แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
อืม, เดี๋ยวนี้ก็เป็นเวลา ที่ต้องขอความร่วมมือ ทุกคนเงียบสงบกันบ้าง เพื่อว่าให้คนที่มาร่วมนั้น จะได้บุญได้กุศล ให้กับนาคจะได้มีความ สงบจิตสงบใจได้โดยง่าย จึงขอให้หยุดพูดทันที ที่นี้ก็จะพูดกับเจ้านาคทั้งหลาย ให้ทำในใจให้ถูกต้องให้เหมาะสมในการที่จะบรรพชา ต้องเป็นคนที่ มีใจคอปกติ ไม่ฟุ้งซ่านไม่งกๆเงิ่นๆ ไม่เลื่อนลอย มีสติสัมปชัญญะ เข้าใจ ในถ้อยคำที่พูด แล้วก็ส่งใจ ไปตาม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางจิตใจเป็นส่วนใหญ่ จะได้เหมาะสมแก่การนุ่งห่ม ผ้ากาสายะ
ข้อแรกที่สุด เมื่อเรากำลังที่จะทำการบรรพชาอุปสมบท ซึ่งเป็นกิจที่สำคัญ เป็นกิจที่สูงสุด ถือเป็นกิจที่จะต้องทำให้ดีที่สุด จึงมีการทำในใจให้ดีที่สุด ถ้าวันนี้ได้กล่าวคำขอบรรพชาเป็นภาษาบาลี แม้จะได้ เอ่อ, มีถ้อยคำที่ผิดเพี้ยนไปบ้าง ก็จะถือเอาแต่ความหมาย ว่าอย่างไร เพราะรู้ว่าเธอต้องการจะ ว่าอย่างไร อุ-ปา-ทา-ยะ ว่า อุป-ปะ-ถา-ยะ นี่เราก็ฟังถูก ว่าหมายความว่าอย่างไร ว่าเธอมุ่งหมายอย่างไร แต่ขอให้ถือเอาใจความให้ถูกต้อง ว่าได้กล่าวคำประกาศตัวเองว่าถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ ที่พึ่ง ใคร่จะบรรพชา อุปสมบท ในพระธรรมะวินัยนี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สามหน และได้กล่าวคำขอบรรพชาโดยตรง ว่าขอให้ทำการบรรพชาให้ ด้วยผ้ากาสายะเหล่านี้สามหน นี่เป็นข้อที่เราจะต้องเข้าใจ ในคำที่เราได้กล่าวออกไป ในที่ชุมนุมนี้คือพระสงฆ์ประชุมกัน ในนามของพระสงฆ์ทั้งหลายในพระพุทธศาสนานี้ ก็เป็นโอกาสที่ศักดิ์สิทธิ์ คือมีการประชุมสงฆ์ ในสีมาที่ มีการอนุญาตให้เป็นของสงฆ์ เพราะถือว่ามันเป็นสิ่งที่ได้ทำดีที่สุด ที่เราจะทำได้
เดี๋ยวนี้ก็ขอบรรพชา ก็ต้องรู้กันสักหน่อยว่าขออะไร บรรพชาแปลว่า เว้นหมดทั้งหมด เป็นภาษาไทยเรียกว่า บวช ไปหมดเว้นหมดจากอะไร จากความเป็นฆราวาส จากสิ่งที่ต้องควรเว้น ทั้งหลาย เพื่อความเป็นบรรพชิตนั่นเอง บรรพชิตก็แปลว่า ผู้มีบรรพชา คือผู้ได้บวช เราต้องรู้ว่าสิ่งที่เราขอ คือระเบียบปฏิบัติอย่างหนึ่ง ซึ่งจะให้ใปหมดจากความเป็นฆราวาส มาสู่ความเป็นบรรพชิต เราจะมีความปักใจมั่นหมายว่าจะไม่มีความเป็นฆราวาสเหลืออยู่ นุ่งห่มก็อย่าง …ก็ไม่นุ่งห่มอย่างฆราวาส กินอยู่ก็ไม่กินอยู่อย่างฆราวาส พูดจาก็ไม่พูดจาอย่างฆราวาส จะคิดจะนึก ก็จะไม่คิดนึก อย่างฆราวาสอีกต่อไป ดังนี้เป็นต้น