้องเวร ป้องกันเวร ที่ว่าจะไปเหยียบสัตว์ตายหรือว่าจะไปทำอะไรตาย นี่ก็เปลื้องเวรด้วยบทนี้แล้วแผ่เมตตา มีจิตใจแผ่ไปด้วย เมตตา เดินไป เมื่อยืนคอยรับมีสติในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รูป นามรูปนี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นามรูปไหนก็เหมือนกัน นามรูปข้างใน นามรูปข้างนอก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็จะป้องกันได้ ถ้าคนใส่บาตรมันสวยนักก็ มันคงไม่ถึงกับลืมไป เพราะใจมันนึกถึงแต่เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คล้ายๆว่าอาจารย์ แต่กาลก่อนเคยป้องกันไว้ให้แล้ว ถ้าลูกศิษย์ชั้นหลัง ปฏิบัติตามคงจะปลอดภัย เนื่องจากมีสภาคารม เมื่อไปบิณฑบาต ผู้หญิงที่สวยงามมาใส่บาตรนี้ก็เรียกว่ามีสภาคารม ทำไม่ดีมันจะค่อยๆลดความเป็นพระลงวันละนิดๆๆ ทีหลังมันจะถึงจุดที่อยู่ไม่ได้ เมื่อเขาใส่บาตร พิจารณาในสิ่งที่ใส่ลงไปนั้นแหละ ด้วยบท ยถาปัจจะยัง บทบิณฑบาตร นิจสัตโต นิจชีโว สุญโญ ให้มันแรงเข้าไปแล้วมันจะฝังจิตแรงอยู่เหมือนกัน ทีนี้พอมาถึงวัด มาวางบาตรบอกตัวเองว่า ความทุกข์เนื่องจากการต้องไปแสวงหาอาหารนี้ บัณฑิตท่านกล่าวว่าเป็นวัตถุแห่งความสังเวช นี่เราจะได้สังเวช จะไม่ละโมบในอาหาร จะไม่ฟุ้งซ่าน จะไม่มีจิตวิปริต พอถ้าจิตมันสังเวชแล้ว มันก็ยากที่มันจะเกิดกิเลส มันเป็นวัตถุแห่งความสังเวช พระถึงปลงชีวิตว่าชีวิตเราอยู่ต่ำต้องไปขอทาน มันก็เป็นวัตถุแห่งความสังเวช การต้องไปแสวงหาอาหารเป็นวัตถุแห่งความสังเวช และก็ไม่ประมาท ไม่อวดดี ไม่จองหอง ไม่พองขน มันก็ดีนี้ เมื่อฉันอาหารให้ฉันตามแบบมีปัจจะเวก มีเสคียวัตร แล้วฉันเพียงสักว่าเหมือนกะฉันเนื้ออูฐกลางทะเลทราย เป็นพระบาลีในมัชฉิมนิกาย พ่อแม่คนนั้นต้องจำใจกินเนื้อลูกที่ตายกลางทะเลทรายเพราะหลงทาง มันจะกินให้อร่อย ไม่อร่อยก็ได้ หรือว่าเหมือนกะน้ำมันหยอดเพลาเกวียน เขาหยอดให้พอมันลื่นเท่านั้นไม่ได้เทให้ล้นลั่กๆเลย แล้วก็นึกถึงแต่ว่าจะทำให้ทายกทายิกาผู้ให้ทานใส่บาตรมีกำไรไปเรื่อยไปเมื่อฉันอาหารของเขานั้น เนี่ยใจความ นี่เท่ากับผมเคยปฏิบัติมาเองก็มากแล้วที่เก็บมาจากหนังสือที่มีมาแล้วแต่โบราณ เค้าเรียกคัมภีร์พุทธรังสีทฤษฎีญาณ อธิบายข้อนี้ละเอียดมาก เพราะฉะนั้นจึงขอให้อุปัชฌาอาจารย์ เจ้าอาวาส