แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ถ้าไหว้แล้ว รับแล้ว ชักเมื่อไหร่ก็ได้ ขออนุโมทนา ขออนุโมทนาในการกระทำของท่านทั้งหลาย ที่ได้กระทำในวันนี้ เบื้องต้นนี้ด้วยการถวายทาน ซึ่งเรียกกันว่าผ้าป่า ขออนุโมทนาในการตั้งใจดี ขอทำความเข้าใจ ในส่วนที่ว่าจะได้เป็นประโยชน์เป็นอานิสงส์ ยิ่งๆ ขึ้นไป ขอให้เชื่อว่าการถวายทาน บริจาคอะไรก็ตาม เป็นไปเพื่อตั้งอยู่ได้ของพระสงฆ์ มีการบวชการเรียน การศึกษา การปฏิบัติ การเผยแพร่ทำให้ศาสนามีอยู่ เป็นประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงทั่วทั้งโลก ขอให้มีใจกว้างว่าการกระทำวันนี้ เป็นไปเพื่อความสุขเกื้อกูล ประโยชน์เพิ่มพูนแก่คนทั้งโลก ถ้าใจกว้างแบบนี้ได้บุญมาก แต่ว่าจะเอาสวรรค์วิมานคนเดียวใจแคบ ได้คนเดียว จะไปอยู่บนสวรรค์วิมาน ใกล้พระพุทธเจ้าเกินไป พระพุทธเจ้าประสูติกลางดิน ตรัสรู้กลางดิน นิพพานกลางดิน สอนสาวกทั้งหลายกลางดิน จนเกือบจะพูดได้ว่าพระไตรปิฎกทั้งหมดมันเกิดกลางดิน กุฏิพระพุทธเจ้าพื้นดิน สาวกจะไปอยู่บนสวรรค์บนวิมาน มันใกล้เกินไป ช่วยคิดให้ดีๆ อย่าคิดแคบๆ เอาแต่ตัวคนเดียว เวลานี้ทายก ทายิกา ก็ย่อมเห็นอยู่แล้วว่า พระสงฆ์ทั้งหลายมาประชุมกันอยู่มาก ล้วนแต่มีภาระหน้าที่สืบอายุพระศาสนาทั้งนั้น การจะช่วยกระทำ ให้ได้ทำหน้าที่สำเร็จนั้น ย่อมเป็นประโยชน์ส่วนรวมแก่คนทุกคน ด้วยความเสียสละ ส่วนน้อยหรือที่นี้ แต่ประโยชน์ย่อมจะกว้างขวางไปหาประมาณมิได้ และวันนี้เราก็นั่งกลางดิน มาที่นี้ทีไรก็เตือนเรื่องนั่งกลางดิน ขอให้ธรรมในใจให้ถึงพระพุทธเจ้า ผู้ประสูติกลางดิน ตรัสรู้กลางดิน นิพพานกลางดิน สอนกลางดิน อยู่กลางดิน อะไรก็กลางดิน เข้าใจว่าไปที่อื่นหาโอกาสนั่งกลางดินยาก ถ้ามาที่นี่ก็ต้องมีโอกาสนั่งกลางดิน เพราะว่านั่นจึงถือว่าเป็นโอกาสพิเศษที่จะธรรมในใจ เป็นพุทธานุสติอย่างยิ่ง ธรรมมานุสติอย่างยิ่ง สังฆานุสติอย่างยิ่งด้วย หวังว่าท่านทั้งหลายคงจะเข้าใจ มีปิติปราโมทย์ในการกระทำ ทั้งเบื้องต้น ตรงกลางและเบื้องปลาย ซึ่งเป็นลักษณะแห่งความสมบูรณ์ ของการบำเพ็ญทาน พระสงฆ์ทั้งหลายขออนุโมทนา ....
16.00 กรวดน้ำไม่กรวดน้ำหางด้วนแหละ ว่ายังไง ว่ายังไง เอาเถอะกรวดน้ำ ฝนบังคับให้ไปที่หลังคาแล้ว ขอนิมนต์ไปในเรือลำใหม่ ขอนิมนต์ไปในเรือลำใหม่ คล้ายๆกับโรงหนัง เดินไปทางทิศเหนือนะครับ พระเณรในวัดช่วยกันเก็บเสื่อครับ รีบหน่อยครับ เดี๋ยวนี้เลยครับ 17.53
20.21ขอโอกาสทำตามธรรมเนียม กระผมต้องขออภัยทำให้เกิดความลำบาก ฝนตก ลำบาก เปียกปอน เพราะสถานที่ไม่เข้ารูปกัน ก็ทำให้ลำบากนี่กระผมขออภัย แล้วก็โดยส่วนตัว ขอขอบพระคุณในการมาเยี่ยมสวนโมกข์ ในฐานะเป็นเจ้าสำนักสวนโมกข์จึงขอขอบพระคุณอย่างยิ่งที่มา โดยส่วนธรรมวินัย กระผมขออนุโมทนา ในการที่รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีบางอย่าง ซึ่งครูอุปัชฌาย์อาจารย์ได้ตั้งขึ้นไว้ในรูปแบบที่เรียกว่า 21.39 อริยะวังสะปฏิปทา ทำกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ ข้อที่ 1 แสดงความเคารพ ข้อที่ 2 ขออภัยโทษและอดโทษ ข้อที่ 3 แลกเปลี่ยนส่วนบุญซึ่งกันและกัน
ขอได้โปรดถือว่าเป็นหลักปฏิบัติ ของคณะสงฆ์เรา โดยเฉพาะภิกษุสามเณรที่บวชใหม่ อาจจะยังไม่ทราบ จึงขอถือโอกาสบอกให้ทราบว่า ช่วยกันเป็นถือเป็นหลักปฏิบัติ โดยหนึ่งต้องแสดงความเคารพ ในเมื่อควรแสดงความเคารพ ข้อสองต้องขอโทษและอดโทษ ในเมื่อควรจะมีการความขอโทษและอดโทษ ต้องแลกเปลี่ยนส่วนบุญซึ่งกันและ ทั้งหมดนี้เป็นการกำจัดกิเลสอย่างยิ่ง อันจึงได้เรียกว่า อริยะวังสะปฏิปทา ถ้าเรายังตั้งกันอยู่ใน อริยะวังสะปฏิปทา ย่อมต้องการ ความเจริญได้ สมตามความปรารถนา ด้วยการปฏิบัติ ด้วยการกระทำ ขอให้ภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่โดยเฉพาะ เป็นผู้เคร่งครัดในข้อปฏิบัติสามประการนี้ แค่สังเกตเห็น