นี่หล่ะเว้นจากความเป็นฆราวาส และเว้นจากสิกขาบท อะไรต่างๆที่จะได้ศึกษากันต่อไปข้างหน้า ระเบียบนี้เมื่อปฏิบัติเข้าแล้ว มันย่อมต้องการความอดทน เพราะมันมีความเจ็บปวดบ้าง ไม่ได้ทำอะไรตามใจกิเลสที่เคยทำ นี่เราก็ปักใจกันเดี๋ยวนี้ ว่าเราจะยอมอดทนที่สุด ไม่ยอมแพ้แม้จะต้องทนขนาดที่น้ำ้ตาไหลก็ต้องทน เพราะว่า บรรพชานั้นเป็นอย่างนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านบัญญัติบรรพชานี้ในลักษณะอย่างนี้เอง คือเป็นการฝึกเรา นี่ขอให้รู้ไว้ว่าเรากำลังขอสิ่งๆนี้ ทีนี้ก็จงรู้ต่อไปว่า สิ่งนี้จะตั้งอาศัยอยู่ได้ เจริญงอกงามไปได้เพราะอะไร ก็เพราะว่าเธอมีจิตใจอุทิศแก่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์โดยแท้จริง อย่างที่ได้พูดไปเมื่อตะกี้นี้ ตั้งแต่คำแรก ขอ เอสาหัง ภันเต ก็ว่าอย่างนี้ รวมความว่า การบวชนี้อุทิศ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ฉะนั้นจะต้องยึดถ้อยคำของตนไว้ให้ดี ให้เป็นการบวชอุทิศ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์กันจริงๆ โดยใจความแล้วก็คือ ความที่มีจิตใจสะอาด สว่าง สงบ ให้มีลักษณะเป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรานึกถึงสิ่งนี้ไว้เสมอ หมายมั่นที่จะให้มี ความสะอาด สว่าง สงบ อยู่เป็นประจำ เรียกว่ามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่ตั้งที่อาศัยของบรรพชา
นี่ก็อานิสงส์ของการบรรพชาที่ควรจะรู้ไว้ว่ามันมีมาก ถ้านึกถึงอานิสงส์ของการบรรพชาอยู่แล้ว ก็คงจะทนได้ แม้ว่าจะต้องลำบากจะต้องอดทน ว่าเราบวชนี้โดยส่วนตัวเราเองก็จะได้อานิสงส์ คือได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ อย่างหนึ่งก็บวชสนองคุณผู้มีบุญคุณ เช่น บิดา มารดา เป็นต้น นี่ก็เรียกบวชสนองคุณผู้มีบุญคุณ อย่างที่ ๓ ก็จะได้ประโยชน์แก่ สัตว์โลกทั้งหลาย โดยการที่ยังมี พระศาสนาอยู่ในโลกนี้ อย่างนี้เรียกว่า บวชสืบอายุพระศาสนา ฉะนั้นเมื่อเรานึกถึงข้อที่ว่า การบวชนี้มีอานิสงส์มากมายถึงอย่างนี้แล้ว มันก็มีกำลังใจพอที่จะให้อดทนได้ พอที่จะเสียสละ ไอ้ความสะดวกสบายเล็กๆน้อยๆเหล่านั้นเสียได้ เพื่อมาเป็นผู้ที่ว่าบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ให้ได้ผลกันจริงๆ เพราะ… เพราะ…เพราะเคร่งต่ออานิสงส์สามประการนี้
เธอส่วนตัวผู้บวชจะได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ คือการประพฤติปฏิบัติที่ทำให้กาย วาจา ใจ ขึ้นถึงระดับสูงสุด นี่ก็เรียกว่าสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ ก็ต้องบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ทีนี้ก็มีว่า บวชสนองคุณบิดามารดานี้ ให้เข้าใจไว้ว่า การสนองคุณอย่างอื่นก็มี แต่ไม่สำคัญเท่า เพราะการที่ทำให้ บิดามารดา มีปีติ มีปราโมทย์ มีศรัทธา มีสัมมาทิฏฐิ ยิ่งขึ้นไปในพระพุทธศาสนา อย่างนี้ก็รวมเรียกว่า มีความเป็นญาติในพระศาสนายิ่งขึ้นไป ถ้าเราทำให้บิดามารดามีความเป็นญาติในพระศาสนายิ่งขึ้นไป เรียกว่า สนองคุณบิดามารดาอย่างสูงสุด ก็ต้องพยายามที่จะทำ ยิ่งถ้าเราบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ศาสนานี้ก็มีอยู่จริงเหมือนกัน มีการสืบต่อๆกันมา แม้ว่าเราบวชเพียงสามเดือน ก็สืบไว้ได้สามเดือน แม้จะสึกออกไปก็ยังมอบหมายให้คนอื่นสืบต่อไปอีก ขอแต่เพียงอย่างเดียวว่า ในระหว่างที่บวชอยู่นี้ ต้องเป็นการ สืบอายุพระศาสนา อย่าเป็นการทำลายพระศาสนาเลย เมื่อศาสนามีอยู่ มันก็มี เครื่องคุ้ม ครองโลก โลกนี้ก็มีสันติสุข ก็เรียกว่าการบวชของเราแม้เพียงคนเดียว ชั่วระยะหนึ่งก็ยังมี ส่วนทำให้โลก นี้มีสันติสุข และเราจึงพยายาม นี้เรียกว่าอานิสงส์ ๓ ประการ ที่ว่า มีค่าเหลือที่จะกล่าวได้ ควรแก่การ เสียสละ อดกลั้นอดทนโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสิ่งที่ต้องรู้ไว้ ถ้ายังไม่รู้ก็รู้กันเดี๋ยวนี้ก็ได้ แล้วก็ตั้งใจ อธิษฐานใจ ในการที่จะให้มันเป็นไปอย่างนั้นจริงๆ นี้เรียกว่าเรื่องของบรรพชา มีใจความอย่างนี้
ทีนี้ก็เรื่อง สัจจะปัญจกกรรมฐาน ที่มีธรรมเนียมประเพณีให้บอกแก่ผู้ที่บรรพชาอุปสมบทนี้ ก็คือการทำจิตใจ ปรับปรุงจิตใจให้มีความเหมาะสมแก่ผ้ากาสายะ ฆราวาสนั้น ก็มีเรื่องคิดนึก อย่างฆราวาส ก็เคยชินมาหยกๆ เมื่อวานนี้ก็ยังเป็นฆราวาส เมื่อเช้านี้ก็ยังเป็นฆราวาส เดี๋ยวนี้เราก็จะ ละความเป็นฆราวาสให้ลึกซึ้งถึงจิตใจ ก็คือละไอ้สิ่งที่ฆราวาสเคยหลงเคยทำผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในที่นี้ถ้ามุ่งหมายเอาความหลงในความสวยความงาม ยิ่งไปยกเอาสิ่งที่เราเคยหลง ว่าสวยว่างามนั้น มาพิจารณากันเสียใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งทั้งห้าอย่าง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง , ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ที่เราเคยหลงว่าสวยว่างาม เรื่องผมนี้ เราเคยหลงว่าสวยว่างามอย่างไร ก็ไม่ต้องพูดกันแล้ว มันรู้กัน อยู่ดีแล้ว