เจ้าคณะ ได้ลองไปปรับปรุงดู ถ้าเราฟื้นขนบธรรมเนียมประเพณีอันนี้ขึ้นมาแล้ว เข้าใจว่ามันจะมีความขลัง ศักดิ์สิทธ์พอที่จะยึดหน่วงจิตใจของพระเณรผู้บวชใหม่ให้ฝังแน่นมั่นคงลงไปตั้งแต่วันแรกๆ มันจะมีจิตใจชนิดที่ทำให้อยู่ได้ ให้ผ้าเหลืองไม่ร้อน ถ้าไม่มีเลย มันก็ปล่อยไปตามบุญตามกรรมเหมือนกะว่าวลอยไปตามลม คือถ้ามันมีอย่างนี้เหมือนกับตอกหลักฝังเข็มลงไป คิดดูให้ดี นุ่งวินัย ห่มพระสูตร พาดพระอภิธรรม มันเท่าไหร่คนเรา นี่มันเป็นคำเหมือนกะอุปมา วินัยมันป้องกันไม่ให้ทำชั่ว ทำผิด เรานุ่งวินัย จะไปทำชั่วทำผิดยังไงได้ แล้วเราห่มพระสูตรแสดงซึ่งทางดับทุกข์ เราจะโง่เขลาในความดับทุกข์ยังไงได้ เราก็ต้องเข้าใจแจ่มแจ้ง เราพาดสังฆาฏิ อภิธรรมก็หมายความว่า สง่าราศีสูงสุด เรามีด้วยความรู้ธรรมะชั้นละเอียดชั้นลึกซึ้ง ชั้นอภิธรรม ผมถูกด่าว่า ถูกเขาด่าว่าปฏิเสธอภิธรรม เกลียดอภิธรรม ผมมีอภิธรรมแบบของผม อภิธรรมผมแบบสุญญตา อภิธรรมจริงไปหาสุญญตา อภิธรรมของเขาไปเอามหากุศลกันเป็นหาบเป็นหามเลย เราเอาด้วยไม่ได้ อภิธรรมมันคนละแบบ ช่วยจำไว้ทียังได้ว่า พระหนุ่มเณรน้อย นุ่งวินัย ห่มสุตตันตะ แล้วพาดอภิธรรม แล้วก็ทำเหมือนกับที่ว่าทุกอย่าง เวลาเอารัดคดมาคาดเอว เราจะต้องเป็นผู้หนักแน่น เข้มแข็ง สามารถเหมือนรัดประคต จะผูกพันเราไว้ในพรหมจรรย์ แล้วก็พิจารณากรรมฐาน อสุจิ อสุพัง มรณะประโยสานัง อย่างน้อยวันละครั้งเมื่อหัวรุ่ง แล้วอย่านอนแช่ให้กิเลสมันขึ้นขี่คอ เวลาหัวรุ่งรีบลุกขึ้นนั่ง รีบครองใหญ่ เขาเรียกครองใหญ่ เป็นพระก็ครองใหญ่ เป็นเณรก็ครองน้อยไปตามแบบแล้วทำให้เข้มแข็งที่สุด ปัจจะเวกก็รูดลูกประคำให้ได้อย่างน้อยสัก 108 เที่ยวยิ่งดี ปัจจะเวก คนที่เขาไม่เข้าใจความหมาย เขาจะว่าเป็นเรื่องงมงาย ทำอย่างงมงาย อย่างขลัง อย่างงมงาย แต่ถ้ารู้ความหมาย ไม่งมงาย แต่มันขลังอย่างแท้จริง ขลังอย่างศักดิ์สิทธิ์ ที่จะช่วยคุ้มครองเอาไว้ได้ เพราะฉะนั้นช่วยพาไปสนใจว่านุ่งสบงวินัย ห่มจีวรสุตตันตะ คาดสังฆาฏิอภิธรรม คาดรัดประคต เราจะเป็นผู้เข้มแข็งมั่นคง แน่นแฟ้น แล้วก็พิจารณากรรมฐาน อสุจิ อสุพัง ตั้งแต่หัวรุ่ง แล้วปัจจะเวก แล้วถวายพรพระ แล้วระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า แล้วกรวดน้ำให้แก่สัตว์ทั้งปวง ถ้ายังไม่สว่างก็อย่านอนอีก