แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]
เวลานี้เป็นเวลาแรกทำจริงสำหรับพวกเธอ ต้องทำใจให้มันจริงให้มันสำเร็จประโยชน์ มันเต็มไปแต่ทำเล่นมันก็เสียนิสัย ในเวลานี้เราต้องทำจริง มันต้องตั้งใจให้ดี เมื่อเธอได้กล่าวคำประกาศตนเป็นผู้นับถือพระรัตนตรัย ให้เข้ามาได้บรรพชาอุปสมบถ ในธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า ต้องมีจิตใจที่ตั้งมั่นอย่างนั้นจริงๆ ที่กลัวจะละเมอละเมอ เห็นยังเล่นหัวกันอยู่วินาทีสุดท้าย เป็นผู้ไม่เชื่อฟัง สั่งไม่เป็นสั่ง ยังเหลวไหลยังเล่นกันขนาดนี้ นี่หรือไม่จริง นี่กลัวว่าแค่ประกาศว่านับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะใช้บรรพชาทั้งหมดนี้มันจะพูดแต่ปาก มันจะไม่จริง คำขอบรรพชาให้ด้วยนี่มันจะไม่จริง เลิกนิสัย หรือความคิด ความรู้สึก เหลาะแหละ เหลาะแหละ(นาทีที่ 1:47) ถือตัวทะลึ่งว่าเธอเปล่งวจี เราสังเกตเห็นตลอดเวลา พวกเธอต้องทำในใจบัดนี้ว่าจะเป็นผู้ที่บวชจริงๆ ที่ว่านับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้นต้องจริง ไม่ใช่พูดแต่ปาก นี่รีบเปลี่ยนซิให้มีความจริงใจ ถ้านับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ต้องสำรวม ต้องระวัง ต้องตั้งใจที่จะทำให้ถูกต้อง นี่มีแต่เหลาะแหละ เหลาะแหละ เหลาะแหละ เหลาะแหละ(นาทีที่ 02:26) กันซะเรื่อยไปมันไม่จริง นี่จะขอบรรพชาอุปสมบถ นี่ที่อยู่ก็ขอบรรพชา ก็ต้องตั้งใจขอกันจริง ไม่ได้ทำขอให้แล้วๆกัน ถ้าอย่างนั้นก็ไม่สำเร็จประโยชน์ มันไม่ได้บุญ มันเสียเวลาเปล่าๆ ยุ่งเปล่าๆ เราก็จะบอกให้เธอรู้ไว้บรรพชามันคืออะไร บรรพชาคือระเบียบวินัยที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เมื่อปฏิบัติตามกันแล้วมันจะรู้สึกเจ็บปวดมันจะต้องอดทน นิสัยโลเล ลอกแหลก ลอกแหลกเหมือนของพวกเธอที่มีอยู่ กระทั่งวันนี้มันใช้ไม่ได้ มันไม่อดทน ไม่เชื่อฟังคำสั่ง ไม่ทำตามคำสั่งและไม่อดทนจนกระทั่งวันนี้ ต้องรีบเปลี่ยน เปลี่ยนเป็นผู้ที่จะเชื่อฟัง ต้องอดทนและทำตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ความหมายก็เหมือนบรรพชามันจะต้องเจ็บปวด มันจะต้องปฏิบัติศีลอยู่ในทุกข้อๆ แล้วมันฝืนนิสัยสันดานของเธอที่จะเอาแต่เล่นแต่หัว มันเจ็บปวดมันต้องอดทน มันถึงจะเป็นบรรพชา อย่าทะลึ่งถือดีจองหอง อาจารย์สั่งก็ยังไม่ค่อยจะทำ เอาแต่เล่นแสดงว่ามันไม่เหมาะที่จะบรรพชา ซึ่งมันต้องการความเฉียบขาด เคร่งครัดในการปฏิบัติตามคำสั่ง ต้องรีบเปลี่ยนนิสัยจิตใจซะให้หมด ให้สมกับขอบรรพชากันจริงๆในวันนี้ บรรพชาแล้วเว้นหมดเปลี่ยนหมดจากเพศฆราวาส จากกระทำอย่างฆราวาส ไม่กินอยู่นุ่งห่มอย่างฆราวาส ไม่คิดนึกปรารถนาอย่างฆราวาส แม้แต่ฝันก็จะไม่ควรฝันอย่างฆราวาส นี่ข้าก็เห็นว่ามันเล่นหัวกันนัก มันจะทำให้ไม่ละนิสัยจริตเล่นหัวได้อย่างฆราวาส บวชก็แล้วก็ยังจะเล่นหัวอย่างฆราวาส มันเสียเวลาเปล่าๆ มันไม่เป็นบรรพชา ตั้งใจฟังให้ดีๆ เธอต้องเปลี่ยนกันวันนี้ มันอาจจะเร็วเกินไป บรรพชาแล้วเว้นหมดเปลี่ยนหมดจากความเป็นฆราวาส เราไม่แต่งตัวอย่างฆราวาส จะไม่กินอยู่อย่างฆราวาส จะไม่มีจริตกิริยาอย่างฆราวาส ไม่คิดอย่างฆราวาส แม้แต่นอนฝันก็ขออย่าให้ฝันอย่างฆราวาส ถ้าฝันอย่างฆราวาสนี่มันก็ยังเลวมาก มันต้องตั้งใจดีตั้งบัดนี้ว่าจะบรรพชาๆ จะกลัวบาปจะกลัวกรรมจะสำรวมระวังให้ให้ดีที่สุด แล้วข้างในมันก็จะเปลี่ยนแปลง แล้วมันก็จะไม่ฝันอย่างพวกฆราวาสฝัน มันจะได้นิ่งขึ้นในจิตใจ เมื่อขอบรรพชาแล้วได้บรรพชามันควรจะเป็นอย่างนั้น บรรพชาคือระเบียบปฏิบัติให้งดเว้นงดจากความเป็นฆราวาส และเว้นตามสิกขาบถวินัยที่มีไว้สำหรับการบรรพชา และสิ่งนี้พระพุทธองค์ได้ทรงวางในฐานะเป็นของขูดเกลา มันต้องเจ็บปวดเธอถึงต้องทน ถ้าเธอไม่ทนก็ไม่มีความหมายอะไรเลย จะไม่เป็นบรรพชาเลย ที่นี่เพื่อให้มีน้ำใจที่จะทนกันบ้าง ก็จะบอกอานิสงค์ของการบรรพชา อานิสงค์ของการบรรพชานี่ ถือกันว่าจะเขียนพรรณนาซักเท่าไรๆก็ไม่หมด อุปัชฌาย์ของเราก็เคยบอกเราว่าจะเอาฟ้าทั้งหมดเป็นแผ่นกระดาษ แล้วก็เขียนบรรยายอานิสงค์ของการบรรพชา เป็นแผ่นดินใช้แทนหมึกละลายน้ำ ไม่นานแผ่นก็หมดก็ยังไม่จบอานิสงค์ของการบรรพชา เพราะมันมากนักกันเอง แต่มันจะได้กับคนที่บวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ทำจริงแค่นั้นแหละ มีมากนักใน(นาทีที่ 07:14) 3 ประการ อานิสงค์แก่เธอผู้บวชจะได้ อานิสงค์ที่ญาติทั้งหลายมีบิดามารดาเป็นต้นจะพึงได้ และก็อานิสงค์ที่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าศาสนาหรือส่วนรวมจะพึงได้ ถ้าเธอบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง เห็นแก่บรรพชาจริงๆ เธอมันก็เปลี่ยน เปลี่ยนนิสัยเปลี่ยนจิตใจเปลี่ยนจริตกิริยาแล้วมันก็ดีกลายเป็นคนดี ความดีนั้นมันมีค่า เลือกที่จะมีค่าได้ เราก็จะได้สิ่งที่ดี นี่เราบวชให้ตัวเองมันได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์มันควรจะได้ ว่าบรรพชาแล้ว บวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ได้ผลจริง นี่อานิสงค์ที่สอง ญาติทั้งหลายมีบิดามารดาเป็นต้นจะพึงได้นี่ก็บวชเพื่อทดแทนบุญคุณเป็นเบื้องหน้าของผู้มีพระคุณ ทุกคนล้วนมีบิดามารดาเป็นผู้บุญคุณสูงสุด เขาให้ชีวิตมา เราจึงต้องคิดกตัญญูตอบแทนคุณอย่างสูงสุดอีกเหมือนกัน แทนคุณด้วยสิ่งอื่นๆก็ได้แต่ไม่สูงสุด ไม่ถามว่าทำไมบิดามารดาเป็นญาติในพระศาสนายิ่งขึ้น ถ้าเธอบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง บิดารมารดานี่จะเป็นญาติในพระศาสนายิ่งขึ้น บิดามารดาจะมีศรัทธามากขึ้น มีประสาท(นาทีที่ 08:49)ปราโมทย์ยินดีมากขึ้น มีสัมมาทิฐิมากขึ้น บิดามารดาได้สิ่งเหล่านี้ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเพราะว่าการบวชของเธอมันจริง เห็นแก่บิดามารดาก็บวชให้บวชจริง อย่าเคลิ้มๆละเมอๆ นี่อานิสงค์ที่สาม สัตว์ทั้งหลายหรือศาสนาเป็นส่วนรวมจะพึงได้ ถ้าเราบวชนี่ก็หมายว่าบวชเพื่อสืบอายุพระศาสนา บวชสามเดือนก็สืบสามเดือน บวชสามปีก็สืบสามปีแล้วแต่ว่าจะบวชได้กี่ปี ว่าแต่ในระหว่างการบวชต้องอยู่ในธรรมเช่นนี้จะเป็นการสืบอายุพระศาสนา มันก็ต้องบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ได้ผลจริงจึงจะเป็นการบวชเพื่อสืบอายุพระศาสนา ศาสนามีอยู่ในโลกคนทั้งโลกก็พลอยได้รับประโยชน์โดยตรงบ้างโดยอ้อมบ้าง นี่อานิสงค์สูงสุดมีอยู่สามประการ ตัวเองก็ได้ ญาติทั้งหลายมีบิดามารดาเป็นต้นก็ได้ เพื่อนมนุษย์และศาสนาเองก็ได้ ถ้าไม่บวชเรียนสืบอายุศาสนากันไว้มันก็หมด นี่เรียกว่าอานิสงค์ถ้าคนไม่โง่เกินไปก็พอจะมองเห็นว่ามันมีค่ามากเหลือเกิน เราจะอดกลั้นอดทนปฏิบัติพรหมจรรย์น้ำตาไหลมันก็ยังคุ้ม กลัวจะไม่อดทนพอจะถึงคราวต้องอดทนก็เตลิดเปิดโปงเถลไถล นี่สอนไว้ไม่ให้ไปทำไม่ควรที่พูดกันว่าจริงก็ต้องตั้งใจปฏิบัติจริง แหม่มันจะต้องอดทนเพราะกิเลสมันแรงกล้ามันก็ต้องต่อสู้น้ำตาไหลยอมได้ทนได้ไม่ให้การบวชนั้นเสียไป นี่เขาเรียกว่าประพฤติพรหมจรรย์ด้วยน้ำตา ไม่ยอมให้พรหมจรรย์เสียหายไป นี่เราเป็นห่วงอยู่ว่าไอ้คนที่เคยโลเล ลอกแหลกๆ มันจะทำได้หรือไม่ ถ้าเอากันจริงก็ต้องตั้งใจให้มันแน่วแน่ลงไป จะเจ็บปวดแค่ไหนก็ต้องทน ต้องทนจนน้ำตาไหลก็ต้องทน ทนเพื่อเอาความถูกต้องของการบวชวาง ที่นี้อีกเรื่องก็คือว่า ที่ตั้งที่อาศัยรากฐานอันมั่นคงของการบรรพชานั่นคือพระรัตนตรัย ขอให้เข้าใจว่าเราบวชนี่บวชอุทิศพระรัตนตรัย เหมือนคำกล่าวสั้นๆว่า เอตัง ภันเต (นาทีที่ 11:33) หมายว่าเรามุ่งหมายเจาะจงพระพุทธ ของทั้งพระธรรม ของทั้งพระสงฆ์ การจะบรรพชาอุปสมบถ ความเป็นจริงถ้าอุทิศพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง ถ้าจริงก็หมายความว่ามีคุณธรรมอย่างพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ในใจ มีความซื่อตรง มีความบริสุทธิ์ในใจ ก็ใช้ประพฤติปฏิบัติ ก็เลยมีความบริสุทธิ์ใจมีความสะอาดในใจ รู้แจ้งในเรื่องจะบวชนี้ นึกพอใจ สบายสงบ เยือกเย็นอยู่ได้ด้วยการบวชนี้ ก็เรียกว่ามันมีคุณธรรมคือสะอาด สว่าง สงบ ซึ่งเป็นเครื่องหมายของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งจะมีอยู่ในจิตใจของคน ถ้าทำได้เช่นนี้ก็เรียกว่าบรรพชานี้มีที่ตั้งที่อาศัยมีรากฐานอันมั่นคง เหมือนต้นไม้ทั้งหลายที่เราเห็นอยู่นี่มันได้แผ่นดินเป็นที่อาศัยมันจึงงอกงามอยู่ได้อย่างไม่ล้มเพราะมันมั่นคง เราต้องอุทิศพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แค่นั้นจิตใจก็สะอาด สว่าง สงบ พยายามให้มันเป็นได้อย่างนี้อยู่ตลอดเวลา การบรรพชาและพรหมจรรย์มันก็จะเป็นของราบรื่น ตั้งอยู่ด้วยดีแน่นแฟ้นมั่นคง นี่สามข้อนี้เธอต้องเข้าใจก่อนจึงจะไม่ทำอย่างละเมอเพ้อฝัน
ข้อที่หนึ่งบรรพชาคืออะไร คือระเบียบปฏิบัติ แต่ว่าไปไกลหมดจากความเป็นฆราวาสและก็เต็มไปด้วยการขูดเกลาให้มันสะอาดดีขึ้น
อานิสงค์ของการบรรพชาคืออะไร คือเราจะได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ บิดามารดาญาติทั้งหลายก็จะพลอยได้ สัตว์โลกทั้งหลายทั้งปวงและพระศาสนาก็จะพลอยได้ อีกทั้งจิตใจก็สะอาด สว่าง สงบ พยายามเมื่อทำอะไรไม่เป็นไม่ได้ละเว้นอะไรมากก็ขอให้ประคองจิตใจมาอยู่ในภาวะที่เรียกว่าสะอาด สว่าง สงบเรื่อยไปก็แล้วกัน ที่ว่ามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่ตั้ง บวชอุทิศเจาะจงให้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์โดยแท้จริง นี่ถ้าแสดงว่านั่งใจลอยไม่ฟังไม่เข้าใจมันก็มันก็ไม่ได้เรื่องได้ราว นี่ถ้าเข้าใจแล้วก็ส่งใจไปตามคำที่เราที่เราพูดเรื่อยไปๆ ด้วยความยินยอมนั้นก็จะได้ แล้วที่นี้ก็ถึงคราวที่จะบอกตจปัญจกกรรมฐานเป็นที่ต้องรับรู้(นาทีที่ 14:12) บรรพชาโดยตรง ตจปัญจกกรรมฐาน(นาทีที่ 14:25)แปลว่ากรรมฐานมีหนังเป็นที่5 คือผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นับได้ห้าอย่าง อย่างสุดท้ายคืออย่างที่ห้าเรียกว่าหนังเรียกว่ามีหนังเป็นที่ห้า ให้พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กันเสียใหม่ให้ถูกต้องเราเคยโง่เคยหลงเห็นว่าสวยว่างามตบแต่งสิ่งเหล่านี้ ยิ่งเป็นเด็กวัยรุ่นกำลังบ้ากำลังคลั่งมันยิ่งหลงใหลในความสวยความงามยิ่งมากจนการเล่าเรียนเหลวไหลไปหมดพ่อแม่ก็ต้องอ่อนใจ ก็เด็กมันเหลวไหลแต่เรื่องสวย เรื่องงาม เรื่องเล่น เรื่องผัว เรื่องเป็นเจ้าชู้ทำให้การเรียนไม่สำเร็จ นี่มันเห็นๆกันอยู่เลยมันไม่ต้องหลบหลีกไปอย่างอื่นแล้ว นี่เราจะบวชก็ต้องมีจิตใจที่จะดีให้เหมาะสมกับผ้ากาสายะ(นาทีที่ 15:25) เช่นจิตใจก็ยังโง่เขลาไปหลงใหลกับความสวยความงามที่ฉาบทาอยู่ผิวๆเผินๆมันไม่ๆสมกับผ้ากาสายะ ผ้าเหลืองนี่เขาเรียกว่าผ้ากาสายะ มันศักดิ์สิทธิมันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ คนที่จะมานุ่งมาห่มนั้นต้องมีจิตใจเหมาะสม มันจึงมีการฟอกซักจิตใจให้มันสะอาดพอสมควรแก่ผ้ากาสายะ อย่างน้อยที่สุดให้รู้จักความที่เราเคยหลงในเรื่องความสวยความงาม ให้มันสลัดในความหลงนั้นเสีย นี่ก็ถึงบอกกรรมฐาน
ข้อที่หนึ่งว่า “ผม” ภาษาบาลีว่า “เกศา” ให้รู้ว่ามันตามธรรมชาตินั้นมันไม่งามเป็นปฏิกูล นับตั้งแต่ว่ารูปร่างของมันก็น่าเกลียด สีของมันก็น่าเกลียด กลิ่นของมันก็น่าเกลียด ที่ตั้งที่อาศัยที่งอกของมันก็น่าเกลียด หน้าที่การงานของมันคือรับฝุ่นละอองก็มันน่าเกลียดก็เลยเห็นว่ามันน่าเกลียด ยืดตัวไปบนศีรษะแค่จัดแต่งให้สวยให้งาม แล้วนี่โกนทิ้งไปแล้วมันก็ดีแล้ว จะต้องนึกถึงความโง่ว่าเคยโง่เคยหลงเคยใหลมาก่อนแล้วก็หยุดโง่ชนิดนั้นเสีย เห็นว่าเป็นปฏิกูล ถึงแม้มันจะเพิ่งงอกออกมาหน่อยๆ ต่อไปอีกนี้มันก็ปฏิกูล นี่เรียกว่าเห็นความเป็นปฏิกูลในผมที่เคยหลงว่าสวย