แต่ว่าเดี๋ยวนี้ก็ต้องรู้ว่า เราเคยหลง เดี๋ยวนี้ก็มองดูอีกทีหนึ่งว่า มันเป็นของที่ ไม่สวยไม่งาม ว่าเส้นผมนี้โดยรูปร่างยาวๆนี้ก็ ปฏิกูล คือน่าเกลียด สีของเส้นผมนี้ก็น่าเกลียด กลิ่นของเส้นผมนี้ตาม ธรรมชาติก็น่าเกลียด ที่เกิดที่งอกของผมนี้ก็น่าเกลียด หน้าที่การงานของผมนี้ก็น่าเกลียด มาอยู่บนศรีษะ ทั้งฝุ่นละอองอะไรทำนองนั้น นั้นเลยเห็นอย่างนี้แล้ว ไอ้ความหลงใน ความสวยความงามเกี่ยวกับผม มันก็หมดไป ทีนี้ ที่ ๒ เรียกว่า ขน โดยภาษาบาลีที่เรียกว่า โลมา นี้อธิบายอย่างเดียวกันกับผม เพียงแต่ว่า มันมีละเอียดอยู่ทั่วๆไปตามตัว เมื่อเราเหลือบเห็นทั้งเนื้อทั้งตัวก็รู้ว่ามันมีขนอันละเอียดอยู่ที่นั่น ฉะนั้นก็ไม่ต้องหลงว่าสวยว่างาม ไปทั้งเนื้อทั้งตัว ที่ ๓ เล็บ ที่เรียกโดยบาลีว่า นขา เราเคยเห็น เล็บที่งาม พยายามจะมีเล็บงาม สนใจเรื่องเล็บงาม เดี๋ยวนี้รู้ว่าตามธรรมชาติแล้วเป็นของน่าเกลียด รูปร่างก็ น่าเกลียด สีสันวรรณะก็น่าเกลียด กลิ่นก็น่าเกลียด ที่เกิดที่งอกก็น่าเกลียด หน้าที่การงานของมัน ก็น่าเกลียด อืม, ที่ ๔ คือ ฟัน ที่เรียกว่า ทันตา มีปฏิกูลอย่างไรนี้ พอจะเข้าใจได้ง่าย ลองดูฟัน ที่ไม่ได้รับ การตกแต่ง ยิ่งเห็นชัดว่าน่าเกลียดอย่างไร รูปร่างก็น่าเกลียด สีสันวรรณะก็น่าเกลียด กลิ่นก็น่าเกลียด ที่เกิดที่งอกของมันก็น่าเกลียด หน้าที่การงานของมันก็น่าเกลียด นี้ก็มาถึง อันที่ ๕ ที่เรียกว่า หนัง ในภาษาไทย เรียกว่า สะโจ ในภาษาบาลี นี่ยิ่งทั้งน่าเกลียด และทั้งเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส มากกว่าอย่างอื่น คือสัมผัสผิวหนังนี้ ย่อมก่อให้เกิดกิเลส พิจารณากันเสีย อย่างที่เรียกว่า มันตรงกันข้าม จากที่เราเคยหลง ว่าสวยว่างาม รูปร่างน่าเกลียด สีสันวรรณะน่าเกลียด กลิ่นนี้น่าเกลียดอยู่ตามธรรมชาติ ที่เกิดที่งอก ไปทั้งตัว หุ้มห่อร่างกายอยู่นี้ก็น่าเกลียด หน้าที่การงานของมันก็น่าเกลียด จึงเห็นว่าเราเคยหลงมาก เดี๋ยวนี้ก็จะต้องหมดความหลงชนิดนั้น เมื่อจิตใจนี้ มันเปลี่ยนมาสู่จิตใจ ของคนที่มีความฉลาดขึ้น มีความรู้ มีความ เอ่อ, เห็นสิ่งเหล่านี้ตามที่เป็นจริง จึงเรียกว่ามีจิตใจ ที่เหมาะสมที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะ ฉะนั้นขอให้ทำในใจอย่างนี้ เป็นลำดับมา ให้เกิดความเหมาะสม ที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะ ดังกล่าวแล้ว นี้เป็นคำอธิบาย
ทีนี้ก็มีการให้รับ สัจจะปัญจกกรรมฐาน โดยภาษาบาลี ตามระเบียบ ตามวินัย ครั้งหนึ่ง ขอให้เข้ามาทีละคน
