แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มีโทษ หน้าที่ใด ถ้ามีอยู่ในระหว่างเราสองฝ่าย ก็ให้เป็นอโหสิกรรม ด้วยอำนาจการทำสามีจิกรรมในวันนี้ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เป็นการก้าวเท้าเข้าสู้พระนิพพานเทอญ สวด ผมขอโอกาสพระเถราณุเถระทั้งหลายเพื่อปราศรัย กษาธรรมมิก แก่ทั้งภิกษุและสามเณร ขอให้ถือว่าเป็นการแสดงน้ำใจ ไม่ใช่เป็นเรื่องโอวาทอะไรมากมาย แต่ก็ย่อมเป็นอยู่ด้วยในตัวตามธรรมดา แต่เมื่อมานึกถึงว่าทั้งหมดนี้ทำเพื่อประโยชน์แก่พระศาสนาเป็นส่วนรวมและแก่หมู่คณะของเรา มันจึงทำได้โดยสนิทใจ ไม่ถือว่ามีผู้ให้ ผู้รับ ถือว่าเป็นการปรึกษาหารือ เพื่อเกิดความรู้สึกและการกระทำที่เป็นประโยชน์แก่พระศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสาดาเป็นส่วนรวม ตั้งแต่เคย ปีหนึ่งได้ปรารภกันบ้างสักครั้งหนึ่งก็ยังดี สำหรับการกระทำในวันนี้ ส่วนมากย่อมเข้าใจอยู่แล้ว แต่ถ้ามาใหม่ย่อมจะไม่เข้าใจ ก็เลยเป็นเหตุให้ต้องพูดบางสิ่งบางอย่างซ้ำๆ การจะได้มาถึงนี้ในลักษณะแห่งการเยี่ยมเยียนก็ดี แสดงความเคารพนับถือก็ดี โดยธรรมวินัยก็ย่อมเป็นการถูกต้องอยู่แล้ว ผมขออนุโมทนาและโดยส่วนตัวก็ขอบพระคุณ ขอบคุณ ขอบใจ นี้เป็นเรื่องที่โปรดรับเอาไว้ในความรู้สึกตลอดกาลนานด้วย ที่นี่ก็เลยพูดสำหรับบางท่านที่ไม่ทราบ การทำวัตรแบบนี้เป็นแบบไทยแท้และเป็นแบบโบรมโบราณ จนบอกกันไม่ได้ว่าตั้งแต่คราวไหน ก็ต้องถือว่าเป็นของคณะสงฆ์ไทยมาตั้งแต่โบรมโบราณ ในบางทีจะได้นำไปให้ประเทศลังกาด้วย เพราะว่าสมัยหนึ่งประเทศลังกาต้องขอทุกๆอย่าง ขออุปฌาย์ ขออะไรต่างๆ ไปจากประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา สี่ ห้า ร้อยปีมาแล้ว ขนบธรรมเนียมบางอย่างของประเทศไทยก็เลยไปอยู่ในประเทศลังกาจนกระทั่งบัดนี้ การทำวัตรแบบนี้ผมก็เชื่อว่า เอาไปจากประเทศไทยคืออุปฌายะจากประเทศไทยไปสอนให้ ก็ยังทำอยู่จนบัดนี้ ในประเทศลังกาทำวัตรแบบอื่นไม่เป็น ทำเป็นแต่แบบบที่เรากำลังทำ เราเชื่อว่าเราเป็นต้นแบบ เป็นเจ้าของแบบ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ช่วยกันรักษาไว้ได้ก็เป็นการดี คงจะมีอายุหลายพันปีก็ได้ ซึ่งใครๆก็ทำเหมือนกันมานี่แหละ จะมีอายุยืนยาวไปถึงพันๆปีก็ได้ ในเมื่อศาสนายังไม่ล่มจม นี่โดยใจความของการทำวัตรแบบนี้ ขอให้ทราบความหมายแต่ที่สำคัญที่สุดว่ามีอยู่ ๓ ประการ
โอกาส สวรรคา วิภันเต(6.15) เป็นต้นนี้ ขอแสดงความเคารพ
สัพพัง อัปปราพัง ธัมมสเม พันเต(6.27) นี่เป็นการขอโทษ
มายากตัง ปุญญัง สามินา(6.30) เป็นต้น เป็นการแลกเปลี่ยนส่วนบุญซึ่งกันและกัน
ทั้ง ๓ เรื่องรวมอยู่ในทำวัตรนี้เรื่องเดียว ก็ให้เอาไปทำให้สำเร็จประโยชน์ในที่ทุกหนทุกแห่ง แม้กระทั่งว่าสึกไปแล้วเป็นฆาราวาสแล้วก็หลักเกณฑ์นี้ใช้ได้ เราจะทำความเคารพบิดามารดา เราจะขอโทษบิดามารดา เราจะแลกเปลี่ยนส่วนบุญส่วนกุศลกับบิดามารดา ที่ในที่สุดจะทำกับเพื่อนบ้าน มิตรสหายก็ยังทำได้ มันเป็นเครื่องทำให้จิตใจเกลี้ยงเกลาจากบาป จากความกินแหนงแคลงใจ ระหองระแหง อะไรมันจะได้หมดไป นี่ถ้าว่าทำจริงตามคำที่พูดนี่ สวันทา มิภันเต(7.20) นี่ก็แสดงความเคารพ ให้ความเคารพจริงในบุคคลที่ควรเคารพ เพราะว่าอายุมากกว่าก็ดี เพราะมีความรู้มากกว่าก็ดี เพราะว่ามีตระกูลสูงก็ดี อยู่ในฐานะที่ควรจะเคารพ สมัยนี้โลกกำลังจะฉิบหายเพราะมันไม่เคารพซึ่งกันและกันยิ่งขึ้นทุกที เด็กๆก็ไม่เคารพครูบาอาจารย์ยิ่งขึ้นทุกที ประเทศไหนเจริญมากประเทศนั้นยิ่งเป็นเช่นนี้มาก อย่างประเทศฝรั่งยิ่งเป็นเช่นนี้มาก ไม่มีการเคารพครูบาอาจารย์ แล้วพอสืบต่อไปอีกสอง สามชั่วอายุคน ที่นี้มันก็จะไม่มีความหมายในการเคารพ มันจะลำบาก จะฆ่าจะฟันจะอะไร
กันได้ง่าย เหมือนกันอยู่ทุกวันนี้
สมัยผมเป็นเด็กๆ ต้องเคารพ หลักการเคารพนี้สำคัญมากจะใช้คำว่าเคารพ คนเฒ่าคนแก่ นี่เป็นสิ่งที่ทำให้เราอึดอัด กลัวกระทั่งคนเฒ่าคนแก่ ต้องไหว้หมด คนบ้ามาจากไปนอนเฝ้านาเดินผ่านวัด เราเป็นเด็กวัดก็ต้องไหว้เหมือนกัน ถ้าไม่ไหว้อาจารย์ตี เพราะมันคนแก่ ถึงแม้จะรู้กันอยู่ว่าตาคนนี้เป็นคนบ้า แต่ไม่ใช่บ้าคลั่ง ก็ต้องไหว้ ไหว้ในฐานะเป็นคนแก่ ผมเคยถูกกระทำมาแล้วแบบนี้ จนกว่าจะออกจากวัด อันนิสัยใจคอของผมเป็นอย่างไร ก็มีอิทธิพลเนื่องมาจากถูกอบรมให้มีการเคารพคนเฒ่าคนแก่ที่ดี มาตั้งแต่เดิมเพราะว่าเขาทำกันมาแต่เดิม ไม่รู้กี่ชั่วคนมาแล้ว ต้องไหว้คนเฒ่าคนแก่ เราไม่ใช่อยู่ว่าง กำลังทำสวนครัว ขุดร่องมันอยู่ด้วยซ้ำ ตาแก่คนนี้เดินผ่านวัดไปนอนเฝ้านามาก็ต้องทิ้งจอบมาไหว้ มานั่งลงไหว้ทีหนึ่งแล้วก็กลับไปหยิบจอบขุดร่องมันต่อไปอีก ไม่ใช่เป็นเรื่องของคนอื่น เป็นเรื่องของผมที่เคยทำมาแล้ว เด็กคนอื่นก็เหมือนกัน ที่รุ่นราวคราวเดียวกัน ดังนั้นจึงมีจิตใจที่อ่อนโยน ต่างฝ่ายต่างอ่อนโยนจึงอยู่กันเป็นสุข มีจิตใจที่อ่อนโยนเป็นสำคัญมาก ถ้าจิตใจกระด้างจะฆ่าจะฟันกันได้ แม้แต่ในวงพระเณร ในหมู่นักบวช เวลานี้ในหน้าหนังสือพิมพ์ การฆ่าบิดามารดา มีบ่อยขึ้นๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์คุณก็อ่านอยู่แล้ว เพราะนิสัยมันเสียมาหลายสิบปี เสียมากขึ้นๆ ไม่เคารพพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ คนเฒ่าคนแก่ ผู้มีพระคุณ ขอให้ถือว่า การที่เราทำวัตรว่า อุป ภันเต(10.29) นี้เป็นเรื่องที่กระตุ้นอยู่ในจิตใจตลอดเวลา ให้เคารพผู้ที่ควรเคารพ อย่างใดอย่างหนึ่ง แง่ใดแง่หนึ่งอยู่ด้วย และขอให้ทำจริงๆด้วย แต่ว่าวันนี้อย่าได้ถือว่าอะไรมากมาย เพียงแต่ว่าเรามาซักซ้อมมากกว่ามากระทำตลอดเวลา
ข้อที่ 2 สัพพัง อัปปราพัง ธัมมสเม พันเต(10.56) ขอโทษซึ่งกันและกัน เพราะการอยู่ในโลกรวมกัน มันย่อมเป็นธรรมดา บางวันใจคอไม่ค่อยสบาย ก็ย่อมคิดร้ายบ้าง บางทีพูดร้ายบ้าง บางทีแม้กระทั่งทำร้าย แม้แต้พียงเงื้อมือก็ถือเป็นการทำร้าย มันมีโทษติดตัว ก็ให้ล้างกันเสียด้วยการขอโทษซึ่งกันและกัน ให้ทำอยู่บ่อยๆ โอกาสก็จะทำวัตรซึ่งกันและกัน มีเมื่อไหร่ก็ให้ทำด้วยจิตใจ อันนี้ไม่ต้องอธิบายมาก เพราะมองเห็นกันอยู่แล้วว่าการจะอยู่กันด้วยอาฆาต จองเวร นั้นหาความสงบสุขไม่ได้
ข้อที่ 3 มยากตัง ปุญญัง สามินัง อนุโมทิ สพัง(11.40) คือแลกเปลี่ยนส่วนบุญซึ่งกันและกัน บุญกุศลอันใดที่ท่านทำผมมีส่วนอนุโมทนา ผมทำท่านก็อนุโมทนา นี่ก็เป็นเรื่องให้มีจิตใจอ่อนโยน ไม่ดื้อกระด้าง ไม่หวงแหน ไม่ขี้เหนียว ไม่ตระหนี่ ถ้าพูดให้ชัดคำเดียว ก็ว่าไม่ได้เป็นคนขี้อิจฉา ความอิจฉา ริษยา ย่อมทำโลกให้ฉิบหาย เราจะต้องกล่อมเกลานิสัยไว้เรื่อยไป อย่าให้เป็นคนอิจฉา ถ้าตัวอิจฉาเผลอขึ้นมาคราวใด เสียใจให้มาก มากลับใจให้มาก มันจะเกิดนิสัยร้ายกาจ ขี้ระแวง สงสัย แล้วก็อิจฉาโดยไม่มีความหมายเลย จะเป็นแรงขึ้นๆ นั้นแหละทั่วโลกจะฉิบหาย ถ้าคิดกันไปแต่ในแง่ดี ยินดี อนุโมทนา ในความดี ชื่นชมยินดีในความดีของผู้อื่น แล้วก็จะเหลียวไปทางไหนก็น่ารักไปหมด คือทุกคนมีสายตาที่แสดงความเป็นมิตรไปหมด มันก็สบาย ก็ให้ไปเปลี่ยนนิสัยที่ไม่ยินดีด้วยผู้อื่นเสียให้หมด ให้มีความยินดีในความดี ความงาม ความสุข ของกันและกัน ทั้งสองฝ่ายให้มากยิ่งๆขึ้นไป แล้วตัวจะมีความสุข บ้านเมืองก็จะเจริญ นี่คือความหมายอันแท้จริง ของการทำวัตรแบบนี้
คุณมาจากชุมพรบ้าง มาจากสวีบ้าง ก็ช่วยเอาไปคิดดูว่าปู่ย่าตายาย บรรพบุรุษ เคยทำวัตรแบบนี้กันมาทั้งนั้น นี่เป็นเรื่องที่จะปรึกษาหารือ เป็นเรื่องปรับปรุงความเจริญให้แก่คณะสงฆ์ของเราหรือว่าแก่โลกในที่สุด ถ้าโลกอยู่ได้ด้วยธรรมะ ๓ อย่างนี้แล้วก็ร่มเย็น คือเคารพซึ่งกันและกัน ขอโทษซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนส่วนบุญซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องทำให้โลกเป็นสุข ร่มเย็น ปลอดภัย
