แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
พระขอโอกาสพูด ทุกคนเงียบกันสักที คนอื่นๆเงียบกันสักที และจะได้ตั้งอก ตั้งใจฟัง กันทุกคน ก็ไหนๆก็มาแล้ว ทุกคนจะได้ประโยชน์ ทำการอุปสมบท สังฆกรรม (1.15)เพราะว่าเรายังไม่ได้สร้างโรงโบสถ์ รู้มั้ย (1.25-1.35) ให้ได้มีโบสถ์มีไรให้มากที่สุด คำว่าโบสถ์ยังไม่รู้จัก กระทั่งพุทธกาล (1.50-1.55) แล้วก็ตั้งใจปฏิบัติให้มันดีที่สุดด้วย ไม่ใช่ว่าหนังกลางดิน ทำเล่นๆ เป็นเรื่องเล่นๆไปหมด (2.15-2.20) ธรรมะ ธรรมโมที่สุด ไม่ต้องยุ่งยาก ลำบาก สวยงาม สนุกครึกครื้น พระพุทธเจ้าประสูติกลางดิน ตรัสรู้กลางดิน นิพพานกลางดิน (2.40-2.43) พระพุทธเจ้านั้นประสูติกลางดิน ตรัสรู้กลางดิน นิพพานกลางดิน ควรจะพอใจ เกิดกลางดินนั้นมันสบาย และทีนี้จะพูด สำคัญสำหรับเธอ ตั้งใจฟังให้ดี อย่านั่งใจลอย เพราะว่ามันเรื่องที่ต้องทำด้วยใจ ไม่ใช่ว่าทำแต่เรื่องท่าทาง ร่างกายอย่างเดียว มันต้องทำด้วยใจ จะสำคัญที่สุด แล้วทำออกมาทางวาจา แล้วทำออกมาทำร่างกาย คนเรามันต้องมีจิตใจ รู้จักทุกสิ่งที่เราจะทำ ไม่ใช่มานั่งง่วงๆ ใจลอย สองคำสามคำทำพิธีเสร็จแล้ว อันนั้นมันไม่ดี เธอต้องตั้งใจทำ ให้ทำเพื่อประโยชน์ ถ้าเธอไม่รู้เราก็บอกให้ฟัง พอเราบอกให้ฟัง เธอก็ต้องทำใหไปตามเราบอก มันถึงจะทำให้เกิดประโยชน์ได้ เราจะพูดไปตามลำดับ เรื่องที่เธอควรจะรู้ ทำจิตใจให้ถูกต้องและทำประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าจะมากได้ ข้อแรกนี่เราจะต้องรู้ว่าเราได้กล่าวอะไรออกไป (4.40-4.50) ต้องรู้ใจความของคำที่เราได้ว่าไป (5.00-5.05) ว่าไป 3หน ขอเอง รับผิดชอบเอง และก็ทำให้มันเรื่องเท็จจริงที่สุด เท่าที่ทำได้ (5.22-5.30) สมมติให้เป็นเทพของสงฆ์ และก็ได้กล่าวโดยภาษาบาลี เป็นภาษาของพระพุทธเจ้า เรียกว่าทุกอย่างมันศักดิ์สิทธิ์ไปหมด แผ่นดินตรงนี้ก็เป็น แผ่นดินที่มีการเกี่ยวข้องกับศาสนามาตั้งพันกว่าปี ก็ต้องทำจิตใจให้มันหนักแน่นมั่นคง พูดอย่างไรออกไปก็ต้องปฏิบัติตามนั้นให้ได้จริงๆ เข้าบรรพชา ก็ต้องรู้ว่าบรรพชาคืออะไร บรรพชานั้นก็คือเรื่องที่จะปฏิบัติกันจริงๆ ข้อระเบียบการปฏิบัติไม่ใช่ข้อคำพูด (6.40-6.50)จากเรื่องของกิเลส เกี่ยวกับกิเลส บรรพชาดึงไปหมด จากบ้านเรือน เพื่อปฏิบัติ จากฆารวาส ต้องตั้งใจฟังสิ่งที่เรากำลังพูด เราจะไม่นุ่งห่มอย่างฆารวาสอีกต่อไปใช่มั้ย จะไม่กินอยู่อย่างฆารวาส จะไม่พูดจาท่าทางอย่างฆารวาสอีกต่อไป ตลอดจนจะไม่คิดนึกใฝ่ฝันอย่างฆารวาสต่อไป ต้องตั้งใจอย่างนี้ถึงจะขอบรรพชาได้ ต้องลืมให้หมด ละเว้นให้หมด บวช แปลว่าบวชไปหมด ต้องตั้งใจ ไม่เหลวใหล ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ต้องละเว้น ก็ต้องละเว้นให้จริงจัง เดี๋ยวบรรพชาขึ้นมา ก็เป็นเครื่องขัดเกลา เพราะพระพุทธเจ้าท่านมีความประสงค์ เจตนา ให้ระเบียบของการบรรพชา เป็นการขูดเกลา กิเลส นิสัย สันดาน ทำกันไม่ดี ประพฤติไม่สวยงามต้องขูดเกลา