จงตั้งใจรับ สัจจะปัญจกกรรมฐาน โดยภาษาบาลีโดยว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกสา (เกสา) โลมา (โลมา) นขา (นขา) ทันตา (ทันตา) ตะโจ (ตะโจ) นี้เรียกว่าตามลำดับ ที่ทวนลำดับคือ ตะโจ (ตะโจ) ทันตา (ทันตา) นขา (นขา) โลมา (โลมา) เกสา (เกสา)
ท่านพุทธทาส : ถ้าจำได้ลองว่าดู
พระที่จะอุปสมบท : เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
ท่านพุทธทาส : อีกที อีกทีว่าอีกเที่ยว เกสา…
พระที่จะอุปสมบท : เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ..นะ…
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
ท่านพุทธทาส : ใช้ได้มีใจคอปกติ จำได้มีความเหมาะสมที่จะบรรพชา
จึงขอบรรพชาให้เธอมีความเจริญงอกงามในพระพุทธศาสนาสมตามความมุ่งหมายของบรรพชานั้นทุกประการ
ตั้งใจรับ สัจจะปัญจกกรรมฐาน โดยภาษาบาลีโดยว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกสา (เกสา) โลมา (โลมา) นขา (นขา) ทันตา (ทันตา) ตะโจ (ตะโจ) นี่ตามลำดับ ทวนลำดับคือ ตะโจ (ตะโจ) ทันตา (ทันตา) นขา (นขา) โลมา (โลมา) เกสา (เกสา)
ท่านพุทธทาส : ถ้าจำได้ลองว่า
พระที่จะอุปสมบท : เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
ท่านพุทธทาส : ดีมีความจำได้แม่นยำ มีใจคอปกติ แสดงว่ามีสติสัมปชัญญะ มีความเหมาะสมแก่การบรรพชาเป็นอย่างน้อย
ตั้งใจรับ สัจจะปัญจกกรรมฐาน โดยภาษาบาลีโดยว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกสา (เกสา) โลมา (โลมา) นขา (นขา) ทันตา (ทันตา) ตะโจ (ตะโจ) ตามลำดับ ทวนลำดับคือ ตะ เอ่อ, ตะโจ (ตะโจ) ทันตา (ทันตา) นขา (นขา) โลมา (โลมา) เกสา (เกสา)
ท่านพุทธทาส : ถ้าจำได้ลองว่าดู
พระที่จะอุปสมบท : เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
ท่านพุทธทาส : อืม, ดี ความจำดี ????ใช้ได้ สติสัมปชัญญะดี (เสียงเบา 19.06-19.20)
ตั้งใจรับ สัจจะปัญจกกรรมฐาน โดยภาษาบาลีโดยว่าตามเรา ดังต่อไปนี้ เกสา เกสา โลมา โลมา นขา นขา ทันตา ทันตา ตะโจ ตะโจ นี่ตามลำดับ ทวนลำดับคือ ตะโจ ตะโจ ทันตา ทันตา นขา นขา โลมา โลมา เกสา
ท่านพุทธทาส : ถ้าจำได้ก็ลองว่าดู
พระที่จะอุปสมบท : เกสา โลมา นขา ทันตาตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา
ท่านพุทธทาส : ดีจำได้ มีใจคอปกติ เหมาะสมแก่การบรรพชา จึงขอบรรพชาให้เธอ มีความเจริญในพระพุทธศาสนาสมตามความมุ่งหมาย
ของบรรพชานั้น