แสดงอาบัติเสียก่อนอรุณ อย่าให้อาบัติข้ามคืน พอถึงอรุณก็ประกาศว่า อรุณโว้ยๆ อิทานิ อรุโณทะยัง อาปัจฉามิ ประกาศว่า อรุณๆโว้ย พอจับบาตรขึ้นมาหรือว่าสะพายบาตรให้ควานบาตรด้วยสติทั้ง 4 สติปัฐฐานทั้ง 4 เดินไปประกาศสัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ แผ่เมตตา เมื่อยืนคอยรับพิจารณา นามรูป อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งนามรูปเขา นามรูปเรา หรือว่าวัตถุเมื่อรับบาตรอยู่ว่า ยถา ปัจจะยัง กลับถึงวัดมีสติอีกครั้งหนึ่งว่าการแสวงหาอาหารนี้ท่านกล่าวว่าเป็นวัตถุแห่งความสังเวช แล้วฉันอาหารด้วยสติสัมปะชัญญะถูกต้องตามระเบียบวินัย นี้ผมขอให้ช่วยเอาไปพิจารณา ถ้าเห็นด้วยว่าจะรื้อฟื้นกันใหม่ แล้วมาพูดกันใหม่อีกทีก็ได้ ผมจะลงทุน ช่วยพิมพ์ ช่วยอะไรให้มันสะดวก เอาไปศึกษากันง่ายๆ นี่พูดแต่เพียงเสนอ ขึ้นก่อนว่าจะชอบหรือไม่ชอบ จะเห็นด้วยหรือไม่ว่าถ้าเรามีการปฏิบัติอย่างนี้ พระเณรของเราจะมั่นคง ด้วยความขลังความศักดิ์สิทธ์ แน่นแฟ้นลงไปในการบรรพชา อุปสมบทคงจะอยู่ได้สักพรรษา สองพรรษา สามพรรษา ถ้าอยู่ด้วยจิตใจชนิดนี้บางทีอาจจะอยู่ได้เลย สิ่งที่เรียกว่าศาสนาต้องอาศัยความขลังความศักดิ์สิทธิ์เสมอไป ถ้าอย่างนั้น มันอยู่ไม่ได้ มันกระจาย แต่ไม่ใช่ว่าเป็นความขลังศักดิ์สิทธิ์ที่งมงาย เป็นความขลังศักดิ์สิทธ์ที่ถูกต้อง ที่มีเหตุผล ถูกต้องโดยแท้จริง ความขลังความศักดิ์สิทธ์นั้นไม่ใช่เป็นโทษโดยส่วนเดียว ถ้าใช้ถูกต้องมันมีคุณ ขอได้โปรดนำไปพิจารณาดูว่าถ้าเราจะอบรมภิกษุหนุ่ม สามเณรของเราให้มีความแน่นแฟ้นตามแบบโบราณ เอามาปรึกษากันอีก ต่อไปวันหลัง และช่วยกันทำเป็นแบบเป็นแผนขึ้นมา มันไม่ใช่ตั้งขึ้นใหม่แค่เอาของเก่ามาใช้ ถ้าเห็นด้วยก็เอาของเก่ามาใช้ อย่างน้อยจะทำให้พระเราอยู่ด้วยความเยือกเย็น พระเณรของเราอยู่ได้ด้วยจิตใจที่เยือกเย็น ไปเรื่อยๆ ไม่ร้อน ในส่วนตัวจะไม่ร้อน และในส่วนที่เกี่ยวกับสังคมก็จะไม่ฉุนเฉียว จะไม่ทะเลาะวิวาทกันง่ายๆเหมือนที่มีอยู่ ผมขอฝากให้ช่วยนำไปพิจารณา ปีนี้พูดกันถึงเรื่องนี้ว่ามีของดีหลงอยู่ ช่วยหยิบขึ้นมาปัดฝุ่น เอามาใช้ ขอให้พยายาม
เป็นอันว่าเวลาก็สมควร ฝนทำท่าจะตกเดี๋ยวจะลำบาก ใครที่มีหน้าที่แจกหนังสือ คนที่เดินคล่อง หยิบคล่อง อะไรคล่อง ช่วยแจกหนังสือ มาถวาย…… ้