การขูดเกลานี้ต้องเจ็บปวดบ้างเป็นธรรมดา ต้องอาศัยความทน ข้อศีลเอาไปปฏิบัติก็ต้องเกิดความทน ต้องอดทน จะกินตามชอบใจก็ทำไม่ได้ เราต้องทน ต้องมีความทนบรรพชาถึงอยู่ได้ ถ้าไม่มีความอดทนบรรพชาก็ล้มละลาย ต้องเตรียมตัว ต้องยอมรับ มีความอดทน เพื่อให้บรรพชาอยู่ได้ ระเบียบของการบรรพชา คือขูดเกลากิเลส ขอแล้ว 3ครั้ง บรรพชาจะอยู่ได้ก็ต้องมีรากฐานจิตใจของเราที่มั่นคง บรรพชานี้มีที่ตั้ง ที่อาศัยอยู่กับพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จิตใจต้องมีสว่าง จิตใจสงบ พยายามนึกถึงข้อนี้ไว้เสมอ ให้มีอยู่ในใจ มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ในใจ ให้จิตใจสว่าง สงบ อยู่เสมอ มันก็หงายแล้ว ถ้ามีการบำเพ็ญพรหมจันบรรพชามันก็หงายแล้ว และถ้าเราสลัด พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สิ่งต่างก็ล่มสลายหมด ก็อย่างไร ก็เห็นแก่ การอุทิศ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การบรรพชานี้มันก็จะอุทิศ มันก็จะได้มีความเข้มแข็ง มีความมั่นคง อดทนได้ อดกลั้นได้ (10.55-11.00) สิ่งที่อยากจะบอกก็คือว่าอานิสงฆ์ของบรรพชา คนเราถ้าไม่มีความหวังในประโยชน์ ก็จะได้ดีสูงสุดมันย่อมจะมีกำลังใจ มีความอดกลั้น อดทน การบรรพชานี้มันจะมีอานิสงฆ์มาก ถ้าหากว่าเราบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง อยู่วัดจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ก็จะได้อานิสงฆ์ พูดโดยรายละเอียดก็ไม่หวาดไม่ไหว พูดประเภทคล่าวๆก็พอพูดได้ เพื่ออานิสงฆ์ที่เธอจะได้ อานิสงฆ์ญาติทั้งหลาย บิดา มารดา เป็นต้น จะได้ และก็อานิสงฆ์ แก่เพื่อนมนุษย์ทั้งโลกหรือว่าศาสนาทั้งหมด ส่วนรวมก็จะพลอยได้ อานิสงฆ์ที่แรก ที่หนึ่งก็เธอเอง กว่าจะได้ ต้องเริ่มเรียนจริง บวชจริง ปฏิบัติจริง ถึงจะได้คนจริง ไม่งั้นก็ไม่ได้ มันก็บวชเล่นๆ บวชเห่อๆไปตามประเพณี เราก็ต้องตั้งใจว่าจะบวชจริง ตามวินัยก็ต้องเว้น ต้องศึกษเพิ่มเติมทางธรรมะ ต้องศึกษาและบวชจริงถึงจะได้ จิตใจให้มันประเสิรฐ สะอาด สว่าง สงบ ถึงมนุษย์เราจะพึงได้ ได้เงิน ได้ทอง ได้เกียรติยศ อำนาจ วาสนา บางคนไม่ดีก็ไม่สูงเท่ากันได้ ต้องมีจิตใจ สว่าง สะอาด สงบ ได้เงิน ได้ทอง ได้เกียรติยศ ได้อำนาจ พวกนี้ ก็ได้กันทั่วไป แล้วไม่เห็นมีไรดีขึ้น มีแต่รอบแต่คอบกันมากขึ้น ทะเลาะวิวาทเบียดเบียนกันเพราะเรื่องเงินเรื่องทอง มันก็เลยช่วยไม่ได้ ทำให้โลกสงบสุขไม่ได้ แต่ละคนก็หาความสงบสุขยาก มันต้องให้จิตใจดี ต้องมีธรรมะ มีลักษณะสว่าง สะอาด สงบ ทุกคนก็จะเย็น ถ้าทุกคนไม่ว่าทางโลกจะปล่อยได้ แต่ว่าในที่นี้เอาตัวเราก่อน (14.00-14.05) อานิสงฆ์พระตรัย ญาติทั้งหลายมีบิดา มารดาต้องพึ่งได้ เรียกว่าบวชแทนคุณ ทดแทนบุญคุณ ผู้มีบุญคุณ ข้อนี้ก็เหมือนกันแหละ ต้องเรียนจริง ปฏิบัติจริง ต้องทดแทนบุญคุณต่อบิดา มารดา ถ้าเหลวใหลก็ว่าแต่ปาก เกิดมาเป็นบุตร สิ่งที่สำคัญที่สุด