มักจะหัวแข็ง หัวแข็งคือไม่ไหว้ใคร ไม่ยอมใคร อันนี้มันไม่มีทางจะถูกได้อย่างไรขอให้เลิกเสีย เลิกการเป็นคนหัวแข็งเสีย และไม่ขอโทษยิ่งทำผิดยิ่งประชด ยิ่งไม่ขอโทษ บางทีเพื่อนขอโทษก็ไม่ยอมให้โทษ ไม่ยอมอดโทษ นี่เป็นการดื้อดึงอย่างยิ่ง ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญของหมู่ของคณะ มีแต่จะทำให้เกิดความแตกแยก และข้อสุดท้ายเราต้องแลกเปลี่ยนส่วนบุญ ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันแลกเปลี่ยนส่วนบุญซึ่งกันและกัน ไม่มีความอิจฉาริษยา ความอิจฉาริษยาเป็นเครื่องทำโลกให้วินาศ เป็นที่ยอมรับทั้ง ทางฝ่ายคดีโลกและฝ่ายคดีธรรม เพราะความอิจฉาและความขัดแย้งนั้นเป็นความวินาศ ขอให้ภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ระวังให้มากกลัวให้มาก มี 24.44 หิริโอตัปปะ ในข้อนี้ให้มากแล้วก็จะหวังความเจริญได้ ขอให้เป็นผู้อ่อนน้อม ขอให้เป็นผู้ไม่ล่วงเกินผู้อื่น ถ้าล่วงเกินต้องขอโทษ ขอโทษต้องอดโทษ และให้มีการแลกเปลี่ยนส่วนบุญความดี กันอยู่เสมอ แม้ที่สุดแต่วัตถุ วัตถุเราก็แลกเปลี่ยน เผื่อแผ่เจือจานกันอยู่เสมอไป เราจะรอดตัวได้ แม้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงสาม อย่าง ฟังแล้วไม่น่าเชื่อ แต่ผมยืนยัน หลังจากได้ใคร่ครวญมาอย่างดีแล้ว แม้ปฏิบัติเพียงสามอย่างจะทำให้หมู่คณะเรารอดตัวได้ นี่เป็นความมุ่งหมายของสิ่งที่เรียกว่าการเยี่ยมเยียน หรือจะเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าทำวัตร ที่จริงคำว่าทำวัตรหมายถึงการปฏิบัติทางใดทางหนึ่ง แต่บัดนี้เรามาใช้ในฐานะเป็นวัตรอันนึงที่จะพึงกระทำตามโอกาส จึงได้แยกเรียกการกระทำนี้ว่าการทำวัตร ทำวัตรนี้ไม่ใช่เพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ว่าทำให้เกิดประโยชน์รวมกันหมด อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่าถ้าเรายังเคารพกันอยู่ เรายังขอโทษและอดโทษกันอยู่ ยังแลกเปลี่ยนส่วนบุญกันอยู่ ทั้งหมดย่อมมีความเจริญ ขอให้ภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่โดยเฉพาะจดจำไว้ให้แม่นยำ แล้วปฏิบัติด้วยความตั้งอกตั้งใจจริงๆ ให้เป็นการบวชเพื่อสืบอายุพระศาสนา เป็นอันว่าการกระทำ ในวันนี้ได้ทำแล้ว สำเร็จตามเจตนารมณ์ของการกระทำ กระผมจึงขอแสดงความเคารพเพื่อนสหธรรมมิตรทั้งหลาย ขอขอบคุณในส่วนที่เป็นส่วนตัว และขออนุโมทนาในส่วนที่เป็นเรื่องของพระธรรมวินัย และขออภัยอีกครั้งหนึ่งที่ทำให้ได้รับความลำบากเรื่อง ฝนตกเป็นต้น ที่สุดนี้กระผมขออ้างคุณพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นสิ่งสูงสุดที่เราถือเป็นจุดหมายร่วมกันทุกคน เราได้ปฏิบัติสนองคุณพระรัตนตรัย เกิดบุญกุศลดีใดๆ ขอให้อำนาจกุศลอันนี้จงเป็นปัจจัยอันมีกำลัง ให้เกิดความสุขความเจริญแก่ท่านทั้งหลายตลอดทุกทิวาราตรีกาลเทอญ สาธุ
28.02 – 29.05
ขอกราบเรียนพี่ท่านและพระมหาเถระ ผู้มีพรรษาอยู่การมากกว่ากระผม และขอเรียนบรรดาพระเถรานุเถระ และบรรดาพระภิกษุสามเณรทั้งหลายในการประกอบพิธีที่เราเรียกว่าทำวัตร คือการขอขมาโทษดังที่เราได้กระทำไปแล้ว ท่านทั้งหลายก็ได้ฟังโอวาทของพี่ท่านพุทธทาสมาแล้ว ซึ่งมาสรุปใจความถึงคุณประโยชน์ ของการบำเพ็ญบุญกุศลอย่างนี้โดยย่อๆ ซึ่งเข้าใจว่าท่านกล่าวอย่างย่อจริงๆ เพื่อจะให้โอกาสแก่กระผม ซึ่งจะได้กล่าวอธิบายขยายความต่อไปอีก คือท่านกล่าวย่อ ๆของคุณประโยชน์ของการทำวัตร กันอย่างนี้เพียง 3 ประการ คือประการแรก ได้มาแสดงคารวะแสดงความเคารพนับถือ ต่อท่านผู้หลักผู้ใหญ่ผู้ที่ควรเคารพนับถืออย่างหนึ่ง ประการที่สอง ก็เป็นการขอขมาโทษ เพื่อการขอให้อดโทษในระหว่างกันและกันอย่างหนึ่ง และประการที่สามก็เป็นการแลกบุญแลกกุศลกัน แลกคุณงามความดีกันอย่างหนึ่ง ซึ่งข้อใหญ่ใจความก็มีอย่างนี้ สำหรับในส่วนรายละเอียด ก็ขอให้เป็นหน้าที่ท่านทั้งหลาย จะพยายามนำเอาไปคิดเอาเอง ที่กระผมได้รับโอกาสจากพี่ท่านให้ พูดโดยเฉพาะเกี่ยวกับพระใหม่ๆ ที่ได้มาประชุมกันในวันนี้ซักเล็กน้อย ซึ่งผมเองก็ ถ้าจะพูดเกี่ยวกับเรื่องโอวาทพระใหม่ๆ นั้น ก็ชอบอยู่เหมือนกัน ชอบเป็นคนแชร์พูดในทางนี้ ก็มีอยู่บ้างเหมือนกันก็อยากจะพูดอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะในสมัยปัจจุบัน ด้วยพระเรานั้น พระแก่กับพระหนุ่มนั้นเข้ากันไม่ค่อยได้ คือพระแก่นั้นก็ตามธรรมดา มันเป็นเรื่องที่เป็นไปตามธรรมชาติ มีการประพฤติปฏิบัติ อะไรกันไปอย่างหนึ่ง ความรู้สึกนึกคิดอะไรก็ไปอย่างหนึ่ง แต่ว่าพระหนุ่มเค้าในสมัยปัจจุบันนั้น ได้ชุบตัวกับวิทยาการอะไรใหม่ ๆ อยู่ในเครื่องแวดล้อมใหม่ๆ ก็มีความรู้ลึกนึกคิดกันไปอย่างหนึ่ง นั้นมาเข้ากันไม่ได้ ทั้งที่ผมเองนั้น ก็รู้สึกว่าเคยใหม่มาก่อนเหมือนกัน แต่เมื่อมันแก่เข้าไปแล้วมันเรื่องช่วยไม่ได้ แต่ก็ยังระลึกนึกถึงเรื่องใหม่ๆ อยู่เหมือนกัน ฉะนั้นก็พยายามจะปรับตัว ที่จะให้เข้ากับพระใหม่ๆ บ้าง แต่ก็บางครั้งบางคราวมันก็ไม่ค่อยเข้าใจกันอยู่นั่นเอง ทั้งนี้เพราะเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมทั้งหลายก็เปลี่ยนแปลงไปบ้าง จึงจำเป็นที่จะต้องมีการพูดหรือทำความเข้าใจกันบ่อย ๆ ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าหากว่าเราพยายามทำความเข้าใจกันให้ดีแล้ว มันก็พอไปได้ กิจกรรมหรือพิธีกรรมอะไรต่างๆ นานา ถ้าหากว่าเราทำไปตามเรื่อง โดยไม่พิจารณาถึงความหมายแล้ว บางทีอาจจะมีความเห็นแตกต่าง มันอาจจะไปกันคนละทางก็ได้ แต่ถ้าเราพยายามพิจารณาให้ทะลุ พบความหมายที่แท้จริงแล้วบางทีมันไปพบจุดเดียวกัน ฉะนั้นในการกระทำที่เราเรียกว่าทำวัตร อย่างที่เรามากระทำกัน ถ้าเราพิจารณาแล้วก็มีความประสงค์อย่างเดียวกัน คือในประการแรก เรียกว่าขอโทษกันนั่นเอง ตามคำที่กล่าวนั้น ผู้น้อยกล่าวต่อผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นภาษาบาลีที่ 34.49 ภันเต ซึ่งแปลว่าท่านผู้เจริญ ความผิดในไตรทวาร คือ ทางกาย วาจา หรือใจก็ตาม ที่เราได้กระทำไปแล้วในพระมหาเถระ ขอพระมหาเถระอดโทษด้วย คืออย่าถือโทษ ฝ่ายมหาเถระก็ตอบว่า 35.15 ข้าพเจ้าอดโทษให้แล้ว แม้ท่านทั้งหลายก็อดโทษให้ข้าพเจ้าด้วย นี่แสดงว่าขอโทษกันทั้งสองฝ่าย แล้วก็ให้อภัยโทษกันทั้งสองฝ่าย เพราะเมื่อผู้ใหญ่ขอโทษเราก็รับว่า 35.37ขมามะภันเต เหมือนกัน และท่านผู้เจริญกระผมทั้งหลายขอให้อภัยโทษ คืออดโทษให้ นี่ถ้าเราพิจารณาดูถึงจุดหมายสำคัญแล้วนั้น มันเป็นเรื่องการกระทำของคนดีจริงๆ คนที่มีใจถึง ใจสูงจริงๆ เป็นคนที่ถ้าจะพูดแล้วมีใจเป็นนักปราชญ์ ไม่ใช่คนธรรมดาสามัญ ตามธรรมดาคนเรามักจะเข้ากับตัวเอง ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไปแล้วมักจะนึกว่าถูก แม้ว่าจะผิดก็มักจะหาเหตุผลในทางที่ว่าตนนั่นถูกอยู่เสมอ นี่เพราะเหตุว่ามีทิฐิมีมานะอะไรบางสิ่งบางอย่างไม่ค่อยยอม แต่สำหรับพิธีกรรมอย่างนี้ให้เรายอมกันแล้ว แล้วมันเป็นเรื่องธรรมดาที่เกี่ยวกับความผิด ไม่ว่าใครทุกๆ คนไม่ต้องพูดถึงคนธรรมดาสามัญหรอก ถ้าพิจารณาไปแล้วตามหลักธรรมะนั้น แม้พระอริยบุคคล ยกเว้นพระอรหันต์จำพวกเดียว สำหรับพระอรหันต์ ที่เรียกว่า 37.03ขีนาสวะ หมดอาสวะกิเลส ตัดสังโยชน์ทั้ง 10 ประการ ไม่มีอวิชชาแล้ว นี่แหละท่านนี้แหละชื่อว่าไม่มีผิด เพราะไม่มีมุมมืดในหัวใจแล้ว ทำอะไรถูกด้วยประการทั้งปวง นอกจากนั้นจะเป็น 37.21พระโสดา สกทาคา หรือว่านาคา ก็ตามก็อาจจะมีผิดอยู่บ้าง เพราะยังมีเศษของอวิชชาอันเป็นมุมมืดอยู่ในหัวใจอยู่บ้าง ยังมีผิดอยู่บ้าง เพราะฉะนั้น พระอริยบุคคลก็ยังมีผิดอยู่บ้าง เมื่อพระอริยบุคคลก็ยังมีผิดอยู่บ้าง พลาดอยู่บ้าง จึงไม่จำเป็นที่ต้องพูดถึงคนธรรมดาสามัญที่จะไม่ผิดย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราที่รวมอยู่กันเป็นหมู่เป็นคณะนี้มันจำเป็น