ข้อที่สอง “ขน” ในภาษาบาลีว่า “โลมา” พิจารณาอย่างเดียวกับผมเพราะมันเหมือนกัน ผิดกันแต่มันละเอียดและมีไปทั่วๆตัว ผิดจากผมที่มีอยู่บนศีรษะ
ข้อที่สามว่า “เล็บ” เรียกในภาษาบาลีว่า “นะขา” คนชอบดูเล็บสวยหรือไม่สวย นี่ก็รู้ว่ามันรูปร่างของมันก็น่าเกลียด สีสันวรรณะก็น่าเกลียด กลิ่นก็น่าเกลียด ที่เกิดที่งอกของมันก็ยิ่งน่าเกลียด หน้าที่ของมันสำหรับเกาก็น่าเกลียด เลิกหลงว่าเล็บงาม
ข้อที่สี่ “ฟัน” เรียกในภาษาบาลีว่า “ทันตา” ชอบทำให้สวย ให้ขาว ให้หอม ให้อะไรต่างๆนาๆ ตามภาษาของคนโง่ เสียเวลาไปมากๆเกินจำเป็น มันก็ควรจะทำในสิ่งจำเป็นไม่ต้องทำด้วยความหลงว่าสวยว่างาม เขาถึงให้พิจารณาว่ารูปร่างของสีฟันมันก็น่าเกลียด สีสันวรรณะมวนกระดูกมันก็น่าเกลียด กลิ่นก็น่าเกลียดตามธรรมชาติ ที่เกิดที่งอกในเหงือกนี่ก็น่าเกลียดหน้าที่การงานก็ต้องเคี้ยวอาหารนี่ก็น่าเกลียด ให้รู้สึกไปในทางที่ไม่ให้หลงรักษาตกแต่งฟันให้สวยให้งามกันอีกต่อไป
อย่างที่ห้าสุดท้ายนี่ก็ “หนัง” บาลีเรียกว่า “ตะโจ” อย่างที่ห้านี่ ให้พิจารณาเห็นอย่างเดียวกันว่ามันเป็นของที่น่าเกลียด รูปร่างก็น่าเกลียด สีสันวรรณะก็น่าเกลียด กลิ่นก็น่าเกลียด ที่ตั้งที่อาศัยหุ้มห่อทั่วร่างกายนี่ก็น่าเกลียด หน้าที่การงานสำหรับถ่ายเข้าถ่ายออกให้เหงื่อไคลให้ความร้อนมันก็น่าเกลียด มีวรรณะเป็นที่ตั้งแห่งความสัมผัส การสัมผัสรู้สึกอารมณ์ได้รุนแรงจึงเกิดกิเลสได้ง่ายได้มากกว่าสัมผัสทางอื่น ก็ให้มองเห็นเป็นที่แล้วก็อย่าได้หลงใหลในที่หนัง ก็เรียกว่าเกิดจากความเป็นปฏิกูลของหนัง
ทั้งหมดผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ให้จำไว้สำหรับเตือนตัวเองมันจะหลงใหลไปในทางความสวยความงาม ไม่ใช่แต่เฉพาะเวลานี้ แต่บวชเข้าแล้วตั้งหลายเดือนหลายปีบางทีก็ยังมีความโง่ความหลงในข้อนี้ ก็ถึงบอกแต่วันแรกแล้วก็พยายามจะให้ใช้เป็นเครื่องมือต่อสู้ข้าศึกคือกิเลสที่อาจจะเกิดเมื่อไรก็ได้ตลอดเวลานี่เรียก ตจปัญจกกรรมฐาน (นาทีที่ 20:07) กรรมฐานมีหนังเป็นที่ห้า หรือว่าเรียกว่า “มูลกัมมัฏฐาน” (นาทีที่ 20:13) กรรมฐานดั้งเดิมเริ่มแรกที่เราจะต้องรับในการบรรพชาอุปสมบถและรักษาไว้ตลอดกาล นี่เป็นว่าเธอได้ฟังในเรื่องที่ควรจะฟังก่อนการบรรพชานี้พอสมควรแล้ว ทีนี้ก็จะได้ทำการบรรพชาต่อไป เข้ามาทีละคน ก้มหัวลง เข้ามาใกล้ ก้มหัว เข้ามาใกล้ ก้ม ตั้งใจรับตจปัญจกกรรมฐาน (นาทีที่ 20:50) โดยภาษาบาลีโดยว่าตามเราดังต่อไปนี้
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : นี้ว่าไปตามลำดับ นี้ทวนลำดับ
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ถ้าจำได้ลองพูดเอง
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : นี่แสดงว่าจำได้จำได้ดี นี่ว่าตามลำดับก็ว่าได้ว่าทวนลำดับก็ว่าได้ นี่แสดงว่าจำได้นี่ยังแสดงว่ามีสติสัมปชัญญะพอสมควรถึงว่าได้ นี่ก็มีความเหมาะสมที่จะทำการบรรพชา ฉันจะบรรพชาให้เธอ ขอให้มีความเจริญงอกงามในพระศาสนา ขอจง (นาทีที่22:18) สมดั่งความประสงค์ของการบรรพชาทุกประการ ถอยไป ไปนั่ง
ตั้งใจไปช่วยไปทำรับตจปัญจกกรรมฐาน (นาทีที่ 22:41) โดยภาษาบาลีโดยว่าตามเราดังต่อไปนี้
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : นี้เรียกว่าตามลำดับ ทีนี้ทวนลำดับ
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ถ้าจำได้ลองว่า
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : เรียบร้อยดีนี่จำได้แม่นยำด้วยและมีจิตใจพอปกติพอสมควร ก้ม ขอให้มีความเจริญในพระ
ศาสนา(นาทีที่ 24:00) ขอให้สมดั่งความประสงค์
ตั้งใจรับตจปัญจกกรรมฐาน(นาทีที่ 24:10) โดยภาษาบาลีโดยว่าตามเราดังต่อไปนี้
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : นี้ตามลำดับ ทวนลำดับ
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : จำได้ลองว่า
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : จะโจ
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : เออ
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ตะโจ
ผู้ขอบรรพชา : ทันตา
ผู้ขอบรรพชา : นะขา
ผู้ขอบรรพชา : โลมา
ผู้ขอบรรพชา : เกศา
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : พอใช้ได้จำได้ก็มีความเหมะสมขอทำการบรรพชาและนี้ฉันจะทำการบรรพชาให้เธอ ก้มๆต่ำๆไปไม่ถึง ขอให้มีความเจริญงอกงามในบรรพชาศาสนาสมดั่งตามความประสงค์ อืมไปนั่งไป
ผู้ขอบรรพชา : สาธุ ภันเต
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : รอก่อน
ผู้ขอบรรพชา : อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ, อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ, อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ปะฏิรูปัง
ผู้ขอบรรพชา : สาธุ ภันเต
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ปะฏิรูปัง
ผู้ขอบรรพชา : สาธุ ภันเต
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ปะฏิรูปัง
ผู้ขอบรรพชา : สาธุ ภันเต
ผู้ขอบรรพชา : อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ, อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ, อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ปะฏิรูปัง
ผู้ขอบรรพชา : สาธุ ภันเต
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ปะฏิรูปัง
ผู้ขอบรรพชา : สาธุ ภันเต
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ปะฏิรูปัง
ผู้ขอบรรพชา : สาธุ ภันเต
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ที่นี้ว่าพร้อมกัน
ผู้ขอบรรพชากล่าวพร้อมกัน : อัชชะตัคเคนานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร,
อัชชะตัคเคนานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร,
อัชชะตัคเคนานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : กราบ, นั่งลง, ฟัง ประนมมือฟังให้สำเร็จประโยชน์ว่ากันแต่ภาษาบาลีตามที่จำได้ ตอนนี้ก็