คือสิ่งที่ทำให้บิดา มารดา รับความสุขใจ ได้รับความดีที่สุด เค้าถึงจะเรียกว่าเป็นบุตรที่ดี ที่เกิดมาเพื่อทำให้บิดา มารดา มีความสุขใจ ความทุกข์ใจที่เรียกว่านรก บุตรที่เกิดมาทำให้บิดา มารดาได้ทุกข์ใจ นั่นคือจับบิดามารดาใส่นรก ก็มีอยู่โดยมาก ที่เราบวช อายุมันมากแล้ว ไม่ควรจะมีการทำบิดามารดาให้ร้อนใจเหมือนในนรก ทำบิดามารดาได้สิ่งที่ดี่ที่สุด ในพระศาสนา ถ้าเธอบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง บิดามารดาจะเป็นญาติกับศาสนามากยิงขี้นกว่าเดิม มีสัมมาฐิกว่าเดิม พอใจ ลูกได้บวช หลานได้บวช ว่าลูกหลานได้ดี ตัวเองก็พลอยได้ดี อาจจะละความชั่วได้มากขึ้นเพราะเราเห็นว่าหลานมันบวชดี ก็ทำให้บิดา มารดาเป็นญาติมากขึ้นกับศาสนา เค้าเรียกว่าเป็นการทดแทนบุญคุณสูงสุดที่มนุษย์จะทดแทนกันได้ ให้เงิน ให้ของ บำรุงบำเรออย่างอื่นไม่ขาว การแทนคุณต้องทำให้เกิดสัมมาฐิถิกับศาสนา เพื่อให้เป็นญาติกับพระศาสนามากยิ่งขึ้น เราก็ต้องตั้งใจเรียนจริง บวชจริง ปฏิบัติจริง เพื่อแทนบุญคุณผู้มีบุญคุญเหล่านั้น และก็เกิดมาเป็นชาย ก็ถ้าเห็นว่าเป็นชายก็นึกถึงการบวช และก็หวังมาตั้งแต่แรกเกิด ต้องให้ไม่ผิดหวัง และทีนี้ก็ต้องบวชแทนคุณ บิดามารดา อีกอย่างคือบวชเพื่อสืบพระศาสนา ให้เป็นประโยชน์แก่โลกทั้งโลก พูดแล้วไม่น่าเชื่อ คนมันโง่มันมองไม่เห็น ยิ่งบวช ยิ่งเรียนจริงปฏิบัติจริง สืบอายุพระศาสนาให้เกิดประโยชน์แก่คนทั้งโลก มันเลยไม่มีใครจะบวชจริง เรียนจริง สืบอายุพระศาสนาจริงๆ มักจะเอาแต่เดียวๆ เอาแต่พอเป็นธรรมเนียม ประเพณี ถึงเราจะบวชแค่ 3เดือนก็เป็นการสืบอายุพระศาสนา อย่าบวชเพื่อทำลายศาสนา บวชเพื่อสืบอายุพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสัก 3เดือน และก็มอบหมายคนอื่นรับช่วงต่อเวลา 2500ปีนี้ไม่รู้จักขาดตอน เพราะมีคนกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้า ต่อพระศาสนา ช่วยกันรักษาพระศาสนาไว้ด้วยการบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ได้บุญจริง สอนสืบๆกันไปยิ่งจริงๆ ศาสนายังอยู่มาถึงบัดนี้เธอจึงได้บวช ต้องรู้บุญคุณในข้อนี้ อย่าทำลาย อย่าให้เป็นการทำลาย ต้องบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง อดทน อดกลั้นจริงๆ อย่ามาทำหน้าไหว้หลังหลอก อย่ามาลักสูบยา อย่ามาทำความชั่ว มันไม่จริง มันไม่ได้ประโยชน์ ในระหว่างการบวชก็ขอให้เป็นการบวชจริงๆ เรียนจริงเห็นผลจริง มันทำให้ศาสนายังอยู่ (19.25-19.30) ศาสนาเป็นผลของการปฏิบัติมันก็อยู่ ศาสนามีจิตอยู่ในโลก โลกได้รับประโยชน์ ถ้าศาสนายังอยู่โลกมันก็ยังมีหวังว่าจะไม่ลุกเป็นไฟ ศาสนาใดก็ตามที่มันยังมีอยู่บนโลก โลกมันก็ไม่ลุกเป็นไฟ สำหรับศาสนาพุทธนี่เราเชื่อแน่ มองเห็นกันอยู่แล้วว่าโลกไม่ลุกเป็นไฟ และยังจะทำให้มนุษย์นั้นบรรลุ มรรค ผล นิพพาน (19.55-20.10) ช่วยกันสืบอายุพระศาสนาให้เป็นที่พึ่งแก่โลกนี้ นี่แหละอานิสงฆ์ 3ประการ (20.20-20.25) มันก็สืบอายุพระศาสนาไว้ อย่าให้ขาดตอนได้ให้มีประโยชน์ต่อโลก อย่างที่หนึ่งก็บวชเอาเอง อย่างที่สองก็บวชให้บิดา มารดา อย่างที่สามบวชให้ศาสนาและก็เพื่อนมนุษย์ ไม่มีอะไรก็จะมีค่าสูงสุด ประเสิรฐที่สุด เท่ากับสิ่งเหล่านี้ ถ้าคนมันเห็นแก่ตัว ก็เห็นแก่ปาก แก่ท้อง แก่เงิน แก่ทอง เห็นแก่ทรัพย์สมบัติสิ่งของ มันจะไม่เห็นถึงส่วนรวม ถึงศาสนาหรือเพื่อนมนุษย์ขนาดนี้ แต่ว่าเวลานี้ คราวนี้ 3เดือนนี้เราต้องตั้งใจกันแบบนี้ มาบวชให้ได้ดีที่สุด สำหรับเราได้แทนคุณบิดา มารดาด้วย ได้สืบอายุพระศาสนาด้วย และก็ให้ดีที่สุด ถ้าเธอมองเห็นอานิสงฆ์เหล่านี้จริงๆ เป็นผู้มีสติปัญญา มองเห็นอานิสงฆ์เหล่านี้จริงเธอจะทนได้ เธอจะกล้าหาญและทนได้ (21.28-21.35) ให้นึกถึงไว้เสมอ อานิสงฆ์ (21.40-21.45) บรรพชาจะมั่นคงได้ด้วยอะไร บรรพชาทำให้เกิดอานิสงฆ์อย่างไรให้มันพอสมควรแก่เวลา เผื่อว่าเธอจะเบ้าใจว่าเธอขอบรรพชาเพื่ออะไร อย่าให้พูดเพ้อๆเป็นนกแก้ว นกขุนทอง เรารู้ว่าขอบรรพชาคือขออย่างนี้ เป็นอันแน่นอนเตรียมจิตเตรียมใจสำหรับบรรพชา (22.15-22.20) เป็นเครื่องซักฟอกจิตใจ (22.25-22.35) ของพระอรหันต์ ที่เป็นวัตถุศักดิ์สิทธิ์ นี่เราจะเอามาคลุม มานุ่งห่มเฉยๆมันก็ไม่เหมาะสม มันก็ต้องปรับปรุงจิตใจของเรา ให้มีความเหมาะสมเพื่อจะนุ่งห่มพระษากายะได้ (22.55-23.00) เพื่อให้รู้จักซักฟอกจิตใจ ให้เกลี้ยงเกลาจากความหลงใหลในความสวย ความงาม อย่างฆราวาส (23.10-23.30) ข้อที่1 เรียกว่าผม ภาษาบาลีเรียกว่า เกศา ซึ่งเราเคยหลงว่าสวย ว่างาม ของเราเอง และของผู้อื่นและของเพศตรงข้าม มีคนโง่บางคนมันพูดว่าเสียดายผม ไม่ไหวที่จะต้องตัดผมออกไปบวช เราอย่าโง่ถึงขนาดนั้น (23.55-24.00) ผมมันเป็นของปฏิกูล เส้นผมเป็นปฏิกูล คือว่าเส้นผมมีรูปร่างปฏิกูล เส้นผมมีสีปฏิกูล สีผม สีดำ สีหงอก ที่เรียกว่าปฏิกูล กลิ่น คือปฏิกูล ตามธรรมชาติของเส้นผมมีสิ่งปฏิกูล ที่เกิด ที่หงอกบนหนังศีรษะนี่ก็ปฏิกูล มองไปยังไงก็ปฏิกูลทั้งเพ แต่คนโง่ๆมันมองในแง่สวย หอมมั่ง ดัดมั่ง ตกแต่งมั่ง ใส่น้ำมันมั่ง มันหลอกตัวเอง มันหลอกคนอื่นให้เห็นว่าสวย ว่างาม (24.45-24.55) เราก็โกนทิ้งไปแล้ว นี่มันว่างไปทีนึง แต่ว่าให้นึกถึงผลลัพธ์ใครเคยโง่ เคยหลง เรื่องสวยเรื่องงาม ก็ละไปเสียจิตใจถึงจะเหมาะสมจะนุ่งห่มผ้ากาษายาเหล่านี้ นี่คือเรื่องผมเป็นปฏิกูล ข้อที่2 (25.10-25.20) พิจารณาผมด้วยการเป็นของปฏิกูลอย่างไร ก็พิจารณาคนให้เป็นของปฏิกูลอย่างนั้น เราจะมองผิวคนที่มีขนละเอียดไปทั้งตัวทุกคนเป็นของปฏิกูล เรื่องที่3 มันเป็นเรื่องเล็บเรียกบาลีว่า (25.43) รูปร่างของเล็บก็น่าเกลียด สีสันวรรณะของเล็บก็น่าเกลียด โดยธรรมชาติก็น่าเกลียด ที่เกิดที่งอกของเล็บนี่ก็น่าเกลียด หน้าที่ของเล็บนี่ก็น่าเกลียด แกะ เกา มันก็น่าเกลียด แต่เราจะให้มันงามอะไรไป มันต้องรู้หน้าที่ของผู้ที่จะบวช อย่าโง่ขนาดนั้น ข้อที่4 เรียกว่า ฟัน หรือ ทันตะ ในภาษาบาลีนี่คนก็ชอบให้สวย ให้งามกันนัก เราก็ต้องให้มันตามจริง เป็นสิ่งปฏิกูล รูปร่างน่าเกลียด สีสันวรรณะของกระดูกนี่ก็น่าเกลียด ลิ้น ตามธรรมชาติก็น่าเกลียด ที่เกิดที่งอกในเหงือกนี่ก็น่าเกลียด หน้าที่การงานของมัน คือเคี้ยว บดอาหาร นี่ก็น่าเกลียด ถ้าไม่ใช้ความจริงข้อนี้ จิตใจของเธอก็จะเหมาะสมที่จะนุ่งห่มผ้ากาษายะ สิ่งสุดท้ายเรียกว่า หนัง มีอยู่ทั่วตัว มีความเป็นปฏิกูลด้วย เป็นที่ตั้งแห่งความสัมผัส ในเรื่องของปฏิกูลนี้ ผิวหนังเราก็มีรูปร่างน่าเกลียด มีสีสันวรรณะก็น่าเกลียด หล่อเลี้ยงไว้ด้วยน้ำเหลือง ไม่มีมันก็น่าเกลียด หน้าที่การงานของผิวหนังยิ่งน่าเกลียด ถ้าเรียนรู้ซะบ้าง โดนฝุ่นละอองไปทั่วทั้งตัว เป็นที่ถ่ายเข้า ถ่ายออกของความร้อนของเหงื่อไคลของน้ำมัน หล่อเลี้ยงด้วยเส้นขน ล้วนแต่หน้าเกลียดไปทั้งเพ ไอคนโง่ๆมันจะให้สวยให้ได้ ไปย้อม ไปทา ไปขัดอะไรต่างๆ ให้เกิดความเข้าใจว่าสวย ก็ขอให้ลดความมีจิตใจโง่เขลาชนิดนั้น อีกอย่างผิวหนังนี่มันเป็นที่ตั้งการสัมผัส ให้เกิดกิเลส ราคะ ยิ่งผิวหนังที่ละเอียดอ่อน ตรงไหนได้รับสัมผัสมากตรงนั้น เราก็เคยเห็นว่าสวย ว่างาม ตอนนี้ก็ต้องหมดความรู้สึกชนิดนั้น มันถึงจะเหมาะสมแก่การห่มผ้ากาษายะ (28.50-28.59) อย่านั่งใจลอย อย่านั่งโม้ อย่านั่งหลับใน ฟังให้ดีๆ เราว่าอย่างไรก็ต้องจิตใจไปตามนั้นเรื่อยๆ มันก็จะค่อยเปลี่ยนๆ เปลี่ยนนทีละนิดๆ ให้จนบัดนี้ที่จะมีความเหมาะสมห่มผ้ากาษายะ ผิดจากเมื่อวาน หรือวันก่อน หรือเดือนก่อน ซึ่งมันมีจิตใจหยาบกระด้างเหลือเกิน มีสติสัมปชัญญะ นึกถึงอยู่เสมอ อย่าเผลอ อย่าลืม เดี๋ยวเผลอลืม บวชแล้วก็ยังพูดเหมือนชาวบ้าน กิริยาท่าทางเหมือนชาวบ้าน กลางคืนมืดค่ำไม่มีแสงไฟ เดี๋ยวไม่รู้ว่าเป็นพระหรือเป็นชาวบ้านกันแน่ นี่ต้องระวังให้ดี ก็ต้องตั้งใจให้แน่วแน่ตั้งแต่บัดนี้ ถึงจะได้ไม่ละเมอ ถึงจะไม่ฟั่นเฟือน นี่ก็เรียกว่า สัจจะ ปัญจกะ กรรมฐาน มีอยู่ 5ประการ เพื่อเราจะได้มีการเปลี่ยนแปลงให้จิตใจเหมาะสมที่จะนุ่งห่มผ้ากาษายะด้วยคุ้มครองตัวมีสติสัมปชัญญะ ไม่เผลอ (30.40-30.50) อยู่เสมอ ถึงจะคุ้มครองได้ ถ้ากิเลสเกิดขึ้นก็ให้นึกถึงข้อนี้ไว้ก่อน เพราะผู้บวชน้อยยังไม่ได้เรียนอะไรมาก สัจจะ ปัญจกะ กรรมฐานนี้ จึงได้นามอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ละกรรมฐาน กรรมฐานก็จะต้องเรียน ต้องรู้กันในเบื้องต้น ถ้าเห็นสิ่งไม่งามเหล่านี้ เค้าก็เรียกว่าสิ่งปฏิกูล เพราะมันมีหนังเป็นอันที่5 เค้าถึงเรียกว่า สัจจะ ปัญจกะ กรรมฐาน แล้วเธอก็ได้รับการสั่งสอนพอสมควรแก่การบรรพชาแล้ว จะได้ทำการบรรพชาต่อไป พนมมือ ตั้งใจรับ สัจจะ ปัญจกะ กรรมฐาน อ่านด้วยภาษาบาลีอีกครั้งหนึ่ง พนมมือ โดยว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกษา โลมา ณขา ทันตา ตะโจ นี่เขาเรียกว่า อนุโลม ทีนี้มาทวน ตะโจ ทันตา ณขา โลมา เกษา จำได้ ลองว่าไป เกษา โลมา ณขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา ณขา โลมา เกษา อีกที เกษา โลมา ณขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา ณขา โลมา เกษา ว่าได้เรียบร้อย ถูกต้อง (33.00-33.10) นั่นก็เรียกว่าความเหมาะสมในเบื้องต้น มีพอสำหรับการบรรพชา เรายังมีความยินดีที่ต้องการบรรพชา (33.20-33.28) มีความเจริญงอกงามในพระศาสนา (33.30-33.35) เทอตั้งใจรับ สัจจะ ปัญจกะ กรรมฐาน ด้วยภาษาบาลี (33.55-35.05) ถูกต้อง 3รอบ จำได้และก็น้ำเสียงเป็นปกติ แสดงว่าเรามันมีใจคอปกติ มีสติสัมปชัญญะ ก็จะรู้สึกในการกระทำ ก็ได้พูดมาแล้วอย่างไรก็จำให้ดี ความเหมาะสมในเบื้องต้นมีพอสำหรับการบรรพชา และก็มีความยินดี (35.45-35.60) พิจารณากันบ้าง ว่าเด็กๆอย่างเรา โดยมากมันไม่ค่อยได้บวช โดยมากไม่ค่อยได้บวชเด็กๆอ่ะ หรือว่าบวชก็เหมือนกับไม่ได้บวช ก็พ่อแม่มันหลับตาพาไปบวช มันไม่รู้ว่าจะบวชทำไร อย่างไรจะได้อะไร บางทีพ่อแม่พาบวชบวชก็ยังหลับตา บางทีสึกไปแล้วก็ยังหลับตา มันเลยไม่ได้อะไร ได้แต่ว่าบวชแล้วเท่านั้น นั่นแหละบ้านเมืองมันจึงไม่มีความสงบ คิดแล้วถ้าเด็กเราได้บวชกันดีๆจริงๆทุกคน บ้านเมืองมันสงบ มันจะไม่มีการเบียดเบียน ไม่ใช่ให้คิดกันอย่างไรให้มันได้บวชดีๆจริงๆกัน ถ้าเกิดมันไม่ดีก็จับมาบวช ชอบเอาคนมาบวช บางทีคนมันไม่มีญาติมีไร มันอันตพาล มันเกเร ช่วยกันจับบวชเสียให้หายเกเร มันก็ได้บุญจริงเหมือนกัน ต่อมามันไม่ทำอย่างนั้น มันไม่มีใครสนใจ (37.30-37.40) นี่เค้าเรียกว่าหลับตา เรียกว่า ละเมอ ถ้ามันได้บวชจริง ได้ผลจริง มันก็คงจะไม่ทำอะไรผิดๆ (37.54-37.57) ถ้ามันบวชจริง ได้ผลจริง คงไม่ทำ และเรื่องก็ไม่เกิด แต่นี่มันน่าเสียใจ บวชแล้วมันไม่ทำให้สมกับเคยบวชแล้ว จะไปว่าใคร โทษใคร ก็ต้องรับผิดชอบร่วมกันหมด ต้องโทษทุกคนเลย ก็ต้องรับผิดชอบทุกคน ก็ต้องคิดกันใหม่ รวมหัวกันใหม่ เพื่อให้เด็กๆได้บวชดี บวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ถึงเราจะสร้างวัดให้เต็มไปทั้งเมืองหรือว่าทำบุญ ทำทานไม่รู้จักหยุดจักหย่อน แต่ว่ามันไม่ได้บวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ก็ไม่มีประโยชน์ พระ เณรก็ฉันท์ข้าวชาวบ้าน มันต้องบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ชาวบ้านก็จะได้บุญ ช่วยกันสร้างวัด ช่วยกันบำรุงศาสนา มันก็ทำตามพิธี มันยังไม่จริงและมันก็ยังไม่ได้ผล ต้องให้มันจริงถึงจะได้ผล ต้องช่วยกันระวังแก้ไขสอดส่อง พ่อแม่ก็ต้องอดทนเป็นตัวอย่างที่ดี เรื่องบวชนี่แหละที่จะไม่ศักดิ์สิทธิ์ บวชก็บวชชนิดหลอกตัวเอง พอได้บวชเท่านั้นแหละ อยู่ที่คนบวช บวชเพื่อหลอกตัวเอง พ่อแม่ก็หลอกตัวเองว่าลูกได้บวชแล้ว แล้วก็แล้วกัน ก็พอแล้ว มันไม่สืบอายุพระศาสนาในตอนนี้ ลูกหลานบวชแล้วช่วยสนับสนุนเข้มแข็งให้มันมั่นคง (40.10-40.13) อย่าชวนให้เหลวใหลออกไป (40.20-40.30) มันโง่ทั้งพระและทั้งพ่อมันเลย มันเสียนิสัย ที่ทำไปนี้เรียกว่าข้อนิสัย เพราะว่าผู้ไม่มีนิสัยคือผู้ไม่มีอุปชาญะ ก็อุปสมบทไม่ได้ ถึงจะขอเราก็ยังไม่ให้อุปสมบท เพราะฉะนั้นเราต้องมีอุปซาญะเอียดอ่อน ขอนิสัยก็คือการขอให้เป็นอุปชาญะ เมื่อนั้นเธอจึงรู้ตัวว่าเป็นผู้มีอุปชาญะแล้ว โดยการกล่าว (41.20-41.26) เป็นผู้มีนิสัยแล้วพึงปฏิบัติตามระเบียบของนิสัย มันมีอยู่ในหนังสือให้เรียนนั้นแล้ว ไม่มีเวลาพอจะอธิบาย ทีนี้ก็เกี่ยวกับเรื่องที่ว่า ฉายาภาษาบาลี ทุกคนต้องมีฉายาชื่อเป็นภาษาบาลี และก็ต้องสวดกัมวาจาเป็นภาษาบาลี ก็ต้องรู้จักชื่อบริพารต่างๆเหล่านี้เป็นภาษาบาลี ต้องอธิษฐานโดยภาษาบาลี เธอจึงรู้จักตัวเอง มีชื่อในภาษาบาลี (42.05-42.22) ให้พยายามปฏิบัติตนให้มีคุณสมบัติให้สมชื่อ และจากนั้นก็มีเรื่องบาตร เรื่องจีวร เป็นชื่อในภาษาบาลีอย่างไร พระอาจารย์ที่เป็นผู้สวดก็จะบอกต่อไป(43.00-45.00)ข้อที่หนึ่งคือการบรรพชา การบิณฑบาตรก้อนข้าวก็ได้มาด้วยการบิณฑบาตรเป็นเครื่องดำรงชีวิตเคยไปค้นคว้า(45.06-45.28)ชีวิตบรรพชาใช้ผ้านุ่งห่มคือผ้าบังสกุลได้แก่ผ้าที่อยู่ตามที่ต่างๆที่เก็บมาทำเป็นจีวรใช้ได้ ผมค้นคว้าเรื่องเครื่องนุ่งห่มจนป่านนี้จนตลอดชีวิตของการบรรพชา(45.45-46.39)ชีวิตบรรพชาอาจใช้ยาแก้โรคคือเภสัชมันประกอบขึ้นด้วยน้ำมูกเคยค้นคว้าในเภสัชตลอดชีวิตของบรรพชาแต่ถ้าหากว่า(46.52-47.20)ผู้ใดอุปสมบทแล้วให้ประกอบเมทุนธรรม(47.22)ให้สัตว์เดรัจฉานภิกษุประกอบเมทุนธรรม(47.26)แล้วยังงดสมณศักดิ์บุตร(47.30)ไม่มีความเป็นสมณศักดิ์บุตร(47.32)อีกต่อไปเหมือนกับมนุษย์สีรษะขาดแล้วไม่อาจมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ด้วยร่างกายนั้นดังนั้นจึง(47.41)จนตลอดชีวิต(47.45-48.10)ผู้ใดอุปสมบทแล้วให้พึงถือเอาสิ่งของแก่บุคคล เจ้าของไม่ได้ให้ ภิษุที่เอาสิ่งของแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของไม่ได้ให้ในราคาบาทหนึ่งก็ดีเทียบเท่ากับบาทก็ดีเกินกว่าหนึ่งบาทก็ดีย่อมไม่มีความเป็นสมณศักดฺบุตรเลย อยู่ต่อไปเปรียบเหมือนใบไม้เหี่ยวหลุดจากต้นแล้วไม่อาจจะกลับเป็นใบไม้เหี่ยวได้ฉันใดก็ฉันนั้น ดังนั้นเธอจึงไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิต(48.42-49.09)ผู้ใดอุปสมบทแล้วให้พึง(49.14)ทรัพย์มีชีวิตให้ตกลวงมาที่สุดมดดำมดแดงภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย โดยที่สุดมนุษย์ที่อยู่ในครรภ์ย่อมไม่มีความเป็นสมณศักดิ์บุตรผิดต่อไปเปรียบเหมือนก้อนหินแท่งหนึ่งหักเป็นสองแท่งแล้วสองส่วนแล้วย่อมไม่กลับเป็นก้อนหินก้อนเดียวดังเดิมฉันใดก็ฉันนั้น ดังนั้นเธอจึงไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิต(49.44-50.15)ผู้ใดอุปสมบทแล้วไม่พึง(50.19)ในเวลานี้เป็นผู้ยินดีอย่างนี้ก็ยังไม่ควรภิกษุมีความปราถนาเป็นบาปปราถนารักเป็นต้น(50.34-50.44)อย่างนี้แล้วย่อมไม่มีความเป็นสมณศักิ์บุตรเหลืออยู่ต่อไปเปรียบเหมือนต้นตาลถูกทำลายบิดหัวแทงยอดนั้นแล้วย่อมไม่เป็นต้นตาลที่เจริญงอกงามได้อีกฉันใดก็ฉันนั้น