มันอาจจะมีการผิดการพลาด ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกัน ไม่ ทางกาย ก็ทางวาจา หรือไม่เช่นนั้นก็ทางใจ ของเรานั้นคิดดูเถอะ ความละเอียดถ้วนถี่ของพระพุทธเจ้า พูดถึงโทษ ไม่ใช่เพียงแต่ว่าโทษ ทางกาย ทางวาจา เท่านั้น แม้ที่สุดทางใจก็ยังมีโทษด้วย แม้เราจะไม่ได้ว่าใคร ไม่ได้กระทำทุจริตให้แก่ใคร แม้แต่ใจอาจจะคิดก็ได้ ฉะนั้นเกิดคิดโกรธมา คิดเกลียดมา อะไรเหล่านี้เป็นต้น เพียงแค่นี้ก็ถ้าพูดไปแล้วก็ผิดเหมือนกัน เพราะเป็นความผิดที่ประกอบไปด้วย 38.44ทุจจิต จิตประกอบด้วยโทษ อย่างนี้ถ้าพูดไปแล้วเป็น จิตประกอบด้วยกิเลสเศร้าหมองเหมือนกัน เพราะฉะนั้นอาจจะมีความผิดได้ เราที่อยู่รวมกันบางที เราอาจจะ บางครั้งบางคราวแม้ไม่พูดอะไร ไม่ทำอะไร ให้เป็นการล่วงเกิน แต่บางทีจิตใจอาจจะนึกไม่ชอบขึ้นมาก็ได้ เห็นเค้าเดิน เห็นเค้าพูด อะไรต่างๆ บางทีอาจจะคิดในใจมันไม่ชอบขึ้นมาในใจ ใจเศร้าหมอง เพราะฉะนั้นเราอยู่ก็ต้องการให้อยู่กันโดยความบริสุทธิ์ ไม่มีความชั่ว ความเสียหาย ความเศร้าหมอง ทั้งทางกาย วาจาและใจ ไม่ให้มีการกระทบกระทั่งกัน ถ้าหากว่าเราอยู่กันโดยไม่มีการกระทบกระทั่งกันแล้วก็สบาย หมู่ของพระเราที่จะเจริญได้ ที่จะอยู่กันได้ เราต้องอยู่กันด้วยการไม่กระทบกระทั่งกัน ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ หากว่ามีการกระทบกระทั่งกันบ้าง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาทำนองลิ้นกับฟัน ก็ต้องพยายามให้อภัยโทษกันเสีย อย่างที่พวกเราได้กระทำกันนี่แหละ ที่จริงถ้าจะพูดไป เราก็ ถ้าพูดทางกาย ทางวาจา เราอาจจะไม่มีการล่วงเกินอะไรหรอก แต่ว่าทางใจเราอาจจะมี นี่เพราะอย่างนั้นเราจึงถือเป็นพิธีกรรมกันอย่างหนึ่ง เราทำกันเถอะ ที่วัดเราก็ทำกันเข้าพรรษาก็มีการทำกันทีหนึ่ง ต่อไปจากนั้นก็ไปทำวัตรกันต่อ พระผู้หลักผู้ใหญ่ พระมหาเถระที่เรานับถือ ขออภัยโทษในระหว่างกันและกัน เราขอก่อนขอให้ท่านอดโทษ แล้วก็ผู้ใหญ่ เมื่อท่านอดโทษ ผู้ใหญ่ท่านก็มี แต่ท่านก็ขอโทษเราเหมือนกัน ซึ่งแสดงว่าผู้ใหญ่ท่านอาจจะมีผิดทางกาย ทางวาจาหรือทางใจเหมือนกัน แต่ว่าท่านก็ขอโทษพวกเรา และพวกเราก็ให้อภัยโทษ อดโทษให้เหมือนกัน นี่ถ้าหากว่าเราอยู่กัน ต่างฝ่ายต่างก็มีความรักมีความหวังดีในระหว่างกันและกัน อดโทษให้กันและกันด้วย อย่างนี้เรียกว่าก็จะสะดวกสบายจะอยู่กันด้วยความสุข ความสบาย ความเคารพ ความนับถือ โดยเฉพาะสำนักในที่นี้ ที่เรามากันนั้นเรียกว่าเรามากันด้วยความรัก ความเคารพ ด้วยความนับถือ เพราะพี่ท่านก็เรียกว่า เราถือเป็นมหาเถระที่ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์ นำมาซึ่งเกียรติ ซึ่งชื่อเสียง ทั้งคณะสงฆ์ ในจังหวัดของเรา ในภาคของเรา ตลอดจนถึงในประเทศของเราด้วย และเป็นพระมหาเถระ 41.49อยู่ในฐานะที่เป็นปูชณีย เป็นคุรุฐาณีย 41.55 ที่บูชา ที่เคารพนับถือ เราก็ควรที่จะเชิดชู ควรที่จะยกย่องเราจึงมา แล้วก็ทำพิธีขอขมาโทษ หากว่าจะมีโทษทางกายหรือทางวาจา ทางใจ ก็ขอให้อดโทษ แล้วท่านก็ 42.11 ไปโทษแก่เราแล้ว แล้วก็ยิ่งไปกว่านั้นท่านก็ขอโทษเราด้วย ว่าถ้าหากว่าท่านมีโทษก็เหมือนกันก็ขอให้เราอดโทษให้ท่านและเราก็รับว่า 42.24ขมามะภันเต เราก็อดโทษให้ท่านแล้วเหมือนกัน เป็นอันว่า ถ้าพูดถึงความบริสุทธิ์ใจกันทั้งสองฝ่ายเราไม่มีแล้ว ฉะนั้นเกี่ยวกับพิธีทำวัตรนั้นถ้าจะพูดไปแล้ว เราก็ได้รับประโยชน์เต็มที่แล้ว แต่สิ่งที่เราควรจะมีต่อไปอีก ที่เรามาในที่นี้นั้น นอกจากว่าเรามีความรัก มีความเคารพนับถือ แล้วก็ได้ทำสักการะ ทำวัตรอย่างที่เราได้กระทำมา หรือว่าแลกบุญแลกกุศลกันแล้วนั้น เรายังมีความหวังอีก คือเราต้องการที่จะได้สิ่งที่ดีๆ เพราะเราถือว่า พี่ท่านของเรานั้นต้องมีคุณงามความดีอย่างใดอย่างหนึ่งที่เราเคารพนับถือ ผู้ที่มีคุณงามความดีนั้น