เรียกว่าถือนิสัยคือทำให้มีอุปัชฌายะถ้าไม่มีอุปัชฌายะก็ไม่มีทางจะทำการอุปสมบถ เพราะว่าระเบียบวินัยวางไว้ว่าสงฆ์ไม่ให้รับอุปสมบถแก่อุปสัมปทาเปกข์ผู้ไม่มีอุปัชฌายะ เธอจึงต้องมีอุปัชฌายะเสียก่อนทำได้ด้วยการขออุปัชฌายะก็คือการถือนิสัย ในเวลานี้เธอถือก็ มีนิสัยใช้ได้แล้ว ขอแล้ว และได้แล้ว มีความผูกพันเป็นภาระกันขึ้นระหว่างเธอกับเรา ต่างฝ่ายต่างเป็นภาระซึ่งจะต้องเอาใจใส่ในหน้าที่ของตน ผู้เป็นสัทธิวิหาริกเอาใจใส่ในการที่จะเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งของอาจารย์ และเอาใจใส่ในความเป็นอยู่ของอาจารย์ อาจารย์ก็เอาใจใส่ในการที่จะว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนควบคุมอย่าให้ทำผิดกันไปได้ และเอาใจใส่ในการเป็นอยู่ผาสุกของสัทธิวิหาริก นี้เขาเรียกว่าภาระทางความผูกพันระหว่างสัทธิวิหาริกกับอุปัชฌายะ ถ้ามันไม่มีมันก็ไม่มีความเป็นอุปัชฌายะอาจารย์อะไร น่าเสียใจที่แล้วๆมาความเป็นสัทธิวิหาริกกับอุปัชฌายะเหลวแหลกโดยมาก พวกเธอเมื่ออุปสมบถแล้วไม่เอาใจใส่ในหน้าที่เช่นการเชื่อฟังเป็นต้น นี้ไม่ได้เข้าค่ายเลยไม่ได้เอาใจใส่ในการจะควบคุม นี่หวังว่าพวกเธอคงจะไม่ทำให้เป็นพันนั้นมันเสียเวลา เดี๋ยวอาจารย์และพวกเราเป็นคนโกหกโดยปริยาย เรียกอาจารย์แล้วไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่ควรปฏิบัติต่ออาจารย์พูดกันไม่รู้เรื่อง คอยเล่นตลกคอยหลบหลีกไปให้อยู่เสมอ มันไม่มีความเป็นอาจารย์กันเลย แต่เวลานี้เธอขอความเป็นอาจารย์ ขอความเป็นอุปัชฌายะ ถ้าเธอพูดจริงไม่โกหกเธอต้องทำอย่างที่ว่าได้ อัชชะตัคเคนานิ เถโรมัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร ถ้าไม่โกหกกันนะ คอยเชื่อฟังคอยเอาใจใส่ คอยปฏิบัติหน้าที่ตัวอย่างให้ถูกต้องมันถึงจะเป็นเรื่องจริง ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นเรื่องโกหก โลเล หลอกแหลกเหมือนที่แล้วๆมาโดยมาก ไม่มีการกระทำหน้าที่ระหว่างอาจารย์กับสัทธิวิหาริกโดยสมบูรณ์เลย เมื่อนี้เวลานี้เธอก็มีนิสัยกันได้แล้ว รู้จักภาระหน้าที่ที่จะพึงปฏิบัติระหว่างกันและกันที่เรียกว่าภาระแล้ว มีอุปัชฌายะแล้วเหมาะสมต่อไปในการที่จะขออุปสมบถ การอุปสมบถต้องสวดกรรมวาจาเป็นภาษาบาลีไม่ใช่ภาษาอื่น เรายังต้องมีชื่อโดยภาษาบาลีกันไปก่อน ชื่อก็ชื่อเดิมของเธอ ภิรมย์ก็อภิรโม ประเสริฐก็ประเสริฐ ประเสธโฐ ประทีปก็ประทีโป ตามชื่อเดิม (นาทีที่ 30:35) แต่ว่าทำให้เป็นรูปภาษาบาลี ชื่อก็มันดีอยู่แล้วถ้าเธอดีสมชื่อซักครึ่งก็วิเศษ คิดว่ายังไม่ได้สมชื่อเลยซักครึ่ง เพราะมัวแต่เหลวใหล โลเล เหลาะแหละ มาเรื่อยๆ ให้เราเห็นกันมาจะบวชแล้ว ยังเล่นม้าแกะ ม้า (นาทีที่ 32:00) อีกสองสามวันจะบวชแล้ว มันไม่ไหว นี่ลองมีดีสมชื่อซัก ชื่อคนหนึ่งก็ยินดีในสิ่งที่ควรยินดี คนหนึ่งก็ประเสริฐ คนหนึ่งมันก็เป็นดวงประทีปแสงสว่างมันไม่จริง นี่บวชแล้วก็อุส่าตั้งใจให้มันจริงให้มันสมชื่อได้ซักครึ่งหนึ่งก็พอ สำหรับอุปัชฌายะ อุปัชฌานั้นมีชื่อเรียกในภาษาบาลีอยู่แล้วว่าอินทปัญโญ แต่เขาถามชื่อตัวก็ตอบให้ถูก ถามชื่ออาจารย์ก็ตอบให้ถูก ต่อไปนี้ข้าก็จะให้รู้จักชื่อของบริขารเหล่านี้หรือบาตรที่พวกท่าน....(นาทีที่ 32:32) ต้องรู้เป็นภาษาบาลีว่าเรียกกันว่าอย่างไร ก็จะลองถามลองสอบ ต่อไปมันต้องทำการอธิษฐานสิ่งเหล่านี้ให้เป็นของใช้จริงจัง เอาใจใส่ให้อย่างเป็นบริขารเกิดโดยธรรมวินัย ถ้ากินข้าวก็ต้องมีกับก็ไม่ต้องทำเป็น บอกชื่อ (นาทีที่ 33:04) และทีนี้ก็บอกบาตรจีวร เตรียมมาแล้วนะ .... (นาทีที่ 33:16) ทีนี้เราก็นั่งกันอย่าให้ขาดตอน นั่งร่นๆอย่าให้ขาดตอน อย่าให้ใครอยู่ห่างเกินใครเกินกว่าหนึ่งศอก เอาศอกชูขึ้น อย่าให้ฆราวาสเข้ามาใกล้ ภิรมย์เข้ามาใกล้ เข้ามา (นาทีที่ 33:45)ในเขต แต่ว่าในช่วงของข้อศอกเหวี่ยงขึ้น
พระกรรมวาจารย์ : อะยัน เต ปัตโต
ผู้ขอบรรพชาพึงรับพร้อมกัน : อามะ ภันเต, อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : อะยัง สังฆาฏิ
ผู้ขอบรรพชาพึงรับพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : อะยัง อุตตะราสังโค
ผู้ขอบรรพชาพึงรับพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : อะยัง อันตะระวาสะโก
ผู้ขอบรรพชาพึงรับพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : หันหลังไปพอสมควร อย่าไปหันหน้า อย่าเพิ่งเดิน ไปพอสมควร ให้มันพ้นนี่ก่อน แล้วค่อย
ยืน (นาทีที่ 34:42) ให้มันพ้น เปตานัง (นาทีที่ 34:48) ก่อนค่อยลุกขึ้นยืน
พระกรรมวาจารย์ : อะยัน เต ปัตโต
ผู้ขอบรรพชาพึงรับ: อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : อะยัง สังฆาฏิ
ผู้ขอบรรพชาพึงรับ: อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : อะยัง อุตตะราสังโค
ผู้ขอบรรพชาพึงรับ: อามะ ภันเต
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ไปข้างหลัง ไปข้างหลัง
พระกรรมวาจารย์ : อะยัง อันตะระวาสะโก
ผู้ขอบรรพชาพึงรับ : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : เขยิบมันห่าง มันห่างไป คุณมันห่างไป คุณเข้ามาใกล้ เข้ามาใกล้กัน พอดี ได้ล่ะ ได้ล่ะ
อย่าให้มันมีใครห่างไปกว่าเพื่อนเกินหนึ่งศอก มันไกลเขยิบๆมานี่มันไม่ถึง(นาทีที่
35:33)
พระกรรมวาจารย์ : นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ,
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ,
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะภิระโม จะ, ประเสธโฐ จะ, ประทีโป จะ อายัสมะโต อินทปัญญะ จะ
อุปสัมปทาเปกขา อะนุสิฏโฐ โส มะยา ยะทิมะยัง ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตกัลลัง อะภิระโม จะ ประ
เสธโฐ จะ ประทีโป จะ อาคัจฉายุง อาคัจฉะถะ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อนุกัมปัง อุปาทา
ยะ
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปสัมปะทัง ยาจามิ อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อนุกัมปัง อุ
ปาทายะ
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปสัมปะทัง ยาจามิ อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ
อนุกัมปัง อุปาทายะ
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : หยุดแล้วกราบ แล้วนั่งกราบ นั่งนานเกิน..... (นาทีที่ 38:50) ของพระสงฆ์ทั้งหลายให้ใช้
สิทธิของสงฆ์ในการที่จะรับอุปสัมปทาเปกข์เหล่านี้หรือไม่ จะยอมให้อุปสมบถหรือไม่
หิถานิโข อาวุโส ยันจะ อะภิระโม สัมมะเนโร ยันจะประเสธโฐ นามะสัมมะเนโร ยันจะ
ประทีโป นามมะสัมมะเนโร มามะสัมปทาอุเปกขา สัมปทัง อากังกะมานา สังฆังยาจันติ
อะหัง สัพเพมัง สังฆัง เชสามิ สาถาโคสุขโข ยันสังโฆ อิมังจะ อะภิระมัง นามมะสังมะเนรัง
อิมังจะ ประเสธฐัง นามะสังมะเนรัง อิมังจะ ยิประทีปัง นามะสังมะเนรัง อันตะรายิเก
ธัมเม ปุชิตะวา สัทถะปะตะการะตังยัตตะวา ยัตติ จะตุเถ นะกะเมระเป นะถา ระเหนา สัม
ปาเทนามาติ กัมมสันนิษฐานัง กะโรตู
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : สาธุ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยันจะ อะยันจะ อะภิระโม อะยันจะ ประเสธโฐ อะยันจะ ประทีโป
อายัสมะโต อินทปัญญะ จะ อุปสัมปทาเปกขา ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตกัลลัง อะหัง อะภิระมัน จะ
ประเสธฐัง จะ ประทีปัน จะ อันตะรายิเก ธัมเม ปุตถะยัง ปุณณะสี อะภิระมัน ปุณณะสี ประ
เสธฐัง ภะยันเต สัตชะตาโล ปุตถะกาโล ยัง ชาตัง ตังภุชชังหิ สัณตัง อัตถิ ติวัตตะถัง อะสัณตัง
นัตติ ติวัตตะถัง สัณถิเต เอวะรูปา อาทาตัง
พระกรรมวาจารย์ : กุฏฐัง
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : นัตถิ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : คัณโฑ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : นัตถิ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : กิลาโส
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : นัตถิ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : โสโส
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : นัตถิ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : อะปะมาโร
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : นัตถิ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : มะนุสโสสิ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : ปุริโสสิ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : ภะชิสโสสิ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : อะนะโณสิ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : นะสิ ราชะภะโฏ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : อนุญญาโตสิ มาตาปิตูหิ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : กิมนาโมสิ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อะหัง ภันเต อะภิระโม/ ประเสธโฐ นามะ
พระกรรมวาจารย์ : โก นามะ เต อุปัชฌาโย
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อุปปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา อินทปัญโญ นามะ
พระกรรมวาจารย์ : ปุณณะสี ประทีปัง ภะยันเต สัตชะตาโล ปุตถะกาโล ยัง ชาตัง ตังภุชชังหิ สัณตัง อัตถิ ติวัตตะถัง
อะสัณตัง นัตติ ติวัตตะถัง สัณถิเต เอวะรูปา อาทาตัง
พระกรรมวาจารย์ : กุฏฐัง
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : นัตถิ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : คัณโฑ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : นัตถิ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : กิลาโส
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : นัตถิ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : โสโส
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : นัตถิ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : อะปะมาโร
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : นัตถิ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : มะนุสโสสิ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : ปุริโสสิ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : ภะชิสโสสิ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : อะนะโณสิ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : นะสิ ราชะภะโฏ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : อนุญญาโตสิ มาตาปิตูหิ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อามะ ภันเต
พระกรรมวาจารย์ : กิมนาโมสิ
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อะหัง ภันเต ประทีโป นามะ
พระกรรมวาจารย์ : โก นามะ เต อุปัชฌาโย
ผู้ขอบรรพชาพึงกล่าวพร้อมกัน : อุปปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา อินทปัญโญ นามะ
พระกรรมวาจารย์ : สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยันจะ อะภิระโม อะยันจะ ประเสธโฐ อะยันจะ ประทีโป
อายัสมะโต อินทปัญญะ จะ อุปสัมปทาเปกขา ปาริสุตถะ อันตรายิเก อิทังเมหิ ปาริปุณณะ
อิเมสัง ปัตตะจี วะรัง อะภิระโม จะ ประเสธโฐ จะ ประทีโป จะ สังฆัง อุปปะสัมปทัง ยา จันติ
อายัสมะตา อินทปัญเญ นะ อุปัชฌาเยนะ ยะถิ สังฆัสสะ ปัตตกัลลัง สังโฆ อะภิระมัน จะ
ประเสธฐัง จะ ประทีปัน จะ อุปะสัมปาทายะ อายัสมะตา อินทปัญเญ นะ อุปัชฌาเยนะ
เอสา ยัตติ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยันจะ อะภิระโม อะยันจะ ประเสธโฐ อะยันจะ ประทีโป
อายัสมะโต อินทปัญญะ จะ อุปสัมปทาเปกขา ปาริสุตถะ อันตรายิเกหิ อิทังเมหิ ปาริปุณณะ