ดังนั้นเธอจึงไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิตของการบรรพชา(51.05-51.57)พระผู้พิพากเจ้าซึ่งเป็นผู้รู้ผู้เห็นใน(52.01)เรื่องศีล สมาธิ ปัญญาทั้งนั้นทั้งนี้ก็เป็นเรื่องให้แจ้งสู่นิพพานเป็นเครื่องบรรเทาซึ่งความเมาเป็นเครื่องแห่งวัฏตะ(52.18)ทำให้สิ้นตัณหาเป็นไปเพื่อดับเพื่อนิพพานใน3อย่างนั้นเมื่อศีลดำรงดีแล้วสมาธิย่อมมีคุณใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่เมื่อสมาธิดำรงดีแล้วปัญญาย่อมมีคุณใหญ่อานิสงส์ใหญ่เมื่อปัญญาดีแล้วจิตย่อมหลุดพ้นจาก(52.40-52.44)ผู้ใดบวชเรียนในธรรมวินัยต้องปรับปรุงพิพากเจ้าคนนั้นจะเป็นผู้มีความเคารพหนักแน่นใน(52.57-53.03)ซึ่งมีรายละเอียดเราจะได้ศึกษากันต่อไปตามลำดับ จะได้เป็นผู้ไม่ประมาทตลอดกาลทุกเมื่อบัดนี้การอุปสมบทเป็นภิกษุของเธอได้สำเร็จลุล่วงดีแล้วตามระเบียบตามวินัยตามธรรม ถ้าเธอมีสติสัมปชัญญะสำนึกตัวอยู่เสมอว่าบัดนี้เราเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้วใน1ชั่วโมง2ชั่วโมงที่แล้วเราเป็นฆาราวาส แต่ตอนนี้เราเป็นภิกษุในพุทธศาสนาแล้วอย่าเกเร โลเลใช้ไม่ได้ต่อไปเราได้ขอบรรพชาด้วยความตั้งใจอย่างมีความปราถนาที่จะบรรพชาอุปสมบทด้วยใจจริงหยุดที่คำพูดของตัวเองไว้จะได้มีความกลัว ความละอาย จะได้มีสติสัมปชัญญะขอให้นึกถึงอานิสงส์ของบรรพชา3ประการนั้นไว้ด้วยว่าเราจะต้องได้อนิสงส์ บิดามารดาก็ต้องได้อนิสงส์ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงศาสนาก็ต้องได้อานิสงส์เราได้ชื่อว่าบวชได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์จะได้และบวชสนองพระคุณของบิดามารดา บวชเพื่อสืบอายุพระศาสนา สนองพระคุณของพระศาสดาเพื่อประโยชน์ของทั้งโลกทั้งปวงจะได้อยู่เป็นสุขด้วย มันใหญ่โตมโหฬารควรที่จะสละได้แม้ว่าจะต้องน้ำตาไหลอดกลั้นอดทนก็ต้องสละได้ถ้าทำได้ตามนี้ก็ไม่ทำเสียไม่ทำผิดขอให้เธอจดจำให้ดีว่ามุ่งหมายพรรณนี้ก็ต้องทำพรรณนี้แล้วสิ่งทั้งกลายที่จะเดิขึ้นคือกิเลสราคะนี่แหละต้องนึกถึง(55.18)ที่ได้ว่ามาแล้วนั้นตลอดจนเรื่องอื่นๆก็จะได้ศึกษาต่อไปไปใช้แก้สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อไปคือกิเลสนั้นได้ตามสมควรนี่คือบวชจริงเรียนจริงปฏิบัติจริงก็ได้ผลขอให้เธอมีความไม่ประมาทข้อแรกมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลาอย่าลืมตัวเราต้องเปลี่ยนเป็นคนละคนแล้วจะพูดจะจาอะไรต้องเตรียมให้ดีพูดให้ถูกระเบียบของพระของเณรมีพระเณรที่โง่บวชแล้วยังพูดเหมือนฆราวาสพูดผมพูดครับอย่างกับชาวบ้านนี่โง่มากไม่รู้จักทำให้เป็นประโยชน์แก่พุทธศาสนา ทำให้คนเลอะเลือนกันไปหมดยกตัวเอย่างนี้เป็นต้นขอให้เธอมีความไม่ประมาท ให้มีการระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่เราอุทิศชีวิตให้บรรพชาอุทิศอุปสมบทอุทิศพระพทธพระธรรมพระสงฆ์ให้มีความเจริญงอกงามสมกับความมุ่งหมายของพระศาสดาทุกประการเทอญ