นี่แหละเป็นบุคคลที่เราควรเคารพนับถือ แต่เราจะทำอย่างไร เหมือนเราเคารพพระพุทธเจ้าของเรา เราควรจะทำอย่างไร นอกจากเราจะแสดงความเคารพนับถือแล้ว เราก็ต้องพยายามประพฤติปฏิบัติตามโอวาท ตามคำสอนของท่านด้วย ไม่ใช่เพียงสักแต่ว่าไปดูกันเฉยๆ นี่เหมือนกันเรามาในสถานที่นี้ เรามีคุณมีประโยชน์ส่วนอื่นก็มีแล้ว ที่นอกจากนั้นสิ่งสำคัญก็คือเราพยายามจะศึกษาตัวบุคคล คนเรานั้นมีเรื่องที่จะต้องศึกษา ถ้าสรุปแล้วก็สองอย่าง เท่านั้น เรียก 44.05อัตสมบัติ อย่างหนึ่ง หมายความว่า คุณสมบัติส่วนตัว แล้ว 44.12อัตตาปะระยิตาปฏิบัติ คือการปฏิบัติที่เกี่ยวกับผู้อื่น นี่อย่างหนึ่ง นี่คนเราดูตามธรรมดา คุณสมบัติส่วนตัว นั้นใครมีคุณสมบัติส่วนตัวอย่างไร มีการประพฤติปฏิบัติอย่างไร ตั้งต้นอย่างไร นี่เป็นเรื่องที่เราควรจะศึกษา เราเคารพนับถือใครเราต้องดูถึง 44.38อัตสมบัติ ถึงคุณงามความดีของเขา เขามีคุณงามความดีอย่างไรควรที่เราเคารพนับถือหรือไม่ และก็นอกจากนั้นเราต้องดูถึงคุณประโยชน์ 44.52อัตตาปะระยิตาปฏิบัติ การปฏิบัติที่จะทำให้เกิดคุณเกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นนั้น ผู้นั้นประพฤติปฏิบัติอย่างไร สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของเรา เพราะพระองค์ก็ปฏิบัติอย่างนั้นในส่วน 45.07อัตสมบัติ ก็มีคุณหลายสิ่งหลายประการ ดังที่เราก็ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแล้ว จนมาเป็นผู้หมดจดจากกิเลส อาสวะทั้งหลายเหล่านี้เป็นต้น ที่นอกจากนั้นที่พระองค์บำเพ็ญพระองค์ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เช่นในการเทศนา สั่งสอน อะไรต่างต่างนานา โดยไม่เห็นแก่ ความทุกข์ ลำบากเหนื่อยยากพระองค์ นั่นก็เรียกเป็นส่วน 45.36ปะระยิตาปฏิบัติ การปฏิบัติที่ให้เกิดคุณเกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นๆ คนเราแต่ละคนก็อย่างนั้นเหมือนกัน ที่เราจะศึกษากันโดยสรุป คือสรุปตัวบุคคลว่าเค้ามีความประพฤติปฏิบัติอย่างไร ดีหรือไม่ จะเอาศีล หรือเอาสมาธิ หรือเอาปัญญา หรือคุณความดี ทั้งหลายทั้งปวง พูดโดยสรุปคือพระธรรมวินัยเป็นเครื่องวัด ว่าดีหรือไม่ ท่านประพฤติศีลดี วินัยดีหรือไม่ ธรรมดีหรือไม่ ถ้ามีศีลมีธรรมดี นี่แสดงว่ามีคุณสมบัติคือ 46.18 อัตสมบัติ ดี ควรที่เราจะนำมาสำหรับประพฤติปฏิบัติตัวเราด้วย ไม่ใช่เพียงแต่ว่าพอรู้เฉยๆโดยไม่นำมาประพฤติปฏิบัติ นั้นก็รับประโยชน์น้อย ที่นอกจากนั้นก็ดู 46.33ปะระยิตาปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติเพื่อเกิดคุณเกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น พี่ท่านของเรานั้น เรียกว่าไม่ต้องพูดถึง 46.42อัตสมบัติ พูดถึง 46.44ปะระยิตาปฏิบัติ ท่านได้อุทิศชีวิตเวลาของท่าน ตั้งแต่ต้นมาประพฤติตนเพื่อจะให้เกิดคุณเกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น เช่นในการเทศนาสั่งสอนในการเผยแพร่ ถ้าหากเราเป็นผู้ที่ว่าได้ติดตามงานของท่านได้ตลอดแล้วนั้น เราจะเห็นว่าท่านได้ทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนามาก แล้วถ้าจะพูดไปนั้นสร้างเกียรติศักดิ์ศรีให้เกิดขึ้นแก่พระศาสนาส่วนรวมเป็นอย่างมาก แล้วทำให้เกิดเกียรติเกิดศักดิ์ศรีแก่คณะสงฆ์ไทยเป็นอย่างยิ่ง เวลานี้งานของท่านที่ได้แปลไปในภาษาอื่นเท่าที่ผมเห็น เช่นในภาษาอังกฤษนั้นก็มีมาก และหลายมากแล้ว แล้วต่อไปผมเชื่อว่างานของพี่ท่าน จะต้องปรากฏไปในโลกนอกจาก เป็นภาษาไทยแล้ว เป็นภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศสหรือภาษาอื่นๆ ที่แพร่หลายในอารยประเทศจะต้องมีแน่ๆ ทีนี้แหละ คนอย่างนี้ที่อยู่ในบ้านเมืองของเรา โดยเฉพาะอยู่ในจังหวัดของเรา นี่เป็นเรื่องที่ว่าน่าชมเชย น่าสรรเสริญ และน่ายกย่อง เพราะอย่างนั้นผมเห็นว่าท่านทั้งหลายที่ได้อุตส่าห์พยายามมากันอย่างนี้ด้วยความพร้อมเพรียง ด้วยเจตนาที่จะช่วยสนับสนุนตามกำลังและความสามารถของตน เป็นการให้กำลังใจแก่สวนโมกข์ ซึ่งก็หมายความถึงว่า พี่ท่านผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าของสำนักนี้นั้น จึงเป็นเรื่องที่ควรอนุโมทนาสาธุการอย่างยิ่ง แต่ก็อย่างที่ว่านั่นแหละ ให้พยายามศึกษาถึง 48.45ส่วนอัตสมบัติ หรือคุณสมบัติของท่านและ ปะระยิตาปฏิบัติ การปฏิบัติที่จะให้เกิดคุณเกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นพี่ท่านได้ปฏิบัติมาแล้ว แล้วพยายามนำมาเตือนตัวของเราเอง แล้วนำมาประยุกต์กับการประพฤติปฏิบัติกับตัวเราเอง พยายามทำเราให้เป็นเช่นท่านบ้าง จะได้ซักกี่เปอร์เซ็นต์ก็ตาม ข้อนี้ก็นับว่าเป็นคุณเป็นประโยชน์ที่ดี ถ้าหากว่าเพียงแต่มาชม แต่ก็ไม่ได้คุณงามความดี ในรูปของการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบกลับไปแล้วก็คุณประโยชน์น้อย อย่างนั้นก็เข้าทำนองที่เขาเปรียบเทียบว่าเหมือนกับ คนที่เป็นพนักงานดูเงิน นายคลังของพระเจ้าแผ่นดิน รู้ถือถือบัญชีว่ามีเงินเท่านั้น มีทองเท่านั้น รัตนะเท่านั้น แต่ตัวเองนั้นไม่มีส่วนในเงินในทองนั้นเลย นี่ข้อนี้แสดงว่าอยู่จนตายก็ยังจนอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นเรามากันหลายปีแล้ว เรามากันที่นี่ เรามาบำเพ็ญบุญบำเพ็ญกุศลกันหลายสิ่งหลายอย่าง ผมก็ถือว่าเป็นบุญเป็นกุศลจริงๆ แต่ว่านั่นแหละที่สำคัญที่สุดก็ขอให้เราพยายามได้ยึดถือคติสองอย่าง คือพยายามศึกษา 50.15อัตสมบัติ และ ปะระยิตาปฏิบัติ ของพี่ท่านนี้และพยายามนำไปประยุกต์กับการประพฤติปฏิบัติของเรา ปรับตัวเราปรับคณะสงฆ์ของเรา ให้ดำเนินไปตามวิถีทางที่พี่ท่านได้ชี้ทางแนะแนวทางด้วยการประพฤติปฏิบัติของท่านมาแล้วซึ่งผมเชื่อว่าถ้าหากพวกเราได้ดำเนินกันอย่างนี้ทุกๆ ปี แล้วก็ขีดของความสามารถของความดีของเราได้เจริญขึ้น ในทางปฏิบัติในแนวนี้ขึ้นทุกปีๆ แล้วก็ผมเห็นว่าจะมีคุณมีประโยชน์มาก จังหวัดของเรา ทั้ง ชุมพร หรือจังหวัด สุราษฏร์ธานี ก็จะดีขึ้นไปตามลำดับ จะเป็นตัวอย่างที่ดีของจังหวัดอื่นๆด้วย ผมนี่ก็ถ้าพูดไปแล้วก็จะกินเวลามากไป เพราะฉะนั้นก็จำเป็นจะต้องขอหยุดพูดเพียงเท่านี้ พร้อมกับขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยที่เราเคารพบูชา และด้วยเดชแห่งอำนาจบุญกุศลที่พวกเราทั้งหลายได้มาร่วมกันกระทำในวันนี้ จงร่วมกันเป็น 51.34ปฏิภาณอุบาย ป้องกัน สัมภวิบัติอุปัทวอันตรายทั้งหลายทั้งปวง ขอให้ทุกๆ ท่านได้ประสบความสุข ความสวัสดีสมหวังในสิ่งที่ชีวิตจะพึงปรารถนา จงทุกประการ จงสมบูรณ์ด้วย 51.50จตุรพิธพร ทั้ง 4 คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ จงทุกๆ ทุกประการเทอญ สาธุ
ขอโอกาสถวายความคิดเห็นบางอย่าง ที่นี้ไม่ใช่แค่ภิกษุสามเณรบวชใหม่แล้ว ขอถวายความคิดเห็นบางอย่างแก่พระเถรานุเถระ นิมนต์ฉันท์ไปพลางผมพูดพลาง ก็ไม่เป็นไรนะ เกี่ยวกับหน้าที่การงานของเรา ที่จะต้องทำ เพื่อความมั่นคงแห่งพระศาสนา ซึ่งเราเห็นว่ากำลังน่าเป็นห่วง คือสังคมกล่าวว่า ชักจะดูหมิ่นศาสนา หรือว่าหันเหออกนอกศาสนา ปู่ย่าตายาย ก็ตายลงไป เด็กๆ ก็ยังไม่ทำตามร่องรอยของปู่ย่าตายาย นิมนต์ฉันท์เลยๆ ไม่ผิดอะไร ผมอยากจะพูดหลายเรื่อง แต่พูดหลายเรื่องไม่ได้ พูดได้เรื่องเดียว ว่าวิธีที่จะรักษาศาสนา หรือหลักธรรมไว้ในคนนั้น อยากจะปรับปรุงบ้าง แต่ความจริงมันไม่ใช่ปรับปรุง มันไม่ใช่เรื่องใหม่ ไม่ใช่คิดขึ้นใหม่ แต่เป็นเรื่องเอาของเก่ามาใช้ ในการจะทำให้ประชาชนมีหลักธรรมะอยู่ในใจ คล่องแคล่วอยู่ในใจแล้วปฏิบัตินั้น ผมอยากจะใช้วิธีโบราณ ซึ่งสรุปข้อความธรรมะ ทั้งหมวด ทั้งกลุ่ม ทั้งเรื่องไว้ในคำสั้นๆ สองสามคำ และเป็นคำกลอน เป็นคำประพันธ์ ซึ่งจำง่าย วิธีนี้มันชักจะเลือนๆไปเสียแล้ว คนโบราณยังจำคำกลอนหัวข้อธรรมะอะไรไว้ได้ ยังมีบ้างแต่ว่าน้อยลงทุกที ขอให้สนใจ ผมจะอธิบายให้ฟัง คือว่า ธรรมะมันมาก คราวนี้เราจะทำยังไง ให้เค้าจำไว้ได้ เราต้องทำให้เค้าจำง่าย คือว่าสรุปเป็นคำกลอน คำกลอนไม่กี่บทอาจจะสรุปหลักธรรมะหมดทั้งพุทธศาสนาไว้ได้ ที่นี้เวลานี้มีปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องศีลธรรม ศีลธรรมต้องการการปรับปรุง ต้องการเผยแผ่อย่างยิ่ง กระทรวงศึกษาก็ยอมรับหลักการโดยจะปรับปรุงวิชาศีลธรรม และเร่งรัด แต่ว่าเท่านั้นไม่พอ เพราะว่าเราพวกพระทั้งหลายทั้งหมดนี่ไม่ช่วยร่วมมือด้วยไม่เอาด้วย แล้วมันเป็นไปไม่ได้เพราะว่างานมันใหญ่เกิน ต้องทำเพื่อประชาชนทั้งประเทศไม่ใช่ทำแค่กับเด็กนักเรียนเพียงไม่กี่คน พูดแล้วไม่ใช่ว่าจะดูถูก คือจะพูดว่ากระทรวงศึกษาธิการก็ยังไม่สามารถจะทำให้เด็กนักเรียนทุกคนเข้าใจและมีศีลธรรมได้มันเหลือกำลัง ที่นี้ประชาชนที่ไม่ใช่เด็กนักเรียนก็มีมากนัก เราต้องช่วย เราต้องช่วยกันทำให้ศีลธรรมมันมีชีวิตชีวาขึ้นมา จึงอยากจะให้เราใช้วิธีจะง่ายกับประชาชนที่จะจดจำและปฏิบัติ ให้มีชีวิตชีวาขึ้นมา ผมพอหลังๆ นี้ชักจะชอบคำกลอน 56.31 มันขึ้นสมอง ขอพูดตามตรง แต่ว่ามันชอบคำกลอนโดยเห็นประโยชน์ของคำกลอน มันจึงเขียนเป็นคำกลอน เป็นบทธรรมะสั้นๆ ปรากฏว่าได้ผลดี ไปที่ไหนก็ได้ยินคนเขากล่าวคำกลอนของเรา ทางวิทยุก็ได้ยินบ่อยๆ โดยเฉพาะบทที่ว่า เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา จงถือเอาความดีเขาก็มีอยู่ ได้ยินบ่อยๆ มีคนเอาไปพูด นี่แสดงว่ามันเป็นประโยชน์ ที่นี้มานึกถึงใจความทั้งหมดของพระศาสนา ถ้าเราจะสรุปเป็นคำกลอน 57.17จะง่ายกับปู่ตาย่ายายมาก มีตัวอย่างที่ผมเคยพูดอยู่ทุกวัน ผมจะอ่านแต่หัวข้อคำกลอน 57.27ตอนท้าย ไม้ค้ำสามขา ศาสตราสามอัน โจรฉกรรจ์สามก๊ก ป่ารกสามดง เวียนวงสามวน ทุกข์ทนทั้งสามโลก เขาโคกสามเนิน ทางห้ามเดินสองแพร่ง มดแมลง ห้าตัว มารที่น่ากลัวห้าตน มีเพียง 10 ข้อ เท่านั้นเอง ถ้าทั้งหมดนั่นไม่ไหว ไม้ค้ำสามขา นั้น หมายถึงพระรัตนตรัย ค้ำศาสนาเอาไว้ ศาสนาอยู่ด้วยไม้ค้ำสามขา นี่แหละค้ำโลกเลยไม้ค้ำสามขา แล้วค้ำคุณธรรมในจิตใจของเราต้องมีไม้ค้ำสามขา นี่เรียกว่าไม้ค้ำสามขา ให้ประชาชนจำว่ามันต้องมีไม้ค้ำสามอันสามขานี่แหละ 58.29นี่มันจะค่อนข้างจะโศกกระโดกว่าสามขาเพราะมันเป็นคำกลอนต้องขออภัย ไม้ค้ำสามขาคือพระรัตนตรัยต้องมีตลอดเวลา ศาสตราสามอัน คือไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา ของมีคมจะตัดปัญหาของมนุษย์ นี่ก็ต้องใช้ ศาสตราสามอัน ต้องรู้จักมันเหมือนกันไม้ค้ำสามขา ศาสตราสามอัน โจรฉกรรจ์สามก๊ก หมายถึง โลภะ โทสะ โมหะ อย่างหนึ่งๆ แตกลูกออกไปมากนับไม่ไหว แต่ว่ารวมแล้วมันสามก๊ก สามกลุ่ม ป่ารกสามดง ก็คือทิฐิ มิจฉาทิฐิ เปรียบเหมือนกับป่ารก มีอยู่สามดงใหญ่ๆ 59.20 สัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ อธิกะทิฐิ นี่แหละป่ารกสามดง เวียนวงสามวน 59.28ธรรมวัตร ปะปากวัตร ต้องอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจ ให้รู้ว่ามันมีอยู่สามวง เวียนวงสามวน ทุกข์ทนทั้งสามโลก นี่มันออกจะสูงไปแต่ว่าก็ควรพูด ทุกข์ทนอยู่ทั้งสามโลก 59.50 จะเป็น กามาโลก รูปโลก หรือ อรูปโลก มันทุกข์ทนทั้งสามโลก ชาวบ้านเค้าจะมองไปแต่ว่ามันไม่ใช่ทุกข์ทนอะไร กามาโลก รูปโลก หรือ อรูปโลก ถือเป็นเรื่องดี เรื่องน่าเสน่หา ไปเสีย เราบอกว่าทุกข์ทนทั้งสามโลก อธิบายให้ฟังว่า 1.00 กามาโลก รูปโลก หรือ อรูปโลก แม้แต่ อรูปโลก ก็ยังทุกข์ทนด้วยอัตตาตัวกูนั้น เขาโคกสามเนิน เนินสามเนินนั้นคือ มานะ ดีกว่า เสมอกัน เลวกว่า อันนี้เรียกว่ามานะ เขาโคกสามเนิน อธิบายตามหลักของมานะสาม เพราะมันเป็นโคกปราบยาก เอาลงยาก ทางห้ามเดินสองแพร่ง 1.00.44นี่คงทายได้เอง อัตตากิละมะฐานิโยค กามารุตันนุกานิโยค มดแมลงห้าตัวคือนิวรณ์ทั้งห้า ตอมอยู่เหมือนกับแมลงหวี่ ตอมให้รำคาญ เจ็บน้อยๆ รำคาญเรื่อยๆ ตลอดทั้งวันทั้งวัน ประชาชนไม่สนใจ พระเณรเราก็ไม่สอนหรอก เรื่องนิวรณ์มันเป็นเรื่องประจำวัน ในกิจประจำวัน ในเวลาประจำวัน ไปสอนกันทำสมาธิ ปฐมฌาน ที่จะละนิวรณ์นั้นมันไม่ถูก มันตอมเหมือนแมลงหวี่มาตอมตา ในฤดูที่แมลงหวี่มันชุม ตลอดเวลาแบบนั้น มดแมลงห้าตัว คราวนี้มารที่น่ากลัวห้าตน นี่สอนให้เป็นธรรมะ 1.01.30ว่า กิเลสมาร ขันธมาร มัจจุมาร อภิสังขารมาร เทวปุตตมาร นี่มันคืออะไรมันมีประจำวัน กิเลสเกิดขึ้นทำลายความดี บางทีขันธ์ร่างกายของเราไม่อำนวยแก่การทำความดี เป็นอุปสรรคเสียในการทำความดี บางทีความตายมาตัดทอนเสีย อภิสังขาร หมายถึง จำเป็นจะต้องเป็นไปตามกรรมเสีย แล้วก็ เทวปุตตมาร หมายถึงไปชอบไป 1.01.57เสีย หมายความว่าจะทำอะไรให้ดีซักหน่อย จิตมันน้อมไปทางกามารมณ์เสีย เรียกว่ามารทั้งห้า คำเดียวประโยคเดียวนี้ อธิบายได้หมดทั้งหมวดเลยแหละ และมันง่ายถ้าคุณตาคุณยายถ้าจำแบบนี้ได้ ผมว่าประหยัดมากทีเดียว ประหยัดเวลา ประหยัดเรี่ยวแรง ประหยัดอะไร ไปทายไปถามไปอะไรกันจนช่ำชองเลย สรุป ไม้ค้ำสามขา ศาสตราสามอัน โจรฉกรรจ์สามก๊ก ป่ารกสามดง เวียนวงสามวน ทุกข์ทนทั้งสามโลก เขาโคกสามเนิน ทางห้ามเดินสองแพร่ง มดแมลงห้าตัว มารที่น่ากลัวห้าตน นี่พอเป็นตัวอย่าง ขอให้นึกว่าประโยชน์ของคำกลอน เดี๋ยวเดียวก็จำได้ ถ้าเป็นคำร้อยแก้วลืมแล้วลืมอีก ลืมแล้วลืมอีก ถ้าคำกลอนเดี๋ยวเดียวก็จำได้ และมันจำจนตายนะ คุณยายคุณตาแก่ๆ มาท่องกลอนฟังเป็นชั่วโมงๆ มันจำง่าย ถ้าเป็นร้อยแก้วมันจำยาก ดังนั้นจึงขอแนะเสนอความเห็นว่า ถ้าเราจะต้องการให้ประชาชน ศึกษาจดจำไว้เป็นหลักปฏิบัติแล้วขอช่วยทำให้เป็นกลอน เท่านั้นเอง ช่วยทำให้เป็นกลอน แล้วจะประหยัดอีกมาก อย่างไม้ค้ำสามขา อธิบายด้วยสามัญสำนึกก็ได้ มันไม่มีเรื่องอย่าให้เป็นพระคัมภีร์หนัก มันไม่ไหว ถ้าเป็นเรื่องของพระคัมภีร์มากเกินแล้วมันหนัก เวียนหัว แล้วนี่มันพอแล้วนะ รู้เท่านี้พอแล้วนะ 10 คำนี่พอแล้วนะ ผมว่าพอ เข้าใจธรรมะเกือบหมดในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว ไม้ค้ำสามขา ศาสตราสามอัน โจรฉกรรจ์สามก๊ก ป่ารกสามดง เวียนวงสามวน ทุกข์ทนทั้งสามโลก เขาโคกสามเนิน ทางห้ามเดินสองแพร่ง มดแมลงห้าตัว มารที่น่ากลัวห้าตน คือได้สังเกตเห็นว่า คุณตาคุณยายนั้นชอบมาก ถ้าเป็นคำกลอนแล้วชอบมาก เราช่วยทำของชอบให้ก็ดี เดี๋ยวนี้มันถึงสมัยรื้อฟื้น ปรับปรุงทางศีลธรรมแล้ว ช่วยทำความง่ายความสะดวก ในการที่จะจดจำ เพราะว่าถ้าจำหัวข้อได้ แล้วมันนึกคำอธิบายออก มันหลักทางจิต หลักที่ลึกซึ้งทางจิตมันมีอยู่ พวกนี้ถ้าเราจำหัวข้อได้ เราจะนึกคำอธิบายออก แต่ถ้าเราไม่มีหัวข้อเลยเราจะนึกอะไรไม่ออก หรือถ้าเราจำหัวข้อไม่ได้ เราก็นึกคำอธิบายไม่ออก ขอให้หัวข้อนี้ ที่เค้าเรียกว่า สูตร คำว่าสูตรในความหมายก็เป็นหัวข้อ มันสำคัญอย่างนี้ สูตรสองสามคำอยู่ในความหมายเป็นหัวข้อแล้วมันจะเอาคำอธิบายได้พะเรอเกวียนเลย มากมายก่ายกอง ช่วยกันคิดนึก สรุป เรื่องของธรรมะเป็นเรื่องๆ ไปเลย ให้เหลือเป็นคำพูดเพียงสองสามพยางค์ คำกลอนจำเป็นมาก เพราะช่วยให้จำง่าย นี้ขอฝาก แล้วก็ขอประกาศเสียเลยนะ ว่าท่านเจ้าคุณหลังสวนนี่แหละเก่งที่สุดในแต่งกลอนเก่ง ทุกคนรู้กันวันนี้เลยนะผมเคยเห็นแต่งกลอนเก่ง มีอะไรให้แกช่วยแต่ง คำกลอน ชาวบ้านจำได้เป็นร้อยๆ คนแล้ว เพราะมันเป็นกลอนเท่านั้นแหละ ถ้าเป็นร้อยแก้วมันจำไม่ไหว ช่วยกันทีช่วยกันทำความง่ายให้คุณตาคุณยาย ประชาชนทั้งหลาย โดยสรุปข้อความให้เป็นคำกลอน แล้วพูดไปเลยเถอะแกพูดได้เองแหละ เพราะมันบอกอยู่ในตัวเช่น ศาสตราสามอัน ของมีคมสามอัน นี่มันต้องตัดเป็นของที่ต้องตัด แล้วแกว่าไปได้เอง นี่ผมก็ฝากขอถวายของที่ระลึกปีนี้ ขอฝากถวายเป็นที่ระลึกแก่พระเถรานุเถระ ตั้งใจจะช่วยกันรื้อฟื้นศีลธรรมเพื่อให้ศีลธรรมกลับมา ช่วยทำความง่ายให้แก่การศึกษา ด้วยการอาศัยคำกลอนเป็นเครื่องมือด้วย ทุกๆ ท่านด้วย