อิเมสัง ปัตตะจี วะรัง อะภิระโม จะ ประเสธโฐ จะ ประทีโป จะ สังฆัง อุปปะสัมปทัง ยา จันติ
อายัสมะตา อินทปัญเญ นะ อุปัชฌาเยนะ สังโฆ อะภิระมัน จะ ประเสธฐัน จะ ประทีปัน จะ อุปะ
สัมปาเถติ อายัสมะตา อินทปัญเญ นะ อุปัชฌาเยนะ ยัตถา อายัสมะโต ธัมมะติ อะภิระมัตถะ จะ
ประเสธฐะถะ จะ ประทีปัตถะ จะ อุปะสัมปทา อายัสมะตา อินทปัญเญ นะ อุปัชฌาเยนะ
โส ตุลณะสะ ยะสะนะธัมมะติ โส ภาสะญะ
ทุติยัมปิ เอตะมะถัง วาทามิ สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยันจะ อะภิระโม อะยันจะ ประเสธโฐ อะ
ยันจะ ประทีโป อายัสมะโต อินทปัญญะ จะ อุปสัมปทาเปกขา ปาริสุตถะ อันตรายิเกหิ อิทังเมหิ
ปาริปุณณะ อิเมสัง ปัตตะจี วะรัง อะภิระโม จะ ประเสธโฐ จะ ประทีโป จะ สังฆัง อุปปะสัมปทัง
ยา จันติ อายัสมะตา อินทปัญเญ นะ อุปัชฌาเยนะ สังโฆ อะภิระมัน จะ ประเสธฐัน จะ ประทีปัน
จะ อุปสัมปาเถติ อายัสมะตา อินทปัญเญ นะ อุปัชฌาเยนะ ยัตถา อายัสมะโต ธัมมะติ อะภิระมัตถะ
จะ ประเสธฐะถะ จะ ประทีปัตถะ จะ อุปะสัมปทา อายัสมะตา อินทปัญเญ นะ อุปัชฌาเยนะ
โส ตุลณะสะ ยะสะนะธัมมะติ โส ภาสะญะ
ตะติยัมปิ เอตะมะถัง วาทามิ สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยันจะ อะภิระโม อะยันจะ ประเสธโฐ อะ
ยันจะ ประทีโป อายัสมะโต อินทปัญญะ จะ อุปสัมปทาเปกขา ปาริสุตถะ อันตรายิเกหิ อิทังเมหิ
ปาริปุณณะ อิเมสัง ปัตตะจี วะรัง อะภิระโม จะ ประเสธโฐ จะ ประทีโป จะ สังฆัง อุปปะสัมปทัง
ยา จันติ อายัสมะตา อินทปัญเญ นะ อุปัชฌาเยนะ สังโฆ อะภิระมัน จะ ประเสธฐัน จะ ประทีปัน
จะ อุปสัมปาเถติ อายัสมะตา อินทปัญเญ นะ อุปัชฌาเยนะ ยัตถา อายัสมะโต ธัมมะติ อะภิระมัตถะ
จะ ประเสธฐะถะ จะ ประทีปัตถะ จะ อุปะสัมปทา อายัสมะตา อินทปัญเญ นะ อุปัชฌาเยนะ
โส ตุลณะสะ ยะสะนะธัมมะติ โส ภาสะญะ
อุปปะสัมปนาสังเฆนะ อะภิระโม จะ ประเสธโฐ จะ ประทีโป จะอายัสมะตา อินทปัญเญ นะ
อุปัชฌาเยนะ ธัมมะติ สังฆัสสะ ฆัสสะมะ ตุมหิ เอวัง เมตัง อาระยะมิ
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : กราบ... (นาทีที่ 51:18)
อ้าว ตั้งใจฟังเรื่องหนึ่ง กิจอันสุดท้ายของการบรรพชาอุปสมบถคือการบอก....
(นาทีที่ 51:31)
อะนุญญาสิ โข ภะคะวา อุปะสัมปาเทตวา จัตตาโร นิสสะเย จัตตาริ จะ อะกะระณียานิ อาจิกขิตุง
ปิณฑิยาโลปะโภชะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา ตัตถะโว ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย อะติเรกะลาโภ สังฆะภัต
ตัง อุทเทสะภัตตัง นิมันตะนัง สะลากภัตตัง ปักขิกัง อุโปสะถิกัง ปาฏิปะทิกัง
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ เมื่อว่าท่านทำการอุปสมบถแล้ว ให้บอกนิสัย4 อกรณียกิจ4 สำหรับนิสัย 4
ข้อที่หนึ่ง คือ บรรพชาอาศัยอาหารบิณฑบาตก็เรียกว่าบิณฑบาต คือก้อนข้าวที่ได้มาด้วยการเที่ยวแสวงหา
เธอยังขวนขวายในอาหารชนิดนั้นจนตลอดชีวิตของการบรรพชา แต่ถ้ามีอดิเรกลาภเกิดขึ้นอย่างสังฆทานเป็นต้นก็รับได้เหมือนกันในฐานะเป็นเพียงอดิเรกลาภ
ปังสุกูละจีวรัง นิสสาย ปัพพัชชา ตัตถะ โว ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย อะติเรกะลาโภ โขมัง กัปปาสิกัง
โกเสยยัง กัมพะลัง สาณัง ภังคัง
บรรพชาใสเครื่องนุ่งห่มผ้าบังสุกุล ผ้าที่เขาทิ้งให้เปื้อนฝุ่นตามทางดินเก็บมาเตรียมทำเป็นจีวรชาย เขาเรียกว่าผ้าบังสุกุล ผู้ใดบรรพชาใส่ผ้าบังสุกุลเป็นเครื่องนุ่งห่มเธอควรขวนขวายในจีวรของปานนั้นไปตลอดชีวิตของการบรรพชา แต่ถ้ามีอดิเรกลาภ จีวรสมควรแก่สมณะบริโภคสำเร็จลุ (นาทีที่ 53:42) ขึ้นไปเป็นต้น ....(นาทีที่ 53:45) รับได้เหมือนกันในฐานะเป็นอดิเรกลาภ
รุกขะมูละเสนาสนัง นิสสาย ปัพพัชชา ตัตถะ โว ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย อะติเรกะลาโภวิหาโร อัฑฒะโยโค ปาสาโท หัมมิยัง คุหา
ผู้บรรพชาใช้ชีวิตของการบรรพชา อาศัยที่อยู่ที่โคนไม้ เธอต้องขวนขวายในเสนาสนะแห่งป่านนั้นไปตลอดชีวิตของการบรรพชา แต่ถ้ามีอดิเรกลาภเกิดขึ้น มีวิหารมีที่เป็นต้น คนจัดไว้สมควรแก่สมณะบริโภคก็รับได้เหมือนกัน ที่ผ่านมาเป็นอดิเรกลาภในที่สุด แต่สิ่งที่เรียกว่าถ้ำหรือเพิงเป็นที่ที่เรียกว่า....(นาทีที่ 54:37) แต่ก่อนนี้
ปูติมุตตะเภสัชชัง นิสสายะ ปัพพัชชา ตัตถะ โว ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย อะติเรกะลาโภ สัปปิ นะวะนีตัง เตลัง มะธุ ผาณิตนัง
ชีวิตบรรพชาอาศัยยาแก้โรคคือเภสัชที่ได้ปรุงขึ้นด้วยน้ำมูตร เรียกว่าน้ำมูตรเน่า เพราะว่าเรียกว่าเป็นของเน่าอยู่โดยธรรมชาติ เป็นน้ำมูตรโดยตรงหรือว่าเภสัชอย่างอื่นประกอบกันขึ้น เป็นอาหารที่หาง่ายสมควรสมณะ เธอต้องขวนขวายในเภสัชจนปานนั้นจนตลอดชีวิตของการบรรพชา แต่ถ้ามีอดิเรกลาภเกิดขึ้นเป็นยา เป็นยาทำให้ทำให้ไม่น่าเบื่อ (นาทีที่ 55:29) ก็รับได้เหมือนกันในฐานะเป็นอดิเรกลาภ นี่คือนิสัยสี่
อกรณียกิจสี่ต่อไป
อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา เมถุโน ธัมโม นะ ปะฏิเสวิตัพโพ อันตะมะโส ติรัจฉานะคะตายะปิฯ โย ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวะติ อัสสะมะโณโหติ อะสักยะปุตติโย ฯ เสยยะถาปิ นามะ ปุริโส สีสัจฉินโน อะภัพโพ เตนะ สะรีระพันธะเนนะ ชีวิตุ เอวะเมวะ ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวิตะวา อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโยฯ ตังโว ยาวะชีวัง อะกะระณียัง
ผู้ใดอุปสมบถแล้วไม่พึงประกอบเมถุนธรรม คือกิจกรรมระหว่างเพศแม้ที่สุดในสัตว์เดรัจฉาน ภิกษุถ้าประกอบเมถุนธรรมเสียหมดความเป็นสมณะศากยะบุตร ไม่เป็นภิกษุอีกต่อไป เปรียบเหมือนบุคคลไม่มีศีรษะถูกตัดขาดแล้วอย่างไม่มีชีวิตได้อยู่ในร่างกายนั้นฉันใดก็ฉันนั้น ดังนั้นจึงไม่พึงกระทำตลอดชีวิตของภิกษุ
อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง นะ อาทาตัพพัง อันตะมะโส ติณะสะลากัง อุปาทายะ ฯ โย ภิกขุ ปาทัง วา ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง อาทิยะติ อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย ฯ เสยยะถาปิ นามะ ปัณฑุปะลาโส พันธะนา ปะมุตโต อะภัพโพ หริตัตตายะ เอวะเมวะ ภิกขุ ปาทัง วา ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง อาทิยิตวา อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโยฯ ตังโว ยาวะชีวัง อะกะระณียัง
ผู้ใดอุปสมบถแล้วไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ในที่สุดแค่หญ้ากำมือเดียว ภิกษุที่ถือเอาของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้โดยแค่อยากคิดที่รู้ว่าเขาไม่ได้ให้ในราคาบาทหนึ่งก็ดี เทียบเท่าบาทหนึ่งก็ดี เกินกว่าบาทหนึ่งก็ดี จะไม่เป็นสมณะศากยะบุตร ไม่เป็นภิกษุอีกต่อไป เหมือนใบไม้เหลืองหล่นลงจากต้นแล้วไม่อาจจะกลับเป็นใบไม้เขียวฉันใดก็ฉันนั้นดังนั้นจึงไม่พึงกระทำไปตลอดชีวิต
อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา สัญจิจจะ ปาโณ ชีวิตา นะ โวโรเปตัพโพ อันตะมะโส กุนถะกิปิลลิกัง อุปาทายะฯ โย ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปติ อันตะมะโส คัพภะปาตะนัง อุปาทายะ อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย ฯ เสยยะถาปิ นามะ ปุถุสิลา เทวธา ภินนา อัปปะฏิสันธิกา โหติ เอวะเมวะ ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปตวา อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย ฯ ตังโว ยาวะชีวัง อะกะระณียัง
ผู้ใดอุปสมบถแล้วไม่พึงแกล้งฆ่าสัตว์มีชีวิตให้ตาย แม้ที่สุดแต่มดดำมดแดง ภิกษุแกล้งฆ่าสัตว์มนุษย์ให้ตายแม้ที่สุดแต่มนุษย์ที่ยังอยู่ในครรภ์ หมดสมณะศากยะบุตรคือภาวะไม่เป็นภิกษุอีกต่อไป เปรียบเหมือนก้อนหินก้อนเดียวหักเป็นสองท่อน สองท่อนแล้วยังไม่กลับเป็นก้อนเดียวฉันใดก็ฉันนั้น ดังนั้นจึงไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิต
อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อุตตะริมะนุสสะธัมโม นะ อุลละปิตัพโพ อันตะมะโส สุญญาคาเร อะภิระมามีติฯ โย ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปะติ ฌานัง วา วิโมกขัง วา สะมาธิง วา สะมาปัตติง วา มัคคัง วา ผลัง วา อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย ฯ เสยยะถาปิ นามะ ตาโล มัตถะกัจฉินโน อะภัพโพ ปุนะ วิรุฬหิยา เอวะเมวะ ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปิตะวา อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโยฯ ตังโว ยาวะชีวัง อะกะระณียัง
ผู้ใดอุปสมบถแล้วไม่พึงอวดอุตตริมนุสสธรรม ที่ทำไปยิ่งไปกว่ามนุษย์ธรรมดาจะพึงมี แม้แต่จะคิดจะอวดว่าเรานี้มีจิตใจชอบที่สงัดซะแล้ว นี่ไม่อวดไม่ควรอวด ภิกษุหวังประโยชน์ มีลาภต้องการลาภเป็นต้น ก็อวดอตตริมนุสสธรรม ว่าได้ฌานก็ดี ได้สมาบัติก็ดี ได้สมาธิก็ดี ได้วิโมกข์ก็ดี ได้มรรคก็ดี ได้ผลก็ดี นี่หมดความเป็นสมณะศากยะบุตรและไม่เป็นภิกษุอีกต่อไป เปรียบเหมือต้นตาลถูกตัดทำลายขั้วถึงยอดแล้วย่อมไม่งอกได้อีกฉันใดก็ฉันนั้น ดังนั้นจึงไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิต
อะเนกะปะริยาเยนะ โข ปะนะ เตนะ
ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา
อะระหะตา สัมมาสัมพุทเธนะ,
สีลัง สัมมะทักขาตัง
สะมาธิ สัมมะทักขาโต
ปัญญา สัมมะทักขาตา
ยาวะเทวะ ตัสสะ มะทะนิมมะทะนัสสะ
ปิปาสะวินะยัสสะ อาละยะสะมุคฆาตัสสะ
วัฏฏูปัจเฉทัสสะ ตัณหักขะยัสสะ วิราคัสสะ
นิโรธัสสะ นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ
ตัตถะ สีละปะริภาวิโต สะมาธิ
มะหัปผะโล โหติ มะหานิสังโส,
สะมาธิปะริภาวิตา ปัญญา
มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา,
ปัญญาปะริภาวิตัง จิตตัง
สัมมะเทวะ อาสะเวหิ วิมุจจะติ,
เสยยะถีทัง กามาสะวา ภะวาสะวา อะวิชชาสะวา.
ตัสมาติหะ เต
อิมัสมิง ตะถาคะตัปปะเวทิเต ธัมมะวินะเย,
สักกัจจัง อะธิสีละสิกขา สิกขิตัพพา,
อะธิจิตตะสิกขา สิกขิตัพพา,
อะธิปัญญาสิกขา สิกขิตัพพา
ตัตธัมมา ตินะสัมปาเทตะปัง (นาทีที่ 01:00:49)
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็นได้ตรัสไว้ในปฏิญาณ(นาทีที่ 01:00:56)ในเรื่องของศีล ในเรื่องของสมาธิ ในเรื่องของปัญญา ทั้งนั้นทั้งนี้มันก็เป็นไปด้วยพระธรรมชี้แจ้งเป็นพระนิพพาน(นาทีที่ 01:01:06) เป็นที่บรรเทาเหตุแห่งความโง่อันเป็นการตัด...(นาทีที่ 01:01:14) เป็นการตัดเชื้อไฟแห่งตัณหา ตัวหนึ่งราคะ ตัวหนึ่งโลภะ เพื่อดับทุกข์ทั้งปวง ในสามอย่างนี้เมื่อศีลอุดมดีแล้ว สมาธิย่อมมีผลใหญ่ อานิสงค์ใหญ่ เมื่อสมาธิอุดมดีแล้ว ปัญญาย่อมมีผลใหญ่ อานิสงค์ใหญ่ เมื่อปัญญาอุดมดีแล้วจิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะ คือกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ความหมายของศีล สมาธิ ปัญญา มีอยู่โดยตรงดังนี้
นั้นเธอเมื่อบวชแล้วต้องทำอยู่ในนี้ ต้องมีความเคารพหนักแน่นอธิศีลสิกขา ในอธิจิตสิกขา ในอธิปัญญาสิกขา ด้วยความถูกต้อง ด้วยความไม่ประมาททุกเมื่อ การอุปสมบถของเธอได้ถึงที่สุดแล้ว มีภิกษุภาวะเกิดขึ้นกับเธอโดยสมบูรณ์แล้ว เธอจงมีสติสัมปชัญญะ ที่จะรู้ความพอดี อย่าได้เผลอให้ในจิตใจเลื่อนลอยเป็นไปเหมือนในขณะที่แล้วมา สุดแต่ว่าเมื่อเช้านี้ยังไม่ค่อยมีการสำรวม ต่อไปนี้ก็ต้องมีการสำรวมอย่างบรรพชิต ให้รู้ว่าเรานี้ในเวลานี้เป็นบรรพชิตแล้ว ตั้งแต่เวลาที่เราสวดญัตติจตุตถกรรมวาจาแล้ว มีทั้งก้มแลตัว แลผ้าเหลืองนี้ให้เสมอ เอามือลูบหัวคอยบอกว่าหัวมันโล้น หัวมันเกรียน นี้จะได้สะดุ้ง จะได้ระมัดระวังอย่าปล่อยใจไปตามอารมณ์ มันจะเล่นหัวเหมือนเดิมอีก ถ้าเธอไม่ทำอย่างฉันแนะนำฉันสอนนี้มันก็ป่วยการบวชแน่นอน ป่วยการบวชไม่มีใครได้รับประโยชน์ นอกจากมันยุ่งเพราะมันเปลืองเปล่าๆ เธอจงจำไว้ให้ดี ว่าเธออย่าเหลวใหล อย่าโลเล อย่าเหลาะแหละ อย่าทะลึ่ง อย่าทะลึ่งอย่าทะลึ่ง อย่าทะลึ่ง (นาทีที่ 01:03:11) อย่าให้เหมือนอย่างที่แล้วๆมา เป็นหน้าที่สุดท้ายเมื่อเราบวชแล้ว ต้องจำไว้ให้ดีๆเรื่องตจปัญจกกรรมฐาน เรื่องผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มันเป็นเรื่องแก้โง่ ฉันเคยโง่มาแล้วในเรื่องความสวย ความงาม จะป้องกันไม่ให้มองไปในทางนั้นอีก นี่เราบรรพชามันเป็นของประเสริฐ บวชแล้วได้อานิสงค์เหลือหลาย ตัวเองก็ได้ ญาติทั้งหลายมีบิดามารดาก็ได้ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง พระศาสนาก็พลอยได้ ถ้าอย่างไรก็ขอให้ปฏิบัติ(นาทีที่ 01:03:47) กตัญญูนึกถึงบิดามารดาไว้เสมอ อย่าเหลวใหลในการบวช รักษาเคร่งครัดในธรรมวินัย ให้เกิดประโยชน์อานิสงค์แก่ตัว และญาติทั้งหลายมีบิดามารดานั้นเป็นต้นก็พลอยได้ เธอนั้นก็เห็นอยู่แล้วว่าบิดามารดาหวังอย่างไร ให้เธอบวชหวังอย่างไร ไม่ใช่แค่สิ่งปกป้องของไม่ดีเอาไปให้หมด ให้เราเป็นคนดี เป็นมนุษย์ก็ได้สิ่งที่ดีที่มนุษย์ควรจะได้ขอให้ได้ประโยชน์ตามนี้ ถ้าเธอสำนึกอยู่อย่างนี้ ถ้าตนเตือนตนได้อย่างนี้ มีสติสัมปชัญญะอย่างนี้ ย่อมมีความเจริญงอกงามในพระศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดาสมตามความมุ่งหมายของการบรรพชาเป็นแน่นอน ทีนี้การบรรพชาของเธอก็ได้เสร็จบริบูรณ์ลงแล้วโดยกาลดังนี้
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ทีนี้เราจะทำการกรวดน้ำ เอามาเอาน้ำมา นั่นแหละเอามาตั้งไว้ข้างหน้า เอาจอกน้ำ
ตั้งไว้ข้างหน้า เอามาสามจอกๆ เอาแบ่งเอาแก้วแบ่ง กรวดน้ำอธิบายหรือยังนะ เอา
จานมาด้วย เอาจานมาด้วย ที่ว่าการได้แค่ทำบุญกุศลกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นชิ้นเป็นอันแล้ว ตามขนบธรรมเนียมประเพณีของพุทธบริษัทที่ดีย่อมกรวดน้ำ
อุทิศส่วนกุศลให้แก่สัตว์ทั้งหลาย นี่เธอตั้งใจฟังให้มันรู้เรื่อง เดี๋ยวก็ได้ จำเอา จำเอา
ไม่ต้องไปดูตั้งใจฟังให้มันสำเร็จ เอามาเอง พวกเธอนั้นจะต้องตั้งใจอุทิศส่วนกุศล
ให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย นับตั้งแต่บิดามารดาเป็นต้นไปเรื่อยไปจนถึงสัตว์ทั้งปวง
ในเวลานี้ในโอกาสนี้ เป็นผลที่ได้บรรพชาและอุปสมบถถือเป็นธรรมเนียมก็ดีของ
พุทธบริษัทที่ได้ทำกันมา การกรวดน้ำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่เราอยากจะแนะ
เพียงอย่างเดียวว่าให้จิตจะเป็นสมาธิ ถ้าเรารินน้ำให้ไหลเล็กที่สุดเป็นสายเล็กที่สุด
ก็ต้องกำหนดจิต ยิ่งต้องกำหนดจิตมากเท่าไร สายน้ำก็ไหลเล็กเท่านั้น ก็เขาเรียกว่า
เป็นสมาธิทั้งนั้น ด้วยจิตจะเป็นสมาธิ นี้ให้นึกไปถึงการอุทิศส่วนกุศลให้ไหลไปยัง
สรรพสัตว์เหมือนสายน้ำนี้ ว่าเปรียบเหมือนกับฝนตกลงไปในที่ดอน ยะถา วาริวะหา
ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง เหมือนฝนตกลงมาที่ดอนย่อมไหลไปหาที่ต่ำกว่าตาม
ลำดับ ตามลำดับ มันก็เต็มไปตามลำดับ บ่อไหนถึงก่อนก็เต็มก่อน บ่อไหนน้อยก็
เต็ม เต็มคู เต็มลำธาร เต็มคลอง เต็มแม้น้ำ เต็มทะเล เต็มนี่เห็นได้ง่ายเลยเวลาฝนตก
หนัก เต็มภูเขา เต็มทะเล เราทำในใจวันนี้แล้วอุทิศส่วนกุศลเล็งถึงบิดามารดาเป็นต้น
ก่อน แล้วจึงไล่ไปญาติให้ห่างออกไป ให้ห่างออกไป จนไม่ใช่ญาติ กระทั่งศัตรู
กระทั่งคู่อาฆาต กระทั่งสัตว์เดรัจฉาน ด้วยหมดเวรหมดไปกันทีด้วยการบวชนี้ ไม่มี
เวรใครอะไรเหลืออยู่ มีแต่มิตรภาพความเมตตา กรุณาหวังดี อุทิศส่วนกุศลให้ ให้ทำ
ใจสนิทนี้รินน้ำพลางคิดสิ่งนี้ไปพลาง จนได้ยินว่า “สัพพีติโย” นั้นพระท่านให้พร เท
น้ำหมด ประนมมือรับพรต่อไป
ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง
เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ
อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง
ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา
จันโท ปัณณะระโส ยะถา
มะณี โชติระโส ยะถา
พระกรรมวาจารย์ : สัพพีตีโย วิวัชชันตุ
สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย
สุขี ทีฆายุโก ภะวะ,
สัพพีตีโย วิวัชชันตุ
สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย
สุขี ทีฆายุโก ภะวะ,
สัพพีตีโย วิวัชชันตุ
สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตวันตะราโย
สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน,
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ, อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ตั้งใจให้พรคู่บวช
เต อัตถะลัทธา
พระกรรมวาจารย์ : สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน
อะโรคา สุขิตา โหหิ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ
เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน
อะโรคา สุขิตา โหหิ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ
เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน
อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ตั้งใจให้พรทายก ทายิกาทั้งหลาย
อายุวัฒโก
พระกรรมวาจารย์ : ธะนะวัฒโก สิริวัฒโก ยะสะวัฒโก พะละวัฒโก วรรณวัฒโก
สุขะวัฒโก โหนตุสัพพะทา
ทุกขะโรคะภะยา เวรา โสกา สัตตุ จุปัททะวา
อเนกาอันตะรายาปิ วินัสสันตุ จะ เตชะสา
ชีวะสิทธิ ธะนัง ลาภัง โสถิ ภาคะยัง สุขัง พลัง
สิริ อายุ จะ วรรโณ จะ โภคัง วุฒีง จะ ยะสะวา
สัตตะวะษา จะ อายู จะ ชีวสิทธี ภะวันตุ เต
ท่านพระพุทธทาสภิกขุ : ภะวะตุ
พระกรรมวาจารย์ : สัพพะมังคลัง รักขันตุสา สัพพะเทวะดา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สถาโสตถี ภะวันตุเต
ภะวะตุ สัพพะมังคลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ สถาโสตถี ภะวันตุเต
ภะวะตุ สัพพะมังคลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สถาโสตถี ภะวันตุเต