ที่นี่เรื่องที่อยากจะพูดประจำปี แปลกออกไปก็มี ปีที่แล้วๆมาก็คงจะจำกันได้ แต่ในที่สุดก็พ้นเรื่องที่ว่า เราจะต้องรับผิดชอบเรื่องบ้านเกิดเมืองนอนซึ่งอยู่ในหน้าที่ของเรา ในภาระของเรา เราเกิดบ้านไหน เมืองไหน ตำบลไหน จังหวัดไหนเราจะต้องช่วยให้บ้านนั้น เมืองนั้น จังหวัดนั้นมีความเจริญรุ่งเรือง ถ้าเราไม่ทำก็ไม่มีใครมาช่วยทำให้เป็นแน่นอน ถ้าต่างคนต่างไม่ทำ ทั้งโลกก็ฉิบหายหมด ทุกคนจะต้องรู้จักรับผิดชอบในการทำความเจริญให้แก่บ้านเกิดเมืองนอนก่อน ตั้งต้นไปแต่นี้แล้วก็ขยายไปเองถึงบ้าน ถึงเมือง ถึงจังหวัด ที่นี้เราเป็นพระสงฆ์มันก็เป็นเรื่องของคณะสงฆ์ ซึ่งมีตำบล อำเภอ จังหวัด ยังมีประเทศเหมือนกัน ตั้งใจชนิดนี้ไม่ใช่เรื่องมานะทิฐิ ไม่ใช่เรื่องกิเลส เป็นเรื่องแบ่งภาระกัน เพราะว่าเราไม่สามารถจะทำทั้งหมดได้ เราจึงต้องแบ่งภาระกัน เราจึงต้องนึกถึงส่วนที่เป็นหน้าที่ของเรา โดยเฉพาะคณะสงฆ์ ของอำเภอ ขิงจังหวัด หรือจะลดลงมาถึงของตำบล ของวัด ของคณะ ก็ต้องรับผิดชอบ ถ้าบวชแล้วไม่รู้สึกในเรื่องนี้เลย ก็เรียกว่าไม่ไหว ขอให้นึกถึงเรื่องนี้เสียก่อน เพราะไหนๆก็ได้บวชเข้ามาในร่มเงาของศาสนาซึ่งรอดมาได้ถึงบัดนี้เพราะว่ามีผู้สืบ สืบกันมาจนถึงเรา เราอย่าทำลาย เราต้องช่วยสืบ ช่วยบำรุงรักษาต่อไป แล้วก็เตือนกันไว้แบบนี้ตลอดเดือน ตลอดปีเลย ขอให้นึกถึงพระคุณของผู้สืบศาสนามาจนถึงเรา กิจกรรมของเราอันแรกก็ต้องนึกถึงข้อนี้ก่อน เป็นเรื่องของความกตัญญู กตเวทีด้วย ที่นี้ก็อะไรจะมาเป็นกำลังใจ มากระตุ้นใจให้เราทำงานนี้ โดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย นอกจากจะไม่เหน็ดไม่เหนื่อยแล้วยังสนุกสนานด้วย ข้อนี้ก็ไม่มีอะไร คือคำที่เราพูดกันอยู่ทุกวัน เราบวชนี้เพื่ออุทิศพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ แล้วก็เราอุทิศพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ให้จริงๆ ก็จะไม่รู้สึกเหนื่อยในการทำงาน หน้าที่ของพระศาสนาจะไม่รู้สึกเหนื่อย แต่จะสนุกเพราะมันพอใจ มันปิติ มันปราโมทย์ เรื่องปิติและปราโมทย์นี้สำคัญมาก ขอให้สะสมไว้ให้มาก อย่าเข้าใจว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย การบรรลุมรรคผล ต้องสำเร็จด้วยญาณ ด้วยวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาญาณมาจาก สมาธิ ถูกต้องและเพียงพอ สมาธิจะต้องมาจากปิติ ปราโมทย์หรือความสุขเสมอ คุณไปดูเถอะไม่ว่าตำราไหน ถ้าจิตเป็นสมาธิแท้จริงต้องมาจากปิติ ปราโมทย์เสมอ ปฐมฌาณประกอบด้วยองค์ ๕ คือ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกทัตตา ถ้ามันขาดอันนั้นแล้วมันไม่เป็นปฐมฌาณ แม้แต่ฌาณที่ ๑ ทีแรก เด็กๆยังต้องการปิติ ปราโมทย์ บางทีท่านไม่ได้กล่าวไว้ในรูปนี้ จากปิติแล้วก็เป็นสุข เป็นสมาธิ เป็น ยถาถุสยาบันทัศนะ...(18.04) เป็น ราคะ วิมุตไปเลย ถ้าว่าจิตใจไม่ได้ประกอบขึ้นด้วยปิติ ปราโมทย์ มันไม่สงบ ระงับ มันไม่เยือกเย็นที่เนื้อที่ตัวที่จิตที่ใจ ขอให้แสวงหาหนทางทุกอย่างทุกประการที่ทำให้เราเกิดปิติ ปราโมทย์ คือพอใจในตัวเอง แล็วก็ไหว้ตัวเองได้ นั้นแหละคือปิติ ปราโมทย์ก็สูงสุดอันนั้นจะทำให้จิตใจสงบและเข้มแข็ง เสียสละ แคล่งคล่องว่องไว เป็นจิตใจก็ทำงานทำการได้ดี จะเรียนหนังสือก็ดี จะทำงานอย่างอื่นก็ดี จะทำกรรมฐานวิปัสสนาก็ดี ก็ขอให้ทุกคนพยายามทำทุกวิถีทางให้มันพอใจในตัวเองให้ได้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็เรียกว่าปิติ เช่น ท่องนวโกวาทได้จบเล่ม ก็ปิติ ถ้าหากทำอะไรได้มากกว่านั้นอีกก็ปิติ ปิติ ปิติ
เรียนหนังสือวันหนึ่งๆ เรียนด้วยความถูกต้องทั้งวันๆ พอตกเย็นก็ควรจะปิติ ให้มันมีปิติในความดีที่ได้กระทำให้ชินเป็นนิสัย แล้วมันก็จะเปลี่ยนนิสัยที่เหลวไหลมาเป็นนิสัยที่พิเศษ ประเสริฐในการเล่าเรียนในการทำการทำงาน กระทั่งกิจพระศาสนา กระทั่งทำวิปัสสนา ต้องอาศัยสิ่งที่เรียกว่า ปิติ รู้สึกพอใจในสิ่งที่ตนได้กระทำ มันจะมีความสุขขึ้นมาเอง ถ้าเราพอใจในสิ่งที่เรากำลังมีกำลังเป็นแล้วเราจะรู้สึกเป็นความสุข
ปิติ กับ สุข ไม่ใช่สิ่งเดียวกันแต่มันเป็นเกลอกัน มันต้องมาด้วยกันเสมอ ก็ขอให้พยายามทำให้มีปิติต่ออย่างใดอย่างหนึ่งให้จงได้ตั้งแต่เล็กๆน้อยๆ ขึ้นไปจนถึงสูงสุด งานนั้นมีมาก งานที่เราจะทำได้ ช่วยงานของอาจารย์ก็ได้ ทำงานของเราก็ได้ มันล้วนแต่เป็นเหตุให้เกิดปิติได้ทั้งนั้น แต่ว่าอย่างไรก็ดี มันก็ต้องสุรปความรวมลงไปได้ว่า ปฏิบัติให้ตรง ให้ถูก ให้ต้อง ให้ชอบ ตามพระพุทธวัจนะ ทีนี้พระพุทธวัจนะก็รู้กันอยู่แล้วเป็นส่วนมาก แต่ว่าอาจจะไม่แจ่มแจ้งบ้าง ลืมเสียบ้าง เลือนเสียบ้าง หรือไม่รู้วิธีจะปฏิบัติบ้าง นี่ผมก็อยากจะเตือนว่าทุกเย็นเราจะสวดทำวัตรเย็น มันจะมีคำว่า พุทธัสสหัส ทาโสวะ ธัมมะสาหัส ทาโหจะ สังฆัส พุทโธเมสา มิจิตตโร ธัมโมเมส มิจิตตโร สังโฆเมสา มิจิตตโร(20.55) อันนี้อย่าว่าแต่ปาก ไอ้นั้นเป็นกำลังใจ ภาษาฝรั่งเรียกว่าสิ่งกระตุ้น ให้เราแข็งขันขึ้นมาทันที ในการที่จะทำอะไรไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย นี่เรามอบชีวิตแก่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นทาสของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณทุกองค์เป็นพุทธทาสไม่ใช่แต่ผมคนเดียว ผมใช้ชื่อนี้ก็ไม่ใช่เป็นแต่ผมคนเดียว ก็ยังเป็นทาสของพระธรรม พระสงฆ์ด้วย เพราะพูดอยู่ทุกวัน วันนี้จะต้องทำอะไรบ้างก็ต้องไปคิดดู ถ้าเป็นทาสของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ก็ต้องปฏิบัติตามพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้นละคือศาสนา
บทที่จะสวดอยู่ในการทำวัตรแบบโบราณ เขาเรียกบอกวัตร นั้นแหละดีที่สุด อนุปวาโท อนุปพาโต ปาฏิเมโก ยสังวโร มัตตัญญตา ยภัตตสมิง ปัญตัญจะ สยามาตสมิง หัตติจิเต จะอาโยโก เอธังพุทธา นันสาสมิง(20.24) แต่เรามันบกพร่องในสิ่งเหล่านี้อันจริงด้วย ไม่ใช่แกล้งว่าให้เจ็บใจนะ เตือนว่าให้คิดดูดีๆ อนุปวาโท อนุปพาโต(22.24) ยังไม่ค่อยจะสมบูรณ์ เพราะเรามักจะชอบว่าเพื่อน ด่าเพื่อนก็มีนะ บางทีพูดกระแทกก็มี อย่างนี้ไม่ใช่ อนุปวาโท(22.37) มันเป็น บุพปวาโต คือไปว่า ไปด่า ไปกระแทก แดกดัน ไปเสียดสีเขา ยิ่งพึ่งบวชยังหนุ่มๆ บางทีโมโหโทโสเรื่องมันก็เป็นได้ง่ายที่จะไปทำ อุปปวา(22.52) ด่าว่า กระทบกระเทียบ ได้ทะเลาะวิวาทได้ตีได้เป็น บุปพาโต(22.59) คือเบียดเบียนกันด้วยกำลังเลย อนุพวาโต(23.06) ไม่พูดเบียดเบียนทำร้าย อนุปพาโต(23.12) ไม่กระทำการเข่นฆ่าเบียดเบียนทำร้าย เป็นมิตรกันไว้เถอะ ที่แล้วแล้วไป ความผิดที่แล้วมายกเลิกได้ไม่ต้องนึกถึงแต่ว่านึกถึงว่าจะไม่ทำอีก แล้วรีบทำความดีชดเชย เมื่อทำชั่วแล้วแล้วไป ไม่ต้องนึกถึงให้จิตใตมันเศร้าสร้อย แล้วไม่ทำอีกด้วยแน่นอน แล้วทำความดีให้มากๆๆๆให้มันกลบความชั่วนั้นเสียให้ได้ เราทำความดีมากแล้วความชั่วไม่มีโอกาสจะให้ผลมันก็ก้าวหน้าไปๆ บรรลุมรรคผลนิพพานไปเลยเมื่อพ้นหมด เปรียบเทียบให้ฟังเหมือนกับว่า น้ำกระออมหนึ่งไหหนึ่ง ถ้าเราใส่บอระเพ็ดลงไปนิดหนึ่งแล้ว ใส่น้ำตาลมากน้ำก็หวาน ถ้าเราใส่บอระเพ็ดมาก ใส่น้ำตาลนิดหนึ่ง น้ำก็ขม ในชีวิตของเราพยายามใส่ของดี บุญ กุศล ลงไปให้มากๆๆๆ ของบาป ถ้ามีบ้างให้มันเหมือนนิดเดียว ไม่รู้สึก ทำไปแล้วก็ไม่ต้องมาเสียใจอยู่ ตั้งหน้าตั้งตาทำความดี เหมือนเราใส่น้ำตาลมากๆ น้ำมันหวาน ใส่บอระเพ็ดนิดหนึ่งก็ไม่ขมได้ ไม่ใช่มันจะเลิกล้างกันได้ แต่ว่าอันนี้มันไม่มีโอกาสแสดงตัวเรื่อยไปๆ ก็จะเอาตัวรอดได้ อนุปวาโท อนุปพาโต(24.54) ให้มี ปาติโมเก จะสังวโร
เราก็เรียนนวโกวาทมาแล้วแปลเป็นไทยแล้ว พยายามให้บริสุทธ์อยู่ทุกๆข้อ ถ้าทำผิดพลาดก็เสียใจมากๆ จะได้ไม่ทำอีก ถ้าไม่เสียใจหรือไม่รู้จักอายมันก็ทำอีกแหละ มันต้องเอามาเสียใจให้มาก เลิกกัน ทีหลังไม่ทำอีก ไม่ทำอีก ปัจตัญญตา จปัตตัสสมิง (25.26) รู้ประมาณในการบริโภค บริโภคอาหารก็ตาม ใช้สอยอย่างอื่นก็ตาม ไม่ว่าบริโภคอะไรอย่าให้มันเกิน ถ้ามันเกินมันก็ไม่ดี ปัญตัญจะ สยานาสนัง(25.45) อย่าชอบคลุกคลี อย่าชอบจับกลุ่ม เป็นวงเล่นหัวหยอกกัน เดี๋ยวเกิดเรื่อง ถึงไม่เกิดเรื่องก็เสียเวลา เสียประโยชน์ จิตใจมันฟุ้งซ่านง่าย คนเรายิ่งหัวเราะมากเท่าไหร่ยิ่งโง่เท่านั้น เพราะว่ายิ่งหัวเราะเท่าไหร่จิตยิ่งไม่เป็นสมาธิมากเท่านั้น ท่านอย่าชอบหัวเราะกันนัก ถ้ายังอดกลั้นไว้ได้ อดกลั้นไว้ก่อนดีกว่า อย่าเพิ่งหัวเราะ เพราะหัวเราะจะเสียสมาธิ มันจะเกิดนิสัยโลเล ล่อแล่ ลอกแลก บังคับตัวเองไม่ได้ อย่าชอบหัวเราะกันนัก บาลีในพระปาฏิโมกข์ อุชชะเจ ธัสธัมเม จิยัง(26.35) อันนี้เป็นหลักฐานที่ดีที่สุด เป็นปาจิตตี เพราะธรรมะคือการหัวเราะกันในน้ำ ไม่ใช่ว่ายน้ำเล่น คุณทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เกิดการหัวเราะ เมื่อยู่ในน้ำเวลาอาบน้ำให้ท่านเป็นปาจิตตี ความสำคัญมันอยู่ตรงที่หัวเราะ หัสธัมเม(27.02) ธรรมะคือการหัวเราะ พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยหัวเราะ อย่างมากก็ยิ้มแย้มบ้าง ในพระคัมภีร์ที่เราทราบ ท่านจึงบัญญัติสิกขาวินัยให้สำหรับสาวกปฏิบัติ อย่าชอบการหัวเราะเพราะการหัวเราะทำให้เสียสมาธิ ทำให้เป็นคนใจเบา โลเลง่าย นี่เรามาชอบเที่ยวจับกลุ่มกันหัวเราะจึงไม่ค่อยจะ ปัญจันตะ เสนาสนัง(27.42) เท่าไหร่ คือไม่พยายามจะปลีกตัว อยู่ในที่สงัด ดำรงจิตให้ดี ให้เกิดสมาธิ ให้เกิดปัญญา เกิดวิปัสสนา เพราะมันชอบหัวเราะ เดี๋ยวก็ไปจับกลุ่มหัวเราะเสียแล้ว ให้เรียนนวโกวาทก็ไม่จบมันชอบหัวเราะ ชอบเล่นแต่หัว อย่าว่าแต่จะทำมรรคผลนิพพาน ปัญจันตะ เสนาสนัง(28.10) จะนั่งจะนอนให้มันเป็นไปด้วยความสงบสงัด
อติจิเต จอโยโก(28.18) นี่สุดท้าย ประกอบความเพียรในการทำจิตให้ยิ่ง คือหมายความว่าจิตของเรายังไม่ยิ่งยังไม่ดี ยิ่งไม่สูง ยิ่งไม่สะอาด ยิ่งไม่มีอะไรก็ตามใจ แต่ว่ายังไม่เป็นจิตที่อย่างยิ่ง ประกอบความเพียรให้สุดความสามารถแล้วจะทำให้จิตนี้มันยิ่ง ยิ่งขึ้นไป ในที่สุดก็ อดกลั้น ไม่ชอบเล่นหัว นี่เป็นจิตยิ่งเหมือนกัน จิตที่ชอบเล่นหัวนั้นเป็นจิตที่ยังไม่ยิ่ง เป็นจิตที่ยิ่งต่ำมาก ส่วนความขี้เกียจ ความเหลวไหล ความอะไรอย่างอื่น ขี้นอน เห็นแก่นอน ขี้กิน เห็นแก่กิน อะไรทำนองนี้ เป็นจิตที่ไม่ยิ่งทั้งนั้นจะต้องประกอบความเพียรให้ถูกต้องตามแบบฉบับ ต้องทำให้จิตนั้นยิ่งสูงขึ้นไป เป็นข้อๆนี้แหละ มันเป็นหลักที่รวมหมด ไม่มีอะไรเหลือ อนุปวาโท อนุปพาโต(29.13) ต้องมาก่อนเพราะตามธรรมดาโดยมากคนไม่ได้รับการอบรมมาดี มันจึงมีการพูดร้าย การทำร้าย เรื่องนี้ต้องจัดการก่อน ปาติโมเก ธัมมะจโร(29.26) ก็ตามมาตามลำดับ ปัตตัญญตา จมตัสสะ(29.35) รู้ความพอดีในการเป็นอยู่ แม้แต่ใช้จีวรสวยเกินไปมันไม่ใช่ความพอดี หรือมีของใช้ที่มันหรูหราเกินเรื่องราวของเรา มันก็ไม่ใช่ความพอดีในเรื่องนี้ จะมีจีวรหรือเครื่องใช้ไม้สอยอะไรให้มันพอดีๆ กับความเป็นพระ เป็นเณร
ปัญตัมจะ เสนาสนัง(30.05) นี่ต้องพยายามทำ ถ้าเราชวนกันนิ่งเงียบแล้วมันก็เงียบเอง เห็นหรือไม่ว่านี่อยู่กันตั้งร้อยกว่าคนต่างคนต่างนิ่ง มันก็เงียบ ถ้าพูดกันขึ้นสักสองสาอมคนเท่านั้น มันก็หมดความเงียบ การมาอยู่ที่วัด ที่กุฏิ วิหารที่ใดก็ตามแต่ พยายามทำความเงียบไปเรื่อย จะไม่ต้องใช้เครื่องขยายเสียงก็ยังพูดกันได้ยิน ไปเตือนกันให้ช่วยกันพูดเบาๆเถอะ นี่บางทีเรื่องไม่ควรพูดดังๆ ก็พูดดังๆ จนผู้อื่นรำคาญ เสียมรรยาทด้วย ก็พยายาม อธิจิต ทำ อธิจิต โดยรู้สึกว่า ถ้าจิตยังต่ำยังทรามมันเป็นที่น่าละอาย ต้องทำจิตให้สูง ยิ่งขึ้นไปๆ จนบรรลุมรรคผลในนิพพานในที่สุด ภิกษุหนุ่ม สามเณร ไม่ค่อยสนใจกับเรื่องของมรรคผลนิพพาน เพราะไม่เข้าใจ ความจริงเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับทุกคนแหละ ทางที่เดินไปนิพพานนั้นมันจำเป็นสำหรับทุกคน เพราะทุกคนในที่สุดต้องไปนิพพาน ถึงแม้ว่ายังไม่ถึงมันก็ยังสงบเย็น แล้วมันไม่ผิด มันไม่ขัดไม่ขวางกัน คนที่เขาพูดว่า อยู่ในโลกเราปฏิบัติอย่างไปนิพพานไม่ได้นั้นเขาว่าเอาเอง ที่จริงปฏิบัติอย่างไปนิพพานก็ได้แต่ว่าปฏิบัติในขั้นต้นๆในชั้นที่พอดีพอร้าย ไม่ใช่ปฏิบัติเต็มที่ แต่หลักเกณฑ์มันเหมือนกัน เพราะว่าคือต้องการบังคับกิเลสทั้งนั้น ที่อยู่ในโลกจะไปนิพพานต้องบังคับกิเลสทั้งนั้น อยู่ในโลกนี้เราไม่บังคับกิเลส มันก็ต้องไปอยู่ในตะรางหรือมันต้องตายในที่สุด หรือไม่ก็บ้า ต้องพยายามที่จะบังคับกิเลสรวมอยู่ในความเห็นแก่ตัว จึงจะเรียกว่า บังคับกิเลสทุกอย่าง โลภา โทสา โมหา นี่ก็ออกมาจากความเห็นแก่ตัว ราคะหรือโลภะ ก็คือเห็นแก่ตัวมันจึงโลภ โทสา โกรธา นี่มันเห็นแก่ตัวมันไม่ยอม มันจึงโกรธ มันจึงฆ่าเขาหรืออะไรกัน โมหะมันเห็นแก่ตัว มันสงสัย มันลังเล เพื่อนประโยชน์ของตัว การที่พูดว่าอย่าเห็นแก่ตัวนั้น ฟังง่ายดี แม้สามเณร ผมคิดว่าคงจะฟังเข้าใจ ว่าอย่าเห็นแก่ตัวนัก สามเณรฟังเข้าใจ เมื่อไม่เห็นแก่ตัวมันจะป้องกันกิเลสอยู่โดยอัตโนมัติ สำหรับเพื่อนสหธรรมิก เพื่อนสหพรหมจรรย์ ทั้งพระ ทั้งเณร พูดว่าปีนี้ขอให้นึกถึงว่าเราเป็นทาสของพระพุทธเจ้า เป็นทาสของพระธรรม เป็นทาสของพระสงฆ์ ปฏิบัติเพื่อความเหมาะสม เพราะการที่เราเป็นทาสของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถ้าเป็นทาสต้องประพฤติตามความประสงค์ของนาย พุทโธเมสา มิจิตสโร(33.42) พระพุทธเจ้าเป็นนายของเรา พระพุทธเจ้ามีความประสงค์อย่างไร เราก็ประพฤติตามนั้น เชื่อว่าเราเป็นทาสแท้จริง ถ้าเราเป็นทาสของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ต้องรับรู้ว่าเป็นหลักใหญ่ๆ ให้เราสวดทุกวัน เราปฏิบัติ ๖ ข้อนี้อยู่แล้วเป็นทาสที่ดีที่สุด เชื่อฟังที่สุด พระพุทธเจ้าโปรดปราน พระพุทธเจ้าก็คือธรรมะนั้นแหละแท้จริง ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา หากว่าธรรมะเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเห็นทีจะโปรดปรานให้เรามีความสุข คู่ครองมีความสุข นี่ผมก็ขอให้พระ เณร ทุกองค์เข้าใจข้อนี้แล้วช่วยจำไปพินิจ พิจารณาและปฏิบัติ
ทีนี้ขอเวลา ขอโอกาสนิดหน่อยสำหรับชาวบ้านที่เขาอยู่ข้างนอก เห็นชาวบ้าน ก็พูดสำหรับชาวบ้านบ้าง พระเณรก็เหมือนกันมีเรื่องที่เหมือนๆกันอยู่มาก ขออภัยเพราะมีเวลามันน้อยต้องพูดตรงๆ บางทีมันหยาบคายไปบ้างว่าเราเป็นมนุษย์ เป็นชาวบ้านก็มี เป็นพระก็มี เป็นชาวบ้าน เรียกว่าเป็นฐานรากพื้นฐานทั่วไปของคนทั้งโลก ส่วนมากเป็นชาวบ้าน แล้วมักจะมีปัญหาอยู่มาก ไม่ประสบความสงบสุขหรือความสำเร็จ จึงขอให้ชาวบ้านทั้งหลาย ภิกษุ สามเณรก็ตามด้วยหลักเกณฑ์อันเดียวกันนี้ ในส่วนหนึ่งที่ว่าเรามีจิตใจเหมือนกัน ช่วยสังคายนาตัวเอง สังคายนากิเลสความผิด การกระทำของตัวเอง ให้เกิดการชำระสะสางให้สะอาดขึ้นๆๆ
ข้อแรก อยากจะพูดว่า ดื้อ คู่กับ โง่กับเง่า ความดื้อคู่กับความโง่ ความเง่า ใครดื้อคนนั้นจะโง่ ใครโง่คนนั้นจะดื้อ จริงไม่จริงไปสังเกตเอาเอง ผมเคยเห็นทุกคนที่ดื้อมันเพราะโง่ เพราะโง่มันจึงดื้อ คุณก็ลองไปสังเกตตัวเองดู ผมสังเกตตัวเองแล้วรู้สึกว่าอย่างนี้ ในเรื่องอะไรมันโง่เข้าแล้วมันดื้อ ในเวลาไหนมันดื้อมองเห็นเลยมันโง่ ขอให้ระวังมันน่าอายที่สุด น่ากลัวที่สุด ๒ ตัวนี้ พอโง่แล้วมันดื้อ พอดื้อแล้วมันโง่ ไม่ว่าพระ ฆราวาส ช่วยกันเกลียดให้มากโง่กับดื้อ ไม่ใช่ว่าดื้อแต่มันคู่กับโง่เง่า ถัดไปอีก ความสะเพร่ามันคู่กับอวดดี เวลาเราสะเพร่าไม่ได้คิดหน้าคิดหลัง มันจะอวดดี
น่าเกลียดน่าชังที่สุดเลยความอวดดีนี้ ความสะเพร่ามันคู่กับอวดดี อวดดีมันคู่กับสะเพร่า อวดดีไม่ใช่ดี หมายความว่ามันไม่มีอะไรจะดี มันอวด อวดจนหมดดี ถ้าว่าอวดดีหมายความว่ามันไม่มีดี มันอวดจนหมด ถ้าความดีมันมีจริง ก็ไม่ใช่อวดดี ถ้าเรามีความดีจริงเราพูด แบบนั้นเขาไม่เรียกว่าอวดดี
อวดดีมันเป็นเรื่องของคนไม่รู้อะไรแล้วเผลอ สะเพร่าแล้วพูดออกไป มันก็จะเป็นเรื่องอวดดี นี่เรียกว่าสะเพร่าแล้วมันก็อวดดี สะเพร่ามันคู่กันอยู่กับอวดดี
ที่นี่ข้อถัดไปอยากจะพูดว่าความขยันมันคู่อยู่กับความมั่งมี ถ้าคุณอยากจะมีความรู้มาก คุณจะต้องขยัน ขยันท่องนวโกวาท คุณก็จำได้มากก็เรียกว่ามั่งมี มีความรู้ ชาวบ้านถ้าขยันทำการทำงาน มันก็จะมีเงินมีทรัพย์สมบัติ มีเกียรติยศชื่อเสียง มีความสุขได้ นี่ว่าขยันก็ต้องคู่กันกับความมั่งมี
ข้อถัดไปจะพูดว่า กินอยู่พอดีมันคู่กับความผาสุข คนกินอยู่เกินพอดี จะฉิบหายบ้าง จะไม่สบายบ้าง จะเจ็บจะไข้บ้าง ต้องกินอยู่ให้ถูกต้องพอดี จึงจะได้รับความผาสุข ก็ให้ทุกๆคน โดยเฉพาะชาวบ้าน กินอยู่แต่พอดี เหมือนพระพุทธเจ้าว่า มตัญยุตา ยตกสมิง (39.04) เวลานี้มันยากจะกินดีอยู่ดี กินดีอยู่ดี ไม่รู้ว่าเท่าไหร่พอดี เงินมันเลยไม่พอใช้ มันก็ต้องไปลักไปขโมย ไปเป็นอันตพาลก็มี เพราะว่ามันไม่รู้จักกินอยู่ให้พอดี ยิ่งเวลานี้ของมันแพงด้วยแล้ว มันยิ่งสำคัญมาก กินอยู่พอดีนี่ จึงจะคู่กันได้กับความผาสุข
ที่นี่ถ้าเอาแต่สนุกก็คู่กับความทุกข์ถนัด ทุกข์ถนัด เหมือนกับคนแก่เขาพูด เอาแต่ความสนุกมันก็จะได้ทุกข์ถนัดเลย ความสนุกมันคู่กับความทุกข์
พวกเณรๆฟังไว้ดีๆ ชอบสนุกกันหนัก มันจะต้องได้รับความทุก ความยุ่งยากลำบาก เราสนุกเท่าไหร่มันจะมีความยุ่งยากขึ้นเท่านั้นแหละ ความสนุกมันยั่วยวนบังคับไม่ได้ มันสนุกกันจนหมดตัว หมดเนื้อก็มี ในที่สุดเช่นว่าเล่นการพนันมันบังคับไม่ได้มันก็เล่นกันจนหมดเนื้อหมดตัว การทำชั่วทำเลวอย่างอื่นในเวลานี้ยังมีมาก อบายมุขในโลกกำลังเจริญ ระวังให้ดีถ้าเอาแต่สนุกมันก็คู่กันอยู่กับความทุกข์ถนัด ทีนี่ขอพูดกับชาวบ้านซักทีว่า ถ้าไม่ไปวัดมันคู่กับการเล่นไพ่ เล่นอะไรก็ตามใจแต่นี่เราพูดว่าเล่นไพ่ก็พอ ถ้าไม่ไปวัด มันก็คู่การเล่นไพ่อยู่ เล่นอะไรเกเรเกตุงไปตามเรื่องไม่ชอบมาวัดเพราะวัดนี่มีแต่การสอนการตักเตือน นี่พูดให้รวมๆว่าการไม่ชอบมาวัดนี่มันคู่การเล่นไพ่ ที่ผมพูดนี้มันใช้กันได้ทั้งฆราวาสและบรรพชิต ที่นี่มันมีปัญหาที่ว่า ที่โง่และดื้อ ดื้อและโง่ นี่ถ้าอยากจะหายโง่ก็ต้องขยันพิจารณา
ไอ่ความโง่นี่จะแก้ได้ด้วยการพิจารณา บางคนอาจจะคิดว่า เราอุตส่าห์เรียนให้มาก ท่องจำให้ได้มาก จะหายโง่ นี่ไม่จริง ผมเคยสังเกตแล้วไม่เคยสำเร็จเลย ต้องพิจารณาให้เข้าใจ พอเข้าใจเป็นความรู้ของเราแล้วมันแจ่มแจ้งมันไม่ลืม แต่ท่องจำมันลืม ถ้าไม่เข้าใจแล้วมันเป็นลืม จะให้เข้าใจก็ต้องพิจารณา แล้วถ้าจะแก้ความโง่ ต้องพิจารณา ต้องแก้ด้วยความไม่ประมาท ขยันพิจารณาให้มากที่สุด ยิ่งโง่เท่าไหร่ ยิ่งพิจารณาให้มาก ความโง่ถึงจะค่อยๆหายไป ที่นี่ถ้าโง่แล้วดื้อ ดื้อแล้วก็ไปกันใหญ่ ก็ไม่พิจารณาเลย ไม่ยอมรับฟังคำตักเตื่อน แล้วแก้โง่ก็ต้องพิจารณา การจะมีธรรมะมีศาสนามันต้องอดกลั้นอดทน ความสนุกไม่ช่วยให้เรามีธรรมะหรือมีศาสนา ต้องขอให้รับความอดกลั้นอดทน เหมือนกับเพื่อนเกลอทีเดียว ที่นี่ความอดกลั้นอดทนมันไม่สนุกนี่ มันก็ไม่มีใครชอบ แต่ความจริงในธรรมชาติมันก็ไม่ยอมให้ ถ้าไม่อดกลั้นอดทนมันไม่มีเกิดธรรมะขึ้นมาได้ ไม่มีศาสนาขึ้นมาได้ ในเมื่อเราแต่งกระทู้กันมากแล้ว ขันติ ปรมัง สโกติ สิกขา ขันติ พลัง วยตินัง (42.59) ความอดกลั้นอนทนจะช่วยให้เกิดความสำเร็จ แก่ผู้บำเพ็ญพรต บำเพ็ญหน้าที่ ผมขอร้องให้ไปเปิดพระพุทธศาสนสุภาษิต หมวดขันติ ดูกันใหม่ทั้งหมวดจะมีธรรมะมีศาสนามันต้องมีความอดกลั้นอดทน พูดต่อไปว่า ถ้าจะบรรลุมรรคผล อย่าเห็นแก่ตัวเพราะมรรคผลนี้ที่สุดคือการทำลายความเห็นแก่ตัวความยึดมั่นถือมั่นว่าของตัวนี่ ทำลายได้เท่าไหร่ก็บรรลุมรรคผลขึ้นไปเท่านั้น ขั้นสูงสุดก็หมดความเห็นแก่ตัว
ที่นี่อยากจะให้มีความสุขทั่วๆกัน ต้องเอื้อเฟือเผื่อแผ่ อยู่ในวัดก็ต้องเอื้อเฟือเผื่อแผ่ อยู่กับบ้านก็ต้องเอื้อเฟือเผื่อแผ่ วัดกับบ้านก็ต้องเอื้อเฟือเผื่อแผ่ ถ้างั้นมันไม่มีความสุขไปทั่วถึงได้ ถ้าอยากให้มีความสุขกันทั่วๆ ก็ต้องเอื้อเฟือเผื่อแผ่ ถ้าอยากจะสนองคุณพ่อแม่ ก็อย่าทำลายวงสกุล สรุปความให้สั้นที่สุด ว่าอย่าทำลายวงสกุล ทั้งประพฤติชั่ว ประพฤติผิด ประพฤติเสียมันทำลายวงสกุล นั้นมันเป็นการไม่กตัญญูต่อพ่อแม่เป็นการเนรคุณพ่อแม่ไม่สนองคุณพ่อแม่ ที่นี่ใครเกิดมาในสกุลไหน อย่าทำให้สกุลของตัวเสียชื่อเสียง เวลานี้อันธพาลทั้งหลายเต็มไปทั้งบ้านทั้งเมือง เพราะมันไม่นึกถึงวงสกุล ถ้าว่าจะสนองคุณพ่อแม่อย่าทำลายวงสกุล หมายถึงกิจการของสกุล เขาทำไว้อย่างไรอย่าปล่อยให้สูญหายไป เดี๋ยวนี้ลูกหลานไม่ค่อยจะรักษาแม้แต่อนุเสาวรีย์ของวงสกุล อย่าเอ่ยชื่อไปที่ไหนก็ว่า คนนี้เป็นมากขนาดที่ว่าแม้แต่อนุเสาวรีย์ของวงสกุลก็ไม่ช่วยกันรักษา แต่ความดีความงามอย่างอื่นมันก็หมดกันนะ เพราะมันลำบากกว่านั้น อย่าทำลายวงสกุล และอย่าทำลายกิจกรรมที่เป็นของประจำวงสกุล เช่นว่าพ่อแม่เคยตักบาตรทุกเช้า ลูกหลานก็ควรรักษาไว้อย่าทำลายกิจกรรมของวงสกุล
ที่นี้ถ้าอยากจะรวย รวยบุญอย่าทำให้มันเลยเถิด ทำบุญนี่ลองทำให้เลยเถิดจะหมดเลย จะไม่มีบุญเหลือ ทำไม่ถึงมันก็ไม่ค่อยจะเป็นบุญแต่ก็ยังดีกว่าเลยเถิด เลยเถิดมันก็หมายถึงว่างมงาย และก็เมาบุญ ถ้าอยากจะรวยบุญอย่าทำให้มันเลยเถิด ให้มันพอดีให้มันถูกต้อง ถ้าไม่อยากจะเสียชาติเกิดก็ต้องเป็นคนให้เป็น ที่นี้มันเป็นคนไม่เป็น เป็นคนไม่เป็นคนนี่ เป็นคนไม่เป็นมนุษย์ มันไม่มีจิตใจสูง ก็เหมือนกับเท่ากับไม่เป็นคน เพราะว่าต้องถือว่ามันเสียชาติเกิด เราจะไม่ให้เสียชาติเกิดก็ต้องเป็นคนให้เป็น ให้มันเป็นคน ให้มันเป็นมนุษย์ แค่พูดว่าเป็นคนให้เป็นก็ได้แล้ว
ถ้าอยากจะมีความเย็น ความเยือกเย็นนั้นต้องอาบด้วยพระธรรม ต้องเอาพระธรรมมาอาบ ไม่ใช่เอาน้ำมาอาบ หรือว่าเอาเงินอะไรมา ซื้ออะไรมากินมาอาบ ถ้าอยากจะเย็นต้องอาบด้วยพระธรรม ธรรมโม พระทัตโต อกทโม (46.56) ธรรมะเหมือนน้ำไม่มีตะกอน ธรรมะเหมือนน้ำไม่มีโคลนไม่มีตะกอน เอามาอาบมันเย็น ละก็มันไม่มีกิเลส ถ้าร้อนมันร้อนด้วยกิเลส ก็เลยอยากจะเย็นต้องอาบด้วยพระธรรม ถ้าอยากจะหมดเวรหมดกรรม ต้องไม่มีตัวกูของกู ถ้าขืนมีตัวกูของกูแล้วมันไม่มีหมดเวรหมดกรรม มันไม่รู้จักยอม มันไม่รู้จักให้อภัย ละมันยังหวังยังอยากด้วย กิเลสมันยังก่อบาปก่อกรรมเรื่อยไป ถึงว่าถ้าอยากจะหมดเวรหมดกรรมต้องไม่มีตัวกูของกู คืออย่ามีกิเลส ยกหูชูหาง เป็นตัวกูไม่ยอมใคร เป็นของกูไม่รู้จักสละ ไม่รู้จักปล่อยวาง มันมีตัวกูของกู ถ้าอยากจะให้ไม่มีความทุกข์เหลืออยู่ ก็ต้องทำให้มันว่างไปเลย ว่างจากตัวกูของกู ว่างจากการยึดมั่นถือมั่น พระพุทธเจ้าตรัสว่าโลกนี้ว่าง เหตุใดจึงว่าง เพราะว่างจากอัตตา ว่างจากอัตตานียา โลกนี้ว่างจากสิ่งซึ่งมีความหมายเป็นตัวตนหรือของตน โลกนี้มีมากแต่สิ่งที่มีมากมันไม่มีอะไรที่จะเป็นตัวตนของตน พระพุทธเจ้าตรัสว่าโลกนี้ว่าง คุณจงเห็นโลกนี้เป็นของว่างทุกเมื่อ และความตายก็ไม่มี ตามไม่พบ เราสรุปความว่าถ้าอยากจะไม่มีความทุกเหลืออยู่ก็ทำให้มันว่างไปเลย ตรงตามความจริงของโลก หมายถึงของว่าง เราก็สวดกันบ่อยๆ ว่า นิพพานัง ปรมัง สุญญัง (48.47)นิพพานว่างอย่างยิ่ง นิพพานัง ปรมัง สุขขัง นิพพานจึงเป็นสุขอย่างยิ่ง ถ้าไม่ว่างอย่างยิ่งก็ไม่เป็นสุขอย่างยิ่ง ถ้าไม่ว่างเสียเลยก็ไม่รุ้จักเป็นสุขเสียเลย นี่สำหรับชาวบ้านบ้าง สำหรับพระเณรด้วยก็ได้
ทั้งหมดนี้ รวมความแล้วมันก็เป็นเรื่องที่ว่า ปฏิบัติพระธรรม หรือพระศาสนา ให้สำเร็จเป็นการปฏิบัติ ที่นำมาซึ่งผล ซึ่งมรรคผล มีความสุข เราอยากได้ความสุข คือไม่มีทุกข์ก็ต้องทำให้หมดความยึดถือว่าตัวกูของกู เรื่องนี้ยาก แต่ไม่พูดก็ไม่ได้ เดี๋ยวจะเดินผิดทาง ถึงแม้ว่าจะยังไม่ถึงนิพพาน หรือว่ายังไม่ต้องการนิพพานด้วยซ้ำไป ก็ต้องให้รู้เรื่องนิพพานไว้ เดี๋ยวมันจะเดินผิดทาง เดี๋ยวจะไปลงเหว ลงอะไรไป แม้เแต่เณรก็ต้องรู้ว่า ทางนิพพานไปอย่างไรทางไหน อย่าได้ทำให้มันผิดทาง แต่ถ้ายังไม่ต้องการจะอยู่ตรงนี้บ้างก้ได้ แต่ว่ามันก็ต้องรู้ไว้ เพราะธรรมชาติมันเดินไปทีละนิดๆ ชีวิตนี้ก็เหมือนกันเดินไปทีละนิดๆ ก็อย่าให้มันผิดทาง ผมก็นั่งคิดนอนคิด วันๆ คืนๆ เดือนๆ ปีๆ นั่งคิดแต่เรื่องนี้ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีเรื่องอื่นสำหรับจะพูด ในฐานะที่ว่าเป็นสหธรรมิก สหพรหมจารีย์ ผมถือว่าพระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ก็เป็นสหธรรมิก สหพรหมจารีย์กันหมดเลย นึกถึงก็พยายามที่จะให้ได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง ให้มันสุดความสามารถที่จะได้รับกันได้ ตัวเอง ตัวผมเองชอบอย่างไร เห็นทางดีอย่างไรก็พยายามทำให้ผู้อื่นพลอยเห็นพลอยได้ อย่าหาว่าผมพูดมาก พูดอะไรไปนอกเรื่องนอกราว ด้วยใจจริง พูดในสิ่งที่เห็นว่ามีค่าที่สุด จำเป็นที่สุด ทุกคนจะต้องเข้าใจ ให้ทันกับเวลา ไม่ตายเสียก่อน มันก็จะได้รับผลอันนี้ เอาละการพูดนี้ก็สมควรกับเวลา ผู้จะกลับไปก็ยังมีอยู่
สรุปคำพูดนี้ก็พยายามเป็นบุตรที่ดีของบิดามารดา เป็นศิษย์ที่ดีของครูบาอาจารย์ เป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน เป็นพลเมืองที่ดีของโลก เป็นสาวกที่ดีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเราทุกคนบวชอุทิศพระองค์ ขอให้ทุกๆท่าน ทุกๆองค์ จงมีความเจริญงอกงาม ในพระศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดาพระองค์นั้น ตลอดทุกทิพา